บุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง พระสงฆ์และมรณสักขี นักบุญ-นักโทษ

ถาม-ตอบพระคัมภีร์ เรื่องเสริมศรัทธา ความรู้ และสาระ บทความ ในคริสตศาสนา
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:18 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓

🇹🇭 จังหวัดนครปฐม

รูปภาพ

ในจังหวัดนี้ในเวลานั้นมีวัด 3 แห่ง แห่งหนึ่งคือ วัดนักบุญเปโตร นครชัยศรี ในปี ค.ศ. 1941 มีอายุ ได้ 100 ปี มีคริสตังเกือบ 2,000 คน มีโรงเรียน 2 หลัง แห่งที่ 2 คือ วัดหนองหินเพิ่งสร้างได้ไม่นาน มีคริสตัง 300 คน โรงเรียน 1 หลัง ขึ้นไปทางนครชัยศรีเป็นวัดแห่งที่ 3 คือ วัดนักบุญอันเดร บางภาษี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำนครชัยศรีไปทางเหนือ เพิ่งสร้างวัดหลังใหม่ในปี ค.ศ. 1930 ใช้เป็นทั้งวัดและโรงเรียน มีคริสตังไม่มาก ไม่มีพระสงฆ์ประจำ

ที่นครชัยศรี พวกเลือดไทยไม่สามารถก่อเรื่องใหญ่โตได้ เพราะในหมู่พวกคริสตังมีนักเลงโตบางคน เป็นคนแปลกหน้าสำหรับคุณพ่อเจ้าอาวาส นอกจากกิตติศัพท์ของพวกเขาในเรื่องเกี่ยวกับพวกหัวขโมย คนเหล่านี้เป็นพวกคริสตังเลวที่รวมตัวกันเพื่อป้องกันวัดของพวกเขา และเมื่อพวกเลือดไทยโผล่เข้ามาเพื่อทำลาย ปล้นสะดม พวกคนอื่นๆ ที่อยู่ที่นั่นซึ่งเฝ้าคอยระวังเหตุการณ์อยู่ก็ถือกระบองสั้น มีดอีโต้ เพื่อไม่ต้องถูกเรียกว่าใช้อาวุธปืน (ไม่มีคำสั่ง) พวกเลือดไทยคิดว่าไม่ควรเสี่ยงอันตรายและกลับไปยังที่ว่าการอำเภอสามพรานโดยปราศจากรายชื่อผู้ชนะ

ที่หนองหิน ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 1941 พระสังฆราชแปร์รอสขอร้องให้พระสงฆ์ซาเลเซียนช่วยดูแล เพราะวัดนี้อยู่ในเขตติดต่อกับมิสซังซาเลเซียน (ราชบุรี) ได้มีพระสงฆ์ซาเลเซียนองค์หนึ่งประจำอยู่ที่นั่น ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมเคารพสัญชาติอิตาเลียนของพระสงฆ์ ปล่อยให้อยู่อย่างสงบ

ส่วนพวกคริสตัง ผู้ว่าราชการจังหวัดขอร้องนายอำเภอให้ใช้อิทธิพลทุกอย่างเพื่อทำให้พวกคริสตังละทิ้งศาสนาในเขตวัดเหล่านี้

ครูคนหนึ่งสอนอยู่ที่โรงเรียนวัดบางภาษีชื่อ นายประเวท ภารนันต์ เล่าเรื่องว่าพวกคริสตังถูกเรียกไปประชุมเพื่อทำพิธีละทิ้งศาสนาอย่างไร รายงานของเขามีดังต่อไปนี้

เอกสารหมายเลข 25

ซึ่งเขาเล่าโดยสรุป

“นายอำเภอบางเลนมาพบผมที่บ้าน ที่บางภาษี เพื่อขอร้องผมให้ทิ้งศาสนา และทำให้พวกคริสตังละทิ้งศาสนาตาม โดยเฉพาะรองผู้ว่าราชจังหวัดกล่าวว่า ‘ผมไม่มีปัญหาอะไรกับพวกคาทอลิก แต่ผมได้รับคำสั่งอย่างเป็นทางการให้ทำให้พวกท่านละทิ้งศาสนาให้ได้’ พิธีกรรมอย่างหนึ่งถูกจัดเตรียมไว้ที่จังหวัดนครปฐมในวันมาฆบูชา”

2-3 วันก่อนวันที่กำหนด นายอำเภอกลับมาพบผมที่บางภาษี และขอทราบผลผมตอบเขาว่า ล้มเหลวทั้งเพ ในที่สุดนายอำเภอให้ผมสัญญาว่าผมจะแนะนำกับพวกคริสตังเวลา 9 โมงเช้า ตามวันที่กำหนด ด้านหน้าโบสถ์หลังใหญ่ พวกเราไปที่นั่นและพวกเราได้เผชิญหน้ากับพวกคริสตังจากบางเลน คริสตังบางคนจากหนองหิน และโดยเฉพาะคริสตังกลุ่มใหญ่จากนครชัยศรี
ในทันทีทันใด พวกเจ้าหน้าที่ที่แสนน่ารักได้ล่วงหน้ามาก่อน แต่ละคนได้แจกดอกไม้แก่พวกเราคนละหนึ่งช่อและเทียน พวกเขาบอกว่า "พวกเราจะพาพวกท่านเข้าไปภายในโบสถ์ มีผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะปราศรัยกับพวกท่านด้วยตนเอง พวกเราจะบอกพวกท่านว่า ต่อไปพวกท่านจะต้องทำอะไร ให้นั่งลง ให้ลุกขึ้น ให้คุกเข่า ฯลฯ ไม่ต้องกลัวอะไรทั้งสิ้น"

เมื่อเข้าไปภายใน พวกเราเห็นอะไร! พระพุทธรูปองค์ใหญ่ตั้งอยู่ มีดอกไม้ประดับ จุดเทียนสว่าง ไสว ด้านหน้าพระพุทธรูป ท่านสมภารของนครปฐมนั่งอยู่ในที่นั่งของท่าน ห้อมล้อมด้วยพระภิกษุจำนวนหนึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดนั่งอยู่กลางพระอุโบสถ

เมื่อทุกคนได้เข้ามาแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดเริ่มปราศรัยว่า พวกท่านเป็นคนไทย พวกท่านต้อง ปฏิบัติตามศาสนาของคนไทยคือศาสนาพุทธ แล้วเขาด่าแช่งพวกคาทอลิก ด่าศาสนาคาทอลิกด้วยคำพูดที่แสนหยาบคาย สำหรับเรื่องนี้ข้าพเจ้าไม่เขียนรายงานไว้ ณ ที่นี้ หลังจากนั้นเขาเชิญพวกเราให้คุกเข่า คลานเข้าไปถึงหน้าพระพุทธรูปตามประเพณีไทย ให้กราบไหว้นมัสการถวายพุ่มดอกไม้และจุดเทียนเป็นการสักการะ

พวกคริสตังเหล่านี้ได้คุกเข่า เมื่อเห็นเช่นนั้น พวกเราคริสตังจากบางภาษีรู้สึกขนลุก! พวกเขาอยากทำให้พวกเราละทิ้งศาสนาจริงหรือ? พวกเราจะทำอย่างไรดี? ผมพูดกับพวกเขาว่า “ให้พวกท่านทำตามผม” และพวกเราลุกขึ้นยืน ขณะที่คนอื่นคลานเข้าไปหาพระพุทธรูปและกราบต่อหน้า

เมื่อพวกเขาได้ปฏิเสธความเชื่อของพวกเขาอย่างสิ้นเชิงผู้ว่าราชการจังหวัดและพวกเจ้าหน้าที่เชิญชวนพวกเราให้ทำตามพวกเขา พวกเราปฏิเสธเด็ดขาด พวกเขาจึงด่าพวกเราเหมือนห่าฝนที่กระหน่ำใส่พวกเรา พวกเราออกมาจากห้องประชุม ทุกคนชื่นชม

ทันทีที่ออกมาข้างนอก พวกตำรวจและฝูงชนตะโกนด่าและข่มขู่พวกเราเสียงเอ็ดอึงเมื่อเห็นเช่นนั้น พวกเรารีบมองหารถของพวกเราและออกรถไปเพื่อไปหลบภัยที่หนองหิน

ข้าพเจ้าถูกบังคับให้ลาออกจากการเป็นครู ส่วนนายอำเภอบางเลนหน้าแตกไปตามระเบียบ เพราะทำงานล้มเหลว

ข้าพเจ้าตกอยู่ในสภาพเรือไม่มีหางเสือ

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic23.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:19 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓

🇹🇭 จังหวัดอยุธยา

รูปภาพ

โดยผลของคำสั่งที่ให้เรียกตัวพวกพระสงฆ์ฝรั่งเศสทุกองค์โดยรัฐบาล ลงวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1941 คุณพ่อบรัวซาต์เจ้าอาวาสวัดบ้านปลายนาและเป็นหัวหน้าในเขตอยุธยา ต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯ คุณพ่อเอากุสติโนผู้ช่วยเจ้าอาวาสของท่าน ซึ่งผลัดกันกับคุณพ่อบรัวซาต์ดูแลวัดเจ้าเจ็ดและวัดบ้านหน้าโคก ได้หลบภัยเข้ากรุงเทพฯ อย่างรีบด่วน ไม่ขึ้นไปที่บ้านปลายนาในระหว่างเดือนมีนาคม ส่วนคุณพ่อมาร์แซลออกจากวัดอยุธยาชั่วคราว

ในทันที ก็เริ่มการเบียดเบียนพวกคริสตังพวกคนหนุ่มสาวและพวกเด็กๆ ด้วยการบีบบังคับ ขู่เข็ญ พวกเราสังเกตในขณะนั้นว่าในจำนวนพวกคริสตัง นายอำเภอได้พยายามชักจูงคริสตังเลวให้ละทิ้งศาสนา คนพวกนี้มีชื่อเสียงเป็นพวกหัวขโมย กล้าหาญกว่าคริสตังคนอื่นๆ และพวกเขาเป็นผู้นำการเคลื่อนไหวต่อต้านพวกเลือดไทยเพื่อป้องกันวัด พวกเขามีไม้กระบองหรือมีดดาบเป็นอาวุธประจำกาย ทำให้พวกเลือด ไทยต้องใคร่ครวญก่อนจะทำอะไร

ที่วัดเจ้าเจ็ด นายอำเภอตั้งความหวังไว้มาก เพราะในกลุ่มคริสตังมีคนหนึ่งร่ำรวยมากเป็นเจ้าของโรงสีขนาดใหญ่ เป็นคนมีหน้ามีตาเป็นที่รู้จักดีทั้งในหมู่บ้านและไกลไปจนถึงลำคลองต่างๆ และเขามีเมียน้อยหนึ่งคนหรือมากกว่าในหมู่บ้านนี้ แต่ชายคนนี้ไม่ค่อยจะสนใจปฏิบัติศาสนกิจ เขาไม่มาวัดนอกจากวันฉลองวัด พวกคริสตังเสียใจที่เขาไม่ปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนา เพราะเขาเป็นคนมีอิทธิพลและเป็นที่นิยมชม ชอบในแถบนั้น

นายอำเภอหมายตาให้เขาละทิ้งศาสนาเป็นคนแรกเป็นคนนำร่องชักจูงชาวบ้านให้ละทิ้งศาสนาด้วย ในวันนัดหมายตามที่นายอำเภอกำหนดพิธีประกาศละทิ้งศาสนา และหลังจากปราศรัยเตรียมแล้ว นายอำเภอเข้ามายืนต่อหน้ากลุ่มคริสตัง และขอให้เขากล่าวหยาบคายต่อศาสนาคาทอลิก ในเวลานั้นท่ามกลางความเงียบแห่งความตาย ชายคนนั้นหันหน้าอย่างช้าๆ ไปทางพวกคริสตัง มองดูพวกเขาซึ่งกำลังกระวนกระวาย พวกผู้หญิงกำลังสวดสายประคำ ต่อมาเขาหันมาทางนายอำเภอพร้อมกับยิ้มและพูดเสียงดังและหนักแน่นว่า “จริงอยู่ ผมไม่ได้ประพฤติตนเป็นคาทอลิกที่ดี ทั้งไม่ได้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ผมขอสารภาพอย่างไม่ละอายต่อหน้าทุกคนผมเป็นคริสตัง ผมยังคงเป็นคริสตัง และจะขอตายอย่างคริสตัง ไม่มีประโยชน์อะไรที่พยายามทำให้ผมเปลี่ยนศาสนา” (ดู รายงานประจำปี กรุงเทพฯ ปี ค.ศ. 1941-1947) เสียงร้องด้วยความยินดีของพวกคริสตังที่มาประชุมว่า “พวกเราเป็นคริสตัง พวกเราจะตายเป็นคริสตัง!” ข่าวนี้ของเจ้าเจ็ดรู้กันไปทั่วในวัดอื่นๆ และในเขตนี้มีคนละทิ้งศาสนาน้อยมาก

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic24.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:20 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓

🇹🇭 เขตแปดริ้ว (ฉะเชิงเทรา)

รูปภาพ

ในเวลาเดียวกันพวกพระสงฆ์ทางภาคอีสานถูกเรียกมารวมตัวกันและถูกขับไล่วันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 พวกพระสงฆ์ฝรั่งเศสจากจังหวัดอื่นๆ เช่น แปดริ้ว , ปราจีน , จันทบุรี เป็นต้น ถูกบังคับให้ไปรวมกันที่กรุงเทพฯ ภายในเวลา 48 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ตำรวจและพวกเลือดไทยควบคุมพระสงฆ์บางองค์ใน จำนวนเหล่านี้ ปลุกระดมพระสงฆ์องค์อื่นๆ ข่มเหงทารุณพระสงฆ์บางองค์และบางองค์ถูกนำตัวไปกรุงเทพฯ มีตำรวจควบคุมไปด้วย วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1941 ชาวฝรั่งเศสทุกคนที่ยังเหลืออยู่ในประเทศไทยต้องมารวมกันที่กรุงเทพฯ นี่คือเครื่องหมายถึงการเบียดเบียนในมิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ

ไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต พระสังฆราชแปร์รอสจึงแต่งตั้งคุณพ่อยออากิม (เทพวันท์ ประกอบกิจ) ให้เป็นอุปสังฆราชดูแลมิสซังกรุงเทพฯ ตลอดเวลาที่พระคุณเจ้าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

คุณพ่อเทพวันท์ไม่สามารถจัดการอะไรได้เลย เพราะพวกพระสงฆ์ไทยกลัวจนตัวสั่นขวัญหนี ดังนั้นจึงเสนอพระสังฆราชปาซอตตีผู้ปกครองมิสซังราชบุรี ให้ส่งพระสงฆ์ซาเลเซียน 2 องค์ คือ คุณพ่อกาวัลลา และคุณพ่อแกรสปี ซึ่งรับผิดชอบในตำแหน่งอุปสังฆราช อนุญาตให้ไปดูแลที่ปากคลองท่าลาดองค์หนึ่ง ที่ท่าเกวียนอีกองค์หนึ่ง เพื่อเป็นกำลังใจแก่พวกคริสตัง

หมายเหตุ วันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1940 พระสังฆราชแปร์รอสได้ส่งคุณพ่ออังแซลม์และคุณพ่อวินเซนเต (คุณพ่อทั้งสองเกิดในเมืองไทย ถือสัญชาติไทย) ให้ไปดูแลพวกคริสตังที่ปากคลองท่าลาด คุณพ่อทั้งสองไม่สามารถอยู่ได้นาน สาเหตุมาจากถูกคุกคามอย่างหนัก คุณพ่อทั้งสองจึงไปอยู่ที่กรุงเทพฯ พร้อมกับซิสเตอร์ 2 รูปจากทั้งสองวัด

1. วัดท่าเกวียน

ที่ว่าการอำเภอพนมสารคาม

ก) คุณพ่อกาวัลลาถูกซ้อม วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1941

คุณพ่อ 2 องค์ เดินทางจากกรุงเทพฯ วันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1941 มาถึงปากคลองท่าลาดในเวลาเย็น และค้างคืนที่นั่น เช้าวันรุ่งขึ้น คุณพ่อทั้งสองไปพบนายอำเภอบางคล้าเพื่อลงชื่อเหมือนชาวอิตาเลียนคนอื่น ต่อจากนั้นคุณพ่อแกรสปีเตรียมตัวโดยสารเรือจากแปดริ้วไปท่าเกวียนเพื่อไปที่หมู่บ้านคริสตังเรือม าจอดที่ท่า นอกจากผู้โดยสารประจำแล้ว ยังมีซิสเตอร์เทคลาพร้อมกับเพื่อน (แต่งตัวแบบฆราวาส) ไป วัดท่าเกวียนเพื่อช่วยคุณพ่อกาวัลลา เลขาฯ นายอำเภอพนมชื่อ นายแสวง และครูใหญ่โรงเรียนของอำเภอ ชื่อ นายสงัด โดยสารในเรือลำเดียวกันด้วยเช่นกัน

เมื่อนายแสวงเห็นคุณพ่อกาวัลลาลงจากบ้านพักพระสงฆ์ที่ปากคลองท่าลาดเพื่อโดยสารเรือไปที่วัดท่าเกวียน เขาพูดกับนายสงัดว่า “คืนนี้ไม่มีอะไรทำ ผมจะบีบคอเขา” และเขาเริ่มด่าว่าศาสนา ซิสเตอร์เทคลาจดข้อความไว้โดยไม่พูดอะไร หลังจากนั้นซิสเตอร์จะเขียนรายงานถึงพระสังฆราชแปร์รอส นี่คือ

เอกสารหมายเลข 26

ลงวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1941

ในเอกสารดังกล่าว ซิสเตอร์เทคลาเล่าเรื่องที่เธอได้เห็นและได้ยินต่อไปว่า หลังเวลา 23 นาฬิกาเล็กน้อย พวกโจรจำนวนประมาณ 100 คน พร้อมอาวุธปืนและมีด เข้ามาปล้นของทุกอย่างที่มีในบ้านพักพระสงฆ์ และที่บ้านซิสเตอร์ เราเห็นพวกเขามาตะโกนอึกทึก เรารีบหนีหาที่ซ่อนตัว ดิฉันได้ยินพวกโจรพูดว่า “พวกชีอยู่ที่ไหน เราจะฆ่ามัน!”

พวกโจรไม่พบซิสเตอร์สักคน พวกเขาวิ่งไปที่บ้านพักพระสงฆ์ ขโมยของทุกอย่างติดมือไปด้วย พวกเขาค้นข้าวของและทำลายของที่เหลือ

พวกคริสตังไปแจ้งความที่สถานีตำรวจของอำเภอที่อยู่ใกล้ๆ และขอความช่วยเหลือ แต่ตำรวจไม่สนใจ

ดิฉันได้เขียนรายการสิ่งของที่ถูกขโมยไปหรือถูกทำลาย

ลงชื่อ เทคลา

ขอย้อนไปพูดเรื่องคุณพ่อกาวัลลา

เมื่อมาถึงท่าเกวียน คุณพ่อกาวัลลาก็ไปที่วัด ขณะนั้นเป็นเวลา 17:30 น. ที่นี่ผมฝากคำพูดของคุณพ่อกาวัลลาในรายงานที่เขียนด้วยตนเอง ส่งจากโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1941 ถึงหลวงอดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ นี่คือ

เอกสารหมายเลข 27

เวลาประมาณ 23:30 น. ขณะที่ข้าพเจ้ากำลังนอนหลับ มีคนประมาณ 20 กว่าคน ได้พากันมาที่บ้าน เอาก้อนอิฐ ไม้ฟืน ขว้างปาฝาและหลังคาบ้าน แล้วได้เอาขวานฟันประตูพัง บุกรุกเข้ามาในบ้านได้ใช้มีด ขวาน ไม้ที่ติดมือมา ทำลายสิ่งของที่อยู่ในบ้านเสียหายไม่มีชิ้นดี เมื่อข้าพเจ้ารู้สึกตัวตื่น ก็หนีเพราะเห็นว่า สู้ผู้ร้ายไม่ไหว ข้าพเจ้าจึงวิ่งหนีไปที่ตลาดที่อยู่ห่างจากบ้านประมาณ 30 เมตร ผู้ร้ายเหล่านั้นได้ตรงเข้ามาจับข้าพเจ้า กระชากเสื้อผ้าจนขาด แย่งเอาเงินในกระเป๋าซึ่งมีอยู่ประมาณ 50 บาท ตั๋วเดินทางกลับใบสำคัญ ประจำตัวคนต่างด้าวของข้าพเจ้าและเอกสารอื่นๆ อีก 2-3 ชิ้น แล้วพวกผู้ร้ายได้ฉุดข้าพเจ้าข้างละคน คนหนึ่งทางขวา อีกคนหนึ่งทางซ้าย แล้วขู่ไม่ให้ข้าพเจ้าเหลียวหลัง ถ้าขัดขืนจะตีให้ตาย ส่วนพวกที่เหลือก็ชก เตะ ตี ต่อยข้าพเจ้าทีละคนสองคน คนหนึ่งใช้ไม้พลองตีศีรษะข้าพเจ้า เป็นเหตุให้ข้าพเจ้าสลบไปครู่หนึ่ง พอฟื้นขึ้น ปรากฏว่ามีชายคนหนึ่งเดินผ่านมา ข้าพเจ้าได้ขอร้องให้ช่วยแก้ข้าพเจ้าออก แต่เขาปฏิเสธ ว่าช่วยไม่ได้เพราะจะถูกทำร้าย ข้าพเจ้าได้ดิ้นรนจนที่สุดก็หลุดออกมาได้เอง

ประมาณ 2 ชั่วโมงต่อมา มีคนประมาณ 10 กว่าคน ได้เข้ามาในบ้านที่ข้าพเจ้าพักอยู่ผู้หนึ่งแจ้งว่า เป็นนายตำรวจ แล้วบอกว่าอีกคนหนึ่งเป็นนายอำเภอพนม (สารคาม) จะมาทำการไต่สวน กลัวว่าข้าพเจ้า จะประกอบจารกรรม แล้วได้เข้าค้นบ้านข้าพเจ้า เห็นเครื่องใช้แตกเสียหายหมด แต่ก็ไม่ได้เอาใจใส่ในเรื่องนี้ เจ้าหน้าที่ได้พูดกับข้าพเจ้าว่าที่ได้มาทำการไต่สวนในเวลากลางคืน ก็เพราะได้ยินเสียงโครมคราม ข้าพเจ้าจึงรายงานให้รู้ว่ามีผู้ร้ายบุกรุกในบ้านข้าพเจ้า และได้ทำความเสียหายต่อสิ่งของในบ้านพร้อมทั้งทำร้ายตัวข้าพเจ้าด้วย แต่เจ้าหน้าที่หาได้เอาธุระในเรื่องนี้ไม่ กลับพูดว่ามาเพื่อไต่สวนเรื่องจารกรรมเท่านั้น

วันที่ 15 มีนาคม เวลา 7:30 น. ข้าพเจ้าได้ลงเรือกลับกรุงเทพฯ ได้แวะที่สถานีตำรวจแปดริ้วเพื่อแจ้งเหตุการณ์ที่ได้เกิดแก่ข้าพเจ้า แล้วกลับถึงกรุงเทพฯ เวลานี้ได้มาพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์

ส่วนคุณพ่อแกรสปีที่ไปพร้อมกับข้าพเจ้าเมื่อวันที่ 13 ขณะนี้ยังพักอยู่ที่วัดคาทอลิกปากคลองท่าลาด ขอความกรุณาให้ทางการจัดการเพื่อความปลอดภัยของคุณพ่อองค์นี้ด้วย ข้าพเจ้าขอรับรองว่ารายงาน เหตุการณ์อันนี้ได้เป็นไปตามความจริงทุกประการ และขอให้ทางการพิจารณาจัดการต่อไปด้วย

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

ข. ผลของการสำรวจ การบังคับพวกคริสตังให้ละทิ้งศาสนา

วัดถูกทำลายจนราบเป็นหน้ากลอง

รวมทั้งบ้านพักพระสงฆ์และคอนแวนต์

หลวงอดุล อดุลเดชจรัส ได้ตีพิมพ์คำสั่งต่างๆ และห้ามเรื่องการเบียดเบียนศาสนาในหัวข้อ "เสรีภาพทางศาสนา" ประกาศโดยรัฐธรรมนูญ ท่านมีภารกิจสำคัญกว่านั้น ท่านเป็นเพียงอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งขึ้นต่อรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย ท่านผู้นี้และหลวงพิบูลส่งคำสั่งลับไปถึงพวกผู้ว่าราชการจังหวัด และพวกนายอำเภอ

พวกนายอำเภอพนมและบางคล้าตกลงกันไว้เรียบร้อย ตั้งแต่เดือนมกราคม พวกเขาได้บังคับให้พวกคริสตังจำนวนมากละทิ้งศาสนา เป็นต้นคนอ่อนแอ แต่ยังเหลือพวกหัวดื้อ เรื่องราวที่ท่าเกวียนจะเปิดโอกาสให้พวกเขา

ตำรวจท้องที่และนายอำเภอพนมสารคามตอบว่า พวกนี้เป็นพวกคริสตังของวัดท่าเกวียนและปากคลองท่าลาดเอง ซึ่งเมื่อเห็นมิชชันนารีชาวอิตาเลียนย้ายมาอยู่ ก็ก่อความวุ่นวาย พวกเขากลัวว่าคุณพ่อ ชาวอิตาเลียนจะเอาข้าวของของเจ้าอาวาสองค์ก่อนคือคุณพ่อริชารด์สัญชาติฝรั่งเศสไป เราจะลงโทษผู้กระทำผิด

เพื่อไม่เป็นการเน้นเรื่องนี้จนเกินไป ข้าพเจ้าได้ส่งรายงานของพวกคริสตังวัดปากคลองท่าลาดมาให้ท่าน ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการบังคับพวกคริสตังอย่างไร? โดยการข่มขู่ให้พวกคริสตังละทิ้งศาสนาคาทอลิก และให้พวกเขาเซ็นชื่อรับรองว่าสมัครใจจะซื่อสัตย์ต่อศาสนาพุทธ

หลังจากที่ได้ทำลายอาคารทั้งหมดของวัดคาทอลิกปากคลองแล้ว พวกเลือดไทยไปปล้นและทำลายวัด , บ้านพักพระสงฆ์ , คอนแวนต์ และบ้านพักซิสเตอร์ และสถานที่อื่นๆ ของวัดท่าเกวียน จนราบเป็นหน้ากลอง

2. เขตวัดปากคลองท่าลาด

นายอำเภอบางคล้า

หลังจากคุณพ่อกาวัลลามาถึงกรุงเทพฯ ไม่นาน คุณพ่อแกรสปีได้ถูกเรียกอย่างเร่งด่วนให้กลับไปกรุงเทพฯ เพราะเกรงว่าคุณพ่อ 2 องค์ จะเผชิญชะตากรรมเลวร้ายยิ่งกว่าเพื่อนๆ หลังจากที่คุณพ่อทั้งสอง ออกจากวัดได้ไม่กี่วัน วัด , บ้านพักพระสงฆ์ , บ้านพักซิสเตอร์ , โรงเรียน ทุกอย่างถูกทำลายหมด และไม้ต่างๆ (ของอาคารที่ถูกทำลาย) ถูกขายไปในราคาถูกๆ โดยการจัดการของนายอำเภอ ไม่เหลือร่องรอยของมิสซังคาทอลิก สุสานถูกทำลายและนายอำเภอได้สร้างถนนผ่านกลางที่นาของวัดถูกคนมายึดครองเป็นเจ้าของ

ในปี ค.ศ. 1942 คุณพ่อการิเอเจ้าอาวาสวัดแปดริ้ว ได้เดินทางกลับจากอินโดจีน ตามคำสั่งที่ 9 ลง วันวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 ของอธิบดีกรมตำรวจ คุณพ่อกลับมาที่แปดริ้ว หลังจากนั้นได้ไปเยี่ยม วัดสาขาคือ ปากคลองท่าลาดและท่าเกวียน ทันทีทันใดพวกคริสตังที่ละทิ้งศาสนามาขอโทษ และคุณพ่อขอให้บางคนเขียนรายงานเรื่องที่ได้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1941 คุณพ่อได้รับรายงาน 3 ฉบับ ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกันดีมาก แต่ละคนให้รายละเอียดเพิ่มเติมและรายละเอียดพิเศษเรื่องราวทั่วๆไปของการเบียดเบียนไม่แตกต่างกัน ข้าพเจ้าขอยกเอาเนื้อหารายงานของนางซ่อนกลิ่น ผลประเสริฐมาก ซึ่งจะเป็น

เอกสารหมายเลข 28

ซึ่งข้าพเจ้าเพิ่มเติมไว้ เป็นบันทึกพิเศษของรายงาน 2 ชิ้น รายงานเหล่านี้ได้บรรยายถึงวิธีการ ซึ่งนายอำเภอบางคล้าและนายอำเภอพนมตกลงกันเพื่อทำให้พวกคริสตังละทิ้งศาสนา รวมทั้งพวกหัวดื้อด้วย

"วันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1941 (ความจริงเป็นวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1941) กำนันขอให้หัวหน้าครอบครัวคริสตังทุกคนไปประชุมกัน นายอำเภอได้เรียกประชุมในวันอาทิตย์ หลังจากสวดภาวนาประจำวัน อาทิตย์ในวัดแล้ว ประมาณ 10 นาฬิกา พวกคริสตังทุกคนก็ไปตามนัดในรายงานของเขา"

เอกสารหมายเลข 29

นายทองมา ผลประเสริญมาก กล่าวว่า "พวกคริสตังประมาณ 60-70 คน เดินทางไปประชุมในศาลาการเปรียญของวัดแจ้ง"

ก. การประชุมครั้งแรก

ในรายงานของเขา

เอกสารหมายเลข 30

นายสนั่น เอี่ยวสิริ กล่าวว่า “นายมหาบุญชู คนสำคัญของศาสนาพุทธ เรียกพวกคริสตังทุกคนตามรายชื่อที่เขามี เขาจัดทำรายชื่อนี้ซึ่งมีอยู่ในมือเขาได้อย่างไร? ข้าพเจ้าไม่ทราบเลย"

นายอำเภอมาพร้อมกับนายร้อยตำรวจเอกเดินเข้ามาในที่ประชุมต่อจากนั้นก็กล่าวกับพวกเรา หลายเรื่อง “รัฐบาลไม่ต้องการศาสนาคาทอลิกคนไทยแท้ต้องนับถือศาสนาพุทธ พวกคาทอลิกเป็นพวกฝรั่งเศส” คริสตังบางคนประท้วงคำพูดของเขา นายอำเภอแย้งว่า “พวกคริสตังไม่ได้เป็นพวกฝรั่งเศสทุกคน แต่ศาสนาของพวกเขาเป็นศาสนาของฝรั่งเศส และพวกที่คัดค้านเป็นพวกแนวที่ 5 ฯลฯ” คริสตัง 3 คน ละทิ้งศาสนาในการประชุมครั้งแรกนี้ มีนางแฉล้ม , นางปิ่น , นางถนอม นายอำเภอให้พวกเขาขึ้นไปนั่งบนเวที (ของพวกพระภิกษุ) รอเวลานำเข้าไปในโบสถ์เพื่อทำพิธี ส่วนคนอื่นๆ ให้นั่งที่พื้น... การประชุมครั้งใหม่เป็น วันที่ 3 กุมภาพันธ์

ข. การประชุมครั้งที่ 2 วันที่ 3 เมษายน

(ประชุมจริงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941)

นายอำเภอดูเหมือนขึงขังน้อยลง เพราะเพิ่งมีคำสั่งของอธิบดีกรมตำรวจออกมา(วันที่ 1 กุมภาพันธ์) ในนามของรัฐธรรมนูญ ห้ามการเบียดเบียนประชาชนเรื่องการนับถือศาสนานายอำเภอกล่าวกับพวกเราว่า “เจตนารมณ์ของประชาชนชาวไทยทุกคนคือ อยากให้ในประเทศไทยมีเพียงศาสนาเดียวคือศาสนาพุทธ ไม่ใช่ศาสนาคาทอลิก เมื่อมีต้นกาฝากอยู่บนต้นมะม่วง เขาทำอย่างไร? พวกคริสตังบางคนตอบว่า "ตัดมัน ทิ้งเสีย โค่นทิ้งเสีย" "ใช่แล้ว นี่เป็นเรื่องถูกต้อง! พวกคริสตังเป็นพวกกาฝากที่ต้องกำจัด!” ที่นี่คริสตังบางคนเซ็นชื่อเป็นพุทธ "ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป พวกท่านจะมารับการอบรมทุกวัน"

ค. การประชุมทุกวันเพื่อรับการอบรม

การอบรมดำเนินไปนานกว่า 1 เดือน พวกคริสตังที่ยังไม่ได้ละทิ้งศาสนาต้องมาแสดงตัวทุกวัน ตั้งแต่บ่ายโมงถึงห้าโมงเย็น พวกคริสตังที่อยู่ห่างไกลต้องมาเร็วขึ้น พวกเขาเสียเวลาทั้งวันในการเดินทางและการอบรม พวกเขาลงทะเบียนเป็นพุทธ และไปทำพิธีภายในโบสถ์ นับตั้งแต่เวลานั้น พวกเขาไม่ต้องไปแสดงตัวในการประชุมอบรมอีกเลย พวกเขาได้ชื่อว่าเป็นคนไทยร้อยเปอร์เซ็นต์

นายอำเภอจบการอบรมด้วยการกล่าวกับพวกที่ยังหัวดื้ออยู่ว่า "พวกท่านไม่รู้หรอกว่าข้าพเจ้า ลำบากทุกอย่างเพื่อพวกท่าน เพื่อปกป้องพวกท่านและปกป้องวัดของพวกท่านเพราะพวกท่านไม่มีอาวุธ พวกท่านไปสวดภาวนาในวัดของพวกท่านโดยปราศจากอาวุธในมือ พวกท่านก็ไม่สามารถจะป้องกันตัวเอง ถ้าพวกท่านถูกโจมตี เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าเพิ่งนึกได้ว่าได้พาคนจำนวนหนึ่งมากับข้าพเจ้าด้วย เพื่อจะได้ สามารถคุ้มครองพวกท่านในกรณีล้มเหลว" จริงๆ แล้ว พวกเขามาเพื่อสำรวจพื้นที่มากกว่า

ไม่มีใครกล้าเปิดปากในที่ประชุม เพราะคำแรกๆ ของการคัดค้าน ก็ถูกจับข้อหาเป็นแนวที่ 5 คำๆเดียว ที่พวกเราสามารถพูดได้ก็คือ ขอบคุณนายอำเภอที่ท่านเอาใจใส่ดูแลพวกเรา

ง. การเฝ้าสังเกตการณ์ในเวลากลางคืน

- นายทองมา เอกสารหมายเลข 29 เล่าว่า “หลายวันก่อนที่วัดจะถูกทำลาย มีข่าวลือว่าประชาชน จะมาทำลายวัดของพวกเรา ดังนั้น พวกเราจึงตกลงกันเพื่อช่วยเหลือกัน และเฝ้ายามกลางคืน ข้าพเจ้าอยู่กับพวกเขาด้วย คนส่วนมากอยู่เฝ้ายามในที่ของตนตลอดคืน

ในขณะนั้น (วันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1941) พระสงฆ์อิตาเลียน 2 องค์ ได้เดินทางมาที่วัดปากคลอง ท่าลาด และวันรุ่งขึ้น คุณพ่อองค์หนึ่งได้ไปที่วัดท่าเกวียนพร้อมกับนายรอด คืนนั้นเอง คุณพ่อองค์นี้ได้ถูกทุบตีและถูกปล้น

ระหว่างที่มีการประชุมอบรมกันในวันพุธ ยามกลางคืน พวกที่ยังหัวดื้ออยู่ได้ถูกจับและถูกกล่าวหา เป็นโจรปล้นและทำร้ายพระสงฆ์อิตาเลียนที่ท่าเกวียน ในการจับกุมนี้ พวกที่ถูกจับมี 8 คน (ซึ่งนางซ่อนกลิ่นได้บอกรายชื่อ) 2 คนโชคดีหลบหนีไปได้ อีก 2 คนคือ นายล้วนและนายสนั่นไม่อยู่ในที่เกิดเหตุ เพราะมีธุระต้องย้ายข้าวของไปที่แปดริ้ว”

- นายสนั่น เอกสารหมายเลข 30 เล่าว่า “วันพฤหัสบดี ตำรวจมาจับพวกเรา นายล้วนถูกจับตอนเช้า ส่วนข้าพเจ้าถูกจับตอนบ่าย เมื่อข้าพเจ้ามาหานายอำเภอ พวกที่ถูกจับครั้งแรกและนายล้วนรวมเป็น 9 คน เพิ่งถูกส่งตัวมาที่ที่ว่าการอำเภอพนมสารคาม ข้าพเจ้าถูกขังคนเดียวในห้องขังของโรงพัก เพื่อรอย้ายไปที่อำเภอพนมสารคามในเช้าวันรุ่งขึ้น จริงๆแล้วข้าพเจ้าไม่ทราบว่าทำไมจึงถูกจับ? เช้าวันรุ่งขึ้นขณะถูกย้าย ข้าพเจ้าจึงทราบเหตุผลคนแจวเรือจ้างถามตำรวจคนหนึ่งว่า "ทำไมจึงจับชายผู้นั้น?" "ผมไม่ทราบอะไรมาก อาจเป็นอย่างที่ผมคิดคือเข้าทำร้ายด้วยอาวุธมือที่พนมสารคาม!" ในเวลากลางคืนของวันพฤหัสบดีนี้ ขณะอยู่ในห้องขัง ข้าพเจ้าได้ยินเสียงร้องตะโกนอึกทึกเหมือนคนบ้า วัดของข้าพเจ้ากำลังถูกทำลาย

ครั้นวันศุกร์ ข้าพเจ้าถูกย้ายไปที่พนม และถูกขังรวมกับคนอื่นๆ อีก 9 คน ในเวลาเย็นนายร้อย ตำรวจเอกและนายอำเภอ เรียกนายล้วนและนายแดงมารับประทานอาหารด้วยกันในห้องขัง ข้าพเจ้าเห็น พวกเขาพูดคุยกัน แต่ข้าพเจ้าไม่สามารถได้ยิน ข้าพเจ้าคิดว่าเวลาประมาณ 8 นาฬิกา พวกเขาได้กลับมาด้วยอาการค่อนข้างเมา ข้าพเจ้าถามพวกเขาว่านายอำเภอเรียกพวกท่านไปทำไม? นายล้วนตอบข้าพเจ้าว่า "ต่อไปพวกเราจะปลอดภัยทั้ง 9 คน แต่พวกเราต้องไม่หนี มิฉะนั้นจะต้องถูกยิงภายหลัง พวกเรารับรองแทนคนอื่นๆ" "พวกท่านจะปลอดภัยหรือ? ต้องทำอย่างไร?" นายล้วนตอบข้าพเจ้าว่า "ต้องละทิ้งศาสนาแน่ๆ" และเขาเสริมว่า "นักบุญเปโตรได้ปฏิเสธพระองค์สามครั้ง! พวกเราปฏิเสธเพียงครั้งเดียว!" ข้าพเจ้าไม่ได้ตอบอะไรสักคำ"

จ. การละทิ้งศาสนาของพวกหัวดื้อ

เย็นนั้น ทั้ง 9 คนก็สามารถนอนนอกห้องขังได้พวกเขามีเสื่อและหมอนเช้าวันรุ่งขึ้นนายร้อยตำรวจเอกทำการสอบสวนเพิ่มเติมเล็กน้อย ตำรวจถามพวกเขาว่า "พวกท่านทั้ง 9 คนนี้ พวกท่านจะเอาใครเป็น คนประกัน?" และพวกเขาได้ชี้กันและกัน เรื่องยืดเยื้อจนถึงเวลา 4 หรือ 5 โมงเย็น ข้าพเจ้าถูกสอบสวนเช่นกัน และนายช่วยก็มาประกันตัวข้าพเจ้า และพวกเราก็เป็นอิสระจากการประกันตัวในเย็นวันเดียวกันนั้นเอง และพวกเราก็กลับบ้าน

2-3 วันต่อมา พวกเราได้ไปที่วัดพุทธตามที่พวกเราได้สัญญาไว้ และพวกเราได้ปฏิเสธศาสนา คาทอลิกเพื่อเปลี่ยนเป็นคนพุทธ ถ้าพวกเราไม่ไปตามนัด พวกเราต้องถูกจับและถูกฟ้องเหมือนเดิมว่าเข้าโจมตีด้วยอาวุธมือ ปล้น และทำร้ายร่างกายพระสงฆ์ชาวอิตาเลียน

ตั้งแต่นั้นมา ข้าพเจ้าได้พักอยู่ที่บางคล้าจนถึงปัจจุบันนี้

ฉ. วัดปากคลองท่าลาดถูกทำลายจนหมด

คืนวันเดียวกันนี้ซึ่งพวกคริสตังที่ถูกจับได้ถูกส่งตัวไปที่พนมสารคามข้าพเจ้าอยู่ในเรือพร้อมกับลูกๆ ซึ่งจอดห่างตลิ่งเล็กน้อยเพราะข้าพเจ้ากลัว ข้าพเจ้าได้ยินเสียงคนจำนวนมากเปล่งเสียงโห่ร้องไชโยแสดง ความยินดี พวกเขาเพิ่งทำลายวัด , บ้านพักพระสงฆ์ , บ้านพักซิสเตอร์ โรงเรียนสำหรับนักเรียนชายและหญิง 2 แห่ง และเสียงอื่นๆ คือ เสียงของพวกสัตว์นรก , เสียงฆ้อนตอก , เสียงไม้กระดาน เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1941

ข้าพเจ้ารู้สึกกลัว วันรุ่งขึ้น ข้าพเจ้าจะประกาศตัวเป็นพุทธ นายอำเภอพูดกับข้าพเจ้าว่า "ผมทราบ ว่าพวกเลือดไทยจำนวนมากได้ไปทำลายวัดดีมาก นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ท่านไม่ต้องมารับการอบรมอีก" ทุกอย่างจบแล้ว (เอกสารหมายเลข 28)

หลังจากได้ทำลายป่าช้าจนหมด และทุบไม้กางเขนทั้งหมดทิ้ง นายอำเภอได้จัดการทำลายพวกหลุมฝังศพและสร้างถนนผ่าน พวกไม้กระดานทั้งหมด , พวกไม้รอด เป็นต้น ถูกขายไปในราคาถูกๆ โดยผู้ช่วยนายอำเภอที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในการขายซึ่งสมาชิกประกอบด้วย นายประกอบ สุนทรดิลก , นายโป และนายน้อย

พวกไม้ของวัดและบ้านพักพระสงฆ์ถูกนำไปที่วัดพุทธชื่อ วัดปากน้ำ ไม้อื่นๆทั้งหมดของคอนแวนต์นักบวชหญิง , ของโรงเรียน 2 แห่ง , พวกพระแท่นบูชาทั้งหมด , พวกตู้ต่างๆ เป็นต้น... สังกะสีทั้งหมดที่ มุงหลังคาถูกขายในราคาถูกๆ ให้นายน้อยซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่ง ที่ดินของวัดและที่ดินแปลงต่างๆ ตามรายงานถูกยึดโดยนายประกอบ

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic25.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:20 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓

🇹🇭 จังหวัดปราจีนบุรี

รูปภาพ

เนื้อหาโดยสรุปของการเบียดเบียนในแถบปราจีนได้ถูกรวมอยู่ในจดหมาย และรายงานของพระสังฆราชแปร์รอสที่มีไปถึงเพื่อนพระสงฆ์ที่ลี้ภัยอยู่ที่ไซ่ง่อน และถึงผู้แทนพระสันตะปาปาที่เมืองเว้ (ประเทศเวียดนาม)

พระสังฆราชแปร์รอสเขียนจดหมายถึงคุณพ่อริชาร์ด หัวหน้าพระสงฆ์ที่ลี้ภัย ลงวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1941 จดหมายฉบับที่ 2 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 แจ้งข่าวการเบียดเบียนเช่นเดียวกัน และเพิ่มเติมรายงานเกี่ยวกับเรื่อง "ความเดือดร้อนที่เกิดกับมิสซังคาทอลิก" จดหมายทั้ง 2 ฉบับ และรายงานพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีด

1. ที่ปราจีน

คุณพ่อแปร์รัวย์ที่ปราจีนได้ถูกบังคับโดยตำรวจ ให้ออกจากวัดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 วันที่ 20 ธันวาคม ข้าพเจ้าได้ส่งพระสงฆ์พื้นเมืองชื่อ คุณพ่อฟรังซิส สงวน (ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระสังฆราชสงวน) ท่านเกิดในเมืองไทย ถือสัญชาติไทย ไปปราจีนเพื่อดูแลพวกคริสตัง

ก. การจับกุมคุณพ่อสงวนและคุณพ่อส้มจีน เป็นการชั่วคราว

เมื่อมาถึงปราจีนโดยรถไฟ คุณพ่อสงวนถูกตำรวจจับและถูกนำไปที่สถานีตำรวจ เขาได้สอบสวน หลังจากนั้นได้ปล่อยตัวไป คุณพ่อได้พักอยู่ที่วัด

วันรุ่งขึ้น ตำรวจมาหาคุณพ่อ นำตัวไปที่สถานีตำรวจแห่งใหม่ เขาได้ถามคุณพ่อถึงจุดประสงค์ที่มาปราจีน ต่อจากนั้นก็กักตัวคุณพ่อไว้ในห้องพักผู้ต้องหาที่สถานีตำรวจ เพราะว่าหนังสือทำวัตร (Le Brviaire) ของคุณพ่อเป็นหนังสือที่น่าสงสัย เขาไม่เข้าใจว่าเป็นหนังสืออะไร คุณพ่อถูกกักตัว 3 วัน

คริสตังคนหนึ่งมาจากปราจีนเพื่อส่งข่าวแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าร่างจดหมายถึงหลวงอดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจที่กรุงเทพฯ และข้าพเจ้าได้เอาหนังสือทำวัตรของคุณพ่อสงวนให้ และข้าพเจ้าได้ร้องขออิสรภาพให้แก่คุณพ่อ คำร้องขอของข้าพเจ้าได้รับการสนองตอบ ที่สุดคุณพ่อสามารถกลับไปที่วัดได้ในที่ 24 ธันวาคม (ที่ชั้นล่างของวัดมีทหาร 60 คน เฝ้าอยู่ คุณพ่อถูกกักขังอยู่ชั้นบน)

ไม่กี่วันต่อมา คุณพ่อมีแชล ส้มจีน พระสงฆ์พื้นเมือง ถือสัญชาติไทย คุณพ่อเดินทางจากวัดโคกวัดมาที่วัดปราจีน เดินทางเป็นเวลา 4-5 ชั่วโมง เมื่อคุณพ่อมาถึงปราจีน ท่านก็ถูกตำรวจจับ เพราะว่าคุณพ่อถอดเสื้อหล่อในระหว่างเดินทาง และสวมเสื้อหล่อเมื่อมาถึงปราจีนหลังจากกักขังคุณพ่อไว้ 2 วัน เขาก็ปล่อยคุณพ่อไปประจำที่วัดกับคุณพ่อสงวน แต่คุณพ่อทั้งสองถูกห้ามมิให้ออกจากที่พัก

ข. การจับกุมครั้งที่ 2 : พระสงฆ์ 2 องค์ถูกคุมขังเพื่อรอการสอบสวน

ในขณะนั้น เครื่องบินฝรั่งเศสมาทิ้งระเบิดที่ค่ายดงพระรามใกล้กับปราจีน วันรุ่งขึ้นคุณพ่อทั้งสองถูกฟ้องในข้อหาได้ทำการฉายไฟนำเครื่องบินทิ้งระเบิด และถูกขังคุกในข้อหาเป็นแนวที่ 5 คุณพ่อสงวนและคุณพ่อส้มจีนถูกขังคุกเพื่อป้องกันการหลบหนีเป็นเวลา 2 เดือนครึ่งในเวลานั้น พวกคนร้ายได้ปล้นวัดโคกวัด

ค. การเบียดเบียนพวกคริสตังด้วยการบังคับให้ละทิ้งศาสนา

ในเวลานั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา นายอำเภอปราจีนได้เรียกประชุมพวกคริสตัง เขาต้องการบังคับคริสตังให้ละทิ้งศาสนาคาทอลิก และประกาศตัวเป็นพุทธในตอนแรก ทุกคนปฏิเสธโดยพร้อมเพรียงกันในการละทิ้งศาสนาครั้งนี้ ต่อมาเขาก็บังคับให้มาประชุมทุกวันเพื่อฟังเขาตอกย้ำให้ละทิ้งศาสนาคาทอลิก พวกคริสตังไม่สามารถทำงานหรือทำอะไรได้เลยนับตั้งแต่ถูกเรียกประชุม พวก เขาเกิดความท้อแท้มากยิ่งขึ้น และในที่สุดก็ละทิ้งศาสนาไป ในขณะนั้นนายอำเภออ้างว่าเขาไม่ได้บังคับใคร แต่เขาทำให้พวกคริสตังไม่สามารถทำมาหากินได้ และให้พวกพ่อค้ารวมหัวกันหยุดทำการค้ากับพวกคริสตัง

วิธีการเดียวกันนี้ถูกนำมาใช้ที่ปากคลอง , ท่าลาด , ท่าเกวียน , พนัสฯ , บางปลาสร้อย , หัวไผ่

ง. คุณพ่อสงวนและคุณพ่อส้มจีน ถูกตัดสินจำคุก 2 ปี

วันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1941 คุณพ่อสงวนและคุณพ่อส้มจีนได้ถูกตัดสินโดยศาลทหารที่ปราจีนผู้กล่าวหาเป็นข้าราชการ 3 คน อ้างว่าได้เห็นคุณพ่อทั้งสองทำการฉายไฟให้สัญญาณนักบินฝรั่งเศส พยานหนึ่งในสามคนบอกว่า ได้เห็นคุณพ่อทั้งสองยืนอยู่ในกอไผ่ อีกสองคนบอกว่าได้เห็นคุณพ่อทั้งสองยืนอยู่นอกกอไผ่ แต่งชุดธรรมดาสีขาว คนหนึ่งบอกว่าคุณพ่อทั้งสองส่งสัญญาณที่กอไผ่อีกด้านหนึ่งอีกสองคนให้การว่าคุณพ่อทั้งสองยืนอยู่ด้านตรงกันข้าม คุณพ่อทั้งสองปฏิเสธคำให้การของพยานทั้งสามคนอย่างเด็ดขาด ต่อจากนั้นมีพยานอื่นๆ ให้การเข้าข้างผู้ต้องหา กระนั้นก็ดี ผู้พิพากษาประกาศว่า พวกพยานที่กล่าวหาเป็นข้าราชการ คำให้การของพวกเขาต้องมีน้ำหนักมากกว่าพยานที่เป็นคนธรรมดา ด้วยเหตุนี้ผู้ถูกกล่าวหาทั้งสอง (คุณพ่อสงวนและคุณพ่อส้มจีน) จึงถูกตัดสินลงโทษจำคุกคนละ 2 ปี

2. ที่แหลมโขด

ก. พวกทหารทำลายวัดและปล้นพวกคริสตัง

หลังจากการทิ้งระเบิดค่ายทหารดงพระราม พวกทหารค่ายดงพระรามและพวกปล้นจำนวนหนึ่งมาที่แหลมโขด วัดตั้งอยู่ห่างไปครึ่งชั่วโมง พวกทหารและพวกปล้นเข้าไปในวัด ทุบไม้กางเขน , รูปปั้น , ฉีกรูปวาดนักบุญต่างๆ , ขโมยอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ พูดสั้นๆว่า พวกเขาทำลายวัด นายอำเภอถูกเชิญมาเพื่อห้ามพวกปล้น เขาตอบว่าเรื่องนี้อยู่ในอำนาจของทหาร พร้อมทั้งบังคับให้อยู่เฉยๆ หลายวันต่อมา พวกปล้นกลับมาอีก ยังคงอาจหาญยิ่งขึ้น เห็นว่าไม่มี อะไรเหลือในวัดให้ขโมยอีก พวกเขาได้ปล้นเอาสิ่งที่เป็นกรรมสิทธิ์ของพวกคริสตัง ได้ฆ่าไก่ , เป็ด , หมู และบังคับพวกหญิงสาวและพวกเด็กผู้หญิงให้หนีไปในเมืองเพื่อความปลอดภัย

ข. การเบียดเบียนพวกคริสตังด้วยการบังคับให้ละทิ้งศาสนา

เหตุการณ์เหมือนที่ปราจีนทุกอย่าง

3. ที่โคกวัด

อำเภอศรีมหาโพธิ

ก. วัดถูกทำลาย

ทันทีที่คุณพ่อส้มจีนถูกจับที่ปราจีนพร้อมกับคุณพ่อสงวน และถูกขังคุกเพื่อป้องกันการหลบหนี พวกปล้นทำลายวัดและบ้านพักพระสงฆ์ที่โคกวัด เผาพวกบัญชีต่างๆ ขโมยเงินและวัตถุมีค่า (เครื่องประดับที่เป็นทองคำ) ที่พวกคริสตังได้ฝากไว้กับคุณพ่อนานแล้วเพื่อเก็บไว้ในที่ปลอดภัย มีชายคนหนึ่งเป็นคนสำคัญที่นั่นมีชื่อว่านายบรรทมเป็นครูที่โรงเรียน (เป็นคนพุทธ) เป็นลูกจ้างของคุณพ่อส้มจีนที่ถือว่าเป็นคนที่คุณพ่ ไว้ใจ เขารู้จักบ้านพักของคุณพ่อซึ่งคุณพ่อไว้ใจและมอบกุญแจให้ด้วย เขาขโมยทุกอย่างในบ้านคุณพ่อ

ข. พวกคริสตังถูกบังคับให้ละทิ้งศาสนา

เหตุการณ์เหมือนที่ปราจีนทุกอย่าง

ในระหว่างเวลานั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา นายอำเภอปราจีนได้ปฏิบัติ เช่นเดียวกันกับกำนัน ได้จัดให้มีการประชุม เป็นต้น

ยังคงมีพวกหัวดื้อบางคนที่ยังไม่ยอมปฏิเสธความเชื่อของพวกเขา พวกเขาถูกบังคับอย่างไร?

ค. วัดถูกวางเพลิงวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1941

เหตุการณ์โดยสรุปของการวางเพลิงเล่าโดยคริสตัง 2 คน ที่ส่งรายงานพวกของเขาไปถึงพระสังฆราชแปร์รอส รายงานทั้งสองฉบับนี้สอดคล้องกันเป็นอย่างยิ่ง ยกเว้นรายงานฉบับที่ 2 ได้เพิ่มเติมรายละเอียดบางอย่าง ตามรายงานฉบับที่หนึ่งมีดังนี้

เอกสารหมายเลข 32

พวกเลือดไทย ในโอกาสนี้ ครูใหญ่โรงเรียนสระมะเขือและครูใหญ่โรงเรียนหัวซาไปพบพวกคริสตัง พวกเขาขอเงินบริจาคเพื่อนำไปซื้อน้ำมันเบนซินมอบให้กับรัฐบาล ต่อมาครูใหญ่สูได้ไปซื้อน้ำมันที่สระมะเขือ

ตอนบ่ายของวันที่ 29 พฤษภาคม นายร้อยตำรวจลบกับพลตำรวจช่วย และครูใหญ่ทั้ง 2 คน คือ ครูสูและครูเร่งพร้อมกับพวกเลือดไทยจำนวน 20 คน มาชุมนุมกันอยู่ห่างจากวัด ประมาณ 400 เมตร ในจำนวนคนเหล่านั้นมีครูบรรทมรวมอยู่ด้วย ต่อมานายร้อยตำรวจลบไปพบคนจีนคนหนึ่งชื่อฟุ้งเหลี่ยนซึ่งเขาเคยไปนอนพักผ่อนเป็นประจำเวลาเย็นที่หน้าวัดคาทอลิกนายร้อยตำรวจลบบอกกับคนจีนผู้นี้ว่า “ถ้าคืนนี้ลื้อได้ยินเสียงอึกทึกหรือเห็นแสงไฟใกล้วัด ก็อย่าไปดู ฉันจะเสี่ยงทำให้ไฟฟ้าช็อต อย่าพูดไป”

เมื่อถึงเวลาค่ำ คริสตัง 2 คนชื่อนายจวนและนายต่วนผ่านทางหน้าวัดและได้ยินเสียงอึกทึกภายในวัด ทั้งสองคนหยุดฉายไฟดูและสังเกตเห็นถังน้ำมันเบนซิน นายร้อยตำรวจลบหยิบปืนเล็งไปทางพวกเขา แต่ครูสูตะโกนว่า “อย่ายิง ผมรู้จักทั้งสองคนดี ขอรับรองว่าพวกเขาไม่พูดอะไรเลย” ใน

เอกสารหมายเลข 33

เขาสรุปความว่า ครูสูพาทั้งนายจวนและนายต่วนไปด้านหลังวัด และพูดกับทั้งสองคนว่า "ผมเสียใจมากที่ได้ทำเช่นนั้น ผมไม่อยากทำงานแบบนี้ แต่ผมถูกบังคับ พวกเราได้รับคำสั่งทางการจากนายอำเภอ ให้เผาวัดของพวกคุณ และพวกเราไม่รู้จะขัดคำสั่งอย่างไร พวกคุณอย่าพูดเรื่องนี้กับใครเป็นอันขาด มิฉะนั้นพวกคุณจะติดร่างแหด้วย"

ระหว่างนั้น พวกเลือดไทยเอาน้ำมันราดวัดแล้วจุดไฟ ชั่วพริบตาไฟลุกโชน พวกคริสตังที่อยู่ใกล้วัดเห็นเปลวไฟ จึงตะโกนบอก “ไฟไหม้วัด ไฟไหม้วัดของพวกเรา” พวกคริสตังรีบวิ่งมาดับไฟ แต่มีคนยิงปืน 7-8 นัด มาทางพวกเขา ทำให้พวกเขาขาหัก ไม่รู้จะทำอย่างไร ทุกอย่างถูกไฟไหม้หมด ทั้งวัด , บ้านพักพระสงฆ์ เป็นต้น

เมื่อไฟลุกลามไปทั่วแล้ว พวกตำรวจ , พวกครู และพวกเลือดไทยก็พากันกลับไปหมดแสงสว่างของไฟที่ลุกโพลงทำให้พวกคริสตังจำพวกเขาได้ทุกคน พวกเขาเป็นเพื่อนบ้านนั่นเอง!

ง. พวกหัวดื้อถูกบังคับให้ละทิ้งศาสนา

วันรุ่งขึ้น ตำรวจมาดูผลที่เกิดขึ้น ไม่มีอะไรเหลือกลับคืนมาได้อีก... และพวกที่ละทิ้งศาสนาผู้น่าสงสาร ได้ร้องคร่ำครวญถึงวัดที่เป็นความหวังเพียงอย่างเดียวของพวกเขา ส่วนพวกคริสตังบางคน พวกหัวดื้อซึ่งมีจำนวนไม่มาก พวกตำรวจบันทึกว่า “ที่เป็นเช่นนี้ เป็นเพราะพวกคริสตังที่ไม่ยอมเป็นพุทธได้จุดไฟเผาวัด! มิฉะนั้นพวกเขาจะต้อง มาดับไฟ!”

คนพวกนี้คือ นายชวง , นายปูน , ลูกสาว 2 คนของหัวหน้าหมู่บ้านจันทร์ศรี , นายครุฑ , นายชวด และนายอ่ำ

มีคำสั่งราชการให้ฟ้องผู้วางเพลิง, ...

(ฯลฯ..., เหมือนกับที่อื่นๆ)

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic26.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:21 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓

🇹🇭 จังหวัดจันทบุรี

รูปภาพ

การเบียดเบียนพวกคริสตังได้ลุกลามไปในทุกเขตวัดของมิสซัง รุนแรงมากน้อยแล้วแต่จังหวัด เพราะคำสั่งให้เบียดเบียนไม่ได้ทำเหมือนกันหมดทั่วทุกแห่ง มีการบังคับทั้งพวกผู้ใหญ่ทั้งเด็กนักเรียนให้ละทิ้งศาสนา ที่นั่นผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอได้ต่อต้านพวกคาทอลิก พวกเขาปล่อยให้พวกเลือดไทยซึ่ง แสดงความร้อนรนด้วยการเรียกประชุมอบรมพวกคริสตังให้ทำการละทิ้งศาสนา

ที่จันทบุรี พวกคริสตังที่วัดจันทบุรีมีจำนวนมากประมาณ 5,000 คน คนเหล่านี้สืบเชื้อสายมาจากชาวเวียดนามเป็นเวลาเกือบ 150 ปี พวกเขาหลบหนีการเบียดเบียนที่เกิดขึ้นในอินโดจีนได้ประสบความสำเร็จจากการหนีตายไปเกยตื้นอยู่ที่เกาะแห่งหนึ่ง ต่อมาพากันมาอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี

เพราะว่าการเบียดเบียนศาสนาไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการ และพวกผู้ว่าราชการจังหวัด ปล่อยให้พวกเลือดไทยทำการต่อต้านพวกคาทอลิกโดยปิดหูปิดตาทำไม่รู้ไม่ชี้ พวกคริสตังจึงรวมตัวกันเพื่อต่อสู้ และป้องกันวัดและหมู่บ้านของพวกเขา พวกเขาได้จัดยามเฝ้าทั้งวันทั้งคืน เมื่อพวกเลือดไทยเริ่มรวมกลุ่มกันเพื่อจะทำลายวัดที่สวยงามของจันทบุรี หัวหน้าพวกคริสตังก็ตีกลองเป็นจังหวะสัญญาณ ทันทีทันใดพวก คริสตังทุกคนที่แข็งแรง ทั้งผู้ชาย , ผู้หญิง , ชายหนุ่ม , หญิงสาว จัดเตรียมอาวุธไม้ตะบอง , มีดโต้ , พลั่ว , จอบ เป็นต้น พากันมาที่วัด พร้อมเข้าประจัญบาน เมื่อพวกเลือดไทยเห็นดังนั้นแม้พวกเขาจะเป็นพวกข้าราชการ , พวกครู หรือประชาชนคนธรรมดา พวกเขาคิดว่าควรรีบถอยหนี

ในจดหมายของพระสังฆราชแปร์รอสถึงบรรดาเพื่อนพระสงฆ์ ลงวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 พระคุณเจ้าบันทึกว่า "มีการลงนามในข้อตกลงระหว่างอินโดจีนและประเทศไทยเมื่อ 4 วันก่อน การลงนามจะมีผลอย่างไร พวกเราจะเห็นกันในไม่ช้า ความเกลียดชังต่อศาสนาคาทอลิกได้ลดความรุนแรงลงเล็กน้อยที่กรุงเทพฯ แต่เพิ่มทวีขึ้นที่จันทบุรีที่ซึ่งพวกพระสงฆ์และพวกนักบวชหญิงไม่สามารถออกจากที่อยู่ได้”

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic27.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:21 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓

🇹🇭 จังหวัดชลบุรี

รูปภาพ

1. ที่อำเภอพนัสฯ

การเบียดเบียนรุนแรงมาก พวกคริสตังถูกบังคับให้ละทิ้งศาสนา ถูกดำเนินการเช่นเดียวกับที่อื่นๆ พวกเลือดไทยโจมตีวัดได้รับความเสียหายอย่างมากเช่นเดียวกับบ้านพักพระสงฆ์และบ้านพักซิสเตอร์

2. ที่หัวไผ่

หัวไผ่เป็นเขตวัดที่ใหญ่ มีคริสตังจำนวนมาก ถูกดำเนินการเช่นเดียวกับที่อื่นๆ รายชื่อของผู้ละทิ้งศาสนาครั้งแรกเป็นหัวหน้าครอบครัว 120 คน ในจำนวนคนเหล่านี้ จำนวนหนึ่งได้ยึดครองที่นาของวัด วัดได้รับความเสียหายอย่างมากเช่นเดียวกัน

คริสตังจำนวนหนึ่งที่ละทิ้งศาสนา เป็นผู้เช่าที่นาของวัดหัวไผ่ ได้ยึดครองที่ดินและประกาศตนเป็นเจ้าของ คุณพ่อเฮนรี่ผู้ช่วยเจ้าอาวาสได้เข้าห้ามปรามเพื่อคัดค้านในนามของมิสซัง คุณพ่อถูกจับในข้อหาเป็นคนทรยศต่อชาติไทย สนับสนุนพวกฝรั่งเศสต่อสู้กับคนไทย ท่านถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตโดยศาลทหาร พระสังฆราชแปร์รอสได้ยืนยันว่าที่ดินของวัดหัวไผ่ไม่ไช่เป็นของฝรั่งเศส แต่เป็นกรรมสิทธิ์ของมิสซังคาทอลิกซึ่งเป็น “นิติบุคคล ตามกฎหมายไทย” คุณพ่อเฮนรี่ถูกนำมาขังรวมกับคุณพ่อเอดัวรด์ที่คุกบางขวาง เมื่อคุณพ่อ (เฮนรี่) ได้รับอิสรภาพแล้วท่านได้ขอไปเป็นเจ้าอาวาสวัดอยุธยา

3. ที่บางปลาสร้อยและที่ศรีราชา

เหตุการณ์เป็นอย่างเดียวกัน

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic28.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:22 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓

🇹🇭 จังหวัดเชียงใหม่

รูปภาพ

เหตุการณ์เป็นอย่างเดียวกัน

พิธีละทิ้งศาสนา มีผู้ประกาศทิ้งศาสนาจำนวน 167 คน (ทั้งคาทอลิกและโปรเตสตันท์)

ที่เวียงป่าเป้า มีคนทิ้งศาสนาทั้งหมู่บ้าน

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic29.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:22 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓

🇹🇭 จังหวัดพิษณุโลก

รูปภาพ

มีการบีบบังคับอย่างหนักในนามของผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และพวกเลือดไทย วัดส่วนหนึ่งถูกทำลาย บ้านพักพระสงฆ์และบ้านพักซิสเตอร์ถูกปล้นและถูกทำลาย

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic30.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:26 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

🇹🇭 จังหวัดโคราช (นครราชสีมา)

รูปภาพ

เขตทั้งหมดของโคราชเป็นส่วนหนึ่งของภาคอีสานทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อย่างเป็นทางการ กล่าวได้ว่าการเบียดเบียนศาสนาที่นี่รุนแรงมากและต่อเนื่องไปจนกระทั่งถึงการปฏิวัติในปี ค.ศ. 1944 ทั้งๆที่มีคำปราศรัยและคำสั่ง

เมื่อพิจารณาในด้านการปกครองทางศาสนาอย่างเป็นทางการ โคราชเป็นส่วนหนึ่งของมิสซังหนองแสง แต่ในทางปฏิบัติ ตามข้อตกลงระหว่างบรรดาผู้แทนพระสันตะปาปาที่ได้มีขึ้นในปี ค.ศ. 1910 ได้มอบให้เขตปกครองของโคราชเป็นของมิสซังกรุงเทพฯ ใช้เวลา 3 สัปดาห์ ในการเดินทางจากอุบลถึงโคราช ใช้เวลาวันเดียวในการเดินทางจากกรุงเทพฯ โดยทางรถไฟที่เพิ่งสร้างใหม่สายกรุงเทพฯ-โคราช

ในปี ค.ศ. 1940 มีศูนย์กลางทางศาสนา 3 แห่ง

โคราช คริสตังเกือบทั้งหมดเป็นชาวจีน

บ้านหัน คริสตังทั้งหมดเป็นคนไทย-ลาว

โนนแก้ว คริสตังทั้งหมดเป็นคนไทย-ลาว

1. ที่เมืองโคราช

ปลายปี ค.ศ. 1940 ไม่มีทั้งพระสงฆ์และพวกคริสตังอยู่เลย เมื่อได้ฟัง "การสนทนา" ของนายมั่นและนายคงทางวิทยุกระจายเสียง คุณพ่อเลโอนาร์ดได้หนีไปหลบภัยอยู่ที่วัดหัวไผ่ พวกคริสตังที่เป็นคนจีนได้ถูกบังคับโดยคำสั่งของรัฐบาลลงวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 ให้ย้ายออกจากโคราชภายใน 48 ชั่วโมง พวกเขาสูญเสียทรัพย์สินเกือบทั้งหมด และแตกกระจัดกระจายไปทุกทิศทุกทาง

ทั้งเมืองไม่มีพวกคนจีนวัดกลายเป็นวัดร้างคงเหลือแต่หญิงชราคนหนึ่งซึ่งเป็นครูสอนคำสอนชื่อครูใจ เฝ้าวัด

ข้าพเจ้าเป็นชาวต่างประเทศ ในแต่ละครั้งที่เดินทางมา สามารถพักที่นี่ได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมง ดังนั้นจึงเป็นโอกาสให้พวกหัวขโมยเข้ามาขโมยข้าวของ พวกตำรวจทำไม่รู้ไม่ชี้ ปล่อยให้พวกขโมยรื้อลูกกรงหน้าต่าง เป็นต้นนายร้อยประจำสถานีตำรวจบอกข้าพเจ้าว่า "อย่าร้องเรียนเรื่องนี้เป็นอันขาด เพราะเงินเดือนของพวกเขาน้อย!”

2. ที่บ้านหัน

ก. เจ้าอาวาสหลบหนีไปโดยลำพัง

วัดบ้านหันเป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีครอบครัวคริสตัง 20-25 ครอบครัว อยู่ในเขตปกครองของอำเภอสีคิ้ว คุณพ่ออัมบรอซิโอเจ้าอาวาสวัด ฟังการสนทนาของนายมั่นและนายคงทางวิทยุกระจายเสียงทุกเย็น คุณพ่อรู้ว่าอันตรายเข้ามาใกล้ตัว จึงหลบหนีไปเพียงลำพังโดยไม่บอกให้พวกซิสเตอร์หรือพวกคริสตังทราบ ในเวลานั้นพวกเลือดไทยเริ่มปรากฏตัว

ข. พวกคริสตังละทิ้งศาสนา

พวกคริสตังแตกตื่นไปหาพวกซิสเตอร์ซึ่งตื่นตกใจกลัวเช่นกัน ทุกคนตกใจกลัว “ทำไงดี? พวกเลือดไทยพร้อมทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าพวกเราไม่ไปที่วัดพุทธ กราบไหว้พระพุทธรูป!”

เขาตกลงกัน ไปที่วัดพุทธ เขาคิดว่าวิญญาณตายไม่เป็นไร ใจยังเป็นคริสตัง เขาตัดสินใจเรียบร้อย แต่ก็ไม่หายสับสนวุ่นวาย

ผู้หญิงคนหนึ่งชื่อนางประไพ เป็นลูกสาวของนางย้อย และมีลูก 2 คน เธอไม่ยอมทำตามสามีของเธอ เธอได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942 ว่า “ดิฉันตกใจ! คิดว่าต้องตายเพราะลูกปืนหรือถูกฟันด้วยมีดโต้ เรื่องนี้ดิฉันไม่กลัว แต่ถ้าพวกเลือดไทยจะทรมานดิฉันเพื่อให้กราบไหว้พระพุทธรูป! เรื่องนี้ทำให้ดิฉันกลัว”

ค. เหยื่อของความร้อนรน, คุณพ่อนิโคลาสจากโนนแก้วถูกจับที่บ้านหัน

พร้อมกับพวกหัวหน้าครอบครัวคริสตัง 13 คนถูกตัดสินลงโทษจำคุก 15 ปี

วันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1941 คุณพ่อนิโคลาส พระสงฆ์ไทยใจร้อนรน เจ้าอาวาสวัดโนนแก้ว เดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อเข้าเงียบประจำปีกับพวกพระสงฆ์ไทย ท่านเดินทางผ่านโคราชเพื่อรับคุณพ่อเลโอนาร์ด แต่ไม่พบเพราะคุณพ่อเลโอนาร์ดหลบหนีไปแล้ว ท่านจึงตัดสินใจเดินทางมาวัดบ้านหันเพื่อรับคุณพ่ออัมบรอซิโอในวันที่ 11 มกราคม แต่ไม่พบคุณพ่ออัมบรอซิโอ

วันที่ 11 มกราคม เป็นวันฉลองพระคริสตเจ้าแสดงองค์ ในเวลาใกล้ค่ำ คุณพ่อนิโคลาสตีระฆังเพื่อสวดภาวนาตอนเย็น พวกคริสตังได้พากันมาวัด ในระหว่างที่พวกเขากำลังสวดอยู่วิทยุกระจายเสียงประกาศคำสั่งให้ชาวฝรั่งเศสทุกคนมารวมตัวกันที่กรุงเทพฯ ภายในเวลา 72 ชั่วโมง และประกาศชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของเรือรบไทย 2 ลำ ยิงเรือลาโมต-ปิเกต์ ของฝรั่งเศสจมหลังจากการสนทนาของนายมั่น-นายคงพวกเลือดไทยได้ยุยงส่งเสริม พวกเขาไปที่วัด

คนหนึ่งในจำนวนคนเหล่านี้ได้ขึ้นไปบนต้นไม้แล้วเกาะหน้าต่าง เขาเห็นคุณพ่อนิโคลาส ซึ่งนำพวกคริสตังสวดภาวนา เมื่อมาถึงตอนสวดบทเร้าวิงวอนของแม่พระ คุณพ่อนิโคลาสนำสวด พวกคริสตังตอบว่า “โปรดภาวนาเพื่อเราเทอญ” การสวดโต้ตอบกันนี้ทำให้เลือดไทยที่ยืนบนต้นไม้ดักฟังได้ความคิดต่อจากนั้น เขากับเพื่อนๆ รีบไปที่สีคิ้ว และเล่าเรื่องให้นายอำเภอฟังว่ามีการชุมนุมที่วัดบ้านหัน คุณพ่อนิโคลาสนำสวด พวกคริสตังตอบว่า “ขอพระเจ้าโปรดให้พวกฝรั่งเศสได้รบชัยชนะเหนือพวกคนไทย”

สุดท้ายเช้าวันรุ่งขึ้นคุณพ่อนิโคลาสถูกจับขังคุกพร้อมกับหัวหน้าครอบครัวคริสตัง 13 คนของวัดบ้านหัน ที่ซึ่งบรรยากาศแห่งความตายกำลังครอบงำ

ในจดหมายลงวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 ถึงเพื่อนพระสงฆ์ พระสังฆราชแปร์รอส เขียนว่า "คุณพ่อนิโคลาสถูกฟ้องเหมือนกับพระสงฆ์อีกสององค์ (คุณพ่อสงวนและคุณพ่อส้มจีน) ในข้อหาเป็นแนวที่ 5 คุณพ่อนิโคลาสถูกขังคุกที่โคราช 2 เดือน แล้วย้ายมาที่กรุงเทพฯ ฝากขังที่สถานีตำรวจศาลาแดง รอตัดสิน คำตัดสินจะเป็นอย่างไร? พระเจ้าเท่านั้นทรงทราบ ระหว่างรอคำตัดสิน คุณพ่อชื่นชมยินดีที่ได้ทนทรมานเพื่อพระศาสนาพร้อมกับพระสงฆ์อื่นอีก 2 องค์ เซอร์ที่เซนต์โยเซฟคอนแวนต์นำอาหารมาให้คุณพ่อทุกวัน แต่ห้ามพูดคุยกับท่าน

ท่านถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 15 ปี พร้อมกับคริสตังวัดบ้านหัน 13 คน ถูกคุมขังที่เรือนจำบางขวาง

ท่านมรณภาพในแผนกคนไข้ของเรือนจำซึ่งอยู่ที่นั่นมาเป็นเวลา 8 เดือน และได้โปรดศีลล้างบาปให้นักโทษ 68 คน หลังจากที่ได้สอนคำสอนพวกเขาแล้ว คุณพ่อติดคุกเป็นเวลา 3 ปี"

ง. วัดบ้านหันถูกขาย

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942 ข้าพเจ้าออกจากวัดโนนแก้วพร้อมกับชายหนุ่ม 7 คนเพื่อเดินทางไปวัดบ้านหัน วัดถูกใช้เป็นโรงเรียน บ้านพักพระสงฆ์ถูกยึดครองโดยครูใหญ่และครอบครัวของเขา ไม่ต้องลังเลใจ ข้าพเจ้ารีบขึ้นไปบนบ้านพักพระสงฆ์ต่อหน้าครูใหญ่ที่กำลังงุนงงและพวกเราก็ค้างคืนกับครูใหญ่และครอบครัว

เช้าวันรุ่งขึ้น ข้าพเจ้าส่งชายหนุ่ม 2 คนที่ไว้ใจ นำรายงานฉบับหนึ่งไปส่งให้พระสังฆราชแปร์รอส พระคุณเจ้าร้องเรียนไปยังรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงมหาดไทยโดยผ่านทางเอกอัครราชทูต ฝรั่งเศส 2 วันต่อมา ก่อนที่ชายหนุ่ม 2 คนจะกลับมา มีโทรเลขมาถึง สั่งให้ครูใหญ่ย้ายออกจากบ้านพักพระสงฆ์ทันที เขาย้ายออกเวลากลางคืน

วัดถูกขโมยเอาพวกผ้าปูพระแท่น , พวกเครื่องประดับ และตู้ศีล ข้าพเจ้าเดินทางไปวัดโนนแก้วอีก เพื่อหาสิ่งที่จำเป็นสำหรับทำมิสซา แล้วกลับมาที่วัดบ้านหัน พักอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 3 เดือนข้าพเจ้าอยู่อย่างแร้นแค้น ไม่มีอะไรจะกิน

นอกจากนั้น พวกเลือดไทยขึ้นไปยังบ้านพักพระสงฆ์ในเวลากลางคืนหลายครั้ง กวาดเอาทุกสิ่งที่พวกเขาพบไป ส่วนข้าพเจ้าหลบอยู่ในห้องเล็กๆ ของข้าพเจ้า รอดูเหตุร้าย

หลังจากนั้นไม่นาน นายอำเภอสีคิ้วเรียกพวกชายหนุ่มทุกคนของวัดบ้านหันโดยเฉพาะเพื่อไปทำความสะอาดทางรถไฟสายโคราช-สระบุรี ในหมู่บ้านคริสตังเหลือแต่พวกผู้หญิงและเด็กๆ และเป็นต้นฤดูฝน เป็นฤดูทำนา ข้าพเจ้าทำรายงานใหม่ฉบับหนึ่งด้วยความกรุณาจากรัฐมนตรีมหาดไทย มีคำสั่งให้นายอำเภอส่งพวกชายหนุ่มกลับบ้านเพื่อทำนา รายงานของข้าพเจ้าทำให้นายอำเภอไม่สบายใจ

ในขณะนั้น ที่วัดในวันอาทิตย์และวันธรรมดา ข้าพเจ้าไม่มีใครมาฟังมิสซาเลยนอกจากนางประไพ เพียงคนเดียว พวกคริสตังคนอื่นๆ กลัวจนลนลานไม่มีใครกล้ามาฟังมิสซาพระสังฆราชแปร์รอสสั่งให้ข้าพเจ้าขายที่ดินพร้อมวัด , บ้านพักพระสงฆ์ และคอนแวนต์ ข้าพเจ้าขอผัดไปก่อน และข้าพเจ้าได้เตือนพวกแม่บ้านทุกคนว่า ถ้าพวกเขากลับมาเข้าวัดวันอาทิตย์พร้อมกับลูกๆ ของพวกเขา วัดก็จะไม่ถูกขาย ข้าพเจ้าได้รับคำตอบแสนเศร้าพร้อมทั้งน้ำตาว่า “ถ้าพระสังฆราชอยากขายวัด พวกเราก็ไม่ขัดขวาง” แต่ปัญหาเรื่องมาวัด ไม่มีเคลื่อนไหวสักคนเพราะพวกเขากลัวเกินไป และจริงๆแล้ว ถ้าพวกเขามาวัด การเบียดเบียนจะเริ่มขึ้นใหม่อย่างแน่นอนเหมือนที่วัดหนองแสงและท่าแร่สมัยพระสงฆ์ซาเลเซียนดูแล

และโดยคำสั่งในปี ค.ศ. 1943 ให้ขายวัดพร้อมทั้งวัสดุทุกชิ้นที่เหลืออยู่ ยกเว้นโต๊ะศักดิ์สิทธิ์ที่ขนมาจากโนนแก้วด้วยความลำบากมากเพื่อใช้ในวัดนี้ เป็นโต๊ะที่ปราณีตมาก แต่แล้วก็ถูกไฟไหม้เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944

เป็นนายอำเภอสีคิ้วที่ซื้อวัดบ้านหัน เขาดัดแปลงเป็นโรงเรียน ส่วนบ้านพักพระสงฆ์ได้กลายเป็นบ้านพักของครูใหญ่

ข้อสังเกต

ถึงแม้พระสังฆราชแปร์รอสมีคำสั่งให้ขาย ข้าพเจ้าก็มีวัดนี้อยู่ในความทรงจำ ประมาณปีค.ศ. 1957-1958 ภายหลังการเจรจาอันยาวนาน ข้าพเจ้าก็ซื้อทั้งวัดและโรงเรียนกลับคืนสำเร็จ

3. ที่โนนแก้ว

ที่โนนแก้ว การเบียดเบียนได้รุนแรงมากและดำเนินไปถึงปี ค.ศ. 1944 จนถึงการปฏิวัติและเสรีภาพทางศาสนากลับคืนมาอีกครั้ง ข้าพเจ้าได้เขียนประวัติวัดโนนแก้วในภาค 2 แล้ว นี่คือ

เอกสารหมายเลข 34

ในเอกสารดังกล่าว ท่านจะพบผลกระทบต่างๆ ที่มีต่อพวกคริสตัง , กระทู้ถามต่างๆ , การข่มขู่ต่างๆ , การเผาบ้านพักพระสงฆ์ , การฆาตกรรมต่างๆ , และสุดท้ายการเผาวัด การต่อสู้ของพวกคริสตังโนนแก้วจนมีชัยชนะและได้รับพระพรของพระเป็นเจ้า ให้คริสตชนกลุ่มนี้เจริญรุ่งเรืองและสืบเชื้อสายให้เกิดเป็นคริสตังจำนวนมาก

เรื่องนี้จะเป็นประวัติวัดโนนแก้วภาคที่ 3

อา! ถ้าพวกคริสตังทุกคนมีความเชื่อและกล้าหาญเหมือนคริสตังวัดโนนแก้ว

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic31.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:27 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

🔍 การสำรวจความเสียหายทางด้านวัตถุต่างๆ
จากการเบียดเบียนศาสนาซึ่งเกิดขึ้นในมิสซังกรุงเทพฯ

รูปภาพ

ที่ดินของวัดต่างๆ ของมิสซังกรุงเทพฯ ในหลายๆแห่ง ถูกจับจองและถูกยึดครองโดยพวกนายอำเภอ แต่ส่วนมากที่ดินเหล่านั้นยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของมิสซังคาทอลิก โฉนดแสดงกรรมสิทธิ์ไม่เปลี่ยนแปลง

ส่วนที่วัดปากคลองท่าลาด นายอำเภอยึดเอาที่ดินทั้งหมดของวัดไป และนำไปแจกจ่ายให้ชาวบ้าน ส่วนที่ดินที่วัดตั้งอยู่ถูกเปลี่ยนเป็นที่ดินสาธารณะ ใช้เป็นสนามเลี้ยงควาย วันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1941 ภาย หลังข้อตกลงระหว่างประเทศฝรั่งเศส (อินโดจีน) และประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 , ภายหลังการประกาศความเป็นมิตรต่อกันระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศไทยเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 ของหลวงพิบูลสงคราม และภายหลังคำสั่งที่ 9 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม ของหลวงอดุล อดุลเดชจรัส

พระสังฆราชแปร์รอสส่งรายงานฉบับหนึ่งเกี่ยวกับความเสียหายต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อมิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ ไปยังกระทรวงมหาดไทย แต่ไม่ได้รับคำตอบ วันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1942 พระสังฆราชแปร์รอสกล่าวย้ำว่า ท่านได้ทำรายงานของท่านประกอบด้วยจดหมาย 3 ฉบับ

หมายเลข 11/1942 : เอกสารหมายเลข 35 ขอที่ดินวัดปากคลองท่าลาดคืน

หมายเลข 12/1942 : เอกสารหมายเลข 36 นายอำเภอได้ทำลายวัดปากคลอง

หมายเลข 13/1942 : ได้แนบตารางแสดงความเสียหายของเขตวัดต่างๆ เสนอต่อกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยการตอบรับ

ไม่มีคำตอบในขณะที่นายอำเภอบางคล้าประกาศอย่างเด็ดขาดว่ามิสซังคาทอลิกปากคลองท่าลาดไม่มีอีกต่อไปแล้ว และประกาศว่าเขาจะไม่คืนที่ดินและสิ่งอื่นๆ ให้กับมิสซังตราบใดที่เขาได้เป็นนายอำเภอ ไม่มีพระสงฆ์คาทอลิกสักองค์เดียวจะสามารถตั้งกลุ่มคริสตชนในเขตหวงห้ามของอำเภอที่เขาปกครองได้ นี่เป็นคำพูดที่ชัดเจน ภายหลังการประกาศเสรีภาพทางศาสนา โดยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ.1944 พระสังฆราชแปร์รอสได้เข้าพบรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยคนใหม่ (ซึ่งพูดภาษาฝรั่งเศสได้คล่อง) เมื่อวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1944 ในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1944 เขาได้เชิญพระคุณเจ้ามาสนทนากันอีกครั้งหนึ่ง พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งถึงท่าน นี่คือ

เอกสารหมายเลข 37

เป็นจดหมายที่ครึ่งหนึ่งเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศส อีกครึ่งหนึ่งเขียนเป็นภาษาไทยโดยใช้อักษรโรมันสะกดตามการออกเสียง (ภาษาวัด) ในจดหมายดังกล่าวพระสังฆราชแปร์รอสส่งจดหมายสองฉบับของท่าน หมายเลข 11 , 12 และ 13/1942 ไปยังกระทรวงมหาดไทย รายงานหมายเลข 13 (เป็นการสำรวจความเสียหายทางด้านวัตถุต่างๆ) พระคุณเจ้าได้เพิ่มวัดโนนแก้วซึ่งเพิ่งถูกวางเพลิงเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944 ไว้ด้วย ดูเอกสารหมายเลข 34

ต่อจากนี้ ในหน้าถัดไป ท่านจะได้พบตารางแสดงความเสียหายทางด้านวัตถุต่างๆ เป็นเอกสารที่ได้เสนอต่อรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยคนใหม่

เอกสารหมายเลข 13/1942, 1946

สภาพความเสียหายทางด้านวัตถุต่างๆ โดยผลของการเบียดเบียนศาสนา

+ จังหวัดฉะเชิงเทรา (แปดริ้ว)

อำเภอ บางคล้า วัดปากคลองท่าลาด
ความเสียหาย วัด , บ้านพักพระสงฆ์ , คอนแวนต์ และโรงเรียน 2 แห่ง ถูกทำลายอย่างราบคาบ ทรัพย์สิน , ศาสนภัณฑ์ และระฆัง 3 ใบ ถูกขโมย , ที่ดินถูกขาย

อำเภอ พนมสารคาม วัดท่าเกวียน
ความเสียหายวัด , บ้านพักพระสงฆ์ , คอนแวนต์ , โรงเรียน , ทรัพย์สินถูกทำลายหมด

+ จังหวัดปราจีน

อำเภอปราจีน วัดแหลมโขด
ความเสียหาย วัดถูกปล้น , รูปปั้นต่างๆ ถูกทุบทำลาย

อำเภอ ศรีมหาโพธิ วัดโคกวัด
ความเสียหาย วัด , บ้านพักพระสงฆ์ , ฯลฯ ถูกเผาทำลาย , เครื่องเรือนต่างๆ ถูกเผาหมด

+ จังหวัดชลบุรี

อำเภอ พนัส วัดพนัส
ความเสียหาย วัดถูกทำลายครึ่งหนึ่ง , บ้านพักพระสงฆ์และคอนแวนต์ถูกทำลายเช่นเดียวกัน , ศาสนภัณฑ์ , รูปปั้นถูกทุบทำลาย , สุสานและหลุมฝังศพถูกทำลาย , ที่ดินถูกใช้กำลังเข้ายึดครอง

อำเภอหัวไผ่
ความเสียหาย วัดถูกบุกรุก , ที่ดินถูกยึดครอง

อำเภอชลบุรี วัดบางปลาสร้อย
ความเสียหาย วัดและบ้านเรือนถูกบุกรุก

อำเภอศรีราชา วัดศรีราชา
ความเสียหาย บ้านเณรเล็กถูกบุกรุกและปล้น

+ จังหวัดพิษณุโลก

อำเภอพิษณุโลก วัดพิษณุโลก
ความเสียหาย วัด และบ้านพักพระสงฆ์ถูกบุกรุก , หอระฆังถูกทำลาย , ที่ดินถูกยึดครอง

+ จังหวัดโคราช

อำเภอพิมาย วัดโนนแก้ว
ความเสียหาย วัดถูกเผา

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic32.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:27 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

✝️ พระสงฆ์ซาเลเซียน กับการเบียดเบียนศาสนา

รูปภาพ

พระสังฆราชปาซอตตี ประมุขมิสซังราชบุรี เข้าใจผิดตั้งแต่ต้นโดยคิดว่า การโฆษณาชวนเชื่อที่เป็นปฏิปักษ์ต่อคาทอลิกทุกอย่าง เป็นคำสั่งให้ต่อต้านพวกฝรั่งเศสเท่านั้น พระคุณเจ้าไม่เข้าใจความหมายในคำพูดของหลวงพิบูลสงครามเรื่อง “เอกภาพทางศาสนาในศาสนาพุทธ” คืออะไร? เพราะเหตุใด? พระคุณ เจ้าจึงผลักดันพวกพระสงฆ์ไทยของมิสซังกรุงเทพฯ ให้แข็งข้อต่อพระสังฆราชแปร์รอส และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้รวมพลังเพื่อให้พวกพระสงฆ์ฝรั่งเศสเดินทางออกไป?

พระคุณเจ้าไม่เข้าใจว่าเหตุการณ์ในอินโดจีนเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อเบียดเบียนศาสนา และไม่เข้าใจว่าหลวงพิบูลต้องการให้บังเกิดเอกภาพในศาสนาพุทธเพียงศาสนาเดียวเท่านั้น พระคุณเจ้าต้องทำความเข้าใจให้ชัดแจ้ง

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic33.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:27 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

🇹🇭 ที่ท่าเกวียนและปากคลองท่าลาด

รูปภาพ

พวกเราได้เห็นพวกพระสงฆ์ซาเลเซียนมาช่วยเหลือพวกคริสตังในมิสซังกรุงเทพฯที่ท่าเกวียน และปากคลองท่าลาด

พวกพระสงฆ์ฝรั่งเศสได้ถูกขับไล่ออกไป ไม่ใช่เพื่อให้พวกพระสงฆ์อิตาเลียนเข้ามาแทนที่คุณพ่อกาวัลลาเป็นคนสำคัญที่ถูกกำจัด และพันธกิจของท่านจบลงที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ส่วนวัดท่าเกวียน และปากคลองท่าลาดถูกทำลายจนราบเป็นหน้ากลอง และพวกคริสตังถูกบังคับให้ละทิ้งศาสนา เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1941

ข้าพเจ้าไม่ต้องการลดบุญคุณและน้ำใจดีของพระสงฆ์ซาเลเซียนซึ่งอุทิศตนอย่างไม่เกรงกลัวต่อภยันตราย ช่วยเหลือพวกคริสตัง ยอมเสี่ยงอันตรายเพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างคุณพ่อกาแซตตาอธิการใหญ่ของคณะซาเลเซียนในประเทศไทย และคุณพ่อยออากิม เทพวันท์ผู้รักษาการแทนพระสังฆราชแปร์รอส ข้อตกลงนี้ได้ทำเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1941 นี่คือ

เอกสารหมายเลข 38

ในจดหมายต่างๆ ที่มีไปถึงบรรดาพระสงฆ์ที่ลี้ภัยอยู่ที่ไซ่ง่อน พระสังฆราชแปร์รอสไม่ลืม ยกย่องความเสียสละของพวกพระสงฆ์เหล่านี้ที่วัดหนองหิน , แปดริ้ว และเนื่องเขต

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic34.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:28 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

🇹🇭 ที่หนองแสง และท่าแร่

รูปภาพ

ต้นปี ค.ศ. 1942 ประเทศไทยประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ และเป็นพันธมิตรกับ อิตาลี เยอรมัน และญี่ปุ่น ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942 ภายหลังการเจรจาด้วยความยากลำบากกับรัฐบาล และโดยอาศัยความช่วยเหลือจากสถานเอกอัครราชทูตอิตาลีพระสงฆ์ซาเลเซียน 2 องค์ ถูกส่งไปที่นครพนมและสกลนคร (หนองแสงและท่าแร่) เพื่อนำพวกคริสตังที่หลงผิดกลับมา ผลก็คือ การเบียดเบียน ครั้งที่ 2 ได้เริ่มขึ้น และพวกพระสงฆ์ซาเลเซียนไม่สามารถทำอะไรได้เลย ฝ่ายพวกคริสตังถูกปราบครั้งใหม่ ด้วยการข่มขู่ต่างๆนานา เรื่องการติดคุกเพื่อทำให้พวกเขาเปลี่ยนศาสนาอีกครั้งหนึ่ง ปลายปี ค.ศ. 1942 ต้นปี ค.ศ. 1943 บรรดาพระสงฆ์อิตาเลียนถูกขอร้องให้ออกจากพื้นที่

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic35.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:29 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

🇹🇭 ในมิสซังราชบุรี

รูปภาพ

ในตอนแรกหลวงพิบูลสงครามลำบากใจที่พวกพระสงฆ์อิตาเลียนอยู่ที่นั่น เพราะประเทศไทยจะทำสงครามเคียงข้างกับอิตาลี

1. จดหมายฉบับหนึ่งของหลวงพิบูล ถึงมุสโสลินี ในปี ค.ศ. 1942

ได้ส่งมอบให้สถานเอกอัครราชทูตอิตาลีเพื่อส่งต่อให้กับมุสโสลินี ขอความกรุณาท่านให้เรียกพระสงฆ์ซาเลเซียนทุกองค์กลับให้หมด หลังจากการปรึกษากันของพระสังฆราชปาซอตตีและคุณพ่อคาแรตโตแล้ว (ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระสังฆราช) ท่านเอกอัครราชทูตก็ส่งจดหมายของหลวงพิบูลไปให้มุสโสลินี พร้อมกับเพิ่มเติมหมายเหตุว่า "โดยเฉพาะ อย่าเรียกพวกเขากลับ”

ตั้งแต่นั้นมา สถานเอกอัครราชทูตอิตาลีก็เก็บเรื่องนี้เป็นความลับโดยอ้างว่าเอกสารต่างๆ ถูกไฟไหม้ เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1943 แต่พระสังฆราชคาแรตโตยังมีชีวิตอยู่ ท่านจึงยืนยันถึงเรื่องนี้

2. ถีงกระนั้นก็ตาม การเบียดเบียนศาสนาก็เริ่มขึ้น

และพระสังฆราชปาซอตตีหันไปขอความช่วยเหลือจากพระสังฆราชแปร์รอส เพื่อให้ขอร้องหลวง อดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ เข้าแทรกแซงช่วยเหลือหลายครั้ง

บรรดาพระสงฆ์ซาเลเซียนถูกควบคุมโดยตำรวจท้องถิ่น พวกพระสงฆ์ไม่สามารถแม้แต่จะออกจากบ้านพักพระสงฆ์ และพวกคริสตังไม่มีอิสระในการไปวัดเพื่อสวดภาวนาอีกเลย

ที่กรุงเทพฯ พวกพระสงฆ์ซาเลเซียนมีวัดแห่งหนึ่ง และวิทยาลัยที่ใหญ่อีกแห่งหนึ่ง แต่พวกท่านไม่สามารถเดินทางไปที่นั่นได้ เนื่องจากพระสังฆราชแปร์รอสไปเยี่ยมอธิบดีกรมตำรวจ (ที่เป็นผู้ต่อต้านการเบียดเบียนศาสนา) คุณพ่อคาแรตโตได้รับความอนุเคราะห์จากหลวงอดุล หมายความว่ามีการผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษ นี่คือ

เอกสารหมายเลข 39

ต่อไปนี้เป็นคำแปล

วันที่ 31 มีนาคม 2486 (1943)

อนุญาตเป็นพิเศษให้บาทหลวงเปโตร คาแรตโต สัญชาติและเชื้อชาติอิตาเลียน เดินทางเข้าไปใน เขตอำเภอบ้านโป่ง เพื่อกิจการเกี่ยวกับศาสนาและโรงเรียน แต่ท่านสามารถพักอยู่ได้มีกำหนดครั้งหนึ่งไม่เกิน 8 วัน การอนุญาตนี้นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2486 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2486

กรมตำรวจ

31 มีนาคม 2486

อดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ

คุณพ่อคาแรตโตเดินทางไปที่อำเภอบ้านโป่ง 4 ครั้ง

หลวงอดุลได้โทรเลขถึงบรรดาตำรวจที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และสมุทรสงคราม ให้มีคำสั่งถึงบรรดาตำรวจท้องถิ่น แต่คำสั่งนี้ทำให้พวกเขาเข้าใจผิดไป และเพิ่มกำลังเฝ้าตรวจการพวกพระสงฆ์และก่อกวนความสงบของพวกคริสตัง

ในการร้องทุกข์ครั้งใหม่ของพระสังฆราชแปร์รอส หลวงอดุลส่งบันทึกคำชี้แจงลับฉบับหนึ่งให้พระ สังฆราชแปร์รอส ลงวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1943

จดหมายตอบของหลวงอดุลถึงพระสังฆราชแปร์รอส คือที่มาของ

เอกสารหมายเลข 40

ในจดหมายของหลวงอดุลฉบับดังกล่าว ท่านบอกกับพระสังฆราชแปร์รอสว่า “ถ้าเรื่องยังไม่เรียบร้อย อย่ารีรอที่จะแจ้งให้ผมทราบ ไม่จำเป็นต้องมาด้วยตนเอง”

ในส่วนที่เกี่ยวกับบันทึกคำชี้แจงถึงนายตำรวจประจำจังหวัด 3 นาย นี่คือ

เอกสารหมายเลข 41

คำแปล

ลับ

15156

ที่ 15157/2486 5 ตุลาคม 2486

15158

ในโทรเลขฉบับที่ 14726 , 14727 , 14728 ข้าพเจ้าขอร้องท่านให้อนุญาตให้บาทหลวง ภราดา และนักบวชหญิงคณะซาเลเซียนปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาในวัดได้นั้น

ปรากฏว่าตำรวจท้องที่ไม่เข้าใจความหมายแห่งคำสั่งในโทรเลข ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงขอกล่าว อย่างชัดเจนว่า ตามปรกติในศาสนาคริสตัง ทุกๆวันเวลาเช้าหรือเย็น เขามีการประกอบพิธีซึ่งให้พวกคริสตังมาประชุมเพื่อสวดภาวนาในวัด นอกจากนี้ ในบางกรณียังมีการประกอบพิธีภายนอกวัด เช่น พิธีฝังศพ หรือ พิธีโปรดศีลเจิมคนไข้ซึ่งไม่สามารถมาวัดได้

ขอได้โปรดให้ท่านบอกความหมายที่ชัดเจนของคำสั่งนี้แก่บรรดาตำรวจท้องที่ให้เข้าใจด้วยว่า พวกบาทหลวงสามารถประกอบพิธีกรรมเหล่านี้ในวัดได้ แน่นอนทีเดียว บรรดาคริสตศาสนิกชนสามารถมาประ ฃชุมและมาร่วมในพิธีนี้ได้ด้วย ขอให้ตำรวจดูแลเรื่องนี้

ลงชื่อ พล ต.อ. อดุล อดุลเดชจรัส

รับรองสำเนาถูกต้อง

ร.ต.อ. พะโยม จันทรัคคะ

บันทึกคำชี้แจงนี้ต้องไม่เป็นที่พอใจแก่หลวงพิบูล

ปัจจุบันนี้ เมื่อเราตั้งคำถามว่า พวกคริสตังเหล่านี้ หรือพวกคริสตังส่วนใหญ่ของมิสซังราชบุรี ละทิ้งศาสนาหรือไม่? เป็นการยากที่จะยืนยันถึงเรื่องนี้ เพราะบรรดาพระสงฆ์ซาเลเซียนรักษาความลับเป็นอย่างดีในสมัยนั้น บางทีเราอาจพูดได้ว่า ที่มิสซังซาเลเซียนของประเทศไทย การละทิ้งศาสนาเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หรือเป็นไปได้น้อยมาก

ข้าพเจ้าได้ทำสรุปย่อของบันทึกซึ่งพระสังฆราชปาซอตตีส่งไปถึงพระสังฆราชแปร์รอส

พระสังฆราชปาซอตตีและคุณพ่อเปโตร คาแรตโต ซึ่งลงชื่อในเอกสาร เชื่อว่าถึงเวลาที่จะมาทำการประกาศทัศนคติอันชัดเจนของคาทอลิกไทย

จริยธรรมที่สอนโดยพระพุทธเจ้า ได้แก่ ความเสียสละ ความบริสุทธิ์ ความสงสาร (เมตตากรุณา) ชาวไทยพุทธถือเป็นคำสอนอันประเสริฐ ซึ่งการปฏิบัติคำสอนดังกล่าวก่อให้เกิดจิตใจยิ่งใหญ่ และเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างแน่นอน ชาวคาทอลิกไทยนิยมชมชื่นต่อทุกสิ่งที่งดงาม ยิ่งใหญ่ และสูงสุด ด้านจริยธรรมของพุทธศาสนา

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic36.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:29 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

🇻🇦 วาติกันกับการเบียดเบียนศาสนา

รูปภาพ

การเบียดเบียนศาสนาเริ่มขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 เนื่องจากกรณีพิพาทอินโดจีน เริ่มต้นที่ภาคอีสานหรือมิสซังหนองแสง แล้วแผ่ขยายมายังมิสซังกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1941 แพร่ออกไปถึงมิสซังราชบุรีในปี ค.ศ. 1942

ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1941 สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 12 ทรงส่งสารพิเศษอำนวยพรมายังพระสังฆราชแปร์รอส , บรรดามิชชันนารี และบรรดาพระสงฆ์ นี่คือ

เอกสารหมายเลข 42

ในเวลาเดียวกัน ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1941 พระสังฆราชปาซอตตีพระสังฆรักษ์แห่งราชบุรี ได้รับการสถาปนาโดยสันตะสำนักให้เป็นพระสังฆราช ประมุขมิสซังราชบุรี และได้รับแต่งตั้งเป็นสมณทูตพิเศษประจำประเทศไทยด้วย

เอกสารหมายเลข 20

พร้อมทั้งมีหน้าที่ดูแลมิสซังอื่นๆ ในฐานะเป็นสมณทูต ในกรณีที่พระสังฆราชหรือผู้รักษาการแทนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่

วันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 ประเทศอินโดจีนและประเทศไทยลงนามในสนธิสัญญาข้อตกลง และสันติภาพก็กลับมาอีกครั้งหนึ่งระหว่างประเทศทั้งสอง แต่การเบียดเบียนพวกคริสตังและพระสงฆ์ไทยยังคงดำเนินต่อไป

วันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1941 สมเด็จพระสันตะปาปาส่งสารพิเศษอำนวยพรมายัง พระสังฆราชแปร์รอส , บรรดาพระสงฆ์ และพวกคริสตังที่ถูกเบียดเบียน นี่คือ

เอกสารหมายเลข 43

โดยคำสั่งหมายเลข 9 ของอธิบดีกรมตำรวจ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 บรรดาพระสงฆ์ชาวฝรั่งเศสทุกองค์สามารถกลับเข้ามาประจำอยู่ที่วัดของตนตามเดิม

หลวงพิบูลตระหนักว่าพวกคริสตังทุกคนที่ได้ละทิ้งศาสนา กระตือรือร้นที่จะกลับมานับถือศาสนาคาทอลิก ตั้งแต่บรรดาพระสงฆ์ฝรั่งเศสและบรรดาพระสงฆ์ไทยกลับมาประจำที่วัด เป็นการผิดหวังอย่างเต็มที่ ดังนั้น เขาตัดสินใจรักษาจังหวัดต่างๆ ทางภาคอีสานไว้เป็นอย่างน้อย ด้วยการขัดขวางพระสงฆ์ทุกองค์ทั้งพระสงฆ์ไทยและพระสงฆ์ฝรั่งเศสกลับไปที่วัดเดิมของตน และการเบียดเบียนก็เริ่มขึ้นใหม่รุนแรง กว่าเดิมเพื่อโจมตีพวกคริสตัง เมื่อพวกพระสงฆ์ซาเลเซียนซึ่งได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการโดยอำนาจของสถานเอกอัครราชทูตอิตาลีที่เป็นพันธมิตร (ฝ่ายอักษะ)ให้ไปแทนพวกพระสงฆ์ฝรั่งเศสในดินแดนต่างๆ เหล่านี้โดยการขอร้องของคุณพ่อศรีนวนเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้เกิดขึ้นในจังหวัดต่างๆของมิสซังกรุงเทพฯ เหมือนที่ปราจีน , แปดริ้ว และโคราช

แต่... ทันทีเมื่อเกิดรัฐประหารในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944 การเบียดเบียนหยุดชะงักลง หลวงพิบูลจอมเผด็จการก็ถูกจับและถูกขังคุก ในขณะที่นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการ ประกาศเสรีภาพทางศาสนา

พระสังฆราชแปร์รอสมีความยินดีในการแจ้งให้สำนักวาติกันทราบถึงเหตุการณ์ อันน่ายินดีนี้โดยทางโทรเลข โทรเลขนี้คือ

เอกสารหมายเลข 45

ซึ่งขอให้กรุงโรมมีคำตอบคำขอบคุณของสมเด็จพระสันตะปาปา มายังผู้สำเร็จราชการ

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic37.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:30 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

📢 การประกาศเสรีภาพทางศาสนา

รูปภาพ

1. รัฐประหารในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944

ข้าพเจ้านำเอาเนื้อหามาจากเอกสารหมายเลข 7

"...เมื่อเร็วๆ นี้ เหตุการณ์ทางการเมืองและการทหารในยุโรป ช่วยลดอิทธิพลที่ทำให้เกิดความทุกข์ร้อนของมิสซังอิตาเลียนที่มีต่อคณะสงฆ์พื้นเมืองชาวสยาม เมื่อประเทศอิตาลีแพ้สงคราม ต่อมาประเทศฝรั่งเศสเป็นอิสระตามเดิม และความล่มสลายของประเทศญี่ปุ่นมีความเป็นไปได้ รัฐบาลไทยในเวลานั้นเป็น พันธมิตรตามสนธิสัญญาไตรภาคีได้เริ่มตระหนักเข้าใจถึงเหตุการณ์ร้ายแรงซึ่งต้องเตรียมพร้อม และรู้ว่าใช่แต่ต้องรีบระงับการเบียดเบียนศาสนาเท่านั้น แต่ต้องประกาศหลักประกันการผ่อนปรนเรื่องศาสนาอย่าง เป็นทางการด้วย หลวงพิบูลจอมเผด็จการ ถูกโค่นอำนาจ และนายควง อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แทนในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944 นโยบายทางการเมืองทั้งหลาย ได้แก่ การต่อต้านฝรั่งเศส , การต่อต้านพันธมิตร , พวกที่ฝักใฝ่พวกญี่ปุ่น และพวกที่ต่อต้านศาสนาตามคำบงการของผู้เผด็จการ ล้วนประสพความล้มเหลวทั้งสิ้น

2. เสรีภาพทางศาสนากลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง
ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1944

เราขอเสนอเนื้อหาโดยสรุปของสุนทรพจน์ของนายปรีดี พนมยงค์ ผู้รักษาการถึงคณะรัฐบาลชุดใหม่ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1944 ไว้ ณ ที่นี้

อีกประการหนึ่ง ศาสนาอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ ข้าพเจ้าขอให้รัฐบาลรักษาและพัฒนาความเชื่อซึ่งประชาชนนับถือศาสนาประกอบด้วยคำสั่งสอนและบทบัญญัติต่างๆ เกี่ยวกับจริยธรรม ระดับสูง ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติซาบซึ้งในสัจธรรม และมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในหลักการทางศาสนาซึ่งยอมรับ ด้วยความมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยม ในประเทศไทยของเรา ประชาชนส่วนใหญ่เป็นพุทธมามกะ เพราะฉะนั้น พระมหากษัตริย์จึงทรงเป็นพุทธมามกะด้วย ด้วยเหตุนี้ พระองค์ทรงอนุเคราะห์และช่วยพัฒนาพุทธศาสนา รัฐบาลชุดนี้ต้องการมีส่วนทำให้ศาสนาเจริญรุ่งเรือง ด้วยการเผยแพร่ศาสนาพุทธ เจริญรอยตามพระพุทธเจ้า กล่าวคือ ตั้งมั่นอยู่บนความจริง ขอให้ท่านระลึกด้วยว่าในประเทศไทยของเรา มีบรรดาราษฎรในหลายๆ จังหวัดที่นับถือศาสนาอิสลาม ในขณะที่คนอื่นๆ นั้นนับถือศาสนาคริสต์หรือศาสนาอื่น รัฐธรรมนูญ ยอมให้ประชาชนมีเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนาต่างๆ รัฐธรรมนูญเน้นว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีหน้าที่เป็นผู้อุปถัมภ์ศาสนา เช่นเดียวกันรัฐบาลต้องการมีส่วนสนับสนุนศาสนาทุกศาสนาที่ประชาชนเลือกนับถือ ให้เจริญรุ่งเรืองเท่าที่จะเป็นไปได้

การสนับสนุนดังกล่าว ตามความเห็นของข้าพเจ้า ไม่ขัดแย้งกับหลักการของศาสนาพุทธ เพราะศาสนาพุทธสั่งสอนเรื่องความเมตตากรุณาเป็นหลักขั้นพื้นฐาน ทุกคนที่เป็นพุทธมามกะแม้ว่าถ้าพวกเขาจะยอมช่วยเหลือคนที่นับถือศาสนาอื่นด้วยการทำให้คนเหล่านั้นได้รับความพอใจ เขาปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ เขาคงเป็นพุทธ เขากระทำคุณประโยชน์ ข้าพเจ้าอยากเรียกร้องทุกคนไม่ว่านับถือศาสนาใดให้ประสาน ความคิดเพื่อชาติของเรา ซึ่งเป็นมรดกของประชาชนทุกคน

ผลที่สุด อาศัยเจตนาดีและใจกว้างขวางของท่านต่อประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ ขอให้ท่านปลอดภัยจากอันตรายใดๆ ขอให้ได้รับพลังกายและพลังใจเต็มเปี่ยมในงานการปกครอง เพื่อช่วยประชาชนชาวไทยให้ประสพความสุขและความเจริญก้าวหน้า และขอให้ชาติไทยดำรงคงอยู่เป็นเอกราชตลอดไป

3. มิสซังคาทอลิกขอบคุณผู้สำเร็จราชการอีกครั้ง

และได้รับโทรเลขจากวาติกัน

วันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1944 เป็นการสมควรที่มิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ ได้แสดงความขอบคุณไปยังผู้สำเร็จราชการในการเข้าเฝ้าอย่างเป็นทางการ ซึ่งคำแถลงการณ์ได้ปรากฏในหนังสือพิมพ์ดังนี้

เอกสารหมายเลข 44

ต่อมาพระสังฆราชแปร์รอสและคุณพ่อโชแรง เหรัญญิกได้ส่งโทรเลขถึงวาติกัน นี่คือ

เอกสารหมายเลข 45

ซึ่งเป็นการกล่าวขอบคุณจากสำนักวาติกันต่อผู้สำเร็จราชการ

เลขานุการเอกของผู้สำเร็จราชการ

และมิสซังคาทอลิก

สงครามโลกครั้งที่ 2 เพิ่งจบลงโดยการยอมแพ้ของญี่ปุ่น นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการ ได้มอบหมายให้เลขานุการเอกของท่านคือ ร.ส.อ.สุดจำลองติดต่อกับมิสซังคาทอลิกเพื่อเรียนให้พระสังฆราช แปร์รอสทราบข่าวจากรัฐบาลใหม่เกี่ยวกับมิสซังคาทอลิกว่า รัฐบาลจะช่วยเหลือมิสซัง ขอให้มีหนังสือขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลใหม่

1. การยื่นมือเข้าช่วยเหลือเป็นการส่วนตัวของผู้สำเร็จราชการ

ในจดหมายฉบับหนึ่ง ลงวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1945 ส่งถึงพระสังฆราชแปร์รอสและฝากถึง หลวงวิจารณ์ บิดาของคุณพ่อเฮนรี่

เอกสารหมายเลข 46

เลขานุการเอกของผู้สำเร็จราชการผู้นี้ เขียนว่า

ผู้รับผิดชอบเรื่องการเบียดเบียน

ตั้งแต่เกิดรัฐประหาร ข้าพเจ้าเดินทางไปต่างประเทศ 2 ครั้ง ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย , ฮ่องกง และเซี่ยงไฮ้ เพื่อชี้แจงว่าประชาชนชาวไทยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ประการใดเลย ความรู้สึกรับผิดชอบต่อการเบียดเบียนของพวกคนจีน และการเบียดเบียนศาสนาคาทอลิกเกิดขึ้น เพราะบุคคลชั้นสูงของรัฐบาล 4 หรือ 5 คน เป็นตัวการ คนแรกคือ หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีซึ่งปกครอง ประเทศแบบเผด็จการฟัสซิสต์ บุคคลทั้ง 5 คนนี้ ข้าพเจ้ารู้จักเป็นการส่วนตัวดี เป็นบุคคลเหล่านี้เองที่ได้เซ็นชื่อในคำสั่งอย่างเป็นทางการให้ข้าราชการคาทอลิกทุกคนปฏิเสธศาสนาของพวกเขา และอาจเป็นได้ที่บุคคลเหล่านั้นถูกตัดสินเป็นอาชญากรสงคราม

ฝ่ายคุณพ่อเฮนรี่ และคุณพ่อเอดัวรด์ ซึ่งยังคงอยู่ในคุกนั้นผู้สำเร็จราชการได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือด้วยตนเอง เพื่ออนุญาตให้พวกเขาได้รับการอภัยโทษในความผิดที่เกิดขึ้น ซึ่งพวกเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ พวกเขาจะได้รับอิสรภาพในไม่ช้า

ลงชื่อ ร.ส.อ. สุดจำลอง

(หมายเหตุ ทั้งคุณพ่อสงวนและคุณพ่อส้มจีนได้รับอิสรภาพแล้ว คุณพ่อนิโคลาสได้ตายในคุก)

2. อิสรภาพของพวกนักโทษ

ร.ส.อ. สุดจำลอง มอบจดหมายฉบับหนึ่งแก่คุณพ่อโอลิเอร์เพื่อส่งแก่พระสังฆราชแปร์รอส จดหมาย ฉบับนี้ลงวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ.1945 นี่คือ

เอกสารหมายเลข 47

โดยผลของการแต่งตั้ง ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี และการจัดตั้งรัฐบาลใหม่อิสรภาพของพวกพระสงฆ์จึงล่าช้าเล็กน้อย วันที่ 20 ของเดือนนี้ จะมีการประกาศนิรโทษกรรมแก่นักโทษทุกคนใน กรณีพิพาทอินโดจีน

ส่วนคุณพ่อเฮนรี่ คุณพ่อเอดัวรด์ และพวกคาทอลิกพวกเขาจะได้รับประโยชน์ในวันเดียวกันโดยการ รับรองความบริสุทธิ์ เพราะเป็นที่ปรากฏชัดเจนว่าพวกเขามิได้ทำความผิดพวกเขาถูกตัดสินลงโทษอย่างไม่เป็นธรรมจากผู้พิพากษาที่แสวงความดีความชอบจากนายกรัฐมนตรีแปลก (หลวงพิบูลสงคราม)

ลงชื่อ ร.ส.อ. สุดจำลอง

3. กระทู้ถามจากหนังสือพิมพ์ศรีกรุง ฉบับวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1945

ต่อนายกรัฐมนตรี เสนีย์ ปราโมช เกี่ยวกับการเบียดเบียนศาสนา

ข้าพเจ้ายินดีที่ได้พูดถึงคำถามต่างๆ ซึ่งหนังสือพิมพ์ศรีกรุงได้ถามเกี่ยวกับการเบียดเบียนศาสนา พวกข้าราชการที่ปฏิบัติศาสนกิจทางศาสนาคาทอลิก ได้ถูกข่มขู่เรื่องไล่ออกจากราชการตามนโยบายการเมืองของรัฐบาล พวกที่กัดฟันสู้ปฏิเสธไม่ยอมละทิ้งศาสนา พวกเขาต้องเผชิญกับการทดสอบอย่างทารุณ เพื่อจะได้มีชีวิตอยู่ได้ หนังสือพิมพ์ตั้งคำถามต่อไปนี้

พวกข้าราชการ ภายใต้การปกครองของหลวงพิบูลสงคราม พวกข้าราชการคาทอลิกได้ถูกบังคับให้ละทิ้งศาสนา ถ้าพวกเขาไม่ยอมปฏิเสธศาสนาของตน พวกเขาก็จะถูกไล่ออกจากหน้าที่หรือถูกส่งไปในถิ่นทุรกันดาร ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า รัฐบาลชุดนี้คิดจะเรียกพวกข้าราชการที่ถูกไล่ออก กลับมารับราชการอีกหรือไม่? ส่วนพวกที่ได้ถูกส่งไปในถิ่นทุรกันดาร ท่านคิดจะทำอย่างไร? ข้าพเจ้าขอชี้แจงกับท่านเช่นเดียว กันว่าพวกลูกจ้างที่ทำงานรายวันอยู่ในสภาพที่เดือดร้อนอย่างยิ่ง

ประมาณ 2 ปีมาแล้วรัฐบาลชุดนี้ซึ่งได้ประกาศสงครามได้ตราพระราชกฤษฎีกาให้เวนคืนที่ดินตำบล ดุสิต ซึ่งอยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำ ตั้งแต่สะพานพุทธจนถึงวัดราชาธิวาส ระหว่างแม่น้ำและถนนสามเสน ท่านคิดจะยกเลิกพระราชกฤษฎีกาซึ่งจุดประสงค์ คือ รื้อถอนวัดคาทอลิก 2 แห่ง (วัดคอนเซ็ปชัญ และวัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์) พร้อมกับโรงเรียน 2 แห่ง (โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และโรงเรียนเซนต์ฟรังซิส) โดยอ้างว่า จะใช้ที่ดินทำศูนย์การค้า และดังนั้น พวกคาทอลิกของทั้งสองวัดนี้จึงได้ถูกบังคับให้ต้องแยกย้ายกันไปคนละทิศละทาง การกระทำดังกล่าวเพื่อเบียดเบียนศาสนาคาทอลิก เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงขอคำตอบที่ชัดเจนเพื่อชื่อเสียงของรัฐบาลของท่านซึ่งยอมรับเสรีภาพสมบูรณ์ของศาสนา

วัตถุประสงค์ของคำถามเหล่านี้ก็เพื่อคัดค้านการกระทำของรัฐบาลชุดก่อนซึ่งมีคำขวัญว่า “ตามผู้นำ ชาติพ้นภัย”

ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ตอบคำถาม

สำหรับคำถามแรก ข้าพเจ้าไม่พบคำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่บังคับพวกข้าราชการให้ละทิ้งศาสนา มีแต่คำสั่งให้ข้าราชการทุกคนแจ้งเรื่องการนับถือศาสนาของตน ดังนั้น ถ้าหากใครได้รับความเสียหาย เขาสามารถทำการร้องเรียน ก็จะได้รับการพิจารณา

สำหรับคำถามที่สอง ไม่เกี่ยวกับการทำลายวัด 2 แห่ง แต่เป็นเพียงทำการปิดปากคลองที่ตำบล สามเสนเพื่อทำท่าเทียบเรือ พระราชกฤษฎีกานี้สามารถยกเลิกได้

ขอได้รับความเคารพ

ลงชื่อ ร.ส.อ. สุดจำลอง

บ้านบางกะปิ วันที่ 31 ตุลาคม 2488 (1945)

จดหมายนี้คือ

เอกสารหมายเลข 49

ซึ่งเป็นเนื้อหาอย่างสมบูรณ์ของสุนทรพจน์ของนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1944 เรื่องการคืนเสรีภาพทางศาสนา และปฏิบัติตามเอกสารหมายเลข 1 ซึ่งรัฐธรรมนูญให้พลเมืองทุกคนมีเสรีภาพในการเลือกศาสนาของตน

กรุงเทพฯ วันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1984

วิกตอร์ ลารเก

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic38.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:30 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

⚔️ การเบียดเบียนศาสนา ตามคำให้การของพยานร่วมสมัยกับคุณพ่อนิโคลาส

รูปภาพ

คุณพ่อเรอเน เมอนิเอร์ ผู้เคยร่วมงานแพร่ธรรมทางภาคเหนือกับคุณพ่อนิโคลาส ได้ให้การเกี่ยวกับการเบียดเบียนศาสนาไว้ว่าดังนี้

“เกี่ยวกับเรื่องการเบียดเบียนศาสนาในสมัยนั้นที่เชียงใหม่ไม่มีการเบียดเบียนรุนแรงเหมือน ในภาคกลาง แต่คริสตังที่พิษณุโลกกลัวจนต้องเอาสายประคำไปฝังดินไว้ ส่วนภาคกลางมีพระสงฆ์หลายองค์ถูกจับในข้อหาเดียวกัน เกี่ยวกับการจับกุมคุณพ่อนิโคลาสนั้น เนื่องจากคุณพ่อนิโคลาสได้เทศน์ว่า "อย่าไปเกลียดชาวฝรั่งเศส เพราะพวกเขาเป็นชาวฝรั่งเศสที่มาเพื่อประกาศศาสนาในประเทศไทย" แต่มีคนใส่ความพูดว่า “คุณพ่อให้คริสตังภาวนาให้ฝรั่งเศสชนะสงคราม”

ซิสเตอร์บาซีลีอา สุณีย์ สุพภาศรี ผู้เคยไปเยี่ยมคุณพ่อนิโคลาสในคุกและเคยฟังการเทศน์ของคุณพ่อจากการเข้าเงียบประจำปีของคณะฯ ได้กล่าวถึงการเบียดเบียนศาสนาในเวลานั้นไว้ว่า

“ในช่วงสงครามอินโดจีนมีการเบียดเบียนศาสนา พวกข้าราชการคริสตังถูกบังคับให้เปลี่ยนศาสนาเป็นศาสนาพุทธ ถ้าไม่เปลี่ยนก็ถูกกลั่นแกล้งไม่ให้ทำงาน”

นายจันทร์ดี วาปีโส สัตบุรุษวัดนักบุญเทเรซา โนนแก้ว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นวัดที่คุณพ่อนิโคลาสปกครองอยู่ในเวลาที่ถูกจับกุม ได้ให้การเกี่ยวกับการเบียดเบียนศาสนาในเวลานั้นว่าดังนี้

“ในช่วงที่มีการเบียดเบียนศาสนา มีเจ้าหน้าที่ตำรวจและกำนันมาไล่ให้ออกจากศาสนาคริสต์ เขาบอกว่าถือศาสนานี้มีความผิด แต่พวกเรายืนยันไม่ออก มีคนออกจากศาสนา 4-5 คน วัดถูกปิด พวกคริสตังเข้าไปสวดภาวนาไม่ได้ ไม่มีมิสซา ไม่มีพระสงฆ์มาประจำที่วัดนานหลาย เดือน พวกเราต้องไปสวดภาวนากันตามบ้าน”

นายอั้น สุวรรณใจ สัตบุรุษวัดนักบุญเทเรซา เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ผู้เคยเรียนคำสอนกับคุณพ่อนิโคลาส ได้ให้การเกี่ยวกับการเบียดเบียนศาสนาว่าดังนี้

“ในช่วงที่มีการเบียดเบียนศาสนา มีเจ้าหน้าที่มาปิดวัด ส่วนโรงเรียนได้ถูกปิดก่อนหน้านั้น 1 เดือนแล้ว เอาพระ (พุทธ) มาเทศน์ มีครูคนหนึ่งของรัฐบาลเอาหนังสติ๊กยิงรูปนักบุญเทเรซามีการบังคับให้ทิ้งความเชื่อ”

จากตัวอย่างของคำให้การเหล่านี้ แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า การเบียดเบียนศาสนาคริสต์ในเวลานั้นมีอยู่ทั่วประเทศไทย และคริสตชนต้องตกเป็นเหยื่อของความเกลียดชังศาสนาของคนไทยโดยทั่วไป

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic39.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:31 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

⛓ เหตุการณ์การจับกุม คุณพ่อนิโคลาส

รูปภาพ

สมัยนั้น พระสงฆ์ไทยเข้าเงียบประจำปีเวลาค่ำของวันจันทร์ หลังวันฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1941

คุณพ่อนิโคลาสออกจากโนนแก้วถึงโคราชในวันศุกร์ที่ 10 มกราคม มุ่งหน้าจะไปรับคุณพ่อเลโอนาร์ด สิงหนาท ผลสุวรรณ เพื่อเข้ากรุงเทพฯ ด้วยกันให้ทันวันรุ่งขึ้นคือวันเสาร์ที่ 11 มกราคม แต่ปรากฏว่าคุณพ่อเลโอนาร์ดได้ฟังวิทยุทุกเย็น เมื่อได้ฟังรายการ "สนทนาของนายมั่น-นายคง" อันเป็นรายการที่หว่านความหวาดกลัวลงสู่จิตใจพวกคริสตังทั่วประเทศ ท่านจึงตกลงใจรีบหนีไปหาที่หลบภัยที่วัดหัวไผ่ คุณพ่อนิโคลาสจึงไม่พบกับคุณพ่อเลโอนาร์ดที่โคราช จึงตัดสินใจเดินทางไปวัดนักบุญยอแซฟ บ้านหัน วันที่ 11 มกราคม คิดจะรับคุณพ่ออัมบรอซิโอ กิ๊น มิลลุกูล (พ่อเตี้ย) เจ้าอาวาสวัดบ้านหันไปด้วยกัน แต่แล้วก็ปรากฏว่าคุณพ่ออัมบรอซิโอก็ไม่อยู่แล้วเช่นเดียวกัน

คุณพ่อนิโคลาสจึงได้เรียกบรรดาคริสตังวัดบ้านหันให้มาสวดภาวนาค่ำพร้อมกันและแจ้งให้ทุกคนมาร่วมมิสซาในวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันอาทิตย์ ตรงกับวันฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ ขณะที่พวกเขากำลังสวดภาวนาค่ำพร้อมกันอยู่นั้น วิทยุกระจายเสียงจากกรุงเทพฯ ในรายการ "สนทนาของนายมั่น-นายคง" ปลุกปั่นยุยงไปทั่ว สร้างความตื่นตระหนกแก่คริสตังทุกคน พวกสมาชิกคณะเลือดไทยซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ เป็นคณะที่ต่อต้านฝรั่งเศสและทุกคนที่ถูกถือว่าเป็นฝ่ายฝรั่งเศส เฝ้าดูความเคลื่อนไหวของพวกคริสตัง เพราะพวกคริสตังถูกถือว่านับถือศาสนาของฝรั่งเศส

ขณะนั้นคุณพ่อนิโคลาสกำลังก่อสวดบทเร้าวิงวอนแม่พระ และสัตบุรุษก็ตอบรับตามปกติว่า "ช่วยวิงวอนเพื่อข้าพเจ้าทั้งหลายนี้เถิด" ตามสูตรของบทภาวนาลิตาเนีย แต่สมาชิกคณะเลือดไทยที่เฝ้าดูอยู่นั้น ไปรายงานแก่นายอำเภอสีคิ้วและเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า คุณพ่อนิโคลาสนำบรรดาคริสตังให้สวดภาวนา "ขอให้ฝรั่งเศสชนะไทยนี้เถิด"

นับเป็นข้อกล่าวหาข้อแรกที่กระทำต่อคุณพ่อนิโคลาส วันรุ่งขึ้นคือวันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม คุณพ่อนิโคลาสตีระฆังเช้าเวลา 8:30 น. เพื่อเรียกให้พวกคริสตังมาวัดฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ และเหตุการณ์นี้ได้เป็นที่มาของการจับกุมคุณพ่อนิโคลาสและชาวบ้านอีก 8 คน ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่า ขัดต่อคำสั่งการย่ำระฆัง เรียกประชุมชาวบ้าน พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ดังนี้

"คุณพ่อนิโคลาสได้ตีระฆังเพื่อเรียกคริสตังมาวัดฟังมิสซาในเวลาแปดโมงครึ่งตอนเช้า ด้วยการกระทำอันนี้ ท่านถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอ ซึ่งห้ามตีระฆังในระหว่างเวลากลางคืน"

นอกจากนี้ พระสังฆราชแปร์รอสยังเคยเขียนหนังสือฉบับหนึ่งถึงหลวงอดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ ในเวลานั้น เพื่อชี้แจงถึงความบริสุทธิ์ของคุณพ่อว่า

"วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2484 นี้ บาทหลวงบุญเกิด กฤษบำรุง (นิโกเลา) ได้ถูกตำรวจจับที่วัดบ้านหัน อำเภอสีคิ้ว (จันทึก) เพราะว่าได้ตีระฆังกลางวันสำหรับประชุมคนให้มาสวดภาวนาตามธรรมเนียมทุกวันอาทิตย์ แต่กำนันไม่ให้ตีระฆังกลางคืน"

จากคำให้การของพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ (eyewitness) คือ ครูเจริญ ราชบัวขาว ซึ่งถูกจับและถูกขังคุกพร้อมกับคุณพ่อนิโคลาส ได้ยืนยันว่าดังนี้

"เจ้าหน้าที่คุมตัวนักโทษทั้งหมดไปที่สีคิ้ว... ด้านการสอบสวน ทางการพยายามใช้วิธีให้คริสตังปรักปรำกันเอง คือได้ไปนำคริสตังมาอีก 9 คน จากบ้านหัน... ให้คนทั้ง 9 คนนี้ เป็นพยานปรักปรำว่า 9 คนที่ถูกจับเป็นพวกกบฏ เป็นแนวที่ 5 พวกเอาใจช่วยเหลือฝรั่งเศส… พวกนักโทษถูกนำไปโรงพักซึ่งคับแคบมาก อยู่ที่นั่นราว 1 อาทิตย์ จากนั้นก็ถูกล่ามโซ่เพื่อเตรียมตัวส่งไปคุกโคราช... ถูกจับขังคุกที่เรือนจำโคราชประมาณเดือนครึ่ง แล้วนักโทษทั้งหมดจึงถูกส่งไปกรุงเทพฯ โดยทางรถไฟ ลงจากรถไฟก็มีคนมารับไปเร่ฝากขังตามที่ต่างๆ คุกปทุมวันไม่รับเพราะเต็มมาก ได้ไปฝากขังที่ สน.พระราชวัง 1 คืน ที่สุดพาไปขังที่ศาลาแดง ถนนวิทยุ สวนลุมพินี รวมเวลาที่อยู่ในคุกศาลาแดงประมาณ 9 เดือน ในช่วง 9 เดือน ไปศาลพิเศษหลายครั้ง มีการซักพยาน ผู้ที่เป็นประธานศาลคือ พล.อ. พระขจร เนติศาสตร์ หลังจากพยายามสอบสวนและพิจารณาคดีรวมทั้งหมดราว 11 เดือน ตั้งแต่วันถูกจับ ที่สุด โดนข้อหากบฏภายนอกราชอาณาจักร ตามมาตราที่ 104/110/111 คุณพ่อนิโคลาสถูกตัดสินจำคุก 15 ปี... สถานที่ตัดสินและใช้เป็นศาลพิเศษได้แก่ กระทรวงกลาโหม ชั้น 3 พอตัดสินเสร็จก็นำนักโทษไปอยู่เรือนจำลหุโทษ คลองเปรม ห้องขังสกปรก มืดทึบ มีช่องอากาศช่องเดียว คับแคบ อยู่ด้วยกัน 9 คน นั่งอัดกันอยู่ที่นี่ได้ราว 2 อาทิตย์ เขาก็ย้ายนักโทษทั้งหมดไปอยู่เรือนจำบางขวาง”

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic40.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:31 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

🫵 ถูกฟ้องในข้อหาเป็นแนวที่ 5

รูปภาพ

พระสังฆราชแปร์รอสได้มีจดหมายลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 ไปถึงหลวงอดุล

อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ เพื่อชี้แจงว่าคุณพ่อนิโคลาสไม่มีความผิด ดังมีใจความว่าดังนี้

"บาทหลวงบุญเกิดนั้นถูกขังอยู่ที่สีคิ้วเป็นเวลาหลายวัน แล้วต้องไปติดอยู่ที่คุกนครราชสีมาจนถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์นี้ ได้ถูกย้ายมาที่พระนคร ถูกขังอยู่ที่สถานีตำรวจศาลาแดงขอท่านอธิบดีโปรดพิจารณาความ จะได้ทราบว่าบาทหลวงบุญเกิดไม่มีความผิด ถูกคนเกลียดมาใส่ความว่าเป็นแนวที่ 5 ที่จริงไม่เคยเป็นเลย จึงเมื่อไม่มีผิด ก็ขอให้ปล่อยตามข้อ 13 แห่ง รัฐธรรมนูญ..."

ในจดหมายของพระสังฆราชแปร์รอส ซึ่งเขียนถึงเพื่อนมิชชันนารีที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ลงวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1941 ได้พูดถึงการถูกจับกุมของคุณพ่อนิโคลาส และเพื่อน
พระสงฆ์ไทยดังมีใจความดังนี้

"คุณพ่อนิโคลาสถูกจับที่บ้านหันเมื่อวันที่ 12 มกราคม ถูกกล่าวหาเช่นเดียวกัน (เช่นเดียวกับคุณพ่อ 2 องค์) ว่าเป็นแนวที่ 5 ถูกขังคุกที่โคราชเป็นเวลา 2 เดือน ต่อมาถูกส่งตัวมาที่กรุงเทพฯ ถูกขังที่สถานีตำรวจใหม่ศาลาแดง กำลังคอยคำตัดสิน ผลคำตัดสินนั้นจะเป็นอย่างไร? พระเป็นเจ้าแต่ผู้เดียวที่ทรงทราบ ระหว่างนั้น ท่านยินดีทนทุกข์ทรมานเพื่อพระศาสนาเช่นเดียวกับพระสงฆ์อื่นอีก 2 องค์ มีการส่งอาหารจากเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ไปให้ท่านทุกๆวัน แต่ห้ามมิให้พูดคุยกันเด็ดขาด"

ในจดหมายฉบับหนึ่งซึ่งพระสังฆราชแปร์รอสเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสถึงนายโรเชร์ การ์โร (GARREAU) กงศุลฝรั่งเศสประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 มีรายละเอียดดังนี้

"ข้าพเจ้ามีความเสียใจที่จะแจ้งให้ท่านทราบว่า คุณพ่อนิโคลาส ชุนกิม บุญเกิด พระสงฆ์คาทอลิกไทย ได้ถูกตัดสินจำคุก 15 ปี โดยศาลพิเศษ โดยถูกกล่าวหาว่าท่านได้ช่วยเหลือฝรั่งเศสในสงครามอินโดจีนต่อต้านไทย”

คุณพ่อนิโคลาสองค์นี้ ได้รับหน้าที่ดูแลคริสตังที่โคราชและโนนแก้วมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา ท่านได้ไปที่บ้านหันซึ่งเป็นกลุ่มคริสตชนอีกกลุ่มหนึ่งที่อยู่ห่างจากสีคิ้วไปทางตะวันตกของเมืองโคราช เพื่อพบกับเพื่อนพระสงฆ์องค์หนึ่งของท่านคือคุณพ่ออัมบรอซิโอ แต่คุณพ่ออัมบรอซิโอได้ออกเดินทางไปกรุงเทพฯ แล้วก่อนหน้านี้เล็กน้อย วันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันอาทิตย์ คุณพ่อนิโคลาสได้ตีระฆังเพื่อเรียกคริสตังมาวัดฟังมิสซาในเวลา 8:30 นาฬิกาตอนเช้า ด้วยการกระทำอันนี้ ท่านได้ถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอ ซึ่งห้ามตีระฆังในระหว่างเวลากลางคืน คุณพ่อนิโคลาสได้ถูกจับกุมและถูกนำตัวไปที่สีคิ้วพร้อมกับพวกคริสตังคนอื่นๆ ที่นั่น ท่านต้องอยู่ในคุกเป็นเวลาหลายวัน ต่อมาได้ถูกส่งตัวมายังกรุงเทพฯ ที่สถานีตำรวจศาลาแดง ท่านถูกควบคุมตัวอย่างเข้ มงวดเป็นเวลาเกือบ 4 เดือน โดยปราศจากการติดต่อกับบุคคลภายนอก ทั้งห้ามเยี่ยมโดยเด็ดขาด ในที่สุด วันที่ 15 พฤษภาคม ศาลพิเศษ (ไม่อนุญาตให้มีทนาย และตัดสิทธิ์ห้ามอุทธรณ์) ได้พิพากษาว่า คุณพ่อและคริสตัง 8 คน ถูกฟ้องกล่าวหาว่า

"ได้ปฏิเสธ โดยไม่ยอมมอบปืนเพื่อช่วยเหลือในการสร้างทางรถไฟและสายโทรเลข, ได้ทำการประชุมลั บเพื่อปลุกปั่นผู้สมรู้ร่วมคิดคนอื่นๆ ไม่ให้ช่วยเหลือรัฐบาลไทยต่อสู้กับอินโดจีน, ได้สวดภาวนาเพื่อชัยชนะของฝรั่งเศส, ได้มีเจตนาในการตัดเส้นทางการคมนาคมและสายโทรเลข" พยานทุกคนปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้ทุกข้อว่าไม่เป็นความจริง (คุณพ่อนิโคลาสไม่ได้อยู่หรือผ่านไปที่บ้านหันในระหว่าง 2 วันที่ผ่านมา) ศาลได้ยืนยันว่าคุณพ่อมิได้เอ่ยอ้างถึงพยานเลย

แต่ความจริงแล้วท่านได้อ้างถึงพยาน 9 คนเพื่อการต่อสู้คดี พยาน 4 คนได้ยืนยันว่า ในตอนแรกพวกเขา ถูกนายอำเภอบังคับให้ฟ้องกล่าวหาคุณพ่อที่ศาลอำเภอสีคิ้ว แต่คำให้การของพยานที่ศาลนั้นเป็นคำให้การที่นายอำเภอเขียนขึ้นมาให้พวกเขาท่องจนขึ้นใจ เพื่อใช้ในการปรักปรำ

การกลับคำให้การของพวกเขาที่กรุงเทพฯ ไม่มีประโยชน์สักนิดเดียว ศาลไม่ยอมรับคำให้การตามความจริงของพวกเขา

กระบวนการพิจารณาคดีเช่นนี้ เป็นการกระทำที่ไม่น่าเชื่อถือ และยากที่จะเข้าใจได้โดยเฉพาะหลังจากที่ได้มีการลงนามในสัญญาข้อตกลงระหว่างฝรั่งเศส-ไทย แม้ว่าคุณพ่อจะเป็นชาวพื้นเมือง (คนไทย) ข้าพเจ้าเชื่อตามหน้าที่ของข้าพเจ้าในปัจจุบันนี้ในฐานะตัวแทนของชาวฝรั่งเศส เพราะว่าเหตุจูงใจในการเรียกร้องเพื่อการตัดสินลงโทษพระสงฆ์องค์นี้และพวกคริสตัง

(แม้กระทั่งการตัดสินลงโทษคุณพ่อฟรังซิสเซเวียร์ สงวน และคุณพ่อมีแชล ส้มจีน ที่ได้รับการตัดสินลงโทษจำคุกไปแล้วคนละ 2 ปี) คือสาเหตุที่พวกเขาต้องการช่วยเหลือฝรั่งเศส

ยิ่งกว่านั้น พระสงฆ์ไทยอีกองค์หนึ่งได้แจ้งให้ข้าพเจ้าทราบว่า ที่แปดริ้วมีใบประกาศโฆษณาในหัวข้อ "เลือดไทยของชาวฉะเชิงเทรา" ห้ามไม่ให้ใครทำการติดต่อกับพวกคาทอลิก เหตุจูงใจในการเรียกร้องคือ "การบีบบังคับให้ทิ้งศาสนามีมานานแล้ว พวกคาทอลิกมีความมั่นคงและไม่ปฏิบัติตัวตามความต้องการของชาติ ซึ่งคณะเลือดไทยได้บังคับให้ทำ”

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic41.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:32 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

🙏 วีรกรรมและจิตตารมณ์ ของคุณพ่อนิโคลาส

รูปภาพ

คุณพ่อนิโคลาสถูกตัดสินจำคุก 15 ปี เช่นเดียวกับหัวหน้าครอบครัวคริสตังจากบ้านหัน 13 คน และถูกจำคุกที่บางขวาง จากจดหมายฉบับหนึ่งลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 ซึ่งคุณพ่อนิโคลาสได้เขียนถึงพระสังฆราชแปร์รอสด้วยลายมือของท่านเอง ท่านบอกว่าสิ่งที่ทำให้ท่านมีความอดทนก็คือการสวดภาวนา สวดสายประคำ และสวดมนต์ตามหนังสือที่พระสงฆ์ต้องสวดซึ่งพระสังฆราชแปร์รอสได้ส่งไปให้ ถึงแม้ว่าท่านจะไม่ได้ทำผิดตามที่ถูกกล่าวหา แต่ท่านก็ขอน้อมรับโทษอันนี้ตามน้ำพระทัยของพระเพื่อชดเชยความบาป

"วันที่ 11 มกรา พ.ศ. 84 จนถึงวันที่ 16 พฤษภาคม เป็นระหว่างที่ลูกอยู่ในที่คุมขังเหมือนนกใหม่ถูกขังในกรง นับว่ารู้สึกลำบากมาก เศร้าใจไม่ใช่น้อย มีเครื่องมือที่ทำให้ลูกมีน้ำอดน้ำทนก็คือคำภาวนา และสวดมนต์ตามหนังสือที่พระสงฆ์ต้องสวดนั้น ในระหว่างนี้ลูกรู้สึกลำบากมากทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิตต์ ฝ่ายกายการกินการหลับนอนผิดกว่าที่โรงตำรวจศาลาแดงมาก ไม่มีใครส่งอาหารปิ่นโตให้อีกต่อไป ฝ่ายจิตต์ เศร้าใจ นอนตื่นเมื่อไรก็คิดว่าถูกโทษ 15 ปี โดยไม่มีความผิดแม้แต่น้อย เป็นต้นไม่มีโอกาสสวดมนต์ตามหนังสือสวดมนต์ ข้อนี้ทำให้ลูกเป็นทุกข์โศกมาก แต่ยังมีความบรรเทาอยู่อย่างหนึ่งคือ สวดลูกประคำ...

...ขอคุณบิดาอย่าเป็นทุกข์ถึงลูกเลย การที่ลูกต้องโทษคราวนี้โดยลูกไม่ได้นึกได้ฝันเลย คุณบิดาก็ทราบดีว่าลูกรักประเทศชาติจนยอมสละความสนุกสบายฝ่ายข้างโลก ได้อุตส่าห์อบรมพี่น้องชาวทัยให้อยู่ในศีลธรรมอันดีเป็นระยะ 15 ปี ลูกได้ช่วยชาติทั้งทางตรงทางอ้อม นอกนั้นยังเตือนคนอื่นอีกให้รักชาติ แต่อนิจจาลูกกลับถูกหาว่าขายชาติ ทรยศต่อชาติ พยานโจทย์ 3 ปาก นับว่าไร้ศีลธรรมอย่างที่สุด กล้าใส่ความสงฆ์ผู้ทรงศีลโดยเจตนาเช่นนี้ ถึงกระนั้นก็ดี ลูกรู้สึกว่าพระเจ้าทรงบันดาลให้เป็นไปเช่นนี้ ลูกจึงขอน้อมรับโทษทันฑ์อันนี้ตามน้ำพระทัยของพระ เพื่อชดเชยความผิดความบาปของลูก และเพื่อความสันติภาพของ (สากล) โลก ทั้งความเจริญของประเทศ ชาติที่รักของลูกด้วย ลูกสวดเสมอ ขอพระเอ็นดูยกความผิดของพยานเท็จที่ปรักปรำลูกตามฉบับแห่งพระเยซูอาจารย์แห่งสากลโลก"

ตลอดเวลาที่อยู่ในคุก คุณพ่อได้รับความลำบากมาก ห้องขังสกปรก คับแคบ ไม่มีอากาศถ่ายเท อยู่กันอย่างแออัด แต่คุณพ่อก็ไม่เคยบ่นถึงความลำบาก ท่านมีความอดทนและคอยให้กำลังใจพวกที่ถูกจับด้วยกัน นอกจากนี้ ท่านยังได้สอนคำสอนให้กับนักโทษทั้งที่เป็นคริสตัง และที่เป็นคนต่างศาสนา เมื่อมีคนมาเยี่ยมและนำอาหารมาให้ ท่านก็แบ่งปันให้กับนักโทษคนอื่นๆ ด้วยความเมตตา

การที่ท่านถูกขังอยู่ในห้องขังที่สกปรก อากาศไม่ดี ท่านจึงป่วย และถูกนำตัวไปตรวจ ทางเรือนจำแจ้งให้ท่านทราบว่าท่านป่วยเป็นวัณโรค และแยกไปขังไว้ในเรือนจำของคนโรคปอด อยู่ร่วมกับนักโทษที่ป่วยเป็นวัณโรค ท่านได้สอนคำสอน และช่วยดูแลนักโทษที่ป่วย ได้โปรดศีลล้างบาปให้แก่นักโทษ โดยเฉพาะคนใกล้ตายพระสังฆราชแปร์รอสได้ส่งหนังสือสวดภาษาไทยและภาษาลาติน รวมทั้งสารสาสน์ไปให้แก่คุณพ่อนิโคลาสและพระสงฆ์อีก 2 องค์ ซึ่งถูกขังอยู่ในเรือนจำ

ทางเรือนจำได้ส่งหนังสือสารสาสน์คืน เพราะไม่อนุญาตให้คุณพ่อทั้งสามอ่าน และกรมราชทัณฑ์ได้มีจดหมายลงวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1943 ถึงพระสังฆราชแปร์รอส แจ้งให้ทราบว่าขอระงับการเยี่ยมบาทหลวงทั้ง 3 องค์ไว้ชั่วคราว และแจ้งขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือที่ส่งมาให้นักโทษทั้งสาม ดังมีใจความดังนี้

"ตามที่กรมราชทัณฑ์ได้รับมอบหนังสือภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ที่ท่านจะนำไปมอบให้บาทหลวงทั้ง 3 คน ซึ่งคุมขังอยู่ในเรือนจำกลางบางขวาง รวม 7 เล่ม เพื่อตรวจพิจารนาตามระเบียบ เมื่อตรวดแล้วตกลงจะส่งมาให้ท่านนะวัดอัสสัมชัญ และได้ตกลงไว้ว่าจะอนุญาตให้ท่านเข้าเยี่ยมพร้อมทั้งนำหนังสือที่ผ่านการตรวจตามระเบียบแล้วไปมอบให้แก่บาทหลวงทั้ง 3 คน ณ เรือนจำกลางบางขวางในวันที่ 13 กันยายน 2486 นั้น กรมราชทัณฑ์ขอนมัสการมาให้ทราบด้วยความเสียใจว่า บัดนี้กรมราชทัณฑ์มีเหตุขัดข้องบางประการไม่อาจอำนวยความสะดวกให้ท่านเข้าเยี่ยมตามกำหนดที่ได้ตกลงไว้ดังกล่าวข้างต้นได้ จำเป็นต้องขอระงับให้ท่านเข้าเยี่ยมไว้ชั่วคราว..."

ในวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1944 พระสังฆราชแปร์รอสได้มีจดหมายไปถึง พ.ต.อ. มงคลกล้ากลางสมร อธิบดีกรมราชทันฑ์ ขอนุญาตเข้าเยี่ยมนักโทษบุญเกิด (คุณพ่อนิโคลาส) ซึ่งป่วยหนักอยู่ในโรงพยาบาลของเรือนจำ เพื่อจะได้มีโอกาสโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ให้แก่คุณพ่อ

"ด้วยที่เรือนจำบางขวาง มีบาทหลวงองค์หนึ่งชื่อ บุญเกิด กริสบำรุง ถูกคุมขังประจำอยู่แดน 6 กำลังเจ็บหนักอยู่ด้วยอาการน่ากลัวจะสิ้นชีวิตลงในเร็ววันนี้ ฉันรู้สึกห่วงใยในความเป็นอยู่ของบาทหลวงองค์นี้มาก จึงขอประทานอนุญาตต่อท่านเป็นกรณีพิเศษ เพื่อได้มีโอกาสไปเยี่ยมได้สักครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์แก่เขา ตามจารีตศาสนาโรมันคาทอลิกเป็นการด่วน"

แต่ท่านได้รับการปฏิเสธการเข้าเยี่ยม

"ตามหนังสือของท่านลงวันที่ 6 มกราคม 2487 ขออนุญาตเข้าเยี่ยมอาการป่วยของ น.ช.บุญเกิด กริสบำรุง... เพื่อโปรดศีลให้... ฉันมีความเสียใจที่ขณะนี้ยังไม่อาจอนุเคราะห์ให้ท่านเข้าเยี่ยมนักโทษผู้นี้ตามความประสงค์ของท่านได้..."

ที่สุดในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944 ทางเรือนจำได้มีจดหมายมาแจ้งให้ทราบว่า คุณพ่อนิโคลาสได้เสียชีวิตแล้วด้วยวัณโรคปอด ก่อนตายคุณพ่อได้ทำพินัยกรรมไว้ฉบับหนึ่ง มอบสิ่งของของท่านให้แก่คุณพ่อเอดัวรด์และคุณพ่อเฮนรี่ ทางเรือนจำได้ส่งพินัยกรรมและสิ่งของนั้นมาให้พระสังฆราชแปร์รอส

"ฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่จะแจ้งให้ทราบว่า น.ช. บาทหลวง บุญเกิด กริสบำรุง ซึ่งได้ป่วยเป็นวัณโรคแห่งปอด ถึงแก่ความตายไปแล้วนั้น ก่อนตายได้ทำพินัยกรรมมอบเงินกับยาฉีดน้ำกลั่นให้กับท่าน..."

จากจดหมายฉบับหนึ่งซึ่งพระสังฆราชแปร์รอสเขียนถึงพระสังฆราชอาเดรียง ดราปิเอร์ผู้แทนพระสันตะปาปา (Dlqu Apostolique) ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944 ในจดหมายดังกล่าว พระสังฆราชแปร์รอสได้พูดถึงคุณพ่อนิโคลาส และชีวิตของท่านขณะที่ถูกขังคุกไว้ดังนี้

"เราได้สูญเสียพระสงฆ์พื้นเมืององค์หนึ่งในจำนวน 3 องค์ ที่ถูกตัดสินจำคุกโดยไม่มีความผิด คุณพ่อนิโคลาสเป็นพระสงฆ์ที่มีใจร้อนรน มีความกระตือรือร้นกว่าทุกคน เป็นระยะเวลา 8 เดือน ที่ท่านป่วยเป็นวัณโรคอยู่ในโรงพยาบาลของเรือนจำ ท่านได้ทำให้คนกลับใจจำนวน 68 คนและโปรดศีลล้างบาปให้คนใกล้ตาย ผู้ที่ลงโทษตัดสินจำคุกท่านอย่างอยุติธรรม คงไม่คาดคิดว่าจะได้รับผลตอบแทนเช่นนี้ ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยมได้เดือนละครั้งมาเป็นเวลา 1 ปีครึ่งแล้ว ต่อมาข้าพเจ้าและครอบครัวของคุณพ่อได้รับการปฏิเสธ ไม่อนุญาตให้เข้าเยี่ยม แต่ข้าพเจ้าสามารถติดต่อกับคุณพ่อและเพื่อนพระสงฆ์ของท่านอีก 2 องค์ในคุก โดยผ่านทางคริสตังที่นำอาหารและเงินจำนวนเล็กน้อยไปให้ท่านในแต่ละเดือน คุณพ่อไม่สามารถพบเพื่อนพระสงฆ์อีก 2 องค์ ซึ่งเป็นนักโทษเช่นเดียวกับท่าน นี่เป็นการเบียดเบียนเพื่อต่อต้านศาสนาคาทอลิกซึ่งยังคงดำเนินต่อมาอีกอย่างรุนแรงที่สุดเป็นระยะเวลา 2 ปี..."

ศพของคุณพ่อถูกนำไปฝังไว้ที่วัดบางแพรก ซึ่งอยู่ใกล้กับเรือนจำ อีกหนึ่งเดือนต่อมาพระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายถึงผู้ว่าราชการจังหวัดพระนคร ลงวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1944 เพื่อขออนุญาตขุดศพของคุณพ่อมาฝังไว้ที่อุโมงค์วัดอัสสัมชัญ

"บาทหลวงบุญเกิด กริสบำรุง ได้ถึงความมรณภาพในเรือนจำกลางบางขวาง... วันที่ 12 มกราคม 2487 (1944) แล้วถูกฝังที่วัดบางแพรก มาบัดนี้จะขุดศพขึ้น เอามาฝังไว้ในอุโมงค์ใต้โบสถ์วัดอัสสัมชัญ... ฉันขออนุญาตส่งศพมาจากวัดบางแพรก มาฝังที่วัดอัสสัมชัญ"

พระสังฆราชแปร์รอสได้ให้ญาติพี่น้องของคุณพ่อไปขุดศพมาจากวัดบางแพรก ผู้ที่ไปขุดศพ คือ นางผิน น้องสะใภ้ของคุณพ่อ , นายกุ้ย ซึ่งเป็นเพื่อนบ้าน และนายฮะเซี้ยง บุตรชายของนางผิน ทั้งหมดออกเดินทางในตอนเช้า ระหว่างทาง นายฮะเซี้ยงได้แยกตัวไปหาพระสังฆราชแปร์รอส พอไปถึงวัดบางแพรก สมภารที่วัดบอกว่า นางผินและนายกุ้ยมาขุดศพไปแล้วก่อนที่นายฮะเซี้ยงจะไปถึงไม่นาน ศพของคุณพ่อถูกฝังอยู่ในดินซึ่งขุดเป็นหลุมสี่เหลี่ยมเล็กๆ มีลักษณะคุดคู้ ไม่มีโลงไม่มีอะไรห่อศพ เนื้อหนังและเส้นผมยังมีอยู่ แต่ไม่มีกลิ่น

พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายถึงคุณพ่อเบรสซอง ลงวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1944 เล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆ ของมิสซัง การเบียดเบียนศาสนา และกล่าวถึงคุณพ่อนิโคลาสไว้ว่า

"เรารู้สึกเสียใจที่ต้องสูญเสียพระสงฆ์พื้นเมืองที่ดีที่สุดของเราองค์หนึ่งไป คุณพ่อนิโคลาสได้ตายในคุกซึ่งเขาต้องอยู่ในนั้นมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว ท่านได้ถูกกล่าวหาว่าช่วยเหลือฝรั่งเศสในระหว่างสงครามอินโดจีน-ไทย ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้เยี่ยมเป็นระยะเวลา 1 ปี พร้อมทั้งคุณพ่ออีก 2 องค์ คือ คุณพ่อเอดัวรด์และคุณพ่อเฮนรี่ซึ่งถูกตัดสินจำคุกเหมือนท่าน ทั้งหมดไม่มีความผิด หลังจากที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยม 1 ครั้งต่อเดือน ต่อมาข้าพเจ้าได้รับการปฏิเสธอย่างเด็ดขาดไม่อนุญาตให้เยี่ยม คุณพ่อป่วยหนัก ข้าพเจ้าต้องการไปเยี่ยม แต่โชคร้ายที่การขอความกรุณาของข้าพเจ้าได้รับการปฏิเสธอย่างเด็ดขาด ภายหลังคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ศัตรูที่จ้องทำลายศาสนาคาทอลิกได้มีอำนาจตกต่ำลงในช่วงต้นเดือนนี้ หลังจากการตายของคุณพ่อที่รักของเรา ข้าพเจ้าก็ไม่สามารถรับศพของคุณพ่อมาได้ คุณพ่อได้ถูกฝังไว้ที่วัดพุทธซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับเรือนจำ อีกประมาณ 2 เดือนต่อมา ข้าพเจ้าจึงสามารถจ้างคนไปขุดศพ เอาใส่โลง และนำมายังวัดอัสสัมชัญ บรรจุไว้ในสุสาน ซึ่งอยู่ในอุโมงค์ใต้ดินของวัดอัสสัมชัญ ที่นั่นมีหลุมศพของเพื่อนพระสงฆ์ของคุณพ่อหลายองค์ที่ได้ตายไปก่อนแล้ว

พวกเราได้สูญเสียคุณพ่อบนแผ่นดินนี้ แต่ข้าพเจ้ามีความหวังว่า คุณพ่อคอยช่วยเหลือพวกเราอยู่บนสวรรค์ ในเวลานี้ข้าพเจ้ากำลังดำเนินการร้องขออิสรภาพให้กับนักโทษอีก 2 คนของเราคือ คุณพ่อเอดัวรด์และคุณพ่อเฮนรี่ซึ่งถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต..."

มีเอกสารฉบับหนึ่งเป็นจดหมายร่างลายมือของพระสังฆราชแปร์รอส เขียนถึงราชการเพื่อขออิสรภาพให้กับนักโทษซึ่งเป็นพระสงฆ์พื้นเมือง 2 องค์ และคริสตังอีก 8 คน มีข้อความที่กล่าวถึงคุณพ่อโคลาสดังนี้คือ

"พระสงฆ์ 3 องค์ ถูกกล่าวหาเหมือนกัน และถึงแม้ว่าคำให้การของพยานจะเป็นประโยชน์ต่อพวกเขา พวกเขาได้ถูกตัดสินลงโทษจำคุก องค์หนึ่ง 12 ปี , อีก 2 องค์ตลอดชีวิต องค์แรกตายในคุกเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา : ทราบว่าป่วย ข้าพเจ้าเดินทางไปที่เรือนจำและขออนุญาตพบเขา ผู้บัญชาการเรือนจำปฏิเสธอย่างเด็ดขาดสำหรับการขออนุญาตนี้ หลังจาก 4 ชั่วโมงของการรอคอย เขาได้บอกกับข้าพเจ้าว่าคุณพ่อได้เสียชีวิตแล้ว และข้าพเจ้าไม่ได้พบเขาอีกเลย นี่คือวิธีการอันป่าเถื่อนที่มีอยู่จริง..."

นอกจากนี้พระสังฆราชแปร์รอสยังได้เขียนจดหมายถึงผู้อำนวยการสมาคมเผยแพร่ความเชื่อ (President Society for the Propagation of the Faith) เล่าถึงเรื่องการเบียดเบียน
และการจับกุมพระสงฆ์ไทยไว้ดังนี้

"พระสงฆ์พื้นเมือง 5 องค์ของเรา ถูกจำคุกโดยไม่มีความผิด เพราะผู้ปกครองศาสนาเป็นชาวต่างชาติ และนับถือศาสนาซึ่งเป็นศาสนาของชาวต่างชาติ พระสงฆ์องค์หนึ่งในจำนวนนี้ (คุณพ่อนิโคลาส) ได้ตายในคุกหลังจากถูกจำคุก 3 ปี เขาอยู่ในโรงพยาบาล 9 เดือน เนื่องจากป่วยเขาได้ใช้เวลาเหล่านั้นในการปลอบโยน บรรเทาใจ และสั่งสอนผู้ป่วยคนอื่นๆ เขาได้บอกให้ข้าพเจ้าทราบว่า ในระหว่างที่เขาอยู่ในคุก เขาได้สอนคำสอนและโปรดศีลล้างบาปให้นักโทษด้วยกันที่ใกล้ตาย 68 คน..."

และจากรายงานประจำปีของปี ค.ศ. 1941-1947 พระสังฆราชแปร์รอสเขียนสรุปไว้ว่า

"พระสงฆ์ 2 องค์ถูกจำคุกนาน 20 เดือน ก็ถูกปล่อยเป็นอิสระ อีก 2 องค์ถูกจำคุกอยู่ถึง 5 ปีจึงเป็นอิสระ ส่วนคุณพ่อชุนกิม (นิโกเลา) ซึ่งเป็นพระสงฆ์ดีเด่นและร้อนรนยิ่งนัก ถึงแก่มรณภาพลงในระหว่างถูกต้องโทษปีที่สาม ตลอดเวลา 9 เดือนที่ท่านถูกพักรักษาตัวในคุกนั้น ก็ได้อุทิศตนสอนคำสอนแก่คนป่วยอื่นๆ ที่เป็นนักโทษด้วยกัน และช่วยเตรียมตัวให้พวกเขาตายในศีลในพร หนึ่งวันก่อนถึงแก่มรณภาพ ท่านได้หาทางแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบว่า ท่านได้โปรดศีลล้างบาปให้คนใกล้ตายถึง 68 คน ผลงานยอดเยี่ยมนี้ ไม่มีสมาชิกท่านใดในมิสซังทำได้ในช่วง 1 ปีเต็ม ผู้เบียดเบียนซึ่งมุ่งที่จะจับพวกพระสงฆ์ใส่คุกโดยเฉพาะ คงมิได้คาดคิดว่าจะมีผลเช่นนี้เป็นแน่"

วีรกรรมและจิตตารมณ์ของคุณพ่อนิโคลาสได้ถูกรายงานมายังสมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ (Propagada Fide) โดยพระสังฆราชกาเยตาโน ปาซอตตี (Mgr. Gatano Passotti)
ในปี ค.ศ. 1946 ว่าดังนี้

"วันที่ 6 มีนาคม คุณพ่อเอดัวรด์แห่งมิสซังลาว และคุณพ่อเฮนรี่แห่งมิสซังกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพระสงฆ์พื้นเมือง ได้รับการปลดปล่อยจากห้องขัง การจำจองใช้เวลาทั้งหมด 5 ปี เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในสงครามอินโดจีน และเป็นเหยื่อของการเมืองในเวลานั้นและเป็นเหยื่อของการเบียดเบียนศาสนา พร้อมๆ กับคุณพ่อทั้งสอง นักโทษอีก 30 คน ก็ได้รับการปลดปล่อยด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งหมดเหล่านี้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งที่กล่าวมาแล้ว และไม่น้อยทีเดียวในจำนวนคนเหล่านี้เป็นคริสตัง การปลดปล่อยนี้นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระเจ้าแผ่นดิน คุณพ่อนิโคลาสพระสงฆ์พื้นเมืองอีกองค์หนึ่งของมิสซังกรุงเทพฯ ได้เสียชีวิตในห้องขังเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1944 คุณพ่อได้โปรดศีลล้างบาปให้แก่ผู้ใหญ่ที่อยู่ในคุกนั้นจำนวน 70 คน ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีจิตวิญญาณที่สวยงาม เป็นพระสงฆ์ศักดิ์สิทธิ์ เรื่องราวชีวิตของท่านจะได้รับพระพร"

สำหรับวันที่คุณพ่อนิโคลาสถึงแก่มรณภาพ ถูกระบุไว้ในเอกสารนี้คือ วันที่ 12 มีนาคม (marzo) 1944 ซึ่งควรจะเป็นวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1944 ทั้งนี้อาจจะมาจากความผิดพลาดในการทำสำเนาเอกสาร หรือความจำผิดพลาดของพระสังฆราชปาซอตตี เราทราบวันที่ซึ่งคุณพ่อนิโคลาสถึงแก่มรณภาพจากจดหมายของพระสังฆราชแปร์รอส เขียนถึงข้าหลวงประจำจังหวัดพระนครลงวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1944 ว่าดังนี้

"บาทหลวงบุญเกิด กริสบำรุง ได้ถึงความมรณภาพในเรือนจำกลางบางขวาง อำเภอนนทบุรี จังหวัดพระนคร วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2487 (1944) แล้วถูกฝังที่วัดบางแพรก”

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic42.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:32 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

🩸 ความเป็นมรณสักขี ของคุณพ่อนิโคลาส การจับกุมคุณพ่อนิโคลาสเกิดจากความเกลียดชังในคริสตศาสนา

รูปภาพ

บรรยากาศแห่งความเกลียดชังคริสตศาสนามีอยู่ในช่วงระยะเวลานั้น (ค.ศ. 1939-1945) อย่างเข้มข้นตามที่เราทราบแล้วในหัวข้อ "การเบียดเบียนศาสนาและคณะเลือดไทย" ที่ได้อธิบายไว้แล้ว ความเกลียดชังคริสตศาสนาที่เกิดขึ้นในประชาชนชาวไทยนั้นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าเป็นเพราะ

1. การปลุกระดมให้ประชาชนชาวไทยมีความรักชาติ ตามนโยบายของรัฐบาลในเวลานั้น

2. ศาสนาพุทธถือเป็นศาสนาของคนไทย ดังนั้น คนไทยทุกคนจะต้องเป็นผู้ถือศาสนาพุทธ

3. ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองในเวลานั้นที่มีต่อชาวฝรั่งเศส ทำให้ศาสนาคริสต์ถูก ถือว่าเป็นศาสนาของฝรั่งเศส และนำมาเป็นข้ออ้างในการเกลียดชังศาสนาคริสต์รุนแรงมากขึ้น

อันที่จริง รัฐบาลและรัฐธรรมนูญไทยมิได้กีดกันการถือศาสนาต่างๆ ภายในราชอาณาจักร ตามที่เราได้ทราบแล้ว แต่ภายใต้บรรยากาศเช่นนั้น ประชาชนชาวไทยย่อมเกิดความรักชาติและเกิดความเป็นปรปักษ์กับทุกอย่างที่มิใช่คนไทยและความเป็นไทยด้วย จนกระทั่งมีการก่อตั้งคณะเลือดไทยขึ้นตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ

คาทอลิกไทยเองก็มิได้ขาดความรู้สึกรักชาติเช่นเดียวกับคนไทยอื่นๆเลย ต่างก็มีความรักชาติเช่นเดียวกับคนไทยทุกคน นายสวัสดิ์ ธุถาวร (ครุวรรณ) ได้เขียนบทความ "คริสตมามกชนชาวไทยรักชาติหรือไม่?" ตีพิมพ์ในหนังสือสารสาสน์ ประจำเดือนมกราคม ค.ศ. 1941 ว่าดังนี้

"ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งในจำนวนไทยคริสตังค์ และถึงแม้ข้าพเจ้าจะเป็นคริสตังค์ก็จริง แต่ในส่วนเรื่องความรักชาติปิตุภูมิแล้ว ข้าพเจ้ามองไม่เห็นว่า ทางคริสตศาสนาได้วางอุปสรรคขัดขวางไว้ในบัญญัติข้อไหนเลย และจนตราบเท่าทุกวันนี้ ข้าพเจ้าก็คงมุ่งมั่นเตรียมพร้อมเสมอที่จะพลีดวงชีพในเมื่อชาติเรียกร้อง..."

"ปัจจัยที่ชาวไทยโดยทั่วๆไป ตั้งข้อรังเกียจเดียดฉันท์พระบวรคริสตศาสนา และลามปามมาถึงชาวไทยที่ปฏิบัติตามศาสนานี้ด้วยนั้น ข้าพเจ้าทายว่าคงมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากการที่ศาสนามีอุบัติขึ้นในประเทศไทย โดยมีชนชาวฝรั่งเศสเป็นผู้นำมา และก็เป็นชาติฝรั่งเศสนี้แหละที่ได้มาก่อกรรมทำเข็ญช่วงชิงเอาดินแดนบางส่วนของไทยไป อันเป็นปฐมเหตุแห่งความเจ็บช้ำน้ำใจของชาวไทยทั้งหลาย..."

"พระเทวบัญญัติประการที่ 4 ก็จะเห็นว่าในบัญญัติประการนี้ ได้วางบทบังคับไว้อย่างรัดกุมแจ่มแจ้งแล้วว่า คริสตังค์ต้องรักชาติของตน ต้องเคารพต่อพระราชกำหนดกฎหมายของชาติ

ต้องป้องกันชาติ และเสียสละทรัพย์ช่วยชาติโดยการเสียภาษีอากรต่างๆ... บาทหลวงทุกรูปที่เข้ามาทำการเผยแพร่ศาสนาในประเทศไทยก็ดี หรือในประเทศอื่นๆก็ดี ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเมือง หรือเป็นองค์การของคณะการเมืองใดๆเลย... อย่าว่าแต่จะไม่รักชาติเลย แม้ในบางโอกาสทางศาสนาก็ยินดีเต็มใจสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในสิ่งที่ชอบ เช่น ในการที่รัฐบาลเรียกร้องดินแดนเก่าของเรากลับคืนจากรัฐบาลฝรั่งเศสคราวนี้ ก็ปรากฏว่าในจำนวนชาวฝรั่งเศสซึ่งอาศัยในประเทศไทย ก็ทำหนังสือยื่นไปยังสถานทูตฝรั่งเศส เพื่อขอให้เจรจากับฝรั่งเศสในเรื่องที่รัฐบาลไทยขอดินแดนบางส่วนกลับคืน ให้ดำเนินไปสู่ความสำเร็จโดยเร็วนั้น ก็ได้มีท่านสังฆราชเรอเน แปร์รอส ประมุขแห่งสังฆมณฑลกรุงเทพฯ รวมอยู่ด้วย นอกจากที่กล่าวมานี้แล้ว ตามวัดกะโธลิกต่างๆ ทั้งในและนอกพระนคร ต่างก็ได้มีการเรี่ยไรสมทบทุนการเรียกร้องดินแดนคืน"

คุณพ่อศรีนวล ศรีวรกุล อุปสังฆราชแห่งมิสซังภาคอีสาน เขียนจดหมายตีพิมพ์ในหนังสือสารสาสน์ ยืนยันถึงความรักชาติในฐานะคริสตังว่าดังนี้

"ทุกวันนี้ผมคอยแต่ปลุกใจสัตบุรุษคริสตังที่อยู่ใกล้เคียงนี้ให้ช่วยกันช่วยประเทศชาติที่รักด้วยทุนทรัพย์ สิ่งของ อาหาร และด้วยสวดมนต์ภาวนา เป็นต้น... ขอพี่น้องทางกรุงเทพฯ สวดภาวนาอุทิศแก่พี่น้องชาวไทยทางนี้ ใ ห้มีกำลังจิตต์กำลังกาย ดำรงตนเป็น "ไทยคริสตังค์" ตลอดชีพ พร้อมที่จะสละทุกอย่างเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ ขอๆๆๆ จงภาวนาอุทิศให้พระสงฆ์ และคริสตังค์ไทยทางภาคอีสานนี้ให้มากๆ"

สถานการณ์ทางภาคอีสานนี้รุนแรงมาก เพราะชาวไทยไม่เข้าใจถึงความรักชาติของคริสตังไทย จึงเกิดความเข้าใจผิดขึ้น และนำไปสู่การประหารชีวิตมรณสักขีทั้ง 7 แห่งประเทศไทย ซึ่งต่อมาภายหลังคือวันที่ 22 ตุลาค ม ค.ศ. 1989 พระศาสนจักรได้ประกาศแต่งตั้งเป็นบุญราศีทั้ง 7 แห่งประเทศไทย ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม ประเทศอิตาลี

ในเรื่องของความรักชาตินี้ คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง ได้แสดงออกอย่างชัดเจนเช่นเดียวกัน ในจดหมายฉบับหนึ่งของท่าน

"ขอคุณบิดาอย่าเป็นทุกข์ถึงลูกเลย การที่ลูกต้องโทษคราวนี้โดยที่ลูกไม่ได้นึกฝันเลย คุณบิดาก็ทราบดีว่าลูก รักประเทศชาติจนยอมสละความสนุกสบายฝ่ายข้างโลก ได้อุตส่าห์อบรมพี่น้องชาวไทยให้อยู่ในศีลธรรมอันดีเป็นระยะ 15 ปี ลูกได้ช่วยชาติทั้งทางตรงทางอ้อม นอกนั้นยังเตือนคนอื่นให้รักชาติ แต่อนิจจา ลูกกลับถูกหาว่าขายชาติ ทรยศต่อชาติ"

ความเกลียดชังในคริสตศาสนานี้ มีอยู่ในใจของชาวไทยทั่วๆไป และนำไปสู่การเบียดเบียนศาสนาคริสต์และผู้ที่ถือศาสนาคริสต์ จนเกิดความไม่สงบอยู่ทั่วไป อธิบดีกรมตำรวจในเวลานั้น ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 ห้ามมิให้ประชาชนก่อเหตุการณ์อันไม่สงบ

"ระงับการเสียดสี ขู่เข็ญ หรือบังคับในเรื่องการถือศาสนา"

การจับกุมคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง ที่วัดบ้านหันเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1941 ก็เกิดขึ้นจากความเกลียดชังนี้ พร้อมทั้งมีข้อกล่าวหาต่างๆ จากสมาชิกคณะเลือดไทยที่บ้านหันนั้นเอง ตามที่เราทราบมาแล้วในหัวข้อ "เหตุการณ์การจับกุมคุณพ่อนิโคลาส”

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic43.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:33 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

🤬 การถูกใส่ความ และถูกกล่าวหาด้วยเหตุผลทางการเมือง

รูปภาพ

คุณพ่อนิโคลาสถูกจับกุมและถูกกล่าวหาในหลายข้อหา ทั้งๆที่คุณพ่อมิได้กระทำเช่นนั้นเลย พระสังฆราชแปร์รอสรายงานเรื่องนี้ไว้ดังนี้

"วันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันอาทิตย์ คุณพ่อนิโคลาสได้ตีระฆังเพื่อเรียกคริสตังมาวัดฟังมิสซาในเวลา 8:30 ตอนเช้า ด้วยการกระทำอันนี้ ท่านได้ถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอ ซึ่งห้ามตีระฆังในระหว่างเวลากลางคืน... ในที่สุด วันที่ 15 พฤษภาคม ศาลพิเศษ (ไม่อนุญาตให้มีทนาย และตัดสิทธิ์ห้ามอุทธรณ์) ได้พิพากษาว่า คุณพ่อและคริสตัง 8 คน ถูกฟ้องกล่าวหาว่า "ได้ปฏิเสธ
โดยไม่ยอมมอบปืนเพื่อช่วยเหลือในการสร้างทางรถไฟและสายโทรเลข, ได้ทำการประชุมลับเพื่อปลุกปั่นผู้สมรู้ร่วมคิดคนอื่นๆ ไม่ให้ช่วยเหลือรัฐบาลไทยต่อสู้กับอินโดจีน, ได้สวดภาวนาเพื่อชัยชนะของฝรั่งเศส, ได้มีเจตนาในการตัดเส้นทางการคมนาคมและสายโทรเลข"

พระสังฆราชแปร์รอสอธิบายต่อไปโดยพยายามชี้ให้เห็นว่า ข้อกล่าวหาเหล่านี้มีมากจนเกินไป เกินกว่าที่คุณพ่อนิโคลาสจะทำได้ภายในระยะเวลาเพียง 2 วัน ที่ท่านเดินทางผ่านมาที่ บ้านหัน

"จำเลยทุกคนปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้ทุกข้อว่าไม่เป็นความจริง (คุณพ่อนิโคลาสไม่ได้อยู่หรือผ่านไปที่บ้านหันในเวลา 2 วันที่ผ่านมา)"

อันที่จริง ก่อนหน้านี้คือวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายถึงหลวงอดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ แจ้งให้ทราบว่าบาทหลวงไทยถูกจับและถูกกล่าวหาโดยผู้ที่เกลียดชัง และถูกขังโดยไม่มีความผิด

"ขอท่านอธิบดีโปรดพิจารณาความ จะได้ทราบว่าบาทหลวงบุญเกิดไม่มีความผิด ถูกคนเกลียดมาใส่ความว่าเป็นแนวที่ 5 ที่จริงไม่เคยเป็นเลย จึงเมื่อไม่มีผิด ก็ขอให้ปล่อยตามข้อ 13 แห่ง

รัฐธรรมนูญ ถ้าหากว่ามีคนอ้างว่าบาทหลวงได้ผิด ก็ขอให้ชี้แจงว่าผิดข้อไหน และเอาหลักฐานพยานมายืน ยัน บาทหลวงจะได้แก้ตัว และแสดงความบริสุทธิ์ของตนได้ ไว้ใจว่าความยุติธรรมมีอำนาจเหนือการใส่ความ"

ในหัวข้อถูกฟ้องในข้อหาเป็นแนวที่ 5 ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า กระบวนการพิจารณาโดยมีการใช้พยานเท็จมากล่าวปรักปรำคุณพ่อนิโคลาสและคนอื่นๆ อีก 8 คนนั้น เป็นการกระทำที่ไม่น่าเชื่อถือ และยากที่จะเข้าใจได้ นายเจริญ ราชบัวขาว ซึ่งเป็นพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ (eyewitness) ได้ให้การเช่นเดียวกันนี้ ยืนยันว่ามีการใช้พยานเท็จมาปรักปรำจำเลย

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic44.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:33 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

💀 เบื้องหลังความตายของคุณพ่อนิโคลาส

รูปภาพ

เราจะเข้าใจความทุกข์ทรมานทั้งทางกายและใจของคุณพ่อนิโคลาสในขณะที่ท่านอยู่ในคุกได้ในหัวข้อ "วีรกรรมและจิตตารมณ์ของคุณพ่อนิโคลาส" เป็นที่น่าสังเกตว่าพยานสองคนที่อยู่ร่วมเหตุการณ์ในสมัยของคุณพ่อนิโคลาส ได้ให้การในลักษณะที่คล้ายคลึงกันว่า คุณพ่อนิโคลาส ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องในระหว่างที่อยู่ในคุก

นายเจริญ ราชบัวขาว (eyewitness) ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

"ในระหว่างที่คุณพ่อนิโคลาสอยู่ในคุกลหุโทษ คลองเปรม ได้ราวอาทิตย์กว่าๆ คุณพ่อก็เริ่มอาการไอ เพราะอยู่ในห้องอับๆ และเป็นอยู่เช่นนี้ประมาณ 2 เดือน จึงได้รับการตรวจ และที่สุดผลปรากฏว่าท่านได้รับการบอกว่าเป็นวัณโรค ในส่วนตัวข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าเชื่อว่าคุณพ่อถูกกลั่นแกล้งให้ไปติดเชื่อวัณโรคภายหลัง เพราะตลอดเวลาที่ท่านอยู่ในคุกไม่ว่าที่ใด ท่านก็พยายามสอนคำสอนและให้กำลังใจแก่ทุกๆคนเสมอมา เมื่อผลออกมาว่าเป็นวัณโรคเช่นนี้
คุณพ่อจึงถูกนำตัวไปแยกขังไว้ที่แดนวัณโรค และในระหว่างที่อยู่ในแดนวัณโรคนี้เอง คุณพ่อได้พยายามสอนคำสอนแก่คนต่างศาสนา รวมทั้งโปรดศีลล้างบาปให้แก่พวกเขาเป็นจำนวนมากพอควร โดยเฉพาะคนที่ใกล้จะตาย คุณพ่ออยู่ที่แดนวัณโรคราว 2 ปีกว่า คุณพ่อก็เสียชีวิตด้วยโรควัณโรค"

นายฮะเซี้ยง กิจบำรุง ซึ่งเป็นหลานชายแท้ๆ ของคุณพ่อนิโคลาส และได้มีโอกาสไปเยี่ยมคุณพ่อหลายครั้ง ได้ให้การไว้ว่า

"คุณพ่อบอกว่าเป็นโรคภายใน ให้หมอตรวจแล้ว คุณพ่อเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่าเมื่อเขามาเอาเลือดไปตรวจ เขาเอาไปกระป๋องหนึ่ง เอามากเกินไป ในระหว่างที่คุณพ่ออยู่ในคุก ได้โปรดศีลล้างบาปให้แก่คนต่างศาสนาไปหลายคน จนเจ้าหน้าที่ไม่พอใจ เลยพยายามกลั่นแกล้ง"

คุณพ่อลูเซียง มิราแบล ผู้เคยร่วมงานกับคุณพ่อนิโคลาสในระหว่างการประกาศศาสนาที่ภาคเหนือของประเทศไทย ได้ให้การว่า

"หลังจากการจากมาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาจะติดต่อเป็นพิเศษกับเพื่อนพระสงฆ์ร่วมคณะมิสซังต่างประเทศอีก แต่มีคนเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่าคุณพ่อนิโคลาสได้เสียชีวิตเพราะหมดกำลัง ซึ่งเป็นผลมาจากการถูกทรมานในคุกที่เขาได้ทำให้พวกคนคุกหลายคนกลับใจ"

เหตุการณ์เหล่านี้ ผมไม่สามารถหาหลักฐานที่เป็นเอกสารบันทึกไว้ได้ ทั้งจากคุกบางขวางหรือคุกอื่นๆ และในความเป็นจริงก็คงไม่มีใครบันทึกเรื่องเหล่านี้ในเอกสารราชการ จึงเป็นแต่เพียงคำให้การจากพยานร่วมสมัย ซึ่งต่างก็แสดงให้เราเห็นถึงเบื้องหลังอันแท้จริงแห่งความตายของคุณพ่อนิโคลาส อีกทั้งคุณพ่อนิโคลาสเองก็คงไม่สามารถเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเล่าให้ใครฟังได้ เพราะเวลานั้นจดหมายทุกฉบับจะต้องถูกตรวจก่อนที่จะส่งออกจากคุกทุกฉบับ

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic45.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:33 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

🤔 ความเห็นและจดหมายของพลโท สุนทร สันธนะวนิชเกี่ยวกับเรื่องนี้

รูปภาพ

วันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1997

เรียนคณะกรรมการดำเนินงานเรื่องเสนอคุณพ่อนิโคลาส เป็นบุญราศี

กระผม พลโท สุนทร สันธนะวนิช อายุ 65 ปี ได้กระเกษียณอายุราชการมาแล้ว 5 ปี

ในระหว่างปี ค.ศ. 1988-1991 กระผมรับราชการในตำแหน่งหัวหน้าสำนักตุลาการทหาร และหัวหน้าตุลาการศาลทหารสูงสุด สังกัดกระทรวงกลาโหม มีภารกิจหน้าที่ดูแลรับผิดชอบและบังคับบัญชางานที่เกี่ยวกับการศาลทหาร ทั้ง 3 ศาล คือ ศาลทหารชั้นต้น ศาลทหารกลาง และศาลทหารสูงสุด

ระเบียบราชการที่เกี่ยวกับการศาลทหารนั้น จำเลยซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหาร ถ้าเป็นคดีที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติและเกิดขึ้นในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เมื่อศาลทหารตัดสินคดีแล้ว อุทธรณ์และฎีกาไม่ได้ คดีเป็นอันถึงที่สุด จำเลยซึ่งถูกศาลทหารตัดสินลงโทษจำคุกเกินกว่า

3 ปี ทางราชการศาลทหารมีระเบียบให้ส่งตัวจำเลยไปจำคุกยังเรือนจำกลางบางขวาง ของกรมราชทัณฑ์ โดยทางราชการศาลทหารจะส่งหนังสือนำส่งตัวจำเลยและแนบคำพิพากษาของศาลทหารไปด้วย ให้เรือนจำกลางบางขวางเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน

เอกสารหลักฐานต่างๆ ของเรือนจำกลางบางขวาง จะถูกเก็บรักษาไว้เป็นเวลา 10 ปีหลังจากนักโทษพ้นโทษแล้ว หรือเสียชีวิต ต่อจากนั้นทางราชการเรือนจำกลางบางขวางจะรวบรวมเอกสารเหล่านี้เพื่อทำลายต่อไป ทั้งนี้ กระผมได้สอบถามรายละเอียดเหล่านี้จากกรมราชทัณฑ์ และเรือนจำกลางบางขวางแล้ว

กระผมขอรับรองว่า รายละเอียดที่กราบเรียนข้างต้นเป็นความจริงทุกประการ

ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

(พลโท สุนทร สันธนะวนิช)
อดีตหัวหน้าสำนักตุลาการทหารและหัวหน้าตุลาการศาลทหารสูงสุด

จากสาเหตุของความเกลียดชังในคริสตศาสนา ทำให้คุณพ่อนิโคลาสถูกใส่ความ ถูกจับ และถูกตัดสินจำคุก 15 ปี ชีวิตภายในคุกยังคงเป็นชีวิตแห่งธรรมทูต จนไม่เป็นที่พอใจของผู้ดูแลอยู่ภายในคุกนั้น ในที่สุด หลังจากที่คุณพ่อต้องรับทุกข์ทรมานต่างๆนานา ภายในคุกนั้นแล้ว ท่านก็เป็นวัณโรค และเสียชีวิตภายในคุกนั้นเองก่อนที่กำหนดการตัดสินจำคุก 15 ปี จะสิ้นสุดลง นับเป็นความตายอันมาจากความเกลียดชังคริสตศาสนาโดยตรง เป็นวีรกรรมที่สมควรได้รับการเชิดชูขึ้นเพื่อเกียรติมงคลของพระเป็นเจ้า และเป็นพยานยั่งยืนที่มีชีวิต เป็นความเชื่อที่ยังมีชีวิตอยู่ท่ามกลางพวกเรา เราพบความเชื่อที่ยิ่งใหญ่นี้ในจดหมายของคุณพ่อนิโคลาสเอง ที่ยอมรับน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้าด้วยใจกว้างขวาง

"ขอคุณบิดาอย่าเป็นทุกข์ถึงลูกเลย การที่ลูกต้องโทษคราวนี้โดยลูกไม่ได้นึกได้ฝันเลย คุณบิดาก็ทราบดีว่าลูกรักประเทศชาติจนยอมสละความสนุกสบายฝ่ายข้างโลก ได้อุตส่าห์อบรมพี่น้องชาวทัยให้อยู่ในศีลธรรมอันดีเป็นระยะ ๑๕ ปี ลูกได้ช่วยชาติทั้งทางตรงทางอ้อม นอกนั้นยังเตือนคนอื่นอีกให้รักชาติ แต่อนิจจาลูกกลับถูกหาว่าขายชาติ ทรยศต่อชาติ พยานโจทย์ ๓ ปาก นับว่าไร้ศีลธรรมอย่างที่สุด กล้าใส่ความสงฆ์ผู้ทรงศีลโดยเจตนาเช่นนี้ ถึงกระนั้นก็ดี ลูกรู้สึกว่าพระเจ้าทรงบันดาลให้เป็นไปเช่นนี้ ลูกจึงขอน้อมรับโทษทัณฑ์อันนี้ตามน้ำพระทัยของพระ เพื่อชดเชยความผิด ความบาปของลูก และเพื่อความสันติภาพของ (สากล) โลก ทั้งความเจริญแห่งประเทศชาติที่รักของ ลูกด้วย ลูกสวดเสมอขอพระเอ็นดูยกความผิดของพยานเท็จที่ปรักปรำตามฉบับแห่งพระเยซูอาจารย์แห่งสากลโลก"

จากจดหมายฉบับนี้ของคุณพ่อนิโคลาส คุณพ่อได้น้อมรับทุกสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับท่านอันเนื่องมาจากความเกลียดชังในศาสนาด้วยความเต็มใจ จนกระทั่งคุณพ่อได้ถึงแก่มรณภาพในระหว่างที่ถูกคุมขังอยู่ในคุก ตลอดชีวิตของคุณพ่อ เต็มไปด้วยชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ และทำหน้าที่ในงานอภิบาลในฐานะสงฆ์ของพระคริสตเจ้าอย่างขยันขันแข็ง จนเป็นที่รู้กันโดยทั่วไป ด้วยชีวิตศักดิ์สิทธิ์และจิตตารมณ์อันเข้มแข็งของคุณพ่อ คุณพ่อจึงได้น้อมรับน้ำพระทัยจนบรรลุถึงการเป็นมรณสักขี

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic46.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:34 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

😇 ชีวิตศักดิ์สิทธิ์ของ คุณพ่อนิโคลาส จากความเห็นชอบของพระศาสนจักรในสมัยของท่าน

รูปภาพ

ชื่อเสียงแห่งความศักดิ์สิทธิ์และวีรกรรมของคุณพ่อนิโคลาส เราได้พบแล้วจากจดหมายหลายฉบับของพระสังฆราชแปร์รอส รวมถึงรายงานของพระสังฆราชปาซอตตี ที่มีไปถึงสมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ (Propaganda Fide) ทั้งสองท่านนี้แสดงออกอย่างชัดแจ้งว่า คุณพ่อนิโคลาสซึ่งมีชีวิตและวีรกรรมเช่นนี้ ได้อยู่บนสวรรค์แล้ว และดังนี้ พระสังฆราชแปร์รอสจึงได้ดำเนินการบรรจุศพของคุณพ่อนิโคลาส ภายใต้พระแท่น ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ และทำเครื่องหมายกิ่งมะกอกบนแผ่นป้ายชื่อของคุณพ่อนิโคลาส อันเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะ ในฐานะมรณสักขี เพื่อเป็นที่เคารพนับถือ และยกย่องในวีรกรรมของคุณพ่อนิโคลาสสืบต่อมา

+ จากบรรดาพยานผู้อยู่ร่วมสมัยกับคุณพ่อนิโคลาส

จากคำให้การของพยานร่วมสมัย และรู้จักกับคุณพ่อนิโคลาส

คุณพ่อลูเซียง มิราแบล (มารี-โยเซฟ) พระสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P.) ผู้ซึ่งเคยทำงานร่วมกับคุณพ่อนิโคลาส ที่พิษณุโลกและในเขตเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงคุณพ่อนิโคลาสไว้ว่า

"ในความคิดเห็นของข้าพเจ้าในเรื่องการเสนอเรื่องราวชีวิตของคุณพ่อนิโคลาส เพื่อขอแต่งตั้งเป็นบุญราศีนั้น ข้าพเจ้ามีแต่ความยินดี สิ่งนี้จะเป็นพระพรสำหรับพระศาสนจักรในประเทศของท่าน เพื่อการเก็บเกี่ยวคริสตังจำนวนมากขึ้น ชีวิตของท่านเป็นชีวิตที่สวยงามอย่างแน่นอนแม้ว่าข้าพเจ้าจะได้ใช้ชีวิตร่วมกับท่านเพียง 2-3 ปี (5 ปีเท่านั้น) และการตายของท่านได้เป็นวีรกรรมและเป็นชีวิตของมรณสักขีผู้หนึ่ง"

คุณพ่อเรอเน เมอนิเอร์ พระสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P.) ซึ่งเคยทำงานร่วมกับคุณพ่อ

นิโคลาสในเขตเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงคุณพ่อนิโคลาสไว้ว่า "เรื่องการนำเสนอคุณพ่อเป็นบุญราศี ข้าพเจ้าคิดว่าการสลักกิ่งมะกอกบนหลุมฝังศพของคุณพ่อนิโคลาส เป็นการแสดงความเชื่อในเรื่องนี้อยู่แล้ว”

ซิสเตอร์บาซีลีอา สุณีย์ สุพภาศรี ซึ่งเคยรู้จักกับคุณพ่อนิโคลาสเนื่องจากคุณพ่อเคยไปเทศน์เข้าเงียบที่อารามพระหฤทัยฯ ในเวลาที่ซิสเตอร์ยังเป็นโนวิสอยู่ และซิสเตอร์เคยนำอาหารไปเยี่ยมคุณพ่อที่เรือนจำ ได้กล่าวถึงคุณพ่อไว้ว่า

"ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ดี ท่านยอมพลีชีวิต กล้าทำงานแพร่ธรรมในคุกอย่างโจ่งแจ้งโดยไม่กลัวอันตราย ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีวาทศิลป์ในการพูด โดยเฉพาะในการสอนคำสอน ทำให้คนคุกกลับใจหลายสิบคน ข้าพเจ้าเชื่อว่าเวลานี้ท่านอยู่บนสวรค์แล้ว"

นายสุเทพ ศรีสุระ สัตบุรุษวัดนักบุญยอแซฟ บ้านหัน นครราชสีมา ได้กล่าวถึงคุณพ่อนิโคลาสว่าดังนี้

"การนำเสนอคุณพ่อนิโคลาสเป็นบุญราศี ข้าพเจ้าเห็นว่าเหมาะสม เพราะท่านมีชีวิตที่ดีและศักดิ์สิทธิ์"

นางจำปา พวกจันทึก สัตบุรุษวัดนักบุญยอแซฟ บ้านหัน นครราชสีมา ได้กล่าวถึงคุณพ่อนิโคลาสว่าดังนี้

"การนำเสนอคุณพ่อนิโคลาสเป็นบุญราศี ข้าพเจ้าเห็นว่าเหมาะสม ข้าพเจ้าเชื่อว่าท่านเป็น
มารตีร์ เพราะท่านถูกจับ ได้รับความทรมานในคุก"

นายเจริญ ราชบัวขาว ผู้ถูกจับและถูกคุมขังอยู่ในคุกกับคุณพ่อนิโคลาส (ปัจจุบันพักอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

"เท่าที่ข้าพเจ้ารู้จักคุณพ่อนิโคลาสมา และรู้จักเป็นพิเศษตลอดเวลาที่อยู่ด้วยกัน พบหน้ากันในคุกนี้ คุณพ่อเป็นผู้ที่มีความเคร่งครัดในศาสนา และเป็นผู้เสียสละเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นเสมอ ยึดถือพระวรสาร... ท่านสอนให้รักเพื่อนมนุษย์ของพระเยซูเจ้าอย่างเคร่งครัดทีเดียว คุณพ่อเป็นคนพูดจริงทำจริง เด็ดขาด มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เท่าที่ข้าพเจ้าได้มีประสบการณ์กับพระสงฆ์หลายๆองค์ ข้าพเจ้าเห็นว่าคุณพ่อนิโคลาสดีที่สุด เป็นผู้เสียสละเพื่อพี่น้องอย่างแท้จริง

อดทน แล้วแต่พระ พระให้เราถูกจับ เราก็ทนเอา คุณพ่อได้สอนคำสอนตั้งแต่ประวัติของอาดัมเอวาโน่น บรรพบุรุษใหญ่ๆ จนถึงพระเยซูประสูติ คุณพ่อไม่เคยเลือกที่จะทำดีต่อใคร ไม่เลือกศาสนาใด ชาติใด ท่านดีกับทุกๆ คนเหมือนกันหมด ท่านมีจิตเมตตาเพื่อนมนุษย์ทุกๆคน... ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ศรัทธา สวดภาวนาเสมอ ในคุกทำมิสซาไม่ได้ คุณพ่อก็สวดภาวนา

คุณพ่อไม่บ่นต่อความทุกข์ยาก แต่ยอมรับทุกอย่างด้วยความอดทน เพื่อเห็นแก่ความเชื่อจนกระทั่งเสียชีวิต นอกจากนี้ ท่านยังคอยเตือนและให้กำลังใจคนอื่นๆ อยู่เสมอ ท่านยังได้โปรดศีลล้างบาปให้คนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะคนใกล้ตาย"

นางชุ่มใจ ดีบัวเกี๋ยง อยู่ที่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เคยเรียนคำสอนกับคุณพ่อนิโคลาส และเป็นบุตรสาวของครูคำตั๋น ซึ่งเป็นผู้ติดตามคุณพ่อนิโคลาสไปตามที่ต่างๆ เพื่อประกาศศาสนา ได้กล่าวว่า

"เกี่ยวกับการนำเสนอคุณพ่อเป็นบุญราศี ข้าพเจ้าเห็นว่าสมควรมาก เพราะคุณพ่อเป็นพระสงฆ์ที่ดี มีใจร้อนรน ศรัทธา มีความอดทนในการทำงานประกาศศาสนา ข้าพเจ้าเคยสวดขอคุณพ่อนิโคลาส ขอให้ข้าพเจ้าหายจากอาการคันที่หน้า หลังจากที่ได้สวดแล้ว ต่อมาอาการดังกล่าวก็ดีขึ้นเป็นลำดับ และหายในที่สุด"

นายแสง ปัญโญ สัตบุรุษวัดแม่พระองค์อุปถัมภ์ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เคยเรียนคำสอนกับคุณพ่อนิโคลาส ได้กลับใจจากโปรเตสตันท์มาเป็นคาทอลิก ได้ให้การว่า

"เกี่ยวกับการนำเสนอคุณพ่อนิโคลาสเป็นบุญราศี ข้าพเจ้าเห็นด้วย เพราะท่านเป็นพระสงฆ์ที่ใจร้อนรน หายาก ท่านไม่ท้อถอยต่อความยากลำบาก ถือความซื่อสัตย์ ข้าพเจ้าเชื่อว่าเวลานี้ท่านอยู่บนสวรรค์แล้ว"

พระอัครสังฆราชยอซฟ ยวง นิตโย อดีตประมุขปกครองอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และเป็นพระสงฆ์ร่วมสมัยกับคุณพ่อนิโคลาส ให้ความเห็นว่า

"เกี่ยวกับการนำเสนอคุณพ่อนิโคลาสเป็นบุญราศี ข้าพเจ้าเห็นว่าเหมาะสม น่าจะได้เป็น เพราะท่านมีใจศรัทธา รักพระ มีความร้อนรน"

แมร์หลุยส์ รจิต กิจเจริญ อดีตเจ้าคณะแขวงภคินีคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร เคยรู้จักกับคุณพ่อนิโคลาสเพราะเป็นคนบ้านเดียวกันและเคยฟังคุณพ่อเทศน์สอน รวมทั้งเป็นผู้ช่วยจัดหาอาหารส่งให้คุณพ่อ ระหว่างที่คุณพ่อถูกคุมขังอยู่ที่คุกศาลาแดง ให้ความเห็นว่า

"เกี่ยวกับการนำเสนอคุณพ่อนิโคลาสเป็นบุญราศี ข้าพเจ้าเห็นว่าดี เพราะคุณพ่ออยู่ในสมัยมารตีร์ทั้ง 7 ของสองคอน ได้รับการเบียดเบียนศาสนาเหมือนๆ กัน ควรได้รับการแต่งตั้ง"

นายแก้ว พันธุ์สมบัติ สัตบุรุษวัดนักบุญเทเรซา โนนแก้ว เคยเรียนคำสอนกับคุณพ่อนิโคลาส ได้กล่าวว่า

"ข้าพเจ้าเคยนึกอยู่เหมือนกันว่า ถ้าคุณพ่อได้รับการเบียดเบียน คุณพ่อก็คงจะยอมสละชีวิตเพื่อยืนยันความเชื่อ"

นายประเสริฐ ศรีสุระ สัตบุรุษวัดนักบุญเทเรซา โนนแก้ว นครราชสีมา วัดซึ่งคุณพ่อนิโคลาสเคยเป็นเจ้าอาวาส ได้กล่าวว่า

"เกี่ยวกับการนำเสนอคุณพ่อนิโคลาสเป็นบุญราศี ข้าพเจ้าเห็นว่าเหมาะสม เพราะคุณพ่อเป็นคนศรัทธา มีความรักความเมตตาต่อทุกคน และเพราะท่านถูกจับและตายในคุกเนื่องจากการเบียดเบียน"

นายชาลี วาปีทะ สัตบุรุษวัดนักบุญเทเรซา โนนแก้ว นครราชสีมา วัดซึ่งคุณพ่อนิโคลาสเคยเป็นเจ้าอาวาส ได้กล่าวว่า

"ข้าพเจ้ามีความเชื่อมั่นแน่นอนว่า คุณพ่อนิโคลาสเป็นพระสงฆ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ และอยู่บนสวรรค์แล้ว เห็นว่าสมควรให้คุณพ่อเป็นบุญราศี"

ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องหมายแสดงว่า คนร่วมสมัยกับคุณพ่อ ยอมรับถึงความศักดิ์สิทธิ์ของคุณพ่อนิโคลาส รวมทั้งวีรกรรมอันน่ายกย่องของคุณพ่อนิโคลาสด้วย

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic47.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:35 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

✝️ ความเห็นจากบรรดาคริสตชนไทยในปัจจุบัน

รูปภาพ

1. จำนวนผู้ที่ลงชื่อเห็นด้วยกับการเสนอเรื่องคุณพ่อนิโคลาสให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นบุญราศี

พระสงฆ์และคริสตังเก่าๆ ในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ยังคงรู้จักและได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับคุณพ่อนิโคลาสมาเป็นเวลานานแล้ว ได้รับทราบถึงความเป็นมรณสักขีของคุณพ่อ และยึดถือคุณพ่อนิโคลาสเป็นดั่งบุญราศีองค์หนึ่ง แต่บรรดาคริสตังรุ่นหลังๆ ยังไม่ค่อยรู้จักกับประวัติและวีรกรรมของคุณพ่อมากนัก ทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จึงได้จัดพิมพ์หนังสือประวัติของคุณพ่อออกแจกจ่ายไปตามวัดต่างๆ รวมทั้งตีพิมพ์ลงในหนังสืออุดมศานต์ เกี่ยวกับเรื่องราวของคุณพ่อเพื่อให้บรรดาคริสตชนได้รู้จักมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งต้องการหยั่งเสียงดูด้วยว่า บรรดาคริสตชนเห็นด้วยกับการดำเนินเรื่องคุณพ่อนิโคลาสให้เป็นบุญราศีจำนวนมากน้อยเพียงใด ได้จัดพิมพ์หนังสือประวัติถึง 5 ครั้ง โดยพิมพ์ครั้งแรกวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 จำนวน 2,000 เล่ม , พิมพ์ครั้งที่ 2 วันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1996 จำนวน 5,000 เล่ม , พิมพ์ครั้งที่ 3 วันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1996 จำนวน 5,000 เล่ม , พิมพ์ครั้งที่ 4 วันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 จำนวน 3,000 เล่ม และพิมพ์ครั้งที่ 5 วันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 จำนวน 5,000 เล่ม นอกจากหนังสือประวัติของคุณพ่อแล้ว

ภายในเล่มยังมีบทภาวนาเพื่อขอให้การดำเนินเรื่องคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุงเป็นบุญราศี ได้สำเร็จเป็นไปตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า ซึ่งต่อมาบรรดาคริสตชนกรุงเทพฯได้สวดบทภาวนาบทนี้มากขึ้น ทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จึงได้จัดพิมพ์บทภาวนาบทนี้เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก เพราะจากการสวดภาวนาเช่นนี้ จะทำให้มั่นใจขึ้นว่าบรรดาคริสตชนยึดถือคุณพ่อเป็นบุญราศี แต่เพื่อที่จะทราบความเห็นของบรรดาคริสตชนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อการเสนอเรื่องนี้ จะทำอย่างไร? ทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จึงได้จัดพิมพ์สมุดลงชื่อแสดงค วามเห็นด้วยกับการเสนอเรื่อง หลังจากที่ได้ศึกษาถึงประวัติและมรณกรรมของคุณพ่อนิโคลาสแล้ว และได้แจกจ่ายไปตามวัดต่างๆ ทั่วอัครสังฆมณฑลเพื่อให้บรรดาคริสตชนที่ได้ศึกษาและรู้จัก

คุณพ่อนิโคลาส รวมทั้งผู้ที่ได้สวดภาวนาวอนขอพระพรผ่านทางคุณพ่อ ได้ลงชื่อสนับสนุนการดำเนินเรื่อง ผลปรากฏว่า กลุ่มคริสตชน 34 กลุ่ม ได้ลงชื่อสนับสนุนเรื่องนี้ทั้งหมด 11,486 คน

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคริสตชนจากสังฆมณฑลอื่นๆ อีก 14 กลุ่ม ที่ได้แสดงความเห็นสนับสนุนในเรื่องนี้ และได้ส่งมาให้อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ อีกจำนวน 790 คน

คริสตชนที่ลงชื่อเห็นด้วยกับการเสนอเรื่องคุณพ่อนิโคลาสให้เป็นบุญราศีนี้ ยังได้แสดงความเชื่อในเรื่องนี้ด้วยการแจ้งให้ทราบด้วยว่า พวกเขาได้สวดภาวนาวอนขอพระพรโดยผ่านทางคุณพ่อนิโคลาส และได้รับพระพรนั้นเป็นจำนวนทั้งหมด 292 คน อีกด้วย

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic48.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:35 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

✝️ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของบรรดาคริสตชน

รูปภาพ

บรรดาคริสตชนไทยจากทั่วประเทศได้ส่งจดหมายแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับการเสนอเรื่องคุณพ่อนิโคลาสเป็นบุญราศี มายังอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเหล่านี้น่าสนใจมาก เพราะแสดงให้เห็นว่ามีคริสตชนจำนวนมากที่ได้เรียนรู้ชีวิตของคุณพ่อนิโคลาส และประสงค์จะให้คุณพ่อได้รับเกียรติจากพระศาสนจักรในฐานะที่เป็นมรณสักขี เป็นพระสงฆ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นแบบอย่างแห่งความเชื่อสำห รับทุกคน โดยเฉพาะสำหรับบรรดาพระสงฆ์ จำนวนจดหมายที่ได้รับจากสังฆมณฑลต่างๆ มีดังนี้

สังฆมณฑลเชียงใหม่จำนวน 31 ฉบับ

สังฆมณฑลนครราชสีมาจำนวน 2 ฉบับ

สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานีจำนวน 2 ฉบับ

สังฆมณฑลจันทบุรีจำนวน 18 ฉบับ

อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสงจำนวน 3 ฉบับ

สังฆมณฑลนครสวรรค์จำนวน 15 ฉบับ

สังฆมณฑลราชบุรีจำนวน 5 ฉบับ

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯจำนวน 394 ฉบับ

และจากคริสตชนไทยคนหนึ่งที่อยู่สหรัฐอเมริกา 1 ฉบับ

รวมทั้งหมดจำนวน 470 ฉบับ

ทั้งหมดนี้ได้แสดงความเห็นและข้อเสนอแนะมาด้วย ขอนำความเห็นและข้อเสนอแนะที่น่าสนใจบางฉบับมาลงไว้ ณ ที่นี้ เพื่อจะทำให้เห็นถึงความหลากหลายของความคิดเห็น ซึ่งนำไปสู่ความคิดเห็นร่วมกัน

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic49.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:36 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

✝️ ความเห็นของสัตบุรุษบางท่าน

รูปภาพ

1. คุณขวัญกมล โชติรณพัสดุ อายุ 43 ปี บ้านเลขที่ 39 ถนนรัชดาภิเษก แขวงท่าพระ
เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600

มีความคิดเห็นว่า "ท่านเป็นตัวอย่างอันเลิศในการให้อภัยศัตรู และใช้หัวใจพระคริสตเจ้าทำงานในตัวท่าน ด้วยการทนรับความทุกข์ทรมานฝ่ายเนื้อหนังด้วยพิษไข้อย่างทรหดจนวาระสุดท้าย สมควรยกย่องให้ท่านเป็นบุญราศีเพื่อเป็นกำลังใจของผู้ถูกเบียดเบียน"

2. จ.ส.อ. ประเสริฐ มาลา อายุ 72 ปี บ้านเลขที่ 48 ถนนสุงประยูร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000

มีความเห็นว่า "อ่านประวัติของคุณพ่อนิโคลาสแล้ว ซาบซึ้งในชีวิตของคุณพ่อพระศาสนจักรก็มีกรรมการ ตรวจสอบประวัติของคุณพ่อหลายครั้ง เชื่อว่าควรยกย่องให้ท่านเป็นนักบุญ ภารกิจของท่านก็จบลงอย่างมั่นคงต่อพระศาสนจักร ไม่แตกต่างกับมารตีร์วัดสองคอน"

3. นายสมพงษ์ คล้ายใจ อายุ 41 ปี บ้านเลขที่ 33 หมู่ 11 ตำบลสำเภาล่ม อำเภออยุธยา จังหวัดอยุธยา 13000

มีความเห็นว่า "เคยพบเห็นจดหมายของคุณพ่อเฮนรี่ (สุนทร วิเศษรัตน์) กล่าวถึงคุณพ่อบุญเกิด กฤษบำรุง ที่อยุธยา บ้านนายทองอยู่ ทรัพย์เจริญ เคยอ่าน มีความซึ้งใจการเป็นคาทอลิก มีความกล้าหาญในความเชื่อของคุณพ่อ"

4. นางสิตา กมลยะบุตร อายุ 62 ปี บ้านเลขที่ 1028/29 หมู่ 7 ถนนเพชรเกษม แขวง
หนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพฯ 10160

มีความเห็นว่า "คุณพ่อนิโคลาสเป็นคริสตังที่แท้จริงทั้งกายและใจ รักพระมากถึงกับยอมสละความสุขส่วนตัว โดยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ด้อยโอกาสทั้งหลาย และยังช่วยให้ผู้อื่นรู้จักรักพระมหาเยซูเจ้าโดยการสอนคำสอนแก่คนที่ยังไม่รู้จักพระเป็นเจ้า และท่านไม่ยอมปฏิเสธพระ ยอมสละชีวิตเพื่อแสดงตนเป็นคริสตัง เป็นลูกของพระจนวินาทีสุดท้ายแห่งชีวิตที่ทุกข์ยาก"

5. นางวีรวงศ์ บุตรบุญ อายุ 48 ปี บ้านเลขที่ 417/62 ถนนสุขุมวิท 101/1 (หมู่บ้านทับแก้ว) แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260

มีความเห็นว่า "ขอสนับสนุนคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เป็นบุญราศี เนื่องจากท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีใจร้อนรน ไม่ย่อท้อในการทำงานให้พระ แม้จะลำบากสักเท่าไร

แม้ก่อนพลีชีพ ท่านยังเผยแพร่พระนามของพระอย่างไม่ท้อแท้เลย หาได้ยากในคนธรรมดา"

6. คุณจันทร์ฉาย กังก๋ง อายุ 45 ปี บ้านเลขที่ 1/16 หมู่ 6 ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร 74000

มีความเห็นว่า "คุณพ่อนิโคลาสเป็นพระสงฆ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ ชอบการแพร่ธรรม ยินดีพลีชีพเพื่อพระองค์ ถึงแ ม้จะป่วยก็ยังสอนคำสอนและโปรดศีลล้างบาป ขอเสนอให้เป็นบุญราศีแล้วสร้างวัดเป็นอนุสรณ์สถาน เพื่อจะได้มีผู้ไปเคารพขอพร"

7. นายอัลเบิร์ต ไทยเลิศ จุละจาริตต์ อายุ 74 ปี บ้านเลขที่ 1030/21 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

มีความเห็นว่า "คุณพ่อนิโคลาสยอมรับความทุกข์ยากสารพัดเพื่อพระราชัยของพระเป็นเจ้า จนในที่สุดได้ ยอมรับความตายในที่คุมขัง เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเรา"

8. คุณอาจิณ สมานจิต อายุ 57 ปี บ้านเลขที่ 198/173 ถนนจันทน์ แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

มีความเห็นว่า "สมควรอย่างยิ่งที่จะได้รับประกาศเป็นนักบุญ เพราะคุณพ่อสามารถช่วยวิญญาณให้รอดได้มากมาย และต้องทนทุกข์ทรมานในคุกอย่างน่าทุเรศ (บุญราศี 5 องค์ ยังทนทุกข์น้อยกว่า เพราะถูกยิงแล้วก็ตาย) ขอสนับสนุนการเป็นนักบุญของคุณพ่อด้วยจริงใจ"

9. นายสมพงษ์ คู่วิรัตน์ อายุ 70 ปี บ้านเลขที่ 419/1186 ถนนเทพารักษ์ ตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

มีความเห็นว่า "คุณพ่อเป็นผู้มีความเชื่อมั่นคงในพระศาสนา มีความอดทนเป็นอย่างยิ่ง ทั้งๆ ที่ได้รับการทรมานทั้งกายและใจ สมตามแบบอย่างของมารตีร์ที่ได้พลีชีพเพื่อรักษาความเชื่อในพระศาสนามาแล้วในอดีต"

10. เซอร์ มารีย์ แห่งพระเยซูถูกตรึงกางเขน อายุ 34 ปี บ้านเลขที่ 14 ถนนคอนแวนต์ กรุงเทพฯ

มีความเห็นว่า "การที่จะแต่งตั้งคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เป็นบุญราศีนั้น ข้าพเจ้าเห็นด้วย ขอสนับสนุน เพราะคุณพ่อได้เสียสละชีวิตตนเองเพื่อพระศาสนจักร

เมื่อได้อ่านประวัติของคุณพ่อแล้ว ข้าพเจ้ามีความเชื่อและรักพระเป็นเจ้ามากขึ้น คุณพ่อได้ช่วยให้ข้าพเจ้ามีความศรัทธา ความไว้ใจต่อพระองค์"

11. คุณบังอร แว่วสอน อายุ 32 ปี บ้านเลขที่ 45 หมู่ 2 ถนนจักกะพาก ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

มีความเห็นว่า "คุณพ่อท่านสมควรที่จะได้รับเกียรติ การยกย่อง ถึงแม้ท่านจะมรณภาพ
ในคุก แต่ท่านก็ได้ทำหน้าที่ของท่านด้วยความรักความศรัทธาที่มีต่อพระอย่างเต็มเปี่ยม แม้หนทางนั้นจะลำบาก"

12. เทเรซา อัญชลี เที่ยงจรรยา อายุ 54 ปี บ้านเลขที่ 10 ถนนท้ายบ้าน ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

มีความเห็นว่า "ดิฉันเห็นด้วยที่คุณพ่อจะได้เป็นบุญราศีเพราะคุณพ่อได้ถวายชีวิตตอบสนองพระประสงค์ของพระองค์อย่างเข้มแข็ง"

13. ฟรังซิส วิจิตร ทองสุข อายุ 59 ปี บ้านเลขที่ 253/1 ซอยราฟาแอล 12 ถนนท้ายบ้าน ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

มีความเห็นว่า "เนื่องจากผลงานที่ท่านได้ทุ่มเทด้วยความเชื่อมั่นในพระเจ้าเข้มแข็งมาก สวมบทเป็นพยานยืนยันถึงความเชื่อ ความรักต่อพระเจ้า อย่างไม่เสียดายชีวิตของตนเอง"

14. ไมเกิ้ล สุชา เตชะวณิช อายุ 64 ปี บ้านเลขที่ 70/1 ถนนสุขุมวิท 68 แขวงบางนา
เขตพระโขนง กรุงเทพฯ

มีความเห็นว่า "กระผมขอเขียนเสนอให้เชิญศพคุณพ่อขึ้นมาตั้งในที่ที่เหมาะสม เพื่อให้สัตบุรุษได้นมัสการขอพรจากท่าน"

15. นางอรพิณ มนต์มหาพรชัย อายุ 42 ปี บ้านเลขที่ 157/4 ซอยกิ่งจันทร์ ถนนจันทน์
แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ

มีความเห็นว่า "คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด (ชุนกิม) กฤษบำรุง ควรได้เป็นบุญราศีเพราะดำเนินรอยตามพระเยซูเจ้า ยอมเสียชีวิตเพื่อให้คนบาปกลับใจ และคุณพ่อมีผลงานมากมาย"

16. เซอร์มารี เอมี มิตรภาพ อายุ 30 ปี บ้านเลขที่ 12/17 หมู่ 4 ตำบลท่าข้าม อำเภอสามพรานจังหวัดนครปฐม

มีความเห็นว่า "ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับการดำเนินเรื่องแต่งตั้งคุณพ่อนิโคลาสเป็นบุญราศี เพราะคุณพ่อได้ปร ะกาศพระวาจาของพระเป็นเจ้าด้วยชีวิตจริง"

17. นางอารมณ์ ธวัชวงศ์ อายุ 63 ปี บ้านเลขที่ 73 หมู่ 2 ตำบลไม้ตรา อำเภอบางไทร จังหวัดอยุธยา

มีความเห็นว่า "คุณพ่อนิโคลาสท่านเป็นคนดีมาก มีความอดทนและมีความศรัทธา
น่าเคารพยิ่ง เป็นวีรกรรมของคุณพ่อจนสิ้นชีวิต สมควรให้ท่านเป็นบุญราศี"

18. คุณสมพงษ์ เกตุทิศ อายุ 44 ปี บ้านเลขที่ 652/3 ถนนประชานาถ ตำบลตลาด อำเภอ
พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

มีความเห็นว่า "สมควรรีบดำเนินการโดยด่วนและทำเอกสารเผยแพร่ เป็นชีวิตที่น่าเป็นแบบอย่างสำหรับทุกฝ่ายทั้งสงฆ์และฆราวาส"

19. คุณสุรณี วิรุณวงศ์ อายุ 54 ปี บ้านเลขที่ 9/18 หมู่ 3 ถนนพระรามที่ 2 แขวงบางมด
เขตจอมทอง กรุงเทพฯ

มีความเห็นว่า "คุณพ่อสมควรได้รับการประกาศให้เป็นมรณสักขี เพราะคุณพ่อรักพระและเพื่อนมนุษย์ ยอมสละชีวิตเพื่อยืนยันความเชื่อที่มั่นคงและร้อนรนต่อพระเยซูคริสตเจ้า และเพื่อความรอดของเพื่อนมนุษย์ (เมื่อมีความทุกข์และความจำเป็น ข้าพเจ้าได้สวดขอคุณพ่อช่วยวิงวอนขอพรพระเพื่อข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าก็ได้รับพระพรนั้น)"

20. นางสาวคัธริน อิสาเบล สุรินทร์ วิรุณวงศ์ อายุ 79 ปี บ้านเลขที่ 99/14 หมู่ 3 ถนน
แจ้งวัฒนะ ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

มีความเห็นว่า "คุณพ่อนับได้เป็นมรณสักขี เสียสละเพื่อพระผู้เป็นเจ้า และเพื่อความรอดของมนุษย์ ประกาศพระนามของพระเป็นเจ้าจนวาระสุดท้ายของคุณพ่อ และช่วยวิญญาณให้รอดเป็นจำนวนมาก"

21. นางจินาวรรณ มาเรีย เฮอร์แมน อายุ 35 ปี บ้านเลขที่ 900/167 หมู่ 6 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ

มีความเห็นว่า "เห็นด้วยในการสนับสนุนคุณพ่อนิโคลาสให้เป็นบุญราศี เพื่อเป็นการสนับสนุนให้สังคมเห็นความสำคัญของการทำความดี และทั้งยังเป็นตัวอย่างแก่คนไทยทั่วไปให้เห็นว่ายังมีคนไทยได้เป็นบุญราศี ไม่จำเป็นต้องเป็นต่างชาติเสมอไป รวมทั้งมนุษย์ทั่วไปและคนไทยด้วย"

22. คุณมงคล นิรันดร์พงศ์ อายุ 32 ปี บ้านเลขที่ 27/533 ถนนสุขุมวิท แขวงบางนา
เขตพระโขนง กรุงเทพฯ

มีความเห็นว่า "เห็นสมควรที่จะสถาปนาท่านให้เป็นบุญราศีแห่งประเทศไทย ควรจัดทำชีวประวัติของท่านในรูปแบบของภาพยนต์"

23. คุณนพภาภรณ์ กิจเจริญ อายุ 43 ปี บ้านเลขที่ 77/1 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา
เขตยานนาวา กรุงเทพฯ

มีความเห็นว่า "สมควรและเหมาะสมที่จะให้คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุงเป็นบุญราศี เพราะเป็นพระสงฆ์ที่สุภาพ ทำหน้าที่ได้อย่างดี เสียสละชีวิตเพื่อพระศาสนจักร ยากที่จะมีพระสงฆ์ที่เป็นตัวอย่างอย่างเดียวกับคุณพ่อนิโคลาสในประเทศไทย"

24. อันนา วิไลวรรณ เอี่ยมวิศิษฏ์ อายุ 47 ปี บ้านเลขที่ 13/13 ถนนสุนทรโกษา แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ

มีความเห็นว่า "คุณพ่อนิโคลาสสมควรที่เป็นบุญราศีเพราะคุณพ่อได้ทำหน้าที่ของคุณพ่อจนสิ้นชีวิต และไ ด้ทำงานของพระและเป็นแบบอย่างที่ดีของพระสงฆ์"

25. นายวิชัย เอี่ยมวิศิษฏ์ อายุ 53 ปี บ้านเลขที่ 13/13 ถนนสุนทรโกษา แขวงคลองเตย
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ

มีความเห็นว่า "คุณพ่อนิโคลาสสมควรที่จะยกย่องให้เป็นบุญราศี เพราะว่าท่านได้ทำงานของพระจนตัวตาย ท่านเป็นพระสงฆ์ดีเด่นที่สุดของพระศาสนจักร"

26. นายโชยหวุ่น แซ่ฮิว อายุ 85 ปี บ้านเลขที่ 534 ถนนทนุรัตน์ แขวงยานนาวา เขตยานนาวา กรุงเทพฯ

มีความเห็นว่า "สมควรที่จะแต่งตั้งให้ท่านเป็นบุญราศี เพราะท่านได้พลีชีวิตเพื่อยืนยันในความเชื่อจนนาทีสุดท้ายของชีวิต และท่านได้ซื่อสัตย์ต่อกระแสเรียกนักบวชของท่านจนวันสุดท้ายแห่งชีวิต และได้ตายอย่างนักโทษคนหนึ่ง"

27. คุณลูซี่ ศิริกาญจนะรงค์ อายุ 42 ปี บ้านเลขที่ 534 ถนนทนุรัตน์ แขวงยานนาวา
เขตยานนาวา กรุงเทพฯ

มีความเห็นว่า "เห็นสมควรอย่างยิ่งที่ขอแต่งตั้งคุณพ่อนิโคลาสเป็นบุญราศี เพราะคุณพ่อได้ตอบพระประสงค์ของพระเยซูอย่างเข้มแข็ง จากแบบฉบับแห่งความเชื่อและความจงรักภักดีต่อพระเจ้าและพระศาสนจักร ด้วยการพลีชีพในฐานะผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์จนวาระสุดท้าย"

28. คุณจำเนียร ศรีวรกุล อายุ 65 ปี บ้านเลขที่ 100/66 ถนนกรุงเทพฯ-กรีฑา เขตประเวศ
กรุงเทพฯ

มีความเห็นว่า "กระผมคิดว่าสมควรที่จะสนับสนุนคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง
เป็นบุญราศีเป็นอย่างยิ่ง ตามประวัติที่ได้อ่าน คงจะเป็นความจริงทุกอย่างเพราะสมัยก่อนผมเคยถูกกระทำมาแล้ว"

29. แบร์นาแด๊ต ฤทธิบุญไชย อายุ 47 ปี บ้านเลขที่ 6/16 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ

มีความเห็นว่า "ขอสนับสนุนให้คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เป็นบุญราศี และขอภาวนาจากท่านช่วยดลใจให้พระสงฆ์ที่เดินหลงทางได้กลับตัวเสียใหม่ (ปัจจุบันหาตัวอย่างแบบคุณพ่อนิโคลาสน้อยมาก)"

31. อักแนส บุญช่วย สังขรัตน์ อายุ 71 ปี บ้านเลขที่ 89 ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้องจังหวัดสุพรรณบุรี

มีความเห็นว่า "ขอสนับสนุนให้เป็นบุญราศี ได้สวดภาวนาโดยผ่านทางคำวิงวอนของคุณพ่อนิโคลาสเพื่อให้หายป่วย และได้หาย ซึ่งถือว่าเป็นพระพรที่ได้รับโดยผ่านทางคำวิงวอนของคุณพ่อนิโคลาส"

32. นายวีรศักดิ์ ถาวรพาณิชย์ อายุ 30 ปี บ้านเลขที่ 143 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา
เขตยานนาวา กรุงเทพฯ

มีความเห็นว่า "ที่บ้านของลูกนับถือคุณพ่อบุญเกิดอยู่ก่อนแล้ว และตัวลูกเองก็นับถือศรัทธาท่านมาก เพราะเมื่อลูกประสบปัญหาและระลึกถึงท่าน ปัญหาก็จะคลี่คลายแทบทุกครั้ง ลูกจึงขอสรรเสริญและสนับสนุนกลุ่มที่ผลักดันเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง"

33. นางอีดคิท เมเนิท บ้านเลขที่ 92 ถ. สาธร แขวงยานนาวา เขตยานนาวา กรุงเทพฯ

มีความเห็นว่า "ดิฉันขอสวดให้พระสันตะปาปาแต่งตั้งคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด ให้เป็น
นักบุญ ขอให้วิญญาณของท่านเสวยสุขอยู่ในสวรรค์ และขอให้ท่านช่วยเหลือประเทศให้ร่มเย็นเป็นสุข"

34. นางสาวสุธิรา ผังรักษ์ อายุ 40 ปี บ้านเลขที่ 35/2 หมู่ 2 ตำบลนครเนื่องเขต อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

มีความเห็นว่า "มีความศรัทธาในตัวคุณพ่อนานแล้ว และได้สวดขอท่านเสมอเมื่อต้องการความช่วยเหลือ และด้วยความเชื่อ สวดขอให้คุณพ่อได้รับการเสนอชื่อให้เป็นบุญราศีมาตลอด"

35. นายสมัคร พงษ์เพิ่มมาศ อายุ 61 ปี บ้านเลขที่ 4/422 หมู่ 4 ถนนสุขาภิบาล แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ

มีความเห็นว่า "ข้าพเจ้าขอสรรเสริญแด่คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง ผู้สละชีวิตเพื่อช่วยเหลือชาวโลกส่วนหนึ่งได้รู้จักพระเยซูคริสตเจ้า ดังนั้น จึงขอวิงวอนให้ท่านได้รับการยกย่องเป็นบุญราศีเพื่อเป็นที่พึ่งของเราตลอดไป"

36. นางยิ้ม ผ่องเกษม อายุ 69 ปี บ้านเลขที่ 41/102 หมู่ 10 ถนนพุทธมณฑลสาย 2
แขวงบางไผ่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ

มีความเห็นว่า "เห็นสมควรให้คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เป็นบุญราศี เพราะทำประโยชน์ไว้มาก ฝ่ายวิญญาณ ท่านยอมสละชีวิตเพื่อช่วยวิญญาณผู้อื่นได้รอด"

37. ยอแซฟ ศำเฮง แซ่โจว อายุ 69 ปี บ้านเลขที่ 14/19 ถนนจานกร้อง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

มีความเห็นว่า "คุณพ่อนิโคลาสเป็นผู้อุทิศกับกิจการพระศาสนจักรจนสิ้นชีวิต เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับความเชื่อของเหล่าคริสตชน สมควรอย่างยิ่งในการเสนอให้เป็นบุญราศี"

38. นายสมศักดิ์ คูหาจิต อายุ 46 ปี บ้านเลขที่ 202 ถนนวิสุทธิกษัตริย์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

มีความเห็นว่า "เห็นสมควรได้รับการยกย่องเป็นบุญราศี ผู้มีจิตใจเข้มแข็งอดทน เสียสละ รักพระ เดินตา มแบบฉบับของพระเยซู (แม้ตัวจะตายโดยไม่มีความผิด) ขอสนับสนุนให้ได้รับการสถาปนาเป็นบุญราศีด้วยความเต็มใจและสัมฤทธิ์ผลด้วยเถิด"

39. นางพนิดา กุรุพิณพาณิชย์ (กฤษบำรุง) อายุ 30 ปี บ้านพักผู้พิพากษาศาลจังหวัด
ปราจีนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี

มีความเห็นว่า "พวกเราเป็นหลานของคุณพ่อ แน่ใจมานานแล้วว่าคุณพ่อนิโคลาสคงจะได้รับแต่งตั้งเป็นนักบุญในที่สุด"

40. คุณนเรศ สุภาพิชัย อายุ 28 ปี บ้านเลขที่ 9/7 ถนนจารุวร ตำบลพนัสนิคม อำเภอพนัสนิคมจังหวัดชลบุรี

มีความเห็นว่า "ด้วยแบบอย่างความกล้าหาญที่ยืนยันความเชื่อด้วยชีวิต และนำความรอดไปสู่เพื่อนมนุษย์นี้ ในสังคมปัจจุบันต้องการแบบอย่างเช่นท่านนี้ จึงสมควรแต่งตั้งท่านเป็นบุญราศี”

41. ยอแซฟ สมยศ ศรีสดใส อายุ 55 ปี บ้านเลขที่ 505/38 นย. ค่ายกรมหลวงชุมพร ถนนจรดลศึกษา 27/2 ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

มีความเห็นว่า "สมควรอย่างยิ่งแล้วที่เสนอให้คุณพ่อเป็นบุญราศี เพื่อประกาศยืนยันถึงความเชื่อ ความจงรักภักดีของคุณพ่อต่อพระเยซูคริสตเจ้า ต่อพระศาสนจักร ด้วยการพลีชีพในฐานะผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ จนวาระสุดท้ายของชีวิตของท่าน ฯลฯ"

42. นายสายัณห์ โลกวิทย์ อายุ 26 ปี บ้านเลขที่ 68/2 หมู่ 6 ตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

มีความเห็นว่า "เห็นด้วยที่จะให้คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด เป็นบุญราศี เพราะท่านตายเพราะความเชื่อจริงๆ และเป็นตัวอย่างที่ดีในด้านความเชื่อ แม้ในยามถูกผจญ"

43. คุณสุปรียา เลาหบุตร อายุ 23 ปี บ้านเลขที่ 189/33 ถนนช้างคลาน ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

มีความเห็นว่า "ขอสนับสนุนเพราะคุณพ่อเป็นตัวอย่างที่ดี อดทนและที่น่ายกย่องคือได้สวดภาวนาเพื่อคนที่กล่าวร้ายให้คุณพ่อต้องถูกจำคุก และคุณพ่อยังได้ทำหน้าที่ของท่านจนถึงวินาทีสุดท้ายคือ ทำให้ลูกแกะที่หลงไปได้กลับมาจำนวนมาก"

44. นางสาวปิยะพร ดีคู อายุ 22 ปี บ้านเลขที่ 35 หมู่ 9 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

มีความเห็นว่า "ดิฉันเห็นด้วยกับท่านที่จะแต่งตั้งคุณพ่อนิโคลาสให้เป็นบุญราศี เพราะว่าคุณพ่อได้เดินตา มน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้าด้วยการพลีตัวเองทั้งครบถวายแด่พระเป็นเจ้าเป็นเครื่องบูชา"

45. คุณผ่องศรี ไชยลังการณ์ อายุ 59 ปี บ้านเลขที่ 1/2 ซอย 12 ถนนเจริญประเทศ ตำบล
ช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

มีความเห็นว่า "สมควรอย่างยิ่งที่จะแต่งตั้งท่านให้เป็นบุญราศี เพราะว่าท่านได้เผยแพร่ธรรมไปทั่วทุกแห่งจนกระทั่งยอมตายในคุกเพื่อพระศาสนา"

46. คุณศักดิ์สิทธิ์ มีทรัพย์กร่าง อายุ 21 ปี บ้านเลขที่ 100 หมู่ 2 ถนนมหิดล ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

มีความเห็นว่า "คุณพ่อนิโคลาสเป็นคนทำงานเพื่อมวลมนุษย์อย่างจริงจังถึงกับยอมเสียชีวิต น่ายกย่องให้เป็นนักบุญของโลก"

47. ไมเกิ้ล สุชา เตชะวณิช , ไมเกิ้ล มรุต เตชะวณิช , เดวิด พชระ เตชะวณิช , เมรี อนงค์นารถ
เตชะวณิช , มาเรีย เทเรซา นพรัตน์ เตชะวณิช , แบรนาแด็ต อรวัส เตชะวณิช บ้านเลขที่ 70/1 ถนนสุขุมวิท แขวงบางนา เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260

มีความเห็นว่า "คุณพ่อยอมตายเพื่อพระผู้เป็นเจ้า เพื่อศาสนา เป็นมารตีร์ สมควรอย่างยิ่งที่เป็นนักบุญ"

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic50.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:36 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

✉️ จดหมายรายงานผลที่ได้รับจากการสวดภาวนา

รูปภาพ

การสวดภาวนาขอพรจากพระเป็นเจ้าผ่านทางคำเสนอวิงวอนของคุณพ่อนิโคลาส ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่บรรดาคริสตชนแสดงความเชื่อว่าคุณพ่อนิโคลาสเป็นมรณสักขีและเป็นบุญราศี และเวลานี้อยู่บนสวรรค์ จากจดหมายหลายฉบับที่เราได้รับแจ้งผลของคำภาวนาเหล่านี้ ทำให้เรามั่นใจว่าคริสตชนมากมายได้รับผลของคำภาวนา หลายคนได้แต่เล่าให้ฟังถึงผลที่ได้รับ แต่มิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร หลายคนได้แต่ขอบคุณคุณพ่อนิโคลาสโดยการขอมิสซาโมทนาคุณคุณพ่อนิโคลาส เท่านี้ก็ทำให้เราตระหนักได้แน่ว่าบรรดาสัตบุรุษคริสตังยึดถือคุณพ่อนิโคลาสเป็นมรณสักขี และต่างก็ประสงค์ให้คุณพ่อได้รับเกียรติเป็นมรณสักขี พวกเขายึดถือคุณพ่อเป็นแบบอย่างแห่งความเชื่อที่มีชีวิต และเป็นที่พึ่งอีกทางหนึ่งของคริสตชน เราจะสรุปการภาวนาวอนขอและพระพรที่ได้รับเพียงบางประการดังนี้

1. มารีอา บุญมา รังสิยะโรจน์ บ้านเลขที่ 170 ซอยสามภพนฤมิต สุขุมวิท 62 กรุงเทพฯ

เขียนเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 ว่าดังนี้

"ดิฉันเป็นผู้หหนึ่งที่ได้อ่านประวัติของคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง แล้วรู้สึกว่าท่านเป็นพระสงฆ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ และเปี่ยมด้วยความเชื่อ ความศรัทธา ยอมพลีชีพเพื่อยั่งยืนความเชื่อจนวาระสุดท้าย ดิฉันได้สวดขอพระผู้เป็นเจ้าโปรดประทานพระพรผ่านทางคุณพ่อ

โดยขอให้พี่สาวของดิฉันซึ่งป่วยมาก มีอาการดีขึ้นและขอให้มีสุขภาพแข็งแรงขึ้น ซึ่งก็รู้สึกว่าได้รับพระพรตามคำขอ มีหลายครั้งที่ขอความช่วยเหลือจากคุณพ่อ ก็ได้รับพระพรอยู่เสมอ ดิฉันเห็นสมควรที่พระศาสนจักรจะประกาศรับรองความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน"

2.คุณสมสมัย เหลืองศศิพงษ์ บ้านเลขที่ 12 หมู่ 1 ตำบลท่าข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เขียนเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 ว่าดังนี้

"ประมาณปลายเดือนมกราคม ค.ศ. 1996 บิดาของข้าพเจ้าชื่อนายขี่เฮี้ยง แซ่อึ้ง อายุ 85 ปี ซึ่งป่วยเป็นโร คปอดอยู่แล้ว เกิดหายใจลำบากและเหนื่อยมาก ร่างกายไม่แข็งแรง อยู่ในอาการน่าเป็นห่วงอย่างมาก ลูกๆ จึงได้นำส่งโรงพยาบาลสนามจันทน์ จังหวัดนครปฐม แพทย์ต้องให้น้ำเกลือและออกซิเจน ลูกทุกคนเป็นห่วงมาก เพราะบิดาไม่เคยมีอาการหนักเท่านี้ แม้ท่านจะอายุมากแล้วก็ตาม ดิฉันได้ระลึกถึงคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด จึงวอนขอพระเมตตาจากพระเป็นเจ้าโดยผ่านทางคุณพ่อ และสัญญาว่าจะประกาศพระพรที่ได้รับนี้ไปยังผู้รับผิดชอบในการรวบรวมข้อ มูล เพื่อขอแต่งตั้งท่านเป็นนักบุญต่อไป บิดาข้าพเจ้าอยู่โรงพยาบาลประมาณ 5 วัน อาการดีขึ้นมาเป็นลำดับ ทั้งที่ในเบื้องแรก ลูกๆ เป็นทุกข์ใจอย่างมาก ข้าพเจ้ามีความเชื่อมั่นว่าบิดาของข้าพเจ้าหายได้ก็เพราะการวอนขอโดยผ่านทางคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง ดังนั้น ขอพระเป็นเจ้าโปรดให้พระศาสนจักรได้ประกาศรับรองคุณพ่อเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ ต่อหน้าประชากรทั้งมวลด้วยเทอญ"

3. นายเกษม ทรัพย์เจริญ บ้านเลขที่ 89 ซอยมิตรคาม ถนนสามเสน 11 แขวงวชิรพยาบาลเขตดุสิต กรุงเทพฯ เขียนเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1991 ว่าดังนี้

"ได้พบบทภาวนาและสวดขอคุณพ่อนิโคลาสสำหรับงานชิ้นหนึ่งซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ที่จะสำเร็จ แต่ก็สำเร็จอย่างแปลกประหลาด เชื่อมั่นว่านี่เป็นอัศจรรย์สำหรับตัวผมที่มาจากคำวิงวอนของคุณพ่อนิโคลาส"

4. นางเล็ก สุทธิจิต อายุ 80 ปี สัตบุรุษวัดดวงหทัยนิรมลของแม่พระ ปากลัด จังหวัดสมุทรปราการ เขียนจดหมายลงวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1995 ให้คุณพ่อเจ้าวัด เล่าว่า

"ดิฉันได้ป่วยเมื่อปีที่แล้ว (1994) ได้เข้าโรงพยาบาลรักษาตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1994 ด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองตีบ มีอาการมือเท้าชา ไม่ค่อยมีแรง คุณหมอบอกว่าการรักษาลำบากมาก ไม่สามารถรักษาใ ห้หายขาดได้ เพียงแต่รักษาไม่ให้มีเส้นโลหิตตีบมากขึ้นด้วยการรักษาไปเรื่อยๆ ดิฉันก็เข้ารับการรักษาตามที่หมอนัดทุกครั้ง

และเมื่อคุณพ่อเจ้าวัดได้นำบทสวดของคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เพื่อขอเป็นบุญราศี ดิฉันก็ได้เริ่มสวดตั้งแต่นั้นมา พร้อมกับสวดสายประคำ 10 เม็ด ควบคู่ไปด้วย เพื่อวอนขอให้ท่านได้รับการประกาศเป็นบุญราศีโดยเร็วและในปีนี้ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1995 ดิฉันได้ไปพบคุณหมอเป็นครั้งสุดท้าย

เพราะคุณหมอได้บอกว่าดิฉันหายดีแล้ว ตัวคุณหมอเองก็ยังแปลกใจว่าดิฉันหายขาดจากโรคเส้นโลหิตในสมองตีบได้อย่างไร และลูกสาวของดิฉันเองก็ยังไม่เชื่อว่าดิฉันนั้นหายดีแล้ว จึงได้พาดิฉันไปเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่สมองอีกครั้ง ผลเอ็กซเรย์ก็ได้ยืนยันว่าดิฉันได้หายจากโรคเรียบร้อยแล้ว โดยคุณหมอได้นำฟิล์มเอ็กซเรย์เมื่อปีที่แล้ว และปีนี้มาเปรียบเทียบกันด้วย เพื่อเป็นการยืนยันว่าดิฉันได้หายจากโรคเส้นโลหิตในมองตีบจริง คุณหมอจึงได้ออกใบรับรองแพทย์ให้ไว้เป็นหลักฐานด้วย

ดิฉันจึงขอโมทนาคุณพระ โดยผ่านคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง และจะยังคงสวดภาวนาต่อๆ ไปอีก"

ใบความเห็นของแพทย์ เขียนที่ คลีนิคแพทย์พิจิตต์ วันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1995

“ข้าพเจ้านายแพทย์พิจิตต์ กนกเวชยันต์ แพทย์ปริญญา ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมเลขที่ 10968 ได้ทำการตรวจรักษา นางเล็ก สุทธิจิต เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1995 มีอาการแขนขาด้านซ้ายอ่อนแรง ความดันโลหิตสูง วินิจฉัยโรคว่า เส้นโลหิตในสมองตีบตันจากความดันโลหิตสูง มีความเห็นว่า ได้รับการรักษา ขณะนี้อาการกลับเป็นปกติแล้ว"

5. ฟรังซิส บุญรักษ์ พันนาคำ บ้านเลขที่ 370/8 ตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เขียนวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1997 เล่าว่า

"ผมเจ็บที่หัวไหล่ซ้ายเมื่อ 2 ปีก่อน ผมสวดขอให้ท่านทำอัศจรรย์ ช่วยรักษา เพราะผมเชื่อว่าคนของพระเจ้าเมื่อตายไปแล้ว เขาต้องช่วยคนยังเป็นอยู่ได้ เหมือนพระเยซูคริสต์ช่วยคนทั่วโลกในเวลาเดียวกัน แล้วหัวไหล่ของผมก็หายเจ็บ ยกแขนได้

ปีกลายนี้ ผมเริ่มเจ็บที่หัวเหน่า เป็นถุงพอง แล้วแตกตามธรรมชาติ 2 ครั้ง ผมไม่อยากผ่าตัด จึงขอพระเยซูช่วยผ่าตัดให้ ผมสวดขอคุณพ่อนิโคลาสด้วย ก็บรรเทาเรื่อยมา บางวันมันเจ็บมาก แต่ผมได้ยอมตายเองโดยไม่ผ่าตัดเพราะกลัว ผมสวดขอพระเจ้าและคุณพ่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วย ขณะนี้ก็บรรเทา แต่ยังเจ็บบ้าง หมอบอกว่าเดินมาก ไขข้อละลาย"

จดหมายที่รายงานผลของคำภาวนาเหล่านี้มีทั้งหมด 57 ฉบับ วอนขอคำภาวนาขอความช่วยเหลือผ่านทางคุณพ่อนิโคลาสโดยมีจุดประสงค์แตกต่างกันไป แต่ทั้งหมดนี้ย่อมเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าบรรดาสัตบุรุษต่างมีความเชื่อมั่นในความศักดิ์สิทธิ์ และมรณสักขีของคุณพ่อนิโคลาสและเป็นที่รู้จักของคริสตังทั่วไป จดหมายเหล่านี้เขียนมาจากจังหวัดต่างๆ ในประเทศ

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic51.html
Arttise
โพสต์: 808
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 5:37 pm

😇 นักบุญ - นักโทษ (2) ⛓

🇻🇦 จากความเห็นชอบของพระศาสนจักรในปัจจุบัน

รูปภาพ

1.รายงานเกี่ยวกับความเป็นมรณสักขีของคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง โดย พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู พระอัครสังฆราชแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

1. ข้าพเจ้าเกิดและเป็นสัตบุรุษวัดนักบุญเปโตร สามพราน อันเป็นบ้านเกิดของคุณพ่อ
นิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เมื่อครั้งข้าพเจ้าเป็นเด็ก ข้าพเจ้าได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับงานแพร่ธรรมทางภาคเหนือของคุณพ่อนิโคลาส จากคริสตังบ้านเดียวกัน (ค.ศ. 1930-1940)

2. ต่อมา เมื่อข้าพเจ้าเข้าเป็นเณร ทั้งบ้านเณรบางนกแขวก และบ้านเณรศรีราชา รวมทั้งบ้านเณรปรอปากันดา ฟีเด กรุงโรม (ค.ศ. 1940-1959) ก็ยังคงได้ทราบเรื่องราวของคุณพ่อนิโคลาส เป็นต้น ถูกจำคุกในระหว่างการเบียดเบียนศาสนา

3. ครั้นเมื่อบวชเป็นพระสงฆ์ในปี ค.ศ. 1959 แล้ว ข้าพเจ้าก็ได้รับฟังและรับทราบจากบรรดาเพื่อนพระสงฆ์ เกี่ยวกับวีรกรรมของคุณพ่อนิโคลาส และงานแพร่ธรรมของคุณพ่อภายในคุก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายกย่องเชิดชูอย่างยิ่ง เพราะงานแพร่ธรรมของท่านในคุกนั้น ก่อให้เกิดการกลับใจจำนวนหนึ่ง

4. ข้าพเจ้าได้รับการอภิเษกเป็นพระอัครสังฆราชปกครอง แห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ตั้งปี ค.ศ. 1973 เป็นต้นมา มีความเห็นและความปรารถนาเสมอมาในอันที่จะดำเนินเรื่องให้พระศาสนจักรยกย่องวี รกรรมของคุณพ่อนิโคลาส เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งความเชื่อที่ยังมีชีวิตในพระศาสนจักรท้องถิ่น อีกทั้งจะเป็นแบบอย่างที่ดีแห่งความเชื่อ และงานประกาศพระวรสารของบรรดาพระสงฆ์ ดังนั้น เมื่อข้าพเจ้าร่วมความชื่นชมยินดีในการประกาศบุญราศีทั้ง 7 แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1989 ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม ภายใต้การดำเนินเรื่องของอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง แล้ว ความปรารถนาที่ จะเสนอเรื่องของคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เป็นบุญราศี ก็ได้รับการดลใจมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มพระเกียรติมงคลแด่พระเป็นเจ้า และเพื่อผลดีทางจิตใจของบรรดาคริสตชนในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ดังนั้น ด้วยความร่วมมือร่วมใจของบรรดาพระสงฆ์ในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าได้นำเรื่องนี้เสนอในที่ประชุมสภาพระสังฆราชแห่งประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 19-22 กันยายน
ค.ศ. 1994 และมีมติเห็นสมควรให้ดำเนินงานเรื่องนี้ในนามของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ตามขั้นตอนและกระบวนการของสมณกระทรวงว่าด้วยเรื่องนักบุญต่อไป

ผู้รายงาน

(พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู)

อัครสังฆราชแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic52.html
ตอบกลับโพส