LOCALRY: ‘ซอยคอนแวนต์’ ถนนสายศรัทธา ของคริสต์ศาสนา 2 นิกายในย่านสาทร

ถาม-ตอบพระคัมภีร์ เรื่องเสริมศรัทธา ความรู้ และสาระ บทความ ในคริสตศาสนา
ตอบกลับโพส
Arttise
โพสต์: 877
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

อาทิตย์ เม.ย. 21, 2024 7:48 pm

LOCALRY: ‘ซอยคอนแวนต์’ ถนนสายศรัทธา
ของคริสต์ศาสนา 2 นิกายในย่านสาทร

รูปภาพ

.
ขอสองรูปนี้อยู่ในเฟรมเดียวกัน
แล้วมีป้ายซอยคอนแวนต์อยู่ตรงกลางครับรูปป้ายหาในเน็ตได้โลย
0.546 กิโลเมตร คือขนาดความยาวของถนนคอนแวนต์ ถนนที่ไม่เคยราร้างผู้คนเพราะรอบข้างมีร้านอาหารและตึกสำนักงานขนาดใหญ่หลายแห่งตั้งอยู่ ทั้งยังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเอกชนคาทอลิกสตรีขนาดใหญ่อย่าง ‘โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์’ จึงทำให้หลายคนเรียกถนนเส้นนี้ว่า ถนนคอนแวนต์หรือซอยคอนแวนต์ ซึ่งซอยนี้ถือเป็นหนึ่งในซอยที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร
.
ประวัติของซอยคอนแวนต์หรือถนนคอนแวนต์ สามารถย้อนกลับไปได้ถึงปี พ.ศ. 2434 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการตัดถนนเส้นนี้ขึ้น เพื่อเชื่อมถนนสาทรเหนือกับถนนสีลมเข้าด้วยกัน ก่อนจะตั้งชื่อถนนดังกล่าวว่า‘ถนนสุรศักดิ์’ แต่ต่อมา เมื่อคณะนักบวชหญิงคาทอลิกอย่าง ‘คณะภคินีเซนต์ปอล เดอชาร์ตร’ (Soeurs De Saint Paul De Chartres) ได้ก่อตั้งเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ขึ้นบนพื้นที่ถนนแห่งนี้ ชื่อ ‘ถนนสุรศักดิ์’ ก็ค่อยๆ หายไป ก่อนจะถูกกลืนด้วยชื่อถนนคอนแวนต์ในที่สุด
.
ปัจจุบัน นอกจากที่นี่จะเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์แล้ว ถนนคอนแวนต์ยังกลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักกินทั่วโลก ในฐานะศูนย์กลางด้านสตรีทฟู้ดของย่านสีลม-สาทร จากการมีร้านรวงมากมายที่จับใจทั้งคนไทยและคนต่างชาติ ทำให้ถนนเส้นนี้เป็นถนนที่ไม่เคยหลับใหลทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
.
แต่เชื่อหรือไม่ว่า นอกจากจะเป็นศูนย์กลางด้านอาหาร อีกบทบาทหนึ่งของถนนเส้นนี้ ก็คือการเป็นถนนสายศรัทธาของคริสต์ศาสนา 2 นิกายอย่าง ‘นิกายโรมันคาทอลิก’ จากการเป็นที่ตั้งของอารามคาร์แมล และ ‘นิกายแองกลิกัน’ ด้วยการเป็นที่ตั้งของคริสตจักรไครสต์เชิร์ชแห่งประเทศไทย
.
วันนี้ Brandthink จึงอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จัก 2 สถานที่นี้ในฐานะตัวแทนของความเชื่อต่างนิกาย ที่อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขบนถนนเส้นเดียวกัน
.
[ อารามคาร์แมล ชีลับผู้ถวายชีวิตแด่พระคริสตเจ้าในเงามืด ]
.
กำแพงสีขาวที่ทอดตัวยาวคู่ขนานไปกับพื้นที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ เป็นที่ตั้งของ ‘อารามคาร์แมล’ หรือในอีกชื่อหนึ่ง เรียกว่า ‘อารามชีลับ’ อารามแห่งนี้เป็นอารามของนักบวชหญิงในคณะคาร์เมไลท์ ที่มีจุดเด่นอยู่ที่การใช้ชีวิตตัดขาดจากโลกภายนอก และอาศัยอยู่เฉพาะในเขตของอารามของตนเพื่อพากเพียรภาวนาต่อพระผู้เป็นเจ้า นั่นทำให้นักบวชหญิงกลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่า ‘ชีลับ’
.
คณะคาร์เมไลท์ มีชือเรียกแบบเต็มยศว่า คณะภราดาพระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์เมล (Ordo Fratrum Beatissimae Mariae Virginis de Monte Carmelo) โดยถือเป็นหนึ่งในคณะนักบวชที่เก่าแก่ที่สุดของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ที่สามารถย้อนประวัติกลับไปได้ถึงสมัยศตวรรษที่ 12 ที่หลังจากทหารครูเสดกำชัยชนะเหนือดินแดนปาเลสไตน์ของมุสลิม ก็มีนักพรตเพศชายกลุ่มหนึ่งได้พากันขึ้นไปบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่บนเขาคาร์แมล อันถือเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ในสายธารประวัติศาสตร์ของศาสนาคริสต์และยูดาห์ ทั้งยังเป็นภูเขาที่เชื่อกันว่า พระแม่มารีย์เคยปรากฏกายที่นี่แก่นักบุญองค์หนึ่ง ภูเขาคาร์แมลจึงถูกนำมาตั้งเป็นชื่อคณะว่า ‘คาร์เมไลท์’
.
นักพรตคาร์เมไลท์ จะมีจุดเด่นอยู่ข้อหนึ่ง คือพวกเขาจะละทิ้งวัตถุทางโลก ถือศีลภาวนาอย่างเคร่งครัดโดยไม่พบปะผู้คนภายนอก ซึ่งวัตรปฏิบัติเช่นนี้ ทำให้นักพรตของคณะมักจะถูกมองว่าเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ และมีผู้คนจำนวนมากเข้ามาถือพรตพรหมจรรย์ตามแนวทางนี้ หนึ่งในนั้นก็คือสตรีที่ต้องการแสวงหาชีวิตอันสงบสุขเช่นเดียวกันกับผู้ชาย ทำให้ในศตวรรษที่ 13-14 มีสตรีกลุ่มหนึ่งได้ก่อตั้ง ‘คณะภคินีคาร์เมไลท์’ ขึ้น โดยมีแนวทางการใช้ชีวิตตามแบบนักพรตเพศชายที่เน้นวัตรการอธิษฐานตัดขาดจากโลกภายนอก ซึ่งคณะภคินีนี้ก็ได้กระแสตอบรับจากสตรีทั่วยุโรป ก่อนจะขยายไปยังส่วนต่างๆ ทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ที่มีอารามคาร์แมลในซอยคอนแวนต์แห่งนี้เป็นอารามศูนย์กลาง
.
สำหรับคณะภคินีคาร์เมไลท์ในประเทศไทยนั้น ถือกำเนิดขึ้นในปี 2468 หลังจากที่‘พระสังฆราช เรอเน แปร์รอส’ (René Marie Josep Perros) ประมุขแห่งสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และผู้นำของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในสยามสมัยนั้น ได้เดินทางไปเยี่ยมอารามของคณะคาร์เมไลท์ ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ที่ตอนนั้นถือเป็นประเทศที่ศาสนาคริสต์เฟื่องฟูมากจากการตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ซึ่งพระสังฆราชเรอเน แปร์รอส ที่ได้เห็นวัตรปฏิบัติอันงดงามของคณะนี้ ก็มีดำริให้มีคณะนักบวชหญิงดังกล่าวในไทย จึงเชื้อเชิญให้ซิสเตอร์ท่านหนึ่งที่ชื่อว่า ‘คุณแม่แอนน์ แห่งพระเยซู-มาเรีย’ มาก่อตั้งคณะนี้ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งท่านตอบรับคำเชิญดังกล่าว พร้อมกับนำซิสเตอร์อีก 12 ท่าน นั่งเรือข้ามน้ำข้ามทะเลจากกัมพูชามาที่กรุงเทพฯ ในปี2456 และตัดสินใจก่อตั้งอารามคาร์แมลขึ้นที่ถนนคอนแวนต์ กรุงเทพฯ โดยเปิดใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2468 นั่นทำให้ในปัจจุบัน อารามแห่งนี้มีอายุเกือบครบ 100 ปีแล้ว
.
และแม้จะเป็นอารามของชีลับ แต่อารามดังกล่าวก็เปิดโอกาสให้ผู้มีจิตศรัทธาสามารถเข้าไปนั่งสวดภาวนาภายในวัดน้อยของอารามได้โดยอิสระ ทำให้อารามแห่งนี้ถือเป็นหนึ่งในศาสนสถานที่ศาสนิกชนคาทอลิกทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร เข้ามาใช้บริการมากที่สุดแห่งหนึ่ง ด้วยการเดินทางที่สะดวก อย่างการอยู่ห่างจาก BTS ศาลาแดงไม่กี่ร้อยก้าว รวมไปถึงความโอบอ้อมอารีของนักบวชหญิงคณะนี้ ทำให้ทุกคนที่เข้าไปในเขตอารามรู้สึกเสมือนว่าได้รับการต้อนรับอย่างดีจากพระผู้เป็นเจ้า
.
[ คริสตจักรไครสต์เชิร์ช…จากเฮนรีที่ 8 ถึงไทยในย่านสาทร ]
.
ไม่ไกลนักจากอารามคาร์แมล ประมาณ 300 เมตร เป็นที่ตั้งของโบสถ์ขนาดใหญ่สไตล์อังกฤษที่มองเผินๆ แล้วอาจคล้ายกับโบสถ์คาทอลิกทั่วไป ทว่าโบสถ์แห่งนี้กลับเป็นโบสถ์ใน ‘นิกายแองกลิกัน’ หรือ ‘Church of England’ ที่เคยมีประวัติขัดแย้งกับนิกายโรมันคาทอลิก ความขัดแย้งนี้สามารถย้อนกลับไปใน ค.ศ. 1534 กษัตริย์ของอังกฤษในสมัยนั้นอย่าง ‘พระเจ้าเฮนรีที่ 8’ ต้องการหย่ากับภรรยาและไปแต่งงานใหม่พระองค์จึงส่งเรื่องนี้ไปขออนุญาตกับพระสันตะปาปา ผู้นำของพระศาสนจักรคาทอลิกในกรุงโรม ทว่าพระสันตะปาปาที่มองว่าการแต่งงานเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ที่จะเกิดได้แค่ครั้งเดียวของชีวิตเท่านั้น ก็ได้ตอบปฏิเสธพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ไป ทำให้พระองค์ไม่พอใจอย่างมาก จนประกาศก่อตั้งนิกายใหม่ชื่อว่า แองกลิกัน และสถาปนาตนเองเป็นประมุขของนิกายแทน
.
สำหรับประเทศไทยนั้น นิกายแองกลิกันถูกนำเข้ามาเผยแผ่อย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยในปี 2407 มีการสร้างโบสถ์ที่เรียกว่า ‘Protestant Union Chapel’ ขึ้นบริเวณริมฝั่งแม่น้ําเจ้าพระยา ที่ในปัจจุบันนี้อยู่ในบริเวณท่าเรือกรุงเทพฯ ซึ่งการเข้ามาเผยแผ่นี้ก็ได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากทั้งชาวไทยและต่างชาติในสยามจำนวนมากจนทำให้มีคนเข้ารีตมาเป็นแองกลิกันอยู่ไม่น้อย ทำให้คริสตจักรเดิมไม่สามารถรองรับผู้คนได้เพียงพออีกต่อไป
.
ทำให้ในปี 2447 คณะกรรมการคริสตจักรได้ถวายฎีกาแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ในการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเพื่อที่จะสร้างคริสตจักรใหม่ขึ้น ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานที่ดินบริเวณ ถนนคอนแวนต์ เพื่อสร้างเป็นคริสตจักรแห่งใหม่ที่มีชื่อว่า ‘คริสตจักรไคร้สตเชิช’
.
โดยคริสตจักรแห่งนี้ ถูกสร้างให้เป็นอาคารทรงปราสาทแบบอังกฤษ ด้านหน้าเป็นหอคอยสูงเชื่อมกับตัวโบสถ์ ภายในประดับประดาด้วยกระจกสีรูปพระเยซูและนักบุญองค์ต่างๆ อีกทั้งภายในยังเก็บรักษาพัดลมเพดานที่ได้รับ พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยตัวใบพัดทำจากไม้สัก และดุมพัดลมประทับพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. ไว้
.
ในระยะแรกคริสตจักรแห่งนี้เปิดใช้สำหรับคนต่างชาติที่พูดภาษาอังกฤษเท่านั้น ก่อนที่ต่อมาจะเปิดให้เป็นที่นมัสการสำหรับบุคคลทั่วไป และครั้งหนึ่งคริสตจักรแห่งนี้ได้สร้างตำนานให้กับประเทศ ด้วยการเป็นสถานที่รองรับ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ผู้เป็นประมุขของนิกายแองกลิกัน กับเจ้าฟ้าชายชาร์ลส เจ้าหญิงไดอานา และมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ทำให้นับแต่นั้นเป็นต้นมา คริสตจักรแห่งนี้จึงถือเป็นคริสตจักรศูนย์กลางของนิกายแองกลิกันในไทยไปโดยปริยาย
.
จากอารามคาร์แมลถึงคริสตจักรไคร้สต้เชิช สะท้อนให้เราเห็นถึงเอกภาพทางศาสนาที่แตกต่างกันระหว่าง 2 นิกายที่บังเอิญมาอยู่ใกล้กันไม่ถึง 300 เมตร แม้ครั้งหนึ่ง 2 นิกายนี้จะเคยขัดแย้งกัน แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนผ่าน ผู้คนก็ได้เรียนรู้เรื่องสันติภาพ จนทำให้พวกเขานำศาสนามาเป็นเครื่องมือสร้างสันติสุข และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติในที่สุด

#Localry #ซอยคอนแวนต์ #คริสต์ศาสนา
#สาธร #ศาสนา #คริสต์
#BrandThink #CreativeChange #Empowering
#Diversity #PositiveImpact

CR. : BrandThink
https://www.facebook.com/share/p/PEBcMi ... tid=WC7FNe

⛪ อารามคาร์แมล กรุงเทพฯ
🏠 ที่อยู่
14 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10500

📍 Google Maps
https://maps.app.goo.gl/LoKbmdRJUkBjUyPT6?g_st=ic

📞 เบอร์โทร
02-233-6056

💙 เฟสบุ๊ก
https://www.facebook.com/carmel.silom.5?mibextid=YMEMSu

🗓️ ตารางมิสซา
🟥 วันอาทิตย์ เวลา 07:00 น. / 17:00 น. อวยพรศีลมหาสนิท
🟪 วันเสาร์ เวลา 06:00 น.
🟨 วันจันทร์ - 🟦 วันศุกร์ เวลา 06:00 น.

อารามคาร์แมล กรุงเทพฯ เปิดให้สวดภาวนาตลอด เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 06:00 น. - 18:00 น. เดินไปรอหน้าประตูเล็กที่มีป้ายสีแดงเลข 14 ข้างบนประตู และมีป้ายอารามคาร์แมล อยู่ข้างประตู กดกริ่ง แล้วรอให้มีคนมาเปิด (อาจจะรอสักพัก เพราะกว่าจะมีคนในอารามเดินมา)

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

⛪ คริสตจักรไครสต์เชิร์ช กรุงเทพ
🏠 ที่อยู่
11 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10500

📍 Google Maps
https://maps.app.goo.gl/CQVkEjRUP166C27m8?g_st=ic

📞 เบอร์โทร
02-235-4000 , 02-632-0681 กด 17 , 02-234-3634

📧 อีเมล์
christchurchthai@gmail.com , administrator@christchurchbangkok.org , secretary_ccbk@ccbthai.org

🖥️ เว็บไซต์ (ภาษาไทย)
http://www.ccbthai.org/home.php

🖥️ เว็บไซต์ (English)
https://www.christchurchbangkok.org

👍 เพจ (ภาษาไทย)
https://www.facebook.com/ChristChurchBK ... tid=YMEMSu

👍 เพจ (English)
https://www.facebook.com/christchurchbk ... tid=YMEMSu

📹 YouTube (ภาษาไทย)
https://youtube.com/@christchurchbangko ... a5bl52VGIK

📹 YouTube (English)
https://youtube.com/@christchurchbangko ... HpUqkq9Ugj

🗓️ ตารางนมัสการ
🟥 วันอาทิตย์ เวลา 07:00 น. นมัสการ (ภาคภาษาอังกฤษ English) / 10:00 น. นมัสการ (ภาคภาษาอังกฤษ English) / 13:30 น. นมัสการ (ภาคภาษาไทย) / 13:30 น. รวีวารศึกษาเด็ก (RCDC) / 15:30 น. สามัคคีธรรม (LiHall)

คริสตจักรไครสต์เชิร์ช กรุงเทพ เปิดให้แค่ตอนมีการนมัสการนะครับ ถ้าอยากเยี่ยมชมนอกรอบ อาจต้องติดต่อทางคริสตจักรก่อนนะครับ

รูปภาพ

รูปภาพ
ตอบกลับโพส