วิทยานิพนธ์

ใครมาใหม่เชิญทางนี้ก่อน ทักทาย ทดลองโพส
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
Florian
โพสต์: 1513
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ พ.ค. 31, 2006 12:05 pm
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

อังคาร ส.ค. 18, 2009 9:12 am

ช่วงนี้ข้าพเจ้าต้องอ่านวิทยานิพนธ์หลายเล่ม เลยอยากตั้งกระทู้แนะนำ

ประเดิมด้วยเล่มแรก

ศุลีมาน (นฤมล) วงศ์สุภาพ.  (2544).  นางงามตู้กระจก: การศึกษากระบวนการกลายเป็นหมอนวดไทย.  พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.

หนังสือเล่มนี้เดิมเป็นวิทยานิพนธ์ของคุณศุลีมาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นงานศึกษาที่ฮือฮามาก เพราะเป็นการศึกษาการกลายเป็นหมอนวดอย่างเจาะลึก ซึ่งแต่ก่อนงานศึกษาเกี่ยวกับหมอนวดนั้นจะเป็นเชิงปริมาณ ใช้การแจกแบบสอบถาม ฯลฯ แล้วมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ งานศึกษาของคุณศุลีมานครั้งนี้จึงเป็นเหมือนนวัตกรรมทางวิชาการ คือเข้าสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม และสัมภาษณ์เชิงลึก ตลอดจนนำเสนอข้อมูลจากมุมมองและจุดยืนของหมอนวดเอง  ในการศึกษาครั้งนี้ คุณศุลีมานใช้แนวคิดเรื่อง "ความเบี่ยงเบน" และ "การประทับตรา" เป็นแนวคิดสำคัญในการมองและศึกษาปัญหา ทำให้เห็นหมอนวดอย่างที่หมอนวดเป็น เห็นจากมุมมองของหมอนวดเอง ทำให้เห็นด้วยว่าการมาเป็นหมอนวด การปรับตัวเข้ากับอาชีพ และการธำรงความเป็นหมอนวดนี้ไม่อาจมองจากมิติในเรื่องของเศรษฐกิจได้เพียงอย่างเดียว
ภาพประจำตัวสมาชิก
(⊙△⊙)คุณxuู๓้uxoม(⊙△⊙)
โพสต์: 892
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ต.ค. 10, 2008 12:38 am

อังคาร ส.ค. 18, 2009 10:18 am

น่าสนใจมากเลยคะ  เก็บข้อมูลยากมั้ยคะเนี่ย
Batholomew
~@
โพสต์: 12724
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 2:28 pm
ที่อยู่: Thailand

อังคาร ส.ค. 18, 2009 11:36 am

เรื่องนี้น่าอ่านอย่างไรครับ : emo045 :
sinner
โพสต์: 2246
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ มี.ค. 08, 2009 1:24 pm

อังคาร ส.ค. 18, 2009 11:40 am

เอ.. เจ้าของกระทู้ใช่คุณตั้ว ณ อัสสัมชัญหรือเปล่าคะ : emo045 :

พิมพ์ชื่อผิดไปค่ะ มาแอบแก้ ขอโทษด้วยค่ะ
แก้ไขล่าสุดโดย sinner เมื่อ อังคาร ส.ค. 18, 2009 12:47 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
sinner
โพสต์: 2246
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ มี.ค. 08, 2009 1:24 pm

อังคาร ส.ค. 18, 2009 12:48 pm

ขอบคุณค่ะพี่โอ๋ที่เตือน เหงื่อแตกเลย
ภาพประจำตัวสมาชิก
ignatius
.
.
โพสต์: 2597
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2008 12:48 pm

อังคาร ส.ค. 18, 2009 1:06 pm

sinner เขียน: ขอบคุณค่ะพี่โอ๋ที่เตือน เหงื่อแตกเลย
บ่เป็นหยั่ง พี่ลบคำเตือนแล้ว ..เฮ้อ..เหงื่อหยดจริงๆแหละ เฉียวใฉ้.. ::042::
Viridian
โพสต์: 2762
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ก.ค. 30, 2008 11:40 pm

อังคาร ส.ค. 18, 2009 3:58 pm

ถ้าพี่อ่านไปเก็บข้อมูลทำทีสิทของพี่ ก็ไปอ่านวิทยานิพนธ์เล่มจริงที่ธรรมศาสตร์เลยสิคับ รับรองละเอียดกว่าเยอะ ::013::

ศุลีมาน วงศ์สุภาพ. "กระบวนการกลายเป็นหมอนวด : กรณีศึกษาหญิงบริการในสถานบริการ อาบ อบ นวด." วิทยานิพนธ์สังคมวิทยามหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2530.

ได้รับรางวัล วิทยานิพนธ์ดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2530 จากสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
ภาพประจำตัวสมาชิก
Florian
โพสต์: 1513
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ พ.ค. 31, 2006 12:05 pm
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

อังคาร ส.ค. 18, 2009 5:20 pm

~Holy Maiden Nerine~ เขียน: น่าสนใจมากเลยคะ  เก็บข้อมูลยากมั้ยคะเนี่ย
ยากครับ เพราะผู้ให้ข้อมูลเป็นกลุ่มคนที่สังคมส่วนรวมประทับตราว่ามีรอยมลทิน (stigma) และไม่ให้การยอมรับ พวกเขาเป็นกลุ่มที่ไม่วางใจและเปิดเผยตัวเองแก่ใครง่ายๆ แต่พี่เขาก็ทำให้หมอนวดวางใจและเขาก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในที่สุด

จากงานศึกษาครั้งนี้ พี่เขาเข้าไปเก็บข้อมูลตอนแรก หมอนวดก็ไม่ให้ความร่วมมือ เพราะปกติหมอนวดก็ไมได้มีปฏิสัมพันธ์อะไรกันมากอยู่แล้ว ต่างคนต่างก็ทำงานของตัวเองไป ตอนหลังเขาก็เลยต้องใช้สถานะหมอนวดเพื่อให้เข้าถึงข้อมูล ครั้นจะติดเบอร์เข้าไปนั่งในตู้ก็กระไรอยู่ เพราะถ้าถูกเรียก ก็ต้องขึ้นไปบริการแขก (ปฏิเสธไม่ได้ ผู้ใหญ๋ในอาบอบนวดก็ช่วยไม่ได้) ก็เลยเปลี่ยนไปอยู่ในห้องฝึกนวด แล้วก็ให้หมอนวดรับทราบว่าพี่เขาอยู่ในสถานะของเด็กใหม่รอเปิดบริสุทธิ์ (ในความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น) หมอนวดก็เริ่มคุยและให้ข้อมูลแก่พี่เขา ตอนหลังพอสนิทกันมากขึ้น ก็ไปมาหาสู่กัน จนตอนหลังจึงมาเผยสถานะที่แท้จริงว่าพี่เขาเป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ : emo045 :

Batholomew เขียน: เรื่องนี้น่าอ่านอย่างไรครับ : emo045 :
น่าอ่านตรงที่สามารถเรียนรู้วิธีวิทยาที่พี่เขาใช้ ที่สำคัญยิ่งก็คือการที่พี่เขาศึกษาหมอนวดด้วยวิธีเชิงคุณภาพ ซึ่งเสนอแนวคิดและให้คำตอบจากมุมมองของหมอนวดเอง โดยไม่ได้ใช้วิธีการเชิงปริมาณ ซึ่งไม่สามารถให้คำตอบเกี่ยวกับมิติที่มีความสลับซับซ้อนของมนุษย์ได้เพียงพอและอย่างที่มนุษย์เป็น  : xemo028 :
Viridian เขียน: ถ้าพี่อ่านไปเก็บข้อมูลทำทีสิทของพี่ ก็ไปอ่านวิทยานิพนธ์เล่มจริงที่ธรรมศาสตร์เลยสิคับ รับรองละเอียดกว่าเยอะ ::013::

ศุลีมาน วงศ์สุภาพ. "กระบวนการกลายเป็นหมอนวด : กรณีศึกษาหญิงบริการในสถานบริการ อาบ อบ นวด." วิทยานิพนธ์สังคมวิทยามหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2530.

ได้รับรางวัล วิทยานิพนธ์ดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2530 จากสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
ข้าพเจ้าไม่ได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่องหมอนวด และเล่มนี้ก็มีเนื้อหาพอๆกับเล่มจริง ซึ่งอ่านไปเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้กำลังอ่านเล่มอื่นต่อไป  : emo038 :
ภาพประจำตัวสมาชิก
Florian
โพสต์: 1513
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ พ.ค. 31, 2006 12:05 pm
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

อังคาร ส.ค. 18, 2009 5:31 pm

บุญเลิศ วิเศษปรีชา.  (2546).  โลกของคนไร้บ้าน.  กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

หนังสือเล่มนี้ปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของอาจารย์บุญเลิศในสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ศึกษาเรื่องของคนไร้บ้าน โดยต้องการศึกษาว่าคนไร้บ้านมีชีวิตอย่างไร แบ่งประเภทได้อย่างไรบ้าง ทำไมจึงไร้บ้าน การใช้ชีวิตอย่างไรให้อยู่รอด และมีการให้ความหมายเพื่อกอบกู้ตัวตนอย่างไร ตลอดจนเสนอแนวทางเพื่อเป็นทางออกสำหรับคนไร้บ้าน

คนไร้บ้านเป็นคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่เปิดเผยตัวเองกับสังคมทั่วไป เพราะคิดว่าพวกเขาไม่ได้รับการยอมรับและถูกดูแคลน พวกเขากลัวตำรวจและเจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์มาจับ ก็จะหวาดระแวงหากมีคนแปลกหน้าเข้ามาพูดคุยด้วย ทำให้อาจารย์บุญเลิศต้องทำตัวให้กลมกลืนด้วยการไปเป็นคนไร้บ้านด้วย อาจารย์ต้องนอนข้างถนน นอนในแหล่งของคนไร้บ้าน (เช่น สนามหลวง ฯลฯ) เก็บของเก่า ขายกระดาษ ไปกินอาหารตามที่มีการบริจาคให้คนจน ฯลฯ ใช้เวลาไปร่วม 2 ปี จึงได้ข้อค้นพบเกี่ยวกับคนไร้บ้าน

ความดีเด่นของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้อยู่ที่การสะท้อนภาพของคนไร้บ้านจากมุมมองของคนไร้บ้านเอง ทำให้เห็นภาพของคนไร้บ้านอย่างที่คนไร้บ้านเป็น ซึ่งการศึกษาในเชิงปริมาณอย่างที่เคยมีมาไม่สามารถสะท้อนภาพดังกล่าวได้  : emo027 :
sinner
โพสต์: 2246
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ มี.ค. 08, 2009 1:24 pm

อังคาร ส.ค. 18, 2009 10:27 pm

เคยมีวิจัยของอาจารย์มหิดล เกี่ยวกับจำนวนผู้หญิงโสเภณีในเมืองไทยค่ะ

ว่ามีจำนวนสัมพันธ์กันกับจำนวนพระสงฆ์ ทำให้ได้คิดว่าเกิดอะไรกับผู้หญิงเหล่านี้

อาจเป็นเพราะระบบการศึกษาไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเท่าที่ควร

เด็กผู้หญิงตามต่างจังหวัดถูกล่อลวงมาทำงาน เพื่อต้องการมีโอกาสในชีวิตที่ดีขึ้น

แต่เด็กผู้ชายมีโอกาสไปบวชเพื่อให้มีการศึกษามากขึ้น

แอบเศร้าใจกับระบบแบบนี้เหมือนกันค่ะ : xemo023 :
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

อังคาร ส.ค. 18, 2009 10:48 pm

ถ้าชอบอ่านงานในแนวแฟมมินิส ลองหางานเขียนของ  คุณอรสม สุทธิสาคร เช่นเรื่อง "สนิมดอกไม้"
และ "ดอกไม้ราตรี" เกี่ยวกับชีวิตของ ผู้หญิงขายบริการสนิมดอกไม้เกี่ยว กับทำแท้ง เกี่ยวกับหมอเสน่ห์ ด้วย

คุณอรสมเขียนอีกหลายเรื่อง เกี่วกับฆาตกรเด็ก อะไรนี่แหละ : emo036 :
sinner
โพสต์: 2246
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ มี.ค. 08, 2009 1:24 pm

อังคาร ส.ค. 18, 2009 10:55 pm

ที่ผ่านมากก็เป็นแฟมมินิสมาหลายปีแล้วค่ะคุณเจี๊ยบ โดนด่ามาตลอด

โดนกล่าวหาว่าเป็นพวกชอบเรียกร้องสิทธิ  แต่เราไม่ได้เรียกให้ตัวเอง

เรานึกถึงเด็กๆ ทางเหนือ ทางอีสาน อยากทำอะไรได้มากกว่านี้ค่ะ เศร้า : xemo023 :

อยากให้เค้ามีโอกาสในชีวิตมากกว่านี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
Florian
โพสต์: 1513
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ พ.ค. 31, 2006 12:05 pm
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

อังคาร ก.ย. 01, 2009 1:02 pm

เอกชัย เอื้อธารพิสิฐ.  (2545).  สวนสัตว์: มายาคติว่าด้วยธรรมชาติและสัตว์ป่า.  วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต.  คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รูปภาพ

บทคัดย่อ

ภาพลักษณ์และความหมายของสวนสัตว์ที่เราคุ้นเคยได้แก่ พื้นที่เพื่อการพักผ่อน แหล่งความรู้ และสถานที่อนุรักษ์สัตว์ป่านั้น ล้วนถูกสร้างขึ้นและผลิตซ้ำผ่านสื่อสาธารณะต่างๆจนราวกับเป็นความจริงชุดหนึ่งของสวนสัตว์ โดยเฉพาะบทบาทประการหลังนี้เพิ่งได้รับการขานรับจากสวนสัตว์เมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาเท่านั้น หาใช่บทบาทที่ติดตัวสวนสัตว์มาตั้งแต่แรกไม่ และในงานศึกษามายาคติของสวนสัตว์ชิ้นนี้ ผู้เขียนต้องการสร้างมายาคติเกี่ยวกับสวนสัตว์ขึ้นมาอีกชุดหนึ่งเพื่อมาปะทะสลายความจริง/มายาคติชุดดังกล่าว โดยเลือกวัตถุดิบในการสร้างจากการจัดแสดงนิทรรศการสัตว์ การแสดงความสามารถสัตว์ และภาพถ่ายสัตว์ที่ปรากฏบนหน้าปกสูจิบัตรสวนสัตว์และภาพถ่ายที่ผู้ชมนิยมถ่ายคู่กับสัตว์ในสวนสัตว์ ซึ่งในการนี้ ผู้เขียนได้หยิบยืมทฤษฎีศึกษามายาคติในสังคมทุนนิยมของฝรั่งเศสช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1950-1970 จาก โรล็องด์ บาร์ตส์ (Roland Barthes) นักสัญวิทยาชาวฝรั่งเศส (1915-1980)

มายาคติของสวนสัตว์ในสังคมไทยปัจจุบันที่ผู้เขียนสร้างขึ้นมาก็คือ สิ่งที่เรียกว่า "ธรรมชาติ" และ "สัตว์ป่า" ในสวนสัตว์นั้น ล้วนเต็มไปด้วยรหัสหรือระบบวัฒนธรรมของมนุษย์เราทั้งสิ้น ไม่ได้ปลอดจากคุณค่าที่เราๆท่านๆยึดถือแต่อย่างใด นั่นเท่ากับ ธรรมชาติและสัตว์ป่าที่เราเห็นในสวนสัตว์นั้นล้วนผ่านการสร้างขึ้นตามที่เราจินตนาการหรือนึกคิดไปเองเท่านั้น และเมื่อเป็นเช่นนี้ ธรรมชาติและสัตว์ป่าในสวนสัตว์จึงไม่ได้มีอยู่จริง หากแต่ดำรงอยู่ก็ในความนึกคิดของเราเท่านั้น และสวนสัตว์ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เราบรรจงเขียนธรรมชาติและสัตว์ป่าอย่างที่เราอยากเห็นขึ้นมา ทว่าเรากลับหลงเข้าใจไปว่าธรรมชาติและสัตว์ป่าที่เรานิยมหรือร่วมเขียนขึ้นมาในสวนสัตว์นั้นเป็นธรรมชาติและสัตว์ป่าที่จำลองมาจากโลกแห่งความเป็นจริง และเมื่อธรรมชาติและสัตว์ป่าในสวนสัตว์เป็นเพียงผลลัพธ์ของมายาคติ เราจึงได้ยินแต่เสียงของความปลอดภัยของเราและอิสรภาพของสัตว์ป่าจากสวนสัตว์ชัดถ้อยชัดคำกว่าสุนทรียภาพที่เราอยากสัมผัส หรือไม่ก็อยากฟังอุดมการณ์ในการอนุรักษ์สัตว์ป่ามากกว่าจะยอมรับในความอยากรู้อยากเห็นของตนเอง และที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมายาคติปฏิบัติการอยู่ทั่วทุกหนแห่ง อบตัวเรานั่นเอง
ภาพประจำตัวสมาชิก
sasuke
~@
โพสต์: 1120
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ธ.ค. 06, 2006 12:00 am
ที่อยู่: ใต้เสื้อคลุมของแม่

อังคาร ก.ย. 01, 2009 2:25 pm

แต่ละเล่มเป็นแนวสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ทั้งนั้นเลย แล้วสรุปพี่เรียนอะไรอยู่อ่ะครับ?
ภาพประจำตัวสมาชิก
Florian
โพสต์: 1513
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ พ.ค. 31, 2006 12:05 pm
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

ศุกร์ ก.ย. 04, 2009 1:09 pm

sasuke เขียน: แต่ละเล่มเป็นแนวสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ทั้งนั้นเลย แล้วสรุปพี่เรียนอะไรอยู่อ่ะครับ?
เพราะข้าพเจ้าเรียนสายสังคมศาสตร์+มนุษยศาสตร์อยู่ จึงต้องอ่านแนวนี้ขอรับ  : emo045 :
ภาพประจำตัวสมาชิก
Florian
โพสต์: 1513
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ พ.ค. 31, 2006 12:05 pm
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

ศุกร์ ก.ย. 04, 2009 1:18 pm

ศรินธร รัตน์จริญขจร.  (2544).  ร้านกาแฟ: ความหมายในวัฒนธรรมไทยยุคบริโภคนิยม.  วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (มานุษยวิทยา) คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รูปภาพ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง
แก้ไขล่าสุดโดย Anonymous เมื่อ ศุกร์ ก.ย. 04, 2009 1:22 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
Viridian
โพสต์: 2762
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ก.ค. 30, 2008 11:40 pm

เสาร์ ก.ย. 05, 2009 12:47 pm

น่าสนใจทั้งนั้นเลยค่ะพี่ตั้ว : emo045 :
ภาพประจำตัวสมาชิก
Immanuel (MichaelPaul)
~@
โพสต์: 2887
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 8:49 pm
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

เสาร์ ก.ย. 05, 2009 11:32 pm

Florian เขียน:
~Holy Maiden Nerine~ เขียน: น่าสนใจมากเลยคะ  เก็บข้อมูลยากมั้ยคะเนี่ย
ยากครับ เพราะผู้ให้ข้อมูลเป็นกลุ่มคนที่สังคมส่วนรวมประทับตราว่ามีรอยมลทิน (stigma) และไม่ให้การยอมรับ พวกเขาเป็นกลุ่มที่ไม่วางใจและเปิดเผยตัวเองแก่ใครง่ายๆ แต่พี่เขาก็ทำให้หมอนวดวางใจและเขาก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในที่สุด

จากงานศึกษาครั้งนี้ พี่เขาเข้าไปเก็บข้อมูลตอนแรก หมอนวดก็ไม่ให้ความร่วมมือ เพราะปกติหมอนวดก็ไมได้มีปฏิสัมพันธ์อะไรกันมากอยู่แล้ว ต่างคนต่างก็ทำงานของตัวเองไป ตอนหลังเขาก็เลยต้องใช้สถานะหมอนวดเพื่อให้เข้าถึงข้อมูล ครั้นจะติดเบอร์เข้าไปนั่งในตู้ก็กระไรอยู่ เพราะถ้าถูกเรียก ก็ต้องขึ้นไปบริการแขก (ปฏิเสธไม่ได้ ผู้ใหญ๋ในอาบอบนวดก็ช่วยไม่ได้) ก็เลยเปลี่ยนไปอยู่ในห้องฝึกนวด แล้วก็ให้หมอนวดรับทราบว่าพี่เขาอยู่ในสถานะของเด็กใหม่รอเปิดบริสุทธิ์ (ในความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น) หมอนวดก็เริ่มคุยและให้ข้อมูลแก่พี่เขา ตอนหลังพอสนิทกันมากขึ้น ก็ไปมาหาสู่กัน จนตอนหลังจึงมาเผยสถานะที่แท้จริงว่าพี่เขาเป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ : emo045 :


[
ลงทุนไปป่าวนั่น
ภาพประจำตัวสมาชิก
Florian
โพสต์: 1513
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ พ.ค. 31, 2006 12:05 pm
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

เสาร์ ก.ย. 19, 2009 3:52 pm

จิตตพิมญ์ แย้มพราย.  (2548).  ดนตรีในพิธีมิสซาของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทย.  ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ดนตรี) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

รูปภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการของดนตรีในพิธีมิสซาของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ลักษณะโครงสร้างของบทเพลง และความสัมพันธ์ระหว่างทำนองกับคำร้องของบทเพลงในพิธีมิสซา การดำเนินงานวิจัยเป็นการศึกษาดนตรีวิทยาในเชิงประวัติศาสตร์ โดยใช้หลักวิธีทางมานุษยดนตรีวิทยาในการสัมภาษณ์และเก็บรวมรวมข้อมูล ผลของการวิจัยมีดังนี้

พัฒนาการของดนตรีในพิธีมิสซาของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทย แบ่งได้ 4 สมัย คือ
สมัยที่ 1 สมัยของดนตรีตามจารีตโรมัน ปี ค.ศ. 1511-1851
สมัยที่ 2 สมัยการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงของดนตรีในพิธีมิสซา ปี ค.ศ. 1851-1946
สมัยที่ 3 สมัยการปฏิรูปดนตรีในพิธีมิสซา และดนตรีในช่วง 10 ปีหลังการสังคายนาวาติกันที่ 2 ปี ค.ศ. 1946-1972
สมัยที่ 4 สมัยพัฒนาการของเพลงไทยในพิธีมิสซา ปี ค.ศ. 1973-2004

ลักษณะของดนตรีในพิธีมิสซา ส่วนใหญ่ใช้รูปแบบของการประพันธ์แบบ Stropic Form บันไดเสียงที่ใช้เป็นลักษณะของโมดรอง (Plagal Mode), Diatonic และ Pentatonic ช่วงเสียงของบทเพลงส่วนใหญ่มีความกว้าง 1 Octave สำหรับการใช้เสียงประสานเป็นแบบดั้งเดิมซึ่งเป็นการใช้ความสัมพันธ์คู่ 5 โดยที่ประโยคเพลงมีความสัมพันธ์แบบประโยคใหญ่

ความสัมพันธ์ระหว่างทำนองกับคำร้องของบทเพลง ใช้ลักษณะความสัมพันธ์แบบ Syllabic และ Neumatic บทเพลงที่เปลี่ยนแปลงจากทำนองต่างชาติเป็นภาษาไทย มีการปรับทำนองและจังหวะ เมื่อมีจำนวนพยางค์เนื้อร้องภาษาไทยไม่เท่ากับพยางค์คำร้องในภาษาเดิม บทเพลงที่ประพันธ์เป็นภาษาไทยมีการจัดรูปแบบจังหวะและทิศทางขึ้นลงของทำนองไปตามการแบ่งวรรคของคำร้องประเภทบทกลอนของไทย

หมายเหตุ

เพลงที่ใช้วิเคราะห์มีดังนี้

1. อัลเลลูยา
2. น้อมเกล้าวันทา (Salve Mater)
3. ปังแห่งทวยเทพเทวา
4. ขอเชิญท่านผู้วางใจ
5. ค่ำคืนดี
6. นักบุญและเทวา
7. ลูกขอวันทา
8. ลูกเชื่อในพระองค์
9. เชิญถวายพระพร
10. ร้องอัลเลลูยา
11. เชิญพระจิต
12. สิริโรจนา
13. กำยาน
14. อ้าองค์อดิศร
15. บทสดุดีตอบรับที่ 62
16. บูชาสัมพันธ์
17. น้อมเกล้าสดุดี
18. บุญลาภ
19. โปรดรับวิญญาณ
20. สวรรค์ ณ แผ่นดิน
ตอบกลับโพส