นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ผู้เป็นเอกแห่งทวีปยุโรป

ใครมาใหม่เชิญทางนี้ก่อน ทักทาย ทดลองโพส
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. เม.ย. 21, 2022 9:04 pm

🌻🏜️ นักบุญหลุยส์กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา กษัตริย์ผู้ 'เป็นเอก' แห่ง ทวีปยุโรป

✍️ เรียบเรียง โดย : วีณา โกวิทวาณิช

🔥 เนื้อเรื่อง มีทั้งหมด (25) ตอน
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. เม.ย. 21, 2022 9:09 pm

🌻🌄 นักบุญหลุยส์ แห่งฝรั่งเศษ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา ตอนที่ (1):

* วันฉลอง: วันที่ 25 สิงหาคม
* สมัยปกครอง: 8 พฤศจิกายน ค.ศ 1226 ถึง 25 สิงหาคม ค.ศ 1270
* พิธีราชาภิเษก 29 พฤศจิกายน ค.ศ 1226
* กษัตริย์ปกครองก๋อนพระองค์ กษัตริย์หลุยส์ ที่ 8 พระราชบิดา
* กษัตริย์ปกครองต่อจากพระองค์ กษัตริย์ฟิลิป ที่ 3 พระราชโอรสของพระองค์
* คู่สมรส พระราชินี มาร์เกอริต แห่งโปรวองซ์ มีพระราชโอรสและพระราชธิดา รวม 11 องค์
* พระราชบิดา กษัตริย์หลุยส์ที่ 8
* พระราชมารดา พระราชินีบลองซ แห่งกาสตีย
* พระอัยกา (ปู่) กษัตริย์ฟิลิป ที่ 2 โอกุสต์
* ประสูติ 25 เมษายน ค.ศ 1214 ณ เมืองปัวสซี ฝรั่งเศส
* สวรรคต 25 สิงหาคม ค.ศ 1270 ณ เมืองตูนิส แอฟริกาเหนือ
* พระศพ อัญเชิญประดิษฐาน ณ มหาวิหารแซงต์-เดอนีส์
* สถาปนานักบุญ 11 สิงหาคม ค.ศ 1297

ตอนทึ่ (1):
นักบุญหลุยส์ หรือ กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส เป็นกษัตริย์ราชวงศ์กาเปเซียง
(ค.ศ 987-1328) ที่มีชื่อเสียงที่สุดทรงปกครองประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ 1226
ถึงวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ 1270 มีพระราชพิธีสถาปนาขึ้นครองราชย์ วันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ 1226
ต่อจาก กษัตริย์หลุยส์ ที่ 8 พระราชโอรสองค์แรกของกษัตริย์ ฟิลิป ที่ 2โอกุสต์ หรือพระอัยการของ
กษัตริย์หลุยส์ ที่ 9
กษัตริย์หลุยส์ที่ 8 พระราชบิดา ครองบัลลังก์ระยะสั้น ๆ เพียง 3 ปี ซึ่งระยะเวลาส่วนใหญ่จะทรง
ทำสงครามครูเสดต่อต้านชาวอัลบีชัวส์เพื่อปราบกลุ่มคริสตชนนอกรีด พระองค์เสด็จสวรรคตขณะ
พระราชโอรสหลุยส์มีพระชนมายุเพียง 12 พรรษา พระราชินีบลองซ แห่งกาสตีย พระราชมารดา
ทรงอบรมเลี้ยงดูพระราชโอรสหลุยส์ด้านการศึกษา และความเชื่อศรัทธาเป็นพิเศษ...
สมัยปกครองของกษัตริย์หลุยส์ที่ 9 เลื่องลือว่าเป็น "ยุคทองของนักบุญหลุยส์ " อาณาจักร
ฝรั่งเศษเฟื่องฟูสูงสุดทั้งด้านการเมือง และเศรษฐกิจ พระองค์ทรงได้รับพระเกียรติยกย่องว่า " เป็นเอก"
ในบรรดาพระมหากษัตริย์และผู้ปกครองประเทศในทวีปยุโรป และทรงเป็นกษัตริย์ผู้ทรงความยุติธรรม
เด่นชัด จึงทรงได้รับเกียรติเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดในกรณีพิพาทระหว่างผู้ปกครองของประเทศต่าง ๆ
ในทวีปยุโรป...
แม้ในขณะนั้นฝรั่งเศสจะมีกองทัพที่มีแสนยานุภาพที่สุดเป็นประเทศที่มั่งคั่ง และมีดินแดน
ในครอบครองมากที่สุดของทวีปก็ตาม ภาพลักษณ์และความเคารพที่ชาวยุโรปมีต่อกษัตริย์หลุยส์ที่ 9
เกิดจากพระเมตตาที่พระองค์ทรงมีต่อประชาชนมากกว่าความเข้มแข็งทางการทหาร....
กษัตริย์หลุยส์ทรงดำเนินชีวิตคริสตชนที่มีความเชื่อศรัทธา พระองค์ดำริให้สร้างวัดแซงต์-ชาแปลล์
หรือ โฮลี่ แชเพิล ภายในพระราชวังปัจจุบันได้แก่ ศาลยุติธรรมแห่งกรุงปารีส ตัวอย่างสถาปัตยกรรม
กอธิคเติมรูปแบบ นอกนั้นพระองค์ยังคงก่อตั้งรัฐสภาแห่งกรุงปารีส และทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ของ
งานศิลปะ และสถาปัตยกรรม....
กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ทรงนำกองทัพทำสงครามครูเสดครั้งที่ 7 ค.ศ 1245-50 และอีก 20 ปี ระหว่าง
การทำสงครามครูเสดครั้งที่ 8 ที่ตูนีเซีย พระองค์เสด็จสวรรคตเป็นมรณสักขีในเดือน สิงหาคม ค.ศ 1270
ที่เมือง ตูนิส พิธีปลงพระศพจัด ณ มหาวิหารนอเตรอะดามแห่งปารีส และ อัญเชิญพระศพประดิษฐาน
ณ มหาวิหารแซงต์-เดอนิส์ เช่นเดียวกับกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสพระองค์อื่น ๆ...
กษัตริย์หลุยส์ทรงดำรงพระองค์เปี่ยมด้วยคุณธรรม และความยุติธรรม โดยปราศจากข้อกังขา
ทรงมีคุณสมบัติเหมาะสมจะได้รับการสถาปนาเป็นนักบุญแม้ขณะยังทรงพระชนม์ชีพ ขบวนการดำเนิน
เรื่องพิจารณาแต่งตั้งนักบุญจึงกระทำในทันทีหลังเสด็จสวรรคต....
(ประกาศนียบัตร)พระสันตะปาปาโบนิฟาส ที่ 8 ทรงประกาศให้ กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 เป็นนักบุญ
ในวันที่ 11สิงหาคม ค.ศ 1297 เป็นกษัตริย์ฝรั่งเศสเพียงพระองค์เดียวที่ได้รับสถาปนาเป็น นักบุญ
และพระศาสนจักรจัดฉลองนักบุญหลุยส์ กษัตริย์แห่งประเทศ ฝรั่งเศส ในวันที่ 25 สิงหาคม.....

✍️ สถานที่สำคัญ ๆ หลายแห่งทั่วโลกที่มีชื่อ นักบุญหลุยส์เป็นองค์อุปถัมภ์ เช่น
มณฑลเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา 🎉

โปรดติดตาม ตอนที่ (2)ในวันต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

ศุกร์ เม.ย. 22, 2022 1:28 pm

🌻 🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา ตอนทึ่ (2):


ชีวิตในวัยเด็ก กษัตริย์หลุยส์ ที่ 9 เป็นพระราชโอรสองค์ ที่ 4 ของกษัตริย์หลุยส์ ที่ 8
และพระราชินีบลองซ แห่งกาสตีย ทรงประสูติ วันที่ 25 เมษายน ค.ศ 1214 ที่เมืองปัวสชี
ห่างจากปารีส ประมาณ 30 กิโลเมตร ทรงมีพระเชษฐาและพระภคินี 3 พระองค์ และพระอนุชา
และพระกนิษฐาอีก 7 องค์
พระราชินึบลองซ มีบทบาทสำคัญในการอบรมเลี้ยงดูพระราชโอรส และเป็นผู้สำเร็จราชการ
แทน ระหว่างพระโอรสทรงพระเยาว์จนอายุ 20 พรรษา พระราชินีบลองซทรงมีเชื้อสายอังกฤษ
และสเปน และครอบครัวย้ายจากสเปนมาตั้งรกรากในฝรั่งเศสตั้งแต่พระราชธิดาบลองซอายุ
เพียง 12 พรรษา...
ประเพณีปฏิบัติของครอบครัวชาวฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 12 รวมถึงราชวงศ์กาเปเซียง ซึ่ง
ปกครองฝรั่งเศส ระหว่าง ค.ศ 987-1328 นิยมตั้งชื่อพระราชโอรสองค์แรกตามชื่อพระอัยกา
ดังนั้นพระเชษฐาของกษัตริย์หลุยส์ ที่ 9 จึงมีพระนามว่า ฟิลิป ส่วนกษัตริย์หลุยส์ ที่ 9
พระโอรสองค์ที่ 2 ตั้งชื่อตามพระราชบิดา จึงมีพระนามว่า "พระโอรสหลุยส์ " เช่นเดียวกับ
กษัตริย์หลุยส์ ที่ 8..
เมื่อกษัตริย์หลุยส์ ที่ 8 พระราชบิดา เสด็จสวรรคตวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ 1226 เนื่องจาก
เจ้าชายฟิลิปพระราชโอรสองค์โต สวรรคตขณะยังทรงพระเยาว์ พระราชโอรสหลุยส์ผู้เป็นพระโอรส
องค์โตในเวลานั้นจึงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ขณะพระชนมายุเพียง 12 พรรษา พระราชินี
บลองซ แห่งกาสตีย พระราชมารดาทรงบริหารปกครองประเทศแทนระหว่างหลุยส์พระชนมายุยังน้อย
ทรงเจริญวัยเป็นเด็กที่สูง หน้าตาดี มีผมสีทอง และมีลักษณะนิสัยร่าเริง พระราชินีบลองซทรงดำเนิน
ชีวิตเป็นแบบอย่างคริสตชนที่มีความเชื่อศรัทธา ทรงเลี้ยงดูพระราชโอรสหลุยส์ให้เป็นกษัตริย์
คริสตชนที่ดี เมื่อทรงมีพระชนมายุเหมาะสมปกครองบ้านเมืองด้วยพระองค์เองกษัตริย์หลุยส์ทรง
นำข้อคำสอนของศาสนามาประยุกต์ใช้ในการบริหารปกครองบ้านเมือง....
นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า กษัตริย์หลุยส์ ที่ 9 ทรงเริ่มปกครองบ้านเมืองด้วยพระองค์เอง ค.ศ 1234
ขณะพระชนมายุ 20 พรรษา และพระราชมารดาทรงทำหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษาในปัญหาบ้านเมืองจน
พระนางเสด็จสวรรคต ค.ศ 1252...
กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ทรงพอพระทัยเลือกใช้พระนามว่า " กษัตริย์หลุยส์ แห่งปัวสซี " มิเพียงเพราะ
เป็นธรรมเนียมนิยมในสมัยนั้นที่จะนำชื่อสถานที่เกิดไว้ท้ายพระนาม แต่ทรงมุ่งมั่นดำเนินชีวิต
คริสตชนที่ดี จึงมีพระประสงค์นำชื่อเมืองที่ทรงรับศีลล้างบาปสัญลักษณ์ของการเกิดใหม่ในพระเป็นเจ้า
ไว้ท้ายพระนาม....
พระราชประวัติของกษัตริย์หลุยส์ ที่ 9 ยังให้ความสำคัญของวันประสูติของพระองค์ ซึ่งตรงกับ
วันที่ 25 เมษายน วันสมโภชนักบุญมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร ฌองวิลล์ พระสหายสนิทของกษัตริย์
หลุยส์ที่ 9 ได้ให้ข้อมูลอันเป็นเหตุผลไว้น่าฟังว่า " ข้าพเจ้าได้ยินว่า กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ทรงประสูติหลัง
เทศกาลปัสกา ตรงกับวันสมโภชนักบุญมาระโก ในวันนั้นชุมชนคริสคนต่างมาร่วมพิธีแห่กางเขน
ธรรมเนียมปฏิบัติที่ชาวฝรั่งเศสรู้จักดีว่าเป็นวัน 'กางเขนดำ ' เพื่อระลึกถึงดวงวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิต
ในสงครามครูเสด ถึง 2 ครั้ง ขณะเดียวกันยังนำความชื่นชมยินดีในสวรรค์สำหรับบรรดามรณสักขี
ในสงครามครูเสดเช่นกัน....

โปรดติดตาม ตอนที่ (3)ในวันต่อไป (เจอกัน)
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

เสาร์ เม.ย. 23, 2022 4:33 pm

🌻 🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา ตอนทึ่ (3):

ชีวิตในวัยเด็ก พระราชบิดาของนักบุญหลุยส์ คือ กษัตริย์หลุยส์มี่ 8 พระราชโอรสในกษัตริย์ฟิลิป ที่ 2
โอกุสต์ กษัตริย์ฟิลิปทรงมอบหมายให้กษัตริย์หลุยส์ ที่ 8 นับผิดชอบภารกิจในการทำสงคราม
ในสมัยปกครองระยะสั้น ๆ แม้พระองค์จะไม่ทรงประสบชัยชนะมากนัก แต่ทรงมีชื่อเสียงว่าเป็น
ผู้มีพระทัยกล้าหาญ เมื่อกษัตริย์หลุยส์ ที่ 8 เสด็จสวรรคต ค.ศ 1226 พระราชินีบลองซแห่งกาสตีย
พระมเหสีทรงเอาพระทัยใส่ดูแลพระราชโอรสและ พระราชธิดาอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มีคุณสมบัติ
พร้อมที่จะดำรงตำแหน่งผู้สืบทอดบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดา เป็นพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศ
ฝรั่งเศสในอนาคต เนื่องจากพระราชโอรสและพระราชธิดา 3 พระองค์แรกสิ้นพระชนม์ในวัยเยาว์
พระราชมารดาเตรียมพระโอรสหลุยส์เป็นพิเศษในด้านการศึกษาและศาสนา เหตุผลเพราะ
พระราชินีบลองซทรงเชื่อว่ากษัตริย์ที่ดีพึงดำรงพระองค์ในศิลธรรมอันดี และยึดมั่นในศาสนา
เพื่อพระองค์จะทรงทำหน้าที่ปกครองประเทศและพระศาสนา นอกจากนั้นพระองค์ยังทรงเรียนรู้
ภาษาละตินซึ่งเป็นรากฐานของการศึกษาศิลปะชั้นสูง....
เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม พระราชมารดาบลองซ ทรงจัดพิธีราชาภิเษกถวายพระราชโอรสหลุยส์
วันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ 1226 ที่อาสนวิหารไรมส์ เมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส
โดยพระสังฆราช โรมาโน โบนาเวนตูรา เป็นประธานในพิธี...
บทภาวนาในพิธีสถาปนาพระราชโอรสหลุยส์เป็นกษัตริย์ พระอัครสังฆราชโบนาเวนตูรา
วอนขอพระเป็นเจ้าโปรดประทาน "พระพรแห่งปรีชาญาณและสันติภาพดังที่พระองค์ประทานแก่
กษัตริย์ซาโลมอน" ความเชื่อมั่นคงดังอับราฮัม ความกล้าหาญดังซามูแอล และความถ่อมพระองค์
ดังกษัตริย์ดาวิด...
บทภาวนาท้ายพิธีราชาภิเษกกษัตริย์หลุยส์ที่ 9 พระอัครสังฆราชผู้ประกอบพิธีภาวนาวอนขอ
พระเป็นเจ้าทรงปรากฏพระองค์ในนิมิตของ โมเสส โยสิยาห์ กิเดโอน และซามูเอล ก่อนพรมน้ำเสก
พระอัครสังฆราชภาวนาวอนขอพระเป็นเจ้าทรงประทานคุณสมบัติที่ดีแก่กษัตริย์หลุยส์ได้แก่
ความเชื่อมั่นคงเช่นเดียวกับอับราฮัม "จงออกจากแผ่นดินของท่าน จากญาติพี่น้อง จากบ้าน
ของบิดา ไปยังแผ่นดินที่เราจะชี้ให้ท่าน " (ปฐก 12:1) "เช่นเดียวกันอับราฮัมมีความเชื่อในพระเจ้า
และนี่ก็จัดว่าเป้นความชอบธรรม สำหรับเขา ท่านทั้งหลายจงรู้เถิดว่าคนที่มีความเชื่อนั่นแหละคือ
บุตรของอับราฮัม (กทม 3 :6-7) ความถ่อมพระองค์เช่นกษัตริย์ดาวิด "ข้าพเจ้าจะเต้นรำถวาย
พระยาห์เวห์อีก ข้าพเจ้าจะถ่อมตนมากกว่านี้เสียด้วย" (2 ซมอ 6:21-22) และ พระปรีชาญาณเช่น
กษัตริย์ซาโลมอน "ขอประทานความเข้าใจแก่ผู้รับใช้ของพระองค์เพื่อจะได้ปกครองประชากรของ
พระองค์อย่างยุติธรรม และรู้จักวินิจฉัยแยกความดีจากความชั่ว ถ้าพระองค์ไม่ประทานใครเล่าจะ
ปกครองประชากรจำนวนมากเช่นนี้ของพระองค์ได้ (1พกษ3:9) "เพราะท่านได้วอนขอเช่นนี้แทนที่จ
ะวอนขอชีวิตยืนยาว หรือความมั่งคั่ง หรือขอให้เราทำลายชีวิตของศัตรู แต่ได้ขอความเข้าใจ และ
ปรีชาญาณในการตัดสินอย่างที่ผู้ใดไม่เคยมีมาก่อน หรือจะมีในภายหลัง" ( พกษ 3:11-12)

โปรดติดตาม ตอนที่ (4) ในวันต่อไป (เจอกัน)
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ เม.ย. 25, 2022 11:08 pm

🌻 🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา ตอนทึ่ (4):


ชีวิตในวัยเด็ก พระราชโอรสหลุยส์ ทรงดำเนินชีวิตในสภาพแวดล้อมของเชื้อสายกษัตริย์
แม้กษัตริย์หลุยส์ที่ 8 พระราชบิดาจะไม่ทรงมีโอกาสพบเจ้าชายหลุยส์มากนักระหว่างทรง
นำกองทัพไปทำสงครามครูเสด แต่แบบอย่างความกล้าหาญทำให้ได้รับพระฉายาว่า
"กษัตริย์หลุยส์ ผู้ทรงพลังและมีพระทัยกล้าหาญดังสิงโต " (King Louis the Lion)
จึงมีบทบาทต่อกษัตริย์หลุยส์ที่ 9 อย่างมาก อีกทั้งพระอัยกา กษัตริย์ฟิลิปที่ 2 โอกุสต์
ก็ทรงเป็นผู้บริหารปกครองประเทศอย่างเข้มแข็ง ส่วนพระราชินีบลองซ พระราชมารดา
ของกษัตริย์หลุยส์เป็นผู้มีความรู้พระคัมภีร์แตกฉาน สภาพแวดล้อมของพระราชโอรส
ล้วนเป็นบุคคลที่เป็นแบบอย่างของความเข้มแข็งทั้งสิ้น ส่งผลให้พระองค์ทรงรักความ
สงบสุขแต่จะต่อสู้อย่างแข็งขันเมื่อจำเป็น ทรงพยายามควบคุมอารมณ์ ทรงเลื่อมใส
ในศาสนา ทรงสวดภาวนาและปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัด การทรงถือเคร่งครัดใน
ศาสนาและการมีพระเมตตาต่อคนยากไร้ของกษัตริย์หลุยส์ที่ 9 เป็นคุณสมบัติที่เลื่องลือยิ่งนัก...
กษัตริย์หลุยส์ ทรงชอบเล่าเรื่องเกี่ยวกับพระอัยกาของพระองค์เมื่อทรงไม่พอพระทัยการ
กระทำของข้ารับใช้ในพระราชสำนัก และทรงเปรียบเทียบว่าพระองค์จะทรงดำเนินตามแบบ
อย่างของพระอัยกาเช่นเดียวกัน กิโยม เดอแซงต์-ปาตูส์ พระสงฆ์คณะฟรังซิสกัน และคุณพ่อ
วิญญาณารักษ์ของพระราชินี มาร์เกอริต และผู้ประพันธ์หนังสือ "ชีวิตของนักบุญหลุยส์ "
ซึ่งให้รายละเอียดเชิงประวัติศาสตร์ของสงครามครูเสด เล่าว่า "คํ่าวันหนึ่ง เมื่อพระราชโอรส
หลุยส์ทรงประสงค์จะทอดพระเนตรบาดแผลที่พระเพลา ของพระองค์ คนรับใช้ซึ่งถือเทียนส่อง
บาดแผล ทำน้ำตาเทียนหยดลงบนพระเพลา พระราชโอรสทรงกระโดดลุกจากพระแท่นบรรทม
ในทันที ตรัสว่า ' โอ้ย จอห์น ' คนรับใช้ทูลว่า ' โอ ข้าพเจ้าทำให้พระองค์ทรงเจ็บ ' พระราช
โอรสตรัสตอบว่า ' ปู่ของฉันจะไล่เธอออกจากบ้านในเรื่องที่เล็กน้อยกว่านี้เสียอีก ' คนรับใช้จึง
กราบทูลว่า ' กษัตริย์ฟิลิปเคยไล่กระหม่อมออกจากพระราชวังครั้งหนึ่งเพราะกระหม่อมนำฟืนเปียก
ใส่ในเตาผิง ' แต่พระองค์มิทรงลงโทษคนรับใช้ผู้นั้นแต่อย่างใด ".....

โปรดติดตาม ตอนที่ (5) ในวันต่อไป (เจอกัน)
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ เม.ย. 25, 2022 11:14 pm

🌻 🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา ตอนทึ่ (5):


กษัตริย์นักปกครอง อาณาจักรฝรั่งเศสในสมัยปกครองของกษัตริย์หลุยส์ที่ (9)เจริญรุ่งเรือง
และอุดมสมบูรณ์ คริสตศาสนาเฟื่องฟูมีประชากรประมาณ 10 ล้านคน ในบรรดาประชากรของ
ทวีปยุโรปที่มีอยู่ 60 ล้านคน นายโรแบรต์ ฟอสซิเอร์ นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า
"ในศตวรรษที่ 13 ประชากร 10 ล้านคนในฝรั่งเศษส่วนใหญ่เป็นชาวนา และมีบทบาทสำคัญที่
ช่วยให้อาณาจักรเจริญก้าวหน้าในสมัยปกครองของกษัตริย์หลุยส์"
" สภาพสังคมที่ประชาขนทำประโยชน์จากผืนดินอาชีพของประชากรจึงมีเพียงเจ้าของที่ดิน
และชาวนา กษัตริย์หลุยส์จึงทรงเป็นกษัตริย์ของชาวนา รูปแบบสังคมศักดินาทำให้ยากที่จะรู้ว่า
ชาวนารู้จัก และคิดเห็นอย่างไรต่อกษัตริย์หลุยส์ "
" ความก้าวหน้าทางสังคมยังรวมถึงด้านวัตถุและจิตใจนักพรตจึงมีบทบาทสำคัญเอื้อให้สังคม
เจริญก้าวหน้า และมีสันติสุข เพราะนักพรตได้รับความไว้วางใจว่าสามารถให้ความเป็นธรรม
ในการแลกเปลี่ยนสินค้า เริ่มตั้งแต่สมัยปกครองของกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 โอกุสต์ บรรดานักพรตช่วย
สังคมโดยกำหนดข้อบังคับเพื่อปกป้องชาวนาให้ได้รับค่าตอบแทนแรงงานหรือผลผลิตอย่างยุติธรรม "
" ด้านการศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งกรุงปารีส เป็นศูนย์กลางการศึกษาวิชาเทววิทยา ซึ่งถือเป็น
องค์ความรู้หรือศาสตร์สูงสุดเกี่ยวกับคริสตศาสนา สถาปัตยกรรมกอธิค หรือที่นิยมเรียกว่าเป็น
' ศิลปะแห่งฝรั่งเศส ' เจริญรุ่งเรืองสูงสุดมหาวิหารนอเตรอะดามแห่งกรุงปารีส สถาปัตยกรรมที่มี
ชื่อเสียงที่สุด สร้างใน ค.ศ 1205 อาคารทางศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ อาสนวิหารชาร์ตร
หรืออาสนวิหารไรมส์ ได้รับการบูรณะในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน "....
สมัยปกครองของกษัตริย์หลุยส์ที่ 9 พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างกษัตริย์ที่เปี่ยมด้วยอุดมการณ์
ในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสยุคกลาง ทรงเป็นอัศวินที่ประสบความสำเร็จ ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง
แม้จะทรงทำพลีกรรมอดอาหาร และอุทิศพระองค์สวดภาวนาตามธรรมเนียมปฏิบัติเช่นนักพรต
ทรงกล้าหาญในการทำสงครามทรงได้รับยกย่องเป็นผู้เพียรทนต่อความทุกข์ยากลำบาก ทรงระงับ
อารมณ์โกรธ ทรงยืนหยัดเมื่อทรงเชื่อมั่นว่าทรงตัดสินด้วยความเที่ยงธรรม ทรงกระตือรือร้นในการ
ทรงงานอย่างแน่วแน่มั่นคง อาจกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงกอรปด้วยคุณสมบัติของ "กษัตริย์ที่ดีทุก
กระเบียดนิ้ว"
การทรงเป็นนักปกครองที่ยุติธรรม และทรงเป็นมิตรกับนานาประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ไม่เพียงแต่
ทรงเป็นที่รัก แต่ทรงได้รับเชิญให้เป็นผู้ตัดสิน หรือเป็นคนกลางเจรจาปรองดองเพื่อให้เกิดสันติภาพ
ในบ้านเมืองในกรณีเกิดความขัดแย้ง ตัวอย่างเช่น ค.ศ 1264 ทรงได้รับเชิญให้ชี้ขาดกรณีความขัด
แย้งระหว่าง กษัตริย์ เฮนรี่ ที่ 3 (ค.ศ 1216-72 ) กับบรรดาขุนนางของอังกฤษ....

โปรดติดตาม ตอนที่ (6) ในวันต่อไป (เจอกัน)
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. เม.ย. 28, 2022 11:27 pm

🌻 🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา ตอนทึ่ (6):

กษัตริย์นักปกครอง คุณพ่อ วิลเลียม เดอชาร์ตร พระสงฆ์คณะโดมินิกันที่ทำงานประจำสำนัก
พระราชวังกล่าวว่า " กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ทรงให้ความยุติธรรมแก่ทุกคนในทันที และด้วยความ
ระมัดระวัง ทรงตัดสินด้วยความเที่ยงธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยทรงยึดหลักยุติธรรมอย่าง
เคร่งครัดและผ่อนปรนด้วยพระเมตตา คนในยุคสมัยขนานพระนามกษัตริย์หลุยส์ว่า
'กษัตริย์ผู้เที่ยงธรรม ' เพราะทรงสามารถบังคับใช้อำนาจอย่างเที่ยงธรรม...
สมัยปกครองของกษัตริย์หลุยส์ยังเป็นระยะเวลาแห่งความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม เห็นได้
จากอาคารสถาปัตยกรรมรูปแบบกอธิคหลายหลัง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังได้แก่ วัดน้อยแซงต์ -
ชาแปลล์ ในกรุงปารีสสร้างเพื่อเก็บรักษาพระธาตุมงกุฎหนามของพระเยซูคริสตเจ้า นอกจากนั้น
ยังทรงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาด้านการศึกษา มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงหลายแห่งก่อตั้ง
ในยุคสมัยของพระองค์ และผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ เป็นพระสหายของพระองค์...
ธรรมเนียมปฏิบัติของชาวฝรั่งเศสจะเปรียบเทียบคุณสมบัติของกษัตริย์กับกษัตรืย์ปกครอง
อิสราแอลและยูดาห์ดังระบุไว้ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ โดยเปรียบกษัตริย์หลุยส์ที่ 9
เป็นดั่ง
# กษัตริย์ดาวิดองค์ใหม่ " พระองค์ทรงเป็นผู้สืบเชื้อสายของกษัตริย์ดาวิด" (กจ 3 : 24)
# กษัตริย์ซาโลมอนองค์ใหม่ "สุภาษิตของซาโลมอนกษัตริย์แห่งอิสราเอล พระโอรสของกษัตริย์
ดาวิด เขียนเพื่อให้รู้จักปรีชาญาณ และเข้าใจถ้อยคำที่มีความหมายลึกซึ้ง" (สภษ 1: 1-2 ) # และ
กษัตริย์โยสิยาห์องค์ใหม่ " โยสิยาห์มีพระชนมายุแปดพรรษาเมื่อเริ่มครอบครอง พระมารดาของ
พระองค์มีพระนามว่าเยดีดาห์บุตรีของอาดายาห์ ทรงกระทำสิ่งที่ชอบในสายพระเนตรของพระเจ้า
และทรงดำเนินในมรรคาของดาวิดบรรพบุรุษของพระองค์" (2 พกษ 22 และ 2 พศด 34: 1)...
คุณพ่อชอฟฟรัว เดอโบลิเยอ พระสงฆ์คณะโดมิกันผู้ฟังแก้บาปประจำองค์พระมหากษัตริย์
และผู้ประพันธ์หนังสือชีวประวัติส่วนพระองค์ของกษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ไม่นานหลังพระองค์เสด็จสวรรคต
บันทึกไว้ว่า "พระราชินีบลองซ แห่งกาสตียพระราชมารดาทรงมีคุณสมบัติโดดเด่นน่าประทับใจเช่น
เดียวกับพระราชมารดาของกษัตริย์โยสิยาห์ที่ดำเนินชีวิตตามพระประสงค์ของพระเป็นเจ้า ทั้งทรง
เคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูพระราชโอรสตามธรรมเนียมคริสตชน "..
วันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ 1234 ก่อนวันสมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์ ซึ่งตรงกับวันที่ 1 มิถุนายน
กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ขณะพระชนมายุ 19 พรรษา ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับมาร์เกอริต เดอ โปรวองซ์
" นาน 6 ปี หลังพระราชพิธีอภิเษกสมรส กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 และพระราชินีมาร์เกอริต ทรงมีพระราชโ
อรส 6 องค์ และพระราชธิดา 5 องค์ และเสด็จสวรรคตในปีเดียวกัน....

โปรดติดตาม ตอนที่ (7) ในวันต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. เม.ย. 28, 2022 11:30 pm

🌻 🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา ตอนทึ่ (7):

ระหว่างกษัตริย์ หลุยส์ทรงเดินทางไปทำสงครามครูเสด พระองค์ทรงมีพระราชโอรส
และพระราชธิดาอีก 6 พระองค์ โดย 3 พระองค์ประสูติในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่
* ณัง - คริสตัง ค.ศ 1250
* ปิแอร์ ค.ศ 1251
* บลองซ ค.ศ 1253
ส่วนอีก 3 พระองค์ประสูติเมื่อเสด็จกลับสู่ฝรั่งเศสแล้วได้แก่:
* มาร์เกอริต ค.ศ 1255
* โรแบรต์ ค.ศ 1256
* และ อีกเเนว ค.ศ 1260
ในบรรดาพระราชโอรส เจ้าชายฟิลิปที่ 3 พระราชโอรสองค์โต และเจ้าชายโรแบรต์ เคานต์
แห่งแกลรมงต์ ทรงสืบทอดบัลลังก์ต่อจากพระองค์....
พิธีมิสซาอภิเษกสมรสได้นำข้อพระคัมภีร์จากจดหมายนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์มาอ่าน
" ท่านไม่รู้หรือว่าร่างกายของท่านเป็นส่วนประกอบของพระวรกายของพระคริสตเจ้า... ท่านไม่รู้
หรือว่าร่างกายของท่านเป็นพระวิหารของพระจิตเจ้าผู้สถิตอยู่ในท่าน " (1คร 6: 15 - 20) และ
จากพระวรสารโดยนักบุญมาระโก " แต่เมื่อแรกสร้างโลกนั้น พระเป็นเจ้าทรงสร้างมนุษย์ให้เป็น
ชายและหญิง และ ชายหญิงจะเป็นเนื้อเดียวกัน...ผู้ใดหย่าร้างภรรยา และแต่งงานกับอีกคนหนึ่ง
ก็ทำผิดประเวณีต่อภรรยาคนเดิม และถ้าหญิงคนหนึ่งหย่ากับสามีไปแต่งงานกับอีกคนหนึ่ง
ก็ทำผิดประเวณีเช่นเดียวกัน (มก 10:6-12)....
พิธีมิสซาสิ้นสุดหลังการสวดภาวนาเป็นเวลานานเพื่อวอนของพระเป็นเจ้าให้ภรรยาปฏิบัติตน
ตามแบบอย่างบุคคลในพระคัมภีร์ เช่นให้ภรรยาทำดีกับสามีของนางเช่นเดียวกับนางราเคล
ฉลาดเหมือนนางเรเบคคา และซื่อสัตย์เหมือนนางซาราห์...
จากนั้นกษัตริย์หลุยส์ ทรงพระดำเนินขึ้นไปยังพระแท่น พระอัครสังฆราชผู้เป็นประธานพิธีจะ
จุมพิตพระองค์ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ ก่อนเสด็จพระราชดำเนินลงจากพระแท่น
กีโยม เปย์โรต์ นักพรตคณะโดมินิกันของยุคสมัย อธิบายความสำคัญของการจุมพิตว่าเป็น
คำมั่นจากสามีที่จะมอบความรัก และปกป้องคุ้มครองภรรยา...
หลังวันอภิเษกสมรส พระนางมาร์เกอริตได้รับสถาปนาเป็นพระราชินี ในวันที่ 28 พฤษภาคม
ค.ศ 1234 ภายในมหาวิหารแซงต์-เดอนีส์ ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในศตวรรษที่ 13 ประเพณีนี้
ยกเลิกไปในศตวรรษที่ 16....
พระราชพิธีอภิเสกสมรสจัดอย่างหรูหราตามธรรมประเพณีของยุคสมัย กษัตริย์หลุยส์ผู้มีพระชนมายุ
ยังน้อยวางพระองค์สง่างามสมพระเกียรติ ในเวลาต่อมาพระองค์ทรงหลีกเลี่ยงพระราชพิธีที่แสดงออก
ถึงความมั่งคั่งและอำนาจ...
พระราชินีมาร์เกอริตมีบทบาทสำคัญในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างชาวอังกฤษกับชาวฝรั่งเศส
ทรงได้รับการศึกษาสูงและเป็นผู้เลื่อมใสในศาสนา ไม่ทรงใช้จ่ายฟุ่มเฟือย แต่ทรงใจกว้างกับญาติพี่น้อง
กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ทรงกระตือรือร้นช่วยเหลือพระญาติ และเชื้อพระวงศ์ และทรงพอพระทัยในการปฏิบัติ
หน้าที่ภรรยา และพระราชินีโดยเฉพาะเมื่อพระราชมารดาบลองซ ของพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว....
ธรรมประเพณีของชาวฝรั่งเศส ที่ยึดถือสีบทอดกันมายาวนานต่างยกย่อง กษัตริย์หลุยส์ที่ (9)
เป็นองค์อุปถัมภ์สถาบันกษัตริย์ และเป็นแบบอย่างนักปกครองที่ดี 👍

โปรดติดตาม ตอนที่ (8) ในวันต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. เม.ย. 28, 2022 11:34 pm

🌻 🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา ตอนทึ่ (8) :

กษัตริย์ผู้เชื่อศรัทธา กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ทางเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาและทรงปฏิบัติศาสนกิจ
อย่างเคร่งครัด พระองค์ทรงวางพระทัยในความรักและพระเมตตาของพระเป็นเจ้าแน่วแน่มั่นคง
ครั้งหนึ่งพระองค์ตรัสสอนพระโอรสฟิลิปว่า "ลูกรักหน้าที่ประการแรกของลูกคือ ให้ลูกรัก
พระเป็นเจ้าด้วยสิ้นสุดจิตใจ และสิ้นสุดกำลัง เพราะหากปราศจากความรักต่อพระเป็นเจ้าแล้ว
มนุษย์ก็ไร้คุณค่า "...
กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ทรงเอาพระทัยใส่อบรมพระราชโอรส และพระราชธิดาตามข้อคำสอนของ
คริสตศาสนาอย่างเคร่งครัด ทั้งทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่างพระองค์ยึดมั่นตามข้อคำสอน
ของพระราชมารดาว่า "พ่อยินดีจะให้ลูกตายไปต่อหน้าต่อตาพ่อ มากกว่าจะยอมให้ลูกทำบาปหนัก
" ครั้งหนึ่งได้ตรัสสอนพระโอรสว่า "ลูกรักขอลูกจงรักและให้เกียรติพระราชมารดา ดูแลให้มีความสุข
และปฏิบัติตามสิ่งพระราชมารดาทรงแนะนำสั่งสอนเสมอ "....
นอกจากการยึดปฏิบัติตามจารีตพิธีกรรมและข้อคำสอนของพระศาสนจักร ข้อความเชื่อที่เป็นดัง
ศูนย์รวมจิตใจของนักบุญหลุยส์ คือ " พระเยซูเจ้า พระบุตรของพระเป็นเจ้า คือ ผู้ที่เราจะต้องรักและ
เชื่อในพระองค์โดยปราศจากความสงสัยใด ๆ ทั้งสิ้น "....
กษัตริย์ผู้ทรงปฏิบัติพระองค์เฉกเช่นนักบุญ ทรงมานะอุตสาหะจนสุดกำลังที่จะปฏิบัติตามข้อคำสอน
ของพระศาสนจักรทั้งด้วยวาจาและกิจการ พระองค์เคยตรัสถามถึงชื่อบืดาของชายคนหนึ่ง ชายนั้นทูล
พระองค์ว่าบิดาของเขาชื่อ " ไซมอน " พระองค์ตรัสถามว่าเขาทราบได้อย่างไรชายนั้นทูลว่า
"มารดาข้าพเจ้าบอก" พระองค์จึงตรัสเปรียบเทียบว่า "มารดาข้าพเจ้าบอก " พระองค์จึงตรัสเปรียบเ
ทียบว่า "เช่นเดียวกัน ท่านควรเชื่อในข้อความเชื่อที่บรรดาอัครสาวกได้บอกแก่เราผ่านทางบท
'ข้าพเจ้าเชื่อถึงพระเป็นเจ้า' ซึ่งเราประกาศยืนยันความเชื่อนี้ในพิธีมิสซาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ "....
ความเชื่อในพระเป็นเจ้าจำต้องปราศจากข้อสงสัย และไม่พ่ายแพ้ต่อกลลวงของปีศาจ เป็นแรง
บันดาลใจให้เราปรารถนาให้ได้สวรรค์เป็นรางวัล การจู่โจมของปีศาจรุนแรงและเป็นอันตรายโดย
เฉพาะในเวลาใกล้สิ้นใจ คริสตชนจึงจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือฝ่ายวิญญาณ นักบุญหลุยส์
ทรงสนับสนุนการก่อตั้งคณะนักบวชที่คอยเอาใจใส่ดูแลบรรเทาใจผู้ทนทุกข์ทรมานที่กำลังจะสิ้นใจ
ในศตวรรษที่ 14 และ15 การสวดภาวนาพร้อมกับผู้กำลังจะสิ้นใจให้ได้ "เตรียมตัวตายอย่างดี "
เป็นศาสนกิจที่มีผู้คนศรัทธามาก...
เรื่องการเอาชนะการประจญจากปีศาจ กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ตรัสไว้ว่า "เล่ห์เหลี่ยมของปิศาจจะ
รุนเเรงมากในระยะตรีฑูต ได้แก่ผู้ป่วยหนักที่ใกล้สิ้นลมหายใจ ปีศาจพยายามทุกวิถีทางที่จะล่อลวง
ให้ผู้ที่ดำเนินชีวิตคริสตชนดีมาโดยตลอดเพื่อให้อาจสิ้นใจด้วยความสงสัยในความช่วยเหลือจาก
ขอพระเป็นเจ้าได้ เนื่องจากความดีที่ผู้นั้นกระทำเป็นประจักษ์พยานความพ่ายแพ้ของปีศาจ เพราะ
คริสตชนเหล่านั้นไม่ตกหลุมพรางของปีศาจขณะดำเนินชีวิตในโลกนี้ "...
เมื่อใดที่ถูกประจญขอให้ภาวนาว่า "จงไปให้พ้น เจ้าไม่อาจทำให้ฉันสูญเสียความเชื่อได้
หากเจ้าจะทำร้ายฉัน ก็อาจทำได้แค่เพียงการทรมานทางกาย แต่ฉันจะสิ้นใจในสภาพจิตใจที่ยึดมั่น
ในความเชื่ออย่างเข้มแข็งไม่เปลี่ยนแปลง " ผู้ที่รำพึงเช่นนี้จะได้รับชัยชนะเหนือปีศาจด้วยคมดาบ
ที่มันตั้งใจจะฆ่าเรานั่นเอง.....

โปรดติดตาม ตอนที่ (9) ในวันต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร พ.ค. 03, 2022 2:12 pm

🌻 🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา ตอนทึ่ (9):
ครั้งหนึ่งระหว่างการทำสงครามครูเสด กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ตรัสแก่กลุ่มคนนอกรีตในเรื่องพระกาย
และพระโลหิตของพระคริสตเจ้าที่พระสงฆ์เสกในพิธีบูชาขอบพระคุณว่า "ท่านที่ไม่มีความเชื่อจง
พิจารณาดูด้วยตนเองเพราะข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าพระเยซูเจ้าประทับในศีลมหาสนิทอย่างแทัจริงดัง
ที่พระศาสนจักรทรงสอนเรา รางวัลตอบแทนความเชื่อนี้ก็คือมงกุฎในสวรรค์ที่แสนงดงามกว่า
มงกุฎใด ๆ และความเชื่อนี้ก็ได้เปล่า "....
ข้อความข้างต้นเป็นคำจำกัดความของความเชื่อที่มีหลักประกันถึง " พระสิริมงคลในโลกนี้และ
ได้รับสวรรค์เป็นรางวัลในโลกหน้า ".....
กษัตริย์หลุยส์กล่าวยืนยันความเชื่อของพระองค์กล้าหาญและมั่นคงอย่างยิ่งในเหตุการณ์ที่ทรง
ถูกชาวซาราเซน ควบคุมตัว และบังคับให้ทรงเลือกระหว่างการปฏิเสธความเชื่อคริสตชน มิฉะนั้น
จะถูกทรมานถึงแก่ความตาย พระองค์ตรัสตอบว่า "ท่านฆ่าได้เพียงร่างกายข้าพเจ้าแต่จะไม่อาจ
ทำร้ายวิญญาณข้าพเจ้าได้หรอก" สำหรับกษัตริย์หลุยส์ที่ 9 แล้ว "ไม่มีสิ่งใดเลวร้ายเท่ากับการยอม
ปฎิเสธความเชื่อในองค์พระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรของพระเป็นเจ้า "....
การเผชิญกับเหตุการณ์ร้าย ไม่ว่าจะเป็นความพ่ายแพ้ในการต่อสู้ ความเจ็บป่วยด้านร่างกาย
และจิตใจ สิ่งเหล่านี้เป็นการทดลองที่พระเป็นเจ้าทรงอนุญาตให้เกิดขึ้น เพื่อชดเชยใช้โทษบาปของ
เราและเปิดโอกาสให้เราได้เปลี่ยนแปลงตัวเราให้ดีขึ้น กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ทรงเชื่อว่า "สิ่งไม่ดีที่เกิด
กับเราเป็นบทลงโทษของพระเป็นเจ้าประทานให้ผู้ที่รักและวางใจในพระองค์"
ระหว่างสงครามครูเสด กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ทรงประสบพายุแรงซึ่งอาจทำให้เรือแตก หลังพายุ
สงบพระองค์ประชวรหนักเหตุการณ์ครั้งนั้นช่วยให้ทรงเชื่อว่าพระเป็นเจ้าทรงเตือนพระองค์ให้ทรง
คิดถึงพระพรแห่งการไถ่กู้ใหัรอดและตรัสว่า "พระเป็นเจ้าทรงเตือนเราในสภาวะคับขันเพื่อเราจะ
เห็นความผิดบกพร่องของเราได้ชัดเจนขึ้น และพยายามทำตามพระประสงค์ของพระองค์มากขึ้น"
พระดำรัสนี้ยังเป็นเหตุผลที่กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ทรงอธิบายว่าเหตุใดพระองค์จึงทรงพ่ายแพ้
สงครามครูเสด....
สำหรับกษัตริย์หลุยส์ที่ 9 พระเป็นเจ้าทรงเป็นองค์ความเชื่อเที่ยงแท้ และพระองค์เองเป็นเพียง
ทาสรับใช้ของพระเป็นเจ้า ความเชื่อของกษัตริย์หลุยส์ยังรวมถึงคำปฏิญาณที่ตรัสในพิธีถือน้ำ
พิพัฒน์สัตยาโอกาสราชาภิเษกเป็นความซื่อสัตย์จงรักภักดีที่มิได้แสดงออกเพียงคำพูดแต่ด้วยจิต
วิญญาณที่เปี่ยมด้วยสำนึกแห่งความรับผิดชอบพระองค์จึงเป็น "ทาสรับใช้ที่มีคุณสมบัติโดดเด่น"
ผู้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองและทรงปรนนิบัติรับใช้พระเยซูเจ้าผู้ทรงประทับท่ามกลางประชาชน
กษัตริย์หลุยส์ทรงรำพึงว่า "ข้าแต่พระเยซูผู้ทรงอ่อนหวาน ข้าพเจ้ายกจิตใจขึ้นหาพระองค์ และ
วางใจในการพิทักษ์ปกป้องของพระองค์ ".....
ความเชื่อของนักบุญหลุยส์รวมถึงการมอบความวางใจ แม้ความยำเกรงพระเป็นเจ้าและความกลัว
การล่อลวงของปีศาจเป็นคุณสมบัติที่ขาดไม่ได้เพื่อให้ได้มีส่วนในการไถ่กู้ให้รอด พระเป็นเจ้าใน
ทัศนะของนักบุญหลุยส์จึงมิใช่พระเป้นเจ้าแห่งความโกรธเคือง ศาสนาของพระองค์จึงมิได้เป็น
ศาสนาแห่งความเกรงกลัว นักบุญหลุยส์ทรงยกคำกล่าวของพระสังฆราชกีโยม โดแวรญ แห่งปารีส
มรณภาพ ค.ศ 1248 ซึ่งเป็นคุณพ่อวิญญาณารักษ์ และเพื่อนในวัยหนุ่มของพระองค์ ที่เคยกล่าวไว้ว่า
"ไม่มีบาปใดจะหนักมากเกินกว่าที่พระเป็นเจ้าจะทรงอภัยให้ได้ "....


โปรดติดตาม ตอนที่ (10 )ในวันต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร พ.ค. 03, 2022 2:17 pm

🌻 🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา ตอนทึ่ (10 )



ความรอบรู้เรื่องศาสนา ; การทรงดำเนินชีวิตมีพระเป็นเจ้าเป็นศูนย์รวมจิตใจทำให้กษัตริย์
หลุยส์ที่ 9 ทรงเป็นแบบอย่างคริสตชนผู้เชื่อศรัทธา การปลูกฝังด้านศาสนาอย่างลึกซึ้งและแบบ
อย่างของพระราชมารดา ทั้งทรงแวดล้อมด้วยนักบวชคณะต่าง ๆ พระองค์จึงทรงปรารถนาให้
พระราชโอรสองค์ที่ 2 สมัครเข้าอารามนักบวชโดมินิกัน และพระราชโอรสองค์ที่ 3 สมัครเข้า
อารามนักบวชฟรันซิสกัน...
กษัตริย์หลุยส์ ที่ 9 มิได้ทรงเป็นนักวิชาการหรือ นักเทววิทยา แต่พระองค์ใฝ่หาความรู้เกี่ยว
กับข้อคำสอนของศาสนา พระองค์อ่านพระคัมภีร์และบทความของบรรดาปิตาจารย์ของพระศาสนจักร
นอกนั้นทรงพูดคุยแสดงความเห็นกับคณะผู้ติดตาม และเป็นที่น่าสังเกต พระองค์ทรงสอบถามนักบวช
ผู้รอบรู้ที่ทรงพบ กล่าวอีกนัยหนึ่ง "นักบุญหลุยส์ทรงเป็นนักบวชที่ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 13 " ทั้งนี้มิได้
หมายถึงนักบวชในพระศาสนจักร แต่ทรงรอบรู้เฉกเช่นนักบวชที่ดำเนินชีวิตบำเพ็ญพรตเคร่งครัดราว
นักพรตคณะโดมินิกันชาวฝรั่งเศส ยิ่งเสียกว่าผู้รอบรู้ชาวต่างชาติ เช่นนักบุญอัลเบิร์ต มหาสมณะ
(ค.ศ 1193-1820) นักปรัชญาชาวเยอรมันซึ่งเป็นอาจารย์ของนักบุญโธมัส อาไควนัส หรือแม้แต่
นักบุญโธมัสอาไควนัส (ค.ศ 1225-74) นักปราชญ์ชาวอิตาเลียน และนักเทววิทยาของพระศาสนจักร
คาทอลิก....
ความกระตือรือร้นแสวงหาความรู้เกี่ยวกับศาสนาของกษัตริย์หลุยส์ที่ 9 มีมากจนเป็นที่เลื่องลือของ
คนในยุคสมัย คุณพ่อกีโยม เดอ แซงต์-ปาตูส์ กล่าวถึงเรื่องนี้ในบทที่ 7 ของหนังสือ
"ชีวประวัตินักบุญหลุยส์ " ว่า " กษัตริย์หลุยส์ทรงเชื่อว่ามนุษย์ไม่ควรปล่อยเวลาให้ล่วงเลยโดยเปล่า
ประโยชน์ กับเรื่องไม่มีแก่นสาร หรือตามกระแสนิยมของโลก แต่ควรใช้เวลาเรียนรู้ในสิ่งที่มีสาระ
และคุณค่า " นักบุญหลุยส์ที่ศักดิ์สิทธิ์ทรงอ่านพระคัมภีร์เป็นประจำทุกวันเป็นหนังสือที่มีคำอธิบาย
ความหมายของเนื้อหาแทรกไว้ระหว่างบรรทัด และต้นฉบับผลงานเขียนของนักบุญออกัสติน และนักบุญ
องค์อื่นๆ และหนังสือพระคัมภีร์ฉบับอื่น ซึ่งพระองค์ทรงอ่านเสมอ ๆ บางครั้งให้คนอ่านถวายระหว่าง
เสวยอาหารค่ำ และก่อนบรรทม วันใดที่ทรงพักผ่อนพระอิริยาบถระยะสั้น ๆ หลังเสวยพระกระยาหาร
เที่ยง หากไม่ทรงติดภารกิจสำคัญใด ๆ ก็จะทรงศึกษาพระคัมภีร์ ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
พระเป็นเจ้ากับนักบวช หรือผู้ที่ทรงไว้วางพระทัย ทรงอ่านประวัติบรรดานักบุญและงานอภิบาลของ
นักบวชที่มีผลงานโดดเด่น และยังทรงศึกษาชีวิตของปิตาจารย์พระศาสนจักร หลังสวดภาวนากับ
พระสงฆ์ภายในวัดน้อย กษัตริย์หลุยส์ทรงพระราชดำเนินเข้าไปในห้องส่วนพระองค์ ทรงจุดเทียน
สูง 3 ฟุต และอ่านพระคัมภีร์หรือหนังสือชวนศรัทธาจนกว่าเทียนจะละลายจนหมดเล่ม และเมื่อใด
ที่ทรงมีบุคคลที่น่านับถือมาเยือนไม่ว่าจะเป็นนักบวช หรือฆราวาส พระองค์จะทรงเชื้อเชิญพวกเขา
พูดคุยเรื่องพระเป็นเจ้าเพื่อให้ทรงรู้ถึงความแตกต่างของบทสอนที่คนเหล่านั้นได้อ่านในอาราม
ของตนพร้อมกับสมาชิกคณะ......

โปรดติดตาม ตอนที่ (11) ในวันต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร พ.ค. 03, 2022 2:22 pm

🌻 🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา ตอนทึ่ (11):


การปฏิบัติศาสนกิจ ; นักบุญหลุยส์ทรงให้ความสำคัญของการปฏิบัติศาสนกิจตาม
ธรรมเนียมคริสตชน ทั้งยังทรงเห็นถึงความจำเป็นที่คริสตชนจะสวดภาวนาเพื่อพระศาสนจักร
และพระสงฆ์ของพระคริสตเจ้า พระองค์ทรงเชื่อว่าบทบาทสำคัญของพระศาสนาจักรคืองาน
อภิบาลศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ..
แนวความคิดเรื่องนี้ของนักบุญหลุยส์ตรงตามที่คุณพ่อจี เคยกล่าวเมื่อศตวรรษที่ 13 ว่า
" ศีลศักดิ์สิทธิ์ 2 ประการที่คริสตชนทุกคนต้องรับ ได้แก่ ศีลล้างบาป และ ศีลอภัยบาป โดยเฉพาะ
ผู้ตกอยู่ในบาปหนัก " ทั้งนี้เพราะศีลล้างบาปเป็นเครื่องหมายการเชื้อเชิญผู้รับเข้าสู่ชุมชนคริสตชน
เป็นการเกิดด้านจิตวิญญาณที่แท้จริง เพื่อนำเราเข้าสู่แผนการไถ่กู้ให้รอดของพระเยซูเจ้า และได้
รับสวรรค์เป็นรางวัล เป็นความเชื่ออีกว่าสถานที่รับศีลล้างบาปเป็นสถานที่เกิดที่แท้จริงเช่นกัน
ความจริงประการนี้เป็นเหตุผลว่าเหตุใดกษัตริย์หลุยส์ที่ 9 จึงทรงพอพระทัยพระนาม "กษัตริย์หลุยส์
แห่งปัวสซี " ....
กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ทรงให้ความสำคัญต่อศีลอภัยไม่น้อยไปกว่าศีลล้างบาป เพราะศีลอภัยบาป
เป็นศีลแห่งการคืนดีกับพระเป็นเจ้า สามารถช่วยผู้ที่เป็นทุกข์ถึงบาปและตั้งใจเปลี่ยนแปลงการ
ดำเนินชีวิตให้มีจิตวิญญาณที่บริสุทธิ์กลับคืนมาอีกครั้ง คริสตชนในศตวรรษที่ 13 นิยมรับศีล
อภัยบาปมาก ค.ศ 1214 ปีที่นักบุญหลุยส์ทรงประสูติ แม้สภาสังคายนาลาเตรันจะกำหนดให้คริสตชน
รับศีลอภัยบาปอย่างน้อยปีละครั้ง กษัตริย์หลุยส์ทรงเชื่อว่าน้อยเกินไป เนื่องจากระยะเวลาที่ยาวนาน
เป็นอันตรายอย่างมากต่อวิญญาณคริสตชนที่ตกอยู่ในบาป การรับศีลอภัยบาปอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
น่าจะเหมาะสมกว่า และทรงแนะนำว่าวันที่เหมาะสมสำหรับศีลอภัยบาป คือว่าศุกร์พระองค์ทรงให้พระสงฆ์
ผู้โปรดศีลอภัยบาปพักประจำใกล้ห้องบรรทม เพราะทรงเชื่อว่าปีศาจจะประจญล่อลวงอย่างหนักใน
เวลากลางคืน สำหรับการรับศีลมหาสนิททรงให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับวันฉลองสำคัญ เช่นวันปัสกา
วันสมโภชพระจิตเจ้า วันฉลองนักบุญทั้งหลาย วันพระคริสตสมภพ และวันฉลองพระแม่แห่ง นอเตอร์ดาม
ก่อนรับศีลอภัยบาปพระองค์ทรงพิจารณามโนธรรมอย่างดี เมื่อรับศีลอภัยบาป และทำกิจใช้โทษบาปแล้ว
จะทรงรับศีลมหาสนิทด้วยท่าทีที่ถ่อมพระองค์และสง่างาม ทรงถอดพระมาลา และเดินเข่าไปยังพระแท่น
เพื่อรับศีลมหาสนิท พระองค์ทรงพลีกรรมและภาวนาเป็นพิเศษหลังรับศีลมหาสนิทแล้ว....
ฌองวิลล์ยืนยันว่า "กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ทรงพลีกรรมอดอาหารสม่ำเสมอ ทรงโปรดการฟังเทศน์และ
จะร่วมมิสซาวันละ 2 ครั้ง รวมทั้งทรงสวดภาวนาทำวัตรวันละ 5 ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ แม้ขณะทรงเดิน
ทางบนหลังม้า จะภาวนาบทเพลงขับร้องสรรเสริญพร้อมกับพระสงฆ์ที่ร่วมเดินทางด้วย หลังเสด็จกลับ
จากการทำสงครามครูเสด จะทรงสวมอาภรณ์ขนสัตว์สีเทาในฤดูหนาว และอาภรณ์ไหมสีดำในฤดูร้อน"

โปรดติดตาม ตอนที่ (12) ในวันต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. พ.ค. 05, 2022 11:39 pm

🌻 🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธ ตอนทึ่ (12):

การสวดภาวนา เป็นห้วใจของนักบุญหลุยส์ เป็นความรักที่สร้างสัมพันธภาพระหว่าง
พระเป็นเจ้าและมนุษย์ตามบทภาวนาที่พระศาสนจักรกำหนด และหากผู้ภาวนาเป็นกษัตริย์
ปกครองพสกนิกร คำภาวนาของพระองค์จะจำเป็นและสำคัญมากเพียงใด....
พระสันตะปาปาโบนิฟาสที่ 8 ตรัสว่า " กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ทรงภาวนาด้วยความศรัทธามาก
ยิ่งขึ้นหลังเสด็จกลับจากการทำสงครามครูเสดครั้งแรกของพระองค์ ระหว่างเทศกาลมหาพรต
เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า วันฉลองต่าง ๆ และเอ็มเบอร์วีคส์ พระองค์จะทรงพลีกรรม
และสวดภาวนาเป็นพิเศษ "
พระสันตะปาปาโบนิฟาส ที่ 8 ทรงเน้นว่า กษัตริย์หลุยส์ทรงอุทิศเวลามากในการสวดภาวนา
ขณะประทับบนพระแท่นเมื่อใกล้เสด็จสวรรคต เพื่อเตรียมพระองค์อย่างดีทรงภาวนาว่า
" ข้าแต่พระบิดาผู้ทรงสรรพานุภาพ ข้าพเจ้าขอมอบจิตวิญญาณข้าพเจ้าไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์
ขอพระองค์ทรงพระเมตตามอบจิตวิญญาณข้าพเจ้าแด่พระเยซูคริสตเจ้าด้วยเถิด "....
แบบอย่างการภาวนาที่เคานต์ปีแอร์ แห่งอาลังซงพระราชโอรสของนักบุญหลุยส์ประจักษ์พยาน
ผู้อยู่ข้างพระแท่นบรรทมของพระราชบิดาขณะใกล้สวรรคตทรงเล่าว่า " เมื่อกษัตริย์หลุยส์ ที่ 9
ทรงอยู่ในภาวะใกล้สวรรคต พระองค์ทรงวอนขอความช่วยเหลือจากบรรดานักบุญโดยเฉพาะ
นักบุญเดอนีส์ แห่งฝรั่งเศสผู้ภาวนาว่า "ข้าแต่พระเยซูเจ้า พระเจ้าของข้าพเจ้า โปรดประทาน
พละกำลังแก่ข้าพเจ้าให้สามารถปฏิเสธทรัพย์สมบัติฝ่ายโลก เพื่อข้าพเจ้าจะไม่หวาดกลัว
ความทุกข์ยากลำบากใด ๆ เลย " ......
คุณพ่อชอฟฟรัว เดอโบลิเยอ เล่าว่า " กษัตริย์หลุยส์อุทิศเวลานานให้กับการภาวนา ทรงสวด
ทำวัตรและโปรดการฟังบทเพลงขับร้องสรรเสริญแม่พระ ระหว่างการเดินทางจะทรงภาวนาเบา ๆ
พร้อมกับคุณพ่อวิญญาณสมรักษ์ และทรงภาวนาเพื่อผู้ใกล้จะสิ้นใจเป็นประจำทุกวัน บทภาวนา
ส่วนใหญ่เป็นข้อความที่ทรงประทับใจคัดจากพระคัมภีร์หรืองานเขียนของปิตาจารย์พระศาสนจักร
พระองค์ทรงร่วมมิสซาวันละ 2 มิสซา เกือบทุกวัน มีบางวันที่ร่วมมิสซาุ 3-4 มิสซา หากทรงได้ยิน
บรรดาขุนนางพูดพึมพำไม่เห็นด้วยที่พระองค์ทรงอุทิศเวลามากมายร่วมมิสซาและฟังเทศน์พระองค์
ตรัสในเรื่องนี้ว่า 'ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะไม่มีผู้ใดบ่นให้ได้ยินแน่นอน หากข้าพเจ้าใช้เวลามากกว่านี้ถึง
2 เท่าในการละเล่นสนุกสนาน และ การล่าสัตว์'
กษัตริย์หลุยส์ ที่ 9 ทรงตื่นจากพระบรรทมเวลาเที่ยงคืนเป็นประจำเพื่อร่วมสวดภาวนาในวัดน้อย
ภายในพระราชวังพร้อมกับคณะสงฆ์ นาน 1 ชั่วโมง ทรงโปรดการฟังบทเพลงขับร้องเป็นพิเศษ
ทรงดำริให้มีพระสงฆ์และนักขับร้องประจำวัดน้อยเพิ่มขึ้น ทรงพอพระทัยคณะนักขับร้องซึ่งส่วนใหญ่
เป็นนักเรียนยากจนที่โรงเรียนคัดเลือกมาฝึก ทรงมีพระเมตตาและเรียกเด็ก ๆ เหล่านี้ว่า " เด็กดี "
การภาวนาคือประสบการณ์ความรู้สึกที่กษัตริย์หลุยส์ทรงเชื่อว่าสามารถทำให้พระองค์ดื่มด่ำ
ในความรักของพระเป็นเจ้าจนพระอัลสุธารา (น้ำตา) นองพระปราง (แก้ม) ทั้งสองของพระองค์.....
ค.ศ 1254 เมื่อพระองค์เสด็จถึงพระราชวังด้วยความเสียพระทัยที่ทรงพ่ายแพ้ในการทำสงคราม
ครูเสดเหตุการณ์นี้นำความเศร้าใจแก่คริสตชนอย่างใาก " พวกเขาจึงร่วมในมิสซาขับร้องบทเพลง
สรรเสริญพระจิตเจ้า เพื่อวอนขอความบรรเทาพระราชหฤทัยแก่กษัตริย์หลุยส์ผู้ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจ
ของบรรดาพสกนิกรของพระองค์ "....

โปรดติดตาม ตอนที่ (13) ในวันต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. พ.ค. 05, 2022 11:45 pm

🌻 🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา ตอนทึ่ (13):


กษัตริย์หลุยส์มี่ 9 ทรงให้ความสำคัญต่องานเมตตากิจเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย และผู้ยากไร้
อย่างแท้จริง แม้ในขณะที่พระองค์เสด็จประพาสต่างแดน จะทรงมอบหมายหน้าที่สำคัญนี้
ให้ขุนนางได้รับผิดชอบดำเนินการแทนความต่อเนื่องของโครงการช่วยเหลือผู้ป่วย ผู้ยากไร้
และคนโรคเรื้อนที่สังคมรังเกียจ ทำให้เกิดโครงการสร้างโรงพยาบาลเพื่อรองรับการให้ความ
ช่วยเหลืออย่างครบวงจร ทั้งนี้เพราะพระองค์ทรงมีพระประสบการณ์เรื่องการทนทุกข์ จึงทรง
ทราบดีว่า ความเจ็บป่วยทางกายเป็นผลต่อจิตใจ และจิตวิญญาณเช่นกัน....
คุณพ่อกีโยม เดอแซงต์-ปาตูส์ ได้เล่าถึงระเบียบปฏิบัติที่กษัตริย์หลุยส์ทรงกำหนดไว้อย่าง
เต็มรูปแบบในโครงการ " งานเมตตาจิต " ซึ่งเฟื่องฟูในศตวรรษที่ 13 ว่า " กษัตริย์หลุยส์ทรง
พระเมตตาและเห็นอกเห็นใจประชาชนของพระองค์ ทรงให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยและผู้ยากไร้
ในด้านที่อยู่อาศัย อาหาร และเครื่องนุ่งห่ม พระองค์เสด็จเยี่ยมและบรรเทาใจคนเหล่านี้ด้วย
พระองค์เองอย่างสม่ำเสมอ ทรงชำระเงินค่าไถ่แก่นักโทษทางการเมือง พระราชทานเงินช่วย
ค่าทำศพ และทรงช่วยเหลือทุกคนด้วยพระทัยกว้างขวางเสมอ "....
ความจริงประการนี้เป็นที่รู้ทั่วไป ประชาชนต่างรักและเทิดทูนพระมหากษัตริย์ของพวกเขา
อย่างมาก คุณพ่อกีโยมเดอแซงต์ -ปาตูส์ บันทึกไว้ว่า " เมื่อใดที่กษัตริย์หลุยส์เสด็จเยี่ยมอาราม
นักพรตโรโยมองต์ จะทรงนำเนื้อสดและปลา ประทานแก่ผู้ป๋วยทุกคน ไม่ว่านักพรต หรือ ฆารวาส
ทรงเอาพระทัยใส่ผู้ป่วยชาวต่างชาติเป็นพิเศษจะทรงป้อนอาหารพวกเขาด้วยพระองค์เอง ".....
" กษัตริย์หลุยส์ทรงมีพระทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตา ทรงมีความสุขมากเมื่อได้เสด็จเยี่ยมผู้ป่วยที่
ทนทุกข์ทรมานนอนรอความตาย เพื่อตรัสบรรเทาใจ ให้คำแนะนำที่จำเป็น และให้พวกเขามอบ
ความวางใจในพระเป็นเจ้า "....
กษัตริย์หลุยส์ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อสร้างโรงพยาบาลที่เมืองเวอร์นอน ทรงประทาน
"ที่อาศัยและของใช้อื่น ๆ ที่จำเป็นแก่ผู้ป่วยและผู้ยากไร้ " ในพิธีเปิดโรงพยาบาลทรงต้อนรับผู้ป่วยที่
จนที่สุดเข้ารักษาเป็นรายแรก....
พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ในทุกข์สุขของประชาชนทรงสร้างโรงพยาบาลหลายแห่ง เช่น
โรงพยาบาลแก๊งซ-แวงต์ รับผู้ป่วยยากไร้และคนตาบอดได้มากถึง 300 เตียง พระองค์หาเวลาเสด็จ
เยี่ยมและบรรเทาใจพวกเขาเสมอ ทรงทำทานแก่ขอทานหลายร้อยคนทุกๆวัน และเพื่อไม่ให้เสีย
ภาพลักษณ์ราชวงศ์ ทรงอนุญาตให้นำขอทานเข้ามาทางประตูด้านหลังของพระราชวัง....
ในบั้นปลายชีวิต พระองค์ทรงแนะนำพระราชโอรส และพระราชธิดาให้มีใจเมตตาต่อผู้ทนทรมาน
ทั้งร่างกายและจิตใจ พระองค์ตรัสแก่พระราชโอรสว่า "ลูกรัก พ่อขอให้ลูกมีใจอ่อนโยนต่อผู้ยากไร้
และผู้ทนทุกข์ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจเสมอ" และตรัสแก่พระราชธิดาว่า " ขอลูกจงเมตตาสงสาร
แก่ประชาชนผู้ประสบเคราะห์กรรมด้านร่างกาย หรือ จิตใจ ".....

โปรดติดตาม ตอนที่ (14) ในวันต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

ศุกร์ พ.ค. 06, 2022 4:32 pm

🌻 🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา ตอนทึ่ (14):


คุณพ่อกีโยม เดอแซงต์-ปาตูส์ บันทึกเรื่องที่กล่าวขานกันทั่วไปถึงพระเมตตาของ
กษัตริย์หลุยส์ว่า " ครั้งหนึ่งกษัตริย์หลุยส์ เสด็จเยี่ยมผู้ป่วยที่อารามโรโยมองต์ แบบไม่ถือ
พระองค์ ทรงสัมผัสผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดราวกับพระองค์ทรงเป็นแพทย์ให้การรักษา ทรงป้อน
อาหารผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และทรงพระเมตตาเป็นพิเศษแก่นักพรตที่ป่วยเป็นโรคเรื้อน "....
จากนั้นพระองค์เสด็จเข้าไปในห้องอาหารของอารามทรงทักทายนักพรตที่ป่วยทุกองค์
ตรัสบรรเทาใจ และทรงถามอาการป่วยของนักพรตเหล่านั้นทีละองค์ ทรงตรวจชีพจรและสัมผัส
หน้าผากที่เต็มไปด้วยเหงื่อโดยมิได้แสดงท่าทีรังเกียจแต่อย่างใด ทรงเชิญแพทย์ประจำพระองค์
ให้การรักษานักพรต ตรวจปัสสาวะต่อหน้าพระพักตร์และไม่ทรงลืมที่จะนำอาหารเหมาะสำหรับ
ผู้ป่วยที่ปรุงจากโรงครัวในพระราชวังไปประทานแก่นักพรตอย่างเพียงพอเสมอ....
กษัตริย์หลุยส์ทรงใส่พระทัยผู้ป่วยหนักเป็นพิเศษทรงสัมผัสมือหรือวางพระกรของพระองค์
บนร่างกายผู้ป่วยเพื่อปลอบโยนบรรเทาใจเขา พระองค์ทรงมีความสุขมากเมื่อได้มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย....
เลเณร นักพรตองค์หนึ่งป่วยเป็นโรคเรื้อนจึงพักในบ้านที่แยกอยู่ตามลำพัง ท่านป่วยหนักและ
ตกอยู่ในสภาพจิตใจเศร้าหมอง เพราะเชื่อโรคทำลายเนื้อเยื่อในตาทำให้เริ่มมองไม่เห็น และลามไป
ที่จมูกและริมฝีปาก.....
กษัตริย์หลุยส์เสด็จเยี่ยมอาการของเลเณร พระองค์ทรงคุกเข่าเบื้องหน้าเขา ทรงเฉือนเนื้อชิ้นบาง ๆ
ป้อนเขาตรัสถามว่าอยากจะทานไก่ไหม เมื่อเลเณรตอบรับ ทรงรับสั่งให้โรงครัวจัดทำ เมื่อเลเณรอยาก
ได้เกลือใส่อาหารก็ทรงเหยาะเกลือให้ด้วยพระองค์เอง บ่อยครั้งจะตรัสชวนบรรดาอัศวินว่า
"เราไปเยี่ยมคนป่วยกันเถอะ" แต่อัศวินเหล่านั้นมักให้อธิการอารามหรือนักพรตนำพระองค์ไปเยี่ยม
ผู้ป่วยตามลำพัง....
การเสด็จเยี่ยมผู้ป่วยตามโรงพยาบาลเป็นภารกิจที่ทรงปฏิบัติเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ประชาชน
ให้มีใจเอื้ออาทรต่อผู้ป่วยโดยคำนึงถึงจิตใจและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ผลลัพธ์ที่ได้จึงให้คุณค่า
ทั้งด้านการเมืองและศาสนา.....
จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด เมื่อพระสันตะปาปาโบนิฟาสที่ 8 ทรงนำกรณีที่กษัตริย์ หลุยส์
ทรงปฏิบัติต่อผู้ป่วยโรคเรื้อนผู้นี้ และบันทึกในพระโองการของพระสันตะปาปาเพื่อสถาปนา
กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 เป็นนักบุญ พระสันตะปาปาตรัสตอนหนึ่งว่า "กษัตริย์หลุยส์ทรงเป็นแพทย์ที่ศรัทธา
แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อนผู้นี้ พระองค์เสด็จเยี่ยมเขาสม่ำเสมอ ทำแผลให้ ป้อนอาหารและน้ำดื่ม ด้วย
พระองค์เอง และทรงกระทำเช่นนี้แก่ผู้ป่วยตามโรงพยาบาลหรือบ้านพักผู้ป่วยโรคเรื้อนอื่น ๆ.....
✍️ ในพระโองการสถาปนากษัตริย์หลุยส์เป็นนักบุญ พระสันตะปาปาบันทึกว่า
" การเสด็จเยี่ยมผู้ป่วยและผู้ทุพพลภาพตามอาราม และโรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นการส่วนพระองค์
เป็นงานเมตตากิจที่ยิ่งใหญ่" เพราะสมัยนั้นมีผู้ป่วยโรคเรื้อนจำนวนมาก และเป็นโรคติดต่อร้ายแรง
ที่ครอบครัว และสังคมรังเกียจ ต้องแยกอยู่ตามลำพังโดยไม่มีผู้เอาใจใส่ดูแล.....


โปรดติดตาม ตอนที่ (15) ในวันต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

เสาร์ พ.ค. 07, 2022 8:59 pm

🌻 🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา ตอนทึ่ (15):


กษัตริย์หลุยส์ผู้เลียนแบบ พระเยซูเจ้าผู้ถูกตรึง พระองค์ทรงเปรียบเทียบความน่าเกลียด
ของบาป กับโรคเรื้อนว่า " เราพึงตระหนักว่าไม่มีผู้ป่วยโรคเรื้อนคนใดจะน่าเกลียดมากกว่า
คริสตชนที่ตกในบาปหนัก เมื่อเราตายโรคเรื้อนทางร่างกายสูญสิ้นไปตามอายุขัย แต่หาก
ผู้ทำบาปหนักตาย เขาไม่อาจรู้ว่าตนเองได้ทำกิจการใช้โทษบาปเพียงพอ หรือสมควรที่จะ
ได้รับการอภัยบาปนั้นหรือไม่ ข้าพเจ้าจึงวอนขอพระเป็นเจ้าโปรดประทานโรคร้ายทางกาย
ไม่ว่าจะเป็นโรคเรื้อน หรือโรคติดต่ออื่นๆ มากเสียกว่าจะมีบาปหนักในจิตวิญญาณของท่าน ".....
" การทุกข์ทรมานทางกายที่มนุษย์เราเผชิญในโลกนี้เตรียมไว้ถวายแด่พระเยซูคริสตเจ้า
ผู้ทรงผ่านการทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสเพื่อทรงไถ่กู้มนุษยชาติให้รอดพ้นจากบาปเป็นของขวัญ
พิเศษถวายแด่พระเยซูคริสตเจ้าผู้สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อเรา ".....
พระเยซูคริสตเจ้าผู้ถูกตรึงจึงเป็นแบบอย่างที่ยิ่งใหญ่ของกษัตริย์หลุยส์ พระเยซูคริสตเจ้า
ผู้ทนทุกข์แสนสาหัส พระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงแบกไม้กางเขน กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 แห่งศตวรรษที่ 13
ทรงดำเนินชีวิตติดตามพระเยซูคริสต์ผู้สวมมงกุฏหนามและถูกตรึงบนไม้กางเขนอย่างใกล้ชิด
และนี้คือภาพลักษณ์ของกษัตริย์ฝรั่งเศสผู้ทรงปฏิบัติ พระองค์เป็นแบบอย่างที่ดีเลิศแก่ราชวงศ์....
ทุกครั้งที่มีโอกาส กษัตริย์หลุยส์จะทรงทำพลีกรรมเพื่อถวายแด่พระเยซูเจ้า ณ อารามนักพรต
ที่กลูนี ใน ค.ศ 1246 พระองค์ทรงกราบทูลพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 4 ว่า " พระเยซูคริสตเจ้า
ทรงถ่อมพระองค์รับทนทรมานถึงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนมิใช่หรือ "....
ในพระราชสาส์นจากเมืองอาเคร เดือน สิงหาคม ค.ศ 1250 ที่ทรงมีถึงประชาชนของพระองค์
ในฝรั่งเศสกษัตริย์หลุยส์ตรัสว่า "ข้าพเจ้าขอเชิญชวนประชาชนทุกคนให้รับใช้พระเยซูคริสตเจ้า
ในเพื่อนพี่น้องของท่าน เพราะพระองค์สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนและทรงไถ่กู้เราให้รอดด้วยพระ
โลหิตของพระองค์ ".....
ณองวิลล์ บันทึกไว้ว่า " มันช่างน่าขันเสียจริงที่ระหว่างถูกควบคุมตัวในอียิปต์ ชาวมุสลิมสูงอายุ
ผู้หนึ่งบอกกับนักโทษสงครามที่เป็นคริสตชนว่า พวกเธอไม่ต้องบ่นเลยนะที่ต้องถูกควบคุมตัวเพื่อ
พระเยซูคริสตเจ้าถูกโบยเพื่อพระองค์ และถูกทำร้ายร่างกายเพื่อพระองค์ เพราะพระองค์ทรง
กระทำเช่นนั้นเพื่อพวกเธอมิใช่หรือ "....

โปรดติดตาม ตอนที่ (16) ในวันต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ พ.ค. 09, 2022 8:31 pm

🌻 🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา ตอนทึ่ (16):

กษัตริย์หลุยส์ เทียบบุคคลในพระคัมภีร์ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของระบอบการปกครอง
บัลลังก์ในยุคกลางที่จะเปรียบเทียบกษัตริย์แต่ละยุคสมัยกับบุคคลในพระคัมภีร์ เพื่อให้บุคคล
ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมเป็นแบบอย่างของ " นักปกครองที่ทรงคุณธรรม " และเป็นที่
นิยมมากยิ่งขึ้นเมื่อกษัตริย์เปแปง ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นกษัตริย์ซาอูลและกษัตริย์ดาวิด
ในพระคัมภีร์....
คุณสมบัติที่กษัตริย์คริสต ชนพึงมีตามข้อคำสอนของพระศาสนจักรได้แก่ ความยำเกรง
พระเป็นเจ้า ปรีชาญาณ ความสุขุมรอบคอบ ความเรียบง่าย ความอดทน ความยุติธรรม
การตัดสินที่เที่ยงธรรม ความเมตตา ความถ่อมตน ยึดมั่นในคุณธรรม การให้อภัย และผู้ให้
คำแนะนำที่ดี
บทเทศน์ของคุณพ่อกีโยม เดอ แซงต์-ปาตูส์ กล่าวถึงคุณธรรมสำคัญ 4 ประการของ
กษัตริย์ดาวิด ซึ่งกษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ทรงมีเช่นกัน ได้แก่ มีสติปัญญาเป็นเลิศ มีพระเมตตาที่
อ่อนหวาน จิตใจบริสุทธิ์ และทรงอุทิศพระองค์ด้วยความร้อนรน.....
กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ทรงมีคุณสมบัติของนักปกครองที่ดี การรับใช้พระเป็นเจ้าเป็นหนึ่งในภารกิจ
สำคัญต่าง ๆ ได้แก่การปกป้องคุ้มครองและดูแลทุกข์สุขของมวลพสกนิกรทรงบังคับใช้กฏหมาย
และนำสันติภาพและความยุติธรรมสู่ประชาชน พระราชกรณียกิจที่โดดเด่นทำให้พระองค์ได้รับ
การเปรียบเทียบกับกษัตริย์หลายพระองค์ที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม เช่น
กษัตริย์ดาวิด ผู้ทรงเป็นแบบอย่างกษัตริย์ผู้ทรงซื่อสัตย์ต่อพระยาห์เวห์ ทรงประสบความสำเร็จ
มากที่สุดในบรรดากษัตริย์ที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์....
" การสถาปนาระบอบกษัตริย์เป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ทั้งการเมืองและทางศาสนา
ของชาวอิสราเอลระบอบกษัตริย์นี้ไม่ประสบความสำเร็จในรัชสมัยของกษัตริย์ซาอูล แต่จะประสบ
ความสำเร็จในรัชสมัยของกษัตริย์ดาวิด ซึ่งทรงมีบุคลิกภาพสามารถทำให้บทบาททางศาสนาและ
การเมืองของกษัตริย์เข้ากันได้อย่างกลมกลืนพระองค์ยังทรงรวมคุณลักษณะของผู้นำทางการเมือง
และหน้าที่ของผู้รับเจิมของพระยาห์เวห์เข้าด้วยกันได้อย่างดี ".....
" บรรดาผู้อาวุโสชาวอิสราเอลจึงมาเฝ้ากษัตริย์ที่เมือง เฮ โบรน และกษัตริย์ดาวิดทรงกระทำ
พันธสัญญากับเขาเฉพาะพระพักตร์พระยาห์เวห์ที่เมือง เฮ โบรน เขาจึงเจิมดาวิดขึ้นเป็นกษัตริย์
ปกครองอิสราเอล ตามที่พระยาห์เวห์ทรงบัญชาทางซามูเอล " (1 พศด 11:3)
" ข้าพเจ้ารู้จักคนหนึ่งเป็นบุตรของเจสซีชาวเบธเลเฮมเขาเป็นนักดนตรี เป็นคนกล้าหาญ
เป็นนักรบ พูดจาเฉลียวฉลาด รูปร่างหน้าตาดี พระยาห์เวห์ทรงสถิตอยู่กับเขา " (1 ซมอ 16:18)
" เราคือพระเจ้า จะเป็นพระเจ้าของเขา และดาวิดผู้รับใช้ของเรา จะเป็นเจ้านายท่ามกลางเขา
เราคือพระเจ้าได้ลั่นวาจาแล้ว" (อสค 34:24)
" ดาวิดเป็นกษัตริย์ปกครองอิสราเอลเป็นเวลาสี่สืบปีทรงปกครองที่เมืองเฮโบรน เจ็ดปี
และที่กรุงเยรูซาเล็ม สามสืบสามปี" (1พกษ 2:11)
กษัตริย์ดาวิดกล่าวในหนังสือสดุดีว่า " พระยาเวห์ทรงเลี้ยงดูข้าพเจ้าอย่างผู้เลี้ยงแกะ
ข้าพเจ้าจึงไม่ขาดสิ่งใด พระองค์ทรงเป็นความสว่างและทรงช่วยข้าพเจ้าให้รอดพ้นข้าพเจ้าจะ
กลัวผู้ใด ? ความช่วยเหลือของข้าพเจ้าย่อมมาจากพระยาห์เวห์ ผู้ทรงสร้าง ท้องฟ้า และ แผ่นดิน "
(สดด 23. 27. 121)

โปรดติดตามตอนที่ (17) ในวันต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ พ.ค. 09, 2022 8:37 pm

🌻 🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา ตอนทึ่ (17):


เมื่อกษัตริย์ดาวิดทรงตระหนักว่าใกล้จะสิ้นพระชนม์จึงทรงเรียกกษัตริย์ซาโลมอน
พระราชโอรสและทรงสั่งว่า "จงปฏิบัติตามพระบัญชาของพระยาห์เวห์ พระเจ้าของลูกจงเดิน
ตามหนทางของพระองค์ ปฎิบัติตามข้อกำหนดบทบัญญัติ พระวินิจฉัยและกฤษฏีกาของพระองค์
ดังที่เขียนไว้ในธรรมบัญญัติของโมเสส แล้วลูกจะประสบความสำเร็จไม่ว่าลูกจะทำสิ่งใดและ
จะไปที่ไหน....

กษัตริย์ซาโลมอน (พระราชโอรสกษัตริย์ดาวิด ทรงประสูติในกรุงเยรูซาเล็ม) ผู้สร้างพระนิเวศน์
ของพระเจ้า และทรงเป็นแบบอย่างของกษัตริย์ผู้ทรงมั่งคั่ง และเปี่ยมด้วยพระสติปัญญา....
"กษัตริย์ซาโลมอนทรงรํ่ารวยและทรงพระปรีชาสามารถกว่ากษัตริย์ทั้งหลายในแผ่นดิน "
(1 พกษ 10:23)
" สุภาษิตของซาโลมอน กษัตริย์แห่งอิสราเอลพระโอรสของกษัตริย์ดาวิด เขียนไว้เพื่อให้รู้จัก
ปรีชาญาณและมีระเบียบ เพื่อเข้าใจถ้อยคำที่มีความหมายลึกซึ้ง เพื่อรับคำสั่งสอนให้ประพฤติตน
อย่างเฉลียวฉลาด รู้จักความชอบธรรม ความยุติธรรม และความเที่ยงตรง เพื่อให้คนขาดสติมี
ไหวพริบ ผู้มีปรีชาฟังแล้วก็จะมีความรู้เพิ่มขึ้น ผู้ที่มีความรู้อยู่แล้วจะได้แนะนำผู้อื่นต่อไป ความยำเกรง
พระยาห์เวห์เป็นบ่อเกิดของความรู้ คนโง่ย่อมดูหมิ่นปรีชาญาณและการสั่งสอน"(สภษ 1: 1-7)
คำพิพากษาของกษัตริย์ซาโลมอน "วันหนึ่ง หญิงโสเภณีสองคนมาเฝ้ากษัตริย์ ยืนอยู่เฉพาะ
พระพักตร์ หญิงคนหนึ่งทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าและหญิงคนนี้อยู่ในบ้านเดียวกัน ข้าพเจ้าคลอด
บุตรคนหนึ่งขณะที่นางอยู่ในบ้านด้วย...
หลังจากนั้นสามวัน หญิงคนนี้ก็คลอดบุตร เราทั้งสองคนเท่านั้นอยู่ในบ้าน ไม่มีผู้อื่นอยู่ด้วย
คืนหนึ่งบุตรของหญิงคนนี้ตายเพราะบังเอิญถูกนางนอนทับ นางลุกขึ้นกลางคืนนั้นนำบุตรมาวาง
ไว้ข้างตัวข้าพเจ้า เมื่อข้าพเจ้าลุกขึ้นตอนเช้าให้บุตรกินนม ก็เห็นว่าเด็กตายแล้ว แต่เมื่อสว่าง
ข้าพเจ้า มองดูอย่างละเอียดก็เห็นว่าเด็กที่ตายไม่ใช่บุตรที่ข้าพเจ้าคลอดหญิงอีกคนก็แย้งว่า '
ไม่จริงเด็กที่ตายเป็นลูกของเธอ เด็กที่มีชีวิตอยู่เป็นลูกของฉัน ' ทั้งสองโต้เถียงกันอยู่เฉพาะพระพักตร์
กษัตริย์ กษัตริย์จึงตรัสว่า ' จงนำดาบมาให้เรา ' มีผู้นำดาบมาถวาย พระองค์ตรัสสั่งว่า 'จงผ่าเด็ก
ที่ยังมีชีวิตเป็นสองส่วน ให้หญิงทั้งสองไปคนละส่วน' หญิงคนที่เป็นแม่ของเด็กที่ยังมีชีวิตอยู่รู้สึก
สงสารบุตรของตน จึงทูลกษัตริย์ว่า " พระเจ้าข้า ขอทรงให้เด็กที่ยังมีชีวิตแก่เขาไปเถิดอย่าฆ่าเ
ด็กนั้นเลย ' แต่หญิงอีกคนหนึ่งพูดว่า ' เด็กคนนี้ต้องไม่เป็นทั้งของฉันและของเธอ จงผ่าเป็นสองส่วนเถิด '...
กษัตริย์ซาโลมอนจึงทรงวินิจฉัยว่า ' อย่าฆ่าเด็กเลยจงให้เด็กที่ยังมีชีวิตแก่หญิงคนแรกเถิด
นางเป็นแม่ที่แท้จริงของเด็ก'.....
เมื่อชาวอิสราเอล ได้ยินคำพิพากษาของกษัตริย์ต่างก็มีความยำเกรงพระองค์ เพราะตระหนักว่า
พระเจ้าประทานพระปรีชาญาณแก่กษัตริย์เพื่อพิพากษาคดีอย่างยุติธรรม (1พกษ 3 :16-28)...

โปรดติดตาม ตอนที่ (18) ในวันต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร พ.ค. 10, 2022 5:48 pm

🌻 🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา ตอนทึ่ (18):


" พระเจ้าประทานให้กษัตริย์ซาโลมอนมีพระปรีชาญาณและความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
ทรงมีความรอบรู้เหลือคณานับประดุจเม็ดทรายที่ชายทะเล พระปรีชาญาณของกษัตริย์ซาโลมอน
ยิ่งใหญ่กว่าปรีชาญาณของชาวตะวันออกทั้งหลาย และมากกว่าปรีชาญาณทั้งหมดของอียิปต์
พระองค์ทรงเฉลียวฉลาดกว่าทุกคน....

กษัตริย์โยสิยาห์ บุคคลในพระคัมภีร์ที่ไม่ค่อยมีผู้นำไปเปรียบเทียบมากนัก ยกเว้นกษัตริย์
หลุยส์ที่ 9 ซึ่งทางสืบทอดราชบัลลังก์ขณะพระชนมายุน้อยเพียง 12 พรรษา...
"โยสิยาห์ทรงเป็นกษัตริย์เมื่อพระชนมายุแปดพรรษาและทรงครองราชย์เป็นเวลาสามสิบเอ็ดปี
ที่กรุงเยรูซาเล็ม พระมารดาทรงพระนามว่า เยดีดาห์ เป็นบุตรหญิงของ อาดายาห์ ชาวโบสคาท
พระองค์ทรงกระทำแต่สิ่งที่พระยาห์เวห์ทรงเห็นว่าถูกต้อง ทรงดำเนินตามวิถีทางของกษัตริย์ดาวิด
บรรพบุรุษ โดยไม่ทรงหันเหแต่ประการใด " (2 พกษ 22 : 1-2) และ (2 พศด 34 :1-2)...

เมื่อกษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ยังทรงพระชนมชีพ พระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 10 ดำริให้คุณพ่อชอฟฟรัว
เดอโบลิเยอ พระสงฆ์คณะโดมินิกัน คุณพ่อวิญญาณารักษของกษัตริย์หลุยส์ที่ 9 นาน 20 ปี ทำบันทึก
พระราชประวัติของกษัตริย์หลุยส์ที่ 9 เพราะทรงมั่นใจว่าพระองค์ทรงมีคุณสมบัติเหมาะสมได้รับ
สถาปนาเป็นนักบุญอย่างแน่นอน คุณพ่อชอฟฟรัวกล่าวนำในบทบันทึกพระราชประวัติกษัตริย์หลุยส์ว่า
"ข้าพเจ้าขอสรรเสริญกษัตริย์โยสิยาห์ผู้ทรงเป็นแบบอย่างแด่กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ในการดำเนินชีวิต
ติดตามพระเยซูเจ้าด้วยความร้อนรน ปฏิบัติพระองค์เป็นที่พอพระทัยพระเป็นเจ้า"....
คุณพ่อ กีโยม เดอชาร์ตร พระสงฆ์คณะโดมินิกัน ซึ่งทำหน้าที่คุณพ่อวิญญาณารักษ์ถวายกษัตริย์หลุยส์
ต่อจากคุณพ่อชอฟฟรัว เดอโบลิเยอ กล่าวยกย่องกษัตริย์หลุยส์ว่าทรงดำเนินชีวิตตามพระประสงค์
ของพระเป็นเจ้าเช่นเดียวกับกษัตริย์โยสิยาห์ และอ้างข้อพระคัมภีร์ที่สนับสนุนคำกล่าวของท่านว่า
"ไม่เคยมีกษัตริย์องค์ใดก่อนพระองค์ ที่ทรงดำเนินตามพระยาห์เวห์สุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดกำลัง
ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติของโมเสสเหมือนกับพระองค์ และไม่มีกษัตริย์องค์ใดต่อจากพระองค์ที่ทรง
ปฏิบัติเหมือนพระองค์ด้วย " (2 พกษ 23:25).....
คุณพ่อ ชอฟฟรัว ยังเปรียบเทียบกษัตริย์หลุยส์ที่ 9 กับอับราฮัมเพื่อยกย่องพระองค์เหนือบรรดา
พระอัยกาทั้งปวงว่า " หากประชากรของพระเป็นเจ้าสรรเสริญอับราฮัม ในคุณธรรมของความเที่ยงธรรม
ที่อับราฮัมยินดีถวายบุตรชายคนเดียวของท่านเป็นเครื่องเผาบูชาแด่พระเป็นเจ้า ดังนี้พระเป็นเจ้าจะไม่
ทรงเล็งเห็นกษัตริย์หลุยส์ ข้ารับใช้ที่ซื่อสัตย์ว่ามีคุณค่าควรสรรเสริญยิ่งกว่าอับราฮัมหรือ เพราะกษัตริย์
หลุยส์ที่ 9 ทรงเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตอย่างกล้าหาญในสงครามครูเสดถึง 2 ครั้ง เพื่อยืนหยัดปกป้อง
พระนามพระเยซูคริสต์ พระผู้ไถ่มวลมนุษย์ให้รอด โดยเฉพาะสงครามที่ตูนิส ที่พระองค์เอง
พระราชโอรส และกองทหารพลีตนเป็นมรณสักขีเพื่อพระนามพระคริสต์เจ้า ".....
คุณพ่อ กีโยม เดอแซงต์-ปาตูส์ เปรียบเทียบกษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ผู้ทรงยึดมั่นในการปฏิบัติตาม
ข้อคำสอนของพระศาสนาจักร กับมัทธาธีอัส บิดาของมัคคาบี มัทธาธีอัสไม่ยอมปฏิบัติตามพระบัญชา
ของกษัตริย์ ผู้ทรงส่งเจ้าหน้าที่มาแจ้งว่า "ท่านเป็นคนสำคัญ มีเกียรติ และยิ่งใหญ่ในเมืองนี้ ได้รับ
การสนับสนุนจากบรรดาบุตร และญาติพี่น้อง ท่านจงออกมาคนแรก ปฏิบัติตามพระบัญชาของ
กษัตริย์เถิด" (1 มคบ 2:17-18)....
มัทธาธีอัสร้องตอบว่า "แม้ชนชาติทั้งหมดในพระราชอาณาจักรของกษัตริย์จะปฏิบัติตามพระบัญชา
ของกษัตริย์ข้าพเจ้ากับบรรดาบุตรและญาติพี่น้องจะดำเนินชีวิตตามพันธสัญญาของบรรพบุรุษ
จะไม่ยอมเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากศาสนาของเราแต่ประการใด " (1 มคบ 2: 19-22)....

โปรดติดตาม ตอนที่ (19) ในวันต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พุธ พ.ค. 11, 2022 11:13 pm

🌻 🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา ตอนทึ่ (19):


สงครามครูเสด กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ทรงทำสงครามครูเสดถึง 2 ครั้ง
* ครั้งแรก ค.ศ 1248 ขณะทรงมีพระชนมายุราว 34 พรรษา ในสงครามครูเสดครั้งที่ 7 ที่
อียิปต์ และอีก 22 ปี ต่อมา ค.ศ 1270 ขณะพระชนมายุราว 56 พรรษา ในสงครามครูเสด
ครั้งที่ 8 ที่คาร์เท็จ เมืองโบราณในแอฟริกาเหนือ ใกล้ตูนิสซึ่งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐ
ตูนีเซียในปัจจุบัน กองทัพของพระองค์พ่ายแพ้ทั้ง 2 ครั้งแม้ในระยะแรกมีท่าทีว่าจะได้รับ
ความสำเร็จอยู่บ้าง....
เดือน ธันวาคม ค.ศ 1244 หลังทรงหายจากพระอาการประชวรหนัก กษัตริย์หลุยส์ที่ 9
ทรงตัดสินใจเตรียมทำสงครามครูเสด กับชาวมุสลิมเพื่อปกป้องคริสตศาสนาในดินแดนศักดิ์สิทธิ์
เพื่อช่วยคริสตชนซึ่งกำลังตกอยู่ในอันตรายจากการที่ชาวมุสลิมยึดกรุงเยรูซาเล็ม และสุลต่าน
แห่งอียิปต์ยึดครองเมืองดามัสกัส พระองค์ทรงใช้เวลาเตรียมกองทัพนานกว่า 3 ปีเพื่อทำสงคราม
และระหว่างเสด็จทำสงครามครูเสด พระราชมารดาบลองซ เดอกาสตีย ทรงบริหารราชการแผ่นดินแทน.....
สงครามครูเสดครั้งแรกของกษัตริย์หลุยส์ที่ 9 เริ่มต้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ 1248 พระองค์ทรง
นำเรือรบ 100 ลำ ซึ่งสั่งซื้อหรือเช่าจากเจนัว เวนิส และมารแซยส์ อัศวิน 2,500 คน ทหารราว 35,000 คน
มีพระมเหสี พระราชโอรส พระราชธิดา ทรงร่วมเดินทางไปด้วยพระองค์ทรงสามารถยึดเมืองท่าดามีแอ๊ตตา
ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมแม่น้ำไนล์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอียิปต์ได้ วันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ 1249
ภายในเพียงวันเดียวเมื่อเดินทางถึงโดยคู่ต่อสู้ไม่ทันตั้งตัว กษัตริย์หลุยส์ทรงนำทัพด้วยพระองค์เอง
อย่างกล้าหาญ เป็นเหตุให้จักรวรรดิปกครองโดยสุลต่านไอยูบิดของชาวมุสลิมกระจัดกระจายไป
โดยเฉพาะสุลต่านผู้เป็นประมุขปกครองกำลังประชวรใกล้สวรรคต กระนั้นการเดินทัพจากเมืองท่า
มุ่งสู่กรุงไคโรผ่านสามเหลี่ยมแม่น้ำไนล์เป็นไปอย่างล่าช้า ระหว่างนั้นสุลต่านสวรรคต ผู้ปกครอง
อียิปต์พระองค์ใหม่เข้ามายึดอำนาจแทน การต่อสู้ดำเนินไปเป็นเวลานาน ทหารฝรั่งเศสจำนวนมาก
อ่อนแรงและติดโรคระบาด อาหารที่ลำเลียงมาจากแม่น้ำไนล์ถูกตัดขาด วันที่ 6 เมษายน ค.ศ 1250
กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ทรงพ่ายแพ้ที่ฟาริสเตอร์ ทรงถอยทัพกลับไปที่ดามีแอ๊ตตา ระหว่างทางพระองค์
ทรงถูกชาว อียิปต์ควบคุมตัว หลังการเจรจาต่อรองพระองค์ได้รับอิสรภาพ แต่จะต้องชำระค่าไถ่สูงถึง
400,000 ลิวร ตูรนัวส์ ซึ่งในเวลานั้นรายได้มวลรวมประเทศมีเพียง 250,000 ลิวร ตุรนัวส์ จึงจำเป็นต้อง
กู้เงินจากเทมปลารส์ และยินยอมคืนเมืองดามีแอ๊ตตาแก่อียิปต์ ระหว่างทรงถูกจองจำ คุณพ่อกีโยม
เดอชาร์ตร พระสงฆ์คณะโดมินิกันผู้ดูแลวิญญาณกษัตริย์หลุยส์ และอภิบาลกองทหารระหว่างสงคราม
ครูเสดทั้ง 2 ครั้ง ก็ถูกควบคุมตัวด้วยเช่นกัน....
ความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนประการหนึ่งของกษัตริย์หลุยส์เมื่อเริ่มทำสงครามครูเสด คือ พระองค์
ทรงงดการสวมใส่อาภรณ์สีสดใส เช่นสีเขียวหรือสีแดงเลือดนก มาเป็นสีน้ำเงิน หรือสีน้ำตาลดำแทน
และไม่ทรงประดับอานม้าด้วยทองหรือเงินซึ่งมีราคาแพง และเป็นที่น่าสังเกตว่าพระองค์จะทรงยึด
ปฏิบัติเช่นนี้ตลอดไปจนเสด็จสวรรคต....

โปรดติดตาม ตอนที่ (20) ในวันต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

เสาร์ พ.ค. 14, 2022 9:15 pm

🌻 🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา ตอนทึ่ (20 )


หลังจากได้รับอิสรภาพ กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ทรงพำนักในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ต่ออีก 4 ปี
ที่ อาเคร และซีซารียา เมืองท่าทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิสราเอล และที่เมืองยัฟฟา
อดีตเป็นเมืองท่าทางตะวันตกของอิสราแอล ส่วนหนึ่งของเมืองเทล อาวิฟ ยัฟฟา
พระองค์ทรงนำทรัพย์ส่วนพระองค์สนับสนุนกำลังทหารและสร้างสัมพันธภาพทางการทูต
กับซีเรีย และอียิปต์ประเทศอิสลามที่เรืองอำนาจในขณะนั้น เดือน พฤศจิกายน ค.ศ 1252
เมื่อกษัตริย์หลุยส์ทรงได้รับข่าวพระราชมารดาเสด็จสวรรคต จึงเสด็จกลับประเทศฝรั่งเศส
ในทันที ก่อนจะทรงเดินทางออกจากดินแดนตะวันออกกลาง พระองค์ทรงมอบหมายให้กอง
ทหารของพระองค์ประจำการอยู่ในเมืองอาเครเพื่อปกป้องดินแดนจากการโจมตีของกอง
ทหารมุสลิม การที่มีทหารฝรั่งเศสประจำอยู่ในตะวันออกกลางเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ยืนยันว่า อาเครเป็นดินแดนในครอบครองของฝรั่งเศส ก้อนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1...
ตามธรรมเนียมปฏิบัติ กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 กราบทูลพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 4
ให้ทรงมอบหมายผู้แทนพระองค์ทำหน้าที่ผู้นำด้านจิตวิญญาณร่วมเดินทางในการทำสงคราม
ครูเสด ซึ่งได้แก่พระคาร์ดินัลยูเดส เดอชาโตรูส์ พระอัครสังฆราชประจำอาสนวิหารนอเตรอะดา
แห่งปารีส และจิตตาภิบาลประจำมหาวิทยาลัยแห่งกรุงปารีส หลังพระราชพิธีปลงพระศพ
พระราชมารดา บลองซ เดอกาสตีย กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ทรงเริ่มดูแลแก้ไขปัญหาบ้านเมือง
ทรงนำข้อคำสอนทางศาสนามาประยุกต์ใช้ในงานบริหารปกครอง ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการ
สอบสวนข้าราชที่กระทำผิดระหว่างพระองค์ทรงนำกองทัพครูเสดทรงออกกฤษฏีกา 2 ฉบับ
เพื่อกำหนดความรับผิดชอบและหน้าที่ของข้าราชสำนัก ทรงประกาศให้การขายบริการทางเพศ
เป็นเรื่องผิดกฎหมาย มาตรการดังกล่าวทำให้ราชสำนักมั่นคง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแข็งค่าขึ้น
การค้าขายเจริญก้าวหน้า.....
กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ทรงดำริจะเตรียมทัพไปทำสงครามครูเสดอีกครั้ง พระองค์ทรงประกาศ
คณะขุนนาง และบรรดาพระอัครสังฆราชได้ทราบในวันแม่พระรับสาร พระองค์ทรงประกาศกำหนด
วันเดินทางในเดือน กรกฎาคม ค.ศ 1270 เป็นการ " กลับสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และดินแดนตะวันออก
"พระองค์ตัดสินพระทัยเลือกเมืองตูนิสเป็นเป้าหมายการทำสงครามครูเสดครั้งนี้....
วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ 1270 กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 เสด็จยังมหาวิหารแซงต์-เดอนีส์ เพื่อขอพระพร
ก่อนออกเดินทาง วันรุ่งขึ้นพระองค์ทรงลาพระราชินีมาร์เกอริตที่ปราสาทแว็งแซนส์ แล้วทรงออก
เดินทัพโดยแวะตามสักการสถานสำคัญ ๆ เช่น วิลล์เนิฟ-แซงต์-ณอร์ช, ซังส์, และกลูนี ก่อนลงเรือ
ที่เมืองแอเกอ-มอรต วันที่ 1 กรกฏาคม ค.ศ 1270....

โปรดติดตาม ตอนที่ (21) ในวันต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

เสาร์ พ.ค. 14, 2022 9:19 pm

🌻 🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา ตอนทึ่ (21):


กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 เสด็จสวรรคตจากการทำสงครามครูเสดที่เมือง ตูนิส ดังนั้น
"การเดินทางสู่ตูนิส " เปรียบดังการแห่กางเขนครั้งสุดท้ายของพระองค์ฝันร้ายจากการนำทัพ
ทำสงครามครูเสดที่อียิปต์เกิดขึ้นซ้ำอีกครั้ง และ ครั้งนี้สาหัสกว่าครั้งก่อนมากนัก..,

หลังหยุดพักที่เกาะซาร์ดิเนีย ระยะสั้น ๆ วันที่ 17 กรกฎาคม กษัตริย์หลุยส์เดินทางต่อไป
ยังเมือง ลา กูแล็ต ใกล้ตูนิส ทรงหวังว่าจะมีชัยชนะในสงครามครั้งนี้น้อยมาก แต่พระองค์ไม่
ทรงท้อถอย โรคไข้รากสาดใหญ่ และ โรคบิด ระบาดในดินแดนแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ทำให้ทหารจำนวนมากล้มป๋วย รวมถึงเจ้าชายฌัง-ตริสตัง พระราชโอรสของกษัตริย์หลุยส์ที่ 9
สิ้นพระชนม์ วันที่ 3 สิงหาคม คุณพ่อชอฟฟรัว เดอ โบลิเยอ บันทึกเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า
"ไม่มีผู้ใดกล้ากราบทูลพระองค์ถึงข่าวร้ายนี้ แต่เมื่อกษัตริย์หลุยส์ทรงทราบ พระองค์ทรงเสีย
พระทัยอย่างมาก ทรงพระประชวรไข้สูง และพระอาการทรุดหนัก พระองค์ทรงรับศีลเจิมผู้ป่วย
ด้วยความศรัทธา ขณะยังรู้สึกพระองค์ก็ตรัสด้วยพระสุรเสียงอ่อนแรงว่า "เพราะเห็นแก่ความรัก
ของพระเป็นเจ้า ขอให้เราพยายามประกาศความเชื่อคริสตชนแก่ชาวตูนีเซีย โอัเราจะส่งนักเทศน์
ที่ปราดเปรื่องมาอภิบาลที่นี่ได้อย่างไร".....
ต่อจากนั้นพละกำลังเริ่มอ่อนแรง ทรงภาวนาวอนขอความช่วยเหลือจากบรรดานักบุญ รวมถึง
ท่านนักบุญเดอนีส์ พระอัครสังฆราชองค์แรกแห่งกรุงปารีส และองค์อุปถัมภ์ของประเทศฝรั่งเศส
ด้วยพระสุรเสียงที่อ่อนแรง พระองค์ตรัสว่า "เราวอนขอพระเมตตาจากพระเป็นเจ้าโปรดประทาน
ความรัก และพระหรรษทานที่จำเป็นเพื่อจะปฏิเสธทรัพย์สมบัติฝ่ายโลก และสามารถเผชิญกับความ
ยากลำบาก" พระองค์ตรัสซ้ำประโยคเดิมหลายครั้ง ก่อนที่จะสวรรคตที่เมืองตูนิส วันที่ 25 สิงหาคม
ในเวลาบ่าย 3 โมงเช่นเดียวกับพระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรของพระเป็นเจ้า บางตำนานเล่าว่า
คืนก่อนจะเสด็จสวรรคต กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ตรัสว่า "เราจะไปยังกรุงเยรูซาเล็ม".....

พิธีอัญเชิญพระศพกลับสู่ประเทศฝรั่งเศส มีประชาชนมาคุกเข่าถวายความเคารพตลอดเส้นทาง
พระราชพิธีปลงพระศพ จัดที่มหาวิหารนอเตรอะดาม แห่งกรุงปารีส กษัตริย์และประชาชนทั่วทวีป
ยุโรปจัดพิธีไว้อาลัยถวายพระเกียรติแด่พระองค์ ก่อนจะนำพระศพไปประดิษฐานที่อารามนักพรต
แซงต์-เดอนีส์ รวมกับกษัตริย์ฝรั่งเศสพระองค์อื่น ๆ 🎉🌻🥀🌹💐

โปรดติดตาม ตอนที่ (22) ในวันต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

เสาร์ พ.ค. 14, 2022 9:23 pm

🌻 🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ผู้เชื่อศรัทธา ตอนทึ่ (22):


การสถาปนานักบุญ พระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 4 สิ้นพระชนม์วันทู 29 พฤศจิกายน ค.ศ 1268
และบัลลังก์พระสันตะปาปาว่างจนถึง ค.ศ1271 ดังนั้นคํ่าวันที่กษัตริย์หลุยส์เสด็จสวรรคตที่ตูนิส
พระศาสนจักรคาทอลิกขาดผู้นำ
ในระยะ 3 สัปดาห์ที่กษัตริย์หลุยส์ที่ 9 เสด็จสวรรคตเจ้าชายฟิลิปที่ 3 พระราชโอรสกษัตริย์
หลุยส์ที่ 9 ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้รับสถาปนาเป็นกษัตริย์ปกครองต่อจากพระราชบิดา ทรงเขียน
จดหมายแจ้งข่าวแก่ผู้นำพระศาสนจักรในฝรั่งเศสขอคำภาวนาเพื่อดวงวิญญาณของกษัตริย์หลุยส์.....
ชาวฝรั่งเศสต่างระลึกถึงกษัตริย์ของพวกเขามิเพียงเป็นผู้ปฏิบัติศาสนกิจที่เคร่งครัด แต่ทรงเป็น
ผู้ดำเนินชีวิตเป็นที่โปรดปรานของพระเป็นเจ้า ทรงอุทิศเวลาเพื่อการสวดภาวนาอย่างไม่หยุดหย่อน
ทรงดำเนินชีวิตพลีกรรมเช่นเดียวกับบรรดานักพรตของพระศาสนจักร ทรงละเว้นจากการดำเนินชีวิต
หรูหราฟุ่มเฟือย ทรงห่วงใยและทำทานแก่คนยากไร้ และทรงทำสงครามครูเสดอย่างกล้าหาญเพื่อ
ปกป้องพระศาสนจักรในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ถึง 2 ครั้ง...
เมื่อพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 10 ได้รับเลือกตั้งเป็นพระสันตะปาปาองค์ต่อมา
ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ 1271 พระองค์ทรงมอบหมายคุณพ่อชอฟฟรัว เดอโบลิเยอ ให้รวบรวม
ข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาแต่งตั้งนักบุญเพราะ คุณพ่อรู้จักกษัตริย์หลุยส์ตั้งแต่ ค.ศ 1248
เป็นพระสงฆ์ผู้ฟังแก้บาปของกษัตริย์หลุยส์นานกว่า 2 ทศวรรษและยังเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์
สงครามครูเสดที่เมือง ตูนิสด้วย.....
พระสันตะปาปาเกร โกรี ที่ 10 สิ้นพระชนม์ ค.ศ 1276 ทำให้การดำเนินเรื่องพิจารณาแต่งตั้ง
นักบุญของกษัตริย์หลุยส์ ถูกระงับไว้ชั่วคราวในสมัยปกครองของพระสันตะปาปาอีก 3 พระองค์
ต่อมาจนถึงสมัยพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 3 (ค.ศ 1277 -1280 ) จึงเริ่มต้นดำเนินเรื่องต่ออีกครั้ง....
พระสันตะปาปาโบนิฟาสที่ 8 ( 24 ธันวาคม 1294 -11 ตุลาคม 1303 ) ทรงสถาปนากษัตริย์หลุยส์ที่ 9
แห่งประเทศฝรั่งเศสเป็นนักบุญ รวมระยะเวลาพิจารณาแต่งตั้งนักบุญประมาณ 27 ปี พระศาสนจักร
กำหนดให้จัดฉลองนักบุญ หลุยส์กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส วันที่ 25 สิงหาคม.....
บทเทศน์ในพิธีสถาปนา พระสันตะปาปาโบนิฟาสที่ 8 ทรงยกข้อพระคัมภีร์จากหนังสือพงศ์กษัตริย์
"กษัตริย์ซาโลมอนทรงรํ่ารวย และทรงพระปรีชาสามารถกว่ากษัตริย์ทั้งหลายในแผ่นดิน" (1 พกษ 10:23)
และจากหนังสือพงศาวดาร (2 พศด 9:22) เปรียบเทียบกับกษัตริย์หลุยส์ที่ 9 ผู้ทรงได้รับสันติสุข
ในพระเป้นเจ้า และยังทรงได้รับยกย่องเหนือกษัตริย์ทั้งปวงในแผ่นดินโลกเพราะเต็มเปี่ยมด้วย
พระสติปัญญา.....
พระสันตะปาปาโบนิฟาสที่ 8 ทรงเปรียบเทียบกษัตริย์หลุยส์ที่ 9 กับ ซามูเอล ชื่อซึ่งมีความหมายว่า
"นบนอบต่อพระเป็นเจ้า" เพราะกษัตริย์หลุยส์ "ทางนบนอบพระเป็นเจ้าตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์
" และยังทรงประกาศยกย่องกษัตริย์หลุยส์ที่ 9 มิเพียงในฐานะกษัตริย์แห่งประเทศฝรั่งเศส แต่ในฐานะ
ผู้ที่ทรงดำเนินชีวิตเลียนแบบอย่างพระเยซูเจ้า โดยเฉพาะคุณสมบัติของความถ่อมพระองค์และการช่วย
เหลือผู้ยากไร้ ทั้งนี้เพื่อพระสิริรุ่งโรจน์ของพระศาสนจักร..

✍️ กษัตริย์หลุยส์ที่ (9) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสเพียงพระองค์เดียวที่ได้รับสถาปนาเป็นนักบุญ
ตลอดสมัยปกครอง ระหว่าง ค.ศ 1226-1270 พระองค์ทรงมีชื่อเสียงเลื่องลือในเรื่อง
*** ความศรัทธา
*** ความใจบุญ
*** ความยุติธรรม
# และทรงเป็นนักปกครองที่ทรงคุณธรรม......

โปรดติดตาม ตอนที่ (23) ในวันต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ พ.ค. 16, 2022 12:41 pm

ตอนทึ่ (23): บทสรุป / ถ้อยคำชวนคิดทั้งหมด
เกี่ยวกับนักบุญหลุยส์ กษัตริย์ผู้เชื่อ และศรัทธาฯ


👸 พระราชินีบลองซ ทรงเชื่อว่ากษัตริย์ที่ดีพึงดำรงพระองค์ในศิลธรรมอันดี และยึดมั่นในศาสนา
จึงทรงอบรมพระโอรสหลุยส์เป็นพิเศษในด้านศาสนา และ การปกครอง นอกจากนั้นพระองค์
ยังทรงเรียนรู้ภาษาละตินซึ่งเป็นรากฐานของการศึกษาศิลปะชั้นสูง...บทภาวนาในพิธีสถาปนา
พระราชโอรสหลุยส์เป็นกษัตริย์ วอนขอพระเป็นเจ้าโปรดประทาน " พระพรแห่งปรีชญาญาณ
และสันติภาพดังที่พระองค์ประทานแก่กษัตริย์ซาโลมอน ความเชื่อมั่นคงดัง อับราฮัม
ความกล้าหาญดัง ซามูเอล และ ความถ่อมพระองค์ดังกษัตริย์ดาวิด "

❤️ กษัตริย์หลุยส์กล่าวยืนยันความเชื่อของพระองค์ด้วยความกล้าหาญขณะที่ถูกชาวซาราเซน
ควบคุมตัวและบังคับให้ปฏิเสธความเชื่อ พระองค์ตรัสตอบว่า " ท่านฆ่าเราได้เพียงร่างกาย
แต่จะไม่อาจทำร้ายวิญญาณข้าพเจ้าได้หรอก " และ " ไม่มีสิ่งใดเลวร้ายเท่ากับการยอมปฏิเสธ
ความเชื่อในองค์พระเยซูคริสตเจ้าพระบุตรของพระเป็นเจ้า "

🌻 พระองค์ทรงแนะนำพระราชโอรส -ธิดาให้มีใจเมตตาต่อผู้ทนทรมานทั้งทางร่างกาย และ จิตใจ
"ลูกรักพ่อขอให้ลูกมีใจอ่อนโยนต่อประชาชนผู้ยากไร้ และผู้ทนทุกข์ทั้งร่างกาย และจิตใจเสมอ"
และ พระองค์เสด็จเยี่ยมผู้ป่วย และผู้ทุพพลภาพ ตามอาราม และ โรงพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งเป็นงาน
เมตตากิจที่ยิ่งใหญ่. พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาอย่างเคร่งครัด ทรงสอนพระโอรสว่า
"ลูกรัก หน้าที่ ประการแรกของลูกคือ ให้รักพระเป็นเจ้าด้วยสิ้นสุดจิตใจ สุดกำลัง เพราะหากปราศจาก
ความรักต่อพระเป็นเจ้าแล้ว มนุษย์ก็ไร้คุณค่า" "การทุกข์ทรมานทางกายที่มนุษย์เราเผชิญในโลกนี้
เตรียมไว้ถวายแด่พระเยซูคริสตเจ้า ผู้ทรงผ่านการทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสเพื่อทรงไถ่กู้มนุษยชาติ
ให้รอดพ้นจากบาป เป็นของขวัญพิเศษถวายแด่พระเยซูคริสตเจ้าผู้สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อเรา "

💯🌟 คุณสมบัติที่กษัตริย์คริสตชนพึงมีตามข้อคำสอนของพระศาสนจักรได้แก่
# ความยำเกรงพระเป็นเจ้า #ปรีชาญาณ # ความสุขุมรอบคอบ
# ความเรียบง่าย # ความอดทน # ความยุติธรรม # การตัดสินที่เที่ยงธรรม
# ความเมตตา # ความถ่อมตน # ยึดมั่นในคุณธรรม # การให้อภัย
# ผู้ให้คำแนะนำที่ดี

โปรดติดตาม ตอนที่ (24) ในวันต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ พ.ค. 16, 2022 12:46 pm

🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ตอนทึ่ (24): ประวัติโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์

โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่มิได้มุ่งแสวงหากำไร ตั้งอยู่บน
พื้นที่กว่า 20 ไร่ บนถนนสาธรใต้ ก่อตั้งเมื่อ 15 กันยายน ค.ศ 1898
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย ฯพณฯ หลุยส์ เวย์ มุขนายกมิสซัง
โรมันคาทอลิก แห่งกรุงสยาม และได้มอบหมายให้ภคินีคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร เป็นผู้ดูแล
โรงพยาบาลเพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์อันทันสมัย พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก
ครบครัน เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกสาขา และพยาบาลที่คอยดูแลผู้ป่วย
อย่างใกล้ชิด...
พระสังฆราชหลุยส์ เวย์ ประมุขมิสซังสยามได้ขนานนามโรงพยาบาลว่า "โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ "
ตามพระนาม นักบุญหลุยส์ พระราชาธิบดีหลุยส์ที่ 9 แห่งประเทศฝรั่งเศส...
10 มีนาคม ค.ศ 1973 ฯพณฯ ยวง นิตโย มุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพ ฯ ประกอบพิธี
วางศิลาฤกษ์อาคารผู้ป่วยใน หลังใหม่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามว่า "ศรีสวัสดิ์ " เพื่อเป็นพระราชอนุสรณ์แด่
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เริ่มเปิดให้บริการในปี ค.ศ 1975 และต่อมาได้ก่อสร้างอาคาร
ผู้ป่วยเพิ่มอีกหนึ่งอาคารซึ่งได้พระราชทานนามว่า "สิริกุศลา " เพื่อเป็นพระราชอนุสรณ์แด่
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ....
ในปี ค.ศ 1979 โรงพยาบาลได้ประสบผลสำเร็จในการผ่าตัดหัวใจ และผ่าตัดเปลี่ยนไต
นับเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกในประเทศที่สามารถให้บริการด้านนี้....
1 มกราคม ค.ศ 1988 ฯพณฯ พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ได้อนุมัติให้มีการปรับปรุง
การดำเนินงานต่าง ๆ โดยเฉพาะการนำเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย
เช่น เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ เครื่องตรวจทางห้องปฏิบัติการอัตโนมัติ และเครื่องล้างไต
ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามา ฯลฯ...เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการ
ในปี ค.ศ 1995 ได้มีการฝึกอบรมพนักงานทุกระดับเพื่อให้การบริการผู้ป่วยที่มีคุณภาพ
โดยเน้นความพีงพอใจสูงสุดของผู้ป่วย ...
ก้าวสู่ศตวรรษที่สองโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ได้ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใหม่เพื่อเป็นอนุสรณ์
ครบ 100 ปีของการดำเนินงาน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณา
โปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามอาคารผู้ป่วยใหม่ว่า "อาคารร้อยปีบารมีบุญ "....
23 ธันวาคม ค.ศ 2000 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเป็นองค์
ประธานเปิดอาคาร....
อาคารร้อยปีบารมีบุญ เป็นอาคารสูง 24 ชั้นสามารถรองรับผู้ป่วยในได้มากกว่า 500 เตียง
และ ผู้ป่วยนอกได้มากกว่า 2,000 คนต่อวัน สามารถรองรับระบบการรักษาระยะไกล
(TELEMEDICINE) นับเป็นการบริการภายใต้วิสัยทัศน์ " เราจะเป็นผู้นำในความหวัง ด้านการรักษา
และการอภิบาล " พร้อมกันนั้นชั้นดาดฟ้ายังมีลานจอด เฮลิคอปเตอร์ที่สามารถรับผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศได้...
โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของโลกที่ได้รับรอง
✍️ ระบบคุณภาพมาตรฐานสากล ISO 9002. ทั้งโรงพยาบาลในฐานะผู้ให้บริการทางการแพทย์
✍️ ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล ISO 14001
✍️ ด้านความปลอดภัย ของอาหารผู้ป่วยได้รับการรับ รองระบบการวิเคราะห์อันตราย
และ จุดวิกฤตที่ต้องควบคุม ( HAZARD ANALYSIS CRITICAL CONTROL POINT : HACCP )
จากสำนักงานคณะกรรมการ อาหาร และ ยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข 🎉

โปรดติดตาม ตอนที่ (25 )ในวันต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พุธ พ.ค. 18, 2022 10:58 pm

🌄 นักบุญหลุยส์ กษัตริย์ ตอนทึ่ (25): ประวัติวัดเซนต์หลุยส์

ท่ามกลางความวุ่นวาย เร่งรีบ ความหงุดหงิด และุ ความยากเข็ญในการเดินทางผ่าน
ถนนสาทร ถนนสายนี้แทบจะไม่เคยสงบเงียบ แต่ท่ามกลางความวุ่นวาย ท่ามกลางเสียง
เครื่องยนต์ของรถที่แล่นไปมา ริมถนนสาทรใต้ยังมีสถานที่ที่สงบเงียบ เป็นที่พึ่งทางจิตวิญญาณ
ของคนหลายคนนั่นคือ " วัดเซนต์หลุยส์ " ที่ผ่านกาลสมัยรับใช้คริสตชนคนแล้วคนเล่ายาวนาน
มาถึง 50 ปี
ย้อนหลังกลับไปในสมัยที่ พระสังฆราชหลุยส์ โชแรง ดำรงตำแหน่งพระสังฆราชปกครอง
มิสซังกรุงเทพ ฯ ต่อจากพระสังฆราชเรอเน แปร์รอสแล้ว ขณะนั้นมีคริสตังแถบเซนต์หลุยส์อยู่
จำนวนมากที่ต้องไปร่วมพิธีกรรมที่วัดอื่นๆ
วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ 2498 ท่านจึงประกาศที่จะสร้างวัดเซนต์หลุยส์ บนที่ดินที่
พระสังฆราช หลุยส์ เวย์ กับ คุณพ่อ หลุยส์ โรมิเออ เคยซื้อไว้เมื่อปี พ.ศ 2438 ซึ่งท่านทั้งสอง
ตั้งใจจะให้ที่ดินตรงนี้เป็นที่ตั้งของวัดใหญ่ในอนาคตอยู่แล้ว....
การก่อสร้างวัดเซนต์หลุยส์นี้ได้ใช้งบประมาณจากเงินส่วนตัวของท่านโชแรง และ เงินของ
ญาติพี่น้องของท่านจากต่างประเทศ อีกส่วนหนึ่งเป็นเงินสมทบจากคริสตชนในประเทศไทย
วัดเซนต์หลุยส์ได้ตั้งชื่อตามศาสนานามของผู้สร้างวัดนี้ ทำพิธีเสก และเปิดวัดอย่างสง่า
ในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ 2500 มีพระสังฆราชในประเทศไทย ประเทศลาว
และประเทศพม่ามาร่วมพิธีด้วย....
วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ 2500 พระสังฆราชหลุยส์ โชแรง ได้แต่งตั้ง คุณพ่อมิแชล ลังเยร์
เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกชองวัดเซนต์หลุยส์ เนื่องจากคุณพ่อเคยอยู่ประเทศจีนมาก่อนรู้นิสัย
ใจคอของคนจีน และภาษาจีนอยู่ไม่น้อย สามารถดูแลชาวจีนแถบเซนต์หลุยส์ และ ชาวต่างชาติ
ที่มาติดต่อ....
พระสังฆราชหลุยส์ โชแรง ต้องการให้พระสงฆ์คณะ M.E.P เป็นเจ้าอาวาสตลอดไป หลังจาก
คุณพ่อ มิแชล ลังเยร์ ก็มีคุณพ่อ ปีแอร์ ลาเบอรี่, คุณพ่อ ยอร์ช มังซุย มาเป็นเจ้าอาวาส....
ที่สุดทางคณะแขวง M.E.P (กรุงเทพ ฯ) ได้แจ้งแก่ พระอัครสังฆราช มีชัย กิจบุญชู
ว่าเป็นการยากสำหรับคณะที่จะสนองความต้องการของท่าน โชแรงได้ จึงขอมอบวัดเซนต์หลุยส์
ให้อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นผู้แต่งตั้งพระสงฆ์ไทยเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อไป โดยมี......
คุณพ่อ อันเดร ลออ สังข์รัตน์ (พ.ศ. 2519-2522) เป็นเจ้าอาวาสพระสงฆ์ไทยองค์แรก
คุณพ่อ ดาเนียล ธานี วงศ์พานิช (พ.ศ.2522-2530)
คุณพ่อ ยวง บัแติสตา สำรวย กิจสำเร็จ (พ.ศ.2530-2537)
คุณพ่อ ยวง สุเทพ พงษ์วิรัชไชย (พ.ศ. 2537-2539)
คุณพ่อ ยอแซฟ ทวีศักดิ์ กิจเจริญ (พ.ศ. 2539-2544)
คุณพ่อ ยวง บัปติสตา วิวัฒน์ แพร่ศิริ (พ.ศ. 2544-2549)
คูณพ่อ ยวง บัปติสตา เอกพร นิตตะโย (พ.ศ. 2545-2549)
คุณพ่อ นิโคลาส ศักดิ์ชัย ทรัพย์อัประไมย (พ.ศ. 2549 - !!!!! )
และมีคุณพ่อท่านอื่น ๆ จนถึงปัจจุบัน....

🏜️ 🧭 แม้กาลเวลาจะผ่านไป ความก้าวหน้า ความเจริญ บริเวณถนนสาทรจะพัฒนา
ขึ้นมากเพียงใด วัดเซนต์หลุยส์ก็ยังคงอยู่คู่พระศาสนจักรไทยต่อไปอีกนานเท่านาน....

🙏 ขอบคุณค่ะ ที่ติดตามอ่านจนจบ 🤟
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พุธ พ.ค. 18, 2022 10:58 pm

:s002: :s002: :s002:
ตอบกลับโพส