เรื่องดีๆจากหนังสือสรรสาระ ชุดที่ ( 28 )
นักผลาญถ่านไฟฉาย มีทั้งหมด ( 4 ) ตอนจบ
นักผลาญถ่านไฟฉาย ตอนที่ ( 1 )โดย Ni Li-Fang จากหนังสือสรรสาระ
ฉบับเดือนตุลาคม 2546 รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
มนุษย์ทำลายสิ่งแวดล้อมจนเข้าขั้นวิกฤต เราควรจะทำอย่างไร
บ่ายวันหนึ่งในเดือนมิถุนายน 2544 เสียงผู้หญิงดังเข้ามาในโทรศัพท์มือถือของจู เทียนหรง
“คุณจู เทียนหรงคะ ดิฉันทราบว่าคุณติดตามถ่ายรูปและวิดีโอเกี่ยวกับการทำลายสิ่งแวดล้อม
อยากจะแจ้งคุณว่า ภัตตาคารแถวบ้านดิฉันปล่อยน้ำโสโครกมานานเป็นปีแล้ว อยากให้คุณ
เปิดโปงให้สังคมรับรู้ เจ้าของร้านดุมาก เวลาไปถ่ายรูปต้องระวังตัวด้วยนะคะ”
จูรับโทรศัพท์ขณะนอนป่วยอยู่ในโรงพยาบาลเพราะยืนตากฝนนานกว่า 3 ชั่วโมงเมื่อวันก่อน
เพื่อถ่ายรูปท่อน้ำทิ้งผิดกฎหมายของโรงงานแห่งหนึ่ง จูออกจากโรงพยาบาลทันทีทั้งที่ยังไม่
หายป่วย จากนั้นก็รีบไปเอากล้องที่บ้านแล้วตรงไปยังภัตตาคารดังกล่าวซึ่งตั้งอยู่ในย่านชานเมือง
ใกล้แม่น้ำ เขาเห็นน้ำสกปรกไหลออกจากท่อน้ำทิ้งลงสู่แม่น้ำซึ่งเริ่มออกสีขุ่นและบริเวณโดยรอบ
มีแมลงวันกับยุงบินว่อน จูหยิบกล้องออกมากดชัดเตอร์ทันที
หลังถ่ายรูปเศษซากปลาที่ลอยมากับน้ำ จูก็เล็งกล้องไปทางท่อน้ำทิ้งขณะที่เจ้าของร้าน
ออกมาเห็นพอดี
“นายมาทำอะไรที่นี่” เจ้าของร้านถาม “อ๋อ นึกออกแล้ว นายคือมนุษย์เจ้าปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม
ที่ออกโทรทัศน์บ่อยๆ
กำแหงมากนะที่คิดจะเปิดโปงภัตตาคารของฉัน ส่งฟิล์มมาซะดีๆ”
“ไม่มีทาง ฟิล์มนี้มีประโยชน์มาก” จูตอบ พลางรีบเดินหนี
เจ้าของร้านปล่อยสุนัขออกมาไล่กัดทันที จูวิ่งหนีสุดชีวิตแต่สุนัขไล่กวดทันและโถมเข้าใส่จนเขา
ล้มลง โชคดีที่มีชาวบ้านผ่านมาและใช้ไม้ไล่สุนัขไป
จากนั้นก็พาจูซึ่งถูกกัดจนแขนขวาเหวอะไปส่งโรงพยาบาล
จูไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า การอุทิศตนเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมจะทำให้ถูกข่มขู่
และถูกทำร้ายร่างกาย ครั้งแล้วครั้งเล่าเช่นนี้
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
นักผลาญถ่านไฟฉาย ตอนที่ ( 1 )โดย Ni Li-Fang จากหนังสือสรรสาระ
ฉบับเดือนตุลาคม 2546 รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
มนุษย์ทำลายสิ่งแวดล้อมจนเข้าขั้นวิกฤต เราควรจะทำอย่างไร
บ่ายวันหนึ่งในเดือนมิถุนายน 2544 เสียงผู้หญิงดังเข้ามาในโทรศัพท์มือถือของจู เทียนหรง
“คุณจู เทียนหรงคะ ดิฉันทราบว่าคุณติดตามถ่ายรูปและวิดีโอเกี่ยวกับการทำลายสิ่งแวดล้อม
อยากจะแจ้งคุณว่า ภัตตาคารแถวบ้านดิฉันปล่อยน้ำโสโครกมานานเป็นปีแล้ว อยากให้คุณ
เปิดโปงให้สังคมรับรู้ เจ้าของร้านดุมาก เวลาไปถ่ายรูปต้องระวังตัวด้วยนะคะ”
จูรับโทรศัพท์ขณะนอนป่วยอยู่ในโรงพยาบาลเพราะยืนตากฝนนานกว่า 3 ชั่วโมงเมื่อวันก่อน
เพื่อถ่ายรูปท่อน้ำทิ้งผิดกฎหมายของโรงงานแห่งหนึ่ง จูออกจากโรงพยาบาลทันทีทั้งที่ยังไม่
หายป่วย จากนั้นก็รีบไปเอากล้องที่บ้านแล้วตรงไปยังภัตตาคารดังกล่าวซึ่งตั้งอยู่ในย่านชานเมือง
ใกล้แม่น้ำ เขาเห็นน้ำสกปรกไหลออกจากท่อน้ำทิ้งลงสู่แม่น้ำซึ่งเริ่มออกสีขุ่นและบริเวณโดยรอบ
มีแมลงวันกับยุงบินว่อน จูหยิบกล้องออกมากดชัดเตอร์ทันที
หลังถ่ายรูปเศษซากปลาที่ลอยมากับน้ำ จูก็เล็งกล้องไปทางท่อน้ำทิ้งขณะที่เจ้าของร้าน
ออกมาเห็นพอดี
“นายมาทำอะไรที่นี่” เจ้าของร้านถาม “อ๋อ นึกออกแล้ว นายคือมนุษย์เจ้าปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม
ที่ออกโทรทัศน์บ่อยๆ
กำแหงมากนะที่คิดจะเปิดโปงภัตตาคารของฉัน ส่งฟิล์มมาซะดีๆ”
“ไม่มีทาง ฟิล์มนี้มีประโยชน์มาก” จูตอบ พลางรีบเดินหนี
เจ้าของร้านปล่อยสุนัขออกมาไล่กัดทันที จูวิ่งหนีสุดชีวิตแต่สุนัขไล่กวดทันและโถมเข้าใส่จนเขา
ล้มลง โชคดีที่มีชาวบ้านผ่านมาและใช้ไม้ไล่สุนัขไป
จากนั้นก็พาจูซึ่งถูกกัดจนแขนขวาเหวอะไปส่งโรงพยาบาล
จูไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า การอุทิศตนเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมจะทำให้ถูกข่มขู่
และถูกทำร้ายร่างกาย ครั้งแล้วครั้งเล่าเช่นนี้
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
นักผลาญถ่านไฟฉาย ตอนที่ ( 2 )โดย Ni Li-Fang จากหนังสือสรรสาระ
ฉบับเดือนตุลาคม 2546 รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
จูทำงานในห้างสรรพสินค้ามานานกว่า 30 ปีก่อนจะเปิดร้านขายนาฬิกาในปี 2534
ขณะดูโทรทัศน์วันหนึ่งในเดือนตุลาคม 2543 เขาเห็นภาพคนทิ้งถ่านไฟฉายใช้แล้วลงใน
ถังขยะ ก่อนเข้าชมงานนิทรรศการแห่งหนึ่ง ภาพที่เห็นเตือนให้นึกถึงนิสัยของคนทั่วไปที่
ชอบทิ้งถ่านไฟฉายใช้แล้วลงแม่น้ำ หรือปล่อยให้เสื่อมสภาพอยู่ในดินซึ่งเป็นอันตรายต่อ
สิ่งแวดล้อม
เขาพบว่าจิตสำนึกด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมของคนในเมืองยังต่ำทั้งที่ปัญหาค่อนข้างรุนแรง
จึงเกิดความคิดว่าน่าจะปลูกฝังให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหานี้ด้วยการเริ่มต้นจากสิ่งเล็กน้อยก่อน
จูรณรงค์ด้วยการประกาศให้ลูกค้าทราบว่าผู้ที่นำถ่านไฟฉายเก่ามาแลกซื้อของใหม่ที่ร้านของเขา
จะได้รับส่วนลดพิเศษ จากนั้นจึงรวบรวมถ่านไฟฉายเก่าไปทำลายอย่างถูกวิธี
เมื่อข่าวแพร่สะพัดออกไป ลูกค้าก็มาที่ร้านมากขึ้นเรื่อยๆ เขารวบรวมถ่านไฟฉายเก่าได้ประมาณ
500 ก้อนในแต่ละวัน แต่ก็มีเสียงวิจารณ์ว่า เขาทำเช่นนี้เพื่อประชาสัมพันธ์ตนเอง ขณะที่บางคน
สงสัยว่าถ่านไฟฉายเก่าคงนำไปขายต่อได้
วันขึ้นปีใหม่ 2544 ผู้คนหลั่งไหลกันเอาถ่านไฟฉายเก่าไปขายที่ร้านของจูหลังได้ยินประกาศว่า
เขาพร้อมจะซื้อถ่านไฟฉายเก่าจำนวนมาก เขารวบรวมถ่านไฟฉายเก่าได้ถึง 8,000 ก้อน
“งานสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องที่จะทำคนเดียวได้ ต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ” จูกล่าวและบอกภรรยาว่า
อยากตั้งรางวัลพิทักษ์สิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้ทำดีในเรื่องนี้ เธอเห็นด้วยอย่างยิ่ง จึงมีการจัดตั้งรางวัล
เทวดาตัวน้อยในการปกป้องสิ่งแวดล้อมและรางวัลผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อม จูบริจาคเงินไม่น้อยกว่า
50,000 บาทในแต่ละปีเพื่อเป็นรางวัลแก่นักเรียนชั้นมัธยมกับประถมและชาวเมืองที่มีผลงานพิทักษ์
สิ่งแวดล้อมโดดเด่นโดยประกาศชื่อผู้ได้รับรางวัลในวันที่ 5 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก
เพื่อให้มีเงินสนับสนุนรางวัลอย่างสม่ำเสมอทุกปี จูตัดสินใจขยับขยายร้านนาฬิกาสาขาหนึ่งให้เป็น
ร้านขายและส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่นถุงย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและ
ตะกร้าไม้ไผ่ เขาเชิญบรรดาผู้นำและนักกฎหมายของสำนักงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและเทศบาลเมือง
มาร่วมกันบริหารร้านโดยนำผลกำไรที่ได้ไปสมทบกองทุนเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม หากขาดทุน จูจะ
แบกรับภาระเอง เขาต้องกู้เงิน 200,000 บาทมาเป็นเงินทุนเริ่มดำเนินการสมทบกับเงินลงทุนใน
กิจการเดิม จูจดทะเบียนร้านนี้ด้วยเงินทุน 50,000 บาท
เดือนมิถุนายน 2544 โรงเรียนประถมหลายแห่งจัดส่งถ่านไฟฉายเก่า 80,000 ก้อนที่นักเรียนเก็บรวบ
รวมมาได้ไปที่ร้านของจู ในวันเดียวกันนั้น มีการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลซึ่งเป็นเด็กนักเรียน 150 คน
และผู้ใหญ่ 10 คน
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
ฉบับเดือนตุลาคม 2546 รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
จูทำงานในห้างสรรพสินค้ามานานกว่า 30 ปีก่อนจะเปิดร้านขายนาฬิกาในปี 2534
ขณะดูโทรทัศน์วันหนึ่งในเดือนตุลาคม 2543 เขาเห็นภาพคนทิ้งถ่านไฟฉายใช้แล้วลงใน
ถังขยะ ก่อนเข้าชมงานนิทรรศการแห่งหนึ่ง ภาพที่เห็นเตือนให้นึกถึงนิสัยของคนทั่วไปที่
ชอบทิ้งถ่านไฟฉายใช้แล้วลงแม่น้ำ หรือปล่อยให้เสื่อมสภาพอยู่ในดินซึ่งเป็นอันตรายต่อ
สิ่งแวดล้อม
เขาพบว่าจิตสำนึกด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมของคนในเมืองยังต่ำทั้งที่ปัญหาค่อนข้างรุนแรง
จึงเกิดความคิดว่าน่าจะปลูกฝังให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหานี้ด้วยการเริ่มต้นจากสิ่งเล็กน้อยก่อน
จูรณรงค์ด้วยการประกาศให้ลูกค้าทราบว่าผู้ที่นำถ่านไฟฉายเก่ามาแลกซื้อของใหม่ที่ร้านของเขา
จะได้รับส่วนลดพิเศษ จากนั้นจึงรวบรวมถ่านไฟฉายเก่าไปทำลายอย่างถูกวิธี
เมื่อข่าวแพร่สะพัดออกไป ลูกค้าก็มาที่ร้านมากขึ้นเรื่อยๆ เขารวบรวมถ่านไฟฉายเก่าได้ประมาณ
500 ก้อนในแต่ละวัน แต่ก็มีเสียงวิจารณ์ว่า เขาทำเช่นนี้เพื่อประชาสัมพันธ์ตนเอง ขณะที่บางคน
สงสัยว่าถ่านไฟฉายเก่าคงนำไปขายต่อได้
วันขึ้นปีใหม่ 2544 ผู้คนหลั่งไหลกันเอาถ่านไฟฉายเก่าไปขายที่ร้านของจูหลังได้ยินประกาศว่า
เขาพร้อมจะซื้อถ่านไฟฉายเก่าจำนวนมาก เขารวบรวมถ่านไฟฉายเก่าได้ถึง 8,000 ก้อน
“งานสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องที่จะทำคนเดียวได้ ต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ” จูกล่าวและบอกภรรยาว่า
อยากตั้งรางวัลพิทักษ์สิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้ทำดีในเรื่องนี้ เธอเห็นด้วยอย่างยิ่ง จึงมีการจัดตั้งรางวัล
เทวดาตัวน้อยในการปกป้องสิ่งแวดล้อมและรางวัลผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อม จูบริจาคเงินไม่น้อยกว่า
50,000 บาทในแต่ละปีเพื่อเป็นรางวัลแก่นักเรียนชั้นมัธยมกับประถมและชาวเมืองที่มีผลงานพิทักษ์
สิ่งแวดล้อมโดดเด่นโดยประกาศชื่อผู้ได้รับรางวัลในวันที่ 5 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก
เพื่อให้มีเงินสนับสนุนรางวัลอย่างสม่ำเสมอทุกปี จูตัดสินใจขยับขยายร้านนาฬิกาสาขาหนึ่งให้เป็น
ร้านขายและส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่นถุงย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและ
ตะกร้าไม้ไผ่ เขาเชิญบรรดาผู้นำและนักกฎหมายของสำนักงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและเทศบาลเมือง
มาร่วมกันบริหารร้านโดยนำผลกำไรที่ได้ไปสมทบกองทุนเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม หากขาดทุน จูจะ
แบกรับภาระเอง เขาต้องกู้เงิน 200,000 บาทมาเป็นเงินทุนเริ่มดำเนินการสมทบกับเงินลงทุนใน
กิจการเดิม จูจดทะเบียนร้านนี้ด้วยเงินทุน 50,000 บาท
เดือนมิถุนายน 2544 โรงเรียนประถมหลายแห่งจัดส่งถ่านไฟฉายเก่า 80,000 ก้อนที่นักเรียนเก็บรวบ
รวมมาได้ไปที่ร้านของจู ในวันเดียวกันนั้น มีการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลซึ่งเป็นเด็กนักเรียน 150 คน
และผู้ใหญ่ 10 คน
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
นักผลาญถ่านไฟฉาย ตอนที่ ( 3 )โดย Ni Li-Fang จากหนังสือสรรสาระ
ฉบับเดือนตุลาคม 2546 รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ต่อมาไม่นาน จูได้รับจดหมายจากนักเรียนชั้นประถมเขียนว่า “มีบริษัทหลายแห่งยังฝ่าฝืน
กฎหมายด้วยการทำลายสิ่งแวดล้อมและชาวเมืองจำนวนมากก็ยังละเลยไม่ช่วยกันอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม กรุณาเปิดโปงพฤติกรรมน่าละอายเหล่านี้ด้วยเพื่อช่วยให้เราได้อาศัยอยู่ในสภาพ
แวดล้อมที่ไม่มีมลภาวะ”
จูเห็นด้วยแต่รู้สึกว่า สิ่งที่เด็กเรียกร้องเกินความสามารถของตนที่จะจัดการได้ “ปัจจุบัน คนทั่วไป
ยังไม่เห็นคุณค่าของการปกป้องสิ่งแวดล้อม” เขากล่าว
“การเปิดโปงการกระทำที่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมคงช่วยได้บ้าง เราน่าจะถ่ายรูปการกระทำที่เห็น
แก่ตัวไว้ แต่ผมไม่รู้เรื่องถ่ายรูปและไม่มีเงินซื้อกล้องด้วย” เพื่อนคนหนึ่งทราบข่าวจึงนำกล้อง
ถ่ายรูป และกล้องวิดีโอมามอบให้พร้อมกับสอนวิธีถ่ายรูปเบื้องต้นให้จู
จูเริ่มเก็บหลักฐานการทำลายสิ่งแวดล้อมและรวบรวมอย่างเป็นระบบ ผู้คนเริ่มส่งข่าวมาให้หลังรับ
ทราบถึงการทำงานของจู หนี่งเดือนต่อมา จูจัดนิทรรศการผลงานภาพถ่ายของตนเองกว่า 60 ภาพ
ที่บริเวณทางเข้าร้าน บริษัทห้างร้านเกือบ 30 แห่งรวมทั้งโรงงานซีเมนต์และโรงงานเคมีตกเป็น
จำเลยของสังคม นิทรรศการครั้งนี้มีผู้ชมราว 1,000 คน
เจ้าของภัตตาคารที่เคยปล่อยสุนัขกัดจูถูกสังคมกดดันอย่างหนักจนต้องเลิกกิจการแล้วย้ายไปอยู่ที่อื่น
นอกจากนี้จูยังตั้งศูนย์โทรศัพท์สายด่วนเพื่อทำหน้าที่เป็น “ยามสิ่งแวดล้อม” เมื่อได้รับแจ้งเหตุทำลาย
สิ่งแวดล้อมในเขตที่เขาอยู่ จูจะตรวจสอบข้อมูลและบันทึกรายละเอียดไว้ แล้วออกไปตรวจสอบสถานที่
เกิดเหตุ ถ่ายภาพ และส่งรายงานให้หน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงแจ้งให้ผู้ร้องเรียนทราบผล
การสอบสวน
ตั้งแต่มีศูนย์โทรศัพท์สายด่วน จูได้รับคำร้องเรียนหลายสิบเรื่องและมีการขุดลอกแม่น้ำเซียนเจียวที่ไหล
ผ่านหลายเมืองโดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการเรียกร้องให้บริษัทที่ตั้งอยู่
บริเวณต้นน้ำปล่อยน้ำเสียตามวิธีที่ได้มาตรฐานเพื่อให้มีน้ำดิบที่มีคุณภาพสำหรับผลิตน้ำประปาป้อน
ประชาชนนับหมื่น บริษัทที่ลักลอบปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำต้องรับสารภาพและสัญญาว่าจะไม่ทำผิดอีก
โปรดติดตามตอนที่ ( 4 )ในวันพรุ่งนี้
ฉบับเดือนตุลาคม 2546 รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ต่อมาไม่นาน จูได้รับจดหมายจากนักเรียนชั้นประถมเขียนว่า “มีบริษัทหลายแห่งยังฝ่าฝืน
กฎหมายด้วยการทำลายสิ่งแวดล้อมและชาวเมืองจำนวนมากก็ยังละเลยไม่ช่วยกันอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม กรุณาเปิดโปงพฤติกรรมน่าละอายเหล่านี้ด้วยเพื่อช่วยให้เราได้อาศัยอยู่ในสภาพ
แวดล้อมที่ไม่มีมลภาวะ”
จูเห็นด้วยแต่รู้สึกว่า สิ่งที่เด็กเรียกร้องเกินความสามารถของตนที่จะจัดการได้ “ปัจจุบัน คนทั่วไป
ยังไม่เห็นคุณค่าของการปกป้องสิ่งแวดล้อม” เขากล่าว
“การเปิดโปงการกระทำที่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมคงช่วยได้บ้าง เราน่าจะถ่ายรูปการกระทำที่เห็น
แก่ตัวไว้ แต่ผมไม่รู้เรื่องถ่ายรูปและไม่มีเงินซื้อกล้องด้วย” เพื่อนคนหนึ่งทราบข่าวจึงนำกล้อง
ถ่ายรูป และกล้องวิดีโอมามอบให้พร้อมกับสอนวิธีถ่ายรูปเบื้องต้นให้จู
จูเริ่มเก็บหลักฐานการทำลายสิ่งแวดล้อมและรวบรวมอย่างเป็นระบบ ผู้คนเริ่มส่งข่าวมาให้หลังรับ
ทราบถึงการทำงานของจู หนี่งเดือนต่อมา จูจัดนิทรรศการผลงานภาพถ่ายของตนเองกว่า 60 ภาพ
ที่บริเวณทางเข้าร้าน บริษัทห้างร้านเกือบ 30 แห่งรวมทั้งโรงงานซีเมนต์และโรงงานเคมีตกเป็น
จำเลยของสังคม นิทรรศการครั้งนี้มีผู้ชมราว 1,000 คน
เจ้าของภัตตาคารที่เคยปล่อยสุนัขกัดจูถูกสังคมกดดันอย่างหนักจนต้องเลิกกิจการแล้วย้ายไปอยู่ที่อื่น
นอกจากนี้จูยังตั้งศูนย์โทรศัพท์สายด่วนเพื่อทำหน้าที่เป็น “ยามสิ่งแวดล้อม” เมื่อได้รับแจ้งเหตุทำลาย
สิ่งแวดล้อมในเขตที่เขาอยู่ จูจะตรวจสอบข้อมูลและบันทึกรายละเอียดไว้ แล้วออกไปตรวจสอบสถานที่
เกิดเหตุ ถ่ายภาพ และส่งรายงานให้หน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงแจ้งให้ผู้ร้องเรียนทราบผล
การสอบสวน
ตั้งแต่มีศูนย์โทรศัพท์สายด่วน จูได้รับคำร้องเรียนหลายสิบเรื่องและมีการขุดลอกแม่น้ำเซียนเจียวที่ไหล
ผ่านหลายเมืองโดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการเรียกร้องให้บริษัทที่ตั้งอยู่
บริเวณต้นน้ำปล่อยน้ำเสียตามวิธีที่ได้มาตรฐานเพื่อให้มีน้ำดิบที่มีคุณภาพสำหรับผลิตน้ำประปาป้อน
ประชาชนนับหมื่น บริษัทที่ลักลอบปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำต้องรับสารภาพและสัญญาว่าจะไม่ทำผิดอีก
โปรดติดตามตอนที่ ( 4 )ในวันพรุ่งนี้
นักผลาญถ่านไฟฉาย ตอนที่ ( 4 )(ตอนจบ) โดย Ni Li-Fang จากหนังสือสรรสาระ
ฉบับเดือนตุลาคม 2546 รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
หลังนิทรรศการภาพถ่ายและการติดตั้งโทรศัพท์สายด่วน จูถูกลอบทำร้ายอีกหลายครั้ง
จนภรรยาพยายามโน้มน้าวให้สามีเลิกทำงานนี้ “ผมเสียใจที่ทำให้คุณเดือดร้อน” เขาบอกภรรยา
“แต่งานปกป้องสิ่งแวดล้อมจะมีผลต่อคนรุ่นลูกหลาน”
ลูกสาวของจูยืนหยัดเคียงข้างเขาเสมอ เธอตามพ่อไปเมืองต่างๆ เพื่อแจกเอกสารและเก็บรวบรวม
ถ่านไฟฉายเก่า ลูกสาวของเขาเป็นพยาบาลจึงเข้าใจดีถึงผลกระทบของมลภาวะต่อสุขอนามัย
“พ่อจริงจังกับงานด้านสิ่งแวดล้อมมาก และดิฉันก็พร้อมจะสนับสนุนพ่อเสมอ” เธอกล่าว
ความทุ่มเทและเสียสละทำให้จูได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาประชาชนของเมืองเฉิงกวนและได้รับรางวัล
ชาวจีนผู้รักชาติจากสมาพันธ์ผู้รักชาติจีน ต่อมาในเดือนตุลาคม 2544 จูได้รับเลือกให้เป็นผู้อำนวย
การศูนย์การศึกษาสำหรับวัยรุ่นของสมาคมพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งมณฑลซีเจียง “นับแต่นี้ไป
การส่งเสริมให้คนรักสิ่งแวดล้อมจะง่ายขึ้นและมีพลังมากขึ้น” เขากล่าว
ความพยายามของจูได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งและเริ่มส่งผลให้เห็นแล้ว ชาวเมืองตระหนักถึง
พิษภัยของมลภาวะและเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน ทุกคนคุ้นเคยกับการ
ห่อขยะไปทิ้งเป็นที่เป็นทาง ไม่ยอมใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง และปลูกต้นไม้จนเป็นนิสัย
สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของเขตเต๋อชิงติดตั้งโทรศัพท์สายด่วนรับคำร้องเรียนและให้รางวัลแก่
ผู้แจ้งข่าว การทำงานของจูทำให้เด็กนักเรียนหลายพันคนเข้าร่วมโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่าง
แข็งขัน คนสูงอายุ 10 กว่าคนช่วยกันพิมพ์และแจกแผ่นพับเรื่องการปกป้องสิ่งแวดล้อมและช่วยกัน
เก็บขยะ รวมทั้งขัดขวางหากเห็นใครทำสิ่งที่เป็นผลร้ายต่อสิ่งแวดล้อม
“เวลาเห็นถนนสะอาดขึ้น แม่น้ำใสขึ้นและอากาศบริสุทธิ์ขึ้น ผมดีใจจนบอกไม่ถูก” จูกล่าว
“แต่ก็ไม่หมดห่วงเสียทีเดียว เพราะยังมีคนอีกมากและบริษัทอีกหลายแห่งที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ลำพังผมคนเดียวทำไม่สำเร็จหรอก งานนี้ต้องอาศัยความร่วมมือ
จากทุกคนในสังคม”
****************
จบบริบูรณ์
ฉบับเดือนตุลาคม 2546 รวบรวมโดย กอบกิจ ครุวรรณ
หลังนิทรรศการภาพถ่ายและการติดตั้งโทรศัพท์สายด่วน จูถูกลอบทำร้ายอีกหลายครั้ง
จนภรรยาพยายามโน้มน้าวให้สามีเลิกทำงานนี้ “ผมเสียใจที่ทำให้คุณเดือดร้อน” เขาบอกภรรยา
“แต่งานปกป้องสิ่งแวดล้อมจะมีผลต่อคนรุ่นลูกหลาน”
ลูกสาวของจูยืนหยัดเคียงข้างเขาเสมอ เธอตามพ่อไปเมืองต่างๆ เพื่อแจกเอกสารและเก็บรวบรวม
ถ่านไฟฉายเก่า ลูกสาวของเขาเป็นพยาบาลจึงเข้าใจดีถึงผลกระทบของมลภาวะต่อสุขอนามัย
“พ่อจริงจังกับงานด้านสิ่งแวดล้อมมาก และดิฉันก็พร้อมจะสนับสนุนพ่อเสมอ” เธอกล่าว
ความทุ่มเทและเสียสละทำให้จูได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาประชาชนของเมืองเฉิงกวนและได้รับรางวัล
ชาวจีนผู้รักชาติจากสมาพันธ์ผู้รักชาติจีน ต่อมาในเดือนตุลาคม 2544 จูได้รับเลือกให้เป็นผู้อำนวย
การศูนย์การศึกษาสำหรับวัยรุ่นของสมาคมพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งมณฑลซีเจียง “นับแต่นี้ไป
การส่งเสริมให้คนรักสิ่งแวดล้อมจะง่ายขึ้นและมีพลังมากขึ้น” เขากล่าว
ความพยายามของจูได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งและเริ่มส่งผลให้เห็นแล้ว ชาวเมืองตระหนักถึง
พิษภัยของมลภาวะและเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน ทุกคนคุ้นเคยกับการ
ห่อขยะไปทิ้งเป็นที่เป็นทาง ไม่ยอมใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง และปลูกต้นไม้จนเป็นนิสัย
สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของเขตเต๋อชิงติดตั้งโทรศัพท์สายด่วนรับคำร้องเรียนและให้รางวัลแก่
ผู้แจ้งข่าว การทำงานของจูทำให้เด็กนักเรียนหลายพันคนเข้าร่วมโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่าง
แข็งขัน คนสูงอายุ 10 กว่าคนช่วยกันพิมพ์และแจกแผ่นพับเรื่องการปกป้องสิ่งแวดล้อมและช่วยกัน
เก็บขยะ รวมทั้งขัดขวางหากเห็นใครทำสิ่งที่เป็นผลร้ายต่อสิ่งแวดล้อม
“เวลาเห็นถนนสะอาดขึ้น แม่น้ำใสขึ้นและอากาศบริสุทธิ์ขึ้น ผมดีใจจนบอกไม่ถูก” จูกล่าว
“แต่ก็ไม่หมดห่วงเสียทีเดียว เพราะยังมีคนอีกมากและบริษัทอีกหลายแห่งที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ลำพังผมคนเดียวทำไม่สำเร็จหรอก งานนี้ต้องอาศัยความร่วมมือ
จากทุกคนในสังคม”
****************
จบบริบูรณ์
ต้นไม้แสนรัก มีทั้งหมด ( 4 ) ตอนจบ
ต้นไม้แสนรัก ตอนที่ ( 1 )โดย Alex Dingwall-Main จากหนังสือสรรสาระ
ฉบับเดือนตุลาคม 2546
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
เราพบกันโดยบังเอิญเมื่อผมขับรถจิ๊ปชนท้ายรถเก๋งคันงามของเขาซึ่งเป็นชายชาวฝรั่งเศส
วัยกลางคนที่พูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว
เมื่อยื่นนามบัตรให้ เขาจึงทราบว่าผมเป็นนักจัดสวนอยู่ในแคว้นโปรวองซ์ (Provence) ทางตอนใต้
ของฝรั่งเศส เรอจีส์ โรตูร์เป็นมหาเศรษฐีและกำลังจะบูรณะสวนในคฤหาสน์ในช่วงนั้นพอดีจึงเชิญ
ผมไปชมอาณาจักรของเขา ลานหน้าคฤหาสน์สวยงามดีแต่ว่างเปล่า ผมจึงเสนอแนะให้ปลูก
ต้นมะกอกโบราณไว้กลางลาน
“ผมชอบต้นมะกอกมาก” เขากล่าว “ใบมะกอกสวยจริงๆ และยังเป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพอีกด้วย”
แย่หน่อยที่ผมพลั้งปากออกไปว่าจะหาต้นมะกอกอายุเก่าแก่ที่สุดในโลกให้ เขารีบตะครุบข้อเสนอ
ของผมทันที ที่จริงผมรู้เรื่องต้นมะกอกนิดหน่อยตั้งแต่ย้ายจากอังกฤษไปอยู่แถบเมดิเตอเรเนียน
เมื่อ 8 ปีก่อน และเพิ่งหาต้นมะกอกอายุ 500 ปีให้ลูกค้าคนหนึ่งได้ 2 ต้นซึ่งมีลักษณะเหมือนกันราว
กับเป็นต้นไม้ฝาแฝด แต่งานคราวนี้จะออกหัวหรือก้อยก็ยังไม่ทราบได้
พ่อค้าต้นไม้ในละแวกเมืองที่ผมอยู่หาต้นมะกอกเก่าแก่ให้ไม่ได้เลย ผมจึงต้องออกเดินทางเสาะหา
ไกลขึ้น ช่วงหนึ่งที่ไปหาที่สเปน ผมพบต้นมะกอกลักษณะสมบูรณ์แบบในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง คาดว่า
อายุราว 2,300 ปีตามที่พ่อค้าชื่อคูโนสซึ่งทำหน้าที่เป็นไกด์ของผมบอก มะกอกต้นนี้มีพุ่มใบมันเงา
แผ่กว้างออกจากลำต้นที่คดหนาและเอนโค้งไปข้างหน้าเล็กน้อยเหมือนกับกำลังกางแขนปกป้อง
ทุกสิ่งที่อยู่รอบบริเวณนั้น ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า “ต้นนางฟ้า”
“พวกคนงานอาศัยมะกอกต้นนี้ไว้หลบพายุ และเชื่อว่าต้นไม้นี้คอยปกป้องดูแลพวกเขาด้วย
แต่ต้นนี้ไม่ได้มีไว้ขายนะครับ” คูโนสยืนกรานเสียงแข็ง
“ต้นไม้ขนาดนี้โยกย้ายไปปลูกที่อื่นได้ไหม” ผมถาม
“ได้สิครับ” คูโนสตอบโดยไม่ลังเล “แต่เราต้องตัดแต่งรากซึ่งใหญ่และแข็งมาก รวมทั้ง
ตอนกิ่งด้วย และต้องทำในฤดูที่เหมาะสม”
คูโนสพาผมไปดูมะกอกอีกต้นซึ่งเชื่อกันว่าอายุราว 3,000 ปี และถือเป็นโบราณวัตถุของชาติ
เพราะนักบุญวินเซนต์ปลุกเสกไว้ในปีค.ศ.1410 ต้นนี้ก็ไม่ขายเช่นกัน มีรั้วล้อมรอบอยู่ภายในสวน
สาธารณะและถูกปล่อยปละละเลย ช่างน่าสมเพชเหลือเกิน แม้จะอยู่ในสภาพใกล้ตาย รากเก่า
ของมันซึ่งกลวงเป็นโพรงกลับมีกิ่งอ่อนแตกออกมา 2 กิ่ง ผมตั้งใจแน่วแน่ว่าจะต้องอนุรักษ์กิ่งที่น่า
สงสารนี้ไว้สักกิ่งทั้งที่ยังไม่รู้เหมือนกันว่าต้องทำอย่างไร แต่มั่นใจว่าสักวันคงต้องขอร้องคูโนส
ให้ช่วยแน่ๆ
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
ต้นไม้แสนรัก ตอนที่ ( 1 )โดย Alex Dingwall-Main จากหนังสือสรรสาระ
ฉบับเดือนตุลาคม 2546
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
เราพบกันโดยบังเอิญเมื่อผมขับรถจิ๊ปชนท้ายรถเก๋งคันงามของเขาซึ่งเป็นชายชาวฝรั่งเศส
วัยกลางคนที่พูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว
เมื่อยื่นนามบัตรให้ เขาจึงทราบว่าผมเป็นนักจัดสวนอยู่ในแคว้นโปรวองซ์ (Provence) ทางตอนใต้
ของฝรั่งเศส เรอจีส์ โรตูร์เป็นมหาเศรษฐีและกำลังจะบูรณะสวนในคฤหาสน์ในช่วงนั้นพอดีจึงเชิญ
ผมไปชมอาณาจักรของเขา ลานหน้าคฤหาสน์สวยงามดีแต่ว่างเปล่า ผมจึงเสนอแนะให้ปลูก
ต้นมะกอกโบราณไว้กลางลาน
“ผมชอบต้นมะกอกมาก” เขากล่าว “ใบมะกอกสวยจริงๆ และยังเป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพอีกด้วย”
แย่หน่อยที่ผมพลั้งปากออกไปว่าจะหาต้นมะกอกอายุเก่าแก่ที่สุดในโลกให้ เขารีบตะครุบข้อเสนอ
ของผมทันที ที่จริงผมรู้เรื่องต้นมะกอกนิดหน่อยตั้งแต่ย้ายจากอังกฤษไปอยู่แถบเมดิเตอเรเนียน
เมื่อ 8 ปีก่อน และเพิ่งหาต้นมะกอกอายุ 500 ปีให้ลูกค้าคนหนึ่งได้ 2 ต้นซึ่งมีลักษณะเหมือนกันราว
กับเป็นต้นไม้ฝาแฝด แต่งานคราวนี้จะออกหัวหรือก้อยก็ยังไม่ทราบได้
พ่อค้าต้นไม้ในละแวกเมืองที่ผมอยู่หาต้นมะกอกเก่าแก่ให้ไม่ได้เลย ผมจึงต้องออกเดินทางเสาะหา
ไกลขึ้น ช่วงหนึ่งที่ไปหาที่สเปน ผมพบต้นมะกอกลักษณะสมบูรณ์แบบในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง คาดว่า
อายุราว 2,300 ปีตามที่พ่อค้าชื่อคูโนสซึ่งทำหน้าที่เป็นไกด์ของผมบอก มะกอกต้นนี้มีพุ่มใบมันเงา
แผ่กว้างออกจากลำต้นที่คดหนาและเอนโค้งไปข้างหน้าเล็กน้อยเหมือนกับกำลังกางแขนปกป้อง
ทุกสิ่งที่อยู่รอบบริเวณนั้น ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า “ต้นนางฟ้า”
“พวกคนงานอาศัยมะกอกต้นนี้ไว้หลบพายุ และเชื่อว่าต้นไม้นี้คอยปกป้องดูแลพวกเขาด้วย
แต่ต้นนี้ไม่ได้มีไว้ขายนะครับ” คูโนสยืนกรานเสียงแข็ง
“ต้นไม้ขนาดนี้โยกย้ายไปปลูกที่อื่นได้ไหม” ผมถาม
“ได้สิครับ” คูโนสตอบโดยไม่ลังเล “แต่เราต้องตัดแต่งรากซึ่งใหญ่และแข็งมาก รวมทั้ง
ตอนกิ่งด้วย และต้องทำในฤดูที่เหมาะสม”
คูโนสพาผมไปดูมะกอกอีกต้นซึ่งเชื่อกันว่าอายุราว 3,000 ปี และถือเป็นโบราณวัตถุของชาติ
เพราะนักบุญวินเซนต์ปลุกเสกไว้ในปีค.ศ.1410 ต้นนี้ก็ไม่ขายเช่นกัน มีรั้วล้อมรอบอยู่ภายในสวน
สาธารณะและถูกปล่อยปละละเลย ช่างน่าสมเพชเหลือเกิน แม้จะอยู่ในสภาพใกล้ตาย รากเก่า
ของมันซึ่งกลวงเป็นโพรงกลับมีกิ่งอ่อนแตกออกมา 2 กิ่ง ผมตั้งใจแน่วแน่ว่าจะต้องอนุรักษ์กิ่งที่น่า
สงสารนี้ไว้สักกิ่งทั้งที่ยังไม่รู้เหมือนกันว่าต้องทำอย่างไร แต่มั่นใจว่าสักวันคงต้องขอร้องคูโนส
ให้ช่วยแน่ๆ
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
ต้นไม้แสนรัก ตอนที่ ( 2 )) โดย Alex Dingwall-Main จากหนังสือสรรสาระ
ฉบับเดือนตุลาคม 2546 รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ผมแวะไปหาคนขายต้นไม้รายอื่นๆ ในสเปนก่อนจะเดินทางต่อไปอิตาลีและข้ามไปยัง
เกาะครีตที่ประเทศกรีซ หลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่า มีการปลูกต้นมะกอกที่นั่นเมื่อ 2,500 ปี
ก่อนคริสตกาล ผมถึงกับตะลึงเมื่อเห็นต้นไม้โบราณขนาดมหึมามากมาย แต่ละต้นสูงกว่า
18 เมตร เพียงแค่คิดจะย้ายมะกอกพวกนี้สักต้นก็รู้สึกผิดมหันต์แล้ว
ผมไม่ได้โทรศัพท์ไปคุยกับเรอจีส์ทั้งที่กลับจากเกาะครีตได้ 2 สัปดาห์แล้วเพราะยังไม่มีผลงาน
เป็นชิ้นเป็นอัน มีแต่ค่าใช้จ่ายซึ่งคงเป็นตลกฝืดหากจะไปยื่นใบเสร็จเพื่อเรียกเก็บเงินจากเขา
แล้วคูโนสก็โทรฯมาบอกว่าเจ้าของที่ดินชื่อเปเรซซึ่งมีต้นนางฟ้าตั้งอยู่ต้องการขายมะกอกต้นนั้น
แต่มีข้อแม้ว่าต้องซื้อที่ดินเกือบ 40 ไร่และบ้านเล็กๆ อีกหลังด้วย
ชาวบ้านและนักข่าวให้การต้อนรับเศรษฐีชาวฝรั่งเศสอย่างอบอุ่น คูโนสทำตัวเป็นพ่องานจัดแจง
ให้มีไวน์ ดนตรี และงานเต้นรำเพื่อฉลองการย้ายต้นนางฟ้า
เรอจีส์จ้องมองต้นมะกอกไม่วางตาโดยไม่สนใจไยดีนักข่าวที่รุมล้อมถ่ายรูปและขอสัมภาษณ์
เขามองสำรวจรอบๆ กระท่อมและที่ดิน จากนั้นก็ต่อรองราคากับทนายพอเป็นพิธีแล้วจึงลงนามใน
เอกสาร คูโนสคะยั้นคะยอให้เรอจีส์กล่าวกับชาวบ้านเล็กน้อย โดยมีทนายซึ่งพูดภาษาสเปนเป็นล่าม
“ผมคิดไม่ถึงเลยว่า การซื้อขายต้นไม้ที่มีอายุเก่าแก่และสวยงามต้นนี้จะเป็นที่สนใจกันมากมาย
ขนาดนี้” เขากล่าวผ่านไมโครโฟน
“ผมจะย้ายต้นนางฟ้าไปไว้ที่บ้านผมในโปรวองซ์ และเปเรซก็อนุญาตให้ผมย้ายกระท่อมหลังเล็กนี้ไ
ปเป็นเพื่อนต้นมะกอกด้วยแล้ว”
ใบหน้ายิ้มแย้มทั้งหลายหุบลงทันที เสียงกระเซ้าเย้าแหย่กลายเป็นเสียงอุทานด้วยความงุนงง
ชาวบ้านต่างเหลียวมองกันด้วยสีหน้าประหลาดใจอย่างไม่เชื่อหูตนเอง
เรอจีส์กล่าวต่อว่า “เราใช้เวลานานมากกว่าจะหาต้นไม้ที่เก่าแก่สวยงามเช่นนี้ได้ ผมรับรองว่า
จะดูแลมันอย่างดีที่สุด”
ผมได้ยินเสียงพึมพำเรื่องต้นนางฟ้า ชาวบ้านคิดว่าเขาเพียงแค่ซื้อที่ดินแปลงนี้ ไม่มีใครคิดว่า
จะมีคนเอาต้นไม้อันเป็นที่รักไปจากพวกเขา
แล้วท้องฟ้าก็เริ่มส่งเสียงคำรามก่อนที่ละอองฝนจะค่อยๆ โปรยปรายลงมาแล้วเปลี่ยนเป็นฝน
ห่าใหญ่อย่างรวดเร็ว ชาวบ้านผละจากเรอจีส์เข้าไปอยู่ใต้ร่มต้นมะกอกโบราณ
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
ฉบับเดือนตุลาคม 2546 รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ผมแวะไปหาคนขายต้นไม้รายอื่นๆ ในสเปนก่อนจะเดินทางต่อไปอิตาลีและข้ามไปยัง
เกาะครีตที่ประเทศกรีซ หลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่า มีการปลูกต้นมะกอกที่นั่นเมื่อ 2,500 ปี
ก่อนคริสตกาล ผมถึงกับตะลึงเมื่อเห็นต้นไม้โบราณขนาดมหึมามากมาย แต่ละต้นสูงกว่า
18 เมตร เพียงแค่คิดจะย้ายมะกอกพวกนี้สักต้นก็รู้สึกผิดมหันต์แล้ว
ผมไม่ได้โทรศัพท์ไปคุยกับเรอจีส์ทั้งที่กลับจากเกาะครีตได้ 2 สัปดาห์แล้วเพราะยังไม่มีผลงาน
เป็นชิ้นเป็นอัน มีแต่ค่าใช้จ่ายซึ่งคงเป็นตลกฝืดหากจะไปยื่นใบเสร็จเพื่อเรียกเก็บเงินจากเขา
แล้วคูโนสก็โทรฯมาบอกว่าเจ้าของที่ดินชื่อเปเรซซึ่งมีต้นนางฟ้าตั้งอยู่ต้องการขายมะกอกต้นนั้น
แต่มีข้อแม้ว่าต้องซื้อที่ดินเกือบ 40 ไร่และบ้านเล็กๆ อีกหลังด้วย
ชาวบ้านและนักข่าวให้การต้อนรับเศรษฐีชาวฝรั่งเศสอย่างอบอุ่น คูโนสทำตัวเป็นพ่องานจัดแจง
ให้มีไวน์ ดนตรี และงานเต้นรำเพื่อฉลองการย้ายต้นนางฟ้า
เรอจีส์จ้องมองต้นมะกอกไม่วางตาโดยไม่สนใจไยดีนักข่าวที่รุมล้อมถ่ายรูปและขอสัมภาษณ์
เขามองสำรวจรอบๆ กระท่อมและที่ดิน จากนั้นก็ต่อรองราคากับทนายพอเป็นพิธีแล้วจึงลงนามใน
เอกสาร คูโนสคะยั้นคะยอให้เรอจีส์กล่าวกับชาวบ้านเล็กน้อย โดยมีทนายซึ่งพูดภาษาสเปนเป็นล่าม
“ผมคิดไม่ถึงเลยว่า การซื้อขายต้นไม้ที่มีอายุเก่าแก่และสวยงามต้นนี้จะเป็นที่สนใจกันมากมาย
ขนาดนี้” เขากล่าวผ่านไมโครโฟน
“ผมจะย้ายต้นนางฟ้าไปไว้ที่บ้านผมในโปรวองซ์ และเปเรซก็อนุญาตให้ผมย้ายกระท่อมหลังเล็กนี้ไ
ปเป็นเพื่อนต้นมะกอกด้วยแล้ว”
ใบหน้ายิ้มแย้มทั้งหลายหุบลงทันที เสียงกระเซ้าเย้าแหย่กลายเป็นเสียงอุทานด้วยความงุนงง
ชาวบ้านต่างเหลียวมองกันด้วยสีหน้าประหลาดใจอย่างไม่เชื่อหูตนเอง
เรอจีส์กล่าวต่อว่า “เราใช้เวลานานมากกว่าจะหาต้นไม้ที่เก่าแก่สวยงามเช่นนี้ได้ ผมรับรองว่า
จะดูแลมันอย่างดีที่สุด”
ผมได้ยินเสียงพึมพำเรื่องต้นนางฟ้า ชาวบ้านคิดว่าเขาเพียงแค่ซื้อที่ดินแปลงนี้ ไม่มีใครคิดว่า
จะมีคนเอาต้นไม้อันเป็นที่รักไปจากพวกเขา
แล้วท้องฟ้าก็เริ่มส่งเสียงคำรามก่อนที่ละอองฝนจะค่อยๆ โปรยปรายลงมาแล้วเปลี่ยนเป็นฝน
ห่าใหญ่อย่างรวดเร็ว ชาวบ้านผละจากเรอจีส์เข้าไปอยู่ใต้ร่มต้นมะกอกโบราณ
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
ต้นไม้แสนรัก ตอนที่ ( 3 )โดย Alex Dingwall-Main จากหนังสือสรรสาระ
ฉบับเดือนตุลาคม 2546 รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
พอทุกคนวิ่งไปอยู่ใต้ต้นไม้กันแล้ว เรอจีส์ก็หยุดพูด เด็กๆ จับมือกันโอบล้อมรอบลำต้น
ส่วนพวกผู้ใหญ่ก็แหงนหน้ามองขึ้นไปบนยอดไม้ด้วยความรู้สึกใจหาย พวกแม่เฒ่ากอดกัน
คร่ำครวญด้วยความโศกเศร้า
“ท่านเอาต้นไม้ของเราไปไม่ได้หรอกครับ มันต้องอยู่กับพวกเราทุกคน” เปเรซกล่าว
“ผมทำผิดมหันต์เพราะความโลภโดยแท้ ผมไม่มีสิทธิ์ขายต้นไม้นี้ซึ่งเป็นจิตวิญญาณของพวกเรา
ทุกคนที่นี่ เธอเป็นนางฟ้าของพวกเรา” เขาพูดตะกุกตะกักพลางยื่นมือไปทางเรอจีส์ ใบหน้าอัน
เศร้าสร้อยที่อ้อนวอนขออภัยนั้นเห็นแล้วน่าเจ็บปวดยิ่งนัก
ดูเหมือนว่าผมทำให้เกิดเรื่องเศร้าขึ้น เรอจีส์ท่าทางอึดอัดใจ ทนายก็ชักรำคาญเต็มทน ชาวบ้าน
ซุบซิบกันราวกับพบเห็นคดีอุกฉกรรจ์ ผมจึงให้คูโนสไปเจรจากับเรอจีส์
ครู่เดียวมหาเศรษฐีก็กลับมายืนหน้าไมโครโฟนท่ามกลางแสงอาทิตย์เจิดจ้าอีกครั้ง
“ผมผิดเองที่คิดว่าจะถือวิสาสะเอาต้นไม้ที่งามสง่าอายุหลายพันปีนี้ไปโดยไม่กระทบกระเทือน
จิตใจใคร โดยมโนธรรมแล้ว ผมไม่มีสิทธิ์เอาต้นไม้นี้ไปไหน” เสียงปรบมือดังขึ้นพร้อมกัน
โดยมิได้นัดหมาย
“แต่ผมเซ็นเอกสารไปแล้ว และผมก็เป็นเจ้าของที่ดินที่พวกคุณยืนอยู่ ผมอยากตกลงอะไร
สักอย่างกับพวกคุณ อีกราว 6 เดือนลูกสาวคนโตของผมจะคลอดลูก ผมตัดสินใจว่า จะยก
ที่ดินผืนนี้ให้แก่หลานคนแรก”
“เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่จะมีต้นนางฟ้าไว้คุ้มครองพวกคุณต่อไป ผมอยากให้พวกคุณ
ต้อนรับลูกสาวของผม ตลอดจนลูกและสามีของเธอเข้าสู่ชุมชนนี้ด้วยความเต็มใจและให้ความ
ปลอดภัยเช่นเดียวกัน”
คราวนี้เสียงปรบมือดังระคนเสียงโห่ร้องด้วยความยินดี การตัดสินใจอย่างรวดเร็วของเรอจีส์ทำ
ให้ทุกอย่างดำเนินไปด้วยดี เขาเปลี่ยนความล้มเหลวให้เป็นความสำเร็จได้ราวกับอัศจรรย์
“คุณน่าจะมีความคิดดีๆ เรื่องลานหน้าบ้านนะ พ่อหนุ่ม” เขาพูดพลางชี้นิ้วมาที่ผมผ่านกระจกหลัง
รถเก๋งคันใหญ่ รอยยิ้มนั้นยากจะเดาใจออก ก่อนจะโบกมือให้ผมอย่างเสียไม่ได้...
“อย่าเลยครับ ถ้าถูกจับได้ว่าแอบมาตอนกิ่งต้นมะกอกเก่าแก่ที่สุดในสเปนกลางดึก ผมคงถูกตอน
เสียเองและติดคุกแน่” นั่นคือปฏิกิริยาของคูโนสเมื่อผมเสนอว่า เรายังเป็นหนี้เรอจีส์อยู่และน่าจะ
ตอบแทนเขาที่ไม่ให้ทนายฟ้องพวกเรา
แต่แล้วกลางแสงจันทร์นวลผ่อง เราก็มาที่ต้นมะกอกโบราณในสวนสาธารณะจนได้ รั้วสนิมเขรอะ
ดูเหมือนคุกมากกว่ารั้วสำหรับปกป้องคุ้มครอง เปลือกของลำต้นที่เปลือยเปล่าหลุดร่วงจากโครง
สร้างรากที่ฝังลึกอย่างอ่อนล้า แต่กลับมีกิ่งอ่อนของอีกรุ่นงอกออกมาจากรากเก่าแก่ที่ยังแข็งแรง
โปรดติดตามตอนที่ ( 4. )ในวันพรุ่งนี้
ฉบับเดือนตุลาคม 2546 รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
พอทุกคนวิ่งไปอยู่ใต้ต้นไม้กันแล้ว เรอจีส์ก็หยุดพูด เด็กๆ จับมือกันโอบล้อมรอบลำต้น
ส่วนพวกผู้ใหญ่ก็แหงนหน้ามองขึ้นไปบนยอดไม้ด้วยความรู้สึกใจหาย พวกแม่เฒ่ากอดกัน
คร่ำครวญด้วยความโศกเศร้า
“ท่านเอาต้นไม้ของเราไปไม่ได้หรอกครับ มันต้องอยู่กับพวกเราทุกคน” เปเรซกล่าว
“ผมทำผิดมหันต์เพราะความโลภโดยแท้ ผมไม่มีสิทธิ์ขายต้นไม้นี้ซึ่งเป็นจิตวิญญาณของพวกเรา
ทุกคนที่นี่ เธอเป็นนางฟ้าของพวกเรา” เขาพูดตะกุกตะกักพลางยื่นมือไปทางเรอจีส์ ใบหน้าอัน
เศร้าสร้อยที่อ้อนวอนขออภัยนั้นเห็นแล้วน่าเจ็บปวดยิ่งนัก
ดูเหมือนว่าผมทำให้เกิดเรื่องเศร้าขึ้น เรอจีส์ท่าทางอึดอัดใจ ทนายก็ชักรำคาญเต็มทน ชาวบ้าน
ซุบซิบกันราวกับพบเห็นคดีอุกฉกรรจ์ ผมจึงให้คูโนสไปเจรจากับเรอจีส์
ครู่เดียวมหาเศรษฐีก็กลับมายืนหน้าไมโครโฟนท่ามกลางแสงอาทิตย์เจิดจ้าอีกครั้ง
“ผมผิดเองที่คิดว่าจะถือวิสาสะเอาต้นไม้ที่งามสง่าอายุหลายพันปีนี้ไปโดยไม่กระทบกระเทือน
จิตใจใคร โดยมโนธรรมแล้ว ผมไม่มีสิทธิ์เอาต้นไม้นี้ไปไหน” เสียงปรบมือดังขึ้นพร้อมกัน
โดยมิได้นัดหมาย
“แต่ผมเซ็นเอกสารไปแล้ว และผมก็เป็นเจ้าของที่ดินที่พวกคุณยืนอยู่ ผมอยากตกลงอะไร
สักอย่างกับพวกคุณ อีกราว 6 เดือนลูกสาวคนโตของผมจะคลอดลูก ผมตัดสินใจว่า จะยก
ที่ดินผืนนี้ให้แก่หลานคนแรก”
“เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่จะมีต้นนางฟ้าไว้คุ้มครองพวกคุณต่อไป ผมอยากให้พวกคุณ
ต้อนรับลูกสาวของผม ตลอดจนลูกและสามีของเธอเข้าสู่ชุมชนนี้ด้วยความเต็มใจและให้ความ
ปลอดภัยเช่นเดียวกัน”
คราวนี้เสียงปรบมือดังระคนเสียงโห่ร้องด้วยความยินดี การตัดสินใจอย่างรวดเร็วของเรอจีส์ทำ
ให้ทุกอย่างดำเนินไปด้วยดี เขาเปลี่ยนความล้มเหลวให้เป็นความสำเร็จได้ราวกับอัศจรรย์
“คุณน่าจะมีความคิดดีๆ เรื่องลานหน้าบ้านนะ พ่อหนุ่ม” เขาพูดพลางชี้นิ้วมาที่ผมผ่านกระจกหลัง
รถเก๋งคันใหญ่ รอยยิ้มนั้นยากจะเดาใจออก ก่อนจะโบกมือให้ผมอย่างเสียไม่ได้...
“อย่าเลยครับ ถ้าถูกจับได้ว่าแอบมาตอนกิ่งต้นมะกอกเก่าแก่ที่สุดในสเปนกลางดึก ผมคงถูกตอน
เสียเองและติดคุกแน่” นั่นคือปฏิกิริยาของคูโนสเมื่อผมเสนอว่า เรายังเป็นหนี้เรอจีส์อยู่และน่าจะ
ตอบแทนเขาที่ไม่ให้ทนายฟ้องพวกเรา
แต่แล้วกลางแสงจันทร์นวลผ่อง เราก็มาที่ต้นมะกอกโบราณในสวนสาธารณะจนได้ รั้วสนิมเขรอะ
ดูเหมือนคุกมากกว่ารั้วสำหรับปกป้องคุ้มครอง เปลือกของลำต้นที่เปลือยเปล่าหลุดร่วงจากโครง
สร้างรากที่ฝังลึกอย่างอ่อนล้า แต่กลับมีกิ่งอ่อนของอีกรุ่นงอกออกมาจากรากเก่าแก่ที่ยังแข็งแรง
โปรดติดตามตอนที่ ( 4. )ในวันพรุ่งนี้
ต้นไม้แสนรัก ตอนที่ ( 4. )โดย Alex Dingwall-Main จากหนังสือสรรสาระ
ฉบับเดือนตุลาคม 2546 รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
เรานำเครื่องมือซึ่งประกอบด้วยกระบอกทำจากกระดาษแข็งสำหรับซ่อนกิ่งที่ตัดออกมา
ผ้าดิบสำหรับหุ้มใบมีดของกรรไกรตัดกิ่งด้ามยาวเพื่อไม่ให้ต้นไม้ที่น่าสงสารบอบช้ำ และถุงมือ
อีกคู่เพื่อจะได้ไม่ทิ้งรอยนิ้วมือไว้
แผนการก็คือตัดกิ่งอ่อนออกจากรากอย่างเบามือโดยให้มีปมกิ่งติดมาด้วย มันหลุดออกมา
อย่างง่ายดายโดยมีปมติดมา. ผมไม่แน่ใจว่าเรอจีส์จะว่าอย่างไร เมื่อผมโทรฯไปหา เขาก็มี
ไมตรีจิตและสุภาพเช่นเคย ผมบอกว่าได้ความคิดใหม่สำหรับลานหน้าคฤหาสน์และอยาก
ให้เขาชมภาพร่าง
“มาวันพฤหัสบดีก็แล้วกัน ถ้าผมชอบความคิด คุณก็อยู่กินอาหารเที่ยงด้วยกัน” พ่อบ้านนำผม
เข้าไปในห้องสมุด ผมซ่อนกิ่งมะกอกไว้หลังเก้าอี้ เรอจีส์รีบเดินเข้ามาและพูดว่า
“ผมเล่าเรื่องที่โชคชะตาลิขิตอนาคตหลานให้เพื่อนๆ ฟังและโทรฯไปบอกลูกสาว เธอตื่นเต้นใหญ่
บอกว่าอยากไปเห็นกระท่อมเล็กๆ นั่น และ...” เขาเว้นช่วงนิดหนึ่งให้ตื่นเต้น “ต้นนางฟ้าด้วย”
ผมรู้สึกเหมือนยกภูเขาออกจากอกเพราะเตรียมใจไว้แล้วว่าคงถูกตำหนิอย่างแรงที่ไม่สามารถย้าย
ต้นนางฟ้ามาได้
ผมนำภาพร่างออกมาให้ดู กลางลานเป็นโอ่งน้ำมันมะกอกเก่าที่ได้มาจากโรงสกัดโบราณโดยมีกิ่ง
ชำเล็กๆ ปลูกอยู่ข้างใน เขาชอบโอ่ง “แต่ต้นไม้ที่ปลูกอยู่นั่นไม่ค่อยน่าสนใจนะ ว่าไหม”
“นั่นล่ะของสำคัญเลยครับ” ผมตอบ “ที่จริง กิ่งเล็กๆ ในภาพที่ร่างอยู่นั้นเป็นกิ่งที่ตอนจากต้นมะกอก
อายุ 3,000 ปี ซึ่งอาจเป็นต้นมะกอกเก่าแก่ที่สุดในยุโรปหรืออาจเก่าแก่ที่สุดในโลกนะครับ มันเป็น
สมบัติของชาติ ได้รับการปกป้องและเติบโตอยู่ในรั้วของสวนสาธารณะอยู่ในปัจจุบัน”
“เป็นความคิดที่เยี่ยมมาก แต่คุณจะตอนกิ่งนั้นมาได้อย่างไร เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว และอาจผิดกฎหมายด้วย”
น้ำเสียงเขาชักรำคาญ
“ขอตัวประเดี๋ยวนะครับ” ผมบอก พลางควานไปหลังเก้าอี้แล้วหันมาหาเขา
“กิ่งตอนนั่นอยู่นี่ครับ” ผมยื่นกระถางที่มีต้นไม้สุดพิเศษให้
เขารับไว้อย่างเบามือราวกับถือเครื่องแก้ว สีหน้าเปลี่ยนจากความระแวงเป็นตะลึงและตื่นเต้นในที่สุด
“สมบัติล้ำค่าจริงๆ” เขารำพึงเบาๆ “ผมว่าคุณน่าจะอยู่กินมื้อเที่ยงด้วยกันนะ”
***************
จบบริบูรณ์
ฉบับเดือนตุลาคม 2546 รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
เรานำเครื่องมือซึ่งประกอบด้วยกระบอกทำจากกระดาษแข็งสำหรับซ่อนกิ่งที่ตัดออกมา
ผ้าดิบสำหรับหุ้มใบมีดของกรรไกรตัดกิ่งด้ามยาวเพื่อไม่ให้ต้นไม้ที่น่าสงสารบอบช้ำ และถุงมือ
อีกคู่เพื่อจะได้ไม่ทิ้งรอยนิ้วมือไว้
แผนการก็คือตัดกิ่งอ่อนออกจากรากอย่างเบามือโดยให้มีปมกิ่งติดมาด้วย มันหลุดออกมา
อย่างง่ายดายโดยมีปมติดมา. ผมไม่แน่ใจว่าเรอจีส์จะว่าอย่างไร เมื่อผมโทรฯไปหา เขาก็มี
ไมตรีจิตและสุภาพเช่นเคย ผมบอกว่าได้ความคิดใหม่สำหรับลานหน้าคฤหาสน์และอยาก
ให้เขาชมภาพร่าง
“มาวันพฤหัสบดีก็แล้วกัน ถ้าผมชอบความคิด คุณก็อยู่กินอาหารเที่ยงด้วยกัน” พ่อบ้านนำผม
เข้าไปในห้องสมุด ผมซ่อนกิ่งมะกอกไว้หลังเก้าอี้ เรอจีส์รีบเดินเข้ามาและพูดว่า
“ผมเล่าเรื่องที่โชคชะตาลิขิตอนาคตหลานให้เพื่อนๆ ฟังและโทรฯไปบอกลูกสาว เธอตื่นเต้นใหญ่
บอกว่าอยากไปเห็นกระท่อมเล็กๆ นั่น และ...” เขาเว้นช่วงนิดหนึ่งให้ตื่นเต้น “ต้นนางฟ้าด้วย”
ผมรู้สึกเหมือนยกภูเขาออกจากอกเพราะเตรียมใจไว้แล้วว่าคงถูกตำหนิอย่างแรงที่ไม่สามารถย้าย
ต้นนางฟ้ามาได้
ผมนำภาพร่างออกมาให้ดู กลางลานเป็นโอ่งน้ำมันมะกอกเก่าที่ได้มาจากโรงสกัดโบราณโดยมีกิ่ง
ชำเล็กๆ ปลูกอยู่ข้างใน เขาชอบโอ่ง “แต่ต้นไม้ที่ปลูกอยู่นั่นไม่ค่อยน่าสนใจนะ ว่าไหม”
“นั่นล่ะของสำคัญเลยครับ” ผมตอบ “ที่จริง กิ่งเล็กๆ ในภาพที่ร่างอยู่นั้นเป็นกิ่งที่ตอนจากต้นมะกอก
อายุ 3,000 ปี ซึ่งอาจเป็นต้นมะกอกเก่าแก่ที่สุดในยุโรปหรืออาจเก่าแก่ที่สุดในโลกนะครับ มันเป็น
สมบัติของชาติ ได้รับการปกป้องและเติบโตอยู่ในรั้วของสวนสาธารณะอยู่ในปัจจุบัน”
“เป็นความคิดที่เยี่ยมมาก แต่คุณจะตอนกิ่งนั้นมาได้อย่างไร เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว และอาจผิดกฎหมายด้วย”
น้ำเสียงเขาชักรำคาญ
“ขอตัวประเดี๋ยวนะครับ” ผมบอก พลางควานไปหลังเก้าอี้แล้วหันมาหาเขา
“กิ่งตอนนั่นอยู่นี่ครับ” ผมยื่นกระถางที่มีต้นไม้สุดพิเศษให้
เขารับไว้อย่างเบามือราวกับถือเครื่องแก้ว สีหน้าเปลี่ยนจากความระแวงเป็นตะลึงและตื่นเต้นในที่สุด
“สมบัติล้ำค่าจริงๆ” เขารำพึงเบาๆ “ผมว่าคุณน่าจะอยู่กินมื้อเที่ยงด้วยกันนะ”
***************
จบบริบูรณ์
ชายผู้โหม่งโลก 2 ครั้ง มีทั้งหมด ( 5 )ตอนจบ
ชายผู้โหม่งโลก 2 ครั้ง ตอนที่ ( 1 )โดย Lee Maynard จากหนังสือสรรสาระ
ฉบับเดือนตุลาคม 2546 และจากเรื่อง “No big deal, survivor of 2 crashes says”
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
เรื่องเริ่มต้นเมื่อเขาขึ้นบินกับเพื่อนๆ แต่จบลงด้วยการเสี่ยงชีวิตซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ดวงอาทิตย์สีหม่นเดือนมกราคมลอยเหนือทะเลทรายกว้างไกลสุดสายตา ขณะที่เครื่องบิน
เซสน่า 172 (Cessna 172) เชิดหัวขึ้นโดยมีจัสติน เคิร์ก ไบรด์ (Justin Kirkbride) ชายร่างสูงใหญ่
วัย 31 ปีเป็นผู้ควบคุมการบิน เขากำลังจะสำเร็จหลักสูตรการบินพาณิชย์และหวังว่าจะได้ทำงาน
ในแวดวงการบิน วันนี้เขาเช่าเครื่องบินเล็กเพื่อนำเพื่อนขึ้นชมทัศนียภาพในระยะใกล้ๆ
แลรี่ ไดมอนด์ (Larry Dimond) วัย 42 ปีผู้ทำหน้าที่นักบินที่สองสวมรองเท้าบูทเดินป่าและ
เสื้อคลุมกันหนาว นอกจากนี้ยังมีน้องเขยของแลรี่ชื่อทอมมี่ ร็อบบินส์ (Tommy Robbins) ซึ่งสวม
กางเกงผ้าใบขาสั้น รองเท้าแตะและเสื้อแจ็กเกตหนังบางๆ
ชายทั้งสามบินจากรัฐนิวเม็กซิโกทางใต้ของสหรัฐฯ ข้ามเขตเขามุ่งหน้าสู่รัฐโคโลราโดทาง
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ แลรี่ต้องมนต์ความงามของเทือกเขาสูงเสียดฟ้าที่ปกคลุมด้วยหิมะ นี่เป็น
ครั้งแรกในรอบ 11 ปีที่เขามาเที่ยวแถบภูเขา
เมื่อได้เวลาบินกลับ จัสตินเลี้ยวโค้งลงทางใต้ กระแสลมที่พัดผ่านสันเขาเบื้องหน้าม้วนตัวลง
ล่างและปะทะเครื่องบินลำน้อย ส่งผลให้เครื่องบินถูกแรงกดดึงเข้าหาพื้นโลก เครื่องเซสน่าเริ่ม
ลดระดับลงต่ำกว่ายอดเขารอบข้าง
จัสตินเป็นคนหนักแน่นไม่ตื่นเต้นง่าย แต่นี่เป็นฝันร้ายของนักบินทุกคน เมื่อเครื่องบินสูญเสีย
ความเร็ว สัญญาณเตือนความเร็วต่ำเกินพิกัดก็เริ่มแผดเสียง ถ้าสูญเสียแรงยกตัว เครื่องบินอาจ
โหม่งภูเขา “ทอมมี่ นายคิดว่ายังไง” จัสตินพูดน้ำเสียงเรียบ
ทอมมี่ผ่านการบินเครื่องบินเล็กมา 10,000 ชั่วโมงและเคยผ่านเหตุการณ์เครื่องบินตกมาก่อน
จึงรู้ว่าทำอะไรไม่ได้แล้วในตอนนี้ “หาทางนำเครื่องลงให้ได้”
เขาบอกจัสติน ซึ่งหมายความว่า ต้องบังคับเลี้ยวเพื่อหาตำแหน่งดีที่สุด แล้วพยายามนำเครื่องบิน
ลงในมุมปกติขณะที่เครื่องยังมีกำลังอยู่
จัสตินบังคับเครื่องบินให้ร่อนลงมาบนแผงกิ่งไม้สนส่วนที่นุ่มโดยบังคับให้หัวเครื่องเชิดไว้
เสมือนหนึ่งกำลังเล่นกระดานโต้คลื่นเหนือยอดไม้ การนำเครื่องลงพื้นจะไม่มีอะไรผิดพลาดหากพื้น
ที่นั้นเป็นทางวิ่งปกติ แต่นี่ไม่ใช่
ทอมมี่กับแลรี่เตรียมรับแรงกระแทกเต็มที่ขณะเห็นต้นไม้เฉือนปลายปีกหลุดกระเด็นไป
เสี้ยววินาทีก่อนกระแทกพื้น จัสตินไม่มีเวลาคิดถึงครอบครัวหรือคู่หมั้น แต่คิดเพียงว่า “อาชีพ
นักบินที่อยากทำคงไม่มีอนาคตเสียแล้ว”
เครื่องบินถลาพุ่งทะลุแนวสนอย่างแรงก่อนที่ส่วนหัวจะทิ่มลงในหิมะและก้อนหิน กระบังลมแตก
กระจุยออกจากกรอบ น้ำมันกระเซ็นสาดเข้ามาในห้องนักบิน
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
ชายผู้โหม่งโลก 2 ครั้ง ตอนที่ ( 1 )โดย Lee Maynard จากหนังสือสรรสาระ
ฉบับเดือนตุลาคม 2546 และจากเรื่อง “No big deal, survivor of 2 crashes says”
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
เรื่องเริ่มต้นเมื่อเขาขึ้นบินกับเพื่อนๆ แต่จบลงด้วยการเสี่ยงชีวิตซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ดวงอาทิตย์สีหม่นเดือนมกราคมลอยเหนือทะเลทรายกว้างไกลสุดสายตา ขณะที่เครื่องบิน
เซสน่า 172 (Cessna 172) เชิดหัวขึ้นโดยมีจัสติน เคิร์ก ไบรด์ (Justin Kirkbride) ชายร่างสูงใหญ่
วัย 31 ปีเป็นผู้ควบคุมการบิน เขากำลังจะสำเร็จหลักสูตรการบินพาณิชย์และหวังว่าจะได้ทำงาน
ในแวดวงการบิน วันนี้เขาเช่าเครื่องบินเล็กเพื่อนำเพื่อนขึ้นชมทัศนียภาพในระยะใกล้ๆ
แลรี่ ไดมอนด์ (Larry Dimond) วัย 42 ปีผู้ทำหน้าที่นักบินที่สองสวมรองเท้าบูทเดินป่าและ
เสื้อคลุมกันหนาว นอกจากนี้ยังมีน้องเขยของแลรี่ชื่อทอมมี่ ร็อบบินส์ (Tommy Robbins) ซึ่งสวม
กางเกงผ้าใบขาสั้น รองเท้าแตะและเสื้อแจ็กเกตหนังบางๆ
ชายทั้งสามบินจากรัฐนิวเม็กซิโกทางใต้ของสหรัฐฯ ข้ามเขตเขามุ่งหน้าสู่รัฐโคโลราโดทาง
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ แลรี่ต้องมนต์ความงามของเทือกเขาสูงเสียดฟ้าที่ปกคลุมด้วยหิมะ นี่เป็น
ครั้งแรกในรอบ 11 ปีที่เขามาเที่ยวแถบภูเขา
เมื่อได้เวลาบินกลับ จัสตินเลี้ยวโค้งลงทางใต้ กระแสลมที่พัดผ่านสันเขาเบื้องหน้าม้วนตัวลง
ล่างและปะทะเครื่องบินลำน้อย ส่งผลให้เครื่องบินถูกแรงกดดึงเข้าหาพื้นโลก เครื่องเซสน่าเริ่ม
ลดระดับลงต่ำกว่ายอดเขารอบข้าง
จัสตินเป็นคนหนักแน่นไม่ตื่นเต้นง่าย แต่นี่เป็นฝันร้ายของนักบินทุกคน เมื่อเครื่องบินสูญเสีย
ความเร็ว สัญญาณเตือนความเร็วต่ำเกินพิกัดก็เริ่มแผดเสียง ถ้าสูญเสียแรงยกตัว เครื่องบินอาจ
โหม่งภูเขา “ทอมมี่ นายคิดว่ายังไง” จัสตินพูดน้ำเสียงเรียบ
ทอมมี่ผ่านการบินเครื่องบินเล็กมา 10,000 ชั่วโมงและเคยผ่านเหตุการณ์เครื่องบินตกมาก่อน
จึงรู้ว่าทำอะไรไม่ได้แล้วในตอนนี้ “หาทางนำเครื่องลงให้ได้”
เขาบอกจัสติน ซึ่งหมายความว่า ต้องบังคับเลี้ยวเพื่อหาตำแหน่งดีที่สุด แล้วพยายามนำเครื่องบิน
ลงในมุมปกติขณะที่เครื่องยังมีกำลังอยู่
จัสตินบังคับเครื่องบินให้ร่อนลงมาบนแผงกิ่งไม้สนส่วนที่นุ่มโดยบังคับให้หัวเครื่องเชิดไว้
เสมือนหนึ่งกำลังเล่นกระดานโต้คลื่นเหนือยอดไม้ การนำเครื่องลงพื้นจะไม่มีอะไรผิดพลาดหากพื้น
ที่นั้นเป็นทางวิ่งปกติ แต่นี่ไม่ใช่
ทอมมี่กับแลรี่เตรียมรับแรงกระแทกเต็มที่ขณะเห็นต้นไม้เฉือนปลายปีกหลุดกระเด็นไป
เสี้ยววินาทีก่อนกระแทกพื้น จัสตินไม่มีเวลาคิดถึงครอบครัวหรือคู่หมั้น แต่คิดเพียงว่า “อาชีพ
นักบินที่อยากทำคงไม่มีอนาคตเสียแล้ว”
เครื่องบินถลาพุ่งทะลุแนวสนอย่างแรงก่อนที่ส่วนหัวจะทิ่มลงในหิมะและก้อนหิน กระบังลมแตก
กระจุยออกจากกรอบ น้ำมันกระเซ็นสาดเข้ามาในห้องนักบิน
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
ชายผู้โหม่งโลก 2 ครั้ง ตอนที่ ( 2 )
โดย Lee Maynard จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2546 และจากเรื่อง
“No big deal, survivor of 2 crashes says” รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
เสียงเครื่องบินตกที่ความสูง 9,600 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเลสะท้อนก้องทั่วหุบเขา จากนั้น
ความเงียบ ก็คืบคลานเข้าปกคลุมเขตขุนเขาที่สว่างจ้า
แลรี่เห็นอะไรบางอย่างหลังม่านแดดแต่บานประตูติดเปิดไม่ออก เขางอตัวแล้วถีบเต็มแรง
จนเศษกระบังลมที่เหลือหลุดจากกรอบแคบๆ แลรี่พยายามปลดเข็มขัดนิรภัยขณะที่ขาข้างซ้าย
เจ็บปวดมาก
จัสตินเห็นทอมมี่หมดสติและเคราหนาชุ่มไปด้วยเลือด เขาต้องหาทางนำตัวทอมมี่ออกไป
ทางช่องหน้าต่างเล็กให้ได้ จึงตะโกนบอกแลรี่ให้ขยับตัว “ไม่งั้นพวกเราจะโดนไฟคลอกกันหมด”
แลรี่หันตัวเอาศีรษะมุดช่องหน้าต่าง จากนั้นก็ลากขาที่บาดเจ็บตามออกไป แล้วปล่อยให้ตัวลื่น
ไถลไปตามหัวเครื่องบินที่ลาดเทก่อนจะร่วงลงสู่พื้นหิมะที่หนาเป็นเมตร
จัสตินพยายามพูดคุยกับทอมมี่ซึ่งหมดสติขณะออกแรงยกร่างระทวยของเพื่อนข้ามพนักที่นั่ง
เพื่อดันออกทางช่องแคบๆ แต่ร่างของทอมมี่หลุดมือไปฟาดกับลำตัวเครื่องบินจนซี่โครงขวาหัก 2 ซี่
ในที่สุดทั้งสองก็ออกจากซากเครื่องบินได้
ทอมมี่ฟื้นคืนสติท่ามกลางแสงแดดจ้า ขายืนโซเซไม่มั่นคง ศีรษะห้อยตกและเลือดหยดใส่พื้น
หิมะเป็นดวงแดง ความเจ็บแล่นปลาบบริเวณสีข้าง แต่ก็ยังพอเดินได้ กลิ่นน้ำมันเครื่องบินอวลคลุ้ง
ไปทั่วบริเวณ
“ก้าวไปอีก” ทอมมี่บอก แต่แลรี่เดินไม่ไหว จัสตินกับทอมมี่ช่วยกันจับแขนเขาลากผ่านหิมะ
ออกมาห่างจากตัวเครื่องบินที่พังยับเยิน
การติดต่อทางโทรศัพท์มือถือผ่านเขตภูเขาเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ จัสตินตัดสินใจ
ใช้วิทยุสื่อสารของเครื่องบินทั้งที่รู้ว่าเป็นเรื่องเสี่ยง เขาปีนกลับเข้าไปในซากเครื่องบินที่โชกด้วย
น้ำมันแล้วกลั้นหายใจเปิดสวิตซ์แบตเตอรี่
เครื่องไม่ระเบิดหรือลุกไหม้อย่างที่นึกกลัวอยู่และวิทยุก็ใช้งานได้ เขาส่งสัญญาณฉุกเฉิน
ออกไป แต่ไม่อาจแน่ใจได้ว่าเครื่องวิทยุจะส่งผ่านข้อความให้และไม่มีอุปกรณ์ฉุกเฉินด้วย
เขาจึงปิดแบตเตอรี่
ห่างออกไปหลายกิโลเมตรที่อีกเมืองหนึ่งในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน คู่หมั้นของจัสตินพยายาม
โทรศัพท์หาเขาแต่ไม่สำเร็จ
ชายทั้งสามรู้สึกวิตกที่ติดอยู่ในหุบเขาซึ่งเต็มไปด้วยหิมะและไม่อาจส่งสัญญาณติดต่อกับโลก
ภายนอกได้ อีกทั้งไม่มีเครื่องมือช่วยชีวิตหรือไม้ขีดไฟ ใครสักคนต้องออกไปขอความช่วยเหลือ
แลรี่ไม่อยู่ในสภาพที่จะไปได้ จัสตินกับทอมมี่ต้องจัดที่ให้เขานอนบนกิ่งไม้เพื่อไม่ให้ถูกหิมะ
ทอมมี่เองก็ปวดหนึบบริเวณข้างลำตัวขณะที่แผลบนใบหน้ายังมีเลือดไหลไม่หยุด แม้จะพอยืนทรง
ตัวได้แต่ก็ก้าวขาแทบไม่ออก
หน้าที่จึงตกเป็นของจัสตินซึ่งสวมเพียงกางเกงผ้าฝ้ายเนื้อบาง เสื้อแจ็กเกตไนลอนสำหรับ
อากาศปกติและรองเท้ากีฬา เขาเริ่มออกเดินไปตามหุบเขาและสันเขาเวลา 11.30 น. ขณะที่อุณหภูมิ
อยู่ที่ประมาณลบ 4 องศาเซลเซียส
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
โดย Lee Maynard จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2546 และจากเรื่อง
“No big deal, survivor of 2 crashes says” รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
เสียงเครื่องบินตกที่ความสูง 9,600 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเลสะท้อนก้องทั่วหุบเขา จากนั้น
ความเงียบ ก็คืบคลานเข้าปกคลุมเขตขุนเขาที่สว่างจ้า
แลรี่เห็นอะไรบางอย่างหลังม่านแดดแต่บานประตูติดเปิดไม่ออก เขางอตัวแล้วถีบเต็มแรง
จนเศษกระบังลมที่เหลือหลุดจากกรอบแคบๆ แลรี่พยายามปลดเข็มขัดนิรภัยขณะที่ขาข้างซ้าย
เจ็บปวดมาก
จัสตินเห็นทอมมี่หมดสติและเคราหนาชุ่มไปด้วยเลือด เขาต้องหาทางนำตัวทอมมี่ออกไป
ทางช่องหน้าต่างเล็กให้ได้ จึงตะโกนบอกแลรี่ให้ขยับตัว “ไม่งั้นพวกเราจะโดนไฟคลอกกันหมด”
แลรี่หันตัวเอาศีรษะมุดช่องหน้าต่าง จากนั้นก็ลากขาที่บาดเจ็บตามออกไป แล้วปล่อยให้ตัวลื่น
ไถลไปตามหัวเครื่องบินที่ลาดเทก่อนจะร่วงลงสู่พื้นหิมะที่หนาเป็นเมตร
จัสตินพยายามพูดคุยกับทอมมี่ซึ่งหมดสติขณะออกแรงยกร่างระทวยของเพื่อนข้ามพนักที่นั่ง
เพื่อดันออกทางช่องแคบๆ แต่ร่างของทอมมี่หลุดมือไปฟาดกับลำตัวเครื่องบินจนซี่โครงขวาหัก 2 ซี่
ในที่สุดทั้งสองก็ออกจากซากเครื่องบินได้
ทอมมี่ฟื้นคืนสติท่ามกลางแสงแดดจ้า ขายืนโซเซไม่มั่นคง ศีรษะห้อยตกและเลือดหยดใส่พื้น
หิมะเป็นดวงแดง ความเจ็บแล่นปลาบบริเวณสีข้าง แต่ก็ยังพอเดินได้ กลิ่นน้ำมันเครื่องบินอวลคลุ้ง
ไปทั่วบริเวณ
“ก้าวไปอีก” ทอมมี่บอก แต่แลรี่เดินไม่ไหว จัสตินกับทอมมี่ช่วยกันจับแขนเขาลากผ่านหิมะ
ออกมาห่างจากตัวเครื่องบินที่พังยับเยิน
การติดต่อทางโทรศัพท์มือถือผ่านเขตภูเขาเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ จัสตินตัดสินใจ
ใช้วิทยุสื่อสารของเครื่องบินทั้งที่รู้ว่าเป็นเรื่องเสี่ยง เขาปีนกลับเข้าไปในซากเครื่องบินที่โชกด้วย
น้ำมันแล้วกลั้นหายใจเปิดสวิตซ์แบตเตอรี่
เครื่องไม่ระเบิดหรือลุกไหม้อย่างที่นึกกลัวอยู่และวิทยุก็ใช้งานได้ เขาส่งสัญญาณฉุกเฉิน
ออกไป แต่ไม่อาจแน่ใจได้ว่าเครื่องวิทยุจะส่งผ่านข้อความให้และไม่มีอุปกรณ์ฉุกเฉินด้วย
เขาจึงปิดแบตเตอรี่
ห่างออกไปหลายกิโลเมตรที่อีกเมืองหนึ่งในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน คู่หมั้นของจัสตินพยายาม
โทรศัพท์หาเขาแต่ไม่สำเร็จ
ชายทั้งสามรู้สึกวิตกที่ติดอยู่ในหุบเขาซึ่งเต็มไปด้วยหิมะและไม่อาจส่งสัญญาณติดต่อกับโลก
ภายนอกได้ อีกทั้งไม่มีเครื่องมือช่วยชีวิตหรือไม้ขีดไฟ ใครสักคนต้องออกไปขอความช่วยเหลือ
แลรี่ไม่อยู่ในสภาพที่จะไปได้ จัสตินกับทอมมี่ต้องจัดที่ให้เขานอนบนกิ่งไม้เพื่อไม่ให้ถูกหิมะ
ทอมมี่เองก็ปวดหนึบบริเวณข้างลำตัวขณะที่แผลบนใบหน้ายังมีเลือดไหลไม่หยุด แม้จะพอยืนทรง
ตัวได้แต่ก็ก้าวขาแทบไม่ออก
หน้าที่จึงตกเป็นของจัสตินซึ่งสวมเพียงกางเกงผ้าฝ้ายเนื้อบาง เสื้อแจ็กเกตไนลอนสำหรับ
อากาศปกติและรองเท้ากีฬา เขาเริ่มออกเดินไปตามหุบเขาและสันเขาเวลา 11.30 น. ขณะที่อุณหภูมิ
อยู่ที่ประมาณลบ 4 องศาเซลเซียส
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
ชายผู้โหม่งโลก 2 ครั้ง ตอนที่ ( 3 )
โดย Lee Maynard จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2546 และจากเรื่อง
“No big deal, survivor of 2 crashes says” รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ทอมมี่เตรียมเผชิญคืนแห่งความหนาวเหน็บเข้ากระดูกด้วยการลากท่อนไม้จำนวนหนึ่งไป
ตามซอกหิน แล้วก่อไม้ขึ้นเป็นเพิงที่พักหยาบๆ จากนั้นจึงลากแลรี่เข้าไปด้านใน
ทอมมี่เดินลากขาไปที่เครื่องบินหลายครั้งเพื่อเก็บของทุกอย่างที่อาจใข้ประโยขน์ได้ เช่นที่นั่งและ
พรมปูพื้น หิมะละลายเปียกโชกรองเท้ากีฬาและท่อนขาที่เปลือยเปล่า
ทอมมี่ให้แลรี่ซุกตัวอยู่ในที่นั่งซึ่งกางราบแล้วใช้พรมปูพื้นห่มให้ก่อนที่จะสุมกิ่งไม้ทับลงไปอีกชั้น
ส่วนตัวเองคลานเข้าไปนอนข้างแลรี่ขณะที่ยังเจ็บปวดสีข้างอยู่ตลอด จากนั้นก็ได้แต่เฝ้ารอ
จัสตินหนาวจนขาแทบแข็ง ผมเปียกโชกด้วยเหงื่อขณะลุยย่ำหิมะหนาถึงเข่า เขาพยายามต่อโทรศัพท์
มือถือเป็นระยะแต่ไม่ได้ผล เมื่อไปพบลำธารเล็กๆ ก็ลงลุยน้ำทันทีเพราะคิดว่าการเดินไปตามลำน้ำตื้น
น่าจะเร็วกว่า
เมื่อเห็นเครื่องบินลำหนึ่งบินอยู่เหนือศีรษะในตอนบ่าย จัสตินรีบถอดเสื้อแจ็กเกตสีดำออกมาโบก
ทว่าเครื่องบินกลับผ่านเลยไป
พอสวมเสื้ออีกครั้ง จัสตินถึงได้รู้ว่าโทรศัพท์มือถือหายไปแล้วและไม่ทิ้งร่องรอยให้ตามหา ไม่มีจุดสีดำ
บนพื้นหิมะขาวโพลน เขาควานมือลงไปในหิมะข้างตัวด้วยสัญชาตญาณ ปรากฏว่าโทรศัพท์ตกอยู่
ตรงกองหิมะนั่นเอง
ดวงอาทิตย์เริ่มอ่อนแสง จัสตินเหลือเวลาน้อยลงทุกที ท้ายสุด เขาพบเส้นทางเดินเท้าซึ่งทอดลงไป
ยังเนินเขาและสิ้นสุดที่ราวเหล็กกันวัวพลัดลื่น แต่จัสตินกลับก้าวพลาด ขาเข้าไปขัดอยู่ระหว่างแท่ง
น้ำแข็งจนเจ็บแปลบ ถ้าขาหัก เขาอาจตายอยู่บนภูเขานี้และพวกเพื่อนๆ ก็คงไม่รอดเช่นกัน
จัสตินค่อยๆ ขยับตัวอย่างระมัดระวังขณะใช้มือทั้งสองข้างดึงขาออก ขาแค่ถลอกไม่ถึงกับหัก
เขาจึงเดินเขยกต่อไป สองชั่วโมงต่อมา จัสตินยืนอยู่ข้างเนินเขาสูงโล่งแล้วลองใช้โทรศัพท์อีกครั้ง
โดยเรียกไปที่โรงเรียนฝึกบินที่ฐานบินหลัก โทรศัพท์ติดต่อได้แล้ว
เครื่องบินค้นหาพบตำแหน่งของเขาในเวลาเพียงไม่กี่นาที และอีก 20 นาทีต่อมา จัสตินก็ขึ้นไปอยู่
บนเฮลิคอปเตอร์กู้ภัยหลังออกเดินย่ำหิมะได้ 6 ชั่วโมงและห่างจากจุดที่เพื่อนๆ อยู่เกือบ 20 กิโลเมตร
เหลือเวลาไม่ถึง 40 นาทีก่อนอาทิตย์จะลับแสง นักกู้ภัยออกตามหาซากเครื่องบินสีขาวบนพื้นหิมะขาว
โพลนแต่ไม่พบ ความมืดบังคับให้ต้องนำเครื่องกลับไปลงที่ฐาน จอดใกล้ที่สุดในเมืองดูแรงโก (Durango)
รัฐโคโรลาโด
โปรดติดตามตอนที่ ( 4 ))ในวันพรุ่งนี้
โดย Lee Maynard จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2546 และจากเรื่อง
“No big deal, survivor of 2 crashes says” รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ทอมมี่เตรียมเผชิญคืนแห่งความหนาวเหน็บเข้ากระดูกด้วยการลากท่อนไม้จำนวนหนึ่งไป
ตามซอกหิน แล้วก่อไม้ขึ้นเป็นเพิงที่พักหยาบๆ จากนั้นจึงลากแลรี่เข้าไปด้านใน
ทอมมี่เดินลากขาไปที่เครื่องบินหลายครั้งเพื่อเก็บของทุกอย่างที่อาจใข้ประโยขน์ได้ เช่นที่นั่งและ
พรมปูพื้น หิมะละลายเปียกโชกรองเท้ากีฬาและท่อนขาที่เปลือยเปล่า
ทอมมี่ให้แลรี่ซุกตัวอยู่ในที่นั่งซึ่งกางราบแล้วใช้พรมปูพื้นห่มให้ก่อนที่จะสุมกิ่งไม้ทับลงไปอีกชั้น
ส่วนตัวเองคลานเข้าไปนอนข้างแลรี่ขณะที่ยังเจ็บปวดสีข้างอยู่ตลอด จากนั้นก็ได้แต่เฝ้ารอ
จัสตินหนาวจนขาแทบแข็ง ผมเปียกโชกด้วยเหงื่อขณะลุยย่ำหิมะหนาถึงเข่า เขาพยายามต่อโทรศัพท์
มือถือเป็นระยะแต่ไม่ได้ผล เมื่อไปพบลำธารเล็กๆ ก็ลงลุยน้ำทันทีเพราะคิดว่าการเดินไปตามลำน้ำตื้น
น่าจะเร็วกว่า
เมื่อเห็นเครื่องบินลำหนึ่งบินอยู่เหนือศีรษะในตอนบ่าย จัสตินรีบถอดเสื้อแจ็กเกตสีดำออกมาโบก
ทว่าเครื่องบินกลับผ่านเลยไป
พอสวมเสื้ออีกครั้ง จัสตินถึงได้รู้ว่าโทรศัพท์มือถือหายไปแล้วและไม่ทิ้งร่องรอยให้ตามหา ไม่มีจุดสีดำ
บนพื้นหิมะขาวโพลน เขาควานมือลงไปในหิมะข้างตัวด้วยสัญชาตญาณ ปรากฏว่าโทรศัพท์ตกอยู่
ตรงกองหิมะนั่นเอง
ดวงอาทิตย์เริ่มอ่อนแสง จัสตินเหลือเวลาน้อยลงทุกที ท้ายสุด เขาพบเส้นทางเดินเท้าซึ่งทอดลงไป
ยังเนินเขาและสิ้นสุดที่ราวเหล็กกันวัวพลัดลื่น แต่จัสตินกลับก้าวพลาด ขาเข้าไปขัดอยู่ระหว่างแท่ง
น้ำแข็งจนเจ็บแปลบ ถ้าขาหัก เขาอาจตายอยู่บนภูเขานี้และพวกเพื่อนๆ ก็คงไม่รอดเช่นกัน
จัสตินค่อยๆ ขยับตัวอย่างระมัดระวังขณะใช้มือทั้งสองข้างดึงขาออก ขาแค่ถลอกไม่ถึงกับหัก
เขาจึงเดินเขยกต่อไป สองชั่วโมงต่อมา จัสตินยืนอยู่ข้างเนินเขาสูงโล่งแล้วลองใช้โทรศัพท์อีกครั้ง
โดยเรียกไปที่โรงเรียนฝึกบินที่ฐานบินหลัก โทรศัพท์ติดต่อได้แล้ว
เครื่องบินค้นหาพบตำแหน่งของเขาในเวลาเพียงไม่กี่นาที และอีก 20 นาทีต่อมา จัสตินก็ขึ้นไปอยู่
บนเฮลิคอปเตอร์กู้ภัยหลังออกเดินย่ำหิมะได้ 6 ชั่วโมงและห่างจากจุดที่เพื่อนๆ อยู่เกือบ 20 กิโลเมตร
เหลือเวลาไม่ถึง 40 นาทีก่อนอาทิตย์จะลับแสง นักกู้ภัยออกตามหาซากเครื่องบินสีขาวบนพื้นหิมะขาว
โพลนแต่ไม่พบ ความมืดบังคับให้ต้องนำเครื่องกลับไปลงที่ฐาน จอดใกล้ที่สุดในเมืองดูแรงโก (Durango)
รัฐโคโรลาโด
โปรดติดตามตอนที่ ( 4 ))ในวันพรุ่งนี้
ชายผู้โหม่งโลก 2 ครั้ง ตอนที่ ( 4 )
โดย Lee Maynard จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2546 และจากเรื่อง
“No big deal, survivor of 2 crashes says” รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
กองบัญชาการค้นหาตั้งอยู่ที่ชั้นใต้ดินของที่ทำการในเมืองดูแรงโก ภายในห้องที่สว่างไสว
มีแผนที่ วิทยุสื่อสาร และโทรศัพท์วางอยู่ เจ้าหน้าที่กู้ภัยเดินไปมาขณะที่จัสตินบรรยายภูมิประเทศ
ที่เพิ่งตะลุยผ่านมาให้ฟัง และพยายามชี้ตำแหน่งเครื่องบินตกบนแผนที่เพื่อจะได้บอกต่อไปยังชุด
เจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินซึ่งตอนนี้อยู่บนภูเขาแล้วแต่พวกเขายังไม่พบใครเลย
นักกู้ภัยขอความช่วยเหลือไปยังฐานทัพอากาศที่เมืองใกล้เคียงเนื่องจากเกรงว่าจะช่วยทอมมี่และ
แลรี่ไม่ทันหากรู้ตำแหน่งช้าไป เฮลิคอปเตอร์ทหารบินต่ำส่งเสียงกึกก้องขณะเดินทางถึงเมืองดูแรงโก
เมื่อเวลา 21.00 น. นักบินสวมกล้องมองกลางคืนและเชื่อมั่นว่าจะสามารถค้นหาตำแหน่งของผู้บาดเจ็บ
ทั้งสองได้ แต่กลับไม่มีวี่แววหลังผ่านไปหลายชั่วโมง
ท้ายสุด ทีมงานตัดสินใจพาจัสตินขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปด้วย โดยหวังว่าเขาจะจำเส้นทางที่เดินผ่านมาได้
ขณะบินอยู่เหนือยอดไม้ จัสตินกับทีมงานเห็นรอยเท้าจำนวนนับไม่ถ้วนบนพื้นหิมะ
เวลา 03.15 น. ซากเครื่องบินก็สะท้อนแสงเต็มตาอยู่เบื้องล่างท่ามกลางความมืดที่หนาวเหน็บ จัสติน
ตื่นเต้นและโล่งอก ขณะที่นั่งรัดเข็มขัดดูทีมงานบินวนไปมาเหนือจุดเครื่องบินตกและหย่อนแท่งแสงเคมี
ลงพื้นเพื่อทำเครื่องหมาย
จัสตินยึดที่จับแน่นขณะเฮลิคอปเตอร์ลำมหึมาบินข้ามสันเขาต่ำซึ่งห่างจากซากเครื่องบินไปไกลทีเดียว
และกำลังเตรียมเลี้ยวกลับเพื่อตั้งลำลงจอด เมื่อมองออกไปด้านนอกก็เห็นเครื่องลอยลำเหนือยอดไม้สูง
จากภูมิประเทศขรุขระเกือบ 20 เมตร
แต่กลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเมื่อใบพัดน้ำหนักมากโต้กระแสลมหมุนซึ่งพุ่งย้อนเข้าหาเฮลิคอปเตอร์
ยิ่งเมื่อเพิ่มรอบหมุนก็ยิ่งฉุดกำลังเครื่อง นักบินเริ่มเสียการควบคุม เครื่องยนต์ส่งเสียงแหลมบาดหูขณะที่
เฮลิคอปเตอร์ร่วงสู่พื้น
โปรดติดตามตอนที่ ( 5 ) ในวันพรุ่งนี้
โดย Lee Maynard จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2546 และจากเรื่อง
“No big deal, survivor of 2 crashes says” รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
กองบัญชาการค้นหาตั้งอยู่ที่ชั้นใต้ดินของที่ทำการในเมืองดูแรงโก ภายในห้องที่สว่างไสว
มีแผนที่ วิทยุสื่อสาร และโทรศัพท์วางอยู่ เจ้าหน้าที่กู้ภัยเดินไปมาขณะที่จัสตินบรรยายภูมิประเทศ
ที่เพิ่งตะลุยผ่านมาให้ฟัง และพยายามชี้ตำแหน่งเครื่องบินตกบนแผนที่เพื่อจะได้บอกต่อไปยังชุด
เจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินซึ่งตอนนี้อยู่บนภูเขาแล้วแต่พวกเขายังไม่พบใครเลย
นักกู้ภัยขอความช่วยเหลือไปยังฐานทัพอากาศที่เมืองใกล้เคียงเนื่องจากเกรงว่าจะช่วยทอมมี่และ
แลรี่ไม่ทันหากรู้ตำแหน่งช้าไป เฮลิคอปเตอร์ทหารบินต่ำส่งเสียงกึกก้องขณะเดินทางถึงเมืองดูแรงโก
เมื่อเวลา 21.00 น. นักบินสวมกล้องมองกลางคืนและเชื่อมั่นว่าจะสามารถค้นหาตำแหน่งของผู้บาดเจ็บ
ทั้งสองได้ แต่กลับไม่มีวี่แววหลังผ่านไปหลายชั่วโมง
ท้ายสุด ทีมงานตัดสินใจพาจัสตินขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปด้วย โดยหวังว่าเขาจะจำเส้นทางที่เดินผ่านมาได้
ขณะบินอยู่เหนือยอดไม้ จัสตินกับทีมงานเห็นรอยเท้าจำนวนนับไม่ถ้วนบนพื้นหิมะ
เวลา 03.15 น. ซากเครื่องบินก็สะท้อนแสงเต็มตาอยู่เบื้องล่างท่ามกลางความมืดที่หนาวเหน็บ จัสติน
ตื่นเต้นและโล่งอก ขณะที่นั่งรัดเข็มขัดดูทีมงานบินวนไปมาเหนือจุดเครื่องบินตกและหย่อนแท่งแสงเคมี
ลงพื้นเพื่อทำเครื่องหมาย
จัสตินยึดที่จับแน่นขณะเฮลิคอปเตอร์ลำมหึมาบินข้ามสันเขาต่ำซึ่งห่างจากซากเครื่องบินไปไกลทีเดียว
และกำลังเตรียมเลี้ยวกลับเพื่อตั้งลำลงจอด เมื่อมองออกไปด้านนอกก็เห็นเครื่องลอยลำเหนือยอดไม้สูง
จากภูมิประเทศขรุขระเกือบ 20 เมตร
แต่กลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเมื่อใบพัดน้ำหนักมากโต้กระแสลมหมุนซึ่งพุ่งย้อนเข้าหาเฮลิคอปเตอร์
ยิ่งเมื่อเพิ่มรอบหมุนก็ยิ่งฉุดกำลังเครื่อง นักบินเริ่มเสียการควบคุม เครื่องยนต์ส่งเสียงแหลมบาดหูขณะที่
เฮลิคอปเตอร์ร่วงสู่พื้น
โปรดติดตามตอนที่ ( 5 ) ในวันพรุ่งนี้
ชายผู้โหม่งโลก 2 ครั้ง ตอนที่ ( 5 )
โดย Lee Maynard จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2546 และจากเรื่อง
“No big deal, survivor of 2 crashes says” รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
จัสตินรู้สึกว่าร่างกายอัดแน่นกับที่นั่งขณะที่เฮลิคอปเตอร์ตกลงบนต้นไม้ “เครื่องบินตกอีกครั้ง
หรือนี่” เขานึกในใจ “เหลือเชื่อ” เขาตะโกนแข่งกับเสียงคำรามของเครื่องยนต์
ใบพัดท้ายหักกระจายเมื่อฟาดถูกต้นไม้ เฮลิคอปเตอร์หมุนคว้างเหวี่ยงจัสตินกับลูกเรือไป 3-4 รอบ
ก่อนจะร่วงลงสู่พื้นดิน ใบพัดหลุดกระเด็นลงเขาไปไกล และน้ำมันไฮดรอลิกฉีดพุ่งออกมาตามสายที่
ฉีกขาด
เครื่องยนต์ดับเมื่อกระแทกพื้นดิน ทั่วทั้งขุนเขาเงียบสงัด จัสตินกับลูกเรือ 7 คนคลานออกจากซาก
เฮลิคอปเตอร์สู่ความหนาวเหน็บของค่ำคืน ทุกคนประหลาดใจที่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บสาหัส จัสติน
ไม่มีแม้แต่รอยขีดข่วน
ทั้งกลุ่มก่อกองไฟเพื่อให้ร่างกายอบอุ่นและติดต่อกับเฮลิคอปเตอร์ลำที่สองตลอดเวลา แต่ไม่ปลอดภัย
ที่จะนำเครื่องลงจอดในบริเวณใกล้เคียง นักแกะรอยภาคพื้นดินเริ่มบ่ายหน้าสู่จุดเครื่องบินตกทั้งสองแห่ง
เลือดที่เคราของทอมมี่แข็งตัวแล้ว อุณหภูมิอยู่ที่ระดับลบ 13 องศาเซลเซียส เขาพยายามข่มตานอน
แต่ถูกรบกวนด้วยเสียงเพ้อตะโกนของแลรี่ซึ่งเจ็บปวดบาดแผลบริเวณขา
สองชั่วโมงต่อมาในเวลา 05.00 น. แลรี่ร้องตะโกนอีก คราวนี้มีเสียงขานรับ
นักกู้ภัยยื่นน้ำอุ่นกับแท่งขนมหวานให้ผู้เคราะห์ร้ายทั้งสอง ทอมมี่พอมีแรงเดินได้แล้ว ส่วนแลรี่นอนบน
เปลมีสายรัดตัว นักกู้ภัยนำพวกเขาไปยังจุดซึ่งเฮลิคอปเตอร์อีกลำบินมารับลูกเรือทหารไปยังศูนย์การแพทย์
ดูแรงโก แพทย์ให้การรักษาพยาบาลแล้วอนุญาตให้พวกเขากลับบ้านได้
โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้มีมากเพียงไร เคยมีใครบ้างที่เครื่องบินตก 2 หนภายในเวลา 16 ชั่วโมง
ณ ขุนเขาลูกเดียวกันแล้วรอดชีวิตโดยไม่มีรอยขีดข่วน ความโชคดีดังกล่าวทำให้จัสตินต้องคิดทบทวน
อยู่นานเรื่องความเสี่ยงและสิ่งที่ต้องทำหากจะยึดอาชีพนักบินพาณิชย๋
จัสตินบอกคู่หมั้นว่า “การได้อยู่ใกล้คนที่ผมรักเป็นสิ่งสำคัญที่สุด” แม้จะยังสนุกกับการขับเครื่องบิน แต่จัสติน
ก็เลือกที่จะทำงานภาคพื้นดินเป็นตัวแทนขายอสังหาริมทรัพย์และใช้ชีวิตในฐานะชายผู้แต่งงานแล้ว
อย่างมีความสุข
***************
จบบริบูรณ์
โดย Lee Maynard จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2546 และจากเรื่อง
“No big deal, survivor of 2 crashes says” รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
จัสตินรู้สึกว่าร่างกายอัดแน่นกับที่นั่งขณะที่เฮลิคอปเตอร์ตกลงบนต้นไม้ “เครื่องบินตกอีกครั้ง
หรือนี่” เขานึกในใจ “เหลือเชื่อ” เขาตะโกนแข่งกับเสียงคำรามของเครื่องยนต์
ใบพัดท้ายหักกระจายเมื่อฟาดถูกต้นไม้ เฮลิคอปเตอร์หมุนคว้างเหวี่ยงจัสตินกับลูกเรือไป 3-4 รอบ
ก่อนจะร่วงลงสู่พื้นดิน ใบพัดหลุดกระเด็นลงเขาไปไกล และน้ำมันไฮดรอลิกฉีดพุ่งออกมาตามสายที่
ฉีกขาด
เครื่องยนต์ดับเมื่อกระแทกพื้นดิน ทั่วทั้งขุนเขาเงียบสงัด จัสตินกับลูกเรือ 7 คนคลานออกจากซาก
เฮลิคอปเตอร์สู่ความหนาวเหน็บของค่ำคืน ทุกคนประหลาดใจที่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บสาหัส จัสติน
ไม่มีแม้แต่รอยขีดข่วน
ทั้งกลุ่มก่อกองไฟเพื่อให้ร่างกายอบอุ่นและติดต่อกับเฮลิคอปเตอร์ลำที่สองตลอดเวลา แต่ไม่ปลอดภัย
ที่จะนำเครื่องลงจอดในบริเวณใกล้เคียง นักแกะรอยภาคพื้นดินเริ่มบ่ายหน้าสู่จุดเครื่องบินตกทั้งสองแห่ง
เลือดที่เคราของทอมมี่แข็งตัวแล้ว อุณหภูมิอยู่ที่ระดับลบ 13 องศาเซลเซียส เขาพยายามข่มตานอน
แต่ถูกรบกวนด้วยเสียงเพ้อตะโกนของแลรี่ซึ่งเจ็บปวดบาดแผลบริเวณขา
สองชั่วโมงต่อมาในเวลา 05.00 น. แลรี่ร้องตะโกนอีก คราวนี้มีเสียงขานรับ
นักกู้ภัยยื่นน้ำอุ่นกับแท่งขนมหวานให้ผู้เคราะห์ร้ายทั้งสอง ทอมมี่พอมีแรงเดินได้แล้ว ส่วนแลรี่นอนบน
เปลมีสายรัดตัว นักกู้ภัยนำพวกเขาไปยังจุดซึ่งเฮลิคอปเตอร์อีกลำบินมารับลูกเรือทหารไปยังศูนย์การแพทย์
ดูแรงโก แพทย์ให้การรักษาพยาบาลแล้วอนุญาตให้พวกเขากลับบ้านได้
โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้มีมากเพียงไร เคยมีใครบ้างที่เครื่องบินตก 2 หนภายในเวลา 16 ชั่วโมง
ณ ขุนเขาลูกเดียวกันแล้วรอดชีวิตโดยไม่มีรอยขีดข่วน ความโชคดีดังกล่าวทำให้จัสตินต้องคิดทบทวน
อยู่นานเรื่องความเสี่ยงและสิ่งที่ต้องทำหากจะยึดอาชีพนักบินพาณิชย๋
จัสตินบอกคู่หมั้นว่า “การได้อยู่ใกล้คนที่ผมรักเป็นสิ่งสำคัญที่สุด” แม้จะยังสนุกกับการขับเครื่องบิน แต่จัสติน
ก็เลือกที่จะทำงานภาคพื้นดินเป็นตัวแทนขายอสังหาริมทรัพย์และใช้ชีวิตในฐานะชายผู้แต่งงานแล้ว
อย่างมีความสุข
***************
จบบริบูรณ์
…………ความประทับใจ : กล้าพูดแล้ว มีทั้งหมด ( 3 )ตอนจบ
ความประทับใจ : กล้าพูดแล้ว ตอนที่ (1)
โดย กลอเรีย เอสเตฟาน (Gloria Estefan เกิด 1 ก.ย.2500 ที่กรุงฮาวานา --คิวบา)
เรื่องจริงจากหนังสือสรรสาระ ฉบับ ก.พ. 2551 และจากวิกิปีเดีย 2566
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
วันแรกที่เข้าโรงเรียน ฉัน(กลอเรีย)พูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลยแม้แต่คำเดียว ขณะก้าวเท้า
เข้าไปในห้องเรียน ฉันรู้สึกทั้งสับสนและหวาดหวั่น แต่โชคดีที่ครูประจำชั้นในปีนั้นคือครูโดโรที
คอลลินส์ (Dorothy Collins)
ครอบครัวของฉันหนีมาจากคิวบาในปี 2502 ตอนนั้นฉันเพิ่งอายุได้ขวบกว่า แต่ก็จำความเจ็บปวด
ที่ต้องผลุนผลันจากบ้านเกิดและคุณยายที่รักได้ดี โฮเซ่ พ่อของฉันเคยเป็นสารวัตรทหารในสมัย
ประธานาธิบดีบาติสตา (Batista) และกำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ในทำเนียบเมื่อกองกำลังของฟิเดล
คาสโตร (Fidel Castro) บุกเข้ามา พ่อถูกจำคุกในคืนที่มีการยึดอำนาจและเมื่อได้รับการปล่อยตัว
ประมาณ 5 เดือนต่อมา ชื่อของพ่อก็ถูกขึ้นบัญชีดำ ในเมื่อแทบไม่มีโอกาสที่จะหางานทำได้ พ่อก็รู้ว่า
ความหวังสำหรับครอบครัวที่ดีที่สุดคือการตั้งต้นชีวิตใหม่ในอเมริกา
เราเดินทางไปไมอามีซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงเมืองท่องเที่ยวที่สงบเงียบ หลังจากเราไปถึงไม่นาน พ่อก็
หายตัวไปในเวลากลางคืน ทิ้งจดหมายสั้นๆ ไว้ให้แม่บอกว่า พ่อจำเป็นต้องจากไปเพราะมีเรื่องสำคัญ
ที่กำลังจะเกิดขึ้นซึ่งพ่อยังบอกเราไม่ได้ พ่อสัญญาว่าแม่จะได้รับเงินทุกเดือนและจะติดต่อมาในทันที
ที่ทำได้ สิ่งที่พ่อไม่สามารถเปิดเผยให้เรารู้ได้ซึ่งฉันทราบเมื่อโตขึ้นในภายหลังคือ พ่ออยู่ในกองกำลัง
ของชาวคิวบาพลัดถิ่นที่รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังฝึกเพื่อจะบุกอ่าวเบย์ออฟพิกส์
(Bay of Pigs : Bahía de Cochinos) ของเกาะคิวบาด้านใต้ในเดือนเมษายน 2504 เมื่อความพยายาม
ที่จะยึดคิวบากลับมาล้มเหลว พ่อก็ถูกกองทัพของคาสโตรจับเป็นเชลย เนื่องจากขณะนั้นฉันยังเด็กมาก
แม่จึงบอกฉันว่าพ่อทำงานอยู่ที่ไร่แห่งหนึ่ง ฉันคิดว่าแม่พยายามหลอกเราให้เชื่ออย่างนั้น แต่ฉันก็เข้าใจดี
ต่อมาว่าเกิดอะไรขึ้น
ในเมืองไมอามี ฉันกับแม่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในละแวกห้องเช่าซึ่งผู้อาศัยเป็นหญิงและเด็กชาวคิวบาที่อพยพ
เข้ามา พวกผู้หญิงสนิทกันมากและคอยช่วยเหลือกันเหมือนอยู่ในชุมชน ฉันรู้สึกปลอดภัย แต่ขณะเดียวกัน
ก็รู้สึกว้าเหว่ พวกเราพูดภาษาสเปนกันทุกคน และฉันแทบไม่เคยได้ยินภาษาอังกฤษเลย
ในที่สุด เมื่อฉันอายุ 5 ขวบ พ่อก็ได้รับการปล่อยตัวจากที่คุมขังหลังมีการเจรจาตกลงโดยรัฐบาลของ
ประธานาธิบดีเคนเนดี พ่อได้รับตำแหน่งร้อยเอกแห่งกองทัพสหรัฐฯ และในปี 2505 เราก็ย้ายไปอยู่ที่
ซานอันโตนิโอ ฉันมีความสุขมากที่ครอบครัวเราได้อยู่กันพร้อมหน้าอีก น้องเบ็กกี้เกิดในปีนั้น และฉันก็
เริ่มเข้าเรียนชั้นประถมหนึ่งที่โรงเรียนประถมวินสตัน (Winston School) ซึ่งอยู่ใกล้กับฐานทัพ
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
ความประทับใจ : กล้าพูดแล้ว ตอนที่ (1)
โดย กลอเรีย เอสเตฟาน (Gloria Estefan เกิด 1 ก.ย.2500 ที่กรุงฮาวานา --คิวบา)
เรื่องจริงจากหนังสือสรรสาระ ฉบับ ก.พ. 2551 และจากวิกิปีเดีย 2566
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
วันแรกที่เข้าโรงเรียน ฉัน(กลอเรีย)พูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลยแม้แต่คำเดียว ขณะก้าวเท้า
เข้าไปในห้องเรียน ฉันรู้สึกทั้งสับสนและหวาดหวั่น แต่โชคดีที่ครูประจำชั้นในปีนั้นคือครูโดโรที
คอลลินส์ (Dorothy Collins)
ครอบครัวของฉันหนีมาจากคิวบาในปี 2502 ตอนนั้นฉันเพิ่งอายุได้ขวบกว่า แต่ก็จำความเจ็บปวด
ที่ต้องผลุนผลันจากบ้านเกิดและคุณยายที่รักได้ดี โฮเซ่ พ่อของฉันเคยเป็นสารวัตรทหารในสมัย
ประธานาธิบดีบาติสตา (Batista) และกำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ในทำเนียบเมื่อกองกำลังของฟิเดล
คาสโตร (Fidel Castro) บุกเข้ามา พ่อถูกจำคุกในคืนที่มีการยึดอำนาจและเมื่อได้รับการปล่อยตัว
ประมาณ 5 เดือนต่อมา ชื่อของพ่อก็ถูกขึ้นบัญชีดำ ในเมื่อแทบไม่มีโอกาสที่จะหางานทำได้ พ่อก็รู้ว่า
ความหวังสำหรับครอบครัวที่ดีที่สุดคือการตั้งต้นชีวิตใหม่ในอเมริกา
เราเดินทางไปไมอามีซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงเมืองท่องเที่ยวที่สงบเงียบ หลังจากเราไปถึงไม่นาน พ่อก็
หายตัวไปในเวลากลางคืน ทิ้งจดหมายสั้นๆ ไว้ให้แม่บอกว่า พ่อจำเป็นต้องจากไปเพราะมีเรื่องสำคัญ
ที่กำลังจะเกิดขึ้นซึ่งพ่อยังบอกเราไม่ได้ พ่อสัญญาว่าแม่จะได้รับเงินทุกเดือนและจะติดต่อมาในทันที
ที่ทำได้ สิ่งที่พ่อไม่สามารถเปิดเผยให้เรารู้ได้ซึ่งฉันทราบเมื่อโตขึ้นในภายหลังคือ พ่ออยู่ในกองกำลัง
ของชาวคิวบาพลัดถิ่นที่รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังฝึกเพื่อจะบุกอ่าวเบย์ออฟพิกส์
(Bay of Pigs : Bahía de Cochinos) ของเกาะคิวบาด้านใต้ในเดือนเมษายน 2504 เมื่อความพยายาม
ที่จะยึดคิวบากลับมาล้มเหลว พ่อก็ถูกกองทัพของคาสโตรจับเป็นเชลย เนื่องจากขณะนั้นฉันยังเด็กมาก
แม่จึงบอกฉันว่าพ่อทำงานอยู่ที่ไร่แห่งหนึ่ง ฉันคิดว่าแม่พยายามหลอกเราให้เชื่ออย่างนั้น แต่ฉันก็เข้าใจดี
ต่อมาว่าเกิดอะไรขึ้น
ในเมืองไมอามี ฉันกับแม่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในละแวกห้องเช่าซึ่งผู้อาศัยเป็นหญิงและเด็กชาวคิวบาที่อพยพ
เข้ามา พวกผู้หญิงสนิทกันมากและคอยช่วยเหลือกันเหมือนอยู่ในชุมชน ฉันรู้สึกปลอดภัย แต่ขณะเดียวกัน
ก็รู้สึกว้าเหว่ พวกเราพูดภาษาสเปนกันทุกคน และฉันแทบไม่เคยได้ยินภาษาอังกฤษเลย
ในที่สุด เมื่อฉันอายุ 5 ขวบ พ่อก็ได้รับการปล่อยตัวจากที่คุมขังหลังมีการเจรจาตกลงโดยรัฐบาลของ
ประธานาธิบดีเคนเนดี พ่อได้รับตำแหน่งร้อยเอกแห่งกองทัพสหรัฐฯ และในปี 2505 เราก็ย้ายไปอยู่ที่
ซานอันโตนิโอ ฉันมีความสุขมากที่ครอบครัวเราได้อยู่กันพร้อมหน้าอีก น้องเบ็กกี้เกิดในปีนั้น และฉันก็
เริ่มเข้าเรียนชั้นประถมหนึ่งที่โรงเรียนประถมวินสตัน (Winston School) ซึ่งอยู่ใกล้กับฐานทัพ
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
ความประทับใจ : กล้าพูดแล้ว ตอนที่ ( 2 )
โดย กลอเรีย เอสเตฟาน (Gloria Estefan เกิด 1 ก.ย.2500 ที่กรุงฮาวานา --คิวบา)
เรื่องจริงจากหนังสือสรรสาระ ฉบับ ก.พ. 2551 และจากวิกิปีเดีย 2566
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ฉันเคยตั้งตาคอยวันที่จะเข้าโรงเรียน แต่วันแรกในโรงเรียนทำให้ฉันสุดงงงัน ฉันกลับมาบ้าน
และเล่าให้แม่ฟังว่า ฉันได้เรียนภาษาคำแรกแล้ว คือคำว่า “Stupid” (ยายเซ่อ) ที่เด็กชายคนหนึ่ง
ในห้องเรียนเรียกฉันอย่างนั้น
ฉันถูกโดดเดี่ยวออกจากเพื่อนร่วมชั้นในทุกวิถีทางที่เป็นไปได้ ฉันเป็นนักเรียนเชื้อสายสเปนเพียง
คนเดียวที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ขณะที่เด็กอื่นๆ กินแซนด์วิช ไส้กรอกในมื้อกลางวัน
ฉันกินตอร์ติญา (tortilla) ที่แม่ทำ
อย่างไรก็ตาม มีบุคคลหนึ่งที่ทำให้ฉันผ่านปีนั้นมาได้ นั่นคือครูคอลลินส์ ครูยังสาวและเป็นชาวอเมริกัน
ผิวดำ ฉันจึงคิดว่าครูคงเข้าใจความรู้สึกของฉันในฐานะเป็นคนเดียวที่ไม่ใช่เด็กผิวขาว ขณะสอนเด็กอื่นๆ
ครูจะสอนฉันให้ออกเสียงเป็นข้อความ เช่น “Tom is a boy” (ทอมเป็นเด็กชายคนหนึ่ง) สมัยนั้นไม่มี
เครื่องมือช่วยในการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง แต่ครูคอลลินส์ไม่เคยตั้งข้อสงสัยว่าฉันจะตาม
เด็กคนอื่นๆ ไม่ทัน
แม้กระนั้น ฉันก็ยังถูกล้อเลียน เด็กชายที่เคยเรียกฉันว่า”ยายเซ่อ” ก็ยังไม่ยอมหยุดเรียกและคอยล้อเลียน
สำเนียงของฉัน ฉันจำชื่อเขาไม่ได้ แต่จำได้ว่าเขาเป็นเด็กเรียนดีและภูมิใจที่ได้รับรางวัลการอ่านของชั้นเรา
รางวัลนี้มีให้เป็นระยะๆ แก่นักเรียนโดยพิจารณาจากการทำงานในโรงเรียน การมีส่วนร่วมในชั้นและการ
ทำการบ้านที่อยู่ในระดับดีเลิศ ซึ่งฉันก็อยากได้รางวัลนี้เช่นกัน
ขณะที่ครูคอลลินส์คอยให้กำลังใจฉันอยู่เสมอ ฉันก็มีความมั่นใจมากขึ้นและมีทักษะภาษาอังกฤษดีขึ้น
พอถึงกลางปี ฉันสามารถพูดภาษาอังกฤษคล่องและอ่านได้ดี เมื่อพิธีมอบรางวัลใกล้เข้ามาอีกครั้งหนึ่ง
ฉันก็มุเรียนอย่างหนัก แล้ววันนั้นก็มาถึง ฉันรู้สึกตื่นเต้นมากเมื่อครูคอลลินส์ประกาศว่า ฉันเป็นผู้ได้รางวัล
ต่อหน้านักเรียนทั้งชั้น ฉันรู้สึกภาคภูมิใจเป็นที่สุด ฉันได้รับประกาศนียบัตรสวยหรูและโบสีน้ำเงินซึ่งครู
คอลลินส์กลัดเสื้อให้ ฉันคว้ารางวัลการอ่านออกมาจากมืออันร้อนผ่าวของเด็กชายคนนั้น ฉันได้แต่รู้สึก
ดีใจกับตัวเองและไม่ได้รู้สึกสะใจกับความพ่ายแพ้ของคนอื่นแต่อย่างใด
แน่นอนที่ชัยชนะของฉันทำให้เกิดความไม่พอใจย่อยๆ ขึ้น แม่ของเด็กชายที่ชอบล้อเลียนฉันคนนั้นมา
ร้องทุกข์ว่า เด็กเชื้อสายสเปนคนเดียวในชั้นที่เพิ่งเรียนภาษาอังกฤษเอารางวัลอันเป็นที่ปรารถนาไปจาก
ลูกชายของเธอ แต่ครูคอลลินส์ยืนกรานในแบบที่เข้มแข็งและนุ่มนวลของครู นั่นเป็นบทเรียนที่ดีเลิศ
ในเรื่องความยุติธรรมและความยึดมั่นในปณิธานของตน
ตั้งแต่นั้นมา ฉันยิ่งขยันเรียนหนักขึ้นและได้เกรดเอหลายวิชา ครูคอลลินส์ช่วยให้ฉันเข้าใจว่าฉันมีทักษะ
ทางภาษา ดังนั้น เมื่อขึ้นชั้นมัธยม ฉันจึงเรียนภาษาฝรั่งเศส และเลือกฝรั่งเศสเป็นวิชาโทในมหาวิทยาลัย
ขณะนั้นฉันเริ่มประสบความสำเร็จในฐานะเป็นนักร้อง เมื่อใดที่มีคนถามถึงผู้ที่ให้แรงบันดาลใจแก่ฉัน
เมื่อฉันให้สัมภาษณ์ ฉันจะเอ่ยถึงครูคอลลินส์ทุกครั้ง
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
โดย กลอเรีย เอสเตฟาน (Gloria Estefan เกิด 1 ก.ย.2500 ที่กรุงฮาวานา --คิวบา)
เรื่องจริงจากหนังสือสรรสาระ ฉบับ ก.พ. 2551 และจากวิกิปีเดีย 2566
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ฉันเคยตั้งตาคอยวันที่จะเข้าโรงเรียน แต่วันแรกในโรงเรียนทำให้ฉันสุดงงงัน ฉันกลับมาบ้าน
และเล่าให้แม่ฟังว่า ฉันได้เรียนภาษาคำแรกแล้ว คือคำว่า “Stupid” (ยายเซ่อ) ที่เด็กชายคนหนึ่ง
ในห้องเรียนเรียกฉันอย่างนั้น
ฉันถูกโดดเดี่ยวออกจากเพื่อนร่วมชั้นในทุกวิถีทางที่เป็นไปได้ ฉันเป็นนักเรียนเชื้อสายสเปนเพียง
คนเดียวที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ขณะที่เด็กอื่นๆ กินแซนด์วิช ไส้กรอกในมื้อกลางวัน
ฉันกินตอร์ติญา (tortilla) ที่แม่ทำ
อย่างไรก็ตาม มีบุคคลหนึ่งที่ทำให้ฉันผ่านปีนั้นมาได้ นั่นคือครูคอลลินส์ ครูยังสาวและเป็นชาวอเมริกัน
ผิวดำ ฉันจึงคิดว่าครูคงเข้าใจความรู้สึกของฉันในฐานะเป็นคนเดียวที่ไม่ใช่เด็กผิวขาว ขณะสอนเด็กอื่นๆ
ครูจะสอนฉันให้ออกเสียงเป็นข้อความ เช่น “Tom is a boy” (ทอมเป็นเด็กชายคนหนึ่ง) สมัยนั้นไม่มี
เครื่องมือช่วยในการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง แต่ครูคอลลินส์ไม่เคยตั้งข้อสงสัยว่าฉันจะตาม
เด็กคนอื่นๆ ไม่ทัน
แม้กระนั้น ฉันก็ยังถูกล้อเลียน เด็กชายที่เคยเรียกฉันว่า”ยายเซ่อ” ก็ยังไม่ยอมหยุดเรียกและคอยล้อเลียน
สำเนียงของฉัน ฉันจำชื่อเขาไม่ได้ แต่จำได้ว่าเขาเป็นเด็กเรียนดีและภูมิใจที่ได้รับรางวัลการอ่านของชั้นเรา
รางวัลนี้มีให้เป็นระยะๆ แก่นักเรียนโดยพิจารณาจากการทำงานในโรงเรียน การมีส่วนร่วมในชั้นและการ
ทำการบ้านที่อยู่ในระดับดีเลิศ ซึ่งฉันก็อยากได้รางวัลนี้เช่นกัน
ขณะที่ครูคอลลินส์คอยให้กำลังใจฉันอยู่เสมอ ฉันก็มีความมั่นใจมากขึ้นและมีทักษะภาษาอังกฤษดีขึ้น
พอถึงกลางปี ฉันสามารถพูดภาษาอังกฤษคล่องและอ่านได้ดี เมื่อพิธีมอบรางวัลใกล้เข้ามาอีกครั้งหนึ่ง
ฉันก็มุเรียนอย่างหนัก แล้ววันนั้นก็มาถึง ฉันรู้สึกตื่นเต้นมากเมื่อครูคอลลินส์ประกาศว่า ฉันเป็นผู้ได้รางวัล
ต่อหน้านักเรียนทั้งชั้น ฉันรู้สึกภาคภูมิใจเป็นที่สุด ฉันได้รับประกาศนียบัตรสวยหรูและโบสีน้ำเงินซึ่งครู
คอลลินส์กลัดเสื้อให้ ฉันคว้ารางวัลการอ่านออกมาจากมืออันร้อนผ่าวของเด็กชายคนนั้น ฉันได้แต่รู้สึก
ดีใจกับตัวเองและไม่ได้รู้สึกสะใจกับความพ่ายแพ้ของคนอื่นแต่อย่างใด
แน่นอนที่ชัยชนะของฉันทำให้เกิดความไม่พอใจย่อยๆ ขึ้น แม่ของเด็กชายที่ชอบล้อเลียนฉันคนนั้นมา
ร้องทุกข์ว่า เด็กเชื้อสายสเปนคนเดียวในชั้นที่เพิ่งเรียนภาษาอังกฤษเอารางวัลอันเป็นที่ปรารถนาไปจาก
ลูกชายของเธอ แต่ครูคอลลินส์ยืนกรานในแบบที่เข้มแข็งและนุ่มนวลของครู นั่นเป็นบทเรียนที่ดีเลิศ
ในเรื่องความยุติธรรมและความยึดมั่นในปณิธานของตน
ตั้งแต่นั้นมา ฉันยิ่งขยันเรียนหนักขึ้นและได้เกรดเอหลายวิชา ครูคอลลินส์ช่วยให้ฉันเข้าใจว่าฉันมีทักษะ
ทางภาษา ดังนั้น เมื่อขึ้นชั้นมัธยม ฉันจึงเรียนภาษาฝรั่งเศส และเลือกฝรั่งเศสเป็นวิชาโทในมหาวิทยาลัย
ขณะนั้นฉันเริ่มประสบความสำเร็จในฐานะเป็นนักร้อง เมื่อใดที่มีคนถามถึงผู้ที่ให้แรงบันดาลใจแก่ฉัน
เมื่อฉันให้สัมภาษณ์ ฉันจะเอ่ยถึงครูคอลลินส์ทุกครั้ง
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
ความประทับใจ : กล้าพูดแล้ว ตอนที่ ( 3 )
โดย กลอเรีย เอสเตฟาน (Gloria Estefan เกิด 1 ก.ย.2500 ที่กรุงฮาวานา --คิวบา)
เรื่องจริงจากหนังสือสรรสาระ ฉบับ ก.พ. 2551 และจากวิกิปีเดีย 2566
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ปี ค.ศ.2534 ระหว่างแวะที่เมืองซานอันโตนิโอในการเดินสายแสดงคอนเสิร์ตครั้งหนึ่งของฉัน
ฉันสงสัยว่าครูคอลลินส์จะยังอยู่ที่นั่นหรือไม่ แน่นอนเหลือเกิน ฉันพบชื่อครูในสมุดโทรศัพท์
ฉันเชิญครูมาฟังคอนเสิร์ตและแนะนำให้รู้จักลูกชายวัยเยาว์ของฉัน นั่นเป็นช่วงเวลาที่วิเศษสุด
ตอนนั้น ครูคอลลินส์เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนประถมแอล. บี. จอห์นสัน (L.B. Johnson School)
ครูเล่าว่า ช่วงเวลาที่ผ่านไปหลายปีนี้ มีผู้ส่งบทสัมภาษณ์ของฉันที่เอ่ยถึงครูไปให้ ครูย้ำบอกอีกว่า
จำฉันได้เสมอ
เราติดต่อกันตลอดมา และอาชีพการงานของครูก็รุ่งโรจน์มาก ครูได้รับรางวัลของชุมชนมากมาย
รวมทั้งรางวัลในฐานะครูดีเด่นเมื่อครูได้รับการเสนอชื่อเข้าไปในหอเกียรติยศสตรีแห่งซานอันโตนิโอ
ในปี ค.ศ.2547 ฉันก็ส่งดอกไม้ไปร่วมแสดงความยินดีด้วย
ครูคอลลินส์สอนบทเรียนเรื่องความยุติธรรมซึ่งฉันจะไม่มีวันลืม ฉันไม่อาจบอกได้ว่ามีกี่ครั้งกี่หนที่
ความมีจิตใจอันมุ่งมั่นซึ่งครูปลูกฝังไว้นำทางให้ฉันฟันฝ่าสิ่งท้าทายมาได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียนภาษา
อังกฤษเมื่ออายุ 5 ขวบ หรือเรื่องรักษาตัวให้หายจากอาการบาดเจ็บหลังหักเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ฉันรู้สึกว่า
เป็นโชคอันประเสริฐที่สวรรค์นำพาให้ฉันกับครูคอลลินส์ได้มาเป็นครูและลูกศิษย์กันเมื่อหลายปีก่อน
ครูคอลลินส์ไม่เพียงสอนภาษาอังกฤษให้ฉัน แต่ยังช่วยให้ฉันเกิดความกล้าที่จะพูดอีกด้วย
หมายเหตุจากวิกิปีเดีย (2566)
ในช่วงวัยรุ่น กลอเรียฝันอยากเป็นนักจิตวิทยา จึงขอทุนและได้เรียนที่มหาวิทยาลัยไมอามี ในปี 2518
เธอตั้งอกตั้งใจเป็นนักศึกษาที่ดี แต่ด้วยความที่ลึก ๆ แล้วกลอเรียรักเสียงดนตรี และได้เข้าร่วมร้องเพลง
กับวงดนตรีคิวบา-อเมริกัน ชื่อ ไมอามี ละตินบอยส์ (The Miami Latin Boys) ) เธอได้เป็นแฟนกับเอมีลีโอ
เอสเตฟาน (Emilio Estefan) นักดนตรีที่เล่นคีย์บอร์ด ซึ่งเข้ามาช่วยเทรนการร้องเพลงและลีลาการแสดง
บนเวที ในที่สุดเธอจึงเข้าร่วมวงกับงานกับเอมีลีโอในปี 2521 ในขณะที่เธออายุ 21 ปี
วงไมอามีฯ มีโอกาสอัดแผ่นเสียง 4 อัลบั้มเป็นเพลงภาษาสเปนช่วงปี 2524-2526 และในปี 2527 จึงก้าว
เข้าสู่ระดับอินเตอร์ ด้วยการด้วยการอัดเพลงภาษาอังกฤษในซิงเกิล "Dr.Beat" และมีผลงานดังๆ เรื่อยๆ มา
รวมถึงได้ทัวร์คอนเสิร์ตไปยังที่ต่าง ๆ
ในปี 2532 กลอเรียจึงมีโอกาสออกอัลบั้มในฐานะศิลปินเดี่ยว และเพลง “Don"t Wanna Lose You”
ก็โด่งดังขึ้นอันดับ 1 ของชาร์ตอเมริกา
ชื่อเสียงของกลอเรียฉุดไม่อยู่นับแต่นั้น อัลบั้มและซิงเกิลของเธอทุกชุดมีเสียงตอบรับที่ดีมากทั้งในด้าน
การขายและรางวัลทั้งได้แสดงบนเวทีสำคัญอย่างมหกรรมโอลิมปิกหรือการแข่งขันซูเปอร์โบลส์ ขณะที่
ชีวิตครอบครัวยังหวานชื่น เมื่อมีพยานรักเป็นลูกชายชื่อ นายิบ ในปี 2523 และเอมิลี่ มารี ในปี 2537
กลอเรียก่อตั้งมูลนิธิ “Gloria Estefan Foundation” ซึ่งส่งเสริมการศึกษา สุขภาพและการพัฒนาวัฒนธรรม
ในปี 2540 และได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำจาก “American Academy of Achievement”
ในปี พ.ศ. 2542 เธอได้ร่วมงานกับวงบอยแบนด์ เอ็นซิงค์ ในเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง
“Music of The Heart” และเพลง “Music Of My Heart” ขึ้นชาร์ตบิลบอร์ดในอันดับที่ 2 และได้รับการ
เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ด้วย หลังจากนั้นกลอเรียได้รับรางวัลดีเด่นอื่นๆ อย่างต่อเนื่องอีกมากมาย
ล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2566 กลอเรียกลายเป็นสตรีเชื้อสายสเปนคนแรกที่ได้รับเกียรติ
เข้าสู่หอเกียรติยศนักแต่งเพลง
จบ
**********************
โดย กลอเรีย เอสเตฟาน (Gloria Estefan เกิด 1 ก.ย.2500 ที่กรุงฮาวานา --คิวบา)
เรื่องจริงจากหนังสือสรรสาระ ฉบับ ก.พ. 2551 และจากวิกิปีเดีย 2566
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ปี ค.ศ.2534 ระหว่างแวะที่เมืองซานอันโตนิโอในการเดินสายแสดงคอนเสิร์ตครั้งหนึ่งของฉัน
ฉันสงสัยว่าครูคอลลินส์จะยังอยู่ที่นั่นหรือไม่ แน่นอนเหลือเกิน ฉันพบชื่อครูในสมุดโทรศัพท์
ฉันเชิญครูมาฟังคอนเสิร์ตและแนะนำให้รู้จักลูกชายวัยเยาว์ของฉัน นั่นเป็นช่วงเวลาที่วิเศษสุด
ตอนนั้น ครูคอลลินส์เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนประถมแอล. บี. จอห์นสัน (L.B. Johnson School)
ครูเล่าว่า ช่วงเวลาที่ผ่านไปหลายปีนี้ มีผู้ส่งบทสัมภาษณ์ของฉันที่เอ่ยถึงครูไปให้ ครูย้ำบอกอีกว่า
จำฉันได้เสมอ
เราติดต่อกันตลอดมา และอาชีพการงานของครูก็รุ่งโรจน์มาก ครูได้รับรางวัลของชุมชนมากมาย
รวมทั้งรางวัลในฐานะครูดีเด่นเมื่อครูได้รับการเสนอชื่อเข้าไปในหอเกียรติยศสตรีแห่งซานอันโตนิโอ
ในปี ค.ศ.2547 ฉันก็ส่งดอกไม้ไปร่วมแสดงความยินดีด้วย
ครูคอลลินส์สอนบทเรียนเรื่องความยุติธรรมซึ่งฉันจะไม่มีวันลืม ฉันไม่อาจบอกได้ว่ามีกี่ครั้งกี่หนที่
ความมีจิตใจอันมุ่งมั่นซึ่งครูปลูกฝังไว้นำทางให้ฉันฟันฝ่าสิ่งท้าทายมาได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียนภาษา
อังกฤษเมื่ออายุ 5 ขวบ หรือเรื่องรักษาตัวให้หายจากอาการบาดเจ็บหลังหักเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ฉันรู้สึกว่า
เป็นโชคอันประเสริฐที่สวรรค์นำพาให้ฉันกับครูคอลลินส์ได้มาเป็นครูและลูกศิษย์กันเมื่อหลายปีก่อน
ครูคอลลินส์ไม่เพียงสอนภาษาอังกฤษให้ฉัน แต่ยังช่วยให้ฉันเกิดความกล้าที่จะพูดอีกด้วย
หมายเหตุจากวิกิปีเดีย (2566)
ในช่วงวัยรุ่น กลอเรียฝันอยากเป็นนักจิตวิทยา จึงขอทุนและได้เรียนที่มหาวิทยาลัยไมอามี ในปี 2518
เธอตั้งอกตั้งใจเป็นนักศึกษาที่ดี แต่ด้วยความที่ลึก ๆ แล้วกลอเรียรักเสียงดนตรี และได้เข้าร่วมร้องเพลง
กับวงดนตรีคิวบา-อเมริกัน ชื่อ ไมอามี ละตินบอยส์ (The Miami Latin Boys) ) เธอได้เป็นแฟนกับเอมีลีโอ
เอสเตฟาน (Emilio Estefan) นักดนตรีที่เล่นคีย์บอร์ด ซึ่งเข้ามาช่วยเทรนการร้องเพลงและลีลาการแสดง
บนเวที ในที่สุดเธอจึงเข้าร่วมวงกับงานกับเอมีลีโอในปี 2521 ในขณะที่เธออายุ 21 ปี
วงไมอามีฯ มีโอกาสอัดแผ่นเสียง 4 อัลบั้มเป็นเพลงภาษาสเปนช่วงปี 2524-2526 และในปี 2527 จึงก้าว
เข้าสู่ระดับอินเตอร์ ด้วยการด้วยการอัดเพลงภาษาอังกฤษในซิงเกิล "Dr.Beat" และมีผลงานดังๆ เรื่อยๆ มา
รวมถึงได้ทัวร์คอนเสิร์ตไปยังที่ต่าง ๆ
ในปี 2532 กลอเรียจึงมีโอกาสออกอัลบั้มในฐานะศิลปินเดี่ยว และเพลง “Don"t Wanna Lose You”
ก็โด่งดังขึ้นอันดับ 1 ของชาร์ตอเมริกา
ชื่อเสียงของกลอเรียฉุดไม่อยู่นับแต่นั้น อัลบั้มและซิงเกิลของเธอทุกชุดมีเสียงตอบรับที่ดีมากทั้งในด้าน
การขายและรางวัลทั้งได้แสดงบนเวทีสำคัญอย่างมหกรรมโอลิมปิกหรือการแข่งขันซูเปอร์โบลส์ ขณะที่
ชีวิตครอบครัวยังหวานชื่น เมื่อมีพยานรักเป็นลูกชายชื่อ นายิบ ในปี 2523 และเอมิลี่ มารี ในปี 2537
กลอเรียก่อตั้งมูลนิธิ “Gloria Estefan Foundation” ซึ่งส่งเสริมการศึกษา สุขภาพและการพัฒนาวัฒนธรรม
ในปี 2540 และได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำจาก “American Academy of Achievement”
ในปี พ.ศ. 2542 เธอได้ร่วมงานกับวงบอยแบนด์ เอ็นซิงค์ ในเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง
“Music of The Heart” และเพลง “Music Of My Heart” ขึ้นชาร์ตบิลบอร์ดในอันดับที่ 2 และได้รับการ
เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ด้วย หลังจากนั้นกลอเรียได้รับรางวัลดีเด่นอื่นๆ อย่างต่อเนื่องอีกมากมาย
ล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2566 กลอเรียกลายเป็นสตรีเชื้อสายสเปนคนแรกที่ได้รับเกียรติ
เข้าสู่หอเกียรติยศนักแต่งเพลง
จบ
**********************
………"คืนวันเมื่อรถคือที่ซุกหัวนอน" มีทั้งหมด ( 4 ) ตอนจบ
คืนวันเมื่อรถคือที่ซุกหัวนอน ตอนที่ (|)โดย อันยา ปีเตอร์ส (Anya Peters) เรื่องจริง
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2551 และจากกูเกิล 2566
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ตอนที่ฉันเจอกับเครกครั้งแรก ฉันอายุ 33 ปีและอยู่ที่ลอนดอน ฉันเพิ่งเลิกกับผู้ชายอีกคน
ที่คบกันมา 5 ปี เครกเป็นเพื่อนให้กำลังใจยามที่ฉันต้องการ เขาแก่กว่าฉัน 20 ปีและเป็นเหมือน
กับพ่อในตอนแรก แต่แล้วความสัมพันธ์ของเราเริ่มใกล้ชิดมากกันขึ้น จากนั้นเครกก็เริ่มบงการ
มากขึ้นและรู้จักใช้ประโยชน์จากอดีตที่น่าเศร้าของฉัน เขากล่อมฉันว่าคนในครอบครัวและเพื่อนๆ
ไม่มีใครรักฉัน มีแต่เขาเท่านั้น
ฉันใช้เวลา 2 ปี ก่อนจะรวบรวมความกล้าแยกทางกับเครก ขนาดฉันย้ายแฟลต 2 ครั้งเขายัง
ตามฉันเจอ ฉันเริ่มปล่อยเนื้อปล่อยตัว เป็นโรคซึมเศร้าและต้องออกจากอาชีพทนายผู้ช่วยปี 2548
เมื่อใกล้จะสิ้นหวังและไม่สามารถาจ่ายค่าเช่าบ้านได้ ฉันจึงบรรทุกกล่องเสื้อผ้าและกระเป๋าถือใส่รถ
แล้วส่งคืนกุญแจให้เจ้าของแฟลต
แฟนเก่าติดหนี้ฉันอยู่ก้อนหนึ่ง ดังนั้นระหว่างที่ชีวิตตกต่ำอยู่นี้ ฉันเร่ร่อนไปทั่วประเทศโดยพัก
ตามโรงแรม พ่อแท้ๆ ของฉันส่งเงินมาเมื่อมีโอกาสเพื่อให้ฉันพออยู่รอดไปได้
แต่เวลาผ่านไปและเงินยืมก็ไม่ได้คืน แล้ววันหนึ่งขณะคุยกับพ่อจากตู้โทรศัพท์ริมทะเลเมืองไบรตัน
(Brighton) พ่อบอกว่าเงินงวดหน้าจะเป็นงวดครั้งสุดท้าย แผนการของพ่อเกิดผิดพลาดอย่างไร ไม่
ทราบได้ “พ่อเสียใจนะ” พ่อพูดระหว่างที่ฉันจ้องมองทะเลสีเทาสาดซัดซากพังของท่าเรือ “พ่อช่วยได้แค่นี้”
ฉันนั่งอยู่ในรถ หยุดร้องไห้ไม่ได้ รู้สึกเหินห่างจากครอบครัว จะหันไปหาเพื่อนก็ไม่ได้เพราะเครกกันท่า
ไม่ให้ฉันเจอใครเป็นเวลา 2 ปีและฉันก็อายเกินกว่าจะให้ใครรู้ว่า ตอนนั้นฉันตกต่ำแค่ไหน
ความรู้สึกอ่อนล้าจู่โจมขึ้นมาดื้อๆ ฉันดึงผ้าห่มนวมออกมา 2 ผืน เอามาห่มตัวผืนหนึ่ง อีกผืนม้วนวาง
ไว้บนที่นั่งข้างคนขับแล้วหนุนศีรษะลงไป นอนไม่สบายนักเพราะเบรกมือทิ่มลำตัวอยู่ แต่เมื่อนอนบนเบาะ
ฉันมองไม่เห็นคนอื่น เห็นแต่ท้องฟ้ายามกลางคืนและรู้สึกว่าเป็นคนไร้ตัวตน
พอฉันลืมตาขึ้นอีกครั้งก็เห็นท้องฟ้าใสสีคราม นกนางนวลร้องเสียงแหลมโฉมปีกบินผ่านไป พร้อมกับ
แดดเดือนสิงหาคมแผดเผาผ่านกระจกหน้ารถลงมา คืนนั้นฉันนอนหลับในรถเป็นครั้งแรก
หลังผ่านคืนแรกมาได้ในรถ คืนต่อไปก็ง่ายแล้ว ฉันไม่จำเป็นต้องพบหน้าผู้คน ไม่ต้องจ่ายค่าโรงแรม
ฉันยังชีพอยู่ด้วยมันฝรั่งทอดกับขนมหวานราคาถูก ไม่เคยนอนบนถนนสายเดิมซ้ำ 2 หน กลัวว่าอาจมีบางคน
เดาออก
ฉันปวดเมื่อยไปหมดทั้งตัว ถ้าได้นอนที่เบาะหลังก็คงจะดีกว่า แต่ตรงเบาะหลังก็มีสมบัติของฉันอัด
แน่นอยู่ เวลาจะล้างหน้าล้างตา ฉันใช้ช่วงเปลี่ยนกะพนักงานของโรงแรม โรงแรมใหญ่ๆ พนักงานจำแขก
ไม่ค่อยได้ และฉันก็รู้จักแผนผังห้องโถงจนขึ้นใจ ดังนั้นฉันจึงก้าวฉับๆ เข้าไปใช้ห้องน้ำในโรงแรมด้วย
ความมั่นใจ
ตอนฉันมีอาการซึมเศร้าใหม่ๆ แพทย์ออกใบรับรองให้ฉันเป็นบุคคลไร้ความสามารถ และมีเงินสวัสดิการ
รายสัปดาห์ก้อนเล็กๆ พอซื้ออาหารกิน แต่ถ้าจะหาที่อยู่สักแห่ง ฉันต้องมีงานทำ และบริษัทจัดหางานทุกแห่ง
ก็ส่ายหน้าเมื่อฉันไม่สามารถให้ที่อยู่ได้
อย่างไรก็ตาม เพราะความจำเป็นต้องอาบน้ำหลังจากใช้ชีวิตอยู่ในรถตามที่กล่าวมานี้หลายวัน ฉันจึง
ไปอาศัยอยู่ในที่พักชั่วคราวสำหรับคนไร้บ้านได้อยู่หนึ่งเดือน จนวันหนึ่งฉันพูดกับอาสาสมัครสาวที่นั่น เธอ
เป็นเด็กสาวร่างบาง ผมสีบลอนด์ ถักเปียเล็กๆ ทั้งศีรษะ และเป็นคนแรกที่ฉันบอกเธอว่าฉันนอนในรถ
เธอทำท่าประหลาดใจเมื่อได้ยินสำเนียงคนชั้นกลางของฉันและเริ่มทำท่าหยาบคายใส่
ใบหน้าฉันร้อนผ่าวด้วยความอายและไม่อาจทนอยู่ที่นั่นต่อไปได้ ฉันรู้สึกตระหนกว่า ตัวเองถูกคน
ไร้บ้านทุกคนที่นั่นจับตามองทุกฝีก้าว และคนทั่วเมืองไบรตันต้องจำฉันได้ ดังนั้นฉันจึงตัดสินใจกลับลอนดอน
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
คืนวันเมื่อรถคือที่ซุกหัวนอน ตอนที่ (|)โดย อันยา ปีเตอร์ส (Anya Peters) เรื่องจริง
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2551 และจากกูเกิล 2566
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ตอนที่ฉันเจอกับเครกครั้งแรก ฉันอายุ 33 ปีและอยู่ที่ลอนดอน ฉันเพิ่งเลิกกับผู้ชายอีกคน
ที่คบกันมา 5 ปี เครกเป็นเพื่อนให้กำลังใจยามที่ฉันต้องการ เขาแก่กว่าฉัน 20 ปีและเป็นเหมือน
กับพ่อในตอนแรก แต่แล้วความสัมพันธ์ของเราเริ่มใกล้ชิดมากกันขึ้น จากนั้นเครกก็เริ่มบงการ
มากขึ้นและรู้จักใช้ประโยชน์จากอดีตที่น่าเศร้าของฉัน เขากล่อมฉันว่าคนในครอบครัวและเพื่อนๆ
ไม่มีใครรักฉัน มีแต่เขาเท่านั้น
ฉันใช้เวลา 2 ปี ก่อนจะรวบรวมความกล้าแยกทางกับเครก ขนาดฉันย้ายแฟลต 2 ครั้งเขายัง
ตามฉันเจอ ฉันเริ่มปล่อยเนื้อปล่อยตัว เป็นโรคซึมเศร้าและต้องออกจากอาชีพทนายผู้ช่วยปี 2548
เมื่อใกล้จะสิ้นหวังและไม่สามารถาจ่ายค่าเช่าบ้านได้ ฉันจึงบรรทุกกล่องเสื้อผ้าและกระเป๋าถือใส่รถ
แล้วส่งคืนกุญแจให้เจ้าของแฟลต
แฟนเก่าติดหนี้ฉันอยู่ก้อนหนึ่ง ดังนั้นระหว่างที่ชีวิตตกต่ำอยู่นี้ ฉันเร่ร่อนไปทั่วประเทศโดยพัก
ตามโรงแรม พ่อแท้ๆ ของฉันส่งเงินมาเมื่อมีโอกาสเพื่อให้ฉันพออยู่รอดไปได้
แต่เวลาผ่านไปและเงินยืมก็ไม่ได้คืน แล้ววันหนึ่งขณะคุยกับพ่อจากตู้โทรศัพท์ริมทะเลเมืองไบรตัน
(Brighton) พ่อบอกว่าเงินงวดหน้าจะเป็นงวดครั้งสุดท้าย แผนการของพ่อเกิดผิดพลาดอย่างไร ไม่
ทราบได้ “พ่อเสียใจนะ” พ่อพูดระหว่างที่ฉันจ้องมองทะเลสีเทาสาดซัดซากพังของท่าเรือ “พ่อช่วยได้แค่นี้”
ฉันนั่งอยู่ในรถ หยุดร้องไห้ไม่ได้ รู้สึกเหินห่างจากครอบครัว จะหันไปหาเพื่อนก็ไม่ได้เพราะเครกกันท่า
ไม่ให้ฉันเจอใครเป็นเวลา 2 ปีและฉันก็อายเกินกว่าจะให้ใครรู้ว่า ตอนนั้นฉันตกต่ำแค่ไหน
ความรู้สึกอ่อนล้าจู่โจมขึ้นมาดื้อๆ ฉันดึงผ้าห่มนวมออกมา 2 ผืน เอามาห่มตัวผืนหนึ่ง อีกผืนม้วนวาง
ไว้บนที่นั่งข้างคนขับแล้วหนุนศีรษะลงไป นอนไม่สบายนักเพราะเบรกมือทิ่มลำตัวอยู่ แต่เมื่อนอนบนเบาะ
ฉันมองไม่เห็นคนอื่น เห็นแต่ท้องฟ้ายามกลางคืนและรู้สึกว่าเป็นคนไร้ตัวตน
พอฉันลืมตาขึ้นอีกครั้งก็เห็นท้องฟ้าใสสีคราม นกนางนวลร้องเสียงแหลมโฉมปีกบินผ่านไป พร้อมกับ
แดดเดือนสิงหาคมแผดเผาผ่านกระจกหน้ารถลงมา คืนนั้นฉันนอนหลับในรถเป็นครั้งแรก
หลังผ่านคืนแรกมาได้ในรถ คืนต่อไปก็ง่ายแล้ว ฉันไม่จำเป็นต้องพบหน้าผู้คน ไม่ต้องจ่ายค่าโรงแรม
ฉันยังชีพอยู่ด้วยมันฝรั่งทอดกับขนมหวานราคาถูก ไม่เคยนอนบนถนนสายเดิมซ้ำ 2 หน กลัวว่าอาจมีบางคน
เดาออก
ฉันปวดเมื่อยไปหมดทั้งตัว ถ้าได้นอนที่เบาะหลังก็คงจะดีกว่า แต่ตรงเบาะหลังก็มีสมบัติของฉันอัด
แน่นอยู่ เวลาจะล้างหน้าล้างตา ฉันใช้ช่วงเปลี่ยนกะพนักงานของโรงแรม โรงแรมใหญ่ๆ พนักงานจำแขก
ไม่ค่อยได้ และฉันก็รู้จักแผนผังห้องโถงจนขึ้นใจ ดังนั้นฉันจึงก้าวฉับๆ เข้าไปใช้ห้องน้ำในโรงแรมด้วย
ความมั่นใจ
ตอนฉันมีอาการซึมเศร้าใหม่ๆ แพทย์ออกใบรับรองให้ฉันเป็นบุคคลไร้ความสามารถ และมีเงินสวัสดิการ
รายสัปดาห์ก้อนเล็กๆ พอซื้ออาหารกิน แต่ถ้าจะหาที่อยู่สักแห่ง ฉันต้องมีงานทำ และบริษัทจัดหางานทุกแห่ง
ก็ส่ายหน้าเมื่อฉันไม่สามารถให้ที่อยู่ได้
อย่างไรก็ตาม เพราะความจำเป็นต้องอาบน้ำหลังจากใช้ชีวิตอยู่ในรถตามที่กล่าวมานี้หลายวัน ฉันจึง
ไปอาศัยอยู่ในที่พักชั่วคราวสำหรับคนไร้บ้านได้อยู่หนึ่งเดือน จนวันหนึ่งฉันพูดกับอาสาสมัครสาวที่นั่น เธอ
เป็นเด็กสาวร่างบาง ผมสีบลอนด์ ถักเปียเล็กๆ ทั้งศีรษะ และเป็นคนแรกที่ฉันบอกเธอว่าฉันนอนในรถ
เธอทำท่าประหลาดใจเมื่อได้ยินสำเนียงคนชั้นกลางของฉันและเริ่มทำท่าหยาบคายใส่
ใบหน้าฉันร้อนผ่าวด้วยความอายและไม่อาจทนอยู่ที่นั่นต่อไปได้ ฉันรู้สึกตระหนกว่า ตัวเองถูกคน
ไร้บ้านทุกคนที่นั่นจับตามองทุกฝีก้าว และคนทั่วเมืองไบรตันต้องจำฉันได้ ดังนั้นฉันจึงตัดสินใจกลับลอนดอน
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
คืนวันเมื่อรถคือที่ซุกหัวนอน ตอนที่ ( 2 )โดย อันยา ปีเตอร์ส (Anya Peters) เรื่องจริง
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2551 และจากกูเกิล 2566
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ในเมืองหลวง ที่จอดรถฟรีบนถนนย่านบ้านพักอาศัยนั้นหายากมาก บางครั้งฉันนอนนานเกินไป
และได้ใบสั่งซึ่งฉันไม่มีปัญญาจ่าย แล้ววันหนึ่งตำรวจจราจรซึ่งเป็นคนเชื้อสายโปรตุเกสก็เห็นฉันตื่น
ขึ้นมาในรถ เขาพูดตอนเอาใบสั่งมาเสียบที่ปัดน้ำฝนว่า “เคยจอดรถในโรงพยาบาลไหม มีพนักงาน
รักษาความปลอดภัยมาตรวจก็จริง แต่พวกเขาไม่ตรวจละเอียดเท่าเรา” พูดจบเขาก็หลิ่วตาให้
นอกจากจะสามารถจอดรถทิ้งไว้ที่โรงพยาบาลได้ทั้งวันแล้ว ฉันยังเจอห้องอาบน้ำที่นั่นด้วย แถม
ยังได้อาศัยห้องอาหารของโรงพยาบาลโดยทำทีว่าเป็นพนักงานของโรงพยาบาล
ฉันไปตามศูนย์ให้คำปรึกษาเรื่องบ้านและหน่วยงานการกุศลหลายแห่ง โดยหวังว่าจะได้รับความ
ช่วยเหลือให้เงินเป็นค่ามัดจำห้องบ้าง แต่ทุกแห่งต้องการที่อยู่ของฉัน และฉันก็ไม่อาจทำใจยอมรับว่า
ตัวเองเป็นคนไร้บ้านด้วย
ต่อมาไม่นาน ฉันบังเอิญไปพบถนนซอยตรงริมสวนสาธารณะแห่งหนึ่งซึ่งจอดรถตอนกลางคืนได้
ความเงียบและความมืดที่นั่นยังดีกว่าถูกคนมองทุกเช้า แม้ยังกลัวว่าจะเกิดเหตุอย่างคราวก่อน แต่ฉัน
ก็ยังคงนอนที่นั่นต่อไป
ฤดูร้อนเปลี่ยนเป็นฤดูหนาว ฉันนอนโดยสวมหมวกกับถุงมือและเสื้อผ้าหลายชั้นเท่าที่จะสวมเข้าไป
ในถุงนอนได้ แต่หลับไม่ลง รู้สึกราวกับมีลิ่มน้ำแข็งอยู่ในเลือด เช้าวันคริสต์มาส ฉันขูดน้ำแข็งออกจาก
หน้าต่างรถ นึกในใจว่าจะมีที่ไหนบ้างที่เปิดให้ฉันเข้าไปหาอะไรร้อนๆ ดื่มให้อุ่นขึ้น
สถานที่หนึ่งซึ่งฉันเข้าไปหาความอบอุ่นระหว่างช่วงกลางวันคือห้องสมุดสาธารณะ ฉันยังพยายาม
สมัครงานต่อไปเรื่อยๆ แต่เพื่อกลบเกลื่อนเรื่องที่ตนเป็นคนไร้บ้าน ฉันจึงต้องสมัครทางออนไลน์และ
ห้องสมุดบางแห่งก็มีอินเทอร์เน็ตให้ใช้ฟรี
วันหนึ่งฉันอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในห้องอาหารของโรงพยาบาล มีบทความหนึ่งพูดถึง “บล็อก”
(blog หรือ webblog : รูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่งซึ่งแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด ผู้เข้ามาอ่าน
ข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเขียน ทำให้ผู้เขียนสามารถตอบกลับ
ได้ทันที) ฉันพบว่ามันคือบันทึกทางอินเทอร์เน็ตที่ใครก็เขียนได้ และทุกคนก็อ่านได้ด้วย
อาจเป็นเพราะไม่อยากกลับไปเจอความหนาวเย็นหรือเป็นเพราะอะไรที่มากกว่านั้น แต่วันที่มีหิมะตก
วันหนึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ปีที่ผ่านมา ฉันรอให้บรรณารักษ์ซึ่งกำลังจัดหนังสือเข้าชั้นอยู่ด้านหลังกลับไป
ที่โต๊ะ แล้วฉันก็คลิกไปที่ “สร้างบล็อก”
คุณต้องตั้งชื่อก่อน ฉันพิมพ์ชื่อ ”Wandering-scribe” (นักเขียนพเนจร) ฉันเหลียวหลังไปมองด้วยความ
ระแวงแล้วสูดหายใจเฮือกใหญ่ ตัดสินใจยอมรับในวันนั้นเองว่า “ฉันเป็นคนไร้บ้าน”
ข้อความตอนแรกในบล็อกของฉันคือ “เมื่อคืนมีพายุ ฝนตกกระหน่ำ กิ่งไม้โยกไหวอย่างแรง รู้สึกไม่
ปลอดภัยเลยบนถนนที่ฉันจอดรถ ฉันมุดเข้าไปในถุงนอนซ้อนกันหลายชั้น รูดซิปถุงใบนอกขึ้นสุด ฉันจึง
หายใจไม่ค่อยออก อึดใจต่อมา หน้าต่างรถก็มีฝ้าจับเต็ม”
เป็นเรื่องยากที่สุดเท่าที่ฉันเคยเขียน แต่ก็เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ฉันพรั่งพรูทุกสิ่งทุกอย่างที่รู้สึกจริงๆ ออกมา
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2551 และจากกูเกิล 2566
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ในเมืองหลวง ที่จอดรถฟรีบนถนนย่านบ้านพักอาศัยนั้นหายากมาก บางครั้งฉันนอนนานเกินไป
และได้ใบสั่งซึ่งฉันไม่มีปัญญาจ่าย แล้ววันหนึ่งตำรวจจราจรซึ่งเป็นคนเชื้อสายโปรตุเกสก็เห็นฉันตื่น
ขึ้นมาในรถ เขาพูดตอนเอาใบสั่งมาเสียบที่ปัดน้ำฝนว่า “เคยจอดรถในโรงพยาบาลไหม มีพนักงาน
รักษาความปลอดภัยมาตรวจก็จริง แต่พวกเขาไม่ตรวจละเอียดเท่าเรา” พูดจบเขาก็หลิ่วตาให้
นอกจากจะสามารถจอดรถทิ้งไว้ที่โรงพยาบาลได้ทั้งวันแล้ว ฉันยังเจอห้องอาบน้ำที่นั่นด้วย แถม
ยังได้อาศัยห้องอาหารของโรงพยาบาลโดยทำทีว่าเป็นพนักงานของโรงพยาบาล
ฉันไปตามศูนย์ให้คำปรึกษาเรื่องบ้านและหน่วยงานการกุศลหลายแห่ง โดยหวังว่าจะได้รับความ
ช่วยเหลือให้เงินเป็นค่ามัดจำห้องบ้าง แต่ทุกแห่งต้องการที่อยู่ของฉัน และฉันก็ไม่อาจทำใจยอมรับว่า
ตัวเองเป็นคนไร้บ้านด้วย
ต่อมาไม่นาน ฉันบังเอิญไปพบถนนซอยตรงริมสวนสาธารณะแห่งหนึ่งซึ่งจอดรถตอนกลางคืนได้
ความเงียบและความมืดที่นั่นยังดีกว่าถูกคนมองทุกเช้า แม้ยังกลัวว่าจะเกิดเหตุอย่างคราวก่อน แต่ฉัน
ก็ยังคงนอนที่นั่นต่อไป
ฤดูร้อนเปลี่ยนเป็นฤดูหนาว ฉันนอนโดยสวมหมวกกับถุงมือและเสื้อผ้าหลายชั้นเท่าที่จะสวมเข้าไป
ในถุงนอนได้ แต่หลับไม่ลง รู้สึกราวกับมีลิ่มน้ำแข็งอยู่ในเลือด เช้าวันคริสต์มาส ฉันขูดน้ำแข็งออกจาก
หน้าต่างรถ นึกในใจว่าจะมีที่ไหนบ้างที่เปิดให้ฉันเข้าไปหาอะไรร้อนๆ ดื่มให้อุ่นขึ้น
สถานที่หนึ่งซึ่งฉันเข้าไปหาความอบอุ่นระหว่างช่วงกลางวันคือห้องสมุดสาธารณะ ฉันยังพยายาม
สมัครงานต่อไปเรื่อยๆ แต่เพื่อกลบเกลื่อนเรื่องที่ตนเป็นคนไร้บ้าน ฉันจึงต้องสมัครทางออนไลน์และ
ห้องสมุดบางแห่งก็มีอินเทอร์เน็ตให้ใช้ฟรี
วันหนึ่งฉันอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในห้องอาหารของโรงพยาบาล มีบทความหนึ่งพูดถึง “บล็อก”
(blog หรือ webblog : รูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่งซึ่งแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด ผู้เข้ามาอ่าน
ข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเขียน ทำให้ผู้เขียนสามารถตอบกลับ
ได้ทันที) ฉันพบว่ามันคือบันทึกทางอินเทอร์เน็ตที่ใครก็เขียนได้ และทุกคนก็อ่านได้ด้วย
อาจเป็นเพราะไม่อยากกลับไปเจอความหนาวเย็นหรือเป็นเพราะอะไรที่มากกว่านั้น แต่วันที่มีหิมะตก
วันหนึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ปีที่ผ่านมา ฉันรอให้บรรณารักษ์ซึ่งกำลังจัดหนังสือเข้าชั้นอยู่ด้านหลังกลับไป
ที่โต๊ะ แล้วฉันก็คลิกไปที่ “สร้างบล็อก”
คุณต้องตั้งชื่อก่อน ฉันพิมพ์ชื่อ ”Wandering-scribe” (นักเขียนพเนจร) ฉันเหลียวหลังไปมองด้วยความ
ระแวงแล้วสูดหายใจเฮือกใหญ่ ตัดสินใจยอมรับในวันนั้นเองว่า “ฉันเป็นคนไร้บ้าน”
ข้อความตอนแรกในบล็อกของฉันคือ “เมื่อคืนมีพายุ ฝนตกกระหน่ำ กิ่งไม้โยกไหวอย่างแรง รู้สึกไม่
ปลอดภัยเลยบนถนนที่ฉันจอดรถ ฉันมุดเข้าไปในถุงนอนซ้อนกันหลายชั้น รูดซิปถุงใบนอกขึ้นสุด ฉันจึง
หายใจไม่ค่อยออก อึดใจต่อมา หน้าต่างรถก็มีฝ้าจับเต็ม”
เป็นเรื่องยากที่สุดเท่าที่ฉันเคยเขียน แต่ก็เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ฉันพรั่งพรูทุกสิ่งทุกอย่างที่รู้สึกจริงๆ ออกมา
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
คืนวันเมื่อรถคือที่ซุกหัวนอน ตอนที่ ( 3 )โดย อันยา ปีเตอร์ส (Anya Peters) เรื่องจริง
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2551 และจากกูเกิล 2566
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
“บางครั้ง ฉันรู้สึกอ่อนล้าเมื่อนึกถึงอุปสรรคที่เหมือนภูเขาให้ต้องปีนข้ามเพื่อจะออกจาก
สถานการณ์นี้ ฉันรู้ว่าจะต้องทำได้ แต่ด้วยวิธีใดยังไม่ทราบ... รู้สึกดีที่รู้ว่ามีคนซึ่งอาจอ่านข้อ
ความนี้อยู่ รู้สึกเหมือนตัวเองกำลังทลายกำแพงไปสู่โลกภายนอก...”
บล็อกยอมให้ผู้อ่านแสดงความเห็นได้ อินเทอร์เน็ตมีบล็อกเป็นล้านๆ ฉันจึงแทบไม่คาดหวังว่า
จะมีคนมาอ่านบล็อกของฉัน อย่าว่าแต่ตอบเลย ทว่าเกือบจะในทันที พวกเขาก็ตอบ มี 12 ข้อความ
ทิ้งไว้หลังฉันเข้าไปในบล็อกครั้งแรก วันนั้น ฉันไปห้องสมุด 5-6 ครั้ง แต่ละครั้งก็มีข้อความเข้ามาเพิ่มอีก
เช้าวันรุ่งขึ้น ฉันแทบรอตื่นแล้วรีบไปห้องสมุดไม่ไหว วันแล้ววันเล่า ฉันเล่าเรื่องของตัวเอง การเล่าเรื่อง
ในบล็อกทำให้แต่ละวันของฉันมีสาระและจุดมุ่งหมาย นานมากแล้วที่ฉันไม่อาจออกไปสู่โลกที่เป็นจริง
กลัวจะถูกปฏิเสธ สงสาร หรือเหยียดหยาม แต่ที่นี่ไม่ต้องบอกชื่อและปลอดภัย การได้ติดต่อกับคนที่
อยู่อีกด้านของหน้าจอ หลายคนอยู่อีกซีกโลกนำฉันกลับมาสู่ชีวิตอีกครั้งหนึ่ง แถมยังไม่มีใครเบือนหน้า
หนีด้วยความรังเกียจ ตรงกันข้าม คนกลับมาที่บล็อกของฉันวันแล้ววันเล่า ให้กำลังใจฉันสู้ต่อ บอกว่า
เรื่องอย่างนี้อาจเกิดกับใครก็ได้ บางคนยกตัวเลขจำนวนคนไร้บ้านในอังกฤษที่เพิ่มขึ้น ราคาบ้านที่สูงขึ้น
อย่างบ้าคลั่งและหนี้สินที่พอกพูน พวกเขาเล่าถึงสภาพที่ตัวเองต้องกระเหม็ดกระแหม่ พวกเราหลายคน
เงินเดือนไม่พอยาไส้ ใช้ชีวิตแทบไม่ต่างจากคนไร้บ้าน
ผู้ชายคนหนึ่งชื่อสจวร์ตเคยเป็นเจ้าของธุรกิจส่งออกและมีบ้านขนาด 5 ห้องนอนในเชสเชียร์ (Chesshire)
หลังถูกเคราะห์ซ้ำกรรมซัดอยู่ยาวนาน เขากลายเป็นคนที่ต้องดิ้นรนหาเงินเป็นค่าน้ำค่าไฟ อาศัยอยู่ใน
ห้องเช่าเล็กๆ สจวร์ตเองก็ไม่กล้าไปพบครอบครัวหรือเพื่อนเหมือนกัน
ฉันรับรู้ได้ว่าคนเข้าใจความกลัวของฉันที่จะต้องไปพบเจ้าหน้าที่และติดแหง็กอยู่ในระบบ พวกเขารู้ซึ้งว่า
วันเดียวอาจกลายเป็นสัปดาห์และอีกสัปดาห์ต่อไปเรื่อยๆ “ทุกอย่างผ่านไปเร็วเหลือเกิน” คนหนึ่งเขียน
จู่ๆ ฉันก็รู้สึกว่าไม่เห็นมีอะไรจะต้องอาย
เช้าวันอังคารหนึ่ง อากาศหนาวมากเป็นพิเศษ ฉันเปิดกล่องจดหมายดู ในบรรดาอีเมลจากบล็อกเกอร์
ซึ่งเป็นห่วงเป็นใยว่า ฉันจะสู้หิมะได้อย่างไรนั้น มีคนหนึ่งเขียนว่า “ผู้สื่อข่าวนิวยอร์กไทม์พยายามจะติด
ต่อคุณ” เอียน เออร์บิน (Ian Urbina) บังเอิญมาเจอบล็อกของฉันเข้าระหว่างค้นหาบทความเกี่ยวกับคน
ที่กินนอนอยู่ในรถที่สหรัฐฯ เราโต้ตอบอีเมลกัน และคืนนั้นเขาก็โทรฯหาฉันที่ตู้โทรศัพท์ ฉันไม่ได้พูดกับ
ใครมาเป็นเดือนๆ แต่แล้วขณะที่สายฝนไหลเป็นสายบนกระจกด้านนอก คำพูดก็พรั่งพรูออกมา
เขาอยากให้คนจาก“นิวยอร์กไทม์”ที่สำนักจากกรุงลอนดอนมาพบฉันเพื่อดูข้อมูลเบื้องต้น ผู้หญิงพูดจา
นุ่มนวลคนหนึ่งอายุราว 50 ต้นๆ มาพบฉันที่ลานจอดรถใต้ซูเปอร์มาร์เก็ตเซนส์เบอรี สาขาแคมเดน
(Sainsbury's supermarket, Camden) ขณะที่เธอชะโงกมองตรงริมเบาะที่นั่งข้างคนขับและมองดูส่วน
ที่ฉันใช้เป็นที่อยู่อย่างเพ่งพินิจ ฉันรู้สึกอายความรกเลอะ และที่ยิ่งกว่านั้นคือกลิ่น ฉันใช้ชีวิตอยู่ในรถมา
เกือบ 9 เดือนแล้ว
โปรดติดตามตอนที่ ( 4 )ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2551 และจากกูเกิล 2566
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
“บางครั้ง ฉันรู้สึกอ่อนล้าเมื่อนึกถึงอุปสรรคที่เหมือนภูเขาให้ต้องปีนข้ามเพื่อจะออกจาก
สถานการณ์นี้ ฉันรู้ว่าจะต้องทำได้ แต่ด้วยวิธีใดยังไม่ทราบ... รู้สึกดีที่รู้ว่ามีคนซึ่งอาจอ่านข้อ
ความนี้อยู่ รู้สึกเหมือนตัวเองกำลังทลายกำแพงไปสู่โลกภายนอก...”
บล็อกยอมให้ผู้อ่านแสดงความเห็นได้ อินเทอร์เน็ตมีบล็อกเป็นล้านๆ ฉันจึงแทบไม่คาดหวังว่า
จะมีคนมาอ่านบล็อกของฉัน อย่าว่าแต่ตอบเลย ทว่าเกือบจะในทันที พวกเขาก็ตอบ มี 12 ข้อความ
ทิ้งไว้หลังฉันเข้าไปในบล็อกครั้งแรก วันนั้น ฉันไปห้องสมุด 5-6 ครั้ง แต่ละครั้งก็มีข้อความเข้ามาเพิ่มอีก
เช้าวันรุ่งขึ้น ฉันแทบรอตื่นแล้วรีบไปห้องสมุดไม่ไหว วันแล้ววันเล่า ฉันเล่าเรื่องของตัวเอง การเล่าเรื่อง
ในบล็อกทำให้แต่ละวันของฉันมีสาระและจุดมุ่งหมาย นานมากแล้วที่ฉันไม่อาจออกไปสู่โลกที่เป็นจริง
กลัวจะถูกปฏิเสธ สงสาร หรือเหยียดหยาม แต่ที่นี่ไม่ต้องบอกชื่อและปลอดภัย การได้ติดต่อกับคนที่
อยู่อีกด้านของหน้าจอ หลายคนอยู่อีกซีกโลกนำฉันกลับมาสู่ชีวิตอีกครั้งหนึ่ง แถมยังไม่มีใครเบือนหน้า
หนีด้วยความรังเกียจ ตรงกันข้าม คนกลับมาที่บล็อกของฉันวันแล้ววันเล่า ให้กำลังใจฉันสู้ต่อ บอกว่า
เรื่องอย่างนี้อาจเกิดกับใครก็ได้ บางคนยกตัวเลขจำนวนคนไร้บ้านในอังกฤษที่เพิ่มขึ้น ราคาบ้านที่สูงขึ้น
อย่างบ้าคลั่งและหนี้สินที่พอกพูน พวกเขาเล่าถึงสภาพที่ตัวเองต้องกระเหม็ดกระแหม่ พวกเราหลายคน
เงินเดือนไม่พอยาไส้ ใช้ชีวิตแทบไม่ต่างจากคนไร้บ้าน
ผู้ชายคนหนึ่งชื่อสจวร์ตเคยเป็นเจ้าของธุรกิจส่งออกและมีบ้านขนาด 5 ห้องนอนในเชสเชียร์ (Chesshire)
หลังถูกเคราะห์ซ้ำกรรมซัดอยู่ยาวนาน เขากลายเป็นคนที่ต้องดิ้นรนหาเงินเป็นค่าน้ำค่าไฟ อาศัยอยู่ใน
ห้องเช่าเล็กๆ สจวร์ตเองก็ไม่กล้าไปพบครอบครัวหรือเพื่อนเหมือนกัน
ฉันรับรู้ได้ว่าคนเข้าใจความกลัวของฉันที่จะต้องไปพบเจ้าหน้าที่และติดแหง็กอยู่ในระบบ พวกเขารู้ซึ้งว่า
วันเดียวอาจกลายเป็นสัปดาห์และอีกสัปดาห์ต่อไปเรื่อยๆ “ทุกอย่างผ่านไปเร็วเหลือเกิน” คนหนึ่งเขียน
จู่ๆ ฉันก็รู้สึกว่าไม่เห็นมีอะไรจะต้องอาย
เช้าวันอังคารหนึ่ง อากาศหนาวมากเป็นพิเศษ ฉันเปิดกล่องจดหมายดู ในบรรดาอีเมลจากบล็อกเกอร์
ซึ่งเป็นห่วงเป็นใยว่า ฉันจะสู้หิมะได้อย่างไรนั้น มีคนหนึ่งเขียนว่า “ผู้สื่อข่าวนิวยอร์กไทม์พยายามจะติด
ต่อคุณ” เอียน เออร์บิน (Ian Urbina) บังเอิญมาเจอบล็อกของฉันเข้าระหว่างค้นหาบทความเกี่ยวกับคน
ที่กินนอนอยู่ในรถที่สหรัฐฯ เราโต้ตอบอีเมลกัน และคืนนั้นเขาก็โทรฯหาฉันที่ตู้โทรศัพท์ ฉันไม่ได้พูดกับ
ใครมาเป็นเดือนๆ แต่แล้วขณะที่สายฝนไหลเป็นสายบนกระจกด้านนอก คำพูดก็พรั่งพรูออกมา
เขาอยากให้คนจาก“นิวยอร์กไทม์”ที่สำนักจากกรุงลอนดอนมาพบฉันเพื่อดูข้อมูลเบื้องต้น ผู้หญิงพูดจา
นุ่มนวลคนหนึ่งอายุราว 50 ต้นๆ มาพบฉันที่ลานจอดรถใต้ซูเปอร์มาร์เก็ตเซนส์เบอรี สาขาแคมเดน
(Sainsbury's supermarket, Camden) ขณะที่เธอชะโงกมองตรงริมเบาะที่นั่งข้างคนขับและมองดูส่วน
ที่ฉันใช้เป็นที่อยู่อย่างเพ่งพินิจ ฉันรู้สึกอายความรกเลอะ และที่ยิ่งกว่านั้นคือกลิ่น ฉันใช้ชีวิตอยู่ในรถมา
เกือบ 9 เดือนแล้ว
โปรดติดตามตอนที่ ( 4 )ในวันพรุ่งนี้
คืนวันเมื่อรถคือที่ซุกหัวนอน ตอนที่ ( 4 )โดย อันยา ปีเตอร์ส (Anya Peters) เรื่องจริง
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2551 และจากกูเกิล 2566
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
บทความนั้นปรากฏอยู่บนหน้าหนึ่ง ฉันมารู้เอาเมื่อเปิดอีเมลในร้านอินเทอร์เน็ต มีอีเมลจาก
คนทั่วสหรัฐฯ ตลอดจนบราซิล อินเดีย ฟิลิปปินส์ และมาลาวี เกือบหนึ่งปีที่ไม่มีใครรู้ว่าฉันมีตัว
ตนอยู่ แล้วตอนนี้ ที่บล็อกของฉัน ผู้คนหลายร้อยพากันอวยพรฉัน ให้คำแนะนำ หรือไม่ก็เล่าเรื่อง
ของตัวเองให้ฉันรับรู้ บางคนบอกว่าสวดอ้อนวอนให้ฉัน บางคนบอกว่าบล็อกนี้อ่านสนุก
อารมณ์ต่างๆ พลุ่งขึ้นมาสับสนปนเป แม้ตัวจะชาด้วยความหนาวและหิว แต่ฉันก็เดินไปที่โบสถ์ซึ่ง
ฉันมักเข้าไปหลบพักและนั่งในห้องสวดมนต์ด้านข้าง ขณะที่เหล่านักท่องเที่ยวจุดเทียนวางบนที่ปัก
เทียนขึ้นสนิม ฉันซบหน้าลงกับมือและประหลาดใจกับน้ำตาที่ไหลลงมาตามแก้ม
ผู้สื่อข่าวบีบีซีติดต่อเข้ามาและเขียนบทความเกี่ยวกับตัวฉันเพื่อลงในนิตยสารออนไลน์ของบีบีซี
ตอนนี้ ทุกครั้งที่ฉันกดตรง “กล่องจดหมายเข้า”ทีไร ก็มีข้อความเข้ามาอีก ในห้องอุดอู้ซึ่งเปิด
เครื่องทำความร้อนจนสุด ฉันรู้สึกขนลุกเมื่อจ้องมองตัวเลขผู้เข้ามาที่บล็อกของฉันซึ่งวิ่งขึ้นไปเป็น
หลักหลายร้อย คนเหล่านี้อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทั่วโลก ฉันรู้สึกราวกับว่าดูปาฏิหาริย์เกิดขึ้น
หนึ่งสัปดาห์ต่อมา หนังสือพิมพ์ในฝรั่งเศส อิตาลี และชิลี ตีพิมพ์เรื่องราวเกี่ยวกับฉัน จากนั้น ตัว
แทนนักเขียนก็ติดต่อเข้ามา พอฉันเล่าประวัติให้ฟัง เธอรู้สึกว่าเรื่องราวชีวิตวัยเด็กของฉันน่าจะ
เขียนเป็นหนังสือที่สร้างพลังใจได้
สัปดาห์ถัดมา ฉันเขียนเค้าโครงเรื่องจากในห้องสมุด สวนสาธารณะ แล้วก็ในรถซึ่งจอดใต้โคมไฟ
ถนนตอนกลางคืน ฉันวางกระดาษจดบันทึกแผ่เต็มแผงหน้าปัดรถทุกเช้า ท่ามกลางความเงียบของ
ถนนซอยและเขียนเกี่ยวกับชีวิตของตัวเอง
หมายเหตุ
หนังสือชื่อเรื่อง “Abandoned : The True Story of a Little Girl Who Didn’t Belong”
(ถูกทอดทิ้ง : เรื่องจริงของเด็กหญิงตัวเล็กๆ ที่ไม่เป็นของผู้ใด) เขียนโดยอันยา ปีเตอร์ส จัดพิมพ์
โดยสำนักพิมพ์ “HarperCollins UK Publishers Ltd.” และติดอันดับ 4 หนังสือขายดีของ
“ซันเดย์ ไทม์” ประเภทสารคดี ปัจจุบัน อันยาไม่เป็นคนไร้บ้านแล้ว อ่านเรื่องของเธอเพิ่มได้ที่
http://wanderingscribe.blogspot.com/
*********************
จบ
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2551 และจากกูเกิล 2566
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
บทความนั้นปรากฏอยู่บนหน้าหนึ่ง ฉันมารู้เอาเมื่อเปิดอีเมลในร้านอินเทอร์เน็ต มีอีเมลจาก
คนทั่วสหรัฐฯ ตลอดจนบราซิล อินเดีย ฟิลิปปินส์ และมาลาวี เกือบหนึ่งปีที่ไม่มีใครรู้ว่าฉันมีตัว
ตนอยู่ แล้วตอนนี้ ที่บล็อกของฉัน ผู้คนหลายร้อยพากันอวยพรฉัน ให้คำแนะนำ หรือไม่ก็เล่าเรื่อง
ของตัวเองให้ฉันรับรู้ บางคนบอกว่าสวดอ้อนวอนให้ฉัน บางคนบอกว่าบล็อกนี้อ่านสนุก
อารมณ์ต่างๆ พลุ่งขึ้นมาสับสนปนเป แม้ตัวจะชาด้วยความหนาวและหิว แต่ฉันก็เดินไปที่โบสถ์ซึ่ง
ฉันมักเข้าไปหลบพักและนั่งในห้องสวดมนต์ด้านข้าง ขณะที่เหล่านักท่องเที่ยวจุดเทียนวางบนที่ปัก
เทียนขึ้นสนิม ฉันซบหน้าลงกับมือและประหลาดใจกับน้ำตาที่ไหลลงมาตามแก้ม
ผู้สื่อข่าวบีบีซีติดต่อเข้ามาและเขียนบทความเกี่ยวกับตัวฉันเพื่อลงในนิตยสารออนไลน์ของบีบีซี
ตอนนี้ ทุกครั้งที่ฉันกดตรง “กล่องจดหมายเข้า”ทีไร ก็มีข้อความเข้ามาอีก ในห้องอุดอู้ซึ่งเปิด
เครื่องทำความร้อนจนสุด ฉันรู้สึกขนลุกเมื่อจ้องมองตัวเลขผู้เข้ามาที่บล็อกของฉันซึ่งวิ่งขึ้นไปเป็น
หลักหลายร้อย คนเหล่านี้อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทั่วโลก ฉันรู้สึกราวกับว่าดูปาฏิหาริย์เกิดขึ้น
หนึ่งสัปดาห์ต่อมา หนังสือพิมพ์ในฝรั่งเศส อิตาลี และชิลี ตีพิมพ์เรื่องราวเกี่ยวกับฉัน จากนั้น ตัว
แทนนักเขียนก็ติดต่อเข้ามา พอฉันเล่าประวัติให้ฟัง เธอรู้สึกว่าเรื่องราวชีวิตวัยเด็กของฉันน่าจะ
เขียนเป็นหนังสือที่สร้างพลังใจได้
สัปดาห์ถัดมา ฉันเขียนเค้าโครงเรื่องจากในห้องสมุด สวนสาธารณะ แล้วก็ในรถซึ่งจอดใต้โคมไฟ
ถนนตอนกลางคืน ฉันวางกระดาษจดบันทึกแผ่เต็มแผงหน้าปัดรถทุกเช้า ท่ามกลางความเงียบของ
ถนนซอยและเขียนเกี่ยวกับชีวิตของตัวเอง
หมายเหตุ
หนังสือชื่อเรื่อง “Abandoned : The True Story of a Little Girl Who Didn’t Belong”
(ถูกทอดทิ้ง : เรื่องจริงของเด็กหญิงตัวเล็กๆ ที่ไม่เป็นของผู้ใด) เขียนโดยอันยา ปีเตอร์ส จัดพิมพ์
โดยสำนักพิมพ์ “HarperCollins UK Publishers Ltd.” และติดอันดับ 4 หนังสือขายดีของ
“ซันเดย์ ไทม์” ประเภทสารคดี ปัจจุบัน อันยาไม่เป็นคนไร้บ้านแล้ว อ่านเรื่องของเธอเพิ่มได้ที่
http://wanderingscribe.blogspot.com/
*********************
จบ
………สตีฟ เออร์วิน (Steve Irwin) มีทั้งหมด (3)ตอนจบ
สตีฟ เออร์วิน (Steve Irwin : (Steve" Irwin; เกิด 22 ก.พ. 1962/2505
– เสียชีวิต 4 ก.ย. 2006/2549)) : พรานล่าจระเข้ ตอนที่ ( 1 )
โดยโตมร ศุขปรีชา และจากวิกิปีเดีย 2566 รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ในช่วงปลายปี 2549 มีการพบศพปลากระเบนหลายสายพันธุ์กระจายเกลื่อนอยู่ตามชายหาด
ในออสเตรเลีย เจ้าหน้าที่พบว่า ปลากระเบนเหล่านี้ถูกตัดหางที่มี ‘เงี่ยง’ออก แล้วก็ปล่อยซากศพ
ของพวกมันทิ้งไว้ สองตัวพบที่ชายหาดทางตอนเหนือของเมืองบริสเบน (Brisbane) อีกแปดตัวพบที่
ชายหาดอีกแห่งหนึ่ง
เมื่อชาวประมงจับปลาและได้ปลากระเบนติดแหขึ้นมาด้วย บางครั้งเขาก็จะตัดหางที่มีเงี่ยงออกเพราะ
อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตของผู้ที่จับปลากระเบนได้ แต่ปลากระเบนที่ถูกตัดหางและทิ้งซากปลานั้นไว้
ตามชายหาดน่าจะเป็นเพราะผู้ก่อเหตุเคืองแค้นพวกมัน เนื่องจากในวันที่ 4 กันยายน 2006/2549 เกิด
จากเหตุการณ์ร้ายแรงถึงชีวิตกับสตีฟ เออร์วิน ผู้ได้รับฉายาว่าเป็น “จิตวิญญาณแห่งพงไพรออสเตรเลีย”
หรือ “พรานล่าจระเข้” (The Crocodile Hunter)
สตีฟโตมากับเหล่าจระเข้และสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ เขาเรียนรู้เรื่องของสัตว์ต่างๆ จากพ่อของเขา
– บ๊อบ เออร์วิน (Bob Irwin) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องชีวิตสัตว์ป่า โดยเฉพาะสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำ
สะเทินบก’ ตั้งแต่กบ เขียด ไปจนถึงงูและจระเข้
สตีฟเกิดที่เมลเบิร์น (Melbourne) ต่อมาพ่อกับแม่ของเขาย้ายไปอยู่ในเขตรัฐควีนส์แลนด์ที่อยู่ทาง
ตอนเหนือซึ่งมีอากาศร้อนกว่าและเหมาะกับการดำรงชีพของสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมากกว่า
จากนั้นพ่อและแม่ของสตีฟก็เปิดสวนสัตว์เล็กๆ ขึ้นโดยตั้งชื่อว่า “Queensland Reptile and Fauna Park”
(สวนสัตว์เลี้อยคลานและสัตว์ประจำถิ่นรัฐควีนส์แลนด์) ดังนั้น สตีฟจึงเติบโตมาในสิ่งแวดล้อมของสัตว์เ
ลื้อยคลานและจระเข้
สตีฟเลี้ยงงูเหลือมยาว 4 เมตรตั้งแต่อายุ 6 ขวบ และคุ้นเคยกับสัตว์ในสวนสัตว์ทั้งหลาย พอ 9 ขวบก็เริ่ม
จับจระเข้ด้วยมือเปล่า ปล้ำกับมัน โดยมีพ่อของเขาคอยดูแลอยู่ใกล้ๆ ดังนั้นเมื่อสตีฟเป็นผู้ใหญ่ เขาจึงรัก
งานด้านนี้และเข้าร่วมโครงการจัดการคุ้มครองจระเข้ของรัฐควีนส์แลนด์
(Queensland’s East Coast Crocodile Management Program) เขามีประสบการณ์จับจระเข้มือเปล่า
นับร้อยตัว บางส่วนก็นำไปปล่อยในท้องที่อื่นเพื่อการกระจายพันธุ์และเพื่อความสมดุลกับสภาพแวดล้อม
และบางส่วนก็นำไปเลี้ยงไว้ในสวนสัตว์ของพ่อซึ่งต่อมาสตีฟได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “สวนสัตว์ออสเตรเลีย”
(Australian Zoo)
หลังงานแต่งงานกับเทอรี (Terri) สตีฟและภรรยาไปฮันนีมูนเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 1992/2535 ด้วยการ
ทำภารกิจช่วยเหลือจระเข้ด้วยกัน (a crocodile rescue mission) และมีการถ่ายทำเป็นภาพยนต์ชุด
“The Crocodile Hunter” ซึ่งมีการนำออกอากาศเป็นครั้งแรกในปี 1996/2539 ทำให้มีผู้คนรู้จักเขา
เป็นจำนวนมาก ภาพยนต์ขุดนี้ต่างจากภาพยนต์สารคดีเกี่ยวกับสัตว์ทั่วไป เพราะดูเหมือนสตีฟจะมีมนต์
ขลังสื่อสารกับสัตว์ได้ รายการของเขาจึงไม่ได้เป็นที่กล่าวขวัญกันแต่ในออสเตรเลียเท่านั้น แต่ยังเผยแพร่
ไปถึงสหรัฐฯ อังกฤษ และอีกกว่า 130 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ประมาณกันว่ามีผู้ชมผลงาน
ของเขาถึงราว 500 ล้านคน สตีฟจึงเป็นคนดังระดับโลก
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
สตีฟ เออร์วิน (Steve Irwin : (Steve" Irwin; เกิด 22 ก.พ. 1962/2505
– เสียชีวิต 4 ก.ย. 2006/2549)) : พรานล่าจระเข้ ตอนที่ ( 1 )
โดยโตมร ศุขปรีชา และจากวิกิปีเดีย 2566 รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ในช่วงปลายปี 2549 มีการพบศพปลากระเบนหลายสายพันธุ์กระจายเกลื่อนอยู่ตามชายหาด
ในออสเตรเลีย เจ้าหน้าที่พบว่า ปลากระเบนเหล่านี้ถูกตัดหางที่มี ‘เงี่ยง’ออก แล้วก็ปล่อยซากศพ
ของพวกมันทิ้งไว้ สองตัวพบที่ชายหาดทางตอนเหนือของเมืองบริสเบน (Brisbane) อีกแปดตัวพบที่
ชายหาดอีกแห่งหนึ่ง
เมื่อชาวประมงจับปลาและได้ปลากระเบนติดแหขึ้นมาด้วย บางครั้งเขาก็จะตัดหางที่มีเงี่ยงออกเพราะ
อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตของผู้ที่จับปลากระเบนได้ แต่ปลากระเบนที่ถูกตัดหางและทิ้งซากปลานั้นไว้
ตามชายหาดน่าจะเป็นเพราะผู้ก่อเหตุเคืองแค้นพวกมัน เนื่องจากในวันที่ 4 กันยายน 2006/2549 เกิด
จากเหตุการณ์ร้ายแรงถึงชีวิตกับสตีฟ เออร์วิน ผู้ได้รับฉายาว่าเป็น “จิตวิญญาณแห่งพงไพรออสเตรเลีย”
หรือ “พรานล่าจระเข้” (The Crocodile Hunter)
สตีฟโตมากับเหล่าจระเข้และสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ เขาเรียนรู้เรื่องของสัตว์ต่างๆ จากพ่อของเขา
– บ๊อบ เออร์วิน (Bob Irwin) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องชีวิตสัตว์ป่า โดยเฉพาะสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำ
สะเทินบก’ ตั้งแต่กบ เขียด ไปจนถึงงูและจระเข้
สตีฟเกิดที่เมลเบิร์น (Melbourne) ต่อมาพ่อกับแม่ของเขาย้ายไปอยู่ในเขตรัฐควีนส์แลนด์ที่อยู่ทาง
ตอนเหนือซึ่งมีอากาศร้อนกว่าและเหมาะกับการดำรงชีพของสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมากกว่า
จากนั้นพ่อและแม่ของสตีฟก็เปิดสวนสัตว์เล็กๆ ขึ้นโดยตั้งชื่อว่า “Queensland Reptile and Fauna Park”
(สวนสัตว์เลี้อยคลานและสัตว์ประจำถิ่นรัฐควีนส์แลนด์) ดังนั้น สตีฟจึงเติบโตมาในสิ่งแวดล้อมของสัตว์เ
ลื้อยคลานและจระเข้
สตีฟเลี้ยงงูเหลือมยาว 4 เมตรตั้งแต่อายุ 6 ขวบ และคุ้นเคยกับสัตว์ในสวนสัตว์ทั้งหลาย พอ 9 ขวบก็เริ่ม
จับจระเข้ด้วยมือเปล่า ปล้ำกับมัน โดยมีพ่อของเขาคอยดูแลอยู่ใกล้ๆ ดังนั้นเมื่อสตีฟเป็นผู้ใหญ่ เขาจึงรัก
งานด้านนี้และเข้าร่วมโครงการจัดการคุ้มครองจระเข้ของรัฐควีนส์แลนด์
(Queensland’s East Coast Crocodile Management Program) เขามีประสบการณ์จับจระเข้มือเปล่า
นับร้อยตัว บางส่วนก็นำไปปล่อยในท้องที่อื่นเพื่อการกระจายพันธุ์และเพื่อความสมดุลกับสภาพแวดล้อม
และบางส่วนก็นำไปเลี้ยงไว้ในสวนสัตว์ของพ่อซึ่งต่อมาสตีฟได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “สวนสัตว์ออสเตรเลีย”
(Australian Zoo)
หลังงานแต่งงานกับเทอรี (Terri) สตีฟและภรรยาไปฮันนีมูนเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 1992/2535 ด้วยการ
ทำภารกิจช่วยเหลือจระเข้ด้วยกัน (a crocodile rescue mission) และมีการถ่ายทำเป็นภาพยนต์ชุด
“The Crocodile Hunter” ซึ่งมีการนำออกอากาศเป็นครั้งแรกในปี 1996/2539 ทำให้มีผู้คนรู้จักเขา
เป็นจำนวนมาก ภาพยนต์ขุดนี้ต่างจากภาพยนต์สารคดีเกี่ยวกับสัตว์ทั่วไป เพราะดูเหมือนสตีฟจะมีมนต์
ขลังสื่อสารกับสัตว์ได้ รายการของเขาจึงไม่ได้เป็นที่กล่าวขวัญกันแต่ในออสเตรเลียเท่านั้น แต่ยังเผยแพร่
ไปถึงสหรัฐฯ อังกฤษ และอีกกว่า 130 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ประมาณกันว่ามีผู้ชมผลงาน
ของเขาถึงราว 500 ล้านคน สตีฟจึงเป็นคนดังระดับโลก
โปรดติดตามตอนที่ ( 2 )ในวันพรุ่งนี้
สตีฟ เออร์วิน (Steve Irwin : (Steve" Irwin; เกิด 22 ก.พ. 1962/2505 –
เสียชีวิต 4 ก.ย. 2006/2549)) : พรานล่าจระเข้ ตอนที่ ( 2 )
โดยโตมร ศุขปรีชา และจากวิกิปีเดีย 2566 รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ความที่สตีฟมีความเป็นออสเตรเลียนแท้โดยไม่เสแสร้ง เช่น พูดด้วยสำเนียงออสซี่ และแต่งเนื้อ
แต่งตัวแบบนักบุกป่า ใส่เสื้อผ้าสีกากี กางเกงขาสั้น แล้วมักใช้คำอุทานแบบออสซี่ว่า Crikey! (คริกกี้)
จนทำให้คำอุทานนี้เป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลกราวกับว่า สตีฟเป็นตัวแทนของมนุษยชาติ และเป็นผู้พาเรา
ไปพบกับความมหัศจรรย์ที่น่าตื่นเต้นของชีวิตสัตว์ป่า
อย่างไรก็ตามในวันที่ 4 กันยายน 2006/2549 สิบปีหลังภาพยนตร์ชุด “The Crocodile Hunter”
ออกอากาศเป็นครั้งแรก สตีฟก็เสียชีวิตลงอย่างไม่คาดฝันด้วยน้ำมือของสัตว์ที่เขารักและเป็นอิสระที่
ไม่มีผู้ใดควบคุมได้
ในตอนนั้น สตีฟกำลังถ่ายทำสารคดีชุด “Ocean’s Deadliest”(สัตว์ที่มีอันตรายที่สุดในมหาสมุทร)
ในบริเวณ“โขดหินแบต”(Batt Reef) ใกล้เมืองชายทะเล”พอร์ตดักลาส”(Port Douglas) ในรัฐควีนส์แลนด์
สตีฟกำลังว่ายน้ำในบริเวณน้ำตื้น (ลึก 1 เมตรเศษ) เขาว่ายน้ำอยู่ทางด้านหางของปลากระเบนธงหางสั้น
ตัวหนึ่ง (Short-Tail Stingray) ซึ่งเป็นกระเบนขนาดใหญ่ที่มีแผ่นปีก 2 ข้างแผ่กว้างกว่า 2 เมตร (8 ฟุต)
เพื่อจะถ่ายภาพปลากระเบนตัวนั้นขณะมันกำลังว่ายน้ำจากไป
ทันใดนั้นสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อปลากระเบนตัวนั้นกลับตัวและตรงเข้ามาเผชิญหน้ากับสตีฟพร้อม
กับใช้เงี่ยงพิษที่โคนหางแทงสตีฟอย่างจัง สตีฟบอกทีมงานว่าเงี่ยงปลาแทงทะลุปอดของเขา สิ่งที่สตีฟ
ไม่ทราบคือ ที่จริงเงี่ยงปลาแทงทะลุอกตรงหัวใจทำให้เลือดไหลออกมาก พฤติกรรมของปลากระเบน
ดังกล่าวเป็นการป้องกันตัวตามธรรมชาติเมื่อถูกล้อมหรือถูกไล่ล่า คนบนเรือช่วยกันนำเขาขึ้นเรือและ
ผายปอดให้พร้อมกับรีบนำเขากลับเข้าฝั่ง แต่แพทย์ผู้ตรวจร่างของเขาบนฝั่งแจ้งว่าเขาเสียชีวิตแล้ว
ตั้งแต่ในที่เกิดเหตุ
กล่าวกันว่าการเสียชีวิตของสตีฟเป็นการตายที่เกิดจากปลากระเบนเพียงครั้งเดียวที่มีผู้ถ่ายภาพเป็น
วิดีโอได้ ตำรวจรัฐควีนส์แลนด์ได้ดูภาพสำเนาวิดีโอ แต่ในที่สุดมีรายงานว่า สำเนาที่ถ่ายทำทั้งหมดถูก
ทำลายตามคำขอร้องของครอบครัวสตีฟ
หลังเกิดเหตุหลายสัปดาห์ มีการถ่ายทำสารคดีชุดนี้ต่อจนเสร็จและนำออกอากาศในสหรัฐฯ ในช่อง
ดิสคัฟเวอรี แชนแนล (Discovery Channel)ในวันที่ 21 มกราคม 2007/2550 แต่ไม่มีการกล่าวถึง
การเสียชีวิตของสตีฟแต่อย่างใด
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
เสียชีวิต 4 ก.ย. 2006/2549)) : พรานล่าจระเข้ ตอนที่ ( 2 )
โดยโตมร ศุขปรีชา และจากวิกิปีเดีย 2566 รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ความที่สตีฟมีความเป็นออสเตรเลียนแท้โดยไม่เสแสร้ง เช่น พูดด้วยสำเนียงออสซี่ และแต่งเนื้อ
แต่งตัวแบบนักบุกป่า ใส่เสื้อผ้าสีกากี กางเกงขาสั้น แล้วมักใช้คำอุทานแบบออสซี่ว่า Crikey! (คริกกี้)
จนทำให้คำอุทานนี้เป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลกราวกับว่า สตีฟเป็นตัวแทนของมนุษยชาติ และเป็นผู้พาเรา
ไปพบกับความมหัศจรรย์ที่น่าตื่นเต้นของชีวิตสัตว์ป่า
อย่างไรก็ตามในวันที่ 4 กันยายน 2006/2549 สิบปีหลังภาพยนตร์ชุด “The Crocodile Hunter”
ออกอากาศเป็นครั้งแรก สตีฟก็เสียชีวิตลงอย่างไม่คาดฝันด้วยน้ำมือของสัตว์ที่เขารักและเป็นอิสระที่
ไม่มีผู้ใดควบคุมได้
ในตอนนั้น สตีฟกำลังถ่ายทำสารคดีชุด “Ocean’s Deadliest”(สัตว์ที่มีอันตรายที่สุดในมหาสมุทร)
ในบริเวณ“โขดหินแบต”(Batt Reef) ใกล้เมืองชายทะเล”พอร์ตดักลาส”(Port Douglas) ในรัฐควีนส์แลนด์
สตีฟกำลังว่ายน้ำในบริเวณน้ำตื้น (ลึก 1 เมตรเศษ) เขาว่ายน้ำอยู่ทางด้านหางของปลากระเบนธงหางสั้น
ตัวหนึ่ง (Short-Tail Stingray) ซึ่งเป็นกระเบนขนาดใหญ่ที่มีแผ่นปีก 2 ข้างแผ่กว้างกว่า 2 เมตร (8 ฟุต)
เพื่อจะถ่ายภาพปลากระเบนตัวนั้นขณะมันกำลังว่ายน้ำจากไป
ทันใดนั้นสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อปลากระเบนตัวนั้นกลับตัวและตรงเข้ามาเผชิญหน้ากับสตีฟพร้อม
กับใช้เงี่ยงพิษที่โคนหางแทงสตีฟอย่างจัง สตีฟบอกทีมงานว่าเงี่ยงปลาแทงทะลุปอดของเขา สิ่งที่สตีฟ
ไม่ทราบคือ ที่จริงเงี่ยงปลาแทงทะลุอกตรงหัวใจทำให้เลือดไหลออกมาก พฤติกรรมของปลากระเบน
ดังกล่าวเป็นการป้องกันตัวตามธรรมชาติเมื่อถูกล้อมหรือถูกไล่ล่า คนบนเรือช่วยกันนำเขาขึ้นเรือและ
ผายปอดให้พร้อมกับรีบนำเขากลับเข้าฝั่ง แต่แพทย์ผู้ตรวจร่างของเขาบนฝั่งแจ้งว่าเขาเสียชีวิตแล้ว
ตั้งแต่ในที่เกิดเหตุ
กล่าวกันว่าการเสียชีวิตของสตีฟเป็นการตายที่เกิดจากปลากระเบนเพียงครั้งเดียวที่มีผู้ถ่ายภาพเป็น
วิดีโอได้ ตำรวจรัฐควีนส์แลนด์ได้ดูภาพสำเนาวิดีโอ แต่ในที่สุดมีรายงานว่า สำเนาที่ถ่ายทำทั้งหมดถูก
ทำลายตามคำขอร้องของครอบครัวสตีฟ
หลังเกิดเหตุหลายสัปดาห์ มีการถ่ายทำสารคดีชุดนี้ต่อจนเสร็จและนำออกอากาศในสหรัฐฯ ในช่อง
ดิสคัฟเวอรี แชนแนล (Discovery Channel)ในวันที่ 21 มกราคม 2007/2550 แต่ไม่มีการกล่าวถึง
การเสียชีวิตของสตีฟแต่อย่างใด
โปรดติดตามตอนที่ ( 3 )ในวันพรุ่งนี้
สตีฟ เออร์วิน (Steve Irwin : (Steve" Irwin; เกิด 22 ก.พ. 1962/2505 –
เสียชีวิต 4 ก.ย. 2006/2549)) : พรานล่าจระเข้ ตอนที่ ( 3 )
โดยโตมร ศุขปรีชา และจากวิกิปีเดีย 2566 รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
การตายของสตีฟทำให้แฟนรายการทั่วโลกช็อกและไม่เชื่อในข่าวนี้ แต่ที่สุดก็ต้องยอมรับ
ความจริง มีการลดธงครึ่งเสาที่สะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์ มีการกล่าวไว้อาลัยโดยนายกรัฐมนตรีใน
รัฐสภาของออสเตรเลีย และมีรายการพิเศษออกอากาศเพื่ออุทิศให้กับสตีฟโดยเฉพาะหลายรายการ
แฟนๆ ของสตีฟหลายพันคนไปเคารพศพของเขาที่“สวนสัตว์ออสเตรเลีย”ซึ่งเป็นสถานที่จัดพิธีฝังศพ
ในวันที่ 9 กันยายน 2006/2549 โดยนำดอกไม้ เทียน ตุ๊กตาสัตว์ต่างๆ และข้อความไว้อาลัยไปวาง
ในบริเวณที่จัดเป็นสุสานของสตีฟและเป็นส่วนหนึ่งของสวนสัตว์นั้น ที่จริงนายกรัฐมนตรีจอห์น โฮเวิร์ด
(John Howard)ได้เสนอจะจัดเป็นรัฐพิธีงานศพเพื่อเป็นเกียรติแด่สตีฟ แต่ครอบครัวของสตีฟปฏิเสธ
เพราะพวกเขาเชื่อว่า สตีฟปรารถนาจะเป็นที่จดจำของโลกในฐานะ”คนธรรมดา”คนหนึ่งเท่านั้น และไม่
ต้องการเกียรติยศใดๆ เป็นพิเศษ
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 20 กันยายน 2006/2549 รัสเซล โครว์ (Russell Crowe) ดาราภาพยนต์ชาว
นิวซีแลนด์-ออสเตรเลีย เจ้าของรางวัลออสการ์สาขานักแสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยมโดยรับบทเป็น
นายพลแห่งกองทัพโรมันในภาพยนตร์เรื่อง”นักรบผู้กล้า ผ่าแผ่นดินทรราช” (Gladiator)ในปี 2000/2543
เป็นหัวหอกจัดพิธีไว้อาลัยอย่างมโหฬารอีกครั้งหนึ่งที่สวนสัตว์ออสเตรเลียโดยมีการถ่ายทอดสดไปทั้งใน
ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี และอีกหลายประเทศในเอเชีย ประมาณกันว่ามีผู้ร่วมไว้อาลัย
ทั่วโลกมากกว่า 300 ล้านคน นักร้องชื่อดังของออสเตรเลียเช่น จอห์น วิลเลียมสัน (John Williamson)
ร้องเพลงโปรดของสตีฟในงานนั้นด้วย คือเพลงที่ชื่อว่า”True Blue“และปิดพิธีไว้อาลัยโดยเจ้าหน้าที่
สวนสัตว์ออสเตรเลียทุกคนร้องคำว่า“Crikey!”พร้อมกันเพื่อให้สตีฟได้ยินเป็นครั้งสุดท้าย
เชื่อกันว่า การที่มีซากปลากระเบนนับสิบตัวทิ้งอยู่ตามชายฝั่งควีนส์แลนด์ในปลายปี 2006 นั้น เป็นเพราะ
ผู้คนแก้แค้นที่ต้องสูญเสียคนที่ตนรักไป แต่กระนั้นก็ไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นผู้กระทำ เพื่อนคนหนึ่งของ
สตีฟออกแถลงการณ์ว่า เขาคิดว่าสตีฟและครอบครัวไม่เห็นด้วยกับการกระทำเช่นนี้อย่างแน่นอน เพราะ
ตลอดชีวิตของสตีฟมีแต่การสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมนุษย์กับสัตว์ร่วมโลก
*********************
จบบริบูรณ์
เสียชีวิต 4 ก.ย. 2006/2549)) : พรานล่าจระเข้ ตอนที่ ( 3 )
โดยโตมร ศุขปรีชา และจากวิกิปีเดีย 2566 รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
การตายของสตีฟทำให้แฟนรายการทั่วโลกช็อกและไม่เชื่อในข่าวนี้ แต่ที่สุดก็ต้องยอมรับ
ความจริง มีการลดธงครึ่งเสาที่สะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์ มีการกล่าวไว้อาลัยโดยนายกรัฐมนตรีใน
รัฐสภาของออสเตรเลีย และมีรายการพิเศษออกอากาศเพื่ออุทิศให้กับสตีฟโดยเฉพาะหลายรายการ
แฟนๆ ของสตีฟหลายพันคนไปเคารพศพของเขาที่“สวนสัตว์ออสเตรเลีย”ซึ่งเป็นสถานที่จัดพิธีฝังศพ
ในวันที่ 9 กันยายน 2006/2549 โดยนำดอกไม้ เทียน ตุ๊กตาสัตว์ต่างๆ และข้อความไว้อาลัยไปวาง
ในบริเวณที่จัดเป็นสุสานของสตีฟและเป็นส่วนหนึ่งของสวนสัตว์นั้น ที่จริงนายกรัฐมนตรีจอห์น โฮเวิร์ด
(John Howard)ได้เสนอจะจัดเป็นรัฐพิธีงานศพเพื่อเป็นเกียรติแด่สตีฟ แต่ครอบครัวของสตีฟปฏิเสธ
เพราะพวกเขาเชื่อว่า สตีฟปรารถนาจะเป็นที่จดจำของโลกในฐานะ”คนธรรมดา”คนหนึ่งเท่านั้น และไม่
ต้องการเกียรติยศใดๆ เป็นพิเศษ
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 20 กันยายน 2006/2549 รัสเซล โครว์ (Russell Crowe) ดาราภาพยนต์ชาว
นิวซีแลนด์-ออสเตรเลีย เจ้าของรางวัลออสการ์สาขานักแสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยมโดยรับบทเป็น
นายพลแห่งกองทัพโรมันในภาพยนตร์เรื่อง”นักรบผู้กล้า ผ่าแผ่นดินทรราช” (Gladiator)ในปี 2000/2543
เป็นหัวหอกจัดพิธีไว้อาลัยอย่างมโหฬารอีกครั้งหนึ่งที่สวนสัตว์ออสเตรเลียโดยมีการถ่ายทอดสดไปทั้งใน
ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี และอีกหลายประเทศในเอเชีย ประมาณกันว่ามีผู้ร่วมไว้อาลัย
ทั่วโลกมากกว่า 300 ล้านคน นักร้องชื่อดังของออสเตรเลียเช่น จอห์น วิลเลียมสัน (John Williamson)
ร้องเพลงโปรดของสตีฟในงานนั้นด้วย คือเพลงที่ชื่อว่า”True Blue“และปิดพิธีไว้อาลัยโดยเจ้าหน้าที่
สวนสัตว์ออสเตรเลียทุกคนร้องคำว่า“Crikey!”พร้อมกันเพื่อให้สตีฟได้ยินเป็นครั้งสุดท้าย
เชื่อกันว่า การที่มีซากปลากระเบนนับสิบตัวทิ้งอยู่ตามชายฝั่งควีนส์แลนด์ในปลายปี 2006 นั้น เป็นเพราะ
ผู้คนแก้แค้นที่ต้องสูญเสียคนที่ตนรักไป แต่กระนั้นก็ไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นผู้กระทำ เพื่อนคนหนึ่งของ
สตีฟออกแถลงการณ์ว่า เขาคิดว่าสตีฟและครอบครัวไม่เห็นด้วยกับการกระทำเช่นนี้อย่างแน่นอน เพราะ
ตลอดชีวิตของสตีฟมีแต่การสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมนุษย์กับสัตว์ร่วมโลก
*********************
จบบริบูรณ์