ประวัตินักบุญอย่างย่อเดือนธันวาคม ( วันที่1-15 )

ใครมาใหม่เชิญทางนี้ก่อน ทักทาย ทดลองโพส
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

ศุกร์ ธ.ค. 02, 2022 9:04 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๑ ธันวาคม
นักบุญเอ็ดมุนด์ แคมเปียน
St. Edmund Campion

เอ็ดมุนด์เกิดที่ลอนดอน ในปี ๑๕๔๐ เขาได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบคาทอลิก ความมีสติปัญญา
อันเปรื่องปราดของเขาเป็นที่ยกย่อง ด้วยวัยเพียง ๑๗ ปีเขาได้ร่วมเป็นสมาชิกผู้เยาว์ของสภา
นักวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด

ในการเสด็จเยือนมหาวิทยาลัย พระราชินีเอลิซาเบ็ธทรงประทับใจในความเฉลียวฉลาดของ
เอ็นมุนด์เป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงอนุญาตให้เขาทูลขออะไรก็ได้จากพระองค์ เกียรติยศและคำ
สรรเสริญที่ได้รับทำให้เอ็ดมุนด์หลงระเริงไปกับความฟุ้งเฟ้อ เขาทอดทิ้งความเชื่อคาทอลิก และ
สาบานรับองค์ราชินีเป็นผู้นำสูงสุดของศาสนจักร เขาได้เป็นอนุสงฆ์ของคริสตจักรแองกลิกันด้วย

อย่างไรก็ตาม มโนธรรมและความเฉลียวฉลาดที่มีทำให้เอ็ดมุนด์ไม่สามารถยอมรับความเป็น
แองกลิกันได้นาน หลังจากใช้เวลาพำนักอยู่ในเมืองดับลินระยะเวลาหนึ่ง เอ็ดมุนด์ก็ได้คืนสู่ความ
เชื่อคาทอลิก เมื่อกลับมาอังกฤษ เขาพบเห็นการไต่สวนคาทอลิกผู้หนึ่งซึ่งต่อมาถูกสังหารเป็นมรณสักขี
เหตุการณ์นี้สั่นสะเทือนเขา เอ็ดมุนด์มั่นใจแล้วว่ากระแสเรียกของเขาคือการเป็นผู้อภิบาลบรรดา
ชาวคาทอลิกใน ประเทศอังกฤษที่ถูกเบียดเบียนข่มเหง เขายังรู้สึกถึงกระแสเรียกทำงานให้พวก
โปรแตสแตนท์กลับใจด้วย

เอ็ดมุนด์จาริกด้วยเท้าเปล่าไปยังโรม และในปี ๑๕๗๓ เขาก็เข้าคณะเยสุอิต เขารับศีลบวชเป็นพระสงฆ์

ปี ๑๕๗๘ เขาเห็นภาพนิมิตจากแม่พระว่าเขาจะเป็นมรณสักขี เมื่อกลับสู่อังกฤษ เอ็ดมุนด์ก็เริ่มทำงาน
อย่างน่าประทับใจ มีคนจำนวนมากมายกลับใจ

ปี ๑๕๘๑ เอ็ดมุนด์ถูกคาทอลิกคนหนึ่งทรยศเขาถูกจับขังคุก พระราชินีทรงสัญญาจะให้ความมั่งคั่ง
ทุกอย่างเพียงเขาสละความภักดีต่อพระสันตะปาปา แต่เอ็ดมุนด์ปฏิเสธ

หลังจากถูกคุมขังในหอคอยแห่งลอนดอนช่วงเวลาหนึ่ง เอ็ดมุนด์ก็ถูกประหารด้วยการแขวนคอ
ในวันที่๑ ธันวาคม ๑๕๘๑ การตายของเขานำคนจำนวนมากให้กลับคืนสู่ศาสนจักรคาทอลิก
พระสันตะปาปาเปาโล ที่ ๖ ทรงประกาศตั้งท่านเป็นนักบุญในปี ๑๙๗๐

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

ศุกร์ ธ.ค. 02, 2022 9:06 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๒ ธันวาคม
บุญราศีลีดูนา เมเนกูซซี
Blessed Liduina Memeguzzi

เอลีซา อังเจลา เมเนกูซซี เกิดในครอบครัวชาวนายากจนของเมืองปาดัว ประเทศอิตาลีเมื่อ
วันที่ ๑๒ กันยายน ๑๙๐๑ เธอแสดงให้เห็นถึงความศรัทธาแต่เยาว์วัย เธอใช้เวลานานหลาย
ชั่วโมงในการสวดภาวนา เธอร่วมมิสซาทุกวันและช่วยสอนคำสอน

ปี ๑๙๒๖ เธอสมัครเข้าคณะซิสเตอร์ของนักบุญฟรังซิสเดอซาลล์ และได้รับชื่อว่าซิสเตอร์ลีดูนา
เธอทำหน้าที่เป็นพยาบาลในโรงเรียนประจำเด็กหญิง ก่อนจะถูกส่งตัวไปเป็นธรรมทูตที่เอธิโอเปีย
ในปี ๑๙๓๗

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซิสเตอร์ลีดูนาดูแลผู้บาดเจ็บในโรงพยาบาลทหารใน เมือง Dire-Dawa
ผู้อาศัยในเมืองนี้ส่วนมากเป็นชาวมุสลิม แต่หลายคนได้หันมารับเอาความเชื่อคาทอลิกเพราะตัวอย่าง
เยี่ยงนักบุญของเธอ ด้วยเหตุนี้เอง เธอได้รับชื่อว่า "เปลวเพลิงแห่งศาสนสัมพันธ์"

เธอเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๑๙๔๑ ในโรงพยาบาลเมือง Dire-Dawa
ประเทศเอธิโอเปีย ที่ซึ่งเธอใช้เวลาหลายปีสุดท้ายของชีวิต ร่างเธอถูกนำกลับสู่บ้านศูนย์กลางคณะ
ในปี ๑๙๖๑
เธอได้รับการแต่งตั้งเป็นบุญราศีเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๐๐๑ โดยพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ ๒

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

เสาร์ ธ.ค. 03, 2022 10:31 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ 3 ธันวาคม
นักบุญฟรังซิส เซเวียร์
St. Francis Xavier

ฟรังซิส เซเวียร์ เกิดในปี ๑๕๐๖ ในอาณาจักร Navarre ดินแดนซึ่งขณะนี้ถูกแบ่งเป็นของฝรั่งเศส
และสเปน มารดาของฟรังซิสสืบสายเลือดผู้สูงศักดิ์ บิดาเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์ยอห์น ที่ 3 พี่น้อง
ของฟรังซิสสมัครเข้าเป็นทหารในกองทัพ แต่เขาสมัครเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยปารีส ที่นั่น
ฟรังซิสเรียนปรัชญา และทำหน้าที่สอนหลังจากได้รับปริญญาโทในปารีส

ฟรังซิสจะพบเป้าหมายชีวิตของเขาโดยผ่านการช่วยเหลือของเพื่อนเก่าแก่ชื่อ ปีเตอร์ เฟเบอร์
และนักศึกษาอายุมากคนหนึ่งชื่ออิกญาซีโอ โลโยลา ซึ่งมาปารีสในปี ๑๕๒๘ เพื่อเรียนให้จบระดับ
ปริญญา ฟรังซิสจะถูกชักนำเข้ากลุ่มชายหนุ่มที่มุ่งจะถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าด้วยชีวิตของพวกเขา

ทีแรกความทะเยอทะยานส่วนตัวทำให้ฟรังซิสไม่ฟังเสียงเรียกของพระ ความสุภาพถ่อมตนและรูปแบบ
ชีวิตเคร่งครัดของอิกญาซีโอก็ไม่ได้ดึงดูดใจเขา แต่อิกญาซีโอผู้มีประสบการณ์กลับใจอย่างตื่นเต้นเร้าใจ
ได้ถามคำถามของพระเยซูกับฟรังซิสเสมอๆ ว่า
"จะมีประโยชน์อะไรถ้าเราจะได้โลกทั้งโลกมาครองแต่สูญเสียวิญญาณ?"

ทีละน้อยอิกญาซีโอทำให้ฟรังซิสยกเลิกแผนการของเขาและเปิดใจรับพระประสงค์ของพระเจ้า
ปี ๑๕๓๔ ฟรังซิส เซเวียร์ ปีเตอร์ เฟเบอร์ และชายหนุ่มอีก ๔ คน ร่วมกับอิกญาซีโอถวายคำสาบาน
ถือความยากจน ความบริสุทธิ์ และการอุทิศตนเพื่อทำงานประกาศพระวรสารโดยจะนบนอบคำสั่ง
ของพระสันตะปาปา

ฟรังซิสบวชเป็นสงฆ์ในปี ๑๕๓๗ สามปีต่อมา พระสันตะปาปาเปาโล ที่ ๓ ทรงรับรองคณะนักบวชเยสุอิต
ของอิกญาซีโอและสหาย ระหว่างปีนั้นเองกษัตริย์โปรตุเกสทรงขอร้องให้พระสันตะปาปาส่งธรรมทูต
ไปยังแว่นแคว้นอินเดียที่พระองค์เพิ่งได้ครอบครอง

ฟรังซิสกับเพื่อนเยสุอิตอีกคนหนึ่งชื่อ ซีมอน โรดริเกซ ใช้เวลาอยู่ในโปรตุเกสเพื่อดูแลคนเจ็บป่วยและ
สอนเรื่องความเชื่อ แล้วในวันเกิดอายุ ๓๕ ปีเขาก็ล่องเรือเดินทางไปกัว ซึ่งอยู่ทางชายฝั่งตะวันตกของ
อินเดีย อย่างไรก็ตาม เขาพบว่าชาวอาณานิคมโปรตุเกสสร้างความเสื่อมเสียให้พระศาสนจักร
โดยพฤติกรรมเลวทราม ในสถานการณ์เช่นนี้ฟรังซิสทำงานทันทีเขาเยี่ยมเยียนนักโทษและคนป่วย
รวมรวมเด็กเป็นกลุ่มเพื่อสอนเรื่องพระเจ้า เขาเทศน์ประกาศแก่ทั้งชาวโปรตุเกสและชาวอินเดีย
เขาปรับตัวเข้ากับความเป็นอยู่ของคนที่นั่นด้วยการกินข้าวและอยู่ในกระท่อมพื้นดิน

งานธรรมทูตของฟรังซิสกับคนท้องถิ่นประสบความสำเร็จ แต่การทำให้คนชั้นสูงกลับใจยากลำบากกว่า
เขาพบเจอการต่อต้านจากทั้งชาวฮินดูและมุสลิม ปี ๑๕๔๕ ฟรังซิสเดินทางขยายเขตการทำงานไปถึง
มาเลเซียก่อนจะไปถึงญี่ปุ่นในปี ๑๕๔๙

เมื่อพูดภาษาญี่ปุ่นได้คล่องแล้ว ฟรังซิสก็สอนคนญี่ปุ่นรุ่นแรกให้รับเชื่อเป็นคาทอลิก ญี่ปุ่นเหล่านี้หลายคน
กล่าวว่ายินดีจะรับทรมานเป็นมรณสักขียิ่งกว่าจะสละความเชื่อที่นำมาสู่พวกเขาโดยเยสุอิตจากแดนไกล

ฟรังซิสล้มป่วยและเสียชีวิตในวันที่ ๓ ธันวาคม ๑๕๕๒ ขณะนั้น เขากำลังหาวิธีเดินทางเข้าไปในอาณาจักรจีน
ปี ๑๖๒๒ ฟรังซิส เซเวียร์ และอิกญาซีโอ โลโยลา ได้รับการประกาศเป็นนักบุญในวันเดียวกัน

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อาทิตย์ ธ.ค. 04, 2022 3:16 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๔ ธันวาคม
นักบุญยอห์นแห่งดามัสกัส
St. John of Damascus

นักบุญยอห์นแห่งเมืองดามัสกัส (ปี ๖๗๖-๗๔๙) เป็นที่รู้จักดีที่สุดในฐานะผู้ปกป้องศิลป
ศักดิ์สิทธิ์ของคริสตชน โดยเฉพาะในรูปแบบของไอคอน (icons) พระศาสนจักรแห่งโรมและ
คอนสแตนติโนเปิล ยังคงเป็นหนึ่งเดียวกันในช่วงอายุของยอห์น แต่จักรพรรดิเลโอ ที่ ๓ แห่ง
ไบแซนไทน์ได้แยกตัวออก จากธรรมเนียมเก่าแก่ของพระศาสนจักรโดยกล่าวหาว่าการนมัสการ
ภาพไอคอนถือเป็นบาปกราบกรานรูปเคารพ

ยอห์นเติบโตมาภายใต้การปกครองของมุสลิมในเมืองดามัสกัส แต่บิดามารดาของท่านเป็น
คริสตชนที่มีความเชื่อแน่นแฟ้น การศึกษาดีเลิศของยอห์น โดยเฉพาะในด้านเทววิทยาได้เตรียม
ความพร้อมแก่ท่านในการปกป้องรักษาธรรมเนียมภาพไอคอนศักดิ์สิทธิ์

ในปี ๗๒๐ ยอห์นเริ่มต่อต้านอย่างเปิดเผยต่อคำสั่งของจักรพรรดิที่ห้ามมีภาพศักดิ์สิทธิ์ ท่านเขียน
หนังสือหลายเล่ม ประเด็นสำคัญของข้อโต้แย้งมี ๒ ประการคือ ๑.คริสตชนไม่ได้นมัสการภาพ
แต่โดยอาศัยภาพเหล่านั้น พวกเขานมัสการพระเจ้าและให้ความเคารพในการระลึกถึงพวกนักบุญ
และ ๒.ยอห์นยืนยันว่าการที่พระคริสต์บังเกิดมารับสภาพเป็นมนุษย์ก็คือข้อสนับสนุนให้พระศาสนจักร
วาดภาพพระองค์ได้

ปี ๗๓๐ ยอห์น ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ปกป้องศิลปศักดิ์สิทธิ์ของชาวคริสต์อย่างเป็นทางการได้เป็นศัตรู
อย่างถาวรของจักรพรรดิ พระองค์ใช้ให้คนเขียนจดหมายปลอมลายเซ็นของยอห์นว่าได้รับข้อเสนอ
ที่จะหักหลังผู้ปกครองชาวมุสลิมแห่งเมืองดามัสกัส

คาลิฟผู้ครองนครเชื่อว่าจดหมายนั้นเป็นจริง พระองค์ออกคำสั่งให้ตัดศีรษะยอห์น แต่ตามชีวประวัติ
ของท่านที่คงเหลือเพียงเล่มเดียวกล่าวว่าพระนางมารีย์ได้ต่อคืนศีรษะให้ท่านอย่างน่าอัศจรรย์
และยอห์นสามารถทำให้ผู้ปกครองมุสลิมเชื่อในความบริสุทธิ์ของท่านได้ในที่สุด หลังจากนั้น ยอห์น
ตัดสินใจเป็นฤษีและบวชเป็นพระสงฆ์

งานเขียนด้านเทววิทยาของยอห์นมีอิทธิพลลึกซึ้งต่อนักบุญโทมัส อไควนัส และอีกหลายศตวรรษ
ให้หลัง บทเทศน์ของท่านเรื่องการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ทางกายของพระนางมารีย์ก็ถูกอ้างอิงโดย
พระสันตะปาปาปีโอ ที่ ๑๒ เมื่อพระองค์ทรงให้นิยามข้อความเชื่อเรื่องนี้

บทขับร้องและกวีนิพนธ์ของยอห์นแห่งดามัสกัสยังถูกใช้ในพิธีกรรม
ของศาสนจักรออร์โธด็อกซ์ตะวันออกมาจนทุกวันนี้

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ ธ.ค. 05, 2022 9:36 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๕ ธันวาคม
บุญราศีฟิลิป รีนัลดี
Blessed Phillip Rinaldi

ฟิลิปเกิดวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๑๘๕๖ ในเมือง Piedmont ประเทศอิตาลี เขาพบดอนบอสโก
เมื่ออายุเพียง ๕ ขวบ แต่รู้ด้วยสัญชาตญาณว่าท่านเป็นบุรุษผู้มีภารกิจยิ่งใหญ่

เมื่ออายุ ๒๒ ปี ฟิลิปเข้าคณะซาเลเซียนภายหลังต้องดิ้นรนอย่างมากเพื่อกระแสเรียก และแม้
กระทั่งก่อนถวายตัว เขาก็ถูกตั้งให้เป็นผู้ช่วยนวกจารย์และให้ดูแลพวกผู้มีกระแสเรียกที่
อายุมากแล้ว ฟิลิปบวชเป็นพระสงฆ์ในปี ๑๘๘๒

ไม่นาน ฟิลิปได้เป็นอธิการเจ้าคณะแขวงในสเปน ท่านเปิดบ้านใหม่หลายหลังและรับหน้าที่
เป็นรองมหาอธิการของคณะซาเลเซียนก่อนจะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งคนที่ ๓ ต่อจากดอนบอสโก
ในปี ๑๙๒๒

ท่านปกครองดูแลคณะอย่างสุภาพถ่อมตนและเงียบๆ ท่านชอบที่จะอยู่เบื้องหลัง ไม่เป็นที่สังเกต
ของฝูงชน ท่านมีคุณธรรมเยี่ยงนักบุญและความกระตือรือร้นในการประกาศพระวรสาร
การเยียวยาให้หายอย่างอัศจรรย์จากผู้สวดขอต่อท่าน ในปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒
ทำให้เริ่มกระบวนการแต่งตั้งท่านเป็นนักบุญ

ท่านเสียชีวิตวันที่ ๕ ธันวาคม ๑๙๓๑ ในเมืองตูริน และรับการประกาศเป็นบุญราศี
วันที่ ๒๙ เมษายน ๑๙๙๐ โดยพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ ๒

"เธอต้องทำอะไรเพื่อจะได้ชีวิตนิรันดรน่ะหรือ? ก่อนอื่นหมด สิ่งแรกที่เธอต้องทำคือสวดภาวนา
ขอความกล้าหาญทุกวัน ให้แบกกางเขนที่พระเจ้ามอบให้เธอ จากนั้น เธอแต่ละคนจงทำงาน
ของตัวเองอย่างดี งานที่เหมาะกับสภาพของเธออย่างที่พระเจ้าทรงต้องการ"
บุญราศีฟิลิป รีนัลดี

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร ธ.ค. 06, 2022 2:27 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๖ ธันวาคม
นักบุญนิโคลาสแห่งไมรา
St. Nicholas of Myra

วันนี้คริสตชนรำลึกถึงสังฆราชท่านหนึ่งในยุคแรกของพระศาสนจักร ซึ่งมีชื่อเสียงในความเอื้อเฟื้อ
เผื่อแผ่และรักพวกเด็กๆ ท่านเกิดเมื่อปลายศตวรรษที่ ๓ หรือ ๔ ใน Lycia ซึ่งอยู่ในเอเชียไมเนอร์
นักบุญนิโคลาสแห่งไมราเป็นแรงบันดาลใจและเป็นที่มาของซานตาคลอสในยุคของเรา

เมื่อเป็นหนุ่ม ท่านจาริกแสวงบุญไปที่ปาเลสไตน์และอียิปต์เพื่อศึกษาในสำนักของปิตาจารย์ทะเลทราย
เมื่อเดินทางกลับถิ่นเกิดในอีกหลายปีให้หลัง ท่านก็ได้รับการบวชเป็นสังฆราชแห่งไมราแทบจะ
ในทันที ไมราปัจจุบันคือเมือง Demre เป็นเมืองชายฝั่งของประเทศตุรกี

ในยุคเบียดเบียนศาสนาคริสต์โดยจักรพรรดิ Diocletian ท่านถูกจับขังคุกและได้รับการปล่อยตัวหลัง
จากพระเจ้าคอนสแตนตินมหาราชก้าวขึ้นสู่อำนาจและประกาศให้คริสตศาสนาเป็นศาสนาทางการ
ของจักรวรรดิโรมัน

เรื่องเล่าถึงความเอื้อเฟื้อของท่านที่มีชื่อเสียงมากเรื่องหนึ่งคือ ท่านโยนถุงบรรจุทองคำผ่านหน้าต่างบ้าน
ของชายยากจนคนหนึ่งเพื่อให้เขาใช้เป็นเงินหมั้นหมายของลูกสาว ซึ่งมิฉะนั้นจะถูกขายเป็นทาสเล่ากัน
ว่าทองหล่นลงในถุงเท้าของคนในครอบครัว ซึ่งผึ่งใกล้ไฟ นี่เองจึงเป็นเหตุที่พวกเด็กๆ แขวนถุงเท้าไว้ที่
ประตูหรือเตาผิงเพื่อรอรับของขวัญในวันก่อนวันฉลองของท่าน

นักบุญนิโคลาสเกี่ยวข้องกับคริสต์มาสเพราะมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าท่านมักจะแอบให้ของขวัญ
อย่างลับๆ แก่พวกเด็กเสมอ นอกจากนั้น ตัวท่านนักบุญซึ่งใส่ชุดสีแดงและไว้เครายาวได้ถูกปรับแปลง
ตามวัฒนธรรมจนเป็นคนร่างอ้วนใหญ่นั่งบนเลื่อนลากด้วยกวางเรนเดียร์บรรทุกของเล่นเต็มคัน
เพราะว่าในภาษาเยอรมัน ชื่อของท่าน San Nikolaus ก็ออกเสียงคล้ายๆ Santa Claus (ซานตาคลอส)
น่ะเอง

พระศาสนจักรตะวันออกรู้จักท่านในนามนักบุญนิโคลาสแห่งไมรา ตามชื่อเมืองที่ท่านปกครอง
แต่สำหรับศาสนจักรตะวันตก ท่านถูกเรียกว่านักบุญนิโคลาสแห่งบารี (Bari) เพราะในช่วงที่
ชาวมุสลิมพิชิตตุรกีปี ๑๐๘๗ พระธาตุของท่านถูกนำไปเมืองบารีโดยชาวอิตาเลียน

ท่านเป็นนักบุญอุปถัมถ์ของเด็กๆ และกลาสีผู้คนสวดขอความช่วยเหลือจากท่านเมื่อเกิดเหตุเรืออัปปาง
เกิดสภาวะยากลำบากทางเศรษฐกิจและประสบอัคคีภัย

ท่านสิ้นใจในวันที่ ๖ ธันวาคม ๓๔๕

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 08, 2022 9:10 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๗ ธันวาคม
นักบุญอัมโบรส พระสังฆราชและนักปราชญ์
St. Ambrose

วันนี้พระศาสนจักรคาทอลิกฉลองนักบุญอัมโบรส สังฆราชผู้ปราดเปรื่องแห่งมิลาน ท่านมีอิทธิพล
ต่อการกลับใจของนักบุญออกัสติน และท่านได้รับการประกาศเป็นนักปราชญ์ของพระศาสนจักร

อัมโบรสเกิดประมาณปี ๓๔๐ ท่านได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นเหมือนปัญญาชนในยุคนั้นที่
ต้องการจะประสานวัฒนธรรมทางสติปัญญาของกรีกกับโรมันด้วยความเชื่ิอคาทอลิก ท่านฝึกฝน
เป็นทนายความ และที่สุดได้เป็นผู้ว่าการเมืองมิลาน ท่านแสดงให้เห็นถึงพรสวรรค์ด้านสติปัญญา
ในการปกป้องความเชื่อคาทอลิกก่อนท่านจะรับศีลล้างบาปเสียอีก

ขณะที่อัมโบรสเป็นผู้ว่าการเมืองมิลานอยู่นั้น สังฆราชชื่อออเซนติอุส (Auxentius) เป็นผู้นำของ
สังฆมณฑล สังฆราชผู้นี้แม้จะเป็นนักเทศน์ชั้นเลิศและมีบุคลิกทรงอำนาจ แต่เขาก็เห็นด้วยกับ
ความคิดอันผิดพลาดของอาริอุส (Arius) ซึ่งปฏิเสธสภาวะพระเจ้าของพระคริสต์

สังคายนาแห่งเมืองนีเชีย (Nicaea) ยืนยันในคำสอนตามธรรมประเพณีเรื่องความเป็นพระเจ้า
ของพระเยซู แต่สมาชิกศาสนจักรที่มีการศึกษาสูงจำนวนมากรวมทั้งสังฆราชส่วนใหญ่ในช่วง
เวลาหนึ่ง ได้ถือว่าลัทธิของอาริอุสมีความลึกซึ้งและเหมาะกับประชากรคริสตชนที่อาศัยอยู่
ในเมือง สังฆราชออเซนติอุสบังคับให้พระสงฆ์ในสังฆมณฑลยอมรับข้อความเชื่อของอาริอุส

เมื่อสังฆราชออเซนติอุสเสียชีวิต อัมโบรสยังไม่ได้รับศีลล้างบาป แต่ความเข้าใจลึกซึ้งและความรัก
ในความเชื่อตามธรรมประเพณีของท่านได้ปรากฏชัดแจ้งแก่คริสตชนเมืองมิลาน พวกเขาเห็นว่า
ท่านเป็นผู้เหมาะสมที่สุดที่จะสืบทอดตำแหน่งสังฆราช แม้ว่าขณะนั้นท่านยังเป็นเพียงผู้เรียนคำสอน

แล้วด้วยความช่วยเหลือของจักรพรรดิวาเลนเทียน (Valentian) ฝูงชนคาทอลิกชาวมิลานกลุ่มหนึ่ง
ก็บังคับให้อัมโบรสเป็นสังฆราชของพวกเขา เพียง ๘ วันภายหลังรับศีลล้างบาป อัมโบรสก็รับการ
อภิเษกเป็นสังฆราชในวันที่ ๗ ธันวาคม ๓๗๔ ซึ่งวันดังกล่าวนี้เองที่ได้เป็นวันฉลองรำลึกถึงท่านตาม
ปฏิทินพิธีกรรมศาสนจักร

สังฆราชอัมโบรสไม่สร้างความผิดหวังให้กับผู้แต่งตั้งและอภิเษกท่าน ท่านเริ่มงานอภิบาลด้วยการแ
จกจ่ายทุกอย่างที่มีให้กับคนยากจนและพระศาสนจักร ท่านใช้งานเขียนของนักเทววิทยาชาวกรีกอย่าง
เช่นนักบุญบาซิลเพื่อช่วยอธิบายคำสอนตามธรรมประเพณีของพระศาสนจักรในช่วงเวลาที่เกิด
ความสับสน ในด้านข้อคำสอน

และเช่นเดียวกับปิตาจารย์ของพระศาสนจักรตะวันออก อัมโบรสได้นำเอาปรีชาญาณที่มีในปรัชญา
และวรรณกรรมก่อนยุคคริสตศาสนามาช่วยอธิบายให้เรื่องความเชื่อเป็นที่เข้าใจได้ง่ายขึ้นสำหรับ
สัตบุรุษทั่วไป ความกลมกลืนของความเชื่อกับแหล่งความรู้อื่นๆ เช่นนี้ได้ดึงดูดหลายๆ คน รวมทั้ง
อาจารย์หนุ่มชื่อออเรลิอุส ออกัสติน (Aurelius Augustinus) ให้ติดตามคำสอนของท่าน อัมโบรส
สอนและล้างบาปให้อาจารย์หนุ่มคนนี้ ผู้ซึ่งประวัติศาสตร์จะรู้จักในนามนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป

อัมโบรสใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายเขียนหนังสือมากมายและทำมิสซาทุกวัน แต่กระนั้น ท่านยังมีเวลา
ให้คำแนะนำเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง ตอบคำถามคนต่างศาสนา อธิบายความเชื่อแก่คาทอลิกที่สับสน
และบรรเทาใจคนบาปที่เป็นทุกข์ ประชาชนชาวมิลานไม่ต้องสำนึกเสียใจเลยที่พวกเขายืนยันให้ผู้บริหาร
ฝ่ายบ้านเมืองคนนี้มาเป็นผู้นำศาสนจักรท้องถิ่นของพวกตน

ความเป็นที่นิยมยกย่องของอัมโบรสได้ช่วยปกป้องท่านจากบรรดาผู้ต้องการจะบีบบังคับให้ท่านออก
จากสังฆมณฑล หนึ่งในนั้นคือจักรพรรดินีจัสตินา (Justina) และกลุ่มที่ปรึกษาของพระนาง อัมโบรส
ปฏิเสธพระนางอย่างกล้าหาญในการที่พระนางพยายามจะแต่งตั้งพวกสังฆราชที่เป็นเฮเรติก
(ถือความเชื่อผิด) ในอิตาลี รวมทั้งความพยายามจะยึดครองศาสนจักรต่างๆ ให้ถือเชื่อตามลัทธิ
ของอาริอุส

เมื่อจักรพรรดิธีโอโดซีอุส (Theodosius) สั่งประหารพลเมืองเธสะโลนิกา ๗ พันคน อัมโบรสก็ได้แสดง
ความกล้าหาญอย่างที่สุดโดยประกาศห้ามไม่ให้จักรพรรดิรับศีลมหาสนิท จักรพรรดิซึ่งเกิดความสำนึก
ได้แสดงความเป็นทุกข์เสียพระทัยและประกอบกิจการใช้โทษบาปเพื่อผู้ที่พระองค์ได้สังหาร
"หลังจากนั้น ไม่มีสักวันที่พระองค์ไม่เป็นทุกข์เศร้าพระทัยในความผิดของพระองค์" อัมโบรสเทศน์ใน
พิธีฝังพระศพของจักรพรรดิการติเตียนของอัมโบรสครั้งนี้ยังสร้างผลเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งแก่
จักรพรรดิธีโอโดซีอุส พระองค์ทรงกลับคืนดีกับพระศาสนจักรและสังฆราชอัมโบรส ผู้ซึ่งได้เฝ้าอยู่
ข้างเตียงในวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ด้วย

อัมโบรสเสียชีวิตในปี ๓๙๗ งานรับใช้อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยเป็นเวลา ๒๓ ปีของท่านได้ทำให้
สังฆมณฑลที่มีปัญหาฝังรากลึกกลายเป็นสังฆมณฑลตัวอย่างในการถือปฏิบัติความเชื่อ งานเขียน
ของท่านยังเป็นหมุดหมายอ้างอิงสำคัญของพระศาสนจักรตราบจนกระทั่งยุคกลางและภายหลัง

ในการประชุมสังคายสากลครั้งที่ ๕ ของพระศาสนจักรคาทอลิกที่เมืองคอนสแตนติโนเปิลปี ๕๕๓
ซึ่งได้กำหนดคำสอนที่ยังส่งอิทธิพลต่อคาทอลิกและคริสตชนออร์โธดอกซ์ตะวันออกมาจนถึงปัจจุบัน

บรรดาสังฆราชที่เข้าร่วมประชุมได้ประกาศว่าอัมโบรส พร้อมกับผู้เป็นศิษย์ของท่าน ออกัสติน
เป็น"ปิตาจารย์ศักดิ์สิทธิ์" ของพระศาสนจักร และสังฆราชทุกคนควรจะถือตามคำสอนของพวกท่าน
"ในทุกวิถีทาง"

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 08, 2022 9:12 pm

วันที่ ๘ ธันวาคม
สมโภชการปฏิสนธินิรมลของพระนางมารีย์พรหมจารี
Solemnity of the Immaculate Conception of the Blessed Virgin Mary

"นับจากขณะแรกเริ่มของการปฏิสนธิของพระนางมารีย์พรหมจารีโดยพระหรรษทานและสิทธิพิเศษ
จากพระเจ้า และโดยคุณความดีของพระเยซูคริสต์ผู้ไถ่แห่งมนุษยชาติพระนางทรงรับการยกเว้น
จากมลทินแห่งบาปกำเนิด" พระสันตะปาปาปีโอ ที่ ๙ จากสมณสาสน์ Ineffabilis Deus

การประกาศอย่างสง่าของพระสันตะปาปาปีโอ ที่ ๙ ในปี ๑๘๕๔ เป็นการยืนยันถึงความเชื่อของ
พระศาสนจักรที่ยึดถือมานานว่าพระนางมารีย์ทรงปฏิสนธิโดยปราศจากบาปกำเนิด

พระนางมารีย์ได้รับสิทธิพิเศษนี้เพราะบทบาทอันเป็นเอกลักษณ์ในประวัติศาสตร์ของพระนาง
คือเป็นพระมารดาของพระเจ้า พระนางได้รับของขวัญแห่งความรอดในพระคริสต์จากขณะแรก
ของการปฏิสนธิของพระนาง

แม้พระนางจะพิเศษกว่ามนุษย์ทั้งมวลเพราะถือกำเนิดโดยปราศจากบาป แต่พระศาสนจักรก็ยึดถือ
พระนางเป็นตัวอย่างสำหรับมนุษย์ทั้งหลายในความศักดิ์สิทธิ์และความบริสุทธิ์ ในความเต็มใจที่
จะยอมรับแผนการของพระเจ้าสำหรับพระนาง

เราแต่ละคนถูกเรียกให้รู้จักและตอบสนองเสียงเรียกของพระตามกระแสเรียกของตน เพื่อจะได้
ดำเนินตามแผนการของพระเจ้าในชีวิตนี้และปฏิบัติภารกิจที่ทรงจัดเตรียมให้เราก่อนเริ่มกาลเวลา

คำตอบของพระนางมารีย์ที่ทรงให้แก่ทูตสวรรค์คาเบรียลว่า "จงเป็นไปแก่ข้าพเจ้าตามวาทะของท่าน"
คือการตอบรับของคริสตชนทุกคนต่อแผนการของพระเจ้า

การสมโภชการปฏิสนธินิรมลของแม่พระเป็นเวลาเฉลิมฉลองด้วยความเบิกบานยินดีในของขวัญล้ำค่า
ที่พระเจ้าทรงประทานแก่มนุษย์คือพระนางมารีย์และการได้ตระหนักว่ามนุษย์แต่ละคนถูกพระเจ้าสร้าง
มาเพื่อให้มีส่วนร่วมในภารกิจเฉพาะที่มีเพียงบุคคลนั้นจะกระทำให้สำเร็จลุล่วงได้

"เราได้รู้จักเจ้าก่อนที่เราได้ก่อร่างตัวเจ้าขึ้นในครรภ์และก่อนที่เจ้าคลอดจากครรภ์ เราก็ได้กำหนดตัว
เจ้าไว้ เราได้แต่งตั้งเจ้าเป็นผู้เผยพระวจนะแก่บรรดาประชาชาติ" เยเรมีย์ ๑:๕-๖

Cr : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อาทิตย์ ธ.ค. 11, 2022 7:36 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๙ ธันวาคม
นักบุญฮวน ดีเอโก
St. Juan Diego

วันนี้พระศาสนจักรคาทอลิกฉลองนักบุญฮวน ดีเอโก ชาวชนเผ่าเม็กซิกันที่กลับใจเป็นคาทอลิก
เหตุการณ์แม่พระประจักษ์แก่เขาได้เป็นจุดเริ่มต้นแห่งศรัทธามหาชนต่อแม่พระแห่งกัวดาลูป
(Our Lady of Guadalupe)

ปี ๑๔๗๔ ห้าสิบปีก่อนจะได้รับชื่อว่าฮวน ดีเอโก จากพิธีศีลล้างบาป เด็กน้อยชื่อ Cuauhtlatoatzin
ซึ่งแปลว่า "นกอินทรีย์ร้องเพลง" เกิดในหุบเขา Anahuac ดินแดนที่เป็นประเทศเม็กซิโกในปัจจุบัน
แม้เขาจะได้รับการเลี้ยงดูตามศาสนาและวัฒนธรรม Aztec แต่เขาก็แสดงให้เห็นอย่างพิเศษถึง
สัมผัสต่อเรื่องเร้นลับก่อนจะได้ยินพระวรสารจากมิสชันนารีคณะฟรังซิสกัน

ในปี ๑๕๒๔ Cuauhtlatoatzin และภรรยาได้รับศีลล้างบาปเข้าสู่พระศาสนจักรคาทอลิก ชาวไร่ชาวนา
ผู้นี้ซึ่งบัดนี้มีชื่อว่าฮวน ดีโอโกยึดมั่นในความเชื่อของเขา เขาเดินทางเป็นระยะไกลเพื่อเรียนคำสอน

วันที่ ๙ ธันวาคม ปี ๑๕๓๑ ฮวน ดีเอโกรีบร้อนจะไปร่วมมิสซาฉลองการปฏิสนธินิรมลของแม่พระ
แต่สตรีที่เขากำลังจะไปที่วัดเพื่อเฉลิมฉลองนั้น กลับปรากฏมาพบเขา

สตรีผู้มีแสงสว่างรุ่งเรืองพูดด้วยภาษาแอ็ซแท็กท้องถิ่นว่าพระนางคือ "มารีย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์เสมอมา
ผู้ได้รับเกียรติเป็นพระมารดาของพระเจ้าเที่ยงแท้"

"เราคือมารดาผู้เมตตาต่อเธอ ครอบครัวเธอและทุกคนที่อยู่บนผืนแผ่นดินนี้" เธอกล่าวต่อ
"และมนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์"

พระนางบอกให้ฮวน ดีเอโก ไปแจ้งต่อสังฆราชท้องถิ่น "เราอยากให้พวกเขาสร้างบ้านเล็กๆ
หลังหนึ่งที่นี่" บ้านนี้จะอุทิศถวายแด่พระเยซูคริสต์พระบุตรของพระนาง และจะสร้างบนวิหารของ
คนต่างศาสนา เพื่อ "แสดงพระองค์ให้เป็นที่รู้จัก" แก่ชาวเม็กซิกันทุกคน และ "ยกย่องเชิดชูพระองค์"
ไปทั่วโลก

เรื่องที่พระนางขอให้ชาวนาธรรมดาๆ คนนี้กระทำเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียวจึงไม่น่าแปลกใจเมื่อ
ฮวน ดีเอโก แจ้งพระสังฆราช Juan de Zumárraga ตามคำบอก ท่านจึงไม่เชื่อ แต่ฮวน ดีเอโก
กล่าวกับท่านว่าเขามีสิ่งที่จะพิสูจน์ยืนยันการประจักษ์ของแม่พระ แต่เขาจะต้องดูแลลุงของเขา
ที่กำลังป่วยหนักเสียก่อน

แล้วในวันที่ ๑๒ ธันวาคม ขณะที่ฮวน ดีเอโกเดินทางไปวัดเพื่อตามพระสงฆ์มาโปรดศีลเจิมคนไข้
ให้ลุงของเขา เขาก็พบพระนางพรหมจารีย์มารีย์อีกครั้ง พระนางสัญญาว่าจะรักษาลุงของเขา
ให้หายและจะให้เครื่องหมายอย่างหนึ่งไปแสดงกับสังฆราช นั่นคือให้เขาขึ้นไปบนเนินเขาที่แม่พระ
ประจักษ์มาครั้งแรก ที่นั่น เขาจะได้พบเจอดอกกุหลาบและดอกไม้อื่นๆ แม้ว่าขณะนั้นเป็นฤดูหนาว

เมื่อทำตามที่พระนางบอกฮวน ดีเอโกก็พบดอกไม้มากมายและนำกลับมาถวายพระนาง พระนางมารีย์
วางดอกไม้เหล่านั้นภายในเสื้อคลุมที่เขาสวม เธอบอกให้เขาพันห่อดอกไม้ไว้จนกว่าจะไปถึงบ้านพัก
สังฆราช

เมื่อเขาทำอย่างที่พระนางบอก สังฆราช Zumarraga ก็เชื่อ เขาได้พบแม่พระแห่งกัวดาลูปโดยผ่าน
ทางภาพของพระนางที่ประทับรอยอยู่ท่ามกลางดอกไม้ในเสื้อคลุม

ปัจจุบัน สักการสถานแม่พระที่เม็กซิโกซิตี้ซึ่งเก็บรักษาเสื้อคลุมนั้น เป็นสถานที่ที่คาทอลิกจาริกมา
นมัสการกันมากที่สุดในโลก

อัศจรรย์นี้นำข่าวดีของพระวรสารมาสู่ชาวเม็กซิกันล้านๆ คน และยังมีผลลึกซึ้งต่อชีวิตจิตของ
ฮวน ดีเอโก หลังประสบการณ์แม่พระประจักษ์ เขาใช้ชีวิตสันโดษเพื่อภาวนาและทำงานใน
บ้านเล็กหลังหนึ่งใกล้กับวัดที่ภาพพระนางถูกเก็บแสดงครั้งแรก ผู้แสวงบุญได้หลั่งไหลมายัง
สถานที่แห่งนั้นอย่างมากมายแล้วในเวลาที่เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม อันเป็นวันครบรอบปี
ของการประจักษ์ครั้งแรก

พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ ๒ ทรงประกาศตั้งฮวน ดีเอโกเป็นบุญราศีในปี ๑๙๙๐
และเป็นนักบุญในปี ๒๐๐๒

Cr ; Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อาทิตย์ ธ.ค. 11, 2022 7:39 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม
นักบุญ ยูลาเลียแห่งเมริดา
St. Eulalia of Mérida

ยูลาเลียเกิดในตระกูลสำคัญตระกูลหนึ่งของสเปน เธอได้รับการอบรมแบบคริสตชน และถูกสอน
ให้มีความศรัทธาที่สมบูรณ์เพียบพร้อม นับแต่วัยเยาว์เธอแสดงให้เห็นถึงความอ่อนหวาน ความ
สำรวมตนและจิตใจศรัทธา

ยูลาเลียรักความเป็นพรหมจรรย์ เธอไม่ใส่ใจกับเรื่องเสื้อผ้าอาภรณ์และเครื่องประดับประดา หรือ
กลุ่มเพื่อนพูดคุยเรื่องทางโลก เธอแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจอย่างแท้จริงที่จะดำเนินชีวิตดุจชาวสวรรค์
บนโลกนี้ หัวใจของเธอถูกยกขึ้นเหนือโลก ดังนั้น ความเพลิดเพลินใดๆ ที่คนรุ่นหนุ่มสาวอย่างเธอจะ
หลงใหลคลั่งไคล้จึงไม่มีเสน่ห์ดึงดูดเธอได้เลย แต่ละวันในชีวิต เธอเติบโตก้าวหน้าในคุณธรรม

ยูลาเลียอายุเพียง ๑๒ ปีเมื่อจักรพรรดิ Diocletian ประกาศกฎหมายให้ทุกคน ไม่ว่าอายุเพศหรือ
อาชีพใด จะต้องถวายเครื่องบูชาแด่เทพเจ้าของจักรวรรดิโรมแม้จะอายุยังน้อยแต่ยูลาเลียถือว่า
คำสั่งที่ประกาศออกมานี้เป็นเครื่องหมายที่เธอต้องสู้รบต่อต้าน ทว่ามารดาของเธอพาเธอหนีออกไป
ยังชนบท อย่างไรก็ตาม นักบุญองค์น้อยนี้ก็หาวิธีการหลบหนีออกมาได้ในเวลากลางคืน และหลังจาก
เดินทางอย่างเหนื่อยอ่อน เธอก็มาถึงเมืองเมริดาก่อนรุ่งอรุณ

เช้าวันนั้น ทันทีที่ศาลเปิดทำการเธอก็มายืนต่อหน้าผู้พิพากษาผู้โหดร้าย ชื่อ Dacian และตำหนิถึง
ความไร้ศรัทธาของเขาที่พยายามทำลายดวงวิญญาณด้วยการบีบบังคับให้ละทิ้งพระเจ้าผู้เที่ยงแท้
แต่องค์เดียว

ผู้ปกครองเมืองสั่งให้จับยูลาเลีย ในระหว่างการควบคุมตัว Dacian หว่านล้อมให้เธอเห็นถึงผล
ประโยชน์ของวงศ์ตระกูล อายุยังเยาว์ และทรัพย์สมบัติที่เธอได้รับ และความทุกข์โศกเศร้าที่จะเกิดกับ
พ่อแม่ของเธอหากเธอไม่เชื่อฟังคำสั่งของกฎหมาย แต่เมื่อเห็นว่าวิธีนี้ไม่ได้ผลเขาก็เริ่มข่มขู่เธอ เขา
นำเครื่องทรมานที่ร้ายแรงที่สุดมาให้เธอเห็น กล่าวกับเธอว่า "เธอจะไม่ต้องพบเจอความทุกข์ทรมาน
จากมัน ถ้าหากเธอเพียงแต่แตะเกลือและกำยานด้วยปลายนิ้ว"

แต่ยูลาเลียกลับขว้างรูปปั้นของเทพเจ้าลงกับพื้น เหยียบขนมที่ถูกนำมาถวายเป็นเครื่องบูชาและ
ถ่มน้ำลายใส่ผู้พิพากษา ผู้พิพากษาออกคำสั่งทันที มือประหารสองคนใช้ห่วงเหล็กคล้องและกระชาก
ร่างเธอฉีกขาดเห็นกระดูก

ยูลาเลียเปล่งเสียงออกพระนามพระคริสต์ จากนั้นพวกเขาเอาคบไฟนาบทรวงอกและสีข้างเธอ แต่เธอ
ไม่ส่งเสียงครวญคราง มีแต่การร้องสรรเสริญขอบพระคุณพระเจ้า ในที่สุด ไฟก็ลามไหม้เส้นผม ศีรษะ
และหน้าตาของเธอ ร่างของเธอท่วมด้วยควันไฟและเปลวเพลิง

ประวัติศาสตร์เล่าว่านกพิราบขาวตัวหนึ่งเหมือนจะบินออกจากปากเธอสู่เบื้องบนพร้อมลมหายใจสุดท้าย
พวกที่ร่วมกันทรมานเธอตกใจกลัวจนวิ่งหนี

พระธาตุของเธอถูกเก็บรักษาเพื่อแสดงความเคารพศรัทธาที่เมือง Oviedo ที่ซึ่งเธอได้ชื่อเป็น
นักบุญองค์อุปถัมภ์มบันทึกมรณสักขีของโรมจารึกชื่อเธอในวันฉลอง ๑๐ ธันวาคม

Cr : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อาทิตย์ ธ.ค. 11, 2022 7:41 pm

ฉลองนักบุญวันที่ ๑๑ ธันวาคม
พระสันตะปาปานักบุญดามาซัส
St. Damasus, Pope

ดามาซัสเกิดที่โรมในต้นศตวรรษที่ ๔ บิดาของท่านซึ่งเป็นพ่อม่าย ได้รับศีลบวชและรับใช้
ในฐานะพระสงฆ์เจ้าอาวาสวัดนักบุญลอเรนซ์

ดามาซัสเป็นหัวหน้าอนุสงฆ์ของศาสนจักรโรมในปี ๓๕๕ เมื่อพระสันตะปาปานักบุญรีเบรีอุส
สิ้นพระชนม์ในปี ๓๖๖ ดามาซัสก็ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปา ขณะนั้นท่านอายุ ๖๒ ปี
แต่ Ursinus ซึ่งอิจฉาที่ท่านได้รับเลือกในตำแหน่งที่เขาก็ต้องการ ได้ให้พวกศิษย์ประกาศว่า
เขาก็เป็นพระสันตะปาปาด้วย เกิดการต่อสู้กันในโรม เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต ๑๓๗ คน

จักรพรรดิวาเลนติเนียนได้ยื่นมือปกป้องดามาซัส พระองค์ปราบปรามพวกต่อต้าน ดามาซัสจึง
กลับมาปกครองพระศาสนจักร ท่านจัดประชุมสมัชชาที่มีสังฆราช ๔๔ คนเข้าร่วม ท่านยืนยันความ
ชอบธรรมในการรับตำแหน่งของท่านและประกาศอัปเปหิผู้ต่อต้าน

หลังจากนั้น สันตะปาปาดามาซัสต้องรับมือกับลัทธิเอเรียน (Arianism) ทางตะวันตกและ
ทางตะวันออก พระองค์จึงเรียกประชุมสังคายนาหลายครั้ง พระองค์ส่งนักบุญ Zenobius ซึ่งภายหลัง
เป็นสังฆราชแห่งฟลอเรนซ์ไปยังเมืองคอนสแตนติโนเปิ้ลในปี ๓๘๑ เพื่อปลอบบรรเทาคริสตชนที่ถูก
เบียดเบียนอย่างโหดร้ายโดยจักรพรรดิ Valens

พระองค์สั่งให้นักบุญเยโรมแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาละตินฉบับถูกต้องและเป็นทางการ ที่รู้จักกันในชื่อ
ว่า Vulgate และสั่งให้มีการขับบทสวดจากหนังสือสดุดี พระองค์ทรงฟื้นฟูการก่อสร้างและประดับประดา
วัดนักบุญลอเรนซ์ซึ่งทุกวันนี้มีชื่อเรียกว่าวิหารนักบุญลอเรนซ์แห่งดามาโซ พระองค์สั่งให้กักน้ำพุในวาติกัน
จนแห้ง เพื่อขุดสุสานของบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกฝัง และทรงตบแต่งแท่นบูชาของมรณสักขีจำนวนมาก
ในสุสาน และโปรดให้มีถ้อยคำจารึกไว้ สันตะปาปาดามาซัสทรงอภิเษกสังฆราชจำนวน ๖๒ องค์ตลอด
สมณสมัย

พระองค์ทรงปกครองพระศาสนจักรเป็นเวลา ๑๘ ปีกับ ๒ เดือน
เมื่อสิ้นพระชนม์ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๓๘๔ พระองค์ทรงมีอายุเกือบ ๘๐ ปี

ในศตวรรษที่ ๘ พระธาตุของพระองค์ถูกนำไปบรรจุอยู่ในวิหารนักบุญลอเรนซ์แห่งดามาโซ
ยกเว้นศีรษะ ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ที่มหาวิหารนักบุญเปโตร

Cr. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร ธ.ค. 13, 2022 7:41 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๑๒ ธันวาคม
แม่พระแห่งกัวดาลูป
Our Lady of Guadalupe

ในปี ๑๕๓๑ "สตรีจากสวรรค์" ได้ปรากฏแก่นักบุญฮวน ดิเกโอ ชาวพื้นเมืองยากจน ที่ Tepeyac
เนินเขาทางตะวันตกเฉียงเหนือของเม็กซิโก ซิตี้ พระนางประกาศตนว่าเป็นพระมารดาของพระเจ้า
เที่ยงแท้และบอกให้เขาไปแจ้งสังฆราชให้สร้างวัดบนที่แห่งนั้น

พระนางยังประทับภาพของพระนางภายในเสื้อคลุมของเขาอย่างน่าอัศจรรย์ เสื้อคลุมนี้จะค่อยๆ
เสื่อมลงภายใน ๒๐ ปี แต่ไม่ปรากฏอาการเน่าเปื่อยเลย

หลังจากเวลานานกว่า ๔๗๐ ปี จนทุกวันนี้ เสื้อคลุมผืนนี้ยังคงสร้างความพิศวงงงงวยแก่วงการ
วิทยาศาสตร์ว่ามีที่มาอย่างไร

สิ่งที่เห็นปรากฏชัดเจนในเสื้อคลุมนั้น คือในดวงตาของแม่พระแห่งกัวดาลูป เราเห็นภาพสะท้อน
ของสิ่งที่อยู่เบื้องหน้าเธอในปี ๑๕๓๑

ข่าวสาสน์แห่งความรักและเมตตา คำสัญญาจะช่วยเหลือและปกป้องมนุษยชาติ รวมทั้งเหตุการณ์
ประจักษ์ถูกเขียนเล่าไว้ใน "Nican Mopohua" เอกสารศตวรรษที่ ๑๖ ด้วยภาษาท้องถิ่น Nahuatl

มีเหตุผลที่น่าเชื่อว่า ณ Tepeyac พระนางมารีย์เสด็จมาด้วยพระวรกายและมือของพระนางได้จัดวาง
ดอกกุหลาบในเสื้อคลุมของฮวน ดิอาโก ซึ่งทำให้การประจักษ์นี้พิเศษเฉพาะยิ่ง เกิดอัศจรรย์มากมาย
การเยียวยารักษาและการให้ความช่วยเหลือจากการวอนขอแม่พระแห่งกัวดาลูป

แต่ละปีคนประมาณ ๑๐ ล้าน มาที่สักการสถานนี้ทำให้เม็กซิโก ซิตี้ เป็นวิหารแม่พระที่มีชื่อเสียงที่สุด
ในโลก และมีคนมาเยี่ยมชมมากที่สุดรองจากมหาวิหารนักบุญเปโตรในวาติกัน

พระสันตะปาปา ๒๔ องค์ ได้ถวายเกียรติเป็นทางการแด่แม่พระแห่งกัวดาลูป
พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ ๒ ทรงเสด็จเยี่ยมสักการสถานของพระนางแห่งนี้ถึง ๔ ครั้ง

Cr : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร ธ.ค. 13, 2022 7:42 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๑๓ ธันวาคม
นักบุญลูเซีย
St. Lucy

ลูเซียเป็นพรหมจารีและมรณสักขีแห่งเมือง Syracuse ในซิซิลี ธรรมประเพณีกล่าวว่าเธอเกิด
ในตระกูลสูงศักดิ์มั่งคั่งในปี ๒๘๓ บิดาของเธอเป็นชาวโรมัน มารดาชื่อยูธีเชีย สืบเชื้อสายกรีก

ลูเซียมอบถวายการถือพรหมจรรย์แด่พระเจ้าและเธอต้องการจะสละทรัพย์สมบัติทางโลกเพื่อ
ช่วยเหลือคนจน

มารดาได้จัดเตรียมการแต่งงานให้ลูเซียแต่เธอผัดผ่อนเลื่อนเวลาออกไปได้ ๓ ปี ลูเซียสวดภาวนา
ที่สุสานนักบุญอากาธาเพื่อให้แม่เปลี่ยนใจกลับถือความเชื่อคริสตชน ผลคืออาการป่วยเรื้อรังของแม่
ได้หายขาด แม่ของเธอจึงยอมตามความปรารถนาที่ลูเซียจะใช้ชีวิตถวายให้พระ

คู่หมั้นที่ถูกลูเซียปฏิเสธ Paschasius แจ้งผู้ปกครองบ้านเมืองว่าเธอเป็นคริสตชน พวกเขาจึง
วางแผนจะบังคับให้เธอเป็นโสเภณี แต่เมื่อพวกทหารไปจับเธอ พวกเขาก็ไม่อาจดึงเคลื่อนย้ายเธอ
ได้แม้จะใช้วัวหลายตัวเข้าช่วย ผู้ว่าการเมืองจึงออกคำสั่งให้ฆ่าเธอแทน

พวกเขาทรมานลูเซียหลายอย่าง รวมทั้งควักลูกตาเธอออกมา พวกเขาเอาฟืนสุมรอบตัวเธอและ
จุดไฟแต่ไฟก็ดับลงในไม่ช้าลูเซียทำนายถึงชะตากรรมของพวกที่ทำร้ายเธอก่อนจะถูกสังหารด้วยมีด

ตำนานกล่าวว่าเธอสามารถกลับมามองเห็นได้ก่อนตาย ดังนั้น เธอจึงเป็นนักบุญอุปถัมภ์เกี่ยวกับ
ดวงตาไม่ว่าจะเป็น คนตาบอด คนมีปัญหาด้านการมองเห็นและอาการเจ็บป่วยต่างๆ เกี่ยวกับตา

Cr : sinapis

13 ธันวาคม

ระลึกถึงนักบุญลูเซีย พรหมจารีและมรณสักขี

(St. Lucy, Virgin & Martyr, memorial)

ตามตำนานที่เล่าขานกันมา นักบุญลูเซียเป็นเด็กสาวเกิดที่เมืองไซราคิวส์ (Syracuse)
อยู่บนเกาะซิซิลี ทางตอนใต้ของประเทศอิตาลี วันหนึ่งเธอได้ไปที่สักการสถานของนักบุญอากาธา
ที่ คาตาเนีย กับมารดาของเธอ ซึ่งต้องรับความทุกข์ทรมานจากโรคโลหิตไหลไม่หยุด
(ที่ไม่สามารถควบคุมได้) ในขณะที่กำลังสวดอยู่ที่สักการสถานนั้น มารดาของเธอหายจากโรค
อย่างอัศจรรย์ นักบุญลูเซียจึงได้ตัดสินใจสละทรัพย์สมบัติฝ่ายโลกเพื่อไปทำงานรับใช้คนยากคนจน
และได้ปฏิญาณว่าจะถือพรหมจรรย์ และยกเลิกการแต่งงานกับชายหนุ่มตระกูลสูงที่เคยกำหนดไว้
ก่อนหน้านี้ เพื่อจะมอบชีวิตของเธอทั้งครบแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า

ชายหนุ่มคู่หมั้นหมายโกรธมากที่เธอทำเช่นนี้ จึงได้กล่าวหาเธอต่อหน้ากงสุลโรมันว่าเธอ
เป็นคริสตชน ซึ่งถือว่าเป็นการหมิ่นเกียรติต่อกฎหมายของจักรวรรดิโรมัน แต่เธอกลับประกาศ
ความเชื่อของเธออย่างกล้าหาญ เธอจึงถูกตัดสินให้รับความทรมานโดยไฟและน้ำมันเดือด
เธอยอมรับทรมานแสนสาหัสโดยไม่ถอยหนี และไม่แสดงความอ่อนแอให้ปรากฏเลย เธอกล่าวว่า
"พระเจ้าได้ทรงให้ฉันต้องสู้ทนกับสิ่งเหล่านี้ เพื่อปลดปล่อยคริสตชนให้เป็นอิสระจากความกลัวที่
จะต้องทุกข์ทรมาน" และแม้เธอจะถูกดาบจ้วงฟันเข้าไปถึงคอหอย แต่เด็กสาวผู้นี้ยังไม่สิ้นลม
จนกระทั่งเธอได้รับศีลมหาสนิทสำหรับการเดินทางครั้งสุดท้ายไปสู่สวรรค์ เธอสิ้นชีพในช่วง
การเบียดเบียนของจักรพรรดิดิโอเคลเตียน (Diocletian) ในปี ค.ศ. 304

"ฉันเป็นเพียงผู้รับใช้ผู้ยากจนขององค์พระผู้เป็นเจ้า
พระองค์เพียงผู้เดียวที่ฉันถวายทุกสิ่งเป็นพลีบูชา
ฉันไม่มีสิ่งใดให้มอบถวายอีกแล้วนอกจากตัวฉันเท่านั้น"
นักบุญลูเซีย

(ถอดความโดย คุณพ่อ วิชา หิรัญญการ จากหนังสือ
The Book of Saints, Text by Victor Hoagland, C.P., The Regina Press, New York)

N.B. มีตำนานอีกแห่งเล่าว่า เมื่อนักบุญลูเซียถูกกล่าวหา ผู้พิพากษาออกคำสั่งให้จับไปขังไว้
ในโรงหญิงโสเภณี แต่เธอมีวิธีที่จะรักษาเกียรติของเธอไว้ได้ แล้วนั้น พวกผู้คุมได้รับคำสั่งให้
ใช้ไฟเผาหญิงสาว แต่พวกเขาก็ไม่สามารถฆ่าเธอได้ ตำนานเล่าต่อมาว่า เพื่อทำให้ตัวเธอ
ดูน่าเกลียด เธอจึงควักลูกตาออกมา ซึ่งก็ได้ถูกนำกลับคืนไปสู่ที่เดิมอย่างอัศจรรย์ ดังนั้น
นักบุญลูเซียจึงมีชื่อเสียงเป็นพิเศษในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับดวงตาทั้งหลาย
(จาก A Calendar of Saints, โดย James Blentley)
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พุธ ธ.ค. 14, 2022 5:18 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๑๔ ธันวาคม
นักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขน
St. John of the Cross

ยอห์นแห่งไม้กางเขนเป็นพระสงฆ์คาร์เมไลท์ในศตวรรษที่ ๑๖ ท่านปฏิรูปคณะของท่านร่วมกับ
นักบุญเทเรซาแห่งอาวีลา ท่านเขียนหนังสือชีวิตภายในที่เป็นคลาสสิคคือ "คืนมืดแห่งวิญญาณ"

ปี ๑๙๒๖ ยอห์นได้รับการประกาศว่าเป็นนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร ท่านยังถูกเรียกว่า
"นักปราชญ์แห่งรหัสนัย" เพราะคำสอนลึกซึ้งในเรื่องวิญญาณรวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า

ยอห์น เด เยเปส เกิดในปี ๑๕๔๒ ใน Fontiveros ใกล้เมืองอาวีลาของสเปน ท่านเป็นลูกชายคน
สุดท้องของครอบครัวทอผ้าไหม บิดาของยอห์นตายตั้งแต่ยังอายุไม่มากแม่จึงต้องทำงานหนัก
เพื่อเลี้ยงดูลูกๆยอห์นเก่งด้านการศึกษาแต่ไม่เก่งด้านการฝึกหัดค้าขาย ท่านใช้เวลาหลายปี
ทำงานในโรงพยาบาลเพื่อดูแลคนจน และพร้อมกันนั้น ก็เรียนต่อที่วิทยาลัยคณะเยสุอิต
ในเมือง Medina del Campo

ยอห์นเข้าคณะนักบวชคาร์เมไลท์ในปี ๑๕๖๓ ท่านฝึกตนบำเพ็ญตบะอย่างเคร่งครัดก่อนจะเข้า
คณะเสียอีก เมื่อเข้าคณะแล้ว ท่านได้รับอนุญาตให้ดำเนินชีวิตตามพระวินัยเดิม ซึ่งเน้นการถือ
เงียบ อยู่ลำพังความยากจน ทำงานและพิศเพ่งภาวนา หลังสำเร็จการศึกษาที่เมือง Salamanca
ยอห์นรับศีลบวชปี๑๕๖๗ แต่ท่านคิดอยากย้ายเข้าคณะคาร์ธูเซียน ซึ่งถือปฏิบัติเคร่งครัดกว่า

อย่างไรก็ตาม ยอห์นได้พบนักบุญเทเรซาแห่งอาวีลา ภคินีคณะคาร์เมไลท์ เธอเปลี่ยนความตั้งใจ
ของยอห์น แทนที่จะออกจากคณะ ขอให้ยอห์นทำงานเพื่อปฏิรูปคณะแทน

ยอห์นเปลี่ยนชื่อทางศาสนาของตนจากยอห์นแห่งนักบุญมัทธีอัส เป็นยอห์นแห่งไม้กางเขน
ในปี๑๕๘๘ ท่านดำเนินชีวิตในบ้านเล็กๆ หลังหนึ่งร่วมกับสมาชิกชายของคณะ ๒ คน นับจาก
เวลานั้นยอห์นรับผิดชอบในการหาสมาชิกใหม่ให้กับคณะคาร์เมไลท์ปฏิรูป

ขบวนการปฏิรูปเติบโตอย่างรวดเร็วแต่ก็พบการต่อต้านอย่างรุนแรงด้วย ต้นเดือนธันวาคม ๑๕๗๗
ในระหว่างการถกเถียงถึงเรื่องแต่งตั้งยอห์นในคณะกลุ่มผู้คัดค้านต่อการถือวินัยเคร่งก็จับกุมตัว
ท่านคุมขังไว้ในห้องเล็กๆ แห่งหนึ่ง ยอห์นถูกจำจองนาน ๙ เดือน พร้อมกับถูกเฆี่ยนและลงโทษ
รุนแรงอื่นๆ แต่ในช่วงเวลานี้เองที่ท่านได้แต่งบทกวีซึ่งเป็นพื้นฐานของงานเขียนเกี่ยวกับชีวิต
ภายในของท่าน

ยอห์นสามารถหลบหนีออกจากที่คุมขังได้ในเดือนสิงหาคม ๑๕๗๘ ท่านกลับไปทำงานก่อตั้งคณะ
คาร์เมไลท์ปฏิรูปต่อไป ช่วงเวลากว่า ๑๐ ปีต่อมายอห์นเขียนคำสอนทางชีวิตจิต เช่น "สู่เขาคาร์แมล"
"ลำนำเพลงชีวิตจิต" "เปลวไฟนิรันดร์แห่งรัก" รวมทั้ง "คืนมืดแห่งวิญญาณ" แต่ความขัดแย้งในคณะ
ทำให้ท่านพ้นสภาพผู้นำ ปีท้ายๆ ของชีวิต ยอห์นมีอาการเจ็บป่วยและถูกปฏิบัติอย่างเลวร้ายต่างๆ นานา

ยอห์นสิ้นใจวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๑๕๙๑ ตลอดชีวิตการเป็นนักบวช ยอห์นได้รับการปฏิบัติอย่างเลวร้าย
ถูกดูถูกถูกตั้งข้อสงสัยแต่การทดลองเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้ท่านเข้าใกล้พระเจ้ามากขึ้น เพราะท่านไม่มี
ที่พึ่งพิงทางโลกใดอื่นนอกจากพระเจ้า ดังนั้น งานเขียนของท่านจึงเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องรัก
พระเจ้าเหนือทุกสิ่ง ไม่ถูกดึงรั้งด้วยสิ่งใด และไม่ยึดติดอะไรด้วย

เมื่อใกล้วาระสุดท้ายของชีวิตยอห์น อธิการอารามจึงตระหนักถึงความศักดิ์สิทธิ์และปรีชาญาณของท่าน
แม้ท่านถูกเข้าใจในทางเสื่อมเสียหลายต่อหลายปีแต่เหตุการณ์เปลี่ยนไปทันทีหลังการตายของท่าน

ยอห์นถูกประกาศเป็นนักบุญในปี ๑๗๒๖ และพระสันตะปาปาปีโอ ที่ ๙ ประกาศว่าท่านเป็นนักปราชญ์
ของพระศาสนจักรแห่งศตวรรษที่ ๒๐ ในจดหมายที่เขียนในวาระครบรอบ ๔๐๐ ปีแห่งการเสียชีวิตของ
ยอห์น พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ ๒ ผู้ซึ่งเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเกี่ยวกับงานเขียนของท่าน
แนะนำให้คริสตชนศึกษางานของผู้เป็นมิสติกชาวสเปน ซึ่งพระองค์ทรงเรียกว่า "อาจารย์แห่งความเชื่อ
และพยานของพระเจ้าผู้ทรงชีวิต"

Cr : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 15, 2022 9:13 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๑๕ ธันวาคม
นักบุญเวอร์จิเนีย เซนตูริโอเน บราเชลลี
St. Virginia Centurione Bracelli

เวอร์จิเนียเกิดในเมืองเจนัว ประเทศอิตาลี ในวันที่ ๒ เมษายน ๑๕๘๗ ตระกูลของเธอเป็นขุนนาง
แต่ก็มีความศรัทธา ตั้งแต่วัยเยาว์เวอร์จิเนียปรารถนาจะมอบถวายชีวิตแด่พระเจ้าด้วยการเป็น
นักบวช แต่เธอถูกกดดันให้ต้องแต่งงานเมื่ออายุ ๑๕ ปีเพื่อสถานภาพทางสังคม เธอมีลูกสาว ๒ คน

สามีของเวอร์จิเนีย ซึ่งเป็นนักดื่มและนักเล่นพนัน เสียชีวิตเพียง ๕ ปีหลังแต่งงาน เวอร์จิเนียใช้เวลา
อบรมเลี้ยงดูลูกๆ สวดภาวนาและทำกิจเมตตา เมื่อลูกๆ เติบโตแล้วเธอก็อุทิศเวลาเต็มที่ในการใส่ใจ
ดูแลคนป่วย ผู้สูงอายุ และผู้ถูกทอดทิ้ง

เวอร์จิเนียตั้งศูนย์อพยพในเจนัวในปี ๑๖๒๕ ซึ่งไม่ช้าก็มีคนมาพำนักมากมาย เธอเช่าอารามว่างหลังหนึ่ง
ในปี ๑๖๓๑ ที่ซึ่งเธอดูแลคนป่วยโดยมีสตรีคนอื่นๆ ช่วย เธอสอนพวกสตรีเหล่านั้นเรื่องความเชื่อเพิ่มเติม
จากการทำงาน

เวอร์จิเนียสร้างวัดหลังหนึ่งถวายแด่แม่พระผู้เป็นที่พึ่ง ในไม่ช้า สตรีที่ทำงานร่วมงานกับเธอใน
โรงพยาบาลก็ได้รวมตัวกันเป็นคณะนักบวช ๒ คณะ คือ ซิสเตอร์แห่งพระแม่ผู้เป็นที่พึ่งบนเขากัลวารีโอ
และธิดาของแม่พระเขากัลวารีโอ

เวอร์จิเนียลาเกษียณจากงานบริหารคณะ เธอทำงานด้วยมือและออกขอทาน แต่ก็ถูกเรียกตัวกลับมาทำ
หน้าที่บริหารคณะ ไม่นานหลังจากนั้นเวอร์จิเนียเริ่มเห็นภาพนิมิตและได้ยินเสียงจากพระเจ้าในปีท้ายๆ
ของชีวิต เธอตายที่เจนัวในวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๑๖๕๑ พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ ๒
ประกาศตั้งเธอเป็นนักบุญวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๐๐๓

CR : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

เสาร์ ธ.ค. 02, 2023 7:06 pm

:s002: :s002: :s002:
ตอบกลับโพส