+++ “บาปที่พระสังฆราชสงวนไว้” มีบาปอะไรบ้าง+++
โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 10, 2009 12:05 pm
เรียนถามคุณ ป.ณ. สาธุฯ ว่า “บาปที่พระสังฆราชสงวนไว้” มีบาปอะไรบ้างคะ?
ตอบ
คุณถามสั้น ๆ แต่คงต้องตอบยาวเลยนะครับ เอาประเด็นแรกก่อน “บาปที่พระสังฆราชสงวนไว้” แปลว่าบาปบางประการที่พระสังฆราชผู้ปกครองไม่อนุญาตให้พระสงฆ์อภัยบาปแก่ผู้ที่มาขอสารภาพบาปได้ทันที จนกว่าจะได้แจ้งและขออนุญาตโปรดบาปกับพระสังฆราชก่อน พระสงฆ์จึงโปรดบาปแก่ผู้มาสารภาพบาปประการนั้นได้
กฎหมายพระศาสนจักรเขียนไว้ว่าบาปทุกประการพระสงฆ์อภัยได้หมด แต่มีบาปบางประการที่เมื่อกระทำแล้วจะมีบทลงโทษโดยอัตโนมัติทันที และ “บาปทำแท้ง” ก็มีบทลงโทษให้ตัดขาดจากพระศาสนจักรโดยอัตโนมัติทันทีเมื่อกระทำ ดังนั้นผู้กระทำบาปมาแก้บาปกับพระสงฆ์เลยไม่ได้จะต้องมีใครที่มีอำนาจพาเขากลับเข้ามาสู่พระศาสนจักรเสียก่อน แต่ก่อนเราเข้าใจว่าพระสงฆ์อภัยบาปทำแท้งไม่ได้ แต่ไม่จริง ที่พระสงฆ์ยังให้อภัยผู้ทำบาปทำแท้งทันทีไม่ได้ก็เพราะพระสงฆ์จะต้องให้ใครที่มีอำตายพาเขากลับเข้ามายังพระศาสนจักรใหม่เสีก่อนเพราะโทษบาปทำแท้งคือ ตัดเขาออกจากพระศาสนจักรทันที
ปัจจุบันขั้นตอนการนำกลับเข้ามายังพระศาสนจักรจึงลดทอนขั้นตอนเหลือเพียงแจ้งกับพระสังฆราชผู้ปกครองสังฆมณฑล แล้วถ้าพระสังฆราชผู้ปกครองสังฆมณฑลอนุญาต ซึ่งเท่ากับให้เขากลับเข้ามาในพระศาสนจักรได้อีกครั้งหนึ่ง พระสงฆ์จึงโปรดอภัยบาปแก่ผู้ที่มาขอรับศีลอภัยบาปทำแท้งได้ต่อไป
ประการที่สอง ปัจจุบัน “บาปที่พระสังฆราชสงวนไว้” มีบาป “ทำแท้ง” เพียงประการเดียว และต้องเข้าใจด้วยว่าผู้ชายก็อาจทำบาปทำแท้งได้ เพราะบาปทำแท้งหมายถึงการส่งเสริม ร่วมมือ ยุยง บังคับให้เขาไปทำแท้ง หรือผู้ที่รับทำแท้งตั้งสถานที่หรือมีหุ้นส่วน หรือให้เช่าสถานที่หรือเกี่ยวข้องกับการทำแท้งก็เป็นบาปทำแท้งด้วยทั้งสิ้น
ทำไมบางสังฆมณฑลก็ไม่ต้องมี “บาปที่สงวนไว้” บางสังฆมณฑลก็มี?
ตอบ
ก็เพราะพระสังฆราชผู้ปกครองบางสังฆมณฑลให้อำนาจแก่พระสงฆ์ที่จะใช้ดุลยพินิจรับเขาเข้ามาในพระศาสนจักรได้เลย ลดขั้นตอนการนำเข้ามาในพระศาสนจักรแบบต้องแจ้งบาปประการนี้แก่พระสังฆราชออกไปเสีย พระสงฆ์บางสังฆมณฑลจึงโปรดบาป “ทำแท้ง” แก่ผู้มารับศีลอภัยบาป ด้วยดุลยพินิจของท่านได้เลย
เราจะเป็นว่า พระสังฆราชผู้ปกครองสังฆมณฑลจะเป็นผู้มอบหรือสงวนอำนาจบางประการกับศาศนาบริกร หรือ “พระสงฆ์” ในสังฆมณฑลของท่านได้ตามอำนาจปกครองสังฆมณฑลของพระสังฆราช
ปีนี้เป็น “ปีพระสงฆ์” เห็นหลายสังฆมณฑลส่งเสริมให้สัตบุรุษได้ไปรับศีลอภัยบาปเพราะนักบุญยอห์น มารีย์ เวียนเนย์ เจ้าอาวาสผู้ศักดิ์สิทธิ์ องค์อุปถัมภ์ของพระสงฆ์ท่านโปรดศีลอภัยบาปอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทำให้คนได้กลับใจ กลับคืนดีกับพระเป็นเจ้า ก็เลยส่งเสริมให้พระสงฆ์ได้อภิบาลศีลอภัยบาปอย่างเต็มที่แก่สัตบุรุษ และเพื่อให้การส่งเสริมมีประสิทธิภาพพระสังฆราชหลายสังฆมณฑลจึงอนุญาตให้พระสงฆ์อภัยบาปที่สงวนไว้ได้เลยเพื่อสัตบุรุษจะได้กลับใจ และรับศีลอภัยบาปเข้ามาหาพระเป็นเจ้าอาศัยพระสงฆ์ใน “ปีพระสงฆ์” นี้มากยิ่งขึ้น
ที่มา - นิตยสารคาทอลิกรายเดือนอุดมศานต์ ประจำเดือนตุลาคม 2552/2009 หน้าที่ 88 – 89. กรุงเทพฯ:
ตอบ
คุณถามสั้น ๆ แต่คงต้องตอบยาวเลยนะครับ เอาประเด็นแรกก่อน “บาปที่พระสังฆราชสงวนไว้” แปลว่าบาปบางประการที่พระสังฆราชผู้ปกครองไม่อนุญาตให้พระสงฆ์อภัยบาปแก่ผู้ที่มาขอสารภาพบาปได้ทันที จนกว่าจะได้แจ้งและขออนุญาตโปรดบาปกับพระสังฆราชก่อน พระสงฆ์จึงโปรดบาปแก่ผู้มาสารภาพบาปประการนั้นได้
กฎหมายพระศาสนจักรเขียนไว้ว่าบาปทุกประการพระสงฆ์อภัยได้หมด แต่มีบาปบางประการที่เมื่อกระทำแล้วจะมีบทลงโทษโดยอัตโนมัติทันที และ “บาปทำแท้ง” ก็มีบทลงโทษให้ตัดขาดจากพระศาสนจักรโดยอัตโนมัติทันทีเมื่อกระทำ ดังนั้นผู้กระทำบาปมาแก้บาปกับพระสงฆ์เลยไม่ได้จะต้องมีใครที่มีอำนาจพาเขากลับเข้ามาสู่พระศาสนจักรเสียก่อน แต่ก่อนเราเข้าใจว่าพระสงฆ์อภัยบาปทำแท้งไม่ได้ แต่ไม่จริง ที่พระสงฆ์ยังให้อภัยผู้ทำบาปทำแท้งทันทีไม่ได้ก็เพราะพระสงฆ์จะต้องให้ใครที่มีอำตายพาเขากลับเข้ามายังพระศาสนจักรใหม่เสีก่อนเพราะโทษบาปทำแท้งคือ ตัดเขาออกจากพระศาสนจักรทันที
ปัจจุบันขั้นตอนการนำกลับเข้ามายังพระศาสนจักรจึงลดทอนขั้นตอนเหลือเพียงแจ้งกับพระสังฆราชผู้ปกครองสังฆมณฑล แล้วถ้าพระสังฆราชผู้ปกครองสังฆมณฑลอนุญาต ซึ่งเท่ากับให้เขากลับเข้ามาในพระศาสนจักรได้อีกครั้งหนึ่ง พระสงฆ์จึงโปรดอภัยบาปแก่ผู้ที่มาขอรับศีลอภัยบาปทำแท้งได้ต่อไป
ประการที่สอง ปัจจุบัน “บาปที่พระสังฆราชสงวนไว้” มีบาป “ทำแท้ง” เพียงประการเดียว และต้องเข้าใจด้วยว่าผู้ชายก็อาจทำบาปทำแท้งได้ เพราะบาปทำแท้งหมายถึงการส่งเสริม ร่วมมือ ยุยง บังคับให้เขาไปทำแท้ง หรือผู้ที่รับทำแท้งตั้งสถานที่หรือมีหุ้นส่วน หรือให้เช่าสถานที่หรือเกี่ยวข้องกับการทำแท้งก็เป็นบาปทำแท้งด้วยทั้งสิ้น
ทำไมบางสังฆมณฑลก็ไม่ต้องมี “บาปที่สงวนไว้” บางสังฆมณฑลก็มี?
ตอบ
ก็เพราะพระสังฆราชผู้ปกครองบางสังฆมณฑลให้อำนาจแก่พระสงฆ์ที่จะใช้ดุลยพินิจรับเขาเข้ามาในพระศาสนจักรได้เลย ลดขั้นตอนการนำเข้ามาในพระศาสนจักรแบบต้องแจ้งบาปประการนี้แก่พระสังฆราชออกไปเสีย พระสงฆ์บางสังฆมณฑลจึงโปรดบาป “ทำแท้ง” แก่ผู้มารับศีลอภัยบาป ด้วยดุลยพินิจของท่านได้เลย
เราจะเป็นว่า พระสังฆราชผู้ปกครองสังฆมณฑลจะเป็นผู้มอบหรือสงวนอำนาจบางประการกับศาศนาบริกร หรือ “พระสงฆ์” ในสังฆมณฑลของท่านได้ตามอำนาจปกครองสังฆมณฑลของพระสังฆราช
ปีนี้เป็น “ปีพระสงฆ์” เห็นหลายสังฆมณฑลส่งเสริมให้สัตบุรุษได้ไปรับศีลอภัยบาปเพราะนักบุญยอห์น มารีย์ เวียนเนย์ เจ้าอาวาสผู้ศักดิ์สิทธิ์ องค์อุปถัมภ์ของพระสงฆ์ท่านโปรดศีลอภัยบาปอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทำให้คนได้กลับใจ กลับคืนดีกับพระเป็นเจ้า ก็เลยส่งเสริมให้พระสงฆ์ได้อภิบาลศีลอภัยบาปอย่างเต็มที่แก่สัตบุรุษ และเพื่อให้การส่งเสริมมีประสิทธิภาพพระสังฆราชหลายสังฆมณฑลจึงอนุญาตให้พระสงฆ์อภัยบาปที่สงวนไว้ได้เลยเพื่อสัตบุรุษจะได้กลับใจ และรับศีลอภัยบาปเข้ามาหาพระเป็นเจ้าอาศัยพระสงฆ์ใน “ปีพระสงฆ์” นี้มากยิ่งขึ้น
ที่มา - นิตยสารคาทอลิกรายเดือนอุดมศานต์ ประจำเดือนตุลาคม 2552/2009 หน้าที่ 88 – 89. กรุงเทพฯ: