เรื่องดีๆจากหนังสือสรรสาระ (ชุดที่18)

ใครมาใหม่เชิญทางนี้ก่อน ทักทาย ทดลองโพส
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. เม.ย. 06, 2023 5:57 pm

ปั่นจักรยานรอบโลก ตอนที่ ( 1 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/
โดย Françoise และ Hervé เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

1. อารัมภบท

ฟรังซัวส์และ’โคลด’ แอร์เว (Françoise & Claude Hervé) ออกเดินทางรอบโลกด้วยจักรยาน
ตั้งใจว่าจะใช้เวลาสัก 3 ปี แต่ปรากฏว่า การผจญภัยของทั้งสองครอบคลุมระยะทางมากกว่า 150,000 กม.
และใช้เวลาถึง 14 ปี ทั้งสองหยุดปะยาง 503 ครั้งถ่ายภาพ 35,100 รูปและให้กำเนิดลูกสาวชื่อ “มานอง”
(Manon) ที่ได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดีตลอดการเดินทาง

แม้การเดินทางครั้งนี้ทำให้สมองของทั้งสองเต็มไปด้วยความฝันและความรู้สึกอัศจรรย์ใจกับอิสรภาพ
ที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ทั้งสองกลับเล่าประสบการณ์ได้อย่างเรียบง่าย อีกทั้งยังได้ยึดมั่นในความเป็นมนุษย์
และภราดรภาพต่อผู้คนโดยไม่แบ่งแยกพื้นเพ วัฒนธรรมและความเป็นอยู่…

วันที่ 1 เมษายน 2523 เวลา 9.00 น. เราเริ่มปั่นจักรยานออกเดินทางจากเมืองลีออง (Lyon) ประเทศฝรั่งเศส
ด้วยความรู้สึกหวั่นใจเล็กน้อย เรากำลังจะทิ้งทุกอย่างไว้เบื้องหลัง ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อนบ้านและ
ชีวิตที่สุขสงบเพื่อหาประสบการณ์แปลกใหม่ เราอยู่บนอานจักรยานและส่ายไปมาเหมือนเด็กกำลังหัดเดิน
ขณะขี่ไป ใจเราก็เตลิดวาดฝันถึงการเดินทาง รถคันหนึ่งแซงหน้าเราขึ้นไปและจอดเลยไปเล็กน้อย ขณะนั้น
เราเพิ่งออกเดินทางมาได้ 25 กม.

“สวัสดี ขนของไปไหนกันตั้งเยอะแยะหรือ ผมก็ปั่นจักรยานเหมือนกัน พวกคุณปั่นมาจากไหนหรือครับ”

“เมืองลีออง”

“แล้วจะไปไหนกันล่ะ”

เขาจะเชื่อไหมนะ ถ้าเราบอกว่ากำลังเดินทางรอบโลก
“เรากำลังไปแหลมเหนือ (North Cape) ดูพระอาทิตย์ตอนเที่ยงคืนที่นอร์เวย์ ครับ”

“โชคดีนะ” เขาพูดทิ้งท้ายก่อนออกรถไป

โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. เม.ย. 06, 2023 5:59 pm

🌍ปั่นจักรยานรอบโลก ตอนที่ ( 2 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/
โดย Françoise และ Hervé เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

2. แรงบันดาลใจ

การตัดสินใจของเรามิได้เป็นไปอย่างปุบปับ แต่เป็นความตั้งใจที่มีการเตรียมการอย่างละเอียด
รอบคอบ ความปรารถนาสู่วิถีชีวิตใหม่ค่อย ๆ คืบคลานเข้ามาสิงสถิตอยู่ในใจเรา ฟรังซัวส์ (Françoise)
วัย 21 ปีเป็นนักศึกษามัณฑนศิลป์ (Decorative Arts) และ’โคลด’ แอร์เว (Claude Hervé) เป็นนักเทค
นิคกายภาพ (Orthopedic technician) เราทั้งสองต่างแสวงหาประสบการณ์ร่วมกัน

เย็นวันหนึ่ง ช่วงต้นปี 2521 ‘โคลด’กลับมาถึงอพาร์ทเม้นท์ที่เมืองลีอองพร้อมกับชูหนังสือพิมพ์
ฉบับหนึ่งให้ดู “ผมพบประสบการณ์ที่เราจะแสวงหาร่วมกันได้แล้ว” เขาบอก

หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นลงภาพหนุ่มฝรั่งเศสยืนหน้าจักรยาน หนุ่มรายนี้เพิ่งเสร็จสิ้นการเดินทางรอบโลก
เป็นเวลา 3 ปี ฟรังซัวส์ยิ้มรับหลังจากทราบเรื่องในหนังสือพิมพ์ เธออยากเดินทางอยู่เสมอแต่ก็ไม่เคยคิด
มาก่อนว่าจะเดินทางโดยจักรยาน

ในที่สุดทั้งสองก็สรุปตรงกันได้ว่า เราจะเดินทางรอบโลกโดยจักรยานพร้อมกับกำหนดวันเริ่มต้น
การเดินทางในเดือนเมษายน 2523 นั่นคืออีก 2 ปีข้างหน้า

โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. เม.ย. 06, 2023 6:02 pm

🌍ปั่นจักรยานรอบโลก ตอนที่ ( 3 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/
โดย Françoise และ Hervé เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

3. การวางเส้นทาง -- การฝึกร่างกายและทักษะที่จำเป็น

เมื่อตกลงใจได้แล้ว เราก็เริ่มรวบรวมเอกสารต่าง ๆ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับจักรยาน
หลังจากได้รับคำแนะนำจากนักปั่นจักรยานหลายคนและพิจารณาดูจักรยานอยู่หลายยี่ห้อ ที่สุดเรา
ตัดสินใจเลือกจักรยานยี่ห้อหนึ่งซึ่งเป็นประดิษฐกรรมฝีมือชาวเมืองลีออง

เจ้าของโรงงานจักรยานผู้นี้บรรยายถึงสรรพคุณของจักรยานชนิดที่สั่งทำให้เหมาะกับสรีระของ
ผู้ขี่ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บจากการเดินทางไกลนับพัน ๆ กม. จักรยานหนัก 15 กก.
มี 15 เกียร์ ราคาคันละ 5,000 ฟรังก์ (1 ฟรังก์ขณะนั้น = ประมาณ 5 บาทเศษ) และค่ากระเป๋าข้าง
รถ 5 ใบ (ด้านหน้า 2, หลัง 2 และที่แฮนด์อีก 1) บรรจุของได้ 40-50 กก. ราคา 1,000 ฟรังก์ รวม
จักรยาน 2 คันพร้อมกระเป๋าข้างรถเป็นเงิน 12,000 ฟรังก์ และ 2 เดือนต่อมา เราก็ยิ้มอย่างภาคภูมิ
เมื่อไปรับจักรยานคันใหม่เอี่ยม

เราเอาจักรยานไปลองครั้งแรกโดยไม่ติดกระเป๋าข้างปั่นขึ้นยอดเขา “Col de Luère” นอกเมือง
ลีอองด้านตะวันตกที่ระดับความสูง 714 เมตร และพบว่าช่วงสุดท้ายก่อนถึงสันเขา เราก็เหนื่อยแทบแย่
เราฝึกอยู่หลายสัปดาห์เพื่อเรียนรู้ที่จะรักความท้าทายและรู้จักฝืนขีดกำลังความสามารถของเรา

วันเดือนผันผ่านไป เราลาออกจากงานที่ทำและใช้เวลา 10 เดือนก่อนกำหนดออกเดินทางเพื่อฝึกฝน
ร่างกายและเรื่องการสื่อสารพูดคุยกับผู้คนระหว่างการเดินทางรอบโลก เราสมัครเรียนภาษาอังกฤษ
แบบเร่งรัด 3 เดือนที่มหาวิทยาลัยลีออง

เราตระเวนไปตามสถานทูตและสำนักงานท่องเที่ยวของประเทศต่าง ๆ ในปารีสเพื่อขอเอกสารที่จำเป็น
รวมทั้งศึกษาข้อมูลจากห้องสมุดและศึกษาแผนที่ของสถาบันภูมิศาสตร์ของฝรั่งเศสเพื่อวางเส้นทาง

เราวางแผนถอนเงินออมทั้งหมดราว 80,000 ฟรังก์ติดตัวไปซึ่งน่าจะประทังชีวิตได้สัก 2-3 ปี พ่อแม่ของ
ฟรังซัวส์รับปากจะดูแลจดหมายต่าง ๆ เรื่องภาษีและเอกสารต่าง ๆ ที่ส่งมาในช่วงที่เราไม่อยู่ซึ่งคงจะเป็น
ภาระให้ท่านได้วุ่นวายอยู่ไม่น้อย

ที่สุดเราก็พร้อมสำหรับการผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ ในหัวเราเต็มไปด้วยเรื่องของมิตรภาพและทัศนคติ
ที่ดีในเรื่องต่าง ๆ เช่น ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความอ่อนน้อมและความอดทน การเดินทางนี้ยังเป็นการค้นพบ
ตัวเอง เพราะจะต้องมีช่วงเวลาที่เราแคลงใจ หมดหวังและหวาดกลัว แต่ความทุกข์ที่กล่าวมานี้คงเทียบ
ไม่ได้เมื่อเทียบกับความมหัศจรรย์และประสบการณ์หลากหลายที่จะได้รับ คนทั่วไปมักมุ่งหน้าไปซีกโลก
ใต้ก่อนเพื่อหาแสงอาทิตย์และความอบอุ่น แต่เราชอบสวนกระแส และดังนั้นเราจึงตัดสินใจขึ้นเหนือก่อน

ทั้งสองออกเดินทางรวม 3 ครั้งดังนี้

1. 1 เมษายน 2523 - มิถุนายน 2527 : ฝรั่งเศส-แหลมเหนือนอร์เวย์-เอเชียน้อย-อินเดีย-ไทย-ฝรั่งเศส

2. ตุลาคม 2527 - ธันวาคม 2532 : จีน-ทิเบต-แถบแปซิฟิก-ออสเตรเลีย-ทวีปอเมริกาเหนือจากฝั่ง
ตะวันตกสู่ฝั่งตะวันออก-ฝรั่งเศส

3. ปลายมกราคม 2533 - เมษายน 2537 : ชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ - ทวีปอเมริกาใต้;
และจากแอฟริกาใต้ขึ้นเหนือจนถึงกรุงปารีส

โปรดติดตามตอนที่ ( 4 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. เม.ย. 06, 2023 6:07 pm

🌍ปั่นจักรยานรอบโลก ตอนที่ ( 4 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/
โดย Françoise และ Hervé เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

4. การเดินทางในทวีปยุโรป

หลังจากออกจากฝรั่งเศส เราก็เปิดประตูสู่อิสรภาพด้วยการปั่นผ่านประเทศลักเซมเบิร์ก
และเบลเยียม อย่างรวดเร็ว ความกลัวและความกังวลที่ต้องห่างไกลบ้านค่อย ๆ หายไปเมื่อเข้าสู่
ฮอลแลนด์และเริ่มมีความสุขกับการค้นพบสิ่งแปลกใหม่ เย็นวันหนึ่ง แม่บ้านสาวชาวดัตช์
ครอบครัวหนึ่งเชิญเราไปกินอาหารและพักที่บ้าน แถมยังสอนศัพท์ที่จำเป็นให้เราถึง 6 ภาษา

เช้าวันรุ่งขึ้น แม่บ้านท่านนี้ขี่จักรยานของเธอนำทางเราอย่างคล่องแคล่วไปตามเส้นทางจักรยาน
ที่ไม่มีป้ายบอกทางใด ๆ ขึ้นเหนือเป็นระยะทาง 15 กม.เพื่อส่งเรา

เราปั่นต่อเข้าจนเข้าเขตเยอรมนีและพบสภาพอากาศที่ไม่ดีนักแต่ก็ได้พบปะผู้คนที่เอื้อเฟื้ออยู่หลายครั้ง
เราเข้านอร์เวย์ในเดือนพฤษภาคม ชาวไร่ครอบครัวหนึ่งต้อนรับเราอย่างเรียบง่ายและให้เราพักที่บ้าน
เมื่อเข้าเดือนมิถุนายน เราขี่จักรยานอยู่ในเขตแลปแลนด์ (Lapland) ซึ่งเป็นพื้นที่เหนือของนอร์เวย์
สวีเดนและฟินแลนด์ สภาพอากาศดูจะจงใจไม่ยอมให้เราไปถึงแหลมเหนือ (North Cape) แต่เราก็
ดั้นด้นฝ่าหิมะ ฝน และลูกเห็บ ลมแรงมากแต่ที่สุดเราพบบ้านไม้หลังเล็กซึ่งหาได้ยากในแถบนี้ ตรง
ปลายถนนบนช่องเขาซึ่งทอดตัวยาว เราเห็นควันไฟขาวลอยขึ้นจากปล่อง เราเคาะเรียก แล้วประตู
ก็เปิดออก ชาวแลป 2 คนกำลังนั่งผิงไฟและขยับที่ให้เรานั่งร่วมวง ทั้งสองมีรูปหน้ากลม ตาเรียวยาว
ผิวขาวซีด ไม่ค่อยพูดค่อยจา เราถือโอกาสขออาศัยไออุ่นอยู่ข้างเตาผิงเพื่อสะสมกำลังวังชา แถมหยิบ
ผลไม้แห้งของเจ้าของบ้านขึ้นมากินก่อนจะลาจากราว 15 นาทีต่อมา

หลังจากนั้น เราก็ปั่นต่ออีก 15 นาทีก็มาถึงแหลมเหนือ จุดเหนือสุดของทวีปยุโรปขณะนั้นเป็นเวลาเที่ยงคืน
พอดี ท้องฟ้าและทะเลดูจะกลมกลืนเป็นผืนเดียวกัน สีม่วงกลืนเข้ากับสีฟ้าครามของน้ำทะเล ความหนาว
เหน็บทิ่มแทงผิวกาย แต่ไม่เป็นไร คืนนี้เรารู้สึกหัวใจเบาหวิวและเป็นสุขล้นดื่มด่ำกับรางวัลของการเดินทาง
ไกล 5,800 กม. ตอนนี้เราแน่ใจแล้วว่า จะสามารถต่อได้อีกไกลแสนไกล เราเฉลิมฉลองความสำเร็จของ
การเดินทางช่วงแรกนี้กับเพื่อนชาวเยอรมัน 2 คนที่ทำความรู้จักกันระหว่างทาง

เดือนกรกฎาคม 2523 เราปั่นอยู่ในฟินแลนด์และพบกับผู้คนที่มีน้ำใจดีมากมาย แม้จะมีอุปสรรค
ทางภาษา เดือนสิงหาคมต่อมา เราก็ปั่นผ่านเมืองนูเรมเบอร์ก (Nuremberg) และมิวนิกในเยอรมนี
เราชื่นชมทุ่งหญ้า แสนสวยและระเบียงบ้านซึ่งล้วนบานสะพรั่ง

ภาพพระอาทิตย์เที่ยงคืน แหลมเหนือ นอร์เวย์ เต็มไปด้วยดอกไม้ขณะผ่านออสเตรีย
เราเข้าสู่ฮังการีและยูโกสลาเวียในเดือนกันยายน 2523 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อากาศอบอุ่นและผู้คนคึกคัก
สนุกสนานกันในดินแดนยุโรปใต้ เราจะหวาดหวั่นอยู่ไม่น้อยขณะปั่นอยู่บนท้องถนนที่การจราจรคับคั่ง
และสับสนวุ่นวาย กรุงอิสตันบูล (Istanbul) ประเทศตุรกีเป็นจุดหมายต่อไปซึ่งดูเหมือนจะอยู่แค่
สุดขอบฟ้านี้เอง

หมายเหตุ :

1) ทั้งสองมีหนังสือคู่มือคำศัพท์ที่จำเป็นหลายภาษา รวมทั้งเตรียมวลีสั้น ๆ เป็นภาษาของแต่ละ
ประเทศพร้อมที่จะนำออกใช้เมื่อมีการต้อนรับหรือเชิญเราพูดเกี่ยวกับการเดินทางตามสถานที่ต่าง ๆ

2) อุปกรณ์ตั้งแคมป์ได้แก่เตาแอลกอฮอล์, ชามสลัดขนาดเล็กใช้ทำอาหาร และของกินง่าย ๆ เช่น
ขนมปังและมูสช็อคโกแลต เป็นต้น

3) พวกเขาเดินทางได้เฉลี่ยวันละ 100 กม.ด้วยความเร็วเฉลี่ยที่ 15 กม./ชม.

โปรดติดตามตอนที่ (5)ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. เม.ย. 06, 2023 6:09 pm

🌍ปั่นจักรยานรอบโลก ตอนที่ ( 5 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/
โดย Françoise และ Hervé เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

5. ตุรกีและกรีซ

วันที่ 17 ตุลาคม 2523 ที่ชายแดนตุรกีมีทหารล้อมและเล็งปืนตรงมาที่เรา
นายพลเคนาน เอฟราน (Kenan Evren) เพิ่งทำรัฐประหารมาได้เดือนกว่า ๆ

“เอาหนังสือเดินทางไปประทับตราทางนั้น” นายทหารคนหนึ่งออกคำสั่ง

รถของชาวตุรกีทุกคันที่เข้าไปในยุโรปถูกตรวจค้นอย่างละเอียดเมื่อกลับเข้าตุรกี รถจักรยาน
ของเราต่อแถวคอย สักพักเราก็ได้หนังสือเดินทางคืนหลังจากการประทับตรา จากนั้นหัวหน้า
ด่านตรวจคนเข้าเมืองชวนเรา “ดื่มชากันหน่อยมั้ยครับ” พร้อมกับยื่นถาดน้ำชา 2 แก้วมาให้
“เที่ยวในตุรกีให้สนุกนะครับ รับรองว่าคุณจะติดใจประเทศของเรามากกว่าที่อื่นใดในโลก”

การเดินทางมาถึงกรุงเก่าคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคือกรุงอิสตันบุล)ที่มีมนต์ขลัง เราปั่น
จักรยานฝ่าการจราจรที่แน่นขนัด ถนนหนทางวุ่นวายไปด้วยรถเมล์ รถบรรทุก ทุกอย่างดูน่าทึ่ง
สำหรับเรา ไม่ว่าจะเป็นฝูงชนที่เลื่อนไหลไปตามถนน เสียงอึกทึกของแตรรถผสานกับเสียง
นกขับขาน เสียงร้องของหาบเร่และเสียงเกวียนเทียมลาที่ลากผ่านไปตามถนนหลวงและตรอก
ซอกซอย เราชื่นชมการต้อนรับที่ดีของชาวเมืองและใช้วลา 15 วันในอิสตันบูล

เราลงเรือเฟอร์รี่ไปเกาะครีต (Crete Island) ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและมีคนหนาแน่นที่สุด
ในประเทศกรีซเพื่อหนีหนาวในตุรกี แล้วข้ามต่อไปยังเมืองท่ามาร์มารีส (Marmaris) หมู่บ้านเล็ก ๆ
บนชายฝั่งตุรกี จากนั้นเราก็ขี่ลัดเลาะชายฝั่งไปทางตะวันออกผ่านซากโบราณวัตถุมากมาย

ชายฝั่งแถบนี้เขียวขจีสวยชื่นใจจริง ๆ เหมือนนำสีมาถักทอเป็นผ้าลูกไม้ ตัดแต่งด้วยสีเขียว
เข้มของพุ่มมะกอกและสีมรกตของทะเลเมดิเตอเรเนียน แต่ที่ท้าทายนักปั่นคือเนินเขา
และถนนที่ไม่ได้ลาดยาง

โปรดติดตามตอนที่ ( 6 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

ศุกร์ เม.ย. 07, 2023 9:45 am

🌍ปั่นจักรยานรอบโลก ตอนที่ ( 6 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/
โดย Françoise และ Hervé เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

6. อีรัก -- คูเวต -- การแต่งงานในปากีสถาน

เนื่องจากเราขอวีซ่าผ่านเข้าอิหร่านไม่ได้เพราะอยู่ในช่วงทำสงครามกับอีรักเกือบ 8 ปี
(22 ก.ย.2523 – 20 ส.ค.2531) เราจึงใช้เส้นทางผ่านเขตทะเลทรายทางตอนใต้ของอิรัก
ซึ่งพื้นดินชุ่มน้ำจากแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสไหลบ่า พ้นจากบริเวณนี้ เราเผชิญกับสภาวะ
ขาดน้ำเป็นครั้งแรก เราพบกระท่อมริมทางเข้าโดยบังเอิญ และเข้าไปในสวนที่มีกำแพงดิน
ล้อมรอบ สตรีนางหนึ่งนำของเหลวสีประหลาด 2 แก้วมาให้ เราคิดในใจว่า “เป็นน้ำเชื่อม
จากผลทับทิมแสนอร่อยหรือเปล่าหนอ” แต่ก็ช่างเถอะ เรากำลังกระหายน้ำและยกดื่มรวด
เดียวหมดแก้ว รสชาติหวานและสดชื่นดี เราขอเพิ่มอีกแก้ว คราวนี้ เธอไม่ได้ใส่น้ำเชื่อมมาให้
เราจึงสังเกตเห็นว่า น้ำที่ดื่มเป็นสีขุ่นคลัก คงเป็นน้ำจากหนองน้ำแถวนั้น แต่เราจำต้องดื่มเพราะ
ร่างกายขาดน้ำย่อมอันตรายยิ่งกว่าดื่มน้ำสกปรก ความที่เราอยากใช้ชีวิตให้คุ้มค่า เราจึงพร้อม
จะลองทุกอย่าง

เดือนพฤษภาคม 2524 อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝรั่งเศสในคูเวตเชิญเราเล่าถึงการเดินทางให้
เด็กนักเรียนฟัง เราเตรียมตัวอย่างดีและทำให้เด็ก ๆ นับร้อยตั้งใจฟังอย่างจดจ่อนานถึงครึ่งชั่วโมง
อาจารย์ใหญ่เชิญเราเข้าไปในห้องทำงานเพื่อขอบคุณและมอบเงินค่าตอบแทนให้ 45 ดินาร์
(ประมาณ 4,300 บาท)

“ผมให้คุณเท่าค่าแรงครูที่นี่เลยนะ” อาจารย์ใหญ่บอก

เป็นความคิดริเริ่มที่ยอดเยี่ยมจริง ๆ เราเขียนจดหมายไปหาพ่อแม่ของฟรังซัวส์ ขอให้ท่านส่งสไลด์
ที่เราถ่ายระหว่างการเดินทางช่วงแรกมาให้ การบรรยายของเราในครั้งต่อ ๆ มาก็ค่อย ๆ เป็นรูป
เป็นร่างขึ้น แถมเรายังตั้งเครื่องฉายสไลด์ได้อย่างคล่องแคล่วอีกด้วย

เราข้ามอ่าวเปอร์เซียบนเรือเดินสมุทรลำใหญ่เก่าคร่ำคร่า เรือลำนี้แล่นระหว่างคูเวตผ่านเมืองการาจี
ในปากีสถานสู่เมืองบอมเบย์ในอินเดีย

“อีก 2-3 วันคงรู้ว่าป่วยเป็นโรคอะไร” แพทย์ประจำเรือบอกเรา

“ถ้าเป็นโรคตับอักเสบชนิดบี คงต้องพักผ่อนนานหน่อยกว่าจะกลับไปปั่นจักรยานได้อีก”

โรคภัยเป็นผลจากน้ำ 2 แก้วในผืนดินชุ่มน้ำของอิรักที่ตามมาลงโทษเราเหมือนถูกประหารด้วย
เครื่องตัดคอ เราไม่รู้จักใครในการาจีเลย เราจึงได้แต่เตรียมใจไว้ ปรากฏว่า’โคลด’เป็นโรคตับ
อักเสบชนิดเอ จากการพบปะพูดคุยกับหลายคน ตั้งแต่สถาบันวัฒนธรรมฝรั่งเศสไปจนถึงโรงเรียน
ฝรั่งเศส บวกกับความอดทนของเรา ในที่สุด ชาวฝรั่งเศสคู่หนึ่งตกลงให้เราพักอยู่ด้วยระหว่างที่’
โคลด’พักฟื้น เราฉวยโอกาสที่ต้องอยู่เฉย ๆ ในช่วงนี้แต่งงานกัน และหมู่บ้านของเราในฝรั่งเศส
ก็พิมพ์ประกาศการแต่งงานครั้งนี้ด้วย ส่วนรัฐบาลฝรั่งเศสก็มอบหมายให้กงสุลฝรั่งเศสในการาจีเ
ปิดแชมเปญฉลองให้เรา

เราเดินทางต่อไปเมืองไฮเดอราบัด (Hyderabad) ทางใต้ของปากีสถาน มีครอบครัวหนึ่งเชิญเรา
รับประทานอาหารจานพิเศษของเมืองและนำเราเยี่ยมชมเมืองพร้อมกับแนะนำให้ฟรังซัวส์ถอด
แหวนหมั้นที่มีอัญมณีดึงดูดสายตาของคนยากจนโดยเฉพาะในปากีสถานและอินเดีย

เพื่อช่วยการเดินทางในสะดวกขึ้นในเขตเมืองและในที่ทุรกันดาร เราติดกระจกส่องหลังที่แฮนด์
จักรยานและซื้อแว่นตากันฝุ่น หลังจากเดินทางมากว่า 1 ปี เราพบว่าผู้คนให้การต้อนรับนักเดินทาง
เป็นคู่มากกว่าผู้ที่เดินทางตามลำพัง

โปรดติดตามตอนที่ ( 7 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร เม.ย. 11, 2023 3:26 pm

🌍ปั่นจักรยานรอบโลก ตอนที่ ( 7 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/
โดย Françoise และ Hervé เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

7. อินเดีย – แคชเมียร์ -- เนปาล

กรกฎาคม 2524 เราแทบไม่รู้ว่ากำลังข้ามพรมแดนจากทางเหนือของปากีสถานไปยัง
แคว้นปัญจาบ (Panjab) ของอินเดีย สองประเทศนี้ดูแยกกันไม่ออกเลย ทุ่งนาและไร่อ้อยบน
ที่ราบค่อย ๆ กลายเป็นเนินเขา เมื่อวานเราขี่ช้างเป็นครั้งแรก มีควาญช้างนั่งไปด้วย เจ้าถนน
ที่นี่ไม่ใช่รถเมล์หรือรถสิบล้อ แต่กลับเป็นวัวศักดิ์สิทธิ์ที่เดินอ้อยอิ่งไปมา

ครั้งแรกที่เราเดินทางถึงเอเชีย ฟรังซัวส์มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ไม่คุ้นเคย
กับคำว่าสิทธิส่วนบุคคล ดวงตานับร้อยคู่คอยจับจ้องความเคลื่อนไหวของเราทุกย่างก้าวทุกวัน
แค่ขยับแขนทั้งหมู่บ้านก็หันมามอง ช่างอึดอัดสิ้นดี อีกทั้งฟรังซัวส์ก็ไม่ชอบโดยเฉพาะเวลาที่ต้อง
อาบน้ำท่ามกลางสายตาผู้ชาย ถึงแม้เธอจะนุ่งผ้าเวลาอาบน้ำทุกครั้ง แต่เวลาผ้าเปียก มันก็แนบเนื้อ
อยู่ดี เราไม่ผิดหวังเลยที่ซื้อจักรยานสั่งทำพิเศษ รถทั้งแข็งแรง ทนทาน ขี่สบาย ช่วยให้การเดินทาง
ของเราง่ายขึ้น และไม่เคยมีปัญหาเรื่องอะไหล่ ยกเว้นเฟืองเกียร์ล้อที่เหลือใช้ได้เพียงเกียร์เดียวแทนที่
จะทดได้ 15 เกียร์เพื่อผ่อนแรง เชิงเขาแคชเมียร์ (Kashmir) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย
ตระหง่านอยู่ตรงหน้า

วันที่ 27 กรกฎาคม 2524 เราส่งโทรเลขจากแคว้นจัมมู (Jammu)ไปถึงผู้ผลิตจักรยานของเราในฝรั่งเศส
เพื่อให้ส่งเฟืองตัวใหม่มาที่สถานทูตฝรั่งเศสในกรุงเดลี เพราะเราตั้งใจจะปั่นไปขึ้นเหนือไปจนถึงแคว้น
ลาดัก (Ladakh) ซึ่งต้องข้ามช่องเขา 6 ลูกที่สูงกว่า 3,500 เมตร ระหว่างรอเฟืองตัวใหม่ซึ่งใช้เวลาราว
2 เดือน เราถือโอกาสร่วมแสวงบุญในถ้ำที่วัดอมรนาถ ( Amarnath) ซึ่งเป็นวัดฮินดูที่ความสูง 3,888 เมตร
เป็นเวลา 3 สัปดาห์

เราพักการเดินทาง 1 เดือนหลังจากทำความรู้จักกับอดีตนักธุรกิจชาวลอนดอนที่ทิ้งทุกอย่างเพื่อฝึก
จิตวิญญาณ และอุทิศตนช่วยเหลือคนยากจน อดีตนักธุรกิจท่านนี้สอนเราทำสมาธิ จากนั้นเราก็ขี่จักรยาน
ไปเมืองเก่า “Puskar” ในทะเลทรายทาร์ (Thar) ซึ่งมีเทศกาล 7 วันค้าม้าและอูฐ (Pushkar Camel Fair)
ช่วงปลายเดือนตุลาคม ก่อนจะไปเยือนเมืองเก่าคาจุราโฮ (Khajuraho) แวะชมวัดฮินดู 22 แห่งซึ่งองค์
การยูเนสโกจัดให้เป็นมรดกโลกตั้งแต่ปี 2529
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2524 ที่เมืองพาราณสี เราเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองทางศาสนาฮินดู “Manikarnika”
ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่เผาศพที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของศาสนาฮินดูริมแม่น้ำคงคา เชื่อกันว่าวิญญาณของผู้ตาย
จะหลุดพ้นจากวัฎจักรของการเกิดใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยกฎแห่งกรรมหลังจากแตกสลายเมื่อถูกเผาในสถานที่นี้
การที่ได้มาสัมผัสกับศาสนาอื่น ๆ ทำให้เราเข้าถึงจิตวิญญาณตัวเองมากขึ้น วันหนึ่ง เรามีโอกาสได้คุยกับ
โยคีเกี่ยวกับศาสนาและชีวิต
“ในอินเดีย การพูดคำขอบคุณไม่มีความหมายอะไรและก็ไม่ใช่วัฒนธรรมของสังคมเรา” โยคีอธิบาย “การให้
และการรับเป็นการแสดงถึงความไม่เห็นแก่ตัว การละวางต่างหากที่เป็นเรื่องสำคัญ เวลาที่เราจะขอบคุณใคร
ก็เหมือนเราคิดว่า เราต้องใช้หนี้ในสิ่งที่เขาให้เรา”
หลังจากนั้น เราปั่นเข้าประเทศเนปาลในเดือนธันวาคม มีครอบครัวชาวเนปาล-แคนาดาผู้มั่งคั่งเชิญเรา
พักฉลองคริสต์มาสกับพวกเขาอยู่หลายวัน ก่อนจะกลับไปอินเดียต้นเดือนมกราคม 2525

กุมภาพันธ์ 2525 เราตอบรับคำเชิญของคุณแม่เทเรซาในการร่วมรับประทานอาหารที่นิคมคนโรคเรื้อน
ในหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งทางใต้ของเมืองกัลกัตตาโดยไม่ได้คิดอะไรมาก และประจักษ์ในวันรุ่งขึ้นว่า
ผู้ร่วมโต๊ะกับเรารวมถึงบรรดาผู้ป่วยโรคเรื้อนที่นั่นด้วย

ภายในกระท่อมดินที่สะอาดเอี่ยม พวกเขาตั้งใจเตรียมอาหารอย่างดี พร้อมผลไม้รสเลิศมาเลี้ยงดู
พวกเขาดีใจมากที่เราไปเยี่ยม เราเองก็ตื้นตันกับความอารีและถ่อมตนของผู้ป่วยโรคเรื้อน และเนื่องจาก
’โคลด’เป็นนักศัลยกรรมกระดูกและข้อโดยอาชีพจึงมีส่วนช่วยด้านการผ่าตัดผู้ป่วยอยู่หลายครั้ง เราทั้งสอง
ยินดีช่วยงานบรรเทาทุกข์ทรมานผู้ป่วยฯ ในนิคมโรคเรื้อนที่ซิสเตอร์คณะที่แม่ชีเทเรซาเป็นผู้ก่อตั้งดูแล
อยู่หลายแห่งโดยพักอยู่ที่นิคมโรคเรื้อนใกล้เมืองภูมาเนศวร
(Bhumaneswar) เมืองหลวงของแคว้นโอริสสา

วันหนึ่ง เราเสนอว่าจะจัดฉายสไลด์ที่หมู่บ้านซึ่งมีชาวบ้านราว 800 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อน
เราไปรื้อข้าวของที่โบสถ์คาทอลิกที่นั่นและเจอเครื่องฉายสไลด์เก่าอายุกว่า 40 ปี หมู่บ้านนี้ไม่มีไฟฟ้า
แต่ไม่เป็นไร เรื่องแบบนี้ไม่ใช่ปัญหาในอินเดีย

มีเสาไฟฟ้าแรงสูงห่างไป 100 เมตร เราตั้งเสาและเอาลวดไปเกี่ยวสายไฟ 2 เส้นก็ได้ไฟฟ้ามาเดินเครื่องฉาย
สไลด์ พวกผู้หญิงช่วยกันทำจอขนาดใหญ่โดยเย็บผ้าสาลูติดกันเป็นผืนใหญ่ เมื่อเราพร้อม ผู้ป่วยโรคเรื้อน
นับร้อยก็พากันานั่งล้อมวงบนพื้นหญ้า ดูภาพสไลด์ ฟังคำบรรยายอย่างตั้งใจ มีนักสังคมสงเคราะห์ชื่ออโศก
เป็นล่ามช่วยแปลภาษาอังกฤษของเรา

เมื่อถึงคราวเดินทางออกจากอินเดีย เราตระหนักว่า เราไม่ใช่คนเดิมอีกแล้ว เราเรียนรู้ที่จะมองสิ่งต่าง ๆ
ในแง่มุมรอบด้านมากขึ้น ไม่พยายามอธิบายหรือเข้าใจไปเสียทุกเรื่อง เป็นครั้งแรกที่เรารู้สึกซาบซึ้งเต็มที่
กับชีวิตของเรา และนับว่าเราโชคดีที่สามารถเลือกหนทางอิสระเต็มที่อย่างที่กำลังทำอยู่

โปรดติดตามตอนที่ ( 8 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร เม.ย. 11, 2023 3:30 pm

🚲ปั่นจักรยานรอบโลก ตอนที่ ( 8 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/
โดย Françoise และ Hervé เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

8. กรุงเทพฯ – ค่ายผู้อพยพเขาอีด่าง -- กลับฝรั่งเศสครั้งแรก

มกราคม 2525 ในกรุงเทพฯ เราพบกับบรรณาธิการของนิตยสาร “ลิฟวิ่ง อิน ไทยแลนด์” (
Living in Thailand)

“ลองเขียนบทความให้เราไหมล่ะ”

“เราไม่เคยทำงานเขียนมาก่อน”

“ก็น่าจะเริ่มได้นะ” บรรณาธิการแนะ

ดังนั้น บทความชิ้นแรกของเราจึงได้รับการตีพิมพ์ในเมืองไทย ถือเป็นจุดเริ่มต้นของบทความ
อีกหลายตอนติดต่อกันและการบรรยายอีกมากมายที่ทำให้เรามีเงินจุนเจือการเดินทางต่อไปได้

ราวต้นเดือนเมษายน 2525 เราตัดสินใจนั่งรถประจำทางไปชายแดนกัมพูชา คณะทำงานขององค์
การสากลเพื่อผู้พิการรอต้อนรับและให้เราพักอยู่ด้วย กลุ่มคนหนุ่มสาว 12 คน มีทั้งพยาบาล นักกาย
ภาพบำบัดหรือหมอเล่าเรื่องงานให้เราฟัง
เสียงดังกึกก้องคล้ายเสียงฟ้าร้องแว่วมาแต่ไกล แล้วเราก็รู้ต่อมาว่า นั่นเป็นเสียงระเบิดถล่มค่ายผู้อ
พยพเขมรตามชายแดนไทย

“ชาวบ้านถูกปืนใหญ่ทหารเวียดนามถล่ม” สมาชิกองค์กรคนหนึ่งบอก

ในค่ายผู้อพยพเขาอีด่าง มีชาวต่างชาติทำงานอยู่ราว 300 คนจากหน่วยงานเพื่อมนุษยธรรมนานาชาติ
และองค์กรช่วยเหลือผู้อพยพ ส่วนองค์การสากลเพื่อผู้พิการนั้นเชี่ยวชาญในการทำแขนขาเทียมแบบง่าย ๆ
รวมทั้งอุปกรณ์เกี่ยวกับการทำกายภาพบำบัดจากวัสดุต่าง ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น ชาวกัมพูชา
ราว 130,000 คน อาศัยอยู่ในค่ายเขาอีด่างเพื่อรอให้ประเทศตะวันตกรับไปอยู่ ในโรงงานขององค์การ
สากลเพื่อผู้พิการ ‘อีฟ’ ช่างเทคนิคชาวฝรั่งเศสแนะนำให้เรารู้จักกับทีมงานและอธิบายให้ฟัง

ชาวกัมพูชา 40 คนล้วนพิการใส่แขนขาเทียมได้รับจ้างทำงานสารพัดอย่างในโรงงานแห่งนี้ เช่น ทำ
รองเท้าแตะจากยางรถเก่าและยางในของรถบรรทุก ปรับแต่งอุปกรณ์ทางกายภาพและแขนขาเทียม
สำหรับผู้ป่วยโรคโปลิโอหรือเป็นอัมพาต

ขณะเดินเยี่ยมค่ายผู้อพยพเขาอีด่างบ่ายนั้น เราเกิดความคิดว่า เราเองก็มีส่วนช่วยโครงการนี้ได้ โดยช่วย
ผลิตแขนขาเทียมและอุปกรณ์ด้านกายภาพ เราลองถามผู้ประสานงานของทีมงานนี้ เย็นวันนั้นเขาก็โทรฯ
ถามผู้อำนวยการโครงการในกรุงเทพฯ ดูเหมือนจะไม่มีปัญหา พวกเขาสนใจอยากได้ผู้เชี่ยวชาญด้าน
กายภาพมาช่วยงานจริง ๆ แต่อาจไม่มีงานมากพอสำหรับ 2 คนในอนาคตอันใกล้ แต่พวกเขาก็ยินดีให้
ฟรังซัวส์เรียนเทคนิคการผลิตแขนขาเทียมจากวัสดุในท้องถิ่น เช่น หนัง โลหะ ยางรถและไม้

ที่สุด’โคลด’ ก็ได้ทำงานในฐานะอาสาสมัครที่ได้รับเงินตอบแทนพอสมควรเป็นเวลา 13 เดือนโดย
ช่วยงานด้านศัลยกรรมกระดูกในแผนกของอวัยวะเทียมสำหรับผู้พิการ ชีวิตของเราเปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ

เราขี่จักรยาน 2 วันจึงถึงอรัญประเทศ ทางองค์การยกบ้านไม้ใต้ถุนสูงกลางดงมะม่วงให้เราอยู่ มีเพื่อน
ร่วมบ้านซึ่งเป็นสมาชิกในทีมงานอีก 2 คนพักอยู่ด้วย เรานอนบนฟูกและกางมุ้งในเวลากลางคืน

เราเริ่มเรียนกับ’ซัม’ ชาวเขมรผู้ดูแลโรงงานที่เขาอีด่าง ‘โคลด’ไม่ได้จับงานด้านนี้มา 4 ปีแล้ว แต่ความถนัด
ก็กลับคืนมาอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่การวัด ตัด เลื่อย ปั้น แต่ง ฯลฯ เราเรียนรู้การทำแขนขาเทียมแบบชั่วคราว
โดยใช้ไม้ไผ่และผ้าพันแผลหุ้มด้วยปูนปลาสเตอร์ ซึ่งเข้ากันได้อย่างสมบูรณ์แบบ ขั้นต่อไปคือการ
ใส่แขนขาเทียมให้ผู้พิการ พวกเขาต้องเรียนวิธีการใช้ขาไม้ไผ่ ความรู้สึกของพวกเขาตอนแรกคือ
สงสัยและไม่เชื่อ แต่เมื่อลองเดินได้ 2-3 ก้าว ก็เริ่มมีความหวัง พวกเขาทำให้เราทึ่งในเป็นคนใจสู้และ
มุ่งมั่นที่จะพัฒนาตัวเอง การมองโลกในแง่ดีและความต้องการที่จะกลับไปมีชีวิตเหมือนเดิม เราเรียน
ภาษาเขมรเพื่อจะได้ใกล้ชิดผู้อพยพมากขึ้น ระหว่างพักเที่ยงคนงานบางคนช่วยสอนภาษาให้เรา

โปรดติดตามตอนที่ ( 9 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร เม.ย. 11, 2023 3:33 pm

🚲ปั่นจักรยานรอบโลก ตอนที่ ( 9 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541
และจาก https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/
โดย Françoise และ Hervé เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

ในเดือนต่อ ๆ มา ‘โคลด’ทำหน้าที่แทน’อีฟ’ที่โรงงานในเขาอีด่าง เราได้รู้จักกับ‘มัป’ช่วงนี้
หนุ่มเขมรวัย 22 ใส่ขาเทียมทั้งสองข้าง แต่มีกำลังใจกล้าแกร่งซึ่งทำให้เขาเอาชนะอุปสรรคทั้งมวลได้
เขาต้องการมีชีวิตเหมือนคนปกติอีกครั้ง และได้กลับไปอยู่กับภรรยาและลูกสาว เขาค่อย ๆ หัดเดิน
ถึงจะช้าหน่อยแต่ก็มั่นคง ซ้ำยังขี่จักรยานได้ด้วย

‘มัป’เป็นกำลังสำคัญในโรงงานของเรา เขาคอยกระตุ้นคนอื่น ซึ่งบางครั้งพิการน้อยกว่าเขาด้วยซ้ำ
แต่กลับรู้สึกหมดหวังเหมือนเป็นอัมพาต เราขอให้เขาไปที่โรงพยาบาลกาชาดเพื่อคุยกับชาวกัมพูชา
รายหนึ่งที่ต้องใส่ขาเทียมทั้งสองข้างเหมือนเขาและกำลังหดหู่หมดกำลังใจ ‘มัป’นั่งรถเข็นไปถึงที่เพื่อ
พูดคุยและพยายามให้กำลัง ใจ แต่คนนี้จัดว่าดื้อและหัวแข็ง

“มาพูดถึงลูกเมียและงานทำไมกัน ผมไม่มีโอกาสที่จะทำงานได้อีกแล้ว”

“ดูสิ ผมเองก็เหยียบกับระเบิดเหมือนกัน เสียขาทั้งสองข้าง แล้วก็เคยคิดว่าทุกอย่างจบสิ้นแล้ว”
‘มัป’พูดขณะค่อย ๆ พับขากางเกงตัวเองขึ้น “แต่แล้วก็มีคนมาเล่าเรื่องงานและวิธีที่เขาจะลุกขึ้นมามีชีวิตใหม่
หลังจากใส่ขาเทียม เอาล่ะ เดี๋ยวผมจะทิ้งเก้าอี้รถเข็นนี่ไว้ให้คุณ เมื่อแผลที่ตอขาแห้งสนิทดีแล้ว ลองแวะ
มาหาเราก็แล้วกันนะ”

ว่าแล้ว ‘มัป’ก็ลุกเดินออกไปอย่างใจเย็น

เย็นวันหนึ่ง หมอวีระชัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเรียก’โคลด’เข้าไปดูคนเจ็บรายหนึ่ง เป็นเด็กชายวัย 15 ปี
ได้รับอุบัติเหตุขาถูกเครื่องสีข้าวขยี้ คุณหมอซึ่งไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับ
การผ่าตัดเพื่อช่วยให้การใส่ขาเทียมในภายหลังสะดวกขึ้น บริเวณหัวเข่าของเด็กรายนี้อาการสาหัสมาก
จนไม่อาจรักษาไว้ได้ จำเป็นต้องตัดขาจากช่วงต้นขาลงมาทั้งหมด

การผ่าตัดใช้เวลา 2 ชั่วโมง ‘โคลด’อยู่ด้วยตลอดเวลา ครอบครัวเด็กก็รออยู่ พ่อแม่เด็กดูคลายความ
วิตกลงเมื่อหมอวีระชัยอธิบายสถานการณ์ให้เข้าใจเหมือนกับว่าพวกเขาไม่เสียใจเลยเมื่อได้ยินว่าลูก
ถูกตัดขา แต่กลับยินดีเที่ลูกชายคนโตของพวกเขารอดชีวิต

หลังจากเราสองคนอยู่ที่นี่ได้เกือบ 1 ปีเต็ม หมอวีระชัยเชิญเราไปร่วมฉลองครบรอบ 8 ปีของโรงพยาบาล
ในงานมีโต๊ะกลางสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่ โต๊ะเล็ก ๆ ล้อมรอบ มีวงดนตรีของทหารบรรเลงและอาหาร
แสนอร่อย หลังอาหาร หมอวีระชัยลุกขึ้นกล่าวปราศรัย พูดถึงงานต่าง ๆ ที่ทำกันในโรงพยาบาลอรัญฯ
‘โคลด’ต้องลุกขึ้นกล่าวตอบเป็นภาษาไทย จากนั้นคุณหมอจึงเปิดฟลอร์รำวงกับฟรังซัวส์

มิถุนายน 2527 เรากลับไปเยี่ยมบ้านที่ฝรั่งเศส ดีใจที่ได้พบครอบครัวและเพื่อน ๆ อีกครั้งหลังจากไม่ได้
เจอกันถึง 4 ปี เราพยายามอยู่หลายเดือนเพื่อที่จะขอวีซ่าเข้าประเทศจีน ความชักช้าทำให้เรามีเวลาเรียน
ภาษาจีนกลางขั้นต้น เจ้าหน้าที่สถานทูตจีนที่ฝรั่งเศสไม่ยอมออกวีซ่าให้เรา

โปรดติดตามตอนที่ ( 10 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร เม.ย. 11, 2023 3:36 pm

🚲ปั่นจักรยานรอบโลก ตอนที่ ( 10 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/ โดย Françoise และ Hervé
เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

9. ฮ่องกง – จีน – ทิเบต – มองโกเลีย – อุยกูร์

กันยายน 2528 เราตัดสินใจไปตายเอาดาบหน้าโดยบินไปฮ่องกงและที่สุดก็ได้วีซ่านักท่องเที่ยว
ที่นี่สำหรับเดินทางในจีนได้ 3 เดือน เช้าตรู่วันเดินทาง เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองปล่อยให้เราเข้า
ประเทศโดยแทบไม่ได้ไต่ถามอะไรเลย ทั้ง ๆ ที่คงประหลาดใจอยู่ไม่น้อยกับจักรยานพร้อมสัมภาระ
อันหนักอึ้งของเรา

ที่กวางตุ้ง เราใช้ห้องน้ำสาธารณะเหมือนกับคนจีนทั่วไป และที่นี่เองที่เราค้นพบความเหมาะเจาะ
ของคำว่า “สาธารณะ” ในห้องน้ำชาย มีคนราว 10 คนนั่งยอง ๆ เรียงรายกันทำธุระส่วนตัว ด้านล่างมี
สายน้ำเล็ก ๆ ไหลผ่านตลอด ‘โคลด’แทรกตัวเข้าไปในที่ว่างระหว่างชายสองคน คนแรกนั่งอ่านหนังสือพิมพ์
ส่วนอีกคนเปิดฉากพูดคุยกับ’โคลด’

เมื่อไปถึงมณฑลกุ้ยโจว (贵州省: Guìzhōu Shěng) ซึ่งเป็นพื้นที่ล้าหลังมากแห่งหนึ่ง เราเริ่มเห็นโฉม
หน้าแท้จริงของจีน ประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขา ทุกครั้งที่มีรถขับผ่าน ตัวเราจะคลุ้งไปด้วยฝุ่น จักรยาน
ของเราจะลื่นไถลไปบนถนนโรยกรวด พื้นทรายทำให้การเดินทางของเราล่าช้า บางครั้งถึงกับต้องชะงัก

ยังดีที่เราได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากครอบครัวคนจีน ซึ่งไม่ค่อยได้พบเห็นคนต่างชาตินัก วันหนึ่ง
เราหยุดแวะกินอาหารที่หมู่บ้านทงเต้า สักครู่ ชายสองคนเชิญเราไปที่ห้องเล็ก ๆ พื้นเป็นดิน ชาวบ้านค่อย ๆ
ทยอยกันเข้ามา ชั่วโมงหนึ่งผ่านไป คนฝูงใหญ่เริ่มจับกลุ่มกัน ทุกคนใส่เสื้อผ้าฝ้ายสีน้ำเงินเหมือนกันหมด
เจ้าภาพเชิญให้เราพักค้างคืน ทุกคนประหลาดใจมากเมื่อเราล้างเท้าก่อนเข้านอน ‘โคลด’เข้าใจผิดเอา
อ่างล้างหน้ามาล้างเท้า

หญิงชาวบ้านคนหนึ่งนำรองเท้าแตะมาให้เรา ในที่สุดเราได้นอนในห้องเตียงใหญ่ หลับสบายกันตลอดคืน
วันที่ 1 ตุลาคม 2528 เราเดินทางเข้าไปถึงใจกลางแผ่นดินใหญ่ ในจีนไม่มีคำว่าครึ่ง ๆ กลาง ๆ เราตะลึงกับ
ความงามของทัศนียภาพ แต่สภาพถนนหนทางสำหรับจักรยานคือนรกดี ๆ นี่เอง แต่ละครอบครัวโอบอ้อมอารี
จนเราประหลาดใจ แต่ถ้าคนจีนจับกลุ่มเป็นฝูงชนเมื่อไร กลับไม่น่าประทับใจเลย ความรู้สึกทุกอย่างไม่มี
คำว่าสายกลาง ทั้งสุขสันต์ ชื่นชม เหน็ดเหนื่อยและโกรธกริ้ว ที่หมุนเวียนเปลี่ยนกันเข้ามา เราอาศัย
ความอดกลั้นและรู้จักปรับตัวให้เข้ากับคนจีน

วันที่ 19 ตุลาคม 2528 เราไปถึงเมืองอี้ผิง เส้นทางมีน้ำนอง ฝนตกติดต่อกัน 2 สัปดาห์ถนนหนทางมีแต่
โคลนตม ซ้ำร้ายมีคนจีน 2 คนขี่จักรยานตัดหน้าฟรังซัวส์ขณะที่เรากำลังขี่ลงเขา เธอเสียหลักล้ม เป็น
แผลบาดลึกเลือดออกมากบริเวณใต้เข่า และไม่ช้าฝูงชนก็แห่กันมาห้อมล้อมเรา หลังจากทำความสะอาด
ปิดแผลแล้ว เราออกเดินทางต่อ บ่ายวันนั้น จานเกียร์ล้อหลังของฟรังซัวส์เกิดหัก ทำให้เราต้องหยุดพักกัน
ที่เมืองเล็ก ๆ ฟรังซัวส์รู้สึกเจ็บแผลมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเราไปหาหมอก็ได้รับทราบว่า เย็บแผลไม่ทันเสียแล้ว
เราต้องรีบไปโรงพยาบาลในเมืองใหญ่ที่อยู่ใกล้ที่สุดคือเมืองซุนยี่ (遵义市 : Zūnyì)
หมอ 4 คนและพยาบาลไม่ต่ำกว่า 10 คนห้อมล้อมฟรังซัวส์เมื่อไปถึงโรงพยาบาล บาดแผลยังสกปรกอยู่
แต่กระดูกไม่แตก วิธีที่ดีที่สุดคือ การพัก

โปรดติดตามตอนที่ ( 11 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ เม.ย. 17, 2023 9:42 pm

🚲ปั่นจักรยานรอบโลก ตอนที่ ( 11 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/ โดย Françoise และ Hervé
เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

8 วันต่อมา แผลเกิดติดเชื้อ ฟรังซัวส์ต้องนั่งรถไปโรงพยาบาลวันละ 2 ครั้งเพื่อให้หมอฉีดยา
แก้อักเสบ เธอต้องอยู่นิ่ง ๆ 20 วัน เราใช้เวลาช่วงนั้นติดต่อโรงกลึงโดยไม่แน่ใจว่า พวกเขา
จะซ่อมเกียร์ล้อหลังให้ได้หรือไม่ นักออกแบบอุตสาหกรรมที่นั่นสเก็ตช์รูปชิ้นส่วนอะลูมิเนียม
ให้เราดู อีกสองวันต่อมา พวกเขาก็เจียจานเกียร์ล้อหลังให้เรา 2 อันบอกว่า เผื่ออีกอันเสีย

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2528 เราออกจากนครเฉินตู (成都 : Chéngdū) เมืองหลวงของมณฑลเสฉวน
และเดินทางไปตามเทือกเขาหิมาลัยโดยใช้เส้นทาง Jin Duo Shan Kou เพราะเราอยากจะไปถึง
กรุงลาซา (拉薩 : Lāsà; Lhasa) ในทิเบตให้ทันคริสต์มาส ลาซานั้นอยู่ห่างไปอีก 2,400 กม.
ต้องข้ามเทือกเขาหลายลูกและช่องเขาอีก 16 แห่งซึ่งล้วนแต่สูงเกิน 4,000 เมตร ในจำนวนนั้น
5 แห่งสูงกว่า 5,000 เมตร สภาพถนนทำให้การเดินทางยากลำบาก ความเร็วเฉลี่ยของเราลดลง
เรื่อย ๆ จาก 12 เป็น 10 จนเหลือ 7 กม.ต่อชั่วโมง
เราข้ามกระแสน้ำเชี่ยวกรากถึงเมืองเล็กริมเขาชื่อหยาเจียง ซึ่งตั้งอยู่ในระดับความสูง 2,600 เมตร
วันนั้นแดดดี เราถือโอกาสอาบน้ำ ‘โคลด’ถอดเสื้อผ้าเหลือแต่กางเกงในกลางวันแสก ๆ ท่ามกลาง
สายตาอันงงงวยของชาวทิเบตซึ่งห่อหุ้มตัวด้วยเสื้อกันหนาว พวกเขาไม่เข้าใจว่า ทำไมคนที่ผิวขาว
ขนาดนี้ถึงยังต้องขัดสีฉวีวรรณตัวเองอีก

ประมาณ 2 ใน 3 ของเส้นทางระหว่างเฉินตูกับกรุงลาซา เราเผชิญกับอุปสรรคครั้งใหญ่ ฝนหน้าร้อน
ชะภูเขาทลายลงมาตลอดทางยาว 10 กม. กองดิน หิน และต้นไม้ที่โค่นล้มลงมากับกระแสน้ำทับถม
ถนนจนสิ้น ชาวบ้านเตือนเราเกี่ยวกับเรื่องนี้มาหลายอาทิตย์แล้ว

เราเดินอยู่ 5 วันจึงฝ่าไฟนรกกองนี้ ซึ่งประกอบด้วยหินและผาที่ต้องปีนป่าย ทางลาดชันและซากไม้ล้ม
ที่ต้องค่อย ๆ ข้าม รวมทั้งเสียงดังกระหึ่มจากแรงระเบิดที่คนงานวางเพื่อเปิดทาง
เย็นวันที่สอง ‘โคลด’รู้สึกเหนื่อยจนหมดแรง เป็นครั้งแรกในการเดินทางที่เขารู้สึกอยากทุ่มจักรยาน
ทิ้งลงไปในสายน้ำที่เชี่ยวกรากเพื่อจะได้นั่งพักและหลับเสียให้พ้นทุกข์ เรานอนในค่ายพักคนงาน
วันรุ่งขึ้น หัวหน้าคนงานจะช่วยพาเราไปถึงถนนที่อยู่เหนือขึ้นไป โดยคนงาน 12 คนมาช่วยแบกของ
คนละชิ้น เราเดินลัดเลาะโตรกเขาเลียบแม่น้ำเชี่ยว บางจุดเราต้องใช้ต้นไม้ข้ามแม่น้ำ ยกจักรยาน
ทูนหัวเดินข้ามน้ำ ต้องใช้ซุงและเชือกผูกเป็นบันไดไต่ขึ้นสูง 20 เมตร จนถึงถนนที่อยู่เหนือขึ้นไป
เส้นทางหฤโหดสิ้นสุดตรงนี้

ดูเหมือนว่าน้ำหนักที่แบกมาหนักอึ้งมลายไปในพริบตา เราระเบิดเสียงหัวเราะเหมือนเด็ก ๆ
ประหนึ่งว่าโลกทั้งใบเป็นของเรา

ในที่สุด เราก็ทำได้สำเร็จหลังจากฝ่าฟันกันอย่างสุดแสนสาหัสตลอด 44 วัน วันนั้นตรงกับ
วันที่ 23 ธันวาคม 2528 ความภูมิใจและความปรีดาที่ได้มาถึงกรุงลาซาเมืองหลวงของทิเบต
เป็นประสบการณ์ที่สุดจะพรรณนา

โปรดติดตามตอนที่ (12 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ เม.ย. 17, 2023 9:47 pm

🚲ปั่นจักรยานรอบโลก ตอนที่ (12 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/ โดย Françoise และ Hervé
เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

จัตุรัสวัดโจคัง (Jokhlang Temple) เนื่องแน่นไปด้วยผู้คน

2-3 ปีต่อมา มีการเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลจีนกันที่ตรงนี้ ผู้จาริกแสวงบุญจำนวนมากเดินทาง
มาสวดภาวนาที่วัดแห่งนี้ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า 3,000 ปี และถือว่าเป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในทิเบต
อนูญาตให้เฉพาะชาวทิเบตเข้าวัดเพื่อสักการะบูชาได้ในช่วงเช้า และนักท่องเที่ยวเข้าชมได้ในตอนบ่าย
ผู้คนจากทั่วทุกสารทิศในทิเบตมาที่ตลาดข้างวัดนี้ เนื้อจามรีวางขายข้างเนยสด หมอฟันถอนฟัน
ชายชรากลางแจ้ง มีเด็กผู้ชายตัวเล็ก ๆ ยืนดูอย่างสนอกสนใจ เราฉลองคริสต์มาสและปีใหม่
ในเมืองหลวง ของทิเบตด้วยอาหารมื้อพิเศษ ได้แก่เบอร์เกอร์เนื้อจามรีและโคคา โคล่า

วันที่ 6 มกราคม 2529 เราออกเดินทางต่อไปเมืองโกลมุด (Golmud) ห่างจากกรุงลาซาไปทางเหนือ
1,300 กม. ชาวพื้นเมืองที่นั่นบอกเราว่าไม่มีทางไปถึงได้ และอากาศช่วงนั้นก็หนาวเกินไปด้วย แต่เรา
เตรียมตัวมาอย่างดี มีพร้อมทั้งเสื้อกันหนาวผ้านวมตัวหนาแบบของจีน ถุงมือและผ้าพันคอ การเกงชั้นใน
ขายาว หมวกไหมพรม และรองเท้าบุขนสัตว์

เราพบกับภาพสลดใจเมื่อเราไต่ขึ้นไปถึงช่องเขาทังกูลา สูง 5,231 เมตร ตัวจามรีนอนตายตามทาง
เพราะความหนาวเย็น อุณหภูมิที่นี่อยู่ระหว่าง -15 ถึง -30 องศาเซลเซียส นิ้วมือของ’โคลด’ชาจนหมด
ความรู้สึกไป 2-3 วันแล้ว เราหยุดพักแรมที่ค่ายทหารเพื่อให้หมอจากฐานทัพทหารประจำการ
ตามเส้นทางตรวจ “นิ้วของคุณถูกหิมะกัด” หมอบอก

เขาแนะนำให้เรารีบไปโรงพยาบาลที่โกลมุดโดยเร็วที่สุด รถไปรษณีย์ซึ่งผ่านมาแค่สัปดาห์ละครั้ง
ยอมให้เราโดยสารไปด้วย หมอตัดหนังที่ตายแล้วชั้นนอกบนปลายนิ้วโป้งออก ดูแล้วน่าหวาดเสียว
แต่’โคลด’ไม่รู้สึกเจ็บปวดเพราะประสาทปลายนิ้วตายหมดความรู้สึกไปแล้ว โชคดีที่เนื้อใต้นั้นลงไป
ยังไม่ตาย หลังจากพักรักษาได้ 2-3 วัน ‘โคลด’ก็ขึ้นขี่จักรยานได้ตามเดิม นิ้วโป้งสองข้างมีผ้าพันแผล
ใหญ่หุ้มอยู่ ยังดีที่ผ้าพันแผลนี้ไม่เกะกะเท่าไรนัก อีกหนึ่งเดือนหนังก็จะกลับงอกขึ้นมาใหม่ แต่ความ
รู้สึกที่ปลายนิ้วนั้นไม่อาจกลับคืนมาอีก

เหนือขึ้นไปที่จังหวัดชิงไห่ ( 青海 : Qinghai) ระหว่างเมืองโกลมุดกับเขตปกครองตนเองซินเจียง
อุยกูร์ (Xinjiang Uygur) เราผจญภัยฝ่าพายุทรายที่พัดแรงมาก ลมเป็นอุปสรรคอันดับหนึ่งเวลาที่
เราขี่จักรยาน มีทั้งลมภูเขา ลมจากที่ราบสูง และลมจากทุ่งกว้างในมองโกเลีย ทุกภาคของจีนมีลม
ประจำถิ่น บางครั้งลมจากข้างหลังก็ช่วยส่งให้เราวิ่งฉิวโดยไม่ต้องออกแรงมาก

ช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์หิมะปกคลุมเกือบครึ่งบริเวณเปิดทางสู่ภูเขาสูงระดับ 2,000 – 3,000 เมตร
เราถึงกับต้องสู้กับลมด้วยการจูงจักรยานเดินเท้าขณะชมทะเลสาบชิงไห่และภูมิทัศน์สวยงามมาก
และที่น่าอัศจรรย์คือ การได้เห็นอูฐฝูงแรกหมอบนิ่งบนหย่อมหญ้าที่มีหิมะปกคลุม พวกมันชูคอมองเรา
ผ่านไปอย่างไม่สะทกสะท้าน นี่คือช่วงหนึ่งของเส้นทางสายไหมที่เรามีโอกาสได้สังสรรค์กับครอบครัว
ที่มีน้ำใจแทบทั้งนั้น กล่าวได้ว่าโดยทั่วไปชาวจีนมีอัธยาศัยดีมาก

ปกติประเทศจีนมีโรงแรมราคาถูกที่ให้บริการสำหรับชาวจีน ส่วนชาวต่างชาติโดยทั่วไปต้องเข้าพัก
ในโรงแรมที่เตรียมไว้โดยเฉพาะ แต่เนื่องจากเรามีงบจำกัดมากเรา และการเดินทางผจญภัยของเรา
เป็นข่าวประชาสัมพันธ์ในหนังสือพิมพ์จีนระดับประเทศ เราจึงเจรจาต่อรองจนได้เข้าพักในโรงแรม
สำหรับคนจีนที่มีราคาถูกได้ทุกแห่ง

โปรดติดตามตอนที่ ( 13 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ เม.ย. 17, 2023 9:49 pm

🚲ปั่นจักรยานรอบโลก ตอนที่ ( 13 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/
โดย Françoise และ Hervé เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

เนื่องจากสื่อในประเทศจีนติดตามเรื่องของเรา บางครั้งเราจึงได้รับการต้อนรับราวกับดาราภาพยนตร์
เช่นครั้งหนึ่งในเดือนมีนาคม 2529 เมื่อเราไปถึงเมืองต้าถง (大同:Datong) ในจังหวัดชานซี (山西:Shǎnxī)
สำนักงานการท่องเที่ยวท้องถิ่นได้จัดทัวร์ให้เราเป็นแขกเยี่ยมชมเมืองและย่านอุตสาหกรรม รวมทั้งถ้ำต้าถง
ซึ่งเราตอบรับด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อเข้าใกล้ปักกิ่ง ผู้คนหนาแน่นขึ้นตามลำดับเช่นเดียวกับในอินเดีย เราถูกฝูงชนเข้าห้อมล้อมโดยเฉพาะ
เมื่อเราหยุดพักการเดินทางแต่ละครั้งและทำให้การจราจรติดมากจนตำรวจต้องเข้าช่วยคลี่คลาย เราไปเยือน
กำแพงเมืองจีนและใช้เวลา 3 สัปดาห์ในกรุงปักกิ่งโดยเจ้าหน้าสถานทูตฝรั่งเศสที่ปักกิ่งเป็นเจ้าภาพจัดหาที่
พักให้ เรามีโอกาสบรรยายและแสดงภาพสไลด์การเดินทางตามโรงเรียนและที่สถานทูต เราได้รับค่าตอบแทน
ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่ช่วยให้การเดินทางของเราราบรื่นยิ่งขึ้น

เมษายน 2529 เราออกเดินทางจากปักกิ่งโดยเลียบ “คลองใหญ่” (Grand Canal :大运河 : Dà Yùnhé)
ไปจนถึงเซี่ยงไฮ้ ที่เริ่มขุดตั้งแต่ปี 587 ในราชวงศ์สุย ระหว่างทางเราขึ้นชมภูเขาศักดิ์สิทธิ์ “ไท่ซาน”
(泰山 : tàishān) ชื่นชมความเงียบสงบและความเขียวขจีของฤดูใบไม้ผลิหลังจากฤดูหนาวที่รุนแรง
และชื่นชมความงามของเมืองซูโจวและหางโจว

ถึงเซี่ยงไฮ้พฤษภาคม 2529 เที่ยวชมสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ชีวิตเข้มข้น และทำความรู้จักกับหนุ่มสาว
ชาวจีนที่เรียนภาษาฝรั่งเศสซึ่งหลายปีต่อมาก็ได้มีโอกาสพบกันอีกที่ส่วนอื่นของโลก

เราเดินทางเข้าประเทศจีนด้วยวีซ่าที่อนุญาตให้อยู่ได้ 3 เดือนอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่กันยายน 2528
ดังนั้นเราจึงอยู่นานกว่าที่ได้รับอนุญาต อย่างไรก็ตาม เมื่อเจ้าหน้าที่มาสอบสวน เราก็ได้รับการสนับสนุน
จากสื่อและประชาชนที่ติดตามซึ่งมีผลให้ทางการอนุมัติให้เราอยู่ต่อได้

โปรดติดตามตอนที่ ( 14 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ เม.ย. 17, 2023 9:54 pm

🚲ปั่นจักรยานรอบโลก ตอนที่ ( 14 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/
โดย Françoise และ Hervé เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

10. ญี่ปุ่น – ฟิลิปปินส์ – อินโดนีเซีย – มาเลเซีย -- บรูไน – ติมอร์

วันที่ 17 มิถุนายน 2529 เราบินไปโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ไม่มีกองทัพจักรยานติดตามเราเช่นที่
เกิดขึ้นในประเทศจีน ขณะนี้ รอบตัวเราดูเหมือนฉากภาพยนต์ฮอลลีวูด ป้ายโฆษณาหลากสี ตึกทันสมัย
และทางหลวงเชื่อมซ้อนกันยาวสุดสายตา บ้านเมืองเป็นระเบียบเรียบร้อย เราขี่ไปตามถนนจนถึงโตเกียว
เป็นระยะทางหลายสิบกิโลเมตรโดยไม่เห็นชนบทเลย

หลายคนให้การต้อนรับด้วยมิตรไมตรีและเชิญเราเข้าไปบ้าน โตเกียวเป็นเมืองที่มีชีวิตชีวา พวกเขา
สอบถามมากมายเกี่ยวกับการเดินทางและช่วยเราได้งานทำในร้านค้าใกล้เคียงเป็นเวลา 3 สัปดาห์

สิงหาคม 2529 เราขึ้นเหนือไปที่ฮอกไกโดชื่นชมพื้นที่โล่งกว้างของทุ่งนา ก่อนจะกลับมาที่เกาะฮอนชู
และได้แช่น้ำอุ่นในห้องอาบน้ำสาธารณะที่น้ำพุร้อนทามากาวะ (Tamagawa Hot Spring) ในจังหวัดอาคิตะ
เป็นพุร้อนที่มีความเป็นกรดสูงสุดในญี่ปุ่น (pH 1.2) ชาวญี่ปุ่นจากทั่วประเทศมาที่พุร้อนที่นี่เพื่อพักฟื้นและ
บำบัดรักษา เราประทับใจกับความเอื้ออาทรของคนญี่ปุ่นที่มักจะมอบอาหารให้และบางครั้งก็ให้เงิน
สำหรับการเดินทางที่ยังอยู่ที่ยาวไกลของเรา

จากญี่ปุ่น เราเดินทางต่อไปยังฟิลิปปินส์ เข้ามาเลเซีย ใช้เส้นทางผ่านจังหวัดซาบาห์และเกาะบอร์เนียว
ไปยังบรูไน หมอที่รักษาจมูกของ’โคลด’ที่มีปัญหาที่กรุงมะนิลาแนะนำให้เรามาร่วมพิธีตรึงกางเขนที่น่าสนใจ
เราไปถึงเมืองซานเฟอร์นันโด (San Fernando) ในฤดูใบไม้ผลิปี 2530 ต้นสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ ชาวฟิลิปปินส์
ผู้เคร่งศาสนาเชิญเราเข้าร่วมพิธีตรึงกางเขน “San Pedro Cutud Lenten Rites” ”ซึ่งจัดขึ้นทุกปีและมีการ
ตรึงกางเขนจริงของผู้สำนึกผิดอาสาสมัครอย่างน้อย 3 คน
จากฟิลิปปินส์ เราข้ามไปยังจังหวัดซาบาห์ (Sabah) บนเกาะบอร์เนียว และเดินทางต่อสู่บรูไน เราพบว่ามี
การตัดไม้ทำลายป่าที่ดำเนินการโดยอุตสาหกรรมป่าไม้ของประเทศที่ร่ำรวย เราขอขอบคุณสถานกงสุล
ชาวอินโดนีเซียที่อนุญาตเราปั่นจักรยานผ่านเขตที่มักมีการลักลอบทำสิ่งที่ผิดต่อกฏหมายบ้านเมือง

ปลายเดือนกรกฎาคม 2530 เราโดยสารเรือไปกรุงจาการ์ตา บนเกาะชวาที่มีวัฒนธรรมผสมผสาน:
ส่วนใหญ่เป็นมุสลิมทั้งที่พื้นเพเดิมเป็นพุทธ การจราจรในเมืองคับคั่งและสับสนวุ่นวายอยู่ไม่น้อย เราหลงใหล
ในอารมณ์ขันของชาวอินโดนีเซีย รอยยิ้ม และการต้อนรับที่อบอุ่น และสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าตื่นตาตื่นใจ
รวมทั้งภูเขาไฟโบรโม (Bromo Mount) ที่ยังไม่ดับสนิทและมีความงามอย่างน่าพิศวงโดยเฉพาะยาม
พระอาทิตย์ขึ้น และวัดพรัมบานัน (Candi Prambanan) ซึ่งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดของ
อินโดนีเซียที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของนครย็อกยาการ์ตา (Yogyakarta)

ตุลาคม พ.ศ. 2530 เราไปสำรวจต่อที่เกาะสุลาเวสี (Sulawesi) และได้รับเชิญร่วมงานศพของคนพื้นเมือง
อย่างเป็นธรรมชาติที่น่าทึ่ง จากนั้นก็ลงใต้ต่อไปที่เกาะติมอร์ก่อนจะบินไปเมืองดาร์วิน (Darwin) ของ
ออสเตรเลียที่อยู่ลงไปทางใต้อีกราว 600 กม. ตอนต้นเดือนพฤศจิกายน 2530 ทีแรกเราไม่แน่ใจว่า
จักรยานของเราจะเข้าประตูเก็บสัมภาระของเครื่องบินลำเล็กไม่ได้ แต่ที่สุดการเดินทางก็ผ่านไปได้เรียบร้อย

โปรดติดตามตอนที่ ( 15 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร เม.ย. 18, 2023 11:29 am

🚲ปั่นจักรยานรอบโลก🌍 ตอนที่ ( 15 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/
โดย Françoise และ Hervé เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

11. ออสเตรเลีย – นิวซีแลนด์ -- ‘มานอง’ เกิดและรับศีลล้างบาป -- เฟรนช์โปลินีเซีย

เมื่อถึงออสเตรเลียแล้ว จู่ ๆ ฟรังซัวส์เกิดตัดสินใจอยากมีลูก ทั้ง ๆ ที่เมื่อหลายปีก่อนเธอไม่เคย
สนใจเรื่องนี้เลย คงเป็นเพราะเธอได้เห็นเด็ก ๆ เล่นและหัวเราะกันอย่างสนุกสนานตามเส้นทางที่
เรสผ่านในเอเชียหรือ เป็นเรื่องของความรู้สึกที่เกิดกับผู้หญิงวัย 30 ก็เป็นได้

เราออกมาท่องโลกได้ 8 ปีแล้ว จากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่งและมีโอกาสได้ใช้ชีวิตกับหลาย
ครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ๆ จะมีความสุขเพียงใดหากเราได้แบ่งปันชีวิตร่อนเร่เช่นนี้กับลูกของเรา
เราเกิดความคิดพิลึกขึ้นมาว่าน่าจะลองดู โดยรู้ดีว่าถ้าเกิดมีปัญหาใหญ่ก่อนได้เดินทางรอบโลก
เราก็จะยอมกลับฝรั่งเศสแต่โดยดี กระนั้นก็ดีหลังจากได้ใช้ชีวิตร่อนเร่มา 8 ปีแล้ว เรามั่นใจว่า เรา
แข็งแกร่งพอที่จะเดินทางต่อพร้อมกับแบกความรับผิดชอบในฐานะผู้ปกครองลูกได้ด้วย

ดังนั้น หลังจากเดินทางข้ามทะเลทราย 3,000 กม.ไปจนถึงฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย สภาวการณ์
ดูจะเอื้ออำนวยให้เรามีลูกได้ ที่จริงการข้ามทะเลทรายออสเตรเลียไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับเรา ยกเว้น
เรารู้สึกเหงามากหลังจากที่ก่อนหน้านั้นการเดินทางของเรามีผู้คนเข้าห้อมล้อมอยู่เสมอ แต่กลาง
ทะเลทรายออสเตรเลียไม่มีผู้ขับขี่รถแม้แต่คันเดียวหยุดพูดคุยกับเรา ยิ่งกว่านั้น คนขับบางคนยัง
ทำท่าทางหยาบคายใส่เราขณะขับผ่านเราไปอีกด้วย

ขณะเดินอยู่ในภาคเหนือของออสเตรเลีย ไม่มีผู้ใดอนุญาตให้เราล่วงล้ำเข้าเขตบ้านของพวกเขาเลย
จนเมื่อเดินทางไปจนถึงซิดนีย์ จึงได้รับการต้อนรับจากชาวเมืองในบรรยากาศที่ร่าเริงยินดี

การตั้งท้องของฟรังซัวส์ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง ทุกเมืองที่เราผ่าน เธอมักจะหนีบแฟ้มประวัติ
สุขภาพของเธอไปหาหมอแต่ละคน หมอต่างบอกว่า สุขภาพเธอดีเยี่ยม เราเพียงต้องปรับการเดินทาง
ให้สอดคล้องกับภาวะของเธอ
วันที่ 20 มิถุนายน 2531 ฟรังซัวส๋ตั้งท้องได้ 7 เดือน เรามาถึง ’เมืองพัลเมอร์สตัน นอร์ท (Palmerston North)
ในเกาะเหนือของประเทศนิวซีแลนด์ เจมส์และรูบีรอรับเราอยู่ เราเคยพบครอบครัวนี้ที่เกาะบอร์เนียว
และได้มาพักกับครอบครัวที่เมืองนี้ครั้งแรกตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ทั้งสองบอกเราว่าอยาก
ให้ลูกเราเกิดที่บ้านเขา
เจมส์และรูบีเป็นคนเชื้อสายจีน ทั้งคู่เรียนจบมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ รูบีเรียนผดุงครรภ์ในอังกฤษ
ส่วนเจมส์เรียนทำอาหารฝรั่งเศสในเบลเยี่ยม สองสามีภรรยามาตั้งหลักปักฐานที่เกาะเหนือของนิวซีแลนด์
และเป็นเจ้าของร้านอาหารฝรั่งเศสเพียงร้านเดียวในเมือง รูบีแนะนำให้เรารู้จักกับสูติแพทย์ ซึ่งเป็นคนจีน
เหมือนเธอ พยาบาลที่โรงพยาบาลทุกคนล้วนโอบอ้อมอารี ลูกสาวของเราชื่อ ‘มานอง’ (Manon)
เกิดวันที่ 28 กันยายน 2531 โดยมีรูบีและ’โคลด’อยู่เฝ้าตลอด การที่พวกเขาคอยช่วยเหลือเป็นประโยชน์มาก
เพราะหลังจากที่ขี่หลังจักรยานมา 8 ปี กล้ามเนื้อของฟรังซัวส์แข็งราวกับหิน

หลังจากนั้นลูกก็ได้รับหนังสือเดินทางนิวซีแลนด์ ระหว่างที่ฟรังซัวส์ใช้เวลาพักหลังคลอด 6 สัปดาห์ ‘
โคลด’รับหน้าที่เตรียมการเดินทางต่อไป เขาติดตั้งที่นั่งเล็ก ๆ ไว้ท้ายจักรยานให้มานองนั่งสบาย ตลอด
การเดินทาง นอกจากนี้ ยังติดโครงลวดอะลูมิเนียมไว้แขวนผ้าหรือพลาสติกกันแดดกันฝน เมื่อการปรับแต่ง
จักรยานเสร็จสมบูรณ์ เราจูบลาเจมส์กับรูบีและออกท่องนิวซีแลนด์ต่อ

ความเร็วของเราไม่ได้เปลี่ยนไปมากนัก ยกเว้นแต่ว่าฟรังซัวส์ต้องเรียกให้หยุดทุก ๆ 4-5 ชั่วโมงเพื่อ
หาที่พักหลบลม ฝน แดด และให้นมลูก ตอนเย็นถ้าไม่เช็ดตัวก็อาบน้ำให้ลูก ปกติเราจะใช้อ่างล้างมือ
ตามที่ซึ่งเราหยุดพักแรมเป็นอ่างอาบน้ำให้ลูก ‘โคลด’กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการเปลี่ยนผ้าอ้อม
เด็กไปโดยปริยาย\และเมื่อปั่นขึ้นเหนือไปถึงเมืองโอ๊คแลนด์ (Auckland) เราก็ให้ ‘มานอง’ รับศีลล้างบาป
หลังจากนั้นเราปั่นจักรยานลงใต้และรอนแรมไปทั่วเกาะใต้ของนิวซีแลนด์ บ่อยครั้งเราพักค้างคืนในบ้าน
ของคนพื้นเมือง เราพยายามไม่ปล่อยให้ลูกร้องไห้รบกวน โดยให้ลูกนอนอยู่ข้างฟรังซัวส์เพื่อให้นมและทำ
ความสะอาดได้สะดวก

เราเดินทางต่อไปเฟรนช์โปลินีเซีย (French Polynesia) เราทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่หลายคนในดินแดนนี้
ทุกคนประหลาดใจเมื่อทราบว่าเราเดินทางโดยพร้อมกับลูกตัวน้อย

พฤศจิกายน 2531 เมื่อเรามาถึงสำนักงานของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “La Dépêche de Tahiti” เราสะดุดตา
กับป้ายที่ติดอยู่ในสำนักงาน : “ชมรมจักรยานหมู่เกาะตาฮิติ” ประธานชมรมเดิน
ตรงมาทักทายเราทันที

“พวกคุณออกมาท่องเที่ยวนานเท่าไหร่แล้วครับ”

“หลายปี”

“ผมฝันที่จะทำอย่างนี้บ้าง พวกคุณโชคดีมากที่ไม่มีลูกและเป็นอิสระที่จะทำตามใจอยาก”

วินาทีนั้นเองที่ ’มานอง’ส่งเสียงร้องอุแว้ขึ้นมา เขาถึงกับชะงักและพลิกผ้าคลุมท้ายรถขึ้นมาดู
“เป็นไปได้ยังไงกัน” เขาอุทาน
ประธานชมรมฯ และภรรยาเชิญเราไปตั้งเต็นท์นอนที่สนามบ้านเขา ‘มานอง’เริ่มติดใจเล่นน้ำ
เมื่อเราพาเธอไปอาบน้ำในทะเลสาบปะการังที่ได้รับแสงแดดทำให้น้ำอุ่นตลอดเวลา คุณตาและ
คุณยายของ’มานอง’บินจากฝรั่งเศสมาเยี่ยมหลานและพักอยู่ 1 เดือน ความอบอุ่นที่ท่านทั้งสอง
ได้รับจากเพื่อนชาวตาฮิติของเรา ทำให้ท่านไม่อาจลืมการพักผ่อนครั้งนี้อีกนานแสนนาน

โปรดติดตามตอนที่ ( 16 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร เม.ย. 25, 2023 8:16 pm

🚲ปั่นจักรยานรอบโลก🌍 ตอนที่ ( 16 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/
โดย Françoise และ Hervé เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

12. สหรัฐฯ – คานาดา – กลับฝรั่งเศสครั้งที่ 2

วันที่ 19 มีนาคม 2532 เราบินไปถึงสนามบินนครลอสแองเจลิส เก้าอี้ทารกของ ’มานอง’นับวัน
ดูเล็กลงทุกที เมื่อเรามาถึงบ้านเพื่อนชื่อเรย์และบ็อบบีในซานดิเอโก (San Diego) จึงนับว่าโชคดี
ที่ทั้งสองจัดแจงทำรถพ่วงสำหรับเด็กจอดรอเราอยู่ นี่เป็นของขวัญจากบริษัทผู้ผลิตจักรยาน
ในอเมริกาชื่อ ’Cannondale’ เรารู้จักเรย์และบ็อบบีที่ปักกิ่งเมื่อสองปีก่อน ทั้งสองแวะมาดูเราฉาย
ภาพสไลด์ที่สถานทูตอเมริกัน เรย์และบ็อบบีเป็นคู่สามีภรรยาที่มหัศจรรย์จริง ๆ เพราะหาทางออก
ให้กับปัญหาของเราได้ทุกเรื่อง หาเข็มขัดนิรภัยให้หนูน้อยพเนจรของเราเดินทางด้วยความปลอดภัย
ถัดมาก็หาถุงใส่ของเล่นและตุ๊กตา 2-3 ชิ้น รวมทั้งของใช้ในห้องน้ำของเธอด้วย ใต้ถุงมีกระป๋องน้ำ
5 ลิตรบรรจุอยู่ ทำให้เราไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำเวลาไปในที่กันดาร เราพร้อมออกผจญภัยกันแล้ว

ในแคลิฟอร์เนียและอริโซนา (Arizona) เราข้ามทะเลทรายร้อนระอุ อุณหภูมิระหว่าง 35-40 องศาเซลเซียส
เป็นระยะทาง 500 กม. ‘มานอง’ ปรับตัวเข้ากับอากาศได้ดีทีเดียว เราคอยพรมน้ำบนหลังคาให้ลูก
ทำให้อากาศภายในรถพ่วงเย็นอยู่เสมอ ทัศนียภาพของต้นกระบองเพชรสวยมาก แต่ต้องคอยจับตา’
มานอง’ซึ่งแสดงท่าสนใจพืชหนามแหลมนี้เป็นพิเศษ

ราวพฤษภาคม 2532 เราไต่ช่องเขาสำคัญสองแห่งของเทือกเขาร็อกกี้ที่ความสูง 3,200 และ 3,650 เมตร
ตามลำดับ มาถึงแถบมิดเวสต์ ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นที่ราบกว้างใหญ่ไพศาล
ในไม่ช้า ’มานอง’เริ่มปรับระบบร่างกายให้เข้ากับการเดินทางได้ เช่นเวลาเราปั่นรถ เธอจะหลับ เวลาตื่น
เธอก็เพลิดเพลินกับของเล่นที่แขวนอยู่ข้างบนคนเดียวได้ บางครั้งเราต้องหยุดบ้างเป็นระยะ ๆ แต่โดย
ทั่วไปรูปแบบการเดินทางของเราแทบไม่เปลี่ยน ’มานอง’เกิดมาเพื่อการเดินทางโดยแท้
ขณะที่เรากำลังออกจากย่านแวร์แชร์ (Verchères) นอกเมืองมอนทรีล (Montreal) คานาดา รถคันหนึ่ง
แล่นมาจอดเทียบ ชาย 2 คนในรถเคยได้ยินเราพูดออกรายการวิทยุพูดขึ้นว่า

“เชิญแวะมาดื่มที่บ้านเราสิครับ”

ชายคนหนึ่งทราบชื่อภายหลังว่า ‘ช้ากส์’ (Jacques) เอ่ยปากชวน

ขณะที่เขายกแก้วเสิร์ฟน้ำให้เรา หลุยส์ที่นั่งรถมาด้วยกันก็ปรุงสเต็กชิ้นใหญ่ให้ เราคุยกันเรื่อง
บ้านเมืองและการเมือง เช้าวันรุ่งขึ้น เรากินแพนเค้กกับน้ำเชื่อมเมเปิลเป็นอาหารเช้า รถตำรวจ
จอดรอเราอยู่หน้าบ้าน

“จราจรเช้าวันจันทร์ในมอนทรีลติดขัดมาก ตำรวจจะช่วยนำพวกคุณ”

และแล้ว เราก็มีขบวนรถตำรวจขนาบหน้าและหลังเข้าเมืองมอนทรีลสร้างความประหลาดใจ
ให้กับทุกคน
เรามุ่งหน้าลงใต้ ชายแดนสหรัฐฯ ปรากฏอยู่ตรงขอบฟ้า นิวยอร์กเต็มไปด้วยตึกระฟ้า ทิวทัศน์
ความหนาแน่นของประชากรและผู้คนหลากชาติหลายภาษา สมกับที่เลื่องลือ

“คุณจะขี่จักรยานเข้านิวยอร์กไม่ได้หรอก” คนอเมริกันเตือนเรา “ถนนที่เข้าถึงเมืองมีแต่ทางด่วน”

แต่เราทราบว่ามีถนนธรรมดา ๆ เส้นหนึ่งที่เข้าเมืองได้ คือถนนหมายเลขหนึ่ง แต่ปกติมีฝรั่งผิวขาว
ไม่กี่คนกล้าใช้ถนนเส้นนี้ เพราะผ่านย่านบรองซ์ (The Bronx) และฮาร์เล็ม (Harlem) ซึ่งเป็นถิ่นของคนดำ

วันที่ 18 ตุลาคม 2532 ฝนเริ่มตกเมื่อเรามาถึงย่านฮาร์เล็มตอนเที่ยงวัน เราหลบฝนกันใต้ทางด่วน
หลังจากพักจนมีเรี่ยวแรง เราก็เกิดอาการเย็นสันหลังวาบเมื่อเห็นวัยรุ่นร่างยักษ์ 6 คนเดินตรงรี่มาที่เรา
แต่ละคนสูงเกือบ 2 เมตร ตัวใหญ่เหมือนนักกีฬาบาสเกตบอล แต่ไม่มีรอยยิ้ม คนหนึ่งเอ่ยขึ้นด้วย
สำนวนยียวน

“แกมาทำอะไรแถวนี้”

‘โคลด’พยายามทำใจดีสู้เสือ ทั้งที่รู้สึกป่วนไปทั่วท้อง เขาอธิบายเรื่องของราวอยู่นานตั้งแต่
การเดินทาง การฝ่าสายฝน ลูก’มานอง’ ประเทศฝรั่งเศส และจุดหมายของเรา

คำตอบของเราเป็นเรื่องที่เขาไม่คาดคิด พวกเขาจึงเปลี่ยนท่าทีในทันใดและยิ้มให้พร้อมทั้งเสนอ
ให้ความช่วยเหลือเป็นเงินและอาหารให้เเก่เรา โลกกลับตาลปัตรไปแล้ว!

มาถึงเมืองบัลติมอร์ (Baltimore) จักรยานของ’โคลด’ไปต่อไม่ได้ ตะเกียบหน้าร้าวเป็นครั้งที่สอง
โชคดีที่ตอนเกิดเหตุมีจักรยานส่งเอกสารขี่ผ่านมา ต้องขอบคุณบริษัทรับส่งของที่เขาทำงาน
เราได้รับความช่วยเหลือและเอื้อเฟื้อขณะคอยเปลี่ยนตะเกียบหน้า เราติดต่อไปที่เจ้าของผู้ผลิต
จักรยานของเราที่เมืองลีอองซึ่งยินดีจะส่งอะไหล่ให้เราฟรีนับแต่นั้นมา เขากลายเป็นเพื่อนที่เรา
พึ่งพาได้

เราได้ข่าวคราวจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นจีน อินโดนีเซีย นอร์เวย์ ตุรกี ฝรั่งเศส จดหมายฉบับหนึ่ง
เขียนมาบอกว่า ย่าของฟรังซัวส์เสียชีวิต เราจึงตัดสินใจกลับฝรั่งเศส

’มานอง’จึงได้เหยียบแผ่นดินฝรั่งเศสเป็นครั้งแรกในชีวิต ทุกคนในครอบครัวต่างยินดีที่จะได้พบ
หนูน้อยในที่สุด เราอยู่ฝรั่งเศสกัน 5 อาทิตย์ เป็นการพักเติมพลังอย่างดี ได้พบหน้าคนที่เรารักอีกครั้ง
และฉลองคริสต์มาสด้วยกัน

โปรดติดตามตอนที่ ( 17 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร เม.ย. 25, 2023 8:19 pm

🚲ปั่นจักรยานรอบโลก🌍 ตอนที่ ( 17 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m onde-a-v elo-herve/
โดย Françoise และ Hervé เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

13. สหรัฐฯ – คิวบา – เม็กซิโก – อเมริกากลาง

ปลายเดือนมกราคม 2533 หลังจากพักเติมพลังกันเต็มที่เราเริ่มเดินทางช่วงสุดท้ายในอเมริกา
มุ่งหน้าลงใต้ไปไมอามี ผ่านแคโรไลนาและจอร์เจีย
คนอเมริกันหลายคนเห็นว่า การเดินทางโดยมีเด็กไปด้วยเป็นการแสดงถึงความไม่รับผิดชอบของพ่อแม่
พวกเขาจึงทึ่งมากเมื่อเห็นว่า ’มานอง’เป็นเด็กกระตือรือร้นและมีชีวิตชีวาขนาดไหน

วันที่ 9 มีนาคม 2533 นั่งเครื่อง 40 นาทีจากไมอามีถึงกรุงฮาวานา (Havana) ประเทศคิวบา เราฉลอง
ครบรอบ 10 ปีของการเดินทางโดยไปดูการแสดงที่มีชื่อที่สุดของเกาะ เมื่อขี่จักรยานไปถึง เราก็กลาย
เป็นข่าวดังไปทั่วประเทศ ความลำบากทางเศรษฐกิจ การกดขี่ทางการเมือง และความลำเค็ญในชีวิต
ประจำวัน ทำให้ชาวคิวบาต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เราแทบไม่เคยพบคนชาติไหนที่ใจดีหรือน่ารักเท่านี้
ขณะเดียวกันเราก็เริ่มเรียนภาษาสเปนอย่างจริงจังเพราะจุดหมายปลายทางต่อไปคือทวีปอเมริกาใต้
ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่ใช้ภาษานี้

ปลายเดือนมีนาคมเราบินไปเม็กซิโก ถนนจากกรุงเม็กซิโกซิตี้ไปรัฐโออาซากา (Oaxaca) ที่อยู่ทางใต้
ของประเทศ อากาศร้อนและมีฝุ่นมากขณะปั่นผ่านทะเลทราย เราข้ามเนินเขานับไม่ถ้วนด้วยความยาก
ลำบากไปยังเมืองซาน คริสโตบัล เดอ ลากาซาส (San Crhistobal de las Casas) เมืองอาณานิคมเก่า
แสนสวยเหนือระดับน้ำทะเล 2,000 เมตร ประชากรเป็นอินเดียนแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีสดเจิดจ้า


มิถุนายน 2533 เราเดินทางต่อไปที่เมือง“Tikal” ซึ่งเป็นเมืองโบราณใหญ่ที่สุดของอารยธรรม
มายา (Maya) ประเทศกัวเตมาลา เราเรียนหลักสูตรเร่งรัดภาษาสเปน 2 สัปดาห์ก่อนจัดบรรยาย
เป็นภาษาสเปนพร้อมกับฉายสไลด์ในกรุงกัวเตมาลาซิตี้เมืองหลวงของประเทศ

ปลายเดือนกันยายน 2533 ขณะปั่นจักรยานอยู่บนถนนบนภูเขา มีเด็ก 2-3 คนขว้างปาก้อนหินใส่เรา
‘โคลด’จอดจักรยานและตอบโต้การกระทำของเด็ก แต่ถูกผู้ปกครองเด็กที่เมาสุราเข้าทำร้าย โชคดีที่
มีรถยนต์แล่นผ่านมาพอดีและช่วยระงับเหตุลงได้เรียบร้อย

เราเดินทางต่อไปผ่านประเทศเอลซัลวาดอร์ (El Salvador) ประเทศเล็กที่สุดแต่มีประชากรหนาแน่น
ที่สุดใน 7 ประเทศในทวีปอเมริกากลาง บรรยากาศการเดินทางค่อนข้างตึงเครียดเนื่องจากสงคราม
กลางเมืองยังไม่สงบ ทหารตรวจค้นสัมภาระของเราก่อนจะปล่อยเราเดินทางต่อไปประเทศคอสตาริกา
(Costa Rica) และปานามา
เพื่อความปลอดภัยในการขี่จักรยานระหว่างเดินทางของเรา ฟรังซัวส์จะขี่นำหน้าโดยพ่วงที่นั่งติดล้อ
ของ ’มานอง’ด้วย

ส่วน ‘โคลด‘ ขี่ตามหลังพร้อมกับติดไม้ยาวผูกผ้าสีเดียวกับเป้หลังเพื่อให้รถที่อยู่ข้างหลังมองเห็น
จักรยานทั้งสองคันของเราได้ง่ายขึ้น กระนั้นก็ดีระหว่างทางไปกรุงปานามาซิตี้ จักรยานของ‘โคลด’
ก็ไม่วายถูกรถแท็กซี่ชน และเกือบชนรถพ่วงของ ’มานอง’ด้วย โชคดีที่’โคลด’ได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย

เนื่องจากเรามีรถพ่วงท้าย ปกติเราพยายามใช้เส้นทางลาดยางหรือถนนคอนกรีต แต่ก็บางครั้งก็ไม่มี
ทางเลือก อย่างไรก็ตามลูกน้อยของเราดูเหมือนจะชินกับการเดินทางทุกรูปแบบ ลูกจะเลิกระบายสีเมื่อ
รถพ่วงกระเทือนมากเกินไปและหันมาขลุกอยู่กับของเล่นแทน

โปรดติดตามตอนที่ ( 18 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร เม.ย. 25, 2023 8:23 pm

🚲ปั่นจักรยานรอบโลก 🌍ตอนที่ ( 18 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/
โดย Françoise และ Hervé เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

14. ข้ามป่าดงดิบดาเรียน (Darien) จากปานามาสู่โคลัมเบีย

วันที่ 7 มกราคม 2534 เรามาถึงเมืองปานามาซิตี้ นักการทูตฝรั่งเศสคนหนึ่งเคยให้เราพักอยู่ด้วย
ในฮ่องกงแนะนำให้เรามาหาอดีตเลขาฯ ของเขาซึ่งตอนนี้ทำงานที่สถานทูตฝรั่งเศสในปานามา
เธอต้อนรับเราอย่างอบอุ่น เรารู้สึกถูกชะตากันทันที เธอจึงชวนให้เราไปพักด้วย สามีของเธอเป็น
เจ้าหน้าที่แปลรหัสที่สถานทูตและก็มีจดหมายเป็นตั้งมาคอยเราอยู่แล้วเช่นเคย

หนังสือพิมพ์รายวันชั้นนำทั้ง 4 ฉบับในประเทศลงเรื่องราวและภาพถ่ายของเรา ชื่อเสียงทำให้เรา
ได้เข้าไปใช้ข้อมูลจากสถาบัน “เนชันแนล จีโอกราฟิก” (National Geographic) เราได้แผนที่โดย
ละเอียดของ “ดาเรียน” พื้นที่ป่าดงดิบที่กั้นระหว่างปานามากับโคลัมเบีย และอเมริกากลางกับอเมริกาใต้

เส้นทาง 50 กม.ในป่าเปลี่ยนแปลงทุกปีเนื่องจากฝนที่ตกหนัก นักเดินทางจำนวนมากหายสาบสูญ
ไปในบริเวณนี้ เราเตรียมการเดินทางในป่าอย่างละเอียดรอบคอบ มีทั้งอาหาร ยากันแมลงชนิดรุนแรง
น้ำมันจีนชนิดทากันเห็บหมัด มีดพร้า เชือก ยางในรถยนต์บรรทุกสัมภาระข้ามลำห้วย วิตามิน และยาต่าง ๆ
รวมทั้งไม่ลืมของเล่นของ’มานอง’ติดไปด้วย

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2534 เวลา 7.00 น.เราเริ่มชิมลางการผจญภัยที่ “ยาวิซา” (Yaviza) เมืองเล็ก ๆ
ประเทศปานามาซึ่งเป็นประตูสู่ป่าดงดิบ “ดาเรียน” (Darien) เพื่อจะไป “เทอร์โบ” (Turbo) เมืองหน้าด่าน
ประเทศโคลัมเบียซึ่งอยู่ห่างไปอีกกว่า 100 กม. เรานั่งเรือข้ามแม่น้ำอีกฝั่งหนึ่ง จากนั้น เราต้องแบก
ทุกอย่างขึ้นหลัง ทั้ง’มานอง’ อุปกรณ์ถ่ายรูป เป้สะพายหลัง กระดาษเอกสาร และเงิน ปกติชาวพื้นเมือง
ที่หมู่บ้านนี้เดินไปถึงหมู่บ้านถัดไประยะทาง 7 กม.ใช้เวลาหนึ่งชั่วโมง แต่การเดินทางพร้อมสัมภาระของเรา
ใช้เวลาสองเท่า
เช้าวันจันทร์ที่ 27 มกราคมเวลา 5.30 น. เราเริ่มต้นการผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ การเดินทางคราวนี้เราต้อง
ใช้เวลาถึง 7 ชั่วโมงเพื่อผ่านเส้นทาง 7 กม. เริ่มจากเราต้องถอดกระเป๋าข้างจักรยานมาแบกเอง ตลอดเส้น
ทางที่เป็นโคลนและมีต้นไม้ล้มขวางอยู่ไม่น้อย เราต้องแบกสัมภาระปีนข้ามต้นไม้แต่ละต้น นอกจากนั้น
ยังมีห้วยน้ำลึกให้ลุยข้ามนับไม่ถ้วนก่อนที่จะถึงแม่น้ำตุยรา (Tuira) เราอาศัยเรือแคนูของหญิงคนหนึ่ง
ช่วยพาข้ามฟากไปถึงหมู่บ้านที่เราจะพักค้างคืน

โปรดติดตามตอนที่ ( 19 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร เม.ย. 25, 2023 8:27 pm

🚲ปั่นจักรยานรอบโลก🌍 ตอนที่ ( 19 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพัผนธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/
โดย Françoise และ Hervé เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

หลังจากที่ผ่านประสบการณ์สุดโหดบนทางเส้นทางเท้ามาแล้ว เราตระหนักว่า เราต้องใช้เรือแคนู
เพื่อเดินทางต่อ บังเอิญมีครอบครัวหนึ่งกำลังจะเดินทางต่อไปที่ “โบกา เดอ กูเป” (Boca de Cupe)
หมู่บ้านใหญ่เหนือน้ำขึ้นไป พวกเขาคิดค่าจ้าง 160 เหรียญ เราไม่ตกลงเพราะเกินงบของเรา

สักครู่ โรเบอร์โต ชายโคลัมเบียผิวดำบอกว่า เขาหาเรือแคนูให้เช่าได้ในราคา 15 เหรียญและจะพาเ
ราไปด้วย คิดค่าแรงวันละ 6 เหรียญซึ่งเราตอบตกลง

เช้าวันรุ่งขึ้นตั้งแต่ 4.00 น. ท่ามกลางแสงจันทร์กระจ่าง เราบรรทุกของทุกอย่างลงเรือขุดล่องผ่านแนว
ต้นมะพร้าว พืชพรรณป่าร้อนชื้นนานาพันธุ์ ดงไม้หนามแหลมหนาทึบ เราล่องไปตามลำน้ำจน
พระอาทิตย์ขึ้นและอากาศก็ร้อนขึ้นเป็นลำดับ
เวลา 10.00 น. เราแวะที่หมู่บ้านวิสตา อาเลเกร (Vista Alegre) ครอบครัวหนึ่งตกลงทำอาหารให้เรา
เป็นข้าวกับเนื้ออีกัวน่า (Iguana) ซึ่งชุกชุมในแถบนี้ เราซื้อกล้วย มะพร้าว และสับปะรดติดไปด้วยก่อ
นจะเดินทางต่อ ตอนบ่ายเราถึงหมู่บ้านอินเดียนแห่งแรก หัวหน้าหมู่บ้านอนุญาตให้เราพักในกระท่อม
ส่วนรวมทรงกลมขนาดใหญ่ ขณะยืนพิงระเบียงไม้ของที่พักดังกล่าว คนทั้งหมู่บ้านมามองดูพวกเรา
ด้วยความประหลาดใจที่เห็นเด็กฝรั่งผมทองเป็นครั้งแรกในชีวิต สองโลกที่ต่างกันกำลังเผชิญหน้ากัน
พวกเราใส่แว่นกันแดด สวมหมวกและกางเกงขาสั้น ส่วนพวกเขานั้น ผู้ชายนุ่งผ้าเตี่ยวผืนเดียว ผู้หญิง
มีผ้าพันรอบเอว เปลือยอก

เราตื่นตั้งแต่ 3.30 น. และจัดแจงเอาสัมภาระและจักรยานลงเรือ พอถึงเที่ยงวันก็มาถึงหมู่บ้านโบกา เด กูเป
อันเป็นจุดหมายของการเดินทางกับโรเบอร์โต เราคงอดคิดถึงเขาไม่ได้ ท่าทางที่เรียบ ๆ มั่นใจและอยู่
เคียงข้างเสมอเมื่อเราต้องการ เขาช่วยเหลือเราได้มากจริง ๆ

โฮเซ (Jose) คนอินเดียนแดงเผ่าโซโคสเสนอจะพาเราไป “ปายา” (Paya) หมู่บ้านสุดท้ายบนแม่น้ำสายนี้
ในราคา 80 เหรียญ เราเดินทางราว 2 ชั่วโมงถึงหมู่บ้านถัดไปของคนเผ่าโซโคส และรู้สึกอุ่นใจในทันที
เนื่องจากพวกเขาให้เรายืมกระท่อมใต้ถุนสูง หลังคามุงใบปาล์ม และพื้นบ้านสานด้วยแขนงไผ่
เราเอร็ดอร่อยกับปลา มันสำปะหลัง กล้วยทอดปรุงรสด้วยอบเชย

เราเดินทางต่อจนถึงถิ่นของชนเผ่าคิวนา (Kuna) ที่มีแต่ฝุ่นแดง ผู้หญิงแต่งกาย “โมลา” (Mola)
ตามประเพณีของชาวเผ่านี้ ลักษณะเป็นแผงหน้าอกปักลวดลายสวยงามเหมือนคนอียิปต์โบราณ
นอกจากนี้ ยังประดับร่างกายด้วยตุ้มหู ตุ้มจมูก สายสร้อย กำไลเงิน ทองแดง และหินสีต่าง ๆ

ฟรังซัวส์เอาเสื้อผ้าของ’มานอง’มาแลกกับกระโปรงเด็กอินเดียนแดง หัวหน้าหมู่บ้านเสนอให้คนนำทาง
พาเราเดินป่าไปจนถึงเมืองเทอร์โบโดยคิดเงินคนละ 50 เหรียญ... แต่เราไม่ตกลงและตัดสินใจไปกันเอง
นรกชัด ๆ อะไรนะที่ดลใจให้เราคิดว่าจะเดินทางในป่าเองได้ แต่ละวันเราเหนื่อยแทบขาดใจ เราต้อง
ถอดกระเป๋าพ่วงออกจากจักรยานเพื่อข้ามไม้ล้มทีละต้น เดินหน้าถอยหลังเป็นสิบ ๆ ครั้งกว่าจะคืบหน้า
ไปได้ระยะทาง 100 เมตร แต่ในที่สุด หลังจากอดทนบุกลุยเช่นนี้ 7 วัน เราก็ไปถึงบ้านพักเจ้าหน้าที่ป่าไม้
ที่หมู่บ้านปายาจนได้รวมระยะทางแค่ 50 กม. แต่เอาเถอะ อย่างน้อยเราก็ทำจนสำเร็จ... หรือเรียกว่า
เกือบสำเร็จจะถูกต้องกว่า เพราะ “เทอร์โบ”เมืองหน้าด่านโคลัมเบียยังอยู่อีกไกล
เรารู้สึกอึดอัดเหมือนติดคุกอยู่ในป่า ป่าดิบที่อยู่เบื้องหน้าเราเต็มไปด้วยทรายดูด งู และจระเข้ เราอยาก
ผจญภัยและก็ได้ผจญภัยสมใจเกินกว่าที่ฝันไว้ด้วยซ้ำ และแล้วเราก็โผล่พ้นออกจากป่า กำแพงธรรมชาติ
ค่อย ๆ ห่างออกไปเบื้องหลัง เราอดประหลาดใจตนเองไม่ได้ที่รู้สึกเสียดายรสชาติการผจญภัยขณะที่
ออกห่างจากป่าดงดิบดาเรียน

โปรดติดตามตอนที่ ( 20 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร เม.ย. 25, 2023 8:30 pm

ปั่นจักรยานรอบโลก ตอนที่ ( 20 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/
โดย Françoise และ Hervé เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

15. ทวีปอเมริกาใต้

เมษายน 2534 ลูโช เฮเรรา (Luz Herrara) แชมป์จักรยานชาวโคลัมเบียเพิ่งชนะการแข่งขัน
ชาวโคลัมเบียทั่วประเทศกำลังดีใจกับชัยชนะ เราเองก็กลายเป็นที่รู้จักในประเทศที่จักรยานเป็น
กีฬาระดับชาติ เราได้รับเชิญปรากฏตัวทางโทรทัศน์ 2 ครั้งและเป็นข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่
ชาวโคลัมเบียหลายคนอยากพบ ’มานอง’ ซึ่งตอนนี้เริ่มพูดได้ทั้งภาษาฝรั่งเศสและสเปน ชาวเมืองทำ
ทุกทางเพื่อให้เรารู้จักประเทศเขาในทางที่ดี ความโอบอ้อมอารี สนุกสนานกับชีวิต และความมีน้ำใจ
ของพวกเขาที่เราพบเห็นทุกวัน เป็นเสมือนยาชูใจให้กับเรา

ตามเส้นทางไปเอกวาดอร์ (Ecuador) เราข้ามช่องเขา 13 แห่ง แต่ละแห่งสูงกว่า 3,000 เมตรซึ่ง
เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาแอนดิส (Andes) เทือกเขาที่ยาวที่สุดในโลก (8900 กม.) เราทนทรมาน
กับความหนาวเหน็บตลอดทาง เมื่อถึงชายฝั่งเปรูก็เหมือนขึ้นสวรรค์ แต่เส้นทางที่มีแต่ทรายกับ
ทรายอีก 1,500 กม.ก่อนถึงกรุงลิมา (Lima) ก็ยาวนานและน่าเบื่ออยู่เป็นสัปดาห์ ยิ่งกว่านั้นระหว่างทาง
เรายังถูกขโมยของ 3 ครั้ง โชคดีที่ไม่ร้ายแรงและสามารถกู้คืนสิ่งของคืนได้ซึ่งก็ต้องขอบคุณความช่วย
เหลือจากผู้คนที่นั่น

เราสำรวจ “มาชู ปิกชู” (Machu Picchu) เมืองอารยธรรมโบราณของชาวอินคาตั้งอยู่บนเทือกเขา
สูง 2,430 เมตรในประเทศเปรู ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียน “มาชูปิกชู” ให้เป็นแหล่งมรดกโลก และ
วันที่ 7 กรกฎาคม 2550 "มาชูปิกชู”ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ จากการ
ลงคะแนนทั่วโลกทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่

เดือนตุลาคม 2534 เราไปถึง “Altiplano” ที่ราบสูงที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลกตามแนวเหนือ-ใต้
ของเทือกเขาแอนดิสตอนกลางอยู่ในดินแดนของ 3 ประเทศ (ชิลี เปรูและโบลิเวีย) ความสูงเฉลี่ย 3,750 เมตร
จากระดับน้ำทะเล (รองจากที่ราบสูงทิเบตซึ่งมีความสูงเฉลี่ยจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 4,500 เมตร)
เป็นที่ตั้งของอารยธรรมอินคา ยุคก่อนโคลัมบัสพบทวีปอเมริกา เราผ่านฝูงปศุสัตว์ลามะ (Llama)
และอัลปากา

การเดินทางผ่านโบลิเวียค่อนข้างยากลำบากเพราะพื้นที่ของประเทศที่ใหญ่กว่าประเทศไทย 2 เท่า
(1,098,581 กม.

ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงและไม่มีทางออกทะเล เป็น ประเทศที่ยากจนที่สุดเป็นอันดับที่ 2
ในอเมริกาใต้ รองจากสาธารณรัฐซูรินาม (Suriname)

โปรดติดตามตอนที่ ( 21 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร เม.ย. 25, 2023 8:34 pm

🚲ปั่นจักรยานรอบโลก🌍 ตอนที่ ( 21 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/
โดย Françoise และ Hervé เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

ธันวาคม 2534 เรามาถึงทางตอนเหนือของอาร์เจนตินาและเข้าไปในเขตจังหวัดเมนโดซา
(Mendoza) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาแอนดีสที่มียอดเขา “อะคองคากัว” (Aconcagua) ที่สูง
ที่สุดในทวีปอเมริกา (6,961 เมตร) ซึ่งดึงดูดนักปีนเขาจากทั่วโลก จังหวัดนี้มีอุตสาหกรรมไวน์และ
น้ำมันมะกอกเป็นสินค้าส่งออกที่โดดเด่น

’มานอง’ ไม่เคยประสบอุบัติเหตุในการเดินทางเลย แต่มาพลัดตกจากที่นั่งเมื่อมาถึงเมืองเล็ก ๆ
ในอาร์เจนตินา ‘โคลด’เบรคไม่ทัน ล้อหน้าวิ่งทับแขน’มานอง’เข้า ยังดีที่รถแล่นไม่เร็ว เรารีบพา
ลูกไปหาหมอ เจ้าตัวเล็กซึ่งอายุได้ 3 ขวบครึ่งตกใจและฟกช้ำดำเขียวนิดหน่อย แต่ไม่มีอะไรแตกหัก

เราขี่จักรยานเข้าสู่ชิลีผ่านซานติอาโก (Santiago) นครหลวงที่สมัยใหม่ที่สุดแห่งหนึ่งในลาตินอเมริกา
และลงใต้ต่อไปชมความงามของเกาะชิโลเอ (Greater Island of Chiloé) เกาะที่ใหญ่ที่สุดนอกชายฝั่ง
ตะวันตกของชิลีในมหาสมุทรแปซิฟิก

จากนั้นเราก็กลับไปอาร์เจนตินา ในเขต “แพมพัส” (Pampas) ซึ่งเป็นทุ่งหญ้าที่อุดมสมบูรณ์
ในอเมริกาใต้ ครอบคลุมพื้นที่พอ ๆ กับประเทศไทยและพม่ารวมกันคือมากกว่า 1,200,000 กม.
ที่ความสูง ระหว่าง 500 -1,300 เมตร เป็นบริเวณที่มีลมพัดแรงมากตลอดเวลา

วันที่ 1 เมษายน 2535 หลังจากเดินทางมา 12 ปีด้วยระยะทาง 132,000 กม. เราก็มาถึงชายขอบซีก
โลกใต้ เมืองยูชัวยา (Ushuaia) ต้อนรับเราด้วยแสงแดดเจิดจ้าเป็นประกายเหนือหิมะตามยอดเขา
หลังจากข้าม ช่องแคบแม็กเจลลัน (Strait of Megellan) เมื่อหลายวันก่อน

ที่ปุนตา ตอมโบ (Punta Tombo) อ่าวเล็ก ๆ ทางชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของเทือกเขา
ปาตาโกเนีย (Patagonia) มีพื้นที่ซึ่งปกคลุมด้วยไม้พุ่มผอมและหนามแหลม ดอกสีเหลือง ไม่มี
บ้านคนในบริเวณเลย ทันใดนั้นฝูงนกเพนกวินนับพันก็โผล่ขึ้นมาต่อหน้าต่อตา จ้องมองมาที่เรา
เอียงคอเหมือนเด็ก ๆ รอให้เข้าไปกอด ’มานอง’ตาลุกวาวด้วยความตื่นเต้น เธออยากจะเอามือ
ไปสัมผัส แต่ทันทีที่เธอเข้าใกล้เกินไป พวกมันก็ทำท่าจะกัดเอา

ระหว่างพฤษภาคม/มิถุนายน 2535 ที่กรุงบัวโนสไอเรส (Buenos Aires) เมืองหลวงของอาร์เจนตินา
เราจัดบรรยายตามสถาบันต่าง ๆ ถึง 90 ครั้งและได้รับค่าตอบแทนมากพอสำหรับการเดินทางต่อได้
อีก 2 ปี ($10,000) ในช่วงนี้ ‘มานอง’ เริ่มเรียนชั่วคราวตามโรงเรียนอนุบาลฝรั่งเศสที่เราแวะพักระหว่างทาง

สิงหาคม 2535 เรามาถึงประเทศปารากวัย (Paraguay) ‘โคลด’ ประสบอุบัติเหตุขาหักจำต้องพักอยู่กับ
ครอบครัวหนึ่งเป็นเวลา 2 เดือนก่อนจะเดินทางต่อถึงบราซิลในเดือนพฤศจิกายน เราพักอยู่ในอาคารที่
มีซิสเตอร์คาทอลิกดูแลเพื่อฉลองคริสต์มาสและต้อนรับปีใหม่ 2536 ในบราซิล

โปรดติดตามตอนที่ ( 22 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร เม.ย. 25, 2023 8:38 pm

🚲ปั่นจักรยานรอบโลก🌍 ตอนที่ ( 22 )
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/
โดย Françoise และ Hervé เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

16. ทวีปแอฟริกา

จากบราซิล เราบินไปไอวอรี่โคสต์ (Ivory Coast) ประเทศที่ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส
เมื่อปี 2503 เราได้เรียนรู้ผลด้านลบของการล่าอาณานิคมจากการที่เราไม่ได้รับการต้อนรับที่เช่น
ในประเทศอื่น ๆ ที่ผ่านมา เขาปั่นขึ้นเหนือจากกรุงอาบีดจัน (Abidjan) ถนนลาดยางก็จริงแต่อยู่
ในสภาพเลวร้ายมาก วันหนึ่งบนถนนเส้นนี้ขณะที่เราขี่จักรยานอยู่ทางเหนือของเมือง “Ferkessedougou”
เราเห็นฝุ่นตลบอยู่ตรงเชิงเขา

“ดูเหมือนรถบัสที่เพิ่งแซงเราไปจะมีปัญหานะ” ‘โคลด’ สันนิษฐาน

เมื่อเราไปถึงที่เกิดเหตุ เราไม่เห็นใครเลย แต่ทันใดนั้นเราก็ได้ยินเสียงโกลาหลดังมาจากทางขวามือ
ตามด้วยเสียงกรีดร้อง นั่นแหละเราจึงมองลงไปเห็นรถบัสตกลงไปอยู่ในป่าลึกราว 50 เมตร โชคดี
ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บสาหัสในอุบัติเหตุครั้งนั้น

เมษายน 2536 เราไปถึงเมือง “Bobo-Disulasso” ประเทศเบอร์กินา-ฟาโซ (Burgina Faso) ซึ่งก่อน
ปี 2527 มีชื่อว่า “Upper Volta” เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเลเช่นกัน ‘มานอง’ เป็นไข้มาลาเรียชนิด
ร้ายแรง โชคดีที่พบหมอชาวฝรั่งเศสผู้เชี่ยวชาญโรคนี้กำหนดขนาดยาควินินที่เหมาะสมให้ ’มานอง’
จึงได้รับการรักษาทันเวลาและไม่มีผลตามมา ตามหมู่บ้านที่เราผ่าน เรามักถูกพวกเด็ก ๆ คุกคาม
เรียกร้อง ของขวัญที่เราไม่มีให้จนทำให้เรารู้สึกเครียด

ก่อนเข้าดินแดนสาธารณรัฐไนเจอร์ (Niger) เราเห็นฝูงช้างป่าที่น่าเกรงขามและพยายามอยู่ห่าง
จากทางเดินของพวกมัน. ไนเจอร์อยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ไม่มีทางออกสู่ทะเล พื้นที่
บางแห่งเดิมที่ไม่ใช่ทะเลทรายแต่ต่อมากลายเป็นทะเลทรายเนื่องจากฝนไม่ตกติดต่อกันเป็น
เวลานาน เราดีใจมากที่ได้เห็นฝูงยีราฟป่าระหว่างทาง

จากไนเจอร์ เรามุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกสู่ประเทศมาลี (Mali) เดือนพฤษภาคม 2536
เราพักอยู่ในบ้านของครูสอนคำสอน ‘มานอง’ ได้เรียนคำสอนเบื้องต้นและเล่นกับลูก ๆ ของเจ้าของบ้าน
ปลายเดือนมิถุนายน 2536 ก็ถึงคราวที่ ‘โคลด’ และฟรังซัวส์ ป่วยเป็นไข้มาลาเรียและได้รับการรักษา
จนหาย

ไม่นานต่อมา เราเดินทางไปทางทิศตะวันตกต่อสู่ประเทศมอริเตเนีย (Mauritania) ชาวทะเลทราย
ผู้เร่ร่อนทุกแห่งที่เราพบให้การต้อนรับเราอย่างยิ่งใหญ่ ขอเพียงโผล่เข้าไปทักทายพวกเขาในเต็นท์
ด้วยท่าทีที่เป็นมิตรเท่านั้น

โปรดติดตามตอนที่ ( 23 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พุธ เม.ย. 26, 2023 1:47 pm

🚲ปั่นจักรยานรอบโลก🌍 ตอนที่ ( 23 ) (ตอนจบ)
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และจาก
https://www.en-echappee.fr/le-tour-du-m ... elo-herve/
โดย Françoise และ Hervé เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

จากเมืองอาทาร์ (Atar) เราต้องการเดินทางไปทางตะวันตกสู่กรุง “นูแอ๊กช็อต”
(Nouakchott : คำภาษาของชนเผ่าเร่ร่อนเบอร์เบอร์ในทะเลทรายซาฮาราหมายถึง
“สถานที่แห่งสายลม”) เมืองหลวงและเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของมอริเตเนีย ระยะทางกว่า 400 กม.
ใกล้มหาสมุทรแอตแลนติก

การเดินทางช่วงนี้มีแต่ทรายกับทราย อากาศร้อนระอุ และเมื่อถามหาแหล่งน้ำบนเส้นทางก็ดูเหมือน
ไม่มีใครรู้ เราจึงเติมน้ำจนเต็มพิกัด 33 ลิตร ราว 10 ชั่วโมงผ่านไป เราเพิ่งไปได้แค่ครึ่งทางและไม่มี
ร่มเงาให้หยุดพักได้เลย แล้วจู่ ๆ ก็มีรถบรรทุกสี่ล้อโผล่มา ในรถมีชาวเยอรมัน 2 คน เราขอให้ช่วย
พา’มานอง’ไปที่กรุงนูแอ็กช็อตโดยให้ที่อยู่กับเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสซึ่งรอเราอยู่ที่นั่น
เราปั่นจักรยานต่ออีก 1 ชั่วโมงและก่อนที่เราจะหมดแรงพร้อมกับน้ำหยดสุดท้าย ก็มีรถตู้แล่นผ่านมา
คนขับเป็นทหารฝรั่งเศส เราขอโดยสารไปด้วยจนถึงโรงอาหารของที่ทำการทหารที่ซึ่งเราได้พบกับ
’มานอง’ และคนเยอรมันคู่นั้น เราได้ดื่มน้ำเย็นชื่นใจ พวกทหารให้เราพักแรมด้วย

เนื่องจากชายแดนจากมอริเตเนียเข้าประเทศโมร็อกโคปิด เราจึงเจรจากับกัปตันเรือสินค้าญี่ปุ่น
ที่อนุญาตให้เราร่วมเดินทางไปจนถึงเกาะคานารีนอกชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก จากนั้นก็บินไป
ลงที่สนามบินเมืองกาซาบลังกา ประเทศโมร็อกโค

ตุลาคม 2536 เราก็ปั่นลงใต้ไปทางเมืองมาร์ราเกช (Marrakesh) ครอบครัวคนพื้นเมืองที่พบตาม
รายทาง ในโมร็อคโคเชิญเราพักและกินอยู่ด้วยอย่างเรียบง่าย จากนั้นเราก็กลับไปคาซาบลังกาอีก
ครูชาวฝรั่งเศสคู่หนึ่งใจดีให้เรายืมอพาร์ทเม้นท์ นอกจากนั้นสมาพันธ์การกุศลของเมืองยังได้เชิญ
ครอบครัวเราไปร่วมฉลองคริสต์มาสและขึ้นปีใหม่ด้วย ตลอดการเดินทางผ่านประเทศต่าง ๆ
ในทวีปแอฟริกา ‘มานอง’ ได้เข้าเรียนเป็นช่วง ๆ ในโรงเรียนภาษาฝรั่งเศสระหว่างทาง

ต้นเดือนเมษายน 2537 เราก็ได้เดินทางวกกลับมาถึงจุดเริ่มต้นอีกครั้งหนึ่ง ’มานอง’ ลูกสาวของเรา
ตอนนี้อายุ 5 ขวบแล้ว แกจะรู้ไหมว่านี่คือฝรั่งเศส หรือแกคิดว่า นี่ก็เหมือนประเทศอื่น ๆ ที่เราผ่านมา
บางครั้งเราอยากรู้ว่าแกคิดอะไรอยู่ในหัวน้อย ๆ ของแก ระหว่างการเดินทางตั้งแต่ ’มานอง’ ยืนได้
แกมักจะยืนในรถพ่วง ผมปลิวไปตามลม จ้องมองป่าไม้ ทุ่งข้าวสาลีและฝูงปศุสัตว์ แล้วถามโน่นถามนี่
ไม่หยุดปาก

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2537 วันที่เราถึงกรุงปารีสอย่างเป็นทางการ มีคนราว 200 คนจากทั่วประเทศ
มารอต้อนรับเรา กลุ่มแรกยืนอยู่ใต้ประตูชัยกลางเมือง จากนั้นก็มีอีกลุ่มรออยู่ใต้หอไอเฟล มีทั้งเพื่อน
ครอบครัว และนักปั่นจักรยาน รวมทั้งคนไม่รู้จักแต่ชื่นชมและติดตามการเดินทางของเรามาคอยต้อนรับ
เรากลับบ้าน ท่ามกลางความปีติยินดี เราค่อย ๆ ขี่ไปตามถนนฌัง-เอลิเซ่ (Champs-Élysées)

อย่างไรก็ตาม การเดินทางในฝรั่งเศสของเรายังไม่สิ้นสุด เราออกจากปารีสและปั่นจักรยานไปทาง
ตะวันตกเฉียงเหนือของปารีสอีกราว 250 กม. จนถึงเมือง “ปอง เลแว็ก” (Pont l’Evêque) ที่อยู่เหนือเมือง
นักบุญเทเรซาแห่งลีซีเออษ์เพียง 20 กม. เพื่อไปเยี่ยมครอบครัวของ’โคลด’ ก่อนจะกลับไปที่จุดเริ่มต้น
ที่เมืองลีออง

การมาถึงของเราเป็นข่าวดังพอสมควร หลังจากการทักทายกับญาติพี่น้องและเพื่อนสนิทอย่าง
อบอุ่นแล้ว ชายผมขาวคนหนึ่งเดินตรงเข้ามาหา ท่าทางเขินอายเล็กน้อย เขาแนะนำตัวพร้อมกับถามว่า
“คุณจำผมได้ไหมครับ ผมหยุดทักคุณตรงนอกเมืองลีอองเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2523”

เรามองเขาด้วยความทึ่ง เขายิ้มตอบ

“คุณรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเรา”

“วันนั้นผมเห็นจักรยานของคุณและจำป้ายยี่ห้อรถของคุณได้ ผมเองก็เป็นนักปั่น เลยติดต่อเจ้าของ
โรงงานที่ผลิตจักรยานของคุณ ตั้งแต่นั้นมา ผมได้ติดตามข่าวคราวของพวกคุณมาตลอด และเห็นรูปที่
พวกคุณส่งมาให้เจ้าของโรงงานผลิตจักรยานของคุณด้วย”

เปิดภาคปีการศึกษา 2537 ’มานอง’เข้าเรียนที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ใกล้บ้านนอกเมืองลีออง เธอดูมีความสุข
ที่ได้ไปโรงเรียนและมีครูของตัวเองในที่สุด

ตลอด 14 ปีที่เดินทาง เราต้องปรับตัวอยู่เสมอ : กับสิ่งแวดล้อม ผู้คน ศาสนา วัฒนธรรมของแต่ละ
ประเทศที่ผ่านไป และการกลับมาอยู่ฝรั่งเศสก็ต้องปรับตัวอีกเช่นกัน

ตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา เราทั้งสองอยู่เคียงข้างกันทุกนาที แบ่งปันประสบการณ์กัน
พราหมณ์ชื่อ’ทมิฬ นาดู' เคยบอกเราว่า เราเคยแต่งงานกันเมื่อชาติก่อน ผลของประสบการณ์แบบนี้
เป็นอื่นไปไม่ได้ ถ้าคู่นั้นไม่รักกันมากขึ้นก็คงต้องเลิกรากันไปและเราก็ได้สอบผ่านแล้ว

***************************
จบบริบูรณ์
ตอบกลับโพส