ข้อถกเถียงเรื่องกาลิเลโอ (The Galileo Controversy)

วันระลึกถึงนักบุญ 365-6วัน ประวัตินักบุญ และวันฉลองสำคัญของคริสตศาสนา
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nihil
~@
โพสต์: 1763
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 4:36 pm
ที่อยู่: Pax
ติดต่อ:

อังคาร มิ.ย. 06, 2006 11:53 pm

The Galileo Controversy
ประเด็นถกเถียงเรื่องของกาลิเลโอ




คนทั่วไปมักจะเข้าใจกันว่าศาสนจักรพยายามโน้มน้าวให้กาลิเลโอละทิ้งแนวคิด เฮลิโอเซนทริค (Heliocentric) [แนวคิดที่ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบ] และพยายามยึดถือเชื่อในแนวคิด จีโอเซนทริค (Geocentric) [แนวคิดที่เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของระบบ] แทน


สำหรับกรณีของกาลิเลโอนั้น กลุ่มที่ต่อต้านคาทอลิกได้นำจุดนี้มาใช้เป็นประเด็นในการกล่าวโจมตีศาสนจักรว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อต้านวิทยาศาสตร์ ปฏิเสธที่จะละทิ้งคำสอนเก่า ๆ แบบโบราณ ๆ และไม่ใช่ว่าศาสนจักรทำอะไรไม่มีผิดพลาด ขณะที่ทางคริสตศาสนิกชนคาทอลิกต่างรู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องน่าอับอายเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ ทั้ง ๆ ที่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย


เนื้อหาสรุปสั้น ๆ ต่อไปนี้เป็นข้ออธิบายสั้น ๆ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าจริง ๆ แล้วเกิดอะไรขึ้นกับกาลิเลโอกันแน่




เป็นปฏิปักษ์ต่อวิทยาศาสตร์ ?



ศาสนจักรไม่ได้มีแนวคิดเป็นปฏิปักษ์ต่อต้านวิทยาศาสตร์เลย อันที่จริงศาสนจักรให้การสนับสนุนทางด้านวิทยาศาสตร์มาเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้วด้วยซ้ำ หรือแม้แต่ในช่วงสมัยของกาลิเลโอเอง คณะนักบวชเยซูอิตก็ยังเป็นกลุ่มนักดาราศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าของโรมอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีนักวิทยาศาสตร์อีกมากมายในประวัติศาสตร์ที่ได้รับการสนับสนุนและเงินทุนสนับสนุนทั้งจากศาสนจักรและจากเจ้าหน้าที่ศาสนจักรแต่ละคน จนอาจกล่าวได้ว่า ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ณ ช่วงเวลานั้น เกิดขึ้นเพราะเงินสนับสนุนของทางศาสนจักร และการสนับสนุนของคณะนักบวชเป็นหลัก


นิโคลัส โคเปอร์นิคัส เอง ก็ยังอุทิศผลงานอันเลื่องชื่อของเขา On the Revolution of the Celestial Orbs ( ผลงานที่นำเสนอแนวคิดแบบเฮลิโอเซนทริค ) ถวายแด่องค์พระสันตะปาปา ปอล ที่ 3 โดยโคเปอร์นิคัสได้มอบงานของตนให้กับ อังแดรส์ โอเซียนเดอร์ ผู้เป็นนักบวชของคณะลูเธอร์รัน ผู้รู้ดีว่าผลตอบรับจากทางโปรแตสแตนท์น่าจะออกมาในแง่ลบ เพราะว่าตัวมาร์ติน ลูเธอร์นั้นไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีแนวคิดใหม่นี้ โอเซียนเดอร์เองได้เขียนอารัมภบทให้กับหนังสือเล่มนี้ว่า แนวคิดเฮลิโอเซนทริคที่เชื่อว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบนั้น ถูกนำเสนอในแง่ของทฤษฎีเท่านั้น เป็นการนำเสนอให้เห็นสภาพการโคจรเคลื่อนไหวของดวงดาวในแบบที่เข้าใจได้ง่ายกว่าแนวคิดจีโอเซนทริคที่เอาโลกเป็นศูนย์กลาง ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ใช่สิ่งที่โคเปอร์นิคัสตั้งใจจะสื่อเลย


10 ปีก่อนกาลิเลโอนั้น โยฮันเนส เคปเลอร์ ได้ตีพิมพ์ผลงานที่สนับสนุนและขยายผลแนวคิดเฮลิโอเซนทริคของโคเปอร์นิคัสออกมา และด้วยเหตุนี้เอง เคปเลอร์จึงถูกเพื่อนชาวโปรแตสแตนท์มองว่าอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับตน แต่ในขณะเดียวกัน ทางเยซูอิตที่เป็นที่รู้จักจากความก้าวหน้าทางผลงานทางวิทยาศาสตร์กลับให้การต้อนรับเขาอย่างดี




การตั้งมั่นตามประเพณีปฏิบัติ ?



กลุ่มที่ต่อต้านคาทอลิกมักจะยกกรณีเรื่องกาลิเลโอขึ้นมาเป็นตัวอย่างที่แสดงถึงความผิดพลาดในเรื่องคำสอนของทางศาสนจักร ที่ล้าสมัย ขาดความแม่นยำ และเป็นการยึดติดกับประเพณีปฏิบัติเดิม ๆ มากเกินไป แต่พวกเขาไม่รู้เลยว่าผู้ที่ทำหน้าที่พิพากษาตัดสินกาลิเลโอในเวลานั้น หาใช่ผู้ที่เชื่อและยึดถือแนวคิดจีโอเซนทริคทั้งหมดไม่ หากแต่เป็นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่มีมุมมองหลากหลาย ณ ช่วงเวลานั้นต่างหาก


ศตวรรษก่อนหน้านี้ อริสโตเติ้ลเองก็ยังปฏิเสธแนวคิดเฮลิโอเซนทริคเสียด้วยซ้ำ ขณะที่ในช่วงสมัยของกาลิเลโอนั้น นักวิชาการ นักคิดทั้งหลายก็เชื่อและยึดถือแนวคิดจีโอเซนทริคเป็นหลักเสียมากกว่า โคเปอร์นิคัสเองก็ได้ระงับเนื้อหาที่แสดงออกถึงแนวคิดเฮลิโอเซนทริคไว้ ณ บางช่วงเวลา แต่นั่นไม่ได้เกิดจากความกลัวว่าจะถูกต่อต้านจากทางศาสนจักร แต่กลับกันจากความกลัวว่าจะเป็นที่หัวเราะเยาะในหมู่นักวิชาการและเพื่อน ๆ ของเขาต่างหาก


หลายต่อหลายคนเข้าใจผิดไปว่ากาลิเลโอสามารถพิสูจน์ทฤษฎีเฮลิโอเซนทริคได้สำเร็จ อันที่จริงแล้วเขาก็ยังไม่สามารถตอบประเด็นข้อถกเถียงที่กินเวลามาร่วม 2000 ปี ตั้งแต่สมัยอริสโตเติ้ล นี้ได้หมด ถ้าแนวคิดเฮลิโอเซนทริคนี้เป็นจริง การสังเกตตำแหน่งของดวงดาวก็ควรจะคลาดเคลื่อนไปตามตำแหน่งของผู้สังเกตที่เปลี่ยนแปลงไป (Parallax) ซึ่งเกิดจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกด้วย แต่กระนั้นก็ดี เมื่อพูดถึงสมัยของกาลิเลโอแล้ว เรายังไม่มีเครื่องมือที่มีเทคโนโลยีมากพอจะสังเกตการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ การจะวัดการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งเช่นนั้นได้ต้องอาศัยการคำนวณวัดที่แม่นยำและละเอียดอ่อนกว่านี้มาก ซึ่งนั่นก็มาจากผลของตำแหน่งดวงดาวที่อยู่ห่างไกลจากโลกมากนั่นเอง


ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า การพิสูจน์ทฤษฎีของกาลิเลโอไม่ได้เป็นไปตามแบบมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์เช่นทุกวันนี้


ในจดหมายที่เขาส่งถึง แกรนด์ ดุ๊ค คริสติน่า ร่วมกับเอกสารอื่น ๆ กาลิเลโอกล่าวว่า ทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสนั้นมีตัวอย่างที่สมเหตุสมผล น่าเชื่อถือมาก แต่นักดาราศาสตร์เกือบทั้งหมดในยุคนั้นยังไม่มีความเข้าใจเรื่องระยะห่างของดวงดาวดีพอ ทำให้ไม่สามารถเข้าใจทฤษฏีของโคเปอร์นิคัส ที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงเรื่องระยะห่างของดวงดาว ที่ดวงดาวแต่ละดวงอยู่ห่างจากโลกมากเสียจนเราไม่สามารถสังเกตได้ถึงการเปลี่ยนตำแหน่งของดวงดาวจากการย้ายตำแหน่งของโลกที่เกิดจากการโคจร และนั่นก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่นักดาราศาสตร์อย่าง ไทโช แบร์ ปฏิเสธที่จะนำแนวคิดของโคเปอร์นิคัสมาสานต่อทั้งหมด


บางทีกาลิเลโออาจสามารถนำเสนอแนวคิดเฮลิโอเซนทริคได้อย่างราบรื่นกว่านี้ หากเขาเสนอมันในฐานะทฤษฎีหรือแนวคิดหนึ่ง ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อเขาไม่ได้นำเสนอมันในแง่ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ แล้วกลับไปประกาศว่า สิ่งนี้เป็นความจริงมากกว่าจะเป็นเพียงแค่ทฤษฎี ซึ่งแน่นอนว่า ในเวลานั้นยังไม่มีข้อพิสูจน์ใด ๆ ที่น่าเชื่อถือพอมาสนับสนุนแนวคิดนี้ได้ หรือพูดอีกนัยหนึ่ง กาลิเลโอคงจะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องวุ่น ๆ เช่นนี้ หากแนวคิดที่เขานำเสนออยู่ในแวดวงทางวิทยาศาสตร์ และไม่ไปแตะต้องเนื้อหาทางเทวศาสตร์ แต่เป็นเพราะประเด็นที่เขานำเสนอมาตกอยู่ในสาขาทางเทวศาสตร์ ทำให้ปัญหาทั้งหมดเกิดขึ้นมา


ในปี 1614 กาลิเลโอรู้สึกว่าตนถูกบังคับให้ยอมรับว่า “วิทยาศาสตร์แขนงใหม่” ของเขา ขัดแย้งกับข้อความในพระคัมภีร์ ฝ่ายตรงข้ามกับเขาชี้ไปที่เนื้อหาในพระคัมภีร์อย่างเช่น



“ดวงอาทิตย์ก็หยุดนิ่ง และดวงจันทร์ก็ตั้งเฉยอยู่”
(โยชูวา 10 : 13 )

โลกได้สถาปนาไว้แล้ว มันจะไม่หวั่นไหว
บทสดุดีที่ 93

พระองค์ทรงตั้งแผ่นดินโลกไว้บนรากฐานของมัน
เพื่อมิให้มันหวั่นไหวเป็นนิตย์
บทสดุดีที่ 104

ดวงอาทิตย์ขึ้น และดวงอาทิตย์ตก
ปัญญาจารย์ 1 : 5



ทั้งหมดนี้กล่าวถึงเรื่องการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงบนท้องฟ้า และเรื่องของแผ่นดินโลกที่หยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว แต่ก็อย่างที่นักบุญ ออกัสตินได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า เราไม่ควรจะอ่านพระคัมภีร์และตีความตัดสินเนื้อหานั้นตามตัวอักษรเกินไป



แต่โชคไม่ดีนักที่ในประวัติศาสตร์ของศาสนจักรนั้น มีหลายคนที่ยืนยันจะอ่านพระคัมภีร์และเชื่อตามตัวอักษรนั้น ๆ มากกว่าเจตนาจริง ๆ ของตัวเนื้อหา พวกเขาล้มเหลวที่จะสัมผัสความงามทางภาษาในพระคัมภีร์ หรือที่เราเรียกว่า ภาษาแสดงปรากฏการณ์ (Phenomena Language) เหมือนอย่างที่เราพูดกันว่า ตะวันปรากฏขึ้น และล่วงเลยลับไป ทำให้วันและคืนเกิดขึ้น มากกว่าที่จะพูดว่า โลกเคลื่อนที่ ในมุมมองของคนที่อยู่บนโลกโดยทั่วไป เรารู้สึกว่าดวงอาทิตย์ขึ้นและตก และโลกก็เหมือนจะหยุดนิ่ง ไม่ได้เคลื่อนไหวหรือโคจรใด ๆ ทั้งสิ้น และในเวลาที่เราอธิบายสิ่งเหล่านี้ตามที่มันปรากฏนั้น เราจะใช้ภาษาที่สละสลวยสื่อออกมาเป็นภาษาปรากฏการณ์ เพื่อแสดงถึงสิ่งเหล่านี้ ภาษาเช่นนี้จะกล่าวถึงการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของฟ้าสวรรค์ และการคงนิ่งไม่ไหวติงของโลก ในขณะที่เราในยุคปัจจุบันนี้สามารถรู้และตีความได้ว่าข้อความแต่ละส่วนสื่อถึงอะไร ผู้คนจำนวนไม่น้อยในศตวรรษก่อนหน้านี้โดยเฉพาะในหมู่นักวิชาการพระคัมภีร์ เลือกที่จะพิจารณาถ้อยคำในพระคัมภีร์ ว่าข้อความใดควรจะถือเป็นการเล่นคำทางภาษาเพื่อแสดงถึงปรากฏการณ์ และข้อความใดที่ควรจะเชื่อจริง ๆ จัง ๆ ตามตัวอักษร แต่ก็เป็นความจริงที่ว่า พวกเขารับไม่ได้กับการที่ กาลิเลโอ ผู้ไม่ใช่นักวิชาการทางด้านพระคัมภีร์ มาเป็นผู้กล่าวฟันธงว่าข้อความศักดิ์สิทธิ์ในพระคัมภีร์นี้ต้องทำความเข้าใจตามหลักเหตุผล ไม่ใช่ตามตัวอักษร



ในช่วงเวลายุคนั้น การตีความพระคัมภีร์ตามมุมมองความเห็นของแต่ละบุคคลนั้นยังเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนอยู่

ในช่วงต้นของปี 1600 ศาสนจักรพึ่งผ่านพ้นการสังคยนาใหม่มาอยู่ และหนึ่งในเหตุผลหลักของการโต้เถียงระหว่างคาทอลิก กับ โปรแตสแตนท์ ก็มาจากเรื่องการตีความพระคัมภีร์จากมุมมองของแต่ละคนนั่นเอง


นักเทววิทยายังไม่พร้อมที่จะยอมรับทฤษฎีเฮลิโอเซนทริคง่าย ๆ จากการตีความของฆราวาสธรรมดาผู้หนึ่งอย่างกาลิเลโอ แต่กาลิเลโอเองกลับยืนยันในทฤษฎีของเขา และผลักดันข้อถกเถียงนี้เข้าสู่สาขาทางเทวศาสตร์ ทำให้เราอดที่จะคิดไม่ได้ว่า หากกาลิเลโอถกเถียงทฤษฎีนี้แต่ในด้านสาขาทางดาราศาสตร์ และไม่ประกาศกล่าวอ้างว่าทฤษฎีนี้เป็นข้อเท็จจริงทางฟิสิกซ์ เรื่องราวและปัญหาทั้งหมดก็คงจะไม่อุบัติขึ้นมา
แก้ไขล่าสุดโดย Holy เมื่อ อาทิตย์ ก.ค. 22, 2007 4:47 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nihil
~@
โพสต์: 1763
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 4:36 pm
ที่อยู่: Pax
ติดต่อ:

อังคาร มิ.ย. 06, 2006 11:57 pm

กาลิเลโอเผชิญหน้ากับโรม


กาลิเลโอเดินทางมาเข้าพบพระสันตะปาปา ปอล ที่ 5 (1605-1621) พระสันตะปาปาผู้ทรงหน่ายพระทัยกับเรื่องโต้เถียงนี้ และได้ทรงยกให้ สมณกระทรวงพระสัจธรรม จัดการรับผิดชอบเรื่องนี้แทน ซึ่งข้อสรุปที่ออกมาคือการประณามในทฤษฎีของกาลิเลโอในปี 1616 เรื่องทั้งหมดดูจะจบลงอย่างเงียบ ๆ จนกระทั่งกาลิเลโอได้ดำเนินการต่อมาภายหลัง


จากคำขอร้องของกาลิเลโอ พระคาร์ดินัล โรเบิร์ต เบลลาร์มิเน่ แห่งคณะเยซูอิต หนึ่งในนักเทวศาสตร์คาทอลิกผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งในยุคนั้น ได้ทำหนังสือรับรองว่า ถึงแม้มันจะห้ามไม่ให้กาลิเลโอกล่าวสนับสนุนแนวคิดเฮลิโอเซนทริคได้ แต่นั่นก็ไม่ได้ห้ามเขาในการที่จะอนุมานยอมรับมัน ในครั้งที่กาลิเลโอเข้าพบพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ คือ พระสันตะปาปา เออร์บาน ที่ 8 ในปี 1623 กาลิเลโอได้รับอนุญาติให้เขียนงานเกี่ยวกับแนวคิดเฮลิโอเซนทริคได้


ในคราที่กาลิเลโอเขียน Dialogue on the Two World Systems ออกมา เขาได้หยิบประเด็นข้อถกเถียงของพระสันตะปาปา มาพูดผ่านปากตัวละครชื่อ ซิมพลิซิโอ้ (Simplicio) การกระทำที่ดูเหมือนเป็นการท้าทายและล้อเลียนพระสันตะปาปาเช่นนี้ ทำให้พระสันตะปาปาไม่สบพระทัยเป็นอย่างยิ่ง และไม่เพียงแต่พระสันตะปาปาเท่านั้น กาลิเลโอเองก็ยังล้อเลียนบุคคลอื่น ๆ ผ่านผลงานของเขา ล้อเลียนเสียดสีไม่เว้นแม้แต่ผู้ให้ทุนสนับสนุน และคณะเยซูอิต จากการโจมตีของนักดาราศาสตร์ที่ปรากฏในผลงานของเขา






ยอมถูกทรมานเพื่อยืนหยัดในความเชื่อของตน ?



ในตอนท้ายนั้น กาลิเลโอยอมถอนคำพูดเรื่องความเชื่อในทฤษฎีเฮลิโอเซนทริคของเขา จากการถูกลงโทษให้ปฏิบัติตามนั้น คนทั่วไปมักจะเข้าใจว่าเขาถูกขังในคุกเก่า ๆ โทรม ๆ และถูกทรมานให้ยอมรับตามนั้น แต่อันที่จริงแล้วเขาได้รับการปฏิบัติที่ดีเสียด้วยซ้ำ


นักประวัติศาสตร์ จิออร์จิโอ้ เดอร์ ซานติลลานา ได้กล่าวไว่า
“เราต้องยอมรับในความระแวดระวังและการตัดสินทางศีลธรรมจรรยาของสิทธิ์ขาดอำนาจทางโรมันที่มี”


กาลิเลโอ ได้รับทั้งความสะดวกสบายและทุกสิ่งที่เขาต้องการในระหว่างการถูกลงโทษกักขังที่บ้านของเขา ในสภาพที่เรียกได้ว่าแทบจะไม่ทุกข์ร้อนยากลำบากเกินทนแต่ประการใดเลย


นิโคลินี ผู้เป็นเพื่อนสนิทของกาลิเลโอ ได้ทำหน้าที่เป็นทูตไปยังวาติกัน และส่งรายงานให้กับศาลเกี่ยวกับ
กรณีที่เกิดขึ้นทั้งหมดในโรมนี้ แน่นอนว่าจดหมายของเขาหลายต่อหลายฉบับเกี่ยวข้องกับข้อถกเถียงเกี่ยวกับกาลิเลโอ



นิโคลินี ได้เปิดเผยสถานการณ์เกี่ยวกับการถูกตัดสิน “กักขัง” ของกาลิเลโอ จากรายงานของเขาออกมาว่า

“พระสันตะปาปาทรงตรัสกับข้าพเจ้าว่า พระองค์ได้ทรงให้ความเมตตาต่อกาลิเลโอชนิดที่พระองค์ไม่เคยมอบให้ผู้ใดมาก่อน
(จดหมายฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1633)


“เขามีคนรับใช้ และได้รับความสะดวกสบายทุกอย่าง”
(จดหมายฉบับวันที่ 16 เมษายน)


“และในกรณีเรื่องของกาลิเลโอนั้น เขาจำต้องถูกกักขังชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพราะเขาขัดประพฤติไม่ถือตามคำสั่งในปี 1616 แต่องค์พระสันตะปาปาได้ทรงตรัสว่า หลังการประกาศคำพิพากษาแล้ว พระองค์ปรารถนาจะพิจารณาเรื่องนี้อีกทีร่วมกับข้าพเจ้า เพื่อหาช่องทางบรรเทาโทษให้กับกาลิเลโอ ให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้”(จดหมายฉบับวันที่ 18 เมษายน)



มีคำถามว่ากาลิเลโอถูกทรมานจริงหรือ ? นิโคลินี น่าจะรายงานเรื่องนี้ให้กับองค์กษัตริย์ไปแล้วหากมันเกิดขึ้นจริงจริงอยู่ที่ว่าอุปกรณ์เครื่องมือทรมานอาจถูกนำมาในระหว่างการกลับคำให้การของกาลิเลโอ แต่นั่นก็เป็นเพียงธรรมเนียมปฏิบัติของระบบกฎหมายยุโรปในช่วงเวลานั้น แต่แน่นอนว่าอุปกรณ์เหล่านั้นไม่ได้ถูกนำมาใช้งานจริง


จากทุกนี้ ทำให้เรารู้ว่า กาลิเลโอไม่เคยถูกทรมานตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ใน The Directory for Inquisitors (นิโคลัส เอมิริค 1595) เลย สิ่งนี้เป็นร่างแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นทางการของสมณกระทรวงพระสัจธรรม ซึ่งเจ้าหน้าที่ของศาสนจักรที่รับผิดชอบเรื่องนี้ ก็ได้กระทำตามเนื้อหาที่ปรากฏในจดหมาย


เหมือนดังเช่นที่นักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาชั้นนำอย่าง อัลเฟรด นอร์ธ ไวท์เฮด ได้แสดงความเห็นเอาไว้ว่า

“ในยุคที่มองแม่มดว่าเกี่ยวกับการทรมานและการประหารชีวิตโดยโปรแตสแตนท์ในอังกฤษ เช่นนี้ สิ่งเลวร้ายที่สุดที่เกิดกับนักวิทยาศาสตร์ มีเพียงการที่กาลิเลโอถูกกักกัน กับการถูกประณามแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น “

แม้แต่ในปัจจุบันนี้ ศาสนจักรคาทอลิกก็ยังยอมรับกันว่าการกล่าวท้าทายของกาลิเลโอนั้นผิดจริง และตัวกาลิเลโอก็สำนึกเสียใจในการกระทำที่ไม่เหมาะสมของตัวเขาเองด้วย


ถึงแม้ว่า 3 ใน 10 ของกลุ่มพระคาร์ดินัลจะปฏิเสธที่จะเซ็นคำตัดสินพิพากษา แต่ผลงานของกาลิเลโอก็เป็นที่ประณามอยู่ดี กลุ่มที่ต่อต้านคาทอลิกมักจะกล่าวอ้างเรื่องการตัดสินกาลิเลโอว่ามีความผิด แล้วมายกเลิกในภายหลัง แสดงถึงความบกพร่อง และขัดต่อข้อความเชื่อที่ว่าพระสันตะปาปามิรู้พลั้ง แต่นั่นก็ไม่ใช่กับกรณีนี้ เพราะว่าพระสันตะปาปาไม่เคยใช้กฎความไม่รู้พลั้งนี้ในการตัดสินมุมมองของกาลิเลโอเลย (infallible = ความมิรู้พลั้ง ไม่มีทางผิด ถูกอยู่เสมอ)



ศาสนจักรไม่เคยประกาศอ้างศาลยุติธรรมธรรมดาในการใช้อำนาจมิรู้พลั้ง ระบบศาลยุติธรรมของศาสนจักรมีอำนาจแต่เพียงตามระบบกฎหมายเท่านั้น และไม่มีอำนาจการตัดสินใจใด ๆ จะมาเกี่ยวข้องกับความมิรู้พลั้ง


ไม่มีการประชุมกันของสภาสังคยนาสากลในเรื่องของกาลิเลโอ และพระสันตะปาปาไม่ใช่ศูนย์กลางของข้อถกเถียงนี้ ทั้งหมดเป็นการดำเนินการของสมณกระทรวงพระสัจธรรมเป็นหลัก พระสันตะปาปา เออร์บานที่ 8 ทรงอนุมัติคำตัดสินที่ผ่านการพิจารณาแล้วเท่านั้น และแน่นอนพระองค์ไม่เคยพยายามใช้อำนาจในเรื่องความมิรู้พลั้งเลย




มีเงื่อนไข 3 ประการที่ต้องได้รับการตอบสนองก่อนพระสันตะปาปาจะทรงใช้อำนาจความมิรู้พลั้งนี้ได้ อันได้แก่



(1) เขาต้องกล่าวอย่างเป็นทางการตามสถานะของตนในฐานะผู้สืบทอดของเปโตร
(2) เขาต้องกล่าวตามสาระสำคัญแห่งศรัทธา และ ศีลธรรม
(3) เขาต้องกำหนดนิยามข้อความเชื่ออย่างเด็ดขาด ให้เป็นหนึ่งเดียวและเป็นที่ถือตามทั้งหมดโดยผู้ศรัทธา




ในกรณีของกาลิเลโอนั้น เงื่อนไขข้อที่ 2 และ 3 ยังไม่ได้ผ่านเงื่อนไข และบางทีตั้งแต่ข้อแรกเสียด้วยซ้ำ นักเทววิทยาคาทอลิกไม่เคยกล่าวอ้างเลยว่า การให้ความยินยอมอนุมัติของพระสันตะปาปาในกฤษฎีกาศาลยุติธรรมเป็นการใช้อำนาจแห่งความมิรู้พลั้ง เรื่องนี้เป็นเรื่องถกเถียงแบบฟางข้าวเล็ก ๆ ที่โยงศาสนจักรคาทอลิกและอำนาจความไม่รู้พลั้งกับวิทยาศาสตร์ ออกมาเป็นความเข้าใจและข้อถกเถียงแบบผิด ๆ คำประกาศที่รุนแรงที่สุดของศาสนจักรในยุคของกาลิเลโอ นั้น มีเพียงการกล่าวโทษนักวิทยาศาสตร์ที่กล่าวอ้างยกทฤษฎีที่ไร้การพิสูจน์รับรองมาเรียกร้องให้ศาสนจักรเปลี่ยนแปลงเนื้อหาใน
พระวรสารให้สอดคล้องตามทฤษฎีนั้น และแน่นอนว่าคำประกาศนั้นไม่ได้ใช้อำนาจอันมิรู้พลั้ง


การที่ศาสนจักรไม่ได้ยอมรับในมุมมองของกาลิเลโอในทันทีนั้นก็เป็นเรื่องที่ดีด้วย เพราะท้ายที่สุดแล้ว แนวคิดที่เขานำเสนอก็ไม่ได้ถูกต้องไปเสียทั้งหมดเช่นกัน กาลิเลโอเชื่อว่าดวงอาทิตย์ไม่ได้เป็นเพียงศูนย์กลางของระบบสุริยะจักรวาล หากแต่เป็นศูนย์กลางของจักรวาลทั้งหมดเลย แต่มาถึงทุกวันนี้ พวกเราก็รู้กันดีแล้วว่าดวงอาทิตย์หาใช่ศูนย์กลางของจักรวาลอย่างที่กาลิเลโอกล่าวอ้างไม่ และดวงอาทิตย์เองก็ยังมีการโคจรด้วย โดยมีวงโคจรศูนย์กลางของกาแลคซี่ไม่ใช่โลก


จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดยิ่งทำให้เราเข้าใจมากขึ้นว่ากาลิเลโอกับคู่กรณีของเขานั้น ต่างฝ่ายต่างถูกและผิดกันคนละส่วน กาลิเลโอนั้นถูกในเรื่องการโคจรของโลก ว่าโลกไม่ได้หยุดนิ่ง แต่ผิดในเรื่องที่ว่าดวงอาทิตย์หยุดนิ่งไม่โคจรส่วนคู่กรณีของเขานั้นถูกในเรื่องการโคจรของดวงอาทิตย์ และผิดในเรื่องการว่าโลกไม่ได้โคจร


หากศาสนจักรคาทอลิกรับรองอนุมัติมุมมองแนวคิดของกาลิเลโอในทันที ตามความเห็นของหลายคนที่เห็นด้วย ศาสนจักรก็ย่อมอ้าแขนรับสิ่งที่วิทยศาสตร์สมัยใหม่หักล้างในเวลาต่อมาไปแล้ว








NIHIL OBSTAT (ไม่มีข้อขัดข้อง) :
ข้าพเจ้าขอรับรองว่าเนื้อหาบทความชิ้นนี้ไม่มีข้อผิดพลาดต่อหลักข้อความเชื่อและศีลธรรม
Bernadeane Carr, STL, Censor Librorum, August 10, 2004




IMPRIMATUR (อนุญาติให้พิมพ์ได้) :จากข้อตกลง ปี 1983 CIC 827
อนุญาติให้พิมพ์ และ เผยแพร่บทความนี้ได้
+Robert H. Brom, Bishop of San Diego, August 10, 2004




http://www.catholic.com/library/Galileo_Controversy.asp
แก้ไขล่าสุดโดย Holy เมื่อ อาทิตย์ ก.ค. 22, 2007 4:51 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

เสาร์ มิ.ย. 10, 2006 6:08 pm

ยังมีทฤษฎีอื่นของนักประวัติศาสตร์ที่ว่าด้วยปัจจัยด้านอื่นด้วยนะครับ

ในกรณีของกาลิเลโอเอง ศาลศาสนาบังคับขอคือ ขอให้กาลิเลโอหยุดสอนทฤษฎีของเขา ในความเป็นจริงสมัยนั้นที่มักไม่ค่อยมีใครพูดคือ ในสมัยของเขา นักวิทยาศาสตร์มักคิดทฤษฎีที่บางทีขัดกับนักวิทยาศาสตร์คนอื่น และมักเขียนหนังสือตอบโต้กันบางครั้งก็รุนแรงมาก นั่นชี้ว่าเขาเองมีศัตรูไม่น้อย เรารู้ว่าสัญญาณที่กาลิเลโอโดนต่อต้านนี้ ไม่ได้เริ่มจากฝ่ายศาสนาเลยด้วยซ้ำ แต่เริ่มจากทางขุนนางและนักวิชาการอื่นๆ จากนั้นเมื่อมีสงคราม30ปีในเยอรมัน ตระกูลเมดิซีที่เป็นสปอนเซอร์ให้กาลิเลโออยู่สนับสนุนเยอรมัน แต่ทางโรมอยู่ฝ่ายตรงข้าม กาลิเลโอจึงโดนลูกหลงเป็นหมากการเมืองไปด้วย ศาลไม่ได้ทรมาณกาลิเลโอหรือจะประหาร แต่บังคับขอให้กาลิเลโอประกาศว่าทฤษฎีของคอปเปอ์นิคัส(ที่กาลิเลโอสนับสนุน)ผิด กาลิเลโอยอมประกาศ จึงลดโทษเหลือจำคุก แต่ให้อยู่ในวัดแทนอยู่ในคุก และไม่กี่เดือนเขาก็ได้รับอณุญาติให้ย้ายกลับบ้านที่อัลเชโตรี และเขายังพิมพ์หนังสือทฤษฎีของเขาออกมาโดยผ่านไปทางฮอลแลนด์แทน แล้วจึงย้อนกลับมาทางเวเนเชีย ซึ่งน่าแปลกที่ทางโรมก็ไม่ได้ว่าอะไร และตลอดเวลาเขาก็มีลูกศิษย์ลูกหาและสอนทฤษฎีของเขาอยู่ต่อไป ทั้งที่คำปฏิญาณของเขามีผลตลอดชีวิต แต่กลับไม่มีการบังคับใช้อย่างเคร่งครัด

เพราะในความเป็นจริง พระสันตะปาปาอุลบานุสที่8 ในสมัยนั้นก็รู้จักกาลิเลโอเป็นการส่วนตัว และเคยอ่านหนังสือของเขา และชอบทฤษฎีของเขาด้วยซ้ำ ดังนั้นจะว่าไป เรื่องขัดศรัทธาในกรณีกาลิเลโอแทบไม่ใช่ประเด็นแต่ประเด็นจริงๆมาจากปัญหาการเมืองในยุโรปที่รุนแรงและส่งผลมาถึงชาวบ้านทั่วทุกสาขาอาชีพมากกว่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
-Rei-
โพสต์: 1015
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. มิ.ย. 09, 2005 8:31 pm
ติดต่อ:

เสาร์ มิ.ย. 10, 2006 9:56 pm

ขอบคุณงับ

ได้ความรู้เยอะเยย ^^

Nihil เขียน:
NIHIL OBSTAT (ไม่มีข้อขัดข้อง) :

ตกลง Nihil แปลว่าอาหยัง
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

เสาร์ มิ.ย. 10, 2006 11:52 pm

SugarRei เขียน: ขอบคุณงับ

ได้ความรู้เยอะเยย ^^

Nihil เขียน:
NIHIL OBSTAT (ไม่มีข้อขัดข้อง) :

ตกลง Nihil แปลว่าอาหยัง
แปลว่า "ไม่มี" ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
NKL
โพสต์: 189
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ธ.ค. 01, 2005 7:32 pm
ติดต่อ:

เสาร์ มิ.ย. 10, 2006 11:55 pm

มันเป็นมาอย่างนี้เองหรือนี่
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nihil
~@
โพสต์: 1763
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 4:36 pm
ที่อยู่: Pax
ติดต่อ:

อาทิตย์ มิ.ย. 11, 2006 7:48 pm

Nihil = Nothing
Obstat = Obstacle
งับ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

เสาร์ ม.ค. 28, 2012 12:36 am

บางครั้งเรายังพบความเข้าใจผิดๆว่า ปัญหากาลิเลโอคือเรื่องโลกแบนโลกกลม
ตอบกลับโพส