@โปรเตสแตนต์ ๑ @

คริสตสัมพันธ์ เอกภาพในคริสตศาสนา
ตอบกลับโพส
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. ก.พ. 03, 2005 8:51 pm

สวัสดีค่ะ พี่น้องที่รักในพระคริสต์

ปีนี้สังเกต ว่า วัดคาทอลิกหลายๆแห่ง ได้เรียนรู้เรื่อง คริสตชนต่างนิกาย ดังนั้น โปรดปราน ( พีพี ) เป็นคริสตชนนิกายโปรเตสแตนต์ สังกัดคณะเพรสไบทีเรียน สมาชิกของคริสตจักรภาคที่ เจ็ด สภาคริสตจักรในประเทศไทย ขอนำเรื่องราวของคริสตจักรโปรเตสแตนต์มาโพสต์เป็นความรู้ความเข้าใจค่ะ

ข้อมูลที่ดิฉันเรียบเรียงมาจากหนังสือหลายเล่มด้วยกัน แต่จะไม่ใส่บรรณานุกรม ( หนังสืออ้างอิง )ให้เพราะไม่อยากเป็นการทำการบ้านให้นักศึกษาค่ะ หวังอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคริสตชนทุกๆสังกัด และท่านผู้อ่านที่แสวงหาความรู้ทุกๆท่าน

ขอพระเจ้าสถิตกับทุกๆท่านและอวยพรท่านเสมอ


- 1-

The Reformation (Protestant) การปฎิรูปคริสต์ศาสนา (ฝ่ายโปรเตสแตนต์)

คำว่า “การปฏิรูป” (Reformation) ที่นักประวัติศาสตร์ และนักศาสนศาสตร์ (นักเทววิทยา ) ใช้ หมายถึง ขบวนการในยุโรปตะวันออกซึ่งประกอบด้วยปัจเจกชนและสถานบันอื่นๆ ที่มีบทบาทร่วมแสดงความคิดเห็นคัดค้านการปฎิบัติที่ไม่ถูกต้องตามหลักเทววิทยาสายคัมภีร์ซึ่งถือว่าคริสตจักรเป็นคริสตจักรเดียวที่พระเยซูคริสต์ตั้งขึ้นโดยมีคำสั่งให้ทำพันธกิจ (Mission) ไปทั่วโลก ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 11คริสตจักรเดียวนี้ที่ได้แยกออกเป็น 2 นิกาย คือ โรมันคาทอลิก (Roman Catholic) และออร์ทอดอกซ์ (Orthodox)

สาเหตุเกิดจากความขัดแย้งกันเกี่ยวกับการไม่ปฎิบัติตามหลักความเชื่อของศาสนศาสตร์ ( เทววิทยา )
การปฏิรูปคริสต์ศาสนาในยุโรปในศตวรรษที่ 16 นี้เกิดขึ้นภายในคริสตจักรโรมันคาทอลิก และเป็นการแตกแยกที่ทำให้เกิดนิกายที่ 3 คือโปรเตสแตนต์ (Portestant )ขึ้น
การปฏิรูปนี้เริ่มต้นจาก มาร์ติน ลูเตอร์ (Martin Luther) ผู้สอนศาสนศาสตร์สายคัมภีร์ (biblical theology )แห่งมหาวิทยาลัยวิทเทนบูร์ก (Wittenbury ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศเยอรมันนี) ได้เขียนญัตติ (thesis) 95 ข้อไปติดที่ประตูพระวิหาร เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1517 เพื่อคัดค้านและเพื่อเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายทางด้านวิชาการ ปรากฎว่าถูกผู้นำคริสตจักรต่อต้านและจะต้องรับโทษหนัก จึงได้หนีซ่อนตัวอยู่ที่ปราสาทวาร์ทบูร์ก (Warburg Castle) โดยได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าชายเฟรเดริก (Friederick The Wise )จนกระทั่งสถานการณ์เปลี่ยนไป จึงปรากฎตัวใน ค.ศ.1522 และกลับมาปฏิรูป มิใช่เฉพาะด้านวิชาการเท่านั้นแต่ได้ปฏิรูปริสตจักรและสังคมด้วย

ในขณะที่มาร์ติน ลูเตอร์ ซ่อนตัวอยู่นั้น ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้มีการปฎิรูปเช่นเดียวกัน
โดยเริ่มจาก ฮุลดริช ซวิงลี (Huldrych Zwingli)ไฮริช บูลลิงเจดร์ (Heinrich Bullinger )
และต่อมา พ.ศ.2079 (ค.ศ.1536) จอร์น คาลวิน (John Calvin)การปฎิรูปเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ
สถาบัน สังคม และจริยธรรมที่เกิดขึ้นในเมืองต่างๆ ของสวิตเซอร์แลนด์

การปฏิรูปได้ขยายออกจากเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ ฮอลแลนด์ และสแกนดิเนเวียไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรปและฝ่ายปฎิรูปได้รับการต่อต้านทุกแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในฝรั่งเศสและสเปน

ขบวนการปฎิรูปได้แยกออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกและเรียกตนเองว่า “คริสตจักรปฎิรูป”(Reformed Churches ) เนื่องจากเกิดขึ้นในประเทศที่ต่างกัน มีผู้นำต่างกัน จึงเกิดมีชื่อคณะต่างกัน
____________________________________
หนังสืออ้างอิง ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากลอังกฤษ-ไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน กรุงเทพฯ:, ราชบัณฑิตยสถาน, 2542. ( หน้า 246-247 )
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. ก.พ. 03, 2005 8:53 pm

-2-

“แองกลิคันคอมมิวเนียน” (The Anglican Communion )

องค์กรของคริสตจักรต่างๆซึ่งสืบเนื่องมาจากคริสตจักรแห่งอังกฤษ ในปัจจุบันคริสตจักรเหล่านี้มีอยู่ทั่วโลก มีการปกครองโดยระบบบิชอป คริสตจักรเหล่านี้มิได้ขึ้นต่อกันและกัน แต่ให้ความนับถืออาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี (Archbishop of Canterbury) ของอังกฤษเป็นผู้นำสูงสุด ทุก 10 ปี บิชอปทั้งหลายจะได้รับเชิญจากอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีไปประชุมที่เมืองแลมเบท (Lambeth Conference) เพื่อร่วมสามัคคีธรรม

ไม่มีใครทราบแน่ว่าคริสต์ศาสนาเข้าประเทศอังกฤษตั้งแต่เมื่อไร แต่มีหลักฐานว่า ใน พ.ศ.857 (ค.ศ.318) ได้เคยมีบิชอปชาวอังกฤษอย่างน้อย 2 หรือ 3 คน เข้าประชุม The Council of Arles ในฝรั่งเศส ชาวคริสต์ในสมัยเริ่มแรกนี้อยู่รวมตัวกันเป็นกลุ่มๆ แบบอาราม (monastic foundations) กลุ่มต่างๆ เหล่านี้ปรากฏที่ไอร์แลนด์ สกอดแลนด์ เวลส์ และคอร์นวอลล์ก่อนที่ทางโรมจะส่งนักบุญออกัสตินแห่งแคนเทอร์เบอรี พ.ศ. 1147 (St.Augustine of Canterbury ค.ศ. 604) เป็นมิชชั่นนารีคนแรกไปอังกฤษและได้ตั้งศูนย์กลางของคริสตจักรแคนเทอร์เบอรี (Canterbury) ใน พ.ศ.1140 (ค.ศ. 597) คริสตจักรแบบเคลติก (Celtic) คือแบบชาวพื้นเมืองทั้ง 4 แห่งที่กล่าวมาแล้ว และแบบโรมันได้รวมเป็นคริสตจักรเดียวกันกับระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7-8 ยกเว้นเวลส์ซึ่งรวมเข้าในภายหลังในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่ออำนาจของโรมครอบคลุมทั่งยุโรป

คริสตจักรในอังกฤษได้พัฒนาติดต่อกันมาเป็นเวลา 700-800 ปี ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักร ในยุโรปภายใต้การปกครองของสันตะปาปา ซึ่งเป็นบิชอปของโรม แต่ต่อมาเมื่อเกิดปัญหาส่วนตัวระหว่างพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสันตะปาปา ประกอบกับมีการปฏิรูปคริสตศาสนาในยุโรปโดยมาร์ติน ลูเทอร์ (Martin Luther) และจอห์น คาลวิน (John Calvin) พระเจ้าเฮนรีได้รับการสนับสนุนจากรัฐสภาจึงถือโอกาสประกาศพระองค์เป็นผู้นำสูงสุดของคริสต์จักรในอังกฤษ (The King is Supreme Head of the church in England) โดยไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของสันตะปาปาแห่งโรมอีกต่อไป

เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 8 สิ้นพระชนม์ รัฐบาลอังกฤษในรัชสมัยพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 6 ได้นำคริสตจักรไปในทางคณะปฏิรูป แต่ต่อมาเมื่อสมเด็จพระราชนีนาถแมรีที่ 1 (Mary 1) ขึ้นครองราชย์จึงได้ทำการกวาดล้างและทำรายผู้นำศาสนารวมทั้งผู้ที่เป็นฝักฝ่ายคณะปฎิรูปเพื่อนำคริสตจักรให้กลับไปอยู่ภายใต้อำนาจของสันตะปาปาอีก ประเทศชาติและคริสตจักรในสมัยนี้จึงตกอยู่ในสภาวะเดือดร้อนและเสียหายมาก

เมื่อสมเด็จพระราชนีนาถเอลิซาเบทที่ 1 (Elizabeth 1) ขึ้นครองราชย์ต่อจากามเด็จพระราชนีนาถแมรีที่ 1 พระองค์ทรงสามารถแก้ปัญหาความแตกแยกได้และประกาศตั้งคริสตจักรแห่งอังกฤษ (Church of England) เป็นศาสนาประจำชาติของอังกฤษ ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือ

- มีการประกาศอิสรภาพเป็นคริสตจักรประจำชาติของอังกฤษ
- เดินสายกลางระหว่างคริสตจักรโรมมันคาทอลิกของสันตะปาปากับคริสตจักรปฎิรูป ( โปรเตสแตนต์ )
- ให้คริสตจักรยังคงปฎิบัติศาสนพิธีทั้ง 7 อย่างเดิม และยังคงรักษาแบบการปกครองโดยบิชอป จึงเป็นคริสตจักรแบบอิปิสโคปัส (Episcopal)) คำว่า “Episcopal” มาจากภาษากรีก “episkopos” ซึ่งแปลว่า “ผู้ดูแล” และคำว่า “บิชอป” (Bishop) ก็มาจากคำนี้ในสกอตแลนด์ ชาวคริสต์กลุ่มที่ต้องการจะคงตำแหน่งบิชอบไว้ ได้ตั้งชื่อกลุ่มของตนว่า Episcopal church of Scotland ส่วนกลุ่มที่ไม่ต้องการให้มีตำแหน่งบิชอป ได้ใช้ตำแหน่งผู้ปกครอง (elders) ซึ่งมาจากคำ prespyters และแบ่งการปกครองคริสตจักรออกเป็น Presbytery เรียกว่าคริสตจักรเพรสไบทีเรียน (Presbyterian Church)

คริสตจักรแห่งอังกฤษจึงเป็นคริสตจักรประจำชาติของอังกฤษ เฉพราะในส่วนที่เป็นอังกฤษและเวลส์เท่านั้นเป็นคริสตจักรแบบมีบิชชอป ส่วนในสกอตแลนต์ก็มีคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ (The Church of Scotland) เป็นคริสตจักรประจำชาติของตนเช่นกัน แต่เป็นแบบไม่มีบิชอปเพราะเป็นเพรสไบทีเรียน

หลังสมัยปฎิรูปคริสตจักร มีคริสตจักรโปรเตสแตนต์หลายคริสตจักรที่ยังคงมีตำแห่งบิชอปอยู่ เช่น คริสตจักรแองกลิคัน (Anglican Church) คริสตจักรลูเทอแรน (Lutheran Church) คริสตจักรเมทอดิสต์ (Methodist Church) บางแห่ง แต่เฉพระบิชอบแห่งคริสตจักรแองกลิคันเท่านั้นที่เป็นที่ยอมรับของฝ่ายโรมันคาทอลิกและฝ่ายกรีกออร์ทอดอกซ์

คริสตจักรแห่งอังกฤษได้แพร่หลายไปในโลกในสมัยที่อังกฤษแสวงหาอาณานิคมตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16-20 เมื่อชาวอังกฤษได้เข้าปกครองในประเทศใดก็ได้ตั้งคริสตจักรของตนขึ้นในประเทศนั้นในสมัยแรกๆยังคงรักษาชื่อ “คริสตจักรแห่งอังกฤษ” ไว้ ต่อมาเมื่อประเทศต่างๆ ที่เคยอยู่ในปกครองของอังกฤษได้รับอิสรภาพ คริสตจักรในประเทศเหล่านั้นไม่ปรารถนาจะให้คริสตจักรของตนมีชื่อเสียงเกี่ยวข้องกับชื่อของคริสตจักรแห่งอังกฤษ ดันนั้นเมื่อเกิดการปฏิวัติของชาวอเมริกัน (American Revolution) ชื่อของคริสตจักรในสหรัฐอเมริกาก็เปลี่ยนเป็น The Protestant Episcopal Church และปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น Episcopal Church ในประเทศออสเตรเลียใช้ชื่อว่า Anglican Church of Australia ในประเทศในจีเรียใช้ชื่อว่า The Church of the Province of Nigeria ในประเทศนิวซีแลนด์ใช้ชื่อว่า The Church of the Province of New Zealand ในประเทศญี่ปุ่นใช้ชื่อว่า The Holy Catholic Church in Japan และประเทศปากีสถานใช้ชื่อว่า The Church of Pakistan แต่อย่างไรก็ดี คริสตจักรเหล่านี้ก็ยังรวมอยู่ใน The Anglican Communion

ในประเทศไทย มิชชันนารีแองกลิกคันได้เข้ามาและมีที่นมัสการร่วมกับมิชชันนารีโปรเตสแตนต์อื่นๆ ตั้งแต่ ค.ศ. 1864 ต่อมาได้รับพระราชทานที่ดินทางถนนสาทรเหนือเพื่อสร้างคริสตจักรของตนเอง จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้สร้างเป็นคริสตจักรไครสต์เชิร์ช (Christ Church) สำเร็จเมื่อ ค.ศ.1905คริสตจักรอยู่ภายใต้การดูแลของคริสตจักรภาค ซึ่งสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่สิงคโปร์มาจนถึงปัจจุบัน และอยู่กับสภาคริสตจักรในประเทศไทยมาตั้งแต่ต้น จนกระทั้งถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ.1994 จึงย้ายไปจะทะเบียนกับสหกิจคริสเตียน ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างเตรียมการเพื่อจะเปลี่ยนชื่อคริสตจักรไครสต์เชิร์ชเป็น The Anglican Episcopal Church of Thailand

_________
หมายเหตุ St.Augustine of Canterbury เป็นคนละคนกับนักบุญ ออกัสตินแห่งฮิปโป ( เป็นนักปรัชญา )
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. ก.พ. 03, 2005 8:56 pm

-3-

นิกายโปรเตสแตนต์ จะแตกต่างจากโรมันคาทอลิก และออร์ทออดอกซ์มาก เพราะค่อนข้างหลากหลาย และเป็นอิสระต่อกัน อีกทั้งรูปแบบการปกครอง มีทั้งสังฆธิปไตย พฤฒาธิปไตย และสมัชชาธิปไตย ซึ่งขึ้นกับเบื้องหลังและที่มาของคริสตจักร ตลอดทั้งประเพณีตกทอดลงมา ดังนั้นคณะต่างๆ ของโปรเตสแตนต์เอง จึงมีมากกว่า 50 คณะย่อย ( นี่เป็นจุดอ่อนที่ทำให้คำสอนหรือหลักข้อเชื่อ เพี้ยนไปง่าย จนบางกลุ่มได้บิดเบือนคำสอนบางจุด หรือเพิ่มคำสอนบางส่วน จนกลายเป็นคริสเตียนตกขอบบ้าง หรือลัทธิเทียมเท็จบ้าง ) ผู้เขียน เลือกเฉพาะคณะที่เป็นหลักๆ และเด่น และมีในประเทศไทย....จะขอเริ่มที่คณะแองกลิกันอีกครั้ง

1.คณะแองกลิกันหรืออาพิสคาโพล (Anglican,Episcopal)

ชื่อและที่มา

คริสตจักรแองกลิกัน (Anglican Church) หรือคริสตจักรแห่งอังกฤษ (The Church of England) เริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 แยกตัวจากศาสนจักรโรมันคาทอลิก และเมื่อสหรัฐอเมริกาประกาศเอกราชในปีคริสตศักราช 1776 คริสตจักรแห่งอังกฤษซึ่งอยู่ในสหรัฐอเมริกาก็เปลี่ยนชื่อเป็น คริสตจักรโปรเตสแตนต์อาพิสคาโพล (The Protestant Episcopal Church)

ลักษณะพิเศษ

1. อัครสังฆราชแห่งแคนเทอร์เบอรี่ (Archbishop of Canterbury) เป็นศูนย์กลางของศาสนจักร แต่มีอำนาจเฉพาะในประเทศอังกฤษ แม้คริสตจักรอาพิสคาโพลนอกอาณาจักรของอังกฤษจะให้การยกย่องแก่ อัครสังฆราชแห่งแคนเทอร์เบอรี่เป็นผู้นำสูงสุดของคณะ แต่ไม่ยินยอมรับอำนาจบริหารของพระองค์ให้ครอบคลุมไปถึง

2. ในคณะจะแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ที่มีจุดเน้นที่แตกต่างกัน กลุ่มคริสตจักรสูง (High Church) จะเน้นพิธีกรรม รูปแบบการนมัสการเป็นพิเศษ กลุ่มคริสตจักรล่าง (Low Church) จะเน้นการประกาศพระกิตติคุณ ผลของชีวิตจิตวิญญาณ ดังนั้นจึงเข้ากับกลุ่มอีแวนเจลิคอลได้เป็นอย่างดี ส่วนกลุ่มคริสตจักรกว้าง (Board Church) จะเน้นเรื่องเสรีภาพ เน้นความเป็นกลาง และยินดีร่วมงานกับคริสตจักรอื่น ๆ ที่ต่างคณะกัน

3. ยึดแนวความคิดให้มีความสมดุล หรือเป็นกลางระหว่างสองสิ่งเสมอ (Via Media) เช่นความเชื่อคู่ไปกับศาสนศาสตร์ ระบบการปกครองคู่ไปกับหลักคำสอน เป็นต้น

หลักข้อเชื่อ

1. ยึดพระคัมภีร์ เป็นมาตรฐานความเชื่อและการดำเนินชีวิต แต่ก็ให้การยอมรับหนังสือสารบบรอง หรืออธิกธรรมเป็นหนังสือสำคัญด้วย

2. ใช้หลักข้อเชื่อทั้ง 3 ของสภาคริสตจักรในยุคแรก คือหลักข้อเชื่ออัครสาวก หลักข้อเชื่อของไนเซีย และหลักข้อเชื่อของอธานาเชีย

3. หนังสือ 39 ข้อ ถือเป็นหลักข้อเชื่อ และแนวทางปฎิบัติที่สำคัญของคณะ

หลักคำสอน

1. สอนตกทอดลงมาว่า เป็นคริสตจักรที่ได้รับสิทธิอำนาจสืบทอดลงมาจาก อัครสาวก (Apostolic Sucession) เพราะฉะนั้น ระบบการปกครองจึงเป็นแบบสังฆธิปไตย โดยมีอัครสังฆราชแห่งแคนเทอร์เบอรี่เป็นประมุขของศาสนจักร

2. สอนเน้นศาสนศาสตร์ของการมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระเยซูคริสต์ (Theology of Incarnation) บางครั้งจึงถูกเรียกว่า “คริสตจักรแห่งคริสตมาส” (Church of Christmas)

3. สอนและปฏิบัติศาสนพิธีตามในหนังสือคู่มือ สาธารณธิษฐาน (The Book of Common Prayer) ซึ่งยึดถือมาตั้งแต่สมัยเอ็ดเวิร์ด ที่ 6 และปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมตลอดมา จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังใช้คู่มือนี้ในศาสนพิธี การนมัสการ รวมถึงการภาวนาธิษฐานด้วย

4. สอนพิธีศักดิ์สิทธิ์มีเพียง 2 พิธีจากคำสอนของพระเยซูคริสต์คือ พิธีบัพติสมาซึ่งเป็นแบบพรม และพิธีมหาสนิทซึ่งให้ทั้งขนมปังเล็งถึงพระกาย และน้ำองุ่นเล็งถึงพระโลหิต ( บางแห่งจะเชื่อเหมือนคาทอลิกเรื่องมหาสนิท )
------------------------------
ใครอยากร่วมนมัสการ มีทั้งภาคภาษาอังกฤษ และภาคภาษาไทย ที่คริสตจักร ไครสต์เชิร์ช ( Christ Church ) ถนนสาทรเหนือ
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. ก.พ. 03, 2005 9:00 pm

-4-



ประวัติคริสตจักรไคร้สตเชิชกรุงเทพ (Anglican Thai)

คริสตจักรไคร้สตเชิร์ชเริ่มก่อตั้งขึ้นเป็นสถานนมัสการภาคภาษาอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1864 โดยมี สถานที่ตั้งติดกับริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแผ่นดินพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เนื่องด้วยพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างพระราชไมตรีอันดีกับทางราชวงค์อังกฤษ จึงได้ทรงเห็นชอบที่จะให้มีสถานนมัสการสำหรับชาวคริสเตียนฝ่ายโปรเตสแตนท์ในประเทศไทย

ต่อมาในปี ค.ศ. 1904 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระราชทานผืนดินที่มี บริเวณกว้างใหญ่กว่าเดิม และเป็นสถานที่ที่เหมาะสมกับการจัดสร้างโบสถ์ให้แก่ คริสตจักรไคร้สตเชิร์ช ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 11 ถนนคอนแวนต์ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของคริสตจักร จนถึงปัจจุบัน

ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของคริสตจักรไคร้สตเชิร์ช ตั้งแต่สมัยแรกนั้นมีผู้ทำการของพระเจ้า เป็นมิชชันนารีจากคณะเพรสไบทีเรียน ต่อมาศาสนาจารย์จากคณะแองลิกันมาเป็นผู้ทำการของพระเจ้า แทนจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งเป็นคริสตจักรแองลิกันที่ขึ้นตรงต่อไดโอซิส แห่งประเทศสิงคโปร์ [Diocese of Singapore] อยู่ในเขตปกครองของคณะแองลิกันภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ [Province of Southeast Asia] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือแองลิกันทั่วโลก

จากการเริ่มต้นที่คริสตจักรไคร้สตเชิร์ชดำเนินงานกับคนต่างชาติซึ่งใช้ภาษาอังกฤษมาเป็นเวลานาน และจากวัตถุประสงค์ที่ต้องการประกาศข่าวประเสริฐกับคนในท้องถิ่น รวมทั้งต้องการให้มีการนมัสการใน ภาษาท้องถิ่นด้วย จึงได้ทำการจัดตั้ง St Mary’s Girl School ขึ้นเป็นโรงเรียนสำหรับผู้หญิง และ St Peter’s Boy School สำหรับผู้ชาย แต่เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงเรียนทั้งสองถูกเผาทำลายลง และต่อมาคริสตจักรยังคงเปิดและทำงานต่อไปกับพวกคนอพยพและคนในเรือนจำ พร้อมทั้งการช่วยเหลือสังคม ในรูปแบบของสังคมสงเคราะห์

ในปี 1991 คริสตจักรได้เชิญ ศจ.เจอรี่ คู และครอบครัวมารับใช้พระเจ้ากับคนในท้องถิ่น ซึ่งก็ได้ รับความร่วมมือ และการสนับสนุนเป็นอย่างดี จากไดโอซีสแห่งประเทศสิงคโปร์

โครงสร้าง


โครงสร้างระดับเขต เครือแองลิกันทั่วโลกแบ่งเป็น 38 ภูมิภาค ผู้นำของภูมิภาคเหล่านี้ดำรงตำแหน่ง อาร์ชบิชอป (Archbishop) และเขตภูมิภาคแบ่งเป็นเขตปกครองที่เรียกว่า ไดโอซิส (Diocese) ซึ่งมีบิชอป (Bishop) เป็นผู้นำ ในทุก 1 ภูมิภาค ต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 3 ไดโอซีส และทุก 1 ไดโอซีส ประกอบด้วย คริสตจักรอย่างน้อย 6 แห่ง คริสตจักรจำเป็นต้องมีส่วนประกอบ 3 ประการคือ

1. มีธรรมนูญของคริสตจักร

2. มีสถานนมัสการแบบถาวร

3. มีกำลังทรัพย์ที่สามารถเลี้ยงตนเอง และศิษยาภิบาลได้

อาร์ชบิชอป มาจากการเลือกตั้งของ บิชอปประจำไดโอซีส และมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี บิชอปรับการเลือกตั้งจากคณะศิษยาภิบาล และดำรงตำแหน่งจนกระทั่งอายุ 65 ปี จึงปลดเกษียณ สำหรับศิษยาภิบาลที่รับการแต่งตั้งจากบิชอป และดำรงตำแหน่งจนกระทั่งอายุ 65 ปี จึงเกษียณ

โครงสร้างของคริสตจักร (บริหาร) กรรมการคริสตจักรมาจากการเลือกตั้งในการประชุมประจำปี ซึ่งประกอบด้วย

ผู้นำฝ่ายศิษยาภิบาล (Vicar’ Warden) รับการแต่งตั้งจากศิษยาภิบาล
ผู้นำฝ่ายสมาชิก (People’s Warden) รับการเลือกตั้งจากที่ประชุม นอกจากนั้นองค์
เลขานุการ
เหรัญญิก
กรรมการอีก 8 ท่าน

โดยผู้นำฝ่ายศิษยาภิบาล คือ ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการ ทั้งนี้คริสตจักรสามารถมีศิษยาภิบาลร่วมอีกหลายท่าน รวมทั้งผู้รับใช้เต็มเวลาที่ยังไม่ได้รับการสถาปนา ทุกคริสตจักรสามารถมีการประชุมนมัสการหลายรอบ ซึ่งทุกรอบอาจใช้ภาษาแตกต่างกันได้ และทุกรอบสามารถมีคณะกรรมการบริหารงานดูแลกิจกรรมของตนเอง.

การสถาปนาและศิษยาภิบาล

ผู้ที่จะรับสถาปนาเป็นศาสนาจารย์ จะต้องสมัครและมีการสอบและสัมภาษณ์ โดยบิชอปจะตั้งคณะกรรมการที่เป็นศาสนาจารย์ เป็นผู้สอบสัมภาษณ์และดูแลชีวิต และในเขตภูมิภาคนี้ บิชอปคนปัจจุบันยังไม่อนุญาตให้ผู้หญิงรับสถาปนาเป็นศาสนาจารย์ แต่สามารถรับการสถาปนาได้แค่มัคนายิกาเท่านั้น ซึ่งในภูมิภาคอื่น ๆ เช่น ในยุโรปหรือในอเมริกา ยอมรับการสถาปนาสตรีเป็นศาสนาจารย์ หรือแม้กระทั่งเกย์ หรือกระเทยที่แปลงเพศแล้ว สามารถเป็นศิษยาภิบาลได้ เพราะเขายึดหลักการเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน

เคยมี ถามเกี่ยวกับการสถาปนานักบวชสตรีไหม...วันนี้ได้คำตอบแล้ว ว่าคริสตจักรแองลิกัน
ในยุโรปหรือ Church of England สถาปนาสตรี เป็นนักบวช ที่เรียกว่า "บิชอป" ยิ่งกว่านั้น แม้แต่เกย์ที่แปลงเพศแล้วก็ยอมรับ ...เขาเน้นเรื่องสิทธิมนุษยชน
Batholomew
~@
โพสต์: 12724
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 2:28 pm
ที่อยู่: Thailand

ศุกร์ ก.พ. 04, 2005 9:08 am

ขอบคุณครับพี่พีพี ไม่เคยรู้มาก่อนเลยครับ
peach_peach

ศุกร์ ก.พ. 04, 2005 11:24 am

ขอบคุณคุณ PP
สำหรับความรู้จากกระทู้นี้ค่ะ
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. ก.พ. 10, 2005 6:11 am

Lost Lamb เขียน: มาอ่านซ้ำ :D :D
ขอบคุณค่ะ ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่พี่พีพีพิมพ์ (เขียนใหม่ ) ยังไม่เสร็จ คือกลุ่มเพ็นตาคอส และคาริสเมติก
สัปดาห์หน้าคงจะคลอดมั้ง ;D
Jeremy
โพสต์: 211
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ม.ค. 20, 2005 9:49 am

พฤหัสฯ. ก.พ. 10, 2005 11:11 am

มารออ่านด้วยคน >>>สัปดาห์หน้า
spirit

เสาร์ ก.พ. 12, 2005 2:02 pm

Prod Pran เขียน: ขอบคุณค่ะ ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่พี่พีพีพิมพ์ (เขียนใหม่ ) ยังไม่เสร็จ คือกลุ่มเพ็นตาคอส และคาริสเมติก
สัปดาห์หน้าคงจะคลอดมั้ง ;D

มาตั้งตาคอย :o
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

เสาร์ ก.พ. 12, 2005 9:55 pm

Lost Lamb เขียน:
Prod Pran เขียน: ขอบคุณค่ะ ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่พี่พีพีพิมพ์ (เขียนใหม่ ) ยังไม่เสร็จ คือกลุ่มเพ็นตาคอส และคาริสเมติก
สัปดาห์หน้าคงจะคลอดมั้ง ;D

มาตั้งตาคอย :o
เดือนนี้ยุ่งมากๆค่ะ คอยไปก่อน อ่านแล้วอ่านอีกคงไม่เป็นไรมั้ง :-*
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. เม.ย. 21, 2005 7:02 am

ขอเชิญคุณบัดดี้ และท่านผู้สนใจ อ่านค่ะ ;D

คณะแองกลิกันหรืออาพิสคาโพล (Anglican,Episcopal)

Anglican=Church of England = Episcopal ;D
Announcer

พฤหัสฯ. เม.ย. 21, 2005 9:15 am

เจาะลึกดีจริงๆ ขอบคุณคุณ PP ด้วยอีกคนน่าาา ;D
Buddy
โพสต์: 3057
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ มี.ค. 09, 2005 10:48 am
ที่อยู่: USA

พฤหัสฯ. เม.ย. 21, 2005 10:13 am

Oh... Thank you so much.. I didn't know you've posted before.. I'm sorry I didn't look for the old topics... I'll save it ka... and I'll ask more if I don't understand.. In fact, my question is more general, like how to dress to the church, for example.. :) But this is more than I asked... Thank you so much ka.. :)
Buddy
โพสต์: 3057
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ มี.ค. 09, 2005 10:48 am
ที่อยู่: USA

ศุกร์ เม.ย. 22, 2005 11:20 am

So.. Methodist should be close to Anglican, right? I've got a friend who's Methodist in Thailand but I'm not sure which church she goes.. :)
Jeremy
โพสต์: 211
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ม.ค. 20, 2005 9:49 am

ศุกร์ เม.ย. 22, 2005 11:34 am

เรื่องประวัติและข้อเชื่อหลักๆ ของกลุ่มต่างๆ ก็คงเป็นเช่นที่คุณProd Pran โพส
หากจะให้เข้าใจกลุ่มต่างๆ อย่างแท้จริงต้องเข้าไปศึกษา ใช้เวลา เวลาผมเข้าไปในแต่ละที่ผมจะบอกว่าผมต้องการเข้ามาศึกษา ข้อเชื่อต่างๆ ผู้ที่อยู่ในสถานที่นั้น ๆ ก็แนะนำดี

แต่ว่าในสถานที่นมัสการนั้น จะเห็นเพียง ภาพการนมัสการภายนอก เท่านั้น เรื่องลึกๆเช่นความหมายของการนมัสการต่างๆ เราไม่เข้าใจ ว่าสิ่งนี้ ทำเพื่ออะไร ทำไมเน้นอย่างนั้น ไม่เน้นอย่างนี้ เป็นต้น เวลาสอบถาม คนในนั้นเขา อธิบายให้เราเข้าใจไม่ได้

ยังมีข้อจำกัดว่าในที่ที่ผมอยู่ มีกลุ่มต่างๆไม่มากนัก บางทีต้องไปต่างจังหวัด

อ้อ ผมศึกษากลุ่มต่างๆ แบบ นักศึกษา เชิงนิกาย/กลุ่มเปรียบเทียบ ซึ่งได้ข้อมูลไม่มากนัก ไม่ทราบว่าคุณBuddyศึกษากลุ่มต่างๆแบบไหน
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

ศุกร์ เม.ย. 22, 2005 12:35 pm

ค่ะ เห็นด้วยกับคุณ Watch เพราะว่าแต่ละคณะ นิกาย จะมีข้อปลีกย่อยมากมาย
ซึ่งต้องศึกษากันอย่างจริงจัง และร่วมใช้ชีวิต ในการร่วมศาสนพิธีต่างๆ ถึงจะสามารถ เข้าใจได้

ที่พี่พีพีโพสต์ จะเป็นลักษณะ information เบื้องต้นค่ะ ;D
Buddy
โพสต์: 3057
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ มี.ค. 09, 2005 10:48 am
ที่อยู่: USA

ศุกร์ เม.ย. 22, 2005 11:01 pm

Thanks ka.. What P'PP posted is like the big picture of all the church...

Anyway, I'm a very spiritual person... what I'm gonna study cannot understand from the brain.. :) Spirituality reflects the faith or even eason why you believe.. :)

Well, do you know which church emphasize on music ministry during the service ka?
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

เสาร์ มิ.ย. 25, 2005 10:51 pm

ดึงขึ้นมาให้ น้องเทียนและผู้สนใจค่ะ
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. พ.ค. 11, 2006 11:16 am

ดึงขึ้นมาอ่านเองขอรับ 8)
Fon Christ Church

อังคาร ก.พ. 19, 2008 11:23 am

Prod Pran เขียน: ซึ่งในภูมิภาคอื่น ๆ เช่น ในยุโรปหรือในอเมริกา ยอมรับการสถาปนาสตรีเป็นศาสนาจารย์ หรือแม้กระทั่งเกย์ หรือกระเทยที่แปลงเพศแล้ว สามารถเป็นศิษยาภิบาลได้ เพราะเขายึดหลักการเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน

เคยมี ถามเกี่ยวกับการสถาปนานักบวชสตรีไหม...วันนี้ได้คำตอบแล้ว ว่าคริสตจักรแองลิกัน
ในยุโรปหรือ Church of England สถาปนาสตรี เป็นนักบวช ที่เรียกว่า "บิชอป" ยิ่งกว่านั้น แม้แต่เกย์ที่แปลงเพศแล้วก็ยอมรับ ...เขาเน้นเรื่องสิทธิมนุษยชน

ประเด็นที่ยอมรับ หรือแต่งตั้งเกย์เป็นบิชอปนั้น ตอนนี้(ปี 2008)ยังไม่เป็นที่ยอมรับของที่ประชุมคริสตจักรแองลิกันสากล คริสตจักรที่แต่งตั้งเกย์ในไดโอซีสที่อเมริกาและแคนาดานั้นได้กระทำโดยฝ่าฝืนมติ Lambeth Conferrence ปี 1998 ทางคริสตจักรแองลิกันสากลกำลังติดตามและยังอยู่ในกระบวนการจัดการกับเรื่องนี้
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

อังคาร ก.พ. 19, 2008 4:54 pm

Fon Christ Church เขียน:
Prod Pran เขียน: ซึ่งในภูมิภาคอื่น ๆ เช่น ในยุโรปหรือในอเมริกา ยอมรับการสถาปนาสตรีเป็นศาสนาจารย์ หรือแม้กระทั่งเกย์ หรือกระเทยที่แปลงเพศแล้ว สามารถเป็นศิษยาภิบาลได้ เพราะเขายึดหลักการเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน

เคยมี ถามเกี่ยวกับการสถาปนานักบวชสตรีไหม...วันนี้ได้คำตอบแล้ว ว่าคริสตจักรแองลิกัน
ในยุโรปหรือ Church of England สถาปนาสตรี เป็นนักบวช ที่เรียกว่า "บิชอป" ยิ่งกว่านั้น แม้แต่เกย์ที่แปลงเพศแล้วก็ยอมรับ ...เขาเน้นเรื่องสิทธิมนุษยชน

ประเด็นที่ยอมรับ หรือแต่งตั้งเกย์เป็นบิชอปนั้น ตอนนี้(ปี 2008)ยังไม่เป็นที่ยอมรับของที่ประชุมคริสตจักรแองลิกันสากล คริสตจักรที่แต่งตั้งเกย์ในไดโอซีสที่อเมริกาและแคนาดานั้นได้กระทำโดยฝ่าฝืนมติ Lambeth Conferrence ปี 1998 ทางคริสตจักรแองลิกันสากลกำลังติดตามและยังอยู่ในกระบวนการจัดการกับเรื่องนี้
ขอบคุณมากค่ะ ที่ช่วยมาอัพเดทข้อมูลให้ค่ะ :cheesy:
Dis volentibus

อังคาร ก.พ. 19, 2008 6:26 pm

ขอบพระคุณมากมายค่ะ
: xemo028 :
Joseph
โพสต์: 2182
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ เม.ย. 27, 2005 6:31 am

จันทร์ ก.พ. 25, 2008 11:36 pm

วีดีโอ พิธีนมัสการของคริสตจักรความหวังต่างจังหวัด หรือ คจ.ร่วมนิมิต http://uk.youtube.com/watch?v=lA1ssvMz6p8
ตอบกลับโพส