<<:สัมมนา ข้อเชื่อ ระหว่าง คาทอลิก และโปรเตสแตนต์ I:>>

คริสตสัมพันธ์ เอกภาพในคริสตศาสนา
ตอบกลับโพส
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

เสาร์ เม.ย. 02, 2005 2:00 pm

เนื่องจาก ทางบ้านเณรใหญ่แสงธรรม และพระคริสตธรรมของโปรเตสแตนต์ มีความเห็น ว่า บาทหลวง และศิษยาภิบาล ต้องออกไปทำงาน ด้วยกันในสังคม บ่อยครั้งที่มีปัญหาความขัดแย้ง เรื่องหลักข้อเชื่อ ที่แตกต่างกัน จึงทำให้ ขัดแย้งกัน เป็นการทำลายพระกายของพระเยซูคริสต์ หรือเป็นการฉีกพระกาย ของพระองค์

เนื่องจากพี่พีพี เป็นกรรมการคนหนึ่งของ "คริสตศาสนสัมพันธ์" จึงขอนำหาของสัมมนา มาโพสต์
เพื่อให้ คริสตชน ทุกคณะนิกาย ได้เห็นภาพกว้างๆ และจะได้เข้าใจกันมากยิ่งขึ้น

หมายเหตุ: การสัมมนา ได้ทำไปแล้ว 2 ครั้ง ผู้ร่วมสัมมนา คือ คณาจารย์ บาทหลวง นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย ของแต่ละสถาบัน ซึ่ง ของคาทอลิก มี หนึ่งสถาบัน ของ โปรเตสแตนต์ สามสถาบัน
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

เสาร์ เม.ย. 02, 2005 2:02 pm

บทนำ

ข้าพระองค์มิได้อธิษฐานเพื่อคนเหล่านี้พวกเดียว แต่เพื่อคนทั้งปวงที่วางใจในข้าพระองค์เพราะถ้อยคำของเขา เพื่อเขาทั้งหลายจะได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันดังที่พระองค์ คือพระบิดาทรงสถิตในข้าพระองค์ และข้าพระองค์อยู่ในพระองค์ เพื่อให้เขาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อโลกจะได้เชื่อว่าพระองค์ทรงใช้ข้าพระองค์มาเป็นเกียรติซึ่งพระองค์ได้ประทานแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้มอบให้แก่เขา เพื่อเขาจะได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังที่พระองค์กับข้าพระองค์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้น ข้าพระองค์อยู่ในเขาและพระองค์ทรงอยู่ในข้าพระองค์เพื่อเขาทั้งหลายจะได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างสมบูรณ์ เพื่อโลกจะได้รู้ว่าพระองค์ทรงใช้ข้าพระองค์มา และพระองค์ทรงรักเขาเหมือนดังที่พระองค์ทรงรักข้าพระองค์ (ยอห์น. 17:20-23)

แต่ว่า…เมื่อเราอ่านจดหมายของท่านยอห์น เราก็เห็นว่า คริสตชนเรา ลูกศิษย์ของพระเยซูเจ้ามีความโน้มเอียงที่จะแตกต่างและแตกแยกกันตั้งแต่ ค.ศ. ที่ 1 เป็นต้นไป และ ค.ศ. ที่ 2-8 คือยุคปิตาจารย์ เป็นสมัยที่มีการต่อต้านลัทธิคำสอนนอกรีตอย่างมากมาย

ใน ค.ศ. 1050 หลังจากผู้ใหญ่พยายามหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง ก็ไม่สำเร็จและพระศาสนจักรคาทอลิกตะวันตกแยกออกจากพระศาสนจักรคาทอลิกตะวันออกส่วนใหญ่ ซึ่งต่อไปจะเรียกกันว่า ออเธอ -ด๊อกซ์ (Orthodox) อย่างเด็ดขาด ตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นไปอย่างน้อยคริสตชนตะวันตกเรายังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนถึง ค.ศ. ที่ 16 ซึ่งเนื่องด้วยข้อบกพร่องและปัญหาหลากหลายเกี่ยวกับทั้งอำนาจและคำสอน ความสามัคคีสลายไปหมด โลกคริสตศาสนาตะวันตกแบ่งแยกออกเป็นหลายนิกายเช่นคริสตจักรอังกฤษ ลัทธิศาสนานิกายของ มาร์ติน ลูเธอร์ ของยอห์นแค็ลวิน ของเพรสบิเทอร์เรียน และของเมโทดิสต์ เป็นต้น

ก่อน ค.ศ. ที่ 16 นั้นคริสตชนตะวันตกส่วนใหญ่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่เมื่อมีการแตกแยกไปเป็นลัทธิสอนศาสนาต่างๆ เพราะว่าประท้วงคำสอนเดิมในเรื่องนี้หรือเรื่องนั้น เขาก็ได้รับชื่อว่าผู้ประท้วง ซึ่งแปลว่าโปรเตสแตนต์ พวกเราคริสตชนปัจจุบันเป็นลูกหลานของผู้ประท้วง (Protestants) หรือของผู้ที่ไม่ประท้วง (Catholics) เขาเหล่านั้นแหละ

ถึงเวลาที่จะถามตัวเราเองและอีกผ่านหนึ่งว่า เราอยากจะสนับสนุนให้เป็นอย่างนี้ตลอดไปหรือไม่

ข้าพระองค์มิได้อธิษฐานเพื่อคนเหล่านี้พวกเดียว แต่เพื่อคนทั้งปวงที่วางใจในข้าพระองค์เพราะถ้อยคำของเขา เพื่อเขาทั้งหลายจะได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันดังที่พระองค์ คือพระบิดาทรงสถิตในข้าพระองค์ และข้าพระองค์อยู่ในพระองค์ เพื่อให้เขาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อโลกจะได้เชื่อว่าพระองค์ทรงใช้ข้าพระองค์มา

อันที่จริง มีการริเริ่มเพื่อแสวงหาเอกภาพบ้าง ในช่วงร้อยกว่าปีที่แล้วในศตวรรษที่ 19 เมื่อนิกายคริสเตียนต่างๆ ที่เผยแพร่ศาสนาในต่างประเทศตกลงกันที่จะร่วมมือร่วมใจช่วยเหลือกันในเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย การศึกษาและการแพร่ธรรมต่อไปในปี ค.ศ. 1910 มีการประชุมคณะผู้สอนคริสตศาสนาสากลที่ประเทศสก็อตแลนด็ ในปี ค.ศ. 1948 คริสตจักรอังกฤษ (Anglicans) คริสตจักรตะวันออก (Orthodox) และคริสตจักรโปรเตสแตนต์ (Protestants) หลายนิกายรวมกันสร้างสภาคริสตจักรสากล (World Council of Churches) และหลังจากสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สามสิบปีที่แล้วพระศาสนจักรคาทอลิกเริ่มเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย

ขบวนการเอกภาพในระหว่างโปรเตสแตนต์และคาทอลิกในเอเชียได้เกิดขึ้นที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปี 1993 ที่การประชุมของสภาเอเชียเพื่อเอกภาพ (Asian Ecumenical Council/AEC) และต่อไปดำเนินงานที่ฮ่องกง ศรีลังกา และเกาหลี เดี๋ยวนี้สภาคริสตจักรแห่งเอเชีย (the Christian Conference of Asia/CCA) และสหพันธ์พระสังฆราชคาทอลิกแห่งเอเชีย (Federation of Asian Bishops Conference/FABC) กำลังทำงานด้วยกัน ในบ้านเมืองของเราในระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมาแล้ว มีกิจกรรมทางการประชุมเรื่องข้อความเชื่อพิธีกรรมศาสนา การแข่งขันกีฬา และการสร้างมิตรภาพถาวร อย่างไรก็ตาม คริสตชนคาทอลิกและคริสเตียนส่วนใหญ่ยังนิ่งเฉยอยู่ ยังพอใจที่จะแยกกัน หรือไม่ค่อยสนใจที่จะแสวงหาเอกภาพ ทำอย่างไรดี
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

เสาร์ เม.ย. 02, 2005 2:04 pm

ความฝัน

   มีความฝันว่าคริสตชนทุกนิกายจะมีน้ำใจต่อกันและกัน จะเสวนากับฝ่ายอื่นๆ เพื่อให้รู้จักและเข้าใจว่าเขาเชื่อและพร้อมที่จะรับความเชื่อของเขาให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ จะเชิญเพื่อนมาร่วมเสวนากันเสมอให้มากที่สุดและเชิญชวนผู้ใหญ่มาร่วมเสวนาด้วย สมาชิกของทุกฝ่ายจะเคารพผู้นำศาสนาของฝ่ายอื่นว่าเป็นผู้สืบเนื่องจากอัครสาวก พระสันตะปาปาจะรับรองทุกคนทั้งชายและหญิงที่ได้ผ่านการอบรมและรับการแต่งตั้งให้เรียบร้อยและเป็นศิษยาภิบาล จึงจะรับรองศีลที่ประกอบและงานอภิบาลที่ทำ ทุกนิกายจะสามารถปฏิบัติตามระบบการบริหารงาน การจัดสรรเงินทุน และขนบธรรมเนียมประเพณี ขณะเดียวกันมีความสามัคคีเป็นประชากรของพระเจ้าหนึ่งเดียวกัน ทุกฝ่ายทุกคนจะเสนอแนะหรือวิจารณ์ฝ่ายอื่นด้วยความเอาใจใส่และด้วยความรัก ทุกคนทุกฝ่ายพร้อมที่จะรับข้อเสนอแนะและวิจารณ์จากผู้อื่นด้วยความสุภาพถ่อมตน ทุกฝ่ายจะพร้อมทั้งภายในและภายนอกที่จะยอมรับความเป็นจริง พร้อมที่ปรับเปลี่ยนและสุดท้าย ลูกหลานของเราจะทำงานสืบไป เพื่อเสริมสร้างเอกภาพให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง


จบฝัน

   สนใจไหม การที่ความฝันนั้นจะสำเร็จ ก็ต้องขึ้นอยู่กับความสนใจความกระตือรือร้น และการดำเนินงานของนักศึกษาผู้ที่กำลังเตรียมตัวที่จะเป็นผู้นำและเป็นผู้รับใช้ของคริสตจักร/พระศาสนจักรแห่งอนาคต คือบรรดาคุณพ่อ ศิษยาภิบาล ผู้ปกครองและผู้ใหญ่ในอนาคต

   เกียรติซึ่งพระองค์ได้ประทานแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้มอบให้แก่เขา เพื่อเขาจะได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังที่ พระองค์กับข้าพระองค์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้น ข้าพระองค์อยู่ในเขาและพระองค์ทรงอยู่ในข้าพระองค์เพื่อเขาทั้งหลายจะได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างสมบูรณ์ เพื่อโลกจะได้รู้ว่าพระองค์ทรงใช้ข้าพระองค์มา และพระองค์ทรงรักเขาเหมือนดังที่พระองค์ทรงรักข้าพระองค์

   ลูกศิษย์ของพระเยซูเจ้าแท้ๆ ในโลกปัจจุบันต้องแสวงหาเอกภาพ ถึงเวลาแล้ว

ผู้บรรยาย (key note ) คือ บาทหลวงซิกมูนด์ แลส์เซ็นสกี้ ( เอส.เจ.)
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

เสาร์ เม.ย. 02, 2005 2:09 pm

พระคัมภีร์ในชีวิตพระศาสนจักร

ผู้บรรยาย: บาทหลวงสมเกียรติ ตรีนิกร

V   พระศาสนจักรแสดงความเคารพต่อพระคัมภีร์เสมอมา เช่นเดียวกับที่แสดงความเคารพต่อพระกายของพระคริสตเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีกรรม

V   พระศาสนจักรมิได้หยุดยั้งที่จะนำอาหารเลี้ยงชีวิต (คริสตชน) ทั้งจากโต๊ะพระวาจา และจากโต๊ะพระกายพระคริสตเจ้ามาเสนอให้สัตบุรุษ

V   พระศาสนจักรถือเสมอมา และยังถือต่อไปว่าพระคัมภีร์พร้อมกับธรรมประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์เป็นบรรทัดฐานสูงสุดของความเชื่อของตน เพราะว่าพระคัมภีร์ได้รับการดลใจจากพระเจ้าและบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรครั้งเดียวสำหรับตลอดไป

V   คำเทศน์ทั้งหมดของพระศาสนจักรจึงต้องได้รับการหล่อเลี้ยงและควบคุมจากพระคัมภีร์ เช่นเดียวกับคริสตศาสนาเอง

V   เหตุว่าในพระคัมภีร์ พระบิดาในสวรรค์ทรงพบกับบรรดาบุตรของพระองค์ด้วยความรักอย่างสุดซึ้ง และทรงสนทนากับเขา

V   ในพระวาจาของพระเจ้ามีพละกำลังและประสิทธิภาพมากมาย จนว่าพระวาจานั้นค้ำจุนและเป็นพลังของพระศาสนจักร และเป็นพละกำลังแห่งความเชื่อเป็นอาหารเลี้ยงวิญญาณ และเป็นธารอันบริสุทธิ์ไม่มีวันเหือดแห้งของชีวิตฝ่ายวิญญาณสำหรับบรรดาบุตรแห่งพระศาสนจักร

V   ต้องให้คริสตชนทั้งหลายเข้าถึงพระคัมภีร์ได้โดยสะดวก

V เจ้าสาวของพระวจนาตถ์ผู้ทรงรับสภาพมนุษย์ คือพระศาสนจักรได้รับคำสั่งสอนจากองค์พระคริสตเจ้า พยายามอย่างยิ่งที่จะก้าวหน้าหาความเข้าใจพระคัมภีร์ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้น เพื่อจะให้พระวาจาของพระเจ้าเป็นอาหารเลี้ยงดูบรรดาบุตรของตนอยู่เสมอ

V เทววิทยา นั้นตั้งอยู่บนพระวาจาของพระเป็นเจ้าที่เขียนไว้และบนธรรมประเพณี เสมือนตั้งอยู่บนรากฐานอันถาวร พระวาจาให้ความแข็งแรงมั่นคง และให้ชีวิตอันสดชื่นอยู่เสมอแก่เทววิทยา

V เพราะฉะนั้นบรรพชิต ทั้งหลายโดยเฉพาะบรรดาพระสงฆ์ของพระคริสตเจ้าและคนอื่นๆ เช่น สังฆานุกร และผู้สอนคำสอน ซึ่งมีหน้าที่ประกาศสั่งสอนพระวาจาตามนิตินัย จึงจำเป็นต้องใกล้ชิดกับพระคัมภีร์

V โดยอ่านและศึกษาอย่างละเอียด อยู่เสมอ ขออย่าให้ใครในพวกนี้กลายเป็น “ผู้ประกาศพระวาจาของพระเจ้าแก่ผู้อื่นอย่างว่างเปล่าด้วยเสียงเท่านั้นแต่ ภายในจิตใจเขามิได้เป็นผู้ฟังพระวาจาเลย” (น.ออกัสติน)

V ในทำนอง เดียวกันสภาสังคายนานี้ขอเตือนอย่างหนักแน่นเป็นพิเศษให้คริสตชนทั้งหลาย โดยเฉพาะสมาชิกในคณะนักบวช อ่านพระคัมภีร์บ่อยๆ เพื่อจะได้เรียนรู้ “ความรู้ล้ำเลิศถึงพระเยซูคริสตเจ้า” (ฟป. 3.8) “เพราะการไม่รู้พระคัมภีร์คือการไม่รู้จักพระคริสตเจ้า” (นักบุญเยโรม)

V เพราะ ฉะนั้น ให้เขายินดีสัมผัสกับตัวบทพระคัมภีร์โดยตรงทางพิธีกรรมซึ่งอุดมด้วยพระวาจา ของพระเจ้า หรือทางการอ่านบำรุงศรัทธา หรือวิธีการอื่นที่เหมาะสมสำหรับการนี้ หรืออาศัยอุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งในสมัยนี้แพร่หลายทั่วไปอย่างน่าชื่นชม

V ทั้งนี้โดยได้รับการ เห็นชอบและสนับสนุนจากบรรดาผู้อภิบาลของพระศาสนจักร แต่ให้เขาระลึกด้วยว่าการอ่านพระคัมภีร์จะต้องมีการภาวนาควบคู่อยู่ด้วยเสมอ เพื่อจะเป็นการสนทนาของพระเจ้ากับมนุษย์เพราะว่า “เราพูดกับพระองค์เมื่อเราภาวนา เราฟังพระองค์เมื่อเราอ่านพระวาจาของพระเจ้า” (นักบุญอัมโบรส)

V เป็น หน้าที่ของบรรดาพระสังฆราช “ผู้เป็นคลังรักษาคำสั่งสอนของบรรดาอัครสาวก” (นักบุญอีเรเน) ที่จะใช้วิธีการอันเหมาะสมสั่งสอนสัตบุรุษที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนให้ รู้จักใช้หนังสือพระคัมภีร์อย่างถูกต้องโดยเฉพาะพันธสัญญาใหม่และพระวรสาร เป็นพิเศษ

V พระสังฆราชทำหน้าที่นี้ โดยใช้คำแปลตัวบทพระคัมภีร์ที่มีคำอธิบายที่จำเป็นและเพียงพอจริงๆ ประกอบด้วย เพื่อว่าบรรดาบุตรของพระศาสนจักรจะได้มีความคุ้นเคยกับพระคัมภีร์อย่าง ปลอดภัยและได้ประโยชน์ และมีจิตใจเปี่ยมด้วยเจตนารมณ์ของพระคัมภีร์

V เพราะ ฉะนั้น อาศัยการอ่านและการศึกษาพระคัมภีร์ “พระวาจาของพระเจ้าจะได้รุดหน้าไป และได้รับความเคารพนับถือ” (2 ธส. 3.1)

V และ การเผยความจริงอันเป็นขุมทรัพย์ที่พระศาสนจักรได้รับมอบหมายไว้นั้น จะได้เข้าสู่ดวงใจมนุษย์อย่างเต็มเปี่ยมยิ่งๆ ขึ้น

V ชีวิตของพระ ศาสนจักรเจริญเติบโตขึ้นจากการร่วมพิธีบูชามิสซา และรับศีลมหาสนิทบ่อยๆ ฉันใด เราก็หวังได้ว่าจะมีแรงผลักดันใหม่ๆ ต่อชีวิตฝ่ายจิตใจจากการเพิ่มความเคารพยิ่งๆ ขึ้นต่อพระวาจาของพระเจ้าซึ่ง “ดำรงอยู่ชั่วกาลนาน” (อสย. 40.8 เทียบ 1 ปต. 1.23-25) ฉันนั้น
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

เสาร์ เม.ย. 02, 2005 2:14 pm

พระคริสตธรรมคัมภีร์

ผู้บรรยาย ศจ.ดร. เสรี หล่อกัณภัย เลขาธิการสมาคมพระคริสตธรรมไทย

คำนำ

ตามความเชื่อของคริสเตียนแล้ว พระคริสตธรรมคัมภีร์คือพระคำหรือพระวจนะของพระเจ้าที่พระองค์ดลใจให้มนุษย์จำนวนมากเขียนขึ้น และถูกรวบรวมไว้ และถ่ายทอดสืบต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย พระคริสตธรรมคัมภีร์ถูกแบ่งออกเป็นสองภาคด้วยกันคือ ภาคพันธสัญญาเดิม (Old Testament) และภาคพันธสัญญาใหม่ (New Testament) เราอาจจะเปรียบพระคริสตธรรมคัมภีร์ได้เหมือนกับห้องสมุด เพราะพระคริสตธรรมคัมภีร์ประกอบด้วยหนังสือหลายเล่มหลายชนิดจากหลายสมัยมาไว้ด้วยกัน แต่เราก็จะพบว่ามีหนังสืออีกมากมายที่ถูกเขียนขึ้นในโลกนี้ที่ไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ คำว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์แท้จริงแปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Bible” ซึ่งแท้จริงแปลมาจากภาษากรีกอีกทีหนึ่งคือคำว่า บีบลิออน (bibli, on) แปลว่า “หนังสือ” คัดเลือกหนังสือที่จะบรรจุในพระคริสตธรรมคัมภีร์นี้เราเรียกว่า การจัดบรรทัดฐาน (canon)

บรรทัดฐาน

ผู้เขียนพระคริสตธรรมคัมภีร์ใหม่ได้ยอมรับว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมนั้นเป็นหนังสือที่มีสิทธิอำนาจ บรรดาผู้เขียนเหล่านี้ได้รับความเชื่อของผู้สอนศาสนาชาวยิว (rabbinic Judaism) ที่ว่าพระคัมภีร์คือสิ่งที่พระเจ้าประทานให้กับคนรุ่นหลังผ่านทางพระวิญญาณ สิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในพระคริสตธรรมคัมภีร์นี้เดิมคือสิ่งที่พระเจ้าได้เปิดเผยโดยตรงกับบรรดาบรรพบุรุษของคนยิว และบรรดาผู้เผยพระวจนะในสมัยโบราณ อัครทูตเปาโลซึ่งเป็นผู้เขียนพระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ ได้ยืนยันแก่ทิโมธีว่า “และตั้งแต่เด็กมาแล้วท่านก็ได้เรียนรู้พระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสามารถให้ปัญญาแก่ท่านในเรื่องความรอดโดยความเชื่อในพระเยซูคริสต์ พระคัมภีร์ ทุกตอนได้รับการดลใจจากพระเจ้า และเป็นประโยชน์ในการสอน การตักเตือนว่ากล่าว การแก้ไขสิ่งผิด และการอบรมในทางชอบธรรม เพื่อคนของพระเจ้าจะมีความสามารถและพรักพร้อมเพื่อการดีทุกอย่าง” (2 ทิโมธี. 3.15-17)

คำว่า บรรทัดฐาน นี้แปลมาจากภาษาอังกฤษคือคำว่า “canon” ซึ่งแปลมาจากภาษากรีกอีกทีหนึ่งคือจากคำว่า “แคนอน” (kanw,n) ซึ่งมีความหมายว่า “กฎเกณฑ์” หรือ “มาตรฐาน” และตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 4 คริสเตียนใช้คำนี้เพื่อจะบ่งบอกว่าหนังสือเล่มใดบ้างในภาคพันธสัญญาเดิม และภาคพันธสัญญาใหม่เป็นหนังสือที่ได้รับสิทธิอำนาจของพระเจ้า สำหรับคริสเตียนแล้วพระคัมภีร์ไม่ใช่เป็นเพียงหนังสือที่บันทึกการเปิดเผยของพระเจ้า แต่เป็นการเปิดเผยของพระเจ้าที่อยู่ในรูปของหนังสือ จากจุดนี้เองทำให้พระคริสตธรรมคัมภีร์แตกต่างไปจากหนังสือเล่มอื่นๆ ในโลกนี้ เราอาจกล่าวได้พระคริสตธรรมคัมภีร์เป็นหนังสือคลาสสิคเล่มหนึ่ง คือ เป็นหนังสือที่ถูกเขียนมานานแล้ว แต่ก็ยังสามารถถูกนำมาใช้ได้ในปัจจุบัน และเป็นประโยชน์กับคนที่จะเกิดมาในอนาคตด้วย ผู้ที่ได้รับการเปิดเผยจากพระเจ้าในอดีตนั้นได้รับการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ให้เขียนความจริงอันศักดิ์สิทธิ์ลงเป็นหนังสือเพื่อประโยชน์แกคนรุ่นหลัง

เราไม่สามารถบอกแน่ชัดว่า การจัดบรรทัดฐานของพระคริสตธรรมคัมภีร์เริ่มต้นเมื่อไร แต่ความคิดนี้ได้มีมาแต่โบราณ ตัวอย่างที่เราพอจะมองเห็นก็คงอยู่ในสมัยที่คนอิสราเอลอพยพออกจากอียิปต์ไปพบกับพระเจ้าที่ภูเขาซีนาย เมื่อโมเสสอ่านพระวจนะของพระเจ้าที่ถูกจารึกไว้ให้ประชาชนฟัง พวกเขาตอบสนองว่า “สิ่งที่พระเจ้าตรัสไว้นั้น พวกเราจะกระทำตาม และเราจะเชื่อฟัง” (อพยพ. 24.7) และในสมัยต่อมาก่อนที่พระวิหารจะถูกทำลาย ฮิลคียาห์มหาปุโรหิต ได้ค้นพบพระคัมภีร์ และเมื่อชาฟานเลขาได้นำมาอ่านให้กษัตริย์โยสิยาห์ฟังพระองค์ทรงฉีกฉลองพระองค์ เพราะพระองค์ทรงเชื่อว่าทุกอย่างที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์จะเกิดขึ้น (2 พงศ์กษัตริย์. 22-23) พระคัมภีร์ที่ค้นพบในสมัยของกษัตริย์โยสิยาห์นี้คงจะเป็นหนังสือ 5 เล่มแรก ที่เราเรียกว่า เบญจบรรณ หรือที่คนยิวเรียกกันว่า “โทรา” และคงจะถูกจัดเป็นรูปกลุ่มในช่วงระหว่างศตวรรษที่ 6 ถึง 4 ก่อนคริสตกาล หนังสือ 5 เล่มแรกนี้เป็นหนังสือที่ พวกยิว พวกสะมาเรีย และคริสเตียนต่างก็ให้การยอมรับว่าเป็นพระวจนะของพระเจ้า

สำหรับคนยิวนั้นนอกจากจะถือว่าหนังสือ 5 เล่มแรกเป็นพระคัมภีร์แล้ว ยังถือว่าหนังสืออีก 2 หมวดเป็นพระคัมภีร์ด้วยคือ หนังสือในหมวดผู้เผยพระวจนะ (Prophets) และหนังสือในหมวดข้อเขียน (Writings)

เมื่อพระเยซูคริสต์ทรงสั่งสอนประชาชนนั้น พระองค์ก็ทรงอ้างถึงหนังสือที่ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ของชาวยิว และเมื่ออัครทูตเปาโลอ้างอิงข้อความที่มาจากหนังสือของพระคัมภีร์ของชาวยิวเหมือนกัน ถึงแม้การอ้างอิงบางครั้งจะมาจากพระคัมภีร์เดิมภาษากรีกที่รู้จักกันในชื่อเซฟทัวจินต์ก็ตาม

คริสเตียนแต่ละนิกายอาจะให้การยอมรับหนังสือที่เป็นพระคัมภีร์ไม่เหมือนกัน ในกลุ่มของคาทอลิกนั้นจะยอมรับหนังสือกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า อธิกธรรม (Deutero-canonical) เป็นพระคัมภีร์ด้วย นอกจากนี้ยังมีหนังสืออีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกเขียนโดยผู้นำทางศาสนาในอดีตและคริสเตียนยุคแรกก็ได้ให้ความสนใจอ่านกัน หนังสือพวกนี้ถูกเรียกว่า หนังสือนอกสารบบ ในภาษากรีกหนังสือเหล่านี้ถูกเรียกว่า apoerypha ซึ่งมีความหมายว่า “เป็นสิ่งที่ซ่อนอยู่” ในปัจจุบันมักจะถูกเรียกว่า “Pseudepigrapha” หนังสือกลุ่มหลังนี้ได้รับการยอมรับจากนิกายกรีกออธอด๊อกว่าเป็นพระคัมภีร์ หนังสือทั้งสองกลุ่มนี้ได้ถูกจัดรวบรวมอยู่ในพระคัมภีร์เดิมฉบับเซปทัวจินต์ แต่พระคัมภีร์เดิมฉบับภาษาฮีบรูไม่มีหนังสือเหล่านี้บันทึกอยู่ คริสเตียนนิกายโปรเตสแตนต์ยึดรายชื่อหนังสือตามพระคัมภีร์ของชาวยิวที่มีการประชุมกันที่ แยมเนีย (Jamnia)
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

เสาร์ เม.ย. 02, 2005 2:17 pm

การถ่ายทอด

   ก่อนที่พระคัมภีร์จะถูกบันทึกเป็นตัวหนังสือนั้น ข้อมูลต่างๆ นั้นถูกถ่ายทอดต่อกันมาในรูปของการบอกเล่า (Oral Tradition) ซึ่งการบอกเล่านี้ก็อาจมาจากหลายแหล่งด้วยกัน เมื่อมีการบอกเล่าต่อๆ กันมา ก็มีการบันทึกลง การบันทึกในอดีตก็มีหลายวิธี วิธีในสมัยโบราณก็จะสกัดบนแผ่นหิน เช่น บัญญัติสิบประการ หรือ การเขียนลงบนแผ่นดินเหนียว หรือ แผ่นหนัง และต่อมาก็เขียนลงบนกระดาษพาไพรัส

   ในอดีตไม่มีเครื่องถ่ายเอกสารจึงต้องอาศัยการคัดลอกด้วยมือ เพื่อเป็นการรักษาข้อมูลเดิมไว้ ผู้ที่ทำหน้าที่คัดลอกพระคัมภีร์นี้เราเรียกว่า พวกอาลักษณ์ (scribe) ซึ่งวิธีการคัดลอกที่ใช้คือ การเขียนตามต้นฉบับที่มีอยู่ หรือถ้ามีอาลักษณ์หลายคนคัดลอกหนังสือเล่มเดียวกัน ก็อาจจะใช้วิธีบอกจด ซึ่งการคัดลอกทั้งสองวิธีอาจจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้บ้าง ความผิดพลาดนี้อาจจะเกิดขึ้นจากการมอง หรือการฟัง หรือการไม่สามารถแยกอักษรที่เขียนคล้ายกัน หรือเกิดจากการเข้าใจผิดที่เห็นพยัญชนะฮีบรู 2 ตัวเป็นตัวเดียวกัน เพราะพระคัมภีร์ฮีบรูโบราณมีแต่พยัญชนะ ไม่มีสระกำกับอยู่ แต่อย่างไรก็ดีพวกอาลักษณ์เหล่านี้ก็มีวิธีการตรวจสอบความถูกต้องด้วยการนับคำแต่ละบรรทัดและบันทึกจำนวนไว้ และมักจะขึ้นบรรทัดใหม่เมื่อต้นฉบับมีการขึ้นบรรทัดใหม่ หน้าที่ของอาลักษณ์นอกจากจะเป็นผู้คัดลอกพระคัมภีร์แล้ว ยังมีหน้าที่ในการรวบรวม ตรวจสอบ ตีความ และรักษาต้นฉบับของพระคัมภีร์ให้บริสุทธิ์

การแปล

เมื่อคนยิวถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยที่ประเทศบาบิโลน คนยิวรุ่นใหม่ไม่มีความรู้ในภาษาฮีบรู พวกเขาส่วนใหญ่ใช้ภาษาอาราเมคซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ดังนั้นหนังสือบางเล่มในพระคัมภีร์เดิมจึงถูกแปลเป็นภาษาอาราเมค บางครั้งก็แปลเป็นเพียงคำพูด ต่อมาก็ได้แปลเป็นข้อเขียน พระคัมภีร์ฉบับที่ถูกแปลเป็นภาษาอาราเมคนี้เราเรียกว่า ทาร์กุม (Targum) หลักฐานที่เราพบนั้นมีทาร์กุมอยู่หลายฉบับด้วยกัน ทาร์กุมที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการเรียกว่า ทาร์กุม ออนคีลอส (Targum Onqelos) ซึ่งได้แปลพระธรรมเบญจบรรณในลักษณะแปลตามตัวอักษรของพระคัมภีร์ฮีบรู นอกจากนี้ก็ยังมีทาร์กุม โจนาธาน (Targum Jonathan) ซึ่งแปลหนังสือในหมวด ผู้เผยพระวจนะยุคแรก และผู้เผยพระวจนะยุคหลัง ทาร์กุม โจนาธานนี้แปลในลักษณะขยายความ (paraphrse)

นอกจากพระคัมภีร์เดิมจะถูกแปลเป็นภาษาอาราเมคแล้ว พระคัมภีร์เดิมยังถูกแปลเป็นภาษากรีกที่เราเรียกว่า เซปทัวจินต์ (Septuagint) พระคัมภีร์ฉบับเซปทัวจินต์นี้ถูกแปลในช่วงศตวรรษที่สามและสองก่อนคริสตศักราช ถ้าเปรียบเทียบกับทาร์กุมแล้ว เซปทัวจินต์มีจำนวนมากกว่า และมีหนังสืออยู่ในเล่มเดียวกันมากกว่า

จากหลักฐานที่เราพบนี้เราจะเห็นว่าชาวยิวในอดีตนั้นให้ความสำคัญต่อการถ่ายทอดพระวจนะของพระเจ้าไปถึงคนรุ่นหลังด้วยการแปลเป็นภาษาที่พวกเขาเข้าใจได้ นอกจากนี้พระคัมภีร์เดิมยังมีประโยชน์ต่อคนต่างชาติที่ไม่รู้จักภาษาฮีบรูที่จะได้มีโอกาสศึกษาเรื่องราวของพระเจ้า ตัวอย่างหนึ่งที่เราพบในพระธรรมกิจการบทที่ 8.26-39 นั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจคือ ขันทีชาวต่างชาติคนหนึ่งได้อ่านพระธรรมอิสยาห์ที่แปลภาษากรีก แล้วฟีลิปได้อธิบายความหมายของพระธรรมตอนนั้นจนขันทีคนนั้นกลับใจต้อนรับพระเยซูคริสต์

ข้อความที่สำคัญประการหนึ่งจากเอกสารที่ออกมาหลังสังคายนาวาติกันที่ 2 ของพระศาสนจักรคาทอลิก ได้มีข้อความว่า “Easy access to Sacred Scripture should be provided for all the Christian faithful. But since the Word of God should be available at all times, the Church with maternal concern sees to it that suitable and correct translations are made into different languages, especially from the original texts of the sacred books.” ประเด็นเนื้อหาสาระในที่นี้คือ พระคริสตธรรมคัมภีร์จะต้องถูกแปลจากภาษาเดิมให้เป็นภาษาต่างๆ ให้ถูกต้อง เพื่อพระวจนะหรือพระวาจาของพระเจ้านี้จะแพร่หลายไปยังคริสเตียนทุกหนทุกแห่งในทุกยุคทุกสมัย หรือเราอาจจะพูดได้อีกอย่างหนึ่งว่า การที่คริสเตียนคนหนึ่งมีพระคัมภีร์ที่ตัวเองอ่านไม่ออกนั้นไม่มีประโยชน์อะไร ในทางกลับกันถ้าคริสเตียนมีพระคัมภีร์ที่มีเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ดังนั้นงานแปลพระคัมภีร์จึงเป็นงานที่สำคัญอย่างยิ่งยวดที่จะทำให้พระวจนะของพระเจ้าได้เผยแพร่ออกไปอย่างถูกต้อง เพื่อให้การแปลพระคัมภีร์เป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นที่ยอมรับ สหสมาคมพระคริสตธรรมได้มีข้อตกลงกับทางคาทอลิก และได้จัดทำเอกสารชิ้นประวัติศาสตร์ชิ้นหนึ่งขึ้นมา เอกสารชิ้นนี้มีชื่อว่า “Guiding Principles for Cooperation in Bible Translation” เอกสารชุดนี้ได้จัดทำขึ้นในปี ค.ศ. 1964 ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ แนวทางที่ได้ตกลงกันนี้เป็นประโยชน์ที่ทำให้การแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาปัจจุบันมีมาตราฐานดีขึ้น และเป็นที่ยอมรับของคริสเตียนนิกายต่างๆ การแปลที่ดีนั้นจะต้องช่วยให้ผู้อ่านได้รู้เรื่อง และยังคงความถูกต้องของความหมายของผู้เขียนเดิมไว้

การตีความและการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

คนจำนวนมากอาจจะคิดว่า เมื่อเราแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาปัจจุบันแล้ว ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้อ่านที่จะทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่อ่านอยู่ด้วยตัวเอง ในด้านหนึ่งผู้อ่านอาจจะเข้าใจเรื่องราวของพระเจ้าได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถเข้าใจได้หมดทุกอย่าง เนื่องจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นที่บันทึกไว้ในพระคริสตธรรมคัมภีร์นั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นนานมาแล้ว และเกิดขึ้นในสถานที่ที่ผู้อ่านอาจจะไม่คุ้นเคย มีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่แตกต่างออกไป นอกจากนั้นพระคัมภีร์ยังมีวรรณกรรมหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น มีคำเปรียบเทียบ คำสุภาษิต เรื่องอุปมา บทกลอน การพยากรณ์ถึงอนาคต เมื่อเราอ่านพระคัมภีร์จึงควรให้ความสนใจถึงรูปแบบการเขียน เบื้องหลังทางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเราจะสามารถเข้าใจพระวจนะของพระเจ้าได้ดียิ่งขึ้น จากเรื่องราวของขันทีกับฟีลิปในพระธรรมกิจการบทที่ 8 เราจะเห็นว่าถึงแม้ขันทีจะอ่านพระคัมภีร์ภาษากรีกได้ แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าใจความจริงทั้งหมดที่อยู่ในพระคัมภีร์ แต่ต้องอาศัยคนอีกคนหนึ่งมาอธิบายเพิ่มเติมจึงเกิดความเข้าใจได้

พระคัมภีร์ไม่ได้เป็นเพียงหนังสือที่ให้ข้อมูลความรู้เท่านั้น แต่ยังเป็นหนังสือที่เป็นอุปกรณ์ที่พระเจ้าใช้สื่อสารกับมนุษย์ และเป็นแบบอย่างสำหรับให้เราดำเนินชีวิต ในพระคัมภีร์มีตัวอย่างที่ดี และไม่ดี ตัวอย่างที่ไม่ดีมีไว้ไม่ใช่เพื่อให้เราทำตาม แต่มีไว้เพื่อเป็นการเตือนใจให้รู้ถึงผลลัพธ์ที่เลวร้ายที่จะเกิดขึ้นหากเราเนินชีวิตเช่นนั้น เมื่อเราอ่านพระคัมภีร์เราจึงไม่ควรอ่านเพียงบางส่วน แต่ควรจะอ่านให้จบตอน และพิจารณาหาคำตอบเพื่อจะนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เราจึงควรให้ความสนใจบริบทของพระคัมภีร์ด้วย เราไม่ควรจะดึงข้อความเพียงบางส่วนออกจากบริบท

คริสเตียนไม่ได้จำกัดการใช้พระคัมภีร์อยู่แต่เพียงในโบสถ์หรือในพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่จะใช้ในชีวิตประจำวันด้วย คริสเตียนบางคนจะอ่านพระคัมภีร์ทุกวัน และพยายามจะหาคำสอนเพื่อนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และคริสเตียนที่ได้รับประโยชน์จากการอ่านและศึกษาพระคัมภีร์จะแบ่งปันสิ่งที่ตนได้รับจากพระเจ้าให้คนอื่นด้วย

สรุป
พระคริสตธรรมคัมภีร์เป็นพระวจนะของพระเจ้าที่มาถึงมนุษย์ทุกคน และมนุษย์จะมีโอกาสรู้เรื่องของพระเจ้าได้ จำเป็นต้องมีคริสเตียนกลุ่มหนึ่งที่จะต้องถ่ายทอดพระวจนะของพระเจ้าต่อๆ มาให้ถูกต้องชัดเจนเป็นภาษาเขียน และยังต้องมีคริสเตียนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นผู้อธิบายความหมายของพระคัมภีร์ให้คนอื่นฟัง และยังต้องมีคริสเตียนอีกกลุ่มหนึ่งคอยแจกจ่ายและแบ่งปันพระคัมภีร์ให้คนอื่นได้รับรู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

เสาร์ เม.ย. 02, 2005 2:49 pm

ตกลงสัมนานี้เมีไปแล้วใช่ไม๊ครับ :D
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. เม.ย. 21, 2005 7:14 am

Holy เขียน: ตกลงสัมนานี้เมีไปแล้วใช่ไม๊ครับ :D
มีไปแล้วสองครั้ง มีนาคม 2004, มีนาคม 2005, และปีหน้า 2006 จะมีในเดือนมกราคมค่ะ
เป็นเดือนของการอธิษฐานภาวนาสากล

ทั้งสองครั้งที่ผ่านมา เรานำเรื่องข้อเชื่อ ที่มักจะมีปัญหาหรือความเข้าใจที่ต่างกันมาสัมมนาค่ะ ;D
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. เม.ย. 21, 2005 7:19 am

พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ (Eucharistic Celebration)
( ผู้บรรยาย บาทหลวงประสิทธิ์ เครือตาแก้ว :มีนาคม2004 )

บทนำ

เป้าหมายของการปฏิรูปพิธีกรรมในสังคายนาวาติกันครั้งที่สองมีหลายประการ คือ

1. เพื่อให้คริสตชนมีชีวิตชีวามากขึ้นในการดำเนินชีวิตคริสตชนของสัตบุรุษ
2. เพื่อประยุกต์กฎเกณฑ์ซึ่งขึ้นกับความเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับความต้องการต่างๆ ในยุคสมัยได้ อย่างเหมาะสมมากขึ้น
3. เพื่อสนับสนุนสิ่งใดก็ตามที่ส่งเสริมให้เกิดเอกภาพท่ามกลางทุกคนที่มีความเชื่อในพระคริสตเจ้า
4. เพื่อทำให้สิ่งใดก็ตามที่สามารถช่วยมนุษยชาติทั้งมวลเข้าสู่ครอบครัวของพระศาสนจักรเข้มแข็งขึ้น (เทียบ SC, 1)

แต่เป้าหมายหลักของการปฏิรูปพิธีกรรมในสังคายนาวาติกันที่สองอยู่ที่การมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ด้วยความรู้ตัวและด้วยการกระทำ (SC, 48) เพื่อว่า อาศัยการร่วมพิธีกรรม คริสตชนจะได้เติบโตในความเชื่อและการเป็นพยานถึงพระคริสตเจ้า

ความหมายของพิธีกรรม

“พิธีกรรม คือการประกอบหน้าที่สงฆ์ของพระเยซูคริสตเจ้า ในพิธีกรรมการทำให้มนุษย์ศักดิ์สิทธิ์แสดงออกโดยอาศัยเครื่องหมายแสดงที่ประสาทรับรู้แลเห็นได้ และบังเกิดผลตรงตามเครื่องหมายที่แสดงออกแต่ละอย่างนั้นในพิธีกรรม พระกายทิพย์ของพระเยซูคริสตเจ้า กล่าวคือ องค์พระผู้เป็นศีรษะกับบรรดาผู้เป็นส่วนต่างๆ แห่งพระกายของพระองค์ เป็นผู้ประกอบประชาคารวกิจ” (Sacrosanctum Concilium, 7)

1.ความหมายคำนิยามข้างต้น เราสามารถสรุปได้ 4 ประการคือ

1.1 พิธีกรรมเป็นการประกอบหน้าที่สงฆ์ของพระคริสตเจ้าหรือของพระกายทิพย์ทั้งครบของพระองค์ หน้าที่สงฆ์ของพระองค์คือ การเป็นคนกลางระหว่างพระและมนุษย์ถวายองค์เองเป็นบูชาจนถึงขั้นสุดยอดบนไม้กางเขน ซึ่งเป็นการนำความรอดหรือการไถ่บาปของเรามนุษย์
1.2 เป็นการทำให้มนุษย์ศักดิ์สิทธิ์ อาศัยธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้า และของพระศาสนจักรธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้าหมายถึงการที่พระเป็นเจ้าทรงแสดงพระองค์ให้มนุษย์รู้จักโดยทางองค์พระคริสตเจ้าผู้เสด็จมาในโลกเพื่อกระทำให้มนุษย์ทั้งหลายรอดและมารู้ความจริง เป็นการเผยแสดงถึงความรักยิ่งใหญ่ที่พระเป็นเจ้าทรงมีต่อมนุษย์ โดยกระทำของพระคริสตเจ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งการถวายบูชาของพระองค์จนสิ้นพระชนม์ การประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เป็นการรื้อฟื้นธรรมล้ำลึกแห่งการกอบกู้มนุษย์ขององค์พระคริสตเจ้า คือทำให้เป็นปัจจุบันท่ามกลางประชาชาติ (SC, 2)
1.3 โดยใช้เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ที่ก่อให้เกิดผลตรงตามเครื่องหมาย เพื่อให้มนุษย์สามารถเข้าใจได้
1.4 เป็นการประกอบคารวกิจของชุมชน หรือประชากรของพระเจ้า จึงไม่ใช่คารวกิจส่วนบุคคล

2. เมื่อมองพิธีกรรมจากชีวิตคริสตชนและการเติบโตของความเชื่อและการเป็นพยานถึงพระคริสตเจ้า พิธีกรรมจะถูกมองเป็นการฉลองประวัติศาสตร์แห่งความรอดเป็นประเด็นสำคัญ โดยสามารถจำแนกออกเป็นสามมุมมองที่สำคัญคือ
2.1 พิธีกรรมเป็นการเข้ามีส่วนร่วมในผลการไถ่ซึ่งพระคริสตเจ้าได้กระทำให้เกิดขึ้นในธรรมล้ำลึกปัสกา
การมีส่วนร่วมในธรรมล้ำลึกแห่งความรอดในพิธีกรรมเกิดขึ้นโดยทางความเชื่อและศีลศักดิ์สิทธิ์ กล่าวคือ “เครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสัมฤทธิ์ของ” เครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์” ในตัวเอง (เช่น ปัง และเหล้าองุ่น) เป็นการกระทำของพระคริสตเจ้าผู้ทรงทำงานในพระศาสนจักร และในส่วนมนุษย์ ความสัมฤทธิ์ของเครื่องหมายสำหรับตนจะเกิดขึ้นเมื่อตัวเองเป็น “เครื่องหมายของความเชื่อ”
การฉลองพิธีกรรมเป็นการฉลองความเชื่อ ในพิธีกรรม ความเชื่อถูกแสดงออกมาอย่างสูงสุด และมีการสำแดงให้คนอื่นเห็นถึง ธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้าและธรรมชาติที่แท้จริงของพระศาสนจักร
2.2 พิธีกรรมเป็นการฉลองประวัติศาสตร์แห่งความรอดและนำปัจจุบันเข้าในกระแสของประวัติศาสตร์ แห่งความรอดซึ่งมุ่งสู่ความสมบูรณ์ในวาระสุดท้าย
สาระสำคัญของพิธี คือการฉลองประวัติศาสตร์แห่งความรอด กล่าวคือ แผนการแห่งความรอดซึ่งมีอยู่ตั้งแต่นิรันดรภาพในพระเจ้าและค่อยๆ กลับเป็นความจริงในพันธสัญญาเดิมและมาถึงจุดสุดยอดในพันธสัญญาใหม่ (อดีตกาล) กลับมีความเป็นปัจจุบันทั้งหมดเสมอโดยทางเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ (ปัจจุบัน) จนกว่าจะถึงความสมบูรณ์ในวาระสุดท้าย เมื่อพระเยซูเจ้าจะเสด็จมาครั้งที่สอง (อนาคต)
จากแง่มุมมองของกาลเวลา เครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรมทำให้คริสตชนเข้าร่วมในธรรมล้ำลึกแห่งความรอดซึ่งสำเร็จจริงแล้วในธรรมล้ำลึกปัสกา (อดีต) ทำให้เห็นมิติสำคัญของการทำอดีตให้เป็นปัจจุบัน มิตินี้ปรากฏทั้งในบทภาวนาและในพระวาจาเมื่อมีการ “ระลึกถึง” ซึ่งโดยนัยของคำก็ส่อถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้วในตัวเครื่องหมายในพิธีกรรม เช่น ปังและเหล้าองุ่น เป็นการแสดงถึงความหมายลึกซึ้งภายในแห่งพระคุณหรือพระอันอุดมและกว้างไกลมากกว่า กล่าวคือ เครื่องหมายดังกล่าวถูกนำมาใช้หมายถึงเหตุการณ์ในอดีตและชี้ไปข้างหน้าในอนาคตถึงสภาพสมบูรณ์ขึ้นสุดยอดที่มองไม่เห็นด้วย (เทียบ 1 คร. 11, 26 “ทุกครั้งที่พวกท่านรับประทานปังนี้และดื่มจากถ้วยนี้ พวกท่านประกาศการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้า จนกว่าพระองค์จะเสด็จมา”)
2.3 พิธีกรรมเป็นการกระทำและการพบระหว่างพระตรีเอกภาพกับพระศาสนจักรโดยผ่านทางพระคริสตเจ้า ด้วยฤทธิ์อำนาจของพระคริสตเจ้า

พิธีกรรมเป็นการฉลอง “ประวัติศาสตร์แห่งความรอด” ในกาลเวลาและในสถานที่นั้น สิ่งที่ส่อถึงอย่างเป็นนัยคือ “ผู้กระทำ” แผนการที่มีอยู่ตั้งแต่นิรันดรภาพและได้ถูกทำให้เป็นจริงในประวัติศาสตร์นั้น ทั้งหมดเกิดขึ้นจาก “พระบิดา” ในพระคริสตเจ้า และโดยทางพระคริสตเจ้า เพื่อความดีของชีวิตคริสตชนผู้ถูกรวมเข้าใน “พระศาสนจักร” และเพื่อประโยชน์ของพระศาสนจักร

   
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. เม.ย. 21, 2005 7:21 am

พระตรีเอกภาพในพิธีกรรม

พระบิดา ในพิธีกรรม พระองค์เป็นผู้ริเริ่มและเป็นจุดกำเนิดของการบันดาลความศักดิ์สิทธิ์ และในทางกลับกัน พระองค์เป็นผู้รับการสรรเสริญ ขอบพระคุณ และคำวิงวอน ซึ่งจะร้องหาพระบิดาเสมอ สิ่งเหล่านี้ปรากฏชัดเจนในบทภาวนาของพิธีกรรม

พระเยซูคริสตเจ้า การประทับอยู่ของพระองค์และธรรมล้ำลึกของพระองค์

ก.บทบาทของพระเยซูเจ้าในพิธีกรรม พระองค์เป็น คนกลาง สงฆ์ ประกาศก และกษัตริย์
เนื่องจากพิธีกรรมเป็นการฉลองความรอด และทำให้ความรอดสำเร็จในประวัติศาสตร์ในพระเยซูคริสตเจ้ากลับเป็นปัจจุบัน พิธีกรรมจึงเป็นการประทับอยู่และเป็นการกระทำของ พระเยซูเจ้าเสมอ ดังนั้น พระเยซูคริสตเจ้าประทับอยู่ในพิธีกรรม ทรงปฏิบัติหน้าที่สงฆ์ผู้ถวายคารวกิจ พระกายทั้งครบของพระองค์หันไปยังพระบิดาเจ้าเพื่อถวายสรรเสริญและถวายเกียรติ พระองค์ทรงเป็นผู้ประสาทความรอดและความศักดิ์สิทธิ์แก่มนุษย์ต่อไป โดยทาง พระองค์ พระศาสนจักรผู้เป็นสมาชิกแห่งพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้าต่างมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่สงฆ์ของพระองค์ จึงสามารถหันไปสรรเสริญและถวายพระเกียรติแด่พระเป็นเจ้าได้

ด้วยเหตุนี้ โดยทางพระเยซูคริสตเจ้า พระองค์ทรงเป็น “คนกลาง” แต่ผู้เดียว ซึ่งพระองค์ทรงแสดงออกอย่างสมบูรณ์ในงานแห่งความรอดซึ่งพระองค์ได้ทรงกระทำระหว่างที่ทรงเจริญพระชนม์อยู่ในโลก ตั้งแต่รับเอากายเป็นมนุษย์จนถึงการเสด็จสู่สวรรค์ โดยเฉพาะการรับทรมาน สิ้นพระชนม์ และการกลับคืนพระชนมชีพ การเป็นคนกลางของแห่งความรอดของพระองค์ยังคงดำเนินต่อไป จากการที่ประทับในสวรรค์ ในพิธีบูชาขอบพระคุณพระองค์ยังทรงเป็นกลางเพื่อการทำให้ความรอดมาถึงผู้รับการไถ่แต่ละคน แต่ทั้งนี้โดยทรงใช้สื่อกลางที่แลเห็นได้ คือพระศาสนจักร

พระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็น “สงฆ์” พระองค์ทรงเป็นสงฆ์แต่ผู้เดียว แท้จริง สูงสุด ครบครัน นิรันดร พระองค์ทรงเป็นสงฆ์ที่มีลักษณะพิเศษคือ พระองค์ทรงเป็นทั้งสงฆ์และเครื่องบูชาที่ถูกถวายเพื่อการไถ่กู้มนุษย์ โดยการถวายบูชาของพระองค์ซึ่งมีจุดสุดยอดบนไม้กางเขน

พระเยซูเจ้าทรงเป็น “ประกาศก” เพราะพระองค์ทรงเป็นพระวจนาตถ์ของพระบิดา เป็นพระวาจานิรันดรของพระบิดาซึ่งถูกสำแดงให้โลกได้รู้โดยการรับเอากายเป็นมนุษย์ พระองค์ทรงไขแสดงพระเจ้าให้แก่มนุษย์ได้รู้และประทานความจริงที่ช่วยมนุษย์ให้รอด

พระเยซูเจ้าทรงเป็น “กษัตริย์” โดยการเป็นกษัตริย์ของพระองค์ตั้งอยู่บนฐานของความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างมนุษย์กับพระในพระองค์ การเป็นกษัตริย์ของพระองค์ยังถูกใช้ในสวรรค์และจะมีการสำแดงพิเศษในการพิพากษาสุดท้าย

การประทับอยู่ของพระเยซูเจ้าในการกระทำทางพิธีกรรมเจาะจงว่า พระองค์ประทับอยู่ในการบูชามิสซาทั้งในตัวของสังฆบริกร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้เครื่องหมายของปังและเหล้าองุ่น พระองค์ประทับอยู่ด้วยฤทธิ์อำนาจของพระองค์ในศีลศักดิ์สิทธิ์ ในแบบที่ว่า เมื่อคนหนึ่งโปรดศีลล้าง เป็นพระคริสตเจ้าเองที่ทรงเป็นผู้โปรด พระองค์ประทับอยู่ในพระวาจาของพระองค์ จนว่าพระองค์เองคือผู้ตรัสเมื่อมีการอ่านพระคัมภีร์ในวัด ที่สุด พระองค์ประทับอยู่เมื่อพระศาสนจักรภาวนาและสรรเสริญ (SC 7)

ลักษณะการประทับอยู่ของพระองค์จึงเป็นการอยู่ในฐานะเป็น “ศีรษะ” เป็นหัวหน้าของพระศาสนจักร ซึ่งเป็นการประทับอยู่ในพิธีกรรมเช่นกัน การประทับอยู่ในพิธีกรรมในฐานะหัวหน้าพระศาสนจักรนี้มีหลายรูปแบบและวิธี ทั้งนี้ขึ้นกับความหลายหลากของเครื่องหมายพิธีกรรม ซึ่งเครื่องหมายเหล่านี้คือสิ่งที่บ่งบอกถึงการประทับอยู่ของพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นที่ชุมชนเอง หรือสังฆบริกร หรือการประกาศพระวาจา การภาวนาเครื่องหมายของศีลศักดิ์สิทธิ์ (เช่น ปังและเหล้าองุ่น) เป็นต้น

พระเยซูคริสตเจ้า ศูนย์กลางของพิธีกรรม

พระเยซูเจ้าทรงเป็นศูนย์กลางของพิธีกรรมในฐานะทรงเป็น “ผู้ถวายคารวกิจ” และในฐานะ “ผู้รับการถวายนมัสการ” และปีพิธีกรรมคือการฉลองธรรมล้ำลึกเกี่ยวกับพระองค์

พระคริสตเจ้า คือ “ผู้ถวายคารวิกจ” แด่พระบิดา ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นคนกลาง ดังนั้นในบทภาวนาจบลงด้วยการวิงวอน “โดยทางพระเยซูคริสตเจ้า พระเจ้าของเรา” หรือในตอนจบของบทขอบพระคุณในพิธีบูชามิสซาขอบพระคุณ “อาศัยพระคริสตเจ้า พร้อมกับพระคริสตเจ้า และในพระคริสตเจ้า ข้าแต่พระบิดาผู้ทรงสรรถานุภาพ พระองค์ทรงพระสิริรุ่งโรจน์พร้อมกับพระจิตเจ้าตลอดนิรันดร”

พระคริสตเจ้ายังเป็นศูนย์กลางของพิธีกรรม เพราะพระองค์ได้รับการถวายเกียรติ เพราะพระศาสนจักรถวายเกียรติพระเจ้า พระตรีเอกภาพเสมอดังนั้นพระศาสนจักรภาวนาต่อพระเยซูเจ้าด้วย

ที่สุด พระคริสตเจ้า ยังเป็นศูนย์กลางของพิธีกรรม เพราะปีพิธีกรรมมีพระองค์เป็นศูนย์กลาง ตั้งแต่การรับเอากาย (เทศกาลพระคริสตสมภพ) และปัสกาของพระเยซูเจ้า (เทศกาลปัสกา)
พระจิต พิธีกรรมในสาระสำคัญเป็นการสำแดงองค์ของพระจิตของพระคริสตเจ้าผู้ได้รับเกียรติมงคล เพราะโดยทางพระจิตนี้เองที่การกระทำในพิธีกรรมทั้งหมดเป็นการสำแดงและการทำให้การประทับอยู่ของพระคริสตเจ้าเกิดขึ้น และการทำให้ “การระลึกถึง” ธรรมล้ำลึกแห่งความรอดไม่ได้เป็นเพียงแค่การระลึกถึงในความคิด แต่เป็นการระลึกถึงที่ทำให้ประวัติศาสตร์กลับเป็นปัจจุบัน

ในพิธีบูชาขอบพระคุณ มีการวอนขอพระจิตเจ้า (epiclesis) เพื่อทรงทำให้เครื่องบูชาศักดิ์สิทธิ์ เพื่อการประทับอยู่ของพระคริสตเจ้าในปังและเหล้าองุ่น นอกนั้น ในบทขอบพระคุณ มีการวิงวอนขอพระจิตเพื่อเอกภาพ ดังนั้น เราจึงเห็นบทบาทของพระจิตเจ้าในพิธีกรรมในฐานะของพระองค์ทรงบันดาลความศักดิ์สิทธิ์ด้วยฤทธิ์อำนาจของพระองค์ พระจิตเจ้าทำให้อดีตกลับเป็นปัจจุบัน และด้วยพระจิตเจ้าเช่นกัน พระองค์คือผู้ทรงผลักดันจากภายในให้เกิดการมีส่วนร่วมในการถวายบูชาและการสรรเสริญ ถวายเกียรติแด่พระเจ้า
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. เม.ย. 21, 2005 7:25 am

ประวัติและวิวัฒนาการของพิธีบูชาขอบพระคุณโดยย่อ

1.พระเยซูคริสตเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิท และสมัยอัครสาวก

เอกสาร 4 ฉบับในพระคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ ได้เล่าถึงการกระทำของพระเยซูเจ้าขณะรับประทานอาหารค่ำครั้งสุดท้ายของพระองค์ เอกสารฉบับแรกที่เก่าแก่ที่สุด (ราว ค.ศ. 55) คือจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ฉบับที่หนึ่งเล่าว่า “เหตุว่าเรื่องที่ข้าพเจ้าบอกให้ท่านทราบนั้น ข้าพเจ้าได้รับจากพระเจ้า คือในคืนที่พระเยซูคริสตเจ้าถูกทรยศพระองค์ทรงหยิบขนมปัง เมื่อ (ภาวนา) ขอบพระคุณแล้วทรงบิออก ตรัสว่า ‘นี่คือกายของเรา ที่จะมอบเพื่อท่านจงทำดังนี้ เพื่อระลึกถึงเราเถิด’ ทำนองเดียวกัน เมื่อเลี้ยงอาหารค่ำเสร็จแล้ว พระองค์ทรงหยิบถ้วยเหล้าองุ่นตรัสว่า ‘ถ้วยนี้คือพันธสัญญาใหม่ด้วยโลหิตของเรา ทุกครั้งที่ท่านดื่มด้วยเหล้าองุ่นนี้จงทำเพื่อระลึกถึงเราเถิด’

เอกสารอีก 3 ฉบับคือ ลูกา. 22.13-20, มาระโก. 14.16-25 และมัทธิว. 26.19-29 ได้เล่าเรื่องนี้เช่นกัน จากการศึกษาเปรียบเทียบพอสรุปได้ว่า บรรดาอัครสาวก ผู้เป็นพยานรู้เห็นการกระทำและพระวาจาของพระเยซูเจ้า นี่คือสิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำและทรงสั่งให้พวกเขาทำสืบต่อไป
ข้อสังเกตว่าการกระทำของพระเยซูเจ้านั้น เป็นการกระทำโดยอาศัยกรณีแวดล้อมและพิธีการของชาวยิว แต่พระองค์ทำให้เกิดความหมายใหม่
พระศาสนจักรนับตั้งแต่สมัยอัครสาวกเป็นต้นมา กระทำตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าในเรื่องนี้เป็นพิธีกรรม จึงรวมการกระทำดังกล่าวของพระเยซูเจ้าเข้าไว้ 4 ประการที่สำคัญในพิธีบูชาขอบพระคุณคือ

1.หยิบปังและเหล้าองุ่น
2.กล่าวคำภาวนาสดุดี-ขอบพระคุณ (บทขอบพระคุณ)
3.บิปัง
4.แจกจ่ายปังและเหล้าองุ่นให้บรรดาสัตบุรุษ

2.สมัยคริสตศตวรรษที่ 2-3

ในช่วงแรกของพระศาสนจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของการเบียดเบียน การฉลองมีลักษณะเป็นการฉลองภายในครอบครัวเป็นการชุมนุมเล็กๆ ภายในบ้านในแง่ของพิธี อาจประกอบด้วยภาคพิธีศีลมหาสนิทเท่านั้น

จากหลักฐานของนักบุญยุสติน มรณสักขี (ราว ค.ศ. 150) ในหนังสือ I Apologia บทที่ 67 ได้กล่าวว่า ในวันอาทิตย์ ชุมชนคริสตชนได้ร่วมกันประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณ โดยเริ่มต้นด้วยภาควจนพิธีกรรม แล้วจึงถึงภาคศีลมหาสนิท ดังนั้น จึงพอสรุปได้ว่า ตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 พิธีบูชาขอบพระคุณจึงประกอบด้วยภาคสำคัญ 2 ภาคอยู่แล้ว จนถึงปัจจุบัน

3.ยุคปิตาจารย์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 4-5

ถือเป็นยุคทองของการพัฒนา มีการพัฒนาบทภาวนาได้ทำให้ให้มีบทภาวนาสำคัญควบคู่กับวิวัฒนาการทางด้านเทววิทยา
ภายหลังก็มีการรวบรวมบทภาวนาต่างๆ ของพิธีศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเรียกว่า Sacramentarium
หนังสือพิธีกรรมโรมันดั้งเดิมเหล่านี้ ที่เป็นหลักฐานสำคัญๆ มีดังต่อไปนี้
1. Sacramentarium Veronense (หรือ Leonianum) ในราวศตวรรษที่ 6-7 เป็นการรวบรวมบทภาวนาต่างๆ ในพิธีบูชาขอบพระคุณ
2. Sacramentarium Gelasianum ในราวศตวรรษที่ 7-8 เป็นแบบสำหรับพระสงฆ์ใช้ใน กรุงโรม
3. Sacramentarium Gregorianum ในราวศตวรรษที่ 8-9 สำหรับพิธีกรรมของพระสันตะปาปาหรือพระสังฆราช

4.การรวมกันเป็นหนึ่ง สมัยสังคายนาแห่งเตรนท์ (ค.ศ. 1562)

แม้ว่าพิธีกรรมโรมันจะมีอิทธิพลและแผ่ไปทั่วภาคตะวันตกแล้ว แต่พิธีกรรมต่างๆ ตลอดจนหนังสือพิธีเองก็ยังมีความแตกต่างกันบ้างบางครั้งก็มีการขัดแย้งกัน สังคายนาแห่งเตรนท์ จึงบัญญัติให้มีการจัดพิมพ์หนังสือพิธีกรรม ดังต่อไปนี้คือ

1. Missale Romanum (1570) สมัยพระสันตะปาปาปีโอที่ 5
2. Breviarium Romanum (1588) สมัยพระสันตะปาปาปีโดที่ 5
3. Pontifucale Romanum (1596) สมัยพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 8
4. Rituale Romanum (1614) สมัยพระสันตะปาปาเปาโลที่ 5
ในที่สุด เพื่อให้พิธีกรรมเป็นหนึ่งเดียว พระสันตะปาปาซิศโตที่ 5 ได้ทรงตั้งกระทรวงคารวกิจขึ้นในปี ค.ศ. 1588

5.สมัยเริ่มมีการปฏิรูปพีธีกรรมในคริสตศตวรรษที่ 20 – สังคายนาวาติกันที่ 2
จากการที่มี “ขบวนการพิธีกรรม” ที่เบลเยี่ยม เยอรมนี ฯลฯ ในศตวรรษที่ 20 จึงทำให้มีการตื่นตัวกันมากในด้านพิธีกรรม จนกระทั่งมาถึงจุดสุดยอดในสมัยสังคายนาแห่งวาติกันที่ 2 ซึ่งได้ออกบทบัญญัติปฏิรูปพิธีกรรมใหม่หมด สรุปการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมามีดังนี้

1.สมณสาส์นของพระสันตะปาปาปีโอที่ 12 “Mediator Dei” ค.ศ. 1947 ซึ่งให้แนวทางเทววิทยาด้านพิธีกรรมที่สำคัญฉบับหนึ่ง
2.พระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ทรงบัญญัติให้ปรับปรุงพิธีวันเตรียมก่อนฉลองปัสกา (Celebratio Vigiliae Paschalis) ในปี ค.ศ. 1951
3.แก้ไขประมวลกฎเกณฑ์พิธีกรรม (Rubrica) ในสมัยพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ใน ค.ศ. 1958
4.สมัยสังคายนาวาติกันที่ 2 ประกาศสังฆธรรมนูญว่าด้วยพิธีกรรม ในปี ค.ศ. 1963
5.ตั้งสภาที่ปรึกษา (Consilium) เกี่ยวกับการประยุกต์สังฆธรรมนูญว่าด้วยพิธีกรรมให้สำเร็จลุล่วงไปในปี ค.ศ. 1964
6.หนังสือพิธีกรรมต่างๆ ที่ปรับปรุงแก้ไขใหม่ ซึ่งมีหนังสือพิธีบูชาขอบพระคุณใหม่ที่เรียกว่า “Missale Romanum” สมัยพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ในปี ค.ศ. 1970

โครงสร้างและความหมายของพิธีขอบพระคุณจารีตโรมันในปัจจุบัน

พิธีบูชาขอบพระคุณในปัจจุบันคงรักษาโครงสร้างหลังของประเพณี ซึ่งประกอบด้วยสองภาค คือ

1.ภาควจนพิธีกรรม
2.ภาคพิธีกรรมขอบพระคุณ (พิธีศีลมหาสนิท)
สองภาคของพิธีมีความเกี่ยวโยงกันอย่างใกล้ชิดจนประกอบกันเป็นกิจการเดี่ยวของการนมัสการนอกนั้นมีพิธีย่อยอีกสองส่วนเป็นส่วนนำและส่วนลงท้าย

เริ่มพิธี เป็นพิธีที่นำหน้าภาควจนพิธีกรรม ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
- เพลงเริ่มพิธีและการแห่เข้า
- การเคารพพระแท่น
- การทำสำคัญมหากางเขน
- คำทักทายของประธานในพิธี
- บทนำสู่การฉลอง
- พิธีสารภาพบาป
- บทพระสิริรุ่งโรจน์
- บทภาวนาของประธาน

1.เพลงเริ่มพิธี เป็นเพลงของหมู่คณะ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ
1.เริ่มต้นการฉลอง
2.ส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวของที่ชุมนุม
3.นำเข้าสู่ธรรมล้ำลึกที่ฉลองตามเทศกาล หรือตามวาระและวันฉลอง
4.เพื่อประกอบขบวนแห่ของพระสงฆ์และศาสนบริกร
2.การเคารพพระแท่น
เมื่อพระสงฆ์และศาสนบริกรเดินเข้าสู่สักการสถาน พวกเขาคำนับพระแท่น โดยการจูบพระแทน หรือการพนมมือกราบพระแท่นในประเพณีไทย เพื่อแสดงคารวะ เพราะพระแท่นเป็นเครื่องหมายแทนองค์พระคริสตเจ้า หลังจากนั้นพระสงฆ์อาจถวายกำยานแด่พระแท่นด้วยบางโอกาส อันเป็นการแสดงออกซึ่งความเคารพและหมายถึงคำถาวนาซึ่งลอยขึ้นถึงพระเบื้องบน นอกนั้น ควันกำยานที่ปกคลุมบริเวณสักการสถาน ทำให้เกิดบรรยากาศศักดิ์สิทธิ์
3.การทำเครื่องหมายกางเขนและคำทักทายของประธาน
เมื่อเพลงแห่จบแล้ว พระสงฆ์และที่ประชุมทั้งหมดต่างทำเครื่องหมายกางเขน ครั้นแล้วพระสงฆ์ทักทายสัตบุรุษ เป็นการแสดงให้เห็นว่า พระผู้เป็นเจ้าสถิตอยู่ท่ามกลางเขา โดยการทักทายและการตอบรับของประชาสัตบุรุษนั้นแสดงให้เห็นถึงธรรมล้ำลึกของพระศาสนจักรที่ร่วมชุมนุมกัน
เครื่องหมายกางเขนเป็นเครื่องหมายของคริสตชน ซึ่งช่วยสร้างความสำนึกว่า การบูชาขอบพระคุณทั้งหมดเป็นการกระทำของพระบิดา พระบุตรและพระจิตเจ้า เช่นเดียวกับงานแห่งความรอด
คำทักทายว่า “พระเจ้าสถิตกับท่าน” และคำตอบรับว่า “และสถิตกับท่านด้วย” หรือคำทักทายแบบอื่นอีก ซึ่งมีอยู่ในหนังสือพิธีบูชาขอบพระคุณ นี่เป็นการทักทายตามพิธีจารีตและแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างที่ชุมชนกับประธานในพิธี ผู้มีหน้าที่นำหมู่คณะไปสู่การฟังพระวาจาและการภาวนา
หลังจากการทักทายแล้ว พระสงฆ์หรือศาสนบริกรที่มีศักดิ์เหมาะสม อาจให้คำนำสั้นๆ เกี่ยวกับพิธีบูชาขอบพระคุณในวันนั้นๆ
4.การสารภาพผิด
หลังจากการทักทาย พระสงฆ์เชิญชวนให้สารภาพความผิดซึ่งกระทำพร้อมกันโดยประชาสัตบุรุษทั้งมวล และลงท้ายด้วยการอภับบาปจากพระสงฆ์
ในสมัยแรกๆ เป็นต้นมาคริสตชนต่างรู้สึกว่าจะต้องชำระจิตใจให้สะอาดหมดจด ก่อนจะมีส่วนในพิธีบูชาขอบพระคุณ (เทียบในหนังสือ Didache บท 14 ซึ่งเขียนราวปี 100)
พิธีสารภาพบาปเป็นการเรียกหาและวิงวอนพระเมตตาจากพระเจ้า เป็นการแสดงออกถึงความถ่อมตนของมนุษย์คนบาปในท่าทีของการภาวนา
พิธีตอนนี้มีส่วนประกอบย่อยๆ ได้แก่ การเชิญชวนของประธาน เวลาเงียบ บทวิงวอน และการประกาศการอภัย
5.บทพระสิริรุ่งโรจน์
พระสิริรุ่งโรจน์ เป็นบทเพลงสรรเสริญจากพิธีกรรมดั้งเดิมเป็นบทเพลงที่พระศาสนจักรที่ร่วมประชุมกันภายใต้การนำของพระจิตเจ้าสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าพระบิดา และสรรเสริญลูกแกะพระเจ้า และแสดงคารวะต่อพระองค์ท่าน จึงเป็นบทเพลงสรรเสริญพระตรีเอกภาพ
6.บทภาวนาแรกของประธาน
บทภาวนาแรกของประธานเป็นส่วนสุดท้ายของภาคนำ เป็นช่วงเวลาที่มีการหันเข้าหาพระเจ้าโดยตรงเพื่อสนทนากับพระองค์ บทภาวนานี้ประกอบด้วย 4 ช่วงสำคัญคือ
- การเชิญชวนให้ภาวนา ประธานกล่าวว่า “ให้เราภาวนา”
- หยุดเงียบสักครู่ เพียงพอให้สัตบุรุษตระหนักถึงการอยู่ต่อหน้าพระเจ้า เพื่อร่วมใจ ภาวนาพร้อมกับประธาน
- ตัวบทภาวนา
- คำตอบรับ อาเมน ซึ่งแสดงว่าเป็นการภาวนาของหมู่คณะ
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. เม.ย. 21, 2005 7:31 am

ภาค 1 : วจนพิธีกรรม

��าคนี้เผยแสดงถึงสิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำให้สำเร็จไปในการบูชาขอบพระคุณ บทอ่านจากพระคัมภีร์พร้อมกับบทเพลงสดุดีคั่นกลาง เป็นส่วนประกอบสำคัญของภาควจนพิธีกรรม และบทเทศน์เตือนใจ การยืนยัน ศรัทธา และบทภาวนาเพื่อมวลชน เป็นการขยายภาคนี้ให้กว้างขึ้น เหตุว่าในการอ่านพระคัมภีร์แบะการเทศน์ซึ่งเป็นการให้อรรถาธิบายนั้น พระเป็นเจ้าตรัสกับประชากรของพระองค์ และทรงทำให้พวกเขาทราบถึงธรรมล้ำลึกแห่งการกอบกู้และความรอด และหล่อเลี้ยงวิญญาณ และโดยทางพระวาจาของพระองค์ พระคริสตเจ้าเองประทับท่ามกลางประชาสัตบุรุษ

��b]เกี่ยวกับเทววิทยาในด้านการอ่านพระวาจาของพระเจ้านี้ มีสาระสำคัญคือ[/b]

��.พระวาจาของพระเจ้าเป็นการเตรียมจิตใจเราในด้านการถวายบูชาขอบพระคุณ เป็นการเตรียมจิตใจเราให้เชื่อมโยงอย่างสนิทเป็นพิเศษระหว่างการประกาศพระวาจากับการฟังพระวาจาพระเจ้า
��.เป็นการทำให้ศีลศักดิ์สิทธิ์เกิดขึ้นอย่างจริงจัง จากการฟังพระวาจาของพระเจ้า ประชาสัตบุรุษจึงเรียนรู้ว่าสิ่งวิเศษทีประกาศนั้น มีจุดสุดยอดที่ธรรมล้ำลึกปัสกา ซึ่งพิธีบูชาขอบพระคุณนั้นเป็นการประกอบเพื่อระลึกถึงและเพื่อเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ด้วย ดังนั้นเมื่อได้ใส่ใจฟัพระวาจานั้นชุบเลี้ยงแล้ว จะกลายเป็นการร่วมในธรรมล้ำลึกแห่งการกอบกู้นั้นได้ผลดี

โครงสร้างของภาควจนพิธีกรรมประกอบด้วย��
- บทอ่านที่ 1

�� รำพึงและเพลงตอบรับพระวาจารำพึง (บทสดุดี)
�� บทอ่านที่ 2 (ถ้ามี)
�� การโห่ร้องรับพระวรสาร (บทอัลเลลูยา)
�� บทอ่านจากพระวรสาร
�� บทเทศน์
�� รำพึงเงียบ
�� ประกาศยืนยันศรัทธา
�� บทภาวนาเพื่อมวลชน

��ารประกาศยืนยันศรัทธา
��ีจุดประสงค์ให้ประชากรเห็นพ้องและสนองตอบต่อพระวาจาของพระเจ้าที่ได้จากบทอ่านและการเทศน์และให้ระลึกถึงกฎแห่งศรัทธาก่อนที่จะเริ่มพิธีศีลมหาสนิท
��ทภาวนาเพื่อมวลชน
��นบทภาวนาเพื่อมวลชน สัตบุรุษซึ่งทำหน้าที่สงฆ์ของตน ต่างภาวนาเพื่อมนุษยชาติทั้งมวล ในพิธีบูชาขอบพระคุณจึงควรมีธรรมเนียมภาวนาเช่นนี้พร้อมกับสัตบุรุษ เพื่ออุทิศแกพระศาสนจักร แก่ผู้ปกครองบ้านเมือง แก่ผู้มีความทุกข์และมีความต้องการต่างๆ และแก่มนุษยชาติ รวมทั้งเพื่อประโยชน์สุขของโลกทั้งมวล

��b]ในทางปฏิบัติ การภาวนาเพื่อมวลชนนั้นควรประกอบด้วย 3 ตอนดังนี้คือ[/b]

��.ประธานกล่าวว่า โดยมีจุดประสงค์เพื่อชักนำความตั้งใจของสัตบุรุษให้มุ่งในจุดนี้ และเปิดใจแด่พระคริสตเจ้า
��.การภาวนาตามจุดประสงค์ต่างๆ ซึ่งประกาศโดยสมาชิกคนเดียวหรือหลายๆ คนก็ได้ที่ร่วมประชุมในพิธีนั้น ควรมีความประสงค์ที่มีพระวาจาของพระเจ้าหรือสาระสำคัญเฉพาะของโอกาสฉลองนั้นๆ เป็นเหตุจูงใจอยู่ด้วย
��.ประธานกล่าวสรุปด้วยบทภาวนา ซึ่งเป็นการรวบรวมคำภาวนาต่อพระเป็นเจ้าตามความประสงค์ของสัตบุรุษ

ภาค 2 : พิธีศีลมหาสนิท

��ลังภาควจนพิธีกรรมจะเป็นภาคพิธีบูชาขอบพระคุณ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ตอนดังนี้
��.การเตรียมเครื่องบูชา
��.การสวดบทขอบพระคุณ
��.การรับศีลมหาสนิท
��ามตอนดังกล่าวนี้เป็นการกระทำเหมือนกับที่พระเยซูเจ้าได้กระทำในคืนของวันก่อนที่พระเยซูเจ้ารับทรมาน เมื่อพระองค์ทรงหยิบขนมปังและกาลิกส์ กล่าวขอบพระคุณ ทรงบิปังและแจกจ่ายปังและเหล้าองุ่นให้กับสาวก

��b]1.การเตรียมเครื่องบูชา[/b]


��มื่อเริ่มต้นพิธีศีลมหาสนิท จะมีการนำเครื่องบูชา ซึ่งจะกลายเป็นพระกายและพระโลหิตของพระคริสต์เจ้ามายังพระแท่น ซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งพิธีกรรมศีลมหาสนิท โดยปูผ้ารองกาลิกส์และจานศีล นำผ้าเช็ดถ้วยกาลิกส์ ถ้วยกาลิกส์และหนังสือพิธีบูชาขอบพระคุณวางบนพระแท่น ครั้นแล้วให้นำของถวายมา เป็นการดีที่สัตบุรุษเป็นผู้นำแผ่นปังและเหล้าองุ่นมาถวาย พระสงฆ์หรือสังฆานุกรเป็นผู้รับในที่อันเหมาะสม แล้ววางไว้บนพระแท่น เงินทานหรือของถวายอื่นๆ สำหรับคนยากจนหรือสำหรับวัดที่สัตบุรุษถวายก็รับไว้ได้เช่นกัน แต่ว่าให้นำไปวางไว้ในที่อื่นที่เหมาะสม

��b]2.การสวดบทขอบพระคุณ[/b]

��่วนนี้เป็นศูนย์กลางของการฉลองพิธีบูชาขอบพระคุณ บทขอบพระคุณเป็นการแสดงออกที่สำคัญที่สุดของความเชื่อของพระศาสนจักร บทภาวนาบทนี้เป็นแก่นแท้ของพิธี เป็นบทภาวนาของความเชื่อซึ่งแสดงความเชื่อถึงการกระทำของพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพและทำให้การกระทำของพระองค์เกิดขึ้นในปัจจุบัน

��ทขอบพระคุณถือเป็นบทภาวนาที่มีความครบถ้วนในตัวเอง ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สัมพันธ์กันอย่างสมดุลและต่อเนื่อง จนไม่อาจแยกส่วนออกต่างหาก

��ทขอบพระคุณมีส่วนย่อยๆ ที่ประกอบกันอย่างต่อเนื่องและสัมพันธ์กันดังนี้
�� เริ่มด้วยการโต้ - ตอบรับระหว่างพระสงฆ์กับสัตบุรุษ
�� บทเริ่มขอบพระคุณ ซึ่งพระสงฆ์ในนามของประชากรศักดิ์สิทธิ์ทั้งมวล ถวายสดุดีพระผู้เป็นเจ้าพระบิดา และขอบพระคุณพระองค์สำหรับงานกอบกู้ให้รอดทั้งมวล หรือสำหรับแง่ใดแง่หนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงตามวันฉลองหรือเทศกาลนั้นๆ
�� การถวายสรรเสริญ ประชาสัตบุรุษที่ร่วมประชุมต่างร่วมใจกับชาวสวรรค์ร้องเพลง หรือเปล่งเสียง “ศักดิ์สิทธิ์”
�� บทวอนขอพระจิต ซึ่งเป็นบทที่พระศาสนจักรวิงวินอย่างพิเศษต่อพระอานุภาพของพระจิตเจ้า ได้โปรดบันดาลให้ของถวายนี้กลายเป็นพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้า

��ทขอบพระคุณแบบที่ 2 “ข้าแต่พระบิดาเจ้า พระองค์ทรงเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์อย่างแท้จริง เป็นบ่อเกิดแห่งความศักดิ์สิทธิ์ทุกประการ ขอทรงพระกรุราส่งพระจิต มาบันดาลให้ปังและเหล้าองุ่นนี้ศักดิ์สิทธิ์ เปลี่ยนเป็นพระกายและพระโหิตของพระเยซูคริสตเจ้า สำหรับข้าพเจ้าทั้งหลาย”

�� การบรรยายถึงการตั้งศีลมหาสนิท ทำให้เห็นภาพพจน์ของพระวาจาและการกระทำของพระคริสตเจ้าในเวลารับประทานอาหารค่ำมื้อสุดท้าย ซึ่งเป็นการที่ศีลแห่งพระทรมานและการกลับคืนชีพของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงมอบพระกายและพระโลหิตในรูปปรากฎให้เห็นเป็นแผ่นปังและเหล้าองุ่น ให้บรรดาอัครสาวกรับประทานและดื่ม พร้อมกับทรงสั่งให้กระทำสิ่งนี้ต่อไป
�� บทระลึกถึง ซึ่งพระศาสนจักรผู้ปฏิบัติตามคำสั่งของพระคริสตเจ้าสืบต่อมาจากอัครสาวก โดยหวนระลึกถึงพระทรมาน การกลับคืนพระชนมชีพอย่างรุ่งโรจน์ และการเสด็จสู่สวรรค์ดังที่พระสงฆ์ ภาวนาว่า “ข้าแต่พระบิดาเจ้า ข้าพเจ้าทั้งหลายกำลังระลึกถึงพระทรมานซึ่งพระบุตรได้ทรงรับ เพื่อกอบกู้มนุษย์ให้รอด ระลึกถึงการกลับคืนชีพ ระลึกถึงการเสด็จสู่สวรรค์อย่างรุ่งโรจน์ และพร้อมที่จะรับเสด็จพระองค์ท่านอีกครั้งหนึ่ง” (ในบทขอบพระคุณแบบที่ 3)

�� บทถวายยัญบูชา ส่วนนี้ได้พูดถึงการถวายยัญบูชาของพระคริสตเจ้าและของพระศาสนจักรดังที่พระสงฆ์ภาวนาต่อว่า “ข้าพเจ้าทั้งหลายขอถวายพระบุตรเป็นบูชายัญศักดิ์สิทธิ์อันทรงชีวิตเพื่อขอบพระคุณ โปรดทอดพระเนตรสักการบูชาของพระศาสนจักร โปรดรับเป็นบูชาที่พระบุตรได้ทรงถวาย เพื่อให้ข้าพเจ้าทั้งหลายคืนดีกับพระองค์” (แบบที่ 3)
�� บทวอนพระจิต ครั้งที่ 2 การวอนพระจิตครั้งนี้เป็นการวอนขอพระองค์ได้ โปรดรวบรวมทุกคนให้เป็นหนึ่งเดียวกันจากผลของการรับศีลมหาสนิท หรือให้ศีลมหาสนิทได้ทำให้ชีวิตของเราเกิดผลดังนี้
�� บทแสงวิงวอน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ศีลมหาสนิทเป็นการถวายร่วมกันกับพระศาสนจักรเองและสมาชิกทุกคน ภาวนาเพื่อทั้งที่มีชีวิตและล่วงลับไปแล้ว ทีได้รับการเรียกให้เข้ามีส่วนในการกอบกู้ให้รอดโดยพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้า
�� บทยอพระเกียรติ พระสงฆ์กล่าวหรือร้องว่า “อาศัยพระคริสตเจ้า พร้อมกับพระคริสตเจ้า และในพระ คริสตเจ้า ข้าแต่พระบิดาผู้ทรงสรรพานุภาพ พระองค์ทรงพระสิริรุ่งโรจน์พร้อมกับพระจิตเจ้า ตลอดนิรันดร์” และสัตบุรุษตอบรับว่า “อาเมน”

��ป็นบทสดุดีพระตรีเอกภาพ กล่าวคือ เรานมัสการพระบิดาโดยทางพระคริสตเจ้าผู้เป็นคนกลาง พระคริสตเจ้าผู้เป็นทั้งเครื่องบูชาและผู้ถวาย ในพระคริสตเจ้า นั่นคือเราอาศัยในพระองค์ร่วมเป็นหนึ่งเดียวแน่นแฟ้นกับพระองค์ โดยเฉพาะจากผลการรับศีลมหาสนิท
��ำว่า “อาเมน” เป็นการประกาศยืนยันทุกสิ่งที่พระสงฆ์ได้พูดและกระทำในนามของประชาสัตบุรุษ
��3.การรับศีลมหาสนิท

��ีลำดับขั้นตอนดังนี้
�� บทนำบทข้าแต่พระบิดาขของข้าพเจ้าทั้งหลายเช่น “ให้เราภาวนา ตาที่พระคริสตเจ้าทรงสอนเราว่า”
�� บทข้าแต่พระบิดา ทุกคนร่วมใจภาวนาด้วยบทนี้
�� บทภาวนาที่ต่อเนื่องจากบทข้าแต่พระบิดา
�� พิธีมอบสันติสุข
�� การบิแผ่นปังที่ได้รับการเสกแล้ว การบิแผ่นศีลมหาสนิท เป็นกิริยาอาการที่ให้ความหมายถึงความเป็นหนึ่งเดียว ดังที่นักบุญเปาโลสอนว่า “พวกเราแม้ว่าจะมีหลายคน แต่เป็นกายเดียวกัน เหตุว่าเรามีส่วนในปังก้อนเดียวกัน” (1 คร. 10, 17)
�� เพลงลูกแกะพระเจ้า เป็นเพลงหรือการสวด ประกอบการบิศีลมหาสนิท
�� พระสงฆ์บิแผ่นศีลมหาสนิทเล็กน้อยหย่อนลงในถ้วยกาลิกส์ที่บรรจุพระโลหิตนั้น หมายถึง การรวมเป็นหนึ่งเดียวแห่งพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้าผู้กลับคืนพระชนมชีพและประทับอยู่ท่ามกลางเรา
�� คำภาวนาส่วนตัวของพระสงฆ์เพื่อว่าเขาจะรับพระกายและพระโลหิตอย่างมีผล สัตบุรุษก็ภาวนาเช่นกันเงียบๆ
�� นี่คือลูกแกะพระเจ้า-พระสงฆ์ชูแผ่นศีลมหาสนิทที่บรรดาสัตบุรุษจะได้รับให้แลเห็น และเชิญชวนให้มาร่วมในงานเลี้ยงของพระคริสตเจ้าพร้อมกับสัตบุรุษพระสงฆ์เองเตือนใจให้มีความสุภาพถ่อมตน
�� การรับศีลมหาสนิทการรับศีลมหาสนิทให้ความหมายหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ เป็นการร่วมสนิท เป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้า
�� เป็นการมีส่วนร่วมในงานกอบกู้ของพระคริสตเจ้า
�� เป็นการร่วมสนิทสัมพันธ์กับพี่น้องคริสตชนด้วยกัน
�� พระสงฆ์เอ่ยขณะส่งศีลทมหาสนิทให้สัตบุรุษว่า “พระกายพระคริสตเจ้า-พระโลหิต พระคริสตเจ้า” สัตบุรุษตอบรับว่า “อาเมน”
�� การเช็ดล้างภาชนะศักดิ์สิทธิ์หลังรับศีลมหาสนิท
�� ภาวนาในใจหลังรับศีลมหาสนิท เมื่อเสร็จจากการรับศีลมหาสนิทแล้ว พระสงฆ์และสัตบุรุษภาวนาในใจครู่หนึ่ง นอกนั้นอาจขับร้องทั้งวัดด้วยบทเพลง เพลงสดุดีก็ได้
�� บทภาวนาหลังรับศีลมหาสนิท พระสงฆ์สวดภาวนาหลังรับศีลมหาสนิทเพื่อขอให้ผลจากการถวายบูชานี้ สัตบุรุษร่วมภาวนาและตอบรับ “อาเมน”

ปิดพิธี : หมู่คณะที่ออกไปเป็นพยานถึงพระคริสตเจ้า
�� การอวยพระอย่างสง่าและปิดพิธี พระสงฆ์กล่าวคำอำลาสัตบุรุษว่า “พระเจ้าสถิตกับท่าน” สัตบุรุษตอบรับว่า “และสถิตกับท่านด้วย” ครั้นแล้วพระสงฆ์กล่าวต่อว่า “ขอพระเจ้าผู้ทรงสรรถานุภาพพระบิดา และพระบุตร และพระจิต ประทานพระพรแก่ท่าน” พร้อมกับทำเครื่องหมายกางเขนขณะอวยพร สัตบุรุษตอบ “อาเมน”
�� พระสงฆ์กล่าวต่อไปว่า พิธีสิ้นสุดแล้ว… สัตบุรุษตอบว่า “ขอขอบพระคุณพระเป็นเจ้า”
-��ลังจากนั้นพระสงฆ์และศาสนบริกรแห่ออก
แก้ไขล่าสุดโดย Prod Pran เมื่อ พฤหัสฯ. เม.ย. 21, 2005 7:32 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. เม.ย. 21, 2005 7:39 am

พิธีมหาสนิท
(ผู้บรรยาย ศจ.วิรัช เศรษฐ์โสภณกุล มีนาคม 2004)

1.ความหมายของพิธีมหาสนิท

��พิธีมหาสนิท เป็นพิธีที่ประชากรของพระเจ้ากระทำเพื่อระลึกถึงพันธสัญญาและฟื้นสัมพันธภาพกับพระองค์ และความเป็นหนึ่งเยวกันกับประชากร ในการประกาศการวายพระชนม์ขององค์พระผู้เป็นเจ้าจนกว่าพระองค์จะเสด็จมา คณะธรรมกิจคริสตจักรท้องถิ่นหรือคณะธรรมกิจคริสตจักรภาคเป็นผู้กำหนดวัน เวลาเพื่อประกอบพิธีนี้ตามต้องการและความเหมาะสม” (ระเบียบปฏิบัติของธรรมนูญแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ค.ศ. 2002 ข้อ 74.2 หน้า 43)

2.พระคริสตธรรมคัมภีร์ที่ใช้อ้างอิงถึงพิธีมหาสนิท

มัทธิว. 26:26-29

��ระหว่างอาหารมื้อนั้น พระเยซูทรงหยิบขนมปังมา และเมื่อถวายสาธุการแล้วทรงหัก ส่งให้แก่เหล่าสาวกตรัสว่า “จงรับกินเถิด นี่เป็นกายของเรา” แล้วพระองค์จึงทรงหยิบถ้วยโมทนาพระคุณและส่งให้เขา ตรัสว่า “จงรับไปดื่มทุกคนเถิด ด้วยว่านี่เป็นโลหิตของเราอันเป็นโลหิตแห่งพันธสัญญา” ซึ่งต้องหลั่งออกเพื่อยกบาปโทษคนเป็นอันมาก เราบอกท่านทั้งหลายว่า เราจะไม่ดื่มน้ำผลไม้แห่งเถาองุ่นต่อไปอีกจนวันนั้นมาถึง คือวันที่เราจะดื่มกันใหม่กับพวกท่านในแผ่นดินแห่งพระบิดาของเรา”
มาระโก. 14:22-26

��ระหว่างอาหารมื้อนั้น พระเยซูทรงหยิบขนมปังมา เมื่อถวายคำสาธุการแล้ว ทรงหักส่งให้แก่เหล่าสาวกตรัสว่า “จงรับเถิด นี่เป็นกายของเรา” แล้วพระองค์จึงทรงหยิบถ้วยโมทนาพระคุณและส่งให้เขา เขาก็รับไปดื่มทุกคน แล้วพระองค์ตรัสแก่เขาว่า “นี่เป็นโลหิตของเราอันเป็นโลหิตแห่งพันธสัญญา ซึ่งต้องหลั่งออกเพื่อคนเป็นอันมาก เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า เราจะไม่ดื่มน้ำผลไม้แห่งเถาองุ่นต่อไปอีกจนวันนั้นมาถึง คือวันที่เราจะดื่มใหม่ในแผ่นดินของพระเจ้า” เมื่อร้องเพลงสรรเสริญแล้ว เขาก็พากันออกไปยังภูเขามะกอกเทศ”

ลูกา. 22:15-20

��พระองค์ตรัสกับเขาว่า “เรามีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะกินปัสกานี้กับพวกท่าน ก่อนเราจะต้องทนทุกข์ทรมาน ด้วยเราบอกท่านทั้งหลายว่า เราจะไม่กินปัสกานี้อีก จนกว่าจะสำเร็จความหมายของปัสกานั้น ในแผ่นดินของพระเจ้า” พระองค์ทรงหยิบถ้วยโมทนาพระคุณแล้วตรัสว่า “จงรับถ้วยนี้แบ่งกันดื่ม เพราะเราบอกท่านทั้งหลายว่า เราจะไม่ดื่มน้ำผลแห่งเถาองุ่นต่อไปอีก จนกว่าแผ่นดินของพระเจ้าจะมา” พระองค์ทรงหยิบขนมปังโมทนาพระคุณแล้วหักส่งให้แก่เขาทั้งหลาย ตรัสว่า “นี่เป็นกายของเรา [ซึ่งได้ให้สำหรับท่านทั้งหลาย จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา” เมื่อรับประทานแล้ว จึงทรงหยิบถ้วยกระทำเหมือนกัน ตรัสว่า “ถ้วยนี้ซึ่งเทออกเพื่อท่านทั้งหลายเป็นคำสัญญาใหม่ โดยโลหิตของเรา”]…..”

1 โครินธ์. 11:23-26

��พราะว่าเรื่องซึ่งข้าพเจ้าได้มอบไว้กับท่านแล้วนั้น ข้าพเจ้าได้รับจากองค์พระผู้เป็นเจ้า คือในคืนที่เขาอายัดพระเยซูเจ้านั้น พระองค์ทรงหยิบขนมปัง ครั้นขอบพระคุณแล้วจึงทรงหักแล้วตรัสว่า “นี่เป็นกายของเรา ซึ่งให้แก่ท่านทั้งหลายจงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา” เมื่อรับประทานแล้ว พระองค์จึงทรงหยิบถ้วยด้วยอาการอย่างเดียวกัน ตรัสว่า “ถ้วยนี้คือพันธสัญญาใหม่ โดยโลหิตของเรา เมื่อท่านดื่มจากถ้วยนี้เวลาใด จงดื่มเป็นที่ระลึกถึงเรา” เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายกินขนมปังนี้และดื่มจากถ้วยนี้เวลาใด ท่านก็ประกาศการวายพระชนม์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า จนกว่าพระองค์จะเสด็จมา”

3.ชื่อที่ใช้เกี่ยวกับพิธีมหาสนิท

�� Lord’s Supper หรือ Last Supper (เกี่ยวข้องกับ Passover Meal)
�� Holy Sacrament (รวม 2 พิธีคือ พิธีบัพติสมากับพิธีมหาสนิท)
�� Holy Communion (เกี่ยวข้องกับ Agape Feast และ Koinonia)
�� Holy Eucharist the (Supper of Thankgiving)

4.ความเข้าใจที่หลากหลายในพิธีมหาสนิท

�� คริสตจักรลูเธอแรน สอนว่า พิธีมหาสนิทมีการทรงสถิตของพระเยซูคริสต์เจ้า ขนมปังและเหล้าองุ่นเป็นพระวรกายและพระโลหิตแท้ โดยอ้างจากพระดำรัสของพระเยซูคริสต์เจ้าที่ว่า “นี่เป็นกายของเรา” “นี่เป็นโลหิตของเรา” “ทรงประทานให้และทรงหลั่งพระโลหิตออกเพื่อยกโทษความผิดบาปทั้งหลายของท่าน” (อ้างจากหนังสือ Small Catechism และ Augsburg Confession article 10)

�� คริสตจักรปฏิรูป เพรสไบทีเรียน และคริสตจักรอื่นๆ สอนว่า พิธีมหาสนิทเป็นพิธีระลึกถึงการวายพระชนม์ของ พระเยซูคริสต์เจ้า ตามที่พระองค์ตรัสสั่งไว้ว่า “จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา” “จงดื่มเป็นที่ระลึกถึงเรา” (1 โครินธ์. 11:23-26) สำหรับการทรงสถิตอยู่ของพระเยซูคริสต์เจ้าเป็นการทรงสถิตอยู่กับที่ประชุมหรือบรรดาสมาชิกหรือคริสตจักรทางความเชื่ออ (อ้างจากหนังสือ Confession of Faith ของอูลริค สวิงลี)

�� อย่างไรก็ตามคริสตจักรโปรเตสแตนต์แม้จะมีความหลากหลายในการตีความหมายของพิธีมหาสนิท แต่ทุกคณะก็มีความเห็นเหมือนกันที่ปฏิเสธการแปรสาร (transubstantiation) ในพิธีมหาสนิท

5.รูปแบบการประกอบพิธีมหาสนิท

�� ผู้ประกอบพิธี�� ศาสนาจารย์ หรือศิษยาภิบาล หรือครูศาสนาที่ได้รับมอบหมายจากคริสตจักรภาค หรือผู้ปกครองที่ได้รับมอบหมายจากคริสตจักรภาค หรือผู้นำที่ได้รับมอบหมายจากคริสตจักรท้องถิ่น
�� ผู้ร่วมประกอบพิธี : คณะผู้ปกครอง หรือมัคนายก
�� ผู้รับพิธีมหาสนิท : สมาชิกสมบูรณ์ของคริสตจักรท้องถิ่น หรือผู้ที่เชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์เจ้า เป็นพระผู้ช่วยให้รอดเป็นส่วนตัวแล้ว���� การรับมหาสนิท : ผู้ประกอบพิธีจะให้ทั้งขนมปังและเหล้าองุ่นแก่ผู้รับพิธีมหาสนิท
-��ำหนดเวลาประกอบพิธีมหาสนิท : ไม่มีข้อกำหนดตายตัว ขึ้นอยู่กับคริสตจักรท้องถิ่นแต่ละแห่ง แต่โดยทั่วไปคริสตจักรส่วนใหญ่กำหนดเดือนละครั้ง


หมายเหตุ: โปรเตสแตนต์ได้นำส่วนของมหาสนิท แยกออกมา แต่ไม่พูดถึงรูปแบบส่วนแรก ที่ คาทอลิก เรียก"วจนะพิธีกรรม" ส่วนนั้นมีการเทศนา อยู่ด้วยค่ะ
แก้ไขล่าสุดโดย Prod Pran เมื่อ พฤหัสฯ. เม.ย. 21, 2005 7:40 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
Announcer

พฤหัสฯ. เม.ย. 21, 2005 9:07 am

อืม ดีเชียว รู้ยอะขึ้นกว่าเดิมเลยน่ะ ;)
NNS

ศุกร์ เม.ย. 22, 2005 11:39 pm

ขอบคุณมากครับที่กรุณาแบ่งปันความรู้จากการสัมนา

เท่าที่แล้วมา พี่น้องชาวโปรเตสตันท์บางท่าน ยังอาจกังขาว่า ทำไมทางคาทอลิกจึงไม่อนุญาตให้พี่น้องชาวโปรฯ รับศีลมหาสนิทในโบสถ์คาทอลิก พอดีเห็นข้อความหนึ่ง จึงอยากให้พี่น้องโปรเตสตันท์ได้โปรดทำความเข้าใจว่าตามข้อความเชื่อของทางโปรฯ ท่านปฎิเสธการแปรสาร (transubstantiation) ในพิธีมหาสนิท (หมายถึงปฎิเสธว่า แผ่นปังและเหล้าองุ่นที่ผ่านการเสกในพิธีบูชามิสซาขอบพระคุณของทางคาทอลิก ได้เปลี่ยนเป็นพระกายและพระโลหิตของพระเยซูเจ้า
Prod Pran เขียน: พิธีมหาสนิท
(ผู้บรรยาย ศจ.วิรัช เศรษฐ์โสภณกุล มีนาคม 2004)

1.ความหมายของพิธีมหาสนิท

อย่างไรก็ตามคริสตจักรโปรเตสแตนต์แม้จะมีความหลากหลายในการตีความหมายของพิธีมหาสนิท แต่ทุกคณะก็มีความเห็นเหมือนกันที่ปฏิเสธการแปรสาร (transubstantiation) ในพิธีมหาสนิท
และตามข้อความเชื่อของทางคาทอลิกนั้น

การรับศีลมหาสนิทในโบสถ์คาทอลิคนั้น สงวนไว้สำหรับคาทอลิคที่ได้เตรียมตัวมาอย่างดีแล้วเท่านั้น ดังนั้นพี่น้องชาวคริสเตียนจึงไม่สามารถรับศีลมหาสนิทในโบสถ์คาทอลิคได้ครับผม สำหรับเหตุผลมีดังต่อไปนี้ครับ
ก่อนอื่น ต้องขอเรียนชี้แจงว่า ในศาสนาคาทอลิคนั้น เรามีข้อความเชื่อว่า ในขณะที่พระสงฆ์ เสกปัง และเหล้าองุ่น (ในพิธีมิซซา) ปังก็ได้เปลี่ยนเป็นพระกาย และเหล้าองุ่นได้เปลี่ยนเป็นพระโลหิตของพระเยซูคริสตเจ้า (The Doctrine of Transubstantiation) แต่เนื่องจากพี่น้องชาวคริสเตียนไม่เชื่อในเรื่องนี้ จึงไม่สามารถรับศีลมหาสนิทในโบสถ์คาทอลิคได้

นอกจากนี้ แม้แต่ผู้ที่เป็นคาทอลิคแล้ว จะสามารถรับศีลมหาสนิทได้ ก็ต่อเมื่อได้มีการเตรียมตัวมาแล้วเป็นอย่างดี คือ

๑) คาทอลิคที่จะรับศีลมหาสนิทได้นั้น ต้องไม่มีบาปหนัก (mortal sin) ติดตัว

๒) หากคาทอลิคได้ทำบาปหนัก ก็จะต้องทำการสารภาพบาปเสียก่อนจึงจะสามารถรับศีลมหาสนิทได้

๓) คาทอลิคผู้ที่จะรับศีลมหาสนิทได้ จะต้องเชื่อใน Doctrine of Transubstantiation (ตามที่ได้อธิบายไว้แล้วตามข้อความข้างบนนี้) คือ จะต้องเชื่อว่า ปังได้เปลี่ยนเป็นพระกาย และเหล้าองุ่นได้เปลี่ยนเป็นพระโลหิต ของพระเยซูคริสตเจ้า

๔) คาทอลิคผู้ที่จะรับศีลมหาสนิทจะต้องทำการอดอาหารเป็นเวลาอย่างน้อย หนึ่งชั่วโมงก่อนการรับศีลมหาสนิท

๕) คาทอลิคผู้ที่จะรับศีลมหาสนิทได้นั้น จะต้องผ่านพิธีการรับศีลมหาสนิทครั้งแรกเสียก่อน ซึ่งส่วนใหญ่จะทำเมื่อผู้นั้น มีอายุที่รู้จักผิดชอบชั่วดีแล้ว ซึ่งหมายความว่า ผู้นั้นสามารถเข้าใจถึงความหมายของการรับพระกายและพระโลหิตของพระเยซูคริสตเจ้า และมีความเชื่อและความศรัทธาอย่างแท้จริง

ข้อสุดท้าย) คาทอลิคที่จะสามารถรับศีลมหาสนิทได้นั้น จะต้องไม่ถูกตัดขาดจากพระศาสนจักร (excommunication)

ที่อธิบายมาข้างต้น คือเหตุผลโดยสังเขปนะครับ


16-02-2001 11:33:08
ภาพประจำตัวสมาชิก
Deo Gratias
โพสต์: 1100
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. มี.ค. 16, 2006 11:53 pm

อังคาร ก.พ. 13, 2007 4:42 pm

ดีจังเลย อยากไปสัมมนาเร็วๆจัง รอให้อยู่ปี4 ก่อน เด๋วได้ไปแน่ อยากติดต่อคุยกะพี่ P.P.เป็นการส่วนตัวจัง เกีี่ยวกับเรื่องเอกสัมพันธ์นี่แหละค่ะ พอดีมีนิมิตด้านนี้ เผื่อพี่จามีอะไรแนะนำได้บ้าง
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

พุธ ก.พ. 14, 2007 7:17 pm

[+:Martha:+] เขียน: ดีจังเลย อยากไปสัมมนาเร็วๆจัง รอให้อยู่ปี4 ก่อน เด๋วได้ไปแน่ อยากติดต่อคุยกะพี่ P.P.เป็นการส่วนตัวจัง เกีี่ยวกับเรื่องเอกสัมพันธ์นี่แหละค่ะ พอดีมีนิมิตด้านนี้ เผื่อพี่จามีอะไรแนะนำได้บ้าง
คุณมาร์ธา เป็นนักศึกษาสถาบันไหนล่ะ ถึงมีโอกาสไปเข้าค่าย นี้ ลอง ไอเอ็ม ไปหาพี่พีพี ดิ แนะนำตัวเองด้วย :grin:
Mint
โพสต์: 2
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ พ.ย. 04, 2006 11:26 pm

อังคาร มี.ค. 20, 2007 8:02 pm

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราควรจะอยู่โปรแตสเตนท์ หรือ คาทอลิก เพราะโปรเตสเตนท์เชื่อว่า ทางนี้เท่านั้นที่รอด แต่ จริงๆแล้วคาทอลิกก็เชื่อพระเยซูเหมือนกันแล้วคาทอลิคจะรอดไหม : emo045 :
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

ศุกร์ มี.ค. 23, 2007 5:30 pm

Mint เขียน: แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราควรจะอยู่โปรแตสเตนท์ หรือ คาทอลิก เพราะโปรเตสเตนท์เชื่อว่า ทางนี้เท่านั้นที่รอด แต่ จริงๆแล้วคาทอลิกก็เชื่อพระเยซูเหมือนกันแล้วคาทอลิคจะรอดไหม : emo045 :
ทางนี้ที่ว่าคือทางไหนครับ ถ้าพูดว่า ทางคริสตจักรฉันเท่านั้นที่รอด ก็สอนผิดพระคัมภีร์ครับ เพราะพระเยซูสอนว่ารอดทางพระองค์ไม่ใช่รอดทางคริสตจักรใดคริสตจักรหนึ่งที่มนุษย์ก่อตั้งกันขึ้น

ในส่วนคริสตจักรอื่นผมไม่ทราบ แต่สำหรับพระศาสนจักรคาทอลิคนั้น ผู้ที่เชื่อและปฏิบัติตามอย่างที่พระองค์สอนจะรอดแน่นอน

ลองอ่านอันนี้ครับ สิ่งนี้เกิดขึ้นในพระศาสนจักรคาทอลิค พระเยซูเจ้าไขแสดงผ่านพระศาสนจักรคาทอลิคถ้าไม่รอดคงไม่เสด็จมาบอกเอง

http://www.newmana.com/yabb/index.php?topic=1331.0
ภาพประจำตัวสมาชิก
Deo Gratias
โพสต์: 1100
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. มี.ค. 16, 2006 11:53 pm

เสาร์ ส.ค. 11, 2007 4:25 pm

Jeab Agape เขียน:
[+:Martha:+] เขียน: ดีจังเลย อยากไปสัมมนาเร็วๆจัง รอให้อยู่ปี4 ก่อน เด๋วได้ไปแน่ อยากติดต่อคุยกะพี่ P.P.เป็นการส่วนตัวจัง เกีี่ยวกับเรื่องเอกสัมพันธ์นี่แหละค่ะ พอดีมีนิมิตด้านนี้ เผื่อพี่จามีอะไรแนะนำได้บ้าง
คุณมาร์ธา เป็นนักศึกษาสถาบันไหนล่ะ ถึงมีโอกาสไปเข้าค่าย นี้ ลอง ไอเอ็ม ไปหาพี่พีพี ดิ แนะนำตัวเองด้วย :grin:
เหอๆ ว่าไปก็แปลก ลืมกระทู้นี้ไปเลยนะเนี่ย ตอนนั้นอยู่แสงธรรม คริสตศาสนศึกษา ได้ไปปี 2010 แต่ตอนนี้ย้ายแล้วค่ะ แต่ก็ได้ไปอยู่ดีแหละ :grin: แต่ช้าไปปีนึง ถ้าไม่สองปลาทองเรียนซ้ำชั้น ก็คงเป็นรอบ 2011 มั้ง  ถึงตอนนั้นเพื่อนเก่าอยู่ปี4กันหมด เราอยู่ปี3 อดเจอเพื่อนเลย :cry:

ส่วนเรื่องไอเอ็มไปหาพี่พีพีอะ ทำแล้ว 555555555555555+ ไม่อยากจะเชื่อเลยด้วยซ้ำ พระเจ้าน่ารักมาก : xemo029 : :grin: :grin: :grin:
panali
โพสต์: 56
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ พ.ย. 12, 2007 11:09 pm
ที่อยู่: กรุงเทพฯ

จันทร์ พ.ย. 19, 2007 11:26 pm

โอ้โห แค่ได้อ่านี่ก็ตื่นเต้นแล้ว เคยได้ยินว้ามีการสัมมนากันระหว่างคาทอลิกกับโปรเตสแตนท์ แต่ไม่เคยรู้เลยว่าลงรายละเอียดกันขนาดนี้ น่าตื่นเต้นจังครับ อยากไปด้วยจังถ้าจัดอีกครั้งหนึ่ง
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

อังคาร พ.ย. 20, 2007 5:46 am

panali เขียน: โอ้โห แค่ได้อ่านี่ก็ตื่นเต้นแล้ว เคยได้ยินว้ามีการสัมมนากันระหว่างคาทอลิกกับโปรเตสแตนท์ แต่ไม่เคยรู้เลยว่าลงรายละเอียดกันขนาดนี้ น่าตื่นเต้นจังครับ อยากไปด้วยจังถ้าจัดอีกครั้งหนึ่ง
เราจัดทุกปีค่ะ ในเดือน มกราคม เดือนแห่งการภาวนา สากล การเข้าค่าย ยังเฉพาะกลุ่มค่ะ คือนักศึกษาพระคริสตธรรม และบราเด้อร์ ชั้นปีสุดท้าย

แต่ถ้าฆราวาสอยากร่วม ต้องมีการคัด จากกรรมการ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ที่คนๆนั้นต้องการเรียนรู้อย่างแท้จริง ไม่ใช่ไปเพื่อจับผิด ไปด้วยอคติ เพราะแทนที่จะมีความสัมพันธ์ กลับไปทำลายความสัมพันธ์

ถ้าน้องเคนอยากร่วม "งานแรกที่อยากให้ไปคือ การภาวนาสากล (อธิษฐานสากล ) ในเดือน มกราคม ค่ะ พี่เอง (เมื่อก่อนน้องเพชร )จะไปเกือบทุกปี ในปีนี้ คงใช้สถานที่ของ โปรเตสแตนต์ เพราะปีที่แล้วใช้ของคาทอลิก แล้วจะแจ้งให้ทราบค่ะ
matt75
โพสต์: 4
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ต.ค. 31, 2007 9:11 pm

อังคาร พ.ย. 20, 2007 10:07 am

"สถาบันแสงธรรมล้ำเด่น เปรียบเป็นแสงธรรมนำชีวา มีคุณธรรมนำคุณค่าปัญญา มุ่งมั่นศึกษามุ่งพัฒนาความดี......"


ฮือๆๆ : xemo023 :คิดฮอดแสงธรรมจังเลย....เพื่อนๆฝูงๆก็เป็นคุณพ่อไปกันหมดแล้ว


ส่วนเรื่องสัมมนานี้ เคยไปครั้งหนึ่งที่ ศูนย์สังฆมณฑลจันทบุรี ตอนนั้นก็ปี 4 ครับ สนุกมาก

เริ่มต้น...ด้วยเรื่องพระคัมภีร์ "พยักหน้ารับกัน...ทุกคน"

วันต่อมา เรื่องพิธีกรรมและการปกครอง "ได้รู้จักเรื่องของนิกายอื่นๆ..อืม..อ๋อ...พวกเขาเป็นอย่างนี้"

วันสุดท้าย ถึงเรื่องสุดยอดครับ ว่าด้วยเรื่อง "แม่พระ" เท่านั้นละครับ....แสดงความคิดเห็นกันจน จน..จนคุณพ่อไพศาล กล่าวจบการสัมนาทันทีเลย...

คิดถึงคุณพ่อไพศาลจัง :angel:...ป่านนี้คงได้ไปอยู่กับแม่พระแล้วนะครับคุณพ่อเขียวของผม
matt75
โพสต์: 4
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ต.ค. 31, 2007 9:11 pm

อังคาร พ.ย. 20, 2007 10:11 am

พอกลับไปอ่านเนื้อหา..ด้านหน้า...ทำไมมันคุ้นๆจัง... : xemo029 : : xemo033 : ครั้งนี่แหล่ะที่ผมไปร่วมด้วย...
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พุธ พ.ย. 21, 2007 6:14 am

matt75 เขียน:
"สถาบันแสงธรรมล้ำเด่น เปรียบเป็นแสงธรรมนำชีวา มีคุณธรรมนำคุณค่าปัญญา มุ่งมั่นศึกษามุ่งพัฒนาความดี......"
ฮือๆๆ : xemo023 :คิดฮอดแสงธรรมจังเลย....เพื่อนๆฝูงๆก็เป็นคุณพ่อไปกันหมดแล้ว
ส่วนเรื่องสัมมนานี้ เคยไปครั้งหนึ่งที่ ศูนย์สังฆมณฑลจันทบุรี ตอนนั้นก็ปี 4 ครับ สนุกมาก
เริ่มต้น...ด้วยเรื่องพระคัมภีร์ "พยักหน้ารับกัน...ทุกคน"
วันต่อมา เรื่องพิธีกรรมและการปกครอง "ได้รู้จักเรื่องของนิกายอื่นๆ..อืม..อ๋อ...พวกเขาเป็นอย่างนี้"
วันสุดท้าย ถึงเรื่องสุดยอดครับ ว่าด้วยเรื่อง "แม่พระ" เท่านั้นละครับ....แสดงความคิดเห็นกันจน จน..จนคุณพ่อไพศาล กล่าวจบการสัมนาทันทีเลย...
หลังจากครั้งนั้น เราไปที่ศูนย์พระมหาไถ่พัทยา ตอนที่ไปพัทยา เด็กๆฝ่าย พี่งงมาก เพราะพวกพ่อ พวกเณร ไปดูทิฟฟานี่ :cheesy:

ครั้งนั้นเชิญพ่อสมเกียรติไปพูดเรื่องพระคัมภีร์ ท่านเลยถามกรรมการว่า ทำไมไม่ไปบ้านผู้หว่าน พ่อเขียวบอกว่า บ้านผู้หว่าน แพง พ่อสมเกียรติ
บอกว่า ถ้าไปจะให้ราคาเดียวกับ ศูนย์พระมหาไถ่ (แต่รู้สึก เณรแสงธรรม ไม่ค่อยจะแฮปปี้เท่าไหร่ เพราะ 1 จำเจ 2 ต้องเป็นเจ้าภาพ )

เมื่อวานพี่เพิ่งไปประชุม กรรมการจัดค่ายสัมมนาข้อเชื่อ พ่อกี้ไป พ่อเจริญไป พ่อวุฒิชัย เป็นประธานการประชุม แทนพ่อเสนอ ดำเนินสะดวก

หัวข้อค่าย ได้ปรับหลายๆอย่างแล้ว กันการทะเลาะ เราจึง ให้การอบรมผู้เข้าร่วมค่าย ต้องให้ความเคารพ ความคิดของคนอื่น และต่อมาเราจะกลั่น
กรองคำถาม คำถามไหน ที่จะนำไปสู่การหมางใจคัดออก ค่ะ

เพื่อนของบราเด้อร์ เป็นสังฆานุกร แล้วนี่คะ เห็นว่าปีนี้มีเณร ปี 7 20 คน แล้วน้องพลาดได้อย่างไร  ตอนนี้ทำอะไรอยู่ที่ไหนคะ :wink:

นี่คือหัวข้อที่เพิ่มเข้ามาค่ะ
viewtopic.php?f=13&t=2647
ภาพประจำตัวสมาชิก
Deo Gratias
โพสต์: 1100
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. มี.ค. 16, 2006 11:53 pm

อาทิตย์ ก.ย. 20, 2009 10:35 pm

Deo Gratias เขียน:
Jeab Agape เขียน:
[+:Martha:+] เขียน: ดีจังเลย อยากไปสัมมนาเร็วๆจัง รอให้อยู่ปี4 ก่อน เด๋วได้ไปแน่ อยากติดต่อคุยกะพี่ P.P.เป็นการส่วนตัวจัง เกีี่ยวกับเรื่องเอกสัมพันธ์นี่แหละค่ะ พอดีมีนิมิตด้านนี้ เผื่อพี่จามีอะไรแนะนำได้บ้าง
คุณมาร์ธา เป็นนักศึกษาสถาบันไหนล่ะ ถึงมีโอกาสไปเข้าค่าย นี้ ลอง ไอเอ็ม ไปหาพี่พีพี ดิ แนะนำตัวเองด้วย :grin:
เหอๆ ว่าไปก็แปลก ลืมกระทู้นี้ไปเลยนะเนี่ย ตอนนั้นอยู่แสงธรรม คริสตศาสนศึกษา ได้ไปปี 2010 แต่ตอนนี้ย้ายแล้วค่ะ แต่ก็ได้ไปอยู่ดีแหละ :grin: แต่ช้าไปปีนึง ถ้าไม่สองปลาทองเรียนซ้ำชั้น ก็คงเป็นรอบ 2011 มั้ง  ถึงตอนนั้นเพื่อนเก่าอยู่ปี4กันหมด เราอยู่ปี3 อดเจอเพื่อนเลย :cry:

ส่วนเรื่องไอเอ็มไปหาพี่พีพีอะ ทำแล้ว 555555555555555+ ไม่อยากจะเชื่อเลยด้วยซ้ำ พระเจ้าน่ารักมาก : xemo029 : :grin: :grin: :grin:
ชีวิตมันเศร้า เพราะเราทำเอง อยากจะร้องไห้มากๆ คงอีก 5-6 ปี มั้งกว่าจะได้ไป แต่เชื่อว่าจะได้ไปแน่
แทบไม่อยากให้อภัยตัวเอง แค่ป่วยนิดหน่อยทำเป็นอ่อนแอ ไม่อดทน คิดได้อีกทีก็สายไปแล้ว
: xemo023 : : xemo023 : : xemo023 : : xemo023 : : xemo023 : : xemo023 : : xemo023 :
ภาพประจำตัวสมาชิก
Andreas
~@
โพสต์: 3131
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 7:47 am
ที่อยู่: Bangkok
ติดต่อ:

อังคาร ก.พ. 23, 2010 2:21 pm

ขอเชิญติดตามอ่านข่าวเกี่ยวกับการสัมมนาข้อเชื่อที่ผ่านมาได้ในอุดมสารฉบับประจำวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม 2010

มีรูปให้ก็ไม่รู้ในทรงผมจ๊าบมาก ๆ เลย
แก้ไขล่าสุดโดย Andreas เมื่อ พุธ ก.พ. 24, 2010 10:06 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

อังคาร ก.พ. 23, 2010 8:14 pm

Andreas เขียน: มีรูปให้ก็ไม่รู้ในอุดมสารฉบับประจำวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม 2010 ด้วย ทรงผมจ๊าบมาก ๆ เลย
แสกนส่งไปให้ดูหน่อยดิ อยากเห็นเหมือนกัน อิอิ : xemo026 :
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. ธ.ค. 30, 2010 10:10 am

ปี 2011 มีสัมมนาข้อเชื่อครั้งที่ 8 ที่บ้านผู้หว่าน สามพราน

ระหว่างวันที่ 14-16 มกราคม 2011 ค่ะ
ตอบกลับโพส