เกาะติดวิกฤติโลกผ่านทางพระคัมภีร์และนอสตาดามุส (31-40)

ใครมาใหม่เชิญทางนี้ก่อน ทักทาย ทดลองโพส
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 6665
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อาทิตย์ มิ.ย. 29, 2025 4:01 pm

🕵️ เกาะติด​วิกฤติ​โลกผ่านทาง​พระคัมภีร์​และนอสตราดามุส 🕵️
โดย​ สนธิ​ สารธรรม
ตอนที่​ ( 31 )

✴️ ศรัทธา​กับวิทยาศาสตร์​ต่อผ้าห่อศพแห่งตุริน​ (B) ✴️
ผ้าห่อศพนี้มีความยาว 4.36 เมตร กว้าง 1.10 เมตร เป็นผ้าลินินมีลายกระดูกปลา นิยมกันในยุคนั้น
ที่ยังใช้หูกแบบดั้งเดิมที่ใช้เส้นด้ายไม่เท่ากัน
รอยพิมพ์บนผ้าห่อศพ แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ คือ
(1) ร่องรอยที่บ่งบอกว่าเคยถูกไฟไหม้ นอกจากรูที่รอยไหม้หลายจุด ผืนผ้านี้มีเส้นขนานยาวสีดำ 2 เส้น
ตัดกับรอยปะที่เป็นรูปคล้ายสามเหลี่ยมจากวัสดุต่างๆ กัน รอยปะนั้นใช้สำหรับปิดคล้ายรูที่เกิดจากการหลอม
เหลวของกล่องเงินซึ่งใช้บรรจุผ้าห่อศพ (ถูกพับไว้หลายชั้น) คราวเกิดไฟไหม้ในปี 1532 ภายในห้องสังฆาภรณ์
ของโบสถ์น้อยในวัง​Chambery ซึ่งระยะนั้นผ้าห่อศพถูกเก็บไว้ที่นี่
(2) รอยด่างเพราะโดนน้ำ มีรอยเป็นดวงๆ เพราะถูกน้ำที่ใช้ดับไฟในปี 1532
(3) มีภาพคนกึ่งชัดกึ่งมัว บนผืนผ้า ตามส่วนยาวมีรอยพิมพ์ปรากฏอยู่ 2 ด้าน คือส่วนแผ่นหลังและส่วน
ด้านบนซึ่งก็มีใบหน้า ลำแขน​ เป็นการวางพระศพบนผ้า แล้วตลบผ้าส่วนที่เหลือทางพระเศียรมาคลุมพระพักตร์
พระวรกาย ไปจรดพระบาท บางจุดก็เข้มข้น บางจุดก็เบาบาง
(4) ร่องรอยที่ถูกประทับบางจุด เช่น พระพักตร์ พระศอ ข้อพระหัตถ์ พระบาท และพระสีข้างด้านขวามีรอย
ประทับที่แตกต่างไปจากจุดๆ​ อื่นซึ่งไม่เข้มข้นเท่ารอยประทับนี้ เหมือนกับว่าผ้าห่อศพถูกประทับติดกับบางสิ่ง
มีสีค่อนข้างแดงเข้ม
เป็นเวลากว่าศตวรรษที่ได้มีการศึกษาและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ออกมาแล้วว่า
- ภาพพิมพ์บนผ้าห่อศพนี้มิใช่เป็นการวาดหรือการระบายสี
- ภาพพิมพ์บนผ้าห่อศพมิใช่มีคนทำขึ้นมา มันเป็นภาพพิมพ์อยู่ในลักษณะ Negative เพราะผ้าห่อศพได้
ดูดซับเอาพระโลหิตไปหมดจึงเกิดภาพลักษณะนี้
- รอยประทับพิมพ์ในผ้าห่อศพซึ่งไม่ได้ส่อแสดงว่าพระศพมีร่องรอยของการเน่าเปื่อย และพระวรกายยังคง
ถูกหุ้มห่อชั่วเวลาหนึ่งซึ่งสามารถประทับรอยพิมพ์นั้น แต่มิได้เนิ่นนานจงถึงกับจะมีร่องรอยแห่งการเน่าเปื่อย
ให้ปรากฏ
- การตอกตะปูที่พระหัตถ์​ แสดงว่าได้ตอกที่ข้อพระหัตถ์มากกว่าตอกที่ฝ่าพระหัตถ์ เพราะสามารถรับ
น้ำหนัก ได้ดีกว่า
- รูปร่างของพระหัตถ์มองเห็นแค่ 4 นิ้ว ทั้งนี้เพราะตอนตอกตะปูเข้าที่ข้อพระหัตถ์นั้นหัวแม่มือจะมีอาการ
หดงอเข้าโดยอัตโนมัติ จึงมองไม่เห็นหัวแม่มือ
- พระโลหิตซึ่งไหลจากพระสีข้าง ที่ถูกแทงด้วยหอกนั้น น่าจะเกิดขึ้นหลังจากที่พระสิ้นพระชนม์แล้ว มีบันทึก
ในพระวรสารโดยเซนต์จอห์นว่า “แต่เมื่อพวกเขามาถึงพระองค์ ก็เห็นว่าพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว จึงมิได้ทุบ
พระเพลาของพระองค์ อย่างไรก็ตาม​ ​มีทหารคนหนึ่งในจำนวนนั้นเอาหอกแทงที่พระสีข้างของพระองค์ ทำให้
พระโลหิตและน้ำไหลออกมา”​
นักวิเคราะห์ทางโลหิตวิทยานำโดยศาสตราจารย์ไบมา โบลโลเน​ ได้พิสูจน์แล้วว่าพระโลหิตที่ติดกับผ้า
ห่อศพนั้นเป็นของมนุษย์อยู่ในกรุ๊ปAB
นักวิเคราะห์ทางอิเล็กทรอนิกส์ก้าวหน้าได้พิสูจน์แล้วว่า รูปภาพของผ้าห่อศพประกอบด้วยภาพสามมิติ
ในตัวของมันเอง
- ภาพประทับอยู่ที่ดวงพระเนตรด้านช้าย ซึ่งค้นพบโดยศาสตราจารย์ฟีลาส และในภายหลังยังยืนยัน
โดยนักวิจัย 3 ท่าน คือ​ ตัมบูเรลลี​ ฮังเกอร์ และโมโรนี​ ว่าเป็นการยืนยันที่ถูกต้องว่าในสมัยพระเยซูนั้นมี
ประเพณีใช้เหรียญในการฝังศพด้วย และเหรียญที่ใช้นั้นก็เป็นสมัยเดียวกับสมัยพระเยซู​
การค้นพบครั้งสุดท้าย
ผ้าห่อศพแห่งตุรินนี้ยังเป็นข่าวหน้าหนึ่งเป็นครั้งคราว ครั้งล่าสุดในปี 1988 ได้มีการนำส่วนหนึ่งของผ้า
ห่อศพนี้ไปพิสูจน์คาร์บอน 14​ ปรากฏผลออกมาว่าเป็นผ้าสมัยศตวรรษที่ 13-14 แต่ก็แย้งกับนักวิทยาศาสตร์
ชาวรัสเซีย Dimitri Kouznetsov ผู้ได้รับรางวัลเลนินไพรส์แขนงวิทยาศาสตร์ เป็นผู้อำนวยการห้องวิจัย
E.A. Sedov Biopolymer แห่งอิสราเอล ซึ่งมีอายุสมัยพระเยซู (ตัวอย่างผ้านี้ถูกจัดหามาจากนักวิจัย
มารีโอ โมโรนี โดยการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่กองโบราณคดีแห่งเยรูซาเลม) ได้จัดการทดสอบคาร์บอน
จากห้องแล็บของเมืองทัสคอน​ (อาริโซน่า) โตรอนโต​(แคนาดา) และมอสโก ผลแห่งการพิสูจน์ออกมาว่า
มีอายุราวๆ ค.ศ. 2 ตรงกันทั้ง 3 แล็บ แล้วใช้ผ้าชิ้นนี้ไปทดสอบด้วยสภาพเดียวกันกับที่ได้เกิดไฟไหม้ที่
เมืองชามเบอรี เมื่อ​ปี​1532 ซึ่งไฟได้ลุกไหม้โบสถ์ที่เก็บรักษาผ้าห่อศพให้มีอุณหภูมิสูงในบริเวณที่มีวัตถุที่
เป็นแร่เงิน เมื่อเงินหยดลงในผ้าห่อศพ ก็จะเป็นตัวเร่งให้เกิดการไหม้ของเนื้อเยื่อของเส้นด้าย แล้วชิ้นผ้าลินินนี้
ก็จะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีให้กลายเป็นคาร์บอน แล้วนาย Kouznetwsov ได้ทดสอบคาร์บอน 14 ก็ได้ผลออก
มาว่า ผ้าลินินมีอายุหลังจากนั้นตั้ง​14 ศตวรรรษ นั่นก็หมายความว่าแร่เงินเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางเคมีจนทำให้วิธีทดสอบอายุด้วยวิธีทดสอบคาร์บอน​14 จะบอกอายุที่อ่อนกว่าถึง 1400 ปี
เกี่ยวกับเลือดที่ปรากฏบนผ้าห่อศพ Jerome Lejeune ผู้ได้รับรางวัลโนเบิ้ลไพร้สในสาขาพันธุกรรม
ได้ทำการวิเคราะห์และพิสูจน์เลือดแดงที่พบบนผ้าเป็นเลือดของมนุษย์ตรงกับที่เปียร์ ลุยจี ไบมา โบลโลเน
พิสูจน์มาแล้วในปี​1981
ยังมีนักวิทยาศาสตร์อีกหลายท่านกำลังทดสอบ DNA บนผ้าห่อศพนี้
ที่เมืองสตราสเบิร์กมีข่าวเกี่ยวกับผ้าห่อศพที่พูดถึงตัวจีนโดดๆ​ ของโครโมโซม X และ Y ว่าเป็นเลือดของ
เพศชาย วิคเตอร์​ ไทรออน จากมหาวิทยาลัยซานอันโตนิโอ เท็กซัส ก็ยืนยันเช่นเดียวกันว่าเลือดที่ได้มาจาก
บริเวณกะโหลกศีรษะว่าเป็นเลือดของผู้ชาย
การค้นพบทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับผ้าห่อศพนี้ก็สำคัญมิใช่น้อย​ จีโน ซานีน๊อตโต อาจารย์ภาษากรีก
และลาตินได้ค้นพบหลักฐานของศตวรรษที่ 10 ชิ้นหนึ่ง ซึ่งเป็นเสมือนหนึ่งประกายเล็กๆ ที่พอจะให้ความสว่าง
เกี่ยวกับผ้าห่อศพผืนนี้ได้บ้างว่า ได้หายไปในตุรกี มีรหัสคำบันทึกเป็นลายมือว่า Codex Vossionus Latinus Q69
ได้กล่าวรายงานของชาวซีเรียแห่งศตวรรษที่ 8 ว่าพระเยซูได้ทิ้งร่องรอยเป็นภาพพิมพ์ทั้งร่างของพระองค์ลง
บนผืนผ้า ซึ่งได้ถูกเก็บรักษาไว้ในโบสถ์​แห่งเอเดสสา ตุรกี แน่นอนเป็นการอ้างอิงถึงผ้าห่อศพผืนนี้อย่างไม่มี
ทางจะผิดพลาดได้ อาจารย์ซานีน็อตโต ยังได้เน้นบทความตอนหนึ่งจากกิจการของเซนต์จอห์น ในการบันทึก
ของซีปรีอาโนในศตวรรษ 3-4 มีตอนหนึ่งพระเยซูตรัสว่า: พวกท่านจะเห็นเราเหมือนกับภาพสะท้อนในน้ำ
หรือในกระจก
และก็คือสิ่งที่เรารำพึงด้วยความพิศวงถึงพระเยซูผู้ถูกตรึงกางเขนในผ้าห่อศพแห่งตุริน

🔹---โปรดติดตามตอนต่อไป​-​--🔹
ตอบกลับโพส