มิสซา ภาพสะท้อนเหตุการณ์์การไถ่บาปมวลมนุษย์ของพระเยซูเจ้า

ถาม-ตอบพระคัมภีร์ เรื่องเสริมศรัทธา ความรู้ และสาระ บทความ ในคริสตศาสนา
ภาพประจำตัวสมาชิก
Zion
~@
โพสต์: 3777
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 8:37 pm
ติดต่อ:

พุธ ส.ค. 19, 2009 1:08 pm

เกริ่นนำ
มิสซาเป็นพิธีกรรมโมทนาคุณพระเจ้าที่คริสตชนได้ประกอบขึ้น
ลำดับขั้นตอนต่างๆของมิสซา มุ่งเป็นกิจศรัทธา ชดเชยการสบประมาทต่างๆ
ที่พระเยซูได้ทรงรับในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่รุ่งสาง
ตลอดจนความชื่นชมยินดีในการกลับคืนพระชนม์ชีพ
ซึ่งจะมีความหมายดังต่อไปนี้



0. ก่อนมิสซา

รูปภาพ

เราคริสตชนจะตื่นภาวนาร่วมกับพระเจ้า
ชดเชยการหลับของบรรดาสาวก ขณะที่พระเยซูภาวนาในสวนมะกอก
แก้ไขล่าสุดโดย Anonymous เมื่อ พุธ ส.ค. 19, 2009 9:07 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Zion
~@
โพสต์: 3777
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 8:37 pm
ติดต่อ:

พุธ ส.ค. 19, 2009 1:09 pm

1.การแห่เข้า

รูปภาพ
แทนการจับกุมของเหล่าทหาร
การแห่นี้ จะนำโดยบาทหลวงผู้เป็นประธานในพิธี
จูบลงบนพระแท่น แทนการจูบทรยศของยูดาส

2.การสารภาพบาปรวม

รูปภาพ
เราสำนึกในความผิดที่ได้ผิดพลาดกระทำบาป
เช่นเดียวกับเปโตรผู้ได้พลาด ปฎิเสธพระเยซูเจ้าถึง 3ครั้ง
เราจึงชดเชยโดยเพลง"พระเจ้าทรงเมตตาเทอญ/Kyrie Eleison" 3ครั้ง

(2.5)บทเพลง พระสิริรุ่งโรจน์
ในสภาซันเฮดริน บรรดาสมณะพยายามถามเพื่อหาความเป็นมาของพระองค์
เราจึงชดเชยการสบประมาทนี้ ด้วยบทเพลงของเหล่าทูตสวรรค์ตอนพระองค์ประสูติ
พร้อมคำยืนยันจากพระองค์เอง
(มก 14:61-62)
รูปภาพ

3.บทวจนพิธีกรรม (บทอ่านจากพระคัมภีร์)
บรรสมณะได้นำพยานเท็จมาปรักปรำพระองค์
ด้วยเหตุนี้ เราจึงชดเชยด้วยพยานแท้คือบทอ่านจากเหล่าประกาศกและอัครสาวก
รูปภาพ

4.บทพระวรสาร
พระเยซูได้ถูกนำตัวมาแสดงต่อประชาชนที่จวนของปีลาต
รูปภาพ
แก้ไขล่าสุดโดย Anonymous เมื่อ อาทิตย์ ต.ค. 04, 2009 10:09 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Zion
~@
โพสต์: 3777
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 8:37 pm
ติดต่อ:

พุธ ส.ค. 19, 2009 1:09 pm

5.บทยืนยันความเชื่อ
ปีลาตได้ถามพระเยซูว่า "ความจริงคืออะไร?"
ซึ่งเราก็ได้ตอบ โดยบทยืนยันความเชื่อของอัครสาวก
รูปภาพ

6.ภาคถวาย-การล้างมือ
ปีลาตได้สั่งให้นำพระเยซูไปเฆี่ยนเพื่อละเว้นโทษประหาร
ก็เช่นเดียวกับที่เราได้นำปังและเหล้าองุ่นมาถวายเป็นพระกาย
รูปภาพ

แต่บรรดาประชาชนยังเรียกร้องให้นำพระองค์ไปประหาร
ปีลาตจึงล้างมือไม่มีส่วนร่วมในการประหารนี้
ตรงกับข้ามกับบาทหลวงซึ่งได้ล้างมือเพื่อร่วมมีส่วนในการประกอบพิธีมิสซา
รูปภาพ

ในส่วนของพระสังฆราชจะถอดหมวกออก เพื่อยืนยันว่า
พระคริสตเจ้าเท่านั้นที่ทรงเป็นกษัตริย์สูงสุด เป็นการ
ชดเชยคำสบประมาทของสมณะ(ยน 19:15)
ส่วนเราทุกคนได้ร่วมยกจิตใจขึ้นหาพระองค์เป็นการขอบพระคุณพระองค์ที่ได้มอบองค์ถวายเป็นบูชา

7.เพลงศักดิ์สิทธิ์
พระองค์ได้ถูกเกณฑ์ให้แบกไม้กางเขน
เส้นทางนั้นเป็นเส้นทางเดียวกับที่พระองค์ได้รับการแห่ใบลานอย่างยิ่งใหญ่
รูปภาพ
เราจึงร้องบทเพลง"ศักดิ์สิทธิ์" เป็นการเรียบเรียงคำสรรเสริญของประชาชนที่มาแห่ใบลาน
พร้อมคำสรรเสริญของผู้มีชีวิตทั้งสี่ในนิมิตจากหนังสือวิวรณ์

8.ช่วงเสกศีล
เสกปังพระองค์ได้ถูกตรึงบนไม้กางเขนแล้ว
เมื่อเสกศีลเสร็จแล้วจะภาวนาเพื่อพี่น้องผู้มีชีวิต
เช่นเดียวกับที่พระเยซูเจ้าทรงภาวนาขอพระบิดาประทานอภัยแก่ผู้ที่ทำร้ายพระองค์
ตลอดจนบรรดาผู้ล่วงลับ ดั่งที่ตรัสกับนักบุญดิดิมุส โจรผู้กลับใจ
รูปภาพ
แก้ไขล่าสุดโดย Anonymous เมื่อ พุธ ส.ค. 19, 2009 1:52 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Zion
~@
โพสต์: 3777
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 8:37 pm
ติดต่อ:

พุธ ส.ค. 19, 2009 1:11 pm

9.บทข้าแต่พระบิดา
พระองค์ได้ตรัสแก่นักบุญยอห์นรับพระนางมารีย์เป็นมารดาของตน
ด้วยเหตุนี้คริสตชนจึงร่วมเป็นพี่น้องบุญธรรมของพระเยซู โดยมีพระนางเป็นมารดา
รูปภาพ

10. มอบสันติสุขให้แก่กัน
รูปภาพ
(ลำดับพิธีกรรมส่วนนี้เป็นพิธีที่เพิ่มเติมมาในสังคายนวาติกันครั้งที่2)
ตามคำตรัสของพระเยซูเจ้าที่ว่า
"ขณะที่ท่านนำเครื่องบูชาไปถวายยังพระแท่น ถ้าระลึกได้ว่าพี่น้องของท่านมีข้อบาดหมางกับท่านแล้ว
จงวางเครื่องบูชาไว้หน้าพระแท่น กลับไปคืนดีกับพี่น้องเสียก่อน แล้วจึงค่อยกลับมาถวายเครื่องบูชานั้น  "
มัทธิว5:23-24

11.ลูกแกะพระเจ้า
รูปภาพ
พระองค์ได้ทำหน้าที่สำเร็จบริบูรณ์
ในฐานะลูกแกะของพระเจ้าตามคำกล่าวขอยอห์นผู้ทำพิธีล้างแล้ว
บาทหลวงจะหักปัง เพื่อแาดงให้เห็นว่าพระคริสตเจ้าได้สินพระชนม์แล้ว
การที่เราสำนึกผิดว่าไม่สมควรที่จะรับพระกรุณา
ดวงจิตที่เป็นทุกข์นี้ ได้เป็นเหมือนมดยอบของนิโคเดมัส
อีกทั้งกาลิสก์ของโยเซฟ อาริมาเธีย ภาชนะที่สมควรที่จะรับพระกายพระโลหิตของพระองค์
รูปภาพ

12.การอวยพรปิดพิธี
พระคริสตเจ้าได้ทรงกลับคืนพระชนม์ชีพแล้ว
พระองค์ได้อวยพรเราด้วยพระจิต
อีกทั้งมอบหมายให้เรา "ออกไป/Missa"
ประกาศ และปฎิบัติตามพระวาจาของพระองค์
รูปภาพ
แก้ไขล่าสุดโดย Anonymous เมื่อ พุธ ส.ค. 19, 2009 2:26 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
พระเจ้าสถิตย์กับเราเสมอ
~@
โพสต์: 2546
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 10:54 pm

พุธ ส.ค. 19, 2009 2:12 pm

เยี่ยม!!

ขอพระนามพระเจ้าจงได้รับการสรรเสิญในทุกนานานชาติ
ภาพประจำตัวสมาชิก
yack
โพสต์: 816
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ส.ค. 11, 2008 11:01 am

พุธ ส.ค. 19, 2009 3:04 pm

ขอขอบคุณมากครับที่เเบ่งปันความรู้ดีดีเเบบนี้
sinner
โพสต์: 2246
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ มี.ค. 08, 2009 1:24 pm

พุธ ส.ค. 19, 2009 7:50 pm

ขอบคุณค่ะน้องยศ ได้ความรู้ใหม่เพิ่มอีกเยอะเลย

ขอพระอวยพรค่ะ : emo045 :
วอ
โพสต์: 1153
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. พ.ย. 13, 2008 7:36 pm

พุธ ส.ค. 19, 2009 7:55 pm

ดีครับ  : xemo026 :
Te Deum
โพสต์: 387
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร มิ.ย. 02, 2009 7:20 pm

พุธ ส.ค. 19, 2009 8:22 pm

เยี่ยมมากค่ะ Two thumbs Up  : emo038 :

ได้ความรู้ใหม่เพียบเลย 55+
ภาพประจำตัวสมาชิก
sasuke
~@
โพสต์: 1120
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ธ.ค. 06, 2006 12:00 am
ที่อยู่: ใต้เสื้อคลุมของแม่

พฤหัสฯ. ส.ค. 20, 2009 12:00 am

จำได้ว่าพ่อเขียวเคยพูดว่า ตลอดมิสซาเหมือนกับนิยายเรื่องยาว
ที่บรรจุชีวิตของพระเยซูตั้งแต่ลงมาเกิด จนกลับสู่สวรรค์ไว้อย่างครบถ้วนและละเอียดลึกซึ้ง

ขอบคุณครับที่แบ่งปัน  : emo045 :
Petervich
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ธ.ค. 01, 2007 7:22 pm

พฤหัสฯ. ส.ค. 20, 2009 11:10 am

: emo027 : : xemo026 :  ขอบคุณคุณยศิยละผู้แสวงหาพระเจ้า ที่กรุณายกข้อมูลพื้นฐานมาอธิบายเรื่อง"มิสซา"  แสดงว่ามีความรู้รอบมากพอสมควร  แต่สำหรับผม  มีความสงสัยบางประการเกี่ยวกับเรื่องคำว่า"มิสซา" ที่พยายามหาคนอธิบายไม่พบมานานแล้ว  คุณอาจจะทราบข้อมูลนี้  กรุณาตอบหรือหามาแบ่งปันหน่อย  จะเป็นความกรุณาอย่างศุงทีเดียว

          คือภาษาไทย แต่เดิมใช้เรียกพิธีสูงส่งนี้ว่า "มิสซา" หรือ "พิธีมิสซา" ซึ่งเรียกตามคำอ่านจากภาษาละตินว่า"Missa" หรือภาษาอังกฤษว่า "Mass"  ถ้าเป็นมิสซาใหญ่หรือมิสซาขับจะเรียกว่า "พิธีมหาบูชามิสซา"  ถ้าไม่ใช่พิธีอย่างสง่าคงเรียก"มิสซาน้อย"หรือ"มิสซา"ธรรมดา  และทั่วโลกก็ใช้คำว่า"มิสซา"หรือ 'Mass" หรือ "Missa" หรือออกเสียงใกล้เคียงคำละติน  แบบนี้ใช้กันทั่วโลก  มีศาสนจักรคาทอลิกไทยนี่แหละที่เปลี่ยนคำเรียกพิธีมิสซา เป็น "มิสซาขอบพระคุณ"  งงหรือเปล่า  ทำไมเรียก"มิสซาขอบพระคุณ" ขอบพระคุณใคร เรื่องอะไร  ผิดวัตถุประสงค์มิสซาแท้ๆหรือเปล่า  คุณยศิยลผู้แสวงหาพระเจ้าช่วยหาคำอธิบายให้ด้วย  จะเป็นพระคุณยิ่ง-ครับ
Batholomew
~@
โพสต์: 12724
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 2:28 pm
ที่อยู่: Thailand

พฤหัสฯ. ส.ค. 20, 2009 1:43 pm

ขอบใจนะครับยศ
ภาพประจำตัวสมาชิก
sasuke
~@
โพสต์: 1120
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ธ.ค. 06, 2006 12:00 am
ที่อยู่: ใต้เสื้อคลุมของแม่

ศุกร์ ส.ค. 21, 2009 2:26 am

Petervich เขียน:           คือภาษาไทย แต่เดิมใช้เรียกพิธีสูงส่งนี้ว่า "มิสซา" หรือ "พิธีมิสซา" ซึ่งเรียกตามคำอ่านจากภาษาละตินว่า"Missa" หรือภาษาอังกฤษว่า "Mass"  ถ้าเป็นมิสซาใหญ่หรือมิสซาขับจะเรียกว่า "พิธีมหาบูชามิสซา"  ถ้าไม่ใช่พิธีอย่างสง่าคงเรียก"มิสซาน้อย"หรือ"มิสซา"ธรรมดา  และทั่วโลกก็ใช้คำว่า"มิสซา"หรือ 'Mass" หรือ "Missa" หรือออกเสียงใกล้เคียงคำละติน  แบบนี้ใช้กันทั่วโลก  มีศาสนจักรคาทอลิกไทยนี่แหละที่เปลี่ยนคำเรียกพิธีมิสซา เป็น "มิสซาขอบพระคุณ"  งงหรือเปล่า  ทำไมเรียก"มิสซาขอบพระคุณ" ขอบพระคุณใคร เรื่องอะไร  ผิดวัตถุประสงค์มิสซาแท้ๆหรือเปล่า  คุณยศิยลผู้แสวงหาพระเจ้าช่วยหาคำอธิบายให้ด้วย  จะเป็นพระคุณยิ่ง-ครับ
ขออนุญาตตอบแทนพี่ยศ อาจจะตกจะหล่นก็รบกวนช่วยมาเสิรมทีหลังด้วยนะครับ

คาดว่าคำว่า "มิสซา" เราน่าจะรับมาจากฝรั่งเศสครับ เป็นความบังเอิญที่ศัพท์ฝรั่งเศสกับละตินเขียนเหมือนกันพอดี
และแต่ละทีก็ใช้คำแตกต่างกันไป ใช้ Missa บ้าง ใช้ Mass บ้าง

ส่วนคำว่า high mass กับ low mass นั้น ผมคิดว่าน่าจะใช้แค่กับพิธีมิสซาที่เป็นพิธีแบบจารีตละตินเท่านั้น
อันที่จริงแล้วแต่ละพิธีก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ตราบเท่าที่มีพระคริสต์เป็นศูนย์กลาง

รายละเอียดลองดูที่เวปนี้ครับ
http://kularptip.biz.tc/liturgical_eucharistic.html

ขออนุญาตคัดจากเวปมาสำหรับคำตอบ

1. พิธีมิสซา (บูชาขอบพระคุณ ; พิธีมิสซาฯ) คือ พิธีบูชาขอบพระคุณ ในความเป็นหนึ่งเดียวกัน ของคริสตชน โดยมีองค์พระเยซูเจ้าเอง เป็นเครื่องบูชาเพื่อ ไถ่บาปแทนเรามนุษย์ อาศัยพระกาย และพระโลหิต ที่ยอมสละ และพลีชีวิตเพื่อเรา ดังนั้น พิธีมิสซาฯ จึงควรเป็นพิธีของ ส่วนรวมในความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ที่คริสตชนจะ ขอบพระคุณพระเจ้า ที่ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์ ลงมาไถ่บาปแทนเรามนุษย์ทุกคน

ในความเป็นจริง คำว่า “มิสซา” หมายถึง “การถูกส่งไป” เพื่อ ประกาศข่าวดี และเป็นแบบอย่าง รวมทั้งมอบตนเอง และชีวิตให้มี คุณค่าต่อคนอื่นๆ เช่นเดียวกันกับที่เราได้รับจากพระเจ้า ความหมายที่แท้จริงของคำว่ามิสซา จึงไม่ถูกต้องตรงกับ ที่เป็นอยู่ในเวลานี้ เราจึงควรเรียกพิธีกรรมในปัจจุบันว่า “พิธีบูชาขอบพระคุณ” (Eucharistic Celebration) โดยเน้นที่ ความหมายของพิธีกรรมว่า เป็นการขอบพระคุณอย่างแท้จริง คือ พระเยซูเจ้า เป็นทั้งผู้ถวาย และเป็นเครื่องบูชาเอง โดยผ่านทางพิธีการ หักปังบนพระแท่นเพื่อขอบพระคุณพระบิดา สำหรับการส่งพระบุตร ให้มาไถ่กู้มนุษยชาติ จะเห็นได้ว่าคำว่ามิสซา จึงไม่ตรงกับคำศัพท์ และ ความหมายทางพิธีกรรม เพียงแต่มีความเข้าใจ และถือกันมาจาก ธรรมเนียมประเพณีเดิมมากกว่าพิธีมิสซา

---------------------------------------------------------------

มิสซาปัจจุบันนี้ก็ยังคงเป็นมิสซาแท้ครับ อาจจะเปลี่ยนชื่อเรียกทางการนิดหน่อย
แต่จะยังคงเรียกว่ามิสซาตามความเคยชินก็คงจะไม่ผิด ตราบเท่าที่สื่อสารกันเข้าใจ
ผมว่าแบบใหม่นี้ออกจะได้ความหมายลึกซึ้งดีกว่าแบบเก่าเสียด้วยซ้ำไป
Holy Bible
โพสต์: 690
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ มี.ค. 09, 2009 12:00 pm

ศุกร์ ส.ค. 21, 2009 7:17 am

ขอบคุณครับ : xemo017 :
Petervich
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ธ.ค. 01, 2007 7:22 pm

ศุกร์ ส.ค. 21, 2009 11:17 am

: xemo026 :  ขอบคุณครับที่มีผู้พยายามอธิบายคำว่า"มิสซา"  แต่ผมยังเห็นว่าคำตอบไม่สมบูรณ์ แม้จะอ้างอิงบทความจากเว็บแม่พระกุหลาบทิพย์  เพราะยังมีข้อกังขาอยู่ว่า  ใครเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพิธีมิสซาในเว็บของวัดแห่งนั้น  คำอธิบายเกี่ยวกับข้อลึกลับและพิธีกรรมทางศาสนา ควรจะมี Censor Deputatus เพื่อคัดกรองข้อมูลให้ตรงตามคำสอนของพระศาสนจักรจริงๆ  และควรได้รับ Imprimatur เพื่อการเผยแพร่โดยการพิมพ์หรือลงในเว็บไซต์ต่างๆด้วย  ผมทราบว่าคุณพ่อและพระสังฆราชที่กำหนดการเรียกพิธีมิสซาเป็น"พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ"ทั้งสองท่านวายชนม์ไปแล้ว  และไม่ทิ้งเอกสารใดๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้  ที่มีมาก็เป็นการอธิบายจากคนอื่นต่อๆมา  ถ้าจะอ้างอิงคำว่า"มิสซา"ใช้ในประเทศต่างๆคงจะยืดยาวเอาเป็นว่าที่คุณว่าฝรั่งเศสก็ใช้คำเดียวกันนี้นั้นน่าจะพลาดไป  ถ้ารู้ภาษาฝรั่งเศสกลับไปเปิดดูใหม่ไม่ดีหรือ?  ขอยืนยันว่าไม่มีประเทศใดเรียกพิธีมิสซาแผลงๆแบบเมืองไทยเราแน่นอน

              ผมอยากให้พวกเราที่เป็นคริสตชนคาทอลิกกลั่นกรองเอาแต่ความจริง ด้วยเหตุด้วยผลและจากคำสั่งสอนของพระศาสนจักร  น่าจะหาทางไปสู่ความจริง ตามที่พวกเราในเว็บไซต์แห่งนี้ตั้งปนิธานไว้  จะไม่ดีกว่าหรือ - ครับ

         
francisco xavier
โพสต์: 300
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 19, 2007 11:40 am

ศุกร์ ส.ค. 21, 2009 11:36 am

ขออนุญาตถามเป็นความรู้เพิ่มเติมนะครับ คุณpetervich คือ ผมอยากทราบว่า พิธี มิสซา ของประเทศไทย กับของที่อื่นในโลกต่างกันหรือเปล่าครับ หรือ พิธีไม่ต่างกัน เพียงแต่ต่างกันที่ ที่อื่นเรียกว่า มิสซา แต่ที่ไทย เรียก มิสซาขอบพระคุณ ด้วยความเคารพ ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
sasuke
~@
โพสต์: 1120
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ธ.ค. 06, 2006 12:00 am
ที่อยู่: ใต้เสื้อคลุมของแม่

ศุกร์ ส.ค. 21, 2009 9:20 pm

Petervich เขียน: : xemo026 :  ขอบคุณครับที่มีผู้พยายามอธิบายคำว่า"มิสซา"  แต่ผมยังเห็นว่าคำตอบไม่สมบูรณ์ แม้จะอ้างอิงบทความจากเว็บแม่พระกุหลาบทิพย์  เพราะยังมีข้อกังขาอยู่ว่า  ใครเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพิธีมิสซาในเว็บของวัดแห่งนั้น  คำอธิบายเกี่ยวกับข้อลึกลับและพิธีกรรมทางศาสนา ควรจะมี Censor Deputatus เพื่อคัดกรองข้อมูลให้ตรงตามคำสอนของพระศาสนจักรจริงๆ  และควรได้รับ Imprimatur เพื่อการเผยแพร่โดยการพิมพ์หรือลงในเว็บไซต์ต่างๆด้วย  ผมทราบว่าคุณพ่อและพระสังฆราชที่กำหนดการเรียกพิธีมิสซาเป็น"พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ"ทั้งสองท่านวายชนม์ไปแล้ว  และไม่ทิ้งเอกสารใดๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้  ที่มีมาก็เป็นการอธิบายจากคนอื่นต่อๆมา  ถ้าจะอ้างอิงคำว่า"มิสซา"ใช้ในประเทศต่างๆคงจะยืดยาวเอาเป็นว่าที่คุณว่าฝรั่งเศสก็ใช้คำเดียวกันนี้นั้นน่าจะพลาดไป  ถ้ารู้ภาษาฝรั่งเศสกลับไปเปิดดูใหม่ไม่ดีหรือ?  ขอยืนยันว่าไม่มีประเทศใดเรียกพิธีมิสซาแผลงๆแบบเมืองไทยเราแน่นอน

              ผมอยากให้พวกเราที่เป็นคริสตชนคาทอลิกกลั่นกรองเอาแต่ความจริง ด้วยเหตุด้วยผลและจากคำสั่งสอนของพระศาสนจักร  น่าจะหาทางไปสู่ความจริง ตามที่พวกเราในเว็บไซต์แห่งนี้ตั้งปนิธานไว้  จะไม่ดีกว่าหรือ - ครับ

         
กราบขออภัยเรื่องศัพท์ ความจริงผมก็ไม่ได้เชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศ รู้เพียงประวัติศาสตร์
ว่าฝรั่งเศสเป็นชาติที่นำศาสนาเข้ามาอย่างเป็นทางการ ศัพท์แสงต่างๆก็คาดเดาว่าคงจะนำมาจากที่ฝรั่งเศสใช้ครับ

ผู้เขียนคือ คุณพ่อ ร็อค วิศิษฎ์ หริพงศ์ ครับ ตอนนี้คุณพ่อเกษียณเรียบร้อยแล้ว
http://kularptip.biz.tc/missa.html

ผมไม่คิดว่าเราต้องการสิ่งที่เรียกว่า Imprimatur เสมอไปหรอกครับ ตราบเท่าที่สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่พระศาสนจักรสั่งสอน
ไม่อย่างนั้นก็คงจะยุ่งและวุ่นวายน่าดู ที่คุณพ่อทุกคนต้องขอ Imprimatur สำหรับสารวัดที่สั่งสอนสัตบุรุษ
และจะเขียนหนังสือเสริมศรัทธาแต่ละที ก็ต้องมาวุ่นวายกับเรื่องที่มนุษย์กำหนดขึ้นมาเพื่อตรวจสอบกันเอง

ไม่ว่าจะเป็นคำไหน จะเป็น "พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ" หรือแค่ "มิสซา" เฉยๆ
ผมคิดว่าก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงความหมายที่แท้จริงของพิธีมิสซาเลย
เพราะพิธีไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ในพิธีนั้นก็ยังคงรื้อฟื้นสิ่งที่พระเยซูทำเพื่อเราในอดีต
รายละเอียดอาจจะต่างกันไปเล็กน้อยจากอดีตถึงปัจจุบัน แต่สิ่งสำคัญในมิสซาก้ยังคงอยู่อย่างครบถ้วนครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
^_^Matthew^_^
โพสต์: 354
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.ค. 10, 2008 2:03 am
ที่อยู่: 125 ม.7 ถ.ชัยภูมิ-สีคิ้ว ต.หนองนาแซง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ 36000
ติดต่อ:

ศุกร์ ส.ค. 21, 2009 10:37 pm

ขอบพระคุณสำหรับการแบ่งปันครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ecclēsia
โพสต์: 976
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ พ.ค. 27, 2009 9:25 pm
ที่อยู่: อาสนวิหารอัสสัมชัญ เขต1 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ติดต่อ:

ศุกร์ ส.ค. 21, 2009 10:56 pm

จากหนังสือ พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ Celebratio Eucharistica (Ordo Missae)

คำประกาศ- คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม เห็นว่าบทประจำพิธีมิสซาบูชาของพระคุณ (บทประจำมิสซา)
ซึ่งใช้มาตั้งเเต่วันปัสกา 26 มีนาคม 1978 นั้นควรจะได้รับการปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำ วลีเเละประโยค
ให้เกิดความสมบูรณ์ขึ้นในส่วนของเทววิทยา ด้านหลักการใช้ภาษาไทย ด้านการอภิบาล เเละด้านศาสนสัมพันธ์

นอกจากการขัดเกลาสำนวนภาษาไทยให้ถูกต้องยิ่งขึ้นเเล้ว การดำเนินงานดังกล่าวยังได้ปรับเปลี่ยนส่วนสำคัญบางประการ
คือ การปรับเปลี่ยนคำว่า "พิธีมิสซา (Missa)" เป็น "พิธีมิสซาบูชาของพระคุณ" ซึ่งเน้นว่า มิสซาเป็น
"พิธีบูชาขอบพระคุณ (Eucharistic Celebration)"
จะทำให้ความหมายตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด ...


ต่อไปนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว

การที่คณะกรรมการฯเปลี่ยน (จริงๆน่าจะเรียกว่าเพิ่ม) จากคำว่า "พิธีมิสซา" เป็น "พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ"นั้นเหมาะสมเเล้ว
เพราะเอื้อประโยชน์ต่องานศาสนสัมพันธ์ ทำให้พี่น้องต่างศาสนาสามารถเข้าใจว่า "มิสซา" คืออะไร เป็นการปรับเปลี่ยนไปใช้ภาษาที่สัตบุรุษท้องถิ่นเข้าใจได้ เเละไม่ได้เขวไปจากความหมายที่เเท้จริง
แก้ไขล่าสุดโดย Anonymous เมื่อ ศุกร์ ส.ค. 21, 2009 10:59 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
sinner
โพสต์: 2246
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ มี.ค. 08, 2009 1:24 pm

เสาร์ ส.ค. 22, 2009 7:55 pm

ขอบคุณฮับน้องเจน : xemo026 :
Petervich
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ธ.ค. 01, 2007 7:22 pm

เสาร์ ส.ค. 22, 2009 11:44 pm

: xemo026 :  ผมยังยืนยันว่า การเรียกพิธีมิสซาว่า "มิสซาบูชาขอบพระคุณ" จากที่น่าจะแปลตรงตำว่า Eucharist ในการเรียกพิธีมิสซาว่า Eucharistic Celebration ซึ่ง เป็นคำมาจากภาษากรีกที่มีความหมายว่า"ขอบพระคุณ"นั้น เป็นคำแปลที่ผิดหลงแน่นอน  เพราะคำนี้เป็นศัพท์ที่พระศาสนจักรหมายถึง"ศีลมหาสนิท" หรือ Holy Communion ครับ  ดูจากตำราประมวลกฎหมายพระศาสนจักร บรรพ ๔ หน้าที่ทำให้ศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักร มาตรา ๙๐๐ จนถึง มาตรา ๙๔๔ ล้วนเรียกการถวายบูชามิสซาว่า The Celebration of Eucharist ทั้งสิ้น  ไม่มีการเรียกพืธีนี้ว่า "พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ"ที่ใดเลย  หรือคณะกรรมการพิธีกรรมที่เดินตามแนว Novus Ordo Missa ยังไม่ตื่นขึ้นมาตรวจสอบความถูกต้องบ้าง  อย่าสักแต่ว่าต้องการหาคำพูดง่ายๆเพื่อให้คนต่างศาสนาเข้าใจ  และใช้คำผิดพลาดเสียเอง  คงไม่น่าให้อภัยนะท่าน

            ขอแนะนำให้กลับไปค้นคว้าหาข้อมูลที่สมเหตุสมผลมาให้มากกว่านี้  พวกท่านคงจะเข้าใจความหมายของคำว่า  Eucharist Celebration หรือ The Celebration of Eucharist คือพิธีเสกศีลมหาสนิท หรือ พิธีมิสซา นั่นเอง  ลองหาเอกสารสนับสนุนความคิดเห็นของแต่ละท่านมายันกัน  จะดีไหมครับ?
ภาพประจำตัวสมาชิก
Léon
โพสต์: 766
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ มิ.ย. 13, 2009 8:43 pm
ที่อยู่: แผ่นดินโลก
ติดต่อ:

อาทิตย์ ส.ค. 23, 2009 12:55 am

Petervich เขียน: : xemo026 :   ผมยังยืนยันว่า การเรียกพิธีมิสซาว่า "มิสซาบูชาขอบพระคุณ" จากที่น่าจะแปลตรงตำว่า Eucharist ในการเรียกพิธีมิสซาว่า Eucharistic Celebration ซึ่ง เป็นคำมาจากภาษากรีกที่มีความหมายว่า"ขอบพระคุณ"นั้น เป็นคำแปลที่ผิดหลงแน่นอน  เพราะคำนี้เป็นศัพท์ที่พระศาสนจักรหมายถึง"ศีลมหาสนิท" หรือ Holy Communion ครับ  ดูจากตำราประมวลกฎหมายพระศาสนจักร บรรพ ๔ หน้าที่ทำให้ศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักร มาตรา ๙๐๐ จนถึง มาตรา ๙๔๔ ล้วนเรียกการถวายบูชามิสซาว่า The Celebration of Eucharist ทั้งสิ้น  ไม่มีการเรียกพืธีนี้ว่า "พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ"ที่ใดเลย  หรือคณะกรรมการพิธีกรรมที่เดินตามแนว Novus Ordo Missa ยังไม่ตื่นขึ้นมาตรวจสอบความถูกต้องบ้าง  อย่าสักแต่ว่าต้องการหาคำพูดง่ายๆเพื่อให้คนต่างศาสนาเข้าใจ  และใช้คำผิดพลาดเสียเอง  คงไม่น่าให้อภัยนะท่าน

            ขอแนะนำให้กลับไปค้นคว้าหาข้อมูลที่สมเหตุสมผลมาให้มากกว่านี้  พวกท่านคงจะเข้าใจความหมายของคำว่า  Eucharist Celebration หรือ The Celebration of Eucharist คือพิธีเสกศีลมหาสนิท หรือ พิธีมิสซา นั่นเอง  ลองหาเอกสารสนับสนุนความคิดเห็นของแต่ละท่านมายันกัน  จะดีไหมครับ?
แนะนำให้ท่านเขียนหนังสือเรียนยังสภาพระสังฆราชฯ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรงดีกว่าครับ
การหาสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ต้องหาให้ถูกแหล่ง การค้นหาความจริงจะมีประโยชน์อันใดถ้าหาไม่ถูกแหล่ง
หลายๆ ท่าน ณ ที่นี้ ผมยอมรับว่าเขาเป็นผู้มีภูมิรู้ ซึ่งอาจจะมากน้อยต่างกันไป ก็ให้ข้อมูลตามที่เข้าใจกันเป็นส่วนตัว
แต่คงชี้ชัดมิได้ หากจะอ้างถึง ก็หาจากเอกสารเท่าที่ค้บพบในระบบเครือข่าย อาจมิสามารถไขปัญหาคาใจของท่านได้อย่างถ่องแท้
อย่างไรก็ตาม ขอภาวนาให้ท่านได้พบคำตอบที่แท้จริงโดยเร็ววันครับ

ไม่แน่ว่าข้อสงสัยของท่าน อาจเป็นจุดเริ่มทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมกว่าเดิมก็เป็นได้ครับ
แก้ไขล่าสุดโดย Léon เมื่อ อาทิตย์ ส.ค. 23, 2009 1:01 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
~_~Katty~_~
โพสต์: 95
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ธ.ค. 15, 2008 11:23 pm
ที่อยู่: 4 ซ.1 ถ.รถไฟ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000
ติดต่อ:

อาทิตย์ ส.ค. 23, 2009 2:43 am

ขอบคุณค่ะมีความรู้ขึ้นเยอะเลยค่ะสำหรับการสรรเสริฐพระเจ้า : xemo017 :
ภาพประจำตัวสมาชิก
Edwardius
โพสต์: 1392
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ต.ค. 12, 2006 3:02 pm
ที่อยู่: Lamphun, Thailand

อาทิตย์ ส.ค. 23, 2009 4:46 am

ความหมายเชิงนิรุกติศาสตร์ของคำว่า EUCHARIST

ในภา่ษากรีก คำว่า eucharistía (εὐχαριστία) ซึ่งเป็นคำนามมีที่มาจาก eú- หมายถึง ดีงาม (good, well) + cháris หมายถึง เป็นที่โปรดปราน หรือพระคุณ (favor, grace)
ในขณะที่คำว่า Eucharistéō (εὐχαριστῶ) นั้นเป็นคำกริยามีความหมายว่า ขอบคุณ (to thank) ปรากฏในพันธสัญญาใหม่ และพระคัมภีร์ฉบับเซปตัวจินต์ (LXX). โดยปรากฏชัดในบทที่เกี่ยวข้องกับอาหารค่ำมื้อสุดท้ายขององค์พระผู้เป็นเจ้า (the Lord's Supper)

เพราะว่าเรื่องซึ่งข้าพเจ้าได้มอบไว้กับท่านแล้วนั้น ข้าพเจ้าได้รับจากองค์พระผู้เป็นเจ้า คือในคืนที่เขาทรยศพระเยซูเจ้านั้น พระองค์ทรงหยิบขนมปัง ครั้นขอบพระคุณแล้ว (eucharistéō) จึงทรงหักแล้วตรัสว่า "จงรับไปกินเถิด นี่เป็นกายของเรา ซึ่งหักออกเพื่อท่านทั้งหลาย จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา" (1คร 11:23-24)
For I received from the Lord that which I also delivered to you, that the Lord Jesus in the night in which He was betrayed took bread; and when He had given thanks (eucharistéō), He broke it and said, "This is My body, which is for you; do this in remembrance of Me." (1 Corinthians 11:23-24, NASB)

แล้วพระองค์จึงทรงหยิบถ้วย ขอบพระคุณ (eucharistéō) และส่งให้เขา เขาก็รับไปดื่มทุกคน แล้วพระองค์ตรัสแก่เขาว่า "นี่เป็นโลหิตของเราอันเป็นโลหิตแห่งพันธสัญญาใหม่ ซึ่งต้องหลั่งออกเพื่อคนเป็นอันมาก (มก 14:23-24)
And when He had taken a cup and given thanks (eucharistéō), He gave it to them, and they all drank from it. And He said to them, "This is My blood of the covenant, which is poured out for many." (Mark 14:23-24, NASB)

ส่วนคำว่า Communion ซึ่งภาษาไทยโดยมากแปลเป็น "พิธีมหาสนิท" นั้น ไม่ถือว่าเข้าข่ายเชิงภาษาและความหมายที่แท้จริง แต่มีส่วนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ Eucharist และ Mass
Communion มาจากภาษากรีก koinōnía (κοινωνία) พบใน 1คร 10:16 ซึ่งในภาษาไทยจะให้ความหมายเป็นการมีส่วนร่วม

ถ้วยแห่งพระพรซึ่งเราได้ขอพระพรนั้นเป็นที่ทำให้เรามีส่วนร่วม (koinōnía) ในพระโลหิตของพระคริสต์มิใช่หรือ ขนมปังซึ่งเราหักนั้นเป็นที่ทำให้เรามีส่วนร่วมในพระกายของพระคริสต์มิใช่หรือ
The cup of blessing which we bless, is it not the communion (koinōnía) of the blood of Christ? The bread which we break, is it not the communion (koinōnía) of the body of Christ? (1 Corinthians 10:16, KJV)

ทีนี้การแปลหรือเลือกใช้คำว่า Eucharist, Missal (Mass), Communion ขึ้นอยู่กับว่า ผู้เขียนต้องการสื่อความหมายหนักไปทางไหน

ถ้าบริบทที่พูดถึงพิธีกรรมหนึ่งๆ ควรใช้ Mass เพราะ Mass เป็นพิธีที่ประกอบไปด้วยสาระของการขอบพระคุณ และสาระของการมีส่วนร่วมในกันและกันในพระกายของพระคริสต์

ถ้าเน้นหนักไปทางสาระของพิธีกรรม ควรใช้ Eucharist เพราะสาระ และแก่นของพิธีิอยู่ที่การกระทำซ้ำ (repeat) ของพระสงฆ์ที่ขอบคุณพระเป็นเจ้าสำหรับปังและเหล้าองุ่น

ถ้าเน้นหนักไปทางความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งต้องมี (requirement) ของผู้เข้าร่วมพิธี ก็ควรใช้ Communion

ทั้งนี้ในภาษาไทยเราไม่มีการใช้คำอื่นๆ แทน Eucharist/Mass/Communion ที่ให้ความหมายเชิงบริบทเหล่านี้

แต่ภาษาไทย (โดยความเข้าใจที่ไม่ใช้การบัญญัติ) ถือว่า การใช้คำว่า พิธีมิสซา เป็นคำเชิงคาทอลิก เช่นเดียวกับ "ศีล"มหาสนิท ในขณะที่ พิธีมหาสนิท จะเป็นคำของโปรฯ ไป

ทั้งนี้ ในความเข้าใจของภาษาจากการใช้จริงที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คำว่า Eucharist มีความหมายในเชิงรูปธรรม ที่หมายถึง แผ่นศีล/เหล้าองุ่นที่เสกแล้ว หรือ พระกายและพระโลหิตมากขึ้น

ทำให้ความเข้าใจทางภาษาขยับจาก action ของการขอบพระคุณ ไปอยู่ที่ สิ่งที่เป็นผลจากการของพระคุณนั้น ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากคำสอนเรื่อง Transubstantiation

act of Thank ---> consecrate host

ส่วนเรื่องว่า ใช้คำไม่เหมาะสม นั้น ผมไม่ขอออกความเห็น

และตราบใดที่ยังไม่มีการสังคายนาบัญญัติศัพท์ืใหม่ รวมไปถึง การสร้างคำใหม่ที่เหมาะสมขึ้นทดแทนได้ ก็สมควรใช้สิ่งที่มีอยู่ต่อไป เพราะความเข้าใจของสาธารณชนเป็นเช่นนั้น
Petervich
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ธ.ค. 01, 2007 7:22 pm

อาทิตย์ ส.ค. 23, 2009 1:34 pm

: xemo026 :  วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๐๐๙  กลับจากวัดก็ได้อ่านคำตอบเรื่อง"มิสซา" จากคุณ Edwardius ซึ่งอธิบายเรื่อง Mass, Eucharist, Holy Communion  โดยการยกบริบทและคำอธิบายจากผู้ทรงคุณวุฒิคาทอลิกต่างๆ  และผมเองก็มีข้อมูลดังกล่าวเช่นกัน  ยินดีที่มีผู้รู้เช่นคุณในวงการคาทอลิกเรา

          ที่ผมยกกระทู้เรื่อง"มิสซา"ขึ้นมาเป็นประเด็นสอบถามเช่นนี้  ไม่ใช่ต้องการหา"ผู้รับผิดชอบ"ในเรื่องดังกล่าว  คงหาได้แต่ที่คุณและผมหวังว่า"อาจ"จะมีการพิจารณาแก้ไขบ้างนั้น  ผมว่าอีก ๑๐๐(ร้อย)ปีก็ยังคงอยู่อย่างนี้  อย่าไปหวังว่าจะมีการพิจารณาเรื่องแบบนี้  เพราะคนที่เป็นคาทอลิกขณะนี้- รวมพระสงฆ์ นักบวชและฆราวาส  ต่างได้รับสิ่งแก้ไขตกทอดมานานเกือบ ๕๐-๖๐ ปีแล้ว  เค้ามูลศาสนาคริสตังดั้งเดินนั้นหายไปจากข้อปฏิบัตินานพอที่คนยุคปัจจุบันนี้ ไม่เห็นว่าที่กำลังเป็นไปในพระศาสนจักรขณะนี้ไม่เห็นมีอะไรบกพร่องที่จะต้องแก้ไข  มีผม(และคุณ)และคนแก่-พระสงฆ์แก่ๆอีกบางคนเท่านั้นที่ยังคงคิดถึงวันเก่าๆ  วันที่พระศาสนจักรคริสตังเดิมยังคง"ฟัง"มิสซาที่เป็นภาษาละติน ขับเป็นภาษาละติน มิสซาผู้ตายละติน  พระสงฆ์ผู้ทำมิสซายืนนำหน้าสัตบุรุษหันหน้าเผชิญพระเป็นเจ้าในตู้ศีล ฯลฯ ที่สมัยโน้นใช้ชื่อว่า Tridentine Mass ไง  และเหตุเกิดหลังสังคายนาวาติกันที่สอง (Vatican Council II) ที่เปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ กลายเป็น Novus Ordo Mass  ดังที่เห็นทุกวันนี้  แม้แต่คติคำสอนดั้งเดิมที่ว่า Extra Ecclesiam Nulla Salus( ไม่มีความรอดนอกพระศาสนจักร)ก็เปลี่ยนเป็นว่า ไม่จำเป็นต้องกลับใจมาถือความเชื่อและรับศีลล้างบาปแบบคาทอลิก  ใครๆก็สามารถเอาตัวรอดไปสวรรค์ได้  ยุ่งตรงที่ว่า ต่อไปนี้จำเป็นไหมที่เราจะประกาศ"ข่าวดี"แก่คนศาสนาอื่น  มีการอนุญาตให้คนที่ไม่ใช่คริสต์คาทอลิก สามารถรับศีลมหาสนิทจากพระสงฆ์ได้  นี่มันอะไรกัน ฯลฯ

          ผม(และคุณ)คงไม่ต้องหวังอะไรอีก ไม่ต้องหวังว่าจะมีการเปลี่ยนความเชื่อและการปฏิบัติพิธีกรรมแบบเดิม หวนคืนมาใช้อีก  เพราะคนคาทอลิกรุ่นปัจจุบันนี้ไม่ทราบเรื่องที่ผมกับคุณกำลังคุยกันอยู่ขณะนี้  พระสงฆ์(บาทหลวง)รุ่นใหม่ก็เถอะ  พอพูดถึงภาษาละตินหลบกันวูบวาบ  เพราะอะไร  ก็เพราะสังคายนาวาติกันที่สองไม่ให้บ้านเณรสอนละตินตั้งแต่นานแล้ว  ลืมได้เลย  ที่คุณพยายามคิดว่า กระทู้ของผมอาจเป็นการเริ่มผลักดันให้มีการพิจารณาเรื่องเหล่านี้อีกนั้น  ผมว่า จนผมกับคุณลาโลกไปก็ไม่มีทางเป็นไปได้  เรายังไม่ตายก็ร้องไป  ใครอยากรู้ข้อมูลก็ศึกษาเอา  แต่ทุกอย่างสายไปแล้วกระมัง-ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Edwardius
โพสต์: 1392
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ต.ค. 12, 2006 3:02 pm
ที่อยู่: Lamphun, Thailand

อาทิตย์ ส.ค. 23, 2009 2:31 pm

Petervich เขียน: : xemo026 :   วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๐๐๙  กลับจากวัดก็ได้อ่านคำตอบเรื่อง"มิสซา" จากคุณ Edwardius ซึ่งอธิบายเรื่อง Mass, Eucharist, Holy Communion  โดยการยกบริบทและคำอธิบายจากผู้ทรงคุณวุฒิคาทอลิกต่างๆ  และผมเองก็มีข้อมูลดังกล่าวเช่นกัน  ยินดีที่มีผู้รู้เช่นคุณในวงการคาทอลิกเรา

          ที่ผมยกกระทู้เรื่อง"มิสซา"ขึ้นมาเป็นประเด็นสอบถามเช่นนี้  ไม่ใช่ต้องการหา"ผู้รับผิดชอบ"ในเรื่องดังกล่าว  คงหาได้แต่ที่คุณและผมหวังว่า"อาจ"จะมีการพิจารณาแก้ไขบ้างนั้น  ผมว่าอีก ๑๐๐(ร้อย)ปีก็ยังคงอยู่อย่างนี้  อย่าไปหวังว่าจะมีการพิจารณาเรื่องแบบนี้  เพราะคนที่เป็นคาทอลิกขณะนี้- รวมพระสงฆ์ นักบวชและฆราวาส  ต่างได้รับสิ่งแก้ไขตกทอดมานานเกือบ ๕๐-๖๐ ปีแล้ว  เค้ามูลศาสนาคริสตังดั้งเดินนั้นหายไปจากข้อปฏิบัตินานพอที่คนยุคปัจจุบันนี้ ไม่เห็นว่าที่กำลังเป็นไปในพระศาสนจักรขณะนี้ไม่เห็นมีอะไรบกพร่องที่จะต้องแก้ไข  มีผม(และคุณ)และคนแก่-พระสงฆ์แก่ๆอีกบางคนเท่านั้นที่ยังคงคิดถึงวันเก่าๆ  วันที่พระศาสนจักรคริสตังเดิมยังคง"ฟัง"มิสซาที่เป็นภาษาละติน ขับเป็นภาษาละติน มิสซาผู้ตายละติน  พระสงฆ์ผู้ทำมิสซายืนนำหน้าสัตบุรุษหันหน้าเผชิญพระเป็นเจ้าในตู้ศีล ฯลฯ ที่สมัยโน้นใช้ชื่อว่า Tridentine Mass ไง  และเหตุเกิดหลังสังคายนาวาติกันที่สอง (Vatican Council II) ที่เปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ กลายเป็น Novus Ordo Mass  ดังที่เห็นทุกวันนี้  แม้แต่คติคำสอนดั้งเดิมที่ว่า Extra Ecclesiam Nulla Salus( ไม่มีความรอดนอกพระศาสนจักร)ก็เปลี่ยนเป็นว่า ไม่จำเป็นต้องกลับใจมาถือความเชื่อและรับศีลล้างบาปแบบคาทอลิก  ใครๆก็สามารถเอาตัวรอดไปสวรรค์ได้  ยุ่งตรงที่ว่า ต่อไปนี้จำเป็นไหมที่เราจะประกาศ"ข่าวดี"แก่คนศาสนาอื่น  มีการอนุญาตให้คนที่ไม่ใช่คริสต์คาทอลิก สามารถรับศีลมหาสนิทจากพระสงฆ์ได้  นี่มันอะไรกัน ฯลฯ

          ผม(และคุณ)คงไม่ต้องหวังอะไรอีก ไม่ต้องหวังว่าจะมีการเปลี่ยนความเชื่อและการปฏิบัติพิธีกรรมแบบเดิม หวนคืนมาใช้อีก  เพราะคนคาทอลิกรุ่นปัจจุบันนี้ไม่ทราบเรื่องที่ผมกับคุณกำลังคุยกันอยู่ขณะนี้  พระสงฆ์(บาทหลวง)รุ่นใหม่ก็เถอะ  พอพูดถึงภาษาละตินหลบกันวูบวาบ  เพราะอะไร  ก็เพราะสังคายนาวาติกันที่สองไม่ให้บ้านเณรสอนละตินตั้งแต่นานแล้ว  ลืมได้เลย  ที่คุณพยายามคิดว่า กระทู้ของผมอาจเป็นการเริ่มผลักดันให้มีการพิจารณาเรื่องเหล่านี้อีกนั้น  ผมว่า จนผมกับคุณลาโลกไปก็ไม่มีทางเป็นไปได้  เรายังไม่ตายก็ร้องไป  ใครอยากรู้ข้อมูลก็ศึกษาเอา  แต่ทุกอย่างสายไปแล้วกระมัง-ครับ
เรื่องที่คุณ Petervich พูดมามันเป็นเรื่องของการเมืองในพระศาสนจักรแล้วหละครับ เพราะในส่วนการบริหาร หรือ สันตะสำนักเองก็ประกอบไปด้วยพระสงฆ์หัวเก่าโคตร และ พระสงฆ์หัวใหม่จ๋า
ถ้าให้ผมมองพระสันตะปาปาองค์ปัจจุบัน คนบอกได้เพียงว่า ท่านเป็นพระสงฆ์หัวเก่ามาก แต่อยู่ในกระแสของ Novus Ordo ทำให้ไม่สามารถทำอะไรได้อย่างที่ปรารถนา
ส่วนตัวผมแล้วผมเห็นควรให้มีการผสมผสานของเก่าเข้ากับของใหม่เพื่อให้เกิดความลงตัวระหว่างยุคสมัย เช่น เวลาทำมิสซาปกติก็เป็นภาษาท้องถิ่น แต่เวลาอวยพร หรือท่อน Gloria Pari//Kyrie ก็เป็นละตินไป
ส่วน Solemn Mass ก็ใช้ละตินเป็นหลัก และท่อนพระวาจาก็ให้เป็น Bilingual ส่วนตอนเทศน์ก็เป็นภาษาท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อตอบสนองการรักษาวัฒนธรรมเก่า และ การอภิบาลสัตบุรุษ

อย่างไรก็ดีถ้าไปสังเกตตามบ้านเณร หรือ ตามวัดที่มีพระสงฆ์รุ่นใหม่ต่างๆ จะเห็นว่า เป้าหมายของการเข้าบ้านเณรเปลี่ยนไป พอๆ กับที่จำนวนเณรบวชเป้นพระสงฆ์ลดลงจาก 30/100 เป็น 15/100
ปัจจุบันในอเ้มริกายินยอมให้ชายที่สมรสแล้ว +และภรรยาเสียชีวิตแล้ว +และบุตรอยู่นอกการอนุบาลแล้ว +และไม่ได้สมรสใหม่ เข้าเป็นพระสงฆ์ได้
อนาคต ไม่แน่ว่า อายุการบวชของพระสงฆ์จะต้องหนุ่มลงอีก จากที่ 30 บวช อาจเหลือ 27 บวชได้ หรือต่อไปอาจต้องยกเว้นกฎ Celibacy of Man ออก ไม่ว่าจะยก Celibacy หรือ Man ออกก็ตาม
(อันนี้นอกเรื่องไปไกลจริงๆ)

แต่ทั้งนี้มันสะท้อนว่า ในขณะที่โลกกำลังประสบปัญหาจากคำสอนที่สืบเนื่องจากการสังคายนาวาติกันที่ 2 บางส่วน/บางครั้ง/บางตอน พระศาสนจักรไทยกลับประสบปัญหาขาดพระสงฆ์รุ่นใหม่ และพระสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องของกฎหมายพระศาสนจักร และการบริหารพระศาสนจักรให้สอดคล้องกับสันตะสำนัก เราคงต้องทิ้งประเด็นนี้ไว้กับผู้นำพระศาสนจักรทั้งหลาย และวิงวอนพระเจ้าให้พระองค์โปรดหาทางออก

อย่างไรก็ดี เรื่องของผลกระทบจากการสังคายนาฯ นั้นคงต้องคุยกันในรอบต่อๆ ไปเพราะเดี๋ยวจะออกประเด็นที่คุณยศเปิดกระทู้ไว้ ถ้าคุณ Petervich ต้องการถก/อภิปรายเืรื่องนี้ต่อ วานเปิดกระทู้ใหม่ด้วยครับ

พระเจ้าอวยพร
ภาพประจำตัวสมาชิก
Léon
โพสต์: 766
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ มิ.ย. 13, 2009 8:43 pm
ที่อยู่: แผ่นดินโลก
ติดต่อ:

อาทิตย์ ส.ค. 23, 2009 6:21 pm

คุณเก่งแบบนี้น่าจะไปบวช เยซูอิต นะเนี่ยยยยยยย
จะได้มีพ่อเก่งๆ มาพัฒนาพระศาสนจักร เอ นี่เป็นกระแสเรียกรึเปล่านะ  : emo056 : : emo056 :
sinner
โพสต์: 2246
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ มี.ค. 08, 2009 1:24 pm

อาทิตย์ ส.ค. 23, 2009 6:31 pm

วัดบ้านเซเวียร์ยินดีต้อนรับฮับ กำลังขาดพระสงฆ์หนุ่มพอดีฮับ

ตอนนี้ต้องนำเข้าจากอินโดนีเซียฮับ จามีพระสงฆ์คนไทยเพิ่มก็ดีนะ

เราเชียร์ เย้ เย้ : emo102 :
Petervich
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ธ.ค. 01, 2007 7:22 pm

จันทร์ ส.ค. 24, 2009 8:50 am

: xemo026 : : xemo026 :  เรียนท่าน"ผู้อยู่ฝ่ายความจริง"ที่รักทุกท่าน  ปกติ ผมจะโพสต์อยู่ใน"กระดานสนทนาคาทอลิก"ของเว็บบอร์ดสังฆมณฑลกรุงเทพ  แต่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก"ผู้อยู่ฝ่ายความจริง"มานานแล้ว  ไม่ว่างพอจะแจมเข้ามาโพสต์  ได้โอกาสพอดีทาง"กระดานสนทนาคาทอลิก"มีปัญหาขัดข้องไม่สามารถใช้การได้ในช่วงสั้นๆ  ผมเลยถือโอกาสแถเข้ามาร่วมโพสต์ในหัวข้อที่คิดว่า "มีใครคิดอะไรและทำไม"เหมือนผมบ้าง  ผมไม่ประหลาดใจเลยที่พบว่า  คนคาทอลิกเรามีความรอบรู้ในคำสอนและเรื่องที่เป็นความจริงของพระศาสนจักรคาทอลิกเราเป้นจำนวนมาก  ผมประหลาดใจว่าทำไมพระศาสนจักรไม่ถือโอกาส"ใช้งาน"พวกเรา  พวกท่านทั้งหมดผมถือว่าเป็น"ทหารหาญ"ของพระเป็นเจ้า  ถ้า"ผู้ใหญ่"ในพระศาสนจักรท้องถิ่น รู้ซึ้งและเข้าใจถึงกลุ่มเข้มแข็งนี้ และหาวิธีหรือลู่ทางเพื่อรีบทำงานให้พระศาสนจักรท้องถิ่น ไม่ว่าสังฆมณฑลใดก็ตาม  ผลดีก็จะเกิดขึ้นเป็นทวีคูณ  ผมหวังเช่นนั้นจริงๆ-ครับ

          บัดนี้ "กระดานสนทนาคาทอลิก"ของเว็บไซต์สังฆมณฑลกรุงเทพ คืนสู่สภาพปกติแล้ว  ผมจึงคิดจะใช้เวลาส่วนใหญ่ที่นั่น  เลยขอถือโอกาสนี้สวัสดีคุณ Holy, คุณ Sasuke, คุณ Ecclesia, คุณ Leo คุณ Edwardius และ"ผู้อยู่ฝ่ายความจริง"ทุกท่าน  อย่าลืมผมในคำภาวนาของท่านทั้งหลายด้วย  ผมจะสวดภาวนาเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของพวกท่านทุกคน- ครับ
                    Ad  Majorem  Dei  Gloriam - Petervich
ภาพประจำตัวสมาชิก
sasuke
~@
โพสต์: 1120
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ธ.ค. 06, 2006 12:00 am
ที่อยู่: ใต้เสื้อคลุมของแม่

จันทร์ ส.ค. 24, 2009 1:27 pm

Petervich เขียน:         บัดนี้ "กระดานสนทนาคาทอลิก"ของเว็บไซต์สังฆมณฑลกรุงเทพ คืนสู่สภาพปกติแล้ว  ผมจึงคิดจะใช้เวลาส่วนใหญ่ที่นั่น  เลยขอถือโอกาสนี้สวัสดีคุณ Holy, คุณ Sasuke, คุณ Ecclesia, คุณ Leo คุณ Edwardius และ"ผู้อยู่ฝ่ายความจริง"ทุกท่าน  อย่าลืมผมในคำภาวนาของท่านทั้งหลายด้วย  ผมจะสวดภาวนาเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของพวกท่านทุกคน- ครับ
                     Ad  Majorem  Dei  Gloriam - Petervich
นับเป็นเกียรติสำหรับผู้น้อยเช่นผมอย่างยิ่ง  : emo045 :

ว่างๆก็แวะเวียนมาอีกได้นะครับ
ตอบกลับโพส