“ผู้บัญชาการค่ายเอาชวิตซ์กลับใจ”

วันระลึกถึงนักบุญ 365-6วัน ประวัตินักบุญ และวันฉลองสำคัญของคริสตศาสนา
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อาทิตย์ ก.ค. 04, 2021 10:28 pm

เรื่อง "ผู้บัญชาการค่ายเอาชวิตซ์กลับใจ" มีทั้งหมด 4 ตอน
บอกเล่าถึงค่ายเอาชวิตซ์ ที่มีการสังหารหมู่อย่างมากมาย
ในหลากหลายเชื้อชาติ ก่อนตายเฮิสสำนึกผิดจากใจจริง
เเต่มันก็สายเกินไป เขาถูกตัดสินประหารชีวิต
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อาทิตย์ ก.ค. 04, 2021 10:32 pm

ผู้บัญชาการค่ายเอาชวิตซ์กลับใจ ตอนที่ (1)
จากวิกิพีเดียเรื่อง “Rudolf Höss” และเรื่องที่เกี่ยวข้อง
เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
(+)วัยเด็ก
เฮิส (Rudolf Höss) ชาวเยอรมัน เกิดวันที่ 25 พ.ย.1901 เป็นลูกชายคนโตและ
มีน้องสาว 2 คน บิดาทำธุรกิจค้าชาและกาแฟ หลังออกจากตำแหน่งนายทหาร
ในกองทัพทหารบกเยอรมัน ที่แอฟริกาตะวันออก บิดาอบรมเฮิสแบบทหารและ
หลักศาสนาคาทอลิก ที่เคร่งครัดและตั้งใจจะให้รูดอล์ฟบวชเป็นพระสงฆ์
เฮิสจึงถูกหล่อหลอมจนคลั่งไคล้กับวิถีชีวิตที่ยึดหลักการคุณธรรมตามที่เขาเข้าใจ
ซึ่งเน้นเรื่องบาป, การทำผิด, และการลงโทษ
(+)วัยหนุ่มและสงครามโลกครั้งที่ 1
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 (1914-18) เฮิสช่วยงานในโรงพยาบาลทหาร
ได้ไม่นาน พออายุ 14 ปี ก็เข้าอยู่ในกรมทหารกองร้อยที่ 21 ซึ่งบิดาและปู่ของเขา
เคยสังกัดมาก่อน เมื่ออายุ 15 ปีก็ร่วมรบต่อสู้กับกองทัพออตโตมันที่กรุงแบกแดด (อิรัก)
และปาเลสไตน์ เฮิสรับรู้เรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์เมเนีย (1914-23)
ที่กองทัพออตโตมันสังหารหมู่และไล่ต้อนสตรี เด็ก ผู้สูงอายุและผู้พิการเดินเท้าไป
ในทะเลทรายซีเรียโดยไม่มีอาหารและน้ำดื่ม ส่งผลให้ชาวอาร์เมเนียถูกเข่นฆ่า
ไปราว 1.5 ล้านคน
ขณะที่ประจำการอยู่ในตุรกี เฮิสวัย 17 ปี ได้รับยศเป็นจ่าสิบเอกและเป็นนายทหาร
สัญญาบัตรที่อายุน้อยที่สุดในกองทัพ เขาได้รับบาดเจ็บ 3 ครั้ง เคยป่วยเป็นมาลาเรีย
ได้รับ”กางเขนเหล็ก”ชั้นหนึ่งและชั้นสอง และเคยเป็นผู้บังคับการหน่วยทหารม้าเป็น
เวลาสั้น ๆ เมื่อเยอรมันประกาศยอมแพ้ เฮิสประจำการอยู่ที่กรุงดามัสกัส เขากับ
เพื่อน 2-3 คนตัดสินใจไม่รอให้ทหารอังกฤษมาจับกุม เป็นเชลยศึกและขับรถข้ามแดน
จนมาถึงบ้านที่บาวาเรียในเยอรมนี
(+)เข้าร่วมพรรคนาซี
หลังวันสงบศึกวันที่ 11 พ.ย.1918 เฮิสเรียนจบมัธยมศึกษาและเข้าร่วมกลุ่มทหาร
ชาตินิยมและต่อมาเข้าร่วมกับกองพลอิสระ (Rossbach) บุกโจมตีชาวโปแลนด์ในเขต
ไซเลเซียตอนบน (ที่มีคนเชื้อชาติเยอรมันอยู่ 40%, เชื้อชาติโปแลนด์ 60%)
และเข้าร่วมพรรคนาซีในปี 1922
วันที่ 17 มี.ค.1924 เฮิสถูกตัดสินจำคุก 10 ปี ในข้อหาเป็นหัวหน้านำกลุ่มก่อคดีฆาตกรรม
ครูคนหนึ่งที่เป็นเรื่องการหักหลังกัน เขาได้รับนิรโทษกรรม และในเดือนสิงหาคม 1929
เฮิสแต่งงานกับเฮดวิก (Hedwig Hensel : 1908 – 1989) มีลูกชาย 2 คนและลูกสาว 3 คน
ลูกสาวคนสุดท้อง เกิดในค่ายเอาชวิตซ์ในเดือน พ.ย. 1943 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เขาเริ่มสนิท
สนมกับ ฮิมเลอร์ (Heinrich Himmler)
ฮิมเล่อร์ แก่กว่าเฮิส 1 ปี ผู้บัญชาการตำรวจรวมทั้งหน่วยเกสตาโป และจัดตั้งค่ายกักกัน
นาซีและรับผิดชอบโดยตรงต่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวกว่า 6 ล้านคนและ
ชาวโรมาเนีย 2-5 แสนคน เมื่อถูกจับหลังเยอรมันแพ้สงคราม เขากัด “ไซยาไนด์” (cyanide)
ที่ซ่อนไว้ในปาก และเสียชีวิตใน 15 นาที วันที่ 23 พ.ค.1945

โปรดติดตามตอนที่ (2)
ในวันพรุ่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ ก.ค. 05, 2021 9:42 pm

ผู้บัญชาการค่ายเอาชวิตซ์กลับใจ ตอนที่ (2)
จากวิกิพีเดียเรื่อง “Rudolf Höss” และเรื่องที่เกี่ยวข้อง
เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ (+

)เข้าสังกัดหน่วย”เอสเอส” (SchutzStaffeln : Protection Squadron)
ช่วงปี 1929-1945 ฮิมเลอร์เป็นผู้อำนวยการหน่วย SS ซึ่งเดิมมีสมาชิก
เพียง 200 คน มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัย การประชุมพรรคนาซี ฮิมเลอร์ปฎิรูป
องค์กรใหม่ ตั้งหน่วยงานย่อยอีกหลายหน่วยรวมทั้งตำรวจลับเกสตาโป (Gestapo)
และมีสมาชิกกว่า 1 ล้านคน กลายเป็นองค์กรที่มีอิทธิพลมากที่สุดในประเทศ
มีหน้าที่ดูแลความมั่นคงภายในประเทศและดินแดนยุโรปที่เยอรมันเข้ายึดครอง
ในยุค ”อาณาจักรไรช์ (Reich)”
1 เม.ย.1934 ฮิมเลอร์ ชวนเฮิสเข้าร่วมองค์กรโดยให้เฮิสไป “หน่วยบัญชาการ
แห่งความตาย” (Death’s Head Units” เฮิสชื่นชมและเชื่อหัวปักหัวปำกับทุกคำพูด
ของฮิมเลอร์และปฏิบัติตามราวกับเป็น “พระวรสาร” ประจำตัว
1 พ.ค.1940 เฮิสเป็นผู้บัญชาการค่ายกักกันในโปแลนด์ตะวันตก ที่เยอรมันผนวก
เข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศใกล้เมืองOświęcim หรือ “เอาชวิตซ์” (Auschwitz)
ในภาษาเยอรมัน ผู้ต้องขังรุ่นแรก 700 คน เป็นเชลยศึกชาวโซเวียตและชาวโปแลนด์
ได้รับแจ้งว่าจะไม่รอดชีวิตเกิน 3 เดือน ในช่วงเวลา 3 ปีครึ่ง เฮิสได้รับคำสั่ง
ให้ขยายพื้นที่ "สำหรับนักโทษหมื่นคน” เขาออกคำสั่งขับไล่ชาวเมืองออกจากบ้าน
เพื่อขยายค่ายเอาชวิตซ์จนมีพื้นที่รวม 50,000 ไร่ (80 ตาราง กม.) แบ่งเป็น 4 กลุ่มได้แก่ :
1) “ Auschwitz I” เป็นศูนย์บัญชาการ
2) ” Auschwitz II-Birkenau” เป็นค่ายกำจัดนักโทษพร้อมป้ายคำขวัญเหนือทางเข้าที่หน้า
ค่ายเพื่อหลอกนักโทษที่ผ่านเข้ามาว่า “Arbeit macht frei” (การทำงานช่วยให้ท่านเป็นอิสระ)
3) “Auschwitz III-Monowit” เป็นค่ายแรงงานทาสสำหรับนักโทษที่แข็งแรง เป็นค่ายที่ผลิต
ยางสังเคราะห์, ยารักษาโรค รวมทั้งยาที่ได้จาก “นักโทษแทนหนูทดลอง”
และก๊าซพิษ “Zyklon B,” ที่ผลิตจากไซยาไนด์และยาฆ่าแมลง
4) ค่ายเล็ก ๆ กระจายอยู่โดยรอบและอาคารบ้านพักของเจ้าหน้าที่
(+)การสังหารหมู่
มิ.ย. 1941 เฮิสถูกเรียกตัวไปพบฮิมเลอร์ที่กรุงเบอร์ลิน ฮิมเลอร์อ้างคำสั่งของฮิตเลอร์
ให้ใช้ "วิธีแก้ปัญหาสุดท้าย" (Final solution) คือการใช้ค่ายกักกันเอาชวิตซ์กำจัด
ชาวยิวในยุโรป ”เพราะเข้าถึงได้ง่ายโดยทางรถไฟ และมีพื้นที่กว้างเหมาะกับการ
คัดแยกประเภทกลุ่มนักโทษ" ฮิมเลอร์ย้ำว่าเป็นโครงการ "ลับของอาณาจักรไรช์"
ห้ามพูดต่อเด็ดขาดแม้แต่กับหัวหน้า“หน่วยระบบค่ายนาซี” (SS- Richard Glücks)
"ทุกคนต้องสัญญาด้วยชีวิตในการเก็บเรื่องนี้เป็นความลับ" จนถึงปลายปี 1942
เขาจึงบอกเรื่องนี้กับภรรยา เพราะเธอเพิ่งรู้เรื่องนี้จากผู้ว่าฯ แคว้นไซเลเซียตอนบน
(Fritz Bracht : 1899 – 9 พ.ค.1945)
ก่อนกลับไปที่ค่าย ฯ ฮิมเลอร์บอกเฮิสว่า ในอีก 4 สัปดาห์ ไอคมัน
(Adolf Eichmann : 1906 – 1 มิ.ย.1962) จะมาที่ค่ายฯ และจะมอบคำสั่งปฏิบัติการ
ทั้งหมดให้ หลังสงครามไอคมันใช้เอกสารปลอมและหลบหนีไปอยู่ในอาร์เจนตินา
ที่สุดถูกองค์กรรักษาความปลอดภัยอิสราเอล (Shin Bet) จับตัวได้ และนำตัวส่งศาล
ที่อิสราเอลซึ่งตัดสินว่าเขากระผิดทั้ง 15 ข้อหาตามฟ้อง หลังถูกแขวนคอ
ในวันที่ 1 มิ.ย.1962 ไม่กี่ชั่วโมง มีการนำร่างไปเข้าเตาเผาและใช้เรือยามฝั่งอิสราเอล
นำเถ้าไปโปรยนอกน่านน้ำอิสราเอลในทะเลเมดิเตอเรเนียน
เฮิสเริ่มปรับเทคนิคการสังหารหมู่ตั้งแต่ 3 ก.ย.1941 สามารถ “จัดการแยก” นักโทษ
ที่รถไฟขนมาขบวนละ 2,000 คนได้ 2-3 ขบวนทุกวันโดยส่งผู้ที่ไม่เหมาะกับการทำงานหนัก
ได้ไป “ห้องอาบน้ำรวม” ซึ่งใช้เวลาจัดการแต่ละขบวนเสร็จภายในครึ่งชั่วโมงด้วย
ก๊าซพิษ (Zyklon B) แต่ที่ใช้เวลามากคือการเผาทำลาย

ในปี 1942 เฮิสมีความสัมพันธ์ชู้สาวกับนักโทษสาว การเมืองคนหนึ่ง (Eleonore Hodys)
หลังเธอตั้งครรภ์ เฮิสหาทางกำจัดเธอ แต่เธอหนีรอดไปได้หวุดหวิด เรื่องนี้ทำให้เฮิส
ถูกพักงานที่ค่ายฯ เดือน พ.ย.1943 และต้องขึ้นศาล แต่คดีถูกยกฟ้องในภายหลัง

โปรดติดตามตอนที่ (3)
ในวันพรุ่งนี้
ตอบกลับโพส