บทบาทของพระเจ้า และศาสนาในเกม

ถาม-ตอบพระคัมภีร์ เรื่องเสริมศรัทธา ความรู้ และสาระ บทความ ในคริสตศาสนา
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

เสาร์ มี.ค. 27, 2010 5:10 pm

บทบาทของพระเจ้า และศาสนาในเกม



เกม หรือวีดีโอเกม ก็เป็นอีกสื่อปัจจัยหนึ่งในธุรกิจ “ความบันเทิง” ที่อาจถูกจำแนกเทียบเคียงได้กับสื่อบันเทิงอื่นๆ เฉกเช่น วิทยุ โทรทัศน์ จนไปถึงสื่อสิ่งพิมพิ์ และสารสนเทศต่างๆ  ผู้ผลิตสร้าง ผู้ผลิตขาย และผู้บริโภคซื้อหา เสพ “ความคิด” ที่ทางผู้ผลิตสื่อส่งผ่านมอบมาให้


ในขณะที่วีดีโอเกมเป็นเสมือนช่องทางหนึ่งที่สามารถส่งผ่านความคิด และการนำเสนอได้เช่นนี้ เรื่อง “พระเจ้า” หรือเรื่อง “ศาสนา” ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่ได้ถูกนำเสนอผ่านวีดีโอเกมตลอดมา ตั้งแต่แรกเริ่มมีวีดีโอเกมขึ้นมา จวบจนถึงทุกวันนี้ ในบริบทที่อาจเหมือนหรือต่างกันออกไป


ขึ้นชื่อว่าศาสนาแล้ว แน่นอนว่าจัดเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนอันต้องพึงระวังในการกล่าวถึงเป็นพิเศษ ครั้งหนึ่งในยุคแรกๆ ของเกม ทางผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายจะระแวดระวังในการใส่เนื้อหาเหล่านี้ลงไปเป็นพิเศษ เพราะหากใช้ใส่อย่างไม่ระวังแล้ว อาจนำมาซึ่งกระแสต่อต้าน กระแสความไม่พอใจ อันไม่ใช่เรื่องดีแน่ๆ  สิ่งนี้เป็นที่เฝ้าระวังแม้แต่กับสิ่งสารพันอันเล็กน้อย  ดังตัวอย่างเช่นเกม Rockman ที่ตัวบอส Yellow Devil ในเกมที่เมื่อเกมถูกวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาแล้ว มันจำต้องถูกเปลี่ยนชื่อกลายเป็น Rock Monster แทน ตามนโยบายของ Nintendo ในขณะนั้น ที่จะไม่ใส่ปัจจัยใดๆ เลยที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนาลงไป แม้แต้คำว่า “Devil” หรือ “ปีศาจ” เช่นนี้เป็นต้น  ซึ่งแน่นอนว่านั่นมาจากมุมมองว่าวีดีโอเกมเป็นของเล่นสำหรับเด็ก เข้าถึงเด็ก และอันควรในการจำกัดเนื้อหาที่เด็กจะพึงเสพเป็นพิเศษด้วย



รูปภาพ
Yellow Dvil ----> Block Monster เมื่อวางจำหน่ายในอเมริกา





พระเจ้า ในเกมยุคแรก และแนวคิดพึงนิยม คือผู้ทรงฤทธานุภาพที่อยู่ฝ่ายผู้เล่น


แม้จะมีการหลีกเลี่ยงหรือพึงใช้อย่างระแวดระวัง พระเจ้าก็ปรากฏในประวัติศาสตร์วีดีโอเกมตั้งแต่ในยุคแรกๆ และแนวคิดพึงนิยมของพระเจ้าในยุคแรกๆ ที่เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยเกมแบบ Rogue like (แนวผจญภัยลุย Dungeon ไปเรื่อยๆ ที่เราอาจคุ้นกันในชื่อ Dungeon Explorer หรือชุด ฟุชิกินะดันเจี้ยน )  เกมแนว Text Based (เกมที่เล่นโดยอาศัยแต่ข้อความเป็นสำคัญ) ไปจนถึง World of Warcraft ในยุคปัจจุบัน  คือ พระเจ้าในแง่ผู้ทรงฤทธานุภาพ ผู้เป็นองค์แห่งความดี และอยู่ฝ่ายเดียวกับผู้เล่น  อาจปรากฏในเกมตรงๆ หรือเพียงแค่มีการกล่าวอ้างถึง อาทิเช่นบอกว่าอยู่ฝ่ายตัวเอก สนับสนุนตัวเอก หรือมอบภารกิจให้ตัวเอกไปจัดการ หรือคอยให้ความช่วยเหลือฝ่ายตัวเอกทั้งในทางตรงและทางอ้อม อาทิเช่นให้พร เพิ่มพลังให้ หรือแม้แต่แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ ปราบฝ่ายศัตรูอันชั่วร้ายลง จึงอาจกล่าวได้ว่าพระเจ้าในเกมยุคแรกๆ และแบบพึงนิยม เป็นเสมือนผู้อุปถัมภ์ที่มีอำนาจเหนือตัวเอกในเกม หากแต่คอยดูแลและให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้ตัวเอกสามารถบุกฝ่าตะลุยไปจนจบเกมได้





ผู้เล่น ในฐานะพระเจ้า อำนาจในมือจะใช้อย่างไร ?


หลังจากแนวคิดพึงนิยมของพระเจ้าที่คอยสนับสนุนผู้เล่นแล้ว ก็เริ่มมีเกมที่ฉีกแนวคิดพระเจ้าเดิมๆ ออกไป โดยนำบท “พระเจ้า” มาจำลองให้ผู้เล่นลองสวมใส่เป็นเองเลย  ดังที่เห็นได้จากเกม Populous ActRizer หรือ Black & White ที่ให้อำนาจผู้เล่นอย่างล้นปรี่ เป็นพระเจ้าปกครองเหนือตัวละคร NPC ที่ติ๊งต่างสมมุติให้เป็น “มนุษย์” ในครอบครองของเรา แน่นอนว่าเป้าหมายหลักของเกมคือให้เราทำหน้าที่พระเจ้าอย่างดี สร้างโลก ดูแลโลก ชี้นำมนุษย์ไปในทางที่ถูกที่ควร หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความเชื่อความศรัทธาลงไปในผู้คน ให้งอกเงยออกมาอย่างดีงามตามครรลองคลองธรรม  แต่แม้อำนาจมีอยู่ล้นปรี่ล้นฟ้าแต่ทั้งหมดก็ไม่ง่ายนัก แม้จะเป็นแค่เกม สถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ก็มีอยู่เสมอ ทั้งภัยธรรมชาติ การรุกรานผู้คนของปีศาจ ทุกขภัยต่างๆ ไปจนถึงการไม่เคารพเชื่อฟังพระเจ้าของ NPC มนุษยสมมุติเหล่านี้  ซึ่งแน่นอนเราในฐานะพระเจ้าพึงต้องคอยแก้ปัญหาอย่างใจเย็น คอยดูแลผู้คนของเราด้วยความเมตตา และไม่ ที่จะเป็นพระเจ้าผู้เกรี้ยวกราด เสกสายฟ้ามาทำลายบ้านเมืองผู้คน หรือจับคนเหวี่ยงขึ้นบนท้องฟ้าลงมากระแทกพื้นถึงแก่อสัญกรรม  แม้บางครั้งเราอาจจะอด นึกสนุกที่จะระบายอารมณ์แบบนั้นกับพวกคนบาปหยาบช้าไม่ได้ แต่แน่นอน นั่นไม่ใช่สิ่งที่เราในฐานะพระเจ้าพึงกระทำเลย  เราในฐานะพระเจ้าจะใช้อำนาจในมือเยี่ยงไร หรือจะดูแลผู้คนของเราได้ดีแค่ไหน จะเมตตา จะโกรธา จะละเลยปล่อยปละ หรือตามใจเสียจนเสีย เกมที่ให้บทเราเป็นพระเจ้าเหล่านี้ ก็ได้สร้างคำถามอันน่าสนใจให้เราลองเล่น และลองสวมบทบาทเป็น



รูปภาพ
สวมบทเป็น "พระเจ้า" ใน Popolous


รูปภาพ
ใน Black & White ที่อาจเป็นพระเจ้าผู้ทรงเกรี้ยวกราดได้






วีดีโอเกม คือสถานที่อันทำให้ปาฏิหาริย์ของพระเจ้าเป็นรูปธรรม


วีดีโอเกมจัดเป็นสื่อแรกๆ ที่ทำให้ “ภาพปาฏิหาริย์ของพระเจ้า” ปรากฏอย่างเป็นรูปธรรม เพราะไม่ใช่แค่ข้อความเขียนและเสียง ที่อาศัยจินตนการในการสร้างภาพ วีดีโอเกมทำให้ปาฏิหาริย์และอิทธิฤทธิ์ของพระเจ้าได้แสดงออกมาให้เห็นเด่นชัด และต่างจากสื่ออื่นจากการสร้างอารมณ์ร่วมของผู้เล่น ที่อาจสัมผัสได้เลยจากการเล่น  เช่น ลองจินตนการว่าคุณกำลังเล่นเกมแล้วเหลือพลังชีวิตเพียงแค่เล็กน้อย แล้วพลันพระเจ้าปรากฏ เปล่งแสงวาบลงมาฟื้นฟูพลังคุณจนเต็ม คุณจะไม่รู้สึกขอบคุณหรือ ? และนี่เป็นสิ่งที่ปรากฏแต่ในวีดีโอเกม มิอาจหาได้จากสื่ออื่นที่เราจำอยู่ในฐานะของ “ผู้เฝ้าสังเกตการณ์” ไม่ใช่ในฐานะ “ผู้เล่น” เฉกเช่นดังนี้    และแน่นอน ในวีดีโอเกม ยังอาจจัดเป็น “โลกแฟนตาซี ที่แสดงอิทธิฤทธิ์ของพระเจ้าออกมาได้อย่างเต็มที่”


ซึ่งเพื่อการนี้ จำขอยกคำพูดจาก  C.S. Lewis  ผู้ร่ายมนต์เสน่ห์ผ่านผลงานประพันธ์ชื่อก้อง  “The Chronicle of Narnia”    กับประโยคที่เขาเคยถ้อยแถลงไว้ผ่านผลงาน “On Three Ways of Writing for Children” ว่า


“เด็กๆ ไม่ได้รังเกียจไม้ทั่วไปที่มันธรรมดา เพียงเพราะพวกตนได้อ่านเรื่องราวของไม้วิเศษมาก่อน
ในทางกลับกัน การอ่านเรื่องราวของไม้วิเศษนั้น  ทำให้ไม้ธรรมดาดูมีความพิเศษมากขึ้น”



และนั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นเช่นกันกับวีดีโอเกม มันไม่ทำให้โลกปัจจุบันดูดาษดื่นน่าเบื่อ หากแต่ทำให้สิ่งรอบตัวเราดูมีความพิเศษยิ่งขึ้น และแน่นอนปาฏิหาริย์ อิทธิฤทธิ์ของพระเจ้าในเกม หาทำให้ชีวิตจริงดูน่าเบื่อ เพียงเพราะเราได้เข้าในเกม อันเป็นเวทีแสดงซึ่งฤทธิ์อำนาจนี้ไม่



รูปภาพ
The Chronicle of Narnia - เรื่องราว ที่ทำให้สิ่งสารพันธรรมดารอบตัวเรา พลันมีมนต์เสน่ห์ขึ้นมาอย่างแนบเนียน





เครื่องหมายทางศาสนา ในวีดีโอเกม


บางเกมไม่ได้ใส่เรื่องราวของพระเจ้าและศาสนาลงไปตรงๆ หากแต่แสดงซึ่งเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ทางศาสนาลงไปประกอบ และบทบาทของสัญลักษณ์เหล่านั้นก็ชัดเจน เพราะทันทีที่สิ่งเหล่านี้ปรากฏออกมาในเกม เราก็เข้าใจความหมายได้ทันทีโดยไม่ต้องถามหรือหาให้มากความ  ซึ่งที่เห็นเด่นชัดสุดคงไม่พ้นสัญลักษณ์ “ไม้กางเขน” ที่สื่อแทนถึง “ความศักดิ์สิทธิ์” “พระเจ้า” และ “จุดปลอดภัย” เป็นต้น  เกมอย่าง Dante’s Inferno หรือ Castlevania (อาคุมะโนะโจว แดร๊กคิวล่า) ให้บทบาทไม้กางเขน (หรือแม้แต่ Holy Water น้ำมนต์) ในแง่อาวุธศักดิ์สิทธิ์ที่มีพลังอำนาจในการต่อต้านศัตรู และความชั่วร้าย ซึ่งแน่นอนว่าไม้กางเขนนี้ไม่ได้เป็นการเอาเรื่องศาสนามาพูดถึงตรงๆ แต่ทุกคนที่เห็นสัญลักษณ์แทนเหล่านี้ก็เข้าใจแก่นสารสาระที่จะสื่อได้  ซึ่งนั่นหมายรวมถึงเครื่องหมายสัญลักษณ์ทางศาสนาอื่นๆ ที่ปรากฎในเกม เฉกเช่น สายประคำ จอกกาลิคซ์ มงกุฎหนาม คทากางเขน พระคัมภีร์ไบเบิ้ล เครื่องแต่งกายสงฆ์ และอื่นๆ ด้วย  (หรือเกมที่มีไม้กางเขนเป็นไอเท็มให้เราเก็บและใช้ เราก็รู้ทันทีว่าเกมจะสื่ออะไร หรือใช้อะไร)



รูปภาพ
อาคุมะโนะโจว แดร๊คคิวล่า กับสัญลักษณ์ไม้กางเขนคู่บุญเกม


รูปภาพ
บทบาทของไม้กางเขน อย่างที่เป็นในเกมชุดนี้


รูปภาพ
Dante's Inferno เองก็เอาสัญลักษณ์ไม้กางเขนมาใช้เป็นอาวุธ





วีดีโอเกมที่ตั้งคำถาม หรือท้าทายเรื่องพระเจ้า


แน่นอนว่า ถึงแม้จะมีพระเจ้าในแง่ดี พิมพิ์นิยมปรากฏในวีดีโอเกม ก็เฉกเช่นเดียวกันที่จะมีเกมที่ตั้งคำถาม หรือท้าทายเรื่องของพระเจ้าเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะคำถามที่ชอบถามถึงการดำรงอยู่จริงของพระเจ้า การขยายแนวคิดเรื่องมนุษนิยม หรือแม้แต่แนวคิดที่ต่อต้านศาสนา ต่อต้านศาสนจักร ในขณะที่เรื่องพระเจ้าเคยเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จะพูดถึงอย่างไม่เหมาะสมในเกมมิได้  กระแสโลกาภิวัฒน์และโลกยุคใหม่ได้บ่มเพาะให้คนมองโลกในแง่สีเทามากยิ่งขึ้น และผลักดันคนยุคใหม่ไปสู่ความสงสัยและการตั้งคำถามในสิ่งเหนือธรรมชาติและการดำรงอยู่ต่างๆ หลายครั้งที่คำถามเหล่านั้นถูกสื่อออกมาอ้อมๆ ผ่านในเกม ซึ่งถึงแม้อาจจะไม่มีการเอ่ยออกมาตรงๆ เยี่ยงชื่อที่เหมือนกันอย่างเป๊ะๆ ทุกกระเบียดนิ้ว แต่แน่ใจได้เลยว่าใครก็ตามที่เล่นเกมเหล่านั้น ก็ย่อมทราบได้ว่า องค์กรศาสนาจำลองที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นนั้นคือคริสต์ศาสนา หรือสิ่งเหนือธรรมชาติที่ถูกสมมุติขึ้นมานั้น กำลังเป็นความพยายามสื่อถึงพระเจ้าเป็นต้น  ดังเช่นในเกม In Thief: The Dark Project  มีโบสถ์ที่ชื่อว่า the Hammerites  ซึ่งดูยังไงๆ ก็เป็นโบสถ์คาทอลิกชัดๆ และในขณะเดียวกัน เรื่องศาสนาและความเชื่อก็ถูกตั้งคำถามหลายต่อหลายครั้งในเกมบางเกม เช่น  Assassin’s Creed เป็นต้น



รูปภาพ
Assassin's Creed ที่เรื่องของการเมือง ศาสนา และสถาบันทั้งหลายถูกตั้งคำถาม



Ken Levine ไดเรคเตอร์ของเกม Bio Shock  ได้กล่าวถึงมุมมองของเขาต่อโลก ที่เขามองว่าเป็นสีเทา ที่หามีสิ่งใดถูกผิดจริงในโลกใบนี้ เขาพยายามจะสื่อถึงแนวคิดนี้ผ่านออกมาในเกม ดังที่เห็นผ่านตัวละครในเกม นาม Andrew Ryan ที่ก่อร่างสร้างเมืองตั้งบนพื้นฐานของความเชื่อส่วนตน ยกมนุษย์ ปฏิเสธพระเจ้า พร้อมประโยคชี้นำท้าทายความเชื่อที่ว่า  “ไร้พระเจ้า ไร้กษัตริย์ เพียงดำรงซึ่งมนุษย์” (No Gods or Kings. Only Man)



รูปภาพ
กล่าวสื่อผ่านปากตัวละคร Andrew Ryan ใน Bio Shock



เฉกเช่นอีกหลายเกมที่หากท้าทายคำถามเรื่องพระเจ้า ความถูกต้องและศาสนจักรกันในเกม พวกเขาเหล่านั้นตระหนักรู้ว่าสิ่งเหล่านี้มิอาจทำตรงๆ ในโลกปัจจุบันได้ อันจะนำไปสู่การต่อต้าน ความไม่พอใจ และนำไปสู่ปัญหาอีก 108 1009 ประการที่พวกตนไม่พึงปรารถนาจะเผชิญ จึงเลือกตั้งยิงคำถามถึงผู้เล่นอย่างอ้อมๆ โดยนัยผ่านทางเกมเช่นนี้  ที่เลวร้ายคือทางผู้ผลิตบางรายมองเกมว่าเป็น “โลกแฟนตาซีที่ตนจะรังสรรค์ปรุงแต่งเช่นไรก็ได้”  ซึ่งลงเอยด้วยการทำเนื้อหาเสียๆ หายๆ โจมตีเรื่องพระเจ้า เรื่องความเชื่อของบุคคลอื่น หรือโจมตีองค์กรทางศาสนาผ่านสารโดยนัยในเกมเหล่านั้น


รูปภาพ
เกมในชุด ขินเมงามิเทนเซย์ อิฟ ก็เป็นอีกเกมที่เอาเรื่องหรือชื่อของพระเจ้ามาเล่นเป็นหลักตั้งแต่ภาคแรก
และใช้ชื่อ "Messiah" หรือ พระผู้ไถ่มาปรากฏตรงๆ ในเกม และเป็นบอสใหญ่ของเกมด้วย





โลกแฟนตาซีก็ดี วีดีโอเกมก็ดี ก็เป็นเฉกเช่นสื่อบันเทิงสารสนเทศอื่นๆ ที่เป็นเหรียญที่มีสองด้าน ให้ได้ทั้งแง่ดีมีประโยชน์ และแง่ลบบ่อนทำลาย สุดท้ายเรื่องพระเจ้าและศาสนาในเกม ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ปรากฏในวีดีโอเกมเฉกเช่นสื่ออื่นๆ  วีดีโอเกมอาจถูกใช้เป็นสื่อที่ใช้ในการแพร่ธรรม หรือทำให้เราเติบโตด้านจิตวิญญาณ มีความเชื่อศรัทธาก้าวหน้าขึ้นได้ฉันใด ก็เป็นสื่อที่นำไปสู่การสูญเสียความเชื่อ หรือแหล่งบิดเบือนข้อมูลข้อเท็จจริงได้เช่นเดียวกัน ฉันนั้น  ดังนั้นเกมเมอร์ทุกท่านพึงใช้วิจรนญาณอันดี เลือกเสพแต่สิ่งดีๆ ที่มากับเกมด้วยนะจ้ะ !


ที่มา http://www.gamespy.com/articles/105/1059455p1.html
แปลและเรียบเรียงโดยกลุ่มลูกแกะน้อยของพระคริสตเจ้า http://www.newmana.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
Valkyrie Zero Number
โพสต์: 2081
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ส.ค. 27, 2007 4:11 am

เสาร์ มี.ค. 27, 2010 5:41 pm

เห็นรูปสุดท้ายแล้ว ฟีลขึ้นมาสามแง่
1.อยากเอาทีมพระเอกไปแพ้บอสตัวนี้จัง สักล้านรอบ
2.อยากเปลี่ยนเอารูปปั้นยิ้มหูยานหน้าตาย ที่พวกมันชอบยกชูนักชูหนา มาแทนที่
3.ใจจริงก็อยากผลิตแนวที่สวนกระแสมาตอบโต้ถ้าทำได้ จำพวก พวกพระเอกอยู่ฝ่ายพระเจ้า และปราบฝ่ายโลกที่ตกเป็นของมารซะอยู่หมัด ให้ตรงกับในวิวรณ์ไปซะ

เข้าเรื่อง ๆ
น่าแปลกที่รู้สึกว่า ญี่ปุ่นเป็นเจ้าพ่อในกรณีหลัง ๆ ซะมาก (......ในฐานะที่เคยอยู่กับฝั่งนั้นมาก่อน ตอนนี้เลยหันไปเคืองพวกมันเป็นพิเศษ)

เกือบลืม ข้อ 2 หมายถึงเจ้านี่นะ
รูปภาพ
แก้ไขล่าสุดโดย Anonymous เมื่อ เสาร์ มี.ค. 27, 2010 5:44 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

เสาร์ มี.ค. 27, 2010 6:35 pm

ไม่ใช่จะไม่ทำนะ ญี่ปุ่นเองทำบอสแรกของนิจาไกเด้น2เป็นอันนี้

รูปภาพ

รูปภาพ
Little Boy
โพสต์: 250
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ต.ค. 27, 2009 3:33 am

เสาร์ มี.ค. 27, 2010 10:05 pm

ผมว่ามันทำให้เกมสนุกขึ้นนะ
อย่าง Castle venia Symphony of the Night
ตอนสุดท้าย Dracula ก่อนตายยังอ้าง มัทธิว16:26 เลยครับ

เกมเป็นเพียงการบอกความเชื่อของคนที่สร้างครับ

ถ้าหลงไปเกิดความคิดต้องการขัดแย้งก็จะออกจากทางไปนะครับ
พระเจ้าสถิตย์กับเราเสมอ
~@
โพสต์: 2546
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 10:54 pm

อาทิตย์ มี.ค. 28, 2010 12:02 am

ดาบดีหรือไม่ดีนั้นอยู่ที่คนถือ

ถ้าคนถือเป็นคนดีดาบนั้นก็จะปกป้องความชั่วร้ายปัดเป่าความอยุติธรรม

แต่หากผู้ที่ถือดาบนั้นชั่วร้ายดาบนั้นก็จะนำพาความวิบัตมาสู่มวลมนุษยชาติ
ภาพประจำตัวสมาชิก
(⊙△⊙)คุณxuู๓้uxoม(⊙△⊙)
โพสต์: 892
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ต.ค. 10, 2008 12:38 am

อังคาร มี.ค. 30, 2010 6:07 pm

อยากจะทำเกมแนว ไฟนอลแฟนตาซี ออกแบบ เป็นการประกาศความเชื่อ ไปในตัว
ตอบกลับโพส