สมณสาสน์ "เริ่มต้นสหัสวรรษใหม่" ของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2

ถาม-ตอบพระคัมภีร์ เรื่องเสริมศรัทธา ความรู้ และสาระ บทความ ในคริสตศาสนา
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
ignatius
.
.
โพสต์: 2597
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2008 12:48 pm

ศุกร์ มี.ค. 13, 2009 12:57 am

สมณสาสน์ "เริ่มต้นสหัสวรรษใหม่" ของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2
ได้ทรงแนะนำแผนการฟื้นฟูชีวิตจิตคริสตชนที่พบในพระวรสาร ซึ่งมีพระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นศูนย์กลาง
และเป็นแบบอย่าง เพื่อเราจะได้ดำเนินชีวิตพระตรีเอกภาพในพระองค์ และเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ร่วมกับพระองค์
เป็นการดำเนินชีวิตตามกระแสเรียกสู่ความศักดิ์สิทธิ์ สู่มาตรฐานที่สูงส่งของการดำเนินชีวิตคริสตนชนโดยมี...
1.) การภาวนา
2.) การร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ โดยเฉพาะในวันอาทิตย์
3.) การรับศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดี
4.) ความเป็นเอกแห่งพระหรรษาทาน คือ การทำงานอภิบาลและการภาวนาควบคู่กัน
5.) การรับฟังพระวาจาของพระเจ้า
6.) การประกาศพระวาจาของพระเจ้า
7.) การดำเนินชีวิตจิตแห่งความเป็นหนึ่งเดียว (NMI 30-41, 43-45)

(NMI = Novo Millennio Inuente ) 2001


(มีต่อ)
แก้ไขล่าสุดโดย ignatius เมื่อ อังคาร มี.ค. 17, 2009 2:14 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
Viridian
โพสต์: 2762
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ก.ค. 30, 2008 11:40 pm

ศุกร์ มี.ค. 13, 2009 1:35 am

ว้าวววววว แค่อ่านแค่นี้ ก็น่าติดตามต่อแล้ว : emo010 :
Dis volentibus

ศุกร์ มี.ค. 13, 2009 1:37 am

รอคอย(ภาคต่อ) อย่างมีความหวัง  : xemo026 :
ภาพประจำตัวสมาชิก
sasuke
~@
โพสต์: 1120
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ธ.ค. 06, 2006 12:00 am
ที่อยู่: ใต้เสื้อคลุมของแม่

ศุกร์ มี.ค. 13, 2009 3:04 am

ปูเสื่อรออ่าน
ภาพประจำตัวสมาชิก
ignatius
.
.
โพสต์: 2597
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2008 12:48 pm

ศุกร์ มี.ค. 13, 2009 7:28 am

Viridian เขียน: ว้าวววววว แค่อ่านแค่นี้ ก็น่าติดตามต่อแล้ว : emo010 :
Ecclēsia เขียน: รอคอย(ภาคต่อ) อย่างมีความหวัง  : xemo026 :
sasuke เขียน: ปูเสื่อรออ่าน
ขอบคุณมากคะที่เป็นกำลังใจให้ในการพิมพ์
ขอพระอยพรและขอพระจิตเจ้านำทางในทุกๆกิจการนะคะ ::001::
ภาพประจำตัวสมาชิก
ignatius
.
.
โพสต์: 2597
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2008 12:48 pm

ศุกร์ มี.ค. 13, 2009 8:13 am

วิถีชีวิตจิตแห่งความเป็นหนึ่งเดียวแบบองค์รวม และความเป็นมา
สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 ได้ทรงแนะนำในสมณสาสน์" เริ่มต้นสหัสวรรษใหม่" ได้กล่าวไว้ว่า

"จงแล่นเรือออกไปที่ลึก" (ลก 5:4)

"ให้จดจำด้วยความกตัญญู ให้ดำเนินชีวิตในปัจจุบันด้วยความกระตือรืนร้นและให้มองสู่อนาคตด้วยความวางใจ
เพราะ "พระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นองค์เดียวเสมอทั้งในอดีต  ปัจจุบัน และตลอดไป" (ฮบ 13:8)

พระสันตะปาปา ได้ทรงแนะนำแผนการฟื้นฟูชีวิตคริสตชน โดยมีแนวทางดังนี้

1.) การภาวนา
ต้องเรียนรู้ศิลปะแห่งการภาวนา ทำให้กลุ่มคริสตชน วัด บ้านอบรม ครอบครัว
เป็นโรงเรียนและบ้านแห่งการภาวนา ต้องมีการศึกษาเรื่องการภาวนาในแผนงานอภิบาล


2.) การร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ โดยเฉพาะวันอาทิตย์
วันของพระเจ้า และวันของพระศาสนจักรต้องทำให้เป็นจุดยอดแห่ง
กิจการทั้งหลาย และเป็นแหล่งพลังทั้งสิ้นของพระศาสนจักร


3.) การรับศีลแห่งการคืนดี
เป็นการพบพระเยซูคริสตเจ้า "องค์ธรรมลำ้ลึกแห่งความเมตตากรุณา"

4.) การให้ความเป็นเอกแก่พระหรรษทาน
การสืบสานงานของพระเยซูคริสตเจ้า เป็นการร่วมมือกับพระหรรษาทานของพระเจ้า
ดังนั้น จึงต้องมีการภาวนาและทำงานอภิบาลเผยแผ่ธรรมควบคู่กันไปเสมอ


[5.) การรับฟังพระวาจา/color]
แต่ละครอบครัวและกลุ่มคริสตชน มีการอ่านพระคัมภีร์ มีการรำพึงภาวนาอาศัยพระคัมภีร์(Lectio Divina)

6.) ประกาศพระวาจาของพระเจ้า
มีการประกาศพระวาจาของพระเจ้าแก่ทุกคน ด้วยความร้อนรนเช่นเดียวกับนักบุญเปาโล
(1 คร 9:16-22) ให้ความสนใจบรรดาเยาวชน และมองดูผู้เป็นประจักษ์พยานแห่งความเชื่อ


7.) ดำเนินชีวิตจิตแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกัน (NMI 30-41,43-45)
ทำให้พระศาสนจักรเป็นบ้านและโรงเรียนแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกัน
เพื่อสะท้อนชีวิตธรรมลำ้ลึกแห่งพระตรีเอกภาพ

นอกจากนั้นพระศาสนจักรควรส่งเสริมทุกคนให้ดำเนินตามกระแสเรียกของตน และใช้พระพรของพระจิตเจ้าเพื่อรับใช้ส่วนรวม
ส่งเสริมกระแสเรียกพระสงฆ์ นักบวชและฆารวาส อภิบาลครอบครัว มุ่งมั่นอุทิศในงานคริสตสัมพันธ์ ปฏิบัติตามคำสอนของ
พระศาสนจักรด้านสังคม การช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆของโลกปัจจุบัน ส่งเสริมการเสวนากับศาสนาต่างๆ และเดินตามแนวทางของ
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2

....ให้ก้าวสู่สหัสวรรษใหม่ด้วยความหวังและกระตือรือร้นเช่นเดียวกับคริสตชนรุ่นแรก
เรา คริสตชนทุกคนที่รวมกันเป็นพระสาสนจักร มีพระมารดามารีย์พรหมจารี และพระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ
ทรงร่วมเดินทางไปกับเรา เราสามารถหวังพึ่งพระอานุภาพของพระจิตเจ้าพระองค์เดียวกัน พระองค์ทรงหลั่งพระพรในที่ที่พระองค์เสด็จมา
และทรงนำเราอยู่จนถึงทุกวันนี้ ให้เริ่มต้นใหม่โดยไว้วางใจในความช่วยเหลือจุนเจือ
     
"ความหวังนี้ไม่ทำให้เราผิดหวัง เพราะพระจิตเจ้าซึ่งพระเจ้าประทานให้เรา
ทรงหลั่งความรักของพระเจ้าลงในดวงใจของเรา" (รม 5:5) (NMI 1:58-59)


ก่อนที่จะวางแผนภาคปฏิบัติจำเป็นต้อง "ส่งเสริมชีวิตจิตแห่งความเป็นหนึ่งเดียว"
ชีวิตจิตแห่งความเป็นหนึ่งเดียวเป็นพระพรพิเศษสำหรับทุกคน ในประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักร พระจิตเจ้าได้ประทานพระพรพิเศษ
ให้กับบุคคลต่างๆ ในยุคสมัยต่างๆ เพื่อช่วยฟื้นฟูชีวิตของพระศาสนจักร ในปัจจุบันมีความต้องการความเป็นนำ้หนึ่งใจเดียวกันของ
มนุษยชาติมากที่สุด พระจิตเจ้าทรงดลใจให้เกิดขบวนการต่างๆ เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกัน

การดำเนินชีวิตประจำวันตามพระวรสาร ทำให้เกิดแนวชีวิตจิตใหม่ คือวิถีชีวิตจิตแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกันมีด้งนี้

1. "พระเจ้าทรงเป็นองค์ความรัก" (1 ยน 4:8,16)

พระเจ้าทรงเป็นบิดาของครอบครัวมนุษยชาติ (มธ 6:9) บทเรียนจากสงครามสอนว่า..
"..ทุกสิ่งล้วนอนิจจัง ทุกสิ่งจะผ่านพ้นไป" (ปญจ 1:2)
มีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่คงอยู่นิรันดร เราจึงควรเลือกพระเจ้าเป็นอุดมคติลำดับแรกในชีวิต
การตระหนักว่า "พระเจ้าทรงเป็นองค์ความรัก" ทำให้กลับใจและเปลี่ยนแปลงวิถึชีวิต ทำให้เรามิได้เป็นลูกกำพร้า แต่เป็นลูกพระบิดาเจ้า
และมนุษย์ทุกคนเป็นพี่น้องกัน เรามิได้เชื่อถึงพระเจ้าเท่านั้น

"เรารู้และเชื่อในความรักที่พระองค์ทรงมีต่อเรา" (1 ยน 4:16)
"จงมีความรักเถิด เพราะพระองค์ทรงรักเราก่อน" ( 1 ยน 4:19)
พระคัมภีร์กล่าวว่า.."ผู้ที่รักเรา พระบิดาของเราก็จะทรงรักเขา และเราเองก็รักเขา และแสดงตนแก่เขา" (ยน 14:21)
พระเจ้าทรงทำให้เราเข้าใจมากขึ้นว่า การรักพระเจ้ามิใช่เป้นเพียงอารมณ์และความรู้สึก แต่เป็นการปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระองค์
ในแต่ละขณะในปัจจุบัน


2. พระประสงค์ของพระเจ้า
เป็นหนทางสู่ความเป็นผู้ครบครันสำหรับทุกคน เป็นวิถีทางที่เราจะตอบรับความรักของพระเจ้าในชีวิตของเรา
พระคัมภีร์กล่าวว่า.."คนที่กล่าวแก่เราว่า "พระเจ้าข้า พระเจ้าข้า" นั่น มิใช่ทุกคนจะได้เข้าสู่อาณาจักรสวรรค์ แต่ผู้ที่ปฏิบัติตามพระประสงค์
ของพระบิดาของเรา ผู้สถิตในสวรรค์นั่นแหละ จะเข้าสู่สวรรค์ได้"
(มธ 7:21) มนุษย์ทุกคนสามารถปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้าโดย
ปฏิบัติตามเสียงมโนธรรมที่ให้ทำความดี และหลีกหนีความชั่ว ปฏิบัติคุณธรรมความรัก และปฏิบัติตามพระบัญญัติและพระวรสาร ทำตาม
บทบาทและหน้าที่ในชีวิตของแต่ละคน นี่ืคือ หนทางสู่ความศักดิ์สิทธิ์ครบครันสำหรับทุกคน


3. ความรักต่อเพื่อนพี่น้อง
พระประสงค์ของพระเจ้าที่สำคัญคือ ความรักต่อเพื่อนพี่น้อง พระเยซูเจ้าได้ทรงสรุป บทบัญญัติเอกคือ ..
"รักพระเจ้าสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดสติปัญญาและรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง" (มธ 22:37-39) เป็นบทสรุปของกฏเกณฑ์และคำสั่งสอน
ของบรรดาประกาศก เป็น "กฎทอง" ของทุกศาสนา การเรียนรู้ที่จะรักโดยมีศิลปะแห่งรัก คือรักทุกคน ทำตนให้เป็นหนึ่งเดียวกับผู้อื่น
ดำเนินชีวิตเพื่อผู้อื่นและรักเป็นคนแรก พระคัมภีร์กล่าวว่า.." เรารู้ว่า เราผ่านความตายมาสู่ชีวิตแล้ว เพราะเรารักพี่น้อง" (1 ยน 3:14)

4. พระวาจาทรงชีวิต
เพื่อความเป็นหนึ่งใจเดียวกัน พระวรสารเป็นพระวาจาของพระเจ้า เป็นแหล่งกำเนิดชีวิต (1 ยน 1:1; ยน 6:68; ฟป 2:16;
กจ 5:20;13:26) คนที่มีอายุมาก แต่ยังอ่านหนังสือไม่ได้ เพราะไม่ได้เรียนรู้อักษรและหลักไวยากรณ์ เช่นเดียวกัน คริสตชนจะเป็นเหมือน
พระเยซูเจ้าและปฏิบัติตามจิตตารมณ์ของพระองค์ไม่ได้ ถ้าเขาไม่ฟังพระวาจาและนำพระวาจาแต่ละตอนไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และแบ่งปัน
ประสบการณ์การดำเนินชีวิตตามพระวาจา จะทำให้เราเติบโตในความเป็นนำ้หนึ่งใจเดียวกัน


     
(มีต่อ)
แก้ไขล่าสุดโดย ignatius เมื่อ ศุกร์ มี.ค. 13, 2009 10:35 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
ignatius
.
.
โพสต์: 2597
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2008 12:48 pm

ศุกร์ มี.ค. 13, 2009 10:46 am

5. ความรักซึ่งกันและกัน
เป็น"บทบัญญัติใหม่" ของพระคริสตเจ้า
"เราให้บทบัญญัติใหม่แก่ท่านทั้งหลาย ให้ท่านรักกัน เรารักท่านทั้งหลายอย่างไร ท่านก็จงรักกันอย่างนั้นเถิด" (ยน 13:34)
เป็นหัวใจของพระวรสาร พระเยซูเจ้าทรงรักเราอย่างไร พระองค์ทรงรักเราจนยอมสิ้นพระชนม์เพื่อเรา เราจึงควรพร้อมที่จะตายเพื่อกันและกัน

"ไม่มีใครมีความรักยิ่งใหญ่กว่าการสละชีวิตของตนเพื่อมิตรสหาย" (ยน 15:13)
เราจึงต้องฝึกฝนการดำเนินชีวิตตามบทบัญญัติใหม่ของพระเยซูเจ้าเพื่อจะได้มีชีวิตใหม่ในฐานะบุตรของพระเจ้า
มีชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกันเหมือนชีวิตพระตรีเอกภาพ (ยน 17:10)


6. พระเยซูเจ้าผู้ถูกตรึงกางเขนและถูกทอดทิ้ง
บนไม้กางเขน พระเยซูเจ้าทรงร้องเสียงดังว่า "ข้าแต่พระเจ้าของข้าพเจ้า ข้าแต่พระเจ้าของข้าพเจ้า
ทำไมพระองค์จึงทอดทิ้งข้าพเจ้าเล่า" (มธ 27:46)
ขณะที่พระองค์ทรงรับทนทุกข์ทรมานสูงสุด พระองค์ก็ทรงแสดงความรักอย่างสูงสุด เป็นความรักที่ไม่เห็นแก่ตัว ปล่อยวางทุกสิ่ง ทำจิตใจให้ว่าง
เพื่อเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าและเพื่อนพี่น้อง พระองค์จึงทรงเป็น "กุญแจ" แห่งชีวิตสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้า และความเป็นหนึ่งเดียวกับเพื่อนพี่น้อง
การยอมรับและรักพระเยซูเจ้า ผู้ถูกตรึงกางเขนและถูกทอดทิ้งในชีวิตเรา และในเพื่อนพี่น้องที่ทนทุกข์ทรมาน ทำให้เรามีประสบการณ์ใหม่
ทำให้ความทุกข์ยากถูกเปลี่ยนเป็นความรัก วิกฤตกลับกลายเป็นโอกาส ให้เรารักมากยิ่งขึ้น

การยอมรับความทุกข์เช่นนี้ ทำให้เรารักเสมอ รักโดยไม่มีเงื่อนไข รู้จักเสียสละ อุทิศตน แบกไม้กางเขน และรับใช้ผู้อื่น
นี่คือกุญแจสำคัญของความเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าและกับเพื่อนพี่น้อง


7. ความเป็นหนึ่งเดียวกัน
"เพื่อให้ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน" เป้นความปรารถนาสุดท้ายของพระเยซูเจ้า ก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์
พระองค์ทรงอธิษฐานภาวนาว่า.." ข้าแต่พระบิดา ข้าพเจ้าอธิษฐานภาวนาเพื่อให้ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน" (ยน 17:21)
เราจึงพยายามทำให้ความปรารถนาของพระเยซูเจ้าเป็นจริง โดยรักทุกคนด้วยความรักที่พระเยซูเจ้าทรงรักบรรดาศิษย์ของพระองค์
" พระองค์ทรงรักผู้ที่เป็นของพระองค์ซึ่งอยู่ในโลกนี้ พระองค์ทรงรักเขาจนถึงที่สุด" (ยน 13:1)


8. พระเยซูเจ้าประทับอยู่ท่ามกลางเรา
พระเยซูเจ้าตรัสว่า.."ที่ีใดมีสองหรือสามคนชุมนุมกันในนามของเรา เราอยู่ที่นั้นท่ามกลางพวกเขา" (มธ 18:20)
ถ้าเราเป็นหนึ่งเดียวกัน พระเยซูเจ้าจะประทับอยู่ท่ามกลางเรา ดังนั้น จึงมีคุณค่ามากกว่าครอบครัวตามธรรมชาติ
พระองค์ทรงเสด็จมาประทับในครอบครัวเหนือธรรมชาติ เมื่อคนสองหรือสามคน ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามที่รวมกัน แต่เหนือทุกสิ่งคือ
เขามีความรักต่อกันเสมอ รักกันจนพร้อมที่จะให้ชีวิตแก่ผู้อื่น ตายต่อความเห็นแก่ตัว ทำตนให้ว่างเพื่อจะรักผู้อื่น
เพื่อช่วยกันก้าวหน้าสู่ความศักดิ์สิทธิ์และไปสวรรค์พร้อมกับเพื่อนพี่น้อง





(มีต่อ)
แก้ไขล่าสุดโดย ignatius เมื่อ ศุกร์ มี.ค. 13, 2009 11:30 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
siriya
โพสต์: 311
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 26, 2008 9:04 am

ศุกร์ มี.ค. 13, 2009 2:24 pm

อ่านแล้วสุดยอดทำให้รำลึกถึงภาระงานและหน้าที่ของตัวเองยังไงไม่รู้

โดน ๆ จริง  เลยครับท่าน
ภาพประจำตัวสมาชิก
ignatius
.
.
โพสต์: 2597
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2008 12:48 pm

จันทร์ มี.ค. 16, 2009 11:21 pm

9. ศีลมหาสนิท ศีลศักดิ์สิทธิ์ของความเป็นหนึ่งเดียวกัน
ศีลมหาสนิท Communion เสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวในสายสัมพันธ์แห่งความรักแท้ Agape
กับพระคริสตเจ้าและพระศาสนจักร กับเพื่อนพี่น้องและกับโลกจักรวาล

การรับศีลมหาสนิททุกวันทำให้เราเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระคริสตเจ้า (ยน 6:56)
และทำให้เราเป็นหนึ่งเดียวกันกับเพื่อนพี่น้องในพระศาสนจักร
"มีปังก้อนเดียว แม้ว่าจะมีหลายคน เราก็เป็นกายเดียวกัน เพราะเราทุกคนมีส่วนร่วมกินปังก้อนเดียวกัน" (1คร 10:17)



10. พระศาสนจักร
เป็นเครื่องหมายและเครื่องมือของความสนิทสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า
และความเป็นหนึ่งเดียวของมนุษยชาติทั้งมวล (LG 1) คริสตชนจึงร่วมกันเสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียว
คริสตชนเป็นหนึ่งเดียวกับผู้นำพระศาสนจักรซึ่งเป็นผู้แทนอัครสาวก ผู้ทำหน้าที่รับใช้สืบสานพันธกิจของพระเยซูคริสตเจ้า
พระเยซูเจ้าตรัสว่า.."ผู้ใดฟังท่าน ผู้นั้นฟังเรา" (ลก 10:16)

สิ่งที่ท้าทายในสหัสวรรษใหม่คือ การทำให้พระศาสนจักรเป็นบ้านและโรงเรียนแห่งการภาวนา
และความเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อประกาศข่าวดี (NMI 30-45)



11. พระมารดามารีย์
มารดาแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งเราต้องเลียนแบบพระนางโดยดำเนินชีวิตตามพระวาจาของพระเจ้า
และการมอบพระเยซูเจ้าให้แก่โลก


12. พระจิตเจ้า
"พระจิตเจ้า ซึ่งพระเจ้าได้ประทานให้เรา ทรงหลั่งความรักของพระเจ้าลงในดวงใจของเรา (รม 5:5)
ปิตาจารย์ของพระศาสนจักรสอนว่า "ทุกสิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำ เป็นพระจิตเจ้าที่กระทำ"
(Gregory Nazianzen, De Oratio 31, 19 P.36, 168)

พระจิตเจ้าทรงให้กำเนิดและทรงนำขบวนต่างๆเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน

วิธีที่จะรักและถวายเกียรติแด่พระจิตเจ้าคือการฟังเสียงและการปฏิบัติตามการดลใจของพระองค์
Man of Macedonia
โพสต์: 973
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ธ.ค. 04, 2006 9:33 pm
ที่อยู่: Virtusian's House of Prayer,Thailand
ติดต่อ:

อังคาร มี.ค. 17, 2009 12:57 am

ignatius เขียน:
Viridian เขียน: ว้าวววววว แค่อ่านแค่นี้ ก็น่าติดตามต่อแล้ว : emo010 :
Ecclēsia เขียน: รอคอย(ภาคต่อ) อย่างมีความหวัง  : xemo026 :
sasuke เขียน: ปูเสื่อรออ่าน
ขอบคุณมากคะที่เป็นกำลังใจให้ในการพิมพ์
ขอพระอยพรและขอพระจิตเจ้านำทางในทุกๆกิจการนะคะ ::001::


ปูเสื่อล่วงหน้า
รออ่านในคำภาวนา
ภาพประจำตัวสมาชิก
ignatius
.
.
โพสต์: 2597
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2008 12:48 pm

อังคาร มี.ค. 17, 2009 2:37 am

คำขยายความเพิ่มเติม
(ขออนุญาต copy หัวข้อ สมณสาส์น จากข้างบนมาอีกครั้ง และเพิ่มส่วนขยายความ)

สมณสาสน์ "เริ่มต้นสหัสวรรษใหม่" ของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2
ได้ทรงแนะนำแผนการฟื้นฟูชีวิตจิตคริสตชนที่พบในพระวรสาร ซึ่งมีพระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นศูนย์กลาง
และเป็นแบบอย่าง เพื่อเราจะได้ดำเนินชีวิตพระตรีเอกภาพในพระองค์ และเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ร่วมกับพระองค์
เป็นการดำเนินชีวิตตามกระแสเรียกสู่ความศักดิ์สิทธิ์ สู่มาตรฐานที่สูงส่งของการดำเนินชีวิตคริสตนชนโดยมี...


1.) การภาวนา
(32.) การฝึกฝนในด้านความศักดิ์สิทธิ์ เรียกร้องให้ชีวิตคริสตชนโดดเด่นในศิลปะแห่งการภาวนา
เหนือสิ่งอื่นใด ปีปิติมหาการุณที่ผ่านไป เป็นปีแห่งการภาวนาอย่างเข้มข้น ทั้งในส่วนบุคคล และในส่วนรวม
ดังเช่นบรรดาศิษย์รุ่นแรก "พระเจ้าข้า โปรดสอนให้เราอธิษฐานภาวนา" (ลก 11:1)
การภาวนาพัฒนาการสนทนากับพระคริสตเจ้า ซึ่งทำให้เราเป็นมิตรที่สนิทกับพระองค์
"ท่านทั้งหลายจงดำรงอยู่ในเราเถิด ดังที่เราดำรงอยู่ในท่าน" (ยน 15:4)
การตอบรับนี้คือแก่นแท้และจิตวิญญาณของชีวิตคริสตชนและเป็นเงื่อนไขของชีวิตการอภิบาลที่แท้จริง


การตอบรับซึ่งพระจิตเจ้าทรงบันดาลให้เกิดขึ้นกับเรานี้ เป็นการเปิดใจเราอาศัยพระคริสตเจ้าและในพระคริสตเจ้า
ให้เพ่งรำพึงพระพักษร์พระบิดา เป็นการเรียนรู้การภาวนาของคริสตชนในรูปของพระตรีเอกภาพและ
ในการปฏิบัติในชีวิตอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในพิธีกรรม อันเป็นจุดสุงสุดแห่งแหล่งที่มาของชีวิตพระศาสนจักร
ทั้งยังรวมถึงประสบการณ์ส่วนตัวอีกด้วย และนี่คือเคล็ดลับของคริสตศาสนาที่มีชีวิตชีวาอย่างแท้จริง

(33.) นับเป็นเครื่องหมายแห่งกาลเวลา "ประการหนึ่งในโลกของเราในปัจจุบันมิใช่หรือว่า
แม้จะมีการแผ่ขยายของความนิยมฝ่ายโลกมากมายเพียงใด แต่ก็มีการ เรียกหาชีวิตฝ่ายจิตมากยิ่งขึ้นเพียงนั้น และ
การรื้อฟื้นความต้องการในการภาวนา
ซึ่งเราได้รับพระหรรษาทานให้มีความเชื่อในพระคริสตเจ้า
ผู้ทรงเปิดเผยพระบิดาและทรงเป็นผู้ไถ่กู้โลก เราจึงหน้าที่ที่จะแสดงว่า ความสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้า สามารถนำเราไปสู่
ความสัมพันธ์ลึกซึ้งเพียงใด


พระศาสนจักรทั้งฝ่ายตะวันออกและตะวันตก สามารถให้ข้อคิดในเรื่องนี้ได้มาก
ด้วยการแสดงให้เห็นว่าการภาวนาก้าวหน้าได้ ในรูปแบบของการเสวนาแห่งความรัก โดยพระเป็นเจ้าผู้ทรงเป็นที่รัก
สั่นสะเทือนด้วยการทรงสัมผัสของพระจิตเจ้า และพักผ่อนดังเช่นบุตรภายในดวงพระทัยของพระบิดา
นี่คือประสบการณ์ในชีวิตแห่งพระสัญญาของพระคริสตเจ้าที่ว่า
"ผู้ที่รักเรา พระบิดาของเราก็จะทรงรักเขา และแสดงตนแก่เขา" (ยน 14:21)
เป็นการเดินทางโดยอาศัยพระหรรษาทานโดยสิ้นเชิง แต่ก็ต้องมีการอุทิศตนฝ่ายจิต และเคยชินกับการชำระอันเจ็บปวด
("คำ่คืนที่มืดมิด") แต่ก็เป็นการนำไปสู่ความปิติยินดี[/b]


ถูกแล้ว พี่น้องที่รัก กลุ่มคริสตชนของเราต้องกลายเป็นโรงเรียนแห่งการภาวนาอย่างแท้จริง
ซึ่งจะเป็นการพบกับพระคริสตเจ้า มิใช่เพียงด้วยการวอนขอความช่วยเหลือเท่านั้น แต่ด้วยการขอบพระคุณ
การสรรเสริญ การนมัสการ การเพ่งรำพึง การรับฟังและความศรัทธาอันร้อนรน


2.) การร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ โดยเฉพาะในวันอาทิตย์
3.) การรับศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดี
4.) ความเป็นเอกแห่งพระหรรษาทาน คือ การทำงานอภิบาลและการภาวนาควบคู่กัน
5.) การรับฟังพระวาจาของพระเจ้า
6.) การประกาศพระวาจาของพระเจ้า
7.) การดำเนินชีวิตจิตแห่งความเป็นหนึ่งเดียว (NMI 30-41, 43-45)

(NMI = Novo Millennio Inuente ) 2001
แก้ไขล่าสุดโดย ignatius เมื่อ อังคาร มี.ค. 17, 2009 8:18 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
ignatius
.
.
โพสต์: 2597
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2008 12:48 pm

อังคาร มี.ค. 17, 2009 8:21 am

siriya เขียน: อ่านแล้วสุดยอดทำให้รำลึกถึงภาระงานและหน้าที่ของตัวเองยังไงไม่รู้

โดน ๆ จริง  เลยครับท่าน
Man of Macedonia เขียน:
ignatius เขียน:
Viridian เขียน: ว้าวววววว แค่อ่านแค่นี้ ก็น่าติดตามต่อแล้ว : emo010 :
Ecclēsia เขียน: รอคอย(ภาคต่อ) อย่างมีความหวัง  : xemo026 :
sasuke เขียน: ปูเสื่อรออ่าน
ขอบคุณมากคะที่เป็นกำลังใจให้ในการพิมพ์
ขอพระอยพรและขอพระจิตเจ้านำทางในทุกๆกิจการนะคะ ::001::


ปูเสื่อล่วงหน้า
รออ่านในคำภาวนา
ด้วยความยินดี และหวังใจว่าท่านทั้งหลายอ่านแล้วนำไปปฏิบัติ
จะได้รับพระหรรษาทานนี้ร่วมกัน  ::001::  ::011::
ภาพประจำตัวสมาชิก
ignatius
.
.
โพสต์: 2597
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2008 12:48 pm

อังคาร มี.ค. 17, 2009 9:43 am

2.) การร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ โดยเฉพาะในวันอาทิตย์
(35.) ดังนั้น จึงพอจะเห็นได้อย่างชัดเจนแล้วว่า เราควรให้ความสนใจเป็นพิเศษกับพิธีกรรม
"อันเป็นจุดสุดยอดแห่งกิจกรรมทั้งหลายของพระศาสนจักรที่มุ่งไปสู่จุดนี้
และในขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งที่มาแห่งพลังทั้งสิ้นของพระศาสนจักร"

ในศตวรรษที่ยี่สิบ โดยเฉพาะหลังพระสังคายนา ได้มีการพัฒนาวิธีเฉลิมฉลองศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
โดยเฉพาะพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ และ
เน้นพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์

ซึ่งเป็นวันพิเศษแห่งความเชื่อ วันของพระเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ และ
วันแห่งพระพรของพระจิตเจ้า และเป็นวันปัสกาแต่ละอาทิตย์อย่างแท้จริง


เป็นเวลาสองพันปีมาแล้วที่การวัดเวลาของคริสตชนใช้ความทรงจำของ
"วันแรกแห่งสัปดาห์"(มก. 16:2-9; ลก. 24:1; ยน. 20:1) มาเป็นเครื่องวัด

อันเป็นวันที่พระคริสตเจ้า ผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพได้ทรงประทานพระพรแห่งสันติและพระจิตเจ้า
แก่บรรดาอัครสาวก (เทียบ ยน.20:19-23)

ความจริงแห่งการกลับคืนพระชนม์ของพระคริสตเจ้า เป็นความจริงแรกเริ่มอันเป็นฐานความเชื่อ
แบบคริสตชน (เทียบ 1 คร 15:14)
เป็นเหตุการณ์ซึ่งตั้งอยู่บนธรรมลำ้ลึกแห่งกาลเวลา เป็นสัญลักษณ์แห่งวันสุดท้าย
ซึ่งเป็นวันที่พระคริสตเจ้าจะเสด็จกลับมาในความรุ่งเรือง

เราไม่ทราบว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในสหัสวรรษใหม่ แต่เราแน่ใจว่าเราจะปลอดภัยในพระหัตถ์ของพระคริสตเจ้า
ผู้ทรงเป็น "กษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งหลาย และเจ้านายแห่งเจ้านายทั้งหลาย" (วว 19:16) และ
อาศัยการเฉลิมฉลองปัสกาของพระองค์ มิใช่เพียงปีละครั้งและทุกวันอาทิตย์เท่านั้น

พระศาสนจักรแสดงให้คนทุกยุคทุกสมัยทราบถึง "จุดรวมอันแท้จริงของประวัติศาสตร์ ซึ่งธรรมลำ้ลึกแห่งการเริ่มต้น
ของโลกและจุดหมายปลายทางที่โลกมุ่งไปสู่"


(36.) ตามแนวทางของสมณสาส์น "วันของพระเจ้า" การมีส่วนร่วมในพิธีบูชาขอบพระคุณ
ควรเป็นหัวใจของวันอาทิตย์ สำหรับผู้ที่รับสีลล้างบาปแล้วทุกคน นับเป้นหน้าที่ขั้นพื้นฐาน ซึ่งต้องกระทำ
มิใช่เพื่อปฏิบัติตามกฎบัญญัติเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่นับว่ามีความจำเป็นสำหรับชีวิตคริสตชนที่มีความรู้และนำไปปฏิบัติ
อย่างสมำ่เสมอ
เรากำลังก้าวเข้าสู่สหัสวรรษซึ่งมีเครื่องหมายบ่งให้เห็นชัดถึงความเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งระหว่าง
วัฒนธรรมและศาสนา แม้ในประเทศซึ่งประชากรเป็นคริสตชนมาเป็นหลายศตวรรษ ในหลายแห่ง

คริสตชนเป็น หรือ กำลังจะเป็น "ฝูงแกะน้อยๆ" (ลก.12:32) นับเป็นการท้าทายพวกเขา ซึ่งมักจะโดดเดี่ยว
และอยู่ในสภาพที่ยากลำบาก ให้เป็นประจักษ์พยานที่เข้มแข็งให้แก่สิ่งที่โดดเด่นในการเป็นคริสตชนของพวกเขา
หน้าที่การส่วนในพิธีบูชาขอบพระคุณแต่ละวัน เป็นหนึ่งในจำนวนนี้ พิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ ซึ่งรวบรวมคริสตชน
ในฐานะครอบครัวฐานะครอบครัวของพระเป็นเจ้ารอบพระแท่นแห่งพระวาจาและปังทรงชีวิต ยังนับว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดย
ธรรมชาติก่อนที่จะมีการแยกย้ายกันไป นับเป็นสถานที่พิเศษที่มีการประกาศและประคับประคอง ความเป็นหนึ่งเดียวกัน
และอาศัยการมีส่วนในพิธีบูชาขอบพระคุณนี้เองที่ วันของพระเจ้า จึงกลายเป็นวันของพระศาสนจักร ด้วย
เป็นวันที่พระศาสนจักรกระทำหน้าที่ในฐานะเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกัน
แก้ไขล่าสุดโดย ignatius เมื่อ อังคาร มี.ค. 17, 2009 10:49 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
ignatius
.
.
โพสต์: 2597
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2008 12:48 pm

พุธ มี.ค. 18, 2009 12:20 am

3.) การรับศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดี

37. ข้าพเจ้ายังเรียกร้องให้มีการฟื้นฟูความกล้าหาญด้านอภิบาล เพื่อให้แน่ใจว่าในการสอนกลุ่มคริสตชน
แต่ละวันนั้น มีการเสนอการรับศีลแห่งการคืนดีอย่างน่าจูงใจและได้ผล
คงจำกันได้ว่า ในปี ค.ศ. 1984 ข้าพเจ้าได้กล่าวถึง
เรื่องนี้ในสมณสาส์นหลังการประชุมสมัชชาเรื่อง การคืนดีและการเป็นทุกข์ถึงบาป
ซึ่งเป็นสรุปผลการประชุมสมัชชาพระสังฆราชที่อุทิศให้กับปัญหานี้ ในขณะที่ข้าพเจ้าได้เชิญชวนให้มีความพยายามที่จะเผชิญ
วิกฤตของ"ความสำนึกในเรื่องบาป" อันปรากฎให้เห็นในวัฒนธรรมปัจจุบัน แต่ข้าพเจ้าได้เน้นมากกว่านั้น.. 
ในการเรียกร้องให้ค้นพบพระคริสตเจ้า "องค์ธรรมลำ้ลึกแห่งความเมตตากรุณา" (Mysterium pietatis) ในพระองค์
พระเป็นเจ้าทรงแสดงพระทัยเมตตาและทรงดลบันดาลให้เรากลับคืนดีกับพระองค์โดยสิ้นเชิง เราต้องพบพระพักตร์พระคริสตเจ้า
นี้อีกครั้งหนึ่ง อาศัยศีลอภัยบาป ซึ่งเป็น "หนทางธรรมดาสำหรับสัตบุรุษที่ได้รับการอภัยบาปและการยกโทษบาปที่หนัก
ซึ่งได้กระทำไปหลังรับศีลล้างบาป"  เมื่อสมัชชากล่าวถึงปัญหานี้ วิกฤตของศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ก็ปรากฎให้ทุกคนเห็นอยู่แล้ว
โดยเฉพาะบางส่วนของโลก สาเหตุของวิกฤตกาลนี้ยังมิหมดไปในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
ตั้งแต่ปีปิติมหาการุณเป็นต้นมา ซึ่งมีการเข้าหาศีลอภัยบาปมากขึ้น อันเป็นจุดเด่นจุดหนึ่ง จึงให้สารที่น่าจะเป็นกำลังใจ 


คำว่า "ข้าพเจ้า" ในประโยคเหล่านี้ คือ สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2


4.) ความเป็นเอกแห่งพระหรรษาทาน คือ การทำงานอภิบาลและการภาวนาควบคู่กัน

38. หากในการวางแผนซึ่งกำลังรอเราอยุ่ เราอุทิศตนด้วยความเชื่อมั่นให้กับกิจกรรมด้านอภิบาล ซึ่งควรจัดให้มีการภาวนา
ส่วนตัวและส่วนรวมพิเศษยิ่งขึ้น  เราจะได้ปฏิบัติตามกฎหลักแห่งการมองดูชีวิตคริสตชน กล่าวคือ

ความเป็นเอกของพระหรรษาทาน

ซึ่งจะมีการผจญล่อลวงประการหนึ่ง ซึงจะมักรบกวนการเดินทางฝ่ายชีวิตจิตและงานอภิบาล
สิ่งนั้นก็คือ การคิดว่าผลที่ออกมานั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของเราในอันที่จะทำงานหรือวางแผน
ในความจริงแล้ว พระเป็นเจ้าทรงขอร้องให้เราร่วมมือกับพระหรรษาทานของพระองค์ ดังนั้นพระองค์จึงทรงเชิญให้เรานำเอา
แหล่งที่มาแห่งความคิดและพลังของเราไปใช้เพื่อพระอาณาจักรของพระองค์ เราควรจะสำนึกอยู่เสมอว่า...
.."หากไม่มีพระคริสตเจ้า เราทำอะไรไม่ได้เลย" เทียบ ยน.15:5


การอธิษฐานภาวนาเป็นการช่วยให้เราฝังรากอยู่ในความจริง เป็นการเตือนเราอยู่เสมอ
ถึงความเป็นเอกของพระคริสตเจ้าและเป็นหนึ่เดียวกันกับพระองค์ ผู้ทรงเป็นจุดสูงสุดของชีวิตภายในและความศักดิ์สิทธิ์


หากเราไม่ถือตามกติกานี้ ก็ไม่น่าแปลกใจเลยที่แผนงานอภิบาลของเราไม่เป็นผลสำเร็จ และทำให้เราสิ้นหวัง
เมื่อนั้นเราจะรู้สึกคล้ายกับบรรดาสานุศิษย์ จากพระวรสารเกี่ยวกับการจับปลาอย่างอัศจรรย์ กล่าวคือ..
"พวกเราได้ทำงานหนักมากทั้งคืนแล้วจับปลาไม่ได้เลย"...(ลก 5:5)


นี่คือช่วงเวลาแห่งความเชื่อ แห่งการภาวนา การสนทนากับพระเป็นเจ้า เพื่อเปิดใจเราต้อนรับกระแสพระหรรษาทาน
และปล่อยให้พระวาจาของพระคริสตเจ้า ผ่านตัวเราพร้อมกับพลังอันยิ่งใหญ่ จงแล่นเรืออกไปที่ลึก


ในโอกาสนั้น นักบุญเปโตรเป็นผู้กล่าววาจาแห่งความเชื่อ "เมื่อพระองค์มีพระดำรัส ข้าพเจ้าจะลงอวน" (ลก 5:5)
ในขณะที่สหัสวรรษนี้กำลังเริ่มต้นขึ้น ขอให้ผู้สืบตำแหน่งนักบุญเปโตรได้เชิญพระศาสนจักรทั้งหมดให้แสดงความเชื่อนี้
ซึ่งแสดงตัวออกมาในการอุทิศตนใหม่ให้กับการอธิษฐานภาวนา
แก้ไขล่าสุดโดย ignatius เมื่อ ศุกร์ มี.ค. 20, 2009 11:48 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
Dis volentibus

พุธ มี.ค. 18, 2009 12:33 am

คริสตชนเป็น หรือ กำลังจะเป็น "ฝูงแกะน้อยๆ" (ลก.12:32) นับเป็นการท้าทายพวกเขา ซึ่งมักจะโดดเดี่ยว
และอยู่ในสภาพที่ยากลำบาก ให้เป็นประจักษ์พยานที่เข้มแข็งให้แก่สิ่งที่โดดเด่นในการเป็นคริสตชนของพวกเขา
ได้ใจเจ้าค่ะ... : xemo026 :

ขอบพระคุณพี่โอ๋อีกครั้่งเจ้าค่ะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ignatius
.
.
โพสต์: 2597
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2008 12:48 pm

พุธ มี.ค. 18, 2009 7:00 am

Ecclēsia เขียน:
คริสตชนเป็น หรือ กำลังจะเป็น "ฝูงแกะน้อยๆ" (ลก.12:32) นับเป็นการท้าทายพวกเขา ซึ่งมักจะโดดเดี่ยว
และอยู่ในสภาพที่ยากลำบาก ให้เป็นประจักษ์พยานที่เข้มแข็งให้แก่สิ่งที่โดดเด่นในการเป็นคริสตชนของพวกเขา
ได้ใจเจ้าค่ะ... : xemo026 :

ขอบพระคุณพี่โอ๋อีกครั้่งเจ้าค่ะ
น้องเจนจ๋า....ไม่ต้องขอบคุณพี่หรอกคะ.. ::001::
เพราะเป็นเพียง "ผู้พิมพ์มาให้อ่าน" กันเท่านั้น...
นี่เป็นคำและประโยคของพระคุณเจ้ายอด พิมพิสาร ที่แปล..สมณสาส์นฯ...จริงๆ
ซึ่งเป็นคำที่พี่ก็ถูกใจมากๆด้วยเช่นกัน.. : emo045 : : xemo026 :
Dis volentibus

พุธ มี.ค. 18, 2009 12:47 pm

ignatius เขียน:
Ecclēsia เขียน:
คริสตชนเป็น หรือ กำลังจะเป็น "ฝูงแกะน้อยๆ" (ลก.12:32) นับเป็นการท้าทายพวกเขา ซึ่งมักจะโดดเดี่ยว
และอยู่ในสภาพที่ยากลำบาก ให้เป็นประจักษ์พยานที่เข้มแข็งให้แก่สิ่งที่โดดเด่นในการเป็นคริสตชนของพวกเขา
ได้ใจเจ้าค่ะ... : xemo026 :

ขอบพระคุณพี่โอ๋อีกครั้่งเจ้าค่ะ
น้องเจนจ๋า....ไม่ต้องขอบคุณพี่หรอกคะ.. ::001::
เพราะเป็นเพียง "ผู้พิมพ์มาให้อ่าน" กันเท่านั้น...
นี่เป็นคำและประโยคของพระคุณเจ้ายอด พิมพิสาร ที่แปล..สมณสาส์นฯ...จริงๆ
ซึ่งเป็นคำที่พี่ก็ถูกใจมากๆด้วยเช่นกัน.. : emo045 : : xemo026 :


รับทราบเจ้าค่ะ 


ป.ล. เเต่ถ้าไม่ขอบพระคุณพี่โอ๋เลย ก็คงไม่ได้เหมือนกันนะคะ เพราะพี่อุตสาหะ พิมพ์มาให้พวกเราอ่าน
siriya
โพสต์: 311
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 26, 2008 9:04 am

พฤหัสฯ. มี.ค. 19, 2009 3:03 pm

ป.ล. เเต่ถ้าไม่ขอบพระคุณพี่โอ๋เลย ก็คงไม่ได้เหมือนกันนะคะ เพราะพี่อุตสาหะ พิมพ์มาให้พวกเราอ่าน


ใช่ต้องขอบคุณพี่โอ๋เป็นอย่างมากที่อุตส่าห์อดตาหลับพิมพ์มาให้เราอ่าน  เห็นด้วยที่ต้องขอบคุณพี่โอ๋
ภาพประจำตัวสมาชิก
ignatius
.
.
โพสต์: 2597
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2008 12:48 pm

ศุกร์ มี.ค. 20, 2009 10:54 am

Ecclēsia เขียน:
ignatius เขียน:
Ecclēsia เขียน: ได้ใจเจ้าค่ะ... : xemo026 :

ขอบพระคุณพี่โอ๋อีกครั้่งเจ้าค่ะ
น้องเจนจ๋า....ไม่ต้องขอบคุณพี่หรอกคะ.. ::001::
เพราะเป็นเพียง "ผู้พิมพ์มาให้อ่าน" กันเท่านั้น...
นี่เป็นคำและประโยคของพระคุณเจ้ายอด พิมพิสาร ที่แปล..สมณสาส์นฯ...จริงๆ
ซึ่งเป็นคำที่พี่ก็ถูกใจมากๆด้วยเช่นกัน.. : emo045 : : xemo026 :


รับทราบเจ้าค่ะ  


ป.ล. เเต่ถ้าไม่ขอบพระคุณพี่โอ๋เลย ก็คงไม่ได้เหมือนกันนะคะ เพราะพี่อุตสาหะ พิมพ์มาให้พวกเราอ่าน
siriya เขียน:

ป.ล. เเต่ถ้าไม่ขอบพระคุณพี่โอ๋เลย ก็คงไม่ได้เหมือนกันนะคะ เพราะพี่อุตสาหะ พิมพ์มาให้พวกเราอ่าน


ใช่ต้องขอบคุณพี่โอ๋เป็นอย่างมากที่อุตส่าห์อดตาหลับพิมพ์มาให้เราอ่าน   เห็นด้วยที่ต้องขอบคุณพี่โอ๋
จ๋าจ๊ะ...งั้นพี่ก็ขอน้อมรับคำขอบคุณและเห็นใจในการพิมพ์ ไว้เป็นกำลังใจต่อไป  ::001::  : xemo026 :
ภาพประจำตัวสมาชิก
ignatius
.
.
โพสต์: 2597
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2008 12:48 pm

ศุกร์ มี.ค. 20, 2009 12:20 pm

5.) รับฟังพระวาจา

39. ไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่าเราไม่อาจคิดถึงความสำคัญของความศักดิ์สิทธิ์
และการภาวนาได้ โดยมีการรื้อฟื้นการรับฟังพระวาจาของพระเป็นเจ้า ตั้งแต่พระสังคายนาวาติกันที่สอง
เน้นถึงบทบาทที่สำคัญแห่งพระวาจาของพระเป็นเจ้าในชีวิตพระศาสนจักร ก็ได้มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก
ในการรับฟังพระคัมภีร์ด้วยความศรัทธา และการศึกษาพระคัมภีร์ด้วยความสนใจ พระคัมภีร์มีที่โดดเด่นอันเหมาะสม
ในการภาวนาอย่างเป็นทางการของพระศาสนจักร แต่ละบุคคลและแต่ละกลุ่มชนก็ได้ใช้พระคัมภีร์กันอย่าง
กว้างขวาง และในบรรดาฆารวาสก็มีคนเป็นจำนวนมาก ที่อุทิศตนให้กับการอ่านพระคัมภีร์


แต่เหนือสิ่งอื่นใด การแพร่ธรรมและการสอนคำสอนได้รับชีวิตใหม่จากการให้ความสนใจ
กับพระวาจาของพระเป็นเจ้า

พี่น้องที่รัก
การพัฒนาในด้านนี้ ต้องนำเอามารวมกันและฝังรากลึกยิ่งขึ้น โดยให้มีความแน่ใจว่า..แต่ละครอบครัวมีพระคัมภีร์
จำเป็นที่การฟังพระวาจาของพระเป็นเจ้า จะต้องเผชิญหน้าอันบันดาลชีวิต
ในสิ่งที่ปฏิบัติมาแต่ดั้งเดิม และยังมีคุณประโยชน์ของการรำพึงภาวนา
อาศัยพระคัมภีร์ (Lectio Divina) ที่นำเอาข้อความจากพระคัมภีร์ ซึ่งเป็นพระวาจาทรงชีวิต
อันมีทั้งคำถาม การนำทาง และการส่งเสริมชีวิตของเรา
แก้ไขล่าสุดโดย ignatius เมื่อ อาทิตย์ มี.ค. 22, 2009 7:47 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
siriya
โพสต์: 311
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 26, 2008 9:04 am

เสาร์ มี.ค. 21, 2009 11:57 am

ขอแบ่งปันหน่อยนะ

พระคัมภีร์สามารถหาทางออกให้เราได้นะ  ถ้าเราตั้งใจรับฟังพระวาจาที่จะมาถึงเราเพื่อบอกหรือเตือนอะไรเรา

ในบางสิ่งบางอย่างที่เราประสบอยู่  ขอบอกว่า

โดนจริง ๆ  และแบบจัง ๆ ด้วย  ถ้าเราเปิดใจรับฟังนะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ignatius
.
.
โพสต์: 2597
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2008 12:48 pm

จันทร์ มี.ค. 23, 2009 4:38 pm

6. การประกาศพระวาจาของพระเจ้า

40. การหล่อเลี้ยงตัวเราเองด้วยพระวาจา เพื่อเราจะได้เป็น"ผู้รับใช้แห่งพระวาจา"
ในการแพร่ธรรม

เป็นเวลาหลายปีที่ข้าพเจ้าได้เรียกร้องซำ้แล้วซำ้อีกให้มีการ"แพร่ธรรมใหม่" บัดนี้ข้าพเจ้าขอกล่าวยำ้อีกครั้งหนึ่ง
เพื่อเน้นว่า เราจะต้องฟื้นฟูในตัวเรา ซึ่งเป็นการผลักดันในมีการเริ่มต้น และปล่อยให้เราเปี่ยมด้วยความร้อนรนแห่งการเทศน์สอน
ของอัครสาวก หลังการเสด็จมาของพระจิตเจ้า เราต้องรื้อฟื้นในตัวเรา
อย่างที่นักบุญเปาโลกล่าวไว้ว่า "หากข้าพเจ้าไม่ประกาศข่าวดีข้าพเจ้าย่อมได้รับความวิบัติ" (1 คร 9:16)

ความร้อนรนของท่านอัครสาวกนี้ คงจะปลุกเร้าพระศาสนจักรให้มีความสำนึกถึงพันธกิจ
ซึ่งมิใช่จะปล่อยไว้ในมือของ "ผู้เชี่ยวชาญ" กลุ่มหนึ่งเท่านั้น

แต่ต้องเป็นความรับผิดชอบของสมาชิกทุกคนแห่งประชากรของพระเป็นเจ้า
ผู้ได้มาสัมผัสกับพระคริสตเจ้าด้วยความจริงใจ ไม่สามารถเก็บพระองค์สำหรับตัวเอง เขาต้องประกาศพระองค์
เขาจำเป็นต้องมีการยื่นมือออกไปเยี่ยงอัครสาวก และต้องเป็นชีวิตประจำวันของชุมชนและกลุ่มคริสตชนทุกแห่ง
แต่จะต้องกระทำด้วยการคำนึงถึงหนทางของบุคคลต่างๆ และคำนึงถึงวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
ซึ่งจะการปลูกฝังสารของคริสตศาสนา โดยที่ไม่ปฏิเสธคุณค่าที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละกลุ่มชน
แต่ทำให้บริสุทธิ์และมุ่งไปสู่ความดีครบบริบูรณ์ยิ่งขึ้น



ในสหัสวรรษที่สามนี้ คริสตศาสนาจะต้องตอบสนองการปรับเข้าสู่วัฒนธรรมที่นับว่าจำเป็นนี้ อย่างมีประสิทธิผล
แม้คริสตศาสนาจะยังเป็นตัวของตัวเองอยู่ ด้วยความมุ่งมั่นในความซื่อสัตย์ที่จะประกาศพระวรสารและคำสอนที่สืบทอดมา
ของพระศาสนจักรและจะต้องพิจารณาถึงโฉมหน้าวัฒนธรรมและประชาชนที่รับพระวรสารและจะต้องวางรากลึกในปีปิติมหาการุณนี้
เราชื่นชมยินดีเป็นพิเศษในความงดงามหลากหลายรูปแบบของพระศาสนจักร นี่คงเป็นเพียงการเริ่มต้น
เป็นเพียงภาพคร่าวๆของอนาคต ซึ่งพระจิตของพระเป็นเจ้าเตรียมไว้สำหรับพวกเรา

เราต้องนำเสนอพระคริสตเจ้าให้แก่ชนทุกชาติด้วยความไว้วางใจ เราต้องสนทนากับผู้ใหญ่ กับครอบครัว กับเยาวชน
กับเด็กๆ โดยไม่ปิดบังการเรียกร้องของพระวรสาร แต่ให้คำนึงถึงความต้องการของแต่ละคนถึงความรู้สึกนึกคิดและภาษา

ตามแบบอย่างของนักบุญเปาโล ผู้ประกาศว่า...
" ข้าพเจ้าเป็นทุกอย่างสำหรับทุกคน เพื่อข้าพเจ้าจะได้ใช้ทุกวิถีทางช่วยบางคนให้รอดพ้น"
(1 คร 9:22) ในการให้คำแนะนำเหล่านี้ ข้าพเจ้ากำลังนึกถึง การอภิบาลเยาวชน


41. ขอให้ตัวอย่างที่ฉายแสงเจิดจ้าของบรรดาผู้ที่เป็นประจักษ์พยานให้แก่ความเชื่อ
เป็นจำนวนมากมาย ซึ่งเราได้รำลึกถึงในช่วงปีปิติมหาการุณ รักษาไว้และนำทางเราในความสำนึกถึงพันธกิจที่เปี่ยมด้วย
ความมั่นใจและเปี่ยมด้วยจินตนาการนี้ สำหรับพระศาสนจักรแล้วบรรดามรณสักขีคือ เมล็ดพันธุ์แห่งชีวิต
แก้ไขล่าสุดโดย ignatius เมื่อ ศุกร์ มี.ค. 27, 2009 12:44 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
Dis volentibus

จันทร์ มี.ค. 23, 2009 10:47 pm

siriya เขียน: ขอแบ่งปันหน่อยนะ

พระคัมภีร์สามารถหาทางออกให้เราได้นะ  ถ้าเราตั้งใจรับฟังพระวาจาที่จะมาถึงเราเพื่อบอกหรือเตือนอะไรเรา

ในบางสิ่งบางอย่างที่เราประสบอยู่  ขอบอกว่า

โดนจริง ๆ  และแบบจัง ๆ ด้วย  ถ้าเราเปิดใจรับฟังนะ
Agree++++++++++++++++++++++++++++
ตอบกลับโพส