โดนหัวหน้ากลั่นแกล้ง

ปรับทุกข์ หนุนใจ ขอคำภาวนา
ตอบกลับโพส
ลี วูจิน
โพสต์: 331
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ พ.ค. 01, 2005 4:57 pm
ที่อยู่: Thailand
ติดต่อ:

ศุกร์ ต.ค. 26, 2007 8:23 pm

คือว่า แม่เพื่อนผมถูก ผอ.แกล้ง
เขาเป็น ผช.
เวลามีอะไร ผอ. ก็จะแว้ดๆ ใส่ตลอด
แล้วงานขอธุระการก็เอามาให้แกทำเฉย(แกอยู่ฝ่ายปกครอง)
ผมเพิ่งไปช่วยมา มีงานที่ต้องเขียน 153 หน้า
พวกฝ่ายธุระการก็ว่างแต่มะมีใครมาช่วย เฮ้อ : emo031 :
ผอ. เขาบีบแกให้ออกเพราะแกรู้จักคนเยอะ
ผอ. เลยหาว่ายุให้คนเกลียดแก

ปล.ผมไม่ได้ฟังความข้างเดียวผมไปสัมผัสมาเอง
Holysong_holyHill
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 21, 2007 9:59 pm
ที่อยู่: นครศรีธรรมราช Nakhoosri-tammarat
ติดต่อ:

ศุกร์ ต.ค. 26, 2007 8:28 pm

  โอนับว่าแย่ครับ แต่บอกเขาไม่ต้องกลัวครับ เดี่ยวนี้มี พรบ เกี่ยวกับการกระทำผืดหรือการกระทำอันมิชอบด้วยกำหมายของนายจ้าง แต่ถ้าเป็นข้าราชการ เราก็มีกฎหมายปกครองรองรับคำ เกี่ยวกับการกระทำ หรือการออกคำสั่งโดยมิชอบของผู้บังคบบัญชา เราสามารถร้องเรียนขอการคุ้มครองและให้มีการไต่สวนของตุลาการศาลปกครองในกรณีคำสั่งนั้นๆครับ โดยมีขั้นตอนดำเนินการอยู่นะครับ ลองไปถามที่ศาลปกครองหรือลองเข้าไปดูที่เวปของศาลปกครองนะครับ หรือถ้ามีเวลาผมจะเอามาลงให้นะครับ
  ไม่ต้องกลัวอีกต่อไปครับโดยจำเพาะข้าราชการ อันนี้คุ้มครองถึงครับ
Holysong_holyHill
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 21, 2007 9:59 pm
ที่อยู่: นครศรีธรรมราช Nakhoosri-tammarat
ติดต่อ:

ศุกร์ ต.ค. 26, 2007 8:30 pm

http://www.admincourt.go.th/Login.aspx?
ลองเข้าไปดูนะครับ
มีขั้นตอนการฟ้อง
การไต่สวน
และอื่นๆที่ควรรู้ครับ
ลี วูจิน
โพสต์: 331
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ พ.ค. 01, 2005 4:57 pm
ที่อยู่: Thailand
ติดต่อ:

ศุกร์ ต.ค. 26, 2007 8:33 pm

ผอ. เขาบอกว่าเขาเส้นใหญ่
แล้วก็เขาจะบังคับให้ออกให้ได้ ::008::
Rakkypoko!
โพสต์: 960
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ส.ค. 31, 2007 2:35 pm

ศุกร์ ต.ค. 26, 2007 8:35 pm

ไหนๆก็พูดเรื่องนี้แล้ว งั้นผมขอพูดมั่งเลยดีกว่า แบบนี้ผมก็เคยโดน ตอนผมไปฝึกงานที่ รพ แห่งนึง เป็นของคริสเตียนในเครือ Seven Day หัวหน้าไม่ชอบผม เลยไม่ให้ผมผ่าน ทั้งๆที่คนทั้ง รพ ก็รู้ว่าผมทำงานได้ดีและไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ เขาไม่ยอมให้ผ่าน ผมเลยตกปฏิบัติ แล้วก่อนเขาประเมินผมทะเลาะกับลูกน้องสุดที่รักของเขาซะด้วย เขาเลยไปบอก ผอ ว่า ผมทำร้ายร่างกาย แต่ดีที่พยายานเยอะ เลยไม่โดน ก่อนผมจะโดนประเมินออก อาจาร์ยแผนกศาสนกิจที่นั่น ยังบอกกับผมเลยว่า หัวหน้าผมเป็นคนชอบประจบ เพื่อเป็นใหญ่ อาจารย์บอกว่า หน ผม มาเป็นคริสเตียนไม่ได้เพราะความเชื่อเลย แต่เป็นเพราะอยากเลื่อนตำแหน่ง ผมฟังแล้วเสียความรู้สึกที่มีคนแบบนี้  ยังไงก็จะสวดให้กับคนที่เจอเหตุการณืแบบผม และคุณ ลี วู จิน ครับ
Marie Antoinette
โพสต์: 626
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ มี.ค. 26, 2007 8:07 pm
ที่อยู่: bkk

ศุกร์ ต.ค. 26, 2007 8:37 pm

พวกข้าราชการส่วนใหญ่นะ ก็จะเป็นแบบนี้แหละ เท่าที่เคยคลุกคลีในนี้นะ ยิ่งข้าราชการต่างจังหวัดน่ะ อู๊ย โยนงานกันมั่วไปหมด พวกใครเป็นพวกใครไม่รู้อะ  ไม่รู้จะแนะนำยังไงเหมือนกัน ขอให้อดทนไปเรื่อยๆละกันเนอะ :wink: 
Holysong_holyHill
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 21, 2007 9:59 pm
ที่อยู่: นครศรีธรรมราช Nakhoosri-tammarat
ติดต่อ:

ศุกร์ ต.ค. 26, 2007 8:43 pm

  ครับในฐานะที่ผมก็ทำงานด้านกฎหมายขอเเนะนำครับ อย่าปล่อยข่าราชการเหล่านี้ใว้ครับ ร้องเรียนเลยครับ ระบบศาลปกครองมีใว้คุ้งครองประชาชนจากข้าราชการ และข้าราชการด้วยกัน การดำเนินคดีก็ง่ายต่อเราครับ คือเราไม่ต้องมีทนาแก้ต่างเหมือนในคดีอาญา-แพ่งแต่อย่างใด เขาจะมีตุลาการเป็นผู้ไต่สวนครับ ลองดูครับ หลายคนลองมาแล้วครับ เห็นผลครับ
ลองศึกษากระบวนการหรือสอบถามดูครับ
ลี วูจิน
โพสต์: 331
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ พ.ค. 01, 2005 4:57 pm
ที่อยู่: Thailand
ติดต่อ:

ศุกร์ ต.ค. 26, 2007 8:45 pm

ผมไปช่วยก็ว่า
คิดดูใบเสร็จใบเดียวเขียนออกมาได้ตั้ง 153 แผ่น
Holysong_holyHill
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 21, 2007 9:59 pm
ที่อยู่: นครศรีธรรมราช Nakhoosri-tammarat
ติดต่อ:

ศุกร์ ต.ค. 26, 2007 8:52 pm

                                การฟ้องคดีปกครอง

          เนื่องจากคดีปกครองมีลักษณะพิเศษต่างไปจากคดีแพ่งและคดีอาญา ดังนั้น จึงต้องมีวิธีพิจารณาที่เหมาะสมกับสภาพของคดีปกครองเอง ซึ่งได้แก่วิธีพิจารณาแบบไต่สวน อันเป็นวิธีการที่มีหลักสำคัญในการให้อำนาจศาลในการแสวงหาข้อเท็จจริงได้อย่างกว้างขวาง และเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาเอง

         อย่างไรก็ดี การพิจารณาคดีปกครองยังคงต้องเคารพหลักทั่วไปของระบบวิธีพิจารณาคดี อันเป็นหลักการที่มุ่งเน้นให้มีการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรมและมีประสิทธิภาพ เช่น การฟังความสองฝ่าย การพิจารณาไปตามกรอบของคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้อง การคัดค้านตุลาการ เป็นต้น

         จากหลักการของกระบวนพิจารณาคดีปกครองดังกล่าวข้างต้น ได้นำมาสู่การวางระบบวิธีพิจารณาคดีปกครองที่ส่วนหนึ่งอันเป็นกรอบสาระสำคัญได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และอีกส่วนหนึ่งกำหนดไว้ในระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543
       
                                     การเสนอคำฟ้อง
การยื่นฟ้องต่อศาล จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

         1. เรื่องที่นำมาฟ้องต้องเป็นคดีปกครอง และต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง

         คือ เป็นกรณีตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

         2. ต้องยื่นฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจ

         อำนาจศาลในที่นี้หมายถึงทั้งอำนาจและเขตอำนาจกล่าวคือ คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองชั้นต้น ก็จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นจะฟ้องไปยังศาลปกครอง สูงสุดไม่ได้ ในทางกลับกันคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองสูงสุด ก็จะต้องยื่นฟ้องต่อศาล ปกครองสูงสุดเท่านั้น อีกทั้งการยื่นฟ้องคดีจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้น ซึ่งในศาลปกครองชั้นต้นได้แก่ ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นหรือศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาอยู่เขตศาลนั้น ส่วนศาลปกครองสูงสุดมีเขตอำนาจครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ

         3. คำฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมีรายการตามที่กำหนดไว้และยื่นโดยถูกวิธี

         การฟ้องคดีปกครองไม่มีแบบของคำฟ้องกำหนดไว้เฉพาะ แต่ต้องทำเป็นหนังสือ ฟ้องด้วยวาจาไม่ได้) ใช้ถ้อยคำสุภาพ มีรายการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 45 กล่าวคือต้องระบุ ชื่อ ที่อยู่ของผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดี ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี คำขอและลายมือชื่อผู้ฟ้องคดี โดยต้องแนบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปพร้อมคำฟ้อง โดยผู้ฟ้องคดีต้องจัดทำสำเนาคำฟ้องและสำเนาพยานหลักฐานตามจำนวนผู้ถูกฟ้องคดีด้วย

         สำหรับวิธีการยื่นคำฟ้องนั้นจะยื่นด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นยื่นแทนหรือจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้

         อนึ่ง ในกรณีที่มีผู้ประสงค์จะฟ้องคดีหลายคนในเหตุเดียวกัน บุคคล ดังกล่าวจะยื่นคำฟ้องร่วมกันเป็นฉบับเดียว โดยมอบให้ผู้ฟ้องคดีคนหนึ่งเป็นตัวแทนของผู้ฟ้องคดีทุกคนก็ได้ ในกรณีนี้ถือว่าการกระทำของตัวแทนผู้ฟ้องคดีในกระบวนพิจารณาผูกพันผู้ฟ้องคดี ทุกคนด้วย

         4. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตามกฎหมาย

โดยหลักแล้วผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากผู้ฟ้องคดีมีข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถก็จะต้องดำเนินการแก้ไขตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ อย่างไรก็ดี สำหรับในการ ฟ้องคดีปกครองนั้น มีข้อยกเว้นอนุญาติให้ผู้เยาว์ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ฟ้องคดีด้วย ตนเองได้ถ้าศาลอนุญาต

         5. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 ของ รัฐธรรมนูญ และมาตรา 42

         กล่าวคือ จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองซึ่งในความเป็นจริงส่วนใหญ่แล้วผู้เสียหายในคดีปกครองก็คือประชาชนทั่วไปที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทำทาง ปกครอง แต่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็อาจเป็นผู้เสียหายและฟ้องคดี ปกครองได้เช่นกัน

         สำหรับกรณีความรับผิดทางละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของฝ่ายปกครองหรือสัญญาทางปกครองนั้น มีความชัดเจนอยู่ในตัวว่า
Holysong_holyHill
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 21, 2007 9:59 pm
ที่อยู่: นครศรีธรรมราช Nakhoosri-tammarat
ติดต่อ:

ศุกร์ ต.ค. 26, 2007 8:54 pm

ตัวอย่างการฟ้อง

          การยื่นฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองกลางนั้นมีหลักเกณฑ์และวิธีการเช่นเดียวกับการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นอื่น แต่มีข้อควรสังเกตเพิ่มเติมบางประการ ดังนี้

         1. ผู้ฟ้องคดีจะมายื่นคำฟ้องด้วยตนเองที่ศาลปกครองกลางหรือจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ โดยในกรณีที่ยื่นฟ้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้จ่าหน้าซองดังนี้

                                             

         2. ในการเขียนคำฟ้องนั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบฟอร์มไว้ แต่ผู้ฟ้องคดีต้องใช้ถ้อย คำที่สุภาพ และต้องระบุรายละเอียดหรือรายการต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดีชื่อหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกฟ้องคดี การกระทำหรือพฤติการณ์ของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่นำมาฟ้อง คำขอของผู้ฟ้องคดีและลายมือชื่อของผู้ฟ้องคดี นอกจากนั้น ผู้ฟ้องคดีต้องจัดทำสำเนาคำฟ้องและสำเนาพยานหลักฐาน (เช่น คำสั่งที่ทำให้ผู้ฟ้องคดี เดือดร้อนเสียหาย) ที่ผู้ฟ้องคดีได้รับรองสำเนาถูกต้องตามจำนวนของผู้ถูกฟ้องคดี ยื่นมาพร้อมกับ คำฟ้องด้วยเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ฟ้องคดี สำนักงานศาลปกครองกลางได้จัดทำตัวอย่าง คำฟ้อง (ค.1) ไว้ให้แล้ว

         3. การฟ้องคดีปกครองนั้น ผู้ฟ้องคดีสามารถดำเนินการด้วยตนเองได้โดยไม่จำเป็นต้องมีทนายความ แต่หากผู้ฟ้องคดีไม่สะดวกที่จะดำเนินการใดๆด้วยตนเองก็อาจมอบอำนาจให้ทนายความหรือบุคคลอื่นฟ้องคดีหรือดำเนินคดีปกครองแทนตนตั้งแต่ต้นจนเสร็จคดีก็ได้ กรณีเช่นนี้ ผู้ฟ้องคดีจะต้องทำ ใบมอบอำนาจพร้อมทั้งติดอากรแสตมป์ราคา 30 บาท ให้เรียบร้อยโดยไม่ต้องใช้ใบแต่งทนายเหมือนในคดีแพ่งหรือคดีอาญาทั่วไป โดยผู้ฟ้องคดีอาจใช้ตัวอย่างใบมอบอำนาจที่ ศาลปกครองกลางได้จัดทำขึ้นก็ได้

         4. ในบางกรณี ผู้ฟ้องคดีอาจไม่ประสงค์จะมอบอำนาจให้ทนายความหรือบุคคลอื่นฟ้องคดีหรือดำเนินคดีปกครองแทนตนทั้งหมดดังเช่นกรณีตามข้อ3. แต่ต้องการเพียงให้ผู้อื่นมายื่นฟ้องแทนหรือยื่นเอกสารหรือ พยานหลักฐานแทนเป็นครั้งคราวเท่านั้น กรณีเช่นนี้ ผู้ฟ้องคดีก็อาจมอบฉันทะให้ผู้อื่นกระทำแทนตนเป็นคราวๆ ก็ได้โดยในแต่ละคราวผู้ฟ้องคดีจะต้องทำใบมอบฉันทะ พร้อมทั้งติดอากรแสตมป์ราคา 10 บาท ให้เรียบร้อย ซึ่งกรณีนี้ศาลปกครองกลางได้จัดทำ ตัวอย่างใบมอบฉันทะ ไว้ด้วยแล้วเช่นกัน

         5. สำหรับเรื่องใดที่มีผู้เดือดร้อนหรือเสียหายหลายคน ซึ่งแต่ละคนประสงค์จะฟ้องคดีด้วยเหตุเดียวกัน ผู้ฟ้องคดีทุกคนอาจยื่นคำฟ้องร่วมกันเป็นฉบับเดียวได้โดยลงชื่อผู้ฟ้องคดีทุกคนท้ายคำฟ้องและในกรณีนี้ผู้ฟ้องคดี ทุกคนจะมอบหมายให้ผู้ฟ้องคดีคนหนึ่งเป็นผู้แทนของผู้ฟ้องคดีทุกคนในการดำเนินคดีต่อไปก็สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องทำใบมอบอำนาจหรือใบมอบฉันทะ แต่อย่างใด

         6. ในกรณีที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้ศาลปกครองสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินในกรณีละเมิด หรือผิดสัญญา ผู้ฟ้องคดีจะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในอัตราร้อยละ 2.5 ของ ทุนทรัพย์ แต่ไม่เกินสองแสนบาท อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้ฟ้องคดีไม่ทราบว่าจะต้องเสียค่า ธรรมเนียมศาลหรือไม่และเท่าใดหากผู้ฟ้องคดีมายื่นฟ้องด้วยตนเอง ผู้ฟ้องคดีอาจขอรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ศาลปกครองในขณะที่ยื่นฟ้องก็ได้ แต่ถ้าผู้ฟ้องคดีส่งคำฟ้องทางไปรษณีย์ ลงทะเบียน ผู้ฟ้องคดีจะต้องคำนวณเงินค่าธรรมเนียมศาลเอง หากคำนวณได้ไม่ถูกต้อง ศาลก็จะมีคำสั่งแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีชำระค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องในภายหลัง

         7. การชำระค่าธรรมเนียมศาลนั้น นอกจากจะเลือกชำระเป็นเงินสดหรือเช็คซึ่งธนาคาร รับรองแล้ว ผู้ฟ้องคดียังอาจเลือกชำระด้วยตั๋วแลกเงินธนาคารหรือดร๊าฟธนาคารก็ได้ โดยในช่อง สั่งจ่ายให้สั่งจ่ายในนาม

คดีที่ฟ้องไม่ได้

โดยปกติ คดีที่เอกชนจะฟ้องต่อศาลปกครองนั้นได้แก่ คดีพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน เนื่องจากการกระทำทางปกครองหรือการใช้อำนาจทางปกครอง ซึ่งในระยะแรกที่ศาลปกครองกลางเพิ่งเปิดทำการ ประชาชนอาจจะยังไม่ทราบได้แน่ชัดว่าเรื่องใดสามารถฟ้องต่อศาลปกครองได้ และเรื่องใดที่ฟ้องต่อศาลปกครองไม่ได้ ดังนั้นจึงมีคดีจำนวนหนึ่งที่ศาลปกครองกลาง ไม่อาจรับคำฟ้องไว้พิจารณาได้แม้จะเป็นกรณีที่น่าเห็นใจสักเพียงใดก็ตาม ซึ่งอาจสร้างความสงสัยและความคับข้องใจแก่ผู้ฟ้องคดีอยู่บ้าง

          คดีที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณานั้นได้แก่

         1. เรื่องที่ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีเป็นประชาชนด้วยกัน ทั้งนี้ เนื่องจากกรณี ดังกล่าวไม่ใช่ข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน เช่น กรณีที่ฟ้องว่าเอกชนอีกรายหนึ่งได้ละเมิดสิทธิของผู้ฟ้องคดี โดยการใช้ประโยชน์ในทางส่วนบุคคล (คดีหมายเลขแดงที่ 76/2544) เป็นต้น

         2. เรื่องที่ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นรัฐวิสาหกิจที่ได้จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายไม่ถือว่าหน่วยงานเหล่านี้เป็น หน่วยงานทางปกครอง เช่น ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) (คดีหมายเลขแดงที่ 1/2544) บริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (คดีหมายเลขแดงที่ 25/2544) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (คดีหมายเลขแดงที่ 44/2544) เป็นต้น

         3. เรื่องที่ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่กระทำความเดือดร้อนหรือเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีโดยการกระทำส่วนตัว มิใช่เป็นการกระทำในฐานะเป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้อำนาจทางปกครอง เช่น กรณีที่ฟ้องว่า พลทหารอาสาสมัครบุกรุกเข้าไปทำลายทรัพย์สินใน เคหะสถานของผู้ฟ้องคดี โดยมีสาเหตุเนื่องจากไม่พอใจกันเป็นการส่วนตัว (คดีหมายเลขแดงที่ 85/2544) เป็นต้น

         4. เรื่องที่ข้อพิพาทเกิดจากสัญญาทั่วไป มิใช่สัญญาทางปกครอง อันได้แก่ สัญญาสัมปทานสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มี สิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นแม้ว่าคู่สัญญาอีก ฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ก็ไม่อาจฟ้องคดียังศาลปกครองได้ เช่น กรณีที่ฟ้องว่าการเคหะแห่งชาติในฐานะผู้ให้เช่าซื้ออาคารได้โอนกรรมสิทธิ์การเช่าซื้อของผู้เช่าซื้อเดิมไปให้ผู้เช่าซื้อใหม่โดยไม่สุจริต ทำให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นภรรยาของ ผู้เช่าซื้อเดิมได้รับความเสียหาย (คดีหมายเลขแดงที่ 68/2544) กรณีที่ฟ้องว่ากรมป่าไม้ไม่คืนเงินที่ผู้ฟ้องคดีได้วางไว้เป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้าง ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างประจำสถานีวิจัยสัตว์ป่าคลองแสงทั้งที่ผู้ถูกฟ้องคดีได้ ตรวจรับมอบงาน และจ่ายเงินค่าก่อสร้างครบทุกงวดแล้ว (คดีหมายเลขแดงที่ 69/2544) กรณีที่ฟ้องว่าวิทยาลัยการอาชีพ ขอนแก่นผิดสัญญากับผู้ฟ้องคดีเพราะยอมให้บุคคลอื่นเข้ามาทำธุรกิจขายสินค้าในลักษณะเช่นเดียวกับร้านค้าสวัสดิการ ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้เช่า ทำการค้าอยู่ (คดีหมายเลขแดงที่ 77/2544) หรือกรณีที่ฟ้องว่า เทศบาลเมืองหนองคายไม่ยอมชำระหนี้ค่าจ้างทำอาหารเลี้ยง รับรองในงานเลี้ยงของเทศบาล แก่ผู้ฟ้องคดี (คดีหมายเลขแดงที่ 86/2544) เป็นต้น

         5. เรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลแพ่ง ศาลอาญา หรือศาลชำนาญพิเศษอื่นแล้ว เรื่องเช่นว่านี้จะไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง เช่น กรณีที่ฟ้องว่า เจ้าหน้าที่บังคับคดียึดและขายทอดตลาด ที่ดินตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดทุ่งสงโดยมิชอบ กรณีนี้ศาลปกครองวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิยื่นคำร้อง คัดค้านการบังคับคดีดังกล่าวได้ที่ศาลจังหวัดทุ่งสง (คดีหมายเลขแดงที่ 79/2544) กรณีที่ฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีแพ้คดีในศาลยุติธรรม เนื่องจากผู้ฟ้องคดีไม่สามารถตรวจดูเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีซึ่งผู้ฟ้องคดี เห็นว่า ตนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีแพ่งของศาลจังหวัดนครสวรรค์ กรณีนี้ ศาลปกครองวินิจฉัยว่า กรณีดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่งจึงอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม (คดีหมายเลขแดงที่ 82/2544) กรณีที่ฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ความเป็นธรรม เนื่องจากเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมวินิจฉัยว่าบุตรของผู้ฟ้องคดีไม่ได้เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ การงาน จึงทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับผลประโยชน์จากการประกันสังคมเพียงค่าปลงศพเท่านั้น กรณีนี้ศาลปกครองวินิจฉัยว่า เนื่องจาก พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537ได้บัญญัติให้ผู้ที่ไม่พอใจในเรื่องเงินค่าทดแทนมีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงาน กรณีดังกล่าวจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน (คดีหมายเลขแดงที่ 111/2544) หรือกรณีที่ฟ้องว กรุงเทพมหานครประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน ไม่ถูกต้อง กรณีนี้ศาลปกครอง วินิจฉัยว่า กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ เจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรจึงอยู่ใน อำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลภาษีอากร (คดีหมายเลขแดงที่ 115/2544) เป็นต้น

          6. เรื่องที่ขาดอายุความฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่ ศาลปกครองเปิดทำการ เช่น กรณีของผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็น ข้าราชการตำรวจได้ ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการ จึงได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษต่อ คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ จนได้รับการลดโทษลงเป็นการปลดออกจากราชการ แต่ยังไม่พอใจผลการพิจารณาอุทธรณ์ ดังกล่าว ในกรณีเช่นนี้ผู้ฟ้องคดีก็จะต้องใช้สิทธิทางศาลฟ้องคดีต่อศาลที่ มีอำนาจพิจารณาพิพากษา แต่เนื่องจากในขณะนั้นยังไม่มีการจัดตั้งศาลปกครอง ผู้ฟ้องคดีจึงต้องฟ้องคดีต่อ ศาลยุติธรรม ภายในอายุความหนึ่งปี นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีทราบผลการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 448 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีไม่ได้ฟ้องคดี ต่อศาลยุติธรรมจนคดีขาดอายุความ ศาลปกครองก็ย่อมไม่รับคำฟ้องนั้นไว้พิจารณา (คดีหมายเลขแดงที่ 132/2544)

          7. เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการใดๆ ของพนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งถือว่าไม่ใช่เป็นการ ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง เช่น การออกหมายจับของพนักงานสอบสวน (คดีหมายเลขแดงที่ 67/2544 และคดีหมายเลขแดงที่ 90/2544) การดำเนินการสืบสวนสอบสวนของพนักงานสอบสวน (คดีหมายเลขแดงที่ 88/2544) หรือการดำเนินการสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาของพนักงานอัยการ (คดีหมายเลขแดงที่ 126/2544) เป็นต้น

          8. เรื่องที่ประสงค์จะขอให้ศาลปกครองลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐในทางวินัยหรือทางอาญาเพราะเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งนี้เนื่องจากเรื่องดังกล่าว เป็นอำนาจของ ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือของเจ้าหน้าที่อื่น ไม่ใช่อำนาจของศาลปกครอง และการดำเนินการลงโทษดังกล่าวก็ไม่มีผลเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายของผู้ถูกฟ้องคดี เช่น กรณีที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ศาลปกครองลงโทษทางวินัยหรือทางอาญาแก่เจ้าพนักงานสรรพสามิต จังหวัดแพร่ (คดีหมายเลขแดงที่ 65/2544) หรือแก่เจ้าหน้าที่การรถไฟ แห่งประเทศไทย (คดีหมายเลขแดงที่ 72/2544) หรือแก่อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร (คดีหมายเลขแดงที่ 81/2544) เป็นต้น

          9. เรื่องที่ความเดือดร้อนหรือเสียหายของผู้ฟ้องคดีได้หมดสิ้นไปแล้วในขณะที่มายื่นคำฟ้อง หรือมีการได้แก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีแล้วก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งให้รับคำฟ้องไว้พิจารณา ทั้งนี้ เนื่องจากในขณะนั้นไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะพิจารณาพิพากษาให้เสียแล้ว เช่น กรณีที่ฟ้องการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้จ่ายเงินค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินไว้แล้ว แต่ก่อนที่ศาลปกครองจะพิจารณา พิพากษาคดี ผู้ฟ้องคดีได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนที่มาฟ้องคดีไปเรียบร้อยแล้ว (คดีหมายเลขแดงที่72/2544) หรือกรณีที่ฟ้องว่า นายอำเภอ บางไทรละเลยต่อหน้าที่ไม่ดำเนินการกับผู้ซึ่งทำการดูดทรายในแม่น้ำ จนเป็นเหตุให้ที่สาธารณ-ประโยชน์และ ทางสาธารณะซึ่งติดกับวัดซึ่งผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้รับความเสียหาย แต่ก่อนที่ ศาลปกครองจะพิจารณาพิพากษาคดี บุคคลดังกล่าวได้เลิกประกอบกิจการดูดทราย ไปแล้ว (คดีหมายเลขแดงที่ 80/2544) เป็นต้น

          10. เรื่องที่ผู้ฟ้องคดียังไม่ได้ใช้วิธีการแก้ไขเยียวยาที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ยังมิได้อุทธรณ์คำสั่งทางปกครองที่ตนไม่เห็นด้วยนั้นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่ง หรือต่อเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ กรณีเช่นนี้ศาลปกครองยังไม่อาจรับ คำฟ้องไว้พิจารณาได้ ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายต้องการให้ผู้ฟ้องคดีใช้วิธีการ แก้ไขเยียวยานั้นก่อนที่จะฟ้องคดีต่อศาล เช่น กรณีที่ ผู้ฟ้องคดีไม่ได้อุทธรณ์หรือ โต้แย้งคำสั่งแต่อย่างใดเลย (คดีหมายเลขแดงที่ 105/2544 คดีหมายเลขแดงที่ 110/2544 คดีหมายเลขแดงที่ 129/2544 และคดีหมายเลขแดงที่ 133/2544) หรือกรณีที่ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งทางปกครองไปแล้ว แต่ไม่รอทราบผลการพิจารณาคำอุทธรณ์นั้นเสียก่อน กลับรีบมาฟ้องยังศาลปกครอง กรณีเช่นนี้ศาลปกครองก็ไม่อาจ รับคำฟ้องนั้นไว้พิจารณาได้เช่นกัน (คดีหมายเลขแดงที่ 70/2544 และคดี หมายเลขแดงที่ 71/2544) เป็นต้น

          11. เรื่องที่ฟ้องคณะกรรมการเลือกตั้ง ในเรื่องต่างๆ เช่น ฟ้องคดี เกี่ยวกับคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ (คดีหมายเลขแดงที่ 14/2544) หรือฟ้องคดี เกี่ยวกับคำสั่งเพิกถอนสิทธิ เลือกตั้ง (คดีหมายเลขแดงที่ 64/2544) เป็นต้น

          12. เรื่องที่ฟ้องเจ้าหน้าที่ที่ทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ เช่น ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรที่ออกคำสั่งเลื่อนตำแหน่งข้าราชการไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกฏหมายเป็นเหตุ ให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งดำรงตำแหน่งนักวิชาการเกษตร 7 ไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นเกษตรจังหวัดนั้น กฎหมายให้สิทธิแก่ผู้เสียหายที่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐ คือ กรมส่งเสริมการเกษตร แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ คือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรไม่ได้(คดีหมายเลขแดงที่ 81/2544)

          13. เรื่องที่ฟ้องหน่วยงานของรัฐให้ทำการรับผิดชอบชดเชยค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิดที่เกิดจากการที่ข้าราชการหรือลูกจ้างของหน่วยงานขับรถโดยประมาทเลินเล่อชนรถของเอกชนเสียหาย หรือชนผู้อื่นจนได้รับบาดเจ็บ นั้นต้องฟ้องคดีต่อศาล ยุติธรรม ไม่ใช่ศาลปกครองเนื่องจากศาลปกครองจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีละเมิดได้เฉพาะที่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดที่เกิดจากการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจตามกฏหมายหรือจากกฏหรือคำสั่งหรือละเลยต่อหน้าที่ หรือการปฏิบัติหน้าที่ล้าช้าของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เท่านั้น

          จากตัวอย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่า ผู้ฟ้องคดีมักจะเข้าใจผิดว่าหากจะฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครอง เช่น กระทรวง ทบวง กรม เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนตำบล รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ จะต้องมายื่นฟ้องยังศาลปกครอง แต่แท้ที่จริงแล้ว มิได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เรื่องบางเรื่องอาจต้องฟ้องต่อศาลยุติธรรมเช่นเดิม และบางเรื่องผู้ฟ้องคดีจำเป็นต้อง ใช้วิธีการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายของตนให้ครบ ขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดเสียก่อนจึงจะมาฟ้องคดีได้ อย่างไรก็ตาม หากศาลปกครองได้พิจารณา คำฟ้องใดแล้ว เห็นว่า ไม่อาจรับไว้พิจารณาพิพากษาให้ได้ ก็จะรีบแจ้งคำสั่งไม่รับ คำฟ้อง ไว้พิจารณาให้ผู้ฟ้องคดีทราบ พร้อมแสดงเหตุผลโดยชัดแจ้ง เพื่อที่ผู้ฟ้องคดีจะได้ไปดำเนินการในทางอื่นต่อไป
Holysong_holyHill
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 21, 2007 9:59 pm
ที่อยู่: นครศรีธรรมราช Nakhoosri-tammarat
ติดต่อ:

ศุกร์ ต.ค. 26, 2007 8:54 pm

ข้อควรระวังในการฟ้องคดี
        โดยปกติการฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองกลางจะไม่มีหลักเกณฑ์ ที่ซับซ้อนให้เป็น ภาระแก่ประชาชนผู้ประสงค์จะฟ้องคดี และการดำเนินคดีใน ศาลปกครองกลางก็ค่อนข้างยืดหยุ่น เพื่อให้การแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน มีความถูกต้องและครบถ้วนที่สุดแต่อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติมีปัญหาที่มักเกิดขึ้นและทำให้การฟ้องคดีและการดำเนินคดีในศาลปกครอง ล่าช้าเป็นที่เสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีอยู่หลายประการ ซึ่งผู้ฟ้องคดีควรระมัดระวัง ดังนี้

        1. ข้อควรระวังในการจัดทำคำฟ้อง

        ด้วยเหตุที่การฟ้องคดีปกครอง ผู้ฟ้องคดีสามารถจัดทำคำฟ้องได้ด้วยตนเอง โดย ไม่จำเป็นต้องให้ทนายความ หรือผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมายช่วยจัดทำคำฟ้องให้ ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีที่ ไม่ได้ศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการฟ้องคดีปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และระเบียบวิธีพิจารณาคดีปกครองที่เกี่ยวข้อง ก็อาจ จัดทำคำฟ้องได้ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด และทำให้ศาลปกครอง กลางไม่อาจรับคำฟ้องดังกล่าวไว้พิจารณาพิพากษาได้ ซึ่งข้อบกพร่องที่พบบ่อยนั้น มีดังนี้

        1.1 ผู้ฟ้องคดีใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ

        ศาลปกครองกลางตระหนักดีว่า ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอาจมีความ รู้สึกคับข้องใจหรือโกรธเคืองหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องแต่ศาล ย่อมไม่อาจรับคำ ฟ้องที่ไม่สุภาพไว้พิจารณาพิพากษาได้ดังนั้น หากคำ ฟ้องใดมีการใช้ ถ้อยคำไม่สุภาพ ศาลก็จะสั่งให้ผู้ฟ้องคดีแก้ไขคำฟ้องนั้นภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด และหาก ผู้ฟ้องคดีไม่ยอมดำเนินการศาลก็มีอำนาจสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

        1.2 ผู้ฟ้องคดีมีคำขอไม่ชัดเจน

        คำฟ้องของผู้ฟ้องคดีนอกจากจะต้องระบุรายละเอียดหรือรายการต่างๆ ตามที่กฎหมาย กำหนดไว้แล้ว ยังจะต้องระบุว่า ผู้ฟ้องคดีประสงค์จะขอให้ศาลบังคับต่อหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขหรือ บรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายอย่างไร ด้วย เช่น ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัย หรือขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งปฏิเสธการ ออกโฉนดที่ดิน หรือขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร หรือขอให้ศาลสั่ง เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง หรือขอให้ศาลสั่งให้กระทรวงคมนาคมจ่ายเงินค่าทดแทน การเวนคืนเพิ่มเติม เป็นต้น เพราะหากผู้ฟ้องคดีมิได้มีคำขอมาด้วยหรือมีแต่ไม่ชัดเจนเพียงพอที่ ศาลจะเข้าใจได้ ศาลก็จะต้องมีหนังสือกลับไปสอบถามผู้ฟ้องคดีอีกครั้งหนึ่งว่า มีความประสงค์จะ ให้ศาลสั่งเช่นใดหากผู้ฟ้องคดีชนะคดี ซึ่งย่อมทำให้เกิดขั้นตอนที่ทำให้คดีปกครองคดีนั้นล่าช้าได้

        1.3 ผู้ฟ้องคดีฟ้องคดีต่อศาลปกครองโดยยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการ สำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายที่กฎหมายกำหนดเสียก่อนฟ้องคดี

        ในการฟ้องคดีปกครองนั้น ผู้ฟ้องคดียังไม่มีสิทธิที่จะฟ้องคดีต่อศาลปกครองในทันทีที่ได้ รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย แต่ผู้ฟ้องคดีจะต้องพิจารณาเสียก่อนว่า มีกฎหมายกำหนดขั้นตอน หรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อน หรือเสียหายในเรื่องนั้นไว้แล้วหรือไม่ หากมีกฎหมาย กำหนดขั้นตอนหรือวิธีการใดๆไว้เป็นการเฉพาะ ผู้ฟ้องคดีจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมาย เฉพาะนั้นกำหนดไว้เสียก่อน เช่น กรณีผู้ฟ้องคดีเป็นข้าราชการตำรวจและได้รับคำสั่งลงโทษทางวินัย จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ฟ้องคดีจะต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อ ก.ตร. ตามที่กฎหมายว่า ด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจและกฎหมายว่าด้วยวินัยตำรวจกำหนดไว้เสียก่อน ในทำนองเดียว กันหากเป็นข้าราชการครูและได้รับคำสั่งลงโทษทางวินัยจากสำนักงานประถมศึกษาจังหวัด ก็จะต้อง อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อ อ.ก.ค. จังหวัด ตามที่กฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูกำหนดไว้ เป็นต้น หรือกรณีที่เป็นเรื่องของการเวนคืนที่ดิน หากผู้ฟ้องคดีถูกเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางหลวง แต่ไม่พอใจจำนวนเงินทดแทนที่ได้รับ ผู้ฟ้องคดีก็จะต้องอุทธรณ์การกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทน ดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสียก่อนตามที่กฎหมายว่าด้วยการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ได้กำหนดไว้และเมื่อทราบผลการพิจารณาอุทธรณ์ในชั้นที่สุดแล้ว หากผู้ฟ้องคดี ยังไม่เห็นด้วย จึงจะมีสิทธินำเรื่องดังกล่าวมาฟ้องต่อ ศาลปกครองต่อไป นอกจากนั้น ในปัจจุบัน แม้จะเป็นกรณีที่มิได้มีกฎหมายเฉพาะกำหนดขั้นตอนการอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองไว้ดังเช่น เรื่องวินัยหรือเรื่องการเวนคืนดังตัวอย่างที่ได้ยกมาแล้วข้างต้น กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครองซึ่งเป็นกฎหมายกลางได้กำหนดบังคับไว้เป็นการทั่วไปว่า คำสั่งทางปกครองที่ไม่มี กฎหมายเฉพาะกำหนดขั้นตอนการอุทธรณ์ไว้ผู้ฟ้องคดีจะต้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองที่ตน ไม่พอใจต่อผู้ออกคำสั่งทางปกครองนั้นเอง ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคำสั่งทาง ปกครองดังกล่าว

        ดังนั้นโดยทั่วไปแล้วหากผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเกิดจากการออก คำสั่งทางปกครองของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ย่อมจะต้องอุทธรณ์คำสั่งทาง ปกครองนั้นก่อนเสมอ มิฉะนั้น จะไม่มีสิทธิ นำเรื่องดังกล่าวมาฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ และ หากยังจะยื่นคำฟ้องนั้นมาศาลก็จะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนั้นไว้พิจารณา และจำหน่ายคดีนั้นออก จากสารบบความต่อไป

        2. ข้อควรระวังเกี่ยวกับคำฟ้องที่ยื่นฟ้องทางไปรษณีย์

        ในกรณีที่ผู้ฟ้องคดีเดินทางมายื่นฟ้องยังศาลปกครองกลางเจ้าหน้าที่ศาลปกครองฝ่าย
รับฟ้องจะให้คำแนะนำแก่ ผู้ฟ้องคดีอย่างใกล้ชิด จึงไม่ค่อยมีข้อบกพร่องหรือปัญหาใดๆ มากนัก แต่สำหรับกรณีที่ผู้ฟ้องคดีได้ฟ้องคดีโดยส่งคำฟ้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียนนั้น ผู้ฟ้องคดีมักจะ เสียโอกาสที่จะได้รับการพิจารณาพิพากษาคดีด้วยเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้

        2.1 ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ระบุชื่อผู้ฟ้องคดีในคำฟ้อง หรือใช้นามแฝงหรือฟ้องในนามตัวแทนของ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยไม่ได้ระบุชื่อตัวชื่อสกุลจริง

        คำฟ้องที่มีลักษณะเช่นนี้ย่อมมีลักษณะเป็นบัตรสนเท่ห์ที่สำนักงานศาลปกครองไม่อาจเสนอ ต่อศาลเพื่อพิจารณา พิพากษาให้ได้ เพราะในกรณีเช่นนี้จะไม่มีตัวผู้ฟ้องคดีที่จะชี้แจงและให้ ถ้อยคำแก่ศาล ดังนั้น ศาลย่อมไม่อาจจะพิจารณาได้ว่าความเดือดร้อนหรือเสียหายที่กล่าวอ้างถึง ในคำฟ้องนั้นเกิดขึ้นกับผู้ใดหรือไม่และอย่างไร

        2.2 ผู้ฟ้องคดีระบุชื่อของตนมาในคำฟ้อง แต่กลับไม่ได้ระบุที่อยู่มาด้วย

        แม้ว่าจะมีปัญหาในกรณีเช่นนี้ ศาลปกครองกลางก็ยังมีความพยายามที่จะรับคำฟ้องเหล่านี้ ไว้พิจารณา โดยให้สำนักงานศาลปกครองขอความอนุเคราะห์ไปยังสำนักงานทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย เพื่อให้ช่วยตรวจสอบว่า ผู้ฟ้องคดีที่ระบุชื่อมานั้นมีตัวตนจริงหรือไม่ และมี ภูมิลำเนาอยู่ที่ใดและหากได้รับข้อมูลที่พอจะดำเนินการต่อไปได้ ก็จะดำเนินการรับคำฟ้องนั้นไว้ ในสารบบความต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว นอกจากจะทำให้คดีปกครองคดี นั้นล่าช้าแล้ว ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิลำเนาที่สอบถามได้ก็อาจจะเป็นภูมิลำเนาเดิมซึ่งไม่อาจใช้ติดต่อกับผู้ฟ้องคดีได้

        2.3 ผู้ฟ้องคดีจ่าหน้าซองถึงศาลปกครองได้ถูกต้อง

        แต่ในคำฟ้องหรือจดหมายภายในซองกลับมีรายละเอียดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

        2.3.1 ระบุว่าเป็นจดหมายถึงหน่วยงานอื่น เช่น ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือศาลรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

        2.3.2 ระบุว่าเป็นจดหมายถึงหน่วยงานนั้นหน่วยงานนี้หลายหน่วยงาน ซึ่งระบุรวม ถึงศาลปกครองด้วย เช่น ระบุว่า "เรียน ปลัดกระทรวงแรงงานฯ, ประธานศาลปกครอง, ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงานฯ" เป็นต้น

        ในกรณีเช่นนี้สำนักงานศาลปกครองในฐานะผู้รับเรื่องไว้เบื้องต้นย่อมไม่สามารถสรุปได้เองว่า ผู้ฟ้องคดีมีความประสงค์จะฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีหนังสือสอบถาม กลับไปยังผู้ฟ้องคดีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวย่อมทำให้คดีปกครองนั้นล่าช้าได้

        2.4 ผู้ฟ้องคดีมักจะส่งแต่เฉพาะคำฟ้องและพยานหลักฐานฉบับจริงมาเพียงชุดเดียว โดยไม่แนบสำเนาคำฟ้องและพยานหลักฐานมาด้วยเลย

        ตามระเบียบวิธีพิจารณาคดีของศาลปกครองผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่ต้องถ่ายสำเนาคำฟ้องและ พยานหลักฐานตามจำนวนผู้ถูกฟ้องคดีแนบมาพร้อมกับคำฟ้องด้วย เช่น หากผู้ฟ้องคดีประสงค์ จะฟ้องคดีผู้ว่าราชการจังหวัดและกระทรวงมหาดไทย ผู้ฟ้องคดีจะต้องจัดทำ คำฟ้องและพยานหลักฐานฉบับจริง 1 ชุด สำหรับให้ศาลใช้พิจารณา จากนั้นจะต้องทำสำเนา คำฟ้อง และพยานหลักฐานทั้งหมดนั้นอีก 2 ชุด เพื่อที่ศาลปกครองจะได้ส่งสำเนาดังกล่าวไปให้ แก่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดและกระทรวงมหาดไทย ต่อไป ซึ่งตามระเบียบแล้ว ถ้าผู้ฟ้องคดีไม่ได้จัดทำสำเนาดังกล่าวแนบมาด้วย ศาลจะแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีจัดทำสำเนามาให้ภายใน ระยะเวลาที่ศาลกำหนด และหากผู้ฟ้องคดีไม่ยอมดำเนินการ ศาลก็มี อำนาจสั่งไม่รับคำฟ้องไว้ พิจารณาและสั่งจำหน่ายคดีนั้นออกจากสารบบความ

        2.5 ผู้ฟ้องคดีไม่ส่งค่าธรรมเนียมศาลมาพร้อมกับคำฟ้องหรือส่งมาแต่ไม่ครบถ้วน

        ในกรณีเช่นนี้ ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีชำระค่าธรรมเนียมศาลให้ครบถ้วนภายในระยะ เวลาที่ศาลกำหนด หากผู้ฟ้องคดีไม่ยอมดำเนินการ ศาลจะสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและสั่ง จำหน่ายคดีนั้นออกจากสารบบความต่อไป

        3. ข้อควรระวังเกี่ยวกับการติดต่อกับศาลปกครองระหว่างการดำเนินคดีปกครอง

        ในการดำเนินคดีปกครองของศาลปกครองนั้น เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ เป็นเอกสารเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ในระหว่างการดำเนินคดีปกครอง การติดต่อสื่อสารกันทาง ไปรษณีย์จึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเท่าที่ผ่านมา สำนักงานศาลปกครองพบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการ ติดต่อสื่อสารระหว่างศาลกับคู่กรณีหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องอยู่หลายประการ ดังนี้

        3.1 ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดี หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมีหนังสือติดต่อถึงศาลปกครอง หรือส่งเอกสารถึงศาลปกครองโดยไม่ได้แจ้งหมายเลขคดีมาด้วย

        จึงทำให้สำนักงานศาลปกครองในฐานะผู้รับเรื่องไม่ทราบว่าหนังสือหรือ เอกสารดังกล่าวนั้น เป็นส่วนหนึ่งของคดีหมายเลขที่เท่าใด ซึ่งทำให้ไม่สามารถเสนอหนังสือหรือเอกสารนั้นให้แก่ ตุลาการ เจ้าของสำนวนเพื่อสั่งการใดๆ ได้ในทันที เพราะต้องใช้เวลาและบุคลากรในการตรวจ สอบอีกมาก ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้คดีปกครองคดีนั้นล่าช้า

        3.2 ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดี หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมีหนังสือตอบหมายหรือคำสั่งของ ตุลาการเจ้าของสำนวน โดยจ่าหน้าซองถึงชื่อของตุลาการเจ้าของสำนวนผู้นั้นโดยตรง

        ในกรณีนี้ หากมิได้วงเล็บมุมซองมาด้วยว่าเป็นคดีปกครองหมายเลขที่เท่าใด บางครั้ง สำนักงานศาลปกครองก็อาจเข้าใจผิดว่า เป็นจดหมายส่วนตัวของตุลาการผู้นั้นและนำจ่าย จดหมาย ให้โดยไม่ผ่านสารบบความอย่างถูกต้องซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น กว่าหนังสือดังกล่าวจะได้เข้าสู่สารบบ ความอย่างถูกต้องได้ ก็จะต้องรอจนกว่าตุลาการเจ้าของสำนวนจะเปิดดูจดหมายพบว่าเป็นคดี ปกครองและส่งกลับมาให้ฝ่ายสารบบคดีดำเนินการ ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้คดีปกครองคดีนั้นล่าช้า ขึ้นอีกมาก

        3.3 ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดี หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องได้ย้ายที่อยู่หรือที่ตั้งสำนักงาน แต่ไม่ได้มีหนังสือแจ้งให้สำนักงานศาลปกครองทราบ

        กรณีเช่นนี้ย่อมทำให้สำนักงานศาลปกครองไม่อาจดำเนินการติดต่อส่งหมายหรือคำสั่ง ของศาลให้ได้ จึงอาจทำให้คดีปกครองคดีนั้นล่าช้าหรือเสียหายได้

        จากปัญหาที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าหากผู้ฟ้องคดีผู้ถูกฟ้องคดี หรือบุคคลอื่น ที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจและระมัดระวังในเรื่องต่างๆดังที่ได้กล่าวมาแล้วศาลปกครองกลางก็จะ สามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้ฟ้องคดีและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น



กฎหมายไม่เคยละเว้นคนชั่วครับ มีแต่เราเท่านั้นที่ละเว้นจะใช้กฎหมายกับคนเหล่านั้น
ขอขอบคุณขอมูลจากศาลปกครอง
Rakkypoko!
โพสต์: 960
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ส.ค. 31, 2007 2:35 pm

ศุกร์ ต.ค. 26, 2007 9:08 pm

เยอะมาก ตาลาย : xemo033 :
Holysong_holyHill
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 21, 2007 9:59 pm
ที่อยู่: นครศรีธรรมราช Nakhoosri-tammarat
ติดต่อ:

ศุกร์ ต.ค. 26, 2007 9:10 pm

ค่อยๆอ่านนะครับ มันเป็นกฎหมายที่จำเป็นนะครับ
ถ้าไม่อ่านก็ถามที่ศาลปกครองโดยตรงก็ได้ครับ
แต่ถ้าอ่านก็ดีครับ ถือว่าเป็นอาวุธประจำตัวครับ ประมาณว่า สิทธิท่านเราไม่ว่า สิทธิข้าท่านอย่าละเมิด :police:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Jira
โพสต์: 213
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ก.ย. 21, 2007 11:21 am

ศุกร์ ต.ค. 26, 2007 9:19 pm

                  ดีจังเลยค่ะ มีประโยชน์และเป็นความรู้ทั้งนั้นเลย  :smiley:
Holysong_holyHill
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 21, 2007 9:59 pm
ที่อยู่: นครศรีธรรมราช Nakhoosri-tammarat
ติดต่อ:

ศุกร์ ต.ค. 26, 2007 9:21 pm

ครับใช้ป้องกันสิทธิประโยชเราได้ด้วยนะครับ :police:
Holysong_holyHill
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 21, 2007 9:59 pm
ที่อยู่: นครศรีธรรมราช Nakhoosri-tammarat
ติดต่อ:

ศุกร์ ต.ค. 26, 2007 9:22 pm

ออ พี่จี เดียวผมเอาบทความที่พี่ขอลงในบอร์ดนะครับ จะเอามาลงไห้ครบชุดนะครับ
Alphonse
โพสต์: 1792
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ส.ค. 23, 2006 10:45 pm
ที่อยู่: Thailand

เสาร์ ต.ค. 27, 2007 12:07 am

ไม่นะ....
มันตามมาถึงในบอร์ดเลยหรอ
โอวววววววววววว พรบ. บ้านี่
อย่าน๊า
555+

แนะนำครับ
อย่าพึ่งฟ้องร้องกันเลย
มันไม่ดีๆ
ขึ้นโรงขึ้นศาล
ไม่จำเป็นก็อย่าทำครับ
ไม่ใช่เรื่องดีหรอก
ไม่ว่าจะเป็นโจทก์หรือจำเลย
พรบ.ความผิดทางราชการ หรือกฎกระทรวงอะไรนั่นก็เหมือนกัน

ถ้าเป็นไปได้
อยากให้แม่เพื่อนคนนั้น ไปคุยกับผู้หลักผู้ใหญ่ก่อน
หรือเป็นไปได้ คุยกับ ผอ. ตรงๆ เลย
ยังงั้นจะดีกว่าป่ะครับ...มีความเชื่อลึกๆ ว่า ถ้าเราบริสุทธิ์จริง...ผู้หลักผู้ใหญ่เขาก็ไม่เห็นแก่พวกพ้องหรือเงินมากหรอกครับ
ยิ่งแม่เพื่อนรู้จักคนเยอะด้วยนี่ครับ??? น่าจะช่วยอะไรได้บ้าง

อย่างแม่พี่เองเป็น ผอ.เขตพื้นที่...แกก็รับฟังนะ ทุกเรื่อง อะไรผิดก็ว่าตามนั้น
ถึงแม้จะมีผู้ใหญ่ที่ไม่รับฟังความจริง จริงๆ แต่ถ้าเราไม่ลองก็ไม่รู้
เรื่องคดีความเอาไว้เป็นทางออกสุดท้าย
เพราะถ้าฟ้องร้องกันไป คนเข้าใจก็ดีไป
แต่ส่วนใหญ่มันจะไม่เป็นยังงั้นสิครับ 
แนะนำใจเย็นๆ นะครับ ไม่อย่างนั้น
"ดูสิ ผู้หญิงคนนี้ ถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาล บอกแล้วว่าผู้หญิงเป็นผู้บริหารไม่ได้หรอก มันเรื่องมากงี้ล่ะ"
เชื่อป่ะครับ ว่ามีคนคิดยังงี้...มันไม่คุ้มครับ

ถ้าสุดท้ายแล้วเมื่อเรา "ตรงๆ" แล้วไม่ได้ผล
จะ "หักดิบ" หรือ "เชือด" ยังไงก็ว่ากันอีกที

Laws are like spider's webs :if some poor weak creature come up against them, it is caught; but a bigger can break through and get away. ---
Solon (6h century BC) Athenian statesman
แก้ไขล่าสุดโดย Alphonse เมื่อ เสาร์ ต.ค. 27, 2007 12:17 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
Batholomew
~@
โพสต์: 12724
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 2:28 pm
ที่อยู่: Thailand

เสาร์ ต.ค. 27, 2007 12:16 am

ทำใจนะครับ อย่าไปสนใจ สวดให้เค้ามาก ๆ นะครับ ::001::
lend
โพสต์: 32
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ต.ค. 24, 2007 10:15 pm

เสาร์ ต.ค. 27, 2007 3:16 pm

ใจเย็นๆนะครับ ทุกปัญหามีทางออก  โทษทีที่ผมไม่มีความรู้เรื่องนี้ แต่ผมจะช่วยสวดภาวนาให้นะครับ  :grin:
ลี วูจิน
โพสต์: 331
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ พ.ค. 01, 2005 4:57 pm
ที่อยู่: Thailand
ติดต่อ:

เสาร์ ต.ค. 27, 2007 6:23 pm

ขอบคุณครับ ::001::
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. พ.ย. 01, 2007 6:54 am

Holysong_holyHill เขียน: ออ พี่จี เดียวผมเอาบทความที่พี่ขอลงในบอร์ดนะครับ จะเอามาลงไห้ครบชุดนะครับ
1.จะอาบทความลงบอร์ด ควรขออนุญาต ทีม เว็บมาสเตอร์ก่อน เขาจะได้กรองว่าเหมาะสมหรือไม่

2.อาจจะไปประโยชน์สำหรับบางคนเท่านั้น น่าจะส่งfile ให้เขาโดยตรง

3.เที่ยวนี้เฮียสมัครลงเลือกตั้งหรือไม่ เห็นหัวหมอดี น่าจะเป็นนักการเมือง :grin:
Holysong_holyHill
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 21, 2007 9:59 pm
ที่อยู่: นครศรีธรรมราช Nakhoosri-tammarat
ติดต่อ:

พฤหัสฯ. พ.ย. 01, 2007 5:02 pm

Jeab Agape เขียน:
Holysong_holyHill เขียน: ออ พี่จี เดียวผมเอาบทความที่พี่ขอลงในบอร์ดนะครับ จะเอามาลงไห้ครบชุดนะครับ
1.จะอาบทความลงบอร์ด ควรขออนุญาต ทีม เว็บมาสเตอร์ก่อน เขาจะได้กรองว่าเหมาะสมหรือไม่

2.อาจจะไปประโยชน์สำหรับบางคนเท่านั้น น่าจะส่งfile ให้เขาโดยตรง

3.เที่ยวนี้เฮียสมัครลงเลือกตั้งหรือไม่ เห็นหัวหมอดี น่าจะเป็นนักการเมือง :grin:
ออน้องครับ บทความที่ว่าจะลงในบรือดนะไม่ใช้บร์อดนี้นะ แต่เป็นของพี่จีในโพสจังครับ โปลดเข้าใจนะครับ
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

ศุกร์ พ.ย. 02, 2007 4:44 pm

เจี๊ยบมีปัญหา กลั่นแกล้ง หัวหน้า จะทำอย่างไรดีฮะ : xemo028 :
:+: seraphim :+:
~@
โพสต์: 7624
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ มี.ค. 23, 2005 9:49 pm
ที่อยู่: Pattaya Chonburi

ศุกร์ พ.ย. 02, 2007 5:45 pm

Jeab Agape เขียน:
เจี๊ยบมีปัญหา กลั่นแกล้ง หัวหน้า จะทำอย่างไรดีฮะ : xemo028 :

: xemo017 : พิจารณาตัวเองงับ ให้หัวหน้สแกล้งบ้ง ::010::
Holysong_holyHill
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 21, 2007 9:59 pm
ที่อยู่: นครศรีธรรมราช Nakhoosri-tammarat
ติดต่อ:

ศุกร์ พ.ย. 02, 2007 6:53 pm

ต้องอธิฐานเผื่อหัวหน้าอย่างหนัก : emo080 :
Rakkypoko!
โพสต์: 960
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ส.ค. 31, 2007 2:35 pm

ศุกร์ พ.ย. 02, 2007 9:32 pm

Jeab Agape เขียน:
เจี๊ยบมีปัญหา กลั่นแกล้ง หัวหน้า จะทำอย่างไรดีฮะ : xemo028 :
ไล่ออก ใบแดงเลย ::011::
Holysong_holyHill
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 21, 2007 9:59 pm
ที่อยู่: นครศรีธรรมราช Nakhoosri-tammarat
ติดต่อ:

ศุกร์ พ.ย. 02, 2007 11:28 pm

Rakkypoko! เขียน:
Jeab Agape เขียน:
เจี๊ยบมีปัญหา กลั่นแกล้ง หัวหน้า จะทำอย่างไรดีฮะ : xemo028 :
ไล่ออก ใบแดงเลย ::011::
 
อ้าวถ้าได้ใบแดงก็ต้องเข้ากองทหารดิ ว้าแย่จัง :grin:
Batholomew
~@
โพสต์: 12724
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 2:28 pm
ที่อยู่: Thailand

เสาร์ พ.ย. 03, 2007 1:25 am

Holysong_holyHill เขียน:
Rakkypoko! เขียน:
Jeab Agape เขียน:
เจี๊ยบมีปัญหา กลั่นแกล้ง หัวหน้า จะทำอย่างไรดีฮะ : xemo028 :
ไล่ออก ใบแดงเลย ::011::
 
อ้าวถ้าได้ใบแดงก็ต้องเข้ากองทหารดิ ว้าแย่จัง :grin:
::010::
ตอบกลับโพส