<<:Cross:>>
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 18, 2005 11:41 pm
กางเขน ( Cross)
เพื่อนๆคริสเตียนเคยสงสัยไหมคะ ว่า พี่น้องคริสตัง หรือคาทอลิกทำเครื่องหมายกางเขนนั้นหมายถึงอะไรบทความนี้ดิฉันจะแบ่งปันเรื่องการทำเครื่องหมายกางเขนของคริสตัง และความหมาย กางเขนที่คริสตชนควรเข้าใจ
ประเภทของ "สำคัญมหากางเขน"
การทำ "สำคัญมหากางเขน" นั้นเท่าที่ยังคงนิยมทำกันอยู่ในปัจจุบันนี้แบ่งออกเป็น 3 วิธีคือ
วิธีที่ 1 ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในปัจจุบันและเป็นวิธีที่สัตบุรุษคาทอลิกทำกันเป็นประจำเวลาสวดหรือร่วมพิธีมิซซาคือการเอานิ้วมือด้านขวาแตะที่หน้าผากพร้อมกับกล่าวว่า "เดชะพระนามพระบิดา" แล้วเลื่อนมือมาแตะที่หน้าอกพร้อมกับกล่าวว่า "และพระบุตร" หลังจากนั้นก็เลื่อนมือมาแตะที่ไหล่ด้านซ้ายและด้านขวาพร้อมกับกล่าวว่า "และพระจิต" แล้วจบด้วยการเอาฝ่ามือทั้งสองประนมที่กลางหน้าอกพร้อมกับกล่าวว่า "อาแมน" (วิธีนี้ต่อไปในที่นี้จะเรียกว่า "กางเขนใหญ่" เพื่อความกระชับของข้อความ)
วิธีที่ 2 เป็นวิธีที่บาทหลวงและพระชั้นผู้ใหญ่ในพระศาสนจักรคาทอลิกใช้ในการอวยพรให้แก่สัตบุรุษในพิธีมิซซาและพิธีอื่นๆ โดยการหันหน้าเข้าหาสัตบุรุษพร้อมกับยกมือขวาขึ้นทำเครื่องหมายมหากางเขนกลางอากาศ โดยกล่าวในขณะที่ยกมือขึ้นเหนือศีรษะว่า "ขอให้พระพรพระเป็นเจ้าทรงสรรพานุภาพ พระบิดา" หลังจากนั้นก็เลื่อนมือลงมาที่ประมานหน้าอกพร้อมกับกล่าวว่า "และพระบุตร" แล้วเลื่อนมือไปทางด้านซ้ายและขวาเป็นรูปกางเขนพร้อมกับกล่าวว่า "และพระจิตมาสู่ท่านและสถิตอยู่เสมอ" และทางสัตบุรุษที่ร่วมในพิธีก็จะกล่าวตอบพร้อมกันว่า "อาแมน" วิธีนี้เรียกว่า "กางเขนอวยพร"
วิธีที่ 3 เรียกว่า "กางเขนเล็ก" เป็นการใช้นิ้วหัวแม่มือทำเครื่องหมายกางเขนขนาดเล็กลงบนวัตถุหรือตัวบุคคลโดยบาทหลวงหรือพระชั้นผู้ใหญ่ในระหว่างการประกอบพิธีกรรมสำคัญบางอย่างเช่น ในระหว่างการโปรดศีลล้างบาปให้แก่ทารก บาทหลวงก็จะใช้นิ้วหัวแม่มือทำเครื่องหมายกางเขนเล็กที่หน้าผากทารก หรือในระหว่างพิธีโปรดศีลเจิมคนป่วยไข้ บาทหลวงท่านจะทำเครื่องหมายกางเขนเล็กที่ตัวผู้ป่วยการทำเครื่องหมาย
กางเขนเล็กที่สัตบุรุษคาทอลิกคุ้นเคยกันดีก็คือ ในระหว่างการอ่านพระวรสารในพิธีมิซซาและพิธีอื่น ๆ (เช่นพิธีนพวาร ฯลฯ) บาทหลวงท่านจะเริ่มต้นโดยการกล่าวว่า "บทอ่านจากพระวรสารโดยนักบุญ......" และบรรดาสัตบุรุษที่ร่วมในพิธีก็จะใช้นิ้วหัวแม่มือทำเครื่องหมายกางเขนเล็กที่หน้าผาก, ที่ริมฝีปาก และที่หน้าอกพร้อมกับกล่าวว่า "ขอถวายพระเกียรติ์แด่พระองค์พระเจ้าข้า
จุดเริ่มต้นของการทำ "สำคัญมหากางเขน"
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฎว่าการทำเครื่องหมายกางเขนเล็กตามวิธีที่สามข้างต้นมีการใช้มาก่อนวิธีอื่น ๆ โดยท่าน Tertullian ได้กล่าวไว้ใน De cor.mil.,iii เมื่อตอนต้นคริสตศตวรรษที่ 2 ไว้ว่า "ทุกแห่งหนที่พวกเราเดินทางไป ในทุก ๆ อิริยาบทของพวกเรา พวกเราได้ทำสำคัญมหากางเขนที่หน้าผากของแต่ละคน" และจากข้อเขียนของบรรดาปิตาจารย์ในคริสตศตวรรษที่ 4 ทำให้เราทราบว่าวิธีทำ"สำคัญมหากางเขน" ดังกล่าวก็ได้พัฒนามาเป็นวิธีที่สองในเวลาต่อมา ตัวอย่างเช่นท่านนักบุญซีริลแห่งเยรูซาเลมได้กล่าวไว้ในหนังสือคำสอน (Catecheseses xiii, 36) ว่า "ขอพวกเราจงอย่าเกรงกลัวที่จะแสดงความเชื่อในพระองค์ผู้ทรงถูกตรึงกางเขน ขอให้กางเขนเป็นหมายสำคัญของพวกเราโดยการใช้นิ้วมือทำ"สำคัญมหากางเขน" ที่หน้าผากและทุก ๆ สิ่งรอบข้างตัวเรา และทำ"สำคัญมหากางเขน" เหนือปังที่พวกเรากำลังจะกิน, เหนือจอกที่พวกเรากำลังจะดื่ม, ก่อนนอน .......ฯลฯ"
ส่วนการทำ "กางเขนใหญ่" ตามวิธีที่ 1 นั้นน่าจะเป็นผลทางอ้อมจากวิวาทะกรณี โมโนไฟไซท์ (Monophysite controversy) โดยในยุดแรก ๆ ที่มีการทำกางเขนเล็กนั้นย่อมเป็นธรรมดาที่จะใช้นิ้วมือเพียงนิ้วเดียวคือนิ้วหัวแม่มือหรือนิ้วชี้ ต่อมาได้มีการเพิ่มจำนวนนิ้วมือในการทำ"สำคัญมหากางเขน" ขึ้นเป็นสองนิ้ว(คือนิ้วชี้และนิ้วกลาง) เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ถึงการเป็นพระเจ้าแท้และการเป็นมนุษย์แท้ของพระเยซูเจ้า แน่นอน - การใช้นิ้วสองนิ้วในการทำ "สำคัญมหากางเขน" นั้นย่อมเป็นการไม่สะดวกที่จะทำเป็นกางเขนเล็ก เนื่องจากจะไม่สามารถเห็นได้ชัดว่ากำลังทำเครื่อง หมายกางเขนอยู่ ดังนั้นจึงได้พัฒนาขึ้นมาเป็นกางเขนใหญ่เพื่อให้เห็นได้ชัดว่ากำลังทำเครื่องหมายกางเขนอยู่
ต่อมาในพระศาสนจักรตะวันออก ได้มีการเพิ่มจำนวนนิ้วมือที่ใช้ในการทำ "สำคัญมหากางเขน" ขึ้นเป็นสามนิ้วคือนิ้วหัวแม่มือ, นิ้วชี้ และนิ้วกลาง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงพระตรีเอกภาพ ส่วนนิ้วนางและนิ้วก้อยนั้นจะทำการพับไว้กับฝ่ามือเพื่อเป็นสัญญลักษณ์ถึงการเป็นพระเจ้าแท้และการเป็นนุษย์แท้ของพระเยซูเจ้า ส่วนสาเหตุที่ทำให้กางเขนใหญ่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายตราบเท่าทุกวันนี้น่าจะมาจากสาสน์ของพระสันตปาปาลีโอที่ 4 เมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 9 ที่มีข้อความว่า "จงทำสำคัญมหากางเขนเหนือแผ่นปังและถ้วยจาลิกส์โดยการชูนิ้วมือสองนิ้วขึ้นและใช้นิ้วหัวแม่มือซ่อนอยู่ระหว่างกลางนิ้วทั้งสองเพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงพระตรีเอกภาพ..... (Georgi, "Liturg. Rom. Pont." , III, 37) และถึงแม้ว่าข้อความนี้จะหมายถึงการทำ "สำคัญมหากางเขน" ตามวิธีที่สอง (คือการอวยพร) แต่ก็ได้มีการประยุกต์มาใช้ในการทำ "สำคัญมหากางเขน" ที่ตนเองซึ่งก็คือวิธีที่หนึ่งหรือกางเขนใหญ่นั่นเอง สำหรับข้อความที่ใช้สวดในขณะที่ทำ "สำคัญมหากางเขน" นั้น ในยุคก่อน ๆ นั้น ไม่ได้สวดเหมือนในปัจจุบัน (เดชะพระนาม.....ฯลฯ) แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
แต่ยังมีบทสวดอีกหลายอย่าง เช่น
"The sign of Christ"
"The seal of the living God"
"In the name of Jesus"
"In the name of Jesus of Nazareth"
"In the name of the Holy Trinity"
"In the name of the Father, and of the Son and of the Holy Ghost"
"Our help is in the name of the Lord"
"O God come to my assistance" ฯลฯ .......... ฯลฯ
ส่วนปฐมเหตุของการทำ "สำคัญมหากางเขน" นั้นน่าจะมาจากพระคัมภีร์ดังต่อไปนี้ 1) อสค. 9:4 2) อพย. 17:9 - 14 3) วว. 7:3; 9:4; 14:1
----------------------------------
แหล่งอ้างอิง: ได้รับความกรุณา จากคุณ Cosmologist
หมายเหตุ: มีคำศัพท์ของคาทอลิกจำนวนหนึ่งที่ใช้แตกต่างจากโปรเตสแตนต์เช่น
พระจิต คือพระวิญญาณบริสุทธิ์
พระศาสนจักร คือคริสตจักร
มิสซา คือ นมัสการ แต่คาทอลิกทุกครั้งที่มีมิสซา ต้องมีพิธีมหาสนิท
สัตบุรุษ คือ ฆราวาส หรือสมาชิก
พระวรสาร คือ พระกิตติคุณนั่นเองเช่นทางคาทอลิก เรียก พระวรสารมัทธิว พระวรสารมาระโก พระวรสารลูกา และพระวรสารยอห์น
ถ้วยจาลิกส์ คือ ถ้วยใส่เหล้าองุ่นในพิธีมหาสนิท
เพื่อนๆคริสเตียนเคยสงสัยไหมคะ ว่า พี่น้องคริสตัง หรือคาทอลิกทำเครื่องหมายกางเขนนั้นหมายถึงอะไรบทความนี้ดิฉันจะแบ่งปันเรื่องการทำเครื่องหมายกางเขนของคริสตัง และความหมาย กางเขนที่คริสตชนควรเข้าใจ
ประเภทของ "สำคัญมหากางเขน"
การทำ "สำคัญมหากางเขน" นั้นเท่าที่ยังคงนิยมทำกันอยู่ในปัจจุบันนี้แบ่งออกเป็น 3 วิธีคือ
วิธีที่ 1 ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในปัจจุบันและเป็นวิธีที่สัตบุรุษคาทอลิกทำกันเป็นประจำเวลาสวดหรือร่วมพิธีมิซซาคือการเอานิ้วมือด้านขวาแตะที่หน้าผากพร้อมกับกล่าวว่า "เดชะพระนามพระบิดา" แล้วเลื่อนมือมาแตะที่หน้าอกพร้อมกับกล่าวว่า "และพระบุตร" หลังจากนั้นก็เลื่อนมือมาแตะที่ไหล่ด้านซ้ายและด้านขวาพร้อมกับกล่าวว่า "และพระจิต" แล้วจบด้วยการเอาฝ่ามือทั้งสองประนมที่กลางหน้าอกพร้อมกับกล่าวว่า "อาแมน" (วิธีนี้ต่อไปในที่นี้จะเรียกว่า "กางเขนใหญ่" เพื่อความกระชับของข้อความ)
วิธีที่ 2 เป็นวิธีที่บาทหลวงและพระชั้นผู้ใหญ่ในพระศาสนจักรคาทอลิกใช้ในการอวยพรให้แก่สัตบุรุษในพิธีมิซซาและพิธีอื่นๆ โดยการหันหน้าเข้าหาสัตบุรุษพร้อมกับยกมือขวาขึ้นทำเครื่องหมายมหากางเขนกลางอากาศ โดยกล่าวในขณะที่ยกมือขึ้นเหนือศีรษะว่า "ขอให้พระพรพระเป็นเจ้าทรงสรรพานุภาพ พระบิดา" หลังจากนั้นก็เลื่อนมือลงมาที่ประมานหน้าอกพร้อมกับกล่าวว่า "และพระบุตร" แล้วเลื่อนมือไปทางด้านซ้ายและขวาเป็นรูปกางเขนพร้อมกับกล่าวว่า "และพระจิตมาสู่ท่านและสถิตอยู่เสมอ" และทางสัตบุรุษที่ร่วมในพิธีก็จะกล่าวตอบพร้อมกันว่า "อาแมน" วิธีนี้เรียกว่า "กางเขนอวยพร"
วิธีที่ 3 เรียกว่า "กางเขนเล็ก" เป็นการใช้นิ้วหัวแม่มือทำเครื่องหมายกางเขนขนาดเล็กลงบนวัตถุหรือตัวบุคคลโดยบาทหลวงหรือพระชั้นผู้ใหญ่ในระหว่างการประกอบพิธีกรรมสำคัญบางอย่างเช่น ในระหว่างการโปรดศีลล้างบาปให้แก่ทารก บาทหลวงก็จะใช้นิ้วหัวแม่มือทำเครื่องหมายกางเขนเล็กที่หน้าผากทารก หรือในระหว่างพิธีโปรดศีลเจิมคนป่วยไข้ บาทหลวงท่านจะทำเครื่องหมายกางเขนเล็กที่ตัวผู้ป่วยการทำเครื่องหมาย
กางเขนเล็กที่สัตบุรุษคาทอลิกคุ้นเคยกันดีก็คือ ในระหว่างการอ่านพระวรสารในพิธีมิซซาและพิธีอื่น ๆ (เช่นพิธีนพวาร ฯลฯ) บาทหลวงท่านจะเริ่มต้นโดยการกล่าวว่า "บทอ่านจากพระวรสารโดยนักบุญ......" และบรรดาสัตบุรุษที่ร่วมในพิธีก็จะใช้นิ้วหัวแม่มือทำเครื่องหมายกางเขนเล็กที่หน้าผาก, ที่ริมฝีปาก และที่หน้าอกพร้อมกับกล่าวว่า "ขอถวายพระเกียรติ์แด่พระองค์พระเจ้าข้า
จุดเริ่มต้นของการทำ "สำคัญมหากางเขน"
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฎว่าการทำเครื่องหมายกางเขนเล็กตามวิธีที่สามข้างต้นมีการใช้มาก่อนวิธีอื่น ๆ โดยท่าน Tertullian ได้กล่าวไว้ใน De cor.mil.,iii เมื่อตอนต้นคริสตศตวรรษที่ 2 ไว้ว่า "ทุกแห่งหนที่พวกเราเดินทางไป ในทุก ๆ อิริยาบทของพวกเรา พวกเราได้ทำสำคัญมหากางเขนที่หน้าผากของแต่ละคน" และจากข้อเขียนของบรรดาปิตาจารย์ในคริสตศตวรรษที่ 4 ทำให้เราทราบว่าวิธีทำ"สำคัญมหากางเขน" ดังกล่าวก็ได้พัฒนามาเป็นวิธีที่สองในเวลาต่อมา ตัวอย่างเช่นท่านนักบุญซีริลแห่งเยรูซาเลมได้กล่าวไว้ในหนังสือคำสอน (Catecheseses xiii, 36) ว่า "ขอพวกเราจงอย่าเกรงกลัวที่จะแสดงความเชื่อในพระองค์ผู้ทรงถูกตรึงกางเขน ขอให้กางเขนเป็นหมายสำคัญของพวกเราโดยการใช้นิ้วมือทำ"สำคัญมหากางเขน" ที่หน้าผากและทุก ๆ สิ่งรอบข้างตัวเรา และทำ"สำคัญมหากางเขน" เหนือปังที่พวกเรากำลังจะกิน, เหนือจอกที่พวกเรากำลังจะดื่ม, ก่อนนอน .......ฯลฯ"
ส่วนการทำ "กางเขนใหญ่" ตามวิธีที่ 1 นั้นน่าจะเป็นผลทางอ้อมจากวิวาทะกรณี โมโนไฟไซท์ (Monophysite controversy) โดยในยุดแรก ๆ ที่มีการทำกางเขนเล็กนั้นย่อมเป็นธรรมดาที่จะใช้นิ้วมือเพียงนิ้วเดียวคือนิ้วหัวแม่มือหรือนิ้วชี้ ต่อมาได้มีการเพิ่มจำนวนนิ้วมือในการทำ"สำคัญมหากางเขน" ขึ้นเป็นสองนิ้ว(คือนิ้วชี้และนิ้วกลาง) เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ถึงการเป็นพระเจ้าแท้และการเป็นมนุษย์แท้ของพระเยซูเจ้า แน่นอน - การใช้นิ้วสองนิ้วในการทำ "สำคัญมหากางเขน" นั้นย่อมเป็นการไม่สะดวกที่จะทำเป็นกางเขนเล็ก เนื่องจากจะไม่สามารถเห็นได้ชัดว่ากำลังทำเครื่อง หมายกางเขนอยู่ ดังนั้นจึงได้พัฒนาขึ้นมาเป็นกางเขนใหญ่เพื่อให้เห็นได้ชัดว่ากำลังทำเครื่องหมายกางเขนอยู่
ต่อมาในพระศาสนจักรตะวันออก ได้มีการเพิ่มจำนวนนิ้วมือที่ใช้ในการทำ "สำคัญมหากางเขน" ขึ้นเป็นสามนิ้วคือนิ้วหัวแม่มือ, นิ้วชี้ และนิ้วกลาง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงพระตรีเอกภาพ ส่วนนิ้วนางและนิ้วก้อยนั้นจะทำการพับไว้กับฝ่ามือเพื่อเป็นสัญญลักษณ์ถึงการเป็นพระเจ้าแท้และการเป็นนุษย์แท้ของพระเยซูเจ้า ส่วนสาเหตุที่ทำให้กางเขนใหญ่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายตราบเท่าทุกวันนี้น่าจะมาจากสาสน์ของพระสันตปาปาลีโอที่ 4 เมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 9 ที่มีข้อความว่า "จงทำสำคัญมหากางเขนเหนือแผ่นปังและถ้วยจาลิกส์โดยการชูนิ้วมือสองนิ้วขึ้นและใช้นิ้วหัวแม่มือซ่อนอยู่ระหว่างกลางนิ้วทั้งสองเพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงพระตรีเอกภาพ..... (Georgi, "Liturg. Rom. Pont." , III, 37) และถึงแม้ว่าข้อความนี้จะหมายถึงการทำ "สำคัญมหากางเขน" ตามวิธีที่สอง (คือการอวยพร) แต่ก็ได้มีการประยุกต์มาใช้ในการทำ "สำคัญมหากางเขน" ที่ตนเองซึ่งก็คือวิธีที่หนึ่งหรือกางเขนใหญ่นั่นเอง สำหรับข้อความที่ใช้สวดในขณะที่ทำ "สำคัญมหากางเขน" นั้น ในยุคก่อน ๆ นั้น ไม่ได้สวดเหมือนในปัจจุบัน (เดชะพระนาม.....ฯลฯ) แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
แต่ยังมีบทสวดอีกหลายอย่าง เช่น
"The sign of Christ"
"The seal of the living God"
"In the name of Jesus"
"In the name of Jesus of Nazareth"
"In the name of the Holy Trinity"
"In the name of the Father, and of the Son and of the Holy Ghost"
"Our help is in the name of the Lord"
"O God come to my assistance" ฯลฯ .......... ฯลฯ
ส่วนปฐมเหตุของการทำ "สำคัญมหากางเขน" นั้นน่าจะมาจากพระคัมภีร์ดังต่อไปนี้ 1) อสค. 9:4 2) อพย. 17:9 - 14 3) วว. 7:3; 9:4; 14:1
----------------------------------
แหล่งอ้างอิง: ได้รับความกรุณา จากคุณ Cosmologist
หมายเหตุ: มีคำศัพท์ของคาทอลิกจำนวนหนึ่งที่ใช้แตกต่างจากโปรเตสแตนต์เช่น
พระจิต คือพระวิญญาณบริสุทธิ์
พระศาสนจักร คือคริสตจักร
มิสซา คือ นมัสการ แต่คาทอลิกทุกครั้งที่มีมิสซา ต้องมีพิธีมหาสนิท
สัตบุรุษ คือ ฆราวาส หรือสมาชิก
พระวรสาร คือ พระกิตติคุณนั่นเองเช่นทางคาทอลิก เรียก พระวรสารมัทธิว พระวรสารมาระโก พระวรสารลูกา และพระวรสารยอห์น
ถ้วยจาลิกส์ คือ ถ้วยใส่เหล้าองุ่นในพิธีมหาสนิท