บาปไหมค่ะ

ใครมาใหม่เชิญทางนี้ก่อน ทักทาย ทดลองโพส
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
LL
โพสต์: 9
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. เม.ย. 22, 2010 1:39 am

พฤหัสฯ. เม.ย. 22, 2010 1:44 am

นับถือศาสนาคริสต์เชื่อเรื่องเวรกรรม บาปไหมค่ะ  : emo036 :
แก้ไขล่าสุดโดย LL เมื่อ พฤหัสฯ. เม.ย. 22, 2010 1:52 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

พฤหัสฯ. เม.ย. 22, 2010 1:57 am

เรามีสอน เรื่องบาป และ เรื่องเวรกรรม

แต่เรามีมุมมองความเชื่อในเรื่องทั้งสองไม่เหมือนในศาสนาพุทธครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
LL
โพสต์: 9
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. เม.ย. 22, 2010 1:39 am

พฤหัสฯ. เม.ย. 22, 2010 1:59 am

Holy เขียน: เรามีสอน เรื่องบาป และ เรื่องเวรกรรม

แต่เรามีมุมมองความเชื่อในเรื่องทั้งสองไม่เหมือนในศาสนาพุทธครับ
แล้วศาสนาคริสต์มีมุมมองยังไงบ้างคะ ต่างจากศาสนาพุทธตรงไหน
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

พฤหัสฯ. เม.ย. 22, 2010 2:05 am

1.) บาปคืออะไร?    ถ้าตอบตามคำนิยามของชาวคริสต์คือ การตัดความสัมพันธ์กับพระเจ้า ไม่เชื่อพระเจ้า ไม่ยอมรับพระเจ้า ไม่ยอมรับความดีของพระองค์ ไม่ยอมรับบัญญัติของพระองค์ มองจากจุดนี้บาปจะเน้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเจ้า
แต่บาปก็มองจาก การผิดต่อบัญญัติได้ด้วยเช่นกัน คนที่ละเมิดบัญญัติต่างๆของพระก็ถือว่าทำบาป นอกนั้นบาปยังเกี่ยวข้องกับมนุษย์ด้วย คือ บาปหมายถึงทำลายหรือทำร้ายมนุษย์ด้วยกันในรูปแบบต่างๆมากมาย แต่สรุปแล้วบาปคือความชั่วร้าย ไร้ศีลธรรม เชิดชูความชั่วเหนือความดี บาปเป็นเรื่องของการทำลาย ฯลฯ


2) บาป กับการใช้โทษบาป? คนเราเมื่อทำบาปแล้วจะรู้สึกผิดโดยธรรมชาติ (คนที่มีมโนธรรมเที่ยงตรง) เมื่อรู้สึกผิดแล้วก็พยายามลบเสียงเตือนของมโนธรรมให้หายไป จะทำอย่างไร? คำตอบคือก็ต้องชดใช้ หรือชดเชยความเสียหายนั้น นี้คือที่มาของคำว่าใช้โทษบาป หรือการชดเชยบาปในธรรมเนียมของชาวคริสต์ (ชาวคริสต์เชื่อว่าบาปชดเชยได้ และได้รับการอภัยจากพระเจ้าได้ แต่พี่น้องชาวพุทธไม่ได้คิดอย่างเรา) โดยจริยธรรมที่มีตามธรรมชาติ เมื่อทำผิดและชดใช้ความผิด เสียงของมโนธรรมก็จะสงบลง ชาวคริสต์เมื่อทำบาปแล้วจึงมีการขออภัย พร้อมกับชดเชยบาปในรูปแบบต่างๆ ในประวัติศาสตร์ของคริสตศาสนาได้มีการชดเชยบาปผิดในรูปแบบตั้งแต่พื้นๆไปจน ถึงเคร่งครัด ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของบาปหรือความผิดนั้นๆ และร้ายไปกว่านั้นพระไม่ดีบางคนก็ใช้การชดเชยบาปเพื่อหาผลประโยชน์กับจำเลย ด้วยก็มีเหมือนกัน แต่นั่นก็เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ในยุคมืด ที่สำคัญในเรื่องการชดเชยบาปคือ เมื่อทำผิดก็ต้องชดเชย นี่เป็นหลักจริยธรรมพื้นฐานตามธรรมชาติ เมื่อมีการชดเชย มโนธรรมก็จะสงบ และเพื่อให้การชดเชยบาปอยู่ในร่องรอยของจิตวิญญาณเท่านั้น ไม่เลยเถิดไปสู่ปัญหาอื่น คริสตศาสนาจึงแนะนำให้ชดเชยบาปในรูปแบบของการภาวนา การพลีกรรม การตัดใจ การฝึกจิต ฯลฯ ไม่แนะนำให้มีการชดเชยบาปเป็นเงินหรือวัตถุสิ่งของเพราะมันจะกลายเป็นการติดสินบนพระไป สรุปแล้ว บาปได้รับการอภัยไม่ใช่เพราะจำนวนของกิจใช้โทษบาป แต่ได้รับการอภัยเพราะการเป็นทุกข์เสียใจของคนบาปและเพราะพระเมตตาของพระเจ้า

http://www.newmana.com/yabb/index.php?topic=6365.0
ภาพประจำตัวสมาชิก
LL
โพสต์: 9
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. เม.ย. 22, 2010 1:39 am

พฤหัสฯ. เม.ย. 22, 2010 2:09 am

แล้วถ้าคนคนนั้นทำบาปที่รุนแรง เช่น ฆ่าคน งั้นแค่สวดภาวนาขอโทษ แล้วได้รับการอภัยเป็นการชดเชยบาป มันจะไม่ง่ายไปหรอค่ะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

พฤหัสฯ. เม.ย. 22, 2010 2:11 am

LL เขียน: แล้วถ้าคนคนนั้นทำบาปที่รุนแรง เช่น ฆ่าคน งั้นแค่สวดภาวนาขอโทษ แล้วได้รับการอภัยเป็นการชดเชยบาป มันจะไม่ง่ายไปหรอค่ะ
ขึ้นกับการสำนึกผิด ถ้าสำนึกผิดแล้วต้องการกลับใจอย่างแท้จริง พระเยซูเจ้ามีสิทธิ์อำนาจในการยกบาปได้

ลองอ่านเรื่องนี้ครับ



ลก 15:11-32  เรื่องลูกล้างผลาญและลูกที่คิดว่าตนทำดีแล้ว
พระองค์ยังตรัสอีกว่า ‘ชายผู้หนึ่งมีบุตรสองคน  บุตรคนเล็กพูดกับบิดาว่า  “พ่อครับ โปรดให้ทรัพย์สมบัติส่วนที่เป็นมรดกแก่ลูกเถิด” บิดาก็แบ่งทรัพย์สมบัติให้แก่ลูกทั้งสองคน  ต่อมาไม่นาน บุตรคนเล็กรวบรวมทุกสิ่งที่มีแล้วเดินทางไปยังประเทศห่างไกล ที่นั่นเขาประพฤติเสเพลผลาญเงินทองจนหมดสิ้น  ‘เมื่อเขาหมดตัว  ก็เกิดกันดารอาหารอย่างหนักทั่วแถบนั้น  และเขาเริ่มขัดสน  จึงไปรับจ้างอยู่กับชาวเมืองคนหนึ่ง  คนนั้นใช้เขาไปเลี้ยงหมูในทุ่งนา  เขาอยากกินฝักถั่วที่หมูกินเพื่อระงับความหิว แต่ไม่มีใครให้  เขาจึงรู้สำนึกและคิดว่า “คนรับใช้ของพ่อฉันมีอาหารกินอุดมสมบูรณ์ ส่วนฉันอยู่ที่นี่ หิวจะตายอยู่แล้ว  ฉันจะกลับไปหาพ่อ พูดกับพ่อว่า “พ่อครับ ลูกทำบาปผิดต่อสวรรค์และต่อพ่อ  ลูกไม่สมควรได้ชื่อว่าเป็นลูกของพ่ออีก โปรดนับว่าลูกเป็นผู้รับใช้คนหนึ่งของพ่อเถิด”  เขาก็กลับไปหาบิดา

‘ขณะที่เขายังอยู่ไกล บิดามองเห็นเขา รู้สึกสงสาร จึงวิ่งไปสวมกอดและจูบเขา  บุตรจึงพูดกับบิดาว่า “พ่อครับ ลูกทำบาปผิดต่อสวรรค์และต่อพ่อ ลูกไม่สมควรได้ชื่อว่าเป็นลูกของพ่ออีก”  แต่บิดาพูดกับผู้รับใช้ว่า “เร็วเข้า จงไปนำเสื้อสวยที่สุดมาสวมให้ลูกเรา นำแหวนมาสวมนิ้ว นำรองเท้ามาใส่ให้  จงนำลูกวัวที่ขุนอ้วนแล้วไปฆ่า แล้วกินเลี้ยงฉลองกันเถิด  เพราะลูกของเราผู้นี้ตายไปแล้วกลับมีชีวิตอีก หายไปแล้ว ได้พบกันอีก” แล้วการฉลองก็เริ่มขึ้น  ‘ส่วนบุตรคนโตอยู่ในทุ่งนา เมื่อกลับมาใกล้บ้าน ได้ยินเสียงดนตรีและการร้องรำ  จึงเรียกผู้รับใช้คนหนึ่งมาถามว่าเกิดอะไรขึ้น  ผู้รับใช้บอกเขาว่า “น้องชายของท่านกลับมาแล้ว บิดาสั่งให้ฆ่าลูกวัวที่ขุนอ้วนแล้ว เพราะเขาได้ลูกกลับคืนมาอย่างปลอดภัย”  บุตรคนโตรู้สึกโกรธ ไม่ยอมเข้าไปในบ้าน บิดาจึงออกมาขอร้องให้เข้าไป  แต่เขาตอบบิดาว่า “ลูกรับใช้พ่อมานานหลายปีแล้ว ไม่เคยฝ่าฝืนคำสั่งของพ่อเลย พ่อก็ไม่เคยให้ลูกแพะแม้แต่ตัวเดียวแก่ลูกเพื่อเลี้ยงฉลองกับเพื่อน ๆ  แต่พอลูกคนนี้ของพ่อกลับมา เขาคบหญิงเสเพล ผลาญทรัพย์สมบัติของพ่อจนหมด พ่อยังฆ่าลูกวัวที่ขุนอ้วนแล้วให้เขาด้วย”  ‘บิดาพูดว่า “ลูกเอ๋ย ลูกอยู่กับพ่อเสมอมา ทุกสิ่งที่พ่อมีก็เป็นของลูก  แต่จำเป็นต้องเลี้ยงฉลองและชื่นชมยินดี เพราะน้องชายคนนี้ของลูกตายไปแล้ว กลับมีชีวิตอีก หายไปแล้ว ได้พบกันอีก”’





คริสตศาสนา คือศาสนาแห่งความรัก และความรักก็มีคุณสมบัติของการให้อภัย และการให้โอกาศ ถ้าใครต้องการกลับตัวและกลับใจอย่างแท้จริง พระเจ้าทรงให้โอกาสเขาเสมอครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

พฤหัสฯ. เม.ย. 22, 2010 2:15 am

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ภาค 2 (2543) หน้า 353

ความหมายของศีลอภัยบาป

ความหมายตามคำศัพท์ คำว่า “Penance”  เป็นคำมาจากภาษาลาตินว่า “Paenitentia”  ซึ่ง A.Souter ได้ให้ความหมายว่า เป็นการเสียใจในบาป (regret for sin) ส่วนในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ฉบับภาษากรีกใช้คำว่า “Metanoia” ในความหมายว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงจิตใจของคนๆ หนึ่ง ซึ่งคำในภาษาฮิบรูดั้งเดิม เป็นความหมายที่มีลักษณะเป็นรูปธรรมที่แสดงความหมายของ “การกลับมา” เหมือนคนที่เดินทางผิดเส้นทาง และก็จำเป็นต้องย้อนกลับมา และเมื่อประยุกต์กับความหมายของศีลอภัยบาป  จึงเป็นความคิดว่า เป็นการที่คน ๆ หนึ่งได้หันชีวิตของตนเองกลับมาสู่พระเจ้าทั้งครบ หันจากบาปความผิดที่ทำให้ชีวิตหันเหไปจาก  พระองค์ ให้กลับคืนมาสู่พระเจ้าอีกครั้ง



ความหมายตามชื่อที่ ใช้เรียกศีลศักดิ์สิทธิ์นี้
เราอาจเรียกชื่อของศีลอภัยบาปได้หลายแบบตาม แง่มุมต่าง ๆ ที่สะท้อนถึงความหมายของศีลอภัยบาปกับชีวิตคริสตชนของเรา

เรา เรียกว่า ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการกลับใจ ( Conversion ) เนื่องจากว่าศีลนี้ทำให้การที่พระเยซูเจ้าเรียกให้กลับใจนั้น เป็นจริงด้วยเครื่องหมาย  เป็นการเดินกับไปหาพระบิดา ซึ่งเขาได้เหินห่างจากพระองค์เพราะบาป ( เทียบ มก 1:15 / ลก 15:18 )

เรา เรียกว่า ศีลแห่งการเป็นทุกข์กลับใจ ( Penance ) เนื่องจากแสดงชัดเจนว่า  พระเจ้าทรงรับการกระทำของคนบาป ตามขั้นตอนของการกลับใจใช้โทษบาป

เรา เรียกว่า ศีลแห่งการสารภาพบาป ( Confession ) เนื่องจากว่าการสารภาพบาปต่อหน้าพระสงฆ์ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของศีล ศักดิ์สิทธิ์นี้  ในความหมายที่ลึกซึ้งศีลนี้ยังเป็นการสารภาพ การยอมรับรู้ และการสรรเสริญความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า  และพระเมตตากรุณาของพระองค์ต่อคนบาป

เรียกว่า ศีลอภัยบาป ( Forgiveness ) เนื่องจากว่า  โดยการยกบาปของพระสงฆ์ทางศีลศักดิ์สิทธิ์นี้  พระเจ้าทรงประทาน “การอภัยและให้สันติ” แก่ผู้สำนึกผิด

เราเรียกว่า ศีลแห่งการคืนดี ( Reconciliation ) เพราะว่าศีลนี้ความรักของพระเจ้าซึ่งคืนดีแก่คนบาป “จงยอมคืนดีกับพระเจ้า” ( 2 คร 5:20 ) ผู้ซึ่งนำความรักเมตตากรุณาของพระเจ้ามาดำเนินชีวิตนั้นพร้อมที่จะตอบคำ เชื้อเชิญขององค์พระผู้เป็นเจ้าที่กล่าวว่า “ไปคืนดีกับเพื่อนพี่น้องเสียก่อน แล้วจึงค่อยกลับมาถวายเครื่องบูชานั้น” ( มธ 5:24 )

เทววิทยาเรื่องศีลอภัยบาป :
ธรรมล้ำลึกเรื่องการกลับ คืนดีกับพระเจ้าในประวัติศาสตร์แห่งความรอด

เนื่องจากบาปของมวล มนุษย์ พระบิดาได้ทรงแสดงพระเมตตา  โปรดให้โลกกลับคืนดีกับ  พระองค์อาศัยพระคริสตเจ้าที่ทรงพลีพระชนม์บนกางเขน และพระบุตรเมื่อทรงบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยให้พ้นจากการเป็นทาสของบาป และนำออกจากความมืดมาสู่ความสว่าง พระองค์ทรงเริ่มปฏิบัติภารกิจบนแผ่นดินโดยประกาศว่า “พวกท่านจงกลับใจและเชื่อข่าวดีเถิด”  (มก 1:15 )

ซึ่งการเชื้อเชิญ ให้สำนึกผิด กลับคืนดีกับพระเจ้านี้ บรรดาประกาศกก็ได้กระทำตลอดมา ซึ่งถือเป็นการเตรียมจิตใจมนุษย์ให้รับพระอาณาจักรของพระเจ้า

พระ เยซูเจ้าไม่ได้เพียงแต่ทรงเตือนมนุษย์ให้สำนึกผิด เพื่อละทิ้งบาปและกลับมาหาพระเจ้าอย่างแท้จริงเท่านั้น  แต่ยังทรงรับคนบาปและช่วยให้ได้กลับคืนดีกับพระบิดาด้วย นอกจากนั้นพระองค์ได้ทรงรักษาคนเจ็บป่วย  เพื่อแสดงถึงอำนาจของพระองค์ที่สามารถอภัยบาปได้  และในที่สุดพระองค์ได้สิ้นพระชนม์เพราะบาปของมนุษย์ และได้ทรงกลับคืนชีพเพื่อจะทำให้เราเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ เพราะเหตุนี้  ในคืนที่ทรงถูกทรยศและเริ่มการรับพระทรมาน พระองค์ได้ทรงตั้งการถวายบูชาแห่งพันธสัญญาใหม่ด้วยพระโลหิต เพื่ออภัยบาปของมนุษย์ และเมื่อทรงกลับคืนชีพแล้ว  ได้ทรงประทานพระจิตมายังบรรดาอัครสาวก  เพื่อให้พวกเขามีอำนาจที่จะอภัยหรือไม่อภัยบาป  และให้รับหน้าที่ประกาศให้มนุษย์ทั้งหลายได้สำนึกผิดและรับการอภัยบาปในพระ นามพระองค์ ( เทียบ ลก 24,47 )

พระเจ้าเท่านั้นทรงอภัยบาปได้ (เทียบ มก2:7) พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า      พระองค์ทรงตรัสถึงพระองค์เองว่า “บุตรแห่งมนุษย์มีอำนาจอภัยบาปได้บนแผ่นดินนี้” (มก 2:10 ) และทรงใช้อำนาจนี้ของพระเจ้า “บาปของเจ้าได้รับการอภัยแล้ว” ( มก 2:5; ลก 7:48 ) ยิ่งกว่านั้นพระองค์ทรงประทานอำนาจเช่นนี้ให้มนุษย์เพื่อใช้ในนามของพระองค์ ( เทียบ ยน 20:21-23 ) ซึ่งอำนาจนี้แสดงออกชัดเจนที่สุด ในถ้อยคำที่พระองค์ทรงรับสั่งกับนักบุญเปโตรว่า “เราจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์ให้ ทุกสิ่งที่ท่านจะผูกบนแผนดินนี้จะผูกไว้ในสวรรค์ด้วย  ทุกสิ่งที่ท่านจะแก้ในแผ่นดินนี้ ก็จะแก้ในสวรรค์ด้วย” ( มธ 16:19 )

คำ ว่า “การผูกและการแก้” หมายความว่า  ผู้ใดที่ท่านจะตัดออกจากการมีชีวิตร่วมกันก็จะถูก ตัดออกจากการมีชีวิตร่วมกันกับพระเจ้า  ผู้ใดที่ท่านจะรับเข้าไว้ใหม่ในการมีชีวิตร่วมกัน พระเจ้าก็จะทรงรับไว้เช่นเดียวกัน  การคืนดีกับพระศาสนจักรไม่อาจแยกออกจากการคืนดีกับพระเจ้าได้

ดัง นั้นในวันพระจิตเจ้าเสด็จมา  นักบุญเปโตรได้ประกาศการอภัยบาปด้วยศีลล้างบาปว่า “ท่านทั้งหลายจงกลับใจเถิด  แต่ละคนจงรับศีลล้างบาป เดชะพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า เพื่อจะได้รับการอภัยบาป” ( กจ 2:38 ) และเหตุนี้เองที่พระศาสนจักรไม่เคยละเลยที่จะเชิญมนุษย์ทั้งหลายให้กลับใจ ละทิ้งบาป  และประกาศเรื่องที่พระคริสตเจ้าทรงมีชัยชนะเหนือบาป ด้วยพิธีศีลอภัยบาป

ชัยชนะเหนือบาปนั้น ก่อนอื่นเห็นชัดเจนในศีลล้างบาป  เมื่อเรารับศีลล้างบาปมนุษย์เก่าของเราก็ถูกตรึงกางเขนไปพร้อมกับพระคริสต เจ้า ชีวิตแห่งบาปได้ถูกทำลายไป  เราไม่เป็นทาสของบาปอีก ต่อไป  แต่จะกลับคืนชีพกับพระคริสตเจ้าแล้วดำรงชีวิตเพื่อพระเจ้า  ( เทียบ รม 6:4-10 ) ด้วยเหตุนี้      พระศาสนจักรจึงประกาศยืนยันว่า “ศีลล้างบาปมีแต่พิธีเดียวเพื่ออภัยบาป”

ในพิธีบูชาขอบพระคุณ การถวายบูชาขอบพระคุณเป็นเครื่องหมายถึง การรับทรมานของ    พระคริสตเจ้า เป็นพระกายและพระโลหิตที่ทรงพลีเพื่ออภัยบาปของเรา  ซึ่งพระศาสนจักรถวายแด่พระเจ้าอีกครั้งเพื่อความรอดของโลก ความจริงการที่พระคริสตเจ้าประทับในศีลมหาสนิทและถูกถวายเป็น “เครื่องบูชาเพื่อการกลับคืนดีของเรา” เพื่อให้เรา“รวมกันเข้าเป็นหนึ่งเดียว” ด้วยอานุภาพของพระจิต

นอกจาก นี้พระเยซูคริสตเจ้า  เมื่อทรงมอบอำนาจที่จะอภัยบาปให้แก่บรรดาอัครสาวกและผู้สืบภารกิจต่อไป ได้ทรงตั้งศีลอภัยบาปในพระศาสนจักร เพื่อสัตบุรุษที่ตกในบาปหลังจากรับศีลล้างบาปแล้วจะได้กลับคืนดีกับพระเจ้า  อาศัยพระหรรษทานที่ได้รับใหม่  ด้วยว่าพระศาสนจักรนั้นมี “ทั้งน้ำและน้ำตา คือ  น้ำศีลล้างบาปกับน้ำตาแห่งความสำนึกผิด” ( นักบุญอัมโบรซีโอ )

การคืนดีกับพระเจ้าและพระศาสนจักรของผู้สารภาพบาป


เนื่องจากการทำบาป เป็นการทำให้เคืองพระทัยพระเจ้า ซึ่งเป็นการทำลายมิตรภาพกับพระองค์ ความสำนึกผิดจึง “มุ่งเป็นประการสุดท้ายที่จะรักตอบพระเจ้า และมอบถวายตัวเรากับพระองค์อย่าง  สิ้นเชิง” ฉะนั้นคนบาปที่เริ่มสำนึกผิด อาศัยพระหรรษทานของพระเจ้าก็กลับมาหาพระบิดาผู้ “ทรงรักเราก่อน” ( 1 ยน 4:19 ) กลับมาหาพระคริสตเจ้าซึ่งทรงมอบพระองค์เพราะเห็นแก่เรา และกลับมาหา    พระจิตเจ้าซึ่งเราได้รับในชีวิต

ศีล อภัยบาปกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของศีลอภัยบาป


เมื่อคริสตชนได้ทำบาป หากปรารถนารับศีลอภัยบาป  ก่อนอื่นจะต้องกลับมาหาพระเจ้าอย่างแท้จริง  การกลับใจเช่นนี้ประกอบด้วยความเป็นทุกข์ถึงบาปและความตั้งใจจะเปลี่ยนแปลง ชีวิตใหม่  และจะต้องแสดงออกมาด้วยการสารภาพบาปซึ่งกระทำต่อพระศาสนจักร ด้วยการชดเชยบาปและเปลี่ยนแปลงชีวิตใหม่ พระเจ้าทรงอภัยบาปอาศัยพระศาสนจักรซึ่งให้พระสงฆ์เป็นผู้กระทำหน้าที่นี้

1.ความ เป็นทุกข์ถึงบาป

กิจการที่สำคัญที่สุดของผู้สารภาพบาปก็คือ ความเป็นทุกข์ถึงบาป

ความเป็นทุกข์ถึงบาป คือ  “การที่จิตใจมีความทุกข์เสียใจที่ได้กระทำบาป พร้อมทั้งตั้งใจจะไม่ทำบาปอีก” แท้จริง “เราจะเข้าพระอาณาจักรของพระคริสตเจ้าได้ก็ด้วยการเปลี่ยนแปลงจิตใจอย่าง  สิ้นเชิง  การเปลี่ยนจิตใจนี้จะทำให้เราคิด วินิจฉัย และดำเนินชีวิตเพราะเห็นแก่ความศักดิ์สิทธิ์และความรัก  ซึ่งในวาระสุดท้ายนี้พระเจ้าได้ทรงสำแดงในพระบุตร และได้ประทานแก่เราอย่างสมบูรณ์” ( เทียบ ฮบ 1:2; คส 1:19; อฟ 1:23 ) ฉะนั้น จะมีความสำนึกผิดอย่างแท้จริงได้  ก็ต้องมีความทุกข์ถึงบาปในจิตใจดังที่กล่าวมานี้  หมายความว่า การกลับใจต้องมีผลถึงภายในจิตใจของมนุษย์  ทำให้เขามีความเข้าใจ  ลึกซึ้งและเลียนแบบองค์พระคริสตเจ้ายิ่งขึ้นทุกวัน

2.การสารภาพบาป

การ สารภาพบาปที่เกิดจากความทุกข์ถึงบาป  และความรู้จักตนเองอย่างแท้จริงต่อหน้า
พระเจ้า ถือเป็นส่วนหนึ่งของศีลอภัยบาป  อย่างไรก็ตาม การสำรวจภายในจิตใจและการสารภาพภายนอกนั้นต้องทำโดยอาศัยความสว่างจากพระ เจ้า  การสารภาพบาปเรียกร้องให้ผู้สารภาพเปิดใจของตนแก่พระสงฆ์ผู้ฟังแก้บาป และเรียกร้องให้พระสงฆ์ได้วินิจฉัยเรื่องฝ่ายวิญญาณในนามของพระคริสตเจ้า อาศัยอำนาจที่จะผูกและแก้ คือ อำนาจที่จะอภัยบาปหรือไม่อภัยบาปให้

3.การ ชดเชยบาป

การกลับใจอย่างแท้จริงจะสมบูรณ์ก็ต้องชดเชยบาป  เปลี่ยนแปลงชีวิตและชดเชยความเสียหาย
ตามกิจการที่ก่อขึ้น  แต่วิธีและขนาดของการชดเชยจะต้องเหมาะสมแก่ผู้สารภาพแต่ละคน  เพื่อเขาจะได้สร้างระเบียบที่ได้ทำให้เสียไปขึ้นใหม่  และจะได้เป็นโอกาสบำบัด แก้ไขในความผิด ความอ่อนแอของเขาได้  ดังนั้นกิจใช้โทษบาปที่พระสงฆ์กำหนดนั้นจะต้องเป็นเครื่องมือที่ช่วยบำบัด แก้ไขเขาได้อย่างแท้จริง  และจะต้องเป็นโอกาสรื้อฟื้นชีวิตด้วยวิธีการใดวิธีหนึ่ง

4.การอภัย บาป

คนบาปที่แสดงให้ศาสนบริกรของพระศาสนจักรเห็นว่ากลับใจด้วยการ สารภาพบาป  พระเจ้าก็อภัยบาปให้ด้วยเครื่องหมายที่เรียกว่า การอภัยบาป และดังนี้ศีลอภัยบาปจึงเกิดขึ้น  ตามที่พระบิดาได้ทรงกำหนดให้สภาพมนุษย์และพระเมตตาแห่งพระผู้ไถ่ของเรา ปรากฏมา ในรูปที่มนุษย์สามารถเห็นได้  พระเจ้าทรงรื้อฟื้นพันธสัญญาที่ขาดหายไปและประทานความรอดให้เราโดยใช้ เครื่องหมายที่เราสามารถมองเห็นได้

ฉะนั้นอาศัยศีลอภัยบาป  พระบิดาทรงต้อนรับลูกที่กลับมาหาพระองค์, พระคริสตเจ้าทรงอุ้มแกะที่หายไปขึ้นแบกบนบ่าและนำกลับคอก, และพระจิตเจ้าทรงบันดาลให้พระวิหารของพระองค์กลับศักดิ์สิทธิ์ไป และทรงเข้าพำนักอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ความจำเป็นและ ประโยชน์ของศีลอภัยบาป
“คุณค่าทั้งมวลของศีลอภัยบาปนั้นประกอบด้วยการทำ ให้เราคืนสู่พระหรรษทานของพระเจ้า และรวมเราไว้กับพระองค์ด้วยมิตรภาพที่ใกล้ชิด” ( คำสอนโรมัน II ข้อ 5,18 ) จุดหมายและผลของ ศีลศักดิ์สิทธิ์จึงเป็นการกลับคืนดีกับพระเจ้า “สันติสุขและความสบายใจของมโนธรรมพร้อมกับความบรรเทาใจฝ่ายจิตที่ให้ชีวิต” จะเกิดตามมาในผู้ที่รับศีลอภัยบาปด้วยจิตใจที่สำนึกผิดและมีความพร้อมรับทาง ศาสนา ( DS 1674 ) ที่จริงศีลแห่งการคืนดีกับพระเจ้าจะก่อให้เกิด “การกลับเป็นขึ้นมาฝ่ายจิต” ที่แท้จริง คืนศักดิ์ศรีและพระพรของชีวิตในฐานะที่เป็นบุตรพระเจ้า ซึ่งสิ่งที่มีค่าที่สุดคือ มิตรภาพกับพระเจ้า  ( เทียบ ลก 15:32 )

ศีล ศักดิ์สิทธิ์นี้ทำให้เราคืนดีกับพระศาสนจักร  บาปได้ทำให้การมีชีวิตร่วมกันฉันท์พี่น้องเกิด การแตกแยก  ศีลอภัยบาปได้ช่วยซ่อมแซม และบูรณะการมีชีวิตร่วมกันนี้

สภาพบาดแผล ที่บาปได้ทำแก่ชีวิตของแต่ละคนและต่อส่วนรวมนั้น มีชนิดต่างๆ ฉันใดในการเยียวยาที่ศีลอภัยบาปได้หยิบยื่นแก่ชีวิตเราก็มีชนิดต่างๆ ฉันนั้น  ผู้ที่ทำบาปหนักขาดจากความรักของพระเจ้า เมื่อรับศีลอภัยบาปก็กลับมีชีวิตที่ได้สูญเสียไป  ส่วนผู้ที่ทำบาปเบาเพราะความอ่อนแอนั้น เมื่อรับศีลอภัยบาปบ่อยครั้ง  ก็ได้รับกำลังเพื่อบรรลุอิสระภาพของผู้เป็นบุตรพระเจ้าอย่างสมบูรณ์

ศีล อภัยบาปจึงไม่ใช่เป็นการประกอบพิธีซ้ำๆ ซากๆ หรือเป็นวิธีการฝึกทางจิตวิทยาอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นการพยายามอย่างไม่ลดละที่จะทำให้พระหรรษทานของศีลล้างบาปเกิดผล สมบูรณ์  เพื่อว่า “เมื่อเราแบกความตายของพระเยซูเจ้าไว้ในร่างกายของเรา ชีวิตของพระองค์จะได้ปรากฏอยู่ใน    ตัวเรายิ่งวันยิ่งมากขึ้น” ( เทียบ 2 คร 4:10 )  ในการสารภาพบาปนั้นผู้ที่สารภาพบาปเบาจึงควรพยายามกระทำตนให้เหมือนพระคริสต เจ้า และตั้งใจฟังเสียงขององค์พระจิตให้มากยิ่ง ๆ ขึ้น และเพื่อทำให้      ศีลอภัยบาปได้ผลสมบูรณ์ในชีวิตคริสตชน  จำเป็นที่ศีลนี้จะต้องหยั่งรากลงในชีวิตของเขาและกระตุ้นเตือนให้ดำเนิน ชีวิตรับใช้พระเจ้าและเพื่อนมนุษย์อย่างร้อนรนยิ่งขึ้นอีกด้วย

ศาสนบริกรของศีลอภัยบาป
1. พระศาสนจักรประกอบพิธีศีลอภัยบาป  โดยพระสังฆราชและพระสงฆ์ ซึ่งเตือนสัตบุรุษให้กลับใจด้วยการประกาศพระวาจาของพระเจ้า  อีกทั้งประกาศยืนยันและให้อภัยบาปแก่มนุษย์ในพระนามของพระคริสตเจ้า และด้วยอานุภาพขององค์พระจิต

ในการประกอบพิธีศีลอภัยบาป  พระสงฆ์ปฏิบัติโดยร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระสังฆราช  และมีส่วนในอำนาจและหน้าที่ของท่าน ซึ่งเป็นผู้กำหนดระเบียบเกี่ยวกับเรื่องศีลอภัยบาป  ( สังฆธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักร ข้อ 26 )

2.ศาสนบริกรผู้มีอำนาจสำหรับ ศีลอภัยบาป คือ  พระสงฆ์ที่มีอำนาจจะอภัยบาปตามกฎหมายของ
พระศาสนจักร  อย่างไรก็ตาม พระสงฆ์ทุกองค์แม้ที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ฟังแก้บาปสามารถอภัยบาปให้แก่ผู้ สารภาพบาปที่ใกล้จะเสียชีวิตได้อย่างสมบูรณ์และถูกต้อง


สรุป
บาป เป็นการทำเคืองพระทัยพระเจ้า      เป็นการแยกตัวออกจากการมีส่วนร่วมชีวิตกับพระองค์

ในเวลาเดียวกัน ยังทำลายการมีส่วนร่วมกับพระศาสนจักร เพราะเหตุนี้ การกลับใจนำมาซึ่งการอภัยของพระเจ้าและการคืนดีกับพระศาสนจักร  ซึ่งถูกแสดงออกและทำให้สำเร็จทางพิธีกรรม โดยอาศัย ศีลล้างบาปและการคืนดี  ( เทียบ พระศาสนจักร ข้อ 11 )

มนุษย์ถูกสร้างให้มีศักดิ์ศรีและมีฐานะ เป็นบุตรพระเจ้า พระองค์ปรารถนาให้ชีวิตของมนุษย์ได้

บรรลุถึงความ รอดของพระองค์  แต่ด้วยความอ่อนแอมนุษย์ได้ปฏิเสธและเลือกจะทำตามใจปรารถนาของตนเอง บาปจึงเป็นอุปสรรคแห่งความก้าวหน้าในความสัมพันธ์กับพระองค์ และผลแห่งบาปยังได้นำความเลวร้ายยุ่งเหยิงมาสู่ชีวิตมนุษย์มากมาย แต่กระนั้น ด้วยความรักและพระเมตตาพระเจ้าไม่ทรงทอดทิ้งมนุษย์ ตรงข้ามทรงปรารถนาให้มนุษย์ได้ฟื้นฟูคืนความสัมพันธ์กับพระองค์ขึ้นใหม่ อาศัย  องค์พระเยซูคริสตเจ้า และผ่านทางศีลอภัยบาปพระองค์ได้ทรงนำมนุษย์ที่สำนึกผิด ให้กลับมาสู่หนทางความรักของพระองค์ คืนศักดิ์ศรีในชีวิตพระหรรษทาน นำความหวังความยินดีมาสู่ชีวิตมนุษย์อีกครั้ง

ศีลอภัยบาปจึงเป็น เครื่องหมายและเครื่องมือแห่งความรัก และพระเมตตาที่พระเจ้าทรงแสดงถึงความรักที่ปราศจากเงื่อนไข และความซื่อสัตย์ของพระองค์ที่ทรงปรารถนาให้มนุษย์ทั้งมวลได้เข้าสู่ หนทางความรอดของพระองค์  และในเวลาเดียวกันเป็นแนวทางและจิตตารมณ์ที่พระองค์ประทานให้มนุษย์ได้ ดำเนินชีวิตเป็นประจักษ์พยาน ถึงพระเจ้าองค์ความรักและเมตตาด้วยการอภัยให้แก่กันและกันในชีวิตประจำวัน ของเราด้วย

ที่มา http://www.catholic.or.th/spiritual/art ... /le08.html
kobo
โพสต์: 63
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ เม.ย. 21, 2010 3:43 pm

พฤหัสฯ. เม.ย. 22, 2010 9:05 am

กฏและความรัก
                                                                ความยุติธรรม กับความเมตตา มีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ได้

              ถูกต้องมันง่ายเกินไป ที่ทำบาปที่ร้ายแรง แล้ว สารภาพ แล้วได้รับการอภัยมันง่ายเกินไป..ก็เลยเป็นเหตุ แห่งการทำบาปอีก แล้วไม่มา

สารภาพเลยก็มี หายไปเลย คนที่ให้อภัยไม่ใช่ใคร ไม่ใช่คนที่เราสารภาพด้วย แต่เราต่างหาก ที่จะทำเพื่อให้ได้รับการอภัย โดยพิสูจน์การกลับใจ


มีระเบียบมีขั้นตอนมีขบวณการ ในการกลับใจที่แท้จริง มีการลงโทษเพื่อให้มีจิตสำนึกว่าทำผิดรู้จักจดจำ ไม่กลับไปทำอีก  เป็นกฎแห่งกรรม กฎแห่งความยุติธรรม เป็นกฎแห่งความรักเพื่อช่วยเหลือ.. เพื่อให้สมกับการชดใช้บาป...
6th
โพสต์: 45
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ เม.ย. 19, 2010 9:06 pm

พฤหัสฯ. เม.ย. 22, 2010 3:14 pm

kobo เขียน: กฏและความรัก
                                                                ความยุติธรรม กับความเมตตา มีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ได้

              ถูกต้องมันง่ายเกินไป ที่ทำบาปที่ร้ายแรง แล้ว สารภาพ แล้วได้รับการอภัยมันง่ายเกินไป..ก็เลยเป็นเหตุ แห่งการทำบาปอีก แล้วไม่มา

สารภาพเลยก็มี หายไปเลย คนที่ให้อภัยไม่ใช่ใคร ไม่ใช่คนที่เราสารภาพด้วย แต่เราต่างหาก ที่จะทำเพื่อให้ได้รับการอภัย โดยพิสูจน์การกลับใจ


มีระเบียบมีขั้นตอนมีขบวณการ ในการกลับใจที่แท้จริง มีการลงโทษเพื่อให้มีจิตสำนึกว่าทำผิดรู้จักจดจำ ไม่กลับไปทำอีก  เป็นกฎแห่งกรรม กฎแห่งความยุติธรรม เป็นกฎแห่งความรักเพื่อช่วยเหลือ.. เพื่อให้สมกับการชดใช้บาป...

แจ๋วววววววว โคโบ๊ะ คุง นายแน่มาก -0-  : emo080 :
ตอบกลับโพส