รวมเรื่องสั้นคติเตือนใจ ดีมาก ( ชุดที่7 )

ใครมาใหม่เชิญทางนี้ก่อน ทักทาย ทดลองโพส
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5984
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

ศุกร์ เม.ย. 07, 2023 12:35 pm

*** สุดยอดบทความจากหนังสือสีแดง ของวินทร์ เลียววาริณ

วิไลซื้อกระเป๋าถือใบหนึ่งจากห้างสรรพสินค้าใหญ่แห่งหนึ่งในรายการลด 50 เปอร์เซ็นต์
เมื่อเดินผ่านอีกห้างหนึ่ง เห็นกระเป๋าอย่างเดียวกันวางขายอยู่ ก็ลองเปรียบเทียบราคาดู
แล้วพบว่าห้างแห่งที่สองขายกระเป๋าแบบเดียวกันถูกกว่าห้างแรก 250 บาท ทั้งนี้เพราะ
ห้างแรกใช้ลูกเล่นตั้งราคาสูงกว่าปกติแล้วลดราคาลงมาเท่าเดิม เธอโกรธตัวเอง ด่าตัวเอง
ว่าโง่เง่าจนถูกเขาหลอก ทำไมเลินเล่ออย่างนี้ ทำไมไม่ตรวจสอบราคาหลาย ๆ ห้างก่อน
ทำไมไม่ถามเพื่อน ฯลฯ ขณะกลับบ้านก็โมโหไปตลอดทาง ถึงบ้านแล้วก็ยังกลุ้มใจ ลูกมา
หาก็ไม่อยากคุยด้วย ครั้นเวลาอาหารเย็นก็กินไม่อร่อย คิดถึงแต่เรื่องนี้ เวลานอนก็ไม่หลับ
เพราะยังโมโหตัวเองไม่หาย กลุ้มใจไปหลายวัน

นี่เรียกว่า เสียสองเด้ง

เด้งแรกคือเสียทางวัตถุ เด้งที่สองคือเสียทางจิตใจ

วิไลเลิกซื้อสินค้าจากห้างแห่งนั้น ผ่านไปหนึ่งปี สองปี วิไลก็ยังโกรธตัวเองและห้างไม่หาย
ในเหตุการณ์นั้น ทุกครั้งที่โกรธ เธอก็มีอาการหัวใจเต้นแรง นอนไม่หลับ

มันเพิ่มจากเสียสองเด้งเป็นเสียสามเด้ง สี่เด้ง

ผ่านไปสิบปี เธอยังโกรธเรื่องนี้อยู่ คราวนี้จาก 3-4 เด้ง กลายเป็น 10-20 เด้ง กลายเป็นทุกข์
ทบต้น เป็นดอกเบี้ยอารมณ์ที่ทบซ้ำไม่หยุดหย่อน ตราบที่ยังไม่สามารถปล่อยวางเรื่องนี้ได้

รวมพลังงานที่เสียไป, เวลาที่หายไปกับการครุ่นคิดเรื่องนี้, สารพิษที่ร่างกายหลั่งออกมาตอน
กลัดกลุ้ม, ความเสื่อมของหัวใจที่เกิดจากความโกรธ คำนวณออกมาแล้วจะพบว่าค่าเสียหาย
ของงานนี้มากกว่า 250 บาท

สุดาทะเลาะกับสามี สามีด่าเธอด้วยถ้อยคำรุนแรง วันรุ่งขึ้นสามีขอโทษเธอ บอกว่าเมื่อคืนนี้ใช้
คำพูดหยาบคายเพราะอารมณ์ชั่ววูบ เธอยกโทษให้เขา แต่ทุกครั้งที่คิดถึงเรื่องนี้ ในใจเธอยังรู้สึก
น้อยใจและโกรธ และงอนเขาไปหลายวันโดยที่เขาไม่รู้

ผ่านไปสิบปีความน้อยใจยังไม่จางหาย ผ่านไปยี่สิบปี ทุกครั้งที่นึกถึงเหตุการณ์นี้ เธอก็สัมผัสความ
โกรธและน้อยใจที่ปะทุวูบขึ้นมา

นี่ก็คือทุกข์ทบต้น เป็นดอกเบี้ยอารมณ์ที่ทบซ้อนไม่หยุดหย่อน ตราบที่ยังไม่สามารถปล่อยวาง
ตะกอนในใจได้

สมยศกับเพื่อนลงทุนในธุรกิจหนึ่ง กิจการของทั้งสองไม่เคยได้รับกำไร ผ่านไปสองปีสมยศเพิ่งพบว่า
เพื่อนโกงเงินกำไรทั้งหมด ทั้งสองเลิกกิจการที่ทำด้วยกัน แต่สมยศไม่เคยลืมความเจ็บช้ำครั้งนี้ ผ่านไป
สิบปี เขาประสบความสำเร็จในธุรกิจของเขาเองแล้ว ความโกรธแค้นนั้นยังคงอยู่ มันทำให้เขาไม่มี
ความสุขทุกครั้งที่นึกถึงมัน

ทุกข์ทบต้น!

.……………….

ความทรงจำของมนุษย์มีความแปลกอย่างหนึ่งคือ มันจดจำเรื่องไม่ดีได้ลึกกว่านานกว่าเรื่องดี ๆ

เรามักจดจำเรื่องที่คนอื่นทำแย่ ๆ ต่อเราได้ ไม่ว่าผ่านมากี่สิบปีแล้ว เราจำเรื่องที่เราพูดหน้าชั้นเรียน
แล้วถูกเพื่อนหัวเราะเยาะได้ เราจำเรื่องที่ใครบางคนนินทาเราลับหลังและเราบังเอิญได้ยินได้

คนแก่บางคนเริ่มมีอาการขี้ลืม แต่กลับจำเรื่องที่คนอื่นทำไม่ดีต่อเขาเมื่อห้าสิบปีก่อน แล้วความโกรธ
ก็ปะทุขึ้นมาเหมือนว่าเหตุการณ์นั้นเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อครู่นี้เอง หัวใจเต้นแรง เหงื่อออก และคืนนั้นก็นอนไม่หลับ

เป็นดอกเบี้ยทบต้นที่แพงเหลือเกิน

ทุกข์ทบต้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทุกวัน เกิดขึ้นกับแทบทุกคน แต่คนฉลาดเลือกจบมันตั้งแต่เกิดความ
เสียหายแรก คนเขลาต่อเติมความเสียหายแรกเป็นความเสียหายใหม่ที่มักใหญ่กว่าเดิม

การจบมันก่อนคือการยอมปล่อยมันลง ไม่แบกมันไว้

PUT IT DOWN!

วางมันลง

วางมันลง

วางมันลง

นี่ก็คือเรื่องการยึดมั่นถือมั่นที่พระเทศน์ มันเข้าใจไม่ยากอย่างที่คิด

ลองใช้หลักบัญชีง่าย ๆ แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสองช่อง ช่องซ้ายคือกำไร ช่องขวาคือขาดทุน

กำไรคือความสุข ความสบายใจ การได้เงินเพิ่ม

ขาดทุนคือความทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ค่าเสียเวลาไปหาหมอ ค่าบิลโรงพยาบาล
ค่าเสียโอกาสในการทำเรื่องสร้างสรรค์อื่น ๆ ค่าเสียโอกาสในการเล่นกับลูก ไม่ได้หัวเราะ
ไม่ได้ยิ้ม ฯลฯ แล้วคูณจำนวนวันเดือนปีที่อารมณ์บูดเข้าไป

เด็กประถมก็รู้ว่าควรเลือกทางไหน

แต่คนไม่ยอมใคร เลือกที่จะไม่รู้!

กูไม่ยอมโว้ย!

เสียรู้ห้างไป 250 บาท ไม่ตายก็หาใหม่ได้ เพื่อนโกงเงินไม่ตายก็หาใหม่ได้ อย่าแบกมันไว้นานเป็นปี ๆ
เพราะค่าแบกแพงกว่าค่าเสียหายในตัวเงิน ทะเลาะกับสามีเป็นเรื่องปกติธรรมดา
มีใครบ้างที่ไม่ทะเลาะกับสามี?

เสียเงินไปแล้ว ไยต้องเสียอารมณ์เพิ่ม? ทุกข์เรื่องหนึ่งแล้ว ทำไมต้องทุกข์เพิ่มอีกเรื่อง?

ค่าใช้จ่ายในการไม่ยอมคนอื่นนี้มักแพงกว่าการยอม ๆ เขาบ้าง แล้วยุติความเสียหายแรกเพียงแค่นั้น
อย่าให้มันลามมาถึงใจจนกลายเป็นมะเร็งที่เกาะกินทั้งชีวิต

คำโบราณที่ว่า ยิ่งให้ยิ่งได้ ก็ตรงกับเรื่องนี้

ยอมให้เขาไป ได้ความสงบทางจิตคืนมา

.……………….

คราวนี้ลองใช้หลักการ ‘หลายเด้ง’ ในอีกด้านหนึ่งของตาชั่งอารมณ์ อาจได้ผลต่างกัน

ซื้อขนมมากิน รสชาติอร่อยเหลือเกิน ก็แบ่งให้เพื่อนชิม จากสุขคนเดียวก็กลายเป็นสุขสองคน
หรือสุขสองเด้ง

อ่านขำขันแล้วขำมาก เล่าให้เพื่อนสองคนฟัง ก็กลายเป็นสุขสามเด้ง ได้ยินธรรมที่ดีมาก
เล่าให้เพื่อนสามคนฟังแล้วนำไปปฏิบัติ กลายเป็นสุขสี่เด้ง

ลองคิดดูว่าหากเราสามารถทำเรื่องดี ๆ ให้คนนับพัน นับหมื่นนับล้านคน มันก็กลายเป็นสุขพันเด้ง
สุขหมื่นเด้ง สุขล้านเด้ง

และหากเราระลึกถึงความสุขชนิดนี้ ทุกครั้งที่นึกถึงเรื่องดี ๆ ที่เคยได้ยินได้ฟังนี้ หัวใจเราจะอาบซ่าน
ด้วยความปีติ มันก็กลายเป็นสุขทบต้น

แล้วมีอะไรในโลกที่ดีไปกว่าสุขทบต้น?

.……………….

จากหนังสือ ยาเม็ดสีแดง

โดย วินทร์ เลียววาริณ
แก้ไขล่าสุดโดย rosa-lee เมื่อ ศุกร์ พ.ค. 03, 2024 12:00 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5984
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. พ.ค. 02, 2024 11:59 pm

เรื่องราวของเด็ก9ขวบที่สอนบทเรียนอันยิ่งใหญ่แก่สังคมโลก

มาฟังของจริงดีกว่าที่มีหลักฐานมั่นคงชัดแจ้งพิสูจน์ได้เลยครับคือเรื่องจากเมืองฟุคุชิมาที่โดนสึนามิ
ถล่มเสียราบไปเลยนั่นแหละ

โดยตำรวจญี่ปุ่นแต่เป็นคนเวียดนามอพยพซึ่งได้สัญชาติญี่ปุ่นแล้วนะครับชื่อนายฮาหมิ่นถาน ได้เขียน
จดหมายถึงเพื่อนที่เวียดนามเล่าถึงประสบการณ์ของการปฏิบัติหน้าที่ของเขาที่โรงเรียนประถมเล็กๆ
แห่งหนึ่งซึ่งเรื่องนี่เผยแพร่โดยสำนักข่าวนิวอเมริกันมีเดีย (New America Media-NAM) ซึ่งเป็นสำนัก
ข่าวที่ที่มีชื่อเสียงได้รับการยอมรับในทางเสนอข่าวทางชาติพันธุ์ที่ไม่ใช่ฝรั่งตะวันตกพูดง่ายๆ
คือสำนักข่าวที่มุ่งเสนอข่าวสำหรับคนในโลกที่ไม่ใช่ฝรั่งนั่นเอง

ฮาหมิ่นถามเขียนเล่าว่า ตำรวจของเมืองฟุคุชิมาต้องทำงานกันวันละ 20 ชั่วโมง งานหลักคือการขนย้าย
ศพผู้ตายจากสึนามิแบบว่าลืมตาขึ้นมาก็เห็นศพ จนหลับพอตื่นขึ้นมาก็ขนย้ายศพต่อ

นายฮาหมิ่นถานบอกเพื่อนว่า น่าแปลกใจในความสงบและการปฏิบัติตัวที่สุภาพมีมารยาทของชาวญี่ปุ่น
ที่สูญสิ้นแทบทุกอย่าง อย่างมีศักดิ์ศรีตลอด 1 สัปดาห์ภายหลังสึนามิ แต่เขากังวลว่าหากนานไปอีกความ
อดอยากก็จะทำให้เกิดมีสัญชาติดิบของการเอาตัวรอดขึ้นมาได้เนื่องจากอาหารน้ำยังขาดแคลนอย่าง
สุดแสนในช่วงแรกทั้งๆ ที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้พยายามอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม

ฮาหมิ่นถานเขียนเล่าว่า เขาได้รับบทเรียนที่มีค่าที่สุดจากเด็กญี่ปุ่นอายุ 9 ขวบ ที่สอนให้เขาซึ่งเป็นผู้ใหญ่
รู้ถึงการปฏิบัติตนว่ามนุษย์ควรจะปฏิบัติตนอย่างไร!

ฮาหมิ่นถานเล่าว่า เมื่อคืนที่แล้วเขาไปปฏิบัติหน้าที่ตำรวจในการดูแลความสงบของการแจกอาหารให้แก่
ผู้ประสบภัยสึนามิที่โรงเรียนประถมเล็กๆ แห่งหนึ่งในเขตฟุคุชิมาโดยมีอาหารวางกองรวมกันอยู่เพื่อแจก
ให้ตามคิวที่จัดเป็นแถววกวนสลับกันเหมือนกับการเข้าคิวเข้าสวนสนุกซึ่งมีคนเป็นจำนวนมากและฮาหมิ่นถาน
เห็นเด็กนักเรียนชายใส่กางเกงขาสั้นและเสื้อยืดคอกลมตัวเล็กอายุประมาณ 9 ขวบ ยืนอยู่เป็นคนสุดท้าย
ซึ่งคะเนจากจำนวนคนแล้วอาหารที่กองอยู่อาจจะหมดเสียก่อนถึงคิวเด็กเสียด้วยซ้ำ

ฮาหมิ่นถานจึงเดินเข้าไปชวนเด็กคนนั้นคุยซึ่งก็ได้ความว่าในช่วงที่สึนามิโถมตัวเข้าฝั่งนั้นเด็กคนนี้อยู่บนชั้น
สามของโรงเรียนมองเห็นรถยนต์ที่พ่อของเขาที่ขับมารับเขาที่โรงเรียนถูกน้ำพลัดหายไปต่อหน้าต่อตา

เมื่อถามถึงแม่เด็กก็บอกว่าบ้านเขาอยู่ใกล้ชายหาดแม่และน้องสาวก็คงตกเป็นเหยื่อของคลื่นสึนามิอย่าง
ไม่ต้องสงสัย เด็กเบือนหน้าหนีในขณะที่เล่าถึงเรื่องเศร้าสลดของตนเพื่อเช็ดน้ำตาอย่างสงบ

เด็กเล็กคนนั้นเริ่มตัวสั่นเทาด้วยความหนาวเย็นในยามค่ำคืน ฮาหมิ่นถานจึงถอดเสื้อแจ๊คเก็ตของเขา
คลุมไหล่ให้เด็กโดยที่กล่องอาหารที่ฮาหมิ่นถานได้รับแจกก่อนมาปฏิบัติงานที่ร่วงลงจากกระเป๋าเสื้อ
แจ๊คเก็ต ฮาหมิ่นถานก้มลงเก็บกล่องอาหารแล้วยื่นให้กับเด็กผู้นั้นพร้อมพูดว่า

"นี่เป็นอาหารส่วนของฉันซึ่งฉันกินเรียบร้อยแล้ว หนูเอาไปกินเถอะเพราะว่ากว่าจะถึงคิวหนูได้รับแจก
อาหาร อาหารกองนั้นอาจจะหมดก่อนก็ได้"

เด็กอายุ 9 ขวบคนนั้นโค้งอย่างสุภาพแล้วรับเอากล่องอาหารไปพร้อมกับโค้งแล้วโค้งอีกเสร็จแล้ว
จึงเดินเอากล่องอาหารนั้นไปวางรวมไว้กับกองอาหารรวมที่เอาไว้แจกตามคิวทำให้ฮาหมิ่นถาน
ประหลาดใจถามเด็กเมื่อเขากลับมาอยู่ท้ายคิวตามเดิมว่า

"ทำไมหนูไม่กินอาหารเสียเล่า? ไม่หิวหรือไง? ทำไมถึงเอากล่องอาหารไปรวมกับกองอาหารส่วนกลาง?"

เด็กญี่ปุ่นอายุ 9 ขวบคนนั้นตอบอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า

"เพราะว่าผมเห็นว่ามีคนมากมายทีเดียวที่หิวมากกว่าผม ถ้าผมเอากล่องอาหารไปวางรวมเป็นส่วนกลาง
แล้วทุกคนก็จะได้รับแบ่งเฉลี่ยไปกินเท่าๆ กัน"

ฮาหมิ่นถานต้องหันหน้าไปอีกทางหนึ่งเพื่อไม่ให้ใครเห็นเขาร้องไห้ เขาสรุปในจดหมายถึงเพื่อนชาว
เวียดนามของเขาว่า

A society that can produce a 9-year-old who understands the concept of sacrifice
for the greater good must be a great society, a great people

พากษ์ไทยว่า "สังคมที่สามารถผลิตเด็กอายุ 9 ขวบให้เข้าใจในความหมายของการเสียสละเพื่อความ
ไพบูลย์ของสังคมส่วนรวมได้ต้องเป็นสังคมที่ยิ่งใหญ่และเป็นผู้คนที่ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง"

โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์

มติชน

วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554 ปีที่ 34 ฉบับที่ 12100 มติชนรายวัน

ส่งให้ #THUGSIN อ่านด้วย
ตอบกลับโพส