เรื่องดีๆจากหนังสือสรรสาระ (ชุดที่17)
ฝันร้ายบนทางหลวง ตอนที่ ( 1 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนเมษายน 2541
โดย Jim Hutchison
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ทันทีที่กระโดดข้ามกำแพงคุกในรัฐเท็กซัสไปได้ เจมส์ บูล วัย 23 ก็วิ่งตรงไปยังรถซึ่งดาร์ลา
เพื่อนสาววัย 19 รอพาหนี เจมส์ถูกจับข้อหาลักทรัพย์และคดียังอยู่ในชั้นศาล ทั้งสองมุ่งหน้าไป
ทางเหนือโดยมีปืนลูกโม่ 2 กระบอกและปืนลูกซอง 1 กระบอกเป็นอาวุธติดตัว
2 สัปดาห์ต่อมา ตอนบ่ายวันที่ 10 สิงหาคม 2539 ทั้งคู่จอดรถที่จุดแวะพักข้างทางหลวงสาย 90
รัฐไวโอมิง (Wyoming) เจมส์นั่งงุดซ่อนร่างล่ำสันสูงเกือบ 180 เซนติเมตรอยู่ในรถเก๋งสีดำ
พลางจับตามองรถที่ผ่านไปมาทางกระจกหลัง ส่วนดาร์ลาหมอบอยู่ข้าง ๆ เพื่อรอจังหวะเหมาะ
เนื่องจากไม่มีอาหาร, น้ำมันรถ และเงิน แต่ยังไม่ล้มเลิกแผนการขับรถหนีต่อไปยังเขตเทือกเขา
ในรัฐมอนตานา
“เราหยุดกินแซนด์วิชที่นี่ก็แล้วกันนะ” เจอรี่ วัย 64 บอกโรส ภรรยาร่างเล็กแต่ยังกระฉับกระเฉง
วัย 69 ปี เจอรี่ชะลอความเร็วรถกระบะซึ่งลากรถพ่วงยาว 10 เมตรเพื่อเข้าจอดบริเวณที่พักข้างทาง
สองสามีภรรยากลับจากเยี่ยมลูกชาย 3 คนในรัฐเนบราสกา (Nebraska) และกำลังมุ่งหน้าไป
ยังรัฐไวโอมิง เจอรี่เกษียณจากงานเมื่อ 4 ปีก่อน จากนั้นก็ท่องเที่ยวอย่างมีความสุขไปทั่วสหรัฐฯ
และแคนาดาพร้อมกับภรรยา
เมื่อรถเข้าจอด โรสสังเกตเห็นรถสีดำมีคนอยู่ในรถ 2 คน
“สงสัยกำลังหลับ” เจอรี่บอกขณะจอดรถห่างออกไปเพื่อไม่ให้รบกวนคนในรถคันนั้น
ขณะกำลังกินแซนด์วิชอยู่ในรถพ่วง โรสได้ยินเสียงฝีเท้าข้างนอก เจอรี่จึงลุกขึ้นเพื่อไปดูที่ประตู
แต่ประตูกลับเปิดออก ผู้ชายคนหนึ่งจ่อปืนขนาด .38 มาที่หน้าเจอรี่และสั่งว่า “ถอยไป” พร้อมกับ
ต้อนเจอรี่เข้ามุม ท่าทางเครียด หน้าตาไม่บอกความรู้สึกของเจมส์ทำให้โรสกลัวพอ ๆ กับปืนที่เห็น
แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่า “ต้องทำอะไรสักอย่าง”
“คุณอยากกินแซนด์วิชไหม” โรสถามชายคนนั้นอย่างใจเย็น
“ฉันจะทำให้”
มือปืนประหลาดใจจนนิ่งอึ้งไปชั่วขณะ “ไม่เอา” เขาพูดพึมพำ ไม่คิดว่าโรสจะเป็นมิตรถึงเพียงนี้
อาจเป็นเพราะเหตุนี้ก็ได้ที่ทำให้เขาไม่ลั่นไกปืนออกไป เจมส์คิดว่าจะหาทางจัดการกับคนแก่
ทั้งสองทีหลัง
“คุณต้องการอะไรจากเรา” โรสถาม
“อยากให้ช่วยพาออกไปจากรัฐนี้” และข้ามพรมแดนไปอีก 2-3 รัฐ เจมส์ตอบ แล้วถามเจอรี่ว่า
มีน้ำมันเต็มถังหรือไม่ พร้อมทั้งถามถึงวิธีบังคับรถพ่วง เพราะตั้งใจจะขับรถกระบะโดยลาก
รถพ่วงไปด้วย
เมื่อดาร์ลาเดินเข้ามาสมทบ เจมส์จึงบอกสองสามีภรรยาว่า
“นั่งบนเก้าอี้นั่น”
เจอรี่จับเก้าอี้ครัวซึ่งคว่ำลงอยู่ให้ตั้งขึ้น โรสเห็นตะปูควงตัวหนึ่งหล่นอยู่บนพื้น จึงแอบหยิบมากำ
ไว้ในมือขณะนั่งลงบนเก้าอี้อีกตัว
“ดาร์ลา เฝ้าสองคนนี่ไว้นะ ฉันจะไปดูรถ” เจมส์พูดกับเพื่อนสาว
“มีปืนหรือยัง”
“มีแล้ว” ดาร์ลาตอบ แล้วดึงปืนลูกโม่ออกมาจากกางเกงยีนส์ พอเจมส์ออกไป เธอก็ยืนค้ำเจอรี่กั
บโรสไว้ นิ้วสอดอยู่ที่ไกปืน
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนเมษายน 2541
โดย Jim Hutchison
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ทันทีที่กระโดดข้ามกำแพงคุกในรัฐเท็กซัสไปได้ เจมส์ บูล วัย 23 ก็วิ่งตรงไปยังรถซึ่งดาร์ลา
เพื่อนสาววัย 19 รอพาหนี เจมส์ถูกจับข้อหาลักทรัพย์และคดียังอยู่ในชั้นศาล ทั้งสองมุ่งหน้าไป
ทางเหนือโดยมีปืนลูกโม่ 2 กระบอกและปืนลูกซอง 1 กระบอกเป็นอาวุธติดตัว
2 สัปดาห์ต่อมา ตอนบ่ายวันที่ 10 สิงหาคม 2539 ทั้งคู่จอดรถที่จุดแวะพักข้างทางหลวงสาย 90
รัฐไวโอมิง (Wyoming) เจมส์นั่งงุดซ่อนร่างล่ำสันสูงเกือบ 180 เซนติเมตรอยู่ในรถเก๋งสีดำ
พลางจับตามองรถที่ผ่านไปมาทางกระจกหลัง ส่วนดาร์ลาหมอบอยู่ข้าง ๆ เพื่อรอจังหวะเหมาะ
เนื่องจากไม่มีอาหาร, น้ำมันรถ และเงิน แต่ยังไม่ล้มเลิกแผนการขับรถหนีต่อไปยังเขตเทือกเขา
ในรัฐมอนตานา
“เราหยุดกินแซนด์วิชที่นี่ก็แล้วกันนะ” เจอรี่ วัย 64 บอกโรส ภรรยาร่างเล็กแต่ยังกระฉับกระเฉง
วัย 69 ปี เจอรี่ชะลอความเร็วรถกระบะซึ่งลากรถพ่วงยาว 10 เมตรเพื่อเข้าจอดบริเวณที่พักข้างทาง
สองสามีภรรยากลับจากเยี่ยมลูกชาย 3 คนในรัฐเนบราสกา (Nebraska) และกำลังมุ่งหน้าไป
ยังรัฐไวโอมิง เจอรี่เกษียณจากงานเมื่อ 4 ปีก่อน จากนั้นก็ท่องเที่ยวอย่างมีความสุขไปทั่วสหรัฐฯ
และแคนาดาพร้อมกับภรรยา
เมื่อรถเข้าจอด โรสสังเกตเห็นรถสีดำมีคนอยู่ในรถ 2 คน
“สงสัยกำลังหลับ” เจอรี่บอกขณะจอดรถห่างออกไปเพื่อไม่ให้รบกวนคนในรถคันนั้น
ขณะกำลังกินแซนด์วิชอยู่ในรถพ่วง โรสได้ยินเสียงฝีเท้าข้างนอก เจอรี่จึงลุกขึ้นเพื่อไปดูที่ประตู
แต่ประตูกลับเปิดออก ผู้ชายคนหนึ่งจ่อปืนขนาด .38 มาที่หน้าเจอรี่และสั่งว่า “ถอยไป” พร้อมกับ
ต้อนเจอรี่เข้ามุม ท่าทางเครียด หน้าตาไม่บอกความรู้สึกของเจมส์ทำให้โรสกลัวพอ ๆ กับปืนที่เห็น
แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่า “ต้องทำอะไรสักอย่าง”
“คุณอยากกินแซนด์วิชไหม” โรสถามชายคนนั้นอย่างใจเย็น
“ฉันจะทำให้”
มือปืนประหลาดใจจนนิ่งอึ้งไปชั่วขณะ “ไม่เอา” เขาพูดพึมพำ ไม่คิดว่าโรสจะเป็นมิตรถึงเพียงนี้
อาจเป็นเพราะเหตุนี้ก็ได้ที่ทำให้เขาไม่ลั่นไกปืนออกไป เจมส์คิดว่าจะหาทางจัดการกับคนแก่
ทั้งสองทีหลัง
“คุณต้องการอะไรจากเรา” โรสถาม
“อยากให้ช่วยพาออกไปจากรัฐนี้” และข้ามพรมแดนไปอีก 2-3 รัฐ เจมส์ตอบ แล้วถามเจอรี่ว่า
มีน้ำมันเต็มถังหรือไม่ พร้อมทั้งถามถึงวิธีบังคับรถพ่วง เพราะตั้งใจจะขับรถกระบะโดยลาก
รถพ่วงไปด้วย
เมื่อดาร์ลาเดินเข้ามาสมทบ เจมส์จึงบอกสองสามีภรรยาว่า
“นั่งบนเก้าอี้นั่น”
เจอรี่จับเก้าอี้ครัวซึ่งคว่ำลงอยู่ให้ตั้งขึ้น โรสเห็นตะปูควงตัวหนึ่งหล่นอยู่บนพื้น จึงแอบหยิบมากำ
ไว้ในมือขณะนั่งลงบนเก้าอี้อีกตัว
“ดาร์ลา เฝ้าสองคนนี่ไว้นะ ฉันจะไปดูรถ” เจมส์พูดกับเพื่อนสาว
“มีปืนหรือยัง”
“มีแล้ว” ดาร์ลาตอบ แล้วดึงปืนลูกโม่ออกมาจากกางเกงยีนส์ พอเจมส์ออกไป เธอก็ยืนค้ำเจอรี่กั
บโรสไว้ นิ้วสอดอยู่ที่ไกปืน
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
แก้ไขล่าสุดโดย rosa-lee เมื่อ พุธ มี.ค. 29, 2023 11:01 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ฝันร้ายบนทางหลวง ตอนที่ ( 2 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนเมษายน 2541
โดย Jim Hutchison
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
เจมส์กลับมาหลังจากนั้น 10 นาทีและสั่งว่า “เอาเก้าอี้หันหลังชนกัน” เจอรี่กับโรส
จับเก้าอี้ทั้งสองแทรกเข้าไประหว่างอ่างล้างมือกับเตาและนั่งลงอีกครั้ง เจมส์ดึงกุญแจมือ
ออกมา 2 คู่พร้อมกับเชือกขดหนึ่งและสั่งอีกว่า “เอามือไขว้หลังไว้”
“ทำอย่างนั้นเธอก็เจ็บแย่สิ” เจอรี่รีบค้าน “ไหล่เธอไม่ดีอยู่ด้วย”
เมื่อครั้งที่เจอรี่เพิ่งรู้จักกับโรส เธอต้องเข้าโรงพยาบาลรักษาอาการหลังหักเนื่องจากได้รับ
อุบัติเหตุทางรถยนต์และต้องปวดทรมานอยู่หลายเดือนกว่าอาการจะดีขึ้น เขาไปเยี่ยมเธอ
หลายครั้งและชื่นชมที่เธอฮึดสู้จนกลับมาเดินได้เป็นปกติ ทั้งคู่รักกันและแต่งงานกันในที่สุด
ทั้งสองกำลังจะฉลองครบรอบแต่งงานปีที่ 31 ในอีก 2-3 วันข้างหน้า
หน้าตาโรสบูดเบี้ยวขณะสอดแขนเข้าระหว่างพนักเก้าอี้ เจมส์ใส่กุญแจมือเธอและเจอรี่
จากนั้นก็ผูกเชือกไนลอนเข้ากับกุญแจมือของทั้งคู่ และใช้เชือกมัดข้อเท้าเจอรี่เข้ากับขาเก้าอี้ด้วย
“มัดไปทำไม” ดาร์ลาถาม “คิดว่าจะฆ่าให้สิ้นเรื่องไปเสียอีก”
พอเจมส์บอกว่าทำไม่ลง ดาร์ลาจึงพูดขึ้นว่า “เอาล่ะ เดี๋ยวก็คงหัวใจวายตายเองแหละ”
อาชญากรทั้งสองปิดหน้าต่างและออกจากรถพ่วงไปโดยไม่ลืมใส่กุญแจประตูรถ
พอรถพ่วงเริ่มเคลื่อน โรสก็บอกกับสามีอย่างเป็นกังวล “คุณสังเกตไหมว่า สองคนนี้ไม่ปิดหน้าตา
เลย” สองสามีภรรยารู้ดีว่า คนร้ายคงไม่ปล่อยตัวให้เป็นอิสระอย่างแน่นอน
“ถ้าเราไม่ทำอะไรสักอย่าง คงแย่แน่” เจอรี่พูด “แต่ผมเชื่อนะว่าเราต้องมีทางรอด เราต้องเตรียมพร้อมไว้”
ขณะที่รถพ่วงวิ่งเร็วขึ้นเรื่อย ๆ โรสเริ่มหาทางแก้เชือกที่มัดมืออยู่ และนึกได้ว่า ตอนที่ลูกชายเรียน
ลูกเสือเคยสอนให้เธอหัดผูกปมเชือก ตอนนี้เธอดีใจที่ไม่มองข้ามสิ่งที่ลูกสอน เธอรู้ดีว่า ถ้าคนร้าย
ผูกเชือกไม่ถูกหลัก เชือกก็จะหลุดเองในที่สุด
“เราน่าจะคลายเชือกได้นะ” เธอบอกเจอรี่ “คุณจับปลายเชือกข้างหนึ่งไว้ได้ไหม” เจอรี่เอานิ้วคลำหา
จนจับปลายเชือกที่ผูกกุญแจไว้ด้วยกันได้
ทั้งสองปลุกปล้ำกับเชือกอยู่ราว 15 นาที ในที่สุดเจอรี่ก็สอดปลายเชือกออกจากกุญแจมือได้
และเตือนว่า “อย่าเพิ่งเอาเชือกออก เราต้องรอจนกว่าจะถึงเวลา”
ทั้งคู่พยายามปลดกุญแจมือของโรสออกจากพนักเก้าอี้เหล็ก “ตะปูควงตัวหนึ่งหลุดจากพนักเก้าอี้ฉัน
” โรสบอก “ฉันเก็บมันขึ้นมาตอนนั่งลง ถ้าเราดึงพนักหลังเก้าอี้ออก ฉันก็จะเลื่อนกุญแจมือออกจาก
เก้าอี้ได้” ทั้งคู่จึงลงมือจัดการกับเก้าอี้ เจอรี่ผลักขณะที่โรสดึง
เจอรี่และโรสเหงื่อโชกหลังจากพยายามดึงพนักหลังเก้าอี้ที่โรสนั่ง และในที่สุดก็ถอดตะปูควงตัวอื่น ๆ
ออกจากเก้าอี้ได้ “ยกแรง ๆ สักที คงหลุดแน่” เจอรี่บอก ทั้งคู่ยกพนักหลังเก้าอี้ขึ้นและปล่อยให้โรสนั่ง
โดยที่มีกุญแจมือใส่อยู่ข้างหลัง
ทันใดนั้น รถพ่วงก็เคลื่อนช้าลง
“เขากำลังจะหยุดรถ” โรสร้องออกมา พลางขยับตัวและซ่อนเชือกที่คลายไว้ในมือ
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนเมษายน 2541
โดย Jim Hutchison
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
เจมส์กลับมาหลังจากนั้น 10 นาทีและสั่งว่า “เอาเก้าอี้หันหลังชนกัน” เจอรี่กับโรส
จับเก้าอี้ทั้งสองแทรกเข้าไประหว่างอ่างล้างมือกับเตาและนั่งลงอีกครั้ง เจมส์ดึงกุญแจมือ
ออกมา 2 คู่พร้อมกับเชือกขดหนึ่งและสั่งอีกว่า “เอามือไขว้หลังไว้”
“ทำอย่างนั้นเธอก็เจ็บแย่สิ” เจอรี่รีบค้าน “ไหล่เธอไม่ดีอยู่ด้วย”
เมื่อครั้งที่เจอรี่เพิ่งรู้จักกับโรส เธอต้องเข้าโรงพยาบาลรักษาอาการหลังหักเนื่องจากได้รับ
อุบัติเหตุทางรถยนต์และต้องปวดทรมานอยู่หลายเดือนกว่าอาการจะดีขึ้น เขาไปเยี่ยมเธอ
หลายครั้งและชื่นชมที่เธอฮึดสู้จนกลับมาเดินได้เป็นปกติ ทั้งคู่รักกันและแต่งงานกันในที่สุด
ทั้งสองกำลังจะฉลองครบรอบแต่งงานปีที่ 31 ในอีก 2-3 วันข้างหน้า
หน้าตาโรสบูดเบี้ยวขณะสอดแขนเข้าระหว่างพนักเก้าอี้ เจมส์ใส่กุญแจมือเธอและเจอรี่
จากนั้นก็ผูกเชือกไนลอนเข้ากับกุญแจมือของทั้งคู่ และใช้เชือกมัดข้อเท้าเจอรี่เข้ากับขาเก้าอี้ด้วย
“มัดไปทำไม” ดาร์ลาถาม “คิดว่าจะฆ่าให้สิ้นเรื่องไปเสียอีก”
พอเจมส์บอกว่าทำไม่ลง ดาร์ลาจึงพูดขึ้นว่า “เอาล่ะ เดี๋ยวก็คงหัวใจวายตายเองแหละ”
อาชญากรทั้งสองปิดหน้าต่างและออกจากรถพ่วงไปโดยไม่ลืมใส่กุญแจประตูรถ
พอรถพ่วงเริ่มเคลื่อน โรสก็บอกกับสามีอย่างเป็นกังวล “คุณสังเกตไหมว่า สองคนนี้ไม่ปิดหน้าตา
เลย” สองสามีภรรยารู้ดีว่า คนร้ายคงไม่ปล่อยตัวให้เป็นอิสระอย่างแน่นอน
“ถ้าเราไม่ทำอะไรสักอย่าง คงแย่แน่” เจอรี่พูด “แต่ผมเชื่อนะว่าเราต้องมีทางรอด เราต้องเตรียมพร้อมไว้”
ขณะที่รถพ่วงวิ่งเร็วขึ้นเรื่อย ๆ โรสเริ่มหาทางแก้เชือกที่มัดมืออยู่ และนึกได้ว่า ตอนที่ลูกชายเรียน
ลูกเสือเคยสอนให้เธอหัดผูกปมเชือก ตอนนี้เธอดีใจที่ไม่มองข้ามสิ่งที่ลูกสอน เธอรู้ดีว่า ถ้าคนร้าย
ผูกเชือกไม่ถูกหลัก เชือกก็จะหลุดเองในที่สุด
“เราน่าจะคลายเชือกได้นะ” เธอบอกเจอรี่ “คุณจับปลายเชือกข้างหนึ่งไว้ได้ไหม” เจอรี่เอานิ้วคลำหา
จนจับปลายเชือกที่ผูกกุญแจไว้ด้วยกันได้
ทั้งสองปลุกปล้ำกับเชือกอยู่ราว 15 นาที ในที่สุดเจอรี่ก็สอดปลายเชือกออกจากกุญแจมือได้
และเตือนว่า “อย่าเพิ่งเอาเชือกออก เราต้องรอจนกว่าจะถึงเวลา”
ทั้งคู่พยายามปลดกุญแจมือของโรสออกจากพนักเก้าอี้เหล็ก “ตะปูควงตัวหนึ่งหลุดจากพนักเก้าอี้ฉัน
” โรสบอก “ฉันเก็บมันขึ้นมาตอนนั่งลง ถ้าเราดึงพนักหลังเก้าอี้ออก ฉันก็จะเลื่อนกุญแจมือออกจาก
เก้าอี้ได้” ทั้งคู่จึงลงมือจัดการกับเก้าอี้ เจอรี่ผลักขณะที่โรสดึง
เจอรี่และโรสเหงื่อโชกหลังจากพยายามดึงพนักหลังเก้าอี้ที่โรสนั่ง และในที่สุดก็ถอดตะปูควงตัวอื่น ๆ
ออกจากเก้าอี้ได้ “ยกแรง ๆ สักที คงหลุดแน่” เจอรี่บอก ทั้งคู่ยกพนักหลังเก้าอี้ขึ้นและปล่อยให้โรสนั่ง
โดยที่มีกุญแจมือใส่อยู่ข้างหลัง
ทันใดนั้น รถพ่วงก็เคลื่อนช้าลง
“เขากำลังจะหยุดรถ” โรสร้องออกมา พลางขยับตัวและซ่อนเชือกที่คลายไว้ในมือ
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
ฝันร้ายบนทางหลวง ตอนที่ ( 3 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนเมษายน 2541
โดย Jim Hutchison
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
สักครู่ เจมส์และดาร์ลาก็ก้าวขึ้นมาบนรถพ่วง “อย่าให้พวกเขาเห็นเลยว่าเราทำอะไรไป”
เจอรี่คิด โรสหัวใจเต้นแรงและดังมากจนกลัวว่าพวกผู้ร้ายจะได้ยินและรู้ว่าเธอทำอะไรลงไป
“ต้องผูกปากพวกแกไว้” เจมส์บอก “เราจะหยุดซื้อเสบียง และไม่อยากให้แกส่งเสียง”
“ทำไมต้องทำอย่างนั้นด้วย” โรสพูดขึ้น พยายามดึงความสนใจไม่ให้ผู้ร้ายตรวจดูเชือก
“ต้องทำ” เจมส์ยืนยัน แล้วเอาเทปพลาสติกสำหรับมัดของพันรอบศีรษะและปากของเจอรี่อย่าง
แน่นหนา ขณะที่เจมส์ใช้มีดสปริงตัดปลายเทปออกจากม้วน โรสเริ่มเลียริมฝีปากตัวเองให้ชุ่ม
ก่อนคนร้ายจะเอาเทปมัดปาก เพราะรู้ว่าถ้าเจอรี่กับเธอไม่สามารถสื่อสารกันได้ โอกาสหนีรอด
ก็จะยิ่งน้อยลง
พอรถพ่วงเคลื่อนตัวออก โรสก็ขยับริมฝีปากไปมา ความคิดที่ทันการณ์ได้ผล ริมฝีปากของเธอ
เปียกจึงไม่ติดกับเทปพลาสติก เจอรี่โน้มตัวไปข้างหน้าและเอาปากที่เทปปิดไว้ถูกับขอบโต๊ะใน
ครัวเพื่อพยายามทำให้เทปหลุดให้ได้ ในที่สุดเขาก็สามารถเลื่อนเทปลงมาจนพอพูดได้
เมื่อรถจอดที่เมืองบัฟฟาโล่ เจมส์ตะโกนเข้าไปในรถพ่วงว่า
“อย่าพยายามหนีนะ ฉันอยู่ข้างนอกนี่”
ไม่มีประโยชน์ที่โรสจะพยายามแก้เชือกจากขาเจอรี่ เพราะเจอรี่ไม่สามารถถอดพนักเก้าอี้ที่นั่ง
อยู่ออกได้ คงต้องเป็นโรสที่จะหนีไปขอความช่วยเหลือ เธอยกพนักเก้าอี้ขึ้นอีกครั้ง “สบายละ”
เธอกระซิบในขณะที่แขนยังใส่กุญแจมืออยู่ โรสค่อย ๆ ย่องไปฟังเสียงที่ประตูข้าง แต่เสียงที่ได้ยิน
จากข้างนอกบอกให้รู้ว่ายังไม่ปลอดภัย “มันยังเฝ้าเราอยู่แน่เลย” โรสกระซิบ
“ถ้างั้น กลับมานั่งเถอะ” เจอรี่พูดเบา ๆ “เดี๋ยวเราหาวิธีอื่นกัน”
โรสนั่งลง เอามือวางที่พนักเก้าอี้พลางจับเชือกที่มัดมือเจอรี่ไว้ให้ดูเหมือนกับว่า ยังถูกมัดอยู่ด้วยกัน
“มีวิธีเดียว” เธอตัวสั่นเพราะไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ การทำงานครั้งนี้ต้องเผชิญกับฝันร้ายที่
หลอกหลอนเธอมาถึง 37 ปี
“ฉันจะรอจนรถพ่วงเริ่มเคลื่อนอีกครั้ง”
เธอพูดช้า ๆ “แล้วจะกระโดดออกไป”
เจอรี่รู้สึกกลัวสุดขีด เพราะรู้ดีว่าโรสไม่อยากให้หลังของเธอเป็นอะไรไปอีก ซ้ำยังนึกไปไกลถึง
อันตรายอื่น ๆ เช่น เธออาจถูกรถคันอื่นทับ หรือกระแทกลงกับถนนอย่างแรงจนเสียชีวิต อันตราย
ร้ายแรงที่สุดคือล้อของรถพ่วงที่อยู่หลังประตู
“ฉันรู้ว่าต้องเจ็บตัวแน่” เธอบอก น้ำตาปริ่มที่ขอบตา
“โรส ผมอยากจะทำแทนคุณ แต่ทำไม่ได้” เขาพูดเสียงนุ่มนวล
เธอพยักหน้า ความตั้งใจแน่วแน่มากขึ้นและบอกว่า “พอรถเคลื่อน ฉันจะออกไปทางประตูนั้น”
โปรดติดตามตอนที่ ( 4 )ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนเมษายน 2541
โดย Jim Hutchison
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
สักครู่ เจมส์และดาร์ลาก็ก้าวขึ้นมาบนรถพ่วง “อย่าให้พวกเขาเห็นเลยว่าเราทำอะไรไป”
เจอรี่คิด โรสหัวใจเต้นแรงและดังมากจนกลัวว่าพวกผู้ร้ายจะได้ยินและรู้ว่าเธอทำอะไรลงไป
“ต้องผูกปากพวกแกไว้” เจมส์บอก “เราจะหยุดซื้อเสบียง และไม่อยากให้แกส่งเสียง”
“ทำไมต้องทำอย่างนั้นด้วย” โรสพูดขึ้น พยายามดึงความสนใจไม่ให้ผู้ร้ายตรวจดูเชือก
“ต้องทำ” เจมส์ยืนยัน แล้วเอาเทปพลาสติกสำหรับมัดของพันรอบศีรษะและปากของเจอรี่อย่าง
แน่นหนา ขณะที่เจมส์ใช้มีดสปริงตัดปลายเทปออกจากม้วน โรสเริ่มเลียริมฝีปากตัวเองให้ชุ่ม
ก่อนคนร้ายจะเอาเทปมัดปาก เพราะรู้ว่าถ้าเจอรี่กับเธอไม่สามารถสื่อสารกันได้ โอกาสหนีรอด
ก็จะยิ่งน้อยลง
พอรถพ่วงเคลื่อนตัวออก โรสก็ขยับริมฝีปากไปมา ความคิดที่ทันการณ์ได้ผล ริมฝีปากของเธอ
เปียกจึงไม่ติดกับเทปพลาสติก เจอรี่โน้มตัวไปข้างหน้าและเอาปากที่เทปปิดไว้ถูกับขอบโต๊ะใน
ครัวเพื่อพยายามทำให้เทปหลุดให้ได้ ในที่สุดเขาก็สามารถเลื่อนเทปลงมาจนพอพูดได้
เมื่อรถจอดที่เมืองบัฟฟาโล่ เจมส์ตะโกนเข้าไปในรถพ่วงว่า
“อย่าพยายามหนีนะ ฉันอยู่ข้างนอกนี่”
ไม่มีประโยชน์ที่โรสจะพยายามแก้เชือกจากขาเจอรี่ เพราะเจอรี่ไม่สามารถถอดพนักเก้าอี้ที่นั่ง
อยู่ออกได้ คงต้องเป็นโรสที่จะหนีไปขอความช่วยเหลือ เธอยกพนักเก้าอี้ขึ้นอีกครั้ง “สบายละ”
เธอกระซิบในขณะที่แขนยังใส่กุญแจมืออยู่ โรสค่อย ๆ ย่องไปฟังเสียงที่ประตูข้าง แต่เสียงที่ได้ยิน
จากข้างนอกบอกให้รู้ว่ายังไม่ปลอดภัย “มันยังเฝ้าเราอยู่แน่เลย” โรสกระซิบ
“ถ้างั้น กลับมานั่งเถอะ” เจอรี่พูดเบา ๆ “เดี๋ยวเราหาวิธีอื่นกัน”
โรสนั่งลง เอามือวางที่พนักเก้าอี้พลางจับเชือกที่มัดมือเจอรี่ไว้ให้ดูเหมือนกับว่า ยังถูกมัดอยู่ด้วยกัน
“มีวิธีเดียว” เธอตัวสั่นเพราะไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ การทำงานครั้งนี้ต้องเผชิญกับฝันร้ายที่
หลอกหลอนเธอมาถึง 37 ปี
“ฉันจะรอจนรถพ่วงเริ่มเคลื่อนอีกครั้ง”
เธอพูดช้า ๆ “แล้วจะกระโดดออกไป”
เจอรี่รู้สึกกลัวสุดขีด เพราะรู้ดีว่าโรสไม่อยากให้หลังของเธอเป็นอะไรไปอีก ซ้ำยังนึกไปไกลถึง
อันตรายอื่น ๆ เช่น เธออาจถูกรถคันอื่นทับ หรือกระแทกลงกับถนนอย่างแรงจนเสียชีวิต อันตราย
ร้ายแรงที่สุดคือล้อของรถพ่วงที่อยู่หลังประตู
“ฉันรู้ว่าต้องเจ็บตัวแน่” เธอบอก น้ำตาปริ่มที่ขอบตา
“โรส ผมอยากจะทำแทนคุณ แต่ทำไม่ได้” เขาพูดเสียงนุ่มนวล
เธอพยักหน้า ความตั้งใจแน่วแน่มากขึ้นและบอกว่า “พอรถเคลื่อน ฉันจะออกไปทางประตูนั้น”
โปรดติดตามตอนที่ ( 4 )ในวันพรุ่งนี้
ฝันร้ายบนทางหลวง ตอนที่ ( 4 ) (ตอนจบ)
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนเมษายน 2541
โดย Jim Hutchison
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
รถพ่วงเริ่มเคลื่อนออกไปโดยไม่รู้ตัวล่วงหน้า โรสเดินเซไปตามทางเดินทั้งที่ยังใส่
กุญแจมือไพล่หลังอยู่ เธอหันหลังคลำหากลอนประตู ‘กริ๊ก’ ครั้งที่หนึ่ง ‘กริ๊ก’ ครั้งที่สอง กลอน
ประตูเปิด เธอจึงบิดลูกบิดซึ่งไม่ได้กดล็อกไว้ แล้วร้องออกมาว่า “ไม่ขยับเลย”
รถพ่วงวิ่งเร็วขึ้น “หมุนอีกทางดูซิ” เจอรี่บอก เธอบิดอย่างแรง แล้วประตูก็เปิดออก โรสหันหน้า
ดูพื้นถนนที่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว “ฉันไปละนะ” เธอบอกพร้อมกับนั่งยอง ๆ สูดลมหายใจลึก ๆ
แล้วพุ่งตัวออกไปทางด้านข้างของรถพ่วง ดีดร่างสูง 153 เซนติเมตรออกไปให้ห่างล้อรถมาก
ที่สุดเท่าที่จะทำได้
พอโรสกระโดดออกจากรถ เจอรี่ก็เงี่ยหูฟัง ไม่มีเสียงอะไรที่ทำให้คิดว่าล้อรถทับเธอ แต่เขารู้ว่า
เธอคงต้องบาดเจ็บแน่ “ขอให้พระคุ้มครองโรสด้วยเถิด” เขาพูด
โรสนอนอยู่บนถนนสี่ช่องทาง สายตาพร่าเพราะศีรษะกระแทกกับพื้นถนน ได้ยินแต่เสียงรถผ่านไ
ปมา สักครู่จึงพยายามรวบรวมกำลัง
“คุณเป็นอะไรหรือเปล่าครับ” เสียงผู้ชายถามขึ้น เขากับภรรยามองเห็นโรสนอนอยู่กลางถนน
เลยแวะจอดรถข้างทางเพื่อให้ความช่วยเหลือ
“สามีฉันถูกจับตัวไป” โรสละล่ำละลัก ชายคนนั้นเอาผ้าห่มหนุนศีรษะโรสไว้ แล้วตะโกนให้คนอื่น
โทรเรียกตำรวจ
ห้านาทีต่อมา เวลา 15.40 น. เจ้าหน้าตำรวจคุกเข่าอยู่ข้าง ๆ โรส จดรายละเอียดเกี่ยวกับรถกระบะ
และรถพ่วง ขณะที่รถตำรวจส่งสัญญาณฉุกเฉินถึงกัน หน่วยปฐมพยาบาลก็พาเธอส่งโรงพยาบาลใกล้ ๆ
“เจอรถคันนั้นแล้ว” คาร์ล ตำรวจทางหลวงรัฐไวโอมิงวิทยุติดต่อ เมื่อเห็นรถพ่วงขับไป เขาขับตาม
รถพ่วงไปจนทันและตรวจหมายเลขทะเบียนว่าเป็นรถคันนั้นจริง
รถตำรวจทางหลวงอีกสองคันตามมาติด ๆ คาร์ลกดปุ่มเครื่องกระจายเสียง “นี่ตำรวจทางหลวง
หยุดรถข้างทางหน่อย”
เจอรี่ได้ยินเสียงเจ้าหน้าที่ “โรสยังไม่ตาย” เขาคิด ในขณะที่ตนเองถึงกับหงายหลังเมื่อเจมส์เร่ง
ความเร็ว เขากำลังพยายามหนีตำรวจให้พ้น
คาร์ลหน้านิ่วเมื่อรถกระบะเร่งความเร็วถึง 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เขาพูดใส่วิทยุว่า “ผมต้อง
แซงหน้ามันแล้วละ จะได้วางขวากเรือใบเจาะยาง” รถของเขาเร่งแซงขึ้นไป แล้วห้ามล้อหยุด
อย่างกะทันหันด้านถนน คาร์ลดึงขวากเรือใบยาว 150 เซนติเมตรออกมาซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะ
หยุดรถพ่วงได้ ไม่ถึงหนึ่งนาที เขาก็สามารถวางขวากขวางถนนได้
เจมส์ขับรถทับขวาก ตำรวจสายตรวจมองเห็นควันพุ่งออก มาจากรถกระบะ เมื่อยางหน้าขวา
กระจุย ความเร็วรถพ่วงก็ลดลงเหลือ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่เจมส์ยังขับต่อไป
พวกตำรวจวางขวากดักอีก 3 ครั้ง ทำให้ยางอีกเส้นของรถกระบะและอีกเส้นของรถพ่วงระเบิด
ตอนนี้เจมส์ขับรถไปบนกระทะล้อเท่านั้น และรถปล่อยควันตลบ
เจมส์แฉลบเข้าไปตรงกลางถนนขอบกระทะล้อจมลงไปในพื้นดินจนรถหยุดนิ่ง เจ้าหน้าที่กระโดด
ลงจากรถ เล็งปืนลูกซองไปที่เจมส์และดาร์ลา พร้อมกับตะโกนว่า “ยกมือขึ้น”
“อย่ายิง” คนร้ายร้อง ตำรวจดึงทั้งคู่ออกมาจากรถกระบะแล้วใส่กุญแจมือ
ตำรวจอีก 3 คนกระชากประตูรถพ่วงออก ปืนอยู่ในลักษณะเตรียมพร้อม และเห็นเจอรี่นอนอยู่กับพื้น
มือยังคงใส่กุญแจติดกับเก้าอี้ “ผมอยู่ในนี้คนเดียว” เขาบอก “ภรรยาผมเป็นอะไรหรือเปล่า”
เจ้าหน้าที่บอกเจอรี่ว่า โรสอยู่ที่โรงพยาบาล “ช่วยบอกเธอด้วยว่าผมปลอดภัย” ตำรวจนายหนึ่ง
วิทยุติดต่อไป ส่วนตำรวจอื่น ๆ ช่วยกันปลดกุญแจมือและพาเขาออกมาข้างนอก
วันรุ่งขึ้น เจอรี่ไปเยี่ยมโรสที่โรงพยาบาล แขนซ้ายของเธอเข้าเฝือกไว้ กระดูกเชิงกรานและซี่โครงร้าว
ไปซี่หนึ่งและหลังเคลื่อน แต่ไขสันหลังไม่เป็นอันตราย เจอรี่ค่อย ๆ โอบภรรยาไว้ด้วยความทะนุถนอม
และเบามือ
เจมส์ บูลรับสารภาพและถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตด้วยข้อหาลักพาและทำร้ายผู้อื่นรวม 7 ข้อหา
ส่วนดาร์ลา ปฏิเสธข้อกล่าวหาแต่ที่สุดก็ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตเช่นกัน
***************************
จบบริบูรณ์
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนเมษายน 2541
โดย Jim Hutchison
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
รถพ่วงเริ่มเคลื่อนออกไปโดยไม่รู้ตัวล่วงหน้า โรสเดินเซไปตามทางเดินทั้งที่ยังใส่
กุญแจมือไพล่หลังอยู่ เธอหันหลังคลำหากลอนประตู ‘กริ๊ก’ ครั้งที่หนึ่ง ‘กริ๊ก’ ครั้งที่สอง กลอน
ประตูเปิด เธอจึงบิดลูกบิดซึ่งไม่ได้กดล็อกไว้ แล้วร้องออกมาว่า “ไม่ขยับเลย”
รถพ่วงวิ่งเร็วขึ้น “หมุนอีกทางดูซิ” เจอรี่บอก เธอบิดอย่างแรง แล้วประตูก็เปิดออก โรสหันหน้า
ดูพื้นถนนที่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว “ฉันไปละนะ” เธอบอกพร้อมกับนั่งยอง ๆ สูดลมหายใจลึก ๆ
แล้วพุ่งตัวออกไปทางด้านข้างของรถพ่วง ดีดร่างสูง 153 เซนติเมตรออกไปให้ห่างล้อรถมาก
ที่สุดเท่าที่จะทำได้
พอโรสกระโดดออกจากรถ เจอรี่ก็เงี่ยหูฟัง ไม่มีเสียงอะไรที่ทำให้คิดว่าล้อรถทับเธอ แต่เขารู้ว่า
เธอคงต้องบาดเจ็บแน่ “ขอให้พระคุ้มครองโรสด้วยเถิด” เขาพูด
โรสนอนอยู่บนถนนสี่ช่องทาง สายตาพร่าเพราะศีรษะกระแทกกับพื้นถนน ได้ยินแต่เสียงรถผ่านไ
ปมา สักครู่จึงพยายามรวบรวมกำลัง
“คุณเป็นอะไรหรือเปล่าครับ” เสียงผู้ชายถามขึ้น เขากับภรรยามองเห็นโรสนอนอยู่กลางถนน
เลยแวะจอดรถข้างทางเพื่อให้ความช่วยเหลือ
“สามีฉันถูกจับตัวไป” โรสละล่ำละลัก ชายคนนั้นเอาผ้าห่มหนุนศีรษะโรสไว้ แล้วตะโกนให้คนอื่น
โทรเรียกตำรวจ
ห้านาทีต่อมา เวลา 15.40 น. เจ้าหน้าตำรวจคุกเข่าอยู่ข้าง ๆ โรส จดรายละเอียดเกี่ยวกับรถกระบะ
และรถพ่วง ขณะที่รถตำรวจส่งสัญญาณฉุกเฉินถึงกัน หน่วยปฐมพยาบาลก็พาเธอส่งโรงพยาบาลใกล้ ๆ
“เจอรถคันนั้นแล้ว” คาร์ล ตำรวจทางหลวงรัฐไวโอมิงวิทยุติดต่อ เมื่อเห็นรถพ่วงขับไป เขาขับตาม
รถพ่วงไปจนทันและตรวจหมายเลขทะเบียนว่าเป็นรถคันนั้นจริง
รถตำรวจทางหลวงอีกสองคันตามมาติด ๆ คาร์ลกดปุ่มเครื่องกระจายเสียง “นี่ตำรวจทางหลวง
หยุดรถข้างทางหน่อย”
เจอรี่ได้ยินเสียงเจ้าหน้าที่ “โรสยังไม่ตาย” เขาคิด ในขณะที่ตนเองถึงกับหงายหลังเมื่อเจมส์เร่ง
ความเร็ว เขากำลังพยายามหนีตำรวจให้พ้น
คาร์ลหน้านิ่วเมื่อรถกระบะเร่งความเร็วถึง 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เขาพูดใส่วิทยุว่า “ผมต้อง
แซงหน้ามันแล้วละ จะได้วางขวากเรือใบเจาะยาง” รถของเขาเร่งแซงขึ้นไป แล้วห้ามล้อหยุด
อย่างกะทันหันด้านถนน คาร์ลดึงขวากเรือใบยาว 150 เซนติเมตรออกมาซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะ
หยุดรถพ่วงได้ ไม่ถึงหนึ่งนาที เขาก็สามารถวางขวากขวางถนนได้
เจมส์ขับรถทับขวาก ตำรวจสายตรวจมองเห็นควันพุ่งออก มาจากรถกระบะ เมื่อยางหน้าขวา
กระจุย ความเร็วรถพ่วงก็ลดลงเหลือ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่เจมส์ยังขับต่อไป
พวกตำรวจวางขวากดักอีก 3 ครั้ง ทำให้ยางอีกเส้นของรถกระบะและอีกเส้นของรถพ่วงระเบิด
ตอนนี้เจมส์ขับรถไปบนกระทะล้อเท่านั้น และรถปล่อยควันตลบ
เจมส์แฉลบเข้าไปตรงกลางถนนขอบกระทะล้อจมลงไปในพื้นดินจนรถหยุดนิ่ง เจ้าหน้าที่กระโดด
ลงจากรถ เล็งปืนลูกซองไปที่เจมส์และดาร์ลา พร้อมกับตะโกนว่า “ยกมือขึ้น”
“อย่ายิง” คนร้ายร้อง ตำรวจดึงทั้งคู่ออกมาจากรถกระบะแล้วใส่กุญแจมือ
ตำรวจอีก 3 คนกระชากประตูรถพ่วงออก ปืนอยู่ในลักษณะเตรียมพร้อม และเห็นเจอรี่นอนอยู่กับพื้น
มือยังคงใส่กุญแจติดกับเก้าอี้ “ผมอยู่ในนี้คนเดียว” เขาบอก “ภรรยาผมเป็นอะไรหรือเปล่า”
เจ้าหน้าที่บอกเจอรี่ว่า โรสอยู่ที่โรงพยาบาล “ช่วยบอกเธอด้วยว่าผมปลอดภัย” ตำรวจนายหนึ่ง
วิทยุติดต่อไป ส่วนตำรวจอื่น ๆ ช่วยกันปลดกุญแจมือและพาเขาออกมาข้างนอก
วันรุ่งขึ้น เจอรี่ไปเยี่ยมโรสที่โรงพยาบาล แขนซ้ายของเธอเข้าเฝือกไว้ กระดูกเชิงกรานและซี่โครงร้าว
ไปซี่หนึ่งและหลังเคลื่อน แต่ไขสันหลังไม่เป็นอันตราย เจอรี่ค่อย ๆ โอบภรรยาไว้ด้วยความทะนุถนอม
และเบามือ
เจมส์ บูลรับสารภาพและถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตด้วยข้อหาลักพาและทำร้ายผู้อื่นรวม 7 ข้อหา
ส่วนดาร์ลา ปฏิเสธข้อกล่าวหาแต่ที่สุดก็ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตเช่นกัน
***************************
จบบริบูรณ์
ลูกต้องการอะไรจากแม่มากที่สุด ตอนที่( 1 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนเมษายน 2541
โดย Joyce Brothers
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
“เด็กผู้หญิงที่ไม่มีแม่คอยช่วยเวลาเดือดร้อนจะทำอย่างไรกัน”
โจ มาร์ช นางเอกในนวนิยายเรื่อง “สี่ดรุณี” (Little Women) ถาม
ในสมัยก่อน แม่คือผู้ปกครองที่ได้รับการคาดหวังว่าจะต้องคอยสนับสนุนและให้กำลังใจลูก ๆ ตามที่
ลูกต้องการขณะเติบโต ทุกวันนี้ ลูกอาจหันไปพึ่งพ่อเฉพาะบางเรื่อง แต่แม่กับพ่อไม่มีวันเหมือนกันได้
และครอบครัวส่วนใหญ่ยังต้องให้แม่ “ประคับประคอง” แทบทุกเรื่อง
ผู้หญิงหลายคนรู้สึกหนักใจ “สิ่งที่ดิฉันมองเห็นก็คือ : ลูกต้องการโน่นต้องการนี่อยู่เรื่อย” แม่คนหนึ่ง
สารภาพกับดิฉัน
“ทำให้ดิฉันคิดว่าคงไม่มีทางทำได้ครบถ้วน บางครั้งรู้สึกหมดเรี่ยวหมดแรง ถึงกระนั้นก็ยังอยากทำ
ทุกอย่างเพื่อลูก”
ทว่าความต้องการของลูกไม่ได้สำคัญเท่ากันหมดทุกอย่าง แม่จะต้องคิดว่าความต้องการเรื่องไหน
ของลูกที่จำเป็นจริง ๆ จากประสบการณ์ทำงานในฐานะนักจิตวิทยา ดิฉันมีโอกาสคุยกับแม่นับร้อยคน
และเด็กอีกนับพันคน ทั้งยังศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกมามากมาย ดิฉันจึงกลั่นกรองสิ่งที่ลูก ๆ
ต้องการมากที่สุดจากแม่ผู้มีงานยุ่งไว้ดังต่อไปนี้
1. ฝึกจิตใจ
แม่ต้องแสดงให้ลูกเห็นว่า การปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างดีด้วยความสุภาพมีน้ำใจ มีความสำคัญพอ ๆ
กับความสำเร็จในการเล่าเรียนและการกีฬา
เด็กที่ได้รับการฝึกด้านอารมณ์จะพัฒนา “ปัญญาทางอารมณ์” อันเป็นความสามารถที่จะเข้าใจถึง
ความต้องการของผู้อื่น เด็กเหล่านี้มีโอกาสก้าวหน้าในชีวิตดีกว่าการศึกษาอย่างต่อเนื่องในห้อง
ปฏิบัติการ ‘เบล’ ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำของสหรัฐฯ แสดงว่าวิศวกร
ผู้มีประสิทธิผลสูงไม่จำเป็นต้องมีไอคิวสูงสุด แต่เป็นผู้ที่มีสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน
แม่มักเป็นผู้ปลูกฝังทักษะในการสร้างมิตร เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งเล่าว่า สมัยเป็นเด็กเขาคบคนยาก
เมื่อเพื่อนร่วมทีมคนหนึ่งบาดเจ็บ แม่ของเขาคะยั้นคะยอให้โทรฯไปหาเพื่อนคนนั้นเพื่อถามอาการว่า
ดีขึ้นหรือยัง “แม่ครับ” เขาประท้วง “คนนั้นไม่รู้จักผมเลยด้วยซ้ำ”
“แล้วเขาก็จะรู้จักลูกเองแหละจ้ะ” แม่ตอบ การโทรศัพท์ครั้งนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพที่แน่นแฟ้น
เพื่อนร่วมงานของดิฉันย้อนระลึกว่า “แม่ทำให้ผมเข้าใจว่า มิตรภาพเกิดจากการให้ความสนใจผู้อื่น
ไม่ใช่ให้ผู้อื่นมาสนใจเรา”
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนเมษายน 2541
โดย Joyce Brothers
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
“เด็กผู้หญิงที่ไม่มีแม่คอยช่วยเวลาเดือดร้อนจะทำอย่างไรกัน”
โจ มาร์ช นางเอกในนวนิยายเรื่อง “สี่ดรุณี” (Little Women) ถาม
ในสมัยก่อน แม่คือผู้ปกครองที่ได้รับการคาดหวังว่าจะต้องคอยสนับสนุนและให้กำลังใจลูก ๆ ตามที่
ลูกต้องการขณะเติบโต ทุกวันนี้ ลูกอาจหันไปพึ่งพ่อเฉพาะบางเรื่อง แต่แม่กับพ่อไม่มีวันเหมือนกันได้
และครอบครัวส่วนใหญ่ยังต้องให้แม่ “ประคับประคอง” แทบทุกเรื่อง
ผู้หญิงหลายคนรู้สึกหนักใจ “สิ่งที่ดิฉันมองเห็นก็คือ : ลูกต้องการโน่นต้องการนี่อยู่เรื่อย” แม่คนหนึ่ง
สารภาพกับดิฉัน
“ทำให้ดิฉันคิดว่าคงไม่มีทางทำได้ครบถ้วน บางครั้งรู้สึกหมดเรี่ยวหมดแรง ถึงกระนั้นก็ยังอยากทำ
ทุกอย่างเพื่อลูก”
ทว่าความต้องการของลูกไม่ได้สำคัญเท่ากันหมดทุกอย่าง แม่จะต้องคิดว่าความต้องการเรื่องไหน
ของลูกที่จำเป็นจริง ๆ จากประสบการณ์ทำงานในฐานะนักจิตวิทยา ดิฉันมีโอกาสคุยกับแม่นับร้อยคน
และเด็กอีกนับพันคน ทั้งยังศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกมามากมาย ดิฉันจึงกลั่นกรองสิ่งที่ลูก ๆ
ต้องการมากที่สุดจากแม่ผู้มีงานยุ่งไว้ดังต่อไปนี้
1. ฝึกจิตใจ
แม่ต้องแสดงให้ลูกเห็นว่า การปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างดีด้วยความสุภาพมีน้ำใจ มีความสำคัญพอ ๆ
กับความสำเร็จในการเล่าเรียนและการกีฬา
เด็กที่ได้รับการฝึกด้านอารมณ์จะพัฒนา “ปัญญาทางอารมณ์” อันเป็นความสามารถที่จะเข้าใจถึง
ความต้องการของผู้อื่น เด็กเหล่านี้มีโอกาสก้าวหน้าในชีวิตดีกว่าการศึกษาอย่างต่อเนื่องในห้อง
ปฏิบัติการ ‘เบล’ ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำของสหรัฐฯ แสดงว่าวิศวกร
ผู้มีประสิทธิผลสูงไม่จำเป็นต้องมีไอคิวสูงสุด แต่เป็นผู้ที่มีสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน
แม่มักเป็นผู้ปลูกฝังทักษะในการสร้างมิตร เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งเล่าว่า สมัยเป็นเด็กเขาคบคนยาก
เมื่อเพื่อนร่วมทีมคนหนึ่งบาดเจ็บ แม่ของเขาคะยั้นคะยอให้โทรฯไปหาเพื่อนคนนั้นเพื่อถามอาการว่า
ดีขึ้นหรือยัง “แม่ครับ” เขาประท้วง “คนนั้นไม่รู้จักผมเลยด้วยซ้ำ”
“แล้วเขาก็จะรู้จักลูกเองแหละจ้ะ” แม่ตอบ การโทรศัพท์ครั้งนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพที่แน่นแฟ้น
เพื่อนร่วมงานของดิฉันย้อนระลึกว่า “แม่ทำให้ผมเข้าใจว่า มิตรภาพเกิดจากการให้ความสนใจผู้อื่น
ไม่ใช่ให้ผู้อื่นมาสนใจเรา”
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
ลูกต้องการอะไรจากแม่มากที่สุด ตอนที่ ( 2 )
จากหนังสือสรรสาระ
ฉบับเดือนเมษายน 2541
โดย Joyce Brothers
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
2. ติน้อย ๆ ให้กำลังใจมาก ๆ
เราทุกคนรู้ดีว่าคำชมเชยส่งผลดีได้อย่างน่าพิศวงและการวิจารณ์พร่ำเพรื่ออาจทำให้เด็กเป็น
คนติตนเองมากเกินไปจนไม่กล้าทำในสิ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ
ที่ปรึกษาด้านบริหารคนหนึ่งให้คำแนะนำในฐานะพ่อว่า การชมมีทั้งแบบที่ถูกและที่ผิด พ่อแม่ส่วนใหญ่
ติลูกได้เป็นข้อ ๆ ชัดเจน แต่เมื่อถึงคราวชม กลับพูดคลุมเครือ “ลูกเยี่ยมมาก” คำชมเช่นนี้ทำให้ลูก
ชื่นใจเพียงชั่วครู่เท่านั้น
ฉะนั้นจงพูดให้ชัดเจน แทนที่จะบอกว่า “ลูกใจเด็ดมาก” ก็ควรบอกว่า “พ่อแม่ภูมิใจมากที่ลูกขึ้นจักรยาน
เองได้หลังจากที่ล้ม” พูดให้กระจ่างว่าทำไมการกระทำนั้น ๆ จึงควรยกย่อง
เราทุกคนมี “จุดประทับใจ” ซึ่งทำให้คำชมนั้นถูกใจเราเพราะเป็นเรื่องที่เราเห็นว่าสำคัญ ในใฐานะแม่
ท่านอาจรู้ดีกว่ามใครว่าสิ่งใดสำคัญสำหรับลูก อาจเป็นดนตรี กีฬา หรือวิชาบางอย่าง ถ้าท่านไม่รู้
ก็ไม่เสียหายอะไรที่จะถาม
ประการสุดท้าย เนื่องจากเด็กจะจดจำได้ดีเป็นครั้ง ๆ จึงควรชมลูกทีละน้อย แต่ชมบ่อย ๆ เพราะการชม
ครั้งละ 1 นาที 100 ครั้ง มีผลดีกว่าชมครั้งเดียวนาน 100 นาที
3. คุยถึง “สิ่งต้องห้าม”
โลกทุกวันนี้แวดล้อมไปด้วยอันตราย เด็ก ๆ จะรับรู้เรื่องยาเสพย์ติด เครื่องดื่มมึนเมาและเรื่องเพศ
ตั้งแต่เยาว์ แม่บางคนกลัวว่า การพูดถึงสิ่งต้องห้ามเหล่านี้จะเหมือนเป็นการแสดงความเห็นดีเห็นงาม
แต่ความจริงนั้นตรงกันข้าม ผลวิจัยเด็กนักเรียนชั้นประถม 5 และมัธยม 1 ในรัฐแคลิฟอร์เนียตอน
ใต้เมื่อปี 2537 พบว่า เด็กที่พูดคุยเรื่องเหล่านี้อย่างเปิดอกกับพ่อแม่ จะใช้ยาเสพย์ติดและดื่มของ
มึนเมาน้อยกว่า
แม่จะเก่งเป็นพิเศษในการหารือเรื่องล่อแหลมเหล่านี้กับลูก ก่อนอื่น ต้องหาข้อมูลในเรื่องนั้น ๆ ไม่ว่า
จะเป็นยาเสพย์ติด เครื่องดื่มมึนเมา หรือเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น แล้วถามลูกว่ารู้เรื่องนี้เพียงใด
เด็กอายุ 6-7 ขวบอาจเคยได้ยินเรื่องเหล่านี้ในสนามเด็กเล่นหรือเห็นจากโทรทัศน์ จึงควรชี้แจง
ให้ลูกฟังว่า ที่ต้องมาคุยเรื่องนี้ก็เพื่อให้ลูกเข้าใจถึงอันตรายของมัน ไม่ใช่เพราะไม่ไว้ใจลูก
ให้ลูกรู้ว่าท่านเต็มใจจะตอบคำถามทุกข้อและคุยกันถึงเรื่องที่ลูกกังวล
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ
ฉบับเดือนเมษายน 2541
โดย Joyce Brothers
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
2. ติน้อย ๆ ให้กำลังใจมาก ๆ
เราทุกคนรู้ดีว่าคำชมเชยส่งผลดีได้อย่างน่าพิศวงและการวิจารณ์พร่ำเพรื่ออาจทำให้เด็กเป็น
คนติตนเองมากเกินไปจนไม่กล้าทำในสิ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ
ที่ปรึกษาด้านบริหารคนหนึ่งให้คำแนะนำในฐานะพ่อว่า การชมมีทั้งแบบที่ถูกและที่ผิด พ่อแม่ส่วนใหญ่
ติลูกได้เป็นข้อ ๆ ชัดเจน แต่เมื่อถึงคราวชม กลับพูดคลุมเครือ “ลูกเยี่ยมมาก” คำชมเช่นนี้ทำให้ลูก
ชื่นใจเพียงชั่วครู่เท่านั้น
ฉะนั้นจงพูดให้ชัดเจน แทนที่จะบอกว่า “ลูกใจเด็ดมาก” ก็ควรบอกว่า “พ่อแม่ภูมิใจมากที่ลูกขึ้นจักรยาน
เองได้หลังจากที่ล้ม” พูดให้กระจ่างว่าทำไมการกระทำนั้น ๆ จึงควรยกย่อง
เราทุกคนมี “จุดประทับใจ” ซึ่งทำให้คำชมนั้นถูกใจเราเพราะเป็นเรื่องที่เราเห็นว่าสำคัญ ในใฐานะแม่
ท่านอาจรู้ดีกว่ามใครว่าสิ่งใดสำคัญสำหรับลูก อาจเป็นดนตรี กีฬา หรือวิชาบางอย่าง ถ้าท่านไม่รู้
ก็ไม่เสียหายอะไรที่จะถาม
ประการสุดท้าย เนื่องจากเด็กจะจดจำได้ดีเป็นครั้ง ๆ จึงควรชมลูกทีละน้อย แต่ชมบ่อย ๆ เพราะการชม
ครั้งละ 1 นาที 100 ครั้ง มีผลดีกว่าชมครั้งเดียวนาน 100 นาที
3. คุยถึง “สิ่งต้องห้าม”
โลกทุกวันนี้แวดล้อมไปด้วยอันตราย เด็ก ๆ จะรับรู้เรื่องยาเสพย์ติด เครื่องดื่มมึนเมาและเรื่องเพศ
ตั้งแต่เยาว์ แม่บางคนกลัวว่า การพูดถึงสิ่งต้องห้ามเหล่านี้จะเหมือนเป็นการแสดงความเห็นดีเห็นงาม
แต่ความจริงนั้นตรงกันข้าม ผลวิจัยเด็กนักเรียนชั้นประถม 5 และมัธยม 1 ในรัฐแคลิฟอร์เนียตอน
ใต้เมื่อปี 2537 พบว่า เด็กที่พูดคุยเรื่องเหล่านี้อย่างเปิดอกกับพ่อแม่ จะใช้ยาเสพย์ติดและดื่มของ
มึนเมาน้อยกว่า
แม่จะเก่งเป็นพิเศษในการหารือเรื่องล่อแหลมเหล่านี้กับลูก ก่อนอื่น ต้องหาข้อมูลในเรื่องนั้น ๆ ไม่ว่า
จะเป็นยาเสพย์ติด เครื่องดื่มมึนเมา หรือเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น แล้วถามลูกว่ารู้เรื่องนี้เพียงใด
เด็กอายุ 6-7 ขวบอาจเคยได้ยินเรื่องเหล่านี้ในสนามเด็กเล่นหรือเห็นจากโทรทัศน์ จึงควรชี้แจง
ให้ลูกฟังว่า ที่ต้องมาคุยเรื่องนี้ก็เพื่อให้ลูกเข้าใจถึงอันตรายของมัน ไม่ใช่เพราะไม่ไว้ใจลูก
ให้ลูกรู้ว่าท่านเต็มใจจะตอบคำถามทุกข้อและคุยกันถึงเรื่องที่ลูกกังวล
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
ลูกต้องการอะไรจากแม่มากที่สุด ตอนที่ ( 3 )
จากหนังสือสรรสาระ
ฉบับเดือนเมษายน 2541
โดย Joyce Brothers
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
4. ขยายวงตามลูกที่โตขึ้น
เด็ก ๆ จะต้องได้รับความรักอย่างไม่มีเงื่อนไขเพื่อพัฒนาความนับถือตนเอง ความรักแบบนี้ไม่ได้
หมายความว่า ไม่จำเป็นต้องขีดวงให้ลูก การกำหนดขอบเขตทำให้เด็กรู้ว่า เขามีความสำคัญ
ต่อพ่อแม่เพียงไร เมื่อลูกล้ำเส้น ท่านแสดงให้เห็นเลยว่า ท่านผิดหวังในการกระทำของเขา
แต่ไม่ใช่ความผิดหวังในตัวลูก
เมื่อลูกเติบโตขึ้น ขอบเขตนั้นก็ต้องขยายวงออกไปด้วย โดยเฉพาะลูกชายที่อยากจะอยู่ห่างจากแม่
นักจิตวิทยาที่มากประสบการณ์ท่านหนึ่งเขียนเล่าถึงเด็กผู้ชายที่มีความคึกคะนองอยู่ภายใน ซึ่งปะทุ
ออกมาเมื่อได้ของเล่นสำหรับเด็กผู้ชายชิ้นแรกเช่นรถของเล่นหรือตุ๊กตาทหาร ธรรมชาติของเด็กผู้ชาย
ชอบเผชิญอันตรายและแสดงสิ่งที่เขาคิดว่าเป็นพลังของผู้ชาย ขณะที่เด็กผู้ชายเติบโต ขอบเขตของเขา
ก็ควรขยายวงออกไปด้วย แม่ไม่ควรรู้สึกว่าถูกกีดกันหรือเกิดความหวาดหวั่น แม้แต่เด็กหนุ่มวัย 17
ตัวสูงโย่ง พ่อแม่ยังต้องมีกฎเรื่องการใช้รถไว้ควบคุม
ส่วนเด็กผู้หญิงนั้นต้องการให้อุ่นใจว่า สามารถทดสอบขอบเขตที่ขีดวงไว้ได้บ้าง “ลูกสาวชอบเอาอก
เอาใจมากกว่าลูกชาย” ดังนั้นลูกสาวจึงอยากรู้ว่าจะฝืนขอบเขตนั้นได้สักเพียงใดจึงจะไม่เป็นอันตราย
หรือว่าตัวเองกำลังเรียกร้องสิ่งที่ฟังไม่ขึ้น
5. นำทาง
เด็ก ๆ ต้องการเข็มทิศด้านคุณธรรม ซึ่งหมายถึงการปลูกฝังความรู้สึกว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด ไม่เฉพาะ
ในเรื่องใหญ่ ๆ แต่รวมถึงเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวันด้วย
แม่คนหนึ่งเห็นลูกชายวัย 5 ขวบขี่จักรยานของเพื่อนบ้านวัย 7 ขวบ ลูกชายบอกเธอว่า “ตอนนี้พี่ทอม
อยู่ที่โรงเรียนและไม่ได้ใช้จักรยาน”
เด็กอาจคิดว่าเพื่อนคงไม่ถือสา แต่แม่ของเขาต้องยืนยันให้เอาจักรยานไปคืนโดยบอกเด็กว่า
“การใช้ของของคนอื่นโดยไม่ขออนุญาตนั้นไม่ถูกต้อง”
เมื่อแม่ให้ความสนใจกับเรื่องความรับผิดชอบและซื่อสัตย์สุจริต ก็เท่ากับแม่สร้างค่านิยมซึ่งจะเป็น
สมบัติอันล้ำค่าติดตัวลูก เข็มทิศคุณธรรมที่ดีที่สุดก็คือการประพฤติปฏิบัติของแม่ ถ้าแม่เลี่ยงไม่พูด
ความจริง ไม่แยแสในสิทธิ์ของผู้อื่น หรือไม่รักษาคำมั่นสัญญา ลูก ๆ ก็จะขาดผู้นำที่ดี
6. สนุกไปกับลูก ๆ
ด้วยเหตุที่ไม่ค่อยมีเวลา แม่จึงสนใจเฉพาะ “สิ่งที่สำคัญ” เช่นติดตามข่าวสารที่เด็กต้องใช้ทำรายงาน
และช่วยเรื่องการบ้าน ทว่าในสังคมเคร่งเครียดอย่างนี้ เด็ก ๆ ยังต้องการความสนุกสนานกับแม่ด้วย
สิ่งนี้ไม่ต้องใช้เวลามากมาย ขอเพียงเต็มใจที่จะยอมเหลวไหลบ้างเวลาลูกทำการบ้าน หรือเมื่อ
การทำงานบ้านกลายเป็นการเล่นสนุกเป็นครั้งคราว
ป้าของเพื่อนคนหนึ่งปล่อยให้ลูก ๆ และเพื่อนของลูกเข้าไปทำงานในครัวขณะที่ท่านทำอาหารเย็น
บางครั้งของเล่น ดินสอสีและดินน้ำมันก็พลัดเข้าไปอยู่ในอาหาร หลายปีต่อมา ลูกชายซึ่งเข้าเรียนระดับ
วิทยาลัยพาเพื่อนเก่ามารับประทานอาหารเย็นที่บ้าน เพื่อนคนนั้นบอกว่า “คุณป้าครับ ผมจำได้เสมอว่า
ดีจังเลยเวลามาบ้านคุณป้า เราหัวเราะกันสนุกสนาน แถมในซุปยังมีดินน้ำมันด้วย
การเป็นแม่นั้นเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นภาระ บางครั้งคุณอาจต้องลด
ความรับผิดชอบลงบ้าง คือเข้มงวดกับตัวเองให้น้อยลง แล้วสนุกกับลูก ๆ แทน
***************************
จบบริบูรณ์
จากหนังสือสรรสาระ
ฉบับเดือนเมษายน 2541
โดย Joyce Brothers
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
4. ขยายวงตามลูกที่โตขึ้น
เด็ก ๆ จะต้องได้รับความรักอย่างไม่มีเงื่อนไขเพื่อพัฒนาความนับถือตนเอง ความรักแบบนี้ไม่ได้
หมายความว่า ไม่จำเป็นต้องขีดวงให้ลูก การกำหนดขอบเขตทำให้เด็กรู้ว่า เขามีความสำคัญ
ต่อพ่อแม่เพียงไร เมื่อลูกล้ำเส้น ท่านแสดงให้เห็นเลยว่า ท่านผิดหวังในการกระทำของเขา
แต่ไม่ใช่ความผิดหวังในตัวลูก
เมื่อลูกเติบโตขึ้น ขอบเขตนั้นก็ต้องขยายวงออกไปด้วย โดยเฉพาะลูกชายที่อยากจะอยู่ห่างจากแม่
นักจิตวิทยาที่มากประสบการณ์ท่านหนึ่งเขียนเล่าถึงเด็กผู้ชายที่มีความคึกคะนองอยู่ภายใน ซึ่งปะทุ
ออกมาเมื่อได้ของเล่นสำหรับเด็กผู้ชายชิ้นแรกเช่นรถของเล่นหรือตุ๊กตาทหาร ธรรมชาติของเด็กผู้ชาย
ชอบเผชิญอันตรายและแสดงสิ่งที่เขาคิดว่าเป็นพลังของผู้ชาย ขณะที่เด็กผู้ชายเติบโต ขอบเขตของเขา
ก็ควรขยายวงออกไปด้วย แม่ไม่ควรรู้สึกว่าถูกกีดกันหรือเกิดความหวาดหวั่น แม้แต่เด็กหนุ่มวัย 17
ตัวสูงโย่ง พ่อแม่ยังต้องมีกฎเรื่องการใช้รถไว้ควบคุม
ส่วนเด็กผู้หญิงนั้นต้องการให้อุ่นใจว่า สามารถทดสอบขอบเขตที่ขีดวงไว้ได้บ้าง “ลูกสาวชอบเอาอก
เอาใจมากกว่าลูกชาย” ดังนั้นลูกสาวจึงอยากรู้ว่าจะฝืนขอบเขตนั้นได้สักเพียงใดจึงจะไม่เป็นอันตราย
หรือว่าตัวเองกำลังเรียกร้องสิ่งที่ฟังไม่ขึ้น
5. นำทาง
เด็ก ๆ ต้องการเข็มทิศด้านคุณธรรม ซึ่งหมายถึงการปลูกฝังความรู้สึกว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด ไม่เฉพาะ
ในเรื่องใหญ่ ๆ แต่รวมถึงเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวันด้วย
แม่คนหนึ่งเห็นลูกชายวัย 5 ขวบขี่จักรยานของเพื่อนบ้านวัย 7 ขวบ ลูกชายบอกเธอว่า “ตอนนี้พี่ทอม
อยู่ที่โรงเรียนและไม่ได้ใช้จักรยาน”
เด็กอาจคิดว่าเพื่อนคงไม่ถือสา แต่แม่ของเขาต้องยืนยันให้เอาจักรยานไปคืนโดยบอกเด็กว่า
“การใช้ของของคนอื่นโดยไม่ขออนุญาตนั้นไม่ถูกต้อง”
เมื่อแม่ให้ความสนใจกับเรื่องความรับผิดชอบและซื่อสัตย์สุจริต ก็เท่ากับแม่สร้างค่านิยมซึ่งจะเป็น
สมบัติอันล้ำค่าติดตัวลูก เข็มทิศคุณธรรมที่ดีที่สุดก็คือการประพฤติปฏิบัติของแม่ ถ้าแม่เลี่ยงไม่พูด
ความจริง ไม่แยแสในสิทธิ์ของผู้อื่น หรือไม่รักษาคำมั่นสัญญา ลูก ๆ ก็จะขาดผู้นำที่ดี
6. สนุกไปกับลูก ๆ
ด้วยเหตุที่ไม่ค่อยมีเวลา แม่จึงสนใจเฉพาะ “สิ่งที่สำคัญ” เช่นติดตามข่าวสารที่เด็กต้องใช้ทำรายงาน
และช่วยเรื่องการบ้าน ทว่าในสังคมเคร่งเครียดอย่างนี้ เด็ก ๆ ยังต้องการความสนุกสนานกับแม่ด้วย
สิ่งนี้ไม่ต้องใช้เวลามากมาย ขอเพียงเต็มใจที่จะยอมเหลวไหลบ้างเวลาลูกทำการบ้าน หรือเมื่อ
การทำงานบ้านกลายเป็นการเล่นสนุกเป็นครั้งคราว
ป้าของเพื่อนคนหนึ่งปล่อยให้ลูก ๆ และเพื่อนของลูกเข้าไปทำงานในครัวขณะที่ท่านทำอาหารเย็น
บางครั้งของเล่น ดินสอสีและดินน้ำมันก็พลัดเข้าไปอยู่ในอาหาร หลายปีต่อมา ลูกชายซึ่งเข้าเรียนระดับ
วิทยาลัยพาเพื่อนเก่ามารับประทานอาหารเย็นที่บ้าน เพื่อนคนนั้นบอกว่า “คุณป้าครับ ผมจำได้เสมอว่า
ดีจังเลยเวลามาบ้านคุณป้า เราหัวเราะกันสนุกสนาน แถมในซุปยังมีดินน้ำมันด้วย
การเป็นแม่นั้นเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นภาระ บางครั้งคุณอาจต้องลด
ความรับผิดชอบลงบ้าง คือเข้มงวดกับตัวเองให้น้อยลง แล้วสนุกกับลูก ๆ แทน
***************************
จบบริบูรณ์
อยู่เพื่อรัก ตอนที่ ( 1 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมีนาคม 2541
โดย Robert Sullivan และจากวิกิปิเดีย รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ในปราสาท “Belcourt” เมืองนิวพอร์ต (Newport) รัฐโรดไอส์แลนด์ (Rhode Island)
ผู้มาร่วมงานฮัลโลวีนนับร้อยคนในชุดเครื่องแต่งกายแปลก ๆ กำลังสรวลเสเฮฮาเริงระบำขณะที่
ดนตรีบรรเลงเพลงเร้าใจ ไดอาน่า โกลเด็น (Diana Golden : เกิด 20 มี.ค. 2506) สาวน้อยหน้าใส
ยิ้มอยู่ใต้หน้ากากสีเงินแกมทองซึ่งปิดใบหน้าไว้ครึ่งหนึ่ง เป็นรอยยิ้มที่ออกจะฝืน ๆ
ชายหนุ่มคนหนึ่งในชุดเสื้อเกราะอัศวินจากฟากตรงข้ามของห้อง เห็นเธอและคิดว่าจำเธอได้ เขาเดิน
ฝ่าฝูงคนข้ามห้องตรงไปหาเธอ แล้วพูดว่า “สวัสดีครับ ผมชื่อสตีฟ บรอสนิฮัน (Steve Brosnihan)
นักเขียนการ์ตูนจากดาร์ตมัท (Dartmouth) ครับ”
สตีฟหลงรักเธออยู่ก่อน เขาแอบรักผู้หญิงคนนี้อยู่ห่าง ๆ มาหลายปีแล้ว สำหรับไดอาน่า การพบกับ
สตีฟทำให้เธอต้องตั้งป้อมป้องกันตัวเองมากขึ้น เพราะเธอรู้ในสิ่งที่สตีฟไม่รู้ นั่นคือเธอกำลังจะตาย
สิ่งสุดท้ายที่ไดอาน่าต้องการยามนี้คือการมีความรัก
ไดอาน่าเกิดและเติบโตในเมืองลินคอล์น รัฐแมสซาชูเซต เธอเป็นเด็กร่าเริงแต่ขี้อาย วันหนึ่ง
ในฤดูหนาวเมื่ออายุได้ 12 ขวบ หลังจากเล่นก่อหิมะเป็นป้อมปราการอย่างสนุกสนานทั้งวัน ขาขวา
ของเธอก็มีอันอ่อนแรงพับลง แพทย์ที่สถาบันมะเร็งในบอสตันวินิจฉัยว่า เธอเป็นมะเร็งในกระดูกและ
จะต้องตัดขาทิ้ง ไดอาน่าถามว่า เธอจะยังเล่นสกีซึ่งเป็นกีฬาโปรดได้หรือไม่ และรู้สึกใจชื้นเมื่อแพทย์
ตอบว่าได้ หลังจากนั้น ไดอาน่าก็สร้างเอกลักษณ์ของตัวเองขึ้นจากความเจ็บป่วยนั้น เธอเริ่มหมกมุ่น
อยู่กับสกีและการแข่งขันจนเป็นที่รู้จักในฐานะแชมเปียนสกีขาเดียว
“ฉันไปออกรายการโทรทัศน์และบอกเด็กอื่น ๆ ว่า : ฉันทำได้! และจะมุมานะให้เก่งยิ่งขึ้น”
เธอเข้าเรียนที่วิทยาลัยดาร์ตมัท (Dartmouth College) ในรัฐนิวแฮมเชียร์ และได้ฝึกซ้อมร่วมทีมสกี
ของวิทยาลัย ในช่วงที่ไม่ใช่ฤดูแข่งขัน เธอจะวิ่งรอบลู่โดยใช้ไม้ค้ำยัน หรือกระโดดขึ้นลง
ตามขั้นบันไดอัฒจันทร์สนามฟุตบอล
สนามแข่งขันอยู่ติดกับสนามเบสบอลที่สตีฟซึ่งเป็นรุ่นพี่ไดอาน่าหนึ่งปีทำการฝึกซ้อมในตำแหน่งผู้
ขว้างลูก “ผมชื่นชอบเธอมาก เธอเป็นคนร่าเริง มีชีวิตชีวาจริง ๆ” สตีฟกล่าว “บางครั้งผมเห็นเธอเดิน
ข้ามสนามหญ้าในวิทยาลัย ผมจะเร่งฝีเท้าแซงหน้าไปเพื่อดูเธอยิ้ม แต่เธอจำเรื่องพวกนี้ไม่ได้”
หลังจบจากวิทยาลัยในปี 2527 ไดอาน่าก็เริ่มสร้างประวัติศาสตร์ในวงการกีฬาอาชีพของคนพิการ
เธอได้รับยกย่องอย่างสูงว่า เป็นผู้มีความสำคัญต่อการกีฬาคนพิการซึ่งไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริงเลย
ในวงการนี้ เธอเปรียบเสมือนเพชรน้ำหนึ่ง บุคลิกของไดอาน่าโดดเด่นมีเสน่ห์และกระฉับกระเฉง
ร่าเริง เธอทำให้สถานที่เล่นสกีสดใสมีชีวิตชีวาขึ้น ทั้งยังหัวไวและมีอารมณ์ขัน
ไดอาน่าเป็นบุคคลที่เด่นและน่าจับตามองในหมู่นักสกี บนเวทีปาฐกถา เธอพูดให้กำลังใจได้อย่าง
เฉียบขาด เช่นว่า “เสียขาไปข้างหนึ่งน่ะหรือ เรื่องเล็ก ก็แค่อวัยวะส่วนหนึ่งเท่านั้น” เมื่อเธอบอก
เด็ก ๆ ว่า พวกเขาสามารถต่อสู้เอาชนะความเจ็บป่วยได้ เธอก็หมายความอย่างนั้นจริง ๆ”
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมีนาคม 2541
โดย Robert Sullivan และจากวิกิปิเดีย รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ในปราสาท “Belcourt” เมืองนิวพอร์ต (Newport) รัฐโรดไอส์แลนด์ (Rhode Island)
ผู้มาร่วมงานฮัลโลวีนนับร้อยคนในชุดเครื่องแต่งกายแปลก ๆ กำลังสรวลเสเฮฮาเริงระบำขณะที่
ดนตรีบรรเลงเพลงเร้าใจ ไดอาน่า โกลเด็น (Diana Golden : เกิด 20 มี.ค. 2506) สาวน้อยหน้าใส
ยิ้มอยู่ใต้หน้ากากสีเงินแกมทองซึ่งปิดใบหน้าไว้ครึ่งหนึ่ง เป็นรอยยิ้มที่ออกจะฝืน ๆ
ชายหนุ่มคนหนึ่งในชุดเสื้อเกราะอัศวินจากฟากตรงข้ามของห้อง เห็นเธอและคิดว่าจำเธอได้ เขาเดิน
ฝ่าฝูงคนข้ามห้องตรงไปหาเธอ แล้วพูดว่า “สวัสดีครับ ผมชื่อสตีฟ บรอสนิฮัน (Steve Brosnihan)
นักเขียนการ์ตูนจากดาร์ตมัท (Dartmouth) ครับ”
สตีฟหลงรักเธออยู่ก่อน เขาแอบรักผู้หญิงคนนี้อยู่ห่าง ๆ มาหลายปีแล้ว สำหรับไดอาน่า การพบกับ
สตีฟทำให้เธอต้องตั้งป้อมป้องกันตัวเองมากขึ้น เพราะเธอรู้ในสิ่งที่สตีฟไม่รู้ นั่นคือเธอกำลังจะตาย
สิ่งสุดท้ายที่ไดอาน่าต้องการยามนี้คือการมีความรัก
ไดอาน่าเกิดและเติบโตในเมืองลินคอล์น รัฐแมสซาชูเซต เธอเป็นเด็กร่าเริงแต่ขี้อาย วันหนึ่ง
ในฤดูหนาวเมื่ออายุได้ 12 ขวบ หลังจากเล่นก่อหิมะเป็นป้อมปราการอย่างสนุกสนานทั้งวัน ขาขวา
ของเธอก็มีอันอ่อนแรงพับลง แพทย์ที่สถาบันมะเร็งในบอสตันวินิจฉัยว่า เธอเป็นมะเร็งในกระดูกและ
จะต้องตัดขาทิ้ง ไดอาน่าถามว่า เธอจะยังเล่นสกีซึ่งเป็นกีฬาโปรดได้หรือไม่ และรู้สึกใจชื้นเมื่อแพทย์
ตอบว่าได้ หลังจากนั้น ไดอาน่าก็สร้างเอกลักษณ์ของตัวเองขึ้นจากความเจ็บป่วยนั้น เธอเริ่มหมกมุ่น
อยู่กับสกีและการแข่งขันจนเป็นที่รู้จักในฐานะแชมเปียนสกีขาเดียว
“ฉันไปออกรายการโทรทัศน์และบอกเด็กอื่น ๆ ว่า : ฉันทำได้! และจะมุมานะให้เก่งยิ่งขึ้น”
เธอเข้าเรียนที่วิทยาลัยดาร์ตมัท (Dartmouth College) ในรัฐนิวแฮมเชียร์ และได้ฝึกซ้อมร่วมทีมสกี
ของวิทยาลัย ในช่วงที่ไม่ใช่ฤดูแข่งขัน เธอจะวิ่งรอบลู่โดยใช้ไม้ค้ำยัน หรือกระโดดขึ้นลง
ตามขั้นบันไดอัฒจันทร์สนามฟุตบอล
สนามแข่งขันอยู่ติดกับสนามเบสบอลที่สตีฟซึ่งเป็นรุ่นพี่ไดอาน่าหนึ่งปีทำการฝึกซ้อมในตำแหน่งผู้
ขว้างลูก “ผมชื่นชอบเธอมาก เธอเป็นคนร่าเริง มีชีวิตชีวาจริง ๆ” สตีฟกล่าว “บางครั้งผมเห็นเธอเดิน
ข้ามสนามหญ้าในวิทยาลัย ผมจะเร่งฝีเท้าแซงหน้าไปเพื่อดูเธอยิ้ม แต่เธอจำเรื่องพวกนี้ไม่ได้”
หลังจบจากวิทยาลัยในปี 2527 ไดอาน่าก็เริ่มสร้างประวัติศาสตร์ในวงการกีฬาอาชีพของคนพิการ
เธอได้รับยกย่องอย่างสูงว่า เป็นผู้มีความสำคัญต่อการกีฬาคนพิการซึ่งไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริงเลย
ในวงการนี้ เธอเปรียบเสมือนเพชรน้ำหนึ่ง บุคลิกของไดอาน่าโดดเด่นมีเสน่ห์และกระฉับกระเฉง
ร่าเริง เธอทำให้สถานที่เล่นสกีสดใสมีชีวิตชีวาขึ้น ทั้งยังหัวไวและมีอารมณ์ขัน
ไดอาน่าเป็นบุคคลที่เด่นและน่าจับตามองในหมู่นักสกี บนเวทีปาฐกถา เธอพูดให้กำลังใจได้อย่าง
เฉียบขาด เช่นว่า “เสียขาไปข้างหนึ่งน่ะหรือ เรื่องเล็ก ก็แค่อวัยวะส่วนหนึ่งเท่านั้น” เมื่อเธอบอก
เด็ก ๆ ว่า พวกเขาสามารถต่อสู้เอาชนะความเจ็บป่วยได้ เธอก็หมายความอย่างนั้นจริง ๆ”
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
อยู่เพื่อรัก ตอนที่ ( 2 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมีนาคม 2541
โดย Robert Sullivan และจากวิกิปิเดีย รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ในปี 2531 ไดอาน่าขึ้นแท่นรับรางวัลในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เมืองคัลการี (Calgary)
ประเทศแคนาดา เพื่อรับเหรียญทองในการแข่งขัน “ไจแอนต์ สลาลม” (Giant Slalom) ของคนพิการ
เธอยังได้รับเหรียญทองชนะเลิศการแข่งขันกีฬาคนพิการในสหรัฐฯ 19 เหรียญ และในการแข่งขัน
กีฬาคนพิการโลกอีก 10 เหรียญ เมื่อออกจากวงการสกีในปี 2533 ไดอาน่าได้รับการยกย่องว่าเป็น
“นักกีฬาเยี่ยมยอดคนหนึ่งของสหรัฐฯ” (มิใช่นักกีฬาประเภทพิการ) มูลนิธิการกีฬาสตรีมอบรางวัล
“โฟล ไฮแมน” (Flo Hyman Award) ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลก่อนหน้านี้คือแชมป์เทนนิสระดับโลก
มาร์ตินา นาวราติโลว่า (Martina Navratilova) และคริส อีเวิร์ต (Chris Evert)
แต่ชีวิตของไดอาน่าก็มีอันผกผันอย่างปัจจุบันทันด่วน ผลการตรวจเนื้อเยื่อจากเต้านมข้างขวาเมื่อวัน
ส่งท้ายปีเก่าปี 2534 บ่งว่าเป็นมะเร็ง สัปดาห์ต่อมา แพทย์แนะให้ตรวจเต้านมข้างซ้ายด้วย โดยพูด
อย่างเดียวกันเมื่อพบจุดที่น่าสงสัยครั้งหลังว่า “คงไม่เป็นอะไรหรอกค่ะ” เมื่อไดอาน่ารับทราบว่า เธอ
จะต้องถูกตัดเต้านมทิ้งทั้งสองข้าง เธอทำปากเชิดและบอกเพื่อน ๆ ว่า “ฉันยังมีลูกได้นะ”
หลังการผ่าตัด การรักษาด้วยเคมีบำบัดบั่นทอนความแข็งแกร่งของร่างกายซึ่งเป็น “พื้นฐานแห่งความเป็น
ตัวตนของฉัน” การบำบัดรักษาทำให้เธอบอบช้ำ เธอพยายามรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแกร่งเหมือนเดิม
เธอไปที่สระว่ายน้ำเพื่อออกกำลังกาย แต่ก็ไม่สามารถทำใจเปลี่ยนชุดว่ายน้ำได้ เธอบอกว่า “ทั้งที่ขาดขา
ไปข้างหนึ่งมาหลายปีแล้ว แต่ฉันเพิ่งรู้สึกอายตัวเองเอามาก ๆ ก็คราวนี้เอง”
คืนนั้น ไดอาน่าตัดสินใจเผชิญหน้ากับตัวเอง เธอเปลือยร่างยืนหน้ากระจก จ้องเขม็งมองตนเอง พยายาม
ยอมรับเรือนร่างที่มีริ้วรอยแผล เธอเขียนบรรยายความรู้สึกไว้ว่า “รอยแผลเป็นที่หน้าอกและขาเป็นเรื่องใหญ่
เป็นเครื่องหมายชีวิตของฉัน เราทุกคนต่างมีบาดแผลจากชีวิต เพียงแต่ว่าบางแผลมองเห็นชัดเจนกว่า
แผลอื่น และรอยแผลในชีวิตบอกว่า เรามีชีวิตรอดมาได้”
หลังจากนั้น ไดอาน่าก็รับการตรวจโรคเฉพาะสตรีประจำปี และเมื่อแพทย์พูดเหมือนครั้งก่อนว่า
“คงไม่เป็นอะไรหรอกค่ะ” เธอรู้สึกราวกับถูกรถไฟทั้งขบวนชนตูมเข้าอย่างจัง
ระหว่างการผ่าตัด แพทย์พบเนื้องอกขนาดใหญ่ที่น่าจะเป็นเนื้อร้ายแผ่กระจายเกือบทั่วมดลูก
จึงต้องดำเนินการทันที เมื่อไดอาน่าฟื้นขึ้นมา หมอบอกเธอว่า “เราจำเป็นต้องตัดมดลูกของคุณทิ้ง”
เธอหายใจขัด รู้สึกเหมือนถูกย่ำยี และเริ่มมีอาการทรุดลง หลังฟื้นตัวจากการผ่าตัด ไดอาน่าหวนคืนสู่
เวทีปาฐกถาอีกครั้ง แต่ความกล้าหาญและกำลังใจดูจะไม่เต็มร้อยอย่างแต่ก่อน ความรู้สึกโกรธและ
เศร้าเสียใจกำลังคืบคลานเข้ามา “ฉันรู้สึกลำบากใจมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่จะบอกผู้คนว่า พวกเขา
สามารถเอาชนะอะไรก็ได้ทั้งนั้นถ้ามีความพยายาม”
ในปี 2536 เธอรับประทานยาเกินขนาด แต่แล้วก็คิดขึ้นได้ว่ายังไม่อยากตาย จึงโทรศัพท์เรียกเพื่อน
ให้พาไปโรงพยาบาล
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมีนาคม 2541
โดย Robert Sullivan และจากวิกิปิเดีย รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ในปี 2531 ไดอาน่าขึ้นแท่นรับรางวัลในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เมืองคัลการี (Calgary)
ประเทศแคนาดา เพื่อรับเหรียญทองในการแข่งขัน “ไจแอนต์ สลาลม” (Giant Slalom) ของคนพิการ
เธอยังได้รับเหรียญทองชนะเลิศการแข่งขันกีฬาคนพิการในสหรัฐฯ 19 เหรียญ และในการแข่งขัน
กีฬาคนพิการโลกอีก 10 เหรียญ เมื่อออกจากวงการสกีในปี 2533 ไดอาน่าได้รับการยกย่องว่าเป็น
“นักกีฬาเยี่ยมยอดคนหนึ่งของสหรัฐฯ” (มิใช่นักกีฬาประเภทพิการ) มูลนิธิการกีฬาสตรีมอบรางวัล
“โฟล ไฮแมน” (Flo Hyman Award) ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลก่อนหน้านี้คือแชมป์เทนนิสระดับโลก
มาร์ตินา นาวราติโลว่า (Martina Navratilova) และคริส อีเวิร์ต (Chris Evert)
แต่ชีวิตของไดอาน่าก็มีอันผกผันอย่างปัจจุบันทันด่วน ผลการตรวจเนื้อเยื่อจากเต้านมข้างขวาเมื่อวัน
ส่งท้ายปีเก่าปี 2534 บ่งว่าเป็นมะเร็ง สัปดาห์ต่อมา แพทย์แนะให้ตรวจเต้านมข้างซ้ายด้วย โดยพูด
อย่างเดียวกันเมื่อพบจุดที่น่าสงสัยครั้งหลังว่า “คงไม่เป็นอะไรหรอกค่ะ” เมื่อไดอาน่ารับทราบว่า เธอ
จะต้องถูกตัดเต้านมทิ้งทั้งสองข้าง เธอทำปากเชิดและบอกเพื่อน ๆ ว่า “ฉันยังมีลูกได้นะ”
หลังการผ่าตัด การรักษาด้วยเคมีบำบัดบั่นทอนความแข็งแกร่งของร่างกายซึ่งเป็น “พื้นฐานแห่งความเป็น
ตัวตนของฉัน” การบำบัดรักษาทำให้เธอบอบช้ำ เธอพยายามรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแกร่งเหมือนเดิม
เธอไปที่สระว่ายน้ำเพื่อออกกำลังกาย แต่ก็ไม่สามารถทำใจเปลี่ยนชุดว่ายน้ำได้ เธอบอกว่า “ทั้งที่ขาดขา
ไปข้างหนึ่งมาหลายปีแล้ว แต่ฉันเพิ่งรู้สึกอายตัวเองเอามาก ๆ ก็คราวนี้เอง”
คืนนั้น ไดอาน่าตัดสินใจเผชิญหน้ากับตัวเอง เธอเปลือยร่างยืนหน้ากระจก จ้องเขม็งมองตนเอง พยายาม
ยอมรับเรือนร่างที่มีริ้วรอยแผล เธอเขียนบรรยายความรู้สึกไว้ว่า “รอยแผลเป็นที่หน้าอกและขาเป็นเรื่องใหญ่
เป็นเครื่องหมายชีวิตของฉัน เราทุกคนต่างมีบาดแผลจากชีวิต เพียงแต่ว่าบางแผลมองเห็นชัดเจนกว่า
แผลอื่น และรอยแผลในชีวิตบอกว่า เรามีชีวิตรอดมาได้”
หลังจากนั้น ไดอาน่าก็รับการตรวจโรคเฉพาะสตรีประจำปี และเมื่อแพทย์พูดเหมือนครั้งก่อนว่า
“คงไม่เป็นอะไรหรอกค่ะ” เธอรู้สึกราวกับถูกรถไฟทั้งขบวนชนตูมเข้าอย่างจัง
ระหว่างการผ่าตัด แพทย์พบเนื้องอกขนาดใหญ่ที่น่าจะเป็นเนื้อร้ายแผ่กระจายเกือบทั่วมดลูก
จึงต้องดำเนินการทันที เมื่อไดอาน่าฟื้นขึ้นมา หมอบอกเธอว่า “เราจำเป็นต้องตัดมดลูกของคุณทิ้ง”
เธอหายใจขัด รู้สึกเหมือนถูกย่ำยี และเริ่มมีอาการทรุดลง หลังฟื้นตัวจากการผ่าตัด ไดอาน่าหวนคืนสู่
เวทีปาฐกถาอีกครั้ง แต่ความกล้าหาญและกำลังใจดูจะไม่เต็มร้อยอย่างแต่ก่อน ความรู้สึกโกรธและ
เศร้าเสียใจกำลังคืบคลานเข้ามา “ฉันรู้สึกลำบากใจมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่จะบอกผู้คนว่า พวกเขา
สามารถเอาชนะอะไรก็ได้ทั้งนั้นถ้ามีความพยายาม”
ในปี 2536 เธอรับประทานยาเกินขนาด แต่แล้วก็คิดขึ้นได้ว่ายังไม่อยากตาย จึงโทรศัพท์เรียกเพื่อน
ให้พาไปโรงพยาบาล
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
อยู่เพื่อรัก ตอนที่ ( 3 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมีนาคม 2541
โดย Robert Sullivan และจากวิกิปิเดีย รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ไดอาน่าไขว่คว้าหาเหตุผลที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป เธอทุ่มเทความหวังไปที่ลูกสุนัขน้อยตัวหนึ่งซึ่ง
เมื่อมาอยู่กับเธอที่บ้านได้เพียงเดือนเดียวก็เกิดป่วยด้วยโรคร้ายจนต้องฉีดยาให้ตายไป ไดอาน่า
ไม่อาจสลัดความรู้สึกซึมเศร้าออกไปได้ ตอนนั้นเธอพำนักอยู่ทีเมืองโบลเดอร์ (Boulder)
รัฐโคโลราโด วันหนึ่งเธอขึ้นรถจี๊ปและขับมุ่งหน้าขึ้นไปบนภูเขาร็อกกี้ตั้งใจจะพุ่งลงไปใน
แบล็กแคนย่อน หุบเขาลึกอันเป็นเหวตลิ่งของแม่น้ำกันนิสัน (Gunnison River)
แต่ชีวิตก็เรียกร้องเธอกลับมา จากในเมืองกันนิสัน เธอโทรศัพท์ไปที่สายด่วนสำหรับผู้ประสบวิกฤตชีวิต
ทั้งไดอาน่าและผู้ให้คำปรึกษาสรุปว่า คำตอบของปัญหานี้คือ “เธอควรจะมีลูกสุนัขใหม่อีกตัว” ดังนั้น
เธอจึงได้เป็นเจ้าของ “Midnight Sun” ซึ่งแปลว่า “อาทิตย์เที่ยงคืน” เป็นสุนัขพันธุ์ลากเลื่อนของอลาสก้า
เธอบอกว่ามันเป็น “แสงสว่างในยามค่ำคืนของฉัน”
แต่ความสูญเสียของไดอาน่ายังไม่หมดเท่านั้น ในเดือนมีนาคม 2539 แพทย์บอกเธอว่า มะเร็งที่หน้าอก
แพร่ไปยังส่วนอื่น ๆ ด้วย และลุกลามไปถึงข้อกระดูกสันหลังหลายข้อ ไดอาน่าตัดสินใจย้ายกลับไปอยู่กับ
ครอบครัวในระหว่างรับการบำบัดรักษา
ตลอดเวลาที่เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ สตีฟแทบไม่ทราบอะไรเลย เขาทำงานเขียนการ์ตูนให้หนังสือพิมพ์
ที่เมืองบริสตอล รัฐโรดไอส์แลนด์ (Rhode Island) และทราบเพียงว่า “ไดอาน่ากลายเป็นนักกีฬาที่มีชื่อเสียง
ผมจำเธอได้ว่า เธอมีขาข้างเดียว สวยและมีรอยยิ้มเสมอ”
แล้วในวันหนึ่งในปี 2535 สตีฟทราบว่าไดอาน่าจะแสดงปาฐกถาในงานวันรับปริญญาที่โรดไอส์แลนด์
เขาจึงเขียนไปหาขอร้องให้เธอแวะเยี่ยมแคมป์โฮป (Hope Camp) ซึ่งเป็นค่ายพักแรมสำหรับเด็กที่
เป็นมะเร็ง เขาเป็นอาสาสมัครไปช่วยทำงานที่ค่ายนี้ทุกฤดูร้อน เธอโทรฯ กลับมา แล้วทั้งสองก็ได้คุยกัน
แต่เธอขอให้เขานัดหมายกับผู้จัดการของเธอซึ่งบอกว่า ไดอาน่าไม่มีเวลาเจียดให้โปรแกรมของสตีฟเลย
“ผมอยากอยู่ใกล้เธอ แต่ไม่มีทาง” สตีฟยิ้ม “ผมเลยถอย จนกระทั่งได้มาพบเธอที่นิวพอร์ต”
หลังพบกับสตีฟคืนฮัลโลวีนอันมีมนต์ขลังในปี 2539 ไดอาน่ารู้สึกถึงความสัมพันธ์พิเศษที่มีต่อสตีฟ
ทั้งที่ไม่คาดคิดเลยว่าจะเกิดขึ้นได้ “เราพูดคุยกัน และฉันก็เล่า ‘เรื่องนั้น’ ให้เขาฟัง”
เธอกล่าวว่า “ฉันเขียนจดหมายบอกเขาให้ระวังคำพูด ฉันอยากให้มั่นใจว่า ฉันไม่ได้แปลเจตนาของเขา
ผิดไป เขาบอกว่าไม่ต้องห่วงหรอก เขาหมายความอย่างที่พูดทุกคำ”
ในวันส่งท้ายปีเก่าของปีนั้น สตีฟและไดอาน่าเต้นรำอยู่กับเพื่อน ๆ ที่โรงแรมพาร์ก พลาซ่าในเมืองบอสตัน
คืนนั้นเอง เขาบอกเธอว่า “ผมรักคุณ”
รุ่งขึ้นไดอาน่ากับน้องสาวไปซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า ไดอาน่าเดินไปที่แผนกเสื้อผ้าหรูด้วยจิตใจเพ้อฝัน
“ฉันเจอเสื้อสวยชุดนี้ จึงบอกน้องว่า : ชุดนี้แหละที่พี่จะใส่แต่งงานกับสตีฟ”
“พี่พูดอะไรนะ” น้องสาวถาม “เขาขอพี่แต่งงานแล้วหรือ”
“ฉันตอบว่า : ยังเลย แต่ฉันเชื่อว่าเขาต้องขอแน่” แล้วเธอก็ซื้อเสื้อชุดนั้น
โปรดติดตามตอนที่ ( 4 )ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมีนาคม 2541
โดย Robert Sullivan และจากวิกิปิเดีย รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ไดอาน่าไขว่คว้าหาเหตุผลที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป เธอทุ่มเทความหวังไปที่ลูกสุนัขน้อยตัวหนึ่งซึ่ง
เมื่อมาอยู่กับเธอที่บ้านได้เพียงเดือนเดียวก็เกิดป่วยด้วยโรคร้ายจนต้องฉีดยาให้ตายไป ไดอาน่า
ไม่อาจสลัดความรู้สึกซึมเศร้าออกไปได้ ตอนนั้นเธอพำนักอยู่ทีเมืองโบลเดอร์ (Boulder)
รัฐโคโลราโด วันหนึ่งเธอขึ้นรถจี๊ปและขับมุ่งหน้าขึ้นไปบนภูเขาร็อกกี้ตั้งใจจะพุ่งลงไปใน
แบล็กแคนย่อน หุบเขาลึกอันเป็นเหวตลิ่งของแม่น้ำกันนิสัน (Gunnison River)
แต่ชีวิตก็เรียกร้องเธอกลับมา จากในเมืองกันนิสัน เธอโทรศัพท์ไปที่สายด่วนสำหรับผู้ประสบวิกฤตชีวิต
ทั้งไดอาน่าและผู้ให้คำปรึกษาสรุปว่า คำตอบของปัญหานี้คือ “เธอควรจะมีลูกสุนัขใหม่อีกตัว” ดังนั้น
เธอจึงได้เป็นเจ้าของ “Midnight Sun” ซึ่งแปลว่า “อาทิตย์เที่ยงคืน” เป็นสุนัขพันธุ์ลากเลื่อนของอลาสก้า
เธอบอกว่ามันเป็น “แสงสว่างในยามค่ำคืนของฉัน”
แต่ความสูญเสียของไดอาน่ายังไม่หมดเท่านั้น ในเดือนมีนาคม 2539 แพทย์บอกเธอว่า มะเร็งที่หน้าอก
แพร่ไปยังส่วนอื่น ๆ ด้วย และลุกลามไปถึงข้อกระดูกสันหลังหลายข้อ ไดอาน่าตัดสินใจย้ายกลับไปอยู่กับ
ครอบครัวในระหว่างรับการบำบัดรักษา
ตลอดเวลาที่เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ สตีฟแทบไม่ทราบอะไรเลย เขาทำงานเขียนการ์ตูนให้หนังสือพิมพ์
ที่เมืองบริสตอล รัฐโรดไอส์แลนด์ (Rhode Island) และทราบเพียงว่า “ไดอาน่ากลายเป็นนักกีฬาที่มีชื่อเสียง
ผมจำเธอได้ว่า เธอมีขาข้างเดียว สวยและมีรอยยิ้มเสมอ”
แล้วในวันหนึ่งในปี 2535 สตีฟทราบว่าไดอาน่าจะแสดงปาฐกถาในงานวันรับปริญญาที่โรดไอส์แลนด์
เขาจึงเขียนไปหาขอร้องให้เธอแวะเยี่ยมแคมป์โฮป (Hope Camp) ซึ่งเป็นค่ายพักแรมสำหรับเด็กที่
เป็นมะเร็ง เขาเป็นอาสาสมัครไปช่วยทำงานที่ค่ายนี้ทุกฤดูร้อน เธอโทรฯ กลับมา แล้วทั้งสองก็ได้คุยกัน
แต่เธอขอให้เขานัดหมายกับผู้จัดการของเธอซึ่งบอกว่า ไดอาน่าไม่มีเวลาเจียดให้โปรแกรมของสตีฟเลย
“ผมอยากอยู่ใกล้เธอ แต่ไม่มีทาง” สตีฟยิ้ม “ผมเลยถอย จนกระทั่งได้มาพบเธอที่นิวพอร์ต”
หลังพบกับสตีฟคืนฮัลโลวีนอันมีมนต์ขลังในปี 2539 ไดอาน่ารู้สึกถึงความสัมพันธ์พิเศษที่มีต่อสตีฟ
ทั้งที่ไม่คาดคิดเลยว่าจะเกิดขึ้นได้ “เราพูดคุยกัน และฉันก็เล่า ‘เรื่องนั้น’ ให้เขาฟัง”
เธอกล่าวว่า “ฉันเขียนจดหมายบอกเขาให้ระวังคำพูด ฉันอยากให้มั่นใจว่า ฉันไม่ได้แปลเจตนาของเขา
ผิดไป เขาบอกว่าไม่ต้องห่วงหรอก เขาหมายความอย่างที่พูดทุกคำ”
ในวันส่งท้ายปีเก่าของปีนั้น สตีฟและไดอาน่าเต้นรำอยู่กับเพื่อน ๆ ที่โรงแรมพาร์ก พลาซ่าในเมืองบอสตัน
คืนนั้นเอง เขาบอกเธอว่า “ผมรักคุณ”
รุ่งขึ้นไดอาน่ากับน้องสาวไปซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า ไดอาน่าเดินไปที่แผนกเสื้อผ้าหรูด้วยจิตใจเพ้อฝัน
“ฉันเจอเสื้อสวยชุดนี้ จึงบอกน้องว่า : ชุดนี้แหละที่พี่จะใส่แต่งงานกับสตีฟ”
“พี่พูดอะไรนะ” น้องสาวถาม “เขาขอพี่แต่งงานแล้วหรือ”
“ฉันตอบว่า : ยังเลย แต่ฉันเชื่อว่าเขาต้องขอแน่” แล้วเธอก็ซื้อเสื้อชุดนั้น
โปรดติดตามตอนที่ ( 4 )ในวันพรุ่งนี้
อยู่เพื่อรัก ตอนที่ (4 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมีนาคม 2541
โดย Robert Sullivan และจากวิกิปิเดีย รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
สตีฟขอแต่งงานกับไดอาน่า 6 สัปดาห์ต่อมาที่โรงพยาบาลดานา-ฟาร์เบอร์ (Dana Farber Hospital)
ในวันวาเลนไทน์ ตอนที่น้ำยาจากการทำเคมีบำบัดกำลังไหลเข้าเส้นเลือด “วันที่ไดอาน่าต้องทำเคมี
บำบัดนั้นค่อนข้างแย่” สตีฟบอก แต่ที่เขาเลือกเวลาเช่นนั้นเพราะ
“อยากให้เธอได้พบอะไรดี ๆ บ้างในวันแบบนี้”
ไดอาน่าตอบรับ ทั้งสองวางแผนวันสำคัญ ตกลงกันว่าเป็นวันที่ 9 สิงหาคม 2540 โดยจะเชิญแต่ญาติสนิท
เท่านั้น และจะไปดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์กันอย่างเรียบง่าย แต่หลังจากนั้นอีก 2-3 เดือน ไดอาน่าจำได้ว่าเธอ
บอกสตีฟ “ฉันกลัวจนมือเท้าเย็นไปหมด”
“เราประสาทด้วยกันทั้งคู่นั่นแหละ ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวสักนิด” สตีฟปลอบเธอ
“ไดอาน่าคนที่ผมรู้จักไม่วิ่งหนีสิ่งใด"
ระหว่างนั้น สตีฟพูดเรื่องไดอาน่ากับเพื่อน ๆ เขาลงทุนเดินทางไปพบเพื่อนรักคือบาทหลวง
จอห์น ฟรานซิส นักบวชในนิกายแองกลิกัน บาทหลวงจอห์นซักไซ้อยู่จนถึง 2.00 น.ในเรื่อง
ความตั้งใจของเขา แล้วก็กล่าวอวยพรให้สตีฟ
“ผมรู้ว่าเรื่องของเราจะจบลงด้วยความเศร้า” สตีฟกล่าว “แต่ตอนนี้ผมก็มีความสุขเท่า ๆ กับที่
เคยมีมาแล้ว และช่วงเวลาปัจจุบันนี้แหละสำคัญเสียยิ่งกว่าความเศร้าใด ๆ ที่อาจจะอุบัติขึ้น
ในกาลข้างหน้า”
ที่โรงพยาบาล ก่อนวันแต่งงานราว 1 เดือน สตีฟนั่งอยู่บนขอบเตียงของไดอาน่า กุมมือเธอไว้
ขณะยาเคมีบำบัดไหลเข้าสู่เส้นเลือด เขาเอ่ยขึ้นว่า “ช่วงหนึ่งปีมานี้ ดูว่าร่องรอยของเนื้อร้าย
จะทุเลาลง” แต่แพทย์ของไดอาน่ายืนยันว่า ไม่มีผลเปลี่ยนแปลง การวินิจฉัยที่ให้ไว้ นั่นคือ
เธอจะมีชีวิตได้อีก 1 ปี หรือในกรณีพิเศษจริง ๆ ก็ไม่เกิน 5 ปี
ไดอาน่าสามารถรับฟังข่าวร้ายได้ในขณะที่เธอไต่ขึ้นมาไกลแล้วจากจุดต่ำสุดของความสิ้นหวัง
ความรักกลายเป็นหลักใจและเป็นที่พึ่งพิงของเธอ
ไดอาน่าบอกว่า ถึงอย่างไรชีวิตก็ไม่สมบูรณ์เต็มเปี่ยมอยู่ดีและมีบางครั้งที่เธอรู้สึกหงุดหงิดหมด
กำลังใจ “เราอาจจะมีวันที่ได้ใช้ชีวิตปกติบ้าง เช่นขี่จักรยาน 2 ที่นั่งเที่ยวเล่นให้เพลิดเพลินมี
ความสุข แต่นั่นก็พอแล้วหรือ ฉันรู้ว่าเราเหลือเวลาอีกไม่มากนัก และฉันก็อยากให้แต่ละวัน
เป็นวันที่วิเศษที่สุด”
ก่อนได้พบกับสตีฟ ไดอาน่าเชื่อว่าเธอสามารถอยู่ได้อย่างเย็นชาไร้ความรู้สึกจนกระทั่งตายไปเอง
แต่เมื่อมีความรัก เข็มบนเส้นกราฟเริ่มขยับเคลื่อนปรูดปราดขึ้นมาใหม่
เราทุกคนรู้ดีว่า ความตายรอคอยอยู่ แต่มีไม่กี่คนเท่านั้นที่รู้สึกถึงความตายซึ่งกำลังกวักมือเรียก
มันต่างกันเหลือเกิน เป็นความต่างที่ยากจะทำใจได้ ไดอาน่าพยายามอยู่ สตีฟก็เช่นกัน
เพราะการ ไม่พยายามคือการไม่รัก และจะไม่รักตอนนี้ก็เป็นไปไม่ได้เสียแล้ว
วันที่ 9 สิงหาคม 2540 สมาชิกครอบครัวชุมนุมกันในสวนหลังบ้านแบบวิกตอเรียในเมืองบริสตอล
สายลมเย็นชื่นพัดโชยออกไปทางอ่าว ขณะที่ไดอาน่าวัย 34 และสตีฟวัย 36 ให้คำสัตย์ปฏิญาณ
ต่อกัน เขาดูหล่อเหลาทีเดียว ส่วนเธอผู้สวมชุดสวยจนห้ามใจไม่ได้ชุดนั้นมีรอยยิ้มสดใสและ
สวยงามน่ารักเหลือเกิน
มาร์ก พี่ชายของไดอาน่าอ่านบทกวีที่เขาแต่งขึ้นเกี่ยวกับอัศวิน แพทริเซีย ผู้เป็นทั้งอนุศาสนาจารย์
นิกายคาทอลิกและเพื่อนของไดอาน่าลุกขึ้นกล่าวในพิธี เธอคิดว่าเป็นความมหัศจรรย์ก็ว่าได้ที่
ไดอาน่าและสตีฟได้พบกัน “ฉันมองดูเขาทั้งสอง และเห็นความรักที่แน่วแน่ ปราศจากเงื่อนไขใด ๆ”
เธอพูด “มีคำกล่าวว่า : ‘จงรัก เพื่อรัก’
หวังว่าเราทุกคนจะสามารถรักเพื่อความรักได้ดุจเดียวกัน”
ในยามบ่ายอันแสนวิเศษนี้ มีทั้งเสียงหัวเราะและหยาดน้ำตา ความเศร้าโศก ความเห็นใจ
ความชื่นบาน ไดอาน่าและสตีฟเดินเกี่ยวก้อยกันบนสนามหญ้า กำลังคิดเหมือนที่คู่แต่งงานใหม่
ทุกคู่คิด “นี่คือวันแรกของชีวิตของเรานับแต่นี้ไป”
**************************
จบบริบูรณ์
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมีนาคม 2541
โดย Robert Sullivan และจากวิกิปิเดีย รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
สตีฟขอแต่งงานกับไดอาน่า 6 สัปดาห์ต่อมาที่โรงพยาบาลดานา-ฟาร์เบอร์ (Dana Farber Hospital)
ในวันวาเลนไทน์ ตอนที่น้ำยาจากการทำเคมีบำบัดกำลังไหลเข้าเส้นเลือด “วันที่ไดอาน่าต้องทำเคมี
บำบัดนั้นค่อนข้างแย่” สตีฟบอก แต่ที่เขาเลือกเวลาเช่นนั้นเพราะ
“อยากให้เธอได้พบอะไรดี ๆ บ้างในวันแบบนี้”
ไดอาน่าตอบรับ ทั้งสองวางแผนวันสำคัญ ตกลงกันว่าเป็นวันที่ 9 สิงหาคม 2540 โดยจะเชิญแต่ญาติสนิท
เท่านั้น และจะไปดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์กันอย่างเรียบง่าย แต่หลังจากนั้นอีก 2-3 เดือน ไดอาน่าจำได้ว่าเธอ
บอกสตีฟ “ฉันกลัวจนมือเท้าเย็นไปหมด”
“เราประสาทด้วยกันทั้งคู่นั่นแหละ ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวสักนิด” สตีฟปลอบเธอ
“ไดอาน่าคนที่ผมรู้จักไม่วิ่งหนีสิ่งใด"
ระหว่างนั้น สตีฟพูดเรื่องไดอาน่ากับเพื่อน ๆ เขาลงทุนเดินทางไปพบเพื่อนรักคือบาทหลวง
จอห์น ฟรานซิส นักบวชในนิกายแองกลิกัน บาทหลวงจอห์นซักไซ้อยู่จนถึง 2.00 น.ในเรื่อง
ความตั้งใจของเขา แล้วก็กล่าวอวยพรให้สตีฟ
“ผมรู้ว่าเรื่องของเราจะจบลงด้วยความเศร้า” สตีฟกล่าว “แต่ตอนนี้ผมก็มีความสุขเท่า ๆ กับที่
เคยมีมาแล้ว และช่วงเวลาปัจจุบันนี้แหละสำคัญเสียยิ่งกว่าความเศร้าใด ๆ ที่อาจจะอุบัติขึ้น
ในกาลข้างหน้า”
ที่โรงพยาบาล ก่อนวันแต่งงานราว 1 เดือน สตีฟนั่งอยู่บนขอบเตียงของไดอาน่า กุมมือเธอไว้
ขณะยาเคมีบำบัดไหลเข้าสู่เส้นเลือด เขาเอ่ยขึ้นว่า “ช่วงหนึ่งปีมานี้ ดูว่าร่องรอยของเนื้อร้าย
จะทุเลาลง” แต่แพทย์ของไดอาน่ายืนยันว่า ไม่มีผลเปลี่ยนแปลง การวินิจฉัยที่ให้ไว้ นั่นคือ
เธอจะมีชีวิตได้อีก 1 ปี หรือในกรณีพิเศษจริง ๆ ก็ไม่เกิน 5 ปี
ไดอาน่าสามารถรับฟังข่าวร้ายได้ในขณะที่เธอไต่ขึ้นมาไกลแล้วจากจุดต่ำสุดของความสิ้นหวัง
ความรักกลายเป็นหลักใจและเป็นที่พึ่งพิงของเธอ
ไดอาน่าบอกว่า ถึงอย่างไรชีวิตก็ไม่สมบูรณ์เต็มเปี่ยมอยู่ดีและมีบางครั้งที่เธอรู้สึกหงุดหงิดหมด
กำลังใจ “เราอาจจะมีวันที่ได้ใช้ชีวิตปกติบ้าง เช่นขี่จักรยาน 2 ที่นั่งเที่ยวเล่นให้เพลิดเพลินมี
ความสุข แต่นั่นก็พอแล้วหรือ ฉันรู้ว่าเราเหลือเวลาอีกไม่มากนัก และฉันก็อยากให้แต่ละวัน
เป็นวันที่วิเศษที่สุด”
ก่อนได้พบกับสตีฟ ไดอาน่าเชื่อว่าเธอสามารถอยู่ได้อย่างเย็นชาไร้ความรู้สึกจนกระทั่งตายไปเอง
แต่เมื่อมีความรัก เข็มบนเส้นกราฟเริ่มขยับเคลื่อนปรูดปราดขึ้นมาใหม่
เราทุกคนรู้ดีว่า ความตายรอคอยอยู่ แต่มีไม่กี่คนเท่านั้นที่รู้สึกถึงความตายซึ่งกำลังกวักมือเรียก
มันต่างกันเหลือเกิน เป็นความต่างที่ยากจะทำใจได้ ไดอาน่าพยายามอยู่ สตีฟก็เช่นกัน
เพราะการ ไม่พยายามคือการไม่รัก และจะไม่รักตอนนี้ก็เป็นไปไม่ได้เสียแล้ว
วันที่ 9 สิงหาคม 2540 สมาชิกครอบครัวชุมนุมกันในสวนหลังบ้านแบบวิกตอเรียในเมืองบริสตอล
สายลมเย็นชื่นพัดโชยออกไปทางอ่าว ขณะที่ไดอาน่าวัย 34 และสตีฟวัย 36 ให้คำสัตย์ปฏิญาณ
ต่อกัน เขาดูหล่อเหลาทีเดียว ส่วนเธอผู้สวมชุดสวยจนห้ามใจไม่ได้ชุดนั้นมีรอยยิ้มสดใสและ
สวยงามน่ารักเหลือเกิน
มาร์ก พี่ชายของไดอาน่าอ่านบทกวีที่เขาแต่งขึ้นเกี่ยวกับอัศวิน แพทริเซีย ผู้เป็นทั้งอนุศาสนาจารย์
นิกายคาทอลิกและเพื่อนของไดอาน่าลุกขึ้นกล่าวในพิธี เธอคิดว่าเป็นความมหัศจรรย์ก็ว่าได้ที่
ไดอาน่าและสตีฟได้พบกัน “ฉันมองดูเขาทั้งสอง และเห็นความรักที่แน่วแน่ ปราศจากเงื่อนไขใด ๆ”
เธอพูด “มีคำกล่าวว่า : ‘จงรัก เพื่อรัก’
หวังว่าเราทุกคนจะสามารถรักเพื่อความรักได้ดุจเดียวกัน”
ในยามบ่ายอันแสนวิเศษนี้ มีทั้งเสียงหัวเราะและหยาดน้ำตา ความเศร้าโศก ความเห็นใจ
ความชื่นบาน ไดอาน่าและสตีฟเดินเกี่ยวก้อยกันบนสนามหญ้า กำลังคิดเหมือนที่คู่แต่งงานใหม่
ทุกคู่คิด “นี่คือวันแรกของชีวิตของเรานับแต่นี้ไป”
**************************
จบบริบูรณ์
'เข้าใจโรคซึมเศร้าก่อนจะสาย ตอนที่ ( 1 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541
โดย Edwin Kieser, Jr. และ Sally Valente Kiester
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
รายงานของสถาบันสุขภาพจิตแห่งสหรัฐฯ ระบุว่า ในแต่ละปี หญิงชายชาวอเมริกัน 17 ล้านคน
ซึ่งคิดเป็น 6% ของชาวอเมริกันที่เป็นผู้ใหญ่ มีอาการของโรคซึมเศร้า และกลายเป็นความป่วยไข้
ทางจิตที่รุนแรงและเป็นกันมากที่สุด ยิ่งกว่านั้นมีวัยรุ่นกลุ่มใหญ่รวมอยู่ด้วย
นอกจากนี้ การสำรวจทั่วสหรัฐฯ โดยสถาบันแห่งนี้ยังพบอีกว่า มีเพียงประมาณ 1/3 ของผู้เป็น
โรคซึมเศร้าที่เข้ารับการรักษา และร้อยละ 80-90 ของผู้เข้ารับการรักษาหายจากโรคนี้โดยใช้ยา
และการบำบัดแบบใหม่ หากผู้คนรอบข้างสังเกตเห็นความผิดปกติตั้งแต่แรกเริ่มและผู้ป่วย
ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
(@)วงจรเฉพาะของโรค
โรคซึมเศร้าที่จำเป็นต้องได้รับการรักษานี้ ต้องไม่นำไปปะปนกับความเศร้าโศกเสียใจทั่วไป
ทุกคนล้วนมีช่วงเวลา “ท้อแท้สิ้นหวัง” ด้วยกันทั้งนั้น และความเศร้าบางครั้งก็สืบเนื่องมาจากสาเหตุ
ที่เข้าใจได้อย่างชัดเจน เช่นการสูญเสียคนที่รัก การตกงาน หรือหย่าร้าง แต่คนส่วนใหญ่จะค่อย ๆ
ปรับตัวให้ชินกับสภาพเหล่านั้นได้
โรคซึมเศร้าที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาแตกต่างจากความเศร้าหมองทั่วไปทั้งในด้านระยะเวลา
และความรุนแรง สำหรับบางคน โรคนี้อาจมีสาเหตุมาจากการที่ระบบประสาทในสมองถูกรบกวน
นายแพทย์ผู้อำนวยการศูนย์ประสาทวิทยาด้านพฤติกรรมและสังคมแห่งศูนย์การแพทย์
มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตันกล่าวว่า “ในคนที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคซึมเศร้านั้น สิ่งที่เป็นปฏิกิริยา
ตอบสนองธรรมดา ๆ กลับมีวงจรทางชีวเคมีเฉพาะของมันเองในสมอง ในขณะที่ระบบควบคุมการ
ทำงานในร่างกายยังคงดำเนินไปตามปกติแต่คุณจะรู้สึกเหมือนฟิวส์ขาด”
ถ้าไม่รักษา อาการจิตซึมเศร้ามักกลับมาอีก และแต่ละครั้งโอกาสเกิดอาการซ้ำยิ่งมีมากขึ้น
ครึ่งหนึ่งของผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เกิดอาการครั้งแรกจะกลับมาเป็นครั้งที่สอง และเมื่อ
เกิดอาการเช่นนี้ถึง 3 ครั้ง โอกาสที่จะเกิดครั้งที่ 4 มีถึงร้อยละ 90 ดังนั้นการรักษาแต่เนิ่น ๆ
จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
โรคซึมเศร้าแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอาการใหญ่ ๆ กลุ่มแรกเป็นอาการเชิงเดี่ยว คือมีอาการ
ซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว ได้แก่ความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวังเป็นพัก ๆ ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรง
กลุ่มสองเป็นอาการเชิงซ้อน คือคลุ้มคลั่งสลับซึมเศร้า ผู้ป่วยจะมีอารณ์แปรปรวนสุดขั้ว โดยมี
ช่วงซึมเศร้าระยะหนึ่งสลับกับช่วงที่มีพฤติกรรมแปลก ๆ และแสดงออกรุนแรง เช่น พูดพล่ามควบคุม
ตนเองไม่ได้หรือใช้จ่ายเงินทองสุรุ่ยสุร่ายผิดปกติ
ขณะนี้ยังไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้ว่า ทำไม 2 ใน 3 ของผู้มีอาการเชิงเดี่ยวจึงเป็นผู้หญิง
ส่วนอาการเชิงซ้อนนั้น มีทั้งหญิงและชายในอัตราส่วนเท่ากัน โรคซึมเศร้าทั้งสองแบบนี้เป็นได้กับทุกคน
สถาบันสุขภาพจิตแห่งสหรัฐฯ สรุปว่า อาการหลักของโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรงมีดังนี้
1. มีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการนอนหลับอย่างเห็นได้ชัด
2. เบื่ออาหารและ/หรือน้ำหนักลด หรือในทางตรงข้าม อาจเจริญอาหารและน้ำหนักเพิ่ม
3. มีอาการเศร้า วิตกกังวล หรือรู้สึก “โหวงเหวง”
4. รู้สึกสิ้นหวังและมองโลกในแง่ร้าย
5. รู้สึกว่าตนเป็นฝ่ายผิด ไร้ค่า และท้อแท้
6. อ่อนเปลี้ยหรือพละกำลังถดถอย
7. คิดหรือพูดถึงความตายหรือการฆ่าตัวตาย ตลอดจนขู่หรือพยายามฆ่าตัวตาย
อย่างไรก็ตาม ยังมีอาการเตือนอื่น ๆ ของโรคซึมเศร้าซึ่งไม่ปรากฏชัดเจน และไม่อาจจัดเข้า
กับอาการทั่วไปของผู้ป่วยโรคนี้ที่ว่า จะต้องเศร้าหรือปลีกตัวจากสังคม มีอยู่บ่อยครั้งที่อาการ
มักซ่อนเร้นและเกิดขึ้นประเดี๋ยวประด๋าว ทำให้ครอบครัวและเพื่อนฝูงของผู้ป่วยตีความไปผิด ๆ
ผู้อำนวยการโครงการป้องกันโรคซึมเศร้าแห่งมหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์กกล่าวว่า “แม้แต่แพทย์ก็
อาจมองข้ามหรือไม่สังเกตเห็นอาการเหล่านี้ แต่การจับจุดเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้แต่เนิ่น ๆ ย่อมมีผลต่อ
ความเป็นหรือความตายของผู้ป่วยเลยทีเดียว”
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541
โดย Edwin Kieser, Jr. และ Sally Valente Kiester
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
รายงานของสถาบันสุขภาพจิตแห่งสหรัฐฯ ระบุว่า ในแต่ละปี หญิงชายชาวอเมริกัน 17 ล้านคน
ซึ่งคิดเป็น 6% ของชาวอเมริกันที่เป็นผู้ใหญ่ มีอาการของโรคซึมเศร้า และกลายเป็นความป่วยไข้
ทางจิตที่รุนแรงและเป็นกันมากที่สุด ยิ่งกว่านั้นมีวัยรุ่นกลุ่มใหญ่รวมอยู่ด้วย
นอกจากนี้ การสำรวจทั่วสหรัฐฯ โดยสถาบันแห่งนี้ยังพบอีกว่า มีเพียงประมาณ 1/3 ของผู้เป็น
โรคซึมเศร้าที่เข้ารับการรักษา และร้อยละ 80-90 ของผู้เข้ารับการรักษาหายจากโรคนี้โดยใช้ยา
และการบำบัดแบบใหม่ หากผู้คนรอบข้างสังเกตเห็นความผิดปกติตั้งแต่แรกเริ่มและผู้ป่วย
ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
(@)วงจรเฉพาะของโรค
โรคซึมเศร้าที่จำเป็นต้องได้รับการรักษานี้ ต้องไม่นำไปปะปนกับความเศร้าโศกเสียใจทั่วไป
ทุกคนล้วนมีช่วงเวลา “ท้อแท้สิ้นหวัง” ด้วยกันทั้งนั้น และความเศร้าบางครั้งก็สืบเนื่องมาจากสาเหตุ
ที่เข้าใจได้อย่างชัดเจน เช่นการสูญเสียคนที่รัก การตกงาน หรือหย่าร้าง แต่คนส่วนใหญ่จะค่อย ๆ
ปรับตัวให้ชินกับสภาพเหล่านั้นได้
โรคซึมเศร้าที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาแตกต่างจากความเศร้าหมองทั่วไปทั้งในด้านระยะเวลา
และความรุนแรง สำหรับบางคน โรคนี้อาจมีสาเหตุมาจากการที่ระบบประสาทในสมองถูกรบกวน
นายแพทย์ผู้อำนวยการศูนย์ประสาทวิทยาด้านพฤติกรรมและสังคมแห่งศูนย์การแพทย์
มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตันกล่าวว่า “ในคนที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคซึมเศร้านั้น สิ่งที่เป็นปฏิกิริยา
ตอบสนองธรรมดา ๆ กลับมีวงจรทางชีวเคมีเฉพาะของมันเองในสมอง ในขณะที่ระบบควบคุมการ
ทำงานในร่างกายยังคงดำเนินไปตามปกติแต่คุณจะรู้สึกเหมือนฟิวส์ขาด”
ถ้าไม่รักษา อาการจิตซึมเศร้ามักกลับมาอีก และแต่ละครั้งโอกาสเกิดอาการซ้ำยิ่งมีมากขึ้น
ครึ่งหนึ่งของผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เกิดอาการครั้งแรกจะกลับมาเป็นครั้งที่สอง และเมื่อ
เกิดอาการเช่นนี้ถึง 3 ครั้ง โอกาสที่จะเกิดครั้งที่ 4 มีถึงร้อยละ 90 ดังนั้นการรักษาแต่เนิ่น ๆ
จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
โรคซึมเศร้าแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอาการใหญ่ ๆ กลุ่มแรกเป็นอาการเชิงเดี่ยว คือมีอาการ
ซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว ได้แก่ความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวังเป็นพัก ๆ ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรง
กลุ่มสองเป็นอาการเชิงซ้อน คือคลุ้มคลั่งสลับซึมเศร้า ผู้ป่วยจะมีอารณ์แปรปรวนสุดขั้ว โดยมี
ช่วงซึมเศร้าระยะหนึ่งสลับกับช่วงที่มีพฤติกรรมแปลก ๆ และแสดงออกรุนแรง เช่น พูดพล่ามควบคุม
ตนเองไม่ได้หรือใช้จ่ายเงินทองสุรุ่ยสุร่ายผิดปกติ
ขณะนี้ยังไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้ว่า ทำไม 2 ใน 3 ของผู้มีอาการเชิงเดี่ยวจึงเป็นผู้หญิง
ส่วนอาการเชิงซ้อนนั้น มีทั้งหญิงและชายในอัตราส่วนเท่ากัน โรคซึมเศร้าทั้งสองแบบนี้เป็นได้กับทุกคน
สถาบันสุขภาพจิตแห่งสหรัฐฯ สรุปว่า อาการหลักของโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรงมีดังนี้
1. มีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการนอนหลับอย่างเห็นได้ชัด
2. เบื่ออาหารและ/หรือน้ำหนักลด หรือในทางตรงข้าม อาจเจริญอาหารและน้ำหนักเพิ่ม
3. มีอาการเศร้า วิตกกังวล หรือรู้สึก “โหวงเหวง”
4. รู้สึกสิ้นหวังและมองโลกในแง่ร้าย
5. รู้สึกว่าตนเป็นฝ่ายผิด ไร้ค่า และท้อแท้
6. อ่อนเปลี้ยหรือพละกำลังถดถอย
7. คิดหรือพูดถึงความตายหรือการฆ่าตัวตาย ตลอดจนขู่หรือพยายามฆ่าตัวตาย
อย่างไรก็ตาม ยังมีอาการเตือนอื่น ๆ ของโรคซึมเศร้าซึ่งไม่ปรากฏชัดเจน และไม่อาจจัดเข้า
กับอาการทั่วไปของผู้ป่วยโรคนี้ที่ว่า จะต้องเศร้าหรือปลีกตัวจากสังคม มีอยู่บ่อยครั้งที่อาการ
มักซ่อนเร้นและเกิดขึ้นประเดี๋ยวประด๋าว ทำให้ครอบครัวและเพื่อนฝูงของผู้ป่วยตีความไปผิด ๆ
ผู้อำนวยการโครงการป้องกันโรคซึมเศร้าแห่งมหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์กกล่าวว่า “แม้แต่แพทย์ก็
อาจมองข้ามหรือไม่สังเกตเห็นอาการเหล่านี้ แต่การจับจุดเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้แต่เนิ่น ๆ ย่อมมีผลต่อ
ความเป็นหรือความตายของผู้ป่วยเลยทีเดียว”
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
เข้าใจโรคซึมเศร้าก่อนจะสาย ตอนที่ ( 2 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 โดย Edwin Kieser, Jr.
และ Sally Valente Kiester รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
(at)พฤติกรรมผิดปกติ
สัญญาณเริ่มต้นเล็ก ๆ น้อย ๆ ของโรคซึมเศร้าที่สำคัญคือ
1. การเปลี่ยนแปลง : ผู้ป่วยมีพฤติกรรมผิดปกติบางอย่าง แต่พฤติกรรมธรรมดา ๆ เพียงอย่างเดียว
ที่เปลี่ยนไปไม่อาจบ่งชี้ทันทีว่าเป็นโรคซึมเศร้า หากคุณคอยสังเกตอาการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในฉับพลันหรือค่อยเป็นค่อยไปก็ตาม “ไม่ช้าคุณจะเฉลียวใจขึ้นมาเอง”
2. ไม่พูดไม่จา : นักแต่งสวนคนหนึ่งปกติเป็นคนชอบพูดคุยระหว่างอาหารเย็น เล่าเรื่องงานที่ทำใน
แต่ละวันให้ภรรยาและลูกอีกสองคนฟัง จู่ ๆ กลับเงียบกริบเมื่อยู่ที่โต๊ะอาหาร และไม่ปริปากพูดอะไร
เลยทุกเย็นต่อมา เมื่อใดก็ตามที่ภรรยาทักขึ้นมาว่าเขาเงียบไป เขาจะบอกปัดว่าจะไปเข้านอน เมื่อ
อาการเงียบผิดสังเกตเช่นนี้ยังคงยืดเยื้อ ภรรยาจึงแนะว่า “ทางที่ดีคุณน่าจะไปหาหมอ” แต่เขาปฏิเสธ
ในที่สุด เวลาผ่านไปประมาณ 2 เดือน พอได้อ่านบทความในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับการตรวจหาโรคซึมเศร้า
ชายผู้นี้จึงไปพบแพทย์ ไม่นานนักก็ได้รับการรักษาเนื่องจากเป็นโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรง เมื่อพูดถึง
ช่วงซึมเศร้าซึ่งกลายเป็นอดีตไปแล้วนั้น เขายอมรับว่า “เคยคิดฆ่าตัวตาย” แต่เดี๋ยวนี้ เขาพบว่าชีวิต
“เจริญก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ”
ปกติแล้ว คนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักปลีกตัวไม่ยุ่งเกี่ยวกับคนอื่น ชอบอยู่ตามลำพัง ครุ่นคิดแต่เรื่อง
หดหู่หรือตำหนิตัวเอง อย่างไรก็ตาม คนเหล่านี้อาจต้องพบปะกับคนอื่นอยู่โดยเฉพาะในที่ทำงาน
จึงอาจ ไม่เห็นชัดว่าต้องการปลีกตัวจากสังคม
3. คิดเล็กคิดน้อย : ชายคนหนึ่งบ่นกับภรรยาหลังงานเลี้ยงของบริษัทฯ ว่า “เจ้านายไม่มาทักทาย
ผมเลย เขาคงเกลียดขี้หน้าผมมั้ง”
ภรรยาแย้งว่า ที่จริงเขาเองก็ไม่ได้เดินไปทักทายเจ้านายเหมือนกัน ทั้งยังบอกว่า ในงานคน
เยอะแยะและเจ้านายก็อยู่ครู่เดียว แต่สามีเธอก็ไม่ยอมฟัง
นายแพทย์ผู้รักษาสามีเธอกล่าวว่า “ในบางระดับที่ละเอียดอ่อนและเข้าใจยาก คนที่ปกติเคยเห็นว่า
มีน้ำอยู่ครึ่งแก้ว อาจเริ่มมองเห็นว่า ยังขาดน้ำครึ่งแก้ว เรื่องเล็กน้อยซึ่งดูเหมือนไม่เคยมีความสำคัญ
อะไรกลับกลายเป็นเรื่องใหญ่และน่าวิตกกังวล”
4. ขี้ลืม
5. ใจน้อย
6. เก็บตัว
7. ปล่อยตัวซอมซ่อ
8. ไม่กล้าตัดสินใจ
9. เจ็บปวดไม่มีสาเหตุ ชอบบ่นประเภทเคล็ดขัดยอกหรือปวดกล้ามเนื้อไปทั่วตัวโดยไม่มีสาเหตุ
10. สดชื่นผิดหูผิดตาทั้งที่ก่อนหน้านั้นจมดิ่งอยู่ในห้วงความผิดหวังอยู่หลายสัปดาห์ สมาชิกใน
ครอบครัวอาจรู้สึกโล่งอกและคิดว่าหมดเรื่องเลวร้ายเสียที แต่ความจริง ตอนนี้อาจเป็นช่วงเวลาที่
อันตรายที่สุด “อาการที่ดูดีขึ้น” อาจเป็นเพราะ “ผู้ป่วยพยายามหาทางออกจากสภาพสิ้นหวังด้วย
การตัดสินใจฆ่าตัวตาย”
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 โดย Edwin Kieser, Jr.
และ Sally Valente Kiester รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
(at)พฤติกรรมผิดปกติ
สัญญาณเริ่มต้นเล็ก ๆ น้อย ๆ ของโรคซึมเศร้าที่สำคัญคือ
1. การเปลี่ยนแปลง : ผู้ป่วยมีพฤติกรรมผิดปกติบางอย่าง แต่พฤติกรรมธรรมดา ๆ เพียงอย่างเดียว
ที่เปลี่ยนไปไม่อาจบ่งชี้ทันทีว่าเป็นโรคซึมเศร้า หากคุณคอยสังเกตอาการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในฉับพลันหรือค่อยเป็นค่อยไปก็ตาม “ไม่ช้าคุณจะเฉลียวใจขึ้นมาเอง”
2. ไม่พูดไม่จา : นักแต่งสวนคนหนึ่งปกติเป็นคนชอบพูดคุยระหว่างอาหารเย็น เล่าเรื่องงานที่ทำใน
แต่ละวันให้ภรรยาและลูกอีกสองคนฟัง จู่ ๆ กลับเงียบกริบเมื่อยู่ที่โต๊ะอาหาร และไม่ปริปากพูดอะไร
เลยทุกเย็นต่อมา เมื่อใดก็ตามที่ภรรยาทักขึ้นมาว่าเขาเงียบไป เขาจะบอกปัดว่าจะไปเข้านอน เมื่อ
อาการเงียบผิดสังเกตเช่นนี้ยังคงยืดเยื้อ ภรรยาจึงแนะว่า “ทางที่ดีคุณน่าจะไปหาหมอ” แต่เขาปฏิเสธ
ในที่สุด เวลาผ่านไปประมาณ 2 เดือน พอได้อ่านบทความในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับการตรวจหาโรคซึมเศร้า
ชายผู้นี้จึงไปพบแพทย์ ไม่นานนักก็ได้รับการรักษาเนื่องจากเป็นโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรง เมื่อพูดถึง
ช่วงซึมเศร้าซึ่งกลายเป็นอดีตไปแล้วนั้น เขายอมรับว่า “เคยคิดฆ่าตัวตาย” แต่เดี๋ยวนี้ เขาพบว่าชีวิต
“เจริญก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ”
ปกติแล้ว คนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักปลีกตัวไม่ยุ่งเกี่ยวกับคนอื่น ชอบอยู่ตามลำพัง ครุ่นคิดแต่เรื่อง
หดหู่หรือตำหนิตัวเอง อย่างไรก็ตาม คนเหล่านี้อาจต้องพบปะกับคนอื่นอยู่โดยเฉพาะในที่ทำงาน
จึงอาจ ไม่เห็นชัดว่าต้องการปลีกตัวจากสังคม
3. คิดเล็กคิดน้อย : ชายคนหนึ่งบ่นกับภรรยาหลังงานเลี้ยงของบริษัทฯ ว่า “เจ้านายไม่มาทักทาย
ผมเลย เขาคงเกลียดขี้หน้าผมมั้ง”
ภรรยาแย้งว่า ที่จริงเขาเองก็ไม่ได้เดินไปทักทายเจ้านายเหมือนกัน ทั้งยังบอกว่า ในงานคน
เยอะแยะและเจ้านายก็อยู่ครู่เดียว แต่สามีเธอก็ไม่ยอมฟัง
นายแพทย์ผู้รักษาสามีเธอกล่าวว่า “ในบางระดับที่ละเอียดอ่อนและเข้าใจยาก คนที่ปกติเคยเห็นว่า
มีน้ำอยู่ครึ่งแก้ว อาจเริ่มมองเห็นว่า ยังขาดน้ำครึ่งแก้ว เรื่องเล็กน้อยซึ่งดูเหมือนไม่เคยมีความสำคัญ
อะไรกลับกลายเป็นเรื่องใหญ่และน่าวิตกกังวล”
4. ขี้ลืม
5. ใจน้อย
6. เก็บตัว
7. ปล่อยตัวซอมซ่อ
8. ไม่กล้าตัดสินใจ
9. เจ็บปวดไม่มีสาเหตุ ชอบบ่นประเภทเคล็ดขัดยอกหรือปวดกล้ามเนื้อไปทั่วตัวโดยไม่มีสาเหตุ
10. สดชื่นผิดหูผิดตาทั้งที่ก่อนหน้านั้นจมดิ่งอยู่ในห้วงความผิดหวังอยู่หลายสัปดาห์ สมาชิกใน
ครอบครัวอาจรู้สึกโล่งอกและคิดว่าหมดเรื่องเลวร้ายเสียที แต่ความจริง ตอนนี้อาจเป็นช่วงเวลาที่
อันตรายที่สุด “อาการที่ดูดีขึ้น” อาจเป็นเพราะ “ผู้ป่วยพยายามหาทางออกจากสภาพสิ้นหวังด้วย
การตัดสินใจฆ่าตัวตาย”
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
เข้าใจโรคซึมเศร้าก่อนจะสาย ตอนที่ ( 3 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 โดย Edwin Kieser, Jr.
และ Sally Valente Kiester รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
(@)ให้ความช่วยเหลือ
ถ้าคุณสังเกตเห็นเพื่อนหรือคนที่รักมีอาการที่กล่าวมาข้างต้นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ
หลายอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่คุณควรทำคือ
1. พูดคุยกับคนนั้น : พยายามค้นหาความรู้สึกที่แท้จริงของเขา เช่นพูดทำนองว่า “คุณทำให้
ผมนึกถึงตอนที่ผมรู้สึกซึมเศร้า” ซึ่งอาจทำให้เขายอมพูดอย่างเปิดอก
2. ลองแนะให้ปรึกษาแพทย์ คุณอาจช่วยติดต่อนัดแพทย์ให้ในกรณีที่จำเป็นแล้วติดตามผล
เพื่อให้แน่ใจ คนที่มีอาการจิตซึมเศร้าโดยปกติจะรู้สึกดีขึ้นภายใน 4-6 สัปดาห์เมื่อได้รับการ
รักษาจากแพทย์
3. ให้กำลังใจ อย่าใช้วิธีพูดง่าย ๆ ว่า “พรุ่งนี้ทุกอย่างก็จะดีขี้นเอง” จงช่วยให้ผู้ป่วยสนใจ
กิจกรรมที่เขาชื่นชอบ เช่นเล่นกีฬาหรือทำสวน ที่สำคัญอย่าเพิกเฉยต่อคำขู่ฆ่าตัวตายและ
อย่าพูดเรื่องความตาย
โรคซึมเศร้าเป็นความเจ็บป่วยที่บั่นทอน แต่ถ้าได้รับการใส่ใจช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ
จากเพื่อนฝูงหรือครอบครัว และด้วยการรักษาทางการแพทย์ที่เหมาะสม ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะ
หายจากอาการจิตซึมเศร้า สามารถกลับไปมีสุขภาพจิตที่ดีและมีชีวิตที่เป็นประโยชน์แก่ตนและ
ผู้อื่นเช่นที่เคยเป็นมา
***************************
จบบริบูรณ์
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 โดย Edwin Kieser, Jr.
และ Sally Valente Kiester รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
(@)ให้ความช่วยเหลือ
ถ้าคุณสังเกตเห็นเพื่อนหรือคนที่รักมีอาการที่กล่าวมาข้างต้นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ
หลายอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่คุณควรทำคือ
1. พูดคุยกับคนนั้น : พยายามค้นหาความรู้สึกที่แท้จริงของเขา เช่นพูดทำนองว่า “คุณทำให้
ผมนึกถึงตอนที่ผมรู้สึกซึมเศร้า” ซึ่งอาจทำให้เขายอมพูดอย่างเปิดอก
2. ลองแนะให้ปรึกษาแพทย์ คุณอาจช่วยติดต่อนัดแพทย์ให้ในกรณีที่จำเป็นแล้วติดตามผล
เพื่อให้แน่ใจ คนที่มีอาการจิตซึมเศร้าโดยปกติจะรู้สึกดีขึ้นภายใน 4-6 สัปดาห์เมื่อได้รับการ
รักษาจากแพทย์
3. ให้กำลังใจ อย่าใช้วิธีพูดง่าย ๆ ว่า “พรุ่งนี้ทุกอย่างก็จะดีขี้นเอง” จงช่วยให้ผู้ป่วยสนใจ
กิจกรรมที่เขาชื่นชอบ เช่นเล่นกีฬาหรือทำสวน ที่สำคัญอย่าเพิกเฉยต่อคำขู่ฆ่าตัวตายและ
อย่าพูดเรื่องความตาย
โรคซึมเศร้าเป็นความเจ็บป่วยที่บั่นทอน แต่ถ้าได้รับการใส่ใจช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ
จากเพื่อนฝูงหรือครอบครัว และด้วยการรักษาทางการแพทย์ที่เหมาะสม ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะ
หายจากอาการจิตซึมเศร้า สามารถกลับไปมีสุขภาพจิตที่ดีและมีชีวิตที่เป็นประโยชน์แก่ตนและ
ผู้อื่นเช่นที่เคยเป็นมา
***************************
จบบริบูรณ์
โลมาตัวนี้ไม่กลับบ้าน ตอนที่ ( 1 )
เรื่องจริงจากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนธันวาคม 2540 โดย Lucinda Hahn
เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากวิกิพีเดีย 2565 โดย กอบกิจ ครุวรรณ
ชาวทะเลอาศัยอ่าวดิงเกิ้ล (Dingle Harbour) ซึ่งเต็มไปด้วยหินขรุขระทางชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้
ของไอร์แลนด์เป็นที่หลบภัยจากพายุและคลื่นลมในมหาสมุทรแอตแลนติกมานานนับร้อยปี บริเวณอ่าวนี้
เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านประมงที่เงียบสงบ โดดเดี่ยว จนเมื่อปลายปี 2526 ชาวประมงสังเกตว่า เวลาออก
ทะเลมักจะมีโลมาตัวหนึ่งมาคอยแหวกว่ายวนเวียนอยู่ข้าง ๆ เรือหาปลา คนโบราณเชื่อกันว่า โลมา
เป็นสัตว์นำโชค แต่ความใหญ่โตของมันมักพาตัวเองไปติดแหอวนยักษ์ของชาวประมง ทำให้พวกเขา
ต้องเลือกฆ่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดนี้เมื่อมันติดอวน เพราะการปลดโลมาออกจากอวน
โดยการฆ่าย่อมง่ายแทนที่จะเสียเวลาจัดการเอาโลมาที่ดิ้นอยู่เพื่อเอาชีวิตรอดจากอวน
อย่างไรก็ตาม โลมาตัวนี้รู้วิธีหลบหลีกแหอวนได้เอง ซ้ำยังอาจหาญว่ายเข้าไปในอ่าวอีกด้วย
พวกชาวประมงคิดว่า “มันคงเป็นแบบนี้สักพักแล้วก็คงย้ายไปที่อื่นเอง”
แต่เจ้าโลมาตัวนี้กลับปรากฏตัวทุกเช้าเย็นและตรงเวลาเสมอ เมื่อเรือหาปลาออกจากท่าตอนฟ้าสาง
เจ้าโลมาจะว่ายเคียงข้างตามเรือออกไปอย่างลิงโลด พอถึงปากอ่าวมันก็หันหลังว่ายกลับ บางวันมัน
ว่ายตามเรืออยู่อย่างนี้มากถึง 30 ลำ
ยามอาทิตย์อัสดง ขณะที่ชาวประมงนำเรือมุ่งหน้าเข้าฝั่ง เจ้าโลมาก็จะรีบรุดไปรอรับ
โดยว่ายประกบเรือประมงแต่ละลำจนใกล้ถึงท่าจอดเรือ จึงว่ายกลับไปรับเรือลำใหม่
ชาวประมงตั้งชื่อโลมาตัวนี้ว่า ‘ฟังจี’(Fungie) ตามชื่อที่เรียกล้อชาวประมงคนหนึ่งซึ่งมีเครา
หรอมแหร็มเหมือนเชื้อรา “ฟังกัส” (Fungus) โลมาตัวนี้มีผิวเนียนนุ่มเหมือนแพรไหม แต่ชาวบ้าน
ก็ไม่วายที่จะเรียกมันว่า‘ฟังจี’อยู่ดี
บ่ายวันหนึ่งต้นปี 2527 จอห์น ช่างไฟฟ้าในหมู่บ้านกำลังดำน้ำตื้นดูปลากับลูกสาววัย 12 ปี
ซึ่งเหลือบไปเห็นโลมาว่ายหงายหลังอยู่เบื้องล่างพลางจ้องมองมาที่เธอ เด็กสาวตาโตด้วยความตื่นเต้น
ขณะที่เจ้าโลมาว่ายมาเคียงข้างเธอกับพ่อไปจนถึงฝั่ง
ตั้งแต่นั้นมา คนที่มาว่ายน้ำและดำน้ำในอ่าวดิงเกิ้ลต่างเริ่มคุ้นกับเจ้า’ฟังจี’ ส่วน'ฟังจี'เองก็เริ่ม
สนใจผู้คนมากขึ้น จอห์น และ รอนนี่ ซึ่งเป็นนักดำน้ำตัวยงทั้งคู่ เริ่มออกไปว่ายน้ำกับ'ฟังจี'เป็นประจำ
จนเจ้าโลมาค่อย ๆ ไว้วางใจและผูกมิตรกับ ”เพื่อนเล่น”ที่เป็นมนุษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงปี 2529 'ฟังจี'ก็
เริ่มเล่นหัวหยอกล้อกับคน จอห์นเล่าว่า “มันชอบแกล้งเอาปากคว้าตีนกบข้างหนึ่งของพวกเราไว้
หรือไม่ก็แกล้งชนแล้วกระทุ้งเราให้ช่วยเกาตามลำตัวให้มัน เจ้าดื้อนี่เก่งจริง ๆ”
แต่ไม่ช้า'ฟังจี'ก็พิสูจน์ให้เห็นว่า มันเป็นยิ่งกว่าเพื่อนเล่นเจ้าเล่ห์ มีอยู่วันหนึ่งนักประดาน้ำ
ทำหน้ากากดำน้ำและท่อหายใจตกน้ำขณะกำลังปีนขึ้นเรือยาง จึงหันไปยืมหน้ากากเพื่อนเพื่อใส่ลงไป
ดำหาหน้ากากของตัวเอง 10 นาทีต่อมา รอนนี่กระโดดลงน้ำตามไปช่วยหา ขณะมองหาหน้ากาก
เขารู้สึกว่า'ฟังจี'มาคอยสะกิดไหล่อยู่เรื่อย รอนนี่นึกว่าเจ้าโลมาอยากเล่นด้วยจึงไม่ได้สนใจ
ท้ายที่สุด รอนนี่เหลือบไปทาง”ฟังจี’ และเห็นบางอย่างในปากโลมา จึงหันไปดู ปรากฏว่าเจ้า'ฟังจี'
กำลังคาบหน้ากากที่ทั้งสองกำลังควานหาอยู่ เจ้าโลมารออย่างใจเย็นให้นักดำน้ำสังเกตเห็นเอง
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
เรื่องจริงจากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนธันวาคม 2540 โดย Lucinda Hahn
เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากวิกิพีเดีย 2565 โดย กอบกิจ ครุวรรณ
ชาวทะเลอาศัยอ่าวดิงเกิ้ล (Dingle Harbour) ซึ่งเต็มไปด้วยหินขรุขระทางชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้
ของไอร์แลนด์เป็นที่หลบภัยจากพายุและคลื่นลมในมหาสมุทรแอตแลนติกมานานนับร้อยปี บริเวณอ่าวนี้
เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านประมงที่เงียบสงบ โดดเดี่ยว จนเมื่อปลายปี 2526 ชาวประมงสังเกตว่า เวลาออก
ทะเลมักจะมีโลมาตัวหนึ่งมาคอยแหวกว่ายวนเวียนอยู่ข้าง ๆ เรือหาปลา คนโบราณเชื่อกันว่า โลมา
เป็นสัตว์นำโชค แต่ความใหญ่โตของมันมักพาตัวเองไปติดแหอวนยักษ์ของชาวประมง ทำให้พวกเขา
ต้องเลือกฆ่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดนี้เมื่อมันติดอวน เพราะการปลดโลมาออกจากอวน
โดยการฆ่าย่อมง่ายแทนที่จะเสียเวลาจัดการเอาโลมาที่ดิ้นอยู่เพื่อเอาชีวิตรอดจากอวน
อย่างไรก็ตาม โลมาตัวนี้รู้วิธีหลบหลีกแหอวนได้เอง ซ้ำยังอาจหาญว่ายเข้าไปในอ่าวอีกด้วย
พวกชาวประมงคิดว่า “มันคงเป็นแบบนี้สักพักแล้วก็คงย้ายไปที่อื่นเอง”
แต่เจ้าโลมาตัวนี้กลับปรากฏตัวทุกเช้าเย็นและตรงเวลาเสมอ เมื่อเรือหาปลาออกจากท่าตอนฟ้าสาง
เจ้าโลมาจะว่ายเคียงข้างตามเรือออกไปอย่างลิงโลด พอถึงปากอ่าวมันก็หันหลังว่ายกลับ บางวันมัน
ว่ายตามเรืออยู่อย่างนี้มากถึง 30 ลำ
ยามอาทิตย์อัสดง ขณะที่ชาวประมงนำเรือมุ่งหน้าเข้าฝั่ง เจ้าโลมาก็จะรีบรุดไปรอรับ
โดยว่ายประกบเรือประมงแต่ละลำจนใกล้ถึงท่าจอดเรือ จึงว่ายกลับไปรับเรือลำใหม่
ชาวประมงตั้งชื่อโลมาตัวนี้ว่า ‘ฟังจี’(Fungie) ตามชื่อที่เรียกล้อชาวประมงคนหนึ่งซึ่งมีเครา
หรอมแหร็มเหมือนเชื้อรา “ฟังกัส” (Fungus) โลมาตัวนี้มีผิวเนียนนุ่มเหมือนแพรไหม แต่ชาวบ้าน
ก็ไม่วายที่จะเรียกมันว่า‘ฟังจี’อยู่ดี
บ่ายวันหนึ่งต้นปี 2527 จอห์น ช่างไฟฟ้าในหมู่บ้านกำลังดำน้ำตื้นดูปลากับลูกสาววัย 12 ปี
ซึ่งเหลือบไปเห็นโลมาว่ายหงายหลังอยู่เบื้องล่างพลางจ้องมองมาที่เธอ เด็กสาวตาโตด้วยความตื่นเต้น
ขณะที่เจ้าโลมาว่ายมาเคียงข้างเธอกับพ่อไปจนถึงฝั่ง
ตั้งแต่นั้นมา คนที่มาว่ายน้ำและดำน้ำในอ่าวดิงเกิ้ลต่างเริ่มคุ้นกับเจ้า’ฟังจี’ ส่วน'ฟังจี'เองก็เริ่ม
สนใจผู้คนมากขึ้น จอห์น และ รอนนี่ ซึ่งเป็นนักดำน้ำตัวยงทั้งคู่ เริ่มออกไปว่ายน้ำกับ'ฟังจี'เป็นประจำ
จนเจ้าโลมาค่อย ๆ ไว้วางใจและผูกมิตรกับ ”เพื่อนเล่น”ที่เป็นมนุษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงปี 2529 'ฟังจี'ก็
เริ่มเล่นหัวหยอกล้อกับคน จอห์นเล่าว่า “มันชอบแกล้งเอาปากคว้าตีนกบข้างหนึ่งของพวกเราไว้
หรือไม่ก็แกล้งชนแล้วกระทุ้งเราให้ช่วยเกาตามลำตัวให้มัน เจ้าดื้อนี่เก่งจริง ๆ”
แต่ไม่ช้า'ฟังจี'ก็พิสูจน์ให้เห็นว่า มันเป็นยิ่งกว่าเพื่อนเล่นเจ้าเล่ห์ มีอยู่วันหนึ่งนักประดาน้ำ
ทำหน้ากากดำน้ำและท่อหายใจตกน้ำขณะกำลังปีนขึ้นเรือยาง จึงหันไปยืมหน้ากากเพื่อนเพื่อใส่ลงไป
ดำหาหน้ากากของตัวเอง 10 นาทีต่อมา รอนนี่กระโดดลงน้ำตามไปช่วยหา ขณะมองหาหน้ากาก
เขารู้สึกว่า'ฟังจี'มาคอยสะกิดไหล่อยู่เรื่อย รอนนี่นึกว่าเจ้าโลมาอยากเล่นด้วยจึงไม่ได้สนใจ
ท้ายที่สุด รอนนี่เหลือบไปทาง”ฟังจี’ และเห็นบางอย่างในปากโลมา จึงหันไปดู ปรากฏว่าเจ้า'ฟังจี'
กำลังคาบหน้ากากที่ทั้งสองกำลังควานหาอยู่ เจ้าโลมารออย่างใจเย็นให้นักดำน้ำสังเกตเห็นเอง
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
โลมาตัวนี้ไม่กลับบ้าน ตอนที่ ( 2 )
)เรื่องจริงจากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนธันวาคม 2540 โดย Lucinda Hahn
เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากวิกิพีเดีย 2565 โดย กอบกิจ ครุวรรณ
'ฟังจี'กลายเป็นพลเมืองยอดนิยมของหมู่บ้านดิงเกิ้ลอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านชอบไปเดินเล่น
บนหน้าผาบริเวณอ่าวเพื่อจะได้ยลโฉมเจ้าโลมา หรือไม่ก็พาครอบครัวลงเรือยนต์ในวันอาทิตย์
เพื่อไปเยี่ยมมัน ชาวประมงยอมเอาแหอวนออกจากบริเวณที่'ฟังจี' ชอบไปว่ายเวียนโดยไม่เสียดาย
ที่อาจจับปลาได้น้อยลง เพราะกลัวว่า'ฟังจี'อาจหลงเข้าไปถูกอวนพันจนเสียชีวิต
ข่าวของ'ฟังจี'กระจายไปทั่ว เจ้าหน้าที่รายการโทรทัศน์ในกรุงดับลินและกรุงลอนดอนเดินทาง
มาที่หมู่บ้านประมงดิงเกิ้ลหลังทราบเรื่องนี้ เจ้า'ฟังจี'ก็เต็มใจแสดงให้ดู พอตากล้องโทรทัศน์ใต้น้ำ
เริ่มถ่ายภาพ พิธีกรรายการซึ่งใส่ชุดดำน้ำเป็นครั้งแรกนั่งใจคอไม่ดีอยู่ที่ก้นอ่าว เจ้าสัตว์แสนรู้
จ้องตาเขาผ่านหน้ากากดำน้ำ แล้วค่อย ๆ ว่ายต่ำลงจนหัวซบอยู่บนตักของพิธีกร
ยิ่งข่าวเรื่องโลมาเป็นมิตรแพร่กระจายออกไป นักท่องเที่ยวก็แห่กันมาเยือนมากขึ้น
สัตว์โลกตัวนี้เป็นทั้งเพื่อน ผู้บำบัดรักษา และให้กำลังใจชาวเมืองและผู้มาเยือนตลอดปลายปี
หลังจากนั้น
ฮิลารี่ เทย์เล่อร์ (Hilary Tailor) จากประเทศอังกฤษคือหนึ่งในผู้ได้รับกำลังใจจาก'ฟังจี'
เธอเดินทางมาถึงหมู่บ้านดิงเกิ้ลอย่างคนหมดอาลัยตายอยากหลังจากลูกชายซึ่งเป็นนักดำน้ำ
วัย 24 ปีเสียชีวิตใต้น้ำเมื่อ 8 เดือนก่อนขณะพยายามช่วยดึงสมอเรือของเพื่อนขึ้นมา
เช้าวันหนึ่งก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ฮิลารี่เดินไปตามชายหาดที่'ฟังจี'มักจะไปว่ายเล่น คลื่นลมแรง
ถาโถมทุกข์ของเธอให้ปวดร้าวมากขึ้น เธอร้องไห้จนไม่มีน้ำตาจะไหลอีกแล้ว จึงทอดสายตาออกไป
กลางทะเลและตะโกนขึ้นว่า “แม่รักลูก”
ทันใดนั้น 'ฟังจี' ก็โผล่หัวขึ้นมาและว่ายตรงมาที่เธอ มันหยุดแล้วผงกหัวเหนือคลื่นห่างไป
แค่ 3 เมตร เจ้าโลมาทำเสียงหายใจฟืดฟาด พ่นอากาศและน้ำออกทางรูหายใจ จากนั้นก็ดำน้ำ
หายตัวไป “มันได้ยินที่ฉันพูด” ฮิลารี่คิดและรู้สึกมีความสุขเป็นครั้งแรกนับแต่ลูกชายจากไป
ฮิลารี่ว่ายน้ำเล่นกับ'ฟังจี'ทุกวันตลอดสัปดาห์ ดูเหมือนมันจะให้ความสนิทสนมยอมให้
เธอลูบมือไปตามลำตัวยาวลื่นของมัน เธอกลับมีชีวิตชีวาอีกครั้งหลังจากได้สัมผัสสายน้ำ ได้รับ
ความสนใจจากโลมาตัวใหญ่จิตใจอ่อนโยน ได้สัมผัสความสุขจากใบหน้ายิ้มแย้มเป็นมิตรของมัน
เป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือนที่เธอรู้สึกว่าหัวใจยอมเปิดรับโลกภายนอก
“'ฟังจี'มีส่วนช่วยเยียวยาความทุกข์ของฉัน” ฮิลารี่เล่าให้ฟัง “ฉันเปิดหัวใจรับความรักที่
มันมอบให้ และถมช่องว่างในหัวใจที่เกิดจากการสูญเสียลูกให้เต็มขึ้นมาใหม่”
‘เควิน ฟลันเนอรี่’ (Kevin Flannery) เจ้าหน้าที่กรมการทะเลของไอร์แลนด์ซึ่งมีสำนักงาน
อยู่ที่หมู่บ้านดิงเกิ้ล เฝ้าสังเกตพฤติกรรมของ'ฟังจี'อย่างใกล้ชิดทุกวันมาตั้งแต่ปี 2526
เขาสงสัยว่า 'ฟังจี'อาจเคยเป็นสัตว์เลี้ยงของสวนน้ำโลมาในอังกฤษมาก่อนจะได้รับการปล่อยตัว
ลงทะเลเป็นอิสระ “ท่าทางมันคุ้นเคยกับคน” เควินบอก “ทุกเดือน โลมาราว 18-20 ตัวจะว่าย
เข้ามาในอ่าวนี้เพื่อเล่นกับ'ฟังจี' บ้างก็เอาอาหารมาให้ และจับคู่ผสมพันธุ์กับมัน เสร็จแล้วก็จากไป
แต่'ฟังจี'ซึ่งเป็นโลมาเพศผู้ก็ไม่ไปไหน นั่นแสดงว่ามันไม่เหมือนโลมาตัวอื่น”
ประเทศอื่น ๆ ก็มีรายงานเกี่ยวกับโลมาโทนที่ว่ายเข้ามาในบริเวณน้ำตื้นและคลุกคลี
เป็นมิตรกับคน แต่'ฟังจี'ปักหลักอยู่ในอ่าวแห่งนี้นานถึง 13 ปีติดต่อกัน เอเมอร์ โรแกน (Emer Rogan)
นักวิจัยสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมจากมหาวิทยาลัยคอลเลจ คอร์ก (College Cork) กล่าวว่า “เท่าที่ทราบ
ครั้งนี้เป็นการติดตามบันทึกเรื่องราวโลมาโดด ๆ ที่เป็นมิตรและอยู่กับคนเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด
ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์” ส่วนใหญ่โลมาจะหายไปหรือตายในเวลาไม่กี่ปี
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
)เรื่องจริงจากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนธันวาคม 2540 โดย Lucinda Hahn
เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากวิกิพีเดีย 2565 โดย กอบกิจ ครุวรรณ
'ฟังจี'กลายเป็นพลเมืองยอดนิยมของหมู่บ้านดิงเกิ้ลอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านชอบไปเดินเล่น
บนหน้าผาบริเวณอ่าวเพื่อจะได้ยลโฉมเจ้าโลมา หรือไม่ก็พาครอบครัวลงเรือยนต์ในวันอาทิตย์
เพื่อไปเยี่ยมมัน ชาวประมงยอมเอาแหอวนออกจากบริเวณที่'ฟังจี' ชอบไปว่ายเวียนโดยไม่เสียดาย
ที่อาจจับปลาได้น้อยลง เพราะกลัวว่า'ฟังจี'อาจหลงเข้าไปถูกอวนพันจนเสียชีวิต
ข่าวของ'ฟังจี'กระจายไปทั่ว เจ้าหน้าที่รายการโทรทัศน์ในกรุงดับลินและกรุงลอนดอนเดินทาง
มาที่หมู่บ้านประมงดิงเกิ้ลหลังทราบเรื่องนี้ เจ้า'ฟังจี'ก็เต็มใจแสดงให้ดู พอตากล้องโทรทัศน์ใต้น้ำ
เริ่มถ่ายภาพ พิธีกรรายการซึ่งใส่ชุดดำน้ำเป็นครั้งแรกนั่งใจคอไม่ดีอยู่ที่ก้นอ่าว เจ้าสัตว์แสนรู้
จ้องตาเขาผ่านหน้ากากดำน้ำ แล้วค่อย ๆ ว่ายต่ำลงจนหัวซบอยู่บนตักของพิธีกร
ยิ่งข่าวเรื่องโลมาเป็นมิตรแพร่กระจายออกไป นักท่องเที่ยวก็แห่กันมาเยือนมากขึ้น
สัตว์โลกตัวนี้เป็นทั้งเพื่อน ผู้บำบัดรักษา และให้กำลังใจชาวเมืองและผู้มาเยือนตลอดปลายปี
หลังจากนั้น
ฮิลารี่ เทย์เล่อร์ (Hilary Tailor) จากประเทศอังกฤษคือหนึ่งในผู้ได้รับกำลังใจจาก'ฟังจี'
เธอเดินทางมาถึงหมู่บ้านดิงเกิ้ลอย่างคนหมดอาลัยตายอยากหลังจากลูกชายซึ่งเป็นนักดำน้ำ
วัย 24 ปีเสียชีวิตใต้น้ำเมื่อ 8 เดือนก่อนขณะพยายามช่วยดึงสมอเรือของเพื่อนขึ้นมา
เช้าวันหนึ่งก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ฮิลารี่เดินไปตามชายหาดที่'ฟังจี'มักจะไปว่ายเล่น คลื่นลมแรง
ถาโถมทุกข์ของเธอให้ปวดร้าวมากขึ้น เธอร้องไห้จนไม่มีน้ำตาจะไหลอีกแล้ว จึงทอดสายตาออกไป
กลางทะเลและตะโกนขึ้นว่า “แม่รักลูก”
ทันใดนั้น 'ฟังจี' ก็โผล่หัวขึ้นมาและว่ายตรงมาที่เธอ มันหยุดแล้วผงกหัวเหนือคลื่นห่างไป
แค่ 3 เมตร เจ้าโลมาทำเสียงหายใจฟืดฟาด พ่นอากาศและน้ำออกทางรูหายใจ จากนั้นก็ดำน้ำ
หายตัวไป “มันได้ยินที่ฉันพูด” ฮิลารี่คิดและรู้สึกมีความสุขเป็นครั้งแรกนับแต่ลูกชายจากไป
ฮิลารี่ว่ายน้ำเล่นกับ'ฟังจี'ทุกวันตลอดสัปดาห์ ดูเหมือนมันจะให้ความสนิทสนมยอมให้
เธอลูบมือไปตามลำตัวยาวลื่นของมัน เธอกลับมีชีวิตชีวาอีกครั้งหลังจากได้สัมผัสสายน้ำ ได้รับ
ความสนใจจากโลมาตัวใหญ่จิตใจอ่อนโยน ได้สัมผัสความสุขจากใบหน้ายิ้มแย้มเป็นมิตรของมัน
เป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือนที่เธอรู้สึกว่าหัวใจยอมเปิดรับโลกภายนอก
“'ฟังจี'มีส่วนช่วยเยียวยาความทุกข์ของฉัน” ฮิลารี่เล่าให้ฟัง “ฉันเปิดหัวใจรับความรักที่
มันมอบให้ และถมช่องว่างในหัวใจที่เกิดจากการสูญเสียลูกให้เต็มขึ้นมาใหม่”
‘เควิน ฟลันเนอรี่’ (Kevin Flannery) เจ้าหน้าที่กรมการทะเลของไอร์แลนด์ซึ่งมีสำนักงาน
อยู่ที่หมู่บ้านดิงเกิ้ล เฝ้าสังเกตพฤติกรรมของ'ฟังจี'อย่างใกล้ชิดทุกวันมาตั้งแต่ปี 2526
เขาสงสัยว่า 'ฟังจี'อาจเคยเป็นสัตว์เลี้ยงของสวนน้ำโลมาในอังกฤษมาก่อนจะได้รับการปล่อยตัว
ลงทะเลเป็นอิสระ “ท่าทางมันคุ้นเคยกับคน” เควินบอก “ทุกเดือน โลมาราว 18-20 ตัวจะว่าย
เข้ามาในอ่าวนี้เพื่อเล่นกับ'ฟังจี' บ้างก็เอาอาหารมาให้ และจับคู่ผสมพันธุ์กับมัน เสร็จแล้วก็จากไป
แต่'ฟังจี'ซึ่งเป็นโลมาเพศผู้ก็ไม่ไปไหน นั่นแสดงว่ามันไม่เหมือนโลมาตัวอื่น”
ประเทศอื่น ๆ ก็มีรายงานเกี่ยวกับโลมาโทนที่ว่ายเข้ามาในบริเวณน้ำตื้นและคลุกคลี
เป็นมิตรกับคน แต่'ฟังจี'ปักหลักอยู่ในอ่าวแห่งนี้นานถึง 13 ปีติดต่อกัน เอเมอร์ โรแกน (Emer Rogan)
นักวิจัยสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมจากมหาวิทยาลัยคอลเลจ คอร์ก (College Cork) กล่าวว่า “เท่าที่ทราบ
ครั้งนี้เป็นการติดตามบันทึกเรื่องราวโลมาโดด ๆ ที่เป็นมิตรและอยู่กับคนเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด
ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์” ส่วนใหญ่โลมาจะหายไปหรือตายในเวลาไม่กี่ปี
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
โลมาตัวนี้ไม่กลับบ้าน ตอนที่ (3 )
เรื่องจริงจากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนธันวาคม 2540 โดย Lucinda Hahn
เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากวิกิพีเดีย 2565 โดย กอบกิจ ครุวรรณ
ปี 2532 ชะตาของเจ้า'ฟังจี'อาจถึงฆาตเมื่อมีประกาศว่า ทางการจะระเบิดอ่าวดิงเกิ้ล
เพื่อทำท่าจอดเรือน้ำลึกสำหรับเรือประมงลำใหญ่ขึ้น ชาวบ้านเป็นห่วงว่า'ฟังจี'จะเป็นอันตราย
จอห์นกับรอนนี่และสมาชิกคนอื่น ๆ ของสโมสรดำน้ำปรึกษาปัญหานี้กับผู้เชี่ยวชาญซึ่ง
บอกว่า แรงระเบิดจะปล่อยคลื่นแรงอัดน้ำทะเลที่อาจทำลายระบบโซนาร์ของโลมา ทำให้มันมีชีวิต
ต่อไปไม่ได้ จอห์นบอกตนเองว่า “จะต้องปกป้อง 'ฟังจี'” พวกนักดำน้ำรู้ว่าแม้คลื่นแรงอัดจะไปไกล
เป็นกิโล ๆ แต่มันเดินทางเป็นเส้นตรง ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ในการวางแผนช่วย'ฟังจี'
เช้าวันหนึ่งในเดือนสิงหาคม 2532 จอห์น รอนนี่และนักประดาน้ำกลุ่มหนึ่งหันหัวเรือออกจาก
อ่าวและล่อให้'ฟังจี'ตามไป พอถึงปากอ่าวซึ่งเป็นทางแคบ พวกเขาหักหัวเรือเลี้ยวขวาตรงหัวมุม
ที่เป็นหินขรุขระ 'ฟังจี'กระโดดโลดเต้นว่ายตามอย่างสนุกสนาน โดยหารู้ไม่ว่าถูกล่อให้มาอยู่
ในบริเวณหินที่จะปกป้องให้มันปลอดภัยจากคลื่นแรงอัดที่เป็นอันตราย
“ตอนนี้'ฟังจี'ก็อยู่กับเราครับ” จอห์นวิทยุกลับไปที่ฝั่ง จากนั้นบรรดานักประดาน้ำก็กระโดดลง
น้ำเพื่อช่วยกันดึงความสนใจของเจ้า'ฟังจี' พวกเขาว่ายน้ำเล่นและเกาพุงมันอย่างสนุกสนาน
อีกด้านหนึ่งก็เริ่มระเบิดหิน จอห์นและพรรคพวกรอจนได้ยินเสียงกุกกักในวิทยุดังขึ้นว่า “เอาละ
วันนี้พอแค่นี้ก่อน” จึงขึ้นจากน้ำ ปฏิบัติการร่วมกันเช่นนี้ดำเนินต่อเนื่องกันถึง 3 สัปดาห์ แม้แต่
บริษัทผลิตไฟฟ้าของรัฐก็ยังเข้ามาร่วมมือด้วยการช่วยออกค่าน้ำมันเรือและอาหาร
ถึงตอนที่เขียนเรื่องนี้ เจ้าโลมาทำให้ชาวเมืองดิงเกิ้ลและคนจากทั่วทุกมุมโลกมีความสุข
ช่วงหน้าร้อน จะมีนักท่องเที่ยวนับร้อยลงเรือออกไปดูเจ้า'ฟังจี'ทุกวัน
'ฟังจี'ยังมอบพรสวรรค์อันยิ่งใหญ่ให้แก่เด็กพิการและเจ็บป่วยหลายสิบรายที่มาว่ายน้ำ
กับมันในช่วงหน้าร้อนทุกปี เด็กชายวัย 5 ขวบคนหนึ่งซึ่งเป็นอัมพาตเนื่องจากโรคสมองอักเสบ
ก็มาว่ายน้ำกับ'ฟังจี'เมื่อปีที่ผ่านมา
หนูน้อยคนนี้ยืนเองไม่ได้และต้องใช้ไม้ค้ำช่วยเวลาเดิน แม่ต้องคอยทำกายภาพบำบัด
ให้ทุกวันที่บ้านในกรุงลอนดอน เวลานอนบนโต๊ะกายภาพขณะที่แม่นวดตามแขนขาให้ เด็กน้อย
มักจะร้องครวญครางด้วยความหงุดหงิด วันหนึ่งแม่พูดปลอบใจลูกชายว่า “ลูกลองสมมติตัวเองว่า
กำลังว่ายน้ำเล่นกับโลมาอยู่กลางมหาสมุทรสิจ๊ะ”
โปรดติดตามตอนที่ ( 4 )ในวันพรุ่งนี้
เรื่องจริงจากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนธันวาคม 2540 โดย Lucinda Hahn
เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากวิกิพีเดีย 2565 โดย กอบกิจ ครุวรรณ
ปี 2532 ชะตาของเจ้า'ฟังจี'อาจถึงฆาตเมื่อมีประกาศว่า ทางการจะระเบิดอ่าวดิงเกิ้ล
เพื่อทำท่าจอดเรือน้ำลึกสำหรับเรือประมงลำใหญ่ขึ้น ชาวบ้านเป็นห่วงว่า'ฟังจี'จะเป็นอันตราย
จอห์นกับรอนนี่และสมาชิกคนอื่น ๆ ของสโมสรดำน้ำปรึกษาปัญหานี้กับผู้เชี่ยวชาญซึ่ง
บอกว่า แรงระเบิดจะปล่อยคลื่นแรงอัดน้ำทะเลที่อาจทำลายระบบโซนาร์ของโลมา ทำให้มันมีชีวิต
ต่อไปไม่ได้ จอห์นบอกตนเองว่า “จะต้องปกป้อง 'ฟังจี'” พวกนักดำน้ำรู้ว่าแม้คลื่นแรงอัดจะไปไกล
เป็นกิโล ๆ แต่มันเดินทางเป็นเส้นตรง ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ในการวางแผนช่วย'ฟังจี'
เช้าวันหนึ่งในเดือนสิงหาคม 2532 จอห์น รอนนี่และนักประดาน้ำกลุ่มหนึ่งหันหัวเรือออกจาก
อ่าวและล่อให้'ฟังจี'ตามไป พอถึงปากอ่าวซึ่งเป็นทางแคบ พวกเขาหักหัวเรือเลี้ยวขวาตรงหัวมุม
ที่เป็นหินขรุขระ 'ฟังจี'กระโดดโลดเต้นว่ายตามอย่างสนุกสนาน โดยหารู้ไม่ว่าถูกล่อให้มาอยู่
ในบริเวณหินที่จะปกป้องให้มันปลอดภัยจากคลื่นแรงอัดที่เป็นอันตราย
“ตอนนี้'ฟังจี'ก็อยู่กับเราครับ” จอห์นวิทยุกลับไปที่ฝั่ง จากนั้นบรรดานักประดาน้ำก็กระโดดลง
น้ำเพื่อช่วยกันดึงความสนใจของเจ้า'ฟังจี' พวกเขาว่ายน้ำเล่นและเกาพุงมันอย่างสนุกสนาน
อีกด้านหนึ่งก็เริ่มระเบิดหิน จอห์นและพรรคพวกรอจนได้ยินเสียงกุกกักในวิทยุดังขึ้นว่า “เอาละ
วันนี้พอแค่นี้ก่อน” จึงขึ้นจากน้ำ ปฏิบัติการร่วมกันเช่นนี้ดำเนินต่อเนื่องกันถึง 3 สัปดาห์ แม้แต่
บริษัทผลิตไฟฟ้าของรัฐก็ยังเข้ามาร่วมมือด้วยการช่วยออกค่าน้ำมันเรือและอาหาร
ถึงตอนที่เขียนเรื่องนี้ เจ้าโลมาทำให้ชาวเมืองดิงเกิ้ลและคนจากทั่วทุกมุมโลกมีความสุข
ช่วงหน้าร้อน จะมีนักท่องเที่ยวนับร้อยลงเรือออกไปดูเจ้า'ฟังจี'ทุกวัน
'ฟังจี'ยังมอบพรสวรรค์อันยิ่งใหญ่ให้แก่เด็กพิการและเจ็บป่วยหลายสิบรายที่มาว่ายน้ำ
กับมันในช่วงหน้าร้อนทุกปี เด็กชายวัย 5 ขวบคนหนึ่งซึ่งเป็นอัมพาตเนื่องจากโรคสมองอักเสบ
ก็มาว่ายน้ำกับ'ฟังจี'เมื่อปีที่ผ่านมา
หนูน้อยคนนี้ยืนเองไม่ได้และต้องใช้ไม้ค้ำช่วยเวลาเดิน แม่ต้องคอยทำกายภาพบำบัด
ให้ทุกวันที่บ้านในกรุงลอนดอน เวลานอนบนโต๊ะกายภาพขณะที่แม่นวดตามแขนขาให้ เด็กน้อย
มักจะร้องครวญครางด้วยความหงุดหงิด วันหนึ่งแม่พูดปลอบใจลูกชายว่า “ลูกลองสมมติตัวเองว่า
กำลังว่ายน้ำเล่นกับโลมาอยู่กลางมหาสมุทรสิจ๊ะ”
โปรดติดตามตอนที่ ( 4 )ในวันพรุ่งนี้
โลมาตัวนี้ไม่กลับบ้าน ตอนที่ ( 4 )
เรื่องจริงจากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนธันวาคม 2540 โดย Lucinda Hahn
เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากวิกิพีเดีย 2565 โดย กอบกิจ ครุวรรณ
เขาหยุดงอแงทันทีเพราะชอบใจจินตนาการที่แม่บอก เขานอนนิ่งฟังแม่บรรยายภาพตัวเขา
หยอกล้อกับโลมากลางทะเล ตั้งแต่นั้นมาเขาก็ “ว่ายน้ำเล่น” กับโลมาบนโต๊ะกายภาพทุกวัน
จนกระทั่งวันหนึ่งผู้เป็นแม่สงสัยว่า “ถ้าพาลูกไปว่ายน้ำกับโลมาจริง ๆ จะเป็นยังไงหนอ”
จากนั้นเธอก็หาข้อมูลอยู่พักใหญ่ ที่สุดก็ทราบเรื่องของ'ฟังจี'
ตะวันลอยขึ้นเหนืออ่าวดิงเกิ้ลในเดือนสิงหาคม 2539 ขณะที่พ่อแม่ของหนูน้อยคนนี้เฝ้าดู
ลูกชายลอยตัวคว่ำหน้า เขากลั้นหายใจแบบที่เคยฝึกในอ่างน้ำมานับครั้งไม่ถ้วน ทันใดนั้น
ศีรษะของเด็กชายก็นิ่งชะงัก โลมาว่ายเข้ามาข้างใต้ตัวเขา เขาลอยตัวเหนือน้ำนานหลายอึดใจ
พลางจ้องตา'ฟังจี' จนที่สุดก็เงยหน้าขึ้น ไอและสำลักน้ำแต่ยังไม่วายยิ้มกว้าง
“มหัศจรรย์ !” เขาพูดขึ้น ดวงตาเป็นประกาย “มหัศจรรย์จริง ๆ!”
กลับถึงบ้าน 2 อาทิตย์ต่อมา เด็กน้อยดูจะมีสมาธิและเครียดน้อยลง “เขาเปลี่ยนไปและ
มีกำลังใจมากขึ้นตั้งแต่ไปว่ายน้ำกับ’ฟังจี’” แม่เล่า “รู้สึกเหมือนผ่อนคลายมากขึ้นหรืออะไรทำนองนั้น”
ไม่มีใครรู้ว่าทำไม’ฟังจี’ จึงเลือกอ่าวที่ล้อมรอบด้วยหน้าผาสูงแห่งนี้เป็นบ้าน ชาวบ้านในหมู่บ้าน
ดิงเกิ้ลต่างมีทฤษฎีของตนเอง แต่ที่แน่ ๆ คือ ’ฟังจี’ตัวยาว 4 เมตร หนัก 230 กิโลกรัมตัวนี้เป็นพรจาก
สวรรค์ที่จุดประกายความหวังให้ผู้หมดหวัง และสร้างรอยยิ้มให้ผู้ทนทุกข์
“ผมสวดภาวนาให้มันทุกเช้าเชียวล่ะ” บาทหลวงประจำหมู่บ้านบอก
“ขอบคุณพระเจ้าที่ทรงส่ง’ฟังจี’มาให้เรา”
หมายเหตุ : มีผู้พบ’ฟังจี’ ครั้งแรกในท่าเรือดิงเกิ้ลในปี 2526 คาดว่าขณะนั้นมันมีอายุราว 4 ปี
หลังจากนั้นก็คลุกคลีกับผู้คนอีก 38 ปี และหายตัวไปหลังจากมีผู้เห็นครั้งสุดท้าย
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2563
’ฟังจี’จึงน่าจะมีอายุประมาณ 42 ปี Guinness World Records ประกาศให้’ฟังจี’ เป็นโลมา
ที่เติบโตในธรรมชาติที่ใช้ชีวิตตามลำพังนานที่สุดในโลก มันมีปฏิสัมพันธ์อย่างสนุกสนาน
กับนักว่ายน้ำ นักเล่นกระดานโต้คลื่น นักพายเรือคายัค และนักดำน้ำ ไม่เคยมีการบันทึก
การก้าวร้าวต่อมนุษย์เลย
’ฟังจี’จึงเป็นเหตุการณ์แรกที่บันทึกว่าปลาโลมามีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับมนุษย์
ในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ มีคนสังเกตว่า’ฟังจี’กินปลาเข็มทะเล
(garfish คล้ายปลาเข็มทะเลยาว 50-75 ซม.) เป็นอาหาร
***********************
จบบริบูรณ์
เรื่องจริงจากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนธันวาคม 2540 โดย Lucinda Hahn
เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากวิกิพีเดีย 2565 โดย กอบกิจ ครุวรรณ
เขาหยุดงอแงทันทีเพราะชอบใจจินตนาการที่แม่บอก เขานอนนิ่งฟังแม่บรรยายภาพตัวเขา
หยอกล้อกับโลมากลางทะเล ตั้งแต่นั้นมาเขาก็ “ว่ายน้ำเล่น” กับโลมาบนโต๊ะกายภาพทุกวัน
จนกระทั่งวันหนึ่งผู้เป็นแม่สงสัยว่า “ถ้าพาลูกไปว่ายน้ำกับโลมาจริง ๆ จะเป็นยังไงหนอ”
จากนั้นเธอก็หาข้อมูลอยู่พักใหญ่ ที่สุดก็ทราบเรื่องของ'ฟังจี'
ตะวันลอยขึ้นเหนืออ่าวดิงเกิ้ลในเดือนสิงหาคม 2539 ขณะที่พ่อแม่ของหนูน้อยคนนี้เฝ้าดู
ลูกชายลอยตัวคว่ำหน้า เขากลั้นหายใจแบบที่เคยฝึกในอ่างน้ำมานับครั้งไม่ถ้วน ทันใดนั้น
ศีรษะของเด็กชายก็นิ่งชะงัก โลมาว่ายเข้ามาข้างใต้ตัวเขา เขาลอยตัวเหนือน้ำนานหลายอึดใจ
พลางจ้องตา'ฟังจี' จนที่สุดก็เงยหน้าขึ้น ไอและสำลักน้ำแต่ยังไม่วายยิ้มกว้าง
“มหัศจรรย์ !” เขาพูดขึ้น ดวงตาเป็นประกาย “มหัศจรรย์จริง ๆ!”
กลับถึงบ้าน 2 อาทิตย์ต่อมา เด็กน้อยดูจะมีสมาธิและเครียดน้อยลง “เขาเปลี่ยนไปและ
มีกำลังใจมากขึ้นตั้งแต่ไปว่ายน้ำกับ’ฟังจี’” แม่เล่า “รู้สึกเหมือนผ่อนคลายมากขึ้นหรืออะไรทำนองนั้น”
ไม่มีใครรู้ว่าทำไม’ฟังจี’ จึงเลือกอ่าวที่ล้อมรอบด้วยหน้าผาสูงแห่งนี้เป็นบ้าน ชาวบ้านในหมู่บ้าน
ดิงเกิ้ลต่างมีทฤษฎีของตนเอง แต่ที่แน่ ๆ คือ ’ฟังจี’ตัวยาว 4 เมตร หนัก 230 กิโลกรัมตัวนี้เป็นพรจาก
สวรรค์ที่จุดประกายความหวังให้ผู้หมดหวัง และสร้างรอยยิ้มให้ผู้ทนทุกข์
“ผมสวดภาวนาให้มันทุกเช้าเชียวล่ะ” บาทหลวงประจำหมู่บ้านบอก
“ขอบคุณพระเจ้าที่ทรงส่ง’ฟังจี’มาให้เรา”
หมายเหตุ : มีผู้พบ’ฟังจี’ ครั้งแรกในท่าเรือดิงเกิ้ลในปี 2526 คาดว่าขณะนั้นมันมีอายุราว 4 ปี
หลังจากนั้นก็คลุกคลีกับผู้คนอีก 38 ปี และหายตัวไปหลังจากมีผู้เห็นครั้งสุดท้าย
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2563
’ฟังจี’จึงน่าจะมีอายุประมาณ 42 ปี Guinness World Records ประกาศให้’ฟังจี’ เป็นโลมา
ที่เติบโตในธรรมชาติที่ใช้ชีวิตตามลำพังนานที่สุดในโลก มันมีปฏิสัมพันธ์อย่างสนุกสนาน
กับนักว่ายน้ำ นักเล่นกระดานโต้คลื่น นักพายเรือคายัค และนักดำน้ำ ไม่เคยมีการบันทึก
การก้าวร้าวต่อมนุษย์เลย
’ฟังจี’จึงเป็นเหตุการณ์แรกที่บันทึกว่าปลาโลมามีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับมนุษย์
ในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ มีคนสังเกตว่า’ฟังจี’กินปลาเข็มทะเล
(garfish คล้ายปลาเข็มทะเลยาว 50-75 ซม.) เป็นอาหาร
***********************
จบบริบูรณ์
🛩เครื่องบินลำถัดไปจะประสบอุบัติเหตุ ตอนที่ ( 1)
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมิถุนายน 2542 โดย John Dyson
เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
เครื่องบินไอพ่นแอร์บัส 340 ลำมหึมาส่งเสียงกึกก้องไปตามทางวิ่งก่อนทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า
ใกล้ค่ำเหนือเมืองลอสแอนเจลิส “แปลกนะ” กัปตันทิม (Tim Barnby) เอ่ยขึ้นเมื่อรู้สึกว่าล้อใช้เวลา
เก็บพับเข้าที่นานกว่าปกติ จึงกวาดสายตาดูแผงเครื่องวัดเพื่อหาสิ่งบอกเหตุ แต่ทุกอย่างเป็นปกติ
ล้อทุกจุดพับเก็บเข้าที่และล็อกเรียบร้อย
เมื่อไม่ปรากฏสัญญาณเตือนภัย เครื่องบินของสายการบินเวอร์จินเที่ยวบินที่ 024 (VA024
) ก็บินต่อไปในเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมุ่งหน้าสู่สนามบินฮีทโธรว์ (Heathrow)
ชานกรุงลอนดอน พร้อมผู้โดยสาร 98 คนและพนักงานประจำเครื่องอีก 16 คน
การเดินทางซึ่งใช้เวลา 11 ชั่วโมงราบรื่น และคาดว่าจะถึงสนามบินปลายทางเวลา 15.05 น.
ของวันที่ 5 พฤศจิกายน 2540 เมื่อกัปตันทิมเริ่มลดระดับเพื่อเตรียมร่อนลงจอด แคลร์ (Claire)
ในชุดพนักงานต้อนรับเดินยิ้มตามช่องทางเดินภายในเครื่องตรงมายังที่นั่งของสามีภรรยาคู่หนึ่ง
ที่เธอชวนมาเที่ยวพักผ่อนที่แคลิฟอร์เนียพร้อมกับกล่าวว่า “พ่อคะ กัปตันถามว่าอยากไปนั่ง
ในห้องนักบินขณะเครื่องร่อนลงจอดไหม”
“อยากสิ” พ่อเธอตอบ จากนั้นก็ลุกขึ้นตามลูกสาวและไปหย่อนตัวลงในที่นั่งสำรองระหว่างกัปตันทิม
วัย 39 ปีซึ่งกำลังพูดวิทยุอยู่กับหอควบคุมการจราจรฯ และ’แอนดรูว์’ วัย 32 ซึ่งกำลังทำหน้าที่ควบคุม
เครื่องบินอยู่ ขณะที่ ‘เกรก’นักบินที่ 3 วัย 28 ปีรับอาสาอธิบายลำดับขั้นตอนการนำเครื่องลงจอด
ให้พ่อของแคลร์ฟัง : “คุณจะเห็นไฟสีเขียว 4 ดวงบนแผงเครื่องวัดสว่างขึ้น ซึ่งแสดงว่าล้อทั้งหมด
หย่อนลงสุดและเข้าที่เรียบร้อยแล้ว”
เหลือระยะอีก 7 ไมล์ทะเล(1 nautical mile = 1.852 ก.ม.) ก่อนที่เครื่องจะแตะพื้น แอนดรูว์เริ่ม
ควบคุมการ “กางล้อ” มีเสียงบานประตูเก็บล้อเปิดออกด้วยระบบไฮดรอลิก ตามด้วยเสียงเสาค้ำล้อ
กางปะทะกระแสลมแรงใต้ท้องเครื่องบิน
พ่อของแคลร์จับตาดูที่แผงเครื่องวัด เห็นไฟสีเขียวสว่างขึ้น 3 ดวงและไฟสีแดงอีก 1 ดวง
นักบินทั้งสามจับตาเฝ้ารอให้ไฟสีแดงเปลี่ยนเป็นสีเขียว แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น!
“กางล้อใหม่อีกครั้ง” แอนดรูว์บอกกัปตันให้พับเก็บล้อและกางล้อลงมาใหม่ หลังจากการทำซ้ำ
ก็ยังคงเห็นไฟสีเขียว 3 ดวงและไฟสีแดง 1 ดวงเหมือนเดิมขณะที่ความสูงลดเหลือ 750 ฟุต
มีเสียงกริ่งสัญญาณเตือนดังขึ้นทันที นักบินแอนดรูว์รีบดันคันเร่งเพื่อฉุดให้เครื่องบินทะยานขึ้นฟ้า
ขณะที่กัปตันดึงล้อขึ้นพับเก็บอีกครั้งหนึ่ง
“พวกหนุ่ม ๆ กำลังมีปัญหานิดหน่อย” เกรกหันมาพูดกับพ่อของแคลร์ “คุณกลับไปที่นั่งที่ดีกว่านะครับ”
โปรดติดตามตอนที่ (2)ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมิถุนายน 2542 โดย John Dyson
เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
เครื่องบินไอพ่นแอร์บัส 340 ลำมหึมาส่งเสียงกึกก้องไปตามทางวิ่งก่อนทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า
ใกล้ค่ำเหนือเมืองลอสแอนเจลิส “แปลกนะ” กัปตันทิม (Tim Barnby) เอ่ยขึ้นเมื่อรู้สึกว่าล้อใช้เวลา
เก็บพับเข้าที่นานกว่าปกติ จึงกวาดสายตาดูแผงเครื่องวัดเพื่อหาสิ่งบอกเหตุ แต่ทุกอย่างเป็นปกติ
ล้อทุกจุดพับเก็บเข้าที่และล็อกเรียบร้อย
เมื่อไม่ปรากฏสัญญาณเตือนภัย เครื่องบินของสายการบินเวอร์จินเที่ยวบินที่ 024 (VA024
) ก็บินต่อไปในเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมุ่งหน้าสู่สนามบินฮีทโธรว์ (Heathrow)
ชานกรุงลอนดอน พร้อมผู้โดยสาร 98 คนและพนักงานประจำเครื่องอีก 16 คน
การเดินทางซึ่งใช้เวลา 11 ชั่วโมงราบรื่น และคาดว่าจะถึงสนามบินปลายทางเวลา 15.05 น.
ของวันที่ 5 พฤศจิกายน 2540 เมื่อกัปตันทิมเริ่มลดระดับเพื่อเตรียมร่อนลงจอด แคลร์ (Claire)
ในชุดพนักงานต้อนรับเดินยิ้มตามช่องทางเดินภายในเครื่องตรงมายังที่นั่งของสามีภรรยาคู่หนึ่ง
ที่เธอชวนมาเที่ยวพักผ่อนที่แคลิฟอร์เนียพร้อมกับกล่าวว่า “พ่อคะ กัปตันถามว่าอยากไปนั่ง
ในห้องนักบินขณะเครื่องร่อนลงจอดไหม”
“อยากสิ” พ่อเธอตอบ จากนั้นก็ลุกขึ้นตามลูกสาวและไปหย่อนตัวลงในที่นั่งสำรองระหว่างกัปตันทิม
วัย 39 ปีซึ่งกำลังพูดวิทยุอยู่กับหอควบคุมการจราจรฯ และ’แอนดรูว์’ วัย 32 ซึ่งกำลังทำหน้าที่ควบคุม
เครื่องบินอยู่ ขณะที่ ‘เกรก’นักบินที่ 3 วัย 28 ปีรับอาสาอธิบายลำดับขั้นตอนการนำเครื่องลงจอด
ให้พ่อของแคลร์ฟัง : “คุณจะเห็นไฟสีเขียว 4 ดวงบนแผงเครื่องวัดสว่างขึ้น ซึ่งแสดงว่าล้อทั้งหมด
หย่อนลงสุดและเข้าที่เรียบร้อยแล้ว”
เหลือระยะอีก 7 ไมล์ทะเล(1 nautical mile = 1.852 ก.ม.) ก่อนที่เครื่องจะแตะพื้น แอนดรูว์เริ่ม
ควบคุมการ “กางล้อ” มีเสียงบานประตูเก็บล้อเปิดออกด้วยระบบไฮดรอลิก ตามด้วยเสียงเสาค้ำล้อ
กางปะทะกระแสลมแรงใต้ท้องเครื่องบิน
พ่อของแคลร์จับตาดูที่แผงเครื่องวัด เห็นไฟสีเขียวสว่างขึ้น 3 ดวงและไฟสีแดงอีก 1 ดวง
นักบินทั้งสามจับตาเฝ้ารอให้ไฟสีแดงเปลี่ยนเป็นสีเขียว แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น!
“กางล้อใหม่อีกครั้ง” แอนดรูว์บอกกัปตันให้พับเก็บล้อและกางล้อลงมาใหม่ หลังจากการทำซ้ำ
ก็ยังคงเห็นไฟสีเขียว 3 ดวงและไฟสีแดง 1 ดวงเหมือนเดิมขณะที่ความสูงลดเหลือ 750 ฟุต
มีเสียงกริ่งสัญญาณเตือนดังขึ้นทันที นักบินแอนดรูว์รีบดันคันเร่งเพื่อฉุดให้เครื่องบินทะยานขึ้นฟ้า
ขณะที่กัปตันดึงล้อขึ้นพับเก็บอีกครั้งหนึ่ง
“พวกหนุ่ม ๆ กำลังมีปัญหานิดหน่อย” เกรกหันมาพูดกับพ่อของแคลร์ “คุณกลับไปที่นั่งที่ดีกว่านะครับ”
โปรดติดตามตอนที่ (2)ในวันพรุ่งนี้
🛩เครื่องบินลำถัดไปจะประสบอุบัติเหตุ ตอนที่ ( 2 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมิถุนายน 2542 โดย John Dyson
เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
“ฉันทำอะไรลงไปนี่”
กัปตันทิมได้ยินเสียงชุดฐานล้อทั้งสี่กางออกตามปกติจึงคิดว่าไฟเตือนอาจเสียก็ได้ แต่ก็ยาก
ที่จะแน่ใจได้ ‘เกรก’ นักบินที่ 3 จึงเปิดฝาที่พื้นห้องแล้วล้วงลงไปในช่องเล็ก ก่อนจะดึงสวิตซ์ตัด
ตอนเป็นคู่ ๆ อยู่หลายครั้ง อย่างไรก็ตาม ไฟเตือนสีแดงก็ยังคงไม่ยอมดับ เครื่องบินวนอยู่ 25 นาที
และผลาญน้ำมันสำรองหมดไปเกือบครึ่งถัง
“ดูเหมือนเราจะมีปัญหาจริง ๆ แล้วละ” กัปตันสรุป “ผมจะบินเลียบผ่านหอควบคุมฯ ให้เจ้าหน้าที่
หอควบคุมฯ ยืนยันว่า ล้อทั้ง 4 หย่อนลงสุดหรือไม่”
หัวหน้าพนักงานต้อนรับในเครื่องเรียกประชุมพนักงานทุกคนพร้อมกับแจ้งแผนฉุกเฉินของนักบิน
ให้ทราบ ‘แคลร์’แทบกลั้นน้ำตาไม่อยู่เมื่อรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น “พ่อกับแม่อยู่บนเครื่องด้วย” เธออุทาน
เบา ๆ ด้วยความรู้สึกผิดที่ชวนพ่อกับแม่มาเที่ยวบินนี้ : “ฉันทำอะไรลงไปนี่”
“ข่าวร้าย”
ขณะที่ผู้โดยสารกำลังอกสั่นขวัญแขวนอยู่นั้น กัปตันทิมเข้าควบคุมเครื่องบินตามลำพังและให้ผู้ช่วย
ทั้งสองทบทวนขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติในกรณีฉุกเฉิน ตอนนี้กัปตันรักษาความสูงไว้ที่ระดับ 250 ฟุต
ขณะบินเลียบหอควบคุม
“กีฬาโปรดของกัปตันไม่ใช่เหรอ” แอนดรูว์ พูดติดตลกเพราะทราบดีว่า กัปตันทิมเป็นนักบินผาดโผน
ในยามว่าง และเพิ่งได้รับรางวัลชนะเลิศการบินผาดโผนประจำปีของอังกฤษ
ในวินาทีสุดท้ายขณะบินเลียบและกำลังจะผ่านหน้าหอควบคุม กัปตันดึงคันบังคับให้เครื่องบิน
เชิดหัวไต่ระดับในแนวชัน พร้อมกับเอียงท้องบินขึ้น
“ข่าวร้าย” พนักงานจากหอควบคุมวิทยุบอก “ชุดล้อซ้ายไม่ยอมลงจากช่องเก็บ”
“รับทราบ” กัปตันตอบขณะที่สมองคิดหาทางออกและน้ำมันในถังงวดลงอยู่ตลอดเวลา
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมิถุนายน 2542 โดย John Dyson
เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
“ฉันทำอะไรลงไปนี่”
กัปตันทิมได้ยินเสียงชุดฐานล้อทั้งสี่กางออกตามปกติจึงคิดว่าไฟเตือนอาจเสียก็ได้ แต่ก็ยาก
ที่จะแน่ใจได้ ‘เกรก’ นักบินที่ 3 จึงเปิดฝาที่พื้นห้องแล้วล้วงลงไปในช่องเล็ก ก่อนจะดึงสวิตซ์ตัด
ตอนเป็นคู่ ๆ อยู่หลายครั้ง อย่างไรก็ตาม ไฟเตือนสีแดงก็ยังคงไม่ยอมดับ เครื่องบินวนอยู่ 25 นาที
และผลาญน้ำมันสำรองหมดไปเกือบครึ่งถัง
“ดูเหมือนเราจะมีปัญหาจริง ๆ แล้วละ” กัปตันสรุป “ผมจะบินเลียบผ่านหอควบคุมฯ ให้เจ้าหน้าที่
หอควบคุมฯ ยืนยันว่า ล้อทั้ง 4 หย่อนลงสุดหรือไม่”
หัวหน้าพนักงานต้อนรับในเครื่องเรียกประชุมพนักงานทุกคนพร้อมกับแจ้งแผนฉุกเฉินของนักบิน
ให้ทราบ ‘แคลร์’แทบกลั้นน้ำตาไม่อยู่เมื่อรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น “พ่อกับแม่อยู่บนเครื่องด้วย” เธออุทาน
เบา ๆ ด้วยความรู้สึกผิดที่ชวนพ่อกับแม่มาเที่ยวบินนี้ : “ฉันทำอะไรลงไปนี่”
“ข่าวร้าย”
ขณะที่ผู้โดยสารกำลังอกสั่นขวัญแขวนอยู่นั้น กัปตันทิมเข้าควบคุมเครื่องบินตามลำพังและให้ผู้ช่วย
ทั้งสองทบทวนขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติในกรณีฉุกเฉิน ตอนนี้กัปตันรักษาความสูงไว้ที่ระดับ 250 ฟุต
ขณะบินเลียบหอควบคุม
“กีฬาโปรดของกัปตันไม่ใช่เหรอ” แอนดรูว์ พูดติดตลกเพราะทราบดีว่า กัปตันทิมเป็นนักบินผาดโผน
ในยามว่าง และเพิ่งได้รับรางวัลชนะเลิศการบินผาดโผนประจำปีของอังกฤษ
ในวินาทีสุดท้ายขณะบินเลียบและกำลังจะผ่านหน้าหอควบคุม กัปตันดึงคันบังคับให้เครื่องบิน
เชิดหัวไต่ระดับในแนวชัน พร้อมกับเอียงท้องบินขึ้น
“ข่าวร้าย” พนักงานจากหอควบคุมวิทยุบอก “ชุดล้อซ้ายไม่ยอมลงจากช่องเก็บ”
“รับทราบ” กัปตันตอบขณะที่สมองคิดหาทางออกและน้ำมันในถังงวดลงอยู่ตลอดเวลา
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
🛩เครื่องบินลำถัดไปจะประสบอุบัติเหตุ ตอนที่ ( 3 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมิถุนายน 2542 โดย John Dyson
เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
(@)ปฏิบัติการเสี่ยง
วิทยุดังขึ้นอีก เป็นเสียงของ’โรบิน’ผู้จัดการฝูงบินเครื่องแอร์บัส : “ฟังนะ มีทางแก้ไขอยู่ 2-3 วิธี
คุณอาจลองใช้วิธีกระเด้งล้อดู” ... วิธีนี้หมายถึงกัปตันจะต้องร่อนเรี่ยพื้นจนล้อชุดที่กางสมบูรณ์
กระแทกทางวิ่งแรง ๆ แล้วดึงคันบังคับบินขึ้นทันที โดยหวังว่าแรงกระเทือนจะเขย่าให้ล้อชุดที่
ติดอยู่กางออกมา
“ทำไม่ได้ครับ” กัปตันทิมตอบพร้อมให้ข้อมูลว่าน้ำมันเหลือน้อย “ผมต้องนำเครื่องลงแล้ว”
“ถ้าอย่างนั้นคุณลองใช้แรงโน้มถ่วงดูนะ” เขาแนะนำ
กัปตันปักหัวเครื่องบินลง จากนั้นก็กระชากหัวเชิดขึ้นพร้อมกับค่อย ๆ ขยับปีกขึ้นลง
โดยหวังว่าแรงโน้มถ่วงของโลกจะช่วยกระตุกให้ชุดฐานล้อที่ติดค้างกางออกมา
ชุดฐานล้อยังคงติดแน่นไม่ยอมกางออก กัปตันทิมจึงต้องร่อนลงจอดโดยใช้ชุดฐานล้อด้านขวา
และพยายามดึงปีกซ้ายเอาไว้ไม่ให้แตะทางวิ่งมิฉะนั้นเครื่องบินจะพลิกคว่ำได้ การบินแบบนี้ยัง
ไม่เคยมีใครทำกับเครื่องบินไอพ่นโดยสารลำตัวกว้างมาก่อน
“วิทยุแจ้งสภาวะฉุกเฉินให้เตรียมพร้อมเลยก็ดีนะ” กัปตันบอกผู้ช่วยแอนดรูว์
หลังได้รับแจ้ง สนามบินซึ่งมีการจราจรทางอากาศคับคั่งที่สุดในโลกแห่งหนึ่งก็เตรียมรับ
สถานการณ์วิกฤติทันที ท้องฟ้าปลอดเครื่องบิน เที่ยวบินขาออกถูกระงับ ทางวิ่งขึ้นลงปิดหมด
และเที่ยวบินขาเข้าจำนวนมากต้องเลี่ยงไปลงสนามบินอื่น นักเดินทางบ่นอุบเมื่อเห็นป้าย
“ล่าช้า” (Delay) ขึ้นเต็มพรึดหน้ากระดานข้อมูลเที่ยวบินทั้งขาเข้า-ขาออก
รถดับเพลิงพร้อมพนักงานกู้ภัยวิ่งเข้าประจำที่ตลอดทางวิ่งยาว 4 กิโลเมตร โรงพยาบาลใน
ละแวกใกล้เคียงได้รับแจ้งว่า อาจมีอุบัติเหตุครั้งใหญ่
กัปตันทิมกับนักบินผู้ช่วยทั้งสองตรวจดูลำดับขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อต้องนำเครื่องลงจอด
แบบฉุกเฉิน ... คอมพิวเตอร์ถามว่า “ชุดฐานล้อตัวกลางเก็บพับเรียบร้อยหรือ”
กัปตันทิมกับแอนดรูว์สบตากันด้วยความหวั่นใจ เพราะเสาค้ำบริเวณกลางลำตัวเครื่องบิน
ไม่แข็งแรงพอจะรับน้ำหนักกระแทกที่กำลังจะเกิด และถ้านำเครื่องลงโดยไม่เก็บพับชุดฐานล้อ
ตัวกลางอย่างที่ตั้งใจไว้ เสาค้ำล้ออาจเจาะพื้นทะลุเข้าไปในห้องโดยสารได้ กัปตันจึงต้องบินวน
อีกรอบเพื่อคิดหาทางออก
อีกไม่กี่นาทีก่อนเครื่องจะแตะพื้น พนักงานต้อนรับประจำเครื่องคัดเลือกผู้โดยสาร 4 คน
ให้นั่งติดกับทุกช่องประตู
“พ่อคะ” แคลร์บอก “พ่อต้องลงไปก่อน แล้วกันไม่ให้มีคนขวางทางออกฉุกเฉินนะคะ”
“พ่อจะไปได้ยังไงถ้าลูกกับแม่ไม่ไปด้วย” พ่อตอบ
“พ่อคะ!” แคลร์ตัดบทด้วยน้ำเสียงเฉียบขาดที่เขาไม่เคยได้ยินมาก่อน
“ตกลง พ่อจะลงไปก่อน” เขาคล้อยตามด้วยหัวใจพองโตที่เห็นลูกสาวเป็นผู้ใหญ่และทำหน้าที่
ได้อย่างเฉียบขาด
โปรดติดตามตอนที่ (4 )ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมิถุนายน 2542 โดย John Dyson
เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
(@)ปฏิบัติการเสี่ยง
วิทยุดังขึ้นอีก เป็นเสียงของ’โรบิน’ผู้จัดการฝูงบินเครื่องแอร์บัส : “ฟังนะ มีทางแก้ไขอยู่ 2-3 วิธี
คุณอาจลองใช้วิธีกระเด้งล้อดู” ... วิธีนี้หมายถึงกัปตันจะต้องร่อนเรี่ยพื้นจนล้อชุดที่กางสมบูรณ์
กระแทกทางวิ่งแรง ๆ แล้วดึงคันบังคับบินขึ้นทันที โดยหวังว่าแรงกระเทือนจะเขย่าให้ล้อชุดที่
ติดอยู่กางออกมา
“ทำไม่ได้ครับ” กัปตันทิมตอบพร้อมให้ข้อมูลว่าน้ำมันเหลือน้อย “ผมต้องนำเครื่องลงแล้ว”
“ถ้าอย่างนั้นคุณลองใช้แรงโน้มถ่วงดูนะ” เขาแนะนำ
กัปตันปักหัวเครื่องบินลง จากนั้นก็กระชากหัวเชิดขึ้นพร้อมกับค่อย ๆ ขยับปีกขึ้นลง
โดยหวังว่าแรงโน้มถ่วงของโลกจะช่วยกระตุกให้ชุดฐานล้อที่ติดค้างกางออกมา
ชุดฐานล้อยังคงติดแน่นไม่ยอมกางออก กัปตันทิมจึงต้องร่อนลงจอดโดยใช้ชุดฐานล้อด้านขวา
และพยายามดึงปีกซ้ายเอาไว้ไม่ให้แตะทางวิ่งมิฉะนั้นเครื่องบินจะพลิกคว่ำได้ การบินแบบนี้ยัง
ไม่เคยมีใครทำกับเครื่องบินไอพ่นโดยสารลำตัวกว้างมาก่อน
“วิทยุแจ้งสภาวะฉุกเฉินให้เตรียมพร้อมเลยก็ดีนะ” กัปตันบอกผู้ช่วยแอนดรูว์
หลังได้รับแจ้ง สนามบินซึ่งมีการจราจรทางอากาศคับคั่งที่สุดในโลกแห่งหนึ่งก็เตรียมรับ
สถานการณ์วิกฤติทันที ท้องฟ้าปลอดเครื่องบิน เที่ยวบินขาออกถูกระงับ ทางวิ่งขึ้นลงปิดหมด
และเที่ยวบินขาเข้าจำนวนมากต้องเลี่ยงไปลงสนามบินอื่น นักเดินทางบ่นอุบเมื่อเห็นป้าย
“ล่าช้า” (Delay) ขึ้นเต็มพรึดหน้ากระดานข้อมูลเที่ยวบินทั้งขาเข้า-ขาออก
รถดับเพลิงพร้อมพนักงานกู้ภัยวิ่งเข้าประจำที่ตลอดทางวิ่งยาว 4 กิโลเมตร โรงพยาบาลใน
ละแวกใกล้เคียงได้รับแจ้งว่า อาจมีอุบัติเหตุครั้งใหญ่
กัปตันทิมกับนักบินผู้ช่วยทั้งสองตรวจดูลำดับขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อต้องนำเครื่องลงจอด
แบบฉุกเฉิน ... คอมพิวเตอร์ถามว่า “ชุดฐานล้อตัวกลางเก็บพับเรียบร้อยหรือ”
กัปตันทิมกับแอนดรูว์สบตากันด้วยความหวั่นใจ เพราะเสาค้ำบริเวณกลางลำตัวเครื่องบิน
ไม่แข็งแรงพอจะรับน้ำหนักกระแทกที่กำลังจะเกิด และถ้านำเครื่องลงโดยไม่เก็บพับชุดฐานล้อ
ตัวกลางอย่างที่ตั้งใจไว้ เสาค้ำล้ออาจเจาะพื้นทะลุเข้าไปในห้องโดยสารได้ กัปตันจึงต้องบินวน
อีกรอบเพื่อคิดหาทางออก
อีกไม่กี่นาทีก่อนเครื่องจะแตะพื้น พนักงานต้อนรับประจำเครื่องคัดเลือกผู้โดยสาร 4 คน
ให้นั่งติดกับทุกช่องประตู
“พ่อคะ” แคลร์บอก “พ่อต้องลงไปก่อน แล้วกันไม่ให้มีคนขวางทางออกฉุกเฉินนะคะ”
“พ่อจะไปได้ยังไงถ้าลูกกับแม่ไม่ไปด้วย” พ่อตอบ
“พ่อคะ!” แคลร์ตัดบทด้วยน้ำเสียงเฉียบขาดที่เขาไม่เคยได้ยินมาก่อน
“ตกลง พ่อจะลงไปก่อน” เขาคล้อยตามด้วยหัวใจพองโตที่เห็นลูกสาวเป็นผู้ใหญ่และทำหน้าที่
ได้อย่างเฉียบขาด
โปรดติดตามตอนที่ (4 )ในวันพรุ่งนี้
🛩เครื่องบินลำถัดไปจะประสบอุบัติเหตุ ตอนที่ ( 4 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมิถุนายน 2542 โดย John Dyson
เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
“ทุกคนระวัง”
ผู้ควบคุมหอการบินฯ แจ้งกัปตันทิมเมื่อเวลา 16.19 น.ว่า “อนุญาตให้นำเครื่องลงได้ที่ทางวิ่ง 27
ลมด้านทิศใต้ความเร็ว 14 น็อต หน่วยฉุกเฉินเตรียมพร้อมแล้ว”
ขณะเดียวกัน วิทยุของหน่วยกู้ภัยรับทราบ “ทุกหน่วยเตรียมพร้อม เครื่องบินลำต่อไปจะประสบอุบัติเหตุ
ขณะร่อนลงจอด”
กัปตันทิมเห็นไฟทางวิ่งห่างออกไป 5 ไมล์ทะเล เขาเอื้อมมือปลดล็อกปุ่มอัตโนมัติและควบคุม
เครื่องบินด้วยตัวเอง
นักบินผู้ช่วยแอนดรูว์ตรวจอุปกรณ์ต่าง ๆ พร้อมกับสรุปสถานการณ์ให้กัปตันรับทราบตลอดเวลา
“ความเร็วได้ที่แล้ว อัตราการลดระดับเหมาะสมดี ร่อนลงไปทางขวาเล็กน้อย” ที่ระดับ
ความสูง 200 ฟุต เขาบอกให้ผู้โดยสารรับทราบ “ทุกคนระวัง”
ผู้โดยสารทุกคนใช้หมอนป้องกันหน้าไว้พร้อมกับเอนตัวไปข้างหน้าและประสานมือทั้งสอง
กดหัวตัวเองแนบกับหมอน พนักงานต้อนรับประจำเครื่องตะโกนก้องห้องโดยสาร : “ก้มหัว งอเข่าไว้”
กัปตินทิมบังคับเครื่องให้ร่อนลงตรงทางวิ่ง แล้วดึงหัวเชิดขึ้นเล็กน้อย ประคองเครื่องไว้ไม่ให้
แตะพื้น เขาบอกตัวเอง เพราะยิ่งยื้ออยู่ในอากาศได้นานเท่าไร ความเร็วเครื่องก็จะยิ่งช้าลง
ก่อนล้อแตะพื้นอึดใจต่อมา เขาได้ยินเสียงล้อยางชุดขวาบดกับพื้นทางวิ่งขณะที่นกเหล็ก
น้ำหนัก 150 ตันสัมผัสพื้นโลก
“ดับเครื่องคู่นอก” กัปตันออกคำสั่ง นักบิน’เกรก’กดสวิตซ์หลักดับเครื่องหมายเลข 1 กับ 4
เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้
ปีกด้านซ้ายยกตัวขึ้นและกดให้ปีกด้านขวาทิ่มเอียงลง เครื่องยนต์ใต้ปีกขวาครูดกับพื้น
คอนกรีตพร้อมกับส่งประกายไฟเป็นสายยาวไปตลอดทาง
รถดับเพลิงควบตะบึงไล่หลังเที่ยวบินที่024 เจ้าหน้าที่ดับเพลิงคาดว่าเครื่องบินจะส่ายจนทำ
ให้ลำตัวเครื่องพร้อมฉีกออกได้ทุกขณะ แต่กัปตันดึงปีกขวาให้ขนานไปกับพื้นไว้ตลอดเวลา
ขณะที่ล้อตรงส่วนหัวเครื่องสัมผัสทางวิ่ง
“ดับเครื่องหมายเลข 2 และ 3” เขาสั่งการ
ตอนนี้ปรากฏว่าเครื่องบินแฉลบไปทางขวา ส่งผลให้ล้อชุดที่ใช้การได้ไถลไปติดขอบทางวิ่ง
เครื่องบินเริ่มขะลอความเร็วลง ปีกซ้ายเอียงต่ำ และเครื่องยนต์คู่ซ้ายครูดไปกับพื้นคอนกรีต
กัปตันทิมกับแอนดรูว์บรรจงแตะกระเดื่องหางเสือเลี้ยวและเบรก
โปรดติดตามตอนที่ ( 5 )ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมิถุนายน 2542 โดย John Dyson
เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
“ทุกคนระวัง”
ผู้ควบคุมหอการบินฯ แจ้งกัปตันทิมเมื่อเวลา 16.19 น.ว่า “อนุญาตให้นำเครื่องลงได้ที่ทางวิ่ง 27
ลมด้านทิศใต้ความเร็ว 14 น็อต หน่วยฉุกเฉินเตรียมพร้อมแล้ว”
ขณะเดียวกัน วิทยุของหน่วยกู้ภัยรับทราบ “ทุกหน่วยเตรียมพร้อม เครื่องบินลำต่อไปจะประสบอุบัติเหตุ
ขณะร่อนลงจอด”
กัปตันทิมเห็นไฟทางวิ่งห่างออกไป 5 ไมล์ทะเล เขาเอื้อมมือปลดล็อกปุ่มอัตโนมัติและควบคุม
เครื่องบินด้วยตัวเอง
นักบินผู้ช่วยแอนดรูว์ตรวจอุปกรณ์ต่าง ๆ พร้อมกับสรุปสถานการณ์ให้กัปตันรับทราบตลอดเวลา
“ความเร็วได้ที่แล้ว อัตราการลดระดับเหมาะสมดี ร่อนลงไปทางขวาเล็กน้อย” ที่ระดับ
ความสูง 200 ฟุต เขาบอกให้ผู้โดยสารรับทราบ “ทุกคนระวัง”
ผู้โดยสารทุกคนใช้หมอนป้องกันหน้าไว้พร้อมกับเอนตัวไปข้างหน้าและประสานมือทั้งสอง
กดหัวตัวเองแนบกับหมอน พนักงานต้อนรับประจำเครื่องตะโกนก้องห้องโดยสาร : “ก้มหัว งอเข่าไว้”
กัปตินทิมบังคับเครื่องให้ร่อนลงตรงทางวิ่ง แล้วดึงหัวเชิดขึ้นเล็กน้อย ประคองเครื่องไว้ไม่ให้
แตะพื้น เขาบอกตัวเอง เพราะยิ่งยื้ออยู่ในอากาศได้นานเท่าไร ความเร็วเครื่องก็จะยิ่งช้าลง
ก่อนล้อแตะพื้นอึดใจต่อมา เขาได้ยินเสียงล้อยางชุดขวาบดกับพื้นทางวิ่งขณะที่นกเหล็ก
น้ำหนัก 150 ตันสัมผัสพื้นโลก
“ดับเครื่องคู่นอก” กัปตันออกคำสั่ง นักบิน’เกรก’กดสวิตซ์หลักดับเครื่องหมายเลข 1 กับ 4
เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้
ปีกด้านซ้ายยกตัวขึ้นและกดให้ปีกด้านขวาทิ่มเอียงลง เครื่องยนต์ใต้ปีกขวาครูดกับพื้น
คอนกรีตพร้อมกับส่งประกายไฟเป็นสายยาวไปตลอดทาง
รถดับเพลิงควบตะบึงไล่หลังเที่ยวบินที่024 เจ้าหน้าที่ดับเพลิงคาดว่าเครื่องบินจะส่ายจนทำ
ให้ลำตัวเครื่องพร้อมฉีกออกได้ทุกขณะ แต่กัปตันดึงปีกขวาให้ขนานไปกับพื้นไว้ตลอดเวลา
ขณะที่ล้อตรงส่วนหัวเครื่องสัมผัสทางวิ่ง
“ดับเครื่องหมายเลข 2 และ 3” เขาสั่งการ
ตอนนี้ปรากฏว่าเครื่องบินแฉลบไปทางขวา ส่งผลให้ล้อชุดที่ใช้การได้ไถลไปติดขอบทางวิ่ง
เครื่องบินเริ่มขะลอความเร็วลง ปีกซ้ายเอียงต่ำ และเครื่องยนต์คู่ซ้ายครูดไปกับพื้นคอนกรีต
กัปตันทิมกับแอนดรูว์บรรจงแตะกระเดื่องหางเสือเลี้ยวและเบรก
โปรดติดตามตอนที่ ( 5 )ในวันพรุ่งนี้
🛩เครื่องบินลำถัดไปจะประสบอุบัติเหตุ ตอนที่ ( 5 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมิถุนายน 2542 โดย John Dyson
เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานของเครื่องบินเริ่มสับสน เพราะได้รับข้อมูลจากชุดหลัก
ด้านขวาเพียงส่วนเดียว
16 วินาทีต่อมา เครื่องคอมพิวเตอร์สั่งการให้เบรกทำงานเต็มที่
ล้อทุกล้อในชุดฐานล้อด้านขวาล็อกเข้าที่ทันที เกิดเสียงยางระเบิดติดไฟลุกไหม้ดังตามมา
เป็นระยะ ๆ ขอบล้อละลายเมื่อครูดพื้นคอนกรีตของทางวิ่ง ส่งประกายไฟกระจายเป็นสายม่านไฟยาว
ส่วนท้องเครื่องบินยังคงไถลต่อไป และเอียงกระเท่เร่ไปทางซ้ายตลอดเวลาก่อนจะหยุดลงในที่สุด
เจ้าหน้าที่กู้ภัยทุกคนกลั้นหายใจรอฟังเสียงเครื่องบินระเบิด แต่ทุกอย่างเงียบเชียบ
รถดับเพลิงวิ่งเข้าเทียบลำตัว พนักงานช่วยกันฉีดโฟมคลุมล้อที่ไหม้ไฟควันโขมงอยู่ ไม่มีส่วนใด
ของเครื่องบินลุกติดไฟเลย
ในห้องผู้โดยสาร ผู้โดยสารปรบมือให้นักบิน แต่ทันทีก็ต้องชะงักเมื่อพนักงานต้อนรับร้องสั่ง
ให้รีบออกจากเครื่องบิน
ห้องโดยสารว่างเปล่าภายในเวลาไม่ถึง 1 นาที แคลร์วิ่งเข้าไปหาพ่อแม่ที่ยืนอยู่ภายนอก
“เราทำสำเร็จแล้ว” ทั้งสามร้องขึ้นด้วยความปีติขณะเข้าสวมกอดกันแน่น
แคลร์กับแม่สวมกอดกัปตันทิมและนักบินผู้ช่วยทั้งสองทันทีที่เห็นหน้า “พวกคุณทำได้วิเศษมาก”
แม่บอก กัปตันทิมตบไหล่พ่อของแคลร์พร้อมกับพูดกลั้วหัวเราะว่า “เป็นเพราะคุณคนเดียวรู้ไหม
ทุกอย่างเรียบร้อยดีจนกระทั่งคุณก้าวเข้าไปนั่งในห้องนักบินนั่นแหละ”
หมายเหตุ : หลังการตรวจสอบ พบว่าเหตุเกิดตั้งแต่ตอนที่เครื่องบินทะยานขึ้นจากทางวิ่งของสนามบิน
ลอสแอนเจลิส หมุดโลหะยาวประมาณ 4 นิ้วหลุดออกจากชุดเบรก ทำให้ปลายด้านหนึ่งของชุดฐาน
ล้อหย่อนตัวลงมาขวางกลไกเปิดประตูช่องเก็บชุดฐานล้อด้านซ้าย แม้ขณะที่เขียนบทความนี้ ก็ยังอยู่
ในระหว่างการสืบสวนหาต้นตอของอุบัติเหตุ แต่คาดว่าน่าจะมาจากสาเหตุดังกล่าว
หลังปรับแต่งชิ้นส่วนใหม่ไม่ถึงเดือน เครื่องบินลำนี้ก็กลับมาเหินฟ้าได้อีก
************************
จบบริบูรณ์
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมิถุนายน 2542 โดย John Dyson
เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานของเครื่องบินเริ่มสับสน เพราะได้รับข้อมูลจากชุดหลัก
ด้านขวาเพียงส่วนเดียว
16 วินาทีต่อมา เครื่องคอมพิวเตอร์สั่งการให้เบรกทำงานเต็มที่
ล้อทุกล้อในชุดฐานล้อด้านขวาล็อกเข้าที่ทันที เกิดเสียงยางระเบิดติดไฟลุกไหม้ดังตามมา
เป็นระยะ ๆ ขอบล้อละลายเมื่อครูดพื้นคอนกรีตของทางวิ่ง ส่งประกายไฟกระจายเป็นสายม่านไฟยาว
ส่วนท้องเครื่องบินยังคงไถลต่อไป และเอียงกระเท่เร่ไปทางซ้ายตลอดเวลาก่อนจะหยุดลงในที่สุด
เจ้าหน้าที่กู้ภัยทุกคนกลั้นหายใจรอฟังเสียงเครื่องบินระเบิด แต่ทุกอย่างเงียบเชียบ
รถดับเพลิงวิ่งเข้าเทียบลำตัว พนักงานช่วยกันฉีดโฟมคลุมล้อที่ไหม้ไฟควันโขมงอยู่ ไม่มีส่วนใด
ของเครื่องบินลุกติดไฟเลย
ในห้องผู้โดยสาร ผู้โดยสารปรบมือให้นักบิน แต่ทันทีก็ต้องชะงักเมื่อพนักงานต้อนรับร้องสั่ง
ให้รีบออกจากเครื่องบิน
ห้องโดยสารว่างเปล่าภายในเวลาไม่ถึง 1 นาที แคลร์วิ่งเข้าไปหาพ่อแม่ที่ยืนอยู่ภายนอก
“เราทำสำเร็จแล้ว” ทั้งสามร้องขึ้นด้วยความปีติขณะเข้าสวมกอดกันแน่น
แคลร์กับแม่สวมกอดกัปตันทิมและนักบินผู้ช่วยทั้งสองทันทีที่เห็นหน้า “พวกคุณทำได้วิเศษมาก”
แม่บอก กัปตันทิมตบไหล่พ่อของแคลร์พร้อมกับพูดกลั้วหัวเราะว่า “เป็นเพราะคุณคนเดียวรู้ไหม
ทุกอย่างเรียบร้อยดีจนกระทั่งคุณก้าวเข้าไปนั่งในห้องนักบินนั่นแหละ”
หมายเหตุ : หลังการตรวจสอบ พบว่าเหตุเกิดตั้งแต่ตอนที่เครื่องบินทะยานขึ้นจากทางวิ่งของสนามบิน
ลอสแอนเจลิส หมุดโลหะยาวประมาณ 4 นิ้วหลุดออกจากชุดเบรก ทำให้ปลายด้านหนึ่งของชุดฐาน
ล้อหย่อนตัวลงมาขวางกลไกเปิดประตูช่องเก็บชุดฐานล้อด้านซ้าย แม้ขณะที่เขียนบทความนี้ ก็ยังอยู่
ในระหว่างการสืบสวนหาต้นตอของอุบัติเหตุ แต่คาดว่าน่าจะมาจากสาเหตุดังกล่าว
หลังปรับแต่งชิ้นส่วนใหม่ไม่ถึงเดือน เครื่องบินลำนี้ก็กลับมาเหินฟ้าได้อีก
************************
จบบริบูรณ์