เรื่องดีๆจากหนังสือสรรสาระ ชุด ( 4 )
นรกในกรุงริยาด ตอนที่ (1)
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับสาระเตุลาคม 2547/2004
โดย วิลเลี่ยม แซมป์สัน และฟรังซีน ดูเบ เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากวิกิพีเดีย
โดย กอบกิจ ครุวรรณ
ผมชื่อวิลเลี่ยม แซมป์สัน (William Sampson : 1959-2012) เกิดในแคนาดา
เป็นบุคคล 2 สัญชาติเนื่องจากพ่อเป็นชาวอังกฤษและแม่เป็นชาวแคนาดา
ผมโตที่อังกฤษกับสิงคโปร์และอีกหลายเมืองในแคนาดา เกี่ยวกับการศึกษา
ผมจบปริญญาเอกด้านชีวเคมีและปริญญาโทด้านการบริหารธุรกิจ เคยทำงาน
และเดินทางมาแล้วใน 4 ทวีป ปลายเดือนกรกฎาคม 1998 ผมไปกรุงริยาด
ประเทศซาอุดีอาระเบีย ทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดให้กับกองทุนพัฒนา
อุตสาหกรรมของประเทศนี้
ในสายตาของชาวตะวันตก ชีวิตในซาอุฯ น่าจะสะดวกสบายเพราะชาวต่างชาติ
ส่วนใหญ่พำนักอยู่ในบ้านที่มีรั้วรอบขอบชิด ภายในตัวตึกติดตั้งเครื่องปรับอากาศ,
อุปกรณ์กีฬาและสระว่ายน้ำ ผมรับงานในริยาดเพราะนอกจากค่าตอบแทนที่สูงแล้ว
ยังได้ค่าที่อยู่อาศัย, มีวันหยุดพักผ่อน, มีรถให้ใช้, เมื่อหมดสัญญาแล้วจะได้โบนัส,
ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้, กองทุนพัฒนาฯรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลและค่าทำฟัน
หลังจากทำงานได้ไม่นาน ผมพบว่าบ้านหลังนี้อยู่ห่างจากคุกเพียงไม่กี่กิโลเมตร
และ 2 ปีต่อมาผมก็ถูกสอบสวนและถูกทรมานปางตายในคุกนี้
ชีวิตคนโสดในซาอุฯ อาจลำบากบ้าง กฎหมายห้ามหญิงกับชายโสดอยู่ด้วยกันตามลำพัง
กิจกรรมที่เราถือว่าธรรมดากลายเป็นเรื่องต้องห้าม กิจกรรมทางสังคมซึ่งจัดกันบ่อย
ในบ้านที่มีรั้วรอบขอบชิดคือ งานเลี้ยงที่มีเหล้านำเข้าจากต่างประเทศ มีการย่างบาร์บีคิว,
คอนเสิร์ตและการแสดงละคร ความจริงกิจกรรมเหล่านี้ผิดกฎหมายทั้งสิ้นแต่เจ้าหน้าที่ทำ
เป็นไม่รู้
สถานที่ซึ่งสื่อมวลชนระบุว่าเป็นแหล่งมั่วสุมดื่มกินมีไม่มาก ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในคลับส่วนตัว
ซึ่งมีไวน์และเบียร์กลั่นเองไว้คอยบริการชาวตะวันตก บางครั้งก็มีวิสกี้ที่ลักลอบเข้ามา
จำหน่ายแต่ราคาแพงมหาศาล จอห์นนี่ วอล์คเกอร์ราคาขวดละ 10,000 บาท สถานที่เหล่านี้
เป็นแหล่งพบปะเพื่อนฝูง เพื่อนสนิทของผมในริยาดคือมิตเชล (Alexander Mitchell)
ชาวสก็อต กับ ’ราฟ’ (Raf) อย่างไรก็ตามตั้งแต่กลางปี 2000 ตำรวจศาสนา (มุตตาวา)
เริ่มจับกุมชาวตะวันตกและตรวจบัตรประจำตัวของชายหญิงชาวตะวันตกที่เดินไปด้วยกัน
หากทั้งคู่ยังไม่ได้แต่งงานกันก็จะถูกจับ ยิ่งกว่านั้น ซาอุฯ เริ่มให้การสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย
(อินทิฟาดา) ซึ่งนำโดยปาเลสไตน์ แต่หลายคนก็คิดไม่ถึงว่าจะถึงขั้นสังหาร ร็อดเวย์
(Christopher Rodway) วิศวกรชาวอังกฤษด้วยการวางระเบิดรถยนต์วันที่ 17 พฤศจิกายน 2000
ใกล้เมืองดัมมานห่างจากริยาดราว 500 กิโลเมตร ผมเองก็คิดไม่ถึงว่าการวางระเบิดครั้งนี้
จะทำให้ผมถูกจับ
เช้าวันที่ 17 ธันวาคม 2000 ขณะออกจากบ้านไปทำงานเช้าวันนั้นรถของผมยางแบน ผมจึง
ออกไปเรียกแท็กซี่ ทันใดนั้นมีรถเก๋ง 4 ประตูแล่นมาจอดข้าง ๆ ตำรวจนอกเครื่องแบบ 3 นาย
ลงจากรถ หนึ่งในนั้นถือปืน สองคนที่เหลือตรงเข้ามาชกผมที่ท้องและหว่างขาก่อนจะจับผม
โยนเข้าไปหลังรถ
เรานั่งรถไปเงียบ ๆ ราวครึ่งชั่วโมง ผมถูกกระชากลงจากรถในสภาพมีผ้าผูกตาและสวมกุญแจมือ
พวกเขาจับเนคไทผมแล้วลากไปในตึกที่มีคนมาแกะผ้าผูกตาออกแล้วนำตัวผมเข้าไปในห้องขัง
ไม่มีหน้าต่าง บนพื้นมีฟูกสกปรกปูอยู่และมีกล้องวงจรปิดที่มุมห้องด้านบน ผมถูกสวมกุญแจมือ
โยงไว้กับลูกกรงของประตูทำให้ต้องยืนอยู่ตลอดเวลา
โปรดติดตามตอนที่ (2) ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับสาระเตุลาคม 2547/2004
โดย วิลเลี่ยม แซมป์สัน และฟรังซีน ดูเบ เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากวิกิพีเดีย
โดย กอบกิจ ครุวรรณ
ผมชื่อวิลเลี่ยม แซมป์สัน (William Sampson : 1959-2012) เกิดในแคนาดา
เป็นบุคคล 2 สัญชาติเนื่องจากพ่อเป็นชาวอังกฤษและแม่เป็นชาวแคนาดา
ผมโตที่อังกฤษกับสิงคโปร์และอีกหลายเมืองในแคนาดา เกี่ยวกับการศึกษา
ผมจบปริญญาเอกด้านชีวเคมีและปริญญาโทด้านการบริหารธุรกิจ เคยทำงาน
และเดินทางมาแล้วใน 4 ทวีป ปลายเดือนกรกฎาคม 1998 ผมไปกรุงริยาด
ประเทศซาอุดีอาระเบีย ทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดให้กับกองทุนพัฒนา
อุตสาหกรรมของประเทศนี้
ในสายตาของชาวตะวันตก ชีวิตในซาอุฯ น่าจะสะดวกสบายเพราะชาวต่างชาติ
ส่วนใหญ่พำนักอยู่ในบ้านที่มีรั้วรอบขอบชิด ภายในตัวตึกติดตั้งเครื่องปรับอากาศ,
อุปกรณ์กีฬาและสระว่ายน้ำ ผมรับงานในริยาดเพราะนอกจากค่าตอบแทนที่สูงแล้ว
ยังได้ค่าที่อยู่อาศัย, มีวันหยุดพักผ่อน, มีรถให้ใช้, เมื่อหมดสัญญาแล้วจะได้โบนัส,
ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้, กองทุนพัฒนาฯรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลและค่าทำฟัน
หลังจากทำงานได้ไม่นาน ผมพบว่าบ้านหลังนี้อยู่ห่างจากคุกเพียงไม่กี่กิโลเมตร
และ 2 ปีต่อมาผมก็ถูกสอบสวนและถูกทรมานปางตายในคุกนี้
ชีวิตคนโสดในซาอุฯ อาจลำบากบ้าง กฎหมายห้ามหญิงกับชายโสดอยู่ด้วยกันตามลำพัง
กิจกรรมที่เราถือว่าธรรมดากลายเป็นเรื่องต้องห้าม กิจกรรมทางสังคมซึ่งจัดกันบ่อย
ในบ้านที่มีรั้วรอบขอบชิดคือ งานเลี้ยงที่มีเหล้านำเข้าจากต่างประเทศ มีการย่างบาร์บีคิว,
คอนเสิร์ตและการแสดงละคร ความจริงกิจกรรมเหล่านี้ผิดกฎหมายทั้งสิ้นแต่เจ้าหน้าที่ทำ
เป็นไม่รู้
สถานที่ซึ่งสื่อมวลชนระบุว่าเป็นแหล่งมั่วสุมดื่มกินมีไม่มาก ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในคลับส่วนตัว
ซึ่งมีไวน์และเบียร์กลั่นเองไว้คอยบริการชาวตะวันตก บางครั้งก็มีวิสกี้ที่ลักลอบเข้ามา
จำหน่ายแต่ราคาแพงมหาศาล จอห์นนี่ วอล์คเกอร์ราคาขวดละ 10,000 บาท สถานที่เหล่านี้
เป็นแหล่งพบปะเพื่อนฝูง เพื่อนสนิทของผมในริยาดคือมิตเชล (Alexander Mitchell)
ชาวสก็อต กับ ’ราฟ’ (Raf) อย่างไรก็ตามตั้งแต่กลางปี 2000 ตำรวจศาสนา (มุตตาวา)
เริ่มจับกุมชาวตะวันตกและตรวจบัตรประจำตัวของชายหญิงชาวตะวันตกที่เดินไปด้วยกัน
หากทั้งคู่ยังไม่ได้แต่งงานกันก็จะถูกจับ ยิ่งกว่านั้น ซาอุฯ เริ่มให้การสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย
(อินทิฟาดา) ซึ่งนำโดยปาเลสไตน์ แต่หลายคนก็คิดไม่ถึงว่าจะถึงขั้นสังหาร ร็อดเวย์
(Christopher Rodway) วิศวกรชาวอังกฤษด้วยการวางระเบิดรถยนต์วันที่ 17 พฤศจิกายน 2000
ใกล้เมืองดัมมานห่างจากริยาดราว 500 กิโลเมตร ผมเองก็คิดไม่ถึงว่าการวางระเบิดครั้งนี้
จะทำให้ผมถูกจับ
เช้าวันที่ 17 ธันวาคม 2000 ขณะออกจากบ้านไปทำงานเช้าวันนั้นรถของผมยางแบน ผมจึง
ออกไปเรียกแท็กซี่ ทันใดนั้นมีรถเก๋ง 4 ประตูแล่นมาจอดข้าง ๆ ตำรวจนอกเครื่องแบบ 3 นาย
ลงจากรถ หนึ่งในนั้นถือปืน สองคนที่เหลือตรงเข้ามาชกผมที่ท้องและหว่างขาก่อนจะจับผม
โยนเข้าไปหลังรถ
เรานั่งรถไปเงียบ ๆ ราวครึ่งชั่วโมง ผมถูกกระชากลงจากรถในสภาพมีผ้าผูกตาและสวมกุญแจมือ
พวกเขาจับเนคไทผมแล้วลากไปในตึกที่มีคนมาแกะผ้าผูกตาออกแล้วนำตัวผมเข้าไปในห้องขัง
ไม่มีหน้าต่าง บนพื้นมีฟูกสกปรกปูอยู่และมีกล้องวงจรปิดที่มุมห้องด้านบน ผมถูกสวมกุญแจมือ
โยงไว้กับลูกกรงของประตูทำให้ต้องยืนอยู่ตลอดเวลา
โปรดติดตามตอนที่ (2) ในวันพรุ่งนี้
นรกในกรุงริยาด ตอนที่ (2)
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2547/2004
โดย วิลเลี่ยม แซมป์สัน และฟรังซีน ดูเบ เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากวิกิพีเดีย
โดย กอบกิจ ครุวรรณ
ผมเริ่มปะติดปะต่อเหตุการณ์ทั้งหมด เริ่มจากเช้าวันที่ 23 พฤศจิกายน มิตเชลมาหาผม
ที่บ้านบอกข่าวของราฟว่า คืนก่อนหน้านั้นราว 5 ทุ่ม ราฟออกจากบาร์โดยขับรถเป็น
ขบวนตามกัน 3 คัน ทั้งหมดตั้งใจจะไปต่องานเลี้ยงอีกแห่ง ขับไปได้ไม่กี่นาทีก็เกิด
ระเบิดขึ้นที่รถคันแรก ราฟซึ่งปกติทำงานเป็นผู้ประสานงานเหตุฉุกเฉินในโรงพยาบาล
แห่งหนึ่งรีบติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ และปฐมพยาบาลคนเจ็บ
ต่อมาตำรวจลับสอบสวนทุกคนที่ร่วมเดินทางไปกับขบวน แม้ราฟจะบริสุทธิ์แต่เมื่อถูก
สอบสวนซ้ำ ๆ อยู่หลายวันก็อดกลัวไม่ได้ ตำรวจตั้งข้อหาว่าเขาเป็นคนวางระเบิด ผมรู้ว่า
ตำรวจลับจะต้องเหวี่ยงแหไปถึงเพื่อน ๆ ของราฟเพื่อเชื่อมโยงกับแผนการที่พวกตำรวจลับ
สร้างขึ้นและผมคงติดร่างแหไปด้วย
วันที่ 9 ธันวาคม ราฟถูกตำรวจลับจับตัวไป ความจริงผมจะหนีออกจากซาอุฯ ตอนนั้นก็ได้
แต่ผมไม่ใจดำพอจะทิ้งเพื่อน เพราะตำรวจอาจใช้เป็นหลักฐานเพื่อปรักปรำราฟได้
ผมจึงถูกจับหลังราฟ 7 วัน
ความกดดันและความเจ็บปวด
ราว 1 ชั่วโมงหลังตำรวจจับผมเข้าคุก กระบวนการโหดเหี้ยมก็เริ่มต้น ผมถูกทรมานที่
สำนักงานซึ่งอยู่เหนือห้องขังนั้นเอง คนแรกที่จัดการผม ๆ ตั้งฉายาว่าเจ้า ‘สิว’ เนื่องจาก
มีใบหน้าปรุเหมือนข้าวตัง, ดวงตาโหดเหี้ยมและเป็นคนเดียวที่พูดภาษาอังกฤษได้
อีกคนหนึ่งคือเจ้า ”เตี้ย” หน้าตาเหมือนคนแคระในหนังสือนิทาน
พวกเขาวางแผนกันว่า จะจัดให้ผมเป็นคนลงมือวางระเบิดรถที่เกิดขึ้นมาแล้วทั้ง 3 ครั้ง
ในซาอุฯ ฉะนั้นผมจะต้องบอกทุกอย่างตามที่พวกเขาต้องการ พวกเขาถามว่าผมอยู่ที่ไหน
และทำอะไรวันที่ 17, 22 พฤศจิกายน และ 15 ธันวาคมซึ่งเป็นวันเกิดเหตุทั้ง 3 ครั้ง ผมตอบ
ว่าไม่รู้เรื่องที่พวกเขาพูดถึง ผมยืนยันว่าไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุและมีพยานรู้เห็นด้วย
ทุกเย็นจะมีตำรวจพาตัวผมออกจากห้องขังขึ้นไปที่ห้องสอบสวนตามด้วยการทรมาน
พวกเขาพูดว่าจะบีบคั้นผมจนกว่าผม “จะเห็นผิดเป็นชอบ” ผมถูกส่งตัวกลับไปที่ห้องขังตอน
ใกล้ฟ้าสางโดยมีกุญแจมือสวมติดกับประตูทำให้นอนไม่ได้ เช้าวันที่สาม พวกเขาพาผมไป
ให้หมอตรวจ หมอลงความเห็นว่า ผมยังแข็งแรงพอจะรับการสอบสวนต่อไปได้ พอถึงวันที่หก
ผมก็ทนไม่ไหวและตัดสินใจว่าจะสารภาพผิดตามที่พวกเขาต้องการ พวกเขาให้ผมเขียนคำ
สารภาพที่เจ้าสิวตะโกนกรอกหูผมมาตลอด 6 วัน ผมเขียนไปว่า ผมกับมิตเชลเป็นผู้ร่วมก่อ
เหตุระเบิด และระบุด้วยว่า ราฟร่วมมีส่วนด้วยในการระเบิดครั้งที่สอง
วันที่แปด พวกเขาก็นำตัวผมไปทรมานอีกเพื่อบังคับให้ผมสารภาพว่าผมเป็นสายลับ
ให้อังกฤษ ขณะนั้นผมหมดสภาพและยอมทำตามพวกเขาทุกอย่าง คราวนี้ผมสารภาพว่า
เป็นจารชนให้อังกฤษโดยมีภารกิจหาทางทำให้รัฐบาลซาอุฯ เสียหาย ในที่สุดผมก็ถูก
โอนจากศูนย์ สอบสวนไปอยู่ที่เรือนจำอัล-ซาฮีร์ (Al-Ha'ir) ซึ่งเป็นที่คุมขังเข้มแข็งที่สุด
นอกกรุงริยาด ผมจึงได้นอนราบกับพื้นเป็นครั้งแรกในรอบ 11 วัน แต่ความทรมานแสน
สาหัสที่ผ่านมาทั้งหมดนี้เป็นเพียง “การโหมโรง” เท่านั้น ที่คุมขังใหม่ของผมดีกว่าเดิม
เล็กน้อย ผมโล่งใจที่การทรมานทำท่าจะสิ้นสุดลง ผมได้นอนหลับ 4 คืน จากนั้นเจ้าสิว
กับเจ้าเตี้ยก็ตามผมมาถึงที่คุมขังใหม่ แม้การสอบสวนจะไม่ยืดยาวเท่าที่ผ่านมา
แต่การถูกเฆี่ยนตีมีมากขึ้นจนทุกลมหายใจเข้าออกของผมมีแต่ความหวาดกลัวและ
ความเจ็บปวด เมื่อผมเรียกร้องขอพบเจ้าหน้าที่สถานทูตก็ยิ่งถูกเฆี่ยนตีหนักขึ้น จนที่สุดผม
ก็เข้าใจว่าไม่มีประโยชน์ที่จะเรียกร้องใด ๆ และพยายามโอนอ่อนตามพวกเขาทุกอย่าง
พร้อมกับกล้ำกลืนความคับข้องใจไว้ภายใน
ผมคิดว่าสาเหตุที่พวกเขาจับผมกับเพื่อน ๆ ก็เพื่อ “เชือดไก่ให้ลิงดู” ด้วยการจับกุมชาวตะวันตก
ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิด จากนั้นก็อภัยโทษและปล่อยตัวในเดือนรอมฎอน หรือไม่ก็
ประหารชีวิตพวกเราสักคนเป็นเยี่ยงอย่าง
แล้วจู่ ๆ พนักงานสอบสวนก็หยุดเฆี่ยนตีผมและหันมาทำดีด้วย สัปดาห์ต่อมาพวกเขาก็นำ
เสื้อผ้าชุดที่ผมสวมตอนถูกจับมาให้เปลี่ยนและนำตัวผมไปขึ้นศาลศาสนา ก่อนไปพวกเขา
ซักซ้อมกับผมอย่างถี่ถ้วนว่าจะต้องพูดอะไรบ้าง ระหว่างอยู่ในศาล ผมรับรองว่าคำสารภาพ
ทั้งหมดเป็นถ้อยคำของผมเองและเขียนขึ้นโดยสมัครใจ ไม่ได้ถูกขู่เข็ญใด ๆ ทั้งสิ้น
โปรดติดตามตอนที่ (3) ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2547/2004
โดย วิลเลี่ยม แซมป์สัน และฟรังซีน ดูเบ เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากวิกิพีเดีย
โดย กอบกิจ ครุวรรณ
ผมเริ่มปะติดปะต่อเหตุการณ์ทั้งหมด เริ่มจากเช้าวันที่ 23 พฤศจิกายน มิตเชลมาหาผม
ที่บ้านบอกข่าวของราฟว่า คืนก่อนหน้านั้นราว 5 ทุ่ม ราฟออกจากบาร์โดยขับรถเป็น
ขบวนตามกัน 3 คัน ทั้งหมดตั้งใจจะไปต่องานเลี้ยงอีกแห่ง ขับไปได้ไม่กี่นาทีก็เกิด
ระเบิดขึ้นที่รถคันแรก ราฟซึ่งปกติทำงานเป็นผู้ประสานงานเหตุฉุกเฉินในโรงพยาบาล
แห่งหนึ่งรีบติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ และปฐมพยาบาลคนเจ็บ
ต่อมาตำรวจลับสอบสวนทุกคนที่ร่วมเดินทางไปกับขบวน แม้ราฟจะบริสุทธิ์แต่เมื่อถูก
สอบสวนซ้ำ ๆ อยู่หลายวันก็อดกลัวไม่ได้ ตำรวจตั้งข้อหาว่าเขาเป็นคนวางระเบิด ผมรู้ว่า
ตำรวจลับจะต้องเหวี่ยงแหไปถึงเพื่อน ๆ ของราฟเพื่อเชื่อมโยงกับแผนการที่พวกตำรวจลับ
สร้างขึ้นและผมคงติดร่างแหไปด้วย
วันที่ 9 ธันวาคม ราฟถูกตำรวจลับจับตัวไป ความจริงผมจะหนีออกจากซาอุฯ ตอนนั้นก็ได้
แต่ผมไม่ใจดำพอจะทิ้งเพื่อน เพราะตำรวจอาจใช้เป็นหลักฐานเพื่อปรักปรำราฟได้
ผมจึงถูกจับหลังราฟ 7 วัน
ความกดดันและความเจ็บปวด
ราว 1 ชั่วโมงหลังตำรวจจับผมเข้าคุก กระบวนการโหดเหี้ยมก็เริ่มต้น ผมถูกทรมานที่
สำนักงานซึ่งอยู่เหนือห้องขังนั้นเอง คนแรกที่จัดการผม ๆ ตั้งฉายาว่าเจ้า ‘สิว’ เนื่องจาก
มีใบหน้าปรุเหมือนข้าวตัง, ดวงตาโหดเหี้ยมและเป็นคนเดียวที่พูดภาษาอังกฤษได้
อีกคนหนึ่งคือเจ้า ”เตี้ย” หน้าตาเหมือนคนแคระในหนังสือนิทาน
พวกเขาวางแผนกันว่า จะจัดให้ผมเป็นคนลงมือวางระเบิดรถที่เกิดขึ้นมาแล้วทั้ง 3 ครั้ง
ในซาอุฯ ฉะนั้นผมจะต้องบอกทุกอย่างตามที่พวกเขาต้องการ พวกเขาถามว่าผมอยู่ที่ไหน
และทำอะไรวันที่ 17, 22 พฤศจิกายน และ 15 ธันวาคมซึ่งเป็นวันเกิดเหตุทั้ง 3 ครั้ง ผมตอบ
ว่าไม่รู้เรื่องที่พวกเขาพูดถึง ผมยืนยันว่าไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุและมีพยานรู้เห็นด้วย
ทุกเย็นจะมีตำรวจพาตัวผมออกจากห้องขังขึ้นไปที่ห้องสอบสวนตามด้วยการทรมาน
พวกเขาพูดว่าจะบีบคั้นผมจนกว่าผม “จะเห็นผิดเป็นชอบ” ผมถูกส่งตัวกลับไปที่ห้องขังตอน
ใกล้ฟ้าสางโดยมีกุญแจมือสวมติดกับประตูทำให้นอนไม่ได้ เช้าวันที่สาม พวกเขาพาผมไป
ให้หมอตรวจ หมอลงความเห็นว่า ผมยังแข็งแรงพอจะรับการสอบสวนต่อไปได้ พอถึงวันที่หก
ผมก็ทนไม่ไหวและตัดสินใจว่าจะสารภาพผิดตามที่พวกเขาต้องการ พวกเขาให้ผมเขียนคำ
สารภาพที่เจ้าสิวตะโกนกรอกหูผมมาตลอด 6 วัน ผมเขียนไปว่า ผมกับมิตเชลเป็นผู้ร่วมก่อ
เหตุระเบิด และระบุด้วยว่า ราฟร่วมมีส่วนด้วยในการระเบิดครั้งที่สอง
วันที่แปด พวกเขาก็นำตัวผมไปทรมานอีกเพื่อบังคับให้ผมสารภาพว่าผมเป็นสายลับ
ให้อังกฤษ ขณะนั้นผมหมดสภาพและยอมทำตามพวกเขาทุกอย่าง คราวนี้ผมสารภาพว่า
เป็นจารชนให้อังกฤษโดยมีภารกิจหาทางทำให้รัฐบาลซาอุฯ เสียหาย ในที่สุดผมก็ถูก
โอนจากศูนย์ สอบสวนไปอยู่ที่เรือนจำอัล-ซาฮีร์ (Al-Ha'ir) ซึ่งเป็นที่คุมขังเข้มแข็งที่สุด
นอกกรุงริยาด ผมจึงได้นอนราบกับพื้นเป็นครั้งแรกในรอบ 11 วัน แต่ความทรมานแสน
สาหัสที่ผ่านมาทั้งหมดนี้เป็นเพียง “การโหมโรง” เท่านั้น ที่คุมขังใหม่ของผมดีกว่าเดิม
เล็กน้อย ผมโล่งใจที่การทรมานทำท่าจะสิ้นสุดลง ผมได้นอนหลับ 4 คืน จากนั้นเจ้าสิว
กับเจ้าเตี้ยก็ตามผมมาถึงที่คุมขังใหม่ แม้การสอบสวนจะไม่ยืดยาวเท่าที่ผ่านมา
แต่การถูกเฆี่ยนตีมีมากขึ้นจนทุกลมหายใจเข้าออกของผมมีแต่ความหวาดกลัวและ
ความเจ็บปวด เมื่อผมเรียกร้องขอพบเจ้าหน้าที่สถานทูตก็ยิ่งถูกเฆี่ยนตีหนักขึ้น จนที่สุดผม
ก็เข้าใจว่าไม่มีประโยชน์ที่จะเรียกร้องใด ๆ และพยายามโอนอ่อนตามพวกเขาทุกอย่าง
พร้อมกับกล้ำกลืนความคับข้องใจไว้ภายใน
ผมคิดว่าสาเหตุที่พวกเขาจับผมกับเพื่อน ๆ ก็เพื่อ “เชือดไก่ให้ลิงดู” ด้วยการจับกุมชาวตะวันตก
ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิด จากนั้นก็อภัยโทษและปล่อยตัวในเดือนรอมฎอน หรือไม่ก็
ประหารชีวิตพวกเราสักคนเป็นเยี่ยงอย่าง
แล้วจู่ ๆ พนักงานสอบสวนก็หยุดเฆี่ยนตีผมและหันมาทำดีด้วย สัปดาห์ต่อมาพวกเขาก็นำ
เสื้อผ้าชุดที่ผมสวมตอนถูกจับมาให้เปลี่ยนและนำตัวผมไปขึ้นศาลศาสนา ก่อนไปพวกเขา
ซักซ้อมกับผมอย่างถี่ถ้วนว่าจะต้องพูดอะไรบ้าง ระหว่างอยู่ในศาล ผมรับรองว่าคำสารภาพ
ทั้งหมดเป็นถ้อยคำของผมเองและเขียนขึ้นโดยสมัครใจ ไม่ได้ถูกขู่เข็ญใด ๆ ทั้งสิ้น
โปรดติดตามตอนที่ (3) ในวันพรุ่งนี้
นรกในกรุงริยาด ตอนที่ (3)
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2547/2004
โดย วิลเลี่ยม แซมป์สัน และฟรังซีน ดูเบ เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากวิกิพีเดีย
โดย กอบกิจ ครุวรรณ
พยานเท็จ
หกสัปดาห์หลังถูกจับ ผมได้พบกับเจ้าหน้าที่กงสุลแคนาดาเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านั้น
พวกเขาย้ำถึงสิ่งผมจะต้องพูดทั้งหมด เริ่มจากให้บอกว่าได้รับการปฏิบัติอย่างดี
เจ้าหน้าที่ทุกคนมีความยุติธรรม และต้องทำให้เจ้าหน้าที่กงสุลเชื่อผมด้วย
การพบกันครั้งนี้และทุกครั้งต่อมาเป็นเหมือนการเล่นละครตลกปัญญาอ่อน เจ้าหน้าที่
แคนาดาอ่านคำถามจาก “โพย” ที่เตรียมมา เช่น “คุณถูกทรมานหรือเปล่า” และ
“พวกเขาปฏิบัติต่อคุณดีไหม” ฯลฯ ใครที่ไหนจะตอบคำถามเหล่านี้ตามที่เกิดขึ้นจริงได้
ในเมื่อเจ้าหน้าที่สอบสวนซาอุฯ อย่างน้อย 1 คนนั่งฟังอยู่ด้วยสองวันต่อมามีการอัดเทป
คำสารภาพของผมและออกอากาศทั่วโลกในเดือนกุมภาพันธ์ 2001 ผมจงใจใช้ภาษาแปลก ๆ
เพื่อสื่อว่าการสารภาพครั้งนี้เกิดจากการถูกข่มขู่ ปรากฏว่าได้ผล เพราะครอบครัวผมรู้ทันที
ว่าการสารภาพครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องจริง และแจ้งให้สื่อมวลชนกับรัฐบาลทราบ
อำนาจเปลี่ยนทิศ
สัปดาห์ต่อมา ผมถูกเฆี่ยนและถูกทารุณกรรมรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยโดนเป็นเวลา 5 วัน
และไม่ได้นอน 20 วัน
เช้าวันที่ 13 มีนาคม 2001 ผมเกิดอาการเกร็งที่ท่อนแขนซ้าย ตามด้วยเจ็บที่ต้นแขนและหัวไหล่
และรู้สึกว่าหัวใจกำลังจะวายจึงตะโกนเรียกยามและขอพบหมอ แต่ยามบอกให้ผมรอไปก่อน
หลังอาหารกลางวัน ผมถูกสอบสวนและถูกบังคับให้ยืน แต่ผมล้มพับทันทีเพราะเจ็บที่แขนกับ
หน้าอก ขณะรอหมอ เจ้าเตี้ยยังเตะผมอีกหลายทีที่บั้นเอวแล้วสั่งให้ผมลุกขึ้น
หมอบอกว่าผมเป็นโรคหัวใจและถูกนำตัวไปโรงพยาบาลที่ทันสมัยมาก เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นชาว
ต่างประเทศล้วนใจดีแต่ได้รับคำสั่งห้ามพูดกับผม ผมรับการผ่าตัดเนื่องจากหลอดเลือดไปเลี้ยง
หัวใจตีบตัน มีเจ้าหน้าที่กงสุลมาคอยดูแลอยู่ด้วย ผมถูกล่ามกับเตียงและพูดอะไรมากไม่ได้เพราะ
มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ของซาอุฯ นั่งเฝ้าอยู่ข้าง ๆ
พอเจ้าหน้าที่กงสุลเดินจากไป เจ้าสิวกับเจ้าเตี้ยก็มาพร้อมกับกระป๋องช็อกโกแลต ทั้งสองแกล้ง
ทำเป็นผูกมิตรขณะที่อัตราการเต้นของหัวใจผมบนจอเริ่มถี่ขึ้นจนเครื่องส่งสัญญาณเตือนเรียก
พยาบาลที่รีบวิ่งเข้ามาดูว่าเกิดอะไรขึ้น
ผมจึงรู้ทันทีว่าจะต้องต่อกรกับพวกที่ทรมานผมโดยใช้ความเจ็บป่วยใกล้ตายเป็นเครื่องมือตอบโต้
5 สัปดาห์ต่อมาผมป่วยหนักด้วยอาการหัวใจขาดเลือดอีกและได้รับการผ่าตัดครั้งที่สอง
เจ็ดวันหลังการผ่าตัดครั้งที่สอง ผมถูกย้ายไปอยู่ในห้องขังที่กว้างขึ้นและขังไว้ในห้องนี้คนเดียว
เป็นเวลา 2 ปี ผมไม่กลัวว่าจะถูกทรมานอีกแล้วเพราะถ้าผู้คุมเฆี่ยนตีผมเหมือนเมื่อก่อน ผมอาจถึง
ตายได้ ซึ่งพวกเขาไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ทุกวันเจ้าหน้าที่จะพาผมไปให้หมอตรวจ แต่ผมไม่รู้เลยว่า
คดีของผมดำเนินไปถึงไหนแล้ว
โปรดติดตามตอนที่ (4) ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2547/2004
โดย วิลเลี่ยม แซมป์สัน และฟรังซีน ดูเบ เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากวิกิพีเดีย
โดย กอบกิจ ครุวรรณ
พยานเท็จ
หกสัปดาห์หลังถูกจับ ผมได้พบกับเจ้าหน้าที่กงสุลแคนาดาเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านั้น
พวกเขาย้ำถึงสิ่งผมจะต้องพูดทั้งหมด เริ่มจากให้บอกว่าได้รับการปฏิบัติอย่างดี
เจ้าหน้าที่ทุกคนมีความยุติธรรม และต้องทำให้เจ้าหน้าที่กงสุลเชื่อผมด้วย
การพบกันครั้งนี้และทุกครั้งต่อมาเป็นเหมือนการเล่นละครตลกปัญญาอ่อน เจ้าหน้าที่
แคนาดาอ่านคำถามจาก “โพย” ที่เตรียมมา เช่น “คุณถูกทรมานหรือเปล่า” และ
“พวกเขาปฏิบัติต่อคุณดีไหม” ฯลฯ ใครที่ไหนจะตอบคำถามเหล่านี้ตามที่เกิดขึ้นจริงได้
ในเมื่อเจ้าหน้าที่สอบสวนซาอุฯ อย่างน้อย 1 คนนั่งฟังอยู่ด้วยสองวันต่อมามีการอัดเทป
คำสารภาพของผมและออกอากาศทั่วโลกในเดือนกุมภาพันธ์ 2001 ผมจงใจใช้ภาษาแปลก ๆ
เพื่อสื่อว่าการสารภาพครั้งนี้เกิดจากการถูกข่มขู่ ปรากฏว่าได้ผล เพราะครอบครัวผมรู้ทันที
ว่าการสารภาพครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องจริง และแจ้งให้สื่อมวลชนกับรัฐบาลทราบ
อำนาจเปลี่ยนทิศ
สัปดาห์ต่อมา ผมถูกเฆี่ยนและถูกทารุณกรรมรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยโดนเป็นเวลา 5 วัน
และไม่ได้นอน 20 วัน
เช้าวันที่ 13 มีนาคม 2001 ผมเกิดอาการเกร็งที่ท่อนแขนซ้าย ตามด้วยเจ็บที่ต้นแขนและหัวไหล่
และรู้สึกว่าหัวใจกำลังจะวายจึงตะโกนเรียกยามและขอพบหมอ แต่ยามบอกให้ผมรอไปก่อน
หลังอาหารกลางวัน ผมถูกสอบสวนและถูกบังคับให้ยืน แต่ผมล้มพับทันทีเพราะเจ็บที่แขนกับ
หน้าอก ขณะรอหมอ เจ้าเตี้ยยังเตะผมอีกหลายทีที่บั้นเอวแล้วสั่งให้ผมลุกขึ้น
หมอบอกว่าผมเป็นโรคหัวใจและถูกนำตัวไปโรงพยาบาลที่ทันสมัยมาก เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นชาว
ต่างประเทศล้วนใจดีแต่ได้รับคำสั่งห้ามพูดกับผม ผมรับการผ่าตัดเนื่องจากหลอดเลือดไปเลี้ยง
หัวใจตีบตัน มีเจ้าหน้าที่กงสุลมาคอยดูแลอยู่ด้วย ผมถูกล่ามกับเตียงและพูดอะไรมากไม่ได้เพราะ
มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ของซาอุฯ นั่งเฝ้าอยู่ข้าง ๆ
พอเจ้าหน้าที่กงสุลเดินจากไป เจ้าสิวกับเจ้าเตี้ยก็มาพร้อมกับกระป๋องช็อกโกแลต ทั้งสองแกล้ง
ทำเป็นผูกมิตรขณะที่อัตราการเต้นของหัวใจผมบนจอเริ่มถี่ขึ้นจนเครื่องส่งสัญญาณเตือนเรียก
พยาบาลที่รีบวิ่งเข้ามาดูว่าเกิดอะไรขึ้น
ผมจึงรู้ทันทีว่าจะต้องต่อกรกับพวกที่ทรมานผมโดยใช้ความเจ็บป่วยใกล้ตายเป็นเครื่องมือตอบโต้
5 สัปดาห์ต่อมาผมป่วยหนักด้วยอาการหัวใจขาดเลือดอีกและได้รับการผ่าตัดครั้งที่สอง
เจ็ดวันหลังการผ่าตัดครั้งที่สอง ผมถูกย้ายไปอยู่ในห้องขังที่กว้างขึ้นและขังไว้ในห้องนี้คนเดียว
เป็นเวลา 2 ปี ผมไม่กลัวว่าจะถูกทรมานอีกแล้วเพราะถ้าผู้คุมเฆี่ยนตีผมเหมือนเมื่อก่อน ผมอาจถึง
ตายได้ ซึ่งพวกเขาไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ทุกวันเจ้าหน้าที่จะพาผมไปให้หมอตรวจ แต่ผมไม่รู้เลยว่า
คดีของผมดำเนินไปถึงไหนแล้ว
โปรดติดตามตอนที่ (4) ในวันพรุ่งนี้
นรกในกรุงริยาด ตอนที่ (4)
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2547/2004
โดย วิลเลี่ยม แซมป์สัน และฟรังซีน ดูเบ
เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากวิกิพีเดียโดย กอบกิจ ครุวรรณ
แขกพิเศษ
ปลายเดือนพฤษภาคม 2001 ผมถูกเรียกตัวไปที่ห้องสอบสวน เจ้าสิวกับเจ้าเตี้ย
บอกว่าพ่อผมจะมาเยี่ยมในวันรุ่งขึ้นโดยมีเจ้าหน้าที่สถานทูตแคนาดามานั่งอยู่ด้วย
พร้อมกับเจ้าสิวและเจ้าเตี้ย พวกเขาย้ำเหมือนทุกครั้งว่าผมจะต้องพูดอะไรและย้ำเสมอ
ให้ผมบอกว่า พวกเขาดูแลผมเป็นอย่างดี
ทันทีที่เห็นพ่อยืนอยู่ตรงนั้น ผมแทบกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ ผมเสียใจที่ทำให้พ่อต้องพลอย
เป็นทุกข์ไปด้วย ผมเห็นท่าทางก็รู้ว่าพ่อจะไม่ยอมให้พวกซาอุฯ สะใจที่เห็นพ่อเจ็บปวด
และผมก็จะไม่ยอมเช่นกัน
สัปดาห์ต่อมา เมื่อพ่อมาเยี่ยมอีกครั้ง ผมพูดเป็นนัยกับพ่อว่า “บอกเด็ก ๆ
ที่โรงเรียนเซนต์สตีเฟ่นส์ว่า ตอนนี้เหมือนกลับเข้าไปอยู่ในโรงเรียนที่มีอาหารไม่อร่อย
และมี ดร. เบิร์ชชิง คอยสอดส่องดูแลมากไป” ที่จริงไม่มีโรงเรียนเซนต์สตีเฟ่นส์ที่ไหนหรอก
ผมจงใจพูดชื่อโรงเรียนผิด ๆ เพื่อสื่อให้พ่อรู้ความนัย ส่วนคำว่า “เบิร์ชชิง” เป็นศัพท์เฉพาะ
ของคนอังกฤษหมายถึงการเฆี่ยนตี ผมหวังว่าพ่อซึ่งเป็นคนอังกฤษจะตีความตรงนี้ได้พ่อทำ
หน้างง ๆ แสดงว่าไม่เข้าใจ แต่ผู้คุมจับสังเกตได้เย็นวันนั้น เจ้าเตี้ยกับเจ้าสิวถามผมว่าผม
พยายามจะบอกอะไรกับพ่อ แถมขู่ด้วยว่าจะจับพ่อยัดห้องขังติดกับผมและทรมานพ่อเหมือน
ที่ทำกับผม คำขู่เช่นนี้ทำให้ผมโมโหสุด ๆ ตอนนั้นผมถูกตีตรวนอยู่แต่ไม่ได้ใส่กุญแจมือ
ผมดีดตัวขึ้นจากพื้นแล้วพุ่งใส่พวกมันทันที คนขี้ขลาดอย่างพวกมันได้แต่วิ่งหนีไม่เป็นท่า
นับเป็นก้าวแรกของการตอบโต้ของผมที่รุนแรงขึ้นเป็นลำดับ
การประท้วงที่โสมม
ฤดูร้อนปีนั้นผ่านไปอย่างราบรื่นพอสมควร พอถึงเดือนสิงหาคม เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์สั่ง
ให้ผมสวมเสื้อยาวแบบแขกแต่ผมไม่ยอม พวกเขาจึงยึดสบู่ ยาสีฟันและแปรงสีฟันของผม
ไปหมด ผมจึงตั้งปณิธานว่า ผมจะไม่ยอมทำความสะอาดร่างกายอีกต่อไป
เดือนต่อมาผมเริ่มชินกับกลิ่นที่เหมือนเนื้อเน่าของตัวเอง แต่คนอื่นรวมทั้งผู้คุมทำท่า
สะอิดสะเอียน ถ้าคนทั้งโลกจะลงความเห็นว่าผมบ้า ผมก็ไม่สนใจเพราะรู้ว่าตัวเองกำลัง
ทำอะไรและต่อสู้กับอะไร
วันที่ 3 กันยายน 2001 ผมถูกเจ้าสิวสอบสวนอีกครั้ง เขาบอกว่าจะนำตัวผมไปพิจารณาคดี
ในวันรุ่งขึ้น ผมจะต้องสารภาพผิดและขอความเมตตาจากศาล แต่ผมตั้งใจแล้วว่าจะ
ไม่สารภาพในข้อหาใด ๆ ทั้งสิ้น
เจ้าหน้าที่จับผมแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าแบบตะวันตก ผมไปขึ้นศาลในสภาพที่ไม่ได้อาบน้ำมานาน
มากต่อหน้าผู้พิพากษา 3 คน เจ้าเตี้ยทำหน้าที่เป็นพนักงานอัยการฟ้อง ส่วนเจ้าสิวนั่งประกบ
อยู่ข้างผม แต่ผมไม่มีทนายความแก้ต่าง นี่มันศาลเตี้ยชัด ๆ
มีการพิจารณาคำสารภาพที่ผมเขียนไว้หลายเดือนแล้ว พวกผู้พิพากษาพูดโต้ตอบกับเจ้าเตี้ย
เป็นภาษาอาหรับ จากนั้นก็สั่งผมให้พูดกับศาล
“ผมขอปฏิเสธความชอบธรรมด้วยกฎหมายของศาลนี้” ผมกล่าว
วันที่ 8 ตุลาคม เจ้าหน้าที่บอกว่าจะให้โอกาสผมได้รับการพิจารณาคดีเป็นครั้งที่สอง และคะยั้น
คะยอให้ผมรับสารภาพพร้อมกับขอความเมตตาจากศาล ทุกอย่างดำเนินไปเหมือนครั้งแรก
แต่ครั้งนี้ผมไม่กลัวอะไรอีกแล้ว ขณะที่ผมถูกนำตัวออกจากห้องพิจารณาคดี ผู้พิพากษาคนหนึ่ง
ตะโกนใส่ผมว่า “นายรู้ใช่ไหมว่า เราจะทำยังไงกับนายก็ได้”
ต้นเดือนมีนาคม 2002 เจ้าหน้าที่บอกว่าจะย้ายผมออกจากห้องขังเดี่ยวถ้าผมยอมเซ็นชื่อ
ในเอกสารที่รับรองว่าได้รับการปฏิบัติอย่างดีในเรือนจำแห่งนี้และไม่เคยถูกเฆี่ยนตีแต่อย่างใด
ผมนอนนิ่งไม่พูดจาด้วย พวกเขาหามผมออกจากห้องขังและส่งต่อไปที่โรงพยาบาล ผมถูกล่ามโซ่
ติดกับเตียงขณะที่เจ้าสิวกับเจ้าเตี้ยมาบอกว่าจะมีคนสำคัญจากแคนาดามาเยี่ยมและให้ผมทำตัวดี ๆ
สมาชิกสภาฯ จากควิเบก (แคนาดา) มาพร้อมกับเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยของซาอุฯ ชุดใหญ่
และเจ้าหน้าที่จากสถานทูตแคนาดาอีกชุดหนึ่ง
“ผมขอสละสัญชาติแคนาดา” ผมบอก เพราะผมรู้ว่าจะได้รับการดูแลที่ดีกว่าจากสถานทูตอังกฤษ
ในเรื่องการตั้งทนายมาสู้คดี ผมรู้สึกว่าเจ้าหน้าที่แคนาดาไม่ได้ปกป้องผลประโยชน์ของผมอย่าง
เต็มที่ แต่พยายามรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับผู้คุมและผู้ที่ทรมานผม
สมาชิกสภาฯ ถามว่า ทำไมผมจึงทำตัวยุ่งยากเช่นนี้ ผมชี้ไปที่กลุ่มผู้ทรมานและบอกว่า
“นี่คือพวกวายร้ายที่ทรมานผม” ทุกคนในห้องแตกฮือ เจ้าเตี้ยกับเจ้าสิวตะโกนใส่หน้าผมและ
พยายามยุติการพบปะครั้งนี้
“อย่าหมดหวัง เพื่อนๆ ยังคิดถึงคุณอยู่” สมาชิกสภาฯ กล่าว
“ผมไม่จำเป็นต้องหวัง” ผมตอบ ผมมีชีวิตอยู่ด้วยความโกรธแค้น
โปรดติดตามตอนที่ (5) ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2547/2004
โดย วิลเลี่ยม แซมป์สัน และฟรังซีน ดูเบ
เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากวิกิพีเดียโดย กอบกิจ ครุวรรณ
แขกพิเศษ
ปลายเดือนพฤษภาคม 2001 ผมถูกเรียกตัวไปที่ห้องสอบสวน เจ้าสิวกับเจ้าเตี้ย
บอกว่าพ่อผมจะมาเยี่ยมในวันรุ่งขึ้นโดยมีเจ้าหน้าที่สถานทูตแคนาดามานั่งอยู่ด้วย
พร้อมกับเจ้าสิวและเจ้าเตี้ย พวกเขาย้ำเหมือนทุกครั้งว่าผมจะต้องพูดอะไรและย้ำเสมอ
ให้ผมบอกว่า พวกเขาดูแลผมเป็นอย่างดี
ทันทีที่เห็นพ่อยืนอยู่ตรงนั้น ผมแทบกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ ผมเสียใจที่ทำให้พ่อต้องพลอย
เป็นทุกข์ไปด้วย ผมเห็นท่าทางก็รู้ว่าพ่อจะไม่ยอมให้พวกซาอุฯ สะใจที่เห็นพ่อเจ็บปวด
และผมก็จะไม่ยอมเช่นกัน
สัปดาห์ต่อมา เมื่อพ่อมาเยี่ยมอีกครั้ง ผมพูดเป็นนัยกับพ่อว่า “บอกเด็ก ๆ
ที่โรงเรียนเซนต์สตีเฟ่นส์ว่า ตอนนี้เหมือนกลับเข้าไปอยู่ในโรงเรียนที่มีอาหารไม่อร่อย
และมี ดร. เบิร์ชชิง คอยสอดส่องดูแลมากไป” ที่จริงไม่มีโรงเรียนเซนต์สตีเฟ่นส์ที่ไหนหรอก
ผมจงใจพูดชื่อโรงเรียนผิด ๆ เพื่อสื่อให้พ่อรู้ความนัย ส่วนคำว่า “เบิร์ชชิง” เป็นศัพท์เฉพาะ
ของคนอังกฤษหมายถึงการเฆี่ยนตี ผมหวังว่าพ่อซึ่งเป็นคนอังกฤษจะตีความตรงนี้ได้พ่อทำ
หน้างง ๆ แสดงว่าไม่เข้าใจ แต่ผู้คุมจับสังเกตได้เย็นวันนั้น เจ้าเตี้ยกับเจ้าสิวถามผมว่าผม
พยายามจะบอกอะไรกับพ่อ แถมขู่ด้วยว่าจะจับพ่อยัดห้องขังติดกับผมและทรมานพ่อเหมือน
ที่ทำกับผม คำขู่เช่นนี้ทำให้ผมโมโหสุด ๆ ตอนนั้นผมถูกตีตรวนอยู่แต่ไม่ได้ใส่กุญแจมือ
ผมดีดตัวขึ้นจากพื้นแล้วพุ่งใส่พวกมันทันที คนขี้ขลาดอย่างพวกมันได้แต่วิ่งหนีไม่เป็นท่า
นับเป็นก้าวแรกของการตอบโต้ของผมที่รุนแรงขึ้นเป็นลำดับ
การประท้วงที่โสมม
ฤดูร้อนปีนั้นผ่านไปอย่างราบรื่นพอสมควร พอถึงเดือนสิงหาคม เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์สั่ง
ให้ผมสวมเสื้อยาวแบบแขกแต่ผมไม่ยอม พวกเขาจึงยึดสบู่ ยาสีฟันและแปรงสีฟันของผม
ไปหมด ผมจึงตั้งปณิธานว่า ผมจะไม่ยอมทำความสะอาดร่างกายอีกต่อไป
เดือนต่อมาผมเริ่มชินกับกลิ่นที่เหมือนเนื้อเน่าของตัวเอง แต่คนอื่นรวมทั้งผู้คุมทำท่า
สะอิดสะเอียน ถ้าคนทั้งโลกจะลงความเห็นว่าผมบ้า ผมก็ไม่สนใจเพราะรู้ว่าตัวเองกำลัง
ทำอะไรและต่อสู้กับอะไร
วันที่ 3 กันยายน 2001 ผมถูกเจ้าสิวสอบสวนอีกครั้ง เขาบอกว่าจะนำตัวผมไปพิจารณาคดี
ในวันรุ่งขึ้น ผมจะต้องสารภาพผิดและขอความเมตตาจากศาล แต่ผมตั้งใจแล้วว่าจะ
ไม่สารภาพในข้อหาใด ๆ ทั้งสิ้น
เจ้าหน้าที่จับผมแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าแบบตะวันตก ผมไปขึ้นศาลในสภาพที่ไม่ได้อาบน้ำมานาน
มากต่อหน้าผู้พิพากษา 3 คน เจ้าเตี้ยทำหน้าที่เป็นพนักงานอัยการฟ้อง ส่วนเจ้าสิวนั่งประกบ
อยู่ข้างผม แต่ผมไม่มีทนายความแก้ต่าง นี่มันศาลเตี้ยชัด ๆ
มีการพิจารณาคำสารภาพที่ผมเขียนไว้หลายเดือนแล้ว พวกผู้พิพากษาพูดโต้ตอบกับเจ้าเตี้ย
เป็นภาษาอาหรับ จากนั้นก็สั่งผมให้พูดกับศาล
“ผมขอปฏิเสธความชอบธรรมด้วยกฎหมายของศาลนี้” ผมกล่าว
วันที่ 8 ตุลาคม เจ้าหน้าที่บอกว่าจะให้โอกาสผมได้รับการพิจารณาคดีเป็นครั้งที่สอง และคะยั้น
คะยอให้ผมรับสารภาพพร้อมกับขอความเมตตาจากศาล ทุกอย่างดำเนินไปเหมือนครั้งแรก
แต่ครั้งนี้ผมไม่กลัวอะไรอีกแล้ว ขณะที่ผมถูกนำตัวออกจากห้องพิจารณาคดี ผู้พิพากษาคนหนึ่ง
ตะโกนใส่ผมว่า “นายรู้ใช่ไหมว่า เราจะทำยังไงกับนายก็ได้”
ต้นเดือนมีนาคม 2002 เจ้าหน้าที่บอกว่าจะย้ายผมออกจากห้องขังเดี่ยวถ้าผมยอมเซ็นชื่อ
ในเอกสารที่รับรองว่าได้รับการปฏิบัติอย่างดีในเรือนจำแห่งนี้และไม่เคยถูกเฆี่ยนตีแต่อย่างใด
ผมนอนนิ่งไม่พูดจาด้วย พวกเขาหามผมออกจากห้องขังและส่งต่อไปที่โรงพยาบาล ผมถูกล่ามโซ่
ติดกับเตียงขณะที่เจ้าสิวกับเจ้าเตี้ยมาบอกว่าจะมีคนสำคัญจากแคนาดามาเยี่ยมและให้ผมทำตัวดี ๆ
สมาชิกสภาฯ จากควิเบก (แคนาดา) มาพร้อมกับเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยของซาอุฯ ชุดใหญ่
และเจ้าหน้าที่จากสถานทูตแคนาดาอีกชุดหนึ่ง
“ผมขอสละสัญชาติแคนาดา” ผมบอก เพราะผมรู้ว่าจะได้รับการดูแลที่ดีกว่าจากสถานทูตอังกฤษ
ในเรื่องการตั้งทนายมาสู้คดี ผมรู้สึกว่าเจ้าหน้าที่แคนาดาไม่ได้ปกป้องผลประโยชน์ของผมอย่าง
เต็มที่ แต่พยายามรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับผู้คุมและผู้ที่ทรมานผม
สมาชิกสภาฯ ถามว่า ทำไมผมจึงทำตัวยุ่งยากเช่นนี้ ผมชี้ไปที่กลุ่มผู้ทรมานและบอกว่า
“นี่คือพวกวายร้ายที่ทรมานผม” ทุกคนในห้องแตกฮือ เจ้าเตี้ยกับเจ้าสิวตะโกนใส่หน้าผมและ
พยายามยุติการพบปะครั้งนี้
“อย่าหมดหวัง เพื่อนๆ ยังคิดถึงคุณอยู่” สมาชิกสภาฯ กล่าว
“ผมไม่จำเป็นต้องหวัง” ผมตอบ ผมมีชีวิตอยู่ด้วยความโกรธแค้น
โปรดติดตามตอนที่ (5) ในวันพรุ่งนี้
นรกในกรุงริยาด ตอนที่ (5) (ตอนจบ)
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2547/2004
โดย วิลเลี่ยม แซมป์สัน และฟรังซีน ดูเบ
เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากวิกิพีเดียโดย กอบกิจ ครุวรรณ
อิสรภาพ
ในที่สุดสถานการณ์ทั้งหลายก็เริ่มดีขึ้น พวกเขาปล่อยให้ผมอยู่ตามลำพัง
ผมมีเวลาอ่านหนังสือและนั่งสมาธิ ผมคิดว่าผู้คุมพยายามปรับปรุงสภาพ
ความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นเพื่อผมจะได้ไม่กล่าวพาดพิงถึงพวกเขาอย่างรุนแรงอีก
วันที่ 7 สิงหาคม 2003 หลังจากผมถูกขัง 2 ปี 7 เดือน 3 สัปดาห์ ผู้คุมเดินเข้ามา
ในห้องขังผมตามลำพังซึ่งเป็นเรื่องประหลาด เพราะหลังจากผมอาละวาดรุนแรง
ในห้องขังและที่โรงพยาบาล 2-3 ครั้ง พวกผู้คุมก็กลัวผมมากจนไม่กล้าเข้ามา
ในห้องขังคนเดียว ที่นึกไม่ถึงคือ มิตเชลซึ่งถูกจับวันเดียวกับผมก็ถูกรุนหลัง
ให้เข้ามาในห้องด้วย
“หวัดดี นายมาทำอะไรที่นี่” ผมถาม และรู้สึกดีใจที่เขายังไม่ตาย
“แต่งตัวเถอะ เราจะได้กลับบ้านกันแล้ว” เขาตอบ
ผมอาบน้ำเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี รู้สึกสดชื่นจนบอกไม่ถูก น้ำสกปรกสีเทาเหนียวหนืด
ไหลไปรวมกันที่ท่อระบายน้ำ ผมกับมิตเชลถูกจับใส่รถตู้ของเรือนจำไปยังสนามบิน
ที่ผ่านมา มิตเชลติดต่อกับทนายความที่ต่อสู้คดีให้เต็มที่ ผมเพิ่งมารู้ความจริงขณะที่นั่ง
รถไปกับมิตเชลว่า ผมถูกตัดสินประหารชีวิตไปแล้ว
เมื่อประตูรถตู้เปิดออกที่สนามบินกรุงริยาด เจ้าหน้าที่พาเราไปที่ห้องวีไอพีเพื่อสมทบ
กับชาวตะวันตกอีก 5 คนซึ่งถูกจับฐานมีส่วนพัวพันกับการระเบิดรถยนต์ มีคนบอกว่า
ราฟบินกลับไปก่อนหน้าพวกเราแล้ว
พอเครื่องบินร่อนลงที่กรุงลอนดอน ผมยิ้มไม่หุบขณะเดินลงบันไดตรงไปยังรถบัส
“เราชนะวายร้ายพวกนั้นแล้ว” “เรา” ในที่นี้ ผมหมายถึงเพื่อน ๆ และครอบครัวที่อยู่นอก
เรือนจำซึ่งคอยช่วยเหลือพวกเรา ตลอดจนคนที่คอยสนับสนุนด้านอื่นๆ และรัฐบาลอังกฤษ
แต่ไม่รวมเจ้าหน้าที่แคนาดา
วันรุ่งขึ้น ผมเริ่มกระบวนการฟื้นฟูชีวิตให้ตัวเองโดยเข้าไปในเมืองแล้วเดินเตร็ดเตร่ตาม
ถนนสายต่าง ๆ รวมทั้งห้างแฮร์รอดและศูนย์อาหารเพื่อสูดกลิ่นอาหารที่ขาดหายไปนาน
กว่า 2 ปี ผมรู้ว่าผมจะต้องหายดีเป็นปกติ เพราะคนชั่วร้ายพวกนั้นไม่ได้ทำลายจิตวิญญาณ
ของผมเลย
ผมยังคงต้องไปหาหมอเป็นประจำ แก้วหูซ้ายชำรุดไปบางส่วนเพราะถูกทุบตีอย่างแรงและ
ยังรู้สึกเจ็บที่เท้า, ข้อเท้า, หลังบางส่วน และสะโพกอยู่ตลอดมา
มุมมองของผมในเรื่องความสำเร็จก็เปลี่ยนไป ผมรู้สึกสมเพชที่เห็นผู้คนพยายามปีนป่าย
เหยียบหัวกันขึ้นไปสู่จุดสูงสุดในชีวิต ผมเห็นเป็นเรื่องเสียเวลาและจะไม่ขอกลับไปใช้ชีวิต
แบบเดิมอีกแล้ว
หมายเหตุ : เจ้าหน้าที่ซาอุฯ ปฏิเสธการทรมานผู้ต้องหา และอ้างว่าการวางระเบิดเกิดจาก
กลุ่มผู้ค้าเหล้าชาวตะวันตกที่หักหลังกันเอง
การปล่อยตัวเป็นอิสระของพวกเขา ส่วนหนึ่งเกิดจากความพยายามทางการทูต, สมาชิกรัฐ
สภาชาวแคนาดาและฟ้าชายชาร์ลส์แห่งเวลส์
วิลเลี่ยม แซมป์สัน (ผู้เล่าเรื่องประสบการณ์ชีวิตของตัวเองในเรื่องนี้)
เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายที่บ้านทางตอนเหนือของอังกฤษเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2012
***********************
จบบริบูรณ์
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2547/2004
โดย วิลเลี่ยม แซมป์สัน และฟรังซีน ดูเบ
เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากวิกิพีเดียโดย กอบกิจ ครุวรรณ
อิสรภาพ
ในที่สุดสถานการณ์ทั้งหลายก็เริ่มดีขึ้น พวกเขาปล่อยให้ผมอยู่ตามลำพัง
ผมมีเวลาอ่านหนังสือและนั่งสมาธิ ผมคิดว่าผู้คุมพยายามปรับปรุงสภาพ
ความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นเพื่อผมจะได้ไม่กล่าวพาดพิงถึงพวกเขาอย่างรุนแรงอีก
วันที่ 7 สิงหาคม 2003 หลังจากผมถูกขัง 2 ปี 7 เดือน 3 สัปดาห์ ผู้คุมเดินเข้ามา
ในห้องขังผมตามลำพังซึ่งเป็นเรื่องประหลาด เพราะหลังจากผมอาละวาดรุนแรง
ในห้องขังและที่โรงพยาบาล 2-3 ครั้ง พวกผู้คุมก็กลัวผมมากจนไม่กล้าเข้ามา
ในห้องขังคนเดียว ที่นึกไม่ถึงคือ มิตเชลซึ่งถูกจับวันเดียวกับผมก็ถูกรุนหลัง
ให้เข้ามาในห้องด้วย
“หวัดดี นายมาทำอะไรที่นี่” ผมถาม และรู้สึกดีใจที่เขายังไม่ตาย
“แต่งตัวเถอะ เราจะได้กลับบ้านกันแล้ว” เขาตอบ
ผมอาบน้ำเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี รู้สึกสดชื่นจนบอกไม่ถูก น้ำสกปรกสีเทาเหนียวหนืด
ไหลไปรวมกันที่ท่อระบายน้ำ ผมกับมิตเชลถูกจับใส่รถตู้ของเรือนจำไปยังสนามบิน
ที่ผ่านมา มิตเชลติดต่อกับทนายความที่ต่อสู้คดีให้เต็มที่ ผมเพิ่งมารู้ความจริงขณะที่นั่ง
รถไปกับมิตเชลว่า ผมถูกตัดสินประหารชีวิตไปแล้ว
เมื่อประตูรถตู้เปิดออกที่สนามบินกรุงริยาด เจ้าหน้าที่พาเราไปที่ห้องวีไอพีเพื่อสมทบ
กับชาวตะวันตกอีก 5 คนซึ่งถูกจับฐานมีส่วนพัวพันกับการระเบิดรถยนต์ มีคนบอกว่า
ราฟบินกลับไปก่อนหน้าพวกเราแล้ว
พอเครื่องบินร่อนลงที่กรุงลอนดอน ผมยิ้มไม่หุบขณะเดินลงบันไดตรงไปยังรถบัส
“เราชนะวายร้ายพวกนั้นแล้ว” “เรา” ในที่นี้ ผมหมายถึงเพื่อน ๆ และครอบครัวที่อยู่นอก
เรือนจำซึ่งคอยช่วยเหลือพวกเรา ตลอดจนคนที่คอยสนับสนุนด้านอื่นๆ และรัฐบาลอังกฤษ
แต่ไม่รวมเจ้าหน้าที่แคนาดา
วันรุ่งขึ้น ผมเริ่มกระบวนการฟื้นฟูชีวิตให้ตัวเองโดยเข้าไปในเมืองแล้วเดินเตร็ดเตร่ตาม
ถนนสายต่าง ๆ รวมทั้งห้างแฮร์รอดและศูนย์อาหารเพื่อสูดกลิ่นอาหารที่ขาดหายไปนาน
กว่า 2 ปี ผมรู้ว่าผมจะต้องหายดีเป็นปกติ เพราะคนชั่วร้ายพวกนั้นไม่ได้ทำลายจิตวิญญาณ
ของผมเลย
ผมยังคงต้องไปหาหมอเป็นประจำ แก้วหูซ้ายชำรุดไปบางส่วนเพราะถูกทุบตีอย่างแรงและ
ยังรู้สึกเจ็บที่เท้า, ข้อเท้า, หลังบางส่วน และสะโพกอยู่ตลอดมา
มุมมองของผมในเรื่องความสำเร็จก็เปลี่ยนไป ผมรู้สึกสมเพชที่เห็นผู้คนพยายามปีนป่าย
เหยียบหัวกันขึ้นไปสู่จุดสูงสุดในชีวิต ผมเห็นเป็นเรื่องเสียเวลาและจะไม่ขอกลับไปใช้ชีวิต
แบบเดิมอีกแล้ว
หมายเหตุ : เจ้าหน้าที่ซาอุฯ ปฏิเสธการทรมานผู้ต้องหา และอ้างว่าการวางระเบิดเกิดจาก
กลุ่มผู้ค้าเหล้าชาวตะวันตกที่หักหลังกันเอง
การปล่อยตัวเป็นอิสระของพวกเขา ส่วนหนึ่งเกิดจากความพยายามทางการทูต, สมาชิกรัฐ
สภาชาวแคนาดาและฟ้าชายชาร์ลส์แห่งเวลส์
วิลเลี่ยม แซมป์สัน (ผู้เล่าเรื่องประสบการณ์ชีวิตของตัวเองในเรื่องนี้)
เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายที่บ้านทางตอนเหนือของอังกฤษเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2012
***********************
จบบริบูรณ์
"ความหวังเหนือท้องน้ำ" ตอนที่ (1)
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2547/2004
โดย ดั๊ก คอลลิแกน เรียบเรียงและเพิ่มเติมจาก
“ https://www.duluthnewstribune.com/22785 ... mccluskey-
paddling-philanthropist โดย กอบกิจ ครุวรรณ
วันหนึ่งในเดือนเมษายน 2003 ‘คิม’ ชาวอเมริกัน พายเรือ(พายเรือ)คายักผ่านกระท่อม
แพโทรม ๆ ที่อยู่ใกล้กลุ่มเรือนแพอื่น ๆ ราว 20 หลัง ในหมู่บ้านประมงเล็ก ๆ ในบริเวณ
อ่าวฮาลอง นอกชายฝั่งตอนเหนือของเวียดนาม โดยมี ‘วู’ คู่หูชาวเวียดนามช่วยทำหน้าที่
คัดท้ายเรือมุ่งตรงไปยังเรือนแพหลังนั้นซึ่งมีเพียงแผ่นไม้หลายแผ่นมัดไว้กับแผ่นโฟม
และมีหลังคาเป็นผ้าพลาสติกสีฟ้าคลุมอยู่บนโครงไม้ไผ่
สองวันต่อมา ชายทั้งสองมีรายการนำนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันกลุ่มหนึ่งไปชมทิวทัศน์
รอบอ่าวฮาลองตอนบ่าย เช้าวันเดียวกันก่อนออกเดินทาง วู พายเรือคนเดียวไปที่เพิง
เรือนแพโทรม ๆ ที่น่าเวทนาอีกครั้งหนึ่ง วูพบเด็กหญิงคนหนึ่งที่นั่นทำให้ทราบว่า
(แม่ก็คือแม่)เเม่ของเธอเสียชีวิตแล้ว (ครอบครัว)พ่อก็หายตัวไปปล่อยให้เธอและพี่สาว 2 คน
เผชิญชะตากรรมโดยลำพัง พี่สาวคนโตชื่อ “หลาน”วัย 15 ปี และ”ซวน” พี่คนรอง
วัย 13 ปีดิ้นรนสู้ชีวิตด้วยการเก็บหอยและพยายามหาทางส่งเสียให้ “มาย” น้องสาว
คนเล็กวัย 10 ขวบเรียนหนังสือ แต่ช่วงนั้นสองพี่น้องหาเงินได้ไม่พอส่งน้องไปโรงเรียน
ซึ่งต้องเสียค่าเล่าเรียนเดือนละ 40 บาท มาย จึงต้องอยู่บ้านคนเดียวและรับหน้าที่ดูแล
“บ้าน” ให้สะอาดเรียบร้อย
นักท่องเที่ยวบนเรือที่ทราบเรื่องของสามพี่น้องจากวู ต่างเรี่ยไรเงินช่วย วูกับคิมจึงอาสา
นำเงินไปให้พวกเธอ ขณะ(เรือ)เรือแล่นเข้าใกล้เรือนแพ คิมตกใจมากที่เห็นแพบอบบางมาก
และคิดว่า “เด็กเหล่านี้จะรอดชีวิตจาก(ฝน)ฤดูมรสุมหรือ(ฤดูหนาว)ฤดูหนาวในบ้านที่บุด้วย
แผ่นพลาสติกบาง ๆ ได้อย่างไร”
ตอนเรือเข้าเทียบ เด็กเล็กคนหนึ่งโผล่ออกมาจ้องมองผ่านกระโจมพลาสติกสีฟ้า ใบหน้า
บ่งบอกถึงความอยากรู้ผสมความตื่นกลัวเมื่อหัวเรือเบนไปที่แพของเธอ
วูบอกเธอว่า เขาทั้งสองนำเงินกับอาหารมาให้ ขณะที่คิมมองเข้าไปข้างใน “ทุกอย่างดูเรียบ
ร้อยมาก” เขาเห็นเสื่อไม้ไผ่ขาดวิ่น 3 ผืนกับผ้านวมม้วนเก็บแอบไว้ที่มุมห้องด้านหนึ่ง สมบัติ
ทุกชิ้นของสามที่น้องเก็บอยู่ในกระบุงสาน 3 ใบ มีเสื้อผ้า 2-3 ตัว เครื่องครัวและเครื่องเรียน
ของมายซึ่งตอนนี้ไม่ได้ใช้แล้ว พวกเธอมีพื้นที่อยู่อาศัยขนาดกว้างยาวเพียง 3 เมตรซึ่งพอปู
เสื่อนอนตอนกลางคืนเท่านั้น
มายบอกว่าพี่สาวออกไปหาหอยนางรม วูรู้ดีว่างานนี้โหดร้ายเพียงใด ต้องปีนป่ายตามหินปูน
แหลมคมตอนน้ำลด มือหนึ่งยึดจับหินลื่น ขณะที่มืออีกข้างใช้ค้อนเล็ก ๆ งัดเปลือกหอยให้อ้า
“หินบาดมือและเท้าอยู่บ่อย ๆ แม้จะสวมถุงมือก็ยังโดนเปลือกหอยบาดได้” วูบอก วันที่โชคดี
เด็กคนหนึ่งอาจเก็บหอยนางรมได้ 20 กิโลกรัมโดยมีเนื้อหอยหนักเพียง 2 กิโลกรัมและขาย
ได้เงิน 12 บาท
วูม้วนเงินราว 3,000 บาทที่นำมาให้ใส่มือมาย “หนูอย่าลืมเอานี่ให้พี่สาวนะจ๊ะ” เงินก้อนนี้
คงช่วยให้สามพี่น้องประทังชีวิตได้นาน 3 เดือน
“ขอบคุณค่ะ หนูจะเอาให้พี่” เธอพูดเสียงกระซิบเหมือนยังไม่ค่อยเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น
โปรดติดตามตอนที่ (2) ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2547/2004
โดย ดั๊ก คอลลิแกน เรียบเรียงและเพิ่มเติมจาก
“ https://www.duluthnewstribune.com/22785 ... mccluskey-
paddling-philanthropist โดย กอบกิจ ครุวรรณ
วันหนึ่งในเดือนเมษายน 2003 ‘คิม’ ชาวอเมริกัน พายเรือ(พายเรือ)คายักผ่านกระท่อม
แพโทรม ๆ ที่อยู่ใกล้กลุ่มเรือนแพอื่น ๆ ราว 20 หลัง ในหมู่บ้านประมงเล็ก ๆ ในบริเวณ
อ่าวฮาลอง นอกชายฝั่งตอนเหนือของเวียดนาม โดยมี ‘วู’ คู่หูชาวเวียดนามช่วยทำหน้าที่
คัดท้ายเรือมุ่งตรงไปยังเรือนแพหลังนั้นซึ่งมีเพียงแผ่นไม้หลายแผ่นมัดไว้กับแผ่นโฟม
และมีหลังคาเป็นผ้าพลาสติกสีฟ้าคลุมอยู่บนโครงไม้ไผ่
สองวันต่อมา ชายทั้งสองมีรายการนำนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันกลุ่มหนึ่งไปชมทิวทัศน์
รอบอ่าวฮาลองตอนบ่าย เช้าวันเดียวกันก่อนออกเดินทาง วู พายเรือคนเดียวไปที่เพิง
เรือนแพโทรม ๆ ที่น่าเวทนาอีกครั้งหนึ่ง วูพบเด็กหญิงคนหนึ่งที่นั่นทำให้ทราบว่า
(แม่ก็คือแม่)เเม่ของเธอเสียชีวิตแล้ว (ครอบครัว)พ่อก็หายตัวไปปล่อยให้เธอและพี่สาว 2 คน
เผชิญชะตากรรมโดยลำพัง พี่สาวคนโตชื่อ “หลาน”วัย 15 ปี และ”ซวน” พี่คนรอง
วัย 13 ปีดิ้นรนสู้ชีวิตด้วยการเก็บหอยและพยายามหาทางส่งเสียให้ “มาย” น้องสาว
คนเล็กวัย 10 ขวบเรียนหนังสือ แต่ช่วงนั้นสองพี่น้องหาเงินได้ไม่พอส่งน้องไปโรงเรียน
ซึ่งต้องเสียค่าเล่าเรียนเดือนละ 40 บาท มาย จึงต้องอยู่บ้านคนเดียวและรับหน้าที่ดูแล
“บ้าน” ให้สะอาดเรียบร้อย
นักท่องเที่ยวบนเรือที่ทราบเรื่องของสามพี่น้องจากวู ต่างเรี่ยไรเงินช่วย วูกับคิมจึงอาสา
นำเงินไปให้พวกเธอ ขณะ(เรือ)เรือแล่นเข้าใกล้เรือนแพ คิมตกใจมากที่เห็นแพบอบบางมาก
และคิดว่า “เด็กเหล่านี้จะรอดชีวิตจาก(ฝน)ฤดูมรสุมหรือ(ฤดูหนาว)ฤดูหนาวในบ้านที่บุด้วย
แผ่นพลาสติกบาง ๆ ได้อย่างไร”
ตอนเรือเข้าเทียบ เด็กเล็กคนหนึ่งโผล่ออกมาจ้องมองผ่านกระโจมพลาสติกสีฟ้า ใบหน้า
บ่งบอกถึงความอยากรู้ผสมความตื่นกลัวเมื่อหัวเรือเบนไปที่แพของเธอ
วูบอกเธอว่า เขาทั้งสองนำเงินกับอาหารมาให้ ขณะที่คิมมองเข้าไปข้างใน “ทุกอย่างดูเรียบ
ร้อยมาก” เขาเห็นเสื่อไม้ไผ่ขาดวิ่น 3 ผืนกับผ้านวมม้วนเก็บแอบไว้ที่มุมห้องด้านหนึ่ง สมบัติ
ทุกชิ้นของสามที่น้องเก็บอยู่ในกระบุงสาน 3 ใบ มีเสื้อผ้า 2-3 ตัว เครื่องครัวและเครื่องเรียน
ของมายซึ่งตอนนี้ไม่ได้ใช้แล้ว พวกเธอมีพื้นที่อยู่อาศัยขนาดกว้างยาวเพียง 3 เมตรซึ่งพอปู
เสื่อนอนตอนกลางคืนเท่านั้น
มายบอกว่าพี่สาวออกไปหาหอยนางรม วูรู้ดีว่างานนี้โหดร้ายเพียงใด ต้องปีนป่ายตามหินปูน
แหลมคมตอนน้ำลด มือหนึ่งยึดจับหินลื่น ขณะที่มืออีกข้างใช้ค้อนเล็ก ๆ งัดเปลือกหอยให้อ้า
“หินบาดมือและเท้าอยู่บ่อย ๆ แม้จะสวมถุงมือก็ยังโดนเปลือกหอยบาดได้” วูบอก วันที่โชคดี
เด็กคนหนึ่งอาจเก็บหอยนางรมได้ 20 กิโลกรัมโดยมีเนื้อหอยหนักเพียง 2 กิโลกรัมและขาย
ได้เงิน 12 บาท
วูม้วนเงินราว 3,000 บาทที่นำมาให้ใส่มือมาย “หนูอย่าลืมเอานี่ให้พี่สาวนะจ๊ะ” เงินก้อนนี้
คงช่วยให้สามพี่น้องประทังชีวิตได้นาน 3 เดือน
“ขอบคุณค่ะ หนูจะเอาให้พี่” เธอพูดเสียงกระซิบเหมือนยังไม่ค่อยเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น
โปรดติดตามตอนที่ (2) ในวันพรุ่งนี้
"ความหวังเหนือท้องน้ำ" ตอนที่ (2)
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2547/2004
โดย ดั๊ก คอลลิแกน เรียบเรียงและเพิ่มเติมจาก
“ https://www.duluthnewstribune.com/22785 ... -paddling-
philanthropist โดย กอบกิจ ครุวรรณ
(เรือ)เรือนักท่องเที่ยวแล่นกลับตอนบ่าย ขณะที่เรือนแพของสามพี่น้องค่อย ๆ ลับตาไปนั้น
คิมรู้สึกใจคอห่อเหี่ยว เขาเองก็มีลูกสาว 5 คน และเด็ก 3 คนนั่นจะผ่านฤดูมรสุมไปได้
อย่างไรในเมื่อช่วงดังกล่าวมีคลื่นลมในอ่าวแรงมาก ขนาดเรือใหญ่ยังอาจพลิกคว่ำ
ได้เลย แล้วแพที่แสนจะบอบบางของสามพี่น้องจะทานไหวหรือ
คิมมาเวียดนามครั้งแรกในปี 1965 และอยู่ประจำการเป็นเวลานาน 13 เดือนในฐานะพล
ปืนนาวิกโยธินประจำการอยู่บริเวณเขตปลอดทหาร พื้นที่ชายแดนที่แยกเวียดนามเหนือ
ออกจากเวียดนามใต้ ขณะที่เขียนเรื่องนี้ คิมอายุ 56 ปี เขาชอบใช้ชีวิตกลางแจ้ง คิมเป็น
หุ้นส่วนกับวู นักธุรกิจเวียดนามร่างเล็กวัย 33 ปี 5 เดือน หลังจากไปเยือนหมู่บ้านประมง
แห่งนั้นเป็นครั้งแรก เขากับวูย้อนกลับไปอีกครั้งพร้อมนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ ทันทีที่เห็น
หมู่บ้าน คิมใจหายวูบ เพิงเรือนแพกระดานไม้ท่อนกับผ้าพลาสติกยังอยู่ที่เดิม
เขากับวูพายเรือเข้าเทียบแพเพื่อมอบเงินเรี่ยไรและพบเด็กสาวทั้งสามคน วูคาดว่าสองพี่น้อง
คนโต คงจะแกร่งกร้าวและมองโลกในแง่ร้าย แต่กลับพบว่าเธอทั้งสองเป็นคนแกร่งงาน สุภาพ
อ่อนน้อมถ่อมตน และปกป้องน้องคนเล็กโดยคิดแต่จะหาเงินให้น้องมายได้เรียนหนังสือที่
โรงเรียนของหมู่บ้าน เหมือนกับว่าต้องการทำทุกอย่างเท่าที่จะทำได้เพื่อช่วยให้น้องมายมีชีวิต
วัยเด็กที่เธอทั้งสองขาดไป
“ตอนเห็นเด็กทั้งสามอยู่พร้อมกันในเพิงเล็กโทรม ๆ ผมเกิดความคิดใหม่ขึ้นมาทันที ผมหันไป
ถามวูว่า จะต้องทำอะไรบ้างและใช้เงินเท่าไรถ้าต้องการสร้างกระท่อมเรือนแพให้เด็กสามคนนี้”
วูไปปรึกษาหัวหน้าหมู่บ้านและประมาณว่า บ้านปลูกแบบง่าย ๆ ต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ
1.2 แสนบาท “ผมบอกว่า (เงิน)เงินแค่นี้ผมพอจะระดมทุนได้” คิมย้อนนึกถึงคำพูดของตัวเอง
ชายทั้งสองจับมือสัญญากันตรงนั้น โดยคิมจะจัดการหาเงินทุน ส่วนวูดูแลเรื่องวัสดุและงาน
ก่อสร้างเรือนแพ พวกเขาต้องเร่งมือหากอยากสร้างบ้านให้เสร็จก่อนเข้าฤดูหนาว ตอนนั้น
ปลายเดือนกันยายนแล้ว
วูยืมเงินจากบริษัทท่องเที่ยวของเขาเพื่อเริ่มต้นลงมือ ส่วนคิมทันทีที่กลับถึงบ้านในสหรัฐฯ
ก็เริ่มระดมเงินทุนโดยขอให้หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลงบทความเกี่ยวกับเด็กสามพี่น้อง จากนั้นก็
ไปพูดออกรายการวิทยุเพื่อเล่าเรื่องราวของพวกเธอ
โปรดติดตามตอนที่ (3) ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2547/2004
โดย ดั๊ก คอลลิแกน เรียบเรียงและเพิ่มเติมจาก
“ https://www.duluthnewstribune.com/22785 ... -paddling-
philanthropist โดย กอบกิจ ครุวรรณ
(เรือ)เรือนักท่องเที่ยวแล่นกลับตอนบ่าย ขณะที่เรือนแพของสามพี่น้องค่อย ๆ ลับตาไปนั้น
คิมรู้สึกใจคอห่อเหี่ยว เขาเองก็มีลูกสาว 5 คน และเด็ก 3 คนนั่นจะผ่านฤดูมรสุมไปได้
อย่างไรในเมื่อช่วงดังกล่าวมีคลื่นลมในอ่าวแรงมาก ขนาดเรือใหญ่ยังอาจพลิกคว่ำ
ได้เลย แล้วแพที่แสนจะบอบบางของสามพี่น้องจะทานไหวหรือ
คิมมาเวียดนามครั้งแรกในปี 1965 และอยู่ประจำการเป็นเวลานาน 13 เดือนในฐานะพล
ปืนนาวิกโยธินประจำการอยู่บริเวณเขตปลอดทหาร พื้นที่ชายแดนที่แยกเวียดนามเหนือ
ออกจากเวียดนามใต้ ขณะที่เขียนเรื่องนี้ คิมอายุ 56 ปี เขาชอบใช้ชีวิตกลางแจ้ง คิมเป็น
หุ้นส่วนกับวู นักธุรกิจเวียดนามร่างเล็กวัย 33 ปี 5 เดือน หลังจากไปเยือนหมู่บ้านประมง
แห่งนั้นเป็นครั้งแรก เขากับวูย้อนกลับไปอีกครั้งพร้อมนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ ทันทีที่เห็น
หมู่บ้าน คิมใจหายวูบ เพิงเรือนแพกระดานไม้ท่อนกับผ้าพลาสติกยังอยู่ที่เดิม
เขากับวูพายเรือเข้าเทียบแพเพื่อมอบเงินเรี่ยไรและพบเด็กสาวทั้งสามคน วูคาดว่าสองพี่น้อง
คนโต คงจะแกร่งกร้าวและมองโลกในแง่ร้าย แต่กลับพบว่าเธอทั้งสองเป็นคนแกร่งงาน สุภาพ
อ่อนน้อมถ่อมตน และปกป้องน้องคนเล็กโดยคิดแต่จะหาเงินให้น้องมายได้เรียนหนังสือที่
โรงเรียนของหมู่บ้าน เหมือนกับว่าต้องการทำทุกอย่างเท่าที่จะทำได้เพื่อช่วยให้น้องมายมีชีวิต
วัยเด็กที่เธอทั้งสองขาดไป
“ตอนเห็นเด็กทั้งสามอยู่พร้อมกันในเพิงเล็กโทรม ๆ ผมเกิดความคิดใหม่ขึ้นมาทันที ผมหันไป
ถามวูว่า จะต้องทำอะไรบ้างและใช้เงินเท่าไรถ้าต้องการสร้างกระท่อมเรือนแพให้เด็กสามคนนี้”
วูไปปรึกษาหัวหน้าหมู่บ้านและประมาณว่า บ้านปลูกแบบง่าย ๆ ต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ
1.2 แสนบาท “ผมบอกว่า (เงิน)เงินแค่นี้ผมพอจะระดมทุนได้” คิมย้อนนึกถึงคำพูดของตัวเอง
ชายทั้งสองจับมือสัญญากันตรงนั้น โดยคิมจะจัดการหาเงินทุน ส่วนวูดูแลเรื่องวัสดุและงาน
ก่อสร้างเรือนแพ พวกเขาต้องเร่งมือหากอยากสร้างบ้านให้เสร็จก่อนเข้าฤดูหนาว ตอนนั้น
ปลายเดือนกันยายนแล้ว
วูยืมเงินจากบริษัทท่องเที่ยวของเขาเพื่อเริ่มต้นลงมือ ส่วนคิมทันทีที่กลับถึงบ้านในสหรัฐฯ
ก็เริ่มระดมเงินทุนโดยขอให้หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลงบทความเกี่ยวกับเด็กสามพี่น้อง จากนั้นก็
ไปพูดออกรายการวิทยุเพื่อเล่าเรื่องราวของพวกเธอ
โปรดติดตามตอนที่ (3) ในวันพรุ่งนี้
"ความหวังเหนือท้องน้ำ" ตอนที่ (3)
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2547/2004
โดย ดั๊ก คอลลิแกน เรียบเรียงและเพิ่มเติมจาก
“ https://www.duluthnewstribune.com/22785 ... -paddling-
philanthropist โดย กอบกิจ ครุวรรณ
เมืองเล็ก ๆ ที่คิมอาศัยอยู่มีประชากร 3,960 คน ชาวเมืองรู้เรื่องนี้ภายในเวลาไม่นานนัก
กลุ่มลูกเสือหญิง อบขนมขายและสามวันต่อมาก็สร้างความประหลาดใจด้วยการยื่นถุง
กระดาษบรรจุ(เหรียญ)เหรียญและ(เงิน)ธนบัตรรวมเป็นเงินเกือบ 6,000 บาท
2-3 วันต่อมา หญิงสูงอายุคนหนึ่งซึ่งคิมไม่เคยรู้จักมาก่อนเรียกให้เขาหยุดในซุปเปอร์
มาร์เก็ตและยื่นเงินราว 400 บาทใส่มือให้
ที่เวียดนาม วูมีวัสดุและ(ก่อสร้าง)คนงานพร้อมลงมือก่อสร้างเรือนแพหลังเล็ก แต่เจอปัญหา
กฎหมายที่ระบุว่า ผู้จะเป็นเจ้าของบ้านได้ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป เขากับคิมต้องการให้พี่น้อง
สามคนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่พวกเธออายุยังไม่ถึงเกณฑ์ ทั้งสองกลัวว่าพ่อของเด็กอาจกลับ
มาอ้างสิทธิครอบครองเรือนได้ วูไม่สามารถรับเป็นเจ้าของผู้ดูแลได้เพราะไม่มีภูมิลำเนาอยู่ที่
หมู่บ้านนี้
เรื่องติดขัดอยู่หลายสัปดาห์จนมีเพื่อนแนะนำให้ไปที่สำนักงานกาชาดเวียดนามเพื่อขอให้รับ
เป็นเจ้าของผู้ดูแลจนกว่ามายจะอายุ 18 ปี จากนั้นจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เป็นเจ้าของพี่น้องทั้งสามคน
ราวกลางเดือนตุลาคม คิมโอนเงินค่า “บ้าน”ไปให้วู พอสิ้นเดือน(บ้าน)บ้านก็เสร็จเรียบร้อย
บ่ายวันที่ 3 พฤศจิกายน 2003 หลาน ซวน และ มาย ออกมายืนที่เฉลียงกระท่อมเรือนแพ
ขนาดกว้างยาวเกือบ 4 เมตรเพื่อรับมอบบ้านหลังใหม่อย่างเป็นทางการจากเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่
สามพี่น้องร้องไห้ด้วยความปลาบปลื้มไม่เชื่อสายตา จากนั้นก็วิ่งเข้าไปในเรือนลอยน้ำหลังย่อม
แต่มั่นคง พบห้องนอนพร้อมเตียงนอนของจริง และห้องเล็ก ๆ ที่มีโต๊ะเขียนหนังสือสำหรับมาย
น้องเล็กน้ำตาอาบแก้มขณะวิ่งออกมาที่เฉลียงและร้องบอกเพื่อน ๆ “บ้านของฉัน”
วันต่อมา คิมเปิดอีเมลที่วูเขียนส่งมาพร้อมรูปพิธีมอบบ้าน “ก่อนอื่นผมอยากขอบคุณจากหัวใจ
สำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณทำให้แก่เด็กน้อยยากจนเหล่านี้ ผมซาบซึ้งอย่างยิ่งในจิตใจอัน
งดงามและภูมิใจมากที่มีเพื่อนอย่างคุณ”
คิมรู้สึกเช่นเดียวกันและภูมิใจที่ได้ทำอะไรบางอย่างให้แก่ผืนแผ่นดินที่เขาและเพื่อนร่วมชาติ
อีกหลายคนเคยมาใช้ชีวิต
หมายเหตุ : นับแต่ คิม แม็กคลัสกี้ (Kim McCluskey) ขอรับเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือสามพี่น้อง
ที่กล่าวมานี้ ผู้คนยังคงส่งเงินบริจาคมาที่เขาอย่างต่อเนื่อง ที่สุดเขาก่อตั้งองค์กร
“Sun in My Heart” (อาทิตย์ในดวงใจ) เพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ ด้วยการสร้างโรงเรียนหลังแรก
ในปี 2004 ในหมู่บ้านที่อยู่ในบริเวณเทือกเขาสูงในเวียดนามเหนือด้วยเงินประมาณ 5 แสนบาท
หลังจากนั้นองค์กรที่เขาตั้งขึ้น บริจาคสร้างโรงเรียนอีก 5 หลังด้วยเงิน 3 ล้านบาท นอกจากนั้น
ยังสร้างคลีนิกรักษาโรคพร้อมเครื่องมือแพทย์ทางเหนือของอินเดียอีกราว 1.5 แสนบาท
คิมเป็นคนสุภาพอ่อนโยนและคิดว่าตนเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของความสำเร็จที่ผู้อื่นมอบ
ให้โดยผ่านทางเขาเท่านั้น
***************
จบบริบูรณ์
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2547/2004
โดย ดั๊ก คอลลิแกน เรียบเรียงและเพิ่มเติมจาก
“ https://www.duluthnewstribune.com/22785 ... -paddling-
philanthropist โดย กอบกิจ ครุวรรณ
เมืองเล็ก ๆ ที่คิมอาศัยอยู่มีประชากร 3,960 คน ชาวเมืองรู้เรื่องนี้ภายในเวลาไม่นานนัก
กลุ่มลูกเสือหญิง อบขนมขายและสามวันต่อมาก็สร้างความประหลาดใจด้วยการยื่นถุง
กระดาษบรรจุ(เหรียญ)เหรียญและ(เงิน)ธนบัตรรวมเป็นเงินเกือบ 6,000 บาท
2-3 วันต่อมา หญิงสูงอายุคนหนึ่งซึ่งคิมไม่เคยรู้จักมาก่อนเรียกให้เขาหยุดในซุปเปอร์
มาร์เก็ตและยื่นเงินราว 400 บาทใส่มือให้
ที่เวียดนาม วูมีวัสดุและ(ก่อสร้าง)คนงานพร้อมลงมือก่อสร้างเรือนแพหลังเล็ก แต่เจอปัญหา
กฎหมายที่ระบุว่า ผู้จะเป็นเจ้าของบ้านได้ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป เขากับคิมต้องการให้พี่น้อง
สามคนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่พวกเธออายุยังไม่ถึงเกณฑ์ ทั้งสองกลัวว่าพ่อของเด็กอาจกลับ
มาอ้างสิทธิครอบครองเรือนได้ วูไม่สามารถรับเป็นเจ้าของผู้ดูแลได้เพราะไม่มีภูมิลำเนาอยู่ที่
หมู่บ้านนี้
เรื่องติดขัดอยู่หลายสัปดาห์จนมีเพื่อนแนะนำให้ไปที่สำนักงานกาชาดเวียดนามเพื่อขอให้รับ
เป็นเจ้าของผู้ดูแลจนกว่ามายจะอายุ 18 ปี จากนั้นจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เป็นเจ้าของพี่น้องทั้งสามคน
ราวกลางเดือนตุลาคม คิมโอนเงินค่า “บ้าน”ไปให้วู พอสิ้นเดือน(บ้าน)บ้านก็เสร็จเรียบร้อย
บ่ายวันที่ 3 พฤศจิกายน 2003 หลาน ซวน และ มาย ออกมายืนที่เฉลียงกระท่อมเรือนแพ
ขนาดกว้างยาวเกือบ 4 เมตรเพื่อรับมอบบ้านหลังใหม่อย่างเป็นทางการจากเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่
สามพี่น้องร้องไห้ด้วยความปลาบปลื้มไม่เชื่อสายตา จากนั้นก็วิ่งเข้าไปในเรือนลอยน้ำหลังย่อม
แต่มั่นคง พบห้องนอนพร้อมเตียงนอนของจริง และห้องเล็ก ๆ ที่มีโต๊ะเขียนหนังสือสำหรับมาย
น้องเล็กน้ำตาอาบแก้มขณะวิ่งออกมาที่เฉลียงและร้องบอกเพื่อน ๆ “บ้านของฉัน”
วันต่อมา คิมเปิดอีเมลที่วูเขียนส่งมาพร้อมรูปพิธีมอบบ้าน “ก่อนอื่นผมอยากขอบคุณจากหัวใจ
สำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณทำให้แก่เด็กน้อยยากจนเหล่านี้ ผมซาบซึ้งอย่างยิ่งในจิตใจอัน
งดงามและภูมิใจมากที่มีเพื่อนอย่างคุณ”
คิมรู้สึกเช่นเดียวกันและภูมิใจที่ได้ทำอะไรบางอย่างให้แก่ผืนแผ่นดินที่เขาและเพื่อนร่วมชาติ
อีกหลายคนเคยมาใช้ชีวิต
หมายเหตุ : นับแต่ คิม แม็กคลัสกี้ (Kim McCluskey) ขอรับเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือสามพี่น้อง
ที่กล่าวมานี้ ผู้คนยังคงส่งเงินบริจาคมาที่เขาอย่างต่อเนื่อง ที่สุดเขาก่อตั้งองค์กร
“Sun in My Heart” (อาทิตย์ในดวงใจ) เพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ ด้วยการสร้างโรงเรียนหลังแรก
ในปี 2004 ในหมู่บ้านที่อยู่ในบริเวณเทือกเขาสูงในเวียดนามเหนือด้วยเงินประมาณ 5 แสนบาท
หลังจากนั้นองค์กรที่เขาตั้งขึ้น บริจาคสร้างโรงเรียนอีก 5 หลังด้วยเงิน 3 ล้านบาท นอกจากนั้น
ยังสร้างคลีนิกรักษาโรคพร้อมเครื่องมือแพทย์ทางเหนือของอินเดียอีกราว 1.5 แสนบาท
คิมเป็นคนสุภาพอ่อนโยนและคิดว่าตนเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของความสำเร็จที่ผู้อื่นมอบ
ให้โดยผ่านทางเขาเท่านั้น
***************
จบบริบูรณ์
คำสัญญาของเพนเนโลป ตอนที่ (1)
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมกราคม 2548/2005
โดย ไบรอัน อีดส์ เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
เมื่อริชาร์ด ลูกชายเสียชีวิตอย่างไม่คาดคิด เพนเนโลปผู้เป็นแม่ก็ตั้งปณิธาน
แน่วแน่ว่าจะสานฝันของเขาในการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวกะเหรี่ยง
ในประเทศไทยให้เป็นจริง
คืนหนึ่งในเดือนพฤศจิกายน 1996 เพนเนโลป หญิงวัยเกือบ 60 ปีอยู่บ้าน
คนเดียวสะดุ้งตื่นตอนตีสี่เพราะมีคนมา กดออดที่หน้าประตูบ้านในเมืองยอร์ค
ประเทศอังกฤษ เมื่อเปิดประตูออกไปก็พบนายทหารคนหนึ่งจากกองทัพบกอังกฤษ
มาแจ้งข่าวว่า ลูกชายของเธอ ร้อยโทริชาร์ดประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตในเยอรมนี
เพนเนโลปไม่ได้แสดงอาการฟูมฟาย แต่เจ้าหน้าที่คนนั้นอดกังวลใจไม่ได้ว่าเธอจะ
ยอมรับข่าวร้ายนี้ได้มากน้อยเพียงใด หลังจากวันนั้น เขากลับไปเยี่ยมเพนเนโลปอีก
2 ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าเธอยอมรับความจริงได้
ความจริงเพนเนโลปผ่านเรื่องร้าย ๆ มาพอสมควร สามีและลูก 2 ใน 4 คนป่วย
เรื้อรังมานานและไม่มีทางรักษา การเสียชีวิตของริชาร์ดยิ่งน่าเศร้า เพราะเขาเป็นลูกชาย
คนเดียวที่แข็งแรงแต่ต้องมาพบจุดจบด้วยวัยเพียง 24 ปี
ก่อนเข้ารับราชการทหาร ริชาร์ดเคยเป็นอาสาสมัครที่ประเทศไทย 6 เดือน เขากินนอน
และทำงานคลุกคลีกับชาวกะเหรี่ยงที่บ้านห้วยกู่ป๊ะ จังหวัดแม่ฮ่องสอนติดกับชายแดนพม่า
ริชาร์ดช่วยขุดท้องร่องวางท่อน้ำ และสร้างถังเก็บน้ำเพื่อกักเก็บน้ำดื่มไว้ให้ชาวบ้านบน
ดอยสูง
‘ส่าละแฮ’ ผู้จัดการโครงการชาวกะเหรี่ยงพาริชาร์ดเดินไปตามป่าเขาจนปรุ ทั้งสองชอบ
วิ่งแข่งกันขึ้นเนินสูงชัน ริชาร์ดเรียนรู้ทักษะการเอาชีวิตรอดหลายอย่างจากการใช้ชีวิต
ในป่าลึกใกล้บ้านเกิดของส่าละแฮ รวมทั้งการวางกับดักงู(งู) ซึ่งพอจับมาได้ พ่อของ
ส่าละแฮจะหมักด้วยกระเทียม ขิงและตะไคร้ก่อนนำไปทอด “อร่อยดี” ริชาร์ดกล่าว
หนุ่มอังกฤษสอนชาวบ้านร้องเพลงกล่อมเด็กระหว่างนั่งเล่นในเรือนไม้ไผ่(ไม้ไผ่)ยกพื้น
กลางคืนอากาศหนาวจับใจ เคราะห์ดีที่มีกองไฟและ “เหล้าเถื่อน” ช่วยขับไล่ความเย็น
ได้บ้าง เขากล่าวว่า “การใช้ชีวิตอยู่กับชาวกะเหรี่ยงเป็นประสบการณ์อัศจรรย์ที่สุด
ในชีวิตผม ทุกนาทีมีความหมายยิ่ง”
หลังพิธีศพของริชาร์ดผ่านไปไม่นาน มีโทรสารส่งไปที่บ้านของเพนเนโลปซึ่งใช้เป็น
สำนักงานด้วย แจ้งว่ามีการติดตั้งระบบน้ำที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในประเทศไทยเพื่ออุทิศ
ให้แก่ลูกชายของเธอ
โปรดติดตามตอนที่ (2) ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมกราคม 2548/2005
โดย ไบรอัน อีดส์ เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
เมื่อริชาร์ด ลูกชายเสียชีวิตอย่างไม่คาดคิด เพนเนโลปผู้เป็นแม่ก็ตั้งปณิธาน
แน่วแน่ว่าจะสานฝันของเขาในการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวกะเหรี่ยง
ในประเทศไทยให้เป็นจริง
คืนหนึ่งในเดือนพฤศจิกายน 1996 เพนเนโลป หญิงวัยเกือบ 60 ปีอยู่บ้าน
คนเดียวสะดุ้งตื่นตอนตีสี่เพราะมีคนมา กดออดที่หน้าประตูบ้านในเมืองยอร์ค
ประเทศอังกฤษ เมื่อเปิดประตูออกไปก็พบนายทหารคนหนึ่งจากกองทัพบกอังกฤษ
มาแจ้งข่าวว่า ลูกชายของเธอ ร้อยโทริชาร์ดประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตในเยอรมนี
เพนเนโลปไม่ได้แสดงอาการฟูมฟาย แต่เจ้าหน้าที่คนนั้นอดกังวลใจไม่ได้ว่าเธอจะ
ยอมรับข่าวร้ายนี้ได้มากน้อยเพียงใด หลังจากวันนั้น เขากลับไปเยี่ยมเพนเนโลปอีก
2 ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าเธอยอมรับความจริงได้
ความจริงเพนเนโลปผ่านเรื่องร้าย ๆ มาพอสมควร สามีและลูก 2 ใน 4 คนป่วย
เรื้อรังมานานและไม่มีทางรักษา การเสียชีวิตของริชาร์ดยิ่งน่าเศร้า เพราะเขาเป็นลูกชาย
คนเดียวที่แข็งแรงแต่ต้องมาพบจุดจบด้วยวัยเพียง 24 ปี
ก่อนเข้ารับราชการทหาร ริชาร์ดเคยเป็นอาสาสมัครที่ประเทศไทย 6 เดือน เขากินนอน
และทำงานคลุกคลีกับชาวกะเหรี่ยงที่บ้านห้วยกู่ป๊ะ จังหวัดแม่ฮ่องสอนติดกับชายแดนพม่า
ริชาร์ดช่วยขุดท้องร่องวางท่อน้ำ และสร้างถังเก็บน้ำเพื่อกักเก็บน้ำดื่มไว้ให้ชาวบ้านบน
ดอยสูง
‘ส่าละแฮ’ ผู้จัดการโครงการชาวกะเหรี่ยงพาริชาร์ดเดินไปตามป่าเขาจนปรุ ทั้งสองชอบ
วิ่งแข่งกันขึ้นเนินสูงชัน ริชาร์ดเรียนรู้ทักษะการเอาชีวิตรอดหลายอย่างจากการใช้ชีวิต
ในป่าลึกใกล้บ้านเกิดของส่าละแฮ รวมทั้งการวางกับดักงู(งู) ซึ่งพอจับมาได้ พ่อของ
ส่าละแฮจะหมักด้วยกระเทียม ขิงและตะไคร้ก่อนนำไปทอด “อร่อยดี” ริชาร์ดกล่าว
หนุ่มอังกฤษสอนชาวบ้านร้องเพลงกล่อมเด็กระหว่างนั่งเล่นในเรือนไม้ไผ่(ไม้ไผ่)ยกพื้น
กลางคืนอากาศหนาวจับใจ เคราะห์ดีที่มีกองไฟและ “เหล้าเถื่อน” ช่วยขับไล่ความเย็น
ได้บ้าง เขากล่าวว่า “การใช้ชีวิตอยู่กับชาวกะเหรี่ยงเป็นประสบการณ์อัศจรรย์ที่สุด
ในชีวิตผม ทุกนาทีมีความหมายยิ่ง”
หลังพิธีศพของริชาร์ดผ่านไปไม่นาน มีโทรสารส่งไปที่บ้านของเพนเนโลปซึ่งใช้เป็น
สำนักงานด้วย แจ้งว่ามีการติดตั้งระบบน้ำที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในประเทศไทยเพื่ออุทิศ
ให้แก่ลูกชายของเธอ
โปรดติดตามตอนที่ (2) ในวันพรุ่งนี้
คำสัญญาของเพนเนโลป ตอนที่ (2)
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมกราคม 2548/2005
โดย ไบรอัน อีดส์ เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ผู้ริเริ่มโครงการนี้คือ “วิเชียร บุญระชัยสรรค์” ซึ่งเป็นชื่อไทยของ “ส่าละแฮ”
หลายปีก่อน ริชาร์ดพูดถึงผู้จัดการโครงการคนนี้ด้วยความซาบซึ้งกับเธอ
เพนเนโลปจำได้ว่าลูกชายเคยถามเธอว่าจะช่วยชาวกะเหรี่ยงอย่างไรได้บ้าง
“พวกเขาต้องการความช่วยเหลือมากและไม่มีที่พึ่งจริง ๆ” ตอนนั้นเธอสัญญาว่า
จะทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้ แต่เมื่อเธอยุ่งกับงานที่บ้าน เธอก็ค่อย ๆ ลืมสัญญานี้
และไม่ได้ใส่ใจอีกเลยจนกระทั่งวันที่รับโทรสารนี้
เพนเนโลปตั้งใจแน่วแน่ว่าจะต้องช่วยชาวกะเหรี่ยงที่ริชาร์ดรู้สึกผูกพันให้ได้
การรักษาสัญญาข้อนี้ทำให้ชีวิตเธอเปลี่ยนไป รวมทั้งชีวิตของชาวกะเหรี่ยงอีก
หลายพันคนด้วย
เพนเนโลปไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง หรือวิธีส่งน้ำสะอาดเข้าไป
ในหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่เคยผ่านงาน
อาสาสมัครมานานนับสิบปีในการบริหารบ้านสำหรับคนพิการ และเป็นประธาน
หน่วยรถพยาบาลในเขตที่เธออาศัยอยู่มาก่อน เพนเนโลปเชี่ยวชาญจัดการระดมทุน
เพื่อกิจการสาธารณะประโยชน์ เธอจัดตั้งสำนักงานให้คำปรึกษาด้านระดมทุนขึ้น
ที่บ้านของเธอเอง
เพนเนโลปตั้งเป้าว่าจะต้องระดมทุนให้ได้ประมาณ 3.6 ล้านบาท ขั้นแรกคือติดต่อแขก
ที่มาร่วมไว้อาลัยแก่ริชาร์ดทุกคนและเชิญชวนให้ช่วยบริจาคสมทบทุน ขั้นต่อไปคือเดิน
ทางไปประเทศไทยที่เธอเคยไปสมัยเป็นวัยรุ่นรักอิสระ บัดนี้แม้อายุมากแล้ว แต่เธอก็ยัง
อยากรู้ว่าทำไมลูกชายจึงหลงใหลวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงมาก เธอเดินทางฝ่าสายฝน
ในฤดูมรสุมไปตามถนนลื่นชัน
ในป่าลึกจนถึงบ้านห้วยกู่ป๊ะ ส่าละแฮวัย 32 ปี รอต้อนรับอยู่ด้วยใบหน้าที่ยิ้มอยู่เสมอจน
เพนเนโลปรู้สึกถูกชะตาตั้งแต่แรกเห็น
โปรดติดตามตอนที่ (3) ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมกราคม 2548/2005
โดย ไบรอัน อีดส์ เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ผู้ริเริ่มโครงการนี้คือ “วิเชียร บุญระชัยสรรค์” ซึ่งเป็นชื่อไทยของ “ส่าละแฮ”
หลายปีก่อน ริชาร์ดพูดถึงผู้จัดการโครงการคนนี้ด้วยความซาบซึ้งกับเธอ
เพนเนโลปจำได้ว่าลูกชายเคยถามเธอว่าจะช่วยชาวกะเหรี่ยงอย่างไรได้บ้าง
“พวกเขาต้องการความช่วยเหลือมากและไม่มีที่พึ่งจริง ๆ” ตอนนั้นเธอสัญญาว่า
จะทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้ แต่เมื่อเธอยุ่งกับงานที่บ้าน เธอก็ค่อย ๆ ลืมสัญญานี้
และไม่ได้ใส่ใจอีกเลยจนกระทั่งวันที่รับโทรสารนี้
เพนเนโลปตั้งใจแน่วแน่ว่าจะต้องช่วยชาวกะเหรี่ยงที่ริชาร์ดรู้สึกผูกพันให้ได้
การรักษาสัญญาข้อนี้ทำให้ชีวิตเธอเปลี่ยนไป รวมทั้งชีวิตของชาวกะเหรี่ยงอีก
หลายพันคนด้วย
เพนเนโลปไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง หรือวิธีส่งน้ำสะอาดเข้าไป
ในหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่เคยผ่านงาน
อาสาสมัครมานานนับสิบปีในการบริหารบ้านสำหรับคนพิการ และเป็นประธาน
หน่วยรถพยาบาลในเขตที่เธออาศัยอยู่มาก่อน เพนเนโลปเชี่ยวชาญจัดการระดมทุน
เพื่อกิจการสาธารณะประโยชน์ เธอจัดตั้งสำนักงานให้คำปรึกษาด้านระดมทุนขึ้น
ที่บ้านของเธอเอง
เพนเนโลปตั้งเป้าว่าจะต้องระดมทุนให้ได้ประมาณ 3.6 ล้านบาท ขั้นแรกคือติดต่อแขก
ที่มาร่วมไว้อาลัยแก่ริชาร์ดทุกคนและเชิญชวนให้ช่วยบริจาคสมทบทุน ขั้นต่อไปคือเดิน
ทางไปประเทศไทยที่เธอเคยไปสมัยเป็นวัยรุ่นรักอิสระ บัดนี้แม้อายุมากแล้ว แต่เธอก็ยัง
อยากรู้ว่าทำไมลูกชายจึงหลงใหลวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงมาก เธอเดินทางฝ่าสายฝน
ในฤดูมรสุมไปตามถนนลื่นชัน
ในป่าลึกจนถึงบ้านห้วยกู่ป๊ะ ส่าละแฮวัย 32 ปี รอต้อนรับอยู่ด้วยใบหน้าที่ยิ้มอยู่เสมอจน
เพนเนโลปรู้สึกถูกชะตาตั้งแต่แรกเห็น
โปรดติดตามตอนที่ (3) ในวันพรุ่งนี้
คำสัญญาของเพนเนโลป ตอนที่ (3)
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมกราคม 2548/2005
โดย ไบรอัน อีดส์ เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ส่าละแฮเป็นลูกชายคนโตของครอบครัวซึ่งมีลูกทั้งหมด 10 คน เขาต้องเดินเท้าเปล่า
ไปโรงเรียนทุกวัน พระสงฆ์ชาวฝรั่งเศสสนับสนุนให้เขาได้รับทุนการศึกษาจนจบชั้น
มัธยมและไปเรียนต่อด้านพาณิชยการที่กรุงเทพฯ ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เขาสร้างระบบ
น้ำประปาให้ชาวกะเหรี่ยงหลายสิบแห่ง “ผมอยากสร้างระบบน้ำประปาดี ๆ ให้พี่น้อง
ชาวกะเหรี่ยง เพื่อทุกคนจะได้มีสุขภาพแข็งแรงขึ้นและช่วยเหลือตัวเองได้” เขาบอก
แม่ของเพื่อน
แม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีประชากรเบาบางที่สุดของประเทศ ส่วนใหญ่เป็นชาวเขา
ซึ่งเผ่ากะเหรี่ยงเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดมีประชากรราว 4 แสนคนกระจายอยู่ทั่วภูมิภาค
ตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีเด็กกะเหรี่ยงไม่กี่คนที่ได้เรียนสูงกว่าชั้น
ประถมศึกษาเพราะโรงเรียนมัธยมอยู่ในตัวเมืองซึ่งมักอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้าน
หลายครอบครัวไม่มีรายได้พอสำหรับเป็นค่ารถให้ลูก โรคที่ชุกชุมในแถบนี้ได้แก่
ไทฟอยด์ มาเลเรียขึ้นสมอง และโรคเกี่ยวกับลำไส้
บ้านห้วยกู่ป๊ะมีประชากร 70 หลังคาเรือน กระจายอยู่ตามสันเขา ไม่มีไฟฟ้า
และน้ำประปา น้ำดื่มคือน้ำที่ตักจากบ่อขุดเองริมตลิ่ง น้ำจะเต็มบ่อเมื่อน้ำ
ในแม่น้ำเอ่อท้นขึ้นมา ชาวบ้านจะโพงน้ำใส่ถังและหิ้วขึ้นไปตามตลิ่งซึ่งลื่นมาก
สมศรีซึ่งมีลูกวัยทารกแบ่งส่วนหนึ่งในบ้านยกพื้นของเธอให้เป็นที่พักของเพนเนโลป
บนพื้นไม้มีเพียงเสื่อหนึ่งผืนกับมุ้งหนึ่งหลัง ที่มุมหนึ่งมีกาละมังใบเล็กและขันน้ำไว้
ให้เธอใช้อาบชำระร่างกาย ห้องส้วมคือ(กระโจม)กระท่อมผุ ๆ ที่ปลูกห่างจากตัว
เรือนพอประมาณ
ก่อนมา เพนเนโลปคิดว่าเธอคงจะเหงา แต่ชาวกะเหรี่ยงเอาใจใส่เธอดีมาก ตอนเย็น
เธอจะนั่งคุยกับเพื่อนใหม่ ๆ และบอกพวกเขาว่า แม้ริชาร์ดได้ประสบอุบัติเหตุจาก
ไปแล้ว แต่เขาได้ตั้งปณิธานที่จะไม่มีวันลืมชาวกะเหรี่ยงเด็ดขาด
“ฉันต้องมาดูให้เห็นกับตา” ไม่นาน เพนเนโลปก็รู้สึกสนุกสนานกับการใช้ชีวิตอยู่กับ
ชาวกะเหรี่ยงไม่ต่างจากลูกชาย เธอเดินท่องป่ากับส่าละแฮที่เต็มไปด้วยโคลนโดยไม่
นำพาต่อทาก แมลงวัน และไม้หนาม มุ่งหน้าไปขุดท้องร่องเพื่อวางท่อน้ำซับเข้าหมู่บ้าน
เพนเนโลปทำตัวกลมกลืนไปกับชาวกะเหรี่ยง เธอกินนอนเหมือนกับพวกเขาโดยไม่เคย
ปริปากบ่นเลย
ชาวบ้านทุกคนเรียกเธอว่า “ป้า” พวกเขาชื่นชมความตั้งใจจริงและความตรงไปตรงมา
ของเธอ เมื่อเธอบอกว่าต้องลงจากเขาชั่วคราวแล้วจะกลับมาใหม่ ทุกคนเชื่อว่าเธอต้อง
กลับมาแน่ เพนเนโลปเข้าใจแล้วว่าทำไมลูกชายจึงรู้สึกว่า ชีวิตบนดอยสูงนี้มีคุณค่าอย่างยิ่ง
เมื่อกลับถึงบ้านในอังกฤษ เธอระดมทุนได้เกือบ 3.6 ล้านบาทตามที่ตั้งเป้าไว้ภายในเวลา
ไม่ถึงปี เธอกันเงินส่วนหนึ่งไว้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการระดมทุนต่อไป ขณะที่ส่งเงินส่วน
ใหญ่ไปสนับสนุนโครงการสร้างระบบน้ำสะอาดให้แก่ชาวกะเหรี่ยง รวมทั้งเงินเดือนเล็กน้อย
ให้ส่าละแฮ
ในปี 1999 ส่าละแฮเขียนจดหมายขอให้เธอช่วยระดมทุนเพื่อขยายงานและช่วยให้โครงการ
ยั่งยืน เพนเนโลปรีบเดินทางไปศึกษารายละเอียดที่แม่ฮ่องสอนทันที
โปรดติดตามตอนที่ (4) ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมกราคม 2548/2005
โดย ไบรอัน อีดส์ เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ส่าละแฮเป็นลูกชายคนโตของครอบครัวซึ่งมีลูกทั้งหมด 10 คน เขาต้องเดินเท้าเปล่า
ไปโรงเรียนทุกวัน พระสงฆ์ชาวฝรั่งเศสสนับสนุนให้เขาได้รับทุนการศึกษาจนจบชั้น
มัธยมและไปเรียนต่อด้านพาณิชยการที่กรุงเทพฯ ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เขาสร้างระบบ
น้ำประปาให้ชาวกะเหรี่ยงหลายสิบแห่ง “ผมอยากสร้างระบบน้ำประปาดี ๆ ให้พี่น้อง
ชาวกะเหรี่ยง เพื่อทุกคนจะได้มีสุขภาพแข็งแรงขึ้นและช่วยเหลือตัวเองได้” เขาบอก
แม่ของเพื่อน
แม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีประชากรเบาบางที่สุดของประเทศ ส่วนใหญ่เป็นชาวเขา
ซึ่งเผ่ากะเหรี่ยงเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดมีประชากรราว 4 แสนคนกระจายอยู่ทั่วภูมิภาค
ตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีเด็กกะเหรี่ยงไม่กี่คนที่ได้เรียนสูงกว่าชั้น
ประถมศึกษาเพราะโรงเรียนมัธยมอยู่ในตัวเมืองซึ่งมักอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้าน
หลายครอบครัวไม่มีรายได้พอสำหรับเป็นค่ารถให้ลูก โรคที่ชุกชุมในแถบนี้ได้แก่
ไทฟอยด์ มาเลเรียขึ้นสมอง และโรคเกี่ยวกับลำไส้
บ้านห้วยกู่ป๊ะมีประชากร 70 หลังคาเรือน กระจายอยู่ตามสันเขา ไม่มีไฟฟ้า
และน้ำประปา น้ำดื่มคือน้ำที่ตักจากบ่อขุดเองริมตลิ่ง น้ำจะเต็มบ่อเมื่อน้ำ
ในแม่น้ำเอ่อท้นขึ้นมา ชาวบ้านจะโพงน้ำใส่ถังและหิ้วขึ้นไปตามตลิ่งซึ่งลื่นมาก
สมศรีซึ่งมีลูกวัยทารกแบ่งส่วนหนึ่งในบ้านยกพื้นของเธอให้เป็นที่พักของเพนเนโลป
บนพื้นไม้มีเพียงเสื่อหนึ่งผืนกับมุ้งหนึ่งหลัง ที่มุมหนึ่งมีกาละมังใบเล็กและขันน้ำไว้
ให้เธอใช้อาบชำระร่างกาย ห้องส้วมคือ(กระโจม)กระท่อมผุ ๆ ที่ปลูกห่างจากตัว
เรือนพอประมาณ
ก่อนมา เพนเนโลปคิดว่าเธอคงจะเหงา แต่ชาวกะเหรี่ยงเอาใจใส่เธอดีมาก ตอนเย็น
เธอจะนั่งคุยกับเพื่อนใหม่ ๆ และบอกพวกเขาว่า แม้ริชาร์ดได้ประสบอุบัติเหตุจาก
ไปแล้ว แต่เขาได้ตั้งปณิธานที่จะไม่มีวันลืมชาวกะเหรี่ยงเด็ดขาด
“ฉันต้องมาดูให้เห็นกับตา” ไม่นาน เพนเนโลปก็รู้สึกสนุกสนานกับการใช้ชีวิตอยู่กับ
ชาวกะเหรี่ยงไม่ต่างจากลูกชาย เธอเดินท่องป่ากับส่าละแฮที่เต็มไปด้วยโคลนโดยไม่
นำพาต่อทาก แมลงวัน และไม้หนาม มุ่งหน้าไปขุดท้องร่องเพื่อวางท่อน้ำซับเข้าหมู่บ้าน
เพนเนโลปทำตัวกลมกลืนไปกับชาวกะเหรี่ยง เธอกินนอนเหมือนกับพวกเขาโดยไม่เคย
ปริปากบ่นเลย
ชาวบ้านทุกคนเรียกเธอว่า “ป้า” พวกเขาชื่นชมความตั้งใจจริงและความตรงไปตรงมา
ของเธอ เมื่อเธอบอกว่าต้องลงจากเขาชั่วคราวแล้วจะกลับมาใหม่ ทุกคนเชื่อว่าเธอต้อง
กลับมาแน่ เพนเนโลปเข้าใจแล้วว่าทำไมลูกชายจึงรู้สึกว่า ชีวิตบนดอยสูงนี้มีคุณค่าอย่างยิ่ง
เมื่อกลับถึงบ้านในอังกฤษ เธอระดมทุนได้เกือบ 3.6 ล้านบาทตามที่ตั้งเป้าไว้ภายในเวลา
ไม่ถึงปี เธอกันเงินส่วนหนึ่งไว้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการระดมทุนต่อไป ขณะที่ส่งเงินส่วน
ใหญ่ไปสนับสนุนโครงการสร้างระบบน้ำสะอาดให้แก่ชาวกะเหรี่ยง รวมทั้งเงินเดือนเล็กน้อย
ให้ส่าละแฮ
ในปี 1999 ส่าละแฮเขียนจดหมายขอให้เธอช่วยระดมทุนเพื่อขยายงานและช่วยให้โครงการ
ยั่งยืน เพนเนโลปรีบเดินทางไปศึกษารายละเอียดที่แม่ฮ่องสอนทันที
โปรดติดตามตอนที่ (4) ในวันพรุ่งนี้
คำสัญญาของเพนเนโลป ตอนที่ (4) (ตอนจบ)
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมกราคม 2548/2005
โดย ไบรอัน อีดส์ เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ส่าละแฮรู้ว่ามีแหล่งน้ำซับอยู่บริเวณไหนบ้าง เขาจัดการสร้างอ่างเก็บน้ำและ
ระบบกรองน้ำแบบง่าย ๆ ประกอบด้วยหินกรวดและทราย เสร็จเรียบร้อยก็ส่ง(น้ำ
)ไปตามท่อพีวีซีจนถึงหมู่บ้านและสร้างถังเก็บน้ำคอนกรีตขนาด 10,000 ลิตร 2 ถัง
งานทั้งหมดสำเร็จลงภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน การจัดหาน้ำดื่มให้แก่ชุมชนซึ่ง
มีประชากรกว่า 100 หลังคาเรือน ค่าใช้จ่ายประมาณ 216,000 บาท
ยุงเป็นพาหะสำคัญของโรคมาลาเรียและมักออกหากินตอนกลางคืน การนอน
กางมุ้งช่วยลดความเสี่ยงที่จะถูกยุงกัดและติดเชื้อโรคร้ายได้มาก มุ้งผ้าฝ้ายอย่างดี
หลังหนึ่งราคาราว 160 บาท การเดินทางไปโรงเรียนของเด็ก ๆ ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่
เพราะค่ารถตกประมาณปีละ 3,600 บาท
เพนเนโลปกลับไปอังกฤษและจัดตั้งกองทุนเพื่อชาวกะเหรี่ยงในการสร้างระบบน้ำสะอาด
และพัฒนาสุขอนามัยของประชาชน ส่าละแฮขี่มอเตอร์ไซค์คันเก่าซอกซอนไปทั่ว
แม่ฮ่องสอนเพื่อสำรวจดูว่า หมู่บ้านใดต้องการความช่วยเหลือบ้าง ขณะเดียวกันเพนเนโลป
ก็ขะมักเขม้นกับการระดมทุนและขอความช่วยเหลือจากอาสาสมัคร เธอเดินทางไปเยี่ยม
หมู่บ้านชาวเขาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
ผลงานของทั้งสองน่าทึ่งมาก ส่าละแฮสร้างระบบน้ำสะอาดให้หมู่บ้านได้กว่า 40 แห่ง
สถิติโรคไทฟอยด์ในพื้นที่ลดลงถึง 90% ขณะที่เขียนเรื่องนี้ ชาวบ้านที่ห้วยกู่ป๊ะมีน้ำดื่ม
สะอาด นอกจากนั้น กองทุนฯ ยังซื้อมุ้งไปแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านหลายครอบครัว
ส่งผลให้สถิติผู้ป่วยมาลาเรียลดลงอย่างมาก
งานด้านอื่น ๆ ของกองทุนฯ คือซื้อรถบัส 3 คันเพื่อรับส่งเด็ก ๆ ไปเรียนหนังสือและสร้าง
หอพักใกล้กับอำเภอแม่ลาน้อยเพื่อรองรับเด็กนักเรียน 50 คนที่มาจากหมู่บ้านไกล ๆ
และไม่มีโรงเรียนระดับประถมในหมู่บ้าน ในปีนั้นมีเด็กกะเหรี่ยงได้เข้าเรียนระดับอุดมศึกษา
ถึง 8 คนโดยได้รับทุนการศึกษาเฉลี่ยประมาณ 14,400 บาทจากองทุนฯ คิดเป็นสองเท่าของ
รายได้ทั้งปีของครอบครัวชาวกะเหรี่ยง
เพนเนโลปนำสินค้าฝีมือของชาวกะเหรี่ยงไปจำหน่ายที่ร้านซึ่งเป็นบ้านของเธอด้วย
และสามารถผลักดันให้เจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรปอนุมัติเงินสนับสนุนโครงการนี้ถึง 2
โครงการ และบริษัทนำเที่ยวของออสเตรเลียแห่งหนึ่งยินดีบริจาคเงิน 3 เหรียญ
(ราว 120 บาท) ต่อลูกค้า 1 คนที่เลือกเดินทางมาประเทศไทย ขณะเดียวกัน อาสาสมัคร
ชาวตะวันตกอีกหลายคนจาก 150 คนที่เพนเนโลปคัดเลือกให้มาทำงานกับชาวกะเหรี่ยง
ก็ช่วยบริจาคเงินและทำงานอย่างแข็งขัน
ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่า เมื่อเพื่อนแท้เสียชีวิตไป เขาจะไปเกิดเป็นดวงดาวบนฟากฟ้า
พวกเขาหลายคนที่รู้จักริชาร์ดเชื่อว่า ขณะนี้ ริชาร์ดสถิตอยู่เบื้องบน เปล่งประกาย
แจ่มใสอยู่เหนือท้องฟ้าในภาคเหนือของประเทศไทยและกำลังจ้องมองพวกเขาอยู่
เพนเนโลปพูดถึงลูกชายด้วยนัยน์ตารื้นว่า“ฉันรู้เลยว่า ริชาร์ดจะตื่นเต้นดีใจเพียงใด
กับสิ่งที่พวกเราทำอยู่”
***************
จบบริบูรณ์
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมกราคม 2548/2005
โดย ไบรอัน อีดส์ เรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ส่าละแฮรู้ว่ามีแหล่งน้ำซับอยู่บริเวณไหนบ้าง เขาจัดการสร้างอ่างเก็บน้ำและ
ระบบกรองน้ำแบบง่าย ๆ ประกอบด้วยหินกรวดและทราย เสร็จเรียบร้อยก็ส่ง(น้ำ
)ไปตามท่อพีวีซีจนถึงหมู่บ้านและสร้างถังเก็บน้ำคอนกรีตขนาด 10,000 ลิตร 2 ถัง
งานทั้งหมดสำเร็จลงภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน การจัดหาน้ำดื่มให้แก่ชุมชนซึ่ง
มีประชากรกว่า 100 หลังคาเรือน ค่าใช้จ่ายประมาณ 216,000 บาท
ยุงเป็นพาหะสำคัญของโรคมาลาเรียและมักออกหากินตอนกลางคืน การนอน
กางมุ้งช่วยลดความเสี่ยงที่จะถูกยุงกัดและติดเชื้อโรคร้ายได้มาก มุ้งผ้าฝ้ายอย่างดี
หลังหนึ่งราคาราว 160 บาท การเดินทางไปโรงเรียนของเด็ก ๆ ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่
เพราะค่ารถตกประมาณปีละ 3,600 บาท
เพนเนโลปกลับไปอังกฤษและจัดตั้งกองทุนเพื่อชาวกะเหรี่ยงในการสร้างระบบน้ำสะอาด
และพัฒนาสุขอนามัยของประชาชน ส่าละแฮขี่มอเตอร์ไซค์คันเก่าซอกซอนไปทั่ว
แม่ฮ่องสอนเพื่อสำรวจดูว่า หมู่บ้านใดต้องการความช่วยเหลือบ้าง ขณะเดียวกันเพนเนโลป
ก็ขะมักเขม้นกับการระดมทุนและขอความช่วยเหลือจากอาสาสมัคร เธอเดินทางไปเยี่ยม
หมู่บ้านชาวเขาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
ผลงานของทั้งสองน่าทึ่งมาก ส่าละแฮสร้างระบบน้ำสะอาดให้หมู่บ้านได้กว่า 40 แห่ง
สถิติโรคไทฟอยด์ในพื้นที่ลดลงถึง 90% ขณะที่เขียนเรื่องนี้ ชาวบ้านที่ห้วยกู่ป๊ะมีน้ำดื่ม
สะอาด นอกจากนั้น กองทุนฯ ยังซื้อมุ้งไปแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านหลายครอบครัว
ส่งผลให้สถิติผู้ป่วยมาลาเรียลดลงอย่างมาก
งานด้านอื่น ๆ ของกองทุนฯ คือซื้อรถบัส 3 คันเพื่อรับส่งเด็ก ๆ ไปเรียนหนังสือและสร้าง
หอพักใกล้กับอำเภอแม่ลาน้อยเพื่อรองรับเด็กนักเรียน 50 คนที่มาจากหมู่บ้านไกล ๆ
และไม่มีโรงเรียนระดับประถมในหมู่บ้าน ในปีนั้นมีเด็กกะเหรี่ยงได้เข้าเรียนระดับอุดมศึกษา
ถึง 8 คนโดยได้รับทุนการศึกษาเฉลี่ยประมาณ 14,400 บาทจากองทุนฯ คิดเป็นสองเท่าของ
รายได้ทั้งปีของครอบครัวชาวกะเหรี่ยง
เพนเนโลปนำสินค้าฝีมือของชาวกะเหรี่ยงไปจำหน่ายที่ร้านซึ่งเป็นบ้านของเธอด้วย
และสามารถผลักดันให้เจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรปอนุมัติเงินสนับสนุนโครงการนี้ถึง 2
โครงการ และบริษัทนำเที่ยวของออสเตรเลียแห่งหนึ่งยินดีบริจาคเงิน 3 เหรียญ
(ราว 120 บาท) ต่อลูกค้า 1 คนที่เลือกเดินทางมาประเทศไทย ขณะเดียวกัน อาสาสมัคร
ชาวตะวันตกอีกหลายคนจาก 150 คนที่เพนเนโลปคัดเลือกให้มาทำงานกับชาวกะเหรี่ยง
ก็ช่วยบริจาคเงินและทำงานอย่างแข็งขัน
ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่า เมื่อเพื่อนแท้เสียชีวิตไป เขาจะไปเกิดเป็นดวงดาวบนฟากฟ้า
พวกเขาหลายคนที่รู้จักริชาร์ดเชื่อว่า ขณะนี้ ริชาร์ดสถิตอยู่เบื้องบน เปล่งประกาย
แจ่มใสอยู่เหนือท้องฟ้าในภาคเหนือของประเทศไทยและกำลังจ้องมองพวกเขาอยู่
เพนเนโลปพูดถึงลูกชายด้วยนัยน์ตารื้นว่า“ฉันรู้เลยว่า ริชาร์ดจะตื่นเต้นดีใจเพียงใด
กับสิ่งที่พวกเราทำอยู่”
***************
จบบริบูรณ์
เก้าอี้รถเข็นแจกฟรี จากหนังสือสรรสาระ
ฉบับเดือนกันยายน 2005 โดย เจเน็ต คิโนเซียน
เรียบเรียงและแปลเพิ่มจากวิกิพีเดีย 2021 โดย กอบกิจ ครุวรรณ
ดอน (Dr. Don Schoendorfer) วิศวกรเครื่องกล จากรัฐแคลิฟอร์เนียตั้งใจจะผลิตเก้าอี้
รถเข็นราคาถูกที่สุดในโลก ทุกเช้าก่อนไปทำงาน ดอน เจียดเวลาวันละ 3 ชั่วโมงใน
โรงรถเพื่อประดิษฐ์เก้าอี้ที่มีที่นั่งคล้ายผ้าใบแต่ที่สุดก็ล้มเลิกเพราะมีต้นทุนสูงเกินไป
เขาคิดว่าจะต้องใช้วัสดุราคาถูกและทนทานชนิดที่ไม่มีวันบุบสลายซึ่งใช้งานได้ทั้งบน
ภูเขา(ภูเขา) หนองน้ำ (น้ำ) และทะเลทราย (ทะเลทราย) สิ่งประดิษฐ์ของเขาจะต้องทน
ความร้อนและน้ำค้างแข็งได้โดยไม่ต้องดูแลรักษามากนัก เขาตระหนักดีว่า คนจนจำนวน
มากในโลกหาเงินเลี้ยงชีพได้วันละไม่ถึง 100 บาท พวกเขาไม่กล้าฝันจะซื้อเก้าอี้รถเข็น
แบบตะวันตกซึ่งมีราคาสูงมากได้
ไม่นานต่อมา ดอนได้ความคิดใหม่เมื่อเขาเห็นเก้าอี้สนามพลาสติกสีขาวที่ใช้กันแพร่หลาย
เขาเสาะหาร้านที่ลดราคาแล้วและซื้อยกโหลในราคาที่ต่ำมาก จากนั้นก็ตระเวนหาซื้อล้อ
และยางรถจักรยานราคาถูกตลอดจนตะปูควงแบบราคาประหยัดที่สุด... เมื่อเขาขันล้อยาง
รถจักรยาน 2 คันที่ได้จากร้านขายของเล่นและเชื่อมแผ่นเหล็กสีดำเข้ากับฝาประกบด้านข้าง
ทั้งสองเสร็จ บัณฑิตจากเอ็มไอที (MIT) ลองหมุนเก้าอี้ง่าย ๆ ตัวนั้นเป็นครั้งสุดท้ายและคิดว่า
“น่าจะใช่เลย”
“ดอน คุณทำสำเร็จแล้ว” สาธุคุณในโบสถ์ที่เขาไปเป็นประจำกล่าว เมื่อเห็นเก้าอี้คันเล็กสีขาว
ในช่วง 9 เดือนต่อมา ดอนทดลองทำเก้าอี้รถเข็นนับร้อยจนโรงรถของเขาดูราวกับเป็นศูนย์
บำบัดคนพิการ
สาธุคุณแนะนำให้ขนเก้าอี้รถเข็นทั้งหมดไปรวมกับของบรรเทาทุกข์ซึ่งกำลังจะส่งไปอินเดีย
เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ แต่เมื่อเขาไปร่วมประชุมวางแผนนัดแรก บรรดาผู้สอน
ศาสนาในกลุ่มกลับไม่ปลื้ม “คุณคิดว่าเก้าอี้พวกนี้จะต้องเสียค่าส่งสักเท่าไหร่” คนหนึ่งถามขึ้น
อย่างไรก็ตาม ที่สุดกลุ่มตกลงยอมให้เขานำเก้าอี้รถเข็นส่งไปอินเดีย 4 ตัว
ในโรงพยาบาลที่แออัดนอกเมืองเจนไน (Chennai; ชื่อเดิม : มัทราส) ดอน เห็นผู้เป็นบิดา
คนหนึ่งอุ้มลูกชายพิการวัย 11 ขวบ ดอนรีบเข็นเก้าอี้รถเข้าไปใกล้ ทันทีที่เด็กชายนั่งรถเข็น
เป็นครั้งแรกในชีวิต หนูน้อยตกตะลึงด้วยความดีใจท่วมท้น แม่ของเขาบอกผ่านล่ามว่า
“ขออวยพรให้แก่ผู้มอบราชรถคันนี้”
เมื่อดอนกลับมาถึงบ้านที่อเมริกาก็ทราบข่าวว่า บริษัทที่เขาทำงานอยู่ล้มละลายกะทันหัน
เขาจึงตัดสินใจเลิกทำงานเป็นวิศวกรและหันมาทุ่มเทกายใจให้กับการผลิตเก้าอี้รถเข็น
ครอบครัวของเขาอาศัยเงินออมที่เก็บสะสมมานานหลายปี และเมื่อเงินก้อนนั้นเริ่มร่อยหรอลง
ภรรยาจึงต้องออกไปทำงานกับหน่วยงานประกันสังคมเพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัว นับแต่
บริจาคเก้าอี้ตัวแรกจนถึงกลางปี 2005 องค์กรการกุศลที่เขาตั้งขึ้นและดำรงตำแหน่งเป็นประธาน
ชื่อ “The Free Wheelchair Mission” ได้ส่งมอบสิ่งประดิษฐ์น้ำหนักเบาให้ผู้พิการไปแล้วกว่า
63,000 ตัวโดยไม่คิดมูลค่า ขณะนั้นเก้าอี้รถเข็นของเขาผลิตในโรงงาน 2 แห่งที่ประเทศจีน
พร้อมส่งมอบให้ที่ไหนก็ได้ในโลกด้วยราคาเพียง 1,700 บาทและส่งไปแล้ว 45 ประเทศ
แต่จำนวนผู้พิการที่ยากจนยังมีอีกมากกว่า 100 ล้านคนในประเทศที่กำลังพัฒนา
“ผมมีเป้าหมายเล็ก ๆ” ดอนกล่าว “เก้าอี้รถเข็น 20 ล้านตัวบริจาคฟรีภายในปี 2010
ทุกครั้งที่เดินทางไปบริจาค ดอนเห็นด้วยตาตนเองว่า สิ่งประดิษฐ์ของเขามีผลกระทบต่อชีวิต
ผู้คนอย่างไร ที่เจนไน เมื่อก่อน “อินทรา” ไม่เคยไปโรงเรียน แต่ขณะที่เขียนเรื่องนี้ เธอเรียน
สถาปัตย์ฯ คุณแม่ยังสาวชาวแองโกลารายหนึ่งถูกกับระเบิดเสียขาขณะทำงานในไร่ ทุกวันนี้
เธอดูแลและเลี้ยงลูกได้ บรรดาอาสาสมัครถ่ายภาพผู้รับบริจาคขณะฝึกบังคับรถเข็นเป็น
ครั้งแรกซึ่ง “เป็นวันที่สำคัญที่สุดในชีวิตของพวกเขา เหมือนวันแต่งงานหรือวันสำเร็จการศึกษา
และเป็นวันที่พวกเขาได้รับศักดิ์ศรีกลับคืนมา
นับถึงปัจจุบัน (2021) องค์กร “The Free Wheelchair Mission” เป็นส่วนหนึ่งขององค์การ
อนามัยโลก (WHO) ทำงานร่วมกับกลุ่มอื่น ๆ ที่มีวัตถุประสงค์เดียวกันและได้จัดส่งรถเข็น
มากกว่า 70 ล้านคันให้กับประเทศที่กำลังพัฒนามากกว่า 93 ประเทศทั่วโลก
ดร. ดอน เชินดอร์เฟอร์ผู้ประดิษฐ์เป็นเจ้าของสิทธิบัตรมากกว่า 60 รายการ ในปี 2008
ดร. ดอนฯ ได้รับเหรียญเกียรติยศด้านพลเรือนจากนายพลโคลิน พาวเวลล์ (General Colin Powell)
รางวัลที่องค์กรและ/หรือผู้ก่อตั้งได้รับมีมากมาย เช่น รางวัล CLASSY สำหรับสุขภาพและ
ความเป็นอยู่ที่ดีในปี 2012 รางวัล “การให้บริการระหว่างประเทศ" ในปี 2008
และ รางวัล Entrepreneur Dream Award จาก Loyola Marymount University
ในปี 2006 เป็นต้น
เงินทุนสำหรับรถเข็นได้รับจากการบริจาครายบุคคล, จากคณะบุคคล, บริษัท, วัด,
มหาวิทยาลัยและมูลนิธิต่าง ๆ ปัจจุบันรถเข็นต้นแบบรุ่นที่ 3 สามารถพับได้เพื่อความสะดวก
ในการขนส่งและการจัดเก็บ มี 4 ขนาดคือ เล็ก, กลาง, ใหญ่ และใหญ่พิเศษ จึงสามารถ
ปรับให้พอดีกับผู้รับแต่ละคนได้
***************
ฉบับเดือนกันยายน 2005 โดย เจเน็ต คิโนเซียน
เรียบเรียงและแปลเพิ่มจากวิกิพีเดีย 2021 โดย กอบกิจ ครุวรรณ
ดอน (Dr. Don Schoendorfer) วิศวกรเครื่องกล จากรัฐแคลิฟอร์เนียตั้งใจจะผลิตเก้าอี้
รถเข็นราคาถูกที่สุดในโลก ทุกเช้าก่อนไปทำงาน ดอน เจียดเวลาวันละ 3 ชั่วโมงใน
โรงรถเพื่อประดิษฐ์เก้าอี้ที่มีที่นั่งคล้ายผ้าใบแต่ที่สุดก็ล้มเลิกเพราะมีต้นทุนสูงเกินไป
เขาคิดว่าจะต้องใช้วัสดุราคาถูกและทนทานชนิดที่ไม่มีวันบุบสลายซึ่งใช้งานได้ทั้งบน
ภูเขา(ภูเขา) หนองน้ำ (น้ำ) และทะเลทราย (ทะเลทราย) สิ่งประดิษฐ์ของเขาจะต้องทน
ความร้อนและน้ำค้างแข็งได้โดยไม่ต้องดูแลรักษามากนัก เขาตระหนักดีว่า คนจนจำนวน
มากในโลกหาเงินเลี้ยงชีพได้วันละไม่ถึง 100 บาท พวกเขาไม่กล้าฝันจะซื้อเก้าอี้รถเข็น
แบบตะวันตกซึ่งมีราคาสูงมากได้
ไม่นานต่อมา ดอนได้ความคิดใหม่เมื่อเขาเห็นเก้าอี้สนามพลาสติกสีขาวที่ใช้กันแพร่หลาย
เขาเสาะหาร้านที่ลดราคาแล้วและซื้อยกโหลในราคาที่ต่ำมาก จากนั้นก็ตระเวนหาซื้อล้อ
และยางรถจักรยานราคาถูกตลอดจนตะปูควงแบบราคาประหยัดที่สุด... เมื่อเขาขันล้อยาง
รถจักรยาน 2 คันที่ได้จากร้านขายของเล่นและเชื่อมแผ่นเหล็กสีดำเข้ากับฝาประกบด้านข้าง
ทั้งสองเสร็จ บัณฑิตจากเอ็มไอที (MIT) ลองหมุนเก้าอี้ง่าย ๆ ตัวนั้นเป็นครั้งสุดท้ายและคิดว่า
“น่าจะใช่เลย”
“ดอน คุณทำสำเร็จแล้ว” สาธุคุณในโบสถ์ที่เขาไปเป็นประจำกล่าว เมื่อเห็นเก้าอี้คันเล็กสีขาว
ในช่วง 9 เดือนต่อมา ดอนทดลองทำเก้าอี้รถเข็นนับร้อยจนโรงรถของเขาดูราวกับเป็นศูนย์
บำบัดคนพิการ
สาธุคุณแนะนำให้ขนเก้าอี้รถเข็นทั้งหมดไปรวมกับของบรรเทาทุกข์ซึ่งกำลังจะส่งไปอินเดีย
เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ แต่เมื่อเขาไปร่วมประชุมวางแผนนัดแรก บรรดาผู้สอน
ศาสนาในกลุ่มกลับไม่ปลื้ม “คุณคิดว่าเก้าอี้พวกนี้จะต้องเสียค่าส่งสักเท่าไหร่” คนหนึ่งถามขึ้น
อย่างไรก็ตาม ที่สุดกลุ่มตกลงยอมให้เขานำเก้าอี้รถเข็นส่งไปอินเดีย 4 ตัว
ในโรงพยาบาลที่แออัดนอกเมืองเจนไน (Chennai; ชื่อเดิม : มัทราส) ดอน เห็นผู้เป็นบิดา
คนหนึ่งอุ้มลูกชายพิการวัย 11 ขวบ ดอนรีบเข็นเก้าอี้รถเข้าไปใกล้ ทันทีที่เด็กชายนั่งรถเข็น
เป็นครั้งแรกในชีวิต หนูน้อยตกตะลึงด้วยความดีใจท่วมท้น แม่ของเขาบอกผ่านล่ามว่า
“ขออวยพรให้แก่ผู้มอบราชรถคันนี้”
เมื่อดอนกลับมาถึงบ้านที่อเมริกาก็ทราบข่าวว่า บริษัทที่เขาทำงานอยู่ล้มละลายกะทันหัน
เขาจึงตัดสินใจเลิกทำงานเป็นวิศวกรและหันมาทุ่มเทกายใจให้กับการผลิตเก้าอี้รถเข็น
ครอบครัวของเขาอาศัยเงินออมที่เก็บสะสมมานานหลายปี และเมื่อเงินก้อนนั้นเริ่มร่อยหรอลง
ภรรยาจึงต้องออกไปทำงานกับหน่วยงานประกันสังคมเพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัว นับแต่
บริจาคเก้าอี้ตัวแรกจนถึงกลางปี 2005 องค์กรการกุศลที่เขาตั้งขึ้นและดำรงตำแหน่งเป็นประธาน
ชื่อ “The Free Wheelchair Mission” ได้ส่งมอบสิ่งประดิษฐ์น้ำหนักเบาให้ผู้พิการไปแล้วกว่า
63,000 ตัวโดยไม่คิดมูลค่า ขณะนั้นเก้าอี้รถเข็นของเขาผลิตในโรงงาน 2 แห่งที่ประเทศจีน
พร้อมส่งมอบให้ที่ไหนก็ได้ในโลกด้วยราคาเพียง 1,700 บาทและส่งไปแล้ว 45 ประเทศ
แต่จำนวนผู้พิการที่ยากจนยังมีอีกมากกว่า 100 ล้านคนในประเทศที่กำลังพัฒนา
“ผมมีเป้าหมายเล็ก ๆ” ดอนกล่าว “เก้าอี้รถเข็น 20 ล้านตัวบริจาคฟรีภายในปี 2010
ทุกครั้งที่เดินทางไปบริจาค ดอนเห็นด้วยตาตนเองว่า สิ่งประดิษฐ์ของเขามีผลกระทบต่อชีวิต
ผู้คนอย่างไร ที่เจนไน เมื่อก่อน “อินทรา” ไม่เคยไปโรงเรียน แต่ขณะที่เขียนเรื่องนี้ เธอเรียน
สถาปัตย์ฯ คุณแม่ยังสาวชาวแองโกลารายหนึ่งถูกกับระเบิดเสียขาขณะทำงานในไร่ ทุกวันนี้
เธอดูแลและเลี้ยงลูกได้ บรรดาอาสาสมัครถ่ายภาพผู้รับบริจาคขณะฝึกบังคับรถเข็นเป็น
ครั้งแรกซึ่ง “เป็นวันที่สำคัญที่สุดในชีวิตของพวกเขา เหมือนวันแต่งงานหรือวันสำเร็จการศึกษา
และเป็นวันที่พวกเขาได้รับศักดิ์ศรีกลับคืนมา
นับถึงปัจจุบัน (2021) องค์กร “The Free Wheelchair Mission” เป็นส่วนหนึ่งขององค์การ
อนามัยโลก (WHO) ทำงานร่วมกับกลุ่มอื่น ๆ ที่มีวัตถุประสงค์เดียวกันและได้จัดส่งรถเข็น
มากกว่า 70 ล้านคันให้กับประเทศที่กำลังพัฒนามากกว่า 93 ประเทศทั่วโลก
ดร. ดอน เชินดอร์เฟอร์ผู้ประดิษฐ์เป็นเจ้าของสิทธิบัตรมากกว่า 60 รายการ ในปี 2008
ดร. ดอนฯ ได้รับเหรียญเกียรติยศด้านพลเรือนจากนายพลโคลิน พาวเวลล์ (General Colin Powell)
รางวัลที่องค์กรและ/หรือผู้ก่อตั้งได้รับมีมากมาย เช่น รางวัล CLASSY สำหรับสุขภาพและ
ความเป็นอยู่ที่ดีในปี 2012 รางวัล “การให้บริการระหว่างประเทศ" ในปี 2008
และ รางวัล Entrepreneur Dream Award จาก Loyola Marymount University
ในปี 2006 เป็นต้น
เงินทุนสำหรับรถเข็นได้รับจากการบริจาครายบุคคล, จากคณะบุคคล, บริษัท, วัด,
มหาวิทยาลัยและมูลนิธิต่าง ๆ ปัจจุบันรถเข็นต้นแบบรุ่นที่ 3 สามารถพับได้เพื่อความสะดวก
ในการขนส่งและการจัดเก็บ มี 4 ขนาดคือ เล็ก, กลาง, ใหญ่ และใหญ่พิเศษ จึงสามารถ
ปรับให้พอดีกับผู้รับแต่ละคนได้
***************
“ส่งหมอโรชาลมา” จากหนังสือสรรสาระ
ฉบับเดือนกันยายน 2005 โดย ไบรอัน อีดส์;
ย่อและแปลเพิ่มจากวิกิพีเดีย 2021 โดย กอบกิจ ครุวรรณ
ดร. โรชาล (Leonid Mikhailovich Roshal : เกิด 27 เมษายน 1933) กุมารแพทย์
ชาวรัสเซีย เป็นผู้นำในแผนกศัลยกรรมฉุกเฉินและการบาดเจ็บของเด็กของสถาบัน
วิจัยวิทยาศาสตร์เด็กของมอสโก และเป็นประธานกองทุนการกุศลระหว่างประเทศ
เพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ ในภัยพิบัติและสงคราม
ดร. โรชาล เจรจากับผู้ก่อการร้ายชาวเชเชน (Chechen : สาธารณรัฐปกครองตนเอง
ในภูมิภาค นอร์ท คอเคซัส ของสหพันธรัฐรัสเซีย เชชเนีย) ในช่วงวิกฤตตัวประกัน 923 คน
ที่โรงละครมอสโกในปี 2002 ท่านแสดงความกล้าหาญและความเมตตาจนได้รับการชื่นชม
อย่างกว้างขวางทั้งจากชาวรัสเซียและทั่วโลก
บทความนี้จะขอกล่าวถึงบทบาทของ ดร.โรชาล ในวิกฤตการณ์ตัวประกันในโรงเรียนเบสลาน
(Beslan) ในปี 2004 ซึ่งกองกำลังอิสลามติดอาวุธชาวเชเชนบุกยึดโรงเรียนที่มีชื่ออันดับหนึ่ง
ของเมืองเบสลาน (รัสเซีย) ตั้งแต่เช้าวันที่ 1 กันยายน 2004
ผู้ก่อการร้ายจับครูและนักเรียนประมาณ 1,100 คนเป็นตัวประกัน พวกเขาเรียกร้องให้รัสเซีย
ถอนตัวและยอมรับเอกราชของเชชเนีย เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องการคนกลางที่ทุกฝ่ายไว้ใจเพื่อ
เจรจากับฝ่ายผู้ก่อการร้าย
“ส่งหมอโรชาลมา” ผู้ก่อการร้ายตอบตกลงเมื่อทราบว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลเสนอชื่อของท่าน
โรชาลใฝ่ฝันอยากเป็นศัลยแพทย์ตั้งแต่เด็กซึ่งเห็นได้จากเรียงความที่ท่านเขียนเมื่ออายุ 11 ขวบ
ต่อมาท่านเข้าศึกษาในวิทยาลัยแพทย์มอสโกและสำเร็จการศึกษาในปี 1957 ท่านเริ่มทำงาน
กลางวันที่คลินิกแห่งหนึ่งในมอสโก กลางคืนช่วยผ่าตัดให้กับโรงพยาบาลเด็กชั้นนำในเมือง
โดยไม่รับค่าตอบแทน 20 ปีต่อมา หมอโรชาลทำงานผ่าตัดให้กับทุกโรงพยาบาลในเขตมอสโก
ซึ่งมีมากกว่า 100 แห่ง ท่านผ่าตัดวันละ 3-4 รายเป็นประจำ และยังจัดตั้งทีมงานพิเศษสำหรับผ่าตัด
ทารกแรกเกิดโดยเฉพาะ พร้อมกับเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องการผ่าตัดปอดในเด็กจนได้รับปริญญาเอก
ท่านมีแนวคิดหลักว่า ร่างกายของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่จึงต้องการการดูแลรักษาที่แตกต่างกัน
ความเชี่ยวชาญด้านเวชกรรมฉุกเฉินของท่านช่วยผู้ป่วยเด็กที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงหลายพันคน
เช่นในเดือนธันวาคม 1988 เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในอาร์เมเนียมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 25,000 คน
หมอโรชาลรวบรวมคณะแพทย์อาสาสมัคร 34 คนจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ในมอสโกและบินไป
อาร์เมเนียในวันรุ่งขึ้น ทีมงานของท่านรักษาเด็กที่บาดเจ็บรุนแรงกว่า 500 คน
ปีต่อมา ท่านนำทีมออกปฏิบัติหน้าที่ในเหตุการณ์ท่อแก๊สธรรมชาติรั่วและเกิดระเบิดครั้งใหญ่จาก
ประกายไฟของรถไฟ 2 ขบวน (Chelyabinsk – Ufa ในรัสเซีย) มีผู้เสียชีวิต 573 คนและบาดเจ็บ
กว่า 600 คน
ในการปฏิบัติสาธารณกุศลเหล่านี้ ทุกคนเสียสละวันลาพักร้อนโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนและมักต้อง
จ่ายค่าเครื่องบินเองด้วย
เมื่อหมอโรชาลไปถึงเบสลาน ท่านรีบโทรศัพท์เจรจากับฝ่ายก่อการร้ายทันที ท่านขออนุญาตนำอาหาร
น้ำดื่ม และยาเข้าไปให้ตัวประกันแต่ไร้ผล ขณะเดียวกันก็สั่งให้ทุกโรงพยาบาลใกล้เคียงเตรียมพร้อม
รับสถานการณ์รุนแรง “ผมพยายามซื้อเวลาครับ” คุณหมอกล่าว
เช้าวันที่สาม กองกำลังพิเศษรัสเซียที่รายล้อมอยู่ด้านนอกบุกอาคารโรงเรียนพร้อมรถถัง, จรวด และ
อาวุธหนักอื่น ๆ มีเสียงระเบิดดังกึกก้องภายในโรงเรียน ตามด้วยเสียงปืน ข้อมูลจากทางการระบุว่า
มีผู้เสียชีวิต 379 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็ก 171 คนและผู้ก่อการร้าย 30 คน ตัวประกันบาดเจ็บกว่า
700 คน หมอโรชาลและคณะเตรียมแผนรับมือล่วงหน้าไว้แล้วอย่างรอบคอบ ทุกคนจึงได้รับการ
ปฐมพยาบาลภายในสองชั่วโมงหลังจากบุกปราบผู้ก่อการร้าย
หมอโรชาลใช้ห้องโถงของโรงพยาบาลเบสลานเป็นที่ตรวจอาการเบื้องต้นของเด็กที่ได้รับบาดเจ็บ
เพื่อพิจารณาว่า ใครจำเป็นต้องผ่าตัดฉุกเฉินหรือมีอาการหนัก
วันรุ่งขึ้น ท่านไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียงเพื่อตรวจผู้ป่วยเด็กราว 200 คนที่ถูกส่งตัวและแนะแนว
วิธีการรักษาให้ “ประสบการณ์ของท่านมีประโยชน์กับพวกเรามากครับ” หัวหน้าแพทย์จาก
โรงพยาบาลเบสลานกล่าว
ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา หมอโรชาลตั้งปณิธานที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กที่ได้รับบาดเจ็บ ดังนั้น
ท่านจึงมีส่วนร่วมอยู่ในวิกฤตการณ์สำคัญมากกว่า 20 ครั้งในสี่ทวีป เช่นการปฏิวัติในโรมาเนีย
, สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรก, สงครามในยูโกสลาเวีย, อาเซอร์ไบจาน ตลอดจนเหตุแผ่นดินไหว
ในจอร์เจีย, อียิปต์, สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, อัฟกานิสถาน, ตุรกี, อินเดีย และแอลจีเรีย เป็นต้น
แม้ท่านจะได้รับรางวัลเกียรติยศมากมายนับไม่ถ้วน แต่ท่านยังคงแนะนำตัวเองง่าย ๆ ว่า “หมอเด็ก”
ซึ่งก็ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์นัก ที่จริงควรเรียกท่านว่า “หมอของเด็กทั่วโลก” มากกว่า
***************
ฉบับเดือนกันยายน 2005 โดย ไบรอัน อีดส์;
ย่อและแปลเพิ่มจากวิกิพีเดีย 2021 โดย กอบกิจ ครุวรรณ
ดร. โรชาล (Leonid Mikhailovich Roshal : เกิด 27 เมษายน 1933) กุมารแพทย์
ชาวรัสเซีย เป็นผู้นำในแผนกศัลยกรรมฉุกเฉินและการบาดเจ็บของเด็กของสถาบัน
วิจัยวิทยาศาสตร์เด็กของมอสโก และเป็นประธานกองทุนการกุศลระหว่างประเทศ
เพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ ในภัยพิบัติและสงคราม
ดร. โรชาล เจรจากับผู้ก่อการร้ายชาวเชเชน (Chechen : สาธารณรัฐปกครองตนเอง
ในภูมิภาค นอร์ท คอเคซัส ของสหพันธรัฐรัสเซีย เชชเนีย) ในช่วงวิกฤตตัวประกัน 923 คน
ที่โรงละครมอสโกในปี 2002 ท่านแสดงความกล้าหาญและความเมตตาจนได้รับการชื่นชม
อย่างกว้างขวางทั้งจากชาวรัสเซียและทั่วโลก
บทความนี้จะขอกล่าวถึงบทบาทของ ดร.โรชาล ในวิกฤตการณ์ตัวประกันในโรงเรียนเบสลาน
(Beslan) ในปี 2004 ซึ่งกองกำลังอิสลามติดอาวุธชาวเชเชนบุกยึดโรงเรียนที่มีชื่ออันดับหนึ่ง
ของเมืองเบสลาน (รัสเซีย) ตั้งแต่เช้าวันที่ 1 กันยายน 2004
ผู้ก่อการร้ายจับครูและนักเรียนประมาณ 1,100 คนเป็นตัวประกัน พวกเขาเรียกร้องให้รัสเซีย
ถอนตัวและยอมรับเอกราชของเชชเนีย เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องการคนกลางที่ทุกฝ่ายไว้ใจเพื่อ
เจรจากับฝ่ายผู้ก่อการร้าย
“ส่งหมอโรชาลมา” ผู้ก่อการร้ายตอบตกลงเมื่อทราบว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลเสนอชื่อของท่าน
โรชาลใฝ่ฝันอยากเป็นศัลยแพทย์ตั้งแต่เด็กซึ่งเห็นได้จากเรียงความที่ท่านเขียนเมื่ออายุ 11 ขวบ
ต่อมาท่านเข้าศึกษาในวิทยาลัยแพทย์มอสโกและสำเร็จการศึกษาในปี 1957 ท่านเริ่มทำงาน
กลางวันที่คลินิกแห่งหนึ่งในมอสโก กลางคืนช่วยผ่าตัดให้กับโรงพยาบาลเด็กชั้นนำในเมือง
โดยไม่รับค่าตอบแทน 20 ปีต่อมา หมอโรชาลทำงานผ่าตัดให้กับทุกโรงพยาบาลในเขตมอสโก
ซึ่งมีมากกว่า 100 แห่ง ท่านผ่าตัดวันละ 3-4 รายเป็นประจำ และยังจัดตั้งทีมงานพิเศษสำหรับผ่าตัด
ทารกแรกเกิดโดยเฉพาะ พร้อมกับเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องการผ่าตัดปอดในเด็กจนได้รับปริญญาเอก
ท่านมีแนวคิดหลักว่า ร่างกายของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่จึงต้องการการดูแลรักษาที่แตกต่างกัน
ความเชี่ยวชาญด้านเวชกรรมฉุกเฉินของท่านช่วยผู้ป่วยเด็กที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงหลายพันคน
เช่นในเดือนธันวาคม 1988 เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในอาร์เมเนียมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 25,000 คน
หมอโรชาลรวบรวมคณะแพทย์อาสาสมัคร 34 คนจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ในมอสโกและบินไป
อาร์เมเนียในวันรุ่งขึ้น ทีมงานของท่านรักษาเด็กที่บาดเจ็บรุนแรงกว่า 500 คน
ปีต่อมา ท่านนำทีมออกปฏิบัติหน้าที่ในเหตุการณ์ท่อแก๊สธรรมชาติรั่วและเกิดระเบิดครั้งใหญ่จาก
ประกายไฟของรถไฟ 2 ขบวน (Chelyabinsk – Ufa ในรัสเซีย) มีผู้เสียชีวิต 573 คนและบาดเจ็บ
กว่า 600 คน
ในการปฏิบัติสาธารณกุศลเหล่านี้ ทุกคนเสียสละวันลาพักร้อนโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนและมักต้อง
จ่ายค่าเครื่องบินเองด้วย
เมื่อหมอโรชาลไปถึงเบสลาน ท่านรีบโทรศัพท์เจรจากับฝ่ายก่อการร้ายทันที ท่านขออนุญาตนำอาหาร
น้ำดื่ม และยาเข้าไปให้ตัวประกันแต่ไร้ผล ขณะเดียวกันก็สั่งให้ทุกโรงพยาบาลใกล้เคียงเตรียมพร้อม
รับสถานการณ์รุนแรง “ผมพยายามซื้อเวลาครับ” คุณหมอกล่าว
เช้าวันที่สาม กองกำลังพิเศษรัสเซียที่รายล้อมอยู่ด้านนอกบุกอาคารโรงเรียนพร้อมรถถัง, จรวด และ
อาวุธหนักอื่น ๆ มีเสียงระเบิดดังกึกก้องภายในโรงเรียน ตามด้วยเสียงปืน ข้อมูลจากทางการระบุว่า
มีผู้เสียชีวิต 379 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็ก 171 คนและผู้ก่อการร้าย 30 คน ตัวประกันบาดเจ็บกว่า
700 คน หมอโรชาลและคณะเตรียมแผนรับมือล่วงหน้าไว้แล้วอย่างรอบคอบ ทุกคนจึงได้รับการ
ปฐมพยาบาลภายในสองชั่วโมงหลังจากบุกปราบผู้ก่อการร้าย
หมอโรชาลใช้ห้องโถงของโรงพยาบาลเบสลานเป็นที่ตรวจอาการเบื้องต้นของเด็กที่ได้รับบาดเจ็บ
เพื่อพิจารณาว่า ใครจำเป็นต้องผ่าตัดฉุกเฉินหรือมีอาการหนัก
วันรุ่งขึ้น ท่านไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียงเพื่อตรวจผู้ป่วยเด็กราว 200 คนที่ถูกส่งตัวและแนะแนว
วิธีการรักษาให้ “ประสบการณ์ของท่านมีประโยชน์กับพวกเรามากครับ” หัวหน้าแพทย์จาก
โรงพยาบาลเบสลานกล่าว
ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา หมอโรชาลตั้งปณิธานที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กที่ได้รับบาดเจ็บ ดังนั้น
ท่านจึงมีส่วนร่วมอยู่ในวิกฤตการณ์สำคัญมากกว่า 20 ครั้งในสี่ทวีป เช่นการปฏิวัติในโรมาเนีย
, สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรก, สงครามในยูโกสลาเวีย, อาเซอร์ไบจาน ตลอดจนเหตุแผ่นดินไหว
ในจอร์เจีย, อียิปต์, สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, อัฟกานิสถาน, ตุรกี, อินเดีย และแอลจีเรีย เป็นต้น
แม้ท่านจะได้รับรางวัลเกียรติยศมากมายนับไม่ถ้วน แต่ท่านยังคงแนะนำตัวเองง่าย ๆ ว่า “หมอเด็ก”
ซึ่งก็ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์นัก ที่จริงควรเรียกท่านว่า “หมอของเด็กทั่วโลก” มากกว่า
***************
"รูปโฉมภายใน" ตอนที่ (1)
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมกราคม 2006
โดย Lisa Collier Cool เรียบเรียงและย่อโดย กอบกิจ ครุวรรณ
เคลลี่ (Kelly Sperry) เกิดวันที่ 1 สิงหาคม 1991 (ครอบครัว)พ่อแม่ของเธอดูเหมือน
จะเป็นคู่สามีภรรยาที่โชคดีที่สุดในโลก “ทันทีที่หมอบอกว่า ‘เป็นผู้หญิง’ เราตื่นเต้น
กันมาก” ดอนน่าครูประถมวัย 46 ปีผู้ให้กำเนิดเคลลี่เล่าว่า “เรามีลูกชาย 2 คนอยู่แล้ว
ตอนนี้ได้ลูกสาวมาอีกคนทำให้ครอบครัวของเราสมบูรณ์แบบจริง ๆ” ทั้งสองพาลูกสาว
กลับบ้านซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่ทำงานของเจย์ผู้เป็นพ่อที่ทำงานในหน่วยดับเพลิงเมือง
เวสต์มินสเตอร์ รัฐโคโลราโด
เจย์กับดอนน่าต่อเติมระเบียงและสระว่ายน้ำเล็ก ๆ จากนั้นบ้านของพวกเขาก็กลายเป็น
ที่ชุมนุมของบรรดาเพื่อนบ้าน มีเสียงหัวเราะ เสียงเด็ก ๆ เล่นน้ำขณะที่พ่อแม่รวมกลุ่มกัน
รอบเตาบาร์บีคิวช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยเจย์ย่างอาหารจานโปรดและเสิร์ฟด้วยความ
ภาคภูมิใจ
เมื่อเคลลี่อายุ 2 ขวบ พ่อแม่เริ่มสังเกตเห็นจุดขาว ๆ ที่คอและผมขาว 2-3 เส้น พออายุ
5 ขวบ จมูกด้านขวาของเธอฟีบลงเล็กกว่าด้านซ้ายเล็กน้อย แพทย์คนหนึ่งวินิจฉันว่าเธอ
เป็นโรคผิวด่างขาว แต่ครีมที่หมอให้ก็ไม่ช่วยให้ดีขึ้นเลย เจย์กับดอนน่าจึงปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
ด้านหู คอ จมูก แพทย์วินิจฉัยว่า “ไม่มีอะไรน่าห่วง ทุกคนต่างมีความไม่สมบูรณ์แบบนิด ๆ
หน่อย ๆ เมื่อเธอเป็นวัยรุ่นค่อยพาเธอไปทำศัลยกรรมพลาสติกก็ได้”
พ่อแม่หวังว่าหมอจะพูดถูก เคลลี่เป็นเด็กฉลาดเรียนได้เกรดเอเกือบทุกวิชา จนเมื่อเคลลี่
อายุ 9 ขวบเรียนอยู่ประถมสี่ นัยน์ตาเริ่ม “จม” จมูกบิดเบี้ยวและปากเผยอขึ้น หน้าตาของ
เธอเปลี่ยนไปอย่างฉับพลัน เคลลี่แกล้งทำเป็นไม่สะทกสะท้าน แต่เสียงตะโกนของเพื่อนที่
ว่า “ยายจมูกเบี้ยว” เป็นเรื่องยากจะทำเฉยได้ เด็ก ๆ ในโรงเรียนทำท่าปากเบี้ยวล้อเลียน
เธอ อย่างใจร้ายเมื่อดอนน่าพยายามพูดคุยกับพ่อแม่ของเด็กที่ล้อเลียนแกล้งลูกสาว
สถานการณ์กลับเลวร้ายมากขึ้น พวกเขาไม่เชื่อสิ่งที่เธอพูด ดอนน่าเล่าว่า “คนหนึ่งพูดว่า
ลูกฉันไม่ทำเรื่องแบบนี้หรอก, อีกคนหนึ่งบอกว่า ก็เพราะเคลลี่ไปยั่วยุก่อน แม่อีกคนที่เคย
เป็นเพื่อนกันตะคอกใส่หน้าฉัน ฯลฯ”
ท้ายที่สุดดอนน่ากับเจย์เลิกพูดคุยกับเพื่อนบ้าน สระน้ำของทั้งสองไม่มีเด็ก ๆ มาเล่น
สนามหลัง บ้านเงียบเป็นป่าช้า
ดอนน่ากับเจย์มุ่งมั่นให้เคลลี่ได้รับการตรวจวินิจฉันอยู่หลายครั้ง จนที่สุดก็พบความจริง
ในเดือนสิงหาคม 2000 แพทย์คนหนึ่งระบุว่าปัญหาเกิดจากอาการ” Parry–Romberg
syndrome” (PRS) ที่ทำลายผิวหนัง กระดูก และกล้ามเนื้อซีกหนึ่งของใบหน้าหลายครั้ง
ทำให้สูญเสียการมองเห็นจากตาขวา หมอบอกว่า “เราไม่รู้สาเหตุที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิด
อาการประหลาดของโรคและ ไม่มีวิธีรักษา ข่าวดีเพียงอย่างเดียวคือไม่ร้ายแรงถึงชีวิต”
แม้ครอบครัวจะพยายามดำเนินชีวิตต่อไปตามปกติหลังการวินิจฉัยโรคของเคลลี่ ผลการ
เรียนของลูกชายทั้งสองซึ่งอยู่ในวัยรุ่นเริ่มตกจากเกรดเอเป็นเกรดซีและมีเรื่องทะเลาะเบาะ
แว้งกับ เพื่อน ๆ ที่โรงเรียนแทบทุกวันเมื่อทั้งสองพยายามปกป้องน้องสาว ขณะเดียวกันก็
อดน้อยใจไม่ได้ “ทำไมทุกอย่างจะต้องทำเพื่อเคลลี่” ทั้งสองถามพ่อแม่อย่างฉุนเฉียว
ทิ้งคำถามคาใจ ที่ไม่ได้เอ่ยออกมาว่า “พ่อแม่ไม่รักพวกเขาด้วยหรือ”
เคลลี่พบกำลังใจผ่านทางคอมพิวเตอร์ แต่การล้อเลียนยังเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะใน
ช่วงบ่ายหลังเลิกเรียน วันหนึ่งขณะเคลลี่เดินออกจากโรงเรียน เด็กผู้ชายคนหนึ่งยืนขวาง
ทาง “ยายหน้าตลก” เขาเยาะเย้ยและมองไปรอบ ๆ ดูว่าเด็กอื่นที่รอรถเมล์จะชื่นชมฝีปาก
ของเขาไหม “เธอไม่ต้องพึ่งศัลยกรรมหรอก เพราะฉันจะจัดหน้าให้เธอเอง ด้วยนี่ไง” เขากำหมัด
จากนั้นก็ผลักเคลลี่ล้มลง เด็กคนอื่นหัวเราะขณะที่เคลลี่คว้าสมุดหนังสือที่หล่นจากเป้ แล้วลนลาน
รีบหนี ก่อนที่ทุกคนจะเห็นเธอร้องไห้
โปรดติดตามตอนที่ (2) ในวันพรุ่งนี้
จากหนังสือสรรสาระ ฉบับเดือนมกราคม 2006
โดย Lisa Collier Cool เรียบเรียงและย่อโดย กอบกิจ ครุวรรณ
เคลลี่ (Kelly Sperry) เกิดวันที่ 1 สิงหาคม 1991 (ครอบครัว)พ่อแม่ของเธอดูเหมือน
จะเป็นคู่สามีภรรยาที่โชคดีที่สุดในโลก “ทันทีที่หมอบอกว่า ‘เป็นผู้หญิง’ เราตื่นเต้น
กันมาก” ดอนน่าครูประถมวัย 46 ปีผู้ให้กำเนิดเคลลี่เล่าว่า “เรามีลูกชาย 2 คนอยู่แล้ว
ตอนนี้ได้ลูกสาวมาอีกคนทำให้ครอบครัวของเราสมบูรณ์แบบจริง ๆ” ทั้งสองพาลูกสาว
กลับบ้านซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่ทำงานของเจย์ผู้เป็นพ่อที่ทำงานในหน่วยดับเพลิงเมือง
เวสต์มินสเตอร์ รัฐโคโลราโด
เจย์กับดอนน่าต่อเติมระเบียงและสระว่ายน้ำเล็ก ๆ จากนั้นบ้านของพวกเขาก็กลายเป็น
ที่ชุมนุมของบรรดาเพื่อนบ้าน มีเสียงหัวเราะ เสียงเด็ก ๆ เล่นน้ำขณะที่พ่อแม่รวมกลุ่มกัน
รอบเตาบาร์บีคิวช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยเจย์ย่างอาหารจานโปรดและเสิร์ฟด้วยความ
ภาคภูมิใจ
เมื่อเคลลี่อายุ 2 ขวบ พ่อแม่เริ่มสังเกตเห็นจุดขาว ๆ ที่คอและผมขาว 2-3 เส้น พออายุ
5 ขวบ จมูกด้านขวาของเธอฟีบลงเล็กกว่าด้านซ้ายเล็กน้อย แพทย์คนหนึ่งวินิจฉันว่าเธอ
เป็นโรคผิวด่างขาว แต่ครีมที่หมอให้ก็ไม่ช่วยให้ดีขึ้นเลย เจย์กับดอนน่าจึงปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
ด้านหู คอ จมูก แพทย์วินิจฉัยว่า “ไม่มีอะไรน่าห่วง ทุกคนต่างมีความไม่สมบูรณ์แบบนิด ๆ
หน่อย ๆ เมื่อเธอเป็นวัยรุ่นค่อยพาเธอไปทำศัลยกรรมพลาสติกก็ได้”
พ่อแม่หวังว่าหมอจะพูดถูก เคลลี่เป็นเด็กฉลาดเรียนได้เกรดเอเกือบทุกวิชา จนเมื่อเคลลี่
อายุ 9 ขวบเรียนอยู่ประถมสี่ นัยน์ตาเริ่ม “จม” จมูกบิดเบี้ยวและปากเผยอขึ้น หน้าตาของ
เธอเปลี่ยนไปอย่างฉับพลัน เคลลี่แกล้งทำเป็นไม่สะทกสะท้าน แต่เสียงตะโกนของเพื่อนที่
ว่า “ยายจมูกเบี้ยว” เป็นเรื่องยากจะทำเฉยได้ เด็ก ๆ ในโรงเรียนทำท่าปากเบี้ยวล้อเลียน
เธอ อย่างใจร้ายเมื่อดอนน่าพยายามพูดคุยกับพ่อแม่ของเด็กที่ล้อเลียนแกล้งลูกสาว
สถานการณ์กลับเลวร้ายมากขึ้น พวกเขาไม่เชื่อสิ่งที่เธอพูด ดอนน่าเล่าว่า “คนหนึ่งพูดว่า
ลูกฉันไม่ทำเรื่องแบบนี้หรอก, อีกคนหนึ่งบอกว่า ก็เพราะเคลลี่ไปยั่วยุก่อน แม่อีกคนที่เคย
เป็นเพื่อนกันตะคอกใส่หน้าฉัน ฯลฯ”
ท้ายที่สุดดอนน่ากับเจย์เลิกพูดคุยกับเพื่อนบ้าน สระน้ำของทั้งสองไม่มีเด็ก ๆ มาเล่น
สนามหลัง บ้านเงียบเป็นป่าช้า
ดอนน่ากับเจย์มุ่งมั่นให้เคลลี่ได้รับการตรวจวินิจฉันอยู่หลายครั้ง จนที่สุดก็พบความจริง
ในเดือนสิงหาคม 2000 แพทย์คนหนึ่งระบุว่าปัญหาเกิดจากอาการ” Parry–Romberg
syndrome” (PRS) ที่ทำลายผิวหนัง กระดูก และกล้ามเนื้อซีกหนึ่งของใบหน้าหลายครั้ง
ทำให้สูญเสียการมองเห็นจากตาขวา หมอบอกว่า “เราไม่รู้สาเหตุที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิด
อาการประหลาดของโรคและ ไม่มีวิธีรักษา ข่าวดีเพียงอย่างเดียวคือไม่ร้ายแรงถึงชีวิต”
แม้ครอบครัวจะพยายามดำเนินชีวิตต่อไปตามปกติหลังการวินิจฉัยโรคของเคลลี่ ผลการ
เรียนของลูกชายทั้งสองซึ่งอยู่ในวัยรุ่นเริ่มตกจากเกรดเอเป็นเกรดซีและมีเรื่องทะเลาะเบาะ
แว้งกับ เพื่อน ๆ ที่โรงเรียนแทบทุกวันเมื่อทั้งสองพยายามปกป้องน้องสาว ขณะเดียวกันก็
อดน้อยใจไม่ได้ “ทำไมทุกอย่างจะต้องทำเพื่อเคลลี่” ทั้งสองถามพ่อแม่อย่างฉุนเฉียว
ทิ้งคำถามคาใจ ที่ไม่ได้เอ่ยออกมาว่า “พ่อแม่ไม่รักพวกเขาด้วยหรือ”
เคลลี่พบกำลังใจผ่านทางคอมพิวเตอร์ แต่การล้อเลียนยังเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะใน
ช่วงบ่ายหลังเลิกเรียน วันหนึ่งขณะเคลลี่เดินออกจากโรงเรียน เด็กผู้ชายคนหนึ่งยืนขวาง
ทาง “ยายหน้าตลก” เขาเยาะเย้ยและมองไปรอบ ๆ ดูว่าเด็กอื่นที่รอรถเมล์จะชื่นชมฝีปาก
ของเขาไหม “เธอไม่ต้องพึ่งศัลยกรรมหรอก เพราะฉันจะจัดหน้าให้เธอเอง ด้วยนี่ไง” เขากำหมัด
จากนั้นก็ผลักเคลลี่ล้มลง เด็กคนอื่นหัวเราะขณะที่เคลลี่คว้าสมุดหนังสือที่หล่นจากเป้ แล้วลนลาน
รีบหนี ก่อนที่ทุกคนจะเห็นเธอร้องไห้
โปรดติดตามตอนที่ (2) ในวันพรุ่งนี้
"รูปโฉมภายใน" ตอนที่ (2) (ตอนจบ)
จากหนังสือสรรสาระก ฉบับเดือนมกราคม 2006
โดย Lisa Collier Cool เรียบเรียงและย่อโดย กอบกิจ ครุวรรณ
เหตุการณ์ถูกแกล้งหลังเลิกเรียนเกิดขึ้นทุกวัน ครั้งสุดท้ายเกิดจากเด็กผู้หญิง
คนหนึ่งควักมีดพกออกมาขู่ “อยากสู้กับฉันเหรอ” เคลลี่ถอยหลังด้วยความกลัว
พร้อมจะวิ่งหนีกลับบ้านอย่างเร็ว แต่เด็กคนนั้นคว้าเสื้อเธอได้และขู่สำทับว่า
“อย่าบอกใครนะ ไม่งั้นเธอจะต้องเสียใจ” แต่เมื่อกลับถึงบ้าน เคลลี่ก็เล่าให้พ่อฟัง
พ่อรุดไปพบอาจารย์ใหญ่เรียกร้องให้โรงเรียนทำอะไรบ้างเพื่อยุติการกลั่นแกลงข่มขู่
ครูของเคลลี่พยายามปกป้องเธอ แต่พวกเพื่อนนักเรียนก็ยังหาทางแกล้งเธอจนได้
ที่สุดในเดือนเมษายน 2003 เจย์ให้เคลลี่ลาออกจากโรงเรียน “ผมทนไม่ได้ที่เห็นลูก
ถูกกระทำแบบนั้น เราอยู่ที่ย่านนี้มาตลอดชีวิต แต่เราเข้ากับคนในย่านนี้ไม่ได้แล้ว”
ครอบครัวของเจย์ประกาศขายบ้านและช่วงสุดสัปดาห์นั้นก็ตระเวนไปทั่วรัฐโคโลราโด
ที่สุดก็พบชุมชนที่เงียบสงบท่ามกลางทิวทัศน์เทือกเขาร็อกกี้ พวกเขาพบ(บ้าน)บ้านไร่
หลังเล็ก ๆ เป็นหย่อม ๆ มีบริเวณท้องทุ่งกว้างที่วัวและม้ายืนเล็มหญ้าอยู่ ดอนน่าชอบ
ที่นี่เพราะคนแปลกหน้าตามท้องถนนยิ้มแย้มให้เธอ ลูกทั้งสามช่วยพ่อแม่ดูประกาศ
โฆษณาขายบ้าน และตกลงซื้อบ้านหลังใหญ่เพิ่งทาสีใหม่ที่หัวมุมถนน ติดกับบึงที่
สามารถใช้เวลาช่วงบ่ายฤดูร้อนตกปลาในบึงได้
ทันทีที่พวกเขาย้ายเข้า สุนัขตัวเล็กสีดำของเพื่อนบ้านก็วิ่งเข้ามาทักทายตามด้วย
สามีภรรยาเจ้าของสุนัข สายสัมพันธ์ก่อเกิดขึ้นทันที และครอบครัวของเจย์ก็พบเพื่อน
กลุ่มแรกซึ่งเป็นบ้านใกล้เรือนเคียง
หน้าตาของเคลลี่ไม่เป็นปัญหาต่อกลุ่มเพื่อนบ้านใหม่ เพื่อนบ้านคนหนึ่งเป็นแพทย์ซึ่ง
ต่อมาเป็นหมอประจำตัวของเคลลี่ เคลลี่ไม่แน่ใจว่าจะตื่นเต้นหรือหวาดกลัวเมื่อจะต้อง
เริ่มกลับไปเรียนในเดือนกันยายน 2003 โรงเรียนใหม่เข้มงวดกับการหยอกล้อหรือ
กลั่นแกล้ง และเน้นเรื่องการให้เกียรติกันในหมู่นักเรียน “เรากำชับครูให้ช่วยกันสอดส่อง
ถ้ามีอะไรที่อาจทำให้เคลลี่รู้สึกไม่สบายใจ” ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่กล่าว
วันแรกที่เปิดภาคเรียน เด็กหญิงกลุ่มหนึ่งชวนเคลลี่ไปนั่งด้วยกันช่วงอาหารเที่ยง แต่เธอ
ปฏิเสธเพราะยังจำได้ดีถึงเด็กที่โรงเรียนเก่าแกล้งเป็นมิตรและล้อเลียนเธอลับหลัง เธอนั่ง
กินอาหารเที่ยงตามลำพังทุกวัน จนผ่านไป 6 สัปดาห์เธอจึงเริ่มไว้ใจเพื่อน ๆ ที่โรงเรียนใหม่
เพราะ “พวกเขาทำดีกับฉันมากกว่าที่โรงเรียนเดิม” จากนั้นเธอก็รวบรวมความกล้าเข้าไป
ร่วมวงคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับรายการโทรทัศน์ ทรงผม และเด็กผู้ชายที่น่าสนใจ
ไม่นานเพื่อนเชียร์ลีดเดอร์วัย 14 ปีคนหนึ่งก็โทรฯ มาที่บ้านเคลลี่และบอกเธอว่า
“มีบางคนถามฉันว่า เกิดอะไรขึ้นกับหน้าของเคลลี่หรือ ถามว่าทำไมฉันจึงชอบเธอ ฉันบอก
พวกเขาว่า พวกเขาไม่ควรตัดสินคนจากรูปภายนอก ฉันคิดว่าเธอมีบุคลิกน่าทึ่งที่สุดและเป็น
คนสนุกสนานเวลาอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ฉันจะคอยปกป้องเธอ เพราะสิ่งที่ทำให้เธอเจ็บ
ฉันก็เจ็บด้วย”
เพื่อผูกมิตรกับเพื่อน ๆ คนอื่น เคลลี่อาสาเป็นคนจัดการทีมบาสเกตบอลหญิง เด็ก ๆ เริ่มแวะ
เวียนมาหาเธอหลังเลิกเรียน ตอนแรกมีแค่ 2-3 คน ต่อมาก็มากันมากขึ้น จนเจย์เริ่มมือเป็นระวิง
ที่เตาบาร์บีคิวอีกครั้งและสนุกสนานกับการทำอาหารเลี้ยงทุกคน
เคลลี่ฝันจะเป็นทนายความ “หนูอยากช่วยคนที่เป็นเหยื่ออาชญากรรมหรือคนที่ถูกรังแกข่มเหง
หนูคิดว่าตัวเองน่าจะเก่งในงานแบบนี้” แม้โรคของเธอจะยังไม่บรรเทาและอาการยังคงลุกลาม
ต่อไป หมอบอกว่ากรณีของเคลลี่ไม่รุนแรง ศัลยกรรมตกแต่งอาจช่วยให้หน้าตาดูดีขึ้นได้
หมายเหตุ : ผู้เขียน (Lisa Collier Cool) เป็นนักเขียนบทความในนิตยสารและ
เขียนหนังสือหลายเล่มที่ให้ข้อมูลเชิงลึก เธอเป็นผู้ร่วมให้ข้อมูลประจำ
Yahoo Health, WebMD, นิตยสารออนไลน์และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ มากมาย
เธอเขียนบทความหาทุนสนับสนุนกองทุนช่วยเหลือฉุกเฉินนักเขียนของ
ASJA [American Society of Journalists and Authors] ซึ่งเป็นองค์กร
การกุศลที่เธอเป็นประธานระหว่างปี 2006-2016
***************
จากหนังสือสรรสาระก ฉบับเดือนมกราคม 2006
โดย Lisa Collier Cool เรียบเรียงและย่อโดย กอบกิจ ครุวรรณ
เหตุการณ์ถูกแกล้งหลังเลิกเรียนเกิดขึ้นทุกวัน ครั้งสุดท้ายเกิดจากเด็กผู้หญิง
คนหนึ่งควักมีดพกออกมาขู่ “อยากสู้กับฉันเหรอ” เคลลี่ถอยหลังด้วยความกลัว
พร้อมจะวิ่งหนีกลับบ้านอย่างเร็ว แต่เด็กคนนั้นคว้าเสื้อเธอได้และขู่สำทับว่า
“อย่าบอกใครนะ ไม่งั้นเธอจะต้องเสียใจ” แต่เมื่อกลับถึงบ้าน เคลลี่ก็เล่าให้พ่อฟัง
พ่อรุดไปพบอาจารย์ใหญ่เรียกร้องให้โรงเรียนทำอะไรบ้างเพื่อยุติการกลั่นแกลงข่มขู่
ครูของเคลลี่พยายามปกป้องเธอ แต่พวกเพื่อนนักเรียนก็ยังหาทางแกล้งเธอจนได้
ที่สุดในเดือนเมษายน 2003 เจย์ให้เคลลี่ลาออกจากโรงเรียน “ผมทนไม่ได้ที่เห็นลูก
ถูกกระทำแบบนั้น เราอยู่ที่ย่านนี้มาตลอดชีวิต แต่เราเข้ากับคนในย่านนี้ไม่ได้แล้ว”
ครอบครัวของเจย์ประกาศขายบ้านและช่วงสุดสัปดาห์นั้นก็ตระเวนไปทั่วรัฐโคโลราโด
ที่สุดก็พบชุมชนที่เงียบสงบท่ามกลางทิวทัศน์เทือกเขาร็อกกี้ พวกเขาพบ(บ้าน)บ้านไร่
หลังเล็ก ๆ เป็นหย่อม ๆ มีบริเวณท้องทุ่งกว้างที่วัวและม้ายืนเล็มหญ้าอยู่ ดอนน่าชอบ
ที่นี่เพราะคนแปลกหน้าตามท้องถนนยิ้มแย้มให้เธอ ลูกทั้งสามช่วยพ่อแม่ดูประกาศ
โฆษณาขายบ้าน และตกลงซื้อบ้านหลังใหญ่เพิ่งทาสีใหม่ที่หัวมุมถนน ติดกับบึงที่
สามารถใช้เวลาช่วงบ่ายฤดูร้อนตกปลาในบึงได้
ทันทีที่พวกเขาย้ายเข้า สุนัขตัวเล็กสีดำของเพื่อนบ้านก็วิ่งเข้ามาทักทายตามด้วย
สามีภรรยาเจ้าของสุนัข สายสัมพันธ์ก่อเกิดขึ้นทันที และครอบครัวของเจย์ก็พบเพื่อน
กลุ่มแรกซึ่งเป็นบ้านใกล้เรือนเคียง
หน้าตาของเคลลี่ไม่เป็นปัญหาต่อกลุ่มเพื่อนบ้านใหม่ เพื่อนบ้านคนหนึ่งเป็นแพทย์ซึ่ง
ต่อมาเป็นหมอประจำตัวของเคลลี่ เคลลี่ไม่แน่ใจว่าจะตื่นเต้นหรือหวาดกลัวเมื่อจะต้อง
เริ่มกลับไปเรียนในเดือนกันยายน 2003 โรงเรียนใหม่เข้มงวดกับการหยอกล้อหรือ
กลั่นแกล้ง และเน้นเรื่องการให้เกียรติกันในหมู่นักเรียน “เรากำชับครูให้ช่วยกันสอดส่อง
ถ้ามีอะไรที่อาจทำให้เคลลี่รู้สึกไม่สบายใจ” ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่กล่าว
วันแรกที่เปิดภาคเรียน เด็กหญิงกลุ่มหนึ่งชวนเคลลี่ไปนั่งด้วยกันช่วงอาหารเที่ยง แต่เธอ
ปฏิเสธเพราะยังจำได้ดีถึงเด็กที่โรงเรียนเก่าแกล้งเป็นมิตรและล้อเลียนเธอลับหลัง เธอนั่ง
กินอาหารเที่ยงตามลำพังทุกวัน จนผ่านไป 6 สัปดาห์เธอจึงเริ่มไว้ใจเพื่อน ๆ ที่โรงเรียนใหม่
เพราะ “พวกเขาทำดีกับฉันมากกว่าที่โรงเรียนเดิม” จากนั้นเธอก็รวบรวมความกล้าเข้าไป
ร่วมวงคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับรายการโทรทัศน์ ทรงผม และเด็กผู้ชายที่น่าสนใจ
ไม่นานเพื่อนเชียร์ลีดเดอร์วัย 14 ปีคนหนึ่งก็โทรฯ มาที่บ้านเคลลี่และบอกเธอว่า
“มีบางคนถามฉันว่า เกิดอะไรขึ้นกับหน้าของเคลลี่หรือ ถามว่าทำไมฉันจึงชอบเธอ ฉันบอก
พวกเขาว่า พวกเขาไม่ควรตัดสินคนจากรูปภายนอก ฉันคิดว่าเธอมีบุคลิกน่าทึ่งที่สุดและเป็น
คนสนุกสนานเวลาอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ฉันจะคอยปกป้องเธอ เพราะสิ่งที่ทำให้เธอเจ็บ
ฉันก็เจ็บด้วย”
เพื่อผูกมิตรกับเพื่อน ๆ คนอื่น เคลลี่อาสาเป็นคนจัดการทีมบาสเกตบอลหญิง เด็ก ๆ เริ่มแวะ
เวียนมาหาเธอหลังเลิกเรียน ตอนแรกมีแค่ 2-3 คน ต่อมาก็มากันมากขึ้น จนเจย์เริ่มมือเป็นระวิง
ที่เตาบาร์บีคิวอีกครั้งและสนุกสนานกับการทำอาหารเลี้ยงทุกคน
เคลลี่ฝันจะเป็นทนายความ “หนูอยากช่วยคนที่เป็นเหยื่ออาชญากรรมหรือคนที่ถูกรังแกข่มเหง
หนูคิดว่าตัวเองน่าจะเก่งในงานแบบนี้” แม้โรคของเธอจะยังไม่บรรเทาและอาการยังคงลุกลาม
ต่อไป หมอบอกว่ากรณีของเคลลี่ไม่รุนแรง ศัลยกรรมตกแต่งอาจช่วยให้หน้าตาดูดีขึ้นได้
หมายเหตุ : ผู้เขียน (Lisa Collier Cool) เป็นนักเขียนบทความในนิตยสารและ
เขียนหนังสือหลายเล่มที่ให้ข้อมูลเชิงลึก เธอเป็นผู้ร่วมให้ข้อมูลประจำ
Yahoo Health, WebMD, นิตยสารออนไลน์และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ มากมาย
เธอเขียนบทความหาทุนสนับสนุนกองทุนช่วยเหลือฉุกเฉินนักเขียนของ
ASJA [American Society of Journalists and Authors] ซึ่งเป็นองค์กร
การกุศลที่เธอเป็นประธานระหว่างปี 2006-2016
***************
จี้รถบนทางหลวง ตอนที่ (. 1. )
โดย Anita Bartholomew จากนิตยสารสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2541
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
บ่ายของวันที่ 8 กรกฎาคม 2540 บนทางเหลวงเชื่อมรัฐสาย 75 ในรัฐฟลอริดา
อากาศร้อนอบอ้าว แต่อีดิธ ซิลเวอร์ วัย 59 แทบไม่รู้สึกถึงความร้อนในรถบีเอ็มดับบลิว
สีเขียวเปิดประทุนคันใหม่เอี่ยมที่ทะยานไปข้างหน้า ผมบลอนด์ตัดสั้นพลิ้วลู่ลม เธอกำลัง
เดินทางไปพักผ่อนก่อนเข้ารับงานใหม่เป็นตัวแทนขายอสังหาริมทรัพย์
ราว 5 กิโลเมตรก่อนถึงทางแยกออกจากทางหลวงสายหลัก เธอเห็นตำรวจทางหลวง
เรียกให้รถเชฟวีคันหนึ่งจอดข้างทาง หลังจากนั้นก็ไม่ได้ใส่ใจ
ทอม โรเดอริก เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐประจำกองกำกับการทางหลวงฟลอริดาสวมเสื้อเกราะกัน
กระสุนแม้อากาศจะร้อนอบอ้าวมากอย่างวันนี้ ประสบการณ์ 15 ปีสอนเขาว่า ในท้องที่นี้ให้รอบคอบ
ไว้ก่อนเป็นดีที่สุด
ชายหนุ่มท่าทางลุกลี้ลุกลน 2 คนนั่งอยู่ในรถเชฟวีที่ทอมเรียกให้จอดเนื่องจากกระจกหน้าร้าว
คนขับซึ่งตามใบขับขี่ระบุว่าชื่อ เดวิด จอร์จ จากเมืองกรีนวิล บอกว่าเขาสองคนยืมรถมาจากเพื่อน
แต่พอทอมถามชื่อเพื่อน พวกเขากลับจำไม่ได้
“คุณคงต้องดับเครื่องรถก่อน” ทอมบอก เมื่อเห็นจวนตัว เดวิดเหยียบคันเร่งจนสุดเพื่อหนีไปทันที
ทอมวิ่งไปที่รถแล้วขับกวดรถเชฟวีซึ่งแล่นด้วยความเร็วสูง ทันใดนั้น เขาเห็นคนขับยื่นแขนออกมา
นอกรถ พร้อมหันปากกระบอกปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติมาที่รถเขา
กระสุนหลายนัดพุ่งถูกกันชนแล้วแฉลบออก แต่นัดหนึ่งเจาะยางรถจนระเบิด ทอมพยายามบังคับ
รถสุดความสามารถ
ผู้โดยสารในรถเชฟวียังคงเล็งปืนมาที่กระจกหน้ารถของทอม “เพี้ยว!” กระสุนกระดอนออกจากหน้ารถ
ควันพวยพุ่งจากห้องเครื่องยนต์ด้านขวา ทอมจำใจหักพวงมาลัยเลี้ยวรถเข้าจอดข้างทางหลังวิทยุแจ้งเหตุ
ไปยังกองบัญชาการ
ขณะที่อีดิธชะลอรถเพื่อเลี้ยวออกสู่ถนนแยกเข้าเมือง ปรากฏว่ามีรถเชฟวีพุ่งแซงและปีนขึ้นไปบนไหล่
ทางที่ปลูกหญ้าไว้เขียวสด ก่อนจะเลี้ยวมาขวางช่องทางที่เธอกำลังจะไปพอดี อีดิธจอดรถดูเพื่อให้แน่ใจว่า
คนในรถเชฟวีไม่เป็นอะไร ยังไม่ทันได้ออกจากรถ ชายหนุ่มสองคนก็กระโดดจากรถเชฟวีเข้ามานั่งในรถ
เปิดประทุนของเธอ “ทำตามที่เราสั่ง” คนหนึ่งพูดพร้อมกับใช้ปืนจ่ออกเธอ “ถ้าขัดขืน...ตาย”
“ปล่อยฉันไปเถอะ” อีดิธครวญ “พวกคุณเอารถไปเลย”
“ไม่หรอก ป้าต่างหากที่จะเป็นคนขับให้เรา ออกรถเร็ว”
โปรดติดตามตอนที่ ( 2. )ในวันพรุ่งนี้
โดย Anita Bartholomew จากนิตยสารสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2541
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
บ่ายของวันที่ 8 กรกฎาคม 2540 บนทางเหลวงเชื่อมรัฐสาย 75 ในรัฐฟลอริดา
อากาศร้อนอบอ้าว แต่อีดิธ ซิลเวอร์ วัย 59 แทบไม่รู้สึกถึงความร้อนในรถบีเอ็มดับบลิว
สีเขียวเปิดประทุนคันใหม่เอี่ยมที่ทะยานไปข้างหน้า ผมบลอนด์ตัดสั้นพลิ้วลู่ลม เธอกำลัง
เดินทางไปพักผ่อนก่อนเข้ารับงานใหม่เป็นตัวแทนขายอสังหาริมทรัพย์
ราว 5 กิโลเมตรก่อนถึงทางแยกออกจากทางหลวงสายหลัก เธอเห็นตำรวจทางหลวง
เรียกให้รถเชฟวีคันหนึ่งจอดข้างทาง หลังจากนั้นก็ไม่ได้ใส่ใจ
ทอม โรเดอริก เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐประจำกองกำกับการทางหลวงฟลอริดาสวมเสื้อเกราะกัน
กระสุนแม้อากาศจะร้อนอบอ้าวมากอย่างวันนี้ ประสบการณ์ 15 ปีสอนเขาว่า ในท้องที่นี้ให้รอบคอบ
ไว้ก่อนเป็นดีที่สุด
ชายหนุ่มท่าทางลุกลี้ลุกลน 2 คนนั่งอยู่ในรถเชฟวีที่ทอมเรียกให้จอดเนื่องจากกระจกหน้าร้าว
คนขับซึ่งตามใบขับขี่ระบุว่าชื่อ เดวิด จอร์จ จากเมืองกรีนวิล บอกว่าเขาสองคนยืมรถมาจากเพื่อน
แต่พอทอมถามชื่อเพื่อน พวกเขากลับจำไม่ได้
“คุณคงต้องดับเครื่องรถก่อน” ทอมบอก เมื่อเห็นจวนตัว เดวิดเหยียบคันเร่งจนสุดเพื่อหนีไปทันที
ทอมวิ่งไปที่รถแล้วขับกวดรถเชฟวีซึ่งแล่นด้วยความเร็วสูง ทันใดนั้น เขาเห็นคนขับยื่นแขนออกมา
นอกรถ พร้อมหันปากกระบอกปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติมาที่รถเขา
กระสุนหลายนัดพุ่งถูกกันชนแล้วแฉลบออก แต่นัดหนึ่งเจาะยางรถจนระเบิด ทอมพยายามบังคับ
รถสุดความสามารถ
ผู้โดยสารในรถเชฟวียังคงเล็งปืนมาที่กระจกหน้ารถของทอม “เพี้ยว!” กระสุนกระดอนออกจากหน้ารถ
ควันพวยพุ่งจากห้องเครื่องยนต์ด้านขวา ทอมจำใจหักพวงมาลัยเลี้ยวรถเข้าจอดข้างทางหลังวิทยุแจ้งเหตุ
ไปยังกองบัญชาการ
ขณะที่อีดิธชะลอรถเพื่อเลี้ยวออกสู่ถนนแยกเข้าเมือง ปรากฏว่ามีรถเชฟวีพุ่งแซงและปีนขึ้นไปบนไหล่
ทางที่ปลูกหญ้าไว้เขียวสด ก่อนจะเลี้ยวมาขวางช่องทางที่เธอกำลังจะไปพอดี อีดิธจอดรถดูเพื่อให้แน่ใจว่า
คนในรถเชฟวีไม่เป็นอะไร ยังไม่ทันได้ออกจากรถ ชายหนุ่มสองคนก็กระโดดจากรถเชฟวีเข้ามานั่งในรถ
เปิดประทุนของเธอ “ทำตามที่เราสั่ง” คนหนึ่งพูดพร้อมกับใช้ปืนจ่ออกเธอ “ถ้าขัดขืน...ตาย”
“ปล่อยฉันไปเถอะ” อีดิธครวญ “พวกคุณเอารถไปเลย”
“ไม่หรอก ป้าต่างหากที่จะเป็นคนขับให้เรา ออกรถเร็ว”
โปรดติดตามตอนที่ ( 2. )ในวันพรุ่งนี้
จี้รถบนทางหลวง ตอนที่ (2)
โดย Anita Bartholomew จากนิตยสารสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2541
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
วิล คิลเมอร์ นักดำน้ำรับจ้างวัย 30 กำลังขับรถมุ่งหน้าไปพบลูกค้า ภาพที่เห็นบนทางหลวง
สาย 75 มีหลายอย่างสะดุดตา ตั้งแต่รถเชฟวีจอดขวางทางแยกเข้าเมือง ชายสองคนกระโดด
ออกมาแล้ววิ่งไปนั่งในรถเปิดประทุนโดยไม่ยอมเสียเวลาเปิดประตู เขาจับตาดูด้วยความสงสัย
และเห็นรถบีเอ็มดับบลิวเบนหัวกลับขึ้นทางหลวงสาย 75 เขาชะลอรถปล่อยให้รถเปิดประทุนแซง
ขึ้นไป จึงเห็นหน้าทุกคนในรถอย่างเต็มตา ผู้หญิงผมบลอนด์เป็นคนขับ ข้าง ๆ เป็นหนุ่มร่างผอม
ผมโกรกเป็นสีเงิน ส่วนหนุ่มนั่งหลังตัวใหญ่ ผมสีน้ำตาลอ่อน วิลจดทะเบียนรถ EDY SWTY ไว้ทันที
รถบีเอ็มดับบลิวเลี้ยวออกจากทางหลวงสาย 75 ตรงทางแยกถัดมาแล้วหายลับตาไป วิลเตือนตัวเองว่า
ยังต้องขับรถอีกไกลไปทำงาน และผู้หญิงในรถอาจนัดหมายมารับชายสองคนนั้นก็เป็นได้ แต่ที่สุดก็ตัด
สินใจเลี้ยวรถกลับตรงทางแยกต่อไปแล้วขับไปยังรถเชฟวีที่ชายสองคนจอดทิ้งไว้
บิลลี่ วัย 30 กับเดวิด น้องชายวัย 27 บอกกับอีดิธว่า เธอมีทางเลือกแค่ 2 ทาง คือทำทุกอย่างตามที่
พวกเขาสั่งแล้วมีชีวิตอยู่ต่อไป หรือตายทันทีถ้าอิดออดแม้แต่น้อย เมื่อนึกถึงลูกชายและหลาน ๆ
เธอก็ตัดสินใจโดยไม่ลังเล
เดวิดนั่งด้านหลัง บิลลี่ซึ่งนั่งคู่กับอีดิธสั่งให้เธอแซงซ้ายขวาหนีรถติด แล้วบอกให้เธอเอาประทุนขึ้น
พร้อมไขกระจกขึ้น เพื่อไม่ให้คนจำพวกเขาได้. ทางแยกต่อไปแน่นไปด้วยตำรวจรัฐซึ่งได้รับวิทยุแจ้ง
เหตุจากทอม เจ้าหน้าที่ตำรวจ วิลเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ตำรวจคนหนึ่ง “คุณตำรวจครับ พวกที่คุณ
กำลังตามหาเผ่นหนีไปหมดแล้ว” หลังจากนั้นวิลก็เล่าสิ่งที่พบเห็นจนจบ ตำรวจรัฐผู้นั้นจึงประสาน
ต่อไปยังตำรวจทุกหน่วยในรัฐฟลอริดาทันที “มองหารถบีเอ็มดับบลิวเปิดประทุนสีเขียว
หมายเลขทะเบียน EDY SWTY”
บิลลี่สูบบุหรี่มวนต่อมวนด้วยความตื่นเต้น แต่อีดิธคิดว่าเด็กหนุ่มคนนี้ฉลาดพอตัว เขาต้องการขู่
ให้เธอกลัวพอที่จะยอมทำตามคำสั่ง แต่ไม่ใช่ให้เธอกลัวจนลนลานขับรถไม่ได้
เดวิดอยากฟังวิทยุ แต่บิลลี่ไม่เห็นด้วย “พี่ไม่อยากฟังหรือว่า...” เดวิดถามเสียงสั่น
บิลลี่ตัดบท “ไม่” เห็นชัดว่าบิลลี่ไม่อยากให้อีดิธรู้เรื่องมากเกินไป
“เราถูกยัดข้อหาทั้งที่ไม่ได้ทำผิด” บิลลี่บอกเธอ “แต่ไม่มีใครเชื่อเรา”
“ถ้างั้น ฉันจะช่วยหาทนายให้เอามั้ยล่ะ” อีดิธเอ่ยขึ้น ทำสุ้มเสียงแสดงความเห็นอกเห็นใจมากที่สุด
บิลลี่ส่ายหัว “เรามีแล้ว”
“ฉันรู้จักทนายฝีมือเยี่ยมอยู่คนหนึ่งนะ” อีดิธไม่ยอมลดละ
โปรดติดตามตอนที่ (3)ในวันพรุ่งนี้
โดย Anita Bartholomew จากนิตยสารสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2541
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
วิล คิลเมอร์ นักดำน้ำรับจ้างวัย 30 กำลังขับรถมุ่งหน้าไปพบลูกค้า ภาพที่เห็นบนทางหลวง
สาย 75 มีหลายอย่างสะดุดตา ตั้งแต่รถเชฟวีจอดขวางทางแยกเข้าเมือง ชายสองคนกระโดด
ออกมาแล้ววิ่งไปนั่งในรถเปิดประทุนโดยไม่ยอมเสียเวลาเปิดประตู เขาจับตาดูด้วยความสงสัย
และเห็นรถบีเอ็มดับบลิวเบนหัวกลับขึ้นทางหลวงสาย 75 เขาชะลอรถปล่อยให้รถเปิดประทุนแซง
ขึ้นไป จึงเห็นหน้าทุกคนในรถอย่างเต็มตา ผู้หญิงผมบลอนด์เป็นคนขับ ข้าง ๆ เป็นหนุ่มร่างผอม
ผมโกรกเป็นสีเงิน ส่วนหนุ่มนั่งหลังตัวใหญ่ ผมสีน้ำตาลอ่อน วิลจดทะเบียนรถ EDY SWTY ไว้ทันที
รถบีเอ็มดับบลิวเลี้ยวออกจากทางหลวงสาย 75 ตรงทางแยกถัดมาแล้วหายลับตาไป วิลเตือนตัวเองว่า
ยังต้องขับรถอีกไกลไปทำงาน และผู้หญิงในรถอาจนัดหมายมารับชายสองคนนั้นก็เป็นได้ แต่ที่สุดก็ตัด
สินใจเลี้ยวรถกลับตรงทางแยกต่อไปแล้วขับไปยังรถเชฟวีที่ชายสองคนจอดทิ้งไว้
บิลลี่ วัย 30 กับเดวิด น้องชายวัย 27 บอกกับอีดิธว่า เธอมีทางเลือกแค่ 2 ทาง คือทำทุกอย่างตามที่
พวกเขาสั่งแล้วมีชีวิตอยู่ต่อไป หรือตายทันทีถ้าอิดออดแม้แต่น้อย เมื่อนึกถึงลูกชายและหลาน ๆ
เธอก็ตัดสินใจโดยไม่ลังเล
เดวิดนั่งด้านหลัง บิลลี่ซึ่งนั่งคู่กับอีดิธสั่งให้เธอแซงซ้ายขวาหนีรถติด แล้วบอกให้เธอเอาประทุนขึ้น
พร้อมไขกระจกขึ้น เพื่อไม่ให้คนจำพวกเขาได้. ทางแยกต่อไปแน่นไปด้วยตำรวจรัฐซึ่งได้รับวิทยุแจ้ง
เหตุจากทอม เจ้าหน้าที่ตำรวจ วิลเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ตำรวจคนหนึ่ง “คุณตำรวจครับ พวกที่คุณ
กำลังตามหาเผ่นหนีไปหมดแล้ว” หลังจากนั้นวิลก็เล่าสิ่งที่พบเห็นจนจบ ตำรวจรัฐผู้นั้นจึงประสาน
ต่อไปยังตำรวจทุกหน่วยในรัฐฟลอริดาทันที “มองหารถบีเอ็มดับบลิวเปิดประทุนสีเขียว
หมายเลขทะเบียน EDY SWTY”
บิลลี่สูบบุหรี่มวนต่อมวนด้วยความตื่นเต้น แต่อีดิธคิดว่าเด็กหนุ่มคนนี้ฉลาดพอตัว เขาต้องการขู่
ให้เธอกลัวพอที่จะยอมทำตามคำสั่ง แต่ไม่ใช่ให้เธอกลัวจนลนลานขับรถไม่ได้
เดวิดอยากฟังวิทยุ แต่บิลลี่ไม่เห็นด้วย “พี่ไม่อยากฟังหรือว่า...” เดวิดถามเสียงสั่น
บิลลี่ตัดบท “ไม่” เห็นชัดว่าบิลลี่ไม่อยากให้อีดิธรู้เรื่องมากเกินไป
“เราถูกยัดข้อหาทั้งที่ไม่ได้ทำผิด” บิลลี่บอกเธอ “แต่ไม่มีใครเชื่อเรา”
“ถ้างั้น ฉันจะช่วยหาทนายให้เอามั้ยล่ะ” อีดิธเอ่ยขึ้น ทำสุ้มเสียงแสดงความเห็นอกเห็นใจมากที่สุด
บิลลี่ส่ายหัว “เรามีแล้ว”
“ฉันรู้จักทนายฝีมือเยี่ยมอยู่คนหนึ่งนะ” อีดิธไม่ยอมลดละ
โปรดติดตามตอนที่ (3)ในวันพรุ่งนี้
จี้รถบนทางหลวง ตอนที่ (. 3. )
โดย Anita Bartholomew จากนิตยสารสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2541
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
บิลลี่เล่าให้เธอฟังว่า นักล่าเงินรางวัลนั่งรถจี๊ปสีขาวไล่ล่าพวกเขา และกล่าวหาว่า เขากับน้อง
พังห้องในโรงแรมแห่งหนึ่งเสียหายยับเยิน อีดิธไม่เชื่อเรื่องที่พวกเขาเล่า แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ
เธอต้องการให้เขาพูดไปเรื่อย ๆ
ประสบการณ์นานปีในอาชีพการขายสอนให้เธอพูดกับผู้คนได้ทุกรูปแบบ เธอคาดว่าชายสองคนนี้ว
างแผนจะฆ่าเธอเพราะสามารถชี้ตัวพวกเขาได้ แต่ถ้าพูดโน้มน้าวให้เห็นว่าเธอเป็นพันธมิตร พวกเขา
อาจไว้ชีวิตเธอ
ทอมวิทยุไปขอข้อมูลของเดวิดตามใบขับขี่ที่ยึดไว้ สำนักงานนายอำเภอเมืองกรีนวิล แจ้งกลับว่า
ทางการกำลังตามจับสองพี่น้องในคดีอุกฉกรรจ์หลายคดี รวมทั้งคดีจับตัวเรียกค่าไถ่และปล้นธนาคาร
นายจ้างของเดวิดแจ้งว่า เดวิดขโมยรถเชฟวีของเขาไป อีกเรื่องที่น่ากลัวคือ ตากับยายของสองพี่น้อง
ถูกฆ่าตายในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา และตำรวจสงสัยว่าเป็นฝีมือของเดวิดกับบิลลี่
อีดิธเริ่มฉายเสน่ห์ของเธอออกมา โดยพยายามหามุขสนุก ๆ มาคุยกับผู้ลักพาตัวเธอ
“นี่พ่อหนุ่ม” เธอทำเสียงเหมือนทั้งหมดเป็นเรื่องสนุกซึ่งตรงกันข้ามกับที่ใจคิดโดยสิ้นเชิง
“ถ้ามีคนเอาเรื่องนี้ไปทำหนัง เธออยากให้ใครแสดงเป็นตัวเธอล่ะ”
วิธีของอีดิธดูเหมือนจะได้ผล สองพี่น้องสงบลงมาก บิลลี่บอกว่าเธอทำให้เขานึกถึงแม่ แถมดุที่เธอ
ขับรถเปิดประทุนเดินทางคนเดียว และบอกว่าเหตุนี้แหละทำให้เธอตกเป็นเป้าการจี้รถ อย่างไรก็ดี
ตลอดเวลา ที่พูด เขายังคงจี้ปืนมาที่เธออยู่
ตอนนี้ รถบีเอ็มดับบลิวแล่นอยู่บนทางหลวงสาย 41 ถนนเปลี่ยวสองช่องทางนี้ตัดผ่านวนอุทยาน
แห่งชาติเอเวอเกลดส์ (Everglades National Park) อีดิธหวังว่าบรรยากาศเอื่อยเฉื่อยรอบด้านจะ
ทำให้เธอเป็นฝ่ายได้เปรียบ บางทีผู้ลักพาตัวเธออาจผ่อนคลายถึงขั้นง่วงแล้วผล็อยหลับไป ซึ่งเปิด
โอกาสให้เธอส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือจากรถที่ผ่านไปมาได้
แต่ดูเหมือนเด็กหนุ่มจะรู้ว่าเธอกำลังคิดอะไรอยู่ บิลลี่พูดขึ้นว่า “อย่าคิดกระโดดลงจากรถเชียวนะ
ฉันยิงทันทีด้วย เข้าใจมั้ย”
“อย่ากลัวพวกมัน” อีดิธเตือนตัวเอง เธอเหลือบมองดูเขากำลังลูบปืน ตรวจกระสุน ยกขึ้นเล็งและ
ทำท่ายิง บิลลี่ดูท่าทางพออกพอใจ เขาเอนหลังแล้วจุดบุหรี่สูบอีกมวน
พวกเขาขับรถตามหลังรถบรรทุกน้ำมันไปหลายกิโลเมตรแล้ว บิลลี่บอกให้อีดิธเกาะตามไปติด ๆ
แล้วก็มีรถตำรวจรัฐคันหนึ่งขับสวนมา
บิลลี่เด้งตัวนั่งตรงเหมือนติดสปริง “ตำรวจคนนั้นมันมองหน้าฉัน” เขาตะโกน
“น่าจะเป็นผู้ต้องสงสัย” สิบตำรวจโท ไมเคิล นึกในใจ จะมีรถบีเอ็มดับบลิวสีเขียวสักกี่คันในละแวกนี้
เขาทิ้งช่วงให้รถผ่านไป 2-3 คันก่อนจะเลี้ยวกลับตามไป ถ้าคนร้ายเห็นเขา สถานการณ์จะต้องเลวร้าย
ลงทันที
โปรดติดตามตอนที่ (. 4 )ในวันพรุ่งนี้
โดย Anita Bartholomew จากนิตยสารสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2541
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
บิลลี่เล่าให้เธอฟังว่า นักล่าเงินรางวัลนั่งรถจี๊ปสีขาวไล่ล่าพวกเขา และกล่าวหาว่า เขากับน้อง
พังห้องในโรงแรมแห่งหนึ่งเสียหายยับเยิน อีดิธไม่เชื่อเรื่องที่พวกเขาเล่า แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ
เธอต้องการให้เขาพูดไปเรื่อย ๆ
ประสบการณ์นานปีในอาชีพการขายสอนให้เธอพูดกับผู้คนได้ทุกรูปแบบ เธอคาดว่าชายสองคนนี้ว
างแผนจะฆ่าเธอเพราะสามารถชี้ตัวพวกเขาได้ แต่ถ้าพูดโน้มน้าวให้เห็นว่าเธอเป็นพันธมิตร พวกเขา
อาจไว้ชีวิตเธอ
ทอมวิทยุไปขอข้อมูลของเดวิดตามใบขับขี่ที่ยึดไว้ สำนักงานนายอำเภอเมืองกรีนวิล แจ้งกลับว่า
ทางการกำลังตามจับสองพี่น้องในคดีอุกฉกรรจ์หลายคดี รวมทั้งคดีจับตัวเรียกค่าไถ่และปล้นธนาคาร
นายจ้างของเดวิดแจ้งว่า เดวิดขโมยรถเชฟวีของเขาไป อีกเรื่องที่น่ากลัวคือ ตากับยายของสองพี่น้อง
ถูกฆ่าตายในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา และตำรวจสงสัยว่าเป็นฝีมือของเดวิดกับบิลลี่
อีดิธเริ่มฉายเสน่ห์ของเธอออกมา โดยพยายามหามุขสนุก ๆ มาคุยกับผู้ลักพาตัวเธอ
“นี่พ่อหนุ่ม” เธอทำเสียงเหมือนทั้งหมดเป็นเรื่องสนุกซึ่งตรงกันข้ามกับที่ใจคิดโดยสิ้นเชิง
“ถ้ามีคนเอาเรื่องนี้ไปทำหนัง เธออยากให้ใครแสดงเป็นตัวเธอล่ะ”
วิธีของอีดิธดูเหมือนจะได้ผล สองพี่น้องสงบลงมาก บิลลี่บอกว่าเธอทำให้เขานึกถึงแม่ แถมดุที่เธอ
ขับรถเปิดประทุนเดินทางคนเดียว และบอกว่าเหตุนี้แหละทำให้เธอตกเป็นเป้าการจี้รถ อย่างไรก็ดี
ตลอดเวลา ที่พูด เขายังคงจี้ปืนมาที่เธออยู่
ตอนนี้ รถบีเอ็มดับบลิวแล่นอยู่บนทางหลวงสาย 41 ถนนเปลี่ยวสองช่องทางนี้ตัดผ่านวนอุทยาน
แห่งชาติเอเวอเกลดส์ (Everglades National Park) อีดิธหวังว่าบรรยากาศเอื่อยเฉื่อยรอบด้านจะ
ทำให้เธอเป็นฝ่ายได้เปรียบ บางทีผู้ลักพาตัวเธออาจผ่อนคลายถึงขั้นง่วงแล้วผล็อยหลับไป ซึ่งเปิด
โอกาสให้เธอส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือจากรถที่ผ่านไปมาได้
แต่ดูเหมือนเด็กหนุ่มจะรู้ว่าเธอกำลังคิดอะไรอยู่ บิลลี่พูดขึ้นว่า “อย่าคิดกระโดดลงจากรถเชียวนะ
ฉันยิงทันทีด้วย เข้าใจมั้ย”
“อย่ากลัวพวกมัน” อีดิธเตือนตัวเอง เธอเหลือบมองดูเขากำลังลูบปืน ตรวจกระสุน ยกขึ้นเล็งและ
ทำท่ายิง บิลลี่ดูท่าทางพออกพอใจ เขาเอนหลังแล้วจุดบุหรี่สูบอีกมวน
พวกเขาขับรถตามหลังรถบรรทุกน้ำมันไปหลายกิโลเมตรแล้ว บิลลี่บอกให้อีดิธเกาะตามไปติด ๆ
แล้วก็มีรถตำรวจรัฐคันหนึ่งขับสวนมา
บิลลี่เด้งตัวนั่งตรงเหมือนติดสปริง “ตำรวจคนนั้นมันมองหน้าฉัน” เขาตะโกน
“น่าจะเป็นผู้ต้องสงสัย” สิบตำรวจโท ไมเคิล นึกในใจ จะมีรถบีเอ็มดับบลิวสีเขียวสักกี่คันในละแวกนี้
เขาทิ้งช่วงให้รถผ่านไป 2-3 คันก่อนจะเลี้ยวกลับตามไป ถ้าคนร้ายเห็นเขา สถานการณ์จะต้องเลวร้าย
ลงทันที
โปรดติดตามตอนที่ (. 4 )ในวันพรุ่งนี้
จี้รถบนทางหลวง ตอนที่ ( 4 )โดย Anita Bartholomew
จากนิตยสารสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2541
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ไมเคิลเห็นป้ายทะเบียนชัดตอนที่อีดิธขับแซงรถอื่นตามรถบรรทุกน้ำมัน ใช่แล้ว...
EDY SWTY เจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยุแจ้งว่ากำลังสนับสนุนเขาอยู่ห่างจากเขาแค่ 2 นาที
“หยุดรถผู้ต้องสงสัยตรงนี้เลยดีกว่า” เขาวิทยุบอกไป
“รถน้ำมันไปไหน ป้าก็ขับตามไปทางนั้น” บิลลี่ย้ำเตือนอีดิธ แต่ปรากฏว่ารถบรรทุกน้ำมัน
ขับเปลี่ยนช่องทางเพื่อแซงรถที่ช้ากว่าตลอดเวลา
“มีรถวิ่งสวนมา” อีดิธร้อง ขณะหักหลบรถสวน
“ฉันบอกให้ตามติดไง” บิลลี่ตะโกนก้องรถ “แซงขึ้นไปเดี๋ยวนี้”
อีดิธมองไปข้างหน้า เห็นรถตำรวจรัฐจอดกะพริบไฟอยู่ตรงบริเวณสี่แยก การพูดจาเอาใจ
สองพี่น้องไม่จำเป็นอีกต่อไปแล้ว ตอนนี้เธอทำได้แค่ทำตามคำสั่งและสวดมนต์
“ตอนติดสัญญาณไฟแดง ป้าเข้าเลนซ้ายนะ” บิลลี่สั่ง อีดิธสบตาเดวิดผ่านกระจกส่องหลัง
และเห็นเขาจ่อปืนที่คอเธอ
ต่อจากนั้นเธอเห็นรถตำรวจรัฐขับไล่ตามขึ้นมาจากด้านหลัง
“ตายละ” อีดิธนึกในใจ “ถ้ายิงกันฉันต้องถูกลูกหลงแน่เลย”
บิลลี่ตรวจสอบความเรียบร้อยของปืนอีกครั้ง “พอไฟเปลี่ยน เหยียบให้มิดเลย” เขาบอก
ทันใดนั้นเอง รถตำรวจที่ไล่ตามมาวิ่งเข้าชนท้ายรถบีเอ็มดับบลิว กระแทกรถของอีดิธจนแฉลบ
ไปด้านข้าง ตำรวจรัฐวิ่งกรูเข้ามาทางด้านหน้าและด้านหลัง บิลลี่ตะโกนสวนออกมาว่า
“เดี๋ยวฉันฆ่าตัวประกันนะ” จากนั้นก็โผล่ไปนอกหน้าต่างพร้อมกับเล็งปืนใส่ตำรวจ
“รีบไปเดี๋ยวนี้” เขาร้องสั่งอีดิธ
เธอออกรถ กระสุนแฉลบกันชน นัดหนึ่งเฉียดหูเธอไปนิดเดียว เกิดมาไม่เคยได้ยินเสียงอะไร
น่ากลัวเท่าเสียงลูกปืน บิลลี่ถือปืนชะโงกตัวออกนอกรถ ส่วนเดวิดยิงผ่านกระจกหลัง
รถบีเอ็มดับบลิวพุ่งทะยานไปข้างหน้าเหมือนเหาะ แซงซ้ายแซงขวาด้วยความเร็วประมาณ
160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บิลลี่กลับเข้ามาในรถ เสื้อโชกเลือดสีแดงฉาน “ฉันถูกยิง” เขาพูด
เสียงเครือกับน้อง “คงไม่รอดแน่”
อีดิธฉวยโอกาสสุดท้ายนี้ “ยอมมอบตัวเสียเถิด” เธอบอกเดวิด “พี่เธอกำลังจะตายและเธอเอง
ก็คงหนีไม่รอด”
“ป้าแกพูดถูก” เดวิดบอก บิลลี่ส่งเสียงอ่อย ๆ มาว่าเห็นด้วย พอได้ยินแค่นั้น อีดิธก็กระแทกเท้า
ลงแป้นเบรกเต็มแรงจนท้ายปัด รถตำรวจที่วิ่งตามมา 2 คันพุ่งเข้าชนพร้อมกับขวางลำปิดถนน
ไว้หมด อีดิธรีบหมอบลงกับเบาะที่นั่ง
บิลลี่ค่อย ๆ ปีนออกทางหน้าต่าง ออลันโดเป็นตำรวจคนแรกที่วิ่งออกจากรถตรงเข้าไปจับตัวเขา
บิลลี่พยายามดิ้นรนต่อสู้ทั้ง ๆ ที่บาดเจ็บ “ฉันจะฆ่าแก” เขาร้องตะโกนไม่หยุดปาก
ตำรวจรัฐได้ยินเสียงปืนดังขึ้นหนึ่งนัด ด้วยความกลัวว่าออลันโดจะถูกคนร้ายยิง ไมเคิลจึงเหนี่ยวไก
ร่างไร้วิญญาณของบิลลี่พับคาอยู่กับหน้าต่างรถ
ตำรวจรัฐอีกคนหนึ่งกำลังปล้ำจับตัวเดวิดอยู่ตรงบริเวณชายป่า และฉีดสเปรย์พริกไทยใส่หน้าเดวิด
ขณะใส่กุญแจมือเขา
หลังจากพยายามโปรยเสน่ห์กับพวกวายร้ายมานาน 2 ชั่วโมงเพื่อรักษาชีวิต ถึงตอนนี้เหตุการณ์ร้าย
ผ่านพ้นไปแล้ว และอีดิธยังมีชีวิตอยู่
เดวิดถูกขังอยู่ที่เรือนจำรอการพิจารณาคดีจี้รถและลักพาตัวอีดิธ ซิลเวอร์ รวมทั้งคดียิงต่อสู้เจ้าหน้าที่
ตำรวจทางหลวง นอกจากนี้ยังตกเป็นจำเลยในคดีลักพาตัว บุกรุก ปล้นธนาคารและขโมยรถ รวมทั้ง
ถูกตั้งข้อหาโทษฐานสมรู้ร่วมคิดฆ่าตากับยายของเขาอีกด้วย
**********************
จบบริบูรณ์
จากนิตยสารสรรสาระ ฉบับเดือนตุลาคม 2541
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กอบกิจ ครุวรรณ
ไมเคิลเห็นป้ายทะเบียนชัดตอนที่อีดิธขับแซงรถอื่นตามรถบรรทุกน้ำมัน ใช่แล้ว...
EDY SWTY เจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยุแจ้งว่ากำลังสนับสนุนเขาอยู่ห่างจากเขาแค่ 2 นาที
“หยุดรถผู้ต้องสงสัยตรงนี้เลยดีกว่า” เขาวิทยุบอกไป
“รถน้ำมันไปไหน ป้าก็ขับตามไปทางนั้น” บิลลี่ย้ำเตือนอีดิธ แต่ปรากฏว่ารถบรรทุกน้ำมัน
ขับเปลี่ยนช่องทางเพื่อแซงรถที่ช้ากว่าตลอดเวลา
“มีรถวิ่งสวนมา” อีดิธร้อง ขณะหักหลบรถสวน
“ฉันบอกให้ตามติดไง” บิลลี่ตะโกนก้องรถ “แซงขึ้นไปเดี๋ยวนี้”
อีดิธมองไปข้างหน้า เห็นรถตำรวจรัฐจอดกะพริบไฟอยู่ตรงบริเวณสี่แยก การพูดจาเอาใจ
สองพี่น้องไม่จำเป็นอีกต่อไปแล้ว ตอนนี้เธอทำได้แค่ทำตามคำสั่งและสวดมนต์
“ตอนติดสัญญาณไฟแดง ป้าเข้าเลนซ้ายนะ” บิลลี่สั่ง อีดิธสบตาเดวิดผ่านกระจกส่องหลัง
และเห็นเขาจ่อปืนที่คอเธอ
ต่อจากนั้นเธอเห็นรถตำรวจรัฐขับไล่ตามขึ้นมาจากด้านหลัง
“ตายละ” อีดิธนึกในใจ “ถ้ายิงกันฉันต้องถูกลูกหลงแน่เลย”
บิลลี่ตรวจสอบความเรียบร้อยของปืนอีกครั้ง “พอไฟเปลี่ยน เหยียบให้มิดเลย” เขาบอก
ทันใดนั้นเอง รถตำรวจที่ไล่ตามมาวิ่งเข้าชนท้ายรถบีเอ็มดับบลิว กระแทกรถของอีดิธจนแฉลบ
ไปด้านข้าง ตำรวจรัฐวิ่งกรูเข้ามาทางด้านหน้าและด้านหลัง บิลลี่ตะโกนสวนออกมาว่า
“เดี๋ยวฉันฆ่าตัวประกันนะ” จากนั้นก็โผล่ไปนอกหน้าต่างพร้อมกับเล็งปืนใส่ตำรวจ
“รีบไปเดี๋ยวนี้” เขาร้องสั่งอีดิธ
เธอออกรถ กระสุนแฉลบกันชน นัดหนึ่งเฉียดหูเธอไปนิดเดียว เกิดมาไม่เคยได้ยินเสียงอะไร
น่ากลัวเท่าเสียงลูกปืน บิลลี่ถือปืนชะโงกตัวออกนอกรถ ส่วนเดวิดยิงผ่านกระจกหลัง
รถบีเอ็มดับบลิวพุ่งทะยานไปข้างหน้าเหมือนเหาะ แซงซ้ายแซงขวาด้วยความเร็วประมาณ
160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บิลลี่กลับเข้ามาในรถ เสื้อโชกเลือดสีแดงฉาน “ฉันถูกยิง” เขาพูด
เสียงเครือกับน้อง “คงไม่รอดแน่”
อีดิธฉวยโอกาสสุดท้ายนี้ “ยอมมอบตัวเสียเถิด” เธอบอกเดวิด “พี่เธอกำลังจะตายและเธอเอง
ก็คงหนีไม่รอด”
“ป้าแกพูดถูก” เดวิดบอก บิลลี่ส่งเสียงอ่อย ๆ มาว่าเห็นด้วย พอได้ยินแค่นั้น อีดิธก็กระแทกเท้า
ลงแป้นเบรกเต็มแรงจนท้ายปัด รถตำรวจที่วิ่งตามมา 2 คันพุ่งเข้าชนพร้อมกับขวางลำปิดถนน
ไว้หมด อีดิธรีบหมอบลงกับเบาะที่นั่ง
บิลลี่ค่อย ๆ ปีนออกทางหน้าต่าง ออลันโดเป็นตำรวจคนแรกที่วิ่งออกจากรถตรงเข้าไปจับตัวเขา
บิลลี่พยายามดิ้นรนต่อสู้ทั้ง ๆ ที่บาดเจ็บ “ฉันจะฆ่าแก” เขาร้องตะโกนไม่หยุดปาก
ตำรวจรัฐได้ยินเสียงปืนดังขึ้นหนึ่งนัด ด้วยความกลัวว่าออลันโดจะถูกคนร้ายยิง ไมเคิลจึงเหนี่ยวไก
ร่างไร้วิญญาณของบิลลี่พับคาอยู่กับหน้าต่างรถ
ตำรวจรัฐอีกคนหนึ่งกำลังปล้ำจับตัวเดวิดอยู่ตรงบริเวณชายป่า และฉีดสเปรย์พริกไทยใส่หน้าเดวิด
ขณะใส่กุญแจมือเขา
หลังจากพยายามโปรยเสน่ห์กับพวกวายร้ายมานาน 2 ชั่วโมงเพื่อรักษาชีวิต ถึงตอนนี้เหตุการณ์ร้าย
ผ่านพ้นไปแล้ว และอีดิธยังมีชีวิตอยู่
เดวิดถูกขังอยู่ที่เรือนจำรอการพิจารณาคดีจี้รถและลักพาตัวอีดิธ ซิลเวอร์ รวมทั้งคดียิงต่อสู้เจ้าหน้าที่
ตำรวจทางหลวง นอกจากนี้ยังตกเป็นจำเลยในคดีลักพาตัว บุกรุก ปล้นธนาคารและขโมยรถ รวมทั้ง
ถูกตั้งข้อหาโทษฐานสมรู้ร่วมคิดฆ่าตากับยายของเขาอีกด้วย
**********************
จบบริบูรณ์