เรื่องดีๆจากหนังสือสรรสาระ ( ชุดที่21 )

ใครมาใหม่เชิญทางนี้ก่อน ทักทาย ทดลองโพส
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ มิ.ย. 26, 2023 5:47 pm

เรื่อง หนี้ชีวิต มีทั้งหมด ( 6 )ตอนจบ

หนี้ชีวิต ตอนที่ ( 1 )เรื่องจริงจากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนกรกฎาคม 2540
โดย Michael Bowker + จากเรื่อง “Second Gift of Life” และจากกูเกิ้ล 2565
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ

ที่โรงพยาบาลแมสซาชูเซตต์ (Massachusetts) ในเมืองบอสตัน อลิเซีย สเฟอริโน
(Alicia Sferrino) วัย 20 และพ่อแม่กำลังฟังคำวินิจฉัยโรคจากหมอเลสลี่ ฟาง (Leslie Fang)
แพทย์ผู้ชำนาญโรคไต

“หนูเป็นโรคไตอักเสบเฉียบพลัน เป็นอาการที่ผิดปกติ ไตทั้งสองข้างของหนูถูกทำลายไป 95%”

เด็กสาวร่างเล็กผมสีทองหน้าถอดสีพลางกัดฟันรับคำ “หรือคะ แล้วเราจะเริ่มรักษาให้หาย
เป็นปกติได้เมื่อไรคะ”

หมอฟางตอบอย่างชั่งใจ “หมอเกรงว่าไตของหนูคงจะไม่เหมือนเดิมแล้ว อีกหน่อยหนูคงต้อง
ผ่าตัดปลูกถ่ายไต”

อลิเซียตกตะลึง 2-3 สัปดาห์ก่อนเธอยังสบายดีอยู่เลย
“ไม่มีทางเลือกอื่นหรือคะ” ดีนน์ (Deanne) แม่ของอลิเซียถาม

“มีทางเดียวครับ หมอฟางตอบ

“ถ้าเราหาผู้บริจาคไตที่เข้ากับเธอได้ เราก็ผ่าตัดปลูกถ่ายไตให้เธอได้”

สักครู่หลังจากนั้น หมอฟางก็พูดกับดีนน์และวินเซนต์ (Vincent) เป็นการส่วนตัว “การปลูกถ่ายไต
ให้อลิเซียมีข้อจำกัด การรอคอยไตจากผู้เสียชีวิตคงกินเวลามากกว่า 2 ปี มีอีกทางคือการบริจาคของ
ญาติพี่น้องที่มีเลือดและเนื้อเยื่อชนิดเดียวกัน หากคุณเต็มใจบริจาค เราจะทดสอบทันทีว่า ไตของคุณ
คนไหนเข้ากับเธอได้”

ใบหน้าของดีนน์ฉายแววความปวดร้าว วินเซนต์ผู้เป็นสามีตอบเสียงแทบกระซิบ “อลิเซียเป็น
ลูกบุญธรรมของเราครับ เราไม่ทราบว่าใครเป็นพ่อแม่ที่แท้จริงของเธอ”

หมอฟางจ้องอย่างหมดหนทาง “เราไม่มีเวลามากนักนะครับที่จะหาพ่อแม่แท้จริง”

โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พุธ มิ.ย. 28, 2023 8:02 pm

หนี้ชีวิต ตอนที่ ( 2 )เรื่องจริงจากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนกรกฎาคม 2540
โดย Michael Bowker + จากเรื่อง “Second Gift of Life” และจากกูเกิ้ล 2565
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ

วินเซนต์เป็นวิศวกรที่ห้องทดลองลินคอล์นของสถาบันเอ็มไอที (M.I.T.) ส่วนดีนน์เป็นเลขานุการ
ทั้งคู่ขอรับอลิเซียเป็นลูกบุญธรรมเมื่อเธออายุได้ 5 เดือน สองสามีภรรยาอยากได้ลูกสาวมาเลี้ยงดู
กับไมเคิลลูกชายบุญธรรมซึ่งขณะนั้นอายุ 4 ขวบ อลิเซียช่วยเพิ่มสีสันให้ครอบครัวสเฟอริโนเป็นอย่างมาก
เธอเป็นดาวในทีมฮอกกี้ระดับมัธยมปลายของโรงเรียนทั้งที่เธอสูงไม่ถึง 150 เซนติเมตร หลังจากนั้นก็เข้า
เรียนต่อในวิทยาลัยอีก 2 ปี เมื่อจบแล้วจึงเข้าทำงานที่บริษัทเสื้อผ้า “Calvin Klein”อย่างรับผิดชอบ
และไม่เคยย่อท้อกับงานหนักแต่อย่างใด

ถึงคราวที่วินเซนต์และดีนน์จะต้องเผชิญกับการท้าทายที่น่าสะพรึงกลัว นั่นคือการตามหาพ่อแม่ที่แท้จริง
ของอลิเซีย ดีนน์นึกย้อนกลับไปถึงอดีตที่อลิเซียถามถึงพ่อแม่แท้จริงอยู่หลายครั้ง “อย่าบอกลูกจะดีกว่านะคะ”
ดีนน์บอกสามี “ถ้าหาตัวพ่อแม่แท้จริงไม่เจอ หรือถ้าเจอแต่พวกเขาไม่ยอมรับ จะเป็นการทำร้ายจิตใจลูกเปล่า ๆ”

วินเซนต์และดีนน์อาศัยคำสั่งศาลให้เปิดแฟ้มเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการรับอลิเซียเป็นลูกบุญธรรม ในแฟ้มนั้น
มีสูติบัตรของอลิเซีย ซึ่งระบุว่าแม่ผู้ให้กำเนิดชื่อรูธ เซียสสัน (Ruth Chiasson) อาศัยอยู่ที่เมืองฟรามิงแฮม
(Framingham) รัฐแมสซาชูเซตต์ แต่เป็นที่อยู่เก่าเมื่อ 20 ปีก่อน

สองสามีภรรยาเพียรพยายามอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยหลังจากนั้น เพื่อติดต่อคนในครอบครัวเชียสสัน
ในเมืองฟรามิงแฮม แต่ไม่มีใครได้ข่าวรูธเลย

ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2529 หมอเริ่มถ่ายเลือดให้อลิเซีย “แย่จังเลยค่ะ” เธอบอกเจฟ มาร์ติน (Jeff Martin)
คู่หมั้นหนุ่มซึ่งเป็นนักศึกษาวิศวะ “เธอไม่น่าจะเสียเวลาทั้งชีวิตมาดูแลคนพิการอย่างฉันเลย”

“อย่าพูดอย่างนั้นสิ” เจฟตอบ ใบหน้าซีดเผือดเพราะกลัวว่าจะต้องสูญเสียอลิเซียไป

โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พุธ มิ.ย. 28, 2023 8:04 pm

หนี้ชีวิต ตอนที่ ( 3 )เรื่องจริงจากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนกรกฎาคม 2540
โดย Michael Bowker + จากเรื่อง “Second Gift of Life” และจากกูเกิ้ล 2565
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ

กลางเดือนมีนาคม อลิเซียน้ำหนักลดฮวบจาก 43 กิโลกรัมเหลือ 35 กิโลกรัม ร่างกายอ่อนแอ
จนไปทำงานไม่ไหว การเยียวยาเพื่อพยุงสภาวะไตทำให้อลิเซียเจ็บปวดเนื้อตัวชา ความทุกข์ทรมาน
ของลูกสาวเป็นแรงผลักดันให้วินเซนต์ดิ้นรนหาหนทางและคิดในใจว่า “ต้องมีวิธีช่วยชีวิตลูกของเราสิ”

เช้าวันหนึ่งในที่ทำงาน วินเซนต์ดูรายชื่อคนที่เขาและดีนน์จดไว้ว่าอาจรู้เรื่องเกี่ยวกับรูธ เชียสสัน รายชื่อ
ดังกล่าวมีหมายเลขโทรศัพท์ของคนนามสกุลเชียสสันทุกคนในเมืองฟรามิงแฮม โทรศัพท์ของหน่วยราชการ
ทุกแห่งที่มีหลักฐานแจ้งเกิด รวมทั้งบรรดาบรรณารักษ์และเสมียนเขตของเมืองฟรามิงแฮมอีกหลายสิบคน
เขาโทรฯ ถึงทุกคนตามรายชื่อหมดแล้ว ยกเว้นหมายเลขเดียวซึ่งเป็นของไมเคิล วอร์ด (Michael Ward)
เจ้าหน้าที่ประจำเขตเมืองฟรามิงแฮม วินเซนต์สวดมนต์อ้อนวอนขณะหมุนหมายเลขนั้น
วอร์ดรับสายเอง วินเซนต์จึงเล่าถึงสาเหตุที่โทรฯ มา “ผมรู้จักคนชื่อพอล ฟอยซี (Paul Foisy) หลายปีมาแล้ว”
วอร์ดพูด “ผมคิดว่าเขาแต่งงานกับผู้หญิงชื่อรูธ เชียสสัน พอทั้งคู่หย่ากัน ฝ่ายหญิงก็ย้ายออกจากเมืองนี้ไป”

“มีเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับสองคนนี้ที่คุณพอจำได้ไหมครับ” วินเซนต์ถาม

วอร์ดคิดอยู่สักครู่ “เราพอมีบันทึกเก่า ๆ อยู่บ้าง ผมจะลองไปค้นดู แล้วจะโทรฯ หาคุณ” วินเซนต์กล่าว
ขอบคุณวอร์ดและวางโทรศัพท์ เขาพยายามมุ่งความสนใจไปที่งาน แต่สักพักก็ได้แต่เดินไปมาอยู่ในห้อง
ทำงาน หนึ่งชั่วโมงผ่านไป นับเป็นช่วงเวลายาวนานที่สุดในชีวิต แล้วเสียงโทรศัพท์ก็ดังขึ้น

“ผมพบข้อมูลบางอย่างครับ” วอร์ดพูด “บาทหลวงชื่อคุณพ่อบาร์เรต (Father Barrett) เป็นผู้ประกอบพิธี
แต่งงานให้สองคนนั่นที่โบสถ์เซนต์จอร์จในเมืองฟรามิงแฮม ท่านอาจทราบว่าขณะนี้รูธอยู่ที่ไหน”

วินเซนต์รีบโทรฯ ไปที่โบสถ์ดังกล่าว

“คุณพ่อบาร์เรตไม่ได้อยู่ที่นี่มา 10 ปีแล้วค่ะ” หญิงคนหนึ่งตอบ
“พอมีคนทราบบ้างไหมครับว่าท่านอยู่ที่ไหน” วินเซนต์รอคำตอบ แต่ละวินาทีผ่านไปอย่างเชื่องช้าและ
เจ็บปวด แล้วก็มีเสียงตอบกลับมา

“ตอนนี้คุณพ่อบาร์เรตประจำอยู่ที่โบสถ์เซนต์จอห์นในเมืองเชล์มฟอร์ด (Chelmsford) ค่ะ”

“ขอบคุณครับ” เมืองเชล์มฟอร์ดอยู่ถัดไปจากเมืองฟรามิงแฮม วินเซนต์หัวใจเต้นแรงขณะจดหมายเลข
โทรศัพท์ของโบสถ์แห่งนั้น และหมุนโทรศัพท์อีกครั้ง คราวนี้ผู้ชายรับสาย

“ผมพยายามติดต่อคุณพ่อบาร์เรตครับ” วินเซนต์พูด แทบจะสะกดความตื่นเต้นไม่อยู่

“กำลังพูดอยู่”

วินเซนต์หายใจลึก

โปรดติดตามตอนที่ ( 4 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พุธ มิ.ย. 28, 2023 8:09 pm

หนี้ชีวิต ตอนที่ ( 4 )เรื่องจริงจากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนกรกฎาคม 2540
โดย Michael Bowker + จากเรื่อง “Second Gift of Life” และจากกูเกิ้ล 2565
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ

บ่ายวันที่ 29 มีนาคม 2529 ผู้หญิงผมสีน้ำตาลอ่อนขับรถเข้ามาจอดที่หน้าบ้านในเมืองซันไร้ส์
รัฐฟลอริดา แล้วหยิบจดหมายในตู้รับออกมาเต็มมือ รูธ ฟอสซี วัย 37 ซึ่งปกติเป็นคนกระฉับกระเฉง
กลับรู้สึกเหนื่อยเหลือเกินหลังจากทำหน้าที่ผู้จัดการร้านกาแฟนานถึง 10 ชั่วโมงในวันนั้นลูก 3 คน
ของรูธคือบาร์บี้วัย 17, เรเน 14 และพอล 11 ยังไม่กลับจากโรงเรียน เธอจึงพอมีเวลาพักผ่อนเล็กน้อย.
ขณะนั่งตามสบายอยู่บนเก้าอี้ในห้องนั่งเล่น รูธรู้สึกประหลาดใจเมื่อเห็นซองจดหมายที่จ่าหน้า
ด้วยลายมือของคุณพ่อบาร์เรต “เราไม่ได้ติดต่อกันมากกว่า 10 ปีแล้ว” เธอคิด
“ท่านมีเรื่องอะไรนะถึงได้เขียนมา”

รูธดึงจดหมายยาว 4 หน้าออกมาแล้วต้องประหลาดใจเป็นคำรบสองเมื่อเห็นว่าจดหมายฉบับนั้นไม่ได้
เขียนโดยคุณพ่อบาร์เรต “หลังจากเวลาผ่านไปหลายปี จดหมายฉบับนี้อาจทำให้คุณตกใจ” จดหมาย
เกริ่นเช่นนั้น “แต่เราเชื่อมั่นว่า คุณจะเข้าใจถึงความจริงใจและความรักที่สะท้อนอยู่ในจดหมายฉบับนี้”

รูธน้ำตาคลอขณะอ่านจดหมาย เนื้อความบอกว่า อลิเซียต้องเข้ารับการปลูกถ่ายไตโดยด่วน “เราเข้าใจดีว่า
คุณอาจรู้สึกเจ็บปวดกับการตัดสินใจครั้งนี้” วินเซนต์และดีนน์เขียน “เราเพียงขอให้คุณพิจารณาเรื่องนี้ด้วย
ความรอบคอบและเห็นอกเห็นใจ”

เธอหวนนึกถึงเหตุการณ์เมื่อ 20 ปีก่อนพร้อมกับน้ำตาที่เริ่มไหลริน เมื่อเธออายุได้ 17 ปี เธอให้กำเนิด
ทารกเพศหญิงน่ารัก และตั้งชื่อว่าแพตริเซีย แอนน์ (Patricia Ann) เธอกับเพื่อนชายอยากแต่งงานกัน
แต่พ่อแม่ของรูธบังคับให้ยกทารกน้อยให้คนอื่นรับไปเป็นลูกบุญธรรม

รูธทุกข์ทรมานอยู่นาน 4 ชั่วโมงกว่าจะตัดสินใจลงชื่อในเอกสารยินยอม หลายเดือนหลังจากนั้น
รูธร้องไห้คิดถึงลูกสาวบ่อย ๆ หล่อนจุดเทียนทุกวันที่ 7 ธันวาคมซึ่งเป็นวันเกิดของหนูน้อย

“ลูกชื่ออลิเซียหรอกหรือ” รูธคิด “และตอนนี้ลูกต้องการฉัน”

สักครู่หลังจากนั้น ลูก ๆ ของรูธกลับถึงบ้านและเห็นผู้เป็นแม่กำจดหมายแน่น

“แม่มีเรื่องบางอย่างจะบอกลูก” เธอพูดด้วยหน้าตาโศกเศร้าเป็นครั้งแรกที่เด็ก ๆ ได้ยินเรื่องของพี่สาว
ต่างพ่อ บาร์บี้เข้ามากอดแม่ “ตามใจแม่เถอะค่ะ” บาร์บี้พูด “ไม่ว่าแม่จะตัดสินใจยังไง เราก็อยู่ข้างแม่ค่ะ”

โปรดติดตามตอนที่ ( 5 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ ก.ค. 17, 2023 9:27 pm

หนี้ชีวิต ตอนที่ ( 5 ). เรื่องจริงจากหนังสือสรรสาระ
ฉบับเดือนกรกฎาคม 2540 โดย Michael Bowker + จากเรื่อง “Second Gift of Life”
และจากกูเกิ้ล 2565 รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ

ปลายเดือนเมษายน 2529 วินเซนต์และดีนน์รู้สึกหมดหวัง เวลาล่วงมาหนึ่งเดือนแล้วนับแต่ทั้งสอง
มอบจดหมายให้คุณพ่อบาร์เรตและยังไม่ได้รับข่าวคราวใด ๆ เลย ส่วนอลิเซียก็มีอาการแย่ลงทุกวัน

“คุณพ่อบาร์เรตทำหมายเลขโทรศัพท์ของเราหายหรือเปล่านะ” วินเซนต์คิดก่อนจะคว้าโทรศัพท์ตั้งใจ
แน่วแน่ที่จะรู้ให้ได้ว่า คุณพ่อได้รับคำตอบจากรูธหรือยัง

“ขอบคุณพระเจ้าที่คุณโทรฯ มา” เขาได้ยินคุณพ่อตะโกนตอบ “รูธ ฟอยซี เต็มใจเป็นผู้บริจาคไตครับ"

รูธไปถึงบอสตันในวันที่ 2 มิถุนายน 2529 และเข้ารับการตรวจเลือดที่โรงพยาบาลแมสซาชูเซตต์
ไตของเธอเข้ากับอลิเซียได้

ในไม่ช้า วินเซนต์กับดีนน์และลูกสาวก็ไปพบหมอเลสลี่ ฟาง
“เราหาผู้บริจาคไตได้แล้ว” หมอบอกอลิเซีย “เธอเป็นแม่ผู้ให้กำเนิดหนูเองจ้ะ”

ในที่สุด ดีนน์กับวินเซนต์ก็เล่าให้อลิเซียฟังว่า ต้องไปทำหน้าที่นักสืบอย่างไรบ้าง

อีกสองวันต่อมา รูธนั่งกระสับกระส่ายอยู่ในห้องรอคนไข้ของหมอฟาง เธอและอลิเซียกำลัง
จะได้พบกัน รูธย้อนนึกถึงเหตุการณ์เมื่อหลายปีก่อน ตอนที่ทารกน้อยดึงนิ้วเธอไว้และร้องไห้จ้า
เมื่อเธอทิ้งลูกไว้ข้างหลัง “ลูกยังโกรธเราอยู่หรือเปล่าก็ไม่รู้”

สักครู่หลังจากนั้น รูธประสานสายตากับเด็กสาวหน้าตาสะสวย รูธร้องไห้โฮ พลางพูดเสียงแผ่วว่า
“แม่ไม่รู้จะพูดอะไรดี”

“ไม่เป็นค่ะ” อลิเซียปลอบเสียงอ่อนโยนและกอดเธอไว้

โปรดติดตามตอนที่ ( 6 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ ก.ค. 17, 2023 9:29 pm

หนี้ชีวิต ตอนที่ (six) (ตอนจบ) เรื่องจริงจากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนกรกฎาคม 2540
โดย Michael Bowker + จากเรื่อง “Second Gift of Life” และจากกูเกิ้ล 2565
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ

คืนต่อมา รูธและอลิเซียรับประทานอาหารค่ำกันที่ภัตตาคาร ทั้งสองรู้สึกอึดอัดและเกร็ง
ขณะคุยกันในตอนแรก แต่แล้วอลิเซียก็ถามคำถามที่อยู่ในใจมาตลอด “ทำไมแม่ถึงทิ้งหนูคะ”

รูธเบือนหน้าหนีชั่วขณะก่อนจะหันกลับมาสบตาลูกสาว

“แม่ไม่อยากทำอย่างนั้นเลยจริง ๆ นะลูก” รูธเล่าให้อลิเซียฟังว่าเธอยังเป็นวัยรุ่นตอนตั้งท้อง
และรู้สึกผิดมาตลอดที่ต้องยกอลิเซียให้คนอื่น อลิเซียเอื้อมมือไปจับมือแม่ รูธรู้ในวินาทีนั้นว่า
ลูกสาวให้อภัยซึ่งเป็นสิ่งที่เธอเฝ้าหวังมานานแสนนาน

การผ่าตัดเริ่มเวลา 11.00 น.ของวันที่ 12 มิถุนายน 2529 ที่โรงพยาบาลแมสซาชูเซตต์โดยใช้
คณะแพทย์และพยาบาล 2 ชุด ศัลยแพทย์ตัดกระดูกซี่โครงของรูธออกไป 1 ซี่ แล้วเคลื่อนย้ายไต
ข้างหนึ่งมาเก็บไว้ในน้ำยาแช่เย็นเพื่อรักษาสภาพของอวัยวะ จากนั้นจึงนำไตของรูธไปยังห้องที่อยู่
ติดกันอย่างรวดเร็ว ซึ่งคณะผ่าตัดอีกชุดกรีดช่องท้องของอลิเซียรออยู่แล้ว เพื่อใส่ไตใหม่เข้าไป
ทางด้านหน้า

ห้าชั่วโมงต่อมา เวลา 16.00 น. นายแพทย์หัวหน้าคณะผ่าตัดเดินอย่างรวดเร็วเข้าไปในห้อง
ที่วินเซนต์ ดีนน์ ไมเคิลและเจฟ รออยู่ด้วยความกระวนกระวาย

คุณหมอยิ้มและพูดว่า “ดูเหมือนทั้งสองจะสบายดีครับ”

วันรุ่งขึ้น พยาบาลเข็นเก้าอี้ล้อเข็นเข้ามาในห้องของอลิเซีย รูธนั่งคุดคู้อยู่ที่เก้าอี้ตัวนั้นเพราะยัง
อ่อนเพลียจากฤทธิ์ยาระงับปวด ทว่านัยน์ตาที่เหนื่อยล้ากลับมีประกายเจิดจ้า อลิเซียยื่นมือ
ไปสัมผัสแม่ แล้วพูดว่า

“ขอบคุณที่ให้ชีวิตหนูค่ะ”

หมายเหตุ : อลิเซียแต่งงานกับเจฟหลังจากหายป่วย เธอเป็นภรรยาที่ดีและให้กำเนิดลูกสาวชื่อ
แอชลีย์ แอนน์ (Ashley Ann) ในเดือนมีนาคม 2539 และให้กำเนิดลูกอีก 3 คนหลังจากนั้น
เธอเสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2558 (อายุ 49 ปี) หลังจากได้ต่อสู้อย่างกล้าหาญและ
ยาวนานกับโรคไตและตับ

***********************
จบบริบูรณ์
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ ก.ค. 17, 2023 9:48 pm

“ก็แค่กัญชานิดเดียวเอง” มีทั้งหมด ( 8 ) ตอนจบ


“ก็แค่กัญชานิดเดียวเอง” ตอนที่ ( 1 )จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนเมษายน 2540
โดย Per Ola และ Emily D’aulaire เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

ฮีตเธอร์ บรุกส์ เข้าเรียนมัธยมปลายเมื่อปี 2534 อาจารย์แนะแนวเห็นว่าเธอเป็นเด็กที่มี
อนาคตไกล ผลการเรียนเทอมแรกอยู่ในระดับยอดเยี่ยม เธอยังเข้าร่วมกิจกรรมนอกหลักสูตร
มากมายและเรียนเปียโนคลาสสิกด้วย จึงทำให้บ้านที่ชานเมืองชิคาโกกังวานไปด้วยเสียงเพลง
ของโชแปง (Chopin) และบีโธเฟนเสมอ

เมื่อเข้าเรียนปีแรก ฮีตเธอร์ซึ่งขณะนั้นอายุ 14 ปีเริ่มคบรุ่นพี่บางคน และนั่นคือจุดหักเหของชีวิต
ในงานสังสรรค์ค่ำวันหนึ่ง จัสตินหนุ่มรูปงามรุ่นพี่เธอ 1 ปียื่นบุหรี่สอดไส้กัญชาให้

“ลองสักอึกสิ” จัสตินชักชวน “แล้วเธอจะครึ้มสบายไปเลยเชียว”

ครั้งแรกฮีตเธอร์ปฏิเสธ เธอรู้ว่ายาเสพติดเป็นพิษ แต่จัสตินบอกว่า “ไม่ใช่ยาเสพติดหรอก
แค่พี้กัญชานิดเดียวเอง

ในที่สุดฮีตเธอร์ก็ตัดสินใจ “ตกลง ลองก็ลอง อึกเดียวนะ”

และแล้วพวกเพื่อนๆก็ช่วยกันสอนเธอให้สูดควันอันหอมหวานเข้าปอดและกลั้นไว้จนเธอ
เกือบสำลัก จากนั้นเธอก็สูดเข้าไปอีกหลายอึก ในขณะที่ฮีตเธอร์ค่อยๆระบายควันที่เหลืออยู่
นิดหน่อยออกมานั้น เธอรู้สึกล่องลอยและเคลิบเคลิ้ม “ขออีกทีสิ” เธอพูดพลางเขย่าแขนจัสติน

กัญชา : ประกอบด้วยสารหลอนประสาทกลุ่มคานาบินอยด์ (cannabinoid)ประมาณ 60 ชนิด
สารออกฤทธิ์รุนแรงที่สุด “delta-9-tetrahydrocannabinol” หรือ “ทีเอชซี”(THC)

กัญชามีฤทธิ์รุนแรงมากน้อยตามสายพันธุ์ ในปัจจุบันมีการคัดพันธุ์เป็นพิเศษจนทำให้กัญชามี
ปริมาณ“ทีเอชซี”มากกว่าที่นิยมกันในยุคฮิปปี้ 10-20 เท่าตัว นอกจากสารหลอนประสาทแล้ว
กัญชายังมีสารเคมีซึ่งยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์อีกกว่า 400 ชนิด

ปกติมีเพียงอาหาร ออกซิเจน ฮอร์โมนและน้ำตาลเข้าสู่สมองได้โดยผ่านเยื่อพิเศษของสมองซึ่ง
คอยกรองเอาสารอื่นที่ไม่จำเป็นไม่ให้เข้าสู่อวัยวะสำคัญนี้ได้ อย่างไรก็ตาม สารบางชนิดในเลือด
เช่นยากระตุ้นประสาท รวมทั้ง“ทีเอชซี”และสารคานาบินอยด์ละลายได้ดีในไขมันจึงซึมผ่านผนังเซลล์
ซึ่งประกอบด้วยไขมันของสมองเข้าไปโดยง่าย ราวกับสบู่เปียกน้ำหลุดมือผู้ถือ

โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ ก.ค. 17, 2023 9:51 pm

“ก็แค่กัญชานิดเดียวเอง” ตอนที่ ( 2 )จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนเมษายน 2540
โดย Per Ola และ Emily D’aulaire เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

ผลของการเสพย์กัญชาครั้งแรก

เมื่อฮีตเธอร์สูดควันมหาภัยเข้าปอดครั้งแรกนั้น โมเลกุลของ“ทีเอชซี”จะซึมผ่านเยื่อบุถุงลม
ในปอดเข้าสู่กระแสโลหิตและเข้าสู่สมองของเธอ

ฮีตเธอร์รู้สึกสบายลึกลงไปอีกเมื่ออัดควันอีก 2-3 ครั้ง เธอรู้สึกว่าเวลาเคลื่อนไหวช้าราวกับ
หอยทากกำลังคลาน แสงสีและเสียงรอบตัวสดใสชัดเจนกว่าเดิมมาก “โอ้โห!”เธอคิด”น่าอัศจรรย์จริงๆ!”
ครั้งแรกนี้ เธอเมาอยู่นานราว 4 ชั่วโมง

“ทีเอชซี”และสารคานาบินอยด์อื่นๆจะแทรกซึมไปทั่วร่างกายหลายสัปดาห์ ไม่ว่าจะในตับ ปอด ไต
อัณฑะหรือรังไข่

ปกติร่างกายสามารถขับแอลกอฮอล์และสารซึ่งละลายในน้ำออกจากร่างกายได้ในเวลาไม่นาน
แต่สำหรับคานาบินอยด์ซึ่งละลายในไขมันนั้น กว่ามันจะออกจากเซลล์ไปเข้ากระแสโลหิตอีกครั้ง
แล้วไปที่ไตกลายเป็นปัสสาวะทิ้งออกไปนั้นใช้เวลานานมาก

(at)การสูบครั้งที่สอง

ฮีตเธอร์คอยให้จัสตินชวนไปสังสรรค์อีกด้วยความกระวนกระวาย เธอรู้สึกผูกพันกับกลุ่มนี้มาก
เธอมั่นใจว่าจัสตินจะเอากัญชามาแบ่งให้เธอสูบอีก และก็เป็นไปตามคาด สุดสัปดาห์ต่อมา จัสติน
ให้เธอสูบอีก ฮีตเธอร์รับมาอย่างกระหาย “ทำไมพวกผู้ใหญ่ถึงได้แตกตื่นกับไอ้เจ้านี่นักนะ แค่กัญชา
นิดหน่อยเท่านั้น”ฮีตเธอร์สงสัย แต่ที่แน่ๆคือ ยิ่งสูบมากเท่าไร เธอยิ่งล่องลอย เคลิบเคลิ้มราวกับขึ้น
สวรรค์มากเท่านั้น

การทำงานของสมองหลังการเสพย์

ในสมอง มีการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทอยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้าอ่อนๆซึ่งเซลล์ประสาทสร้างขึ้น
สารชีวเคมีซึ่งเป็นตัวสื่อสารของระบบประสาท (neurotransmitters) จะนำสัญญาณไฟฟ้าดังกล่าวไป
ระหว่างเซลล์จนครบวงจรการตีความออกเป็นภาพ เสียง ความคิด และการสัมผัส
เซลล์ประสาทโดยเฉพาะกลุ่มซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว, การปรับความต้องการน้ำตาล, และกลุ่ม
ที่รับรู้เรื่องมิติของเวลา เสียงและสีนั้น มีตัวรับสัญญาณซึ่งสามารถเชื่อมกับ“ทีเอชซี”ได้โดยตรง “ทีเอชซี”
จึงสามารถบิดเบือนการรับรู้ของสมองส่วนต่างๆเหล่านี้ได้ การรับรู้เวลาจึงเปลี่ยนไป รวมทั้งสัญญาณภาพ
และเสียงที่ตาและหูส่งมานั้นเสมือนจะถูกขยายมากจนผิดปกติ เป็นผลทำให้ผู้เสพย์รู้สึกล่องลอยราวกับ
อยู่บนสวรรค์ แต่นานเข้าสมองจะชาชิน เป็นผลให้ต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเพื่อจะเคลิบเคลิ้มเหมือนเดิมได้

โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ ก.ค. 17, 2023 9:53 pm

“ก็แค่กัญชานิดเดียวเอง” ตอนที่ ( 3 )จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนเมษายน 2540
โดย Per Ola และ Emily D’aulaire เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

ยิ่งเสพย์ยิ่งหลงใหล

ปีการศึกษาแรกผ่านไปโดยที่ฮีตเธอร์สูบกัญชามากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่ใช่เสพย์กัญชาเพื่อเข้ากลุ่ม
เพื่อนอีกแล้ว เธอเสพย์ทุกวันตั้งแต่เช้าก่อนลุกจากที่นอน เสพย์ในรถเพื่อนขณะไปโรงเรียน หรือ
ในห้องน้ำระหว่างชั่วโมงเรียน เธอเมากัญชาได้แม้ขณะร้องเพลงประสานเสียงระหว่างการแสดง
ดนตรีของโรงเรียน

ระยะต่อมาฮีตเธอร์เรียนรู้วิธีใช้”บ้องกัญชา” หรือเครื่องสูดควันผ่านน้ำเมื่อต้องการเสพย์กัญชา
มากขึ้น บ้องกัญชาทำให้ควันมหาภัยที่ผ่านน้ำไปแล้วล่องลอยอยู่ภายในบ้องโดยไม่เล็ดลอดออกไปเลย :
“ไม่มีอะไรจะสูญหายไปได้ภายในบ้องกัญชาแบบนี้” เอเย่นต์ผู้ขายอวดอ้าง

ฮีตเธอร์ไม่กังวลแม้แต่น้อยเรื่องที่เธอต้องการกัญชามากขึ้นเรื่อยๆ “นี่แน่ะเพื่อน ดูสิ ฉันสูบเท่าไร
ก็ไม่เมา” เธออวด และเพื่อนๆก็กรอกหูเธออยู่เสมอว่า “กัญชานั้นสูบเท่าไรก็ไม่ติด เหมือนกับดื่มนมทุกวัน
แล้วไม่ติดอย่างไรอย่างนั้น อยากหยุดเมื่อไรก็หยุดได้!”

ฮีตเธอร์ยิ้มร่าเสมอเมื่อพ่อแม่ถามถึงผลการเรียน “ไม่มีปัญหาค่ะ เกรดสวยทุกวิชา” เนื่องจากเธอ
เป็นเด็กดีเสมอมา แฟรงก์และไดอานาจึงไม่เคยสงสัย ฮีตเธอร์กลายเป็นจอมโกหกหมายเลขหนึ่งไปแล้ว

“แม่คะ เย็นนี้หนูจะแวะบ้านเอมี่หลังเลิกเรียนนะคะ” ฮีตเธอร์ขออนุญาตกลับบ้านค่ำกับแม่ก่อนออกจาก
บ้านตอนเช้า ทั้งที่จริงหลังออกจากโรงเรียนตอนบ่าย เธอกับพรรคพวกพากันขับรถไปซุกอยู่ที่สุดทาง
ลูกรังสายหนึ่ง มั่วสุมสูบกัญชาจนได้ที่ก่อนกลับไปกินอาหารตอนหัวค่ำที่บ้าน

ทุกครั้งที่รวมหัวกันสูบกัญชาทั้งแก๊ง จะมีเครื่องดื่มมึนเมาเช่นเบียร์ หรือ วอดก้าชงกับน้ำแครนเบอรี่
(cranberry)มาดื่มด้วยกันด้วย แอลกอฮอล์ทำให้ฮีตเธอร์ครึ้มมากขึ้น ออกจะเป็นเรื่องน่าประหลาดใจ
อยู่บ้างที่เธอสามารถดื่มได้มากโดยที่เนื้อตัวไม่รู้สึกปั่นป่วนเลย

โปรดติดตามตอนที่ ( 4 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ ก.ค. 17, 2023 9:55 pm

“ก็แค่กัญชานิดเดียวเอง”ตอนที่ ( 4 ) จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนเมษายน 2540
โดย Per Ola และ Emily D’aulaire เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

ผลของการเสพย์กัญชาร่วมกับการดื่มผสมอัลกอฮอล์

“ทีเอชซี”กับแอลกอฮอล์เสริมฤทธิ์กันเป็นอย่างดี กัญชาเบี่ยงเบนกระบวนการรับข้อมูลของสมอง
ในขณะที่แอลกอฮอล์เข้าไปเสริมฤทธิ์”กาบา”(Gaba)ซึ่งเป็นสารเคมีในระบบประสาท เมื่อ “กาบา”
จับกับเซลล์ประสาท (neurons)จะทำให้ประสาทสั่งงานช้าลง ทำให้เซื่องซึม

“ทีเอชซี”สามารถระงับความรู้สึกคลื่นไส้และอาการอาเจียนได้ดี อาเจียนเป็นกลไกปกติของร่างกาย
ในการขับสารพิษ แต่เมื่อกัญชาระงับอาเจียนไว้ แอลกอฮอล์จึงอาจค้างอยู่ในร่างกายมากจนถึงขีด
อันตรายได้ นานๆครั้งกัญชาจะทำให้ระดับแอลกอฮอล์เป็นพิษมากเกินพิกัดจนอวัยวะภายใน
เสื่อมสลายไป บางรายถึงแก่ชีวิต

ฮีตเธอร์คิดว่าเธอเก่งมากเพราะสามารถดื่มของมึนเมาพร้อมสูบกัญชาได้ ตลอดเวลาดังกล่าว
ร่างกายของเธอกำลังอยู่ในสภาวะเดียวกับสายกีตาร์ที่ขึงตึงเกินกำลังและอาจจะขาดผึงได้ทุกเมื่อ
ปกติ ทันทีที่มนุษย์ได้รับบาดเจ็บ ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (endorphin)ซึ่งเป็นตัวเชื่อมสัญญาณ
ประสาทไปจับกับตัวรับสัญญาณสารจำพวกฝิ่นในสมอง เป็นผลให้คลายอาการเจ็บปวดได้ชั่วคราว
แต่กัญชาระงับความเจ็บปวดโดยกระบวนการต่างออกไป

โปรดติดตามตอนที่ ( 5 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ ก.ค. 17, 2023 9:58 pm

“ก็แค่กัญชานิดเดียวเอง” ตอนที่ ( 5 )จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนเมษายน 2540
โดย Per Ola และ Emily D’aulaire เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

พฤติกรรมเปลี่ยนไป
เรื่องการเรียน

ฮีตเธอร์ขาดเรียนบ่อยจนผลการเรียนตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว ระยะแรก เธอหลอกพ่อแม่ได้โ
ดยการแอบซุกจดหมายแจ้งผลการเรียนเอาไว้ จากนั้นก็ใช้น้ำยาลบคำผิดและเครื่องถ่ายเอกสาร
แก้ผลการเรียนลงไปใหม่ จนเกรด ‘D’และ ‘F’กลายเป็น ‘A’และ ‘B’ได้แนบเนียนราวกับนักปลอมแปลง
เอกสารมืออาชีพ ปิดท้ายด้วยความเห็นของครูเช่น “ฮีตเธอร์เป็นขวัญใจของห้อง” เธอปลอมลายมือ
ครูได้เหมือนมาก

ปลายปีแรกนั้นเอง คะแนนเกรดเฉลี่ยของเธอตกจาก 4 มาเป็น 1.2 และสถิติการขาดเรียนก็
เพิ่มขึ้นไปถึง 39 ครั้ง

ขณะเดียวกัน ฮีตเธอร์งดกิจกรรมนอกหลักสูตรเกือบทั้งหมด อ้างว่าเธออยากมีเวลาว่างเป็นส่วนตัว
พ่อแม่เข้าใจว่าเรื่องนี้เป็นพฤติกรรมแปรปรวนเล็กน้อยของเด็กวัยรุ่น ฮีตเธอร์ไม่สนใจอะไรอีกนอกจาก
เฝ้ารอเวลาจะได้ล่องลอยเมามายจากการสูบกัญชาครั้งต่อไป เธอเขียนลงในบันทึกของเธอว่า “กัญชา
เข้ามาอย่างเงียบเชียบ แต่พิษมันร้ายแรงราวกับทะเลเรียบซึ่งกำลังท่วมตัวฉันให้จมน้ำ”

จากเด็กสาวสุขภาพดีเยี่ยม ฮีตเธอร์กลับเป็นคนป่วยกระเสาะกระแสะ มือเท้าเย็นตลอดเวลา
เมื่อตื่นขึ้นมาไอกลางดึก เธอต้องเอาหมอนปิดหน้าไว้ไม่ให้เสียงไอเล็ดลอดเข้าหูพ่อแม่ ประจำเดือน
ของเธอเริ่มไม่สม่ำเสมอ พ่อแม่เริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้น แต่เมื่อพยายามสอบถามแล้ว
ก็ไม่ได้เรื่องอะไร จึงได้แต่เป็นกังวล

โปรดติดตามตอนที่ ( 6 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ ก.ค. 17, 2023 10:01 pm

“ก็แค่กัญชานิดเดียวเอง” ตอนที่ ( 6 )จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนเมษายน 2540
<โดย Per Ola และ Emily D’aulaire เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

ความทรงจำเสื่อม

ผลการวิจัยพบว่า ลึกลงไปในสมองนั้น “ทีเอชซี”อาจกดเซลล์ประสาทบริเวณฮิบโปแคมปัส
(hippocampus)ซึ่งทำหน้าที่ประมวลความทรงจำระยะสั้นก่อนส่งไปเก็บไว้ยังส่วนอื่นของสมองต่อไป
ดังนั้น การสูบกัญชาจึงทำให้ความจำเหตุการณ์ในปัจจุบันหรือความทรงจำระยะสั้นเสื่อม
ควันกัญชามีน้ำมันดิน (tar) มากกว่าบุหรี่ 3 เท่า น้ำมันดินเป็นสารระคายเคืองซึ่งเมื่อใช้สม่ำเสมอจะ
ทำให้หลอดเลือดขยายตัว คัดจมูก ระคายเคืองตาจนตาแดง และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

สุดท้ายกัญชาจะไปกระทบกระเทือนต่อมปิตูอิตารี (pituitary)ซึ่งควบคุมฮอร์โมนเพศ ทำให้
ผู้ชายมีตัวอสุจิลดลง ส่วนผู้หญิงก็จะไม่ตกไข่

นักเสพย์ตัวจริง

กว่าจะถึงปีสอง ฮีตเธอร์ก็รู้หลบเป็นปีก เธอมีวิธีสูบกัญชาในห้องโดยไม่ให้มีกลิ่น เธอนำไส้ม้วน
กระดาษทิชชูขนาดใหญ่ที่ใช้หมดแล้วมาทำเป็นท่อดูดกลิ่นโดยใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มเคลือบไว้ด้านใน
เมื่อสูบกัญชา เธอพ่นควันเข้าไปในท่อนั้น เธอพกยาน้ำหยอดตาติดตัวเพื่อปกปิดอาการตาแดง
ก่อนเข้าบ้าน เธอใช้น้ำยาบ้วนปากหรือเคี้ยวหมากฝรั่งเพื่อดับกลิ่น ส่วนใหญ่เธอจะทิ้งเสื้อซึ่งมีกลิ่น
ควันเอาไว้นอกบ้าน และเปลี่ยนมาสวมเสื้อตัวใหม่ซึ่งสะอาดเอี่ยมก่อนเข้าบ้านเสมอ
หลังจากใช้ปริมาณเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ในที่สุดเธอก็ต้องการสิ่งที่แรงกว่ากัญชาจนได้ ด้วยคำแนะนำ
จากเพื่อนเช่นเคย เธอลองใช้สารหลอนประสาทอื่นๆ เช่น แอลเอสดี (LSD), mescaline, โคเคนชนิด
สูดเข้าจมูก และแอมเฟตามีน (ยาบ้า) อย่างไรก็ตาม ฮีตเธอร์ยังคงโปรดปรานกัญชาเป็นอันดับหนึ่ง

โปรดติดตามตอนที่ ( 7 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ ก.ค. 17, 2023 10:19 pm

“ก็แค่กัญชานิดเดียวเอง” ตอนที่ ( 7 )จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนเมษายน 2540
โดย Per Ola และ Emily D’aulaire เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

ภัยมาถึงตัวจนได้

ในคืนอันแสนสบายปลายปีที่สอง คืนหนึ่งฮีตเธอร์เข้าร่วมงานสังสรรค์ และเช่นเคย
ผู้ปกครองไม่อยู่บ้าน เครื่องดองของมึนเมาและยาเสพติดมีเต็มไปหมด ที่จริงเธอไม่ควรมาเพราะ
พ่อแม่เริ่มระแคะระคายพฤติกรรมของเธอแล้ว ทั้งสองทราบเรื่องลูกสาวหนีเรียนและพบว่าถูกลูก
หลอกเรื่องผลการเรียน จากการพบปะกับนักพฤติกรรมบำบัดของโรงเรียน พ่อแม่สงสัยว่าลูกจ
ะติดยาเสพติดและเริ่มจำกัดบริเวณเธอแล้ว แต่ในคืนนั้นทั้งสองไม่อยู่บ้าน ฮีตเธอร์คาดว่าเธอจะ
หลบไปร่วมงานและกลับถึงบ้านได้ก่อนพ่อแม่กลับ

เวลาประมาณ 22.00 น. วัยรุ่นรวม 5 คนหนีออกจากงานกลับบ้าน ฮีตเธอร์กระโดดไป
นั่งเบาะหลัง ไรอันคนขับเมาทั้งสุราและกัญชา เมื่อถนนโล่ง เขาเหยียบคันเร่งเต็มที่ ฮีตเธอร์เหลือบ
ดูมาตรวัดความเร็วและเห็นว่าเข็มไมล์ผ่านหลัก 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงไปแล้ว

อีกไม่ถึงอึดใจต่อมา รถเสียหลักชนรั้วกั้นไหล่ทาง กลิ้งลงเนินไปหยุดเอาล้อชี้ฟ้า น่าประหลาด
ที่ไม่มีใครเสียชีวิต ไรอันหน้าทิ่มคาพวงมาลัย ทำให้เสียงแตรโหยหวนดังลั่น บางคนมีเลือดอาบใบหน้า
บ้างก็กระดูกแขนขาหักออกนอกเนื้อ ฮีตเธอร์ไม่รู้สึกเจ็บมากเพราะมีฤทธิ์กัญชา และโคเคนช่วยกลบ
ความเจ็บปวด เธอช่วยดึงร่างเพื่อนคนหนึ่งออกมาจากซากรถด้วย

ฮีตเธอร์ได้รับบาดเจ็บร้ายแรงบริเวณหลังและคอ เธอต้องทำกายภาพบำบัดอยู่เป็นปี
“หนูไม่รู้ว่าไรอันเมา” ฮีตเธอร์โกหกผู้ปกครองเช่นเคย ทั้งสองให้อภัยที่เธอหนีออกมาร่วมงานสังสรรค์
ด้วยเห็นว่าเธอเพิ่งรอดจากอุบัติเหตุรุนแรงมา พ่อแม่เข้มงวดกับความประพฤติของฮีตเธอร์มากขึ้น
แต่ระหว่างที่พักฟื้นอยู่ในบ้านนั้นเอง ฮีตเธอร์กก็ยังคงแอบสูบกัญชาอีก

ก่อนหน้านั้น ฮีตเธอร์ควงคู่อยู่กับชาลีซึ่งทั้งหล่อ เป็นนักกีฬาและเป็นขวัญใจสาวๆทั้งโรงเรียน
ชาลีติดกัญชาและโคเคนงอมแงมเช่นกัน

ค่ำวันหนึ่งราว 3 เดือนหลังจากเกิดเรื่องครั้งแรก ชาลีหอบโคเคน 8 ก้อน (1ก้อนหนัก 3-4 กรัม)
ย่องเข้าไปในบ้านของฮีตเธอร์ขณะที่พ่อแม่ของเธอไปรับประทานอาหารค่ำนอกบ้าน หลังจากนั้น
ทั้งสองใช้หลอดกาแฟสูดโคเคนเข้าจมูกอย่างรื่นรมย์

หลังจากสูดโคเคนมากเข้า หัวใจของฮีตเธอร์ก็เริ่มเต้นรัว เธอไม่เคยมีอาการเช่นนี้มาก่อน
เธอจึงอัดกัญชาเข้าไปอีก 2-3 ทีเพื่อจะกล่อมตัวเองให้หายจากอาการใจสั่น ผลกลับตรงกันข้าม
อาการกลับหนักกว่าเดิม เมื่อก้มลงดู เธอยิ่งตกใจที่เห็นเสื้อเชิ้ตที่สวมอยู่กระเพื่อมอย่างรุนแรงตาม
การเต้นของหัวใจ ฮีตเธอร์บอกให้ชาลีไปตามคนมาช่วย

ชาลีโทรเรียก 191 “ช่วยด้วย” เขาตะโกนกรอกเข้าโทรศัพท์ แล้วก็ไม่ได้ช่วยอะไรอีกเลย
“ผมต้องหลบไปก่อนที่ตำรวจจะมานะ” ว่าแล้วก็หายตัวไปทางประตูหลังบ้าน

ระหว่างทางไปโรงพยาบาล หัวใจของฮีตเธอร์เต้นเร็วถึง 196 ครั้งต่อนาที

“พูดหน่อยซิ” บุรุษพยาบาลกระตุ้น “เราไม่อยากเห็นเธอตายไปต่อหน้า”

โปรดติดตามตอนที่ ( 8 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ ก.ค. 17, 2023 10:22 pm

“ก็แค่กัญชานิดเดียวเอง” ตอนที่ ( 8 )(ตอนจบ) จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนเมษายน 2540
โดย Per Ola และ Emily D’aulaire เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

(@)ภัยร้ายของการเสพย์กัญชาคู่กับโคเคน

กัญชามีผลร้ายต่อหัวใจ 2 ประการคือ มันกระตุ้นหัวใจให้ใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น พร้อมกับลด
ปริมาณออกซิเจนที่มาเลี้ยงให้น้อยลง แค่อัดกัญชาไป 10 ทีอัตราการเต้นของหัวใจก็เพิ่มจาก 70 ครั้ง
ต่อนาทีเป็น 100 หรือมากกว่านั้น ขณะที่หัวใจใช้ออกซิเจนเพิ่ม กัญชากลับทำให้ระดับคาร์บอนมอนอกไซด์
ในเลือดสูงขึ้นเป็นผลให้เลือดนำออกซิเจนได้น้อยลง

ในขณะเดียวกัน โคเคนทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ บีบตัวไม่ดี และทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบตัวลง
ยาเสพติดทั้งสองนี้เสริมฤทธิ์กันกระตุ้นหัวใจของฮีตเธอร์จนเต้นเร็วเกินพิกัดซึ่งอันตรายมาก

ได้ลูกคืน

เมื่อไดอานากลับมาพบลูกสาวเข้าห้องเวชบำบัดวิกฤตหรือ”ไอซียู”เพราะเสพย์โคเคนเกินขนาด
เธอปล่อยโฮออกมาทันที ทั้งพ่อแม่และฮีตเธอร์ควรจะตื่นจากฝันนานแล้ว หลังจากลูกสาวดีขึ้น
แฟรงก์พูดกับลูกว่า “เกือบไปแล้วนะ ฮีตเธอร์ เรายังรักลูกเหมือนเดิม แต่จากนี้ไปจะจับตามองลูก
ทุกฝีก้าวไม่ให้กระดิกไปไหนเลยเชียว”

ทุกเช้า แฟรงก์จะคอยจนกว่าฮีตเธอร์ขึ้นรถโรงเรียนจึงไปทำงาน ทุกเย็น ไม่พ่อก็แม่จะคอยเ
ธอเสมอ ไม่มีการนั่งรถเพื่อนหรือร่วมงานสังสรรค์อีกต่อไป

ระหว่างฤดูร้อนต่อมานั้นเอง ทั้งสองพาฮีตเธอร์ย้ายไปอยู่ที่หมู่บ้านชายทะเล “ลา จอลลา”
(La Jolla) ซึ่งอยู่ในเมืองซาน ดีเอโก เพื่อแยกลูกให้พ้นจากเพื่อนพาลทั้งหลาย

ฮีตเธอร์ “ลงแดง”อยู่ถึง 4 สัปดาห์เต็ม เธอเหงื่อแตก ตัวสั่น กระวนกระวาย ในขณะที่ร่างกาย
ของเธอปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติ ระหว่างนั้นเธอกินไม่ได้นอนไม่หลับ สมองที่ซึมเซาเริ่มปรับตัวกลับมา
อย่างค่อยเป็นค่อยไป ฮีตเธอร์จำช่วงเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลได้แม่น “ฉันเกือบจะตายไปแล้ว แต่ไม่เห็น
พวกเพื่อนโผล่หน้ามาเยี่ยมสักคนเลย”

เมื่อออกจากโรงพยาบาลกลับถึงบ้านในชิคาโก ฮีตเธอร์ตั้งใจเด็ดเดี่ยวที่จะกลับเนื้อกลับตัว
เธอลงเรียนวิชาซึ่งเธอไม่ผ่านช่วงปีสองใหม่ เสียงเปียโนกลับมากังวานในบ้านอีกครั้งหลังจากเงียบไปนาน

ปีสุดท้ายในโรงเรียน ฮีตเธอร์มีโอกาสเดินทางไปยุโรปร่วมกับวงประสานเสียงของโรงเรียน
ในวิหารศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่ง เสียงโซปราโนของเธอประสานกับเสียงของเพื่อนอย่างร่าเริง เธอยังจำการ
ประสานเสียงครั้งที่เธอเมากัญชาขึ้นไปร้องได้ไม่รู้ลืม

“สามปีเท่านั้นเอง ทำไมตัวฉันถึงเปลี่ยนไปได้มากขนาดนี้นะ” ฮีตเธอร์สะท้อนใจ

ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน บาดแผลในใจของฮีตเธอร์เรื่องที่ไปมั่วสุมอยู่กับพวกปีศาจร้าย
จนเกือบถึงแก่ชีวิตนั้นยากจะลบเลือนไปได้ เธอยังคงปวดหลังไม่หายเนื่องจากอุบัติเหตุคราวนั้น
และบางวันฮีตเธอร์ยังเห็นภาพซ้อนวิ่งตามวัตถุที่เคลื่อนไหว ผลพวงจากยาหลอนประสาทในอดีตยัง
ตามมาหลอกหลอนเธอจนทุกวันนี้

แต่ไฟในใจของฮีตเธอร์ยังไม่มอดไป ในปี 2538 เธอเข้ามหาวิทยาลัย ทำคะแนนได้สูงเช่นเคย
ตั้งใจจะเป็นนักกฎหมายเมื่อเรียนจบ

“เฉียดไปนิดเดียว” เธอเล่า “ฉันเกือบจะฝันสลายเพราะควันอันยียวนของกัญชาอึกเดียวเท่านั้นเอง”

****************
จบบริบูรณ์
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. ส.ค. 03, 2023 8:32 pm

☕️ได้เวลาปิด "ร้านกาแฟ" มีทั้งหมด 7 ตอนจบ

☕️ได้เวลาปิด "ร้านกาแฟ" ตอนที่ ( 1 ))จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนกรกฎาคม 2540
โดย Melchior Meyer และจากวิกิปีเดีย 2565 เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

ร้านกาแฟในอัมสเตอร์ดัมคืนวันพฤหัสบดีแน่นเอี้ยดไปด้วยหนุ่มสาวหลายชาติหลายภาษา
เช่นเคย ลูกค้าที่เพิ่งเข้าร้านพยายามเบียดไปจนถึงเคาน์เตอร์เพื่อซื้อยางกัญชาที่ยังไม่ได้หั่นและ
กัญชาใส่ถุงพลาสติกเล็ก ๆ ส่วนลูกค้าคนอื่นนั่งเมายาอยู่ที่โต๊ะ นัยน์ตาเหม่อลอย

ท่ามกลางเสียงดนตรีแผดลั่น ผมเข้าไปตีสนิทสนทนากับนักเรียนมัธยมปลายวัย 16 ปี
จากหมู่บ้านฮอร์น (Horn) ที่อยู่ห่างจากร้านกาแฟนี้ไปตะวันออกเฉียงใต้ราว 20 กิโลเมตร
หนุ่มน้อยควักบุหรี่มวนกัญชาที่เพิ่งซื้อขึ้นมาสูบ

“เดือนนี้ผมมาที่นี่ 2 หนแล้ว” เขาเล่า “พ่อแม่คิดว่าผมไปทำการบ้านที่บ้านเพื่อน ที่นี่ไม่เคยมีใคร
สนใจเรื่องอายุหรอก”

“ร้านกาแฟ” ที่ขึ้นชื่ออีกร้านดูเท่ทันสมัยตอนที่ผมแวะเข้าไป นักศึกษาแฟชั่นจากมิลาน 15 คน.
อยู่ในกลุ่มลูกค้าที่อัดทะนานกันแน่นร้าน หนุ่มสาวกลุ่มนี้เพิ่งไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์กัญชา ตอนนี้
กำลังส่งต่อมวนกัญชาและแบ่งกันสูบอย่างสนุกสนาน

สิ่งที่น่าประหลาดใจก็คือ ดูเหมือนจะไม่มีใครแสดงอาการตกใจใด ๆ เลยกับภาพที่เห็น
อัมสเตอร์ดัม เมืองหลวงแห่งการค้าขายของประเทศเนเธอร์แลนด์สะท้อนให้เห็นถึงผลพวง
ของนโยบายเปิดเสรียาเสพติด กลุ่มคนอายุระหว่าง 15 – 45 ปีที่เดินจากสถานีรถไฟใหญ่ไปยัง
ใจกลางเมือง มักจะโดนพ่อค้ายาเสพติดมากระซิบบอกขายสินค้า ใครที่คลาดกับพ่อค้ายาบนถนน
ก็สามารถแวะไปที่ “ร้านกาแฟ” ซึ่งมีอยู่ดาษดื่นกว่า 350 แห่งทั่วเมือง แต่ละปีร้านเหล่านี้ดึงดูด
หนุ่มสาวนับหมื่นจากทั่วประเทศและในยุโรป
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า กัญชาทั้งในรูปแบบของยางและใบกัญชา กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม
ร่วมสมัยของชาวดัตช์ไปแล้ว สถิติของทางราชการรายงานว่า พลเมืองเนเธอร์แลนด์ 4.6 % หรือ
ประมาณ 675,000 คนใช้ยาเสพติดชนิดไม่ร้ายแรง (soft drugs) อย่างน้อยเดือนละครั้งหรือมาก
กว่านั้น ร้านกาแฟซึ่งเป็นหน้าด่านการค้ายาเสพติดชนิดไม่ร้ายแรงผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด
จาก 200 – 300 ร้านในปี 2528 ขึ้นมาถึง 1,200 ร้านทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์ในขณะที่เขียนเรื่องนี้
จากที่เดิมมีกระจุกอยู่เฉพาะในย่านใจกลางเมืองใหญ่ ตอนนี้แพร่ไปยังเมืองเล็กเมืองน้อยและ
กระจายไปทั่วทุกหัวระแหงในประเทศ

โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. ส.ค. 03, 2023 8:37 pm

☕️ได้เวลาปิด "ร้านกาแฟ" ตอนที่ ( 2 )จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนกรกฎาคม 2540
โดย Melchior Meyer และจากวิกิปีเดีย 2565 เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

นโยบายอดกลั้นกับยาเสพติดชนิดไม่ร้ายแรงของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ผ่านมาตั้งอยู่
บนสมมติฐานหลายประการ เช่น

(1) จะช่วยป้องกันวัยรุ่นจากการใช้ยาเสพติดชนิดร้ายแรง (hard drugs),

(2) การสูบกัญชาโดยพื้นฐานแล้วไม่อันตราย,

(3) คนที่ใช้ยามีไม่มากนัก และชาวดัตช์สนับสนุนนโยบายนี้ เป็นต้น

แต่กว่า 20 ปีของการใช้นโยบายอดกลั้นกับยาเสพติดชนิดไม่ร้ายแรงแสดงให้เห็นว่า
สมมติฐานที่กล่าวมานี้ผิดพลาด เช่น ที่คิดว่าจำนวนคนเสพย์มีไม่มากนั้น ตัวเลข 4.6 %ของ
ประชากรที่ใช้ยาอาจจะดูน้อย แต่ถ้าดูกันให้ละเอียดจะเห็นว่า กลุ่มเด็กและวัยรุ่นอายุ 12 – 19 ปี.
ซึ่งเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงที่สุดในเรื่องนี้ ตัวเลขขึ้นไปถึง 6.5 % หรือเกือบ 100,000 คนเป็นผู้เสพย์ยา
ทั้งนี้ตามรายงานการประเมินของสถาบันสุราและยาเสพติดของเนเธอร์แลนด์
ที่น่าวิตกยิ่งกว่านั้นคือแนวโน้มในอนาคต มูลนิธิวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านสุราและยาเสพติดของประเทศ
สำรวจเด็กและวัยรุ่นอายุระหว่าง 10 – 18 ปีจำนวน 25,000 คนเมื่อปี 2527 พบว่า 2.3 % เสพยา
ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ในปี 2535 ตัวเลขขึ้นไปเป็น 6.5 % เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยของสถาบันสุราและ
ยาเสพติดฯ มองว่า “จำนวนร้านกาแฟที่เพิ่มขึ้นมากอาจเป็นสาเหตุหนึ่ง ผมคิดว่าเด็กสมัยนี้แทบไม่
สนใจอันตรายของยาเสพติดชนิดไม่ร้ายแรง”

ผู้อำนวยการศูนย์ฟื้นฟูผู้ติดยาในเมืองดอร์เดรชท์ (Dordrecht)ทางใต้ของประเทศบอกว่า
ที่แย่ก็คือผู้เสพย์ยาเสพติดชนิดไม่ร้ายแรงอาจกลายเป็นผู้ใช้ยาเสพติดชนิดร้ายแรงในภายหลัง

“ในศูนย์ของเรา 80 – 90 % ของผู้ใช้ยาเสพติดชนิดร้ายแรงเคยมีประวัติเสพย์ยาชนิดไม่ร้ายแรงมาก่อน”

โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. ส.ค. 03, 2023 8:41 pm

☕️ได้เวลาปิด "ร้านกาแฟ" ตอนที่ ( 3 )จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนกรกฎาคม 2540
โดย Melchior Meyer และจากวิกิปีเดีย 2565 เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

สำหรับประเด็นที่ว่า ประชาชนให้การสนับสนุนนโยบายนี้ “สรรสาระฉบับภาษาดัตช์”
ทำการสำรวจชาวเนเธอร์แลนด์อายุ 15 ปีขึ้นไปพบว่า 2 ใน 3 เห็นว่ายาเสพติดชนิดไม่ร้ายแรง
เป็นอันตรายต่อสังคม โดย 70 % ของผู้ตอบแบบสอบถามต้องการให้รัฐบาลจัดการเด็ดขาดกับ
ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดไม่ร้ายแรง และยืนกรานอยากให้สั่งปิดร้านกาแฟ ขณะที่สาธารณชนชาวดัตช์
และเพื่อนบ้านในยุโรปวิจารณ์นโยบายยาเสพติดของเนเธอร์แลนด์อย่างหนัก แต่รัฐบาลยุคต่อ ๆ
มายังคงปฏิเสธการใช้มาตรการเข้มงวดในเรื่องนี้

นโยบายเปิดเสรียาเสพติดของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ย้อนหลังไปในปี 2515 เมื่อคณะทำงาน
ด้านวิทยาศาสตร์ที่รัฐให้เงินสนับสนุนสรุปออกมาว่า “การใช้ยาเสพติดร่วมกัน (สูบกัญชา) มีอัตรา
เสี่ยงอยู่บ้าง แต่ก็น่าจะอยู่ในข่ายที่ยอมรับได้”

ปี 2518 รัฐสภาเห็นด้วยกับข้อสรุปนี้ แต่ยังไม่พร้อมที่จะเปิดเสรีเต็มที่เพราะจะขัดกับมติสหประชาชาติ
ในการกำจัดการใช้ยาเสพติด รัฐสภาจึงทำเพียงถอนยาเสพติดชนิดไม่ร้ายแรงออกจากพระราชบัญญัติฝิ่น
อย่างไรก็ตาม มีการกำหนดความแตกต่างระหว่างยาเสพติดชนิดไม่ร้ายแรงและชนิดร้ายแรง โดยไม่
ลงโทษผู้ปลูกหรือครอบครองกัญชาในปริมาณน้อย แต่หันไปเน้นการปราบปรามเครือข่ายการค้า
ยาเสพติดขนาดใหญ่และการใช้ยาเสพติดประเภทร้ายแรง

จากนั้นในปี 2519 อัยการสูงสุดประกาศเพิ่มเติมโดยอนุญาตให้ร้านกาแฟดำเนินธุรกิจด้านนี้ได้
ตราบใดที่ไม่โฆษณาหรือก่อความเดือดร้อน ไม่ขายยางกัญชาในปริมาณเกิน 30 กรัมต่อครั้ง ไม่ขายยา
เสพติดประเภทร้ายแรงและไม่ขายยาเสพติดใด ๆ ให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ในทางกฎหมาย กฎปฏิบัติ
แบบนี้เรียกว่า “นโยบายอดกลั้น”

ปี 2538 กระทรวงสาธารณสุขและยุติธรรมแก้ไขกฎหมายดังกล่าวให้รัดกุมเข้มงวดขึ้นคือ ห้ามร้านกาแฟ
ขายกัญชาให้ลูกค้าเกิน 5 กรัมต่อคน เพื่อกันไม่ให้ชาวต่างชาติมาขนซื้อไปขายต่อ นอกจากนี้ถ้าพบว่า
ร้านกาแฟใดก่อความเดือดร้อนจะถูกสั่งปิด ทั้งนี้เพื่อพยายามลดจำนวนร้านลง
แต่ในทางปฏิบัติ ผู้ชนะไม่ใช่กฎหมายแต่กลับเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่เคยชินกันมา ถึงแม้จะต้องเผชิญ
กับเสียงต่อต้านมากมาย หัวหน้าผู้พิพากษาเทศบาลเมืองคัมเปิน (Kampen) ก็กล้าพอที่จะสั่งปิดร้าน
กาแฟ 2 แห่งโทษฐานก่อความเดือดร้อน แต่ผู้พิพากษาท้องถิ่นกลับตัดสินให้ร้านหนึ่งเปิดใหม่ได้เพราะ
เจ้าของแก้ข้อกล่าวหาได้หมด

โปรดติดตามตอนที่ ( 4 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. ส.ค. 03, 2023 8:44 pm

☕️ได้เวลาปิด "ร้านกาแฟ" ตอนที่ ( 4 )จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนกรกฎาคม 2540
โดย Melchior Meyer และจากวิกิปีเดีย 2565 เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

ขณะที่เทศบาลท้องถิ่นและศาลมัวแต่ทะเลาะกัน จำนวนผู้เสพย์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มาร์คเป็น
ผู้เสพย์คนหนึ่งที่เริ่มสูบกัญชาครั้งแรกเมื่ออายุ 15 ปี ตอนเรียนมัธยมปลายที่เมืองชนบทใกล้เมือง
อาร์นแฮม (Arnhem) เขาใฝ่ฝันจะเรียนต่อด้านเทววิทยา แต่ไป ๆ มา ๆ กลับจับกลุ่มกับเพื่อนนักเรียน
ที่สูบกัญชาซึ่งซื้อมาจากร้านกาแฟแถวนั้น ในไม่ช้า เขาก็ไปโรงเรียนด้วยอาการเมายาและเริ่มขโมย
เงินพ่อแม่เพื่อซื้อกัญชามาสูบมากขึ้น การเรียนของเขาเริ่มตกต่ำ หมดโอกาสเรียนต่อมหาวิทยาลัย
เพื่อนอีกคนหนึ่งเคยให้เขาลองเฮโรอีนที่ซื้อมาจากร้านกาแฟเหมือนกัน เขาก็ลอง แต่ส่วนใหญ่ยัง
ใช้ยาเสพติดชนิดไม่ร้ายแรงเป็นหลัก

จนถึงวันที่เขียนเรื่องนี้ หลังจากที่มาร์คเข้ารับการบำบัดที่ศูนย์ฟื้นฟูผู้ติดยาถึง 2 ปี เขาเลิกยา
ได้แล้วและบอกว่า “กัญชาเป็นยาเสพย์ติดทางจิตใจที่พรากชีวิตวัยเยาว์ของผมไป”

ผู้อำนวยการศูนย์ฟื้นฟูผู้ติดยาฯ เห็นเหยื่ออย่างมาร์คทุกวัน “เพราะร้านกาแฟมีจำนวนมากมาย ทำให้
เยาวชนซื้อหายาเสพติดชนิดไม่ร้ายแรงได้ง่ายดายจนน่าเกลียด” เขาบอก “ร้านกาแฟพวกนี้มีการแข่งขัน
กันสูง ราคายาเลยยิ่งถูก แถมวิธีการปลูกกัญชาที่พัฒนาขึ้นทำให้ยาเสพติดประเภทนี้มีฤทธิ์รุนแรงกว่าเดิม
การเลื่อนขั้นไปเสพย์ยาประเภทร้ายแรงยิ่งทำได้ง่ายขึ้น”

เอสเตอร์ที่ปรึกษาด้านป้องกันยาเสพติดซึ่งทำงานกับโรงเรียนระดับมัธยมปลายทั่วประเทศ มองเห็นผล
ที่จะเกิดตามมาจากการหาซื้อยาได้ง่ายขึ้นและฤทธิ์ของยาที่แรงขึ้น “ในหมู่นักเรียนมัธยมปลาย การสูบ
บุหรี่ยัดไส้กัญชาเกือบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว ครูเองก็บ่นมากขึ้นว่า นักเรียน
สมัยนี้นับวันยิ่งเข้าไม่ถึง กว่านักเรียนพวกนี้จะมาขอความช่วยเหลือก็ติดยาประเภทไม่ร้ายแรงกันแล้ว
พวกนี้จะอยู่ไม่ได้ถ้าไม่เมายา”

ระยะนี้เริ่มมีแรงผลักดันให้เปลี่ยนแปลงจากชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งมีความกล้า
พอที่จะสั่งปิดร้านกาแฟและทำให้ชุมชนของพวกเขาปลอดยา

โปรดติดตามตอนที่ ( 5 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. ส.ค. 03, 2023 8:48 pm

☕️ได้เวลาปิด "ร้านกาแฟ" ตอนที่ ( 5 )จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนกรกฎาคม 2540
โดย Melchior Meyer และจากวิกิปีเดีย 2565 เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

ในช่วงปี 2537 มีร้านกาแฟเปิด 4 แห่งในเฮิล์ท (Hulst) ซึ่งเป็นเมืองเก่าสวยแปลกตา
ในยุคกลางและตั้งอยู่ติดชายแดนเนเธอแลนด์กับเบลเยี่ยม ร้านทั้งสี่นี้มุ่งขายลูกค้าต่างชาติ
เป็นหลัก

ภายในเวลาแค่ 2-3 สัปดาห์ วัยรุ่นเบลเยี่ยมและฝรั่งเศสทะลักกันเข้าไปที่เมืองเฮิล์ททุกวัน
เพื่อซื้อยางกัญชาและต้นกัญชาไว้ใช้รวมทั้งเก็บตุน ใจกลางเมืองจะมีคนเมากัญชาเดินตุหรัดตุเหร่
ก่อกวนผู้คนที่เดินผ่านไปมาและปัสสวะเรี่ยราดในที่สาธารณะ ร้านขายของทั่วไปยอดขายตกฮวบฮาบ
พ่อแม่ผู้ปกครองไม่กล้าปล่อยให้ลูกหลานเดินไปโรงเรียนตามลำพัง

อังตวน หัวหน้าผู้พิพากษาเทศบาลเมืองเฮิล์สโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ หลังจากผลสำรวจของสมาคม
ผู้อยู่อาศัยของเมืองเฮิล์ทระบุว่า ประชากรส่วนใหญ่ต้องการให้ย้ายร้านกาแฟออกไปจากเมือง อังตวน
ยื่นเรื่องฟ้องศาลในข้อหาว่า ลูกค้าที่มาซื้อยาสร้างความเดือดร้อนและทำให้ร้านค้าต้องปิดกิจการเพราะ
ขาดทุน นายกเทศมนตรีของเมืองใกล้เคียงต่าง ๆ บอกอังตวนว่า เขาสั่งปิดร้านกาแฟไม่ได้ถ้าที่อื่น ๆ
ในเนเธอร์แลนด์ยังอนุญาตให้เปิด

“จะบ้ากันใหญ่แล้ว” อังตวนบอก “พวกเขากลัวว่า ปัญหาจะมาโผล่ที่สนามหลังบ้านตัวเองต่างหากล่ะ
ผมบอกพวกเขาว่า ทำไมคุณไม่ทำอะไรสักอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยตัวเองล่ะ”

เขาขอคำสั่งศาลชั่วคราวให้สั่งปิดร้านกาแฟ”อีบีซา” (Ibiza) ในข้อหาที่ว่ากิจการดังกล่าวมีผลเสียต่อ
เศรษฐกิจท้องถิ่น และชนะคดีนี้ เบรดา ประธานศาลกล่าวว่า “พื้นฐานธุรกิจของร้านกาแฟขัดแย้งกับ
กฎหมายฝิ่น เพราะโดยธรรมชาติจริง ๆ แล้ว ร้านพวกนี้สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน”

ในปี 2538 ร้านกาแฟทุกร้านในเมืองเฮิล์ทปิดกิจการ
ดูเหมือนมีคนรู้สึกแบบเดียวกันนี้มากขึ้นทุกวัน การสำรวจของ “รีดเดอร์ส ไดเจสท์”พบว่า 81 % ของผู้ที่
ตอบแบบสอบถามต้องการให้เข้มงวดกับร้านกาแฟมากขึ้น บางคนต้องการให้เลิกกิจการไปให้หมด

โปรดติดตามตอนที่ (6 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. ส.ค. 03, 2023 8:50 pm

☕️ได้เวลาปิด "ร้านกาแฟ" ตอนที่ ( 6 )จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนกรกฎาคม 2540
โดย Melchior Meyer และจากวิกิปีเดีย 2565 เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

หัวหน้าผู้พิพากษาเทศบาลเมืองแบร์เกิน (Bergen) ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชายทะเล รับฟัง
ปัญหาของชาวบ้านและใช้กฎเทศบัญญัติสั่งห้ามไม่ให้ตั้งร้านกาแฟเป็นการป้องกันก่อนที่กระบวน
การค้ายาเสพติดจะลงหลักปักฐานในเมือง “เราต้องป้องปรามเจ้าของร้านกาแฟทันที ไม่อย่างนั้น
พวกเขาจะอาศัยธรรมเนียมปฏิบัติมาเป็นข้อกำหนดกฎหมาย”
อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งที่กฎหมายกำกวมประกอบกับทัศนคติที่พอใจไม่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลง
ทำให้ร้านกาแฟยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เมื่อกฎหมายและระบบการเมืองทำให้ประชาชนผิดหวัง
ชาวดัตช์จึงตัดสินใจลงมติด้วยเท้า โดยการโยกย้ายถิ่นฐานออกจากเมืองหรือชุมชนที่ถูกยาเสพติดทำลาย

หน้าร้อนปี 2538 เมื่อเจ้าหน้าที่ทำหูทวนลมกับคำเรียกร้องของชาวเมืองสปังเงิ่น (Spangen) ที่ขอใ
ห้เข้มงวดกวดขันมากขึ้น ชาวเมืองจึงรวมกันตั้งด่านสกัดไม่ให้รถคนต่างชาติที่ต้องสงสัยเข้าเขตเมือง
วันที่ 13 กันยายน 2538 ชาวบ้าน 2,000 คนเดินขบวนไปประท้วงที่หน้าศาลาว่าการเกี่ยวกับความเดือดร้อน
ที่เกิดจากยาเสพติด หัวหน้าผู้พิพากษาเทศบาลเมืองฯ ประกาศกับฝูงชนว่า “เราตกลงกันได้แล้วว่า จะต้อง
ขจัดยาเสพติดและอาชญากรรมที่พวกนี้นำเข้ามา”

จริง ๆ แล้วรัฐบาลดัตช์และทางการท้องถิ่นดูจะไม่เชื่อว่า ยาเสพติดจะหมดไปจากสังคมได้ หัวหน้า
ผู้พิพากษาศาลเทศบาลเมืองทุกแห่งควรดำเนินรอยตามอย่างอังตวน พวกเขาจะต้องได้รับความร่วมมือ
อย่างเต็มที่จากพนักงานปกครองท้องถิ่นเพื่อให้แน่ใจว่าร้านกาแฟจะหายไปจากถนน วิธีนี้จะช่วยลด
ปัจจัยยั่วยุของการใช้ยาเสพติดชนิดไม่ร้ายแรงในเยาวชนทั้งในเขตหมู่บ้านและเมือง

การใช้เทศบัญญัติที่เข้มงวดจะช่วยทำให้แน่ใจว่าดิสโกเธคและคาเฟ่ทั้งหลายจะปลอดยา ผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมปลายจะต้องรายงานการใช้ยาเสพติดในโรงเรียนอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งโดยมากข้อมูล
ส่วนนี้จะไม่เปิดเผย เพราะทางโรงเรียนกลัวว่าจะเกิดผลกระทบทำให้นักศึกษาไม่มาสมัครเข้าเรียนที่
โรงเรียนตน แต่ข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ตำรวจเข้าไปแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและจัดการ
กับผู้ค้ายารายย่อยที่ทำให้โรงเรียนกลายเป็นที่ไม่ปลอดภัย

โปรดติดตามตอนที่ ( 7 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. ส.ค. 03, 2023 8:52 pm

☕️ได้เวลาปิด "ร้านกาแฟ" ตอนที่ ( 7 )(ตอนจบ) จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนกรกฎาคม 2540
โดย Melchior Meyer และจากวิกิปีเดีย 2565 เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ

ไม่ว่าภาพที่บรรดาร้านกาแฟพยายามสร้างขึ้นจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ความจริงก็คือ เยาวชน
และยาเสติดไม่ได้เป็นสิ่งคู่กันโดยอัตโนมัติ อังตวน หัวหน้าผู้พิพากษาเทศบาลเมืองเฮิล์ท กล่าวว่า
“ความสำเร็จในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติดขึ้นอยู่กับประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนท้องถิ่น
หรือแม้แต่เสียงวิจารณ์จากต่างประเทศ และเป็นการต่อสู้ที่ควรเริ่มในทุกตรอกซอกซอย”

หมายเหตุ : ล่าสุดกฎหมายที่ออกในเดือนมกราคม 2556 กำหนดให้ลูกค้าที่เข้าร้านกาแฟต้องเป็น
ชาวดัตช์ แต่กฎหมายนี้บังคับใช้เฉพาะในเขตซีแลนด์, บราบันต์เหนือ และลิมเบิร์ก
(Zeeland, North Brabant and Limburg)

กฎหมายอนุญาตให้มียาเสพติดประเภทไม่ร้ายแรงสำหรับใช้ส่วนตัวได้ไม่เกิน 5 กรัม
(ยางกัญชา หรือ ต้นกัญชา 5 ต้น)

นโยบายอดกลั้นกับยาเสพติดชนิดไม่ร้ายแรงดูจะเป็นเรื่องที่ขัดแย้งกันเอง เนื่องจากร้านกาแฟ
ได้รับอนุญาตให้ซื้อขายยาเสพติดชนิดไม่ร้ายแรงได้ แต่ร้านกาแฟจำต้องซื้อหากัญชาจากแหล่งที่
ผลิตซึ่งมักถูกดำเนินคดีเพราะแหล่งผลิตจำต้องผลิตปริมาณกัญชามาก และดังนั้นกฎหมายฉบับนี้
จีงถูกท้าทายเป็นครั้งแรกในศาลในปี 2557 เมื่อผู้พิพากษาปฏิเสธการลงโทษผู้ผลิตกัญชา
ในปริมาณมาก
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นเมื่อต้นปี 2560 เมื่อเสียงข้างมากซึ่งมากกว่าไม่กี่เสียงในสภา
ผู้แทนราษฎรอนุญาตให้การผลิตกัญชาถูกกฎหมาย และปลายปีเดียวกัน ในบางเมืองกำหนด
ให้ร้านกาแฟจัดหากัญชาได้จากผู้ผลิตที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล

ทุกวันนี้ การทำให้ถูกกฎหมายของกัญชายังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในเนเธอร์แลนด์ นอกจากนั้น
ตั้งแต่ปี 2541 เป็นที่ยอมรับว่าการใช้เฮโรอีนในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดช่วยให้สุขภาพ
ของพวกเขาดีขึ้นเป็นที่น่าพอใจอีกด้วย

***********************
จบบริบูรณ์
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. ส.ค. 03, 2023 8:55 pm

"รู้ได้อย่างไรเมื่อลูกใช้ยาเสพติด" มีทั้งหมด ( 8 )ตอนจบ

รู้ได้อย่างไรเมื่อลูกใช้ยาเสพติด ตอนที่ (one)จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนสิงหาคม 2539
โดย นริศรา เมอร์เรย์ ดัดแปลงจากบทความโดย David Moller และจากวิกิปีเดีย
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ

คุณอาจคาดไม่ถึงว่าลูกหลานติดยา และนี่คือวิธีตรวจพบก่อนจะสายเกินแก้

สมชาย (นามสมมติ) อายุ 16 ปีไม่มีเพื่อนที่โรงเรียนเลย ก่อนจะมาพบเพื่อนกลุ่มใหม่
เด็กพวกนี้ดมกาวและชวนให้สมชายเข้ากลุ่มด้วย

“เขาบอกว่า ดมกาวน่ะสนุกดี ผมอยากเข้ากลุ่มนี้ อยากจะเป็นอย่างพวกเขา”

จากแรกที่ดมกาวให้เมาสนุกๆ สมชายก็ดมกาวจนติด ต่อมาเพื่อนๆชวนให้สมชายลองยา
อย่างอื่นรวมทั้งกัญชา จนในที่สุดเขาก็ลองผงขาว ครั้งแรกที่ลองนั้น เขาอาเจียนและไม่ชอบรสเมา
ของผงเลย แต่เพื่อนๆก็คะยั้นคะยอให้เขาลองใหม่ เขาเริ่มติดผงหลังจากลองได้ 5-6 ครั้ง และต้อง
ใช้เฮโรอีนวันละ 2-3 ครั้ง

เมื่อแรกพ่อแม่ยังไม่รู้ว่าสมชายติดผง แต่หลังจากใช้ยามา 3 ปี พ่อแม่จึงเห็นเขาผิดสังเกต
แต่ละอาทิตย์เขาใช้เงินเปลืองมาก การเล่นผงไม่ใช่เรื่องสนุกอีกต่อไป

ผงขาวกำลังทำลายชีวิตของเขา แต่สมชายยังโชคดีที่พ่อแม่เข้าใจและให้กำลังใจ เขาตัดสินใจเลิกผง
แต่ทนทรมานเพราะอาการทางกายที่เกิดจากการหักยาไม่ไหว

เขาสมัครใจเข้าร่วมโครงการถอนพิษยาเสพติดที่โรงพยาบาลในตัวจังหวัด รักษาตัวอยู่ใน
โรงพยาบาลจนครบ 3 สัปดาห์และสาบานว่าจะไม่แตะต้องผงขาวอีก แต่ทันทีที่ก้าวพ้นรั้วโรงพยาบาล
เขาก็หวนกลับไปสู่กลุ่มเพื่อนเก่าๆ และยาเสพติด จากนั้นสมชายสมัครเข้ารับการรักษาที่สถานบำบัด
ยาเสพติดอื่นๆ 6 ครั้งด้วยกัน

โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. ส.ค. 03, 2023 9:08 pm

(at)รู้ได้อย่างไรเมื่อลูกใช้ยาเสพติด ตอนที่ ( 2 )จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนสิงหาคม 2539
โดย นริศรา เมอร์เรย์ ดัดแปลงจากบทความโดย David Moller และจากวิกิปีเดีย
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ

สมชายใช้ชีวิตเป็นวงจรเช่นนี้เรื่อยไป จนหันมาพึ่งเฮโรอีนเป็นหลัก ในที่สุดหลังจากลองและ
ติดผงมานานถึง 13 ปี สมชายก็สมัครเข้ารับการรักษาเพื่อถอนพิษยาอีกเป็นรอบที่เจ็ด การรักษา
รอบนี้ผิดจากครั้งก่อนๆตรงที่ว่า แทนที่จะใช้เมทธาโดน (Methadone) ซึ่งช่วยลดอาการอยากยา
ประกอบกับการให้คำปรึกษาแนะนำจากนักสังคมสงเคราะห์และพยาบาล คราวนี้เขาเข้าร่วมโปรแกรม
ฟื้นฟูสมรรถภาพซึ่งกินเวลานาน 2 ปี ในโปรแกรมใหม่นี้ซึ่งได้ผนวกวิธีการแบบชุมชนบำบัด เขาต้อง
ใช้ชีวิตร่วมกับผู้ติดยาคนอื่นในสถานฟื้นฟู โดยมีผู้เคยติดยาที่เลิกได้แล้วเป็นพี่เลี้ยง มีนักจิตวิทยาและ
นักสังคมสงเคราะห์คอยให้คำปรึกษาแนะนำ สมชายพูดคุยในกลุ่มบำบัดเพื่อช่วยกันเปลี่ยนวิถีชีวิต
จากที่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติดให้หันมาทำกิจกรรมที่ปลอดยาฯ หัดให้มีจิตใจหนักแน่นและรับผิดชอบ

ทุกวันนี้สมชายเลิกขาดจากยาเสพติดได้ 10 ปีและเป็นพี่เลี้ยงผู้ติดยาเสพติดคนอื่นๆที่ศูนย์บำบัด
รักษาแห่งหนึ่งของรัฐบาล

หนุ่มสาวไทยนับหมื่นคนกำลังเสี่ยงต่อการใช้ชีวิตผิดๆเช่นสมชาย สำนักงานป้องกันและ
ปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)รายงานว่า ปีที่เขียนเรื่องนี้มีผู้ติดยาเสพติดอายุก่อนบรรลุนิติภาวะ
เกือบ 10,000 คนสมัครใจเข้ารับการรักษาในศูนย์บำบัดรักษาทั่วประเทศไทย การสำรวจเมื่อปี 2536
ระบุว่านักเรียนนักศึกษากว่า 71,000 คนใช้ยาเสพติดสม่ำเสมอ ตัวเลขที่เป็นทางการยังระบุว่าเยาวชน
อีกนับแสนคนเคยลองยาเสพติดมาอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ส่วนใหญ่เยาวชนที่เข้ารับการรักษาหรือ
ประมาณ 88% เสพเฮโรอีน ที่เหลือส่วนใหญ่หากไม่ติดยาบ้าก็จะติดสารระเหย เช่น กาว

เด็กผู้ชายมีโอกาสติดยาเสพติดมากกว่าเด็กผู้หญิง ในจำนวนเด็กและวัยรุ่น 100 คนนั้น
กว่า 95 คนเป็นชาย ในระยะหลังนี้เยาวชนที่ต้องโทษข้อหามียาเสพติดไว้ในครอบครองเพิ่มจำนวนสูงขึ้น
ทุกปี ในปี 2534 มีเยาวชนต้องโทษคดีเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 17 % ในปี 2537 เยาวชนผู้ต้องโทษ
เพิ่มขึ้นเป็น 22%ของจำนวนผู้ต้องหาในคดียาเสพติดทั้งหมด

โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. ส.ค. 03, 2023 9:12 pm

รู้ได้อย่างไรเมื่อลูกใช้ยาเสพติด ตอนที่ ( 3 )จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนสิงหาคม 2539
โดย นริศรา เมอร์เรย์ ดัดแปลงจากบทความโดย David Moller และจากวิกิปีเดีย
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ

เด็กสมัยนี้ริลองเสพยาเสพติดเร็วขึ้น ป.ป.ส.ได้สำรวจการใช้ยาเสพติดทั่วประเทศเมื่อปี 2535
และพบว่ามีเด็กอายุต่ำกว่า 11 ขวบดมกาว สูบฝิ่นและฉีดผงขาว และมีผู้ต้องหาคดียาเสพติดอายุต่ำ
กว่า 15 ปีเพิ่มขึ้นสามเท่าจากเมื่อปี 2532 ตำรวจจับกุมเยาวชนในข้อหาที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมาก
กว่า 25,000 คนในปี 2537 เยาวชนส่วนใหญ่ถูกจับข้อหาเสพยาเสพติด หรือไม่ก็มียาเสพติดไว้
ในครอบครอง

วชิรา บุตรวัยวุฒิ นักจิตวิทยาที่ศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
ราชดำริ กล่าวว่า บ่อยครั้งที่เด็กไม่รู้ตัวว่ากำลังเล่นกับยาเสพติด และกว่าจะรู้ตัว เด็กก็ถลำลึกถึงขั้น
ติดยาเสพติดร้ายแรงอย่างเฮโรอีนแล้ว
ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างก็จำเป็นต้องได้รับความรู้เรื่องยาเสพติดทั้งสิ้น สิทธิพร ธรรมเนียมงาม
ครูและผู้ให้คำปรึกษาผู้ติดยาเสพติดที่มูลนิธิสร้างสรรค์เด็กกล่าวว่า ผู้ปกครองควรมีวิธีพูดให้เด็กอยู่
ห่างไกลยาเสพติด เด็กจำนวนมากหันมาใช้ยาเสพติดเพื่อหนีปัญหาที่บ้าน สิทธิพรแนะว่าพ่อแม่ควรรู้จัก
ให้กำลังใจลูกๆและทำกิจกรรมต่างๆในครอบครัวด้วยกัน เช่น เล่นกีฬา หรือไปเที่ยวต่างจังหวัดด้วยกัน
ทั้งบ้าน

แต่สิ่งสำคัญอันดับแรกคือ พ่อแม่ควรรู้จักสังเกตอาการพิรุธที่ส่อว่าลูกๆอาจยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
เช่นเงินหรือของมีค่าในบ้านหาย เด็กใช้เงินมือเติบหรือยืมเงินบ่อย เด็กไม่เอาใจใส่ผมเผ้าหรือการแต่งตัว
เด็กมักโกหกหรือมีพฤติกรรมลับๆล่อๆ ไม่ใส่ใจในการเรียน งานอดิเรกที่เคยชอบ หรือเพื่อนๆกลุ่มเดิม
แม่คนหนึ่งเฉลียวใจว่าลูกอาจติดยา เมื่อลูกไม่อยากพาเพื่อนใหม่มาให้พ่อแม่รู้จักที่บ้าน

ข้อมูลสำคัญที่ยืนยันว่าลูกอาจติดยาคือเด็กมีท่าทางอ่อนเพลียอยู่เสมอ ซูบผอม อ่อนเพลีย หงุดหงิด
ลุกลี้ลุกลน ผู้เสพเฮโรอีนมักชอบสวมเสื้อแขนยาวแม้เมื่ออากาศร้อนเพื่อซ่อนรอยเข็มฉีดยาตามข้อพับ
สิ่งที่ส่อพิรุธอื่นๆได้แก่ อุปกรณ์การเสพยาที่อาจหลงเหลืออยู่ เช่น เศษกระดาษตะกั่วมีรอยไหม้ใช้ในการ
หุงผงขาวเพื่อสูดไอระเหย ก้นบุหรี่สอดไส้กัญชา อาการอื่นๆที่พบเห็นในผู้ติดยาเสพติดเป็นประจำได้แก่
นอนไม่หลับจนเป็นนิสัย รอยช้ำใต้ตา ริมฝีปากสีคล้ำจากการสูบบุหรี่สอดไส้เฮโรอีน

โปรดติดตามตอนที่ ( 4 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. ส.ค. 03, 2023 9:14 pm

รู้ได้อย่างไรเมื่อลูกใช้ยาเสพติด. ตอนที่ ( 4 )จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนสิงหาคม 2539
โดย นริศรา เมอร์เรย์ ดัดแปลงจากบทความโดย David Moller และจากวิกิปีเดีย
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ

หากพ่อแม่พบว่าลูกใช้ยาเสพติด ผู้เชี่ยวชาญเน้นว่าอย่าเพิ่งตกอกตกใจ สิทธิพรย้ำว่า พ่อแม่
ไม่ควรรีบปรักปรำด่าว่า แต่ควรคิดเสียว่า “ลูกไม่ได้ทำผิด เพียงแต่หลงทางเท่านั้น” พ่อแม่มีหน้าที่
ชี้ทางให้ลูก คุยกับลูกอย่างเข้าอกเข้าใจ และเป็นกำลังใจให้ลูกตัดสินใจเลิกยาด้วยตนเอง

แต่ถ้าลูกยังคงติดยาอยู่ พ่อแม่จะต้องขุดคุ้ยปัญหาให้ลึกลงไปอีก ค้นหาว่าลูกมีปัญหาที่โรงเรียน
กลุ้มใจเรื่องการสอบ มีปัญหากับเพื่อนๆหรือแฟน ดูว่าลูกเหงาหรือขาดความมั่นใจหรือไม่

“ความรักความอบอุ่นในครอบครัวสามารถสร้างความมั่นใจให้เด็ก ซึ่งจะช่วยให้เด็กเลิกติดยาได้ง่ายขึ้น”
นักจิตวิทยา วชิรากล่าวต่อไปว่า หากพ่อแม่เอาแต่ดุด่าว่ากล่าว หรือบาดหมางกับลูกก็เท่ากับผลักไสลูก
ออกจากบ้านไปสู่ยาเสพติด

พ่อแม่อาจถามเกี่ยวกับการติดยาโดยไม่ให้เด็กรู้สึกอึดอัด เช่น ลองถามว่ามีเพื่อนที่โรงเรียนหรือ
เพื่อนที่อื่นบ้างไหมที่ติดยา

การให้การศึกษาเกี่ยวกับยาเสพติดควรเริ่มเสียแต่เนิ่นๆ หากที่โรงเรียนไม่มีโปรแกรมให้ความรู้
เพื่อป้องกันการติดยาในหมู่นักเรียน ลองยกประเด็นเรื่องนี้กับครูหรือครูใหญ่ นอกจากนั้นฝ่ายป้องกัน
การติดยาเสพติด สำนักอนามัยกรุงเทพมหานครยังสามารถให้ความร่วมมือหาวิทยากรมาอบรมที่
โรงเรียนได้อีกด้วย

หัวใจสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดคือ การฝึกให้เด็กรู้จักใช้ทักษะด้านสังคมให้มี
ใจคอหนักแน่นเพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง วชิราอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “เด็กวัยรุ่นกำลัง
อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เด็กจะขาดความเชื่อมั่น
และต้องการให้เพื่อนฝูงยอมรับ ปัญหาจะเกิดเมื่อเพื่อนกลุ่มนั้นใช้ยาฯ ส่วนใหญ่แล้วเด็กจะไม่ขัดเพื่อน

โปรดติดตามตอนที่ ( 5 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. ส.ค. 03, 2023 9:17 pm

รู้ได้อย่างไรเมื่อลูกใช้ยาเสพติด ตอนที่ ( 5 )จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนสิงหาคม 2539
โดย นริศรา เมอร์เรย์ ดัดแปลงจากบทความโดย David Moller และจากวิกิปีเดีย
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ

วชิราสนับสนุนให้เด็กรู้จักคิด โดยใช้การหัดเล่นบทบาทและลองให้ตอบคำถามเหล่านี้

“เธอจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์เมื่อเพื่อนคนอื่นๆที่กำลังเสพยาฯได้อย่างไร” “ถ้าเธอไปเที่ยวกับ
เพื่อนแล้วมีเพื่อนใช้ยาฯ เธอจะทำอย่างไร เธอจะลองดูบ้างไหม หรือจะห้ามตัวเองไม่ให้ใช้ยาฯ
ได้อย่างไร”

มงคล มณฑา หัวหน้านักจิตวิทยาที่ศูนย์ชุมชนบำบัดศูนย์ที่ 1 โรงพยาบาลธัญญารักษ์สอน
ให้เด็กรู้จักรับผิดชอบกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเป็นอันดับแรก เด็กจะเป็นสมาชิกในทีม
ที่ต้องดูแลสวนหนึ่งแปลง การสอนให้เด็กรู้จักความรับผิดชอบเบื้องต้นเช่นนี้ ช่วยสร้างเสริมทักษะ
ที่เด็กสามารถใช้เลิกและหลีกเลี่ยงยาเสพติดได้

มงคลยังกล่าวอีกด้วยว่า การอบรมสั่งสอนที่ดีคือต้องสอนให้เด็กรู้จักรับผิดชอบ และ
“ปล่อยให้เด็กได้ตัดสินใจเองเป็น และหัดคิดโดยชั่งใจจากความรู้สึกของตนเอง”

นอกจากนั้น พ่อแม่ยังสามารถช่วยให้เด็กรู้จักโต้ตอบในสถานการณ์ที่ล่อแหลมต่อการติดยาเสพติด
พ่อแม่ควรใช้เวลาร่วมกับลูก ให้ลูกเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง ให้ลูกรู้สึกอุ่นใจเมื่อรู้ว่าคุณห่วงใย สิ่ง
เหล่านี้น่าจะเป็นภูมิคุ้มกันยาเสพติดที่ดีที่สุดซึ่งพ่อแม่จะมอบให้แก่ลูกได้

แต่การเข้าถึงเด็กวัยรุ่นนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ความวิตกของพ่อแม่อาจออกมาในรูปของการจ้ำจี้จำไช
ลูกจนเกินเหตุ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ความกังวลของพ่อแม่นี่แหละอาจเป็นเหตุให้พ่อแม่ลูกทะเลาะซ้ำแล้วซ้ำเล่า
วชิราเตือนว่า การทะเลาะกับลูกนั้น อาจเป็นผลเสียเพราะย้ำให้เด็กรู้สึกว่า บ้านไม่ต้อนรับเขา และผลักไส
ให้เขาหันเข้าหาเพื่อนกลุ่มใหม่และยาเสพติด

ค่อยๆเตือนให้เด็กเข้าใจว่า โทษทัณฑ์ของข้อหายาเสพติดนั้นร้ายแรง เด็กอายุระหว่าง 7 – 14 ปีที่ต้อง
โทษข้อหาครอบครองหรือเสพยาเสพติดนั้น แม้จะได้ลดหย่อนโทษเหลือเพียงตักเตือน แต่เด็กจะอยู่ภายใต้
การดูแลของเจ้าหน้าที่ทัณฑ์บน หรือถูกส่งเข้าสถานพินิจและคุ้มครองเด็กจนอายุครบ 18 ปี

โปรดติดตามตอนที่ ( 6 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. ส.ค. 03, 2023 9:20 pm

รู้ได้อย่างไรเมื่อลูกใช้ยาเสพติด ตอนที่ ( 6 )จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนสิงหาคม 2539
โดย นริศรา เมอร์เรย์ ดัดแปลงจากบทความโดย David Moller และจากวิกิปีเดีย
รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ

สำหรับผู้ต้องหาอายุ 14 – 20 ปีนั้น โทษตามกฎหมายจะมากกว่า และได้รับการลดโทษเหลือ
เพียงครึ่งหนึ่ง หรือหนึ่งในสามของผู้ต้องหาผู้ใหญ่ ข้อหาครอบครองยาเสพติดให้โทษนั้นถือเป็น
โทษหนัก พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองนั้นมีโทษปรับไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท
หรือไม่เกิน 500,000 บาท หรือจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีจนถึงจำคุกตลอดชีวิต หรือโทษอาจร้ายแรงถึงขั้น
ประหารชีวิต ขึ้นอยู่กับปริมาณและประเภทของยาเสพติดที่มีไว้ในครอบครอง

ถึงขั้นนี้ หากลูกยังคิดจะเสพยาเสพติด ลองขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการกรมการแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร สำนักงาน ป.ป.ส. และศูนย์ประสานงานกลางองค์
การเอกชนต่อต้านยาเสพติดสามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับสถานบำบัด ศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำ และ
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดทั่วประเทศได้

สถานบำบัดประเภทคนไข้ในยังมุ่งฟื้นฟูขวัญและจิตใจของผู้ป่วยให้เข้มแข็ง คลินิกเอกชนนั้น ค่า
รักษาแพง ส่วนศูนย์บำบัดประจำภาคนั้นได้งบประมาณจากรัฐบาลสนับสนุนและไม่คิดค่ารักษา และศูนย์
ประสานงานกลาง องค์การเอกชนต่อต้านยาเสพติดยังสามารถพิจารณาหาทุนค่ารักษาให้แก่ครอบครัว
ที่ยากจนได้อีกด้วย ยังมีสำนักสงฆ์หลายแห่งที่รับรักษาผู้ติดยาเสพติดโดยไม่คิดค่ารักษาใดๆเช่นกัน

โปรดติดตามตอนที่ ( 7 )ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. ส.ค. 03, 2023 9:24 pm

รู้ได้อย่างไรเมื่อลูกใช้ยาเสพติด ตอนที่ ( 8 )(ตอนจบ)
จากหนังสือสรรสาระฉบับเดือนสิงหาคม 2539 โดย นริศรา เมอร์เรย์ ดัดแปลงจากบทความ
โดย David Moller และจากวิกิปีเดีย รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ

ยาเสพติดที่พ่อแม่ควรรู้จักไว้

1. กัญชา
มักปรากฏในรูปของยาสูบ โดยผสมกับยาเส้นหรือบุหรี่ ควันกัญชามีกลิ่นหวานเอียน สูบแล้วเกิดอาการ
ผ่อนคลาย เซื่องซึม ใช้มากๆจะเป็นคนหวาดระแวง วิตกกังวล ความคิดสับสน นอนไม่หลับ เพิ่มอัตราเ
สี่ยงต่อโรคหลอดลมอักเสบและโรคปอดชนิดอื่นๆ

2. ยาบ้า หรือแอมเฟตามิน (Amphetamines)
ลักษณะที่พบโดยมากเป็นยาเม็ดหรือแคปซูล โดยมากใช้กิน แต่จะใช้ฉีดหรือสูบก็ได้ ยาบ้าทำให้รู้สึก
ตื่นเต้น ลนลาน พูดมาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ประสาทหลอน เพ้อคลั่ง ก่อให้เกิดอาชญากรรมหรือ
อุบัติเหตุได้ง่าย

3. เฮโรอีน
ลักษณะเป็นเกล็ดผงสีขาวหรือน้ำตาล สามารถใช้สูด ฉีด โรยบุหรี่สูบ หรือหุงแล้วสูดไอระเหยก็ได้
ใช้แล้วเกิดอาการง่วงซึม เป็นสารเสพติดร้ายแรงก่อให้เกิดอาการติดที่รุนแรง เป็นยาเสพติดที่แพร่หลาย
ที่สุดในประเทศไทย

4. ยาอี หรือ เอ็กเตซี (Ecstasy)
ลักษณะเป็นยาเม็ดหรือแคปซูล มีหลายสีหลายรูปแบบ ทำให้ตื่นตัว คึกคัก ใจกล้า ก่อให้เกิดอาการ
เบื่ออาหาร ปากแห้ง ความดันโลหิตสูง ชีพจรเต้นเร็ว อาจมีผลต่อการประสานงานของกล้ามเนื้อ
เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุถึงชีวิต

5. ยากล่อมประสาทและยานอนหลับ
ลักษณะเป็นยาเม็ดหรือแคปซูล มีหลายสีหลายแบบ อาจใช้ได้โดยถูกต้องตามกฎหมายหากมี
ใบสั่งแพทย์ ใช้กิน มีผลให้ง่วงนอน ผ่อนคลาย ทำให้เกิดอาการเมื่อขาดยาได้

6. โคเคน (Cocaine)
ลักษณะเป็นผงสีขาวเหมือนเกล็ดแก้ว ใช้นัดหรือฉีด ใช้แล้วเกิดอาการเคลิ้ม การนัดโคเคนทำให้เกิด
โรคแผลเปื่อย และผนังทางเดินหายใจเป็นแผล โคเคนอีกชนิดที่เรียกว่า “แคร็ก” (Crack) นั้นใช้สูบ
มีลักษณะเป็นผงสีเหลือง น้ำตาลอ่อนหรือสีขาว เมื่อติดแล้วจะเกิดอาการติดยาอย่างรุนแรง ทำให้
เคลิบเคลิ้มตามด้วยอาการซึมเศร้าเฉียบพลัน ไม่ค่อยพบในประเทศไทยเพราะมีราคาแพงมาก

7. ยาหลอนประสาทหรือ “แอลเอสดี” (LSD : Lysergic acid diethylamide)
เป็นสารเสพติดที่สกัดได้จากเชื้อราที่อยู่บนข้าวไรย์ เป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์หลอนประสาทรุนแรงที่สุด
ผู้เสพนิยมเรียกว่า กระดาษเมา กระดาษมหัศจรรย์ หรือ แสตมป์มรณะ มีลักษณะเป็นยาเม็ดหลากสี
หรืออัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมในกระดาษ หรือวุ้น เพิ่มความฉับไว้ในการรับรู้เสียงและสีถึงขั้นประสาทหลอน
จนไม่รู้ตัว ตื่นกลัว เชื่อว่าตนสามารถทำในสิ่งเหนือมนุษย์ได้ ซิโลซิบิน (psilocybin)เป็นสารหลอน
ประสาทตัวหนึ่ง มักพบใน “แมจิกมัชรูม”(Magic mushroom = เห็ดขี้ควาย) ซึ่งเป็นเห็ดป่าชนิดหนึ่ง
นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในเมืองไทยชอบใช้

ติดต่อสอบถามและขอความช่วยเหลือได้ที่สถานบำบัดใหญ่ๆดังต่อไปนี้

1. การป้องกันแลบำบัดการติดยาเสพติด สำนักอนามัย กทม.
2. ศูนย์ประสานงานกลางองค์การภาคเอกชนต่อต้านยาเสพติด
3. โรงพยาบาลธัญญารักษ์ จังหวัดปทุมธานี
4. ศูนย์บำบัดผู้ติดยาเสพติดภาคใต้ จังหวัดสงขลา
5. ศูนย์บำบัดผู้ติดยาเสพติดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น

***********************
จบบริบูรณ์
ตอบกลับโพส