หน้า 1 จากทั้งหมด 1
ข้อต้องสงสัยในพระคัมภีร์เดิม
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 06, 2009 2:33 pm
โดย † † † Hiruma Ryuichi † † †
ทำไมในพระคัมภีร์เดิมถึงได้บันทึกพระนามด้วยพหูพจน์อ่ะคับ
ประโยคแรกเลย Bereshit bara
Elohim Elohim นี่เป็นพหูพจน์ไม่ใช่หรอครับ
ถ้าจะเป็นเอกพจน์ก็ Eloah (พบเหมือนกันแต่ยังไม่เห็นบ่อยเท่า Elohim)
แล้วก็การใช้คำด้วยครับ พระองค์กล่าวโดยใช้คำว่า Let us
(Genesis 1:26) God said,
'Let us make man with
our image and likeness. Let him dominate the fish of the sea, the birds of the sky, the livestock animals, and all the earth - and every land animal that walks the earth.'
(Bereshit 1:26) Vayomer Elohim
na'aseh adam
betsalmenu kidemutenu veyirdu bidegat hayam uve'of hashamayim uvabehemah uvechol-ha'arets uvechol-haremes haromes al-ha'arets.
ข้อมูลจาก
http://bible.ort.org/books/torahd5.asp? ... &portion=1 นะฮะ
ตรงส่วนนี้ใช้รูปพหูพจน์เหมือนกันทั้งภาษาอังกฤษ ฮีบรู ละติน แล้วก็กรีกอ่ะครับ
มีภาษาฮีบรูอ้างอิง
บรรทัดที่ 2 ถึงบรรทัดที่ 4 นะฮะ
ชาวยิวในสมัยนั้นคิดว่ามีพระเจ้าหลายองค์งั้นหรอฮะ
ผู้รู้ช่วบคลายข้อสงสัยด้วยนะฮะ
ขอพระองค์โปรดอภัยที่ผมสงสัยในพระองค์ด้วยนะฮะ ^ ^
Re: ข้อต้องสงสัยในพระคัมภีร์เดิม
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 06, 2009 3:09 pm
โดย Ecclēsia
อ้างจาก ฟุ๊คโน๊ต ปฐก บทที่ 1 พระคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม (ปัญจบรรพ) ของคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
ฟุ๊ตโน๊ต k: เป็นไปได้ที่รูปพหูพจน์ในที่นี้เป็นการสนทนาระหว่างพระเจ้ากับข้าราชบริพารในสวรรค์
(ทูตสวรรค์) ดังที่ สดด 8:5 ในฉบับภาษากรีกเข้าใจ (อ้างถึงใน ฮบ 2:7) ในอีกด้านหนึ่ง รูปพหูพจน์อาจหมายถึง
พระเดชานุภาพเเละความบริบูรณ์ของพระเจ้า คำว่า "พระเจ้า" ในภาษาฮีบรูคือ Elohim อยู่รูปพหูพจน์
ภาษาต่างด้าว จาก New Jerusalem Bible
K: It is possible that this plural form implies a discussion between God and his heavenly court
(the angle) our text was thus understood by the Gk version of Ps 8:5 (quoted in Heb 2:7).
Alternatvely, the plural expressesthe majesty and fullness of God's being; the common name
of God in Hebrew in elohim, a plural form.
ปล. ใน เวป
http://bible.ort.org/books/torahd5.asp? ... &portion=1
ข้างล่างก็มี commentary นะคะ
Let us
God was speaking to all the forces of creation that He had brought into existence (cf. Targum Yonathan; Ramban).
Now that all the ingredients of creation had essentially been completed, all would participate in the creation
of man, the crown of creation. Others interpret 'we' in the majestic sense, and translate the verse,
'I will make man in My image' (Emunoth veDeyoth 2:9; Ibn Ezra).
Re: ข้อต้องสงสัยในพระคัมภีร์เดิม
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 06, 2009 4:19 pm
โดย Edwardius
ส่วนนี้มีนักวิชาการหลายสายให้ความเห็นครับ
เช่น
1. อย่างที่กระทู้ก่อนหน้่า (credited คุณ Ecclesia) ก็คือ อาจเป็นบทพระดำรัสที่พระเจ้าทรงมีกับบรรดาเทพนิกร ก็ได้
2. เป็นสำนวนภาษาที่แสดงถึงการที่พระองค์จะทรงทำสิ่งยิ่งใหญ่ ใน ปฐก. Let us พบเฉพาะ ใน
Gen 1:26 And he said: Let us make man to our image and likeness: and let him have dominion over the fishes of the sea, and the fowls of the air, and the beasts, and the whole earth, and every creeping creature that moveth upon the earth.
Gen 2:18 And the Lord God said: It is not good for man to be alone: let us make him a help like unto himself.
ซึ่งอาจเป็นการแสดงความจำเพาะ ว่าพระองค์ทรงสร้่างมนุษย์อย่างพิเศษ
จะเห็นได้ว่า ก่อนหน้่านั้น สำนวนการสร้างโลกจะให้
"Let there be" หรือ ให้มีสิ่งนั้น ให้มีสิ่งนี้บังเกิดขึ้น เช่น Let there be light หรือ ให้ความสว่างบังเกิดขึ้น
ไม่เจาะจงเหมือนกับว่า Let us *** หรือ ให้เรา*** ในที่นี้ก็คือ ให้เราสร้าง เราที่หมายรวมถึงพระองค์เป็นผู้ลงพระหัตถ์สร้างเอง
ทำให้ดูเหมือนว่า สิ่งอื่นๆ ที่สร้างมา บังเกิดด้วยวิธีการที่พระองค์ทรงสั่งเอา แต่อาจไม่ได้ทรงลงมือสร้างเอง
3. อาจเป็นวิธีแสดงความสัมพันธ์พิเศษระหว่างพระเจ้าและมนุษย์ ซึ่งผู้เขียนพยายามเน้นย้ำ
4. อาจเป็นการกล่าวอ้างถึง พระองค์ และปรีชาญาณที่ดำรงอยู่กับพระองค์ตามหนังสือปรีชาญาณ
ฯลฯ
Re: ข้อต้องสงสัยในพระคัมภีร์เดิม
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 06, 2009 7:51 pm
โดย Deo Gratias
אֱלֹהִים เป็นรูปพหูพจน์จริง (ดูจากอักษรท้ายคำ)
แต่ไม่ได้หมายความว่าพระเจ้ามีหลายองค์
คำว่า "เรา" จาก ปฐก.1:26 มีนัยทางศาสนศาสตร์อยู่
อย่างน้อย 2 ประการ
1. เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 พหูพจน์ อาจหมายถึงพระเจ้าและพวกทูตสวรรค์ แต่ในที่นี้น่าจะหมายถึงพระเจ้าเองที่ทรงเป็นตรีเอกภาพ (พระบิดา พระบุตร พระจิต)

เป็นพระเจ้า
องค์เดียว 3 พระภาค
รูปนี้เป็นเหตุการ์ใน ปฐก.18:1-21 ที่อับราฮัมเลี้ยงอาหารชาย 3 คน
ถ้ามองผิวเผินแบบไม่ตีความ ภาพนี้วาดตามเหตุการณ์ ชาย 3 คนก็คือทูตของพระเจ้า
แต่ถ้านำมาตีความภาพนี้จะแฝงนัยทางศาสนศาสตร์เรื่องพระตรีเอกภาพ
และชาย 3 คนนั้นก็คือพระบิดา พระบุตร และจิต (เรียงจากซ้ายมือ)
2. อาจแสดงถึงว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าเหนือพระทั้งหลาย
และอาจมีทฤษฎีอื่นๆ อีกตามที่พี่น้องข้างบนได้กล่าวมาแล้ว
ปล. ถ้าทำให้ยิ่งงงต้องขออภัยด้วยนะคะ ข้าพเจ้าอ่อนเรื่องการถ่ายทอดข้อมูลให้พี่น้องเข้าใจ
พูดสั้นแต่ไม่ได้ใจความ แถมมีของประทานในการทำให้พี่น้องงง (พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง

) 555+
Re: ข้อต้องสงสัยในพระคัมภีร์เดิม
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 27, 2009 11:31 am
โดย Little Boy
โห ภาษาอะไรนั่นผมอ่านไม่ออก ที่นี่มีผู้เชี่ยวชาญอยู่มากมาย
ถ้าตรีเอกานุภาพไม่เป็นความจริงจะขัดแย้งกับอะไรบ้างหรอครับ
Re: ข้อต้องสงสัยในพระคัมภีร์เดิม
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 27, 2009 2:08 pm
โดย † † † Hiruma Ryuichi † † †
ไปถามผู้เชี่ยวชาญภาษาเซมิติกมาแว้วววคับ
เค้าบอกว่า
รูปพหูพจน์ในภาษาตระกูลเซมิติก(ฮีบรู อาหรับ อาร์มาเนีย 9ล9) ไม่ได้ใช้เพื่อแสดงถึงหลายสิ่งเพียงอย่างเดียว
แต่ใช้กล่าวถึงสิ่งๆหนึ่งเป็นครั้งแรก เหมือนกับภาษาอังกฤษที่กล่าวครั้งแรกไม่ต้องเติม article แต่กล่าวครั้งต่อไปใช้ the
และใช้เพื่อแสดงการยกย่องแก่บุคคลหรือสิ่งที่กล่าวถึง (ผมคิดว่าน่าจะเป็นข้อนี้แหล่ะ)
อาจารย์เค้าบอกว่าเราแยกไม่ออกว่าอันไหนเป็นพหูพจน์จริงพหูพจน์เท็จ ต้องใช้ความเชี่ยวชาญส่วนบุคคลและใช้เซ้นส์นิดๆ -*-
(^ ข้างบนนั้นคือส่วนของคำว่าเอโลฮิมนะฮะ กว่าจะเก็ท - -)
ส่วนตรงพวก let us หรือ our ก็คล้อยตาม Rep ในนี้ฮะ ^ ^
Re: ข้อต้องสงสัยในพระคัมภีร์เดิม
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 27, 2009 2:30 pm
โดย Immanuel (MichaelPaul)
สั้น ๆ คำเดียวเลยนะครับ
สุดยอดเลยครับทุกคน อยากเก่งแบบนี้มั่งจังต้องเรียนสาขาไหนเหอรครับ