ขอนอกเรื่อง..รบกวนพี่ ๆ ศิษย์เก่า มธก. และ มธ. อ่านแล้วแสดงความเห็นครับ

ใครมาใหม่เชิญทางนี้ก่อน ทักทาย ทดลองโพส
ตอบกลับโพส
Alphonse
โพสต์: 1792
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ส.ค. 23, 2006 10:45 pm
ที่อยู่: Thailand

อาทิตย์ ม.ค. 07, 2007 5:02 am

ทัวร์ธรรมศาสตร์ งาน"Open House 2006" วันอำลาท่าพระจันทร์>>>>สุชาฎา ประพันธ์วงศ์
หลังจากแสดงท่าทีและถกเถียงกันมานานจนเป็นข่าวมาหลายครั้ง ในเรื่องการย้ายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)
จากที่ตั้งดั้งเดิมตั้งแต่ยุคก่อตั้งที่ท่าพระจันทร์ เพื่อไปเปิดการเรียนการสอนยังสถานที่แห่งใหม่ คือ ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี
วันนี้คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นอกจากจะได้ข้อสรุปเป็นมติเอกฉันท์ของสภามหาวิทยาลัยแล้ว 
ผู้บริหารยังได้ลงมือขนย้ายนักศึกษาทุกชั้นปีให้ไปเรียนที่ มธ.ศูนย์รังสิตแบบถาวรแล้ว
โดยเริ่มด้วยการจัดทัวร์เพื่อแนะนำและโน้มน้าวให้เห็นความเหมาะสมในการย้ายไปอยู่ที่แห่งใหม่เสียก่อน
ในงานที่มีชื่อว่า "ธรรมศาสตร์ Open House 2006 เปิดบ้านแม่โดมศูนย์รังสิต" ในวันที่ 15 ธันวาคม เวลาตั้งแต่ 08.00-17.00 น.
ป็นฤกษ์งามยามดีที่ได้เตรียมการไว้แล้ว ที่อาคารยิมเนเซียม 2
"สุรพล นิติไกรพจน์" อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คนปัจจุบัน พูดถึงรายละเอียดของการจัดงานครั้งนี้
ก่อนจะมีการย้ายนักศึกษาไปเรียนที่ศูนย์รังสิตเป็นการถาวรทุกชั้นปีว่าเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนมัธยมปลาย ผู้ปกครองและอาจารย์ที่สนใจได้เห็นการเรียนการสอนของคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยโดยจะเปิดสถานที่ให้ชมกันทุกซอกทุกมุมในมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ห้องเรียนไปจนถึงหอพักนักศึกษา เพื่อให้เห็นถึงความพร้อมของ มธ.ศูนย์รังสิต
"ผมขอบอกด้วยว่าที่จัดกิจกรรมนี้ไม่ได้ตั้งใจจะขยายจำนวนรับนักศึกษาปริญญาตรีเพราะมหาวิทยาลัยประกาศนโยบายแล้วว่าจะไม่รับนักศึกษาปริญญาตรีเพิ่มมากกว่าที่เคยอีกแล้ว แต่จะเพิ่มนักศึกษาปริญญาโทกับปริญญาเอก ให้เป็น 15,000 คน ในปีหน้า โดยเป้าหมายของ มธ.คือไปสู่การวิจัย
ซึ่งจะเพิ่มหลักสูตรของปริญญาโท-เอก อีกปีละ 10 หลักสูตร" การเปิดบ้าน "ธรรมศาสตร์ Open House 2006" ก็เพื่อให้ทุกคนได้เห็นว่า
มธ.ศูนย์รังสิต ไม่ได้ไกลอีกต่อไปเช่นที่เคยเข้าใจมาในอดีต "เราพร้อมทุกอย่าง พร้อมจะมีชีวิตมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์นักศึกษามีสถานที่ออกกำลังกาย มีสถานที่เตะฟุตบอลกว่า 20 สนาม พื้นที่ว่างต่างๆสามารถใช้เป็นสนามฟุตบอลได้หมด มีทั้งฟิตเนส สระว่ายน้ำให้นักศึกษาได้ใช้ชีวิตวัยรุ่นอย่างเต็มที่
ซึ่งวัยรุ่นควรได้ผ่านช่วงชีวิตแบบนี้ ไม่มีช่วงชีวิตไหนที่จะดีเท่ากับช่วงเรียนในมหาวิทยาลัย  ที่อยู่ในแวดวงชีวิตหนุ่มสาวด้วยกัน เพราะได้คิดได้ทำอะไร เรียนรู้อะไร อย่างอิสระ"
เสียงย้ำหนักแน่นเกี่ยวกับ "จิตวิญญาณธรรมศาสตร์" ซึ่งเคยเป็นข้อถกเถียงของฝ่ายที่เห็นควรย้ายและไม่เห็นควรย้ายกันมาคราวที่แล้ว
โดยอาจารย์อธิการบดีบอกว่า จิตวิญญาณของธรรมศาสตร์ไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิม เพราะนักศึกษายังร่วมกันทำกิจกรรมทางการเมือง เขียนป้ายด่ารัฐบาลคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ยังสามารถทำได้ ซึ่งที่ศูนย์รังสิตอาจมีอิสระมากกว่า เพราะมีพื้นที่กว้างกว่า
"ผมว่า...คนเหลืองแดงอยู่ที่ไหนก็เป็นแบบนั้น เพราะสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัยส่งเสริมตั้งแต่เข้ามาเป็นนักศึกษาแล้วไม่มีรุ่นพี่รุ่นน้องในความหมายที่รุ่นน้องจะต้องเชื่อฟังหรือยอมรุ่นพี่ระบบบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ไม่เป็นแบบนั้นด้วย ผู้บริหาร นักศึกษา กับมหาวิทยาลัยใกล้ชิดกันมาก พูดคุยถกเถียงกันได้"
"...เด็กมัธยมปลายเข้ามาเรียนในธรรมศาสตร์ จะกลายเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาทันที ไม่มีใครบังคับให้ใครทำอะไรทุกคนต้องรับผิดชอบตัวเอง..."
"การเรียนการสอน อาจารย์จะไม่บังคับนักศึกษา ทำได้มากที่สุดก็แค่ให้คำแนะนำเท่านั้น จากนั้นนักศึกษาก็ไปตัดสินใจเองนีคือ...ธรรมศาสตร์"
อาจารย์สุรพลเว้นวรรคเรื่องของประชาธิปไตยการเรียนการสอน มาเท้าความถึงมติสภามหาวิทยาลัยว่า
สภามหาวิทยาลัยมีมติเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2548 ให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกชั้นปีเรียนที่ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี ตลอดทั้ง 4 ชั้นปีซึ่งแนวคิดนี้มีมาตั้งแต่สมัย ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นอธิการบดี
เพราะเห็นว่าพื้นที่บริเวณท่าพระจันทร์ไม่สามารถขยายออกไปได้อีก  ที่ดินที่ท่าพระจันทร์มีเพียง 49 ไร่ ทำให้การขยายตัวลำบาก
ทั้งในแง่การเปิดคณะใหม่ และการรับนักศึกษาเพิ่ม และมีความแออัดสูง ในขณะนั้นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีที่ดินอยู่หนึ่งแปลงที่ อ.บางชัน
ตอนนี้เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสหกรรมบางชัน จึงแลกเปลี่ยนที่ดินกับกระทรวงอุตสหากรรมซึ่งมีที่ดินอยู่ที่รังสิต"
อาจารย์ป๋วยคิดว่าพื้นที่ทางภาคเหนือของกรุงเทพฯน่าจะมีทิศทางการเจริญเติบโตได้มากกว่า ธรรมศาสตร์จึงฟื้นที่ตรงนี้มา
ระยะหลังแนวทางการขยายตัวของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เริ่มชัดเจนขึ้น จึงมีการซื้อและเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้นจนปัจจุบันนี้มีประมาณ 2,800 ไร่
ติดกับถนนพหลโยธิน ส่วนหนึ่งประมาณ 1,000 ไร่ แบ่งให้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) เช่า"
ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของธรรมศาสตร์เดินต่อไป เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา
อาจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร อดีตอธิการบดี ต้องการให้ฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยเข้มแข็ง จึงให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ใช้พื้นที่ประมาณ 100 ไร่ เพื่อให้สร้างอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ทั้งหมดเป็นพื้นที่ผืนเดียวกันตลอด
บวกลบแล้วธรรมศาสตร์เหลือพื้นที่อีกประมาณ 1,700 ไร่ ที่มหาวิทยาลัยใช้อยู่ เมื่อการก่อสร้างศูนย์รังสิตเป็นรูปเป็นร่างในปี 2529  การเรียนการสอนของนักศึกษาชั้นปี 1 ก็เริ่มขึ้น โดยปี 1
ทั้งหมดเรียนที่ศูนย์รังสิต พอขึ้นปี 2 กลับไปเรียนที่ท่าพระจันทร์ช่วงแรกๆ นั้น มีคณะเปิดใหม่เพียงคณะเดียวคือ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งมาตั้งฐานที่นี่
กระทั่งปี 2546 ก็ได้ให้นักศึกษาปี 2 ไปเรียนที่ศูนย์รังสิต เพิ่มจากชั้นปี 1 พอขึ้นปี 3-ปี 4 ให้กลับไปเรียนที่ท่าพระจันทร์
ขณะเดียวกันที่ศูนย์รังสิตคณะต่างๆ เริ่มขยายตัวมากขึ้น มีจำนวนถึง 10 คณะ ยังคงเหลืออยู่ที่ท่าพระจันทร์ 8 คณะ
กระทั่งปัจจุบันแต่ละคณะได้ขยับขยายย้ายไปที่ศูนย์รังสิตกันหมดแล้ว ซึ่งชุมชนก็เป็นชุมชนขนาดใหญ่มากขึ้น
ถึงวันนี้ อาจารย์สุรพลบอกว่า มธ.ศูนย์รังสิต มีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งการบริการ สภาพแวดล้อมที่เวลานี้ต้นไม้เริ่มแตกยอดออกใบให้ความร่มรื่นกว่าเก่าและมีการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นทุกปี
ธรรมศาสตร์แห่งใหม่ได้สร้างอาคารเรียนรวมขนาดใหญ่ เป็นอาคารเรียนรวมของกลุ่ม "สังคมศาสตร์" ที่รองรับ 8 คณะ จากท่าพระจันทร์ มีพื้นที่ 80 ไร่
เพื่อให้แต่ละคณะมีอาคารเรียนของตัวเอง "ในปี 2551 ที่ท่าพระจันทร์จะไม่มีนักศึกษาปริญญาตรีอีกแล้ว นอกจากนักศึกษาปริญญาตรีหลักสูตรที่ตั้งฐานที่ท่าพระจันทร์โดยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัย เช่น หลักสูตรนานาชาติบางหลักสูตร
อย่างหลักสูตร บีบีเอ ของคณะพาณิชยศาสตร์ บริหารธุรกิจ
เศรษฐศาสตร์ภาษาอังกฤษ
หลักสูตร บีเอเอส หลักสูตรปริญญาตรีควบโท ของคณะพาณิชยศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ เรียน 5 ปี จบปริญญาโท ซึ่งจะเปิดในปี 2550 เหล่านี้คือข้อยกเว้น
ท่าพระจันทร์จะเป็นศูนย์การเรียนปริญญาโทและปริญญาเอกและการบริการสังคม"ส่วนหอพักนักศึกษา อธิการบดีการันตีไม่ต้องห่วง เพราะมีหอพักเพิ่ม สามารถรองรับนักศึกษาได้ประมาณ 12,000 คน จากจำนวนนักศึกษาธรรมศาสตร์ที่มีมากกว่านั้นประมาณ 24,000 คน
แต่ก็ไม่ใช่นักศึกษาทุกคนที่จะอยู่หอพัก ธรรมศาสตร์เพิ่งจะเซ็นสัญญาให้บริษัทไอเอ็นจี ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมไอเอ็นจีใช้ที่ดินฝั่งตรงข้ามมหาวิทยาลัยที่จะสร้างหอพักเพิ่มอีก 5,000 เตียง ในปีหน้าจะสามารถรับนักศึกษาได้ทั้งหมด 17,000 คน
ซึ่งทางมหาวิทยาลัยแน่ใจว่าเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา
นอกจากนี้ มธ.มีห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทย เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่และมีระบบการยืม-คืนหนังสืออัตโนมัติ
มีสื่อมัลติมีเดียครบถ้วนไว้บริการ และยังมีสนามกีฬาในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เล่นกีฬาด้วย
"ผมเชื่อว่า มธ.เป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย คือมีคณะสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งไม่ได้ด้อยกว่าใคร"

วันที่ 15 ธันวาคม หากอยากสัมผัสธรรมศาสตร์แห่งใหม่ ผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา มธ. เชิญชวนร่วมงาน "ธรรมศาสตร์ Open House 2006 เปิดบ้านแม่โดมศูนย์รังสิต"
นอกจากงานดังกล่าวแล้ว ยังมี "ธรรมศาสตร์บุ๊คเฟสติวัล" ที่โรงยิมเนเซียม 1 หน้ามหาวิทยาลัย ซึ่งอธิการบดีสุรพลรับประกันว่าจะมีหนังสือมากกว่า 2 ล้านเล่ม ขายในราคาถูก จากสำนักพิมพ์มากมาย
เป็นการเปิดตลาดหนังสือทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ "ธรรมศาสตร์บุ๊คเฟสติวัล" จะจัดขึ้นในวันที่ 15-24 ธันวาคม เปิดตั้งแต่ 10.00-21.00 น. และจะจัดเป็นประจำทุกปี มีกิจกรรมพบนักเขียน เชลล์ชวนชิม และอื่นๆ อีกมากมายถือเป็นงานใหญ่ที่ไม่ควรพลาด

อยากรู้ อยากเห็นภาพ และความเป็นจริง ทั้งจิตวิญญาณ และความเจริญก้าวหน้า ทันสมัย ต้องไปพิสูจน์ด้วยตัวเอง

Charnvit Kasetsiri, Ph.D.
Senior Adviser and Lecturer Southeast Asian Studies Program
Thammasat University Bangkok 10200, Thailand
Secretary>>Social Sciences and Humanities Textbook Foundation
413/38 Arun-Amarin Road Bangkok 10700, Thailand
handphone 089-476-0505>>e-mail: charnvitkasetsiri@yahoo.com;
h-pages: http://textbooksproject.com/HOME.html,
http://www.tu.ac.th/org/arts/seas; 662-424-5768, fax. 662-433-8713
Alphonse
โพสต์: 1792
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ส.ค. 23, 2006 10:45 pm
ที่อยู่: Thailand

อาทิตย์ ม.ค. 07, 2007 5:05 am

>From: "ISARES VONGSUTIROJ" >
To: sialy_tu@hotmail.com, snooker_virus@hotmail.com, >beatles_bass_mccartney@hotmail.com>Subject:
RE: FW: Fwd: Goodbye Thammasat>Date: Sat, 06 Jan 2007 09:39:17 -0900

ศูนย์รังสิตอาจมีอิสระมากกว่า เพราะมีพื้นที่กว้างกว่า
>ลูกชิ้นหัวกระแทกพานรัฐธรรมนูญรึป่าว อิสระหรือไม่อิสระ ขึ้นอยู่กับใจคนอยู่
>ต่อให้รังสิตขนาดเท่ากรุงเทพ แต่ใจคนอยู่มันไม่ชอบ มันก็ไม่มีอิสระ
>>นักศึกษายังร่วมกันทำกิจกรรมทางการเมือง เขียนป้ายด่ารัฐบาล
>ใช่เขียนป้ายด่าอยู่ ว่าแต่จะเขียนให้สุนัขที่ไหนดู ถ้าอยู่รังสิต
>ให้นักศึกษาที่วันๆเรียนก้ไม่ค่อยจะไปมานั่งอ่านงั้นเหรอ
>>ไม่มีใครบังคับให้ใครทำอะไรทุกคนต้องรับผิดชอบตัวเอง
>ไม่มีใครบังคับยอมรับว่าดี ทุกคนต้องรับผิดชอบตัวเองยอมรับว่าดี
>แล้วที่ท่าพระจันทร์มันบังคับนักหรือไง อีกอย่างปัจจัยแวดล้อมรังสิต
>มันทำให้เละเทะ มากกว่าที่จะรับผิดชอบ
>>การเรียนการสอน อาจารย์จะไม่บังคับนักศึกษา
>ทำได้มากที่สุดก็แค่ให้คำแนะนำเท่านั้น จากนั้นนักศึกษาก็ไปตัดสินใจเอง
>นี่คือ...ธรรมศาสตร์
>นักศึกษาปริญญาตรีอยากเรียนท่าพระจันทร์บ้างทำไมไม่ให้เค้าเรียนล่ะ นี่เหรอ
>ธรรมศาสตร์ของคุณ
>>เป้าหมายของ มธ.คือไปสู่การวิจัย ซึ่งจะเพิ่มหลักสูตรของปริญญาโท-เอก อีกปีละ
>10 หลักสูตร ด๊อกเตอร์เต็มเมืองแต่บ้านเมืองย่ำอยู่กับที่
>เพราะมันมีแต่ด๊อกใส่ครุยปริญญาด๊อกเตอร์
>>ผู้บริหาร นักศึกษากับมหาวิทยาลัยใกล้ชิดกันมาก พูดคุยถกเถียงกันได้
>งั้นช่วยอธิบายพฤติกรรมของอาจารย์ปริญญาหน่อยสิ
>ที่แสดงออกอย่างหัวเสียใส่นักศึกษา
>เมื่อนักศึกษาบางส่วนบอกว่าเห็นด้วยกับการรัฐประหาร
>แล้วอธิการบดีเคยตอบคำถามมั้ยเรื่องที่เค้าด่าว่า อธิการบดีรับใช้เผด็จการ
>อีกประการหนึ่งอาจารย์กับนักศึกษาของคณะสังคมศาสตร์ ไม่ค่อยได้เจอหน้ากัน
>ไม่ใช่เพราะไม่ใส่ใจ แต่เพราะการมี 2 ศูนย์มันเป็นอุปสรรคทางการศึกษา
>จะพูดได้อย่างไรว่า ใกล้ชิด
>>ถึงวันนี้ อาจารย์สุรพลบอกว่า มธ.ศูนย์รังสิต มีความพร้อมในทุกด้าน
>ทั้งการบริการ
>สภาพแวดล้อมที่เวลานี้ต้นไม้เริ่มแตกยอดออกใบให้ความร่มรื่นกว่าเก่า
>ระบบพร้อมแต่คนห่วย คนในระบบไม่มีจิตใจของการบริการ
>ที่ว่าพร้อมทุกด้านมีแต่วัตถุสิ่งก่อสร้างแต่ระบบดำเนินการ ไม่พร้อม
>>นอกจากนี้ มธ.มีห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทย
>เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่และมีระบบการยืม-คืนหนังสืออัตโนมัติ
>ดีที่สุดในประเทศไทยงั้นหรือ
>ผมไม่เคยหาหนังสือที่ตรงตามความต้องการของผมได้เลยซักครั้งเดียวจากหอสมุดป๋วย
>และระบบส่งข้ามแคมปัส ก็ได้มั่งไม่ได้มั่ง นี่หรือ ความดีที่สุดของคุณ
>>ผมเชื่อว่า มธ.เป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย
>คือมีคณะสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
>และคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งไม่ได้ด้อยกว่าใคร
>สมบูรณ์แบบเพราะมีคณะครบทุกสายวิชา แต่คุณภาพหลายคณะยังห่างจากมหิดล
>จุฬาลงกรณ์ เกษตรศาสตร์หลายขุมนัก อีกทั้งคุณภาพของนักศึกษาก็ตกต่ำลง
>เพราะมหาวิทยาลัยหย่อนประสิทธิภาพในการจัดการควบคุมปัจจัยแวดล้อมตะหาก
>คุณจะอธิบายเรื่องร้านเหล้าอย่างไร เมื่อมันยังเปิดท้าทายคุณจนบัดนี้
>>ขอให้ผู้ที่รักธรรมศาสตร์ทุกท่านโปรดส่งไปยัง
>ผู้ที่หลงใหลชื่นชมในความพร้อมเพียงด้านเดียวของรังสิต
>ให้ได้รู้ความจริงทุกด้าน

................................................................................................
พี่คิดยังไงกับบทความทั้งสองครับ
ต้องการแนวคิดของพี่ศิษย์เก่า พี่ๆ ต่างสถาบันก็ได้นะครับ
ปล.บอโทษด้วยนะครับที่นอกจุดประสงค์ของกระดานสนทนา
ถ้าผิดกติกาสามารถแจ้งให้ลบกระทู้ได้ครับ ขอบคุณครับ
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

อาทิตย์ ม.ค. 07, 2007 6:49 am

จะทิ้งให้แสดงความคิดเห็น สัก 2-3 วันแล้วจะย้าย หรือลบ ภายหลังค่ะ  :cheesy:
Alphonse
โพสต์: 1792
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ส.ค. 23, 2006 10:45 pm
ที่อยู่: Thailand

อาทิตย์ ม.ค. 07, 2007 7:21 am

Prod Pran เขียน:
จะทิ้งให้แสดงความคิดเห็น สัก 2-3 วันแล้วจะย้าย หรือลบ ภายหลังค่ะ  :cheesy:
ขอบคุณครับ พี่ ๆ รีบ ๆ เข้ามาแสดงความเห็นหน่อยนะครับ
warlock
โพสต์: 642
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ พ.ค. 20, 2006 3:37 am

อาทิตย์ ม.ค. 07, 2007 8:49 pm

ตัวอ่อนของแมลง จะถูกธรรมชาติบังคับให้อยู่ใต้ดินหรือในน้ำ จวบจนวันเวลาผ่านไป ก็จะโผล่ขึ้นมาเพื่อเป็นดักแด้แล้วฟักตัวออกจากเปลือกโผบินไปที่อื่นได้ตามใจต้องการ........เฉกเช่นเดียวกัน ผมไมเคยเห็นนักศึกษาสมัยไหนปฏิวัติผู้บริหารสำเร็จ เต็มที่ก็แค่ยืดระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงออกไป ให้ต่อสู้ดิ้นรนอย่างสุดท้ายเมื่อถึงเวลาที่ดักแด้ต้องออกจากเปลือก(จบการศึกษา) ก็จะโผบิน(ไปไหนต่อไหน ใครต่อใคร..บ้างก็ไม่รู้นะ) ถามว่าสุดท้ายคืออะไร คุณจะต่อสู้อย่างไร คุณจะหาช่องทางให้ตัวเองกลับมาเป็นผู้บริหารและวางโครงการในอุดมคติ เพื่อว่าเมื่อถึงเวลานั้นก็จะมีนักศึกษาที่ไม่เห็นด้วยมาประท้วงคุณด้วยเรื่องที่มีความเห็นไม่ตรงกับคุณ แล้วนักศึกษาก็จบออกไป โดยที่คุณยังเป็นผู้บริหารต่อ.....(เป็นวังเวียนที่น่าเวทนามาเนิ่นนาน ระหว่าง นศ.และผู้บริหาร) ถ้าจะให้ดีต้องเอาใจช่วยให้แกนนำที่มีความคิดตรงข้ามกับผู้บริหาร เรียนจบกลับมาเป็นผู้บริหารสถาบันเดิมให้ได้ แล้ววางโครงการในอุดมคติของตัวเอง เมื่อถึงเวลานั้น เรามาดูกันว่า จะมีนศ.รุ่นใหม่มาประท้วงจน นศ.จบออกไป แล้วเค้าเหล่านั้นยังเป็นผู้บริหารต่อ...เรื่องเดียวกันเลย หนังฉายซ้ำ  เราไม่ได้สวมบทบาทเค้า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เค้าที่เราคิดทำ ผิดถูกหรือไม่อย่างไร  ไม่ได้เข้าข้างทั้งผู้บริหารและนักศึกษา อันนี้เพราะต่อสู้มาเยอะ เจ็บช้ำมาเยอะ ประท้วงมาเยอะ......สุดท้ายแล้วยังไง  อย่าบอกนะว่าจบแล้วจะตามไปประท้วงโครงการเค้าต่อ  ::011:: ::011:: ::011::  อันนี้เฉพาะรั้วโรงเรียนนะ.....ถ้าข้างนอกนั่นยิ่งแล้วไปใหญ่ ไม่เห็นหัวกันเลย พฤษภาทมิฬ ม็อบปากมูล และอีกหลายๆม็อบ หวิดเน่ากหลายครั้ง ท้ายที่สุดก็ต้องเลือกยุติเพราะกลัวพ่อแม่เสียใจเนื่องจากมีลูกชายคนเดียว(เดี๋ยวจะไม่มีผู้สืบสกุล)เลยหาทางออกอื่นโดยการ ออกค่ายอาสาฯ  สร้าง อาคาร สร้างโรงเรียน เอาอาหารไปแจกจ่าย ไปทำประโยชน์ทางอื่น.... ไม่รู้นะ อาจจะเหมือนคนใจดำ แต่ท้ายที่สุดบอกได้เลยว่า เราทำอะไรผู้บริหารไม่ได้........................ ::008:: ::008:: ::008:: ::008:: 
ภาพประจำตัวสมาชิก
Champkun
โพสต์: 570
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ม.ค. 20, 2005 10:35 pm
ที่อยู่: Bkk
ติดต่อ:

อาทิตย์ ม.ค. 07, 2007 11:49 pm

เหลืองของเราคือธรรมประจำจิต แดงของเราคือโลหิตอุทิศให้
ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน

คติคู่ใจเด็ก มธ. แต่ไม่รู้ว่าจะมีกี่คนที่เข้าใจ

อยู่ที่ไหน แต่ถ้าเรายังมีจิตวิญญาณแห่งธรรมศาสตร์ เราก็ยังสามารถทำงานรับใช้สังคม รับใช้ประชาชนได้
ใช่ว่าอยู่รังสิตแล้วจิตวิญญาณจะเสื่อมไป หากแต่คนที่มุ่งหวังแต่การเมือง จนเอาเรื่องนี้มาเป็นเหตุต่างหาก
ผมเรียนรังสิตมา ก็ใช่ว่าจะเสื่อมรักในประชาชน หรือเสื่อมในจิตวิญญาณแห่ง มธก.

ไม่เข้าใจว่าแค่ย้าย ป.ตรีมารังสิตนี่มันเสียหายขนาดนั้นเลยเหรอ
จอมนางกระบี่เดี่ยว
โพสต์: 1159
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ มิ.ย. 13, 2005 2:03 pm

จันทร์ ม.ค. 08, 2007 10:22 am

ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน

ประโยคนี้ ไม่บอกสักนิดว่า ต้องธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ หรือรังสิต  ประชาชนในที่นี้ ไม่ได้ถูกแบ่งว่าต้องเป็นประชาชน ท่าพระจันทร์ หรือรังสิตเท่านั้น นี่คือ จิตวิญญาณ แท้จริง  ธรรมศาสตร์นั้นสอนให้เรายืนอยู่เคียงข้างประชาชน  โดยเฉพาะคนด้อยโอกาส คนที่ยังไม่รู้จักสิทธิของตัวเอง คนที่เข้าไม่ถึงทรัพยากร หรือถูกแยกชิงอย่างไม่เป็นธรรม  ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะที่ท่าพระจันทร์เท่านั้น 

จริงอยู่ ว่าท่าพระจันทร์ เป็นแหล่งเพาะเชื้อจิตวิญาณได้อย่างดี  ด้วยสภาพแวดล้อมและประวัติศาสตร์อันน่าประทับใจ ที่ปรากฏให้เห็นและบอกเล่าเรื่องราวได้ทั้งในรูปแบบที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต แต่จิตวิญาณอันนี้ ต้องถูกจำกัดด้วยสถานที่หรือ เป็นโอกาสของชาวธรรมศาสตร์มิใช่หรือที่จะพิสูจน์ให้คนไทยเห็นว่า จิตวิญาณรักประชาชน นี้ มีอยู่จริง และดำรงอยู่ทุกกาลสมัยภายใต้ร่มเหลืองแดง  เพราฉะนั้นอย่างปล่อยให้มันตายไป

การต่อสู้ ของชาวธรรมศาสตร์ จึงไม่ควรหยุดแค่เรื่องของสถานที่ และประวัติศาสตร์ หากแต่ต้องพูดถึงปัจจุบันและอนาคต นักศึกษาควรให้ความสำคัญกับนโยบายด้านบริการหรือช่วยเหลือของสังคม ของมหาวิทยาลัย  ซึ่งเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยต้องให้ความสำคัญไม่น้อยกว่าการขายวิชา จริง ๆ ควรจะต้องมากกว่าด้วยซ้ำ  นี่ก็คือหน้าที่ซึ่งนักศึกษาควรให้ความสนใจตรวจสอบดู หาไม่แล้ว คำว่าจิตวิญาณรักประชาชน ก็จะกลายเป็นแค่คำพูดเลื่อน ๆลอย ๆ เอาไว้หลอกล่อให้เพื่อนนักศึกษารุ่นใหม่ ได้ใฝ่ฝันถึง และยัดเยียดให้มีแต่นักศึกษาเท่านั้นที่พูดถึง

อย่าปล่อยให้จิตวิญญาณ ถูกจำกัดอยู่บางสถานที่ หรือคนบางกลุ่ม หรือบางเวลา  แต่ภายใต้ร่มเหลืองแดง จิตวิญาณนี้ ควรจะดำรงอยู่  ไม่ว่า ท่าพระจันทร์ รังสิต หรือลำปาง

ตั้งเป้าต่อสู้ ให้ถูก เรากำลังต่อสู้เพื่ออะไร อะไร คือเป้าหมายที่แท้ ถ้าเราต่อสู้เพียงแค่ผลประโยชน์ เฉพาะบางกลุ่ม ลองทบทวนดูว่า นั่นคือ จิตวิญาณหรือเปล่า 


พี่อาจจะไมได้บทความทั้งหมด เพราะมันยาว และรู้สึกว่า มันควรจะหยุดพูดเรื่องการย้ายได้แล้ว เพราะว่ามันได้มีการย้ายไปแล้ว ประเด็นที่สำคัญ คือ นโยบายตลาดวิชา ที่ไม่ควรจะมีมากกว่า การบริการสังคม 
ภาพประจำตัวสมาชิก
NKL
โพสต์: 189
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ธ.ค. 01, 2005 7:32 pm
ติดต่อ:

จันทร์ ม.ค. 08, 2007 5:49 pm

warlock เขียน: ตัวอ่อนของแมลง จะถูกธรรมชาติบังคับให้อยู่ใต้ดินหรือในน้ำ จวบจนวันเวลาผ่านไป ก็จะโผล่ขึ้นมาเพื่อเป็นดักแด้แล้วฟักตัวออกจากเปลือกโผบินไปที่อื่นได้ตามใจต้องการ........เฉกเช่นเดียวกัน ผมไมเคยเห็นนักศึกษาสมัยไหนปฏิวัติผู้บริหารสำเร็จ เต็มที่ก็แค่ยืดระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงออกไป ให้ต่อสู้ดิ้นรนอย่างสุดท้ายเมื่อถึงเวลาที่ดักแด้ต้องออกจากเปลือก(จบการศึกษา) ก็จะโผบิน(ไปไหนต่อไหน ใครต่อใคร..บ้างก็ไม่รู้นะ) ถามว่าสุดท้ายคืออะไร คุณจะต่อสู้อย่างไร คุณจะหาช่องทางให้ตัวเองกลับมาเป็นผู้บริหารและวางโครงการในอุดมคติ เพื่อว่าเมื่อถึงเวลานั้นก็จะมีนักศึกษาที่ไม่เห็นด้วยมาประท้วงคุณด้วยเรื่องที่มีความเห็นไม่ตรงกับคุณ แล้วนักศึกษาก็จบออกไป โดยที่คุณยังเป็นผู้บริหารต่อ.....(เป็นวังเวียนที่น่าเวทนามาเนิ่นนาน ระหว่าง นศ.และผู้บริหาร) ถ้าจะให้ดีต้องเอาใจช่วยให้แกนนำที่มีความคิดตรงข้ามกับผู้บริหาร เรียนจบกลับมาเป็นผู้บริหารสถาบันเดิมให้ได้ แล้ววางโครงการในอุดมคติของตัวเอง เมื่อถึงเวลานั้น เรามาดูกันว่า จะมีนศ.รุ่นใหม่มาประท้วงจน นศ.จบออกไป แล้วเค้าเหล่านั้นยังเป็นผู้บริหารต่อ...เรื่องเดียวกันเลย หนังฉายซ้ำ  เราไม่ได้สวมบทบาทเค้า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เค้าที่เราคิดทำ ผิดถูกหรือไม่อย่างไร  ไม่ได้เข้าข้างทั้งผู้บริหารและนักศึกษา อันนี้เพราะต่อสู้มาเยอะ เจ็บช้ำมาเยอะ ประท้วงมาเยอะ......สุดท้ายแล้วยังไง  อย่าบอกนะว่าจบแล้วจะตามไปประท้วงโครงการเค้าต่อ  ::011:: ::011:: ::011::  อันนี้เฉพาะรั้วโรงเรียนนะ.....ถ้าข้างนอกนั่นยิ่งแล้วไปใหญ่ ไม่เห็นหัวกันเลย พฤษภาทมิฬ ม็อบปากมูล และอีกหลายๆม็อบ หวิดเน่ากหลายครั้ง ท้ายที่สุดก็ต้องเลือกยุติเพราะกลัวพ่อแม่เสียใจเนื่องจากมีลูกชายคนเดียว(เดี๋ยวจะไม่มีผู้สืบสกุล)เลยหาทางออกอื่นโดยการ ออกค่ายอาสาฯ  สร้าง อาคาร สร้างโรงเรียน เอาอาหารไปแจกจ่าย ไปทำประโยชน์ทางอื่น.... ไม่รู้นะ อาจจะเหมือนคนใจดำ แต่ท้ายที่สุดบอกได้เลยว่า เราทำอะไรผู้บริหารไม่ได้........................ ::008:: ::008:: ::008:: ::008::   
มันต้องได้สิ ปฏิวัติ!
ScapeGoat
โพสต์: 36
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ม.ค. 21, 2007 9:21 am

จันทร์ ม.ค. 22, 2007 11:27 am

ธรรมศาสตร์อยู่ที่่ไหน คงไม่ใช่ประเด็นการทำให้จิติัญญาณความเป็นลูกแม่โดมหายไป แต่มันกลายเป็นว่าสิ่งที่ีรั้วแม่โดมเคยสอนสั่ง สั่งสมถูกลืมไปกับสภาพสังคมและการเปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่า สภาพภายนอกจะไม่สำคัญเท่ากับจิตภายใน แต่นโยบาย การปลูกฝังและบรรยากาศล้วนมีส่วนสนับสนุนความรู้สึกแห่งการเป็นลูกแม่โดม อยากเห็นแม่โดมรังสิต ยังเข้มข้นทางวิชาการ จิตสำนึกต่อสังคม คุณธรรม และอุดมการณ์อย่างที่เคยเป็นที่ท่าพระจันทร์ ปัญญาชนติดดิน คนเก่งกล้าวิชาการ และรู้ สังคม คนมุ่งมั่น และมีจุดยืน ปัจจุบันน่าเสียดายที่โดมรังสิตไม่ถ่ายทอดจิตวัญญาณนั้นเหมือนเราเคยสัมผัสยามอยู่ท่าพระจันทร์ แม้สิ่งเล็กๆน้อย อย่างยูงทองต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยก็ไมมีให้่เห็น  น้องๆ หลานๆไม่รู้ด้วยซ้ำว่าบทกลอนแห่งอุดมการณ์ที่เคยถ่ายทอดส่งมอบรุ่นต่อรุ่นที่ท่าพระจันทร์เป็นอย่างไร และมันบอกอะไรกับเราบ้าง มันจุดประกายความคิด ความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะส่วนหนึ่งของชุมชน ของสังคมที่เราอยู่เป็นอย่างไร
ทำอย่างไร ให้มหาวิทยาลัยแหล่งที่ให้ความรู้ และสอนความเป็นคนอันมีค่าให้สมกับคำว่าบัณฑิต ปัญญาชนที่เราภาคภูมิใจ  ทำอย่างไรให้เรารับมือความเปลี่ยนแปลง รู้เท่าทัน แต่อย่าให้มันกลืนกินความเป็นตัวตนของเรา ขอให้ที่แห่งนี้ไม่ว่าจะท่าพระจันทร์ หรือโดมรังสิต เข้มข้นเหมือนเดิมทั้งวิชาการ ความรู้ และความเป็นคน อย่าให้ยุคสมัย ที่การศึกษากลายเป็นการค้ามาทำให้้เราต้องกลายเป็นหนึ่งในนั้น  อย่าให้เราเร่งแต่สร้างสถานศึกษาที่ขยายไปตามแหล่งนั้นแหล่งนี้ แต่ขาดความเป็นหนึ่งเดียวกัน การเปิดโอกาสทางการศึกษาเป็นสิ่งดี หากโอกาสเหล่านั้นสร้างคนดี คนเก่ง และยังคงคุณค่ารั้วเหลืองแดงผ่านยุคผ่านสมัย แม่โดมภูมิใจจากสิ่งที่ให้กับลูกหลานโดม ในเรื่องความรู้ วิชาการ ความคิด ยืนหยัดความถูกต้อง เต็มไปด้วยอุดมการณ์ สร้างคนคุณภาพและหล่อหลอมคนเหล่านั้นให้เป็นเมล็ดพันธุ์ที่่มีค่าของสังคม อยากเห็็นแม่โดมอย่างที่เคยเป็น
warlock
โพสต์: 642
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ พ.ค. 20, 2006 3:37 am

จันทร์ ม.ค. 22, 2007 4:48 pm

NKL เขียน:
warlock เขียน: ตัวอ่อนของแมลง จะถูกธรรมชาติบังคับให้อยู่ใต้ดินหรือในน้ำ จวบจนวันเวลาผ่านไป ก็จะโผล่ขึ้นมาเพื่อเป็นดักแด้แล้วฟักตัวออกจากเปลือกโผบินไปที่อื่นได้ตามใจต้องการ........เฉกเช่นเดียวกัน ผมไมเคยเห็นนักศึกษาสมัยไหนปฏิวัติผู้บริหารสำเร็จ เต็มที่ก็แค่ยืดระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงออกไป ให้ต่อสู้ดิ้นรนอย่างสุดท้ายเมื่อถึงเวลาที่ดักแด้ต้องออกจากเปลือก(จบการศึกษา) ก็จะโผบิน(ไปไหนต่อไหน ใครต่อใคร..บ้างก็ไม่รู้นะ) ถามว่าสุดท้ายคืออะไร คุณจะต่อสู้อย่างไร คุณจะหาช่องทางให้ตัวเองกลับมาเป็นผู้บริหารและวางโครงการในอุดมคติ เพื่อว่าเมื่อถึงเวลานั้นก็จะมีนักศึกษาที่ไม่เห็นด้วยมาประท้วงคุณด้วยเรื่องที่มีความเห็นไม่ตรงกับคุณ แล้วนักศึกษาก็จบออกไป โดยที่คุณยังเป็นผู้บริหารต่อ.....(เป็นวังเวียนที่น่าเวทนามาเนิ่นนาน ระหว่าง นศ.และผู้บริหาร) ถ้าจะให้ดีต้องเอาใจช่วยให้แกนนำที่มีความคิดตรงข้ามกับผู้บริหาร เรียนจบกลับมาเป็นผู้บริหารสถาบันเดิมให้ได้ แล้ววางโครงการในอุดมคติของตัวเอง เมื่อถึงเวลานั้น เรามาดูกันว่า จะมีนศ.รุ่นใหม่มาประท้วงจน นศ.จบออกไป แล้วเค้าเหล่านั้นยังเป็นผู้บริหารต่อ...เรื่องเดียวกันเลย หนังฉายซ้ำ  เราไม่ได้สวมบทบาทเค้า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เค้าที่เราคิดทำ ผิดถูกหรือไม่อย่างไร  ไม่ได้เข้าข้างทั้งผู้บริหารและนักศึกษา อันนี้เพราะต่อสู้มาเยอะ เจ็บช้ำมาเยอะ ประท้วงมาเยอะ......สุดท้ายแล้วยังไง  อย่าบอกนะว่าจบแล้วจะตามไปประท้วงโครงการเค้าต่อ  ::011:: ::011:: ::011::  อันนี้เฉพาะรั้วโรงเรียนนะ.....ถ้าข้างนอกนั่นยิ่งแล้วไปใหญ่ ไม่เห็นหัวกันเลย พฤษภาทมิฬ ม็อบปากมูล และอีกหลายๆม็อบ หวิดเน่ากหลายครั้ง ท้ายที่สุดก็ต้องเลือกยุติเพราะกลัวพ่อแม่เสียใจเนื่องจากมีลูกชายคนเดียว(เดี๋ยวจะไม่มีผู้สืบสกุล)เลยหาทางออกอื่นโดยการ ออกค่ายอาสาฯ  สร้าง อาคาร สร้างโรงเรียน เอาอาหารไปแจกจ่าย ไปทำประโยชน์ทางอื่น.... ไม่รู้นะ อาจจะเหมือนคนใจดำ แต่ท้ายที่สุดบอกได้เลยว่า เราทำอะไรผู้บริหารไม่ได้........................ ::008:: ::008:: ::008:: ::008::   
มันต้องได้สิ ปฏิวัติ!
      เชิญญญญญญญญญญญญญญญญ  โลดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด  ::011:: ::011:: ::011:: ::011:: ::011::
amour

อาทิตย์ ก.พ. 04, 2007 8:13 pm

ธรรมศาสตร์จงเจริญ.... เด็กแอดอย่างผม ไม่เกี่ยง ยังไงขอให้ธรรมศาสตร์ไม่เก็บค่าเทอมแพง ไม่กีดกัน และอยู่เคียงข้างประชาชนก็พอแล้ว....

สาธุพระเจ้าข้า.... ขอให้ติดเถิด (ศศ.) มธ.ที่รัก ฉันจะไปหาเธอ....

ขอพระเจ้าอวยพรครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
NKL
โพสต์: 189
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ธ.ค. 01, 2005 7:32 pm
ติดต่อ:

อาทิตย์ ก.พ. 04, 2007 9:35 pm

ถึงตอนนี้จะติด มศว

แต่ผมก็ยังคงรู้สึกยึดมั่นในอุดมการณ์การต่อสู้เพื่อความเสมอภาค และ ความเป้นธรรม เพื่อประชาชน ในยุค14ตุลา ของ มธ. อยู่ นะครับ

สรุปคือ มีเลือดของ มธ. อยู่ครึ่งตัว
ตอบกลับโพส