ประวัติคณะ ภคิณีเซนต์ปอล เดอ ชาตร์

ถาม-ตอบพระคัมภีร์ เรื่องเสริมศรัทธา ความรู้ และสาระ บทความ ในคริสตศาสนา
ตอบกลับโพส
เมจิ
โพสต์: 3257
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ส.ค. 22, 2011 6:44 pm

พุธ ก.ย. 26, 2012 9:42 pm

พระพรพิเศษ

อุทิศชีวิตเพื่อการศึกษา การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยและคนยากไร้ โดยมีพระมารดาแห่งชาร์ตร และนักบุญเปาโลเป็นองค์อุปถัมภ์ของคณะ

ภารกิจ

คณะตอบสนองการเรียกร้องของพระศาสนจักร และของเพื่อนมนุษย์โดยทำงานในโรงเรียน 33 แห่ง โรงพยาบาล 2 แห่ง คลินิก 1 แห่ง สถานทูต 1 แห่ง รวมทั้งงานสงเคราะห์ต่างๆ ดูแลเด็กกำพร้า เด็กติดเชื้อเอดส์ คนชรา ชาวไทยภูเขา ชุมชนแออัด ฯลฯ

จิตตารมณ์

พื้นฐานจิตตารมณ์ของภคินีเซนต์ปอล มาจากจิตตารมณ์ของนักบุญเปาโล กล่าวคือ มี    พระคริสต์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งแสดงออกด้วยความรักอย่างลึกซึ้งในองค์พระคริสต์ ใส่ใจอย่าง   ร้อนรนในพระวรสารของพระองค์    จิตตารมณ์ซึ่งเชื่อมั่นในการฟื้นคืนชีวิตขององค์พระคริสต์แสดงออกด้วยการน้อมรับพระธรรมล้ำลึกแห่งความทรมานกาย และความตายในชีวิตของตน  อันเป็นทางไปสู่การเริ่มเจริญของชีวิตใหม่ และความชื่นชมยินดีนิรันดร คณะได้รับการกำหนดให้อุทิศชีวิตเพื่อการศึกษา การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยและคนยากไร้ ภคินีจึงพร้อมเสมอที่จะประกอบกิจกรรมทุกแบบ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติในภาระหน้าที่ดังกล่าว ทั้งนี้ ด้วยความซื่อสัตย์ต่อความสุภาพถ่อมตน และความราบเรียบอันเป็นรากฐานดั้งเดิมของคณะ


ประวัติการก่อตั้งคณะ
















ภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร กำเนิดในประเทศฝรั่งเศสซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่รักสวยรักงามและมีความเจริญก้าวหน้า แต่ก็ยังมีความอดอยากยากไร้ และคนไม่มีการศึกษาเป็นจำนวนไม่น้อยนิดในประเทศฝรั่งเศส    
    
ในศตวรรษที่ 17 พระศาสนจักรเริ่มมีทัศนะที่กว้างขวางยิ่งขึ้น เกี่ยวกับการถวายตัวของนักบวช ว่ามิใช่จะเก็บตัวอยู่ในอารามอย่างเดียว แต่ควรอุทิศตนเพื่อเพื่อนมนุษย์ด้วย เพราะมนุษย์มีทั้งร่างกาย วิญญาณ และสติปัญญาที่รอคอยความรอด

ปี ค.ศ. 1696 ภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร จึงได้กำเนิดขึ้น โดยมีคุณพ่อหลุยส์ โชเวต์ (Louis CHAUVET) พระสงฆ์พื้นเมือง เจ้าอาวาสวัดประจำตำบล เลอเวส์วิลล์-ลา-เชอนาร์ด (Levesville-la-Chenard) เป็นผู้รวบรวมหญิงสาวชาวนา 4 ค น ที่มีความศรัทธาและปรารถนาจะรับใช้เพื่อนมนุษย์ ให้มาทำงานช่วยวัด นอกจากสมาชิก 4 คนแรกนี้แล้วยังมีลูกสาวของขุนนางอยู่อีกผู้หนึ่งด้วย คือ คุณแม่มารี อานน์ เดอ ตียี (Demoiselle Marie-Anne de Tilly) ซึ่งคุณพ่อหลุยส์ โชเวต์ ได้ให้เป็นผู้อบรมหญิงสาวรุ่นแรกนั้น ให้พร้อมสำหรับเมตตาธรรมตามความต้องการของยุคนั้น คือ การพัฒนาหมู่บ้านใกล้เคียง ทั้งในด้านมนุษยธรรมและด้านวิญญาณ ให้การศึกษาอบรมเด็กหญิ งโดยไม่คิดมูลค่า พร้อมทั้งเอาใจใส่รักษาพยาบาล บริการคนเจ็บตามโรงพยาบาล เยี่ยมเยียนคนยากจน คนเจ็บตามบ้าน และอบรมหญิงสาวให้รู้จักทำงาน



งานของคณะดำเนินการเรื่อยมาอย่างเรียบๆ ในละแวกวัดเลอเวส์วิลล์นั้นเอง ควบคู่ไปกับการทรมานกายอย่างเคร่งครัด และการทำงานหนักที่ต่ำต้อยที่สุดเพื่อเลี้ยงชีพ สัตบุรุษเรียกเราว่า "ภคินีเมตตา" ค.ศ. 1707 คุณพ่อหลุยส์ โชเวต์ ได้มอบภคินีของท่านให้อยู่ในความรับผิดชอบของพระสังฆราชปอล โกเดต์ เดมาเรส์ (Mgr Paul Godet des Marais) ผู้ได้ตั้งชื่อให้เราว่า "ภคินีเซนต์ปอล" ให้มีนักบุญเปาโลเป็นองค์อุปถัมภ์และแบบอย่างแห่งความกระตือรือร้นในการ   แพร่ธรรม พระคุณเจ้ายังได้แต่งตั้งให้คุณพ่อ มาเรโชว์ (P?re Mar?chaux) เป็นอธิการคนแรกของคณะ ซึ่งเป็นผู้ปลูกฝังจิตตารมณ์ของคณะให้แก่ภคินีรุ่นแรก


เมื่อภคินีอุทิศตนทำงานดังกล่าวข้างต้นมาได้ 30 ปี คือ ค.ศ. 1727 ท่านเค้าท์เดอ โมเรอปาส์ (M.le comte de Maurepas) เลขาธิการของรัฐสภา ได้ขอพระสังฆราชแห่งชาร์ตร ให้ส่งภคินีไปรับใช้คนเจ็บในโรงพยาบาลที่กาเยนน์ และอบร มสั่งสอนเด็กที่นั่น ซึ่งนับเป็นก้าวแรกที่คณะเริ่มออกแพร่ธรรมในต่างแดน

ชีวิต  ความเป็นมา และการทำงานของคณะ    ได้ดำเนินไปในพระญาณสอดส่องของ พระเป็นเจ้า มีพระศาสนจักรให้การสนับสนุนมาโดยตลอด อาศัยประมุขของพระศาสนจักรท้องถิ่น พระสงฆ์และสัตบุรุษ จนกระทั่งวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ.1931 สมเด็จพระสันตะปาปา     ปีโอที่ 11 ทรงโปรดเกล้าฯ อนุมัติเห็นชอบให้ตั้งคณะอย่างเป็นทางการถาวร และทรงรับรองธรรมนูญของคณะ

ประวัติการก่อตั้งคณะในประเทศไทย

เริ่มต้นหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆในทวีปยุโรป ในคราวแรกสยามในสมัยนั้นมีชุมชนชาวตะวันตกมา กกว่าสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากจำเป็นต้องอาศัยชาวตะวันตกซึ่งเป็นผู้ชำนาญ การด้านต่างๆ อาทิ การเงินการคลัง กฎหมาย วิศวกร สถาปนิก ช่างสำรวจ และรังวัด ช่างไฟฟ้า มาช่วยวางโครงสร้างการบริหารและพัฒนาประเทศ ให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก

 ชุมชนชาวตะวันตกที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว แถบตรอกโอเรียนเต็ล สุรวงศ์ บางรัก สีลม สาทร บ้านทวาย จึงเกิดความต้องการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่ทันสมัยเพิ่มขึ้นด้วย โรงพยาบาลที่ทันสมัยแบบตะวันตก เป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องการเพิ่มขึ้นมากในสมั ยนั้นนอกจากบางกอกเนิร์สซิ่งโฮม อันเป็นสถานพยาบาลขนาดเล็กบนถนนคอนแวนต์แล้ว ที่หัวถนนสีลม ด้านบางรัก ก็มีโรงพยาบาลบางรัก ในความดูแลของนายแพทย์เฮย์ แห่งกระทรวงทหารเรือ และฝั่งธนบุรีมีโรงพยาบาลวังหลัง หรือที่ได้รับการสถาปนาเป็นศิริราชพยาบาลเมื่อ ค.ศ.1888 เท่านั้น ดังนั้น ในปี ค.ศ. 1898 พระสังฆราช หลุยส์ เวย์ (Mgr. Louis Vey) ผู้แทนสมเด็จพระสันตะปาปาประจำราชอาณาจักรสยาม จึงประสงค์จะสร้างโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ที่กรุงเทพฯ และได้ขอความร่วมมือไปยังค ณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร แขวงไซ่ง่อน ซึ่งมี  พันธกิจด้านการพยาบาล และการศึกษา ให้ส่งภคินีเข้ามาช่วยงานโรงพยาบาล แมร์กังดิ๊ด (M?re Candide) เป็นอธิการิณีเจ้าคณะแขวงไซ่ง่อน จึงได้ส่งเซอร์ 7 ท่าน เข้ามาดังนี้ เซอร์อิกญาส เดอ เยซู, เซอร์ดอนาเซียน, เซอร์คามิล เดอ เยซู, เซอร์เซราฟิน เดอมารี, เซอร์เอดมองค์, เซอร์เออเชนี ดู ซาเครเกอ, เซอร์ชอง แบร์ฆมันส์ เข้ามาปฏิบัติงานในสยาม และมีนายแพทย์ปัวซ์ (ซึ่งต่อมาเป็นแพทย์ประจำราชสำนัก)   เป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาล นี่เป็นก้าวแร กของคณะภคินีในประเทศไทย
เมจิ
โพสต์: 3257
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ส.ค. 22, 2011 6:44 pm

พุธ ก.ย. 26, 2012 9:43 pm

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของคณะภคินีในเขตแดนของฝรั่งเศส ไม่ใคร่จะดีนัก เนื่องจากรัฐบาลฝรั่งเศสในขณะนั้น ได้ออกกฎหม ายให้โอนทรัพย์สินของคณะนักบวชที่ทำงานของฆราวาส เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นของรัฐ แมร์กังดิ๊ด ได้ทราบว่ากฎหมายที่บังคับ ให้โอนทุกสิ่งให้ฆราวาสนั้น จะใช้บังคับครอบคลุมไปถึงอาณานิคมทุกแห่งของฝรั่งเศสด้วย รวมทั้งดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศสที่ท่านดูแลอยู่ ท่านเห็นความจำเป็นที่จะต้องส่งภคินีไปทำงานใน ดินแดนที่มิได้เป็นของฝรั่งเศส เพื่อภคินีจะเลี้ยงชีพตนเองได้ และสยามเป็นดินแดนปลอดภัยที่อยู่ใกล้ที่สุด





















ในขณะนั้น ภคินี 2 ท่านกำลังจัดระเบียบนวกสถานของคณะธิดารักกางเขน-นักบวชหญิงพื้นเมือง ของสังฆมณฑลกรุงเทพฯ (ปัจจุบัน คือ คณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ) ที่วัดเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์ สามเสน ดังนั้น พระสังฆราชหลุยส์ เวย์ จึงยินดีรับภคินีเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยงานนี้

ต่อมาเมื่อ ต้นปี ค.ศ. 1905 แมร์แซงต์ซาเวียร์ ได้รับการแต่งตั้งจากแขวงไซ่ง่อนให้เป็นผู้ดูแลกิจการคณะในประเทศไทย คุณพ่อ กอลอมเบต์ พระสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศแห่ง       กรุงปารีส มีความต้องการให้ภคินีมาช่วยสอนเด็กยากจนและดูแลเด็กกำพร้า จึงได้ขอภคินีมาดู แล โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ซึ่งเป็นโรงเรียนคาทอลิกหญิงแห่งแรกภคินีสอนภาษาต่าง ประเทศ ดนตรี และการเย็บปัก ถักร้อย

ปี ค.ศ.1906 ภคินีเปิดโรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ ที่กุฎีจีน ธนบุรี



















ปี ค.ศ.1907 ภคินีจัดการศึกษาที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ที่ถนนคอนแวนต์   สีลม

โรงเรียนสตรีทั้ง 3 แห่งนี้ มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังคมไทย เพราะสอนหนังสือ ให้กับกุลสตรีไทยตามมาตรฐานตะวันตก ทำให้กุลสตรีไทยตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา มีความรู้ภาษาต่างประเทศเป็นอย่างดี แม้จะไม่เคยเดินทางออกนอกประเทศไทยมาก่อนเลย และในสมัยต่อมาเมื่อกระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ต้องสอนภาษาไทยในโรงเรียนจึงจะได้รับการรับรองวิทยฐานะ โรงเรียนสตรีในความดูแล ของคณะภคินีฯ ก็รักษาคุณภาพไว้ได้เป็นอย่างดี

ตลอดระยะเวลานี้ คณะภคินีทำงานภายใต้การดูแลของอธิการิณีเจ้าคณะแขวงไซ่ง่อน ตราบจนกระทั่งได้ดำเนินงานในประเทศสยาม อย่างสม่ำเสมอและมั่นคงแล้ว ประมาณ 21 ปี    จึงมีการสถาปนาคณะภคินีเแขวงประเทศสยามขึ้น เมื่อปี ค.ศ.1923 มีแมร์ฟรังซัวส์ เดอ แซงมิเชล (M?re Fran?ois de St. Michel) เป็นอธิการิณีเจ้าคณะแขวงคนแรก

เราอาจเปรียบพันธกิจของภคินีได้กับเมล็ดแก่จัดของต้นไม้ แห่งเมตตาธรรม ที่ปลิดปลิวมาจากแดนไกล แล้วตกลงบนผืนดินสยา มตามความต้องการของพระเป็นเจ้า งอกและเจริญ เติบโตอย่างมั่นคงในดินแดนที่เปี่ยมด้วยน้ำพระราชหฤทัยแห่งองค์พระมหากษัตริย์ไทย ผู้มีขันติธรรมทางศาสนา และทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก ของทุกศาสนาในประเทศ

ประวัติการเริ่มงานด้านการศึกษาของภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในประเทศไทย



คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ดำเนินการเปิดโรงเรียนสตรี 3 แห่ง โดยเริ่มจาก

ค.ศ. 1905 คุณพ่อกอลอมเบต์ พระสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส มีความต้องการให้ภคินีมาช่วยสอนเด็กยากจน และดูแลเด็กกำพร้า จึงได้ขอภคินีมาดูแลโรงเรียนอัสสัม ชัญคอนแวนต์ บางรัก กรุงเทพฯ

ค.ศ. 1906 ภคินีเปิดโรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ ธนบุรี กรุงเทพฯ

ค.ศ. 1907 ภคินีจัดการศึกษาที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ สีลม กรุงเทพฯ ณ บริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของคณะนักบวชหญิงแซงต์มอร์

โรงเรียนสตรีทั้ง 3 แห่งนี้ มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังคมไทย เพราะสอนหนังสือให้กับกุลสตรีไทยตามมาตรฐานตะวันตก ทำให้กุลสตรีไทยตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา มีความรู้ภาษาต่างประเทศเป็นอย่างดีแม้จะไม่เคยเดินทางออกนอกประเทศไทยมาก่อนเลย และในสมัยต่อมา เมื่อกระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ต้องสอนภาษาไทยในโรงเรียนจึงจะได้รับการรับรองวิทยฐานะ โรงเรียนสตรีในความดูแลของคณะภคินีฯ ก็รักษาคุณภาพไว้เป็นอย่างดี หลังจาก ที่ได้ก่อตั้ง 3 โรงเรียนแรกขึ้น คณะก็ได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นอีกหลายแห่ง ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด



ปัจจุบันมีโรงเรียนอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของคณะทั้งสิ้น 33 แห่ง แบ่งเป็นโรงเรียนของสังฆมณฑล 13 แห่ง และโรงเรียนของคณะ 20 แห่ง

การจัดการศึกษาเป็นงานอภิบาลหลักของคณะฯ และเป็นไปตามจิตตารมณ์ดั้งเดิมของคณะฯ ซึ่งจะดำเนินต่อไปในอนาคตทั้งนี้เพราะเป็นงานขององค์พระผู้เป็นเจ้าและเป็นพระพรพิเศษที่ได้ทรงมอบให้แก่ผู้ก่อตั้งคณะมานานกว่าสามศตวรรษแล้ว

คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร กับงานด้านสังคมสงเคราะห์




คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร เป็นคณะนักพรตหญิง ในศาสนาคริสต์นิกายโรมัน        คาทอลิก ภารกิจสำคัญของคณะคือ การให้การรักษาพยาบาลและการศึกษาอบรม

คณะภคินีทำงานอยู่ในโรงเรียน และโรงพยาบาล รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือแก่ ผู้ด้อยโอกาสในสังคม โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครอง และคณะนักเรียนของโรงเรียนในเครือเซนต์ปอล

งานสังคมสงเคราะห์ ได้แก่

1. บ้านมิตราทร จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1998 เป็นสถานสงเคราะห์เด็กกำพร้าที่บิดามารดาเสียชีวิตด้วยโรคเ อดส์ เด็กถูกทอดทิ้งเนื่องจากติดเชื้อจากแม่ คณะภคินีรับเด็กเหล่านี้มาอยู่ที่บ้านมิตราทร ให้ความรัก ความอบอุ่น การดูแลรักษาพยาบาล เด็กทุกคนได้เรียนหนังสือเหมือนเด็กปกติทั่วไป โดยมีครูมาสอนที่บ้าน

2. บ้านพรแดนสรวง จังหวัดอำนาจเจริญ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2003 เป็นศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุและพัฒนาเด็กเล็ก โดยรับสงเคราะห์ผู้สูงอายุที่ถูกลูกหลานทอดทิ้ง ไร้ที่อยู่อาศัย และรับเลี้ยงบุตรของผู้ต้องขังหญิง โดยคณะภคินีไปเยี่ยมนักโทษหญิงที่เรื อนจำ และเมื่อพบเด็กเล็กที่แม่คลอดในเรือนจำและแม่ยังต้องโทษอยู่ ภคินีจะรับเด็กเหล่านี้มาเลี้ยงดูจนกว่าแม่จะพ้นโทษและสามารถรับคืนไปเลี้ยงเองได้

3. บ้านรวงสาลี จังหวัดสกลนคร เริ่มก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2000 เป็นบ้านที่ให้ความช่วยเหลือนักเรียนชายที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนตำรวจชายแดนให้ได้ศึกษาต่อ โดยจัดตั้งโครงการเกษตรเพื่อการศึกษาเด็กนักเรียนที่อยู่ในโครงการจะได้รับความรู้ด้านเกษตรกรรม สามารถหารายได้จากการเกษตรเพื่อเป็นทุนการศึกษาของตนเอง และเพื่อประกอบอาชีพเกษตรต่อไปไ ด้ในอนาคต

4. ศูนย์พัฒนาการศึกษาเขตปูแป้ จังหวัดตาก ซึ่งประกอบด้วย
- โรงเรียนเปาโลอุปถัมภ์ (สามหมื่นทุ่ง) อนุบาล-ป.4
- โรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์ (บ้านไม้ไผ่) อนุบาล- ป.4
-  ศูนย์คุณพ่อกียูอนุสรณ์ (ปูแป้)

โรงเรียนสามหมื่นทุ่งและที่บ้านไม้ไผ่ เป็นโรงเรียนบนดอยที่ให้การศึกษาแก่เด็กชาวไทยภูเขาที่ไม่สามารลงมาเรียนที่พื้นที่ราบได้ โดยคณะภคินีเป็นผู้สอนและดำเนินงาน เด็กที่มาเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และเสียค่าเล่าเรียนเพียงปีละ 100 บาท

หลังจากเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้วจึงส่งไปที่ศูนย์คุณพ่อกียู เพื่อเข้าเรียนต่อในโรงเรียนรัฐบาล ตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 5 จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยเด็กจะพักอยู่ที่ศูนย์

พันธกิจของภคินี


















แบ่งตามวาระการดำรงตำแหน่งของอธิการิณี เจ้าคณะแขวงในประเทศไทย ซึ่งได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นแขวงเมื่อ  ค.ศ. 1923 -1929

1. ในสมัยของแมร์ฟรังซัว เดอ แซงต์มิเชล ค.ศ. 1923-1929
หลังจาก 21 ปีเต็ม ที่เมล็ดพืชแห่งเมตตาธรรมได้ปลิวมาตกในดินแดนไทยเมล็ดดังกล่าวใช้เวลานานในการหว่านและงอก อันเนื่องมาจากภัยเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ในยุคสมัยของการหว่านเมล็ดนี้ คณะภคินีฯได้หว่านเมล็ดของความรู้ทางโลกและทางธรรมในกลุ่มสตรีไทยด้วยดังนี้

ค.ศ.1924 เปิดโรงเรียนเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์ ตามความประสงค์ของคุณพ่อโบรซาร์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งที่เป็น ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ทรงศึกษาที่โรงเรียนนี้ระหว่าง ค.ศ. 1940-1946 เลขประจำตัว 371 มีเซอร์เรอเน เดอ เยซู สุขดารา เป็น     พระอาจารย์สอนเปียโน

ค.ศ.1926 เปิดนวกสถานในโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ มีนวกเณรีคนไทย 3 ท่านท่านแรก คือ เซอร์เอมิเลียน ปานประดับ เซอร์มาเรีย อันโตเนียว และเซอร์ออกุสตา-ยอแซฟ อันโตเนียว นวกจารย์ท่านแรก คือ เซอร์เดซีเร

2. สมัยแมร์มารี หลุยส์ ค.ศ.1930 - 1947
การแตกหน่อของคณะภคินีฯ ในสมัยแมร์มารี หลุยส์ ดำเนินด้วยความยากลำบาก เพราะช่วงเวลาดังกล่าวเกิดภาวะยากแค้นขึ้นทั่ วโลก เนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และต่อเนื่องด้วยสงครามโลกครั้งโลกที่ 2 อย่างไรก็ตาม ด้วยพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าที่ได้เลือกสรรแผ่นดินที่ดีในโลกให้กับคณะภคินี ที่ดำเนินงานในประเทศไทยจึงประสบภัยน้อยกว่าในหลายพื้นที่ นอกจากความขาดแคลนข้าวของเครื่องใช้และสินค้าอุปโภคและยาสำเร็จรูปจากต่างประเทศแล้ว ดูเหมือนว่ามีเพียงภัยจากการ “ทิ้งบอมบ์” สถานที่สำคัญในกรุงเทพฯเท่านั้นที่ทำให้คณะภคินีฯ จึงจำเป็นต้องย้ายศูนย์กลางที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวน ต์ไปยังต่างจังหวัด ซึ่งนับได้ว่าเป็นข้อดีประการหนึ่งทำให้คณะภคินีฯ ขยายงานด้านการศึกษาของคณะฯไปนอกกรุงเทพฯในเวลาต่อมา

ค.ศ.1947 รับงานดูแลโรงเรียนเซนต์แอนโทนี จังหวัดฉะเชิงเทร า รวมทั้งดูแลสถานอนุบาลเด็กอ่อน สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า สถานฝึกอบรมการเย็บปักถักร้อยและการรักษาพยาบาลคนไข้

3. สมัยแมร์อานน์ แชร์แมนน์ ค.ศ.1948-1960
การทำงานของภคินีในช่วงนี้ มีทั้งการขยายโรงเรียนของคณะและการช่วยเหลือมิสซังหรือสังฆมณฑลอื่นๆโดยการบริหารงานโรงเรียนของสังฆมณฑล ดังนี้

ค.ศ.1951 คุณพ่อการ์ริเอร์ ได้สร้างสุขศาลาเซนต์แอนโทนี เพื่อสงเคราะห์นักเรียนที่มีฐานะยากจนอยู่ชั่วระยะหนึ่ง

ค.ศ.1955 คุณพ่อการ์ริเอร์ ผู้ส่งเยาวนารีจำนวนมากเข้าคณะ ได้ขอภคินีมาประจำที่โรงเรียนมารดานฤมล บางวัว จังหวัดฉะเชิงเทรา

ค.ศ.1956 คณะเปิดโรงเรียนวันทามารีย์ จังหวัดนครสวรรค์ (โรงเรียนเซนต์โยเซฟนคร สวรรค์ในปัจจุบัน) และคุณพ่อมารีอุส หลุยส์ เบรย์ ได้ขอภคินีมาร่วมบริหารโรงเรียนมารีย์วิทยา จังหวัดนครราชสีมา นอกจากนั้นคณะได้เริ่มจัดการศึกษาที่โรงเรียนวจนคาม จังหวัดชลบุรี ซึ่งภคินีได้อพยพเด็กจากกรุงเทพฯไปเรียนในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
ค.ศ.1958 คุณพ่อมารีอุส หลุยส์ เบรย์ ได้เปิดเซนต์เมรี่คลีนิค ที่จังหวัดนครราชสีมาดำเนินงานอยู่จนกระทั่งมีการสร้างโรงพยาบาลเซนต์เมรี่


4. สมัยแมร์อันนา เดอ เยซู ค.ศ. 1960-1969
สมัยแมร์อันนา เดอ เยซู ได้มีการขยายสาขาของโรงเรียนเซนต์โยเซฟไปทางภาคตะวัน ออกดังนี้
ค.ศ.1963 แมร์อันนา เดอ เยซู ได้ซื้อที่ดินแห่งใหม่ เพื่อสร้างตึกเ รียนใหม่ของโรงเรียน วจนคาม จังหวัดชลบุรี และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนเซนต์ปอล คอนแวนต์”
ค.ศ.1963   ก่อตั้งโรงเรียนเซนต์โยเซฟ ระยอง
ค.ศ.1968   ก่อตั้งโรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา
เมจิ
โพสต์: 3257
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ส.ค. 22, 2011 6:44 pm

พุธ ก.ย. 26, 2012 9:44 pm

5. สมัยแมร์หลุยส์ เดอ ลาตรินิเต กิจเจริญ
คนไทยคนแรกที่เป็นอธิการิณีเจ้าคณะแขวง ค.ศ. 1969-1978
ในช่วงเวลานี้ ภคินีเปิดโรงเรียนของคณะขึ้นใหม่เพียงแห่งเดียวนอกจากนั้นเป็นการทำงานตามคำขอของอัครสังฆณฑลต่างๆ ดังนี้

ค.ศ.1970 คณะได้ส่งภคินีไปบริหารงานที่โรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ บางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และต่อมา พระสังฆราชแห่ง สังฆมณฑลนครสวรรค์ ได้ขอภคินีมาดำเนินงานโรงเรียนภัทรวิทยา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ค.ศ.1973   ย้ายนวกสถานไปที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา

ค.ศ.1974 สังฆมณฑลนครราชสีมา  ได้ขอภคินีไปดำเนินงานที่โรงพยาบาลเซนต์เมรี่ จังหวัดนครราชสีมา

ค.ศ.1975 คณะรับหน้าที่บริหารโรงเรียนเซนต์หลุยส์ศึกษา นอกจากนั้น ภคินีเริ่มสอนคำสอนแก่สัตบุรุษในเมืองและตามหมู่บ้านที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ต่อมาได้รับบริจาคที่ดินประมาณ 17 ไร่ และได้ก่อสร้างโรงเรียนเซนต์โยเซฟ ศรีเพชรบูรณ์

ค.ศ. 1977 คณะเข้าบริหารโรงเรียนซางตาครู้สศึกษา และเปิดโรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล สำโรง จังหวัดสมุทรปราการ

6. สมัยแมร์มีเรียม     กิจเจริญ ค.ศ. 1978-1997
ภายใต้การบริหารงานของคณะอย่างต่อเนื่องของแมร์มีเรียม ในช่วงเวลา 20 ปีนี้        คณะภคินีฯ ได้ขยายงานไป ทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้        เป็นงานด้านการศึกษา การพยาบาลและการสงเคราะห์ ผู้ยากไร้ ทั้งนี้เป็นงานในความรับผิดชอบโดยตรงของคณะ และงานบริหารโรงเรียนแ ละโรงพยาบาล ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ตลอดจนงานที่สถานเอกอัครสมณทูตนครรัฐวาติกัน ดังนี้

ค.ศ.1978 คุณพ่อมาริอุส เบรย์ ขอภคินีมาร่วมบริหารโรงเรียนรุ่งอรุณวิทยา (ปัจจุบันคณะฯมิได้ปฏิบัติงานแล้ว)

ค.ศ.1979 พระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลอุดรธานี ได้ขอภคินีไปประจำที่ศูนย์ประกาศข่าวดี จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันคณะฯมิได้ปฏิบัติงานแล้ว)

พระสังฆราช เปโตร คาเร็ตโต ได้ขอภคินีไปประจำที่โรงเรียนอนุบาลดอนบอสโก เกาะสมุย ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า โรงเรียนเซนต์โยเซ ฟ เกาะสมุย นอกจากนี้ คณะได้ส่งภคินีด้านพยาบาลไปทำงาน ประจำที่สถานพยาบาลมารีย์อุปถัมภ์ เกาะสมุย ซึ่งต่อมากลายเป็นสถานรับเลี้ยงเด็ก

ค.ศ.1980 เปิดบ้านเซนต์ร็อค จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อเป็นสถานที่อบรมฟื้นฟูจิตใจประจำปี สำหรับภคินีและการสัมมนาของหน่วยงานต่าง ๆ

ระหว่างที่ประเทศลาวได้กลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ ค.ศ.1975 ชาวลาวจำนวนมาก ได้อพยพหนีภัยสงครามเข้ามาในประเทศไทย ภคินีได้ช่วยทำงานในค่ายอพยพ จังหวัดหนองคาย ทั้งด้านการรักษาพยาบาล สอนหนังสือ อบรมผู้นำ ฝึกอาชีพและสอนศ าสนธรรม อย่างไรก็ตาม การช่วยเหลือผู้อพยพขององค์กรต่างๆ รวมทั้งรัฐบาลไทย ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในหมู่ราษฎรไทย ที่ได้รับผลกระทบจากผู้อพยพ ดังนั้น เมื่อ ค.ศ. 1981 คณะจึงสร้างอาคารที่หมู่บ้านสามัคคี เพื่อช่วยเหลือคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากการอพยพ ซึ่งได้กลายเป็นโรงเรียนเซนต์ปอล หนองคาย ในเวลาต่อมา 

ค.ศ.1982   เปิดโรงเรียนอนุบาลนิจจานุเคราะห์

ค.ศ.1983   เปิดโรงเรียนเซนต์ปอล หนองคาย




ค.ศ.1984 คณะได้ทำงานช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และที่โรงเรียนร่มเกล้า ชุมชนแออัดคลองเตย (ปัจจุบันคณะฯมิได้ปฏิบัติงานแล้ว)

ค.ศ.1985 พระอัครสังฆราชไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ได้มอบให้ภคินีดูแลโรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ คลองกุ่ม และในปีเดียว กันรับบริหารงาน โรงเรียนวิริยพาณิชย์ กับ โรงเรียนโยนออฟอาร์คพาณิชยการ ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ค.ศ.1987คณะได้เปิดบ้านยุวภคินีเพื่อเป็นสถานที่จัดสัมมนาและอบรมฟื้นฟูจิตใจยุวภคินี           

ค.ศ.1988 คณะรับโอนโรงเรียนโรซาริโอวิทยา ตำบลเวียงคุก จังหวัดหนองคาย จาก  สังฆมณฑลอุดรธานี

ค.ศ.1989 เปิดโรงเรียนเซนต์โยเซฟ เพชรบุรี เป็นโรงเรียนแห่งแรกในสังฆมณฑลราชบุรี



ค.ศ.1990 พระสังฆราช สังวาลย์ ศุระศรางค์ แห่งสังฆมณฑลเชียงใหม่ ได้ขอภคินีมาบริหารงาน โรงเรียนศีลรวี จังหวัดเชียงใหม่ นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเด็กชาวไทยภูเขา คณะส่งภคินีเข้าประจำที่โรงเรียนสันติวิทยา จังหวัดเชียงราย เพื่อให้การศึกษาอบรมแก่เ ด็กชาวไทยภูเขา ที่คุณพ่อในถิ่นทุรกันดารส่งมาเป็นนักเรียนประจำ และฝึกอาชีพเย็บผ้า

คณะรับบริหารงานโรงเรียนวิริยาลัย ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ (ปัจจุบันคือโรงเรียนเซนต์ไมเกิ้ล)
ค.ศ.1990-1994 อธิการเจ้าคณะนักบวชรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ ได้ขอภคินีไปร่วมบริหาร โรงเรียนดรุโณทัย จังหวัดตรัง (ปัจจุบันคณะฯมิได้ปฏิบัติงานแล้ว)

ค.ศ.1994 พระอัครสังฆราชคายน์ แสนพลอ่อน ได้โอนโรงเรียนเซนต์โยเซฟ ท่าแร่ จังหวัดสกลนคร ให้คณะรับดำเนินงาน
สภาพระสังฆราชแห่งประเทศไทย มีมติให้ภคินีคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์อบรมคริสตศาสนธรรมแห่งประเทศไทย เป็นเวลา 10 ปี

ภคินีรับงานที่สถานเอกอัครราชทูตนครรัฐวาติกัน

ค.ศ.1995 คณะร่วมกับมูลนิธิอุบลรัตน์ จัดตั้งโรงเรียนเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้การศึกษาอบรมและฝึกอาชีพแก่เย าวนารีที่ยากจน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กชาวไทยภูเขา เพื่อกลับไปพัฒนาหมู่บ้านของตน



ค.ศ.1996 คณะรับงานที่ศูนย์คริสตศาสนธรรมภาคอีสาน บริเวณสักการสถานมรณสักขี แห่งประเทศไทย จังหวัดมุกดาหาร
เปิดโรงเรียนเซนต์โยเซฟ แม่ระมาด จังหวัดตาก ช่วยเหลือเด็กชาวไทยภูเขา และเด็กยากจน
เปิดโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลม ที่ถนนประมวญ เพื่อรับนักเรียนระดับประถมศึกษาของ โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์

ค.ศ.1997 แมร์มีเรียม และเซอร์อักแนส บุญรักษา ศรีตระกูล ได้เดินทางไปเตรียมงานที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 

7. สมัยแมร์ฟรังซัวส์ ชีรานนท์ ค.ศ. 1997-2007
สำหรับคณะภคินี เป็นช่วงครบรอบการดำเนินงานของคณะในประเทศไทย 100 ปีเต็ม

นับว่าเหมาะสมที่จะหันกลับไปพิจารณาตนเอง และพร้อมที่จะก้าวหน้าต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง

ร้อยปีที่ผ่านไป คณะได้ช่วยสร้างสตรีที่มีความรู้ความสามารถในทุกด้านให้กับสังคมไทย ทำงานร่วมกันทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชน ทั้งที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาททั้งผู้บริหาระดับสูง ระดับกลางและบุคลากรที่เป็นฟันเฟืองตัวน้อยๆในสังคม และผู้ถวายตัวเพื่อรับใช้พระเป็นเจ้าดำเนินงานตามพันธกิจที่ได้ตั้งไว้แล้ว

สำหรับความก้าวหน้าทางโลก "ภาษาอังกฤษ" ยังความสำคัญเหมือนเช่นเคยเป็นเมื่อศตวรรษก่อน ดังนั้น เมื่อ ค.ศ.1997 คณะได้เปิดโปรแกรมภาษาอังกฤษที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์และโรงเรียนอื่น ๆ ที่คณะทำงานอยู่อีกหลายโรงเรียน

ในปีเดียวกัน เปิดโรงเรียนเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์ เมืองทองธานี ถนนแจ้งวัฒนะ

วันที่ 21 สิงหาคม  ค.ศ.1997  ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน เปิดอาคารมูลนิธิอุบลรัตน์ในพ ระบรมราชินูปถัมภ์ และทรงเจิมศิลาฤกษ์อาคาร  กาญจนาภิเษก ณ ศูนย์มูลนิธิอุบลรัตน์ฯ โรงเรียนเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโรงเรียนมัธยมต้นสำหรับเยาวนารีที่เสียงต่อการถูกรุกรานทางเพศ และชาวเขาที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา

เมษายน ค.ศ.1998 เปิดโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ลำนารายณ์ จังหวัดลพบุรี คณะตอบเสียงเรียกของปัญหาที่ต้องเร่งดำเนินการช่วยเหลือโดยด่วน คือ การสร้างอาคารที่พักให้ลูกของผู้ป่วยติดเชื้อ HIV อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินงานร่วมกับโ รงพยาบาลเซนต์หลุยส์ โดยเริ่มต้นจากเด็กที่ถูกทอดทิ้งก่อน

ค.ศ.2000   เปิดโรงเรียนวิชาชีพคนพิการ สีเกิด สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ค.ศ.2002 คณะขยายงานด้านสังคมสงเคราะห์ โดยเปิดบ้านพรแดนสรวง  จังหวัดอำนาจ เจริญ สงเคราะห์ผู้สูงอายุและรับเลี้ยงเด็กเล็กและบุตรของผู้ต้องขังหญิง จนกว่าจะพ้นโทษ

 8. สมัยของแมร์ไอริน ชำนาญธรรม ค.ศ. 2007-ปัจจุบัน
คณะมิได้หยุดนิ่งในการรับใช้พระศาสนจักรด้วยงานบริหารโรงเรียน งานรักษาพยาบาล และงานด้านสังคมและยังคงพัฒนาและดำเ นินงานทุกด้านต่อไป ด้วยจิตตารมณ์แห่งความรัก ตามแบบฉบับของท่านนักบุญเปาโลองค์อุปถัมภ์ ในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยปัญหาทางด้านสังคมทางคณะตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้โดยให้ความสำคัญด้านงานอภิบาลมากยิ่งขึ้น

ค.ศ.2007 เปิดศูนย์อภิบาลสุขภาพศูนย์หลุยส์โชเวต์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ.2007

ค.ศ.2008 เปิดโรงเรียนเซนต์โยเซฟ แม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ.2008 เพื่อเปิดโอกาสทางด้านการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาส และชนเผ่า

ค.ศ.2009 เปิดพิพิธภัณฑ์คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2009  ณ โรงเรียนเซนต์โยเซฟ คอนเวนต์

ปัจจุบัน มีภคินีที่ปฏิญาณตนตลอดชีพแล้ว 195 คนยุวภคินี 17 คนคณะภคินีทำงานอยู่ในสถานที่แพร่ธรรมต่าง ๆ จำนวน 48 แห่ง



องค์กรในเครือคณะภิคนีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร และปีที่ก่อตั้ง
โรงเรียนของคณะ
- โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ค.ศ. 1905
- โรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ค.ศ. 1906
- โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ค.ศ. 1907
- โรงเรียนเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์ค.ศ. 1925
- โรงเรียนเซนต์โยเซฟ นครสวรรค์ (โรงเรียนวันทามารีย์)ค.ศ. 1956
- โรงเรียนเซนต์ปอลคอนแวนต์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีค.ศ. 1963
- โรงเรียนเซนต์โยเซฟ ระยองค.ศ.1963
- โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนาค.ศ. 1968
- โรงเรียนเซนต์โยเซฟ ศรีเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ค.ศ. 1975
- โรงเรียนเซนต์โยเซฟ ทิพวัลค.ศ. 1977
- โรงเรียนเซนต์โยเซฟ เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีค.ศ. 1983
- โรงเรียนเซนต์ปอล หนองคายค.ศ. 1984
- โรงเรียนโรซารีโอวิทยา จังหวัดหนองคายค.ศ. 1988
- โรงเรียนเซนต์โยเซฟ เพชรบุรีค.ศ. 1989
- โรงเรียนเซนต์โยเซฟ ท่าแร่ จังหวัดสกลนครค.ศ. 1994
- โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลมค.ศ. 1995
- โรงเรียนเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ค.ศ. 1995
- โรงเรียนเซนต์โยเซฟ แม่ระมาด จังหวัดตากค.ศ. 1996
- โรงเรียนเซนต์ฟรังซิสเซเวียร์ เมืองทอง จังหวัดนนทบุรีค.ศ. 1997
- โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ลำนารายณ์ จังหวัดลพบุรีค.ศ. 1998



โรงเรียนของสังฆมณฑลที่คณะบริหาร และปีที่คณะฯ เข้ารับงาน
- โรงเรียนเซนต์แอนโทนี จังหวัดฉะเชิงเทราค.ศ. 1947
- โรงเรียนมารดานฤมล บางวัว จังหวัดฉะเชิงเทราค.ศ. 1955
- โรงเรียนมารีย์วิทยา จังหวัดนครราชสีมาค.ศ. 1956
- โรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ บางบัวทอง จังหวัดนนทบุรีค.ศ.1969
- โรงเรียนภัทรวิทยา แม่สอด จังหวัดตากค.ศ. 1972
- โรงเรียนเซนต์หลุยส์ศึกษาค.ศ. 1975
- โรงเรียนอนุบาลนิจจานุเคราะห์ จังหวัดหนองคายค.ศ. 1975
- โรงเรียนซางตาครู้สศึกษาค.ศ. 1977
- โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ คลองกุ่มค.ศ. 1985
- โรงเรียนโยนออฟอาร์คเทคโนโลยีค.ศ. 1985
- โรงเรียนเซนต์ไมเกิ้ล(วิริยาลัย)ค.ศ. 1986
- โรงเรียนศีลรวี อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ค.ศ. 1989
- โรงเรียนสันติวิทยา จังหวัดเชียงรายค.ศ. 1990
- ศูนย์อบรมคริสต์ศาสนา ภาคอีสานค.ศ. 1996
  อำเภอสองคอน จังหวัดมุกดาหาร



สถานพยาบาลและศูนย์อบรมของคณะ
- นวกสถาน (เซนต์โยเซฟ บางนา)ค.ศ. 1973
- สถานรับเลี้ยงเด็กมารีย์อุปถัมภ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีค.ศ. 1979
- บ้านเซนต์ร็อค จังหวัดฉะเชิงเทราค.ศ. 1980
- บ้านมิตราทร จังหวัดเชียงใหม่ค.ศ. 1998
- บ้านพรแดนสรวง จังหวัดอำนาจเจริญค.ศ. 2002
- โรงเรียนวิชาชีพคนพิการ สีเกิด ลาวค.ศ. 2000



โรงพยาบาลและศูนย์อบรมของสังฆมณฑล
- โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ค.ศ. 1899
- โรงพยาบาลเซนต์แมรี่ค.ศ. 1972
- ศูนย์อบรมคริสต์ศาสนาธรรม (ซี.ซี.)ค.ศ. 1993

* สำนักเอกอัครสมณทูตวาติกันค.ศ. 1994






ข้อมูลจากหนังสือนักบวชหญิงและชายในประเทศไทย
ข้อมูลจากหนังสือร้อยปี ร้อยใจ คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในประเทศไทย
ฉลองครบรอบ 100 ปี การจัดการศึกษา คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ประเทศไทย :s007: :s002: :s012:
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 6042
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. ก.ย. 27, 2012 11:02 am

ขอบคุณหนูเมจิมากๆ ที่เอาบทความดีๆมาแบ่งปัน..... ::015::
อ่านเกือบจะไม่หมด ได้รู้ประวัติคณะภคิณีเซนต์ปอล เดอ ชาตร์มากขึ้น
มี ร.ร มีสถานสงเคราะห์ มากมายที่ต้องดูแล รับผิดชอบมากกว่าที่คิด
พระอวยพรคณะมากๆ ที่ภคิณีทั้งหลายมีความเสียสละ ดูแล เอาใจใส่
ทั้งฝ่ายกายและวิณญาน เพื่อช่วยเหลือประชากรของพระองค์...
:s007: :s007:
เมจิ
โพสต์: 3257
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ส.ค. 22, 2011 6:44 pm

พฤหัสฯ. ก.ย. 27, 2012 1:55 pm

ขอบคุณค่ะมามี้ :s024: :s024: มาร์เซอร์ที่โรงเรียนบอกว่่อยากให้เข้าคณะนี้ :s013: เเต่ใจเมจิอยากไปคาปูชินซะมากกว่า :s015: :s012:
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 6042
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พุธ พ.ย. 07, 2012 10:19 am

มีคนสนใจ คณะเซนต์ปอลชารด์ เดี๋ยวให้น้องเค้าเข้ามาอ่าน...
:s007:
เมจิ
โพสต์: 3257
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ส.ค. 22, 2011 6:44 pm

พุธ พ.ย. 07, 2012 4:32 pm

rosa-lee เขียน:มีคนสนใจ คณะเซนต์ปอลชารด์ เดี๋ยวให้น้องเค้าเข้ามาอ่าน...
:s007:
:s021: ขอให้ได้เข้าคณะค่ะ :s021:
ภาพประจำตัวสมาชิก
roseofshalon
โพสต์: 173
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ต.ค. 01, 2012 12:08 pm

ศุกร์ พ.ย. 09, 2012 6:21 am

กะลังรออยู่ :s012:
เมจิ
โพสต์: 3257
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ส.ค. 22, 2011 6:44 pm

ศุกร์ พ.ย. 09, 2012 3:48 pm

roseofshalon เขียน:กะลังรออยู่ :s012:
:s030: งง. มามี้ค่ะมามี้วันนี้เมจิได้สายประคำเเบบสเตลเเลตมาด้วย :s021: จะให้มามี้เมจิมีสายประคำเยอะเเล้ว :s021: ได้ไม้กางเขนมาด้วย :s012:
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 6042
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

ศุกร์ พ.ย. 09, 2012 8:18 pm

ขอบคุณหนูเมจิที่ใจดี จะให้สายประคำมามี้
หนูเมจิเก็บไว้ก่อน เผื่อมีใครที่หนูเมจิได้พบและสนใจอยากได้สายประคำ
หนูก็ให้เขาได้เลย มามี้ก็มีสำรองไว้หลายเส้น เวลามีใครต้องการ
หรือคริสตชนใหม่ที่ยังไม่มี เขาอยากได้เราก็ให้เขาได้เลยค่ะ...
:s013:
เมจิ
โพสต์: 3257
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ส.ค. 22, 2011 6:44 pm

ศุกร์ พ.ย. 09, 2012 8:22 pm

ค่ามามี้ :s012:
ตอบกลับโพส