บุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง พระสงฆ์และมรณสักขี นักบุญ-นักโทษ
งานศึกษารายกรณี คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เป็นบุญราศี
ประมวลประวัติชีวิต
ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ามาจากครอบครัวคาทอลิกไทยที่เก่าแก่ครอบครัวหนึ่งและเป็นสัตบุรุษของวัดนักบุญเปโตร นครปฐม ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศไทย ในบทนี้จะขอกล่าวถึงชีวิตในวัยเด็กและกระแสเรียกของท่าน เพื่อจะได้เข้าใจและทราบดีขึ้นเกี่ยวกับชีวิต ความเชื่อ และการตัดสินใจของท่าน
ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าเป็นบุตรคนแรกในจำนวน 5 คน ของยอแซฟ โปชัง และอักแนส เที่ยง กฤษบำรุง จากการตรวจสอบเอกสารของวัดนักบุญเปโตร สามพราน นครปฐม จากทะเบียนศีลแต่งงานของวัด ทราบว่า ยอแซฟ โปชัง และอักแนส เที่ยง รับศีลแต่งงานเมื่อ วันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1893 ทะเบียนศีลแต่งงานเลขที่ 186 โดยคุณพ่อจืลส์ กียู ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในเวลานั้น จากทะเบียนศีลล้างบาปของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ทราบว่าท่านเกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1895 ได้รับศีลล้างบาปเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1895 โด ยคุณพ่อเรอเน แปร์รอส ผู้ซึ่งต่อมาได้เป็นประมุขมิสซังสยามระหว่างปี ค.ศ. 1909-1947 ทะเบียนศีลล้างบาปเลขที่ 1645 ได้รับศาสนนามว่า "เบเนดิกโต"
ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ามีความผูกพันอยู่กับวัดมากพอสมควร คุณพ่อเจ้าอาวาสในเวลานั้น ได้แก่ คุณพ่อยอแซฟ แฟร์เลย์ จึงส่งท่านเข้าบ้านเณรเล็กพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้าบางช้าง ในปี ค.ศ. 1908
ยิ่งกว่านั้น ความสัมพันธ์ที่มีต่อวัด ยังเห็นได้จากพินัยกรรมของบิดาของท่าน ซึ่งทำขึ้นโดยมีพระสังฆราชเรอเน แปร์รอส เป็นพยาน นอกจากนี้ยังเห็นได้จากจดหมายของคุณพ่อเจ้าอาวาสอีกองค์หนึ่งคือ คุณพ่อเอวเยน เล็ตแชร์ ที่เขียนรายงานถึงพระสังฆราชเรอเน แปร์รอส เกี่ยวกับชีวิตของโปชังที่วัดนักบุญเปโตร ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายฉบับ
5. ตามหลักสูตรการเรียนเพื่อบวชเป็นพระสงฆ์ในสมัยนั้น ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้เรียนอยู่ในบ้านเณ รบางช้างเป็นเวลา 8 ปี และต้องทำหน้าที่ครูสอนศาสนาเป็นเวลา 4 ปี หลังจากนั้น จึงถูกส่งไปเรียนที่บ้านเณรใหญ่ที่ปีนังเป็นเวลาทั้งสิ้นอีก 6 ปี จึงได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1926 ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ รวมเวลาที่เรียนในบ้านเณรจนกระทั่งบวชเป็นพระสงฆ์ 18 ปี
ชีวิตการฝึกฝนตนเองที่บ้านเณรใหญ่ที่ปีนังได้รับการเอาใจใส่จากผู้ใหญ่ของบ้านเณรเป็นอย่างดี จากรา ยงานการประชุมคณะที่ปรึกษาบ้านเณรใหญ่ที่ปีนัง คณะผู้ใหญ่ได้พิจารณาอนุมัติเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1923 ให้สามเณรชุนกิมและเพื่อนสามเณรไทยของท่านอีก 4 คน ได้รับศีลบวชขั้น "ศีลโกน" สามเณรทั้ง 5 คนนี้ ได้แก่ เบเนดิกโต ชุนกิม กฤษบำรุง, เปาโล กลิ่น ผลสุวรรณ, เปโตร กิ๊น มิลลุกูล, เปโตร ถัง ลำเจริญพร และอเล็กซานเดอร์ ปลาด วิเศษรัตน์ ได้รับศีลโกนเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1923 โดยพระสังฆราชเมอแรล
ในปีต่อมา (1924) สามเณรทั้ง 5 คนนี้ก็ได้รับอนุม้ติให้รับศีลน้อย 4 ศีลคือ ศีลเปิดประตูโบสถ์ , ศีลอ่านพระคัมภีร์ , ศีลขับไล่ผีปีศาจ และศีลถือเทียน เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1924 พิธีดังกล่าวได้จัดให้มีขึ้นวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1924 โดยพระสังฆราชเมอแรลเช่นเดียวกัน วันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1925 เณรทั้ง 5 คน ได้รับศีลบวชขั้นซุบดีอาโกโน (อุปานุสงฆ์) และวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1925 ก็ได้รับศีลบวชขั้นดีอาโกโน (อนุสงฆ์ หรือสังฆานุกร)
นอกจากนี้ จากบันทึกรายงานการประชุมเดียวกันนี้เอง เรายังทราบด้วยว่าสังฆานุกรทั้ง 5 คน ได้ออกเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อรับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ โดยออกเดินทางจากปีนัง วันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1926 และตามที่เราทราบแล้ว สังฆานุกรทั้ง 5 คน ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1926 ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ โดยพระสังฆราชเรอเน แปร์รอส
1. ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบางนกแขวก (1926-1928)
6. ภารกิจแรกที่ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้รับคือ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสที่วัดบางนกแขวก (จังหวัดสมุทรสงคราม) โดยเป็นผู้ช่วยคุณพ่อดือรังด์ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในเวลานั้น
คุณพ่อดือรังด์และผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าเป็นผู้ให้การต้อนรับคณะสงฆ์ซาเลเซียนซึ่งเดินทางมาถึงในคืนวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1927 และอยู่ช่วยพระสงฆ์คณะนี้ในการส่งมอบงาน แนะนำงาน รวมทั้งผู้รับใช้ของพร ะเป็นเจ้าได้ช่วยสอนคำสอนแก่สามเณรซาเลเซียนจำนวน 16 คน และสอนภาษาไทยแก่บรรดาพระสงฆ์ซาเลเซียนอีกด้วย
"สามเณรในชั้นปรัชญาปีที่ 2 เรียนคำสอนเป็นเวลาครึ่งชั่วโมงทุกวัน สอนโดยคุณพ่อนิโคลาส เป็นภาษาไทยทั้งหมด ทั้งการบรรยายและการอธิบายต่างๆ สามเณรทุกคนพอใจมาก"
ดังนั้น นอกจากการทำงานอภิบาลสัตบุรุษแล้ว ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ายังได้ช่วยงานสอนภาษาไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย และการปกครองบรรดาพระสงฆ์และสามเณรด้วยใจกว้างขวางตลอดหนึ่งปีกว่า เมื่อเห็นว่าทุกอย่างพร้อมแล้ว คุณพ่อดือรังส์และผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าก็อำลาสมาชิกซาเลเซียนและสัตบุรุษวัดบางนกแขวกหลังวันฉลองวันขึ้นปีใหม่ของปีค.ศ. 1928 แล้วมอบทุกอย่างให้เป็นมรดกแก่คณะซาเลเซียนโดยไม่เอาอะไรติดตัวไปเลย
2. ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพิษณุโลก (1929-1930)
7. ความใจกว้างของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ายังปรากฏให้เห็นอีก เมื่อท่านได้รับมอบหมายให้ไปช่วยคุณพ่อมิราแบลที่จังหวัดพิษณุโลก ในปี ค.ศ. 1929 นี้เอง ท่านได้รับมอบหมายหน้าที่ให้สอนภาษาไทยแก่คุณพ่อมิราแบลผู้ซึ่งเพิ่งเดินทางมาถึงประเทศไทย เวลาเดียวกันผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ายังต้องเรียนภาษาจีนแคะและทำห น้าที่อภิบาลสัตบุรุษด้วย พระสังฆราชบรรจง อารีพรรค พระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลนคร สวรรค์ ได้เป็นพยานว่า :
"เท่าที่ข้าพเจ้าทราบ คุณพ่อนิโคลาสทำงานอยู่ที่วัดเซนต์นิโคลาส พิษณุโลก ข้าพเจ้าเชื่อว่าบรรดาสัตบุรุษมีความเคารพนับถือในตัวคุณพ่อเป็นอย่างมาก"
3.งานแพร่ธรรมของท่านทางภาคเหนือของประเทศไทย (1930-1937)
8. ในปี ค.ศ. 1930 คุณพ่อมิราแบลเริ่มขยายงานแพร่ธรรมของท่านไปยังภาคเหนือ ท่านขอพระสัง ฆราชแปร์รอสให้ส่งพระสงฆ์องค์หนึ่งไปแทนท่านที่พิษณุโลก และขอให้ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าไปทำงานร่ว มกับท่านที่เชียงใหม่
แต่งานนี้ไปเริ่มกันที่จังหวัดลำปาง คุณพ่อมิราแบลขอให้ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าประจำอยู่ที่ลำปาง ส่วนตัวท่านเองได้ขึ้นไปทางเหนือเพื่อทำงานที่เชียงใหม่ ที่ลำปาง ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าพยายามตามหาแกะที่หลงทางจำนวนหนึ่ง (พวกคริสตัง) กลับเข้าคอก งานนี้เป็นงานที่ยากลำบากมาก และหวังผลยาก แต่ก็เป็นงานที่คุ้มค่าอย่างยิ่ง
"ที่ลำปาง คุณพ่อนิโคลาสพยายามตามหาแกะที่หลงทางจำนวนหนึ่งกลับเข้าคอก งานนี้เป็นงานที่ยากลำ บากแล ะมีผลยาก แต่ก็ยิ่งมีบุญมาก กลุ่มคริสตังใหญ่ 2 แห่งทางภาคเหนือนี้ นับเป็นแหล่งงานใหม่ที่เปิดให้ทำการแพร่ธรรมแล ะเชิญชวนให้บุกเบิก ให้เราภาวนาขอเจ้าของนาเถิด เพราะการที่จะเก็บเกี่ยวได้มากนั้น ย่อมสุดแต่พระองค์ท่านจะโปรด"
คุณพ่อวิกตอร์ ลารเก ผู้ติดตามหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับชีวิตของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ได้กล่าวไว้ด้วยว่า ในปี ค.ศ. 1930 นี้เอง ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้สร้างวัดน้อยหลังแรกขึ้นนี่แสดงว่างานที่ยากลำบากและมีผลยากนี้ ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าไม่เคยท้อถอย และมุ่งมั่นพยายามจนบังเกิดผลขึ้นแล้ว
วันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1931 คุณพ่อมิราแบลได้ขอให้พระสังฆราชแปร์รอสส่งพระสงฆ์องค์หนึ่งไป อยู่กับผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าที่ลำปาง เพื่อผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าจะได้สามารถไปช่วยงานบุกเบิกที่เชียงใ หม่กับท่านได้อย่างเต็มที่
"ข้าพเจ้าเชื่อในขณะนี้ว่า เราจะเกิดผลสำเร็จในการทำงานชิ้นใหญ่นี้ ในสถานที่ซึ่งเต็มไปด้วยความหวังโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าพระคุณเจ้าจะส่งพระสงฆ์บางองค์มาที่ลำปางกับคุณพ่อนิโคลาส เหมือนที่ข้าพเจ้าได้แสดงความปรารถนา กับพระคุณเจ้าไปแล้ว อีกอย่างหนึ่ง จำเป็นจะต้องให้พระสงฆ์ที่มา ทำหน้าที่แทนคุณพ่อนิโคลาส เพื่อให้คุณพ่อนิโคลาสมาช่วยงานของข้าพเจ้า เพื่อข้าพเจ้าจะได้ให้คุณพ่อนิโคลาสทำงานที่นี่ หรือที่อื่นตามแต่สภาพแวดล้อมและความจำเป็น"
9. วันที่ 18 มกราคม ปีเดียวกัน (1931) คุณพ่อมิราแบลและผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าก็เข้าประจำอยู่ในที่ดินซึ่งคุณพ่อมิราแบลได้ซื้อไว้ เป็นอันว่างานบุกเบิกที่เชียงใหม่ได้ลงหลักปักฐานแล้ว
ตลอดระยะเวลา 2 ปีแรกที่เชียงใหม่ คุณพ่อทั้งสองได้ทำงานอย่างหนัก เดินทางอยู่ตลอดเวลา ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าพยายามติดตามงาน และหาครูคำสอนเพื่อไปสานงานต่อจากที่ท่านได้ทำไว้ตามสถาน ที่ต่างๆ อยู่เสมอ ได้แก่ : เวียงพร้าว , เชียงดาว , เวียงป่าเป้า , ลำปาง , น่าน , เชียงราย และเชียงใหม่ จนถึงปี ค.ศ. 1936
4. เจ้าอาวาสวัดโคราช และวัดโนนแก้ว (1937-1938)
10. ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโคราช ในระหว่างนี้ท่านได้มีโอกาสไปเทศน์เข้าเงียบให้แก่สัตบุรุษที่วัดบ้านหัน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากโคราชมากนัก การเข้าเงียบสิ้นสุดลงวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1937 ซึ่งเป็นวันฉลองนักบุญยอแซฟ และมีพิธีโปรดศีลมหาสนิทอย่างสง่า ซึ่งมีคาทอลิก 74 คน ได้รับศีลนี้จากจำนวนคาทอลิกทั้งหมด 160 คน
"คุณพ่อนิโคลาสซึ่งได้เทศน์เข้าเงียบให้กับคริสตังที่บ้านหัน ปิดท้ายด้วยการฉลองนักบุญยอแซฟ และมีพิธีโปรดศีลมหาสนิทอย่างสง่า มีคริสตังรับศีลมหาสนิททั้งหมด 74 คน จากจำนวนคริสตังทั้งหมด 160 คน นี่เป็นเรื่องที่วิเศษอย่างยิ่ง"
ที่วัดโคราชเอง งานหลักของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ได้แก่ การสอนคำสอน และการตามหาลูกแกะ ที่หลงทาง ท่านให้ความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของคริสตังและอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถนำคริสตังกลับมาเข้าวัดและให้ลูกหลานได้เรียนคำสอน
ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าสังเกตว่า สาเหตุประการหนึ่ง ได้แก่ ความยากจนของคริสตังที่ทำให้พวกเขาต้องแยกย้ายกันไปหากินตามที่ต่างๆ เมื่ออยู่ห่างวัด พวกเขาก็ไม่มีโอกาสได้รับศีลล้างบาป เพราะได้รับการเลี้ยงดูจากคนต่างศาสนา
ดังนั้น การกลับใจจึงเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะคนต่างศาสนาไม่ยอมให้ไปเรียนคำสอน ท่านเชื่อว่าผู้ที่ไม่สวดภาวนา ก็ไม่ได้รับพระหรรษทานซึ่งพระเป็นเจ้าประทานให้แก่ผู้มีความไว้วางใจ
หลังจากใช้เวลาพอสมควร ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ากล่าวว่า บัดนี้ท่านมีผู้ที่เตรียมตัวรับศีลล้างบาปหลายคน แต่ยังไม่ล้างบาปให้เพราะความเชื่อยังไม่มั่นคงเพียงพอ
"จากภาคเหนือสุดของมิสซัง ให้เราหันมาดูทางภาคตะวันออกบ้าง คุณพ่อนิโคลาส ซึ่งเวลานี้ดูแลรับผิดชอบวัด ที่โคราช เสริมข้อคิดเห็นต่างๆ ในรายงานของท่านซึ่งข้าพเจ้าได้แปลสรุปดังนี้ : พวกคริสตังส่วนมากยากจน ด้วยเหตุนี้จึง กระจายอยู่ตามที่ต่างๆ เพื่อหาเลี้ยงชีพ เมื่ออยู่ห่างจากวัด พวกเขาก็ขาดโอกาสที่จะรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ได้บ่อยครั้ง ทั้งยังไม่ได้ฟังการเทศน์และไม่ได้ฟังคำสอน พวกเขากลายเป็นคนเฉื่อยชาไปอย่างน่าอนาถ เมื่อพวกหญิงสาวไม่มีโอกาสได้แต่งงานกับหนุ่มคริสตัง ก็ไปอยู่กินกับคนต่างศาสนา; พวกเธอละอายไม่กล้ามาวัดสวดภาวนาหรือร่วมมิสซา; พวกลูกๆ ก็มิได้รับศีลล้างบาป และได้รับการเลี้ยงดูอย่างลูกคนต่างศาสนา คนเหล่านี้ที่อยู่กินกันอย่างไม่ถูกต้อง กลับใจยากมาก เพราะฝ่ายคนต่างศาสนาไม่ยอมมาเรียนคำสอน บางครั้งฝ่ายหญิงก็เป็นอุปสรรคเสียเอง ผมมีผู้เตรียมตัวรับศีลล้างบ าปหลายคนซึ่งเรียนคำสอนมานานแล้ว ผมยังไม่กล้าโปรดศีลล้างบาปให้ เพราะผมยังไม่ค่อยแน่ใจในความมั่นคงของพวกเขาเพียงพอ"
นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1938 เป็นต้นมา ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลกลุ่มคริสตัง วัดโนนแก้วด้วย จากจดหมายที่ท่านได้เขียนถึงพระสังฆราชแปร์รอสหลายฉบับ ทั้งจากโคราชและโนนแก้ว แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ที่ท่านมีต่องานที่รับผิดชอบ นอกจากนี้ยังได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำ ที่ใช้ในบทภาวนาต่างๆ ของพระศาสนจักรในเวลานั้นอีกด้วย เรายังพบได้อีกว่า ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ามีความห่วงใยต่อเพื่อนพระสงฆ์เสมอและพยายามหาทางช่วยเหลืออย่างเต็มที่ให้หลุดพ้นจากหนี้สิน รวมทั้งให้กำลังใจอยู่เสมอๆ เท่าที่สามารถ และจากความเป็นห่วงเป็นใยทั้งพระสงฆ์และบรรดาคริสตชนที่ท่านมีอยู่ตลอดเวลานี้เอง ท่านก็ทำหน้าที่นี้จนกระทั่งถูกจับ ถูกกล่าวหาว่า "เป็นแนวที่ 5 ของฝรั่งเศส" ในปี ค.ศ. 1941
CR. : http://www.catholic.or.th/.../bknicolas/bknicolas2.html
งานศึกษารายกรณี คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เป็นบุญราศี
ลักษณะทางศีลธรรม
11. เมื่อได้ศึกษาเอกสารต่างๆ และคำให้การของพยาน เราพบคุณธรรมหลายข้อของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า คุณธรรมเหล่านี้เป็นบ่อเกิดแห่งจิตตารมณ์ คุณธรรมแห่งความเชื่อและความรัก สิ่งเหล่านี้คือพลังในความเชื่อมั่นสำหรับท่านในการยอมรับความเป็นมรณสักขีตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในระหว่าง 6 ปี ที่ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าอยู่ที่บ้านเณรใหญ่ที่ปีนังนั้น เป็นหน้าที่ของคุณพ่ออธิการบ้านเณรจะต้องเขียนรายงานผลการเรียน ความประพฤติของสามเณร ให้แก่พระสังฆราชของสามเณรเหล่านั้นได้ทราบเป็นประจำทุกปี จากรายงานต่างๆ เหล่านี้ เราพบเฉพาะรายงานระหว่างปี ค.ศ. 1920-1924 ทั้งจากจดหมายเหตุของบ้านเณรใหญ่ที่ปีนัง และจากจดหมายต่างๆ ที่เก็บรักษาไว้ในหอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จากรายงานเหล่านี้เราทราบว่า ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าเป็นผู้มีความประพฤติดี , การเรียนอยู่ในขั้นดีพอใช้ , มีสุขภาพดี มีความขยันหมั่นเพียรเป็นที่น่าพอใจมาก อุปนิสัยโดยทั่วไปดี แต่มีนิสัยค่อนข้างอวดดี , หงุดหงิดง่าย อารมณ์อ่อนไหว และดื้อรั้น
คุณพ่ออธิการบ้านเณรใหญ่ที่ปีนังเวลานั้นคือ คุณพ่อยืสแตง ปาแยส เป็นอธิการบ้านเณรใหญ่ที่ปีนังระหว่างปี ค.ศ. 1917-1931 ได้เขียนจดหมายถึงพระสังฆราชเรอเน แปร์รอส รายงานว่า :
"ชุนกิมทำให้ข้าพเจ้าไม่พอใจมาก ความประพฤติภายนอกของเขาดีมาก แต่เขาเป็นคนอวดดี และข้าพเจ้าเชื่อว่าเขาไม่มีการตัดสินที่ถูกต้อง วันหนึ่งด้วยความใจร้อน ข้าพเจ้าเกรี้ยวกราดเขาด้วยความฉุนเฉียว และบอกให้เขารู้ถึงข้อบกพร่อง 4 อย่างของเขา ข้าพเจ้ายังเสริมอีกว่า ถ้าเขาไม่เปลี่ยนแปลงนิสัย เขาจะไปไม่ถึงศักดิ์สงฆ์เลย เขาสัญญากับข้าพเจ้าว่าจะปรับปรุงตัวเอง และขอร้องให้ข้าพเจ้าคอยตักเตือน ข้าพเจ้าหวังว่าเขาจะเปลี่ยนแปลง"
และในปีต่อมา คุณพ่อปาแยสได้เขียนรายงานความก้าวหน้าของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าดังต่อไปนี้ :
"ชุนกิมทำได้ดี ยังคงค่อนข้างหัวดื้ออยู่บ้าง เขามีเจตนาดีไม่ถือตามความพอใจของตน และยังทำตามคำแนะนำที่เราให้เขา"
ที่สุด ในปี ค.ศ. 1925 คุณพ่อปาแยสได้ชมสามเณรชุนกิมว่า ได้ปรับปรุงตัวดีขึ้น เป็นคนมีน้ำใจ , มีความศรัทธา , เอาจริงเอาจังในการทำงานโดยไม่ย่อท้อ และรู้จักทำตนให้เป็นที่พอใจคุณพ่อปาแยสได้เขียนในจดหมายลงวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1925 กล่าวว่า :
"ชุนกิมปรับปรุงตัวดีขึ้น เขาเป็นคนศรัทธา เอาจริงเอาจัง และไม่กลัวการทำงาน เป็นคนค่อนข้างมักน้อย"
จากเอกสารที่น่าสนใจเหล่านี้ ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ามีนิสัยเป็นตัวของตัวเอง และ ยังมีข้อบกพร่องตามประสามนุษย์ แต่เมื่อท่านตระหนักถึงหน้าที่สงฆ์ในอนาคต ก็สามารถละทิ้งน้ำใจตนเอง ปรับปรุงตัวจนเป็นที่พอใจของการอบรมให้เป็นพระสงฆ์ได้ และจากบุคลิกของท่านดังกล่าวนี้ ก็ยังนำประโยชน์ในการแพร่ธรรมของท่านในเวลาต่อมาอย่างมากด้วย
12. คุณพ่อมิราแบลยังได้กล่าวชมผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าว่าเป็นคนกระตือรือร้น ใจดี ศรัทธา ขยันขันแข็งในการทำงาน แม้ว่าจะชอบทำโดยลำพังโดยโดยไม่ปรึกษาคุณพ่อมิราแบล เลยก็ตาม
"คุณพ่อนิโคลาสเป็นคนที่เปี่ยมไปด้วยความกระตือรือร้นและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่... มันจะเป็นการดีกว่าถ้าอย่างน้อยเป็นเวลา 1 ปี และเลยกำหนดเวลาที่พระคุณเจ้าต้องการ คุณพ่อนิโคลาสจัดการทุกอย่างโดยมิได้ปรึกษาข้าพเจ้าเลย ไม่สนใจข้าพเจ้า และเขาตกลงเรื่องเหล่านั้นโดยตรงกับพระคุณเจ้า ข้าพเจ้าต้องการให้เขาเป็นอิสระจากข้าพเจ้า และข้าพเจ้าไม่มีอะไรมากไปกว่าต้องการอยู่ในที่ที่แท้จริงของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่ได้ต้องการให้ความ ชื่นชมของพระคุณเจ้าที่มีต่อคุณพ่อนิโคลาสลดน้อยลง เพราะเหตุว่าข้าพเจ้ามิได้มีความชื่นชมคุณพ่อนิโคลาสเพิ่มทวีขึ้น ข้าพเจ้าชื่นชมความศรัทธาของเขา , ความกระตือรือร้น , ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ , ความร้อนรนในการทำงานของเขาเป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง คือข้าพเจ้าเองที่ต้องปรับปรุงตัว"
นายเจริญ ราชบัวขาว ได้เห็นคุณธรรมต่างๆ ของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าและให้การว่า :
"ข้าพเจ้ารู้จักคุณพ่อนิโคลาสเป็นอย่างดีตลอดเวลาที่เราอยู่ด้วยกัน ในระหว่างที่พวกเราถูกขังคุก ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าท่านเป็นผู้ที่เคร่งครัดในศาสนา และเป็นผู้เสียสละเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นเสมอโดยยึดถือพระวรสาร ท่านสอนผู้คนให้รักเพื่อนมนุษย์ของพระเยซูเจ้าอย่างเคร่งครัด คุณพ่อเป็นคนพูดจริงทำจริง เด็ดขาด มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เท่าที่ข้าพเจ้าได้มีประสบการณ์กับพระสงฆ์หลายๆ องค์ ข้าพเจ้าเห็นว่าคุณพ่อนิโคลาสดีที่สุด เพราะท่า นเป็นผู้เสียสละเพื่อพี่น้องอย่างแท้จริง ยิ่งกว่านี้ ท่านไม่มีความโลภ แต่ทำทุกอย่างเพื่อส่วนรวมที่สุด ท่านได้สอนพวกเราอยู่เสมอให้มีความอดทน และปล่อยให้เป็นไปตามน้ำพระทัยของพระ ท่านบอกพวกเราว่า พวกเราถูกจับเป็นความพอใจของพระ ดังนั้น พวกเราจะต้องอดทน
เขายังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงคุณความดีเรื่องการแบ่งปันของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าด้วย
"เมื่อใดก็ตาม ที่ท่านได้รับอาหารจากญาติพี่น้อง ท่านก็แบ่งปันให้บรรดานักโทษ โดยเฉพาะพวกที่น่าสงสาร ท่านเป็นคนไม่เห็นแก่ตัว"
นางเง็กซี กิจสงวน ได้ยืนยันถึงคุณธรรมข้อนี้ดังต่อไปนี้ :
"ข้าพเจ้าเชื่ออย่างนั้น เพราะท่านเป็นพระสงฆ์ที่อดทน ที่ (ดิน) มรดกของบิดาคุณพ่อนิโคลาสฝากไว้ แต่ไม่ได้ให้ท่าน ท่านก็ไม่ได้ว่าอะไร"
จิตใจที่เสียสละ ได้รับการบอกเล่าอย่างชัดเจนโดย นายวันนา ไพรจันทึก :
"คุณพ่อนิโคลาสบอกกับชาวบ้านที่ถูกจับว่า ให้โยนความผิดให้ท่านผู้เดียว ชาวบ้านจะได้กลับบ้านได้ การนำเสนอคุณพ่อนิโคลาสเป็นบุญราศีนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าดี เหมาะสม เพราะท่านเป็นคนดี มีใจนักบุญ"
นายสุเทพ ศรีสุระ ได้ให้การเรื่องความศักดิ์สิทธิ์และงานอภิบาลของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าว่า :
"ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ สนใจงานอภิบาล เป็นที่รักของบรรดาสัตบุรุษ"
เขายังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า :
"ไม่มีใครว่าคุณพ่อ มีแต่คนว่าคุณพ่อนักบุญ"
สำหรับคุณธรรมเรื่องความรักและความเมตตา พยานได้กล่าวว่า :
"หลายคนเห็นและเล่าเหมือนกันว่า คุณพ่อไม่ห่วงข้าวของเลย ไม่ห่วงตัวของคุณพ่อเอง เอาอาหารไปแจกสัตบุรุษ คนคุกที่เจ็บป่วย คุณพ่อก็จะไปฟังแก้บาป ไปเตือนเขา ล้างบาปให้เขา"
สำหรับคุณธรรมเรื่องชีวิตสมถะ นายแก้ว พันธุ์สมบัติ ได้ให้การว่า :
"ลักษณะนิสัยของคุณพ่อเป็นคนโอบอ้อมอารี เข้ากันได้กับทุกคน กินอยู่ง่ายๆ เหมือนคนทั่วไป"
เขายังได้อธิบายถึงชีวิตการภาวนาของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าว่า :
"คุณพ่อมีชีวิตการภาวนา สวดภาวนาในวัดทุกวันราวๆ ตอนเย็นคุณพ่อใช้เวลาสวดนับเป็นชั่วโมง ข้าพเจ้าเชื่อว่าคุณพ่อนิโคลาสยอมทำตามน้ำพระทัยของพระและตายในคุกอย่างมรณสักขี"
นายประเสริฐ ศรีสุระ ได้ยืนยันถึงคุณธรรมข้อนี้ดังต่อไปนี้ :
"ตอนค่ำ คุณพ่อได้เชิญสัตบุรุษ เด็กๆ นักเรียน พ่อบ้าน แม่บ้าน ไปสวดตอนค่ำ สวดเสร็จ คุณพ่อได้สอนคำสอนต่อ ท่านรักเด็กมาก ท่านสอนคำสอนและแปลคำสอน สัตบุรุษก็รักคุณพ่อและชอบคุณพ่อ ท่านขยันและศรัทธามาก"
พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ทั้งหมดมีความคิดเห็นเหมือนกันเกี่ยวกับผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าว่า ท่านเปี่ยมไปด้วยคุณธรรมต่างๆ ซึ่งแสดงว่าผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าเปี่ยมไปด้วยความรัก ความเชื่อ และความไว้วางใจในพระเป็นเจ้า
13. คุณพ่อยัง-ปอล ลังฟังต์ ผู้เป็นหัวหน้าคณะกรรมาธิการด้านประวัติศาสตร์ และได้ศึกษาชีวิตของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ได้ชี้ให้เห็นถึงคุณธรรมบางข้อดังต่อไปนี้ :
"ท่านเป็นผู้ที่สวดภาวนาอย่างสม่ำเสมอคนหนึ่ง และกระตือรือร้นต่อการแพร่ธรรม รำพึงภาวนา สวดทำวัตร ทำมิสซา เทศน์สอน และเยี่ยมเยือนไม่แต่เฉพาะพวกคริสตังเท่านั้น แต่ยังไปเยี่ยมเยือนพวกที่ไม่ใช่คริสตังด้วย ข้าพเจ้าคิดว่าท่านเป็นแบบอย่างที่น่าทึ่ง"
คุณพ่อปิยะ โรจนะมารีวงศ์ ได้ให้ความคิดเห็นในเรื่องนี้ด้วย :
"ท่านเป็นผู้อุทิศทั้งความรักและการเป็นพระสงฆ์ที่กระตือรือร้น ท่านมีความซื่อสัตย์ต่อข้อคำสอนของพระศาสนจักร"
สำหรับคุณธรรมเรื่องความรัก ท่านกล่าวว่า :
"คนส่วนใหญ่ได้บอกว่าคุณพ่อนิโคลาสเป็นพระสงฆ์ที่ดีและศักดิ์สิทธิ์ โดยตัดสินจากชีวิตที่เรียบง่ายของท่าน ท่านเป็นนักบุญองค์หนึ่งในใจของสัตบุรุษ ท่านเอาใจใส่พวกเขาทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจ ท่านพยายามหาทางช่วยเหลือสัตบุรุษของท่านให้มีชีวิตที่ดีขึ้นอยู่เสมอๆ"
ที่สุด คุณพ่อปิยะได้สรุปเกี่ยวกับคุณธรรมต่างๆ ของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าดังต่อไปนี้ :
"เราอยากจะสรุปจุดเด่นของคุณสมบัติบางข้อของท่าน :
- คุณพ่อเป็นผู้มีความกระตือรือร้นในการที่จะทำการแพร่ธรรมเพื่อพระเป็นเจ้า ในจดหมายนั้นได้กล่าวถึงเรื่องการสอนคำสอน หรือบางครั้งบางคราวเมื่อคุณพ่อเดินทางไปพม่า ไปดูพระศาสนจักรในประเทศพม่านั้น ก็มักจะเปรียบเทียบงานของพระศาสนจักรพม่ากับงานของพระศาสนจักรในเมืองไทยเป็นอย่างไร
- คุณพ่อเป็นคนใจกว้าง ให้ความช่วยเหลือต่อผู้อื่น เป็นต้น ผู้ตกทุกข์ได้ยาก
- คุณพ่อเป็นคนเมตตากรุณา มีความรู้สึกรักและสงสารผู้อื่น เป็นต้น คนที่มีความยากลำบาก เวลาเดินทาง ลูกจ้างได้รับจ้างแบกของ คุณพ่อเห็นว่าเขาต้องแบกของหนัก เหนื่อยทั้งวัน เพื่อหวังจะได้ค่าจ้างเพื่อประทังชีวิตเพราะเขาเกิดมาเป็นคนจน
- คุณพ่อเป็นคนมีใจสุภาพ ทุกครั้งที่มีเรื่องราวในการปฏิบัติงาน เมื่อเกิดความไม่แน่ใจในข้อปฏิบัติบางข้อ ก็มักจะเขียนจดหมายมาปรึกษาพระสังฆราช และก็ปฏิบัติตามนั้น
- คุณพ่อเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มองเห็นความสำคัญของการศึกษา ดูแลเอาใจใส่ให้มีโรงเรียน เป็นต้น เต รียมบุคลากรที่จะมาเป็นครูสอนสำหรับเด็กนักเรียน คัดเลือกเด็กวัยรุ่นบางคนเพื่อส่งไปศึกษาเล่าเรียนในชั้นสูงขึ้น จบแล้วจะได้กลับมาเป็นครู
- คุณพ่อยังมีคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งคือ เป็นคนที่แม้ว่าถูกกดดัน ถูกกล่าวหาใส่ร้ายต่างๆ แม้คุณพ่อจะรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจก็ตาม ในที่สุด คุณพ่อก็ให้อภัย จะคิดและพูดเสมอว่าอุปสรรคที่ไหนก็มีทั้งสิ้น ขอให้เป็นน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า และพระเป็นเจ้านั้นได้รับเกียรติมงคล”
CR. : http://www.catholic.or.th/.../bknicolas/bknicolas3.html
ลักษณะทางศีลธรรม
11. เมื่อได้ศึกษาเอกสารต่างๆ และคำให้การของพยาน เราพบคุณธรรมหลายข้อของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า คุณธรรมเหล่านี้เป็นบ่อเกิดแห่งจิตตารมณ์ คุณธรรมแห่งความเชื่อและความรัก สิ่งเหล่านี้คือพลังในความเชื่อมั่นสำหรับท่านในการยอมรับความเป็นมรณสักขีตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในระหว่าง 6 ปี ที่ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าอยู่ที่บ้านเณรใหญ่ที่ปีนังนั้น เป็นหน้าที่ของคุณพ่ออธิการบ้านเณรจะต้องเขียนรายงานผลการเรียน ความประพฤติของสามเณร ให้แก่พระสังฆราชของสามเณรเหล่านั้นได้ทราบเป็นประจำทุกปี จากรายงานต่างๆ เหล่านี้ เราพบเฉพาะรายงานระหว่างปี ค.ศ. 1920-1924 ทั้งจากจดหมายเหตุของบ้านเณรใหญ่ที่ปีนัง และจากจดหมายต่างๆ ที่เก็บรักษาไว้ในหอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จากรายงานเหล่านี้เราทราบว่า ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าเป็นผู้มีความประพฤติดี , การเรียนอยู่ในขั้นดีพอใช้ , มีสุขภาพดี มีความขยันหมั่นเพียรเป็นที่น่าพอใจมาก อุปนิสัยโดยทั่วไปดี แต่มีนิสัยค่อนข้างอวดดี , หงุดหงิดง่าย อารมณ์อ่อนไหว และดื้อรั้น
คุณพ่ออธิการบ้านเณรใหญ่ที่ปีนังเวลานั้นคือ คุณพ่อยืสแตง ปาแยส เป็นอธิการบ้านเณรใหญ่ที่ปีนังระหว่างปี ค.ศ. 1917-1931 ได้เขียนจดหมายถึงพระสังฆราชเรอเน แปร์รอส รายงานว่า :
"ชุนกิมทำให้ข้าพเจ้าไม่พอใจมาก ความประพฤติภายนอกของเขาดีมาก แต่เขาเป็นคนอวดดี และข้าพเจ้าเชื่อว่าเขาไม่มีการตัดสินที่ถูกต้อง วันหนึ่งด้วยความใจร้อน ข้าพเจ้าเกรี้ยวกราดเขาด้วยความฉุนเฉียว และบอกให้เขารู้ถึงข้อบกพร่อง 4 อย่างของเขา ข้าพเจ้ายังเสริมอีกว่า ถ้าเขาไม่เปลี่ยนแปลงนิสัย เขาจะไปไม่ถึงศักดิ์สงฆ์เลย เขาสัญญากับข้าพเจ้าว่าจะปรับปรุงตัวเอง และขอร้องให้ข้าพเจ้าคอยตักเตือน ข้าพเจ้าหวังว่าเขาจะเปลี่ยนแปลง"
และในปีต่อมา คุณพ่อปาแยสได้เขียนรายงานความก้าวหน้าของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าดังต่อไปนี้ :
"ชุนกิมทำได้ดี ยังคงค่อนข้างหัวดื้ออยู่บ้าง เขามีเจตนาดีไม่ถือตามความพอใจของตน และยังทำตามคำแนะนำที่เราให้เขา"
ที่สุด ในปี ค.ศ. 1925 คุณพ่อปาแยสได้ชมสามเณรชุนกิมว่า ได้ปรับปรุงตัวดีขึ้น เป็นคนมีน้ำใจ , มีความศรัทธา , เอาจริงเอาจังในการทำงานโดยไม่ย่อท้อ และรู้จักทำตนให้เป็นที่พอใจคุณพ่อปาแยสได้เขียนในจดหมายลงวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1925 กล่าวว่า :
"ชุนกิมปรับปรุงตัวดีขึ้น เขาเป็นคนศรัทธา เอาจริงเอาจัง และไม่กลัวการทำงาน เป็นคนค่อนข้างมักน้อย"
จากเอกสารที่น่าสนใจเหล่านี้ ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ามีนิสัยเป็นตัวของตัวเอง และ ยังมีข้อบกพร่องตามประสามนุษย์ แต่เมื่อท่านตระหนักถึงหน้าที่สงฆ์ในอนาคต ก็สามารถละทิ้งน้ำใจตนเอง ปรับปรุงตัวจนเป็นที่พอใจของการอบรมให้เป็นพระสงฆ์ได้ และจากบุคลิกของท่านดังกล่าวนี้ ก็ยังนำประโยชน์ในการแพร่ธรรมของท่านในเวลาต่อมาอย่างมากด้วย
12. คุณพ่อมิราแบลยังได้กล่าวชมผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าว่าเป็นคนกระตือรือร้น ใจดี ศรัทธา ขยันขันแข็งในการทำงาน แม้ว่าจะชอบทำโดยลำพังโดยโดยไม่ปรึกษาคุณพ่อมิราแบล เลยก็ตาม
"คุณพ่อนิโคลาสเป็นคนที่เปี่ยมไปด้วยความกระตือรือร้นและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่... มันจะเป็นการดีกว่าถ้าอย่างน้อยเป็นเวลา 1 ปี และเลยกำหนดเวลาที่พระคุณเจ้าต้องการ คุณพ่อนิโคลาสจัดการทุกอย่างโดยมิได้ปรึกษาข้าพเจ้าเลย ไม่สนใจข้าพเจ้า และเขาตกลงเรื่องเหล่านั้นโดยตรงกับพระคุณเจ้า ข้าพเจ้าต้องการให้เขาเป็นอิสระจากข้าพเจ้า และข้าพเจ้าไม่มีอะไรมากไปกว่าต้องการอยู่ในที่ที่แท้จริงของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่ได้ต้องการให้ความ ชื่นชมของพระคุณเจ้าที่มีต่อคุณพ่อนิโคลาสลดน้อยลง เพราะเหตุว่าข้าพเจ้ามิได้มีความชื่นชมคุณพ่อนิโคลาสเพิ่มทวีขึ้น ข้าพเจ้าชื่นชมความศรัทธาของเขา , ความกระตือรือร้น , ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ , ความร้อนรนในการทำงานของเขาเป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง คือข้าพเจ้าเองที่ต้องปรับปรุงตัว"
นายเจริญ ราชบัวขาว ได้เห็นคุณธรรมต่างๆ ของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าและให้การว่า :
"ข้าพเจ้ารู้จักคุณพ่อนิโคลาสเป็นอย่างดีตลอดเวลาที่เราอยู่ด้วยกัน ในระหว่างที่พวกเราถูกขังคุก ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าท่านเป็นผู้ที่เคร่งครัดในศาสนา และเป็นผู้เสียสละเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นเสมอโดยยึดถือพระวรสาร ท่านสอนผู้คนให้รักเพื่อนมนุษย์ของพระเยซูเจ้าอย่างเคร่งครัด คุณพ่อเป็นคนพูดจริงทำจริง เด็ดขาด มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เท่าที่ข้าพเจ้าได้มีประสบการณ์กับพระสงฆ์หลายๆ องค์ ข้าพเจ้าเห็นว่าคุณพ่อนิโคลาสดีที่สุด เพราะท่า นเป็นผู้เสียสละเพื่อพี่น้องอย่างแท้จริง ยิ่งกว่านี้ ท่านไม่มีความโลภ แต่ทำทุกอย่างเพื่อส่วนรวมที่สุด ท่านได้สอนพวกเราอยู่เสมอให้มีความอดทน และปล่อยให้เป็นไปตามน้ำพระทัยของพระ ท่านบอกพวกเราว่า พวกเราถูกจับเป็นความพอใจของพระ ดังนั้น พวกเราจะต้องอดทน
เขายังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงคุณความดีเรื่องการแบ่งปันของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าด้วย
"เมื่อใดก็ตาม ที่ท่านได้รับอาหารจากญาติพี่น้อง ท่านก็แบ่งปันให้บรรดานักโทษ โดยเฉพาะพวกที่น่าสงสาร ท่านเป็นคนไม่เห็นแก่ตัว"
นางเง็กซี กิจสงวน ได้ยืนยันถึงคุณธรรมข้อนี้ดังต่อไปนี้ :
"ข้าพเจ้าเชื่ออย่างนั้น เพราะท่านเป็นพระสงฆ์ที่อดทน ที่ (ดิน) มรดกของบิดาคุณพ่อนิโคลาสฝากไว้ แต่ไม่ได้ให้ท่าน ท่านก็ไม่ได้ว่าอะไร"
จิตใจที่เสียสละ ได้รับการบอกเล่าอย่างชัดเจนโดย นายวันนา ไพรจันทึก :
"คุณพ่อนิโคลาสบอกกับชาวบ้านที่ถูกจับว่า ให้โยนความผิดให้ท่านผู้เดียว ชาวบ้านจะได้กลับบ้านได้ การนำเสนอคุณพ่อนิโคลาสเป็นบุญราศีนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าดี เหมาะสม เพราะท่านเป็นคนดี มีใจนักบุญ"
นายสุเทพ ศรีสุระ ได้ให้การเรื่องความศักดิ์สิทธิ์และงานอภิบาลของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าว่า :
"ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ สนใจงานอภิบาล เป็นที่รักของบรรดาสัตบุรุษ"
เขายังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า :
"ไม่มีใครว่าคุณพ่อ มีแต่คนว่าคุณพ่อนักบุญ"
สำหรับคุณธรรมเรื่องความรักและความเมตตา พยานได้กล่าวว่า :
"หลายคนเห็นและเล่าเหมือนกันว่า คุณพ่อไม่ห่วงข้าวของเลย ไม่ห่วงตัวของคุณพ่อเอง เอาอาหารไปแจกสัตบุรุษ คนคุกที่เจ็บป่วย คุณพ่อก็จะไปฟังแก้บาป ไปเตือนเขา ล้างบาปให้เขา"
สำหรับคุณธรรมเรื่องชีวิตสมถะ นายแก้ว พันธุ์สมบัติ ได้ให้การว่า :
"ลักษณะนิสัยของคุณพ่อเป็นคนโอบอ้อมอารี เข้ากันได้กับทุกคน กินอยู่ง่ายๆ เหมือนคนทั่วไป"
เขายังได้อธิบายถึงชีวิตการภาวนาของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าว่า :
"คุณพ่อมีชีวิตการภาวนา สวดภาวนาในวัดทุกวันราวๆ ตอนเย็นคุณพ่อใช้เวลาสวดนับเป็นชั่วโมง ข้าพเจ้าเชื่อว่าคุณพ่อนิโคลาสยอมทำตามน้ำพระทัยของพระและตายในคุกอย่างมรณสักขี"
นายประเสริฐ ศรีสุระ ได้ยืนยันถึงคุณธรรมข้อนี้ดังต่อไปนี้ :
"ตอนค่ำ คุณพ่อได้เชิญสัตบุรุษ เด็กๆ นักเรียน พ่อบ้าน แม่บ้าน ไปสวดตอนค่ำ สวดเสร็จ คุณพ่อได้สอนคำสอนต่อ ท่านรักเด็กมาก ท่านสอนคำสอนและแปลคำสอน สัตบุรุษก็รักคุณพ่อและชอบคุณพ่อ ท่านขยันและศรัทธามาก"
พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ทั้งหมดมีความคิดเห็นเหมือนกันเกี่ยวกับผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าว่า ท่านเปี่ยมไปด้วยคุณธรรมต่างๆ ซึ่งแสดงว่าผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าเปี่ยมไปด้วยความรัก ความเชื่อ และความไว้วางใจในพระเป็นเจ้า
13. คุณพ่อยัง-ปอล ลังฟังต์ ผู้เป็นหัวหน้าคณะกรรมาธิการด้านประวัติศาสตร์ และได้ศึกษาชีวิตของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ได้ชี้ให้เห็นถึงคุณธรรมบางข้อดังต่อไปนี้ :
"ท่านเป็นผู้ที่สวดภาวนาอย่างสม่ำเสมอคนหนึ่ง และกระตือรือร้นต่อการแพร่ธรรม รำพึงภาวนา สวดทำวัตร ทำมิสซา เทศน์สอน และเยี่ยมเยือนไม่แต่เฉพาะพวกคริสตังเท่านั้น แต่ยังไปเยี่ยมเยือนพวกที่ไม่ใช่คริสตังด้วย ข้าพเจ้าคิดว่าท่านเป็นแบบอย่างที่น่าทึ่ง"
คุณพ่อปิยะ โรจนะมารีวงศ์ ได้ให้ความคิดเห็นในเรื่องนี้ด้วย :
"ท่านเป็นผู้อุทิศทั้งความรักและการเป็นพระสงฆ์ที่กระตือรือร้น ท่านมีความซื่อสัตย์ต่อข้อคำสอนของพระศาสนจักร"
สำหรับคุณธรรมเรื่องความรัก ท่านกล่าวว่า :
"คนส่วนใหญ่ได้บอกว่าคุณพ่อนิโคลาสเป็นพระสงฆ์ที่ดีและศักดิ์สิทธิ์ โดยตัดสินจากชีวิตที่เรียบง่ายของท่าน ท่านเป็นนักบุญองค์หนึ่งในใจของสัตบุรุษ ท่านเอาใจใส่พวกเขาทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจ ท่านพยายามหาทางช่วยเหลือสัตบุรุษของท่านให้มีชีวิตที่ดีขึ้นอยู่เสมอๆ"
ที่สุด คุณพ่อปิยะได้สรุปเกี่ยวกับคุณธรรมต่างๆ ของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าดังต่อไปนี้ :
"เราอยากจะสรุปจุดเด่นของคุณสมบัติบางข้อของท่าน :
- คุณพ่อเป็นผู้มีความกระตือรือร้นในการที่จะทำการแพร่ธรรมเพื่อพระเป็นเจ้า ในจดหมายนั้นได้กล่าวถึงเรื่องการสอนคำสอน หรือบางครั้งบางคราวเมื่อคุณพ่อเดินทางไปพม่า ไปดูพระศาสนจักรในประเทศพม่านั้น ก็มักจะเปรียบเทียบงานของพระศาสนจักรพม่ากับงานของพระศาสนจักรในเมืองไทยเป็นอย่างไร
- คุณพ่อเป็นคนใจกว้าง ให้ความช่วยเหลือต่อผู้อื่น เป็นต้น ผู้ตกทุกข์ได้ยาก
- คุณพ่อเป็นคนเมตตากรุณา มีความรู้สึกรักและสงสารผู้อื่น เป็นต้น คนที่มีความยากลำบาก เวลาเดินทาง ลูกจ้างได้รับจ้างแบกของ คุณพ่อเห็นว่าเขาต้องแบกของหนัก เหนื่อยทั้งวัน เพื่อหวังจะได้ค่าจ้างเพื่อประทังชีวิตเพราะเขาเกิดมาเป็นคนจน
- คุณพ่อเป็นคนมีใจสุภาพ ทุกครั้งที่มีเรื่องราวในการปฏิบัติงาน เมื่อเกิดความไม่แน่ใจในข้อปฏิบัติบางข้อ ก็มักจะเขียนจดหมายมาปรึกษาพระสังฆราช และก็ปฏิบัติตามนั้น
- คุณพ่อเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มองเห็นความสำคัญของการศึกษา ดูแลเอาใจใส่ให้มีโรงเรียน เป็นต้น เต รียมบุคลากรที่จะมาเป็นครูสอนสำหรับเด็กนักเรียน คัดเลือกเด็กวัยรุ่นบางคนเพื่อส่งไปศึกษาเล่าเรียนในชั้นสูงขึ้น จบแล้วจะได้กลับมาเป็นครู
- คุณพ่อยังมีคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งคือ เป็นคนที่แม้ว่าถูกกดดัน ถูกกล่าวหาใส่ร้ายต่างๆ แม้คุณพ่อจะรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจก็ตาม ในที่สุด คุณพ่อก็ให้อภัย จะคิดและพูดเสมอว่าอุปสรรคที่ไหนก็มีทั้งสิ้น ขอให้เป็นน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า และพระเป็นเจ้านั้นได้รับเกียรติมงคล”
CR. : http://www.catholic.or.th/.../bknicolas/bknicolas3.html
แก้ไขล่าสุดโดย Arttise เมื่อ พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 4:57 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
งานศึกษารายกรณี คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เป็นบุญราศี
การเบียดเบียนศาสนาในประเทศไทย
1. เบื้องหลังการเบียดเบียนศาสนาในประเทศไทย
14. ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1932 โดยเปลี่ยนจากการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย พันเอก หลวงพิบูลสงคราม ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 1938
รัฐบาลชุดนี้มีความรู้สึกชาตินิยมสูง ในขณะนั้น ญี่ปุ่นซึ่งยึดแมนจูเรียได้ กำลังดำเนินนโยบายขยายอิทธิพลในทวีปเอเชียโดยใช้คำขวัญว่า "เอเชียสำหรับชาวเอเชีย" เพื่อต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมของชาวตะวันตกในทวีปเอเชีย นโยบายนี้นับได้ว่าสอดคล้องกับลัทธิชาตินิยมซึ่งกำลังก่อตัวขึ้นในประเทศไทย (ดร. เพ็ญศรี ดุ๊ก, การต่างประเทศกับเอกราชและอธิปไตยของไทย..., กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์, 1984, หน้า 129)
สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1939 รัฐบาลไทยประกาศตัวเป็นกลาง และหวั่นเกรงว่าปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างไทยและอังกฤษ (ซึ่งปกครองพม่าอยู่ในเวลานั้น) และระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (ซึ่งปกครองอินโดจีนอยู่ในขณะนั้น) อาจจะกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างกัน จึงขอปรับปรุงเส้น เขตแดนกับประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส การดำเนินการนี้เป็นผลสำเร็จกับประเทศอังกฤษ แต่ล้มเหลวกับประเทศฝรั่งเศส
ปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดการสู้รบระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 ตามชายแดนอินโดจีน และตามน่านน้ำบริเวณเกาะช้าง ซึ่งเราเรียกกันโดยรวมว่า "สงครามอินโดจีน" ในที่สุด ประเทศญี่ปุ่นได้เข้ามาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทนี้ โดยมีการลงนาม "อนุสัญญาโตเกียว"เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 ประเทศไทยได้รับดินแดนคืนจากประเทศฝรั่งเศส คือดินแดนทั้งหมดที่ประเทศไทยเคยสูญเสียใ ห้แก่ประเทศฝรั่งเศสเมื่อปีค.ศ. 1904 และปี ค.ศ. 1907 สาเหตุประการหนึ่งที่ ประเทศฝรั่งเศสจำต้องยกดินแดนคืนให้ประเทศไทยก็ คือ ประเทศฝรั่งเศสปราชัยต่อประเทศเยอรมัน และลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกกับประเทศเยอรมันในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1940 (ดร. เพ็ญศรี ดุ๊ก, การต่างประเทศกับเอกราชและอธิปไตยของไทย..., กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์, 1984, หน้า 129)
15. ปัจจัยที่สำคัญบางข้อที่ทำให้คนไทยมีท่าทีเป็นศัตรูต่อชาวฝรั่งเศสก็คือ :
1. การสูญเสียดินแดนถึง 481,600 ตารางกิโลเมตร แก่ประเทศฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1893, 1904 และ 1907 ก่อให้เกิดการต่อสู้และความเกลียดชังชาวฝรั่งเศสมาแล้ว
2. ศาสนาคริสต์ถูกถือว่าเป็นศาสนาของชาวฝรั่งเศสดังนั้นผู้ที่ถือศาสนาคริสต์จึงถูกมองว่าเป็นศัตรู
3. ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม กระแสแห่งชาตินิยมทวีมากขึ้น มีการเรียกร้องดินแดนคืนจากประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1940 บรรดานิสิตนักศึกษาและนักเรียนเตรียมอุดมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินขบวนเรียกร้องดินแดนคืนจากประเทศฝรั่งเศส และได้รับการต้อนรับอย่างดีจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
4. กรณีพิพาทอินโดจีน ทำให้ประชาชนชาวไทยถือว่าชาวฝรั่งเศสเป็นศัตรู รวมทั้งศาสนาคริสต์ในประเทศไทยด้วย
ในรายงานของพระสังฆราชกูแอง ประมุขมิสซังลาว (ระหว่างปี ค.ศ. 1925-1945) ลงวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1941 จากหอจดหมายเหตุของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส สรุปสถานการณ์นี้ไว้อย่างละเอียดว่า
"อันดับต่อไป หลังจากการเดินทางออกจากประเทศไทยของพวกเรา การเบียดเบียนศาสนาก็เริ่มขึ้น คำสั่งที่บอกว่า 'ประชาชนชาวไทยมีเพียงศาสนาเดียวคือศาสนาพุทธ' กรมการรักษาดินแดน ซึ่งประกอบไปด้วยเยาวช นส่วนใหญ่ซึ่งมาจากโรงเรียนธรรมดา และเยาวชนที่มาจากแรงงาน กลุ่มเยาวชนแห่งชาติ ได้รวมตัวกันเป็นผู้จัดการเรื่องราวต่างๆ และเป็นเพชฌฆาต เขาก็ปล่อยให้พวกเยาวชนเหล่านี้ดำเนินการไป อันดับต่อไป พวกเขาก็จะจัดการกับพวกพระสงฆ์ วัด และวัดน้อยต่างๆ" (ดู Congregatio pro Causis Sanctoum, p.n. 802, Tharen Canonizationis servorum dei Agnetis Phila et Luciae Khambang ex instituto amantium crucis cum Quattuor sociabus et servi dei Philippi Siphong Onphithak catechistae in Odium Fidei, uti fertur, interfectorum, Pesitio Super Martyrio, Rome 1987, p. 11.)
2. การเบียดเบียนศาสนาในประเทศไทยระหว่างปี ค.ศ. 1940-1944
16. การเบียดเบียนศาสนาเกิดขึ้นจากความรู้สึกเป็นศัตรูต่อฝรั่งเศส และศาสนาที่ถูกถือว่าเป็นศาส นาของฝรั่งเศส ประกอบกับลัทธิชาตินิยมที่เกิดขึ้นในเวลานั้น ลัทธิชาตินิยมนี้ถือว่าศาสนาพุทธเป็นศาสน าประจำชาติไทย คนไทยคือคนพุทธ แม้แต่พระมหากษัตริย์ยังเป็นพุทธมามกะด้วย
ความรู้สึกชาตินิยมของคนไทยเวลานั้นรุนแรงมาก และไม่แยกแยะระหว่างฝรั่งเศสและศาสนาคริสต์ ดัง นั้น ประเทศไทยย่อมหมายถึงผู้ที่ถือศาสนาพุทธเท่านั้น ในช่วงเวลาแห่งการสู้รบกับฝรั่งเศส ยิ่งเป็นช่ว งเวลาแห่งความเป็นคนไทยและคนพุทธมากขึ้น สถานการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องที่คนไทยเข้าใจได้ แม้จะไม่เกิ ดผลต่อผู้ที่ถือศาสนาคริสต์ทุกคนไปก็ตาม
ก) คณะเลือดไทย
17. คณะเลือดไทยคือกลุ่มคนไทยที่อ้างตัวเองว่าเป็นผู้รักชาติ ทำหน้าที่สนับสนุนนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล เพื่อส่งเสริมความเป็นชาตินิยม ดังนั้น สมาชิกของคณะทุกคนจึงถูกปลูกฝังให้มีจิตสำนึกว่า "ศาสนาโรมันคาทอลิก เป็นศาสนาต่างชาติ เป็นศาสนาของศัตรู ผู้ที่นับถือศาสนานี้ ก็เป็นศัตรูของชาติไทย" ฉะนั้น เลือดไทยทุกคนต้องช่วยกันหาทางกำจัดศัตรูของชาติเหล่านี้ให้หมดไป ทั้งทางตรงและทางอ้อม
คณะเลือดไทยเริ่มก่อตั้งขึ้นที่นครหลวง และได้แพร่กระจายไปตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น คณะเลือดไทยเชียงใหม่ , คณะเลือดไทยสาขาพนัสฯ และคณะเลือดไทยพระประแดง เป็นต้น คณะเลือดไทยเหล่านี้ได้ออกใบปลิว บทความ และบัตรสนเท่ห์ เพื่อเชิญชวนให้คนไทยหันมารักชาติและต่อต้านศาสนาคาทอลิก
คณะเลือดไทยมีอิทธิพลอย่างมากต่อคนไทยในเวลานั้น และเป็นสาเหตุให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ มากมายที่แสดงว่าเป็นการเบียดเบียนศาสนาคริสต์ ทั้งนี้มาจากความสำนึกของคนไทยโดยทั่วๆ ไปในเวลานั้น เราจะแสดงถึงการเบียดเบียนศาสนาพอเป็นตัวอย่างดังนี้
ข) การเบียดเบียนศาสนาจากหลักฐานเอกสาร
18. การสู้รบระหว่างไทยและฝรั่งเศสเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 หลังจากนี้ไม่นาน พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนรายงานเกี่ยวกับการเบียดเบียนศาสนาถึงพระสังฆราชดราปิเอร์ ผู้แ ทนพระสันตะปาปาในอินโดจีน ลงวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1940 เพื่อรายงานถึงเหตุการณ์ต่างๆ ของการเ บียดเบียนศาสนาในเวลานั้นให้ทราบ
คณะเลือดไทยมีจุดมุ่งหมายต่อต้านศาสนาคริสต์โดยตรง อันแสดงถึงการเบียดเบียนศาสนาจากส่วนของประชาชนชาวไทย เอกสารของคณะเลือดไทยมีดังนี้ :
"ที่เกิดของคณะเลือดไทยเราคือ จังหวัดพระนคร แล้วได้กระจายออกไปทุกหนทุกแห่ง เช่น “คณะเลือดไทยเชียงใหม่” เชื่อว่าพวกเราทั้งหลายคงได้พบข่าวจากหนังสือพิมพ์บางฉะบับลงข่าวว่า “คณะเลือดไทยเชียงใหม่” ได้พร้อมใจ กันไม่ยอมทำการติดต่อกับพวกบาดหลวงและนางชี ตลอดจนพวกที่นิยมลัทธิสาสนาโรมันคาธอลิก มีอาทิเช่น ไม่ยอมขายอาหารให้แก่คนจำพวกนี้ โดยที่ถือว่าบุคคลจำพวกนี้เป็นสัตรูของชาติไทย และพร้อมพร้อม กันนี้ กรรมกรรถทุกชะนิดไม่ยอมให้บุคคลจำพวกที่ได้กล่าวนามมาแล้ว โดยสารรถยนต์ของตน ถึงแม้ว่าพวกเขาจะได้รับค่าจ้างอย่างแพงแสนแพง เขาก็หาได้พึงปรารถนาไม่ และ “คณะเลือดไทย” ในจังหวัดพระนครซึ่งเป็นที่มาแห่งคณะเลือดไทย ก็ไม่ยอมทำการซื้อสิ่งของที่เป็นของชนชาติสัตรูกับเรา และพวกที่นิยมลัทธิของสัตรูเป็นอันขาด นี่คือความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของพวกเราชาวไทย “สาขาคณะเลือดไทยพนัส” รู้สึกปลาบปลื้มยิ่งนักในความสำเร็จอันใหญ่หลวงของคณะเลือดไทยที่ได้ปฏิบัติมาทุกๆ คราว สุดที่จะหาคำใดมากล่าวให้ดียิ่งกว่านี้ได้
ฉะนั้น “สาขาคณะเลือดไทยพนัส” จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ร่วมกันว่า นับแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป เราเลือดไทยจะไม่ย อมให้บุคคลจำพวกที่ได้กล่าวนามมาแล้วข้างต้น โดยสารรถยนต์ หรือยอมรับใช้ ตลอดจนการสนับสนุนด้วยประการใ ดๆ ดังกล่าวมาแล้ว เพราะเลือดไทยถือว่าบุคคลเหล่านี้เป็นสัตรูของชาติไทยเรา และพวกที่นิยมลัทธิของสัตรู พวกเราถือว่า เขาลืมชาติ ลืมสาสนาอันแท้จริงของเขาเสียสิ้น มัวเมาไปหลงนิยมลัทธิอันเป็นสัตรูของเรา พวกเราจงนึกดูซิว่า ที่รัฐบาลจับพวกแนวที่ 5 ได้นั้น เขาเหล่านี้ก็คือพวกที่นับถือสาสนาโรมันคาธอลิกซึ่งได้รับคำสั่งสอนของสัตรู คอยหาโอกาสที่จะเอาพวกเราเป็นทาสของเขา ตลอดจนทำลายชาติของเราให้ย่อยยับไป พวกเราต้องระวังแนวที่ 5 นี้จงมาก และช่วยกันกำจัดลัทธิอันนี้ให้สิ้นเชิง
พวกพี่น้องทั้งหลาย จงอย่าลืมว่าพวกเราชาวไทยได้รับความขมขื่นมาแล้วเป็นจำนวนตั้ง 70 ปี บัดนี้เป็น ศุภนิมิตต์อันดีงามของพวกเราแล้ว “สาขาคณะเลือดไทยพนัส” จึงขอร้องให้พวกเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ช่วยกันขับไล่ชน ชาติที่เป็นสัตรูของเรา ให้เขานำลัทธิอันแสนอุบาทว์นี้ออกไปเสียจากแหลมทอง แล้วญาติพี่น้องของเราที่หลงงมงายอยู่ จะได้กลับมายังแนวทางเดิมที่บรรพบุรุษของเราที่ได้อุตส่าห์สร้างสมไว้เพื่อลูกหลานเหลนชั้นหลัง"
19. พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายถึงศูนย์กลางของคณะมิสซังต่างประเทศที่กรุงปารีส รายงานเกี่ยวกับการเบียดเบียนศาสนาที่เกิดขึ้นยิ่งทียิ่งรุนแรงขึ้นว่าดังนี้ :
"การเบียดเบียนต่อต้านศาสนาคาทอลิกได้เริ่มขึ้นวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 เวลา 10.00 น. ตอนเย็นบรรดามิชชันนารีฝรั่งเศสที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดต่างๆ ของไทยที่เกิดกรณีพิพาทอินโดจีน แต่ละองค์ต่างก็ได้รับการเยี่ยมเ ยือนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายนาย ซึ่งบังคับให้พวกเขาติดตามไปที่สถานีตำรวจ ที่นั่น เขาได้ป้อนต่ อบรรดามิชชันนารี ต่อจากนั้นได้ให้พวกเขาลงชื่อด้วยการสัญญาว่าจะเดินทางออกจากพื้นที่ภายในเวลา 48 ชั่วโมง วันรุ่งขึ้น มิชชันนารีแต่ละองค์ได้เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ พร้อมกับมีคำสั่งห้ามเดินทางออกไป ข้าพเจ้าได้ส่งพระสงฆ์พื้นเมืองจากวัดอื่นไป ทำหน้าที่แทนพวกเขา พระสงฆ์ 2 องค์ในจำนวนพระสงฆ์เหล่านี้ ทั้งๆที่เป็นคนไทย ได้ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและถูกใส่ความกล่าวหาว่า “เป็นแนวที่ 5” ถูกจองจำในคุกเป็นเวลา 3 เดือนใน ตอนแรก พวกเขาถูกตัดสินในเดือนมีนาคมให้จำคุกคนละ 2 ปี พระสงฆ์ไทยองค์ที่ 3 ถูกขังอยู่ในคุกตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม ยังคงรอคอยการพิพากษาและคำตัดสินโดยไม่มีความผิด
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ รัฐบาลไทยจัดเรียกประชุมอย่างเป็นทางการเพื่อทำให้พวกคริสตังละทิ้งศาสนาพวกลูกจ้างของรัฐบาลที่กรุงเทพฯ ได้รับคำสั่งให้ไปที่วัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นวัดพุทธ รัฐมนตรีหลายนายที่เป็นสมาชิก ของคณะรัฐบาลได้ดำเนินการประชุม ด้วยการบอกกับบรรดาผู้เข้าประชุมว่า พวกเขาต้องเซ็นชื่อลงในเอกสารที่เตรียมมาเพื่อการนี้ เพื่อยืนยันว่าพวกเขาเป็นคนพุทธ ซึ่งจงรักภักดีต่อประเทศไทย คาทอลิกบางคนได้เซ็นชื่อ เช่นเดียวกับพวกโปรเตสตันท์จำนวนมาก , พวกที่นับถือลัทธิขงจื๊อ , พวกอิสลาม เป็นต้น แต่ส่วนมากได้ปฏิเสธ ทั้งๆ ที่ถูกใช้อำนาจในการเกลี้ยกล่อมทุกวิถีทาง รัฐบาลไทยในเวลานี้ถือว่าไม่ได้บังคับใครให้เปลี่ยนศาสนา แต่แสดงความปรารถนาเพียงอย่างเดียวว่าประชาชนทุกคนควรนับถือศาสนาเดียวกัน แม้การประกาศเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหลอกลวงสาธารณชนต่างชาติ ข้อเท็จจริงก็คือว่า บรรดาลูกจ้างฝ่ายปกครองที่ไม่ยอมประกาศตัวเป็นพุทธได้ถูกไล่ออกจากงาน บรรดาพ่อค้าที่เป็นคริสตัง ถูกรมหัวไม่ทำการค้าด้วย และห้ามซื้อสินค้าของพวกพ่อค้าคริสตัง พวกเกษตรกรและลูกจ้างแรงงานอื่นๆ ที่หาเช้ากินค่ำ ถูกเรียกตัวไปโดยนายอำเภอเพื่อทำการประชุมให้ละทิ้งศาสนา ตราบใดที่พวกเขาปฏิเสธ พวกเขาก็ถูกบังคับให้อยู่ที่นั่น ไม่สามารถไปทำงานได้ ด้วยเหตุนี้ พวกเขาก็ไม่มีอะไรเลี้ยงตัวเองและครอบครัวของพวกเขา
ภายหลังการประชุมให้ละทิ้งศาสนาที่จัดขึ้นทั่วทุกแห่งในวันเดียวกัน การเบียดเบียนทำได้อย่างอิสระ พวกผู้ก่อเหตุร้ายได้รวมตัวกันเป็น "คณะเลือดไทย" และอวดตัวว่าเป็นผู้ที่รัฐบาลสนับสนุน ในหมู่บ้านคริสตังหลายแห่ง วัดคา ทอลิกถูกโจมตีในระหว่างเวลากลางคืน ทุบทำลายไม้กางเขน , รูปปั้นต่างๆ , ศาสนภัณฑ์ศักดิ์สิทธิ์ , ฉีกทำลายและทำทุรจารภาพวาดนักบุญต่างๆ และศาสนภัณฑ์ต่างๆ ขณะรอคอยเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งได้ไปแจ้งความและขอความช่วยเหลือ ก่อนที่พวกเขาจะมา พวกผู้ก่อเหตุร้ายก็หนีไปแล้ว ดังนั้น เขาจึงประกาศว่า เขาไม่เห็นอะไรเลยและไม่สามารถกล่าวโทษใครได้ ภายหลังที่มีการปล้นเกิดขึ้นในเวลากลางคืน พวกผู้ก่อเหตุร้ายที่เหิมเกริมเพราะไม่ถูกลงโทษ ได้เข้าปล้นวัดต่างๆ กลางวันแสกๆ พร้อมทั้งทำลายวัดนั้นๆ ซึ่งมีพวกคริสตังจำนวนไม่มากพอที่จะขัดขวาง ตำรวจที่ถูกเรียกตัวมาได้ตอบแบบเดิมๆ ว่า เขาได้รับคำสั่งไม่ให้ยุ่งเกี่ยว ข้าพเจ้าได้นำเอาคำร้องทุกข์ไปยื่นต่อรัฐบาลงที่กรุงเทพฯด้วยตนเอง แต่ก็ไม่มีผลอะไร อธิบดีกรมตำรวจซึ่งข้าพเจ้ารู้จักและไปพบเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ตอบกับข้าพเจ้าอย่างชัดเจนว่า ข้าพเจ้าไม่ต้องมาด้วยตนเอง เพราะเขาทราบเรื่องดีแล้วจากจดหมาย อีกอย่างหนึ่ง จดหมายต่างๆ ของข้าพเจ้าได้ตกค้างอยู่ และยังคงตกค้างอยู่โดยไม่ได้รับคำตอบ ในระหว่างเวลานั้น วิทยุกระจายเสียงภาษาไทยได้พูดสบประมาทพวกคริสตัง เยาะเย้ย และได้พูดเน้นในเวลาเดียวกันว่า ในประเทศไทย พวกคริสตังมีอิสระอย่างเต็มที่ และมีความสุขมากกว่าพวกที่อ ยู่ในประเทศใดในโลก
มิชชันนารีฝรั่งเศส 13 องค์ ถูกตำรวจจับกุมเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน และถูกบังคับให้เดินทางมากรุงเทพฯ โดยไม่สามารถทำอะไรได้เลย พวกเราตัดสินใจว่ามันจะดีกว่ามากถ้าพวกเขาจะเดินทางออกนอกประเทศชั่วคราวเพื่อไป อยู่ที่อื่นที่เป็นประโยชน์กว่า พวกเขาได้ออกเดินทางไปอยู่ในโคชินจีนและกัมพูชาที่ซึ่งพวกเขาได้ทำงานอภิบาลของพ วกเขาในหมู่คนญวนและคนจีนตามภาษาที่พวกเขาเข้าใจ นอกจากนี้ ภราดาคณะเซนต์คาเบรียล 13 คน ได้รับคำสั่งห้า มทำการสอนเพราะพวกเขาเป็นชาวฝรั่งเศส ขณะเดียวกันต้องเดินทางออกนอกประเทศ พวกเขาได้เดินทางไปอยู่ที่สิง คโปร์และอินเดียที่ซึ่งวิทยาลัยต่างๆ ที่พวกเขาเป็นเจ้าของตั้งอยู่ บรรดาภราดาที่เป็น ชาวสเปนและชาวไทยก็ยังคงดำเ นินการต่อไปในวิทยาลัยต่างๆ ที่นี่ โดยมีพวกฆราวาสคอยช่วยเหลือ บรรดาภคินีคณะเซนต์ปอลเดอชาร์ตรและนักบว ชหญิงคณะอุร์สุลิน สัญชาติฝรั่งเศสต้องเดินทางออกนอกประเทศเช่นเดียวกัน เพราะถูกห้ามทำการสอน ได้มีบันทึกไว้ ว่าบรรดาภราดาและนักบวชหญิงที่ทำหน้าที่เป็นครูเหล่านี้ ได้ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศ ได้ผ่ านการสอบอย่างเป็นทางการและได้รับใบประกาศนียบัตรที่จำเป็นสำหรับทำการสอนตามที่กระทรวงกำหนดมาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว
ในขณะนั้น รัฐธรรมนูญที่ใช้ในการปกครองประเทศมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1932 ได้ประกาศอย่างเปิดเผยในข้อที่ 13 ว่า "คนทุกคนมีเสรีภาพในการถือศาสนาที่ตนเลือกและปฏิบัติตามความเชื่อถือของตนที่ไม่ขัดต่อประเพณีอันดีงามและ ความสงบสุขของพลเมือง" อีกประการหนึ่ง บรรดาคริสตังของประเทศสยาม (ปัจจุบันคือประเทศไทย) ได้แสดงตนเป็ นพลเมืองที่ดี เป็นผู้ปฏิบัติตามกฎหมายทุกอย่างของประเทศอย่างเคร่งครัด เสียภาษีอาก รและค่าธรรมเนียมต่างๆ อย่างสม่ำเสมอเช่นเดียวกับประชาชนคนอื่นๆ เขาต้องการแสดงให้เห็นว่าศาสนาคาทอลิกกับประเทศฝรั่งเศสเป็นสิ่งเดียว กัน โดยถือว่าพวกคาทอลิกรักประเทศฝรั่งเศสราวกับเป็นประเทศของตน ซึ่งทุกคนที่นี่รู้ดีว่าเป็นสิ่งที่ไม่เป็นจริงโดยสิ้ นเชิง ศาสนาคาทอลิกเป็นศาสนาสากล ไม่ใช่ศาสนาของประเทศใดประเทศหนึ่ง"
คุณพ่อหลุยส์ โชแรง ได้สรุปเรื่องการเบียดเบียนศาสนาในปี ค.ศ. 1941 ดังต่อไปนี้
ข้าพเจ้าไม่เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นสักอย่างเลย
1o) บรรดาพระสงฆ์พื้นเมือง: คุณพ่อนิโคลาส , คุณพ่อมีแชล , คุณพ่อจี้ง้วน ยังคงอยู่ในคุก... เพราะอะไร? ข้าพเจ้าไม่ได้รับข่าวคราวเลยเพราะไม่สามารถติดต่อกับพวกเขาได้
2o) คุณพ่ออังเดร พลอย หัวหน้าแสนเจ้าเล่ห์ของบรรดาพระสงฆ์พื้นเมือง ยังคงดำเนินบทบาทของเข าที่เป็นอั นตรายในการต่อต้านศาสนาและต่อต้านฝรั่งเศสต่อไป เมื่อเร็วๆ นี้ เขาได้ทำการเรี่ยไรเงินจากพระสงฆ์พื้นเมืองประมา ณ 20 องค์ เป็นจำนวน 635 บาท และได้นำไปมอบให้กับรัฐบาลพร้อมทั้งขอร้องให้ทำการต่อต้านพวกแนวที่ 5 (หมายถึง บรรดามิชชันนารีฝรั่งเศส) และหัวหน้าของพวกเขา (หมายถึง พระสังฆราชแปร์รอส) ให้เข้มงวดขึ้น เป็นเวลานานมาแล้วที่คนๆ นี้ (คุณพ่ออังเดร พลอย) ต้องถูกพัก (จากการเป็นพระสงฆ์)
3o) วิทยุกระจายเสียงภาษาไทยยังคงสบประมาทต่อศาสนาคาทอลิกต่อไปแทบทุกเย็น
4o) เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นทำการบีบบังคับพวกคริสตังให้เลิกนับถือศาสนาคาทอลิกทุกวัน
5o) การกระทำที่น่าเศร้าใจและซึ่งท่านไม่ทราบเลยว่าผลจะเป็นเช่นไร ที่บ้านนักบวชหญิงเรยีนาเชลีที่เชียงใหม่ มีการยิงปืนเข้าไปในที่ดินของพวกนักบวชหญิงเพื่อบังคับให้นักบวชอุร์สุลินออกจากที่ดิน หรือปฏิเสธศาสนา
6o) มีกลุ่มคนที่ใช้มีดเป็นอาวุธได้ฟันเข้าด้านหลังของพวกนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญคอลเลจขณะที่พวกเขากำ ลังเดินเล่นอยูในเมือง
พระสังฆราชแปร์รอสได้บันทึกการก่อความเดือดร้อนต่อมิสซังคาทอลิกในปี ค.ศ. 1941 ว่าดังนี้ :
"บรรดามิชชันนารีฝรั่งเศส, คุณพ่อแปร์รัวย์ที่ปราจีน และคุณพ่อริชาร์ดที่ปากคลองท่าลาด (แปดริ้ว, ฉ ะเชิงเทรา) ถูกตำรวจบังคับให้ออกจากพื้นที่ของตนเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 วันที่ 20 ธันวาคม ข้าพเจ้าได้ส่งคุณพ่ อสงวน พระสงฆ์พื้นเมืององค์หนึ่งซึ่งเกิดในประเทศไทย ถือสัญชาติไทย ไปที่ปราจีน และส่งคุณพ่ออังแซลม์ เสงี่ยม พระสงฆ์ไทยอีกองค์หนึ่ง เกิดในประเทศไทย ถือสัญชาติไทย ไปที่ปากคลองท่าลาด เพื่อดูแลพวกคริสตัง
เมื่อคุณพ่อทั้งสองโดยสารรถไฟมาถึงปราจีน คุณพ่อสงวนก็ถูกตำรวจจับและถูกนำตัวไปที่สถานีตำรวจถู กซักถาม หลังจากนั้นก็ได้รับการปล่อยตัวให้เป็นอิสระ คุณพ่อได้กลับไปพักที่วัด
วันรุ่งขึ้น ตำรวจได้มาหาคุณพ่อ เขาพาคุณพ่อไปที่สถานีตำรวจแห่งใหม่ เขาได้ซักถามคุณพ่อถึงเหตุผลในการ มาที่ปราจีน ต่อจากนั้น ก็กักตัวคุณพ่อไว้ในห้องถัดไปที่สถานีตำรวจ เพราะหนังสือสวดทำวัตรของคุณพ่อเป็นหนังสือ ที่ต้องสงสัยซึ่งเขาอ่านไม่เข้าใจเลยสักนิด คุณพ่อถูกขังอยู่เป็นเวลา 3 วัน
คริสตังคนหนึ่งได้มาที่ปราจีนเพื่อแจ้งข่าวให้ข้าพเจ้าทราบ ข้าพเจ้าร่างจดหมายฉบับหนึ่งถึงหลวงอดุล อธิบดีก รมตำรวจ ที่กรุงเทพฯ และข้าพเจ้าได้นำจดหมายไปส่งให้ท่าน (หลวงอดุล) ด้วยตนเองพร้อมด้วยหนังสือสวดทำวัตรเ ล่มที่เหมือนกับหนังสือของคุณพ่อสงวน ข้าพเจ้าร้องขออิสรภาพสำหรับคุณพ่อสงวน และคำขอของข้าพเจ้าก็ได้รับกา รตอบสนอง คุณพ่อสามารถกลับมาที่วัดได้เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม (ที่ชั้นล่างของวัด มีทหารจำนวน 60 นาย คุณพ่อพัก อยู่ชั้นบน)
2-3 วันต่อมา คุณพ่อมีแชล ส้มจีน พระสงฆ์พื้นเมืององค์หนึ่ง ถือสัญชาติไทย ได้มาที่วัดโคกวัดที่ปราจีน เดินทางประมาณ 4-5 ชั่วโมง เมื่อท่านมาถึงปราจีน ท่านถูกตำรวจจับเนื่องจากท่านถอดเสื้อหล่อในระหว่างการเดินทาง และ ท่านได้สวมเมื่อมาถึงปราจีน หลังจากถูกกักขังเป็นเวลา 2 วัน ท่านก็ได้รับการปล่อยตัวเพื่อไปพักที่วัดกับคุณพ่อสงวน แต่ห้ามเดินทางออกจากวัด
ในขณะนั้นเครื่องบินฝรั่งเศสเพิ่งทิ้งระเบิดที่ค่ายดงพระราม ใกล้ๆ ปราจีน วันรุ่งขึ้น พระสงฆ์ 2 องค์ ถูกฟ้องในข้อหาฉายไฟทำสัญญาณเพื่อให้เครื่องบินทิ้งระเบิด และถูกจำคุกในข้อหาเป็นแนวที่ 5
ในเวลานั้น พวกทหารที่ค่ายดงพระรามและพวกผู้ร้ายซึ่งอยู่ในบริเวณนั้น ได้พากันไปยังวัดแหลมโขดซึ่งใช้เวลาเดินทางเป็นระยะทางครึ่งชั่วโมง พวกเขาบุกเข้าไปในวัด ทุบทำลายไม้กางเขน , รูปปั้นต่างๆ ฉีกภาพวาดนักบุญต่างๆ ขโมยพวกศาสนภัณฑ์ศักดิ์สิทธิ์ พูดสั้นๆว่า พวกเขาทำลายวัด นายอำเภอซึ่งถูกเรียกตัวมาเพื่อห้ามพวกเขาได้ตอบว่า เรื่องนี้อยู่ในอำนาจของทหาร และเขาก็ทำเป็นไม่สนใจอะไรเลย หลายวันต่อมา พวกผู้ร้ายได้กลับมาอีกอย่างอาจหาญ แต่ไม่มีอะไรในวัดให้พวกเขาขโมยหรือทำลายได้อีก พวกเขาได้ลักขโมยข้าวของที่เป็นของพวกคริสตัง ได้ฆ่าไก่ , เป็ด , หมู และได้บังคับพวกผู้หญิงและเด็กสาวๆ ให้หนีไปอยู่ในเมืองเพื่อความปลอดภัย
คุณพ่อสงวนและคุณพ่อส้มจีนถูกคุมขังอยู่ในคุกอย่างเข้มงวดเป็นเวลา 2 เดือนครึ่ง ในระหว่างเวลานี้พวกผู้ร้าย คนอื่นได้ปล้นทำลายวัดแหลมโขดและบ้านพักพระสงฆ์ เผาทำลายทะเบียนบัญชีต่างๆ ขโมยเงินและวัตถุที่มีค่าต่างๆ (เครื่องประดับและทองคำ) ซึ่งพวกคริสตังได้นำมาฝากไว้กับพระสงฆ์เพื่อความปลอดภัย นายบรรทมซึ่ง คุณพ่อส้มจีนได้แต่งตั้งให้เป็นครูใหญ่ เป็นลูกจ้างของโรงเรียน ถือตัวว่าเป็นคนที่คุณพ่อไว้ใจ เขารู้จักบ้านคุณพ่อดีและคุณพ่อได้ไว้ใจให้เขาถือกุญแจ เขาได้ขโมยทุกอย่างในบ้านของคุณพ่อไปจนหมด
ในระหว่างเวลานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ นายอำเภอปราจีนได้ทำเช่นเดียวกันกับกำนันที่แหลมโขดคือ ได้จัดการประชุมขึ้น โดยเรียกพวกคริสตังไปประชุม เขาต้องการบังคับพวกคริสตังให้ประกาศเลิกนับถือ ศาสนาคาทอลิกและประกาศตัวเป็นพุทธ ในตอนต้น ทุกคนปฏิเสธโดยพร้อมเพรียงกันในการละทิ้งศาสนานี้ ต่อมาเขาบังคับให้มาประชุมทุกวัน เพื่อให้พวกคริสตังใจอ่อนยอมละทิ้งศาสนาคาทอลิก พวกคริสตังไม่สามารถทำงานหรือทำการค้าของพวกเขาได้ในระหว่างเวลาที่ถูกเรียกประชุม พวกเขาเกิดความกลัวมากขึ้นทุกที และในที่สุดก็ละทิ้งศาสนาไป ดังนั้น นายอำเภอได้ถือว่าเขาไม่ได้บังคับใคร แต่เขาทำให้พวกผู้ชายไม่สามารถทำงานได้ และที่ตลาดมีคำสั่งห้ามทำการค้ากับพวกคริสตัง
วิธีการอย่างเดียวกันนี้ถูกใช้ต่อมาที่ปากคลองท่าลาด , ท่าเกวียน , พนัส , บางปลาสร้อย , หัวไผ่ (แปดริ้ว)
นอกจากวัดแหลมโขดแล้ว เขายังได้ปล้นทำลายวัดปากคลองท่าลาด ขายบ้านพักของคุณพ่อริชารด์ ปล้นวัดท่าเกวียนพร้อมด้วยบ้านพักพระสงฆ์และบ้านพักซิสเตอร์ พร้อมทั้งขู่ทำร้ายเช่นเดียวกันกับที่แปดริ้ว บรรดาพระสงฆ์พื้ นเมืองถูกบังคับให้ออกจากวัดปากคลอง , ท่าเกวียน , พนัส , พิษณุโลก และพระสงฆ์ที่อยู่แปดริ้ว , หัวไผ่ ,บางปลาสร้อย , ท่าข้าม (นครชัยศรี) ก็ถูกขู่แบบเดียวกัน ตำรวจที่ถูกเรียกตัวมาตอบว่า บรรดาพระสงฆ์ไม่สามารถดูแลคุ้มครองพวกคริสตังได้
การเบียดเบียนศาสนาในประเทศไทย
1. เบื้องหลังการเบียดเบียนศาสนาในประเทศไทย
14. ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1932 โดยเปลี่ยนจากการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย พันเอก หลวงพิบูลสงคราม ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 1938
รัฐบาลชุดนี้มีความรู้สึกชาตินิยมสูง ในขณะนั้น ญี่ปุ่นซึ่งยึดแมนจูเรียได้ กำลังดำเนินนโยบายขยายอิทธิพลในทวีปเอเชียโดยใช้คำขวัญว่า "เอเชียสำหรับชาวเอเชีย" เพื่อต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมของชาวตะวันตกในทวีปเอเชีย นโยบายนี้นับได้ว่าสอดคล้องกับลัทธิชาตินิยมซึ่งกำลังก่อตัวขึ้นในประเทศไทย (ดร. เพ็ญศรี ดุ๊ก, การต่างประเทศกับเอกราชและอธิปไตยของไทย..., กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์, 1984, หน้า 129)
สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1939 รัฐบาลไทยประกาศตัวเป็นกลาง และหวั่นเกรงว่าปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างไทยและอังกฤษ (ซึ่งปกครองพม่าอยู่ในเวลานั้น) และระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (ซึ่งปกครองอินโดจีนอยู่ในขณะนั้น) อาจจะกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างกัน จึงขอปรับปรุงเส้น เขตแดนกับประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส การดำเนินการนี้เป็นผลสำเร็จกับประเทศอังกฤษ แต่ล้มเหลวกับประเทศฝรั่งเศส
ปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดการสู้รบระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 ตามชายแดนอินโดจีน และตามน่านน้ำบริเวณเกาะช้าง ซึ่งเราเรียกกันโดยรวมว่า "สงครามอินโดจีน" ในที่สุด ประเทศญี่ปุ่นได้เข้ามาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทนี้ โดยมีการลงนาม "อนุสัญญาโตเกียว"เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 ประเทศไทยได้รับดินแดนคืนจากประเทศฝรั่งเศส คือดินแดนทั้งหมดที่ประเทศไทยเคยสูญเสียใ ห้แก่ประเทศฝรั่งเศสเมื่อปีค.ศ. 1904 และปี ค.ศ. 1907 สาเหตุประการหนึ่งที่ ประเทศฝรั่งเศสจำต้องยกดินแดนคืนให้ประเทศไทยก็ คือ ประเทศฝรั่งเศสปราชัยต่อประเทศเยอรมัน และลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกกับประเทศเยอรมันในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1940 (ดร. เพ็ญศรี ดุ๊ก, การต่างประเทศกับเอกราชและอธิปไตยของไทย..., กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์, 1984, หน้า 129)
15. ปัจจัยที่สำคัญบางข้อที่ทำให้คนไทยมีท่าทีเป็นศัตรูต่อชาวฝรั่งเศสก็คือ :
1. การสูญเสียดินแดนถึง 481,600 ตารางกิโลเมตร แก่ประเทศฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1893, 1904 และ 1907 ก่อให้เกิดการต่อสู้และความเกลียดชังชาวฝรั่งเศสมาแล้ว
2. ศาสนาคริสต์ถูกถือว่าเป็นศาสนาของชาวฝรั่งเศสดังนั้นผู้ที่ถือศาสนาคริสต์จึงถูกมองว่าเป็นศัตรู
3. ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม กระแสแห่งชาตินิยมทวีมากขึ้น มีการเรียกร้องดินแดนคืนจากประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1940 บรรดานิสิตนักศึกษาและนักเรียนเตรียมอุดมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินขบวนเรียกร้องดินแดนคืนจากประเทศฝรั่งเศส และได้รับการต้อนรับอย่างดีจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
4. กรณีพิพาทอินโดจีน ทำให้ประชาชนชาวไทยถือว่าชาวฝรั่งเศสเป็นศัตรู รวมทั้งศาสนาคริสต์ในประเทศไทยด้วย
ในรายงานของพระสังฆราชกูแอง ประมุขมิสซังลาว (ระหว่างปี ค.ศ. 1925-1945) ลงวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1941 จากหอจดหมายเหตุของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส สรุปสถานการณ์นี้ไว้อย่างละเอียดว่า
"อันดับต่อไป หลังจากการเดินทางออกจากประเทศไทยของพวกเรา การเบียดเบียนศาสนาก็เริ่มขึ้น คำสั่งที่บอกว่า 'ประชาชนชาวไทยมีเพียงศาสนาเดียวคือศาสนาพุทธ' กรมการรักษาดินแดน ซึ่งประกอบไปด้วยเยาวช นส่วนใหญ่ซึ่งมาจากโรงเรียนธรรมดา และเยาวชนที่มาจากแรงงาน กลุ่มเยาวชนแห่งชาติ ได้รวมตัวกันเป็นผู้จัดการเรื่องราวต่างๆ และเป็นเพชฌฆาต เขาก็ปล่อยให้พวกเยาวชนเหล่านี้ดำเนินการไป อันดับต่อไป พวกเขาก็จะจัดการกับพวกพระสงฆ์ วัด และวัดน้อยต่างๆ" (ดู Congregatio pro Causis Sanctoum, p.n. 802, Tharen Canonizationis servorum dei Agnetis Phila et Luciae Khambang ex instituto amantium crucis cum Quattuor sociabus et servi dei Philippi Siphong Onphithak catechistae in Odium Fidei, uti fertur, interfectorum, Pesitio Super Martyrio, Rome 1987, p. 11.)
2. การเบียดเบียนศาสนาในประเทศไทยระหว่างปี ค.ศ. 1940-1944
16. การเบียดเบียนศาสนาเกิดขึ้นจากความรู้สึกเป็นศัตรูต่อฝรั่งเศส และศาสนาที่ถูกถือว่าเป็นศาส นาของฝรั่งเศส ประกอบกับลัทธิชาตินิยมที่เกิดขึ้นในเวลานั้น ลัทธิชาตินิยมนี้ถือว่าศาสนาพุทธเป็นศาสน าประจำชาติไทย คนไทยคือคนพุทธ แม้แต่พระมหากษัตริย์ยังเป็นพุทธมามกะด้วย
ความรู้สึกชาตินิยมของคนไทยเวลานั้นรุนแรงมาก และไม่แยกแยะระหว่างฝรั่งเศสและศาสนาคริสต์ ดัง นั้น ประเทศไทยย่อมหมายถึงผู้ที่ถือศาสนาพุทธเท่านั้น ในช่วงเวลาแห่งการสู้รบกับฝรั่งเศส ยิ่งเป็นช่ว งเวลาแห่งความเป็นคนไทยและคนพุทธมากขึ้น สถานการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องที่คนไทยเข้าใจได้ แม้จะไม่เกิ ดผลต่อผู้ที่ถือศาสนาคริสต์ทุกคนไปก็ตาม
ก) คณะเลือดไทย
17. คณะเลือดไทยคือกลุ่มคนไทยที่อ้างตัวเองว่าเป็นผู้รักชาติ ทำหน้าที่สนับสนุนนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล เพื่อส่งเสริมความเป็นชาตินิยม ดังนั้น สมาชิกของคณะทุกคนจึงถูกปลูกฝังให้มีจิตสำนึกว่า "ศาสนาโรมันคาทอลิก เป็นศาสนาต่างชาติ เป็นศาสนาของศัตรู ผู้ที่นับถือศาสนานี้ ก็เป็นศัตรูของชาติไทย" ฉะนั้น เลือดไทยทุกคนต้องช่วยกันหาทางกำจัดศัตรูของชาติเหล่านี้ให้หมดไป ทั้งทางตรงและทางอ้อม
คณะเลือดไทยเริ่มก่อตั้งขึ้นที่นครหลวง และได้แพร่กระจายไปตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น คณะเลือดไทยเชียงใหม่ , คณะเลือดไทยสาขาพนัสฯ และคณะเลือดไทยพระประแดง เป็นต้น คณะเลือดไทยเหล่านี้ได้ออกใบปลิว บทความ และบัตรสนเท่ห์ เพื่อเชิญชวนให้คนไทยหันมารักชาติและต่อต้านศาสนาคาทอลิก
คณะเลือดไทยมีอิทธิพลอย่างมากต่อคนไทยในเวลานั้น และเป็นสาเหตุให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ มากมายที่แสดงว่าเป็นการเบียดเบียนศาสนาคริสต์ ทั้งนี้มาจากความสำนึกของคนไทยโดยทั่วๆ ไปในเวลานั้น เราจะแสดงถึงการเบียดเบียนศาสนาพอเป็นตัวอย่างดังนี้
ข) การเบียดเบียนศาสนาจากหลักฐานเอกสาร
18. การสู้รบระหว่างไทยและฝรั่งเศสเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 หลังจากนี้ไม่นาน พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนรายงานเกี่ยวกับการเบียดเบียนศาสนาถึงพระสังฆราชดราปิเอร์ ผู้แ ทนพระสันตะปาปาในอินโดจีน ลงวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1940 เพื่อรายงานถึงเหตุการณ์ต่างๆ ของการเ บียดเบียนศาสนาในเวลานั้นให้ทราบ
คณะเลือดไทยมีจุดมุ่งหมายต่อต้านศาสนาคริสต์โดยตรง อันแสดงถึงการเบียดเบียนศาสนาจากส่วนของประชาชนชาวไทย เอกสารของคณะเลือดไทยมีดังนี้ :
"ที่เกิดของคณะเลือดไทยเราคือ จังหวัดพระนคร แล้วได้กระจายออกไปทุกหนทุกแห่ง เช่น “คณะเลือดไทยเชียงใหม่” เชื่อว่าพวกเราทั้งหลายคงได้พบข่าวจากหนังสือพิมพ์บางฉะบับลงข่าวว่า “คณะเลือดไทยเชียงใหม่” ได้พร้อมใจ กันไม่ยอมทำการติดต่อกับพวกบาดหลวงและนางชี ตลอดจนพวกที่นิยมลัทธิสาสนาโรมันคาธอลิก มีอาทิเช่น ไม่ยอมขายอาหารให้แก่คนจำพวกนี้ โดยที่ถือว่าบุคคลจำพวกนี้เป็นสัตรูของชาติไทย และพร้อมพร้อม กันนี้ กรรมกรรถทุกชะนิดไม่ยอมให้บุคคลจำพวกที่ได้กล่าวนามมาแล้ว โดยสารรถยนต์ของตน ถึงแม้ว่าพวกเขาจะได้รับค่าจ้างอย่างแพงแสนแพง เขาก็หาได้พึงปรารถนาไม่ และ “คณะเลือดไทย” ในจังหวัดพระนครซึ่งเป็นที่มาแห่งคณะเลือดไทย ก็ไม่ยอมทำการซื้อสิ่งของที่เป็นของชนชาติสัตรูกับเรา และพวกที่นิยมลัทธิของสัตรูเป็นอันขาด นี่คือความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของพวกเราชาวไทย “สาขาคณะเลือดไทยพนัส” รู้สึกปลาบปลื้มยิ่งนักในความสำเร็จอันใหญ่หลวงของคณะเลือดไทยที่ได้ปฏิบัติมาทุกๆ คราว สุดที่จะหาคำใดมากล่าวให้ดียิ่งกว่านี้ได้
ฉะนั้น “สาขาคณะเลือดไทยพนัส” จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ร่วมกันว่า นับแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป เราเลือดไทยจะไม่ย อมให้บุคคลจำพวกที่ได้กล่าวนามมาแล้วข้างต้น โดยสารรถยนต์ หรือยอมรับใช้ ตลอดจนการสนับสนุนด้วยประการใ ดๆ ดังกล่าวมาแล้ว เพราะเลือดไทยถือว่าบุคคลเหล่านี้เป็นสัตรูของชาติไทยเรา และพวกที่นิยมลัทธิของสัตรู พวกเราถือว่า เขาลืมชาติ ลืมสาสนาอันแท้จริงของเขาเสียสิ้น มัวเมาไปหลงนิยมลัทธิอันเป็นสัตรูของเรา พวกเราจงนึกดูซิว่า ที่รัฐบาลจับพวกแนวที่ 5 ได้นั้น เขาเหล่านี้ก็คือพวกที่นับถือสาสนาโรมันคาธอลิกซึ่งได้รับคำสั่งสอนของสัตรู คอยหาโอกาสที่จะเอาพวกเราเป็นทาสของเขา ตลอดจนทำลายชาติของเราให้ย่อยยับไป พวกเราต้องระวังแนวที่ 5 นี้จงมาก และช่วยกันกำจัดลัทธิอันนี้ให้สิ้นเชิง
พวกพี่น้องทั้งหลาย จงอย่าลืมว่าพวกเราชาวไทยได้รับความขมขื่นมาแล้วเป็นจำนวนตั้ง 70 ปี บัดนี้เป็น ศุภนิมิตต์อันดีงามของพวกเราแล้ว “สาขาคณะเลือดไทยพนัส” จึงขอร้องให้พวกเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ช่วยกันขับไล่ชน ชาติที่เป็นสัตรูของเรา ให้เขานำลัทธิอันแสนอุบาทว์นี้ออกไปเสียจากแหลมทอง แล้วญาติพี่น้องของเราที่หลงงมงายอยู่ จะได้กลับมายังแนวทางเดิมที่บรรพบุรุษของเราที่ได้อุตส่าห์สร้างสมไว้เพื่อลูกหลานเหลนชั้นหลัง"
19. พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายถึงศูนย์กลางของคณะมิสซังต่างประเทศที่กรุงปารีส รายงานเกี่ยวกับการเบียดเบียนศาสนาที่เกิดขึ้นยิ่งทียิ่งรุนแรงขึ้นว่าดังนี้ :
"การเบียดเบียนต่อต้านศาสนาคาทอลิกได้เริ่มขึ้นวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 เวลา 10.00 น. ตอนเย็นบรรดามิชชันนารีฝรั่งเศสที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดต่างๆ ของไทยที่เกิดกรณีพิพาทอินโดจีน แต่ละองค์ต่างก็ได้รับการเยี่ยมเ ยือนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายนาย ซึ่งบังคับให้พวกเขาติดตามไปที่สถานีตำรวจ ที่นั่น เขาได้ป้อนต่ อบรรดามิชชันนารี ต่อจากนั้นได้ให้พวกเขาลงชื่อด้วยการสัญญาว่าจะเดินทางออกจากพื้นที่ภายในเวลา 48 ชั่วโมง วันรุ่งขึ้น มิชชันนารีแต่ละองค์ได้เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ พร้อมกับมีคำสั่งห้ามเดินทางออกไป ข้าพเจ้าได้ส่งพระสงฆ์พื้นเมืองจากวัดอื่นไป ทำหน้าที่แทนพวกเขา พระสงฆ์ 2 องค์ในจำนวนพระสงฆ์เหล่านี้ ทั้งๆที่เป็นคนไทย ได้ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและถูกใส่ความกล่าวหาว่า “เป็นแนวที่ 5” ถูกจองจำในคุกเป็นเวลา 3 เดือนใน ตอนแรก พวกเขาถูกตัดสินในเดือนมีนาคมให้จำคุกคนละ 2 ปี พระสงฆ์ไทยองค์ที่ 3 ถูกขังอยู่ในคุกตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม ยังคงรอคอยการพิพากษาและคำตัดสินโดยไม่มีความผิด
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ รัฐบาลไทยจัดเรียกประชุมอย่างเป็นทางการเพื่อทำให้พวกคริสตังละทิ้งศาสนาพวกลูกจ้างของรัฐบาลที่กรุงเทพฯ ได้รับคำสั่งให้ไปที่วัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นวัดพุทธ รัฐมนตรีหลายนายที่เป็นสมาชิก ของคณะรัฐบาลได้ดำเนินการประชุม ด้วยการบอกกับบรรดาผู้เข้าประชุมว่า พวกเขาต้องเซ็นชื่อลงในเอกสารที่เตรียมมาเพื่อการนี้ เพื่อยืนยันว่าพวกเขาเป็นคนพุทธ ซึ่งจงรักภักดีต่อประเทศไทย คาทอลิกบางคนได้เซ็นชื่อ เช่นเดียวกับพวกโปรเตสตันท์จำนวนมาก , พวกที่นับถือลัทธิขงจื๊อ , พวกอิสลาม เป็นต้น แต่ส่วนมากได้ปฏิเสธ ทั้งๆ ที่ถูกใช้อำนาจในการเกลี้ยกล่อมทุกวิถีทาง รัฐบาลไทยในเวลานี้ถือว่าไม่ได้บังคับใครให้เปลี่ยนศาสนา แต่แสดงความปรารถนาเพียงอย่างเดียวว่าประชาชนทุกคนควรนับถือศาสนาเดียวกัน แม้การประกาศเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหลอกลวงสาธารณชนต่างชาติ ข้อเท็จจริงก็คือว่า บรรดาลูกจ้างฝ่ายปกครองที่ไม่ยอมประกาศตัวเป็นพุทธได้ถูกไล่ออกจากงาน บรรดาพ่อค้าที่เป็นคริสตัง ถูกรมหัวไม่ทำการค้าด้วย และห้ามซื้อสินค้าของพวกพ่อค้าคริสตัง พวกเกษตรกรและลูกจ้างแรงงานอื่นๆ ที่หาเช้ากินค่ำ ถูกเรียกตัวไปโดยนายอำเภอเพื่อทำการประชุมให้ละทิ้งศาสนา ตราบใดที่พวกเขาปฏิเสธ พวกเขาก็ถูกบังคับให้อยู่ที่นั่น ไม่สามารถไปทำงานได้ ด้วยเหตุนี้ พวกเขาก็ไม่มีอะไรเลี้ยงตัวเองและครอบครัวของพวกเขา
ภายหลังการประชุมให้ละทิ้งศาสนาที่จัดขึ้นทั่วทุกแห่งในวันเดียวกัน การเบียดเบียนทำได้อย่างอิสระ พวกผู้ก่อเหตุร้ายได้รวมตัวกันเป็น "คณะเลือดไทย" และอวดตัวว่าเป็นผู้ที่รัฐบาลสนับสนุน ในหมู่บ้านคริสตังหลายแห่ง วัดคา ทอลิกถูกโจมตีในระหว่างเวลากลางคืน ทุบทำลายไม้กางเขน , รูปปั้นต่างๆ , ศาสนภัณฑ์ศักดิ์สิทธิ์ , ฉีกทำลายและทำทุรจารภาพวาดนักบุญต่างๆ และศาสนภัณฑ์ต่างๆ ขณะรอคอยเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งได้ไปแจ้งความและขอความช่วยเหลือ ก่อนที่พวกเขาจะมา พวกผู้ก่อเหตุร้ายก็หนีไปแล้ว ดังนั้น เขาจึงประกาศว่า เขาไม่เห็นอะไรเลยและไม่สามารถกล่าวโทษใครได้ ภายหลังที่มีการปล้นเกิดขึ้นในเวลากลางคืน พวกผู้ก่อเหตุร้ายที่เหิมเกริมเพราะไม่ถูกลงโทษ ได้เข้าปล้นวัดต่างๆ กลางวันแสกๆ พร้อมทั้งทำลายวัดนั้นๆ ซึ่งมีพวกคริสตังจำนวนไม่มากพอที่จะขัดขวาง ตำรวจที่ถูกเรียกตัวมาได้ตอบแบบเดิมๆ ว่า เขาได้รับคำสั่งไม่ให้ยุ่งเกี่ยว ข้าพเจ้าได้นำเอาคำร้องทุกข์ไปยื่นต่อรัฐบาลงที่กรุงเทพฯด้วยตนเอง แต่ก็ไม่มีผลอะไร อธิบดีกรมตำรวจซึ่งข้าพเจ้ารู้จักและไปพบเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ตอบกับข้าพเจ้าอย่างชัดเจนว่า ข้าพเจ้าไม่ต้องมาด้วยตนเอง เพราะเขาทราบเรื่องดีแล้วจากจดหมาย อีกอย่างหนึ่ง จดหมายต่างๆ ของข้าพเจ้าได้ตกค้างอยู่ และยังคงตกค้างอยู่โดยไม่ได้รับคำตอบ ในระหว่างเวลานั้น วิทยุกระจายเสียงภาษาไทยได้พูดสบประมาทพวกคริสตัง เยาะเย้ย และได้พูดเน้นในเวลาเดียวกันว่า ในประเทศไทย พวกคริสตังมีอิสระอย่างเต็มที่ และมีความสุขมากกว่าพวกที่อ ยู่ในประเทศใดในโลก
มิชชันนารีฝรั่งเศส 13 องค์ ถูกตำรวจจับกุมเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน และถูกบังคับให้เดินทางมากรุงเทพฯ โดยไม่สามารถทำอะไรได้เลย พวกเราตัดสินใจว่ามันจะดีกว่ามากถ้าพวกเขาจะเดินทางออกนอกประเทศชั่วคราวเพื่อไป อยู่ที่อื่นที่เป็นประโยชน์กว่า พวกเขาได้ออกเดินทางไปอยู่ในโคชินจีนและกัมพูชาที่ซึ่งพวกเขาได้ทำงานอภิบาลของพ วกเขาในหมู่คนญวนและคนจีนตามภาษาที่พวกเขาเข้าใจ นอกจากนี้ ภราดาคณะเซนต์คาเบรียล 13 คน ได้รับคำสั่งห้า มทำการสอนเพราะพวกเขาเป็นชาวฝรั่งเศส ขณะเดียวกันต้องเดินทางออกนอกประเทศ พวกเขาได้เดินทางไปอยู่ที่สิง คโปร์และอินเดียที่ซึ่งวิทยาลัยต่างๆ ที่พวกเขาเป็นเจ้าของตั้งอยู่ บรรดาภราดาที่เป็น ชาวสเปนและชาวไทยก็ยังคงดำเ นินการต่อไปในวิทยาลัยต่างๆ ที่นี่ โดยมีพวกฆราวาสคอยช่วยเหลือ บรรดาภคินีคณะเซนต์ปอลเดอชาร์ตรและนักบว ชหญิงคณะอุร์สุลิน สัญชาติฝรั่งเศสต้องเดินทางออกนอกประเทศเช่นเดียวกัน เพราะถูกห้ามทำการสอน ได้มีบันทึกไว้ ว่าบรรดาภราดาและนักบวชหญิงที่ทำหน้าที่เป็นครูเหล่านี้ ได้ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศ ได้ผ่ านการสอบอย่างเป็นทางการและได้รับใบประกาศนียบัตรที่จำเป็นสำหรับทำการสอนตามที่กระทรวงกำหนดมาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว
ในขณะนั้น รัฐธรรมนูญที่ใช้ในการปกครองประเทศมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1932 ได้ประกาศอย่างเปิดเผยในข้อที่ 13 ว่า "คนทุกคนมีเสรีภาพในการถือศาสนาที่ตนเลือกและปฏิบัติตามความเชื่อถือของตนที่ไม่ขัดต่อประเพณีอันดีงามและ ความสงบสุขของพลเมือง" อีกประการหนึ่ง บรรดาคริสตังของประเทศสยาม (ปัจจุบันคือประเทศไทย) ได้แสดงตนเป็ นพลเมืองที่ดี เป็นผู้ปฏิบัติตามกฎหมายทุกอย่างของประเทศอย่างเคร่งครัด เสียภาษีอาก รและค่าธรรมเนียมต่างๆ อย่างสม่ำเสมอเช่นเดียวกับประชาชนคนอื่นๆ เขาต้องการแสดงให้เห็นว่าศาสนาคาทอลิกกับประเทศฝรั่งเศสเป็นสิ่งเดียว กัน โดยถือว่าพวกคาทอลิกรักประเทศฝรั่งเศสราวกับเป็นประเทศของตน ซึ่งทุกคนที่นี่รู้ดีว่าเป็นสิ่งที่ไม่เป็นจริงโดยสิ้ นเชิง ศาสนาคาทอลิกเป็นศาสนาสากล ไม่ใช่ศาสนาของประเทศใดประเทศหนึ่ง"
คุณพ่อหลุยส์ โชแรง ได้สรุปเรื่องการเบียดเบียนศาสนาในปี ค.ศ. 1941 ดังต่อไปนี้
ข้าพเจ้าไม่เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นสักอย่างเลย
1o) บรรดาพระสงฆ์พื้นเมือง: คุณพ่อนิโคลาส , คุณพ่อมีแชล , คุณพ่อจี้ง้วน ยังคงอยู่ในคุก... เพราะอะไร? ข้าพเจ้าไม่ได้รับข่าวคราวเลยเพราะไม่สามารถติดต่อกับพวกเขาได้
2o) คุณพ่ออังเดร พลอย หัวหน้าแสนเจ้าเล่ห์ของบรรดาพระสงฆ์พื้นเมือง ยังคงดำเนินบทบาทของเข าที่เป็นอั นตรายในการต่อต้านศาสนาและต่อต้านฝรั่งเศสต่อไป เมื่อเร็วๆ นี้ เขาได้ทำการเรี่ยไรเงินจากพระสงฆ์พื้นเมืองประมา ณ 20 องค์ เป็นจำนวน 635 บาท และได้นำไปมอบให้กับรัฐบาลพร้อมทั้งขอร้องให้ทำการต่อต้านพวกแนวที่ 5 (หมายถึง บรรดามิชชันนารีฝรั่งเศส) และหัวหน้าของพวกเขา (หมายถึง พระสังฆราชแปร์รอส) ให้เข้มงวดขึ้น เป็นเวลานานมาแล้วที่คนๆ นี้ (คุณพ่ออังเดร พลอย) ต้องถูกพัก (จากการเป็นพระสงฆ์)
3o) วิทยุกระจายเสียงภาษาไทยยังคงสบประมาทต่อศาสนาคาทอลิกต่อไปแทบทุกเย็น
4o) เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นทำการบีบบังคับพวกคริสตังให้เลิกนับถือศาสนาคาทอลิกทุกวัน
5o) การกระทำที่น่าเศร้าใจและซึ่งท่านไม่ทราบเลยว่าผลจะเป็นเช่นไร ที่บ้านนักบวชหญิงเรยีนาเชลีที่เชียงใหม่ มีการยิงปืนเข้าไปในที่ดินของพวกนักบวชหญิงเพื่อบังคับให้นักบวชอุร์สุลินออกจากที่ดิน หรือปฏิเสธศาสนา
6o) มีกลุ่มคนที่ใช้มีดเป็นอาวุธได้ฟันเข้าด้านหลังของพวกนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญคอลเลจขณะที่พวกเขากำ ลังเดินเล่นอยูในเมือง
พระสังฆราชแปร์รอสได้บันทึกการก่อความเดือดร้อนต่อมิสซังคาทอลิกในปี ค.ศ. 1941 ว่าดังนี้ :
"บรรดามิชชันนารีฝรั่งเศส, คุณพ่อแปร์รัวย์ที่ปราจีน และคุณพ่อริชาร์ดที่ปากคลองท่าลาด (แปดริ้ว, ฉ ะเชิงเทรา) ถูกตำรวจบังคับให้ออกจากพื้นที่ของตนเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 วันที่ 20 ธันวาคม ข้าพเจ้าได้ส่งคุณพ่ อสงวน พระสงฆ์พื้นเมืององค์หนึ่งซึ่งเกิดในประเทศไทย ถือสัญชาติไทย ไปที่ปราจีน และส่งคุณพ่ออังแซลม์ เสงี่ยม พระสงฆ์ไทยอีกองค์หนึ่ง เกิดในประเทศไทย ถือสัญชาติไทย ไปที่ปากคลองท่าลาด เพื่อดูแลพวกคริสตัง
เมื่อคุณพ่อทั้งสองโดยสารรถไฟมาถึงปราจีน คุณพ่อสงวนก็ถูกตำรวจจับและถูกนำตัวไปที่สถานีตำรวจถู กซักถาม หลังจากนั้นก็ได้รับการปล่อยตัวให้เป็นอิสระ คุณพ่อได้กลับไปพักที่วัด
วันรุ่งขึ้น ตำรวจได้มาหาคุณพ่อ เขาพาคุณพ่อไปที่สถานีตำรวจแห่งใหม่ เขาได้ซักถามคุณพ่อถึงเหตุผลในการ มาที่ปราจีน ต่อจากนั้น ก็กักตัวคุณพ่อไว้ในห้องถัดไปที่สถานีตำรวจ เพราะหนังสือสวดทำวัตรของคุณพ่อเป็นหนังสือ ที่ต้องสงสัยซึ่งเขาอ่านไม่เข้าใจเลยสักนิด คุณพ่อถูกขังอยู่เป็นเวลา 3 วัน
คริสตังคนหนึ่งได้มาที่ปราจีนเพื่อแจ้งข่าวให้ข้าพเจ้าทราบ ข้าพเจ้าร่างจดหมายฉบับหนึ่งถึงหลวงอดุล อธิบดีก รมตำรวจ ที่กรุงเทพฯ และข้าพเจ้าได้นำจดหมายไปส่งให้ท่าน (หลวงอดุล) ด้วยตนเองพร้อมด้วยหนังสือสวดทำวัตรเ ล่มที่เหมือนกับหนังสือของคุณพ่อสงวน ข้าพเจ้าร้องขออิสรภาพสำหรับคุณพ่อสงวน และคำขอของข้าพเจ้าก็ได้รับกา รตอบสนอง คุณพ่อสามารถกลับมาที่วัดได้เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม (ที่ชั้นล่างของวัด มีทหารจำนวน 60 นาย คุณพ่อพัก อยู่ชั้นบน)
2-3 วันต่อมา คุณพ่อมีแชล ส้มจีน พระสงฆ์พื้นเมืององค์หนึ่ง ถือสัญชาติไทย ได้มาที่วัดโคกวัดที่ปราจีน เดินทางประมาณ 4-5 ชั่วโมง เมื่อท่านมาถึงปราจีน ท่านถูกตำรวจจับเนื่องจากท่านถอดเสื้อหล่อในระหว่างการเดินทาง และ ท่านได้สวมเมื่อมาถึงปราจีน หลังจากถูกกักขังเป็นเวลา 2 วัน ท่านก็ได้รับการปล่อยตัวเพื่อไปพักที่วัดกับคุณพ่อสงวน แต่ห้ามเดินทางออกจากวัด
ในขณะนั้นเครื่องบินฝรั่งเศสเพิ่งทิ้งระเบิดที่ค่ายดงพระราม ใกล้ๆ ปราจีน วันรุ่งขึ้น พระสงฆ์ 2 องค์ ถูกฟ้องในข้อหาฉายไฟทำสัญญาณเพื่อให้เครื่องบินทิ้งระเบิด และถูกจำคุกในข้อหาเป็นแนวที่ 5
ในเวลานั้น พวกทหารที่ค่ายดงพระรามและพวกผู้ร้ายซึ่งอยู่ในบริเวณนั้น ได้พากันไปยังวัดแหลมโขดซึ่งใช้เวลาเดินทางเป็นระยะทางครึ่งชั่วโมง พวกเขาบุกเข้าไปในวัด ทุบทำลายไม้กางเขน , รูปปั้นต่างๆ ฉีกภาพวาดนักบุญต่างๆ ขโมยพวกศาสนภัณฑ์ศักดิ์สิทธิ์ พูดสั้นๆว่า พวกเขาทำลายวัด นายอำเภอซึ่งถูกเรียกตัวมาเพื่อห้ามพวกเขาได้ตอบว่า เรื่องนี้อยู่ในอำนาจของทหาร และเขาก็ทำเป็นไม่สนใจอะไรเลย หลายวันต่อมา พวกผู้ร้ายได้กลับมาอีกอย่างอาจหาญ แต่ไม่มีอะไรในวัดให้พวกเขาขโมยหรือทำลายได้อีก พวกเขาได้ลักขโมยข้าวของที่เป็นของพวกคริสตัง ได้ฆ่าไก่ , เป็ด , หมู และได้บังคับพวกผู้หญิงและเด็กสาวๆ ให้หนีไปอยู่ในเมืองเพื่อความปลอดภัย
คุณพ่อสงวนและคุณพ่อส้มจีนถูกคุมขังอยู่ในคุกอย่างเข้มงวดเป็นเวลา 2 เดือนครึ่ง ในระหว่างเวลานี้พวกผู้ร้าย คนอื่นได้ปล้นทำลายวัดแหลมโขดและบ้านพักพระสงฆ์ เผาทำลายทะเบียนบัญชีต่างๆ ขโมยเงินและวัตถุที่มีค่าต่างๆ (เครื่องประดับและทองคำ) ซึ่งพวกคริสตังได้นำมาฝากไว้กับพระสงฆ์เพื่อความปลอดภัย นายบรรทมซึ่ง คุณพ่อส้มจีนได้แต่งตั้งให้เป็นครูใหญ่ เป็นลูกจ้างของโรงเรียน ถือตัวว่าเป็นคนที่คุณพ่อไว้ใจ เขารู้จักบ้านคุณพ่อดีและคุณพ่อได้ไว้ใจให้เขาถือกุญแจ เขาได้ขโมยทุกอย่างในบ้านของคุณพ่อไปจนหมด
ในระหว่างเวลานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ นายอำเภอปราจีนได้ทำเช่นเดียวกันกับกำนันที่แหลมโขดคือ ได้จัดการประชุมขึ้น โดยเรียกพวกคริสตังไปประชุม เขาต้องการบังคับพวกคริสตังให้ประกาศเลิกนับถือ ศาสนาคาทอลิกและประกาศตัวเป็นพุทธ ในตอนต้น ทุกคนปฏิเสธโดยพร้อมเพรียงกันในการละทิ้งศาสนานี้ ต่อมาเขาบังคับให้มาประชุมทุกวัน เพื่อให้พวกคริสตังใจอ่อนยอมละทิ้งศาสนาคาทอลิก พวกคริสตังไม่สามารถทำงานหรือทำการค้าของพวกเขาได้ในระหว่างเวลาที่ถูกเรียกประชุม พวกเขาเกิดความกลัวมากขึ้นทุกที และในที่สุดก็ละทิ้งศาสนาไป ดังนั้น นายอำเภอได้ถือว่าเขาไม่ได้บังคับใคร แต่เขาทำให้พวกผู้ชายไม่สามารถทำงานได้ และที่ตลาดมีคำสั่งห้ามทำการค้ากับพวกคริสตัง
วิธีการอย่างเดียวกันนี้ถูกใช้ต่อมาที่ปากคลองท่าลาด , ท่าเกวียน , พนัส , บางปลาสร้อย , หัวไผ่ (แปดริ้ว)
นอกจากวัดแหลมโขดแล้ว เขายังได้ปล้นทำลายวัดปากคลองท่าลาด ขายบ้านพักของคุณพ่อริชารด์ ปล้นวัดท่าเกวียนพร้อมด้วยบ้านพักพระสงฆ์และบ้านพักซิสเตอร์ พร้อมทั้งขู่ทำร้ายเช่นเดียวกันกับที่แปดริ้ว บรรดาพระสงฆ์พื้ นเมืองถูกบังคับให้ออกจากวัดปากคลอง , ท่าเกวียน , พนัส , พิษณุโลก และพระสงฆ์ที่อยู่แปดริ้ว , หัวไผ่ ,บางปลาสร้อย , ท่าข้าม (นครชัยศรี) ก็ถูกขู่แบบเดียวกัน ตำรวจที่ถูกเรียกตัวมาตอบว่า บรรดาพระสงฆ์ไม่สามารถดูแลคุ้มครองพวกคริสตังได้
แก้ไขล่าสุดโดย Arttise เมื่อ พฤหัสฯ. ธ.ค. 22, 2022 4:58 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
คุณพ่อกาวัลลา พระสงฆ์ซาเลเซียน ซึ่งถูกทุบตีและถูกปล้นที่ท่าเกวียน ได้ส่งรายงานฉบับหนึ่งถึงนายตำรวจ และเอกอัครราชทูตอิตาลี (ข้าพเจ้าได้ถ่ายสำเนาให้ท่านแล้ว) แต่ไม่ได้รับคำตอบ
ในเวลานี้ คุณพ่อหลุยส์ เล็ตแชร์ ถือสัญชาติสวิส ซึ่งด้วยคุณสมบัติข้อนี้เขาสามารถอยู่ที่บางปลาสร้อยและดูแล วัดได้จนถึงปัจจุบันนี้ เขาได้รับคำสั่งจากผู้ว่าราชการจังหวัดนี้ให้ออกจากพื้นที่ เพราะผู้ว่าราชการจังหวัดคนนี้มีความผิดจากการกระทำที่รุนแรงซึ่งพวกคริสตังต้องรับเคราะห์กรรม
หนังสือพิมพ์ต่างๆ ได้เก็บเรื่องนี้เงียบไว้เพราะกลัวเสียชื่อเสียง วิทยุกระจายเสียงปลุกเร้าเรื่องความรักชาติไทย เขาต้องการเห็นประชาชนทุกคนนับถือศาสนาเดียวกัน คือ ศาสนาพุทธ เพื่อชัยชนะต่อชาวยุโรป หลวงพิบูลได้ส่งจดหมายเวียนหลายฉบับเพื่อกล่าวชมเชยพวกที่ละทิ้งศาสนา และเตือนคนอื่นๆ ให้ทำตามตัวอย่างนี้
ที่ประเทศลาว ที่สกลนคร มิชชันนารีชาวยุโรปองค์หนึ่ง และพระสงฆ์พื้นเมือง 3 องค์ถูกจำคุกในข้อหาเป็นแนว ที่ 5 ได้แก่ คุณพ่อสตอคเกล , คุณพ่อเอดัวรด์ ถัง , คุณพ่อศรีนวน , คุณพ่อคำผง
ที่สองคอน (ลาว) นักบวชหญิงรูปหนึ่งและคริสตัง 6 คน ถูกฆ่าตายเพราะพวกเขาไม่ยอมละทิ้งศาสนา
มันเป็นเรื่องยากที่จะบรรยายถึงเรื่องราวที่ได้รับมาโดยสรุป จดหมายทุกฉบับที่ส่งมาที่วัดถูกเปิดอ่าน บรรดาผู้โดยสารทั้งที่เดินทางโดยรถไฟ , เดินทางโดยเรือ , เดินทางโดยรถบัส ต่างถูกค้นและไม่สามารถนำจดหมายไปได้สักฉบับเดียว หนังสือที่เขียนทุกเล่ม , สิ่งตีพิมพ์ทุกชนิด ยกเว้นภาษาไทย ถูกสงสัยและถูกยึดหมด
วันที่ 22 มีนาคม คุณพ่อสงวนและคุณพ่อส้มจีนได้ถูกตัดสินโดยศาลทหารที่ปราจีน ผู้กล่าวหาคือข้าราชการ 3 คน ให้การว่า ได้เห็นคุณพ่อทั้งสองทำสัญญาณให้นักบินฝรั่งเศสด้วยการฉายไฟ พยาน 1 ใน 3 คน บอกว่ าได้เห็นคุณ พ่อทั้งสองในป่าไผ่ พยาน 2 คน บอกว่าได้เห็นคุณพ่อทั้งสองข้างนอกป่าไผ่ แต่งตัวธรรมดาสีขาว อีกคนหนึ่งบอกว่าคุ ณพ่อทั้งสองได้ทำสัญญาณไฟด้านข้าง แต่อีก 2 คน ชี้แจงว่าคุณพ่อทั้งสองทำสัญญาณไฟฝั่งตรงข้าม จำเลยปฏิเสธข้อกล่าวหาของพยานทั้ง 3 คน โดยสิ้นเชิง ต่อมาพยานคนอื่นๆ ให้การเป็นประโยชน์แก่จำเลย ถึงแม้ว่าจะเป็นเช่นนี้ การตัดสินประกาศว่า พวกพยานที่กล่าวหาเป็นพวกข้าราชการ คำให้การของพวกเขามีน้ำหนักมากกว่าคำให้การของคนธรรมดา ด้วยเหตุนี้ จำเลยทั้งสองคนจึงถูกตัดสินจำคุกคนละ 2 เดือน"
พระสังฆราชแปร์รอสได้รายงานเรื่องการเบียดเบียนในประเทศไทยต่อเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในประเทศญี่ปุ่น ลงวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1941
"ขอได้โปรดอนุญาตให้ข้าพเจ้าเล่าให้ท่านฟังถึงเหตุการณ์อันน่าเศร้าใจ ซึ่งในเวลานี้ มิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ กำลังประสบอยู่อย่างเต็มที่ (ไม่ขอพูดถึงเหตุการณ์ในลาว ซึ่งยังคงได้รับความทุกข์ทรมานมานานกว่าเรา) ในเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 ภราดาคณะเซนต์คาเบรียล 13 รูป, มิชชันนารี 13 องค์ และภคินีคณะเ ซนต์ปอลเดอชาร์ตร 12 รูป ถูกบังคับให้ออกนอกประเทศเพราะเป็นชาวฝรั่งเศส นับตั้งแต่นั้นมา วัด 3 แห่งถูกปล้นและ ถูกเผาตั้งแต่พื้นจนถึงหลังคา , บ้านพักพระสงฆ์ 3 แห่ง และบ้านพักซิสเตอร์ 3 แห่งถูกเผา , วัด 7 แห่งถูกปิดและถูกปล้น , วัด 12 แห่งถูกปิด , พระสงฆ์ไทย 3 องค์ซึ่งบริสุทธิ์ ถูกใส่ร้ายและถูกขังคุกเป็นเวลา 3 เดือนแล้ว พระสงฆ์ 2 องค์ เพิ่งได้รับการตัดสินจำคุกคนละ 2 ปี ส่วนองค์ที่ 3 ยังรอการตัดสิน รัฐบาลได้จัดพิธีวันละทิ้งศาสนาอย่างเป็นทางการ พวกคริสตังถูกบังคับให้ประกาศละทิ้งศาสนาของตน ถ้าปฏิเสธ พวกที่เป็นข้าราชการก็ถูกไล่ออกจากหน้าที่ พวกที่เป็นพ่อ ค้าก็ถูกห้ามทำการซื้อขาย พวกกรรมกรและพวกเกษตรกรถูกบังคับให้นั่งอยู่ในที่ประชุมของการละทิ้งศาสนาตลอดทั้งวัน ไม่สามารถไปทำงานหรือหาเลี้ยงครอบครัวได้เลย ตำรวจปฏิเสธอย่างเด็ดขาดที่จะช่วยเหลือและคุ้มครอง ที่ลาว นักบวชหญิงพื้นเมือง 3 องค์ของคณะเซนต์ปอลเดอชาร์ตร นายอำเภอได้บังคับให้ออกจากที่พักของนักบวช
ท่านเอกอัครราชทูต พวกเราวิงวอนขอความช่วยเหลือจากท่าน ขอให้ทำสนธิสัญญาสงบศึกเพื่อการดำรงชีวิต ตามปกติ ข้อตกลงทุกอย่างเกี่ยวกับสถานการณ์ที่สงบสุขของมิสซังคาทอลิกในประเทศไทยเป็นการโกหกอย่างสิ้นเชิง การติดต่อสื่อสารกับประเทศอื่นๆ ทำไม่ได้เลย จดหมายทุกฉบับถูกตรวจและถูกยึด
ข้าพเจ้าขอประทานโทษ ด้วยเกรงว่าคำขอร้องของข้าพเจ้าไม่มาช้าเกินไป
ขอแสดงความนับถือ ท่านเอกอัครราชทูต ข้าพเจ้าวิงวอนท่านด้วยความเคารพนับถืออย่างสุดซึ้ง และด้วยควา มสำนึกในพระคุณของท่าน
เรอเน แปร์รอ
ประมุขมิสซัง
มองซิเออร์ ชาร์ลส อาร์แซน-ฮังรี
เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศญี่ปุ่น
โตเกียว
วัด ถูกทำลาย ปากคลอง ท่าเกวียน
ถูกปล้น แหลมโขด พนัส
ถูกข่มขู่ แปดริ้ว เซนต์ร็อค
โรงเรียนถูกปิด บ้านเณรศรีราชา ปราจีน แหลมโขด โคกวัด ปากคลอง ท่าเกวียน หัวไผ่ พนัส บางปลาสร้อย พิษณุโลก เวียงป่าเป้า บ้านปลายนา เจ้าเจ็ด
จดหมายอีกฉบับหนึ่งของพระสังฆราชแปร์รอส ถึงผู้ว่าการกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ (โปรปากัน ดา ฟีเด) รายงานเรื่องการเบียดเบียนศาสนา
"เรามีพระสงฆ์ 4 องค์ที่ถูกจำคุก ได้แก่ คุณพ่อฟรังซิสเซเวียร์ จี้ง้วน (ปัจจุบันใช้ชื่อ สงวน) เป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยโปรปากันดา ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ที่กรุงโรม เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1935, และคุณพ่อมีแชล ส้มจีน ถูกตัดสินจำคุกคนละ 2 ปี , คุณพ่อนิโคลาส ชุนกิม (ปัจจุบันใช้ชื่อ บุญเกิด) ถูกตัดสินจำคุก 15 ปี , และคุณพ่อเฮนรี่ ปลาด ถูกตั ดสินจำคุกตลอดชีวิตเช่นเดียวกับครูคำสอนของท่านคือ เปโตร โหล่ย ทั้งหมดถูกตัดสินลงโทษ อย่างร้ายกาจและถูกกล่าวหาโดยไม่มีความผิดเพราะเป็นคาทอลิก และเป็นผู้สนับสนุนศัตรูของชาติไทย บรรดาพระสงฆ์พื้นเมืองจำนวนมาก และพวกคริสตังเกือบทั้งหมดของเรา ได้แสดงให้เห็นอย่างน่าชมเชยถึงความทุกข์ทรมานของพวกเขา ถึงแม้ว่าในท่ามก ลางพวกหลัง (พวกคริสตัง) เหล่านี้ บางคนได้ยอมใจอ่อนเพราะความกลัวหรือเพื่อช่วยให้ครอบครัวของพวกเขารอดพ้นอันตราย ส่วนใหญ่เศร้าใจอย่างขมขื่นในความอ่อนแอของพวกเขา และฉวยโอกาสครั้งแรกที่มีเพื่อขอโทษ ทำการแก้ ตัวอย่างน่าสรรเสริญต่อหน้าพวกพยาน และระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหาเยซูเจ้า ข้าพเจ้าขอคำภาวนาเป็น พิเศษจากพระคุณเจ้าสำหรับมิสซังกรุงเทพฯ ที่น่าสงสารของพวกเรา และมิสซังลาวซึ่งยังคงได้รับความทุกข์ทรมานมากกว่าพวกเราอยู่ (มีคริสตังอย่างน้อย 8 คนที่ตายเพื่อความเชื่อ) ข้าพเจ้าสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระสันตะปาปาอย่างที่สุด ที่ทรงพระกรุณาส่งคำอวยพรเป็นพิเศษมายังบรรดาพระสงฆ์นักโทษที่น่าสงสารของเรา , พวกครูคำสอน และพวกคริสตัง คำอวยพรนี้จะเป็นการปลอบโยนบรรเทาใจอันยิ่งใหญ่สำหรับพวกเขา"
มีจดหมายหลายฉบับ และรายงานต่างๆ ที่ได้รวบรวมไว้ กล่าวถึงเหตุการณ์การเบียดเบียนในประเทศไทยในระหว่างปี ค.ศ. 1940-1944 เราจะเข้าใจสถานการณ์อย่างแท้จริงจากเอกสารต่างๆ เหล่านี้
ค. การเบียดเบียนจากคำให้การของพวกพยาน
20. นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939 ได้มีการทำสงครามกันระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศไทย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ฉวยโอกาสเรียกร้องดินแดนคืนจากประเทศฝรั่งเศส นายเจริญ ราชบัวขาว ให้การว่า :
"นโยบายนี้ทำให้ทางราชการเริ่มหันเหความสนใจมาทางพวกที่นับถือศาสนาคาทอลิก เพราะศาสนานี้มาจากชาวฝรั่งเศส ดังนั้น จึงกลัวว่าพวกคริสตังจะเข้าข้างฝรั่งเศส คนไทยที่รักชาติทั่วๆ ไป ก็คิดเช่นเดียวกัน ทางราชการจึงเริ่ม สั่งปิดโรงเรียนของวัดที่อยู่รอบนอก และมีการสำรวจพวกคริสตังตามวัดต่างๆ ว่า ใครมีอาวุธบ้าง"
เหตุการณ์ต่างๆ ของการเบียดเบียนเกิดขึ้นทุกหนทุกแห่ง ในจังหวัดโคราช นางเง็กซี กิจสงวน ได้ ทบทวนความทรงจำให้ฟังว่า :
"เขาให้ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน มาเรียกสัตบุรุษไปวัดพุทธและอบรมสั่งสอนให้ทิ้งศาสนา"
ความเกลียดชังความเชื่อคาทอลิกแสดงออกโดยคนไทยในที่ต่างๆ นายวันนา ไพรจันทึก ให้การว่า :
"ผลกระทบที่ได้รับก็คือ มีคนเกลียดชัง มีคนแกล้ง ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีความผิดอะไรเลย เขาแกล้งเรา เขาหาเรื่องใส่เราว่า คนไทยทำไมจึงไปนับถือศาสนาฝรั่ง ทำไมไม่ยอมนับถือศาสนาพุทธ ผมไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ ผมจึงถูกถือว่าเป็นพวก "แนวที่ 5" ไม่รักชาติ และยังถูกข่มขู่ด้วยว่า หากไม่นับถือศาสนาพุทธ จะต้องถูกนำไปประหาร"
พระสังฆราชสังวาลย์ ศุระศรางค์ ยืนยันว่าการเบียดเบียนเกิดขึ้นที่ภาคกลางของประเทศ :
"ในขณะนั้นมีข่าวว่ามีการถูกจับ ถูกฆ่า จึงมีความคิดที่จะต่อต้านการเบียดเบียนนี้ ฉะนั้น เมื่อเขาให้ผมสวด ผมไม่ยอมสวด จำได้ว่าครูไล่ออกจากห้อง และต้องยืนอยู่คนเดียว เมื่อเขาสวดกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้เข้าห้องเรียน จึงจะเห็นได้ว่า การเบียดเบียนนั้นก็มีขึ้นที่อยุธยา ที่ภาคกลางด้วย"
คุณพ่ออังเดรโอนี ได้ยืนยันเช่นเดียวกันถึงความจริงว่ามี "ความเกลียดชังความเชื่อ" ในหมู่คนไทย และมีการเบียดเบียนศาสนาจริง :
"สมัยนั้นเคยมีการเบียดเบียนจริงๆ และตามที่พระสงฆ์ไทยหลายคนถูกจับ ก็ไม่เป็นความจริงที่เขาเป็นสายลับ (สปาย)"
เมื่อได้ศึกษาเอกสารต่างๆ และคำให้การของบรรดาพยาน คุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ได้สรุปเหตุการณ์การเบียดเบียนดังต่อไปนี้ :
"ผมจะต้องแยกอย่างนี้คือ ท่าทีที่เป็นทางการจริงๆ ของรัฐบาลไทยตอนนั้นเป็นท่าทีที่ไม่มีการเบียดเบียนศาสนา จะเป็นรัฐธรรมนูญก็ดี ประกาศของอธิบดีกรมตำรวจก็ดี หรือว่าของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในตอนนั้นก็ดี ทั้งหมดต่างกล่าวว่า ประเทศไทยให้เสรีภาพทางศาสนา นี่คือท่าทีทางการ แต่ท่าทีที่ไม่เป็นทางการก็คือพยายามที่จะให้พุทธศาสนาเท่านั้นเป็นศาสนาประจำชาติ เนื่องจากมีความไม่ค่อยชอบใจผู้ใดก็ตามที่เป็น คาทอลิกหรือผู้ใดก็ตามที่ติดสอยห้อยตามชาวฝรั่งเศส ไม่ว่าจะด้านศาสนาหรือว่าด้านการเมือง หรือว่าด้านใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับฝรั่งเศส จะเป็นทางวิทยุก็ดี ทางสื่อต่างๆ หรือว่าทางหนังสือพิมพ์ ก็พยายามที่จะให้คนไทยทั้งหมดถือว่าตนเป็นคนพุทธ และต้องพย ายามรักษาศาสนาพุทธไว้ให้ได้ เพราะว่าศาสนาคาทอลิกจะมาทำลายศาสนาพุทธ ประชาชนทั้งประเทศตอนนั้นเกิดความรู้สึกต่อต้านและเกลียดชังศาสนาคาทอลิก จนทำให้ประชาชนตามจังหวัดต่างๆ ด้วยการสนับสนุนทางอ้อม ไม่เปิดเผยของพวกนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ ในตอนนั้น ส่งเสริมและไม่ห้ามปรามด้วย ให้มีกลุ่มขึ้นมาตามจังหวัดต่างๆ เรียกว่าคณะเลือดไทย เป็นเหมือนกับผู้แทนประชาชนที่จะต่อต้านศาสนาคาทอลิกมีการเผาวัด มีการออกจดหมายเวียนเพื่อเชิญชวนทุกคนไม่ให้คบค้าสมาคม ไม่ให้ซื้อของที่เป็นของคนคริสต์ ไม่ขายของให้ ไม่ติดต่อ ซึ่งทำให้ความรู้สึกของบรรดาคริสตชนทั้งหมดตอนนั้นมีความรู้สึกหวาดกลัว ไม่ค่อยกล้าที่จะเปิดเผยว่าตัวเองเป็นคาทอลิก"
ท่านยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า คณะเลือดไทยประสพความสำเร็จในการทำงานของพวกเขา :
"คณะเลือดไทยประสพความสำเร็จในลักษณะที่ว่า มีการทำลายล้างเกิดขึ้น มีการเผาวัด มีการทำร้ายร่างกายคนที่เป็นคาทอลิก มีการทำร้ายร่างกายคนที่เป็นพระสงฆ์คาทอลิกโดยเฉพาะ มีการปล้นสะดม มีการสั่งปลดไม้กางเขนออกจากวัด มีการขู่ทำร้าย สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นอยู่ทั่วไปในประเทศไทย"
วิถีชีวิตของพวกคาทอลิกได้รับผลกระทบ คุณพ่อสุรชัยได้อธิบายว่า :
"เมื่อนายอำเภอของแต่ละอำเภอหลายๆ แห่งในประเทศไทยได้จัดให้มีการรวมชุมนุมคริสตังแล้วสั่งว่าถ้าหาก ไม่กลับใจมานับถือศาสนาพุทธก็จะต้องถูกลงโทษด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ในตอนนั้นผลกระทบต่อคริสตังก็คือมีคริสตังบางคนที่หวาดกลัวมากจนกระทั่งยอมเปลี่ยนศาสนาไป โรงเรียนคริสตังของเราทั้งหมดต้องถูกสั่งให้ปิดและนักเรียน ต้องไปเรียนโรงเรียนพุทธ
เพราะฉะนั้นเราจะเข้าใจถึงสถานการณ์การเบียดเบียนศาสนาในเวลานั้นไม่เฉพาะจากเอกสารต่างๆ เท่านั้น แต่ยังทราบได้จากคำให้การของบรรดาพยานผู้ซึ่งได้มีประสบการณ์การเบียดเบียนด้วยวิธีการใด วิธีการหนึ่ง เราจะสรุปได้ด้วยว่ามี "ความเกลียดชังความเชื่อ" และผลก็คือการเบียดเบียนศาสนาทั่วประเทศไทย ความเกลียดชังความเชื่อคาทอลิกนี้เป็นเหตุผลข้อใหญ่ให้เกิดการจับกุม , การใส่ความ และพิพากษาลงโทษผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ในที่สุดผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้ยอมรับความตายในคุกตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า ความตายทั้งทางตรงและทางอ้อมของท่านเป็นความตายแบบมรณสักขี
CR. : http://www.catholic.or.th/.../bknicolas/bknicolas4.html
ในเวลานี้ คุณพ่อหลุยส์ เล็ตแชร์ ถือสัญชาติสวิส ซึ่งด้วยคุณสมบัติข้อนี้เขาสามารถอยู่ที่บางปลาสร้อยและดูแล วัดได้จนถึงปัจจุบันนี้ เขาได้รับคำสั่งจากผู้ว่าราชการจังหวัดนี้ให้ออกจากพื้นที่ เพราะผู้ว่าราชการจังหวัดคนนี้มีความผิดจากการกระทำที่รุนแรงซึ่งพวกคริสตังต้องรับเคราะห์กรรม
หนังสือพิมพ์ต่างๆ ได้เก็บเรื่องนี้เงียบไว้เพราะกลัวเสียชื่อเสียง วิทยุกระจายเสียงปลุกเร้าเรื่องความรักชาติไทย เขาต้องการเห็นประชาชนทุกคนนับถือศาสนาเดียวกัน คือ ศาสนาพุทธ เพื่อชัยชนะต่อชาวยุโรป หลวงพิบูลได้ส่งจดหมายเวียนหลายฉบับเพื่อกล่าวชมเชยพวกที่ละทิ้งศาสนา และเตือนคนอื่นๆ ให้ทำตามตัวอย่างนี้
ที่ประเทศลาว ที่สกลนคร มิชชันนารีชาวยุโรปองค์หนึ่ง และพระสงฆ์พื้นเมือง 3 องค์ถูกจำคุกในข้อหาเป็นแนว ที่ 5 ได้แก่ คุณพ่อสตอคเกล , คุณพ่อเอดัวรด์ ถัง , คุณพ่อศรีนวน , คุณพ่อคำผง
ที่สองคอน (ลาว) นักบวชหญิงรูปหนึ่งและคริสตัง 6 คน ถูกฆ่าตายเพราะพวกเขาไม่ยอมละทิ้งศาสนา
มันเป็นเรื่องยากที่จะบรรยายถึงเรื่องราวที่ได้รับมาโดยสรุป จดหมายทุกฉบับที่ส่งมาที่วัดถูกเปิดอ่าน บรรดาผู้โดยสารทั้งที่เดินทางโดยรถไฟ , เดินทางโดยเรือ , เดินทางโดยรถบัส ต่างถูกค้นและไม่สามารถนำจดหมายไปได้สักฉบับเดียว หนังสือที่เขียนทุกเล่ม , สิ่งตีพิมพ์ทุกชนิด ยกเว้นภาษาไทย ถูกสงสัยและถูกยึดหมด
วันที่ 22 มีนาคม คุณพ่อสงวนและคุณพ่อส้มจีนได้ถูกตัดสินโดยศาลทหารที่ปราจีน ผู้กล่าวหาคือข้าราชการ 3 คน ให้การว่า ได้เห็นคุณพ่อทั้งสองทำสัญญาณให้นักบินฝรั่งเศสด้วยการฉายไฟ พยาน 1 ใน 3 คน บอกว่ าได้เห็นคุณ พ่อทั้งสองในป่าไผ่ พยาน 2 คน บอกว่าได้เห็นคุณพ่อทั้งสองข้างนอกป่าไผ่ แต่งตัวธรรมดาสีขาว อีกคนหนึ่งบอกว่าคุ ณพ่อทั้งสองได้ทำสัญญาณไฟด้านข้าง แต่อีก 2 คน ชี้แจงว่าคุณพ่อทั้งสองทำสัญญาณไฟฝั่งตรงข้าม จำเลยปฏิเสธข้อกล่าวหาของพยานทั้ง 3 คน โดยสิ้นเชิง ต่อมาพยานคนอื่นๆ ให้การเป็นประโยชน์แก่จำเลย ถึงแม้ว่าจะเป็นเช่นนี้ การตัดสินประกาศว่า พวกพยานที่กล่าวหาเป็นพวกข้าราชการ คำให้การของพวกเขามีน้ำหนักมากกว่าคำให้การของคนธรรมดา ด้วยเหตุนี้ จำเลยทั้งสองคนจึงถูกตัดสินจำคุกคนละ 2 เดือน"
พระสังฆราชแปร์รอสได้รายงานเรื่องการเบียดเบียนในประเทศไทยต่อเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในประเทศญี่ปุ่น ลงวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1941
"ขอได้โปรดอนุญาตให้ข้าพเจ้าเล่าให้ท่านฟังถึงเหตุการณ์อันน่าเศร้าใจ ซึ่งในเวลานี้ มิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ กำลังประสบอยู่อย่างเต็มที่ (ไม่ขอพูดถึงเหตุการณ์ในลาว ซึ่งยังคงได้รับความทุกข์ทรมานมานานกว่าเรา) ในเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 ภราดาคณะเซนต์คาเบรียล 13 รูป, มิชชันนารี 13 องค์ และภคินีคณะเ ซนต์ปอลเดอชาร์ตร 12 รูป ถูกบังคับให้ออกนอกประเทศเพราะเป็นชาวฝรั่งเศส นับตั้งแต่นั้นมา วัด 3 แห่งถูกปล้นและ ถูกเผาตั้งแต่พื้นจนถึงหลังคา , บ้านพักพระสงฆ์ 3 แห่ง และบ้านพักซิสเตอร์ 3 แห่งถูกเผา , วัด 7 แห่งถูกปิดและถูกปล้น , วัด 12 แห่งถูกปิด , พระสงฆ์ไทย 3 องค์ซึ่งบริสุทธิ์ ถูกใส่ร้ายและถูกขังคุกเป็นเวลา 3 เดือนแล้ว พระสงฆ์ 2 องค์ เพิ่งได้รับการตัดสินจำคุกคนละ 2 ปี ส่วนองค์ที่ 3 ยังรอการตัดสิน รัฐบาลได้จัดพิธีวันละทิ้งศาสนาอย่างเป็นทางการ พวกคริสตังถูกบังคับให้ประกาศละทิ้งศาสนาของตน ถ้าปฏิเสธ พวกที่เป็นข้าราชการก็ถูกไล่ออกจากหน้าที่ พวกที่เป็นพ่อ ค้าก็ถูกห้ามทำการซื้อขาย พวกกรรมกรและพวกเกษตรกรถูกบังคับให้นั่งอยู่ในที่ประชุมของการละทิ้งศาสนาตลอดทั้งวัน ไม่สามารถไปทำงานหรือหาเลี้ยงครอบครัวได้เลย ตำรวจปฏิเสธอย่างเด็ดขาดที่จะช่วยเหลือและคุ้มครอง ที่ลาว นักบวชหญิงพื้นเมือง 3 องค์ของคณะเซนต์ปอลเดอชาร์ตร นายอำเภอได้บังคับให้ออกจากที่พักของนักบวช
ท่านเอกอัครราชทูต พวกเราวิงวอนขอความช่วยเหลือจากท่าน ขอให้ทำสนธิสัญญาสงบศึกเพื่อการดำรงชีวิต ตามปกติ ข้อตกลงทุกอย่างเกี่ยวกับสถานการณ์ที่สงบสุขของมิสซังคาทอลิกในประเทศไทยเป็นการโกหกอย่างสิ้นเชิง การติดต่อสื่อสารกับประเทศอื่นๆ ทำไม่ได้เลย จดหมายทุกฉบับถูกตรวจและถูกยึด
ข้าพเจ้าขอประทานโทษ ด้วยเกรงว่าคำขอร้องของข้าพเจ้าไม่มาช้าเกินไป
ขอแสดงความนับถือ ท่านเอกอัครราชทูต ข้าพเจ้าวิงวอนท่านด้วยความเคารพนับถืออย่างสุดซึ้ง และด้วยควา มสำนึกในพระคุณของท่าน
เรอเน แปร์รอ
ประมุขมิสซัง
มองซิเออร์ ชาร์ลส อาร์แซน-ฮังรี
เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศญี่ปุ่น
โตเกียว
วัด ถูกทำลาย ปากคลอง ท่าเกวียน
ถูกปล้น แหลมโขด พนัส
ถูกข่มขู่ แปดริ้ว เซนต์ร็อค
โรงเรียนถูกปิด บ้านเณรศรีราชา ปราจีน แหลมโขด โคกวัด ปากคลอง ท่าเกวียน หัวไผ่ พนัส บางปลาสร้อย พิษณุโลก เวียงป่าเป้า บ้านปลายนา เจ้าเจ็ด
จดหมายอีกฉบับหนึ่งของพระสังฆราชแปร์รอส ถึงผู้ว่าการกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ (โปรปากัน ดา ฟีเด) รายงานเรื่องการเบียดเบียนศาสนา
"เรามีพระสงฆ์ 4 องค์ที่ถูกจำคุก ได้แก่ คุณพ่อฟรังซิสเซเวียร์ จี้ง้วน (ปัจจุบันใช้ชื่อ สงวน) เป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยโปรปากันดา ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ที่กรุงโรม เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1935, และคุณพ่อมีแชล ส้มจีน ถูกตัดสินจำคุกคนละ 2 ปี , คุณพ่อนิโคลาส ชุนกิม (ปัจจุบันใช้ชื่อ บุญเกิด) ถูกตัดสินจำคุก 15 ปี , และคุณพ่อเฮนรี่ ปลาด ถูกตั ดสินจำคุกตลอดชีวิตเช่นเดียวกับครูคำสอนของท่านคือ เปโตร โหล่ย ทั้งหมดถูกตัดสินลงโทษ อย่างร้ายกาจและถูกกล่าวหาโดยไม่มีความผิดเพราะเป็นคาทอลิก และเป็นผู้สนับสนุนศัตรูของชาติไทย บรรดาพระสงฆ์พื้นเมืองจำนวนมาก และพวกคริสตังเกือบทั้งหมดของเรา ได้แสดงให้เห็นอย่างน่าชมเชยถึงความทุกข์ทรมานของพวกเขา ถึงแม้ว่าในท่ามก ลางพวกหลัง (พวกคริสตัง) เหล่านี้ บางคนได้ยอมใจอ่อนเพราะความกลัวหรือเพื่อช่วยให้ครอบครัวของพวกเขารอดพ้นอันตราย ส่วนใหญ่เศร้าใจอย่างขมขื่นในความอ่อนแอของพวกเขา และฉวยโอกาสครั้งแรกที่มีเพื่อขอโทษ ทำการแก้ ตัวอย่างน่าสรรเสริญต่อหน้าพวกพยาน และระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหาเยซูเจ้า ข้าพเจ้าขอคำภาวนาเป็น พิเศษจากพระคุณเจ้าสำหรับมิสซังกรุงเทพฯ ที่น่าสงสารของพวกเรา และมิสซังลาวซึ่งยังคงได้รับความทุกข์ทรมานมากกว่าพวกเราอยู่ (มีคริสตังอย่างน้อย 8 คนที่ตายเพื่อความเชื่อ) ข้าพเจ้าสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระสันตะปาปาอย่างที่สุด ที่ทรงพระกรุณาส่งคำอวยพรเป็นพิเศษมายังบรรดาพระสงฆ์นักโทษที่น่าสงสารของเรา , พวกครูคำสอน และพวกคริสตัง คำอวยพรนี้จะเป็นการปลอบโยนบรรเทาใจอันยิ่งใหญ่สำหรับพวกเขา"
มีจดหมายหลายฉบับ และรายงานต่างๆ ที่ได้รวบรวมไว้ กล่าวถึงเหตุการณ์การเบียดเบียนในประเทศไทยในระหว่างปี ค.ศ. 1940-1944 เราจะเข้าใจสถานการณ์อย่างแท้จริงจากเอกสารต่างๆ เหล่านี้
ค. การเบียดเบียนจากคำให้การของพวกพยาน
20. นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939 ได้มีการทำสงครามกันระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศไทย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ฉวยโอกาสเรียกร้องดินแดนคืนจากประเทศฝรั่งเศส นายเจริญ ราชบัวขาว ให้การว่า :
"นโยบายนี้ทำให้ทางราชการเริ่มหันเหความสนใจมาทางพวกที่นับถือศาสนาคาทอลิก เพราะศาสนานี้มาจากชาวฝรั่งเศส ดังนั้น จึงกลัวว่าพวกคริสตังจะเข้าข้างฝรั่งเศส คนไทยที่รักชาติทั่วๆ ไป ก็คิดเช่นเดียวกัน ทางราชการจึงเริ่ม สั่งปิดโรงเรียนของวัดที่อยู่รอบนอก และมีการสำรวจพวกคริสตังตามวัดต่างๆ ว่า ใครมีอาวุธบ้าง"
เหตุการณ์ต่างๆ ของการเบียดเบียนเกิดขึ้นทุกหนทุกแห่ง ในจังหวัดโคราช นางเง็กซี กิจสงวน ได้ ทบทวนความทรงจำให้ฟังว่า :
"เขาให้ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน มาเรียกสัตบุรุษไปวัดพุทธและอบรมสั่งสอนให้ทิ้งศาสนา"
ความเกลียดชังความเชื่อคาทอลิกแสดงออกโดยคนไทยในที่ต่างๆ นายวันนา ไพรจันทึก ให้การว่า :
"ผลกระทบที่ได้รับก็คือ มีคนเกลียดชัง มีคนแกล้ง ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีความผิดอะไรเลย เขาแกล้งเรา เขาหาเรื่องใส่เราว่า คนไทยทำไมจึงไปนับถือศาสนาฝรั่ง ทำไมไม่ยอมนับถือศาสนาพุทธ ผมไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ ผมจึงถูกถือว่าเป็นพวก "แนวที่ 5" ไม่รักชาติ และยังถูกข่มขู่ด้วยว่า หากไม่นับถือศาสนาพุทธ จะต้องถูกนำไปประหาร"
พระสังฆราชสังวาลย์ ศุระศรางค์ ยืนยันว่าการเบียดเบียนเกิดขึ้นที่ภาคกลางของประเทศ :
"ในขณะนั้นมีข่าวว่ามีการถูกจับ ถูกฆ่า จึงมีความคิดที่จะต่อต้านการเบียดเบียนนี้ ฉะนั้น เมื่อเขาให้ผมสวด ผมไม่ยอมสวด จำได้ว่าครูไล่ออกจากห้อง และต้องยืนอยู่คนเดียว เมื่อเขาสวดกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้เข้าห้องเรียน จึงจะเห็นได้ว่า การเบียดเบียนนั้นก็มีขึ้นที่อยุธยา ที่ภาคกลางด้วย"
คุณพ่ออังเดรโอนี ได้ยืนยันเช่นเดียวกันถึงความจริงว่ามี "ความเกลียดชังความเชื่อ" ในหมู่คนไทย และมีการเบียดเบียนศาสนาจริง :
"สมัยนั้นเคยมีการเบียดเบียนจริงๆ และตามที่พระสงฆ์ไทยหลายคนถูกจับ ก็ไม่เป็นความจริงที่เขาเป็นสายลับ (สปาย)"
เมื่อได้ศึกษาเอกสารต่างๆ และคำให้การของบรรดาพยาน คุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ได้สรุปเหตุการณ์การเบียดเบียนดังต่อไปนี้ :
"ผมจะต้องแยกอย่างนี้คือ ท่าทีที่เป็นทางการจริงๆ ของรัฐบาลไทยตอนนั้นเป็นท่าทีที่ไม่มีการเบียดเบียนศาสนา จะเป็นรัฐธรรมนูญก็ดี ประกาศของอธิบดีกรมตำรวจก็ดี หรือว่าของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในตอนนั้นก็ดี ทั้งหมดต่างกล่าวว่า ประเทศไทยให้เสรีภาพทางศาสนา นี่คือท่าทีทางการ แต่ท่าทีที่ไม่เป็นทางการก็คือพยายามที่จะให้พุทธศาสนาเท่านั้นเป็นศาสนาประจำชาติ เนื่องจากมีความไม่ค่อยชอบใจผู้ใดก็ตามที่เป็น คาทอลิกหรือผู้ใดก็ตามที่ติดสอยห้อยตามชาวฝรั่งเศส ไม่ว่าจะด้านศาสนาหรือว่าด้านการเมือง หรือว่าด้านใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับฝรั่งเศส จะเป็นทางวิทยุก็ดี ทางสื่อต่างๆ หรือว่าทางหนังสือพิมพ์ ก็พยายามที่จะให้คนไทยทั้งหมดถือว่าตนเป็นคนพุทธ และต้องพย ายามรักษาศาสนาพุทธไว้ให้ได้ เพราะว่าศาสนาคาทอลิกจะมาทำลายศาสนาพุทธ ประชาชนทั้งประเทศตอนนั้นเกิดความรู้สึกต่อต้านและเกลียดชังศาสนาคาทอลิก จนทำให้ประชาชนตามจังหวัดต่างๆ ด้วยการสนับสนุนทางอ้อม ไม่เปิดเผยของพวกนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ ในตอนนั้น ส่งเสริมและไม่ห้ามปรามด้วย ให้มีกลุ่มขึ้นมาตามจังหวัดต่างๆ เรียกว่าคณะเลือดไทย เป็นเหมือนกับผู้แทนประชาชนที่จะต่อต้านศาสนาคาทอลิกมีการเผาวัด มีการออกจดหมายเวียนเพื่อเชิญชวนทุกคนไม่ให้คบค้าสมาคม ไม่ให้ซื้อของที่เป็นของคนคริสต์ ไม่ขายของให้ ไม่ติดต่อ ซึ่งทำให้ความรู้สึกของบรรดาคริสตชนทั้งหมดตอนนั้นมีความรู้สึกหวาดกลัว ไม่ค่อยกล้าที่จะเปิดเผยว่าตัวเองเป็นคาทอลิก"
ท่านยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า คณะเลือดไทยประสพความสำเร็จในการทำงานของพวกเขา :
"คณะเลือดไทยประสพความสำเร็จในลักษณะที่ว่า มีการทำลายล้างเกิดขึ้น มีการเผาวัด มีการทำร้ายร่างกายคนที่เป็นคาทอลิก มีการทำร้ายร่างกายคนที่เป็นพระสงฆ์คาทอลิกโดยเฉพาะ มีการปล้นสะดม มีการสั่งปลดไม้กางเขนออกจากวัด มีการขู่ทำร้าย สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นอยู่ทั่วไปในประเทศไทย"
วิถีชีวิตของพวกคาทอลิกได้รับผลกระทบ คุณพ่อสุรชัยได้อธิบายว่า :
"เมื่อนายอำเภอของแต่ละอำเภอหลายๆ แห่งในประเทศไทยได้จัดให้มีการรวมชุมนุมคริสตังแล้วสั่งว่าถ้าหาก ไม่กลับใจมานับถือศาสนาพุทธก็จะต้องถูกลงโทษด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ในตอนนั้นผลกระทบต่อคริสตังก็คือมีคริสตังบางคนที่หวาดกลัวมากจนกระทั่งยอมเปลี่ยนศาสนาไป โรงเรียนคริสตังของเราทั้งหมดต้องถูกสั่งให้ปิดและนักเรียน ต้องไปเรียนโรงเรียนพุทธ
เพราะฉะนั้นเราจะเข้าใจถึงสถานการณ์การเบียดเบียนศาสนาในเวลานั้นไม่เฉพาะจากเอกสารต่างๆ เท่านั้น แต่ยังทราบได้จากคำให้การของบรรดาพยานผู้ซึ่งได้มีประสบการณ์การเบียดเบียนด้วยวิธีการใด วิธีการหนึ่ง เราจะสรุปได้ด้วยว่ามี "ความเกลียดชังความเชื่อ" และผลก็คือการเบียดเบียนศาสนาทั่วประเทศไทย ความเกลียดชังความเชื่อคาทอลิกนี้เป็นเหตุผลข้อใหญ่ให้เกิดการจับกุม , การใส่ความ และพิพากษาลงโทษผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ในที่สุดผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้ยอมรับความตายในคุกตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า ความตายทั้งทางตรงและทางอ้อมของท่านเป็นความตายแบบมรณสักขี
CR. : http://www.catholic.or.th/.../bknicolas/bknicolas4.html
งานศึกษารายกรณี คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เป็นบุญราศี
รูปแบบการเป็นมรณสักขี
1. จากส่วนของผู้ที่เบียดเบียน
ก) ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกจับกุมเพราะท่านเป็นพระสงฆ์คาทอลิก
21. "ศาสนาคาทอลิกเป็นศัตรูของประเทศ" คือ ความคิดของคนไทยผู้รักชาติทั่วๆไป นายเจริญ ได้เป็นพยานและให้การว่า :
"จอมพล ป. (พิบูลสงคราม) จึงเห็นเป็นโอกาสดีที่เรียกร้องเอาดินแดนคืนจากฝรั่งเศส นโยบายนี้ทำให้ทางราชการเริ่มหันเหความสนใจมาทางพวกที่นับถือศาสนาคาทอลิก เพราะศาสนานี้มาจากชาวฝรั่งเศส ดังนั้นจึงกลัวว่าพวกคริสตังจะเข้าข้างฝรั่งเศส คนไทยที่รักชาติทั่วๆ ไป ก็คิดเช่นเดียวกัน"
ก่อนที่ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าจะถูกจับ ทางราชการได้ออกหมายจับคุณพ่ออัมบรอซิโอ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านหัน
นางเง็กซี กิจสงวน ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้ถูกจับอย่างง่ายดายเพราะท่านเป็นพระสงฆ์คาทอลิก
"เพราะท่านเป็นพระสงฆ์คาทอลิกซึ่งพวกเขาเกลียด"
พยานหลายคนก็มีความคิดเห็นเช่นเดียวกัน นายแก้ว พันธุ์สมบัติ ให้การว่า :
"ไม่มีความผิดอื่น และตามข่าวที่ได้รับ คุณพ่อถูกกล่าวหาว่าเป็นแนวที่ 5 ที่คอยส่งสัญญาณไฟให้กับศัตรู"
ข) ผู้เบียดเบียนได้ใส่ความผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าว่าเป็นแนวที่ 5 เพราะท่านเป็นพระสงฆ์คาทอลิก
22. พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่ง ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 ถึงหลวงอดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ แจ้งให้ทราบว่า ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าเป็นผู้บริสุทธิ์ :
"บาดหลวงบุญเกิดนั้นถูกขังอยู่ที่สีคิ้วเป็นเวลาหลายวัน แล้วต้องไปติดคุกอยู่ที่นครราชสีมา จนถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ นี้ ได้ถูกย้ายมาอยู่ที่พระนคร ถูกขังอยู่ที่สถานีตำรวจศาลาแดง
ขอท่านอธิบดีโปรดพิจารณาความ จะได้ทราบว่า บาดหลวงบุญเกิดไม่มีความผิด ถูกคนเกลียดมาใส่ความว่าเป็นแนวที่ 5 ที่จริงไม่เคยเป็นเลย จึงเมื่อไม่มีผิด ก็ขอให้ปล่อยตามข้อ 13 แห่งรัฐธรรมนูญ"
พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งลงวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1941 ถึงเพื่อนมิชชันนารีที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เล่าเกี่ยวกับการจับกุมผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าและเพื่อนพระสงฆ์ไทย (คาทอลิก) ของท่านว่า :
“คุณพ่อนิโคลาสถูกจับที่บ้านหันเมื่อวันที่ 12 มกราคม ถูกกล่าวหาเช่นเดียวกัน (เช่นเดียวกับคุณพ่อ 2 องค์) ว่าเป็นแนวที่ 5 ถูกขังคุกที่โคราชเป็นเวลา 2 เดือน ต่อมาถูกส่งตัวมาที่กรุงเทพฯ ถูกขังที่สถานีตำรวจใหม่ศาลาแดง กำลังคอยคำตัดสิน ผลคำตัดสินนั้นจะเป็นอย่างไร? พระเป็นเจ้าแต่ผู้เดียวที่ทรงทราบ ระหว่างนั้น ท่านยินดีทนทุกข์ทรมานเพื่อพระศาสนาเช่นเดียวกับพระสงฆ์อื่นอีก 2 องค์ มีการส่งอาหารจากเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ไปให้ท่านทุกๆ วัน แต่ห้ามมิให้พูดคุยกันเด็ดขาด"
พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งลงวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1941
ถึงนายโรเชร์ การ์โร กงสุลฝรั่งเศสประจำประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้ :
"ข้าพเจ้ามีความเสียใจที่จะแจ้งให้ท่านทราบว่า คุณพ่อนิโคลาส ชุนกิม บุญเกิด พระสงฆ์คาทอลิกไทย ได้ถูกตัดสินจำคุก 15 ปี โดยศาลพิเศษ โดยถูกกล่าวหาว่าท่านได้ช่วยเหลือฝรั่งเศสในสงครามอินโดจีนต่อต้านไทย
คุณพ่อนิโคลาสองค์นี้ ได้รับหน้าที่ดูแลคริสตังที่โคราชและโนนแก้วมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา ท่านได้ไปที่บ้านหันซึ่งเป็นกลุ่มคริสตชนอีกกลุ่มหนึ่งที่อยู่ห่างจากสีคิ้วไปทางตะวันตกของเมืองโคราช เพื่อพบกับเพื่อนพระสงฆ์องค์หนึ่งของท่านคือคุณพ่ออัมบรอซิโอ แต่คุณพ่ออัมบรอซิโอได้ออกเดินทางไปกรุงเทพฯ แล้วก่อนหน้านี้เล็กน้อย วันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันอาทิตย์ คุณพ่อนิโคลาสได้ตีระฆังเพื่อเรียกคริสตังมาวัดฟัง มิสซาในเวลา 8:30 ตอนเช้า ด้วยการกระทำอันนี้ ท่านได้ถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอ ซึ่งห้ามตีระฆังในระหว่างเวลากลางคืน คุณพ่อนิโคลาสได้ถูกจับกุมและถูกนำตัวไปที่สีคิ้วพร้อมกับพวกคริสตังคนอื่นๆ ที่นั่น ท่านต้องอยู่ในคุกเป็นเวลาหลายวัน ต่อมาได้ถูกส่งตัวมายังกรุงเทพฯ ที่สถานีตำรวจศาลาแดง ท่านถูกควบคุมตัวอย่างเข้มงวดเป็นเวลาเกือบ 4 เดือน โดยปราศจากการติดต่อกับบุคคลภายนอก ทั้งห้ามเยี่ยมโดยเด็ดขาด ในที่สุด วัน ที่ 15 พฤษภาคม ศาลพิเศษ (ไม่อนุญาตให้มีทนาย และตัดสิทธิ์ห้ามอุทธรณ์) ได้พิพากษาว่า คุณพ่อและคริสตัง 8 คน ถูกฟ้องกล่าวหาว่า "ได้ปฏิเสธ โดยไม่ยอมมอบปืนเพื่อช่วยเหลือในการสร้างทางรถไฟและสายโทรเลข , ได้ทำการประชุมลับเพื่อปลุกปั่นผู้สมรู้ร่วมคิดคนอื่นๆ ไม่ให้ช่วยเหลือรัฐบาลไทยต่อสู้กับอินโดจีน , ได้สวดภาวนาเพื่อชัยชนะของฝรั่งเศส , ได้มีเจตนาในการตัดเส้นทางการคมนาคมและสายโทรเลข" พยานทุกคนปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้ทุกข้อว่าไม่เป็นความจริง (คุณพ่อนิโคลาสไม่ได้อยู่ หรือผ่านไปที่บ้านหันในระหว่าง 2 วันที่ผ่านมา) ศาลได้ยืนยันว่าคุณพ่อมิได้เอ่ยอ้างถึงพยานเลย แต่ความจริงแล้วท่านได้อ้างถึงพยาน 9 คน เพื่อการต่อสู้คดี พยาน 4 คนได้ยืนยันว่า ในตอนแรกพวกเขาถูกนายอำเภอบังคับให้ฟ้องกล่าวหาคุณพ่อที่ศาลอำเภอสีคิ้ว แต่คำให้การของพยานที่ศาลนั้นเป็นคำให้การที่นายอำเภอเขียนขึ้นมาให้พวกเขาท่องจนขึ้นใจ เพื่อใช้ในการปรักปรำ การกลับคำให้การของพวกเขาที่กรุงเทพฯ ไม่มีประโยชน์สักนิดเดียว ศาลไม่ยอมรับคำให้การตามความจริงของพวกเขา
กระบวนการพิจารณาคดีเช่นนี้ เป็นการกระทำที่ไม่น่าเชื่อถือ และยากที่จะเข้าใจได้ โดยเฉพาะหลังจากที่ได้มีการลงนามในสัญญาข้อตกลงระหว่างฝรั่งเศส-ไทย แม้ว่าคุณพ่อจะเป็นชาวพื้นเมือง (คนไทย) ข้าพเจ้าเชื่อตามหน้าที่ของข้าพเจ้าในปัจจุบันนี้ในฐานะตัวแทนของชาวฝรั่งเศส เพราะว่าเหตุจูงใจในการเรียกร้องเพื่อการตัดสิ นลงโทษพระสงฆ์องค์นี้และพวกคริสตัง (แม้กระทั่งการตัดสินลงโทษคุณพ่อฟรังซิสเซเวียร์ สงวน และคุณพ่อมีแชล ส้มจีน ที่ได้รับการตัดสินลงโทษจำคุกไปแล้วคนละ 2 ปี) คือสาเหตุที่พวกเขาต้องการช่วยเหลือฝรั่งเศส
ยิ่งกว่านั้น พระสงฆ์ไทยอีกองค์หนึ่งได้แจ้งให้ข้าพเจ้าทราบว่า ที่แปดริ้วมีใบประกาศโฆษณาในหัวข้อ "เลือดไทยของชาวฉะเชิงเทรา" ห้ามไม่ให้ใครทำการติดต่อกับพวกคาทอลิก เหตุจูงใจในการเรียกร้องคือ "การบีบบังคับให้ทิ้งศาสนามีมานานแล้ว พวกคาทอลิกมีความมั่นคงและไม่ปฏิบัติตัวตามความต้องการของชาติ ซึ่งคณะเลือดไทยได้บังคับให้ทำ" ใบประกาศโฆษณาที่แนบมานี้ ขอให้ ฯพณฯ ท่านเข้าแทรกแซงต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจเพื่อใบประกาศต่างๆ ไม่สามารถประท้วงได้อีก โดยไม่รับรู้ข้อเท็จจริงต่างๆ และเลิกการกระทำที่ต่อต้านประชาชนที่เป็นศาสนนิกชนผู้ปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศ"
นายเจริญ ราชบัวชาว ได้เป็นพยานด้วยว่า :
คุณพ่อนิโคลาสจึงถือโอกาสปรึกษาหารือกันกับชาวบ้าน ท่านบอกว่าควรเขียนหนังสือไปร้องเรียนนายกรัฐมนตรี แต่ก็ไม่ได้ทำ การปรึกษาคืนนั้นมีคนสอดแนม เพราะอยากได้ความชอบ โดยต่อมาครูนพรัตน์ บุญญานุสน ซึ่งเป็นผู้ไม่ชอบคริสตังได้ให้การในศาลว่า พวกคริสตังคุยกันเรื่องจะต่อต้านรัฐบาล"
ค) ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกพิพากษาอย่างไม่ยุติธรรม
23. วิธีการให้พวกคาทอลิกต่างฝ่ายต่างปรักปรำกันเองได้ถูกนำมาใช้ นายเจริญได้ให้การว่า :
"ด้านการสอบสวน ทางการพยายามใช้วิธีให้คริสตังปรักปรำกันเอง... ได้ไปนำคริสตังมาอีก 9 คน จากบ้านหัน ทางการบังคับให้คนทั้ง 9 คนนี้ เป็นพยานปรักปรำว่า 9 คนที่ถูกจับนั้น เป็นพวกกบฏ และเป็นพวกแนวที่ 5 พวกเอาใจช่วยเหลือฝรั่งเศส"
พลโท สุนทร สันธนะวนิช ผู้เคยดูแลรับผิดชอบและบังคับบัญชางานที่เกี่ยวกับศาลทหารทั้ง 3 ศาล อันเป็นสถานที่ซึ่งผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้ถูกพิพากษาลงโทษ ได้เป็นพยานด้วยเช่นกันว่า :
"แต่เข้าใจว่าคุณพ่อนิโคลาสถูกตัดสินจำคุกคงไม่ใช่เพราะว่าท่านเป็นเพียงพระสงฆ์คาทอลิกอย่างเดียวเท่านั้น เพราะในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหารซึ่งผมได้มีหน้าที่ในภายหลัง ทราบว่ากระบวนการพิจาร ณาที่จะพิพากษาคดีสำคัญๆ ในระดับความมั่นคงของชาติ จะต้องปรากฏพยานหลักฐานในสำนวน ต้องมีสำนวนต้องปรากฏพยานหลักฐานชัดเจน ศาลจึงจะวินิจฉัยและพิพากษาไปได้ เพราะมิฉะนั้น ลำพังแต่รู้เพียงว่าเป็นคาทอลิก ตุลาการคงไม่กล้าตัดสินไปทันที ซึ่งจะเห็นได้ว่า คุณพ่อนิโคลาสถูกควบคุมตัวก่อนพิพากษาที่ศาลาแดง ศาลาแดงที่ว่านี้คือสถานีตำรวจนครบาลศาลาแดง ขณะนั้นตั้งอยู่ที่หลังพระรูปรัชกาลที่ 6 ภายหลังย้ายไปอยู่ที่สถานีตำร วจลุมพินีปัจจุบัน การเป็นพระสงฆ์คาทอลิก อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การพิจารณาเป็นไปในความรู้สึกของความไม่รักชาติบ้านเมืองอย่างหนึ่ง"
พลโท สุนทร ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า :
"ข้าพเจ้าเข้าใจว่าการที่คุณพ่อนิโคลาสถูกจับครั้งแรกเพราะว่าท่านเป็นพระสงฆ์คาทอลิก เพราะเพียงแต่เป็นคาทอลิกอย่างเดียวคงถูกพิพากษาคดีไม่ได้ พยานที่บันทึกไว้ในชั้นสอบสวน และมาให้การต่อมา จะต้องมาที่ ศาลทหารกรุงเทพฯ ด้วย"
ง) ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดีในคุก นับตั้งแต่มีความเกลียดชังความเชื่อคาทอลิกที่นั่น
24. พระสังฆราชแปร์รอสได้ส่งหนังสือสวดทั้งภาษาไทยและลาตินไปให้ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าและพระสงฆ์ไทยอีก 2 องค์ รวมทั้งหนังสือนิตยสาร "สารสาสน์" แต่เจ้าหน้าที่เรือนจำได้ส่งหนังสือนิตยสารสารสาสน์ คืนกลับมาให้พระสังฆราช เพราะไม่อนุญาตให้พระสงฆ์คาทอลิกไทย 3 องค์อ่าน กรมราชทัณฑ์ได้ส่งจดหมายฉบับหนึ่งลงวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1943 แจ้งให้พระสังฆราชแปร์รอสทราบเรื่องขอระงับการเยี่ยมพระสงฆ์คาทอลิก 3 องค์ไว้ชั่วคราว และรายละเอียดของหนังสือต่างๆ ที่ส่งให้พระสงฆ์ 3 องค์ ที่ถูกคุมขังดังได้กล่าวมาแล้ว :
"ตามที่กรมราชทันท์ได้รับมอบหนังสือภาสาไทยและภาสาต่างประเทศ ที่ท่านจะนำไปมอบให้บาดหลวง 3 คน ซึ่งคุมขังหยู่ไนเรือนจำกลางบางขวาง รวม 7 เล่ม เพื่อตรวดพิจารนาตามระเบียบ เมื่อตรวดแล้ว ตกลงจะส่งมาไห้ท่านนะวัดอัสสัมชัญ และได้ตกลงไว้ว่าจะอนุญาตไห้ท่านเข้าเยี่ยมพร้อมทั้งนำหนังสือที่ผ่านการตรวดตามระเบียบแล้ว ไปมอบไห้แก่บาดหลวงทั้ง 3 คน ณ เรือนจำกลางบางขวางไนวันที่ 13 กันยายน 2486 นั้น
กรมราชทันท์ขอนมัสการมาไห้ซาบด้วยความเสียใจว่า บัดนี้ กรมราชทันท์มีเหตุขัดข้องบางประการไม่ อาดอำนวยความสดวกไห้ท่านเข้าเยี่ยมตามกำหนดที่ได้ตกลงไว้ดังกล่าวข้างต้นได้ จำเป็นต้องระงับการไห้ท่านเข้าเยี่ยมไว้ชั่วคราว"
วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1944 พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งถึง
พันตำรวจเอก มงคล กล้ากลางสมร อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ขออนุญาตอย่างเป็นทางการเพื่อเข้าเยี่ยมนักโทษบุญเกิด (ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า) ผู้ซึ่งกำลังป่วยหนักอยู่ในโรงพยาบาลของเรือนจำ เพื่อโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์แบบคาทอลิกให้
"ด้วยที่เรือนจำบางขวาง มีบาดหลวงองค์หนึ่ง ชื่อ บุณเกิด กริสบำรุง ถูกคุมขังประจำหยู่แดน 6 กำลังเจ็บหนักหยู่ด้วยอาการน่ากลัวจะสิ้นชีวิตลงไนเร็ววันนี้ ฉันรู้สึกห่วงไยไนความเปนหยู่ของบาดหลวงองค์นี้มาก จึงขอประทานอนุญาตต่อท่านเปนกรนีย์พิเสส เพื่อได้มีโอกาสไปเยี่ยมได้สักครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้โปรดสีลสักดิ์สิทธิ์แก่เขาตามจารีตสาสนาโรมันกาทอลิกเปนการด่วน"
แต่การขอเข้าเยี่ยมของพระสังฆราชได้รับการปฏิเสธ
"ตามหนังสือของท่านลงวันที่ 6 มกราคม 2487 ขออนุญาตเข้าเยี่ยมอาการป่วยของ น.ช. บุณเกิด กริสบำรุง ซึ่งถูกคุมขังหยู่นะเรือนจำกลางบางขวาง เพื่อโปรดสีลไห้แก่ น.ช. ผู้นี้ตามจารีตสาสนาโรมันคาทอลิกนั้น
ฉันมีความเสียใจที่ขนะนี้ยังไม่อาดอนุเคราะห์ไห้ท่านเข้าเยี่ยมนักโทสผู้นี้ตามความประสงค์ของท่านได้"
25. ที่สุด วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944 เจ้าหน้าที่เรือนจำได้ส่งจดหมายฉบับหนึ่งแจ้งว่าผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้ตายด้วยวัณโรค ก่อนตาย ท่านได้เขียนพินัยกรรมมอบสิ่งของต่างๆ ของท่านให้แก่คุณพ่อเอดัวรด์และคุณพ่อเฮนรี่ ดังนั้น พินัยกรรมของท่านและสิ่งของต่างๆ ของท่านถูกส่งมาให้กับพระสังฆราชแปร์รอส
"ฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่จะแจ้งว่า น.ช. บาดหลวง บุณเกิด กริสบำรุง ซึ่งได้ป่วยเปนวันโรคแห่งปอด ถึงแก่ ความตายไปแล้วนั้น ก่อนตายได้ทำพินัยกัมมอบเงินกับยาฉีด น้ำกลั่น ให้กับท่าน"
พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944 ถึงพระสังฆราชอาเดรียง ดราปิเอร์ ผู้แทนพระสันตะปาปา เล่าเกี่ยวกับผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าและชีวิตในคุกของท่าน :
"เราได้สูญเสียพระสงฆ์พื้นเมืององค์หนึ่งในจำนวน 3 องค์ ที่ถูกตัดสินจำคุกโดยไม่มีความผิด คุณพ่อนิโคลาสเป็นพระสงฆ์ที่มีใจร้อนรน มีความกระตือรือร้นกว่าทุกคน เป็นระยะเวลา 8 เดือน ที่ท่านป่วยเป็นวัณโรคอยู่ในโรงพยาบาลของเรือนจำ ท่านได้ทำให้คนกลับใจจำนวน 68 คน และโปรดศีลล้างบาปให้คนใกล้ตาย ผู้ที่ลงโทษตัดสินจำคุกท่านอย่างอยุติธรรม คงไม่คาดคิดว่าจะได้รับผลตอบแทนเช่นนี้ ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยมได้เดือนละครั้งมาเป็นเวลา 1 ปีครึ่งแล้ว ต่อมาข้าพเจ้าและครอบครัวของคุณพ่อได้รับการปฏิเสธ ไม่อนุญาตให้เข้าเ ยี่ยม แต่ข้าพเจ้าสามารถติดต่อกับคุณพ่อและเพื่อนพระสงฆ์ของท่านอีก 2 องค์ในคุก โดยผ่านทางคริสตังที่นำอาหารและเงินจำนวนเล็กน้อยไปให้ท่านในแต่ละเดือน คุณพ่อไม่สามารถพบเพื่อนพระสงฆ์อีก 2 องค์ ซึ่งเป็นนักโทษเช่นเดียวกับท่าน นี่เป็นการเบียดเบียนเพื่อต่อต้านศาสนาคาทอลิก ซึ่งยังคงดำเนินต่อมาอีกอย่างรุนแรงที่สุดเป็นระยะเวลา 2 ปี"
ศพของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกฝังอยู่ที่วัดบางแพรก ใกล้กับเรือนจำ พระสังฆราชแปร์รอสไม่สามารถ รับศพของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ามาฝังได้ ถึงแม้จะพยายามขออนุญาตหลายครั้ง ประมาณ 2 เดือนต่อมา พระสังฆราชแปร์รอสจึงได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งลงวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1944 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดพระนคร ขออนุญาตขุดศพของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ามาฝังไว้ที่สุสานในอุโมงค์อาสนวิหารอัสสัมชัญ
"บาทหลวงบุญเกิด กริสบำรุง ได้ถึงความรณภาพในเรือนจำกลางบางขวาง อำเภอนนทบุรี จังหวัดพระนคร วันที่ 12 มกราคม 2487 แล้วถูกฝังที่วัดบางแพรก มาบัดนี้จะขุดศพขึ้น เอามาฝังไว้ในอุโมงค์ใต้โบสถ์วัดอัสสัมชัญ ที่มีอนุญาตฝังศพแล้ว ฉันขออนุญาตส่งศพมาจากวัดบางแพรก อำเภอนนทบุรี มาฝังที่วัดอัสสัมชัญ อำเภอบางรัก จังหวัดพระนคร"
พระสังฆราชแปร์รอสได้รับอนุญาตให้ขุดศพของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้ ท่านได้ให้ญาติพี่น้องของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าไปขุดศพมาจากวัดบางแพรก ผู้ที่ไปขุดศพคือ นางผิน น้องสะใภ้ของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า , นายกุ้ย เพื่อนบ้าน และนายฮะเซี้ยง บุตรชายของนางผิน ทั้งหมดเดินทางไปวัดบางแพรกในตอนเช้า แต่ระหว่างทาง นายฮะเซี้ยงได้แยกตัวไปหา พระสังฆราชแปร์รอส ภายหลังเมื่อไปถึงวัดบางแพรก สมภารที่วัดได้บอกว่านางผินและนายกุ้ยได้ขุดศพไปแล้วก่อนที่นายฮะเซี้ยงจะไปถึงไม่นาน ศพของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกฝังอยู่ในดินซึ่งขุดเป็นหลุมสี่เหลี่ยมเล็กๆ มีลักษณะคุดคู้ ไม่มีโลง ไม่มีอะไรห่อศพ เนื้อหนังและเส้นผมยังมีอยู่ แต่ไม่มีกลิ่น
26. พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งลงวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1944 ถึงคุณพ่อเบรสซอง เล่าเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งกล่าวถึงผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าว่า :
"เรารู้สึกเสียใจที่ต้องสูญเสียพระสงฆ์พื้นเมืองที่ดีที่สุดของเราองค์หนึ่งไป คุณพ่อนิโคลาสได้ตายในคุกซึ่งเขาต้องอยู่ในนั้นมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว ท่านได้ถูกกล่าวหาว่าช่วยเหลือฝรั่งเศสในระหว่างสงครามอินโดจีน-ไทย ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้เยี่ยมเป็นระยะเวลา 1 ปี พร้อมทั้งคุณพ่ออีก 2 องค์คือ คุณพ่อเอดัวรด์และคุณพ่อเฮนรี่ซึ่งถูกตัดสินจำคุกเหมือนท่าน ทั้งหมดไม่มีความผิด หลังจากที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยม 1 ครั้งต่อเดือน ต่อมาข้าพเจ้าได้รับการปฏิเสธอย่างเด็ดขาดไม่อนุญาตให้เยี่ยม คุณพ่อป่วยหนัก ข้าพเจ้าต้องการไปเยี่ยมท่าน แต่โชคร้ายที่การขอความกรุณาของข้าพเจ้าได้รับการปฏิเสธอย่างเด็ดขาด ภายหลังคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ศัตรูที่จ้องทำลายศาสนาคาทอลิกได้มีอำนาจตกต่ำในช่วงต้นเดือนนี้ หลังจากการตายของคุณพ่อที่รักของเรา ข้าพเจ้าก็ไม่สามารถรับศพของคุณพ่อมาได้ คุณพ่อได้ถูกฝังไว้ที่วัดพุทธซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับเรือนจำ อีกประมาณ 2 เดือนต่อมา ข้าพเจ้าจึงสามารถจ้างคนไปขุดศพ เอาใส่โลง และนำมายังวัดอัสสัมชัญ บรรจุไว้ในสุสาน ซึ่งอยู่ในอุโมงค์ใต้ดินของวัดอัสสัมชัญ ที่นั่นมีหลุมศพของเพื่อนพระสงฆ์ของท่านหลายองค์ที่ได้ตายไปก่อนแล้ว พวกเราได้สูญเสียคุณพ่อบนแผ่นดินนี้ แต่ข้าพเจ้ามีความหวังว่าคุณพ่อคอยช่วยเหลือพวกเราอยู่บนสวรรค์ ในเวลานี้ข้าพเจ้ากำลังดำเนินการร้องขออิสรภาพให้กับนักโทษอีก 2 คนของเราคือ คุณพ่อเอดัวรด์และคุณพ่อเฮนรี่ซึ่งถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต"
27. พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่ง เป็นจดหมายร่าง ถึงทางราชการขออิสรภาพให้กับนักโทษทั้งหลาย รวมทั้งพระสงฆ์ไทยพื้นเมือง (คาทอลิก) 2 องค์ และพวกคาทอลิกอีก 8 คน ท่านได้พูดถึงผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าในจดหมายของท่านด้วยว่า :
"พระสงฆ์ 3 องค์ ได้ถูกกล่าวหาเหมือนกัน และถึงแม้ว่าคำให้การของพยานเป็นประโยชน์ต่อพวกเขา พวกเขาได้ถูกตัดสินจำคุก องค์หนึ่ง 12 ปี อีก 2 องค์ตลอดชีวิต องค์แรกตายในคุกเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทราบว่าป่วย ข้าพเจ้าเดินทางไปที่เรือนจำและขออนุญาตพบเขา ผู้บัญชาการเรือนจำปฏิเสธอย่างเด็ดขาดสำหรับการขออนุญาตนี้หลังจาก 4 ชั่วโมงของการรอคอย เขาได้บอกกับข้าพเจ้าว่าคุณพ่อได้เสียชีวิตแล้ว และข้าพเจ้าไม่ได้พ บเขาเลย นี่เป็นวิธีการอันป่าเถื่อนที่มีอยู่จริง"
นอกจากนี้ พระสังฆราชแปร์รอสยังได้เขียนจดหมายอีกฉบับหนึ่งถึงผู้อำนวยการสมาคมเผยแพร่ความเชื่อ เล่าถึงเรื่องการเบียดเบียน และการจับกุมพระสงฆ์ไทย (คาทอลิก) :
"พวกเราได้ผ่านช่วงเวลาแห่งความทุกข์ทรมานมา 6 ปีแล้ว ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1940 สงครามระหว่างประเทศไทย (สยาม) และอินโดจีน ทำให้เป็นการเริ่มต้นของการเบียดเบียนต่อศาสนาคาทอลิก พระสงฆ์พื้นเมือง 5 องค์ของเรา ถูกจำคุกโดยไม่มีความผิด เพราะผู้ปกครองศาสนาเป็นชาวต่างชาติ และนับถือศาสนาซึ่งเป็นศาสนาของชาวต่างชาติ พระสงฆ์องค์หนึ่งในจำนวนนี้ (คุณพ่อนิโคลาส) ได้ตายในคุกหลังจากถูกจำคุก 3 ปี เขาอยู่ในโรงพยาบาล 9 เดือน เนื่องจากป่วย เขาได้ใช้เวลาเหล่านั้นในการปลอบโยน บรรเทาใจ และสั่งสอนผู้ป่วยคนอื่นๆ เขาได้บ อกให้ข้าพเจ้าทราบว่า ในระหว่างที่เขาอยู่ในคุก เขาได้สอนคำสอนและโปรดศีลล้างบาปให้นักโทษด้วยกันที่ใกล้ตาย 68 คน"
นายเจริญได้ยืนยันถึงความจริงเรื่องนี้ด้วยคำให้การเหล่านี้ :
"วันที่ท่านตาย พวกคริสตังขออนุญาตไปร่วมพิธี แต่ผู้บัญชาการเรือนจำไม่อนุญาต ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าการที่เจ้าหน้าที่ไม่มีความเป็นธรรม มันกลั่นแกล้ง มันฆ่าตรงๆ ไม่ได้ มันฆ่าทางอ้อม"
เขายังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า :
"เขาเอาคุณพ่อไปเช็ค ไปตรวจ แล้วก็บอกว่ามีเชื้อวัณโรค ตลอดเวลาที่อยู่ที่ศาลาแดง ข้าพเจ้าไม่เห็นท่านไอเลย อย่างนี้ไม่มีความเป็นธรรม"
คุณพ่อยัง-ปอล ลังฟังต์ พระสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P.) ผู้เป็นหัวหน้าคณะกรรมาธิการด้านประวัติศาสตร์ ได้เป็นพยานถึงความจริงหลังจากที่ได้ศึกษาเอกสารต่างๆ ทั้งหมดแล้ว :
"ปัญหาเกี่ยวกับการตายของคุณพ่อนิโคลาสคือว่า ท่านไม่ได้ถูกตัดสินประหารชีวิตให้ตาย แต่ถูกตัดสินจำคุก 15 ปี ท่านตายเพราะเป็นวัณโรค แต่ทำไมท่านจึงป่วยเป็นวัณโรค ท่านไม่ได้ป่วยมาก่อนถูกจำคุกหรือ? ทำไมผู้คุมจึงส่งท่านไปอยู่ในแดนผู้ป่วยวัณโรค? ตามคำให้การของพวกพยานบอกว่า ท่านถูกส่งไปอยู่ในแดนผู้ป่วยวัณโรคเพราะท่านสอนคำสอนแก่นักโทษ คุณจำได้ว่าในเวลานั้นในประเทศไทยกำลังเกิดสงคราม บ้านเมืองไม่สงบ สุข และยารักษาโรคก็หายากมากและมีราคาแพงมาก ดังนั้น ผู้จัดการเรือนจำจึงปล่อยให้ผู้ป่วยวัณโรคตาย สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ส่งคุณพ่อนิโคลาสไปอยู่ในแดนวัณโรคก็เท่ากับตัดสินลงโทษให้ท่านตาย"
2. ในส่วนของผู้เคราะห์ร้าย
28. ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกจับที่วัดบ้านหันและถูกขังอยู่ที่เรือนจำกลางบางขวาง ผู้รับใช้ของพ ระเป็นเจ้าได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งด้วยลายมือของท่านเอง ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 ถึงพระ สังฆราชแปร์รอส แจ้งว่า สิ่งต่างๆ ที่ทำให้ท่านสามารถอดทนอยู่ในคุกก็คือ การสวดภานา , สวดสายประ คำ และสวดมนต์ตามหนังสือสวดของพระสงฆ์
ก) การยอมรับตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า
ถึงแม้ว่าผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าไม่ได้มีความผิดตามข้อกล่าวหา ท่านยังคงน้อมรับโทษทัณฑ์ตาม น้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า :
"แต่อนิจจา ลูกกลับถูกหาว่าขายชาติ ทรยศต่อชาติ พยานโจทย์ 3 ปาก นับว่าไร้ศีลธรรมอย่างที่สุด กล้าใส่ความสงฆ์ผู้ทรงศีลโดยเจตนาเช่นนี้ ถึงกระนั้นก็ดี ลูกรู้สึกว่าพระเจ้าทรงบันดาลให้เป็นไปเช่นนี้ ลูกจึงขอน้อมรับโทษทัณ ฑ์ตามน้ำพระทัยของพระ เพื่อชดเชยความผิด ความบาปของลูก และเพื่อความสันติภาพของ (สากล) โลกทั้งความเจริ ญแห่งประเทศชาติที่รักของลูกด้วย"
ข) ยกโทษให้กับศัตรู
"ลูกสวดเสมอขอพระเอ็นดูยกความผิดของพยานเท็จที่ปรักปรำลูกตามฉบับแห่งพระเยซูอาจารย์แห่งสากลโลก"
ค) ความรักชาติของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า
"คุณบิดาก็ทราบดีว่าลูกรักประเทศชาติจนยอมสละความสนุกสบายฝ่ายข้างโลก ได้อุตส่าห์อบรมพี่น้องชาวทั ยให้อยู่ในศีลธรรมอันดีเป็นระยะ 15 ปี ลูกได้ช่วยชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกนั้นยังเตือนคนอื่นให้รักชาติ"
นายเจริญ ราชบัวขาว ซึ่งถูกจำคุกด้วยกันกับผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ได้ให้การในเรื่องความเป็นมรณสักขีของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าดังต่อไปนี้ :
"คุณพ่อไม่บ่นต่อความทุกข์ยาก แต่ยอมรับทุกอย่างด้วยความอดทน เพื่อเห็นแก่ความเชื่อจนกระทั่งเสียชีวิต"
"ให้กำลังใจ แล้วแต่พระเป็นน้ำพระทัยของพระ เดี๋ยวความสุขก็จะมาทีหลัง”
CR. : http://www.catholic.or.th/.../bknicolas/bknicolas5.html
รูปแบบการเป็นมรณสักขี
1. จากส่วนของผู้ที่เบียดเบียน
ก) ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกจับกุมเพราะท่านเป็นพระสงฆ์คาทอลิก
21. "ศาสนาคาทอลิกเป็นศัตรูของประเทศ" คือ ความคิดของคนไทยผู้รักชาติทั่วๆไป นายเจริญ ได้เป็นพยานและให้การว่า :
"จอมพล ป. (พิบูลสงคราม) จึงเห็นเป็นโอกาสดีที่เรียกร้องเอาดินแดนคืนจากฝรั่งเศส นโยบายนี้ทำให้ทางราชการเริ่มหันเหความสนใจมาทางพวกที่นับถือศาสนาคาทอลิก เพราะศาสนานี้มาจากชาวฝรั่งเศส ดังนั้นจึงกลัวว่าพวกคริสตังจะเข้าข้างฝรั่งเศส คนไทยที่รักชาติทั่วๆ ไป ก็คิดเช่นเดียวกัน"
ก่อนที่ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าจะถูกจับ ทางราชการได้ออกหมายจับคุณพ่ออัมบรอซิโอ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านหัน
นางเง็กซี กิจสงวน ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้ถูกจับอย่างง่ายดายเพราะท่านเป็นพระสงฆ์คาทอลิก
"เพราะท่านเป็นพระสงฆ์คาทอลิกซึ่งพวกเขาเกลียด"
พยานหลายคนก็มีความคิดเห็นเช่นเดียวกัน นายแก้ว พันธุ์สมบัติ ให้การว่า :
"ไม่มีความผิดอื่น และตามข่าวที่ได้รับ คุณพ่อถูกกล่าวหาว่าเป็นแนวที่ 5 ที่คอยส่งสัญญาณไฟให้กับศัตรู"
ข) ผู้เบียดเบียนได้ใส่ความผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าว่าเป็นแนวที่ 5 เพราะท่านเป็นพระสงฆ์คาทอลิก
22. พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่ง ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 ถึงหลวงอดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ แจ้งให้ทราบว่า ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าเป็นผู้บริสุทธิ์ :
"บาดหลวงบุญเกิดนั้นถูกขังอยู่ที่สีคิ้วเป็นเวลาหลายวัน แล้วต้องไปติดคุกอยู่ที่นครราชสีมา จนถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ นี้ ได้ถูกย้ายมาอยู่ที่พระนคร ถูกขังอยู่ที่สถานีตำรวจศาลาแดง
ขอท่านอธิบดีโปรดพิจารณาความ จะได้ทราบว่า บาดหลวงบุญเกิดไม่มีความผิด ถูกคนเกลียดมาใส่ความว่าเป็นแนวที่ 5 ที่จริงไม่เคยเป็นเลย จึงเมื่อไม่มีผิด ก็ขอให้ปล่อยตามข้อ 13 แห่งรัฐธรรมนูญ"
พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งลงวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1941 ถึงเพื่อนมิชชันนารีที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เล่าเกี่ยวกับการจับกุมผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าและเพื่อนพระสงฆ์ไทย (คาทอลิก) ของท่านว่า :
“คุณพ่อนิโคลาสถูกจับที่บ้านหันเมื่อวันที่ 12 มกราคม ถูกกล่าวหาเช่นเดียวกัน (เช่นเดียวกับคุณพ่อ 2 องค์) ว่าเป็นแนวที่ 5 ถูกขังคุกที่โคราชเป็นเวลา 2 เดือน ต่อมาถูกส่งตัวมาที่กรุงเทพฯ ถูกขังที่สถานีตำรวจใหม่ศาลาแดง กำลังคอยคำตัดสิน ผลคำตัดสินนั้นจะเป็นอย่างไร? พระเป็นเจ้าแต่ผู้เดียวที่ทรงทราบ ระหว่างนั้น ท่านยินดีทนทุกข์ทรมานเพื่อพระศาสนาเช่นเดียวกับพระสงฆ์อื่นอีก 2 องค์ มีการส่งอาหารจากเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ไปให้ท่านทุกๆ วัน แต่ห้ามมิให้พูดคุยกันเด็ดขาด"
พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งลงวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1941
ถึงนายโรเชร์ การ์โร กงสุลฝรั่งเศสประจำประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้ :
"ข้าพเจ้ามีความเสียใจที่จะแจ้งให้ท่านทราบว่า คุณพ่อนิโคลาส ชุนกิม บุญเกิด พระสงฆ์คาทอลิกไทย ได้ถูกตัดสินจำคุก 15 ปี โดยศาลพิเศษ โดยถูกกล่าวหาว่าท่านได้ช่วยเหลือฝรั่งเศสในสงครามอินโดจีนต่อต้านไทย
คุณพ่อนิโคลาสองค์นี้ ได้รับหน้าที่ดูแลคริสตังที่โคราชและโนนแก้วมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา ท่านได้ไปที่บ้านหันซึ่งเป็นกลุ่มคริสตชนอีกกลุ่มหนึ่งที่อยู่ห่างจากสีคิ้วไปทางตะวันตกของเมืองโคราช เพื่อพบกับเพื่อนพระสงฆ์องค์หนึ่งของท่านคือคุณพ่ออัมบรอซิโอ แต่คุณพ่ออัมบรอซิโอได้ออกเดินทางไปกรุงเทพฯ แล้วก่อนหน้านี้เล็กน้อย วันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันอาทิตย์ คุณพ่อนิโคลาสได้ตีระฆังเพื่อเรียกคริสตังมาวัดฟัง มิสซาในเวลา 8:30 ตอนเช้า ด้วยการกระทำอันนี้ ท่านได้ถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอ ซึ่งห้ามตีระฆังในระหว่างเวลากลางคืน คุณพ่อนิโคลาสได้ถูกจับกุมและถูกนำตัวไปที่สีคิ้วพร้อมกับพวกคริสตังคนอื่นๆ ที่นั่น ท่านต้องอยู่ในคุกเป็นเวลาหลายวัน ต่อมาได้ถูกส่งตัวมายังกรุงเทพฯ ที่สถานีตำรวจศาลาแดง ท่านถูกควบคุมตัวอย่างเข้มงวดเป็นเวลาเกือบ 4 เดือน โดยปราศจากการติดต่อกับบุคคลภายนอก ทั้งห้ามเยี่ยมโดยเด็ดขาด ในที่สุด วัน ที่ 15 พฤษภาคม ศาลพิเศษ (ไม่อนุญาตให้มีทนาย และตัดสิทธิ์ห้ามอุทธรณ์) ได้พิพากษาว่า คุณพ่อและคริสตัง 8 คน ถูกฟ้องกล่าวหาว่า "ได้ปฏิเสธ โดยไม่ยอมมอบปืนเพื่อช่วยเหลือในการสร้างทางรถไฟและสายโทรเลข , ได้ทำการประชุมลับเพื่อปลุกปั่นผู้สมรู้ร่วมคิดคนอื่นๆ ไม่ให้ช่วยเหลือรัฐบาลไทยต่อสู้กับอินโดจีน , ได้สวดภาวนาเพื่อชัยชนะของฝรั่งเศส , ได้มีเจตนาในการตัดเส้นทางการคมนาคมและสายโทรเลข" พยานทุกคนปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้ทุกข้อว่าไม่เป็นความจริง (คุณพ่อนิโคลาสไม่ได้อยู่ หรือผ่านไปที่บ้านหันในระหว่าง 2 วันที่ผ่านมา) ศาลได้ยืนยันว่าคุณพ่อมิได้เอ่ยอ้างถึงพยานเลย แต่ความจริงแล้วท่านได้อ้างถึงพยาน 9 คน เพื่อการต่อสู้คดี พยาน 4 คนได้ยืนยันว่า ในตอนแรกพวกเขาถูกนายอำเภอบังคับให้ฟ้องกล่าวหาคุณพ่อที่ศาลอำเภอสีคิ้ว แต่คำให้การของพยานที่ศาลนั้นเป็นคำให้การที่นายอำเภอเขียนขึ้นมาให้พวกเขาท่องจนขึ้นใจ เพื่อใช้ในการปรักปรำ การกลับคำให้การของพวกเขาที่กรุงเทพฯ ไม่มีประโยชน์สักนิดเดียว ศาลไม่ยอมรับคำให้การตามความจริงของพวกเขา
กระบวนการพิจารณาคดีเช่นนี้ เป็นการกระทำที่ไม่น่าเชื่อถือ และยากที่จะเข้าใจได้ โดยเฉพาะหลังจากที่ได้มีการลงนามในสัญญาข้อตกลงระหว่างฝรั่งเศส-ไทย แม้ว่าคุณพ่อจะเป็นชาวพื้นเมือง (คนไทย) ข้าพเจ้าเชื่อตามหน้าที่ของข้าพเจ้าในปัจจุบันนี้ในฐานะตัวแทนของชาวฝรั่งเศส เพราะว่าเหตุจูงใจในการเรียกร้องเพื่อการตัดสิ นลงโทษพระสงฆ์องค์นี้และพวกคริสตัง (แม้กระทั่งการตัดสินลงโทษคุณพ่อฟรังซิสเซเวียร์ สงวน และคุณพ่อมีแชล ส้มจีน ที่ได้รับการตัดสินลงโทษจำคุกไปแล้วคนละ 2 ปี) คือสาเหตุที่พวกเขาต้องการช่วยเหลือฝรั่งเศส
ยิ่งกว่านั้น พระสงฆ์ไทยอีกองค์หนึ่งได้แจ้งให้ข้าพเจ้าทราบว่า ที่แปดริ้วมีใบประกาศโฆษณาในหัวข้อ "เลือดไทยของชาวฉะเชิงเทรา" ห้ามไม่ให้ใครทำการติดต่อกับพวกคาทอลิก เหตุจูงใจในการเรียกร้องคือ "การบีบบังคับให้ทิ้งศาสนามีมานานแล้ว พวกคาทอลิกมีความมั่นคงและไม่ปฏิบัติตัวตามความต้องการของชาติ ซึ่งคณะเลือดไทยได้บังคับให้ทำ" ใบประกาศโฆษณาที่แนบมานี้ ขอให้ ฯพณฯ ท่านเข้าแทรกแซงต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจเพื่อใบประกาศต่างๆ ไม่สามารถประท้วงได้อีก โดยไม่รับรู้ข้อเท็จจริงต่างๆ และเลิกการกระทำที่ต่อต้านประชาชนที่เป็นศาสนนิกชนผู้ปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศ"
นายเจริญ ราชบัวชาว ได้เป็นพยานด้วยว่า :
คุณพ่อนิโคลาสจึงถือโอกาสปรึกษาหารือกันกับชาวบ้าน ท่านบอกว่าควรเขียนหนังสือไปร้องเรียนนายกรัฐมนตรี แต่ก็ไม่ได้ทำ การปรึกษาคืนนั้นมีคนสอดแนม เพราะอยากได้ความชอบ โดยต่อมาครูนพรัตน์ บุญญานุสน ซึ่งเป็นผู้ไม่ชอบคริสตังได้ให้การในศาลว่า พวกคริสตังคุยกันเรื่องจะต่อต้านรัฐบาล"
ค) ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกพิพากษาอย่างไม่ยุติธรรม
23. วิธีการให้พวกคาทอลิกต่างฝ่ายต่างปรักปรำกันเองได้ถูกนำมาใช้ นายเจริญได้ให้การว่า :
"ด้านการสอบสวน ทางการพยายามใช้วิธีให้คริสตังปรักปรำกันเอง... ได้ไปนำคริสตังมาอีก 9 คน จากบ้านหัน ทางการบังคับให้คนทั้ง 9 คนนี้ เป็นพยานปรักปรำว่า 9 คนที่ถูกจับนั้น เป็นพวกกบฏ และเป็นพวกแนวที่ 5 พวกเอาใจช่วยเหลือฝรั่งเศส"
พลโท สุนทร สันธนะวนิช ผู้เคยดูแลรับผิดชอบและบังคับบัญชางานที่เกี่ยวกับศาลทหารทั้ง 3 ศาล อันเป็นสถานที่ซึ่งผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้ถูกพิพากษาลงโทษ ได้เป็นพยานด้วยเช่นกันว่า :
"แต่เข้าใจว่าคุณพ่อนิโคลาสถูกตัดสินจำคุกคงไม่ใช่เพราะว่าท่านเป็นเพียงพระสงฆ์คาทอลิกอย่างเดียวเท่านั้น เพราะในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหารซึ่งผมได้มีหน้าที่ในภายหลัง ทราบว่ากระบวนการพิจาร ณาที่จะพิพากษาคดีสำคัญๆ ในระดับความมั่นคงของชาติ จะต้องปรากฏพยานหลักฐานในสำนวน ต้องมีสำนวนต้องปรากฏพยานหลักฐานชัดเจน ศาลจึงจะวินิจฉัยและพิพากษาไปได้ เพราะมิฉะนั้น ลำพังแต่รู้เพียงว่าเป็นคาทอลิก ตุลาการคงไม่กล้าตัดสินไปทันที ซึ่งจะเห็นได้ว่า คุณพ่อนิโคลาสถูกควบคุมตัวก่อนพิพากษาที่ศาลาแดง ศาลาแดงที่ว่านี้คือสถานีตำรวจนครบาลศาลาแดง ขณะนั้นตั้งอยู่ที่หลังพระรูปรัชกาลที่ 6 ภายหลังย้ายไปอยู่ที่สถานีตำร วจลุมพินีปัจจุบัน การเป็นพระสงฆ์คาทอลิก อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การพิจารณาเป็นไปในความรู้สึกของความไม่รักชาติบ้านเมืองอย่างหนึ่ง"
พลโท สุนทร ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า :
"ข้าพเจ้าเข้าใจว่าการที่คุณพ่อนิโคลาสถูกจับครั้งแรกเพราะว่าท่านเป็นพระสงฆ์คาทอลิก เพราะเพียงแต่เป็นคาทอลิกอย่างเดียวคงถูกพิพากษาคดีไม่ได้ พยานที่บันทึกไว้ในชั้นสอบสวน และมาให้การต่อมา จะต้องมาที่ ศาลทหารกรุงเทพฯ ด้วย"
ง) ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดีในคุก นับตั้งแต่มีความเกลียดชังความเชื่อคาทอลิกที่นั่น
24. พระสังฆราชแปร์รอสได้ส่งหนังสือสวดทั้งภาษาไทยและลาตินไปให้ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าและพระสงฆ์ไทยอีก 2 องค์ รวมทั้งหนังสือนิตยสาร "สารสาสน์" แต่เจ้าหน้าที่เรือนจำได้ส่งหนังสือนิตยสารสารสาสน์ คืนกลับมาให้พระสังฆราช เพราะไม่อนุญาตให้พระสงฆ์คาทอลิกไทย 3 องค์อ่าน กรมราชทัณฑ์ได้ส่งจดหมายฉบับหนึ่งลงวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1943 แจ้งให้พระสังฆราชแปร์รอสทราบเรื่องขอระงับการเยี่ยมพระสงฆ์คาทอลิก 3 องค์ไว้ชั่วคราว และรายละเอียดของหนังสือต่างๆ ที่ส่งให้พระสงฆ์ 3 องค์ ที่ถูกคุมขังดังได้กล่าวมาแล้ว :
"ตามที่กรมราชทันท์ได้รับมอบหนังสือภาสาไทยและภาสาต่างประเทศ ที่ท่านจะนำไปมอบให้บาดหลวง 3 คน ซึ่งคุมขังหยู่ไนเรือนจำกลางบางขวาง รวม 7 เล่ม เพื่อตรวดพิจารนาตามระเบียบ เมื่อตรวดแล้ว ตกลงจะส่งมาไห้ท่านนะวัดอัสสัมชัญ และได้ตกลงไว้ว่าจะอนุญาตไห้ท่านเข้าเยี่ยมพร้อมทั้งนำหนังสือที่ผ่านการตรวดตามระเบียบแล้ว ไปมอบไห้แก่บาดหลวงทั้ง 3 คน ณ เรือนจำกลางบางขวางไนวันที่ 13 กันยายน 2486 นั้น
กรมราชทันท์ขอนมัสการมาไห้ซาบด้วยความเสียใจว่า บัดนี้ กรมราชทันท์มีเหตุขัดข้องบางประการไม่ อาดอำนวยความสดวกไห้ท่านเข้าเยี่ยมตามกำหนดที่ได้ตกลงไว้ดังกล่าวข้างต้นได้ จำเป็นต้องระงับการไห้ท่านเข้าเยี่ยมไว้ชั่วคราว"
วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1944 พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งถึง
พันตำรวจเอก มงคล กล้ากลางสมร อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ขออนุญาตอย่างเป็นทางการเพื่อเข้าเยี่ยมนักโทษบุญเกิด (ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า) ผู้ซึ่งกำลังป่วยหนักอยู่ในโรงพยาบาลของเรือนจำ เพื่อโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์แบบคาทอลิกให้
"ด้วยที่เรือนจำบางขวาง มีบาดหลวงองค์หนึ่ง ชื่อ บุณเกิด กริสบำรุง ถูกคุมขังประจำหยู่แดน 6 กำลังเจ็บหนักหยู่ด้วยอาการน่ากลัวจะสิ้นชีวิตลงไนเร็ววันนี้ ฉันรู้สึกห่วงไยไนความเปนหยู่ของบาดหลวงองค์นี้มาก จึงขอประทานอนุญาตต่อท่านเปนกรนีย์พิเสส เพื่อได้มีโอกาสไปเยี่ยมได้สักครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้โปรดสีลสักดิ์สิทธิ์แก่เขาตามจารีตสาสนาโรมันกาทอลิกเปนการด่วน"
แต่การขอเข้าเยี่ยมของพระสังฆราชได้รับการปฏิเสธ
"ตามหนังสือของท่านลงวันที่ 6 มกราคม 2487 ขออนุญาตเข้าเยี่ยมอาการป่วยของ น.ช. บุณเกิด กริสบำรุง ซึ่งถูกคุมขังหยู่นะเรือนจำกลางบางขวาง เพื่อโปรดสีลไห้แก่ น.ช. ผู้นี้ตามจารีตสาสนาโรมันคาทอลิกนั้น
ฉันมีความเสียใจที่ขนะนี้ยังไม่อาดอนุเคราะห์ไห้ท่านเข้าเยี่ยมนักโทสผู้นี้ตามความประสงค์ของท่านได้"
25. ที่สุด วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944 เจ้าหน้าที่เรือนจำได้ส่งจดหมายฉบับหนึ่งแจ้งว่าผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้ตายด้วยวัณโรค ก่อนตาย ท่านได้เขียนพินัยกรรมมอบสิ่งของต่างๆ ของท่านให้แก่คุณพ่อเอดัวรด์และคุณพ่อเฮนรี่ ดังนั้น พินัยกรรมของท่านและสิ่งของต่างๆ ของท่านถูกส่งมาให้กับพระสังฆราชแปร์รอส
"ฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่จะแจ้งว่า น.ช. บาดหลวง บุณเกิด กริสบำรุง ซึ่งได้ป่วยเปนวันโรคแห่งปอด ถึงแก่ ความตายไปแล้วนั้น ก่อนตายได้ทำพินัยกัมมอบเงินกับยาฉีด น้ำกลั่น ให้กับท่าน"
พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944 ถึงพระสังฆราชอาเดรียง ดราปิเอร์ ผู้แทนพระสันตะปาปา เล่าเกี่ยวกับผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าและชีวิตในคุกของท่าน :
"เราได้สูญเสียพระสงฆ์พื้นเมืององค์หนึ่งในจำนวน 3 องค์ ที่ถูกตัดสินจำคุกโดยไม่มีความผิด คุณพ่อนิโคลาสเป็นพระสงฆ์ที่มีใจร้อนรน มีความกระตือรือร้นกว่าทุกคน เป็นระยะเวลา 8 เดือน ที่ท่านป่วยเป็นวัณโรคอยู่ในโรงพยาบาลของเรือนจำ ท่านได้ทำให้คนกลับใจจำนวน 68 คน และโปรดศีลล้างบาปให้คนใกล้ตาย ผู้ที่ลงโทษตัดสินจำคุกท่านอย่างอยุติธรรม คงไม่คาดคิดว่าจะได้รับผลตอบแทนเช่นนี้ ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยมได้เดือนละครั้งมาเป็นเวลา 1 ปีครึ่งแล้ว ต่อมาข้าพเจ้าและครอบครัวของคุณพ่อได้รับการปฏิเสธ ไม่อนุญาตให้เข้าเ ยี่ยม แต่ข้าพเจ้าสามารถติดต่อกับคุณพ่อและเพื่อนพระสงฆ์ของท่านอีก 2 องค์ในคุก โดยผ่านทางคริสตังที่นำอาหารและเงินจำนวนเล็กน้อยไปให้ท่านในแต่ละเดือน คุณพ่อไม่สามารถพบเพื่อนพระสงฆ์อีก 2 องค์ ซึ่งเป็นนักโทษเช่นเดียวกับท่าน นี่เป็นการเบียดเบียนเพื่อต่อต้านศาสนาคาทอลิก ซึ่งยังคงดำเนินต่อมาอีกอย่างรุนแรงที่สุดเป็นระยะเวลา 2 ปี"
ศพของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกฝังอยู่ที่วัดบางแพรก ใกล้กับเรือนจำ พระสังฆราชแปร์รอสไม่สามารถ รับศพของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ามาฝังได้ ถึงแม้จะพยายามขออนุญาตหลายครั้ง ประมาณ 2 เดือนต่อมา พระสังฆราชแปร์รอสจึงได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งลงวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1944 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดพระนคร ขออนุญาตขุดศพของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ามาฝังไว้ที่สุสานในอุโมงค์อาสนวิหารอัสสัมชัญ
"บาทหลวงบุญเกิด กริสบำรุง ได้ถึงความรณภาพในเรือนจำกลางบางขวาง อำเภอนนทบุรี จังหวัดพระนคร วันที่ 12 มกราคม 2487 แล้วถูกฝังที่วัดบางแพรก มาบัดนี้จะขุดศพขึ้น เอามาฝังไว้ในอุโมงค์ใต้โบสถ์วัดอัสสัมชัญ ที่มีอนุญาตฝังศพแล้ว ฉันขออนุญาตส่งศพมาจากวัดบางแพรก อำเภอนนทบุรี มาฝังที่วัดอัสสัมชัญ อำเภอบางรัก จังหวัดพระนคร"
พระสังฆราชแปร์รอสได้รับอนุญาตให้ขุดศพของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้ ท่านได้ให้ญาติพี่น้องของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าไปขุดศพมาจากวัดบางแพรก ผู้ที่ไปขุดศพคือ นางผิน น้องสะใภ้ของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า , นายกุ้ย เพื่อนบ้าน และนายฮะเซี้ยง บุตรชายของนางผิน ทั้งหมดเดินทางไปวัดบางแพรกในตอนเช้า แต่ระหว่างทาง นายฮะเซี้ยงได้แยกตัวไปหา พระสังฆราชแปร์รอส ภายหลังเมื่อไปถึงวัดบางแพรก สมภารที่วัดได้บอกว่านางผินและนายกุ้ยได้ขุดศพไปแล้วก่อนที่นายฮะเซี้ยงจะไปถึงไม่นาน ศพของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกฝังอยู่ในดินซึ่งขุดเป็นหลุมสี่เหลี่ยมเล็กๆ มีลักษณะคุดคู้ ไม่มีโลง ไม่มีอะไรห่อศพ เนื้อหนังและเส้นผมยังมีอยู่ แต่ไม่มีกลิ่น
26. พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งลงวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1944 ถึงคุณพ่อเบรสซอง เล่าเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งกล่าวถึงผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าว่า :
"เรารู้สึกเสียใจที่ต้องสูญเสียพระสงฆ์พื้นเมืองที่ดีที่สุดของเราองค์หนึ่งไป คุณพ่อนิโคลาสได้ตายในคุกซึ่งเขาต้องอยู่ในนั้นมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว ท่านได้ถูกกล่าวหาว่าช่วยเหลือฝรั่งเศสในระหว่างสงครามอินโดจีน-ไทย ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้เยี่ยมเป็นระยะเวลา 1 ปี พร้อมทั้งคุณพ่ออีก 2 องค์คือ คุณพ่อเอดัวรด์และคุณพ่อเฮนรี่ซึ่งถูกตัดสินจำคุกเหมือนท่าน ทั้งหมดไม่มีความผิด หลังจากที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยม 1 ครั้งต่อเดือน ต่อมาข้าพเจ้าได้รับการปฏิเสธอย่างเด็ดขาดไม่อนุญาตให้เยี่ยม คุณพ่อป่วยหนัก ข้าพเจ้าต้องการไปเยี่ยมท่าน แต่โชคร้ายที่การขอความกรุณาของข้าพเจ้าได้รับการปฏิเสธอย่างเด็ดขาด ภายหลังคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ศัตรูที่จ้องทำลายศาสนาคาทอลิกได้มีอำนาจตกต่ำในช่วงต้นเดือนนี้ หลังจากการตายของคุณพ่อที่รักของเรา ข้าพเจ้าก็ไม่สามารถรับศพของคุณพ่อมาได้ คุณพ่อได้ถูกฝังไว้ที่วัดพุทธซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับเรือนจำ อีกประมาณ 2 เดือนต่อมา ข้าพเจ้าจึงสามารถจ้างคนไปขุดศพ เอาใส่โลง และนำมายังวัดอัสสัมชัญ บรรจุไว้ในสุสาน ซึ่งอยู่ในอุโมงค์ใต้ดินของวัดอัสสัมชัญ ที่นั่นมีหลุมศพของเพื่อนพระสงฆ์ของท่านหลายองค์ที่ได้ตายไปก่อนแล้ว พวกเราได้สูญเสียคุณพ่อบนแผ่นดินนี้ แต่ข้าพเจ้ามีความหวังว่าคุณพ่อคอยช่วยเหลือพวกเราอยู่บนสวรรค์ ในเวลานี้ข้าพเจ้ากำลังดำเนินการร้องขออิสรภาพให้กับนักโทษอีก 2 คนของเราคือ คุณพ่อเอดัวรด์และคุณพ่อเฮนรี่ซึ่งถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต"
27. พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่ง เป็นจดหมายร่าง ถึงทางราชการขออิสรภาพให้กับนักโทษทั้งหลาย รวมทั้งพระสงฆ์ไทยพื้นเมือง (คาทอลิก) 2 องค์ และพวกคาทอลิกอีก 8 คน ท่านได้พูดถึงผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าในจดหมายของท่านด้วยว่า :
"พระสงฆ์ 3 องค์ ได้ถูกกล่าวหาเหมือนกัน และถึงแม้ว่าคำให้การของพยานเป็นประโยชน์ต่อพวกเขา พวกเขาได้ถูกตัดสินจำคุก องค์หนึ่ง 12 ปี อีก 2 องค์ตลอดชีวิต องค์แรกตายในคุกเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทราบว่าป่วย ข้าพเจ้าเดินทางไปที่เรือนจำและขออนุญาตพบเขา ผู้บัญชาการเรือนจำปฏิเสธอย่างเด็ดขาดสำหรับการขออนุญาตนี้หลังจาก 4 ชั่วโมงของการรอคอย เขาได้บอกกับข้าพเจ้าว่าคุณพ่อได้เสียชีวิตแล้ว และข้าพเจ้าไม่ได้พ บเขาเลย นี่เป็นวิธีการอันป่าเถื่อนที่มีอยู่จริง"
นอกจากนี้ พระสังฆราชแปร์รอสยังได้เขียนจดหมายอีกฉบับหนึ่งถึงผู้อำนวยการสมาคมเผยแพร่ความเชื่อ เล่าถึงเรื่องการเบียดเบียน และการจับกุมพระสงฆ์ไทย (คาทอลิก) :
"พวกเราได้ผ่านช่วงเวลาแห่งความทุกข์ทรมานมา 6 ปีแล้ว ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1940 สงครามระหว่างประเทศไทย (สยาม) และอินโดจีน ทำให้เป็นการเริ่มต้นของการเบียดเบียนต่อศาสนาคาทอลิก พระสงฆ์พื้นเมือง 5 องค์ของเรา ถูกจำคุกโดยไม่มีความผิด เพราะผู้ปกครองศาสนาเป็นชาวต่างชาติ และนับถือศาสนาซึ่งเป็นศาสนาของชาวต่างชาติ พระสงฆ์องค์หนึ่งในจำนวนนี้ (คุณพ่อนิโคลาส) ได้ตายในคุกหลังจากถูกจำคุก 3 ปี เขาอยู่ในโรงพยาบาล 9 เดือน เนื่องจากป่วย เขาได้ใช้เวลาเหล่านั้นในการปลอบโยน บรรเทาใจ และสั่งสอนผู้ป่วยคนอื่นๆ เขาได้บ อกให้ข้าพเจ้าทราบว่า ในระหว่างที่เขาอยู่ในคุก เขาได้สอนคำสอนและโปรดศีลล้างบาปให้นักโทษด้วยกันที่ใกล้ตาย 68 คน"
นายเจริญได้ยืนยันถึงความจริงเรื่องนี้ด้วยคำให้การเหล่านี้ :
"วันที่ท่านตาย พวกคริสตังขออนุญาตไปร่วมพิธี แต่ผู้บัญชาการเรือนจำไม่อนุญาต ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าการที่เจ้าหน้าที่ไม่มีความเป็นธรรม มันกลั่นแกล้ง มันฆ่าตรงๆ ไม่ได้ มันฆ่าทางอ้อม"
เขายังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า :
"เขาเอาคุณพ่อไปเช็ค ไปตรวจ แล้วก็บอกว่ามีเชื้อวัณโรค ตลอดเวลาที่อยู่ที่ศาลาแดง ข้าพเจ้าไม่เห็นท่านไอเลย อย่างนี้ไม่มีความเป็นธรรม"
คุณพ่อยัง-ปอล ลังฟังต์ พระสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P.) ผู้เป็นหัวหน้าคณะกรรมาธิการด้านประวัติศาสตร์ ได้เป็นพยานถึงความจริงหลังจากที่ได้ศึกษาเอกสารต่างๆ ทั้งหมดแล้ว :
"ปัญหาเกี่ยวกับการตายของคุณพ่อนิโคลาสคือว่า ท่านไม่ได้ถูกตัดสินประหารชีวิตให้ตาย แต่ถูกตัดสินจำคุก 15 ปี ท่านตายเพราะเป็นวัณโรค แต่ทำไมท่านจึงป่วยเป็นวัณโรค ท่านไม่ได้ป่วยมาก่อนถูกจำคุกหรือ? ทำไมผู้คุมจึงส่งท่านไปอยู่ในแดนผู้ป่วยวัณโรค? ตามคำให้การของพวกพยานบอกว่า ท่านถูกส่งไปอยู่ในแดนผู้ป่วยวัณโรคเพราะท่านสอนคำสอนแก่นักโทษ คุณจำได้ว่าในเวลานั้นในประเทศไทยกำลังเกิดสงคราม บ้านเมืองไม่สงบ สุข และยารักษาโรคก็หายากมากและมีราคาแพงมาก ดังนั้น ผู้จัดการเรือนจำจึงปล่อยให้ผู้ป่วยวัณโรคตาย สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ส่งคุณพ่อนิโคลาสไปอยู่ในแดนวัณโรคก็เท่ากับตัดสินลงโทษให้ท่านตาย"
2. ในส่วนของผู้เคราะห์ร้าย
28. ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกจับที่วัดบ้านหันและถูกขังอยู่ที่เรือนจำกลางบางขวาง ผู้รับใช้ของพ ระเป็นเจ้าได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งด้วยลายมือของท่านเอง ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 ถึงพระ สังฆราชแปร์รอส แจ้งว่า สิ่งต่างๆ ที่ทำให้ท่านสามารถอดทนอยู่ในคุกก็คือ การสวดภานา , สวดสายประ คำ และสวดมนต์ตามหนังสือสวดของพระสงฆ์
ก) การยอมรับตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า
ถึงแม้ว่าผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าไม่ได้มีความผิดตามข้อกล่าวหา ท่านยังคงน้อมรับโทษทัณฑ์ตาม น้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า :
"แต่อนิจจา ลูกกลับถูกหาว่าขายชาติ ทรยศต่อชาติ พยานโจทย์ 3 ปาก นับว่าไร้ศีลธรรมอย่างที่สุด กล้าใส่ความสงฆ์ผู้ทรงศีลโดยเจตนาเช่นนี้ ถึงกระนั้นก็ดี ลูกรู้สึกว่าพระเจ้าทรงบันดาลให้เป็นไปเช่นนี้ ลูกจึงขอน้อมรับโทษทัณ ฑ์ตามน้ำพระทัยของพระ เพื่อชดเชยความผิด ความบาปของลูก และเพื่อความสันติภาพของ (สากล) โลกทั้งความเจริ ญแห่งประเทศชาติที่รักของลูกด้วย"
ข) ยกโทษให้กับศัตรู
"ลูกสวดเสมอขอพระเอ็นดูยกความผิดของพยานเท็จที่ปรักปรำลูกตามฉบับแห่งพระเยซูอาจารย์แห่งสากลโลก"
ค) ความรักชาติของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า
"คุณบิดาก็ทราบดีว่าลูกรักประเทศชาติจนยอมสละความสนุกสบายฝ่ายข้างโลก ได้อุตส่าห์อบรมพี่น้องชาวทั ยให้อยู่ในศีลธรรมอันดีเป็นระยะ 15 ปี ลูกได้ช่วยชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกนั้นยังเตือนคนอื่นให้รักชาติ"
นายเจริญ ราชบัวขาว ซึ่งถูกจำคุกด้วยกันกับผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ได้ให้การในเรื่องความเป็นมรณสักขีของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าดังต่อไปนี้ :
"คุณพ่อไม่บ่นต่อความทุกข์ยาก แต่ยอมรับทุกอย่างด้วยความอดทน เพื่อเห็นแก่ความเชื่อจนกระทั่งเสียชีวิต"
"ให้กำลังใจ แล้วแต่พระเป็นน้ำพระทัยของพระ เดี๋ยวความสุขก็จะมาทีหลัง”
CR. : http://www.catholic.or.th/.../bknicolas/bknicolas5.html
งานศึกษารายกรณี คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เป็นบุญราศี
เนื้อหาความเป็นมรณสักขี
1. เหตุการณ์การจับกุมผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า
29. สมัยนั้น พระสงฆ์ไทยเข้าเงียบประจำปีเวลาค่ำของวันจันทร์ หลังวันฉลองครอบครัวศั กดิ์สิทธิ์ ในปีนั้นตรงกับวันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1941 ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าออกจากโนนแก้ว ถึงโคราชในวันศุกร์ที่ 10 มกราคม มุ่งหน้าจะไปรับคุณพ่อเลโอนาร์ด สิงหนาทผลสุวรรณ เพื่อเข้ากรุงเทพฯ ด้วยกันให้ทันวันรุ่งขึ้นคือวันเสาร์ที่ 11 มกราคม แต่ปรากฏว่าคุณพ่อเลโอนารด์ได้ฟังรายการวิทยุทุกเย็น เมื่อได้ฟังรายการ "สนทนาของนายมั่น-นายคง" อันเป็นรายการที่หว่ านความหวาดกลัวลงสู่จิตใจของพวกคริสตังทั่วประเทศ ท่านจึงตกลงใจรีบหนีไปหาที่หลบภัยที่วัดหัวไผ่ ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าจึงไม่พบกับคุณพ่อเลโอนารด์ที่โคราชจึงตัดสินใจเดินทางไปวัดนักบุญยอแซฟ บ้านหัน วันที่ 11 มกราคม คิดจะรับคุณพ่ออัมบรอซิโอ กิ๊น มิลลุกูล (พ่อเตี้ย) เจ้าอาวาสวัดบ้านหันไปด้วยกัน แต่แล้วปรากฏว่าคุณพ่ออัมบรอซิโอก็ไม่อยู่แล้วเช่นเดียวกัน
ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าจึงได้เรียกบรรดาคริสตังวัดบ้านหันให้มาสวดภาวนาค่ำพร้อมกัน และแจ้งให้ทุกคนมาร่วมมิสซาวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันอาทิตย์ ตรงกับวันฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ ขณะที่พวกเขากำลังสวดภาวนาค่ำพร้อมกันอยู่นั้น วิทยุกระจายเสียงจากกรุงเทพฯ ในรายการ "สนทนาของนายมั่น-นายคง" ปลุกปั่นยุยงไปทั่ว สร้างความตื่นตระหนกแก่คริสตังทุกคน
พวกสมาชิกคณะเลือดไทยซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ เป็นคณะที่ต่อต้านฝรั่งเศสและทุกคนที่ถูกถือว่าเป็นฝ่ายฝรั่งเศส เฝ้าดูความเคลื่อนไหวของพวกคริสตัง เพราะพวกคริสตังถูกถือว่านับถือศาสนาของฝรั่งเศส
ขณะนั้น ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ากำลังก่อสวดบทเร้าวิงวอนแม่พระ และสัตบุรุษก็ตอบรับตามปกติว่า “ช่วยวิงวอนเพื่อข้าพเจ้าทั้งหลายนี้เถิด” ตามสูตรของบทภาวนาลิตาเนีย แต่สมาชิกคณะเลือดไทยที่เฝ้าดูอยู่นั้น ไปรายงานแก่นายอำเภอสีคิ้วและเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้านำบรรดาคริสตังให้สวดภาวนา “ขอให้ฝรั่งเศสชนะไทยนี้เถิด"
นับเป็นข้อกล่าวหาข้อแรกที่กระทำต่อผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า วันรุ่งขึ้นคือวันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าตีระฆังเวลา 8:30 น. ตอนเช้า เพื่อเรียกให้พวกคริสตังมาวัดฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ และเหตุการณ์นี้ได้เป็นที่มาของการจับกุมผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าและชาวบ้านอีก 8 คน ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่า ขัดต่อคำสั่งการย่ำระฆัง เรียกประชุมชาวบ้านพระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ดังนี้ :
"ด้วยการกระทำอันนี้ ท่านถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอ ซึ่งห้ามตีระฆังในระหว่างเวลากลางคืน"
นอกจากนี้ พระสังฆราชแปร์รอสยังเคยเขียนจดหมายฉบับหนึ่งถึงหลวงอดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ ในเวลานั้น เพื่อชี้แจงถึงความบริสุทธิ์ของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าว่า :
"วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2484 (1941) นี้ บาทหลวงบุญเกิด กฤษบำรุง (นิโกเลา) ได้ถูกตำรวจจับที่วัด บ้านหัน อำเภอสีคิ้ว (จันทึก) เพราะว่าได้ตีระฆังกลางวันสำหรับประชุมคนให้มาสวดภาวนาตามธรรมเนียมทุกวันอาทิตย์ แต่กำนันไม่ให้ตีระฆังกลางคืน"
ครูเจริญ ราชบัวขาว พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ซึ่งถูกจับและถูกขังคุกพร้อมกับผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ได้เป็นพยานว่า :
"เจ้าหน้าที่คุมตัวนักโทษทั้งหมดไปที่สีคิ้ว... ด้านการสอบสวน ทางการพยายามใช้วิธีให้คริสตังปรักปรำกันเอง คือได้ไปนำคริสตังมาอีก 9 คน จากบ้านหัน... ให้คนทั้ง 9 คนนี้ เป็นพยานปรักปรำว่า 9 คนที่ถูกจับเป็นพวกกบฏ เป็นแนวที่ 5 พวกเอาใจช่วยเหลือฝรั่งเศส... พวกนักโทษถูกนำไปโรงพักซึ่งคับแคบมาก อยู่ที่นั่นราว 1 อาทิตย์จากนั้นก็ถูกล่ามโซ่เพื่อเตรียมตัวส่งไปคุกโคราช... ถูกจับขังคุกที่เรือนจำโคราชประมาณเดือนครึ่ง แล้วนักโทษทั้งหมดจึงถูกส่งไปกรุงเทพฯ โดยทางรถไฟ ลงจากรถไฟก็มีคนมารับไปเร่ฝากขังตามที่ต่างๆ คุกปทุมวันไม่รับเพราะเต็มมาก ได้ไปฝากขังที่ สน. พระราชวัง 1 คืน ที่สุดพาไปขังที่ศาลาแดง ถนนวิทยุ สวนลุมพินี รวมเวลาที่อยู่ในคุกศาลาแดงประมาณ 9 เดือน ในช่วง 9 เดือน ไปศาลพิเศษหลายครั้ง มีการซักพยาน ผู้ที่เป็นประธานศาลคือ พล.อ. พระขจร เนติศาสตร์ หลังจากพยายามสอบสวนและพิจารณาคดีรวมทั้งหมดราว 11 เดือน ตั้งแต่วันถูกจับ ที่สุด โดนข้อหากบฏภายนอกราชอาณาจักร ตามมาตราที่ 104/110/111 คุณพ่อนิโคลาส ถูกตัดสินจำคุก 15 ปี... สถานที่ตัดสินและใช้เป็นศาลพิเศษ ได้แก่ กระทรวงกลาโหม ชั้น 3 พอตัดสินเสร็จก็นำนักโทษไปอยู่เรือนจำลหุโทษ คลองเปรม ห้องขังสกปรก มืดทึบ มีช่องอากาศช่องเดียว คับแคบ อยู่ด้วยกัน 9 คน นั่งอัดกันอยู่ที่นี่ได้ราว 2 อาทิตย์ เขาก็ย้ายนักโทษทั้งหมดไปอยู่เรือนจำบางขวาง"
2. ข้อกล่าวหาของท่านเกิดจากผู้ที่เกลียดชัง
30. ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกจับกุมอย่างเป็นทางการและถูกกล่าวหาในหลายๆ ข้อหา ทั้งๆ ที่ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ พระสังฆราชแปร์รอสรายงานว่า :
"วันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันอาทิตย์ คุณพ่อนิโคลาสได้ตีระฆังเพื่อเรียกคริสตังมาวัดฟังมิสซาในเวลา 8:30 น.ตอนเช้า ด้วยการกระทำอันนี้ ท่านถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอ ซึ่งห้ามตีระฆังในระหว่างเวลากลางคืน... ในที่สุด วันที่ 15 พฤษภาคม ศาลพิเศษ (ไม่อนุญาตให้มีทนายและตัดสิทธิ์ห้ามอุทธรณ์) ได้พิพากษาว่าคุณพ่อและคริสตัง 8 คน ถูกฟ้องกล่าวหาว่า ได้ปฏิเสธ โดยไม่ยอมมอบปืนเพื่อช่วยเหลือในการสร้างทางรถไฟและสายโทรเลข , ได้ทำการประชุม ลับเพื่อปลุกปั่นผู้สมรู้ร่วมคิดคนอื่นๆ ไม่ให้ช่วยเหลือรัฐบาลไทยต่อสู้กับอินโดจีน , ได้สวดภาวนาเพื่อชัยชนะของฝรั่งเศส , ได้มีเจตนาในการตัดเส้นทางการคมนาคมและสายโทรเลข"
พระสังฆราชแปร์รอสได้อธิบายต่อไปอีกและพยายามชี้ให้เห็นว่าข้อกล่าวหาเหล่านี้มีมากจนเกินไป เกินกว่าที่ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าจะทำได้ภายในระยะเวลาเพียง 2 วัน ที่ท่านเดินทางผ่านมาที่บ้านหัน
"จำเลยทุกคนปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้ทุกข้อว่าไม่เป็นความจริง (คุณพ่อนิโคลาสไม่ได้อยู่ หรือผ่านไปที่บ้าน หันในเวลา 2 วันที่ผ่านมา)"
อันที่จริง ก่อนหน้านี้คือวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายถึง หลวงอดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ แจ้งให้ทราบว่าบาทหลวงไทยถูกจับและถูกกล่าวหาโดยผู้ที่เก ลียดชัง และถูกขังโดยไม่มีความผิด
"ขอท่านอธิบดีโปรดพิจารณาความ จะได้ทราบว่าบาดหลวงบุญเกิดไม่มีความผิด ถูกคนเกลียดมาใส่ความว่าเป็นแนวที่ 5 ที่จริงไม่เคยเป็นเลย จึงเมื่อไม่มีผิด ก็ขอให้ปล่อยตามข้อ 13 แห่งรัฐธรรมนูญ
ถ้าหากว่ามีคนอ้างว่าบาดหลวงได้ผิด ก็ขอให้ชี้แจงว่าผิดข้อไหน และเอาหลักฐานพะยานมายั่งยืน บาดหลวงจะได้แก้ตัว และแสดงความบริสุทธิ์ของตนได้ ไว้ใจว่าความยุติธรรมมีอำนาจเหนือการใส่ความ"
3. เบื้องหลังความตายของท่าน
31. ยังคงจำได้ว่าพยาน 2 คนที่อยู่ร่วมเหตุการณ์ในสมัยของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ได้ให้การในลักษณะที่คล้ายคลึงกันว่า ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องในระหว่างที่อยู่ในคุก
นายเจริญ ราชบัวขาว พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์คนหนึ่ง ได้ให้การว่า :
"ในระหว่างที่คุณพ่อนิโคลาสอยู่ในคุกลหุโทษ คลองเปรม ได้ราวอาทิตย์กว่าๆ คุณพ่อก็เริ่มอาการไอเพร าะอยู่ในห้องอับๆ และเป็นอยู่เช่นนี้ประมาณ 2 เดือน จึงได้รับการตรวจ และที่สุด ผลปรากฎว่าท่านได้รับการบอกว่าเป็นวัณโรค ในส่วนตัวข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าเชื่อว่าคุณพ่อถูกกลั่นแกล้งให้ไปติดเชื้อวัณโรคภายหลัง เพราะตลอดเวลาที่ท่านอยู่ใน คุกไม่ว่าที่ใด ท่านก็พยายามสอนคำสอนและให้กำลังใจแก่ทุกๆ คนเสมอมา เมื่อผลออกมาว่าเป็นวัณโรคเช่นนี้ คุณพ่อ จึงถูกนำตัวไปแยกขังไว้ที่แดนวัณโรค และในระหว่างที่อยู่ในแดนวัณโรคนี้เอง คุณพ่อได้ พยายามสอนคำสอนแก่คนต่างศาสนา รวมทั้งโปรดศีลล้างบาปให้แก่พวกเขาเป็นจำนวนมากพอควร โดยเฉพาะคนที่ใกล้จะตาย คุณพ่ออยู่ที่แดนวัณโรคราว 2 ปีกว่า คุณพ่อก็เสียชีวิตด้วยโรควัณโรค"
นายฮะเซี้ยง กิจบำรุง ซึ่งเป็นหลานชายแท้ๆ ของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าและได้มีโอกาสไปเยี่ยมท่านหลายครั้ง ได้บอกว่า
"คุณพ่อบอกว่าเป็นโรคภายใน ให้หมอตรวจแล้ว คุณพ่อเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่าเมื่อเขามาเอาเลือดไปตรวจ เขาเอาไปกระป๋องหนึ่ง เอามากเกินไป ในระหว่างที่คุณพ่ออยู่ในคุก ได้โปรดศีลล้างบาปให้แก่คนต่างศาสนาหลายคน"
คุณพ่อลูเซียง มิราแบล ผู้เคยร่วมงานกับผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าในระหว่างการประกาศศาสนาที่ภาคเหนือของประเทศไทย ได้บอกว่า
"หลังจากการจากมาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาจะติดต่อเป็นพิเศษกับเพื่อนพระสงฆ์ร่วมคณะมิสซังต่างประเทศอีก แต่มีคนเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่าคุณพ่อนิโคลาสได้เสียชีวิตเพราะหมดกำลัง ซึ่งเป็นผลมาจากการถูกทรมานในคุก ที่เขาได้ทำให้พวกคนคุกหลายคนกลับใจ"
เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้ ไม่มีหลักฐานที่เป็นเอกสารบันทึกไว้ ทั้งจากเรือนจำกลางบางขวาง หรือจากเรือนจำอื่นๆ อันที่จริง ก็คงไม่มีใครบันทึกเรื่องเหล่านี้ไว้ในเอกสารราชการ จึงเป็นแต่เพียงคำให้การจากพยานร่วมสมัย ซึ่งต่างก็แสดงให้เราเห็นถึงเบื้องหลังอันแท้จริงแห่งความตายของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า อีกทั้งผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าเองก็คงไม่สามารถเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเล่าให้ใครฟังได้ เพราะเวลานั้นจดหมายทุกฉบับจะต้องถูกตรวจก่อนที่จะส่งออกจากคุกทุกฉบับ
นี่คือความคิดเห็นและจดหมายของ พลโท สุนทร สันธนะวนิช เกี่ยวกับเรื่องราวที่ได้กล่าวมาแล้ว
"เอกสารหลักฐานต่างๆ ของเรือนจำกลางบางขวาง จะถูกเก็บรักษาไว้เป็นเวลา 10 ปี หลังจากนักโทษพ้นโทษแล้ว หรือเสียชีวิต ต่อจากนั้นทางราชการเรือนจำกลางบางขวางจะรวบรวมเอกสารเหล่านี้เพื่อทำลายต่อไปทั้งนี้ กระผมได้สอบถามรายละเอียดเหล่านี้จากกรมราชทัณฑ์ และเรือนจำกลางบางขวางแล้ว"
จากสาเหตุของความเกลียดชังในศาสนาคริสต์ ทำให้ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกใส่ความ ถูกจับ และถูก ตัดสินจำคุก 15 ปี ชีวิตภายในคุกยังคงเป็นชีวิตแห่งธรรมทูต จนไม่เป็นที่พอใจของผู้ดูแลอยู่ภายในคุกนั้น ในที่สุด หลังจากที่คุณพ่อต้องรับทุกข์ทรมานต่างๆ นานา ภายในคุกนั้นแล้ว ท่านก็เป็นวัณโรค และเสียชีวิตภายในคุกนั้นเอง ก่อนที่กำหนดการตัดสินจำคุก 15 ปี จะสิ้นสุดลง นับเป็นความตายอันมาจากความเกลียดชังในศาสนาคริสต์โดยตรง เป็นวีรกรรมที่สมควรได้รับการเชิดชูขึ้นเพื่อเกียรติมงคลของพระเป็นเจ้า และเป็นพยานยั่งยืนที่มีชีวิตเป็นความเชื่อที่ยังมีชีวิตอยู่ท่ามกลางพวกเรา
คุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ ผู้ได้ทำการสอบสวนพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์หลายๆ คน และได้รวบรวมเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับกรณีของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ให้การในเรื่องความตายและความเป็นมรณสักขี ว่าดังนี้ :
"ผมพบอยู่จุดหนึ่งและสงสัยมานาน เมื่อครั้งที่ผมรับหน้าที่ใหม่ๆ มีการเชิญพระคุณเจ้าเกี้ยน เสมอพิทักษ์ มาให้คำแนะนำ เพราะว่าพระคุณเจ้าเกี้ยนได้เป็นผู้ดำเนินเรื่องของบุญราศีทั้ง 7 แห่งประเทศไทย มีคำถามตอ นนั้นเกิดขึ้น ว่า มรณสักขีของสองคอนถูกยิงเสียชีวิต เรื่องนี้ชัดเจน เป็นมรณสักขีเพราะความเชื่อ เพราะความเกลียดชังในเรื่องของความเชื่อ แต่ว่าของคุณพ่อนิโคลาสไม่ได้ถูกยิงตาย แต่ตายในคุกด้วยวัณโรค กรณีนี้เป็นข้อสงสัยของผมและของหลายๆ คนในเวลานั้นว่า จะเป็นมรณสักขีหรือไม่ พระคุณเจ้าเกี้ยนได้บอกว่าสาเหตุอันเดียวกันก็คือ ความเกลียดชังความเชื่อ เกลียดชังศาสนา ผลที่เกิดขึ้นเหมือนกัน คือตายเหมือนกัน จะตายลักษณะไหน ลักษณะที่ยอมรับความตายนั้นตาม พระประสงค์ของพระเป็นเจ้า แล้วก็ไม่ได้ด่าแช่งคนที่ยิง คนที่ฆ่าตัวเอง จะด้วยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม ทั้งหมดเหล่านี้ดูจากหลักของสมณกระทรวงว่าด้วยเรื่องนักบุญแล้ว อยู่ในข่ายของการเป็นมรณสักขี ผมสงสัยจริงตอนนั้น แต่ว่ามี คำตอบซึ่งทำให้ข้อสงสัยเหล่านี้หมดสิ้นไป"
พยานคนเดียวกันยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า :
"เวลานั้นทุกคนคิดว่าคุณพ่อนิโคลาสเป็นมรณสักขี นับตั้งแต่พระสังฆราชแปร์รอสซึ่งเป็นผู้ใหญ่ของพระศาสนจักร เมื่อนำศพออกมาจากวัดพุทธซึ่งอยู่ข้างๆ คุกแล้ว ก็ได้นำศพมาฝังไว้ในอุโมงค์วัดอัสสัมชัญ โดยทำเครื่องหมายเป็นกิ่งมะกอก ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการเป็นมรณสักขีไว้ ดังนั้น บรรดาคริสตชนทั้งหลายได้กล่าวขวัญถึงคุณพ่อนิโคลาส ในฐานะที่เป็นมรณสักขีด้วยกันทั้งนั้นจนถึงทุกวันนี้”
CR. : http://www.catholic.or.th/.../bknicolas/bknicolas5.html
เนื้อหาความเป็นมรณสักขี
1. เหตุการณ์การจับกุมผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า
29. สมัยนั้น พระสงฆ์ไทยเข้าเงียบประจำปีเวลาค่ำของวันจันทร์ หลังวันฉลองครอบครัวศั กดิ์สิทธิ์ ในปีนั้นตรงกับวันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1941 ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าออกจากโนนแก้ว ถึงโคราชในวันศุกร์ที่ 10 มกราคม มุ่งหน้าจะไปรับคุณพ่อเลโอนาร์ด สิงหนาทผลสุวรรณ เพื่อเข้ากรุงเทพฯ ด้วยกันให้ทันวันรุ่งขึ้นคือวันเสาร์ที่ 11 มกราคม แต่ปรากฏว่าคุณพ่อเลโอนารด์ได้ฟังรายการวิทยุทุกเย็น เมื่อได้ฟังรายการ "สนทนาของนายมั่น-นายคง" อันเป็นรายการที่หว่ านความหวาดกลัวลงสู่จิตใจของพวกคริสตังทั่วประเทศ ท่านจึงตกลงใจรีบหนีไปหาที่หลบภัยที่วัดหัวไผ่ ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าจึงไม่พบกับคุณพ่อเลโอนารด์ที่โคราชจึงตัดสินใจเดินทางไปวัดนักบุญยอแซฟ บ้านหัน วันที่ 11 มกราคม คิดจะรับคุณพ่ออัมบรอซิโอ กิ๊น มิลลุกูล (พ่อเตี้ย) เจ้าอาวาสวัดบ้านหันไปด้วยกัน แต่แล้วปรากฏว่าคุณพ่ออัมบรอซิโอก็ไม่อยู่แล้วเช่นเดียวกัน
ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าจึงได้เรียกบรรดาคริสตังวัดบ้านหันให้มาสวดภาวนาค่ำพร้อมกัน และแจ้งให้ทุกคนมาร่วมมิสซาวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันอาทิตย์ ตรงกับวันฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ ขณะที่พวกเขากำลังสวดภาวนาค่ำพร้อมกันอยู่นั้น วิทยุกระจายเสียงจากกรุงเทพฯ ในรายการ "สนทนาของนายมั่น-นายคง" ปลุกปั่นยุยงไปทั่ว สร้างความตื่นตระหนกแก่คริสตังทุกคน
พวกสมาชิกคณะเลือดไทยซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ เป็นคณะที่ต่อต้านฝรั่งเศสและทุกคนที่ถูกถือว่าเป็นฝ่ายฝรั่งเศส เฝ้าดูความเคลื่อนไหวของพวกคริสตัง เพราะพวกคริสตังถูกถือว่านับถือศาสนาของฝรั่งเศส
ขณะนั้น ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ากำลังก่อสวดบทเร้าวิงวอนแม่พระ และสัตบุรุษก็ตอบรับตามปกติว่า “ช่วยวิงวอนเพื่อข้าพเจ้าทั้งหลายนี้เถิด” ตามสูตรของบทภาวนาลิตาเนีย แต่สมาชิกคณะเลือดไทยที่เฝ้าดูอยู่นั้น ไปรายงานแก่นายอำเภอสีคิ้วและเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้านำบรรดาคริสตังให้สวดภาวนา “ขอให้ฝรั่งเศสชนะไทยนี้เถิด"
นับเป็นข้อกล่าวหาข้อแรกที่กระทำต่อผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า วันรุ่งขึ้นคือวันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าตีระฆังเวลา 8:30 น. ตอนเช้า เพื่อเรียกให้พวกคริสตังมาวัดฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ และเหตุการณ์นี้ได้เป็นที่มาของการจับกุมผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าและชาวบ้านอีก 8 คน ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่า ขัดต่อคำสั่งการย่ำระฆัง เรียกประชุมชาวบ้านพระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ดังนี้ :
"ด้วยการกระทำอันนี้ ท่านถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอ ซึ่งห้ามตีระฆังในระหว่างเวลากลางคืน"
นอกจากนี้ พระสังฆราชแปร์รอสยังเคยเขียนจดหมายฉบับหนึ่งถึงหลวงอดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ ในเวลานั้น เพื่อชี้แจงถึงความบริสุทธิ์ของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าว่า :
"วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2484 (1941) นี้ บาทหลวงบุญเกิด กฤษบำรุง (นิโกเลา) ได้ถูกตำรวจจับที่วัด บ้านหัน อำเภอสีคิ้ว (จันทึก) เพราะว่าได้ตีระฆังกลางวันสำหรับประชุมคนให้มาสวดภาวนาตามธรรมเนียมทุกวันอาทิตย์ แต่กำนันไม่ให้ตีระฆังกลางคืน"
ครูเจริญ ราชบัวขาว พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ซึ่งถูกจับและถูกขังคุกพร้อมกับผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ได้เป็นพยานว่า :
"เจ้าหน้าที่คุมตัวนักโทษทั้งหมดไปที่สีคิ้ว... ด้านการสอบสวน ทางการพยายามใช้วิธีให้คริสตังปรักปรำกันเอง คือได้ไปนำคริสตังมาอีก 9 คน จากบ้านหัน... ให้คนทั้ง 9 คนนี้ เป็นพยานปรักปรำว่า 9 คนที่ถูกจับเป็นพวกกบฏ เป็นแนวที่ 5 พวกเอาใจช่วยเหลือฝรั่งเศส... พวกนักโทษถูกนำไปโรงพักซึ่งคับแคบมาก อยู่ที่นั่นราว 1 อาทิตย์จากนั้นก็ถูกล่ามโซ่เพื่อเตรียมตัวส่งไปคุกโคราช... ถูกจับขังคุกที่เรือนจำโคราชประมาณเดือนครึ่ง แล้วนักโทษทั้งหมดจึงถูกส่งไปกรุงเทพฯ โดยทางรถไฟ ลงจากรถไฟก็มีคนมารับไปเร่ฝากขังตามที่ต่างๆ คุกปทุมวันไม่รับเพราะเต็มมาก ได้ไปฝากขังที่ สน. พระราชวัง 1 คืน ที่สุดพาไปขังที่ศาลาแดง ถนนวิทยุ สวนลุมพินี รวมเวลาที่อยู่ในคุกศาลาแดงประมาณ 9 เดือน ในช่วง 9 เดือน ไปศาลพิเศษหลายครั้ง มีการซักพยาน ผู้ที่เป็นประธานศาลคือ พล.อ. พระขจร เนติศาสตร์ หลังจากพยายามสอบสวนและพิจารณาคดีรวมทั้งหมดราว 11 เดือน ตั้งแต่วันถูกจับ ที่สุด โดนข้อหากบฏภายนอกราชอาณาจักร ตามมาตราที่ 104/110/111 คุณพ่อนิโคลาส ถูกตัดสินจำคุก 15 ปี... สถานที่ตัดสินและใช้เป็นศาลพิเศษ ได้แก่ กระทรวงกลาโหม ชั้น 3 พอตัดสินเสร็จก็นำนักโทษไปอยู่เรือนจำลหุโทษ คลองเปรม ห้องขังสกปรก มืดทึบ มีช่องอากาศช่องเดียว คับแคบ อยู่ด้วยกัน 9 คน นั่งอัดกันอยู่ที่นี่ได้ราว 2 อาทิตย์ เขาก็ย้ายนักโทษทั้งหมดไปอยู่เรือนจำบางขวาง"
2. ข้อกล่าวหาของท่านเกิดจากผู้ที่เกลียดชัง
30. ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกจับกุมอย่างเป็นทางการและถูกกล่าวหาในหลายๆ ข้อหา ทั้งๆ ที่ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ พระสังฆราชแปร์รอสรายงานว่า :
"วันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันอาทิตย์ คุณพ่อนิโคลาสได้ตีระฆังเพื่อเรียกคริสตังมาวัดฟังมิสซาในเวลา 8:30 น.ตอนเช้า ด้วยการกระทำอันนี้ ท่านถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอ ซึ่งห้ามตีระฆังในระหว่างเวลากลางคืน... ในที่สุด วันที่ 15 พฤษภาคม ศาลพิเศษ (ไม่อนุญาตให้มีทนายและตัดสิทธิ์ห้ามอุทธรณ์) ได้พิพากษาว่าคุณพ่อและคริสตัง 8 คน ถูกฟ้องกล่าวหาว่า ได้ปฏิเสธ โดยไม่ยอมมอบปืนเพื่อช่วยเหลือในการสร้างทางรถไฟและสายโทรเลข , ได้ทำการประชุม ลับเพื่อปลุกปั่นผู้สมรู้ร่วมคิดคนอื่นๆ ไม่ให้ช่วยเหลือรัฐบาลไทยต่อสู้กับอินโดจีน , ได้สวดภาวนาเพื่อชัยชนะของฝรั่งเศส , ได้มีเจตนาในการตัดเส้นทางการคมนาคมและสายโทรเลข"
พระสังฆราชแปร์รอสได้อธิบายต่อไปอีกและพยายามชี้ให้เห็นว่าข้อกล่าวหาเหล่านี้มีมากจนเกินไป เกินกว่าที่ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าจะทำได้ภายในระยะเวลาเพียง 2 วัน ที่ท่านเดินทางผ่านมาที่บ้านหัน
"จำเลยทุกคนปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้ทุกข้อว่าไม่เป็นความจริง (คุณพ่อนิโคลาสไม่ได้อยู่ หรือผ่านไปที่บ้าน หันในเวลา 2 วันที่ผ่านมา)"
อันที่จริง ก่อนหน้านี้คือวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายถึง หลวงอดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ แจ้งให้ทราบว่าบาทหลวงไทยถูกจับและถูกกล่าวหาโดยผู้ที่เก ลียดชัง และถูกขังโดยไม่มีความผิด
"ขอท่านอธิบดีโปรดพิจารณาความ จะได้ทราบว่าบาดหลวงบุญเกิดไม่มีความผิด ถูกคนเกลียดมาใส่ความว่าเป็นแนวที่ 5 ที่จริงไม่เคยเป็นเลย จึงเมื่อไม่มีผิด ก็ขอให้ปล่อยตามข้อ 13 แห่งรัฐธรรมนูญ
ถ้าหากว่ามีคนอ้างว่าบาดหลวงได้ผิด ก็ขอให้ชี้แจงว่าผิดข้อไหน และเอาหลักฐานพะยานมายั่งยืน บาดหลวงจะได้แก้ตัว และแสดงความบริสุทธิ์ของตนได้ ไว้ใจว่าความยุติธรรมมีอำนาจเหนือการใส่ความ"
3. เบื้องหลังความตายของท่าน
31. ยังคงจำได้ว่าพยาน 2 คนที่อยู่ร่วมเหตุการณ์ในสมัยของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ได้ให้การในลักษณะที่คล้ายคลึงกันว่า ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องในระหว่างที่อยู่ในคุก
นายเจริญ ราชบัวขาว พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์คนหนึ่ง ได้ให้การว่า :
"ในระหว่างที่คุณพ่อนิโคลาสอยู่ในคุกลหุโทษ คลองเปรม ได้ราวอาทิตย์กว่าๆ คุณพ่อก็เริ่มอาการไอเพร าะอยู่ในห้องอับๆ และเป็นอยู่เช่นนี้ประมาณ 2 เดือน จึงได้รับการตรวจ และที่สุด ผลปรากฎว่าท่านได้รับการบอกว่าเป็นวัณโรค ในส่วนตัวข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าเชื่อว่าคุณพ่อถูกกลั่นแกล้งให้ไปติดเชื้อวัณโรคภายหลัง เพราะตลอดเวลาที่ท่านอยู่ใน คุกไม่ว่าที่ใด ท่านก็พยายามสอนคำสอนและให้กำลังใจแก่ทุกๆ คนเสมอมา เมื่อผลออกมาว่าเป็นวัณโรคเช่นนี้ คุณพ่อ จึงถูกนำตัวไปแยกขังไว้ที่แดนวัณโรค และในระหว่างที่อยู่ในแดนวัณโรคนี้เอง คุณพ่อได้ พยายามสอนคำสอนแก่คนต่างศาสนา รวมทั้งโปรดศีลล้างบาปให้แก่พวกเขาเป็นจำนวนมากพอควร โดยเฉพาะคนที่ใกล้จะตาย คุณพ่ออยู่ที่แดนวัณโรคราว 2 ปีกว่า คุณพ่อก็เสียชีวิตด้วยโรควัณโรค"
นายฮะเซี้ยง กิจบำรุง ซึ่งเป็นหลานชายแท้ๆ ของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าและได้มีโอกาสไปเยี่ยมท่านหลายครั้ง ได้บอกว่า
"คุณพ่อบอกว่าเป็นโรคภายใน ให้หมอตรวจแล้ว คุณพ่อเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่าเมื่อเขามาเอาเลือดไปตรวจ เขาเอาไปกระป๋องหนึ่ง เอามากเกินไป ในระหว่างที่คุณพ่ออยู่ในคุก ได้โปรดศีลล้างบาปให้แก่คนต่างศาสนาหลายคน"
คุณพ่อลูเซียง มิราแบล ผู้เคยร่วมงานกับผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าในระหว่างการประกาศศาสนาที่ภาคเหนือของประเทศไทย ได้บอกว่า
"หลังจากการจากมาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาจะติดต่อเป็นพิเศษกับเพื่อนพระสงฆ์ร่วมคณะมิสซังต่างประเทศอีก แต่มีคนเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่าคุณพ่อนิโคลาสได้เสียชีวิตเพราะหมดกำลัง ซึ่งเป็นผลมาจากการถูกทรมานในคุก ที่เขาได้ทำให้พวกคนคุกหลายคนกลับใจ"
เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้ ไม่มีหลักฐานที่เป็นเอกสารบันทึกไว้ ทั้งจากเรือนจำกลางบางขวาง หรือจากเรือนจำอื่นๆ อันที่จริง ก็คงไม่มีใครบันทึกเรื่องเหล่านี้ไว้ในเอกสารราชการ จึงเป็นแต่เพียงคำให้การจากพยานร่วมสมัย ซึ่งต่างก็แสดงให้เราเห็นถึงเบื้องหลังอันแท้จริงแห่งความตายของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า อีกทั้งผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าเองก็คงไม่สามารถเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเล่าให้ใครฟังได้ เพราะเวลานั้นจดหมายทุกฉบับจะต้องถูกตรวจก่อนที่จะส่งออกจากคุกทุกฉบับ
นี่คือความคิดเห็นและจดหมายของ พลโท สุนทร สันธนะวนิช เกี่ยวกับเรื่องราวที่ได้กล่าวมาแล้ว
"เอกสารหลักฐานต่างๆ ของเรือนจำกลางบางขวาง จะถูกเก็บรักษาไว้เป็นเวลา 10 ปี หลังจากนักโทษพ้นโทษแล้ว หรือเสียชีวิต ต่อจากนั้นทางราชการเรือนจำกลางบางขวางจะรวบรวมเอกสารเหล่านี้เพื่อทำลายต่อไปทั้งนี้ กระผมได้สอบถามรายละเอียดเหล่านี้จากกรมราชทัณฑ์ และเรือนจำกลางบางขวางแล้ว"
จากสาเหตุของความเกลียดชังในศาสนาคริสต์ ทำให้ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกใส่ความ ถูกจับ และถูก ตัดสินจำคุก 15 ปี ชีวิตภายในคุกยังคงเป็นชีวิตแห่งธรรมทูต จนไม่เป็นที่พอใจของผู้ดูแลอยู่ภายในคุกนั้น ในที่สุด หลังจากที่คุณพ่อต้องรับทุกข์ทรมานต่างๆ นานา ภายในคุกนั้นแล้ว ท่านก็เป็นวัณโรค และเสียชีวิตภายในคุกนั้นเอง ก่อนที่กำหนดการตัดสินจำคุก 15 ปี จะสิ้นสุดลง นับเป็นความตายอันมาจากความเกลียดชังในศาสนาคริสต์โดยตรง เป็นวีรกรรมที่สมควรได้รับการเชิดชูขึ้นเพื่อเกียรติมงคลของพระเป็นเจ้า และเป็นพยานยั่งยืนที่มีชีวิตเป็นความเชื่อที่ยังมีชีวิตอยู่ท่ามกลางพวกเรา
คุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ ผู้ได้ทำการสอบสวนพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์หลายๆ คน และได้รวบรวมเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับกรณีของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ให้การในเรื่องความตายและความเป็นมรณสักขี ว่าดังนี้ :
"ผมพบอยู่จุดหนึ่งและสงสัยมานาน เมื่อครั้งที่ผมรับหน้าที่ใหม่ๆ มีการเชิญพระคุณเจ้าเกี้ยน เสมอพิทักษ์ มาให้คำแนะนำ เพราะว่าพระคุณเจ้าเกี้ยนได้เป็นผู้ดำเนินเรื่องของบุญราศีทั้ง 7 แห่งประเทศไทย มีคำถามตอ นนั้นเกิดขึ้น ว่า มรณสักขีของสองคอนถูกยิงเสียชีวิต เรื่องนี้ชัดเจน เป็นมรณสักขีเพราะความเชื่อ เพราะความเกลียดชังในเรื่องของความเชื่อ แต่ว่าของคุณพ่อนิโคลาสไม่ได้ถูกยิงตาย แต่ตายในคุกด้วยวัณโรค กรณีนี้เป็นข้อสงสัยของผมและของหลายๆ คนในเวลานั้นว่า จะเป็นมรณสักขีหรือไม่ พระคุณเจ้าเกี้ยนได้บอกว่าสาเหตุอันเดียวกันก็คือ ความเกลียดชังความเชื่อ เกลียดชังศาสนา ผลที่เกิดขึ้นเหมือนกัน คือตายเหมือนกัน จะตายลักษณะไหน ลักษณะที่ยอมรับความตายนั้นตาม พระประสงค์ของพระเป็นเจ้า แล้วก็ไม่ได้ด่าแช่งคนที่ยิง คนที่ฆ่าตัวเอง จะด้วยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม ทั้งหมดเหล่านี้ดูจากหลักของสมณกระทรวงว่าด้วยเรื่องนักบุญแล้ว อยู่ในข่ายของการเป็นมรณสักขี ผมสงสัยจริงตอนนั้น แต่ว่ามี คำตอบซึ่งทำให้ข้อสงสัยเหล่านี้หมดสิ้นไป"
พยานคนเดียวกันยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า :
"เวลานั้นทุกคนคิดว่าคุณพ่อนิโคลาสเป็นมรณสักขี นับตั้งแต่พระสังฆราชแปร์รอสซึ่งเป็นผู้ใหญ่ของพระศาสนจักร เมื่อนำศพออกมาจากวัดพุทธซึ่งอยู่ข้างๆ คุกแล้ว ก็ได้นำศพมาฝังไว้ในอุโมงค์วัดอัสสัมชัญ โดยทำเครื่องหมายเป็นกิ่งมะกอก ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการเป็นมรณสักขีไว้ ดังนั้น บรรดาคริสตชนทั้งหลายได้กล่าวขวัญถึงคุณพ่อนิโคลาส ในฐานะที่เป็นมรณสักขีด้วยกันทั้งนั้นจนถึงทุกวันนี้”
CR. : http://www.catholic.or.th/.../bknicolas/bknicolas5.html
งานศึกษารายกรณี คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เป็นบุญราศี
ชื่อเสียงความเป็นมรณสักขี
32. ชื่อเสียงแห่งความศักดิ์สิทธิ์และวีรกรรมของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ได้แสดงให้เห็นในจดหมายฉบับหนึ่งจากจดหมายหลายๆ ฉบับที่เขียนโดยพระสังฆราชแปร์รอส รวมทั้งรายงานต่างๆ ของพระสังฆราชปาซอตตีถึงสมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ
พระสังฆราชแปร์รอสได้แสดงออกอย่างชัดแจ้งว่า ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าใช้ชีวิตอย่างศักดิ์สิทธิ์และประพฤติตนเป็นที่น่านับถือ ได้อยู่บนสวรรค์แล้ว พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งถึงพระสังฆราชอาเดรียง ดราปิเอร์ ผู้แทนพระสันตะปาปาในอินโดจีน ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944 กล่าวว่า :
"เราได้สูญเสียพระสงฆ์พื้นเมืององค์หนึ่งในจำนวน 3 องค์ ที่ถูกตัดสินจำคุกโดยไม่มีความผิด คุณพ่อนิโคลาสเป็นพระสงฆ์ที่มีใจร้อนรน มีความกระตือรือร้นกว่าทุกคน เป็นระยะเวลา 8 เดือน ที่ท่านป่วยเป็นวัณโรคอยู่ในโรงพยาบาลของเรือนจำ ท่านได้ทำให้คนกลับใจจำนวน 68 คน และโปรดศีลล้างบาปให้คนใกล้ตาย ผู้ที่ลงโทษตัดสินจำคุกท่านอย่างอยุติธรรม คงไม่คาดคิดว่าจะได้รับผลตอบแทนเช่นนี้"
ดังนั้น พระสังฆราชแปร์รอสจึงตัดสินใจฝังศพของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าไว้ภายใต้พระแท่นของอาสนวิหารอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ และทำเครื่องหมายกิ่งมะกอกบนป้ายชื่อของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า อันเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะในฐานะมรณสักขีตามความเชื่อคริสตัง
คุณพ่อเมอนิเอร์ได้ยืนยันว่า :
"เกี่ยวกับชีวิตของคุณพ่อนิโคลาสในช่วงที่อยู่ในคุกนั้น ข้าพเจ้าไม่ทราบอะไร รู้แต่เพียงว่าคุณพ่อได้โปรดศีลล้างบาปให้แก่นักโทษที่อยู่ในคุกหลายคน ส่วนเรื่องการนำเสนอคุณพ่อเป็นบุญราศี มีการสลักกิ่งมะกอกบนหลุมฝังศพของคุณพ่อ ซึ่งเป็นการแสดงความเชื่อในเรื่องนี้อยู่แล้ว เป็นการยากที่จะให้ความเห็นในเรื่องนี้ เพราะกรณีนี้แตกต่างจากกรณีที่บ้านสองคอน"
ในปี ค.ศ. 1946 พระสังฆราชกาเยตาโน ปาซอตตี ได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งถึง สมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ รายงานเกี่ยวกับความตายและความศักดิ์สิทธิ์ของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าว่าดังนี้:
"คุณพ่อนิโคลาสพระสงฆ์พื้นเมืองอีกองค์หนึ่งของมิสซังกรุงเทพฯ ได้เสียชีวิตในห้องขัง เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1944 คุณพ่อได้โปรดศีลล้างบาปให้แก่ผู้ใหญ่ที่อยู่ในคุกนั้นจำนวน 70 คน ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีจิตวิญญาณที่สวยงาม เป็นพระสงฆ์ศักดิ์สิทธิ์ เรื่องราวชีวิตของท่านจะได้รับพระพร"
สำหรับวันที่ที่ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถึงแก่ความตายนั้น ได้ถูกระบุไว้ในเอกสารนี้คือ "วันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1944" อันที่จริง ควรจะอ่าน "วันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1944" แทน ทั้งนี้อาจจะมาจากความผิดพลาดในการทำสำเนาเอกสาร หรือความจำผิดพลาดของพระสังฆราชปาซอตตี เราทราบวันที่ที่ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถึงแก่ความตายจากจดหมายของพระสังฆราชแปร์รอส ลงวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1944 ถึงข้าหลวงประจำจังหวัดพระนครว่า :
"บาดหลวงบุญเกิด กริสบำรุง ได้ถึงความมรณภาพในเรือนจำกลางบางขวาง อำเภอนนทบุรี จังหวัดพระนคร วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2487 (1944) แล้วถูกฝังที่วัดบางแพรก"
1. ชื่อเสียงความเป็นมรณสักขีของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้รับการยืนยันอย่างชัดเจนจากพยาน
33. ได้มีการถามว่าผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้สละชีวิตเพื่อความเชื่อ นายเจริญได้ตอบว่า :
"ผมถือตั้งแต่ยังไม่ทันปล่อยออกจากคุกเลย"
เขายังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ประชาชนเชื่อว่าผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าอยู่กับพระเป็นเจ้าแล้วเวลานี้ เพราะว่าได้ตายแบบมรณสักขี
นางเง็กซี กิจสงวน มีความคิดเห็นเช่นเดียวกันกับสัตบุรุษวัดนักบุญเปโตรซึ่งเป็นสถานที่เกิดของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า :
"เขาเข้าใจว่าคุณพ่อเป็นมรณสักขีไปแล้ว และได้สวดขอ บางคนได้เล่าให้ฟังว่าเขาขออะไร เขาก็ได้ ขอพระผ่านทางคุณพ่อนิโคลาส"
นายวันนา ไพรจันทึก ได้เป็นพยานว่า :
"ประชาชนส่วนใหญ่ถือว่าคุณพ่อเสียชีวิตแบบมรณสักขี เพราะว่าคุณพ่อเสียชีวิตก็ด้วยเรื่องเกี่ยวกับศาสนา"
และเขายังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า :
"ประชาชนเชื่อว่าคุณพ่อนิโคลาสขึ้นสวรรค์แล้ว เป็นนักบุญแล้ว"
ความคิดเห็นนี้สอดคล้องกับความคิดเห็นทั้งหมดดังนี้ นายสุเทพ ศรีสุระ ได้ให้การว่าประชาชนเห็นว่า ความตายของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า เป็นความตายแบบมรณสักขี
"แน่นอน ไม่มีใครสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้"
ชื่อเสียงความเป็นมรณสักขีของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ายังคงเป็นอยู่ในเวลานี้ใน 3 สังฆมณฑล สถานที่ซึ่งผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าเคยใช้ชีวิตและเคยทำงานอภิบาล
- พระสังฆราชสังวาลย์ ศุระศรางค์ พระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลเชียงใหม่ ได้เป็นพยานว่า
"ประชาชนทุกวันนี้ยังคงให้ความเคารพท่านในฐานะเป็นมรณสักขี มีคนศรัทธาต่อคุณพ่อจริง แต่ศรัทธาแบบเป็นมรณสักขี เป็นคุณพ่อที่มีความร้อนรน"
ท่านยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า :
"ในแง่หนึ่ง ผมเห็นด้วยว่าสาเหตุที่ถูกจับเพราะศาสนา เพราะเกลียดศาสนาคาทอลิก และเมื่อถูกจับแล้ว ก็ไปตายในคุกเนื่องมาจากเหตุการณ์นี้ จึงเห็นว่าเป็นเหตุผลที่ต่อเนื่องกัน เพราะหากว่าคุณพ่อทำตามที่บอกคือ ไม่ปฏิบัติและนับถือศาสนาคาทอลิก คุณพ่อก็จะมีชีวิตรอด แต่ว่าคุณพ่อปฏิบัติศาสนา แต่ขัดขืนคำสั่งนั้น คุณพ่อจึงเสียชีวิตและแม้ว่าจะไม่เสียชีวิตทันที ก็ถือว่าท่านได้เสียชีวิตเพราะการปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนาได้ จึงคิดว่าเป็นลักษณะของมรณสักขี"
- พระสังฆราชบรรจง อารีพรรค พระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์ ได้เป็นพยานว่า :
"เคยได้ยินบ้างนิดหน่อย เวลาได้รับใบเพื่อสวดภาวนาขอให้คุณพ่อนิโคลาสให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นบุญราศี ผมได้ร่วมและได้แจกให้บางคน ทราบว่าสัตบุรุษก็สวดกัน"
ท่านยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า :
"ข้าพเจ้าสนับสนุนเต็มที่ให้ดำเนินการให้คุณพ่อนิโคลาสได้รับการแต่งตั้งเป็นบุญราศี เพราะการตายเพื่อศาสนา หรือเพื่อยืนยันความเชื่อในพระเป็นเจ้า น่าที่จะได้เป็นบุญราศี"
- พระสังฆราชพเยาว์ มณีทรัพย์ พระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลนครราชสีมา ซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าเคยทำงานเป็นเจ้าอาวาสวัดโนนแก้ว และเป็นสถานที่ซึ่งท่านถูกจับที่วัดบ้านหัน ได้เป็นพยานว่า :
"เท่าที่ผมทราบ ชาวบ้านทั่วๆ ไปในสังฆมณฑลนครราชสีมา นับถือว่าคุณพ่อนิโคลาสเป็นมรณสักขี"
ท่านยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า :
"ข้าพเจ้าเชื่อว่าพวกเขานับถือคุณพ่อนิโคลาส และบางคนยังสวดภาวนาอยู่ และในระยะหลังนี้มีจำนวนมากพอสมควร"
2. บรรดาคาทอลิกและบรรดาพยานปรารถนาและสวดภาวนาเพื่อการประก าศการเป็นบุญราศีของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า
34. คำให้การของคุณพ่อวรยุทธ กิจบำรุง เป็นประโยชน์อย่างมากและเป็นการช่วยยืนยันถึงชื่อเสี ยงความเป็นมรณสักขีของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าท่ามกลางบรรดาคาทอลิกในปัจจุบัน นี่คือคำให้การของท่าน :
จากบรรดาคริสตชนไทยในปัจจุบัน
1. จำนวนผู้ที่ลงชื่อเห็นด้วยกับการเสนอเรื่องคุณพ่อนิโคลาสให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นบุญราศี
พระสงฆ์และคริสตังเก่าๆ ในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ยังคงรู้จักและได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับคุณพ่อนิโคลาสมาเป็นเวลานานแล้ว ได้รับทราบถึงความเป็นมรณสักขีของคุณพ่อและยึดถือคุณพ่อนิโคลาสเป็น ดั่งบุญราศีองค์หนึ่ง แต่บรรดาคริสตังรุ่นหลังๆ ยังไม่ค่อยรู้จักกับประวัติและวีรกรรมของคุณพ่อมากนัก ทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จึงได้จัดพิมพ์หนังสือประวัติของคุณพ่อออกแจกจ่ายไปตามวัดต่างๆ รวมทั้ง ตีพิมพ์ลงในหนังสืออุดมศานต์ เกี่ยวกับเรื่องราวของคุณพ่อ เพื่อให้บรรดาคริสตชนได้รู้จักมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งต้องการหยั่งเสียงดูด้วยว่า บรรดาคริสตชนเห็นด้วยกับการดำเนินเรื่องคุณพ่อนิโคลาสให้เป็นบุญราศี จำนวนมากน้อยเพียงใด ได้จัดพิมพ์หนังสือประวัติถึง 4 ครั้ง โดยพิมพ์ครั้งแรก วันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 จำนวน 2,000 เล่ม , พิมพ์ครั้งที่ 2 วันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1996 จำนวน 5,000 เล่ม , พิมพ์ครั้งที่ 3 วันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1996 จำนวน 5,000 เล่ม และพิมพ์ครั้งที่ 4 วันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 จำ นวน 3,000 เล่ม นอกจากหนังสือประวัติของคุณพ่อแล้ว ภายในเล่มยังมีบทภาวนาเพื่อขอให้การดำเนินเรื่องคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เป็นบุญราศี ได้สำเร็จเป็นไปตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า ซึ่งต่อมาบรรดาคริสตชนของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้สวดบทภาวนาบทนี้มากขึ้น ทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จึงได้จัดพิมพ์บทภาวนาบทนี้เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก เพราะจากการสวดภาวนาเช่นนี้ จะทำให้มั่นใจขึ้นว่าบรรดาคริสตชนยึดถือคุณพ่อเป็นบุญราศี แต่เพื่อที่จะทราบความเห็นของบรรดา คริสตชนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อการเสนอเรื่องนี้ จะทำอย่างไร? ทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จึงได้จัดพิมพ์สมุด ลงชื่อแสดงความเห็นด้วยกับการเสนอเรื่อง หลังจากที่ได้ศึกษาถึงประวัติและมรณกรรมของคุณพ่อนิโคลา สแล้ว และได้แจกจ่ายไปตามวัดต่างๆ ทั่วอัครสังฆมณฑล เพื่อให้บรรดาคริสตชนที่ได้ศึกษาและรู้จักคุณพ่ อนิโคลาส รวมทั้งผู้ที่ได้สวดภาวนาวอนขอพระพรผ่านทางคุณพ่อ ได้ลงชื่อสนับสนุนการดำเนินเรื่อง ผลปรากฏว่า กลุ่มคริสตชน 34 กลุ่ม ได้ลงชื่อสนับสนุนเรื่องนี้ทั้งหมด 11,486 คน นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคริสตชนจากสังฆมณฑลอื่นๆ อีก 14 กลุ่ม ที่ได้แสดงความเห็นสนับสนุนในเรื่องนี้ และได้ส่งมาให้อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ อีกจำนวน 790 คน
คริสตชนที่ลงชื่อเห็นด้วยกับการเสนอเรื่องคุณพ่อนิโคลาสให้เป็นบุญราศีนี้ ยังได้แสดงความเชื่อในเรื่องนี้ด้วยการแจ้งให้ทราบด้วยว่า พวกเขาได้สวดภาวนาวอนขอพระพรโดยผ่านทางคุณพ่อนิโคลาส แ ละได้รับพระพรนั้นเป็นจำนวนทั้งหมด 292 คน อีกด้วย
2. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของบรรดาคริสตชน
35. บรรดาคริสตชนไทยจากทั่วประเทศได้ส่งจดหมายแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับการเสนอเรื่องคุณพ่อนิโคลาสเป็นบุญราศี มายังอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเหล่านี้น่าสนใจมาก เพราะแสดงให้เห็นว่ามีคริสตชนจำนวนมากที่ได้เรียนรู้ชีวิตของคุณพ่อนิโคลาส และประสงค์จะให้คุณพ่อได้รับเกียรติจากพระศาสนจักรในฐานะที่เป็นมรณสักขี เป็นพระสงฆ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นแบบอย่างแห่งความเชื่อ สำหรับทุกคนโดยเฉพาะสำหรับบรรดาพระสงฆ์ จำนวนจดหมายที่ได้รับจากสังฆมณฑลต่างๆ มีดังนี้
สังฆมณฑลเชียงใหม่ จำนวน 31 ฉบับ
สังฆมณฑลนครราชสีมา จำนวน 2 ฉบับ
สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี จำนวน 2 ฉบับ
สังฆมณฑลจันทบุรี จำนวน 18 ฉบับ
อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง จำนวน 3 ฉบับ
สังฆมณฑลนครสวรรค์ จำนวน 15 ฉบับ
สังฆมณฑลราชบุรี จำนวน 5 ฉบับ
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จำนวน 394 ฉบับ
และจากคริสตชนไทยคนหนึ่งที่อยู่สหรัฐอเมริกา 1 ฉบับ
รวมทั้งหมดจำนวน 470 ฉบับ
ทั้งหมดนี้ได้แสดงความเห็นและข้อเสนอแนะมาด้วย ขอนำความเห็นและข้อเสนอแนะที่น่าสนใจบาง ฉบับมาลงไว้ในที่นี้ เพื่อจะทำให้เห็นถึงความหลากหลายของความคิดเห็น ซึ่งนำไปสู่ความคิดเห็นร่วมกัน
3. ความเห็นของสัตบุรุษบางท่าน
1. คุณขวัญกมล โชติรณพัสดุ อายุ 43 ปี บ้านเลขที่ 39 ถนนรัชดาภิเษก แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600 :
“ท่านเป็นตัวอย่างอันเลิศในการให้อภัยศัตรู และใช้หัวใจพระคริสตเจ้าทำงานในตัวท่าน ด้วยการทนรับความทุกข์ทรมานฝ่ายเนื้อหนังด้วยพิษไข้อย่างทรหดจนวาระสุดท้าย สมควรยกย่องให้ท่านเป็นบุญราศีเพื่อเป็นกำลังใจของผู้ถูกเบียดเบียน"
2. จ.ส.อ. ประเสริฐ มาลา อายุ 72 ปี บ้านเลขที่ 48 ถนนสุงประยูร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000
"อ่านประวัติของคุณพ่อนิโคลาสแล้ว ซาบซึ้งในชีวิตของคุณพ่อ พระศาสนจักรก็มีกรรมการตรวจสอบประวัติของคุณพ่อหลายครั้ง เชื่อว่าควรยกย่องให้ท่านเป็นนักบุญ ภารกิจของท่านก็จบลงอย่างมั่นคงต่อพระศาสนจักร ไม่แตกต่างกับมารตีร์วัดสองคอน"
3. นายสมพงษ์ คล้ายใจ อายุ 41 ปี บ้านเลขที่ 33 หมู่ 11 ตำบลสำเภาล่ม อำเภออยุธยา จังหวัดอยุธยา 13000
"เคยพบเห็นจดหมายของคุณพ่อเฮนรี่ (สุนทร วิเศษรัตน์) กล่าวถึง คุณพ่อบุญเกิด กฤษบำรุง ที่อยุธยาบ้านนายทองอยู่ ทรัพย์เจริญ เคยอ่าน มีความซึ้งใจการเป็นคาทอลิก มีความกล้าหาญในความเชื่อของคุณพ่อ"
4. นางสิตา กมลยะบุตร อายุ 62 ปี บ้านเลขที่ 1028/29 หมู่ 7 ถนนเพชรเกษม แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพฯ 10160
"คุณพ่อนิโคลาสเป็นคริสตังที่แท้จริงทั้งกายและใจ รักพระมากถึงกับยอมสละความสุขส่วนตัว โดยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ด้อยโอกาสทั้งหลาย และยังช่วยให้ผู้อื่นรู้จักรักพระมหาเยซูเจ้า โดยการสอนคำสอนแก่คนที่ยังไม่รู้จักพระเป็นเจ้า และท่านไม่ยอมปฏิเสธพระ ยอมสละชีวิตเพื่อแสดงตนเป็นคริสตังเป็นลูกของพระจนวินาทีสุดท้ายแห่งชีวิตที่ทุกข์ยาก"
5. นางวีรวงศ์ บุตรบุญ อายุ 48 ปี บ้านเลขที่ 417/62 ถนนสุขุมวิท 101/1 (หมู่บ้านทับแก้ว) แขวง บางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260
"ขอสนับสนุนคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เป็นบุญราศี เนื่องจากท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีใจร้อนรนไม่ย่อท้อในการทำงานให้พระ แม้จะลำบากสักเท่าไร แม้ก่อนพลีชีพ ท่านยังเผยแพร่พระนามของพระอย่างไม่ท้อแท้เลย หาได้ยากในคนธรรมดา"
4. จดหมายรายงานผลที่ได้รับจากการสวดภาวนา
36. การสวดภาวนาขอพรจากพระเป็นเจ้าผ่านทางคำเสนอวิงวอนของคุณพ่อนิโคลาสก็เป็นอีกทางหนึ่งที่บรรดา คริสตชนแสดงความเชื่อว่า คุณพ่อนิโคลาสเป็นมรณสักขีและเป็นบุญราศี และเวลานี้อยู่บนสวรรค์ จากจดหมายหลายฉบับที่เราได้รับแจ้งผลของคำภาวนาเหล่านี้ ทำให้เรามั่นใจว่าคริสตชนมากมายได้รับผลของคำภาวนา
ในเวลาเดียวกัน พวกคริสตังหลายคนได้แต่เล่าให้ฟังถึงผลที่ได้รับ แต่มิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อัก ษร หลายคนได้แต่ขอบคุณคุณพ่อนิโคลาสโดยการขอมิสซาโมทนาคุณคุณพ่อนิโคลาส เท่านี้ก็ทำให้เราตระหนักได้แน่ว่า บรรดาสัตบุรุษคริสตังยึดถือคุณพ่อนิโคลาสเป็นมรณสักขีและต่างก็ประสงค์ให้คุณพ่อได้รับเกียรติเป็นมรณสักขี พวกเขายึดถือคุณพ่อเป็นแบบอย่างแห่งความเชื่อที่มีชีวิต และเป็นที่พึ่งอีกทางหนึ่งของคริสตชน เราจะสรุปการภาวนาวอนขอและพระพรที่ได้รับเพียงบางประการดังนี้
นางเล็ก สุทธิจิต อายุ 80 ปี สัตบุรุษวัดดวงหทัยนิรมลของแม่พระ ปากลัด จังหวัดสมุทรปราการ เขียนจดหมายลงวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1995 ให้คุณพ่อเจ้าวัด เล่าว่า
"ดิฉันได้ป่วยเมื่อปีที่แล้ว (1994) ได้เข้าโรงพยาบาลรักษาตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1994 ด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองตีบ มีอาการมือเท้าชา ไม่ค่อยมีแรง คุณหมอบอกว่าการรักษาลำบากมาก ไม่สามารถรักษาให้หาย ขาดได้ เพียงแต่รักษาไม่ให้มีเส้นโลหิตตีบมากขึ้นด้วยการรักษาไปเรื่อยๆ
ดิฉันก็เข้ารับการรักษาตามที่หมอนัดทุกครั้ง และเมื่อคุณพ่อเจ้าวัดได้นำบทสวดของคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เพื่อขอเป็นบุญราศี ดิฉันก็ได้เริ่มสวดตั้งแต่นั้นมา พร้อมกับสวดสายประคำ 10 เม็ด ควบคู่ไปด้วย เพื่อวอนขอให้ท่านได้รับการประกาศเป็นบุญราศีโดยเร็ว
และในปีนี้ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1995 ดิฉันได้ไปพบคุณหมอเป็นครั้งสุดท้าย เพราะคุณหมอได้บอกว่าดิฉันหายดีแล้ว ตัวคุณหมอเองก็ยังแปลกใจว่าดิฉันหายขาดจากโรคเส้นโลหิตในสมองตีบได้อย่างไร และลูกสาว ของดิฉันเองก็ยังไม่เชื่อว่าดิฉันนั้นหายดีแล้ว จึงได้พาดิฉันไปเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่สมองอีกครั้ง ผลเอ็กซเรย์ก็ได้ยืนยันว่าดิฉันได้ หายจากโรคเรียบร้อยแล้ว โดยคุณหมอได้นำฟิล์มเอ็กซเรย์เมื่อปีที่แล้ว และปีนี้มาเปรียบเทียบกันด้วย เพื่อเป็นการยืน ยันว่าดิฉันได้หายจากโรคเส้นโลหิตในสมองตีบจริง คุณหมอจึงได้ออกใบรับรองแพทย์ให้ไว้เป็นหลักฐานด้วย ดิฉันจึง ขอโมทนาคุณพระ โดยผ่านคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง และจะยังคงสวดภาวนาต่อๆ ไปอีก”
ใบความเห็นของแพทย์
"เขียนที่ คลีนิคแพทย์พิจิตต์ วันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1995
ข้าพเจ้านายแพทย์พิจิตต์ กนกเวชยันต์ แพทย์ปริญญา ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมเลขที่ 10968 ได้ ทำการตรวจรักษา นางเล็ก สุทธิจิต เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1995 มีอาการแขนขาด้านซ้ายอ่อนแรง ความดันโลหิต สูง วินิจฉัยโรคว่า เส้นโลหิตในสมองตีบตันจากความดันโลหิตสูง มีความเห็นว่า ได้รับการรักษา ขณะนี้อาการกลับเป็น ปกติแล้ว”
ฟรังซิส บุญรักษ์ พันนาคำ บ้านเลขที่ 370/8 ตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เขียนวันที่ 27 มิถุนายน ค. ศ. 1997 เล่าว่า
"ผมเจ็บที่หัวไหล่ซ้ายเมื่อ 2 ปีก่อน ผมสวดขอให้ท่านทำอัศจรรย์ ช่วยรักษา เพราะผมเชื่อว่าคนของพระเจ้าเมื่อตายไปแล้ว เขาต้องช่วยคนยังเป็นอยู่ได้ เหมือนพระเยซูคริสต์ช่วยคนทั่วโลก ในเวลาเดียวกัน แล้วหัวไหล่ของผมก็ หายเจ็บ ยกแขนได้ ปีกลายนี้ ผมเริ่มเจ็บที่หัวไหล่เป็นถุงพอง แล้วแตกตามธรรมชาติ 2 ครั้ง ผมไม่อยากผ่าตัด จึงขอพระเยซูช่วยผ่าตัดให้ ผมสวดขอคุณพ่อนิโคลาสด้วย ก็บรรเทาเรื่อยมา บางวันมันเจ็บมาก แต่ผมได้ยอมตายเองโด ยไม่ผ่าตัดเพราะกลัว ผมสวดขอพระเจ้าและคุณพ่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วย ขณะนี้ก็บรรเทา แต่ยังเจ็บบ้าง หมอบอกว่าเดินมาก ไขข้อละลาย"
คุณพ่อวรยุทธ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า :
"ข้าพเจ้าอยากจะเสริมว่า ถ้ามีการประกาศเป็นบุญราศีของคุณพ่อนิโคลาส จะเป็นประโยชน์ในแง่ของความเชื่อให้แก่พระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษเป็นจำนวนมาก ผมมั่นใจอย่างนั้น และชีวิตแบบอย่างของคุณพ่อนั้น จะเป็นประจักษ์พยานให้แก่สัตบุรุษ ในฐานะที่ชีวิตของคุณพ่อนั้นเป็นนายชุมพาบาลที่ดี อีกอย่างหนึ่ง คุณพ่อนิโคลาสจะพยายามใช้โอกาสทุกโอกาสในการแพร่ธรรม และใช้วิธีการทุกวิธีการ อย่างเช่น แม้แต่สื่อมวลชนในขณะนั้น ก็ใช้หนังสือพิมพ์ขอ งพระศาสนจักรเขียน แบ่งปันประสบการณ์ ความคิด คำสอน ลงในหนังสือสารสาสน์ในสมัยนั้นด้วย ซึ่งก็คิดว่าคุณพ่อไ ด้ทุ่มเทและได้ใช้โอกาสทุกโอกาสและวิธีการทุกวิธีการเพื่อพระเป็นเจ้าและเพื่อความรอดของมนุษย์”
CR. : http://www.catholic.or.th/.../bknicolas/bknicolas7.html
ชื่อเสียงความเป็นมรณสักขี
32. ชื่อเสียงแห่งความศักดิ์สิทธิ์และวีรกรรมของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ได้แสดงให้เห็นในจดหมายฉบับหนึ่งจากจดหมายหลายๆ ฉบับที่เขียนโดยพระสังฆราชแปร์รอส รวมทั้งรายงานต่างๆ ของพระสังฆราชปาซอตตีถึงสมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ
พระสังฆราชแปร์รอสได้แสดงออกอย่างชัดแจ้งว่า ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าใช้ชีวิตอย่างศักดิ์สิทธิ์และประพฤติตนเป็นที่น่านับถือ ได้อยู่บนสวรรค์แล้ว พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งถึงพระสังฆราชอาเดรียง ดราปิเอร์ ผู้แทนพระสันตะปาปาในอินโดจีน ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944 กล่าวว่า :
"เราได้สูญเสียพระสงฆ์พื้นเมืององค์หนึ่งในจำนวน 3 องค์ ที่ถูกตัดสินจำคุกโดยไม่มีความผิด คุณพ่อนิโคลาสเป็นพระสงฆ์ที่มีใจร้อนรน มีความกระตือรือร้นกว่าทุกคน เป็นระยะเวลา 8 เดือน ที่ท่านป่วยเป็นวัณโรคอยู่ในโรงพยาบาลของเรือนจำ ท่านได้ทำให้คนกลับใจจำนวน 68 คน และโปรดศีลล้างบาปให้คนใกล้ตาย ผู้ที่ลงโทษตัดสินจำคุกท่านอย่างอยุติธรรม คงไม่คาดคิดว่าจะได้รับผลตอบแทนเช่นนี้"
ดังนั้น พระสังฆราชแปร์รอสจึงตัดสินใจฝังศพของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าไว้ภายใต้พระแท่นของอาสนวิหารอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ และทำเครื่องหมายกิ่งมะกอกบนป้ายชื่อของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า อันเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะในฐานะมรณสักขีตามความเชื่อคริสตัง
คุณพ่อเมอนิเอร์ได้ยืนยันว่า :
"เกี่ยวกับชีวิตของคุณพ่อนิโคลาสในช่วงที่อยู่ในคุกนั้น ข้าพเจ้าไม่ทราบอะไร รู้แต่เพียงว่าคุณพ่อได้โปรดศีลล้างบาปให้แก่นักโทษที่อยู่ในคุกหลายคน ส่วนเรื่องการนำเสนอคุณพ่อเป็นบุญราศี มีการสลักกิ่งมะกอกบนหลุมฝังศพของคุณพ่อ ซึ่งเป็นการแสดงความเชื่อในเรื่องนี้อยู่แล้ว เป็นการยากที่จะให้ความเห็นในเรื่องนี้ เพราะกรณีนี้แตกต่างจากกรณีที่บ้านสองคอน"
ในปี ค.ศ. 1946 พระสังฆราชกาเยตาโน ปาซอตตี ได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งถึง สมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ รายงานเกี่ยวกับความตายและความศักดิ์สิทธิ์ของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าว่าดังนี้:
"คุณพ่อนิโคลาสพระสงฆ์พื้นเมืองอีกองค์หนึ่งของมิสซังกรุงเทพฯ ได้เสียชีวิตในห้องขัง เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1944 คุณพ่อได้โปรดศีลล้างบาปให้แก่ผู้ใหญ่ที่อยู่ในคุกนั้นจำนวน 70 คน ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีจิตวิญญาณที่สวยงาม เป็นพระสงฆ์ศักดิ์สิทธิ์ เรื่องราวชีวิตของท่านจะได้รับพระพร"
สำหรับวันที่ที่ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถึงแก่ความตายนั้น ได้ถูกระบุไว้ในเอกสารนี้คือ "วันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1944" อันที่จริง ควรจะอ่าน "วันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1944" แทน ทั้งนี้อาจจะมาจากความผิดพลาดในการทำสำเนาเอกสาร หรือความจำผิดพลาดของพระสังฆราชปาซอตตี เราทราบวันที่ที่ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถึงแก่ความตายจากจดหมายของพระสังฆราชแปร์รอส ลงวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1944 ถึงข้าหลวงประจำจังหวัดพระนครว่า :
"บาดหลวงบุญเกิด กริสบำรุง ได้ถึงความมรณภาพในเรือนจำกลางบางขวาง อำเภอนนทบุรี จังหวัดพระนคร วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2487 (1944) แล้วถูกฝังที่วัดบางแพรก"
1. ชื่อเสียงความเป็นมรณสักขีของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้รับการยืนยันอย่างชัดเจนจากพยาน
33. ได้มีการถามว่าผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้สละชีวิตเพื่อความเชื่อ นายเจริญได้ตอบว่า :
"ผมถือตั้งแต่ยังไม่ทันปล่อยออกจากคุกเลย"
เขายังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ประชาชนเชื่อว่าผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าอยู่กับพระเป็นเจ้าแล้วเวลานี้ เพราะว่าได้ตายแบบมรณสักขี
นางเง็กซี กิจสงวน มีความคิดเห็นเช่นเดียวกันกับสัตบุรุษวัดนักบุญเปโตรซึ่งเป็นสถานที่เกิดของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า :
"เขาเข้าใจว่าคุณพ่อเป็นมรณสักขีไปแล้ว และได้สวดขอ บางคนได้เล่าให้ฟังว่าเขาขออะไร เขาก็ได้ ขอพระผ่านทางคุณพ่อนิโคลาส"
นายวันนา ไพรจันทึก ได้เป็นพยานว่า :
"ประชาชนส่วนใหญ่ถือว่าคุณพ่อเสียชีวิตแบบมรณสักขี เพราะว่าคุณพ่อเสียชีวิตก็ด้วยเรื่องเกี่ยวกับศาสนา"
และเขายังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า :
"ประชาชนเชื่อว่าคุณพ่อนิโคลาสขึ้นสวรรค์แล้ว เป็นนักบุญแล้ว"
ความคิดเห็นนี้สอดคล้องกับความคิดเห็นทั้งหมดดังนี้ นายสุเทพ ศรีสุระ ได้ให้การว่าประชาชนเห็นว่า ความตายของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า เป็นความตายแบบมรณสักขี
"แน่นอน ไม่มีใครสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้"
ชื่อเสียงความเป็นมรณสักขีของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ายังคงเป็นอยู่ในเวลานี้ใน 3 สังฆมณฑล สถานที่ซึ่งผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าเคยใช้ชีวิตและเคยทำงานอภิบาล
- พระสังฆราชสังวาลย์ ศุระศรางค์ พระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลเชียงใหม่ ได้เป็นพยานว่า
"ประชาชนทุกวันนี้ยังคงให้ความเคารพท่านในฐานะเป็นมรณสักขี มีคนศรัทธาต่อคุณพ่อจริง แต่ศรัทธาแบบเป็นมรณสักขี เป็นคุณพ่อที่มีความร้อนรน"
ท่านยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า :
"ในแง่หนึ่ง ผมเห็นด้วยว่าสาเหตุที่ถูกจับเพราะศาสนา เพราะเกลียดศาสนาคาทอลิก และเมื่อถูกจับแล้ว ก็ไปตายในคุกเนื่องมาจากเหตุการณ์นี้ จึงเห็นว่าเป็นเหตุผลที่ต่อเนื่องกัน เพราะหากว่าคุณพ่อทำตามที่บอกคือ ไม่ปฏิบัติและนับถือศาสนาคาทอลิก คุณพ่อก็จะมีชีวิตรอด แต่ว่าคุณพ่อปฏิบัติศาสนา แต่ขัดขืนคำสั่งนั้น คุณพ่อจึงเสียชีวิตและแม้ว่าจะไม่เสียชีวิตทันที ก็ถือว่าท่านได้เสียชีวิตเพราะการปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนาได้ จึงคิดว่าเป็นลักษณะของมรณสักขี"
- พระสังฆราชบรรจง อารีพรรค พระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์ ได้เป็นพยานว่า :
"เคยได้ยินบ้างนิดหน่อย เวลาได้รับใบเพื่อสวดภาวนาขอให้คุณพ่อนิโคลาสให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นบุญราศี ผมได้ร่วมและได้แจกให้บางคน ทราบว่าสัตบุรุษก็สวดกัน"
ท่านยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า :
"ข้าพเจ้าสนับสนุนเต็มที่ให้ดำเนินการให้คุณพ่อนิโคลาสได้รับการแต่งตั้งเป็นบุญราศี เพราะการตายเพื่อศาสนา หรือเพื่อยืนยันความเชื่อในพระเป็นเจ้า น่าที่จะได้เป็นบุญราศี"
- พระสังฆราชพเยาว์ มณีทรัพย์ พระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลนครราชสีมา ซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าเคยทำงานเป็นเจ้าอาวาสวัดโนนแก้ว และเป็นสถานที่ซึ่งท่านถูกจับที่วัดบ้านหัน ได้เป็นพยานว่า :
"เท่าที่ผมทราบ ชาวบ้านทั่วๆ ไปในสังฆมณฑลนครราชสีมา นับถือว่าคุณพ่อนิโคลาสเป็นมรณสักขี"
ท่านยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า :
"ข้าพเจ้าเชื่อว่าพวกเขานับถือคุณพ่อนิโคลาส และบางคนยังสวดภาวนาอยู่ และในระยะหลังนี้มีจำนวนมากพอสมควร"
2. บรรดาคาทอลิกและบรรดาพยานปรารถนาและสวดภาวนาเพื่อการประก าศการเป็นบุญราศีของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า
34. คำให้การของคุณพ่อวรยุทธ กิจบำรุง เป็นประโยชน์อย่างมากและเป็นการช่วยยืนยันถึงชื่อเสี ยงความเป็นมรณสักขีของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าท่ามกลางบรรดาคาทอลิกในปัจจุบัน นี่คือคำให้การของท่าน :
จากบรรดาคริสตชนไทยในปัจจุบัน
1. จำนวนผู้ที่ลงชื่อเห็นด้วยกับการเสนอเรื่องคุณพ่อนิโคลาสให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นบุญราศี
พระสงฆ์และคริสตังเก่าๆ ในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ยังคงรู้จักและได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับคุณพ่อนิโคลาสมาเป็นเวลานานแล้ว ได้รับทราบถึงความเป็นมรณสักขีของคุณพ่อและยึดถือคุณพ่อนิโคลาสเป็น ดั่งบุญราศีองค์หนึ่ง แต่บรรดาคริสตังรุ่นหลังๆ ยังไม่ค่อยรู้จักกับประวัติและวีรกรรมของคุณพ่อมากนัก ทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จึงได้จัดพิมพ์หนังสือประวัติของคุณพ่อออกแจกจ่ายไปตามวัดต่างๆ รวมทั้ง ตีพิมพ์ลงในหนังสืออุดมศานต์ เกี่ยวกับเรื่องราวของคุณพ่อ เพื่อให้บรรดาคริสตชนได้รู้จักมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งต้องการหยั่งเสียงดูด้วยว่า บรรดาคริสตชนเห็นด้วยกับการดำเนินเรื่องคุณพ่อนิโคลาสให้เป็นบุญราศี จำนวนมากน้อยเพียงใด ได้จัดพิมพ์หนังสือประวัติถึง 4 ครั้ง โดยพิมพ์ครั้งแรก วันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 จำนวน 2,000 เล่ม , พิมพ์ครั้งที่ 2 วันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1996 จำนวน 5,000 เล่ม , พิมพ์ครั้งที่ 3 วันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1996 จำนวน 5,000 เล่ม และพิมพ์ครั้งที่ 4 วันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 จำ นวน 3,000 เล่ม นอกจากหนังสือประวัติของคุณพ่อแล้ว ภายในเล่มยังมีบทภาวนาเพื่อขอให้การดำเนินเรื่องคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เป็นบุญราศี ได้สำเร็จเป็นไปตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า ซึ่งต่อมาบรรดาคริสตชนของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้สวดบทภาวนาบทนี้มากขึ้น ทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จึงได้จัดพิมพ์บทภาวนาบทนี้เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก เพราะจากการสวดภาวนาเช่นนี้ จะทำให้มั่นใจขึ้นว่าบรรดาคริสตชนยึดถือคุณพ่อเป็นบุญราศี แต่เพื่อที่จะทราบความเห็นของบรรดา คริสตชนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อการเสนอเรื่องนี้ จะทำอย่างไร? ทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จึงได้จัดพิมพ์สมุด ลงชื่อแสดงความเห็นด้วยกับการเสนอเรื่อง หลังจากที่ได้ศึกษาถึงประวัติและมรณกรรมของคุณพ่อนิโคลา สแล้ว และได้แจกจ่ายไปตามวัดต่างๆ ทั่วอัครสังฆมณฑล เพื่อให้บรรดาคริสตชนที่ได้ศึกษาและรู้จักคุณพ่ อนิโคลาส รวมทั้งผู้ที่ได้สวดภาวนาวอนขอพระพรผ่านทางคุณพ่อ ได้ลงชื่อสนับสนุนการดำเนินเรื่อง ผลปรากฏว่า กลุ่มคริสตชน 34 กลุ่ม ได้ลงชื่อสนับสนุนเรื่องนี้ทั้งหมด 11,486 คน นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคริสตชนจากสังฆมณฑลอื่นๆ อีก 14 กลุ่ม ที่ได้แสดงความเห็นสนับสนุนในเรื่องนี้ และได้ส่งมาให้อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ อีกจำนวน 790 คน
คริสตชนที่ลงชื่อเห็นด้วยกับการเสนอเรื่องคุณพ่อนิโคลาสให้เป็นบุญราศีนี้ ยังได้แสดงความเชื่อในเรื่องนี้ด้วยการแจ้งให้ทราบด้วยว่า พวกเขาได้สวดภาวนาวอนขอพระพรโดยผ่านทางคุณพ่อนิโคลาส แ ละได้รับพระพรนั้นเป็นจำนวนทั้งหมด 292 คน อีกด้วย
2. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของบรรดาคริสตชน
35. บรรดาคริสตชนไทยจากทั่วประเทศได้ส่งจดหมายแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับการเสนอเรื่องคุณพ่อนิโคลาสเป็นบุญราศี มายังอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเหล่านี้น่าสนใจมาก เพราะแสดงให้เห็นว่ามีคริสตชนจำนวนมากที่ได้เรียนรู้ชีวิตของคุณพ่อนิโคลาส และประสงค์จะให้คุณพ่อได้รับเกียรติจากพระศาสนจักรในฐานะที่เป็นมรณสักขี เป็นพระสงฆ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นแบบอย่างแห่งความเชื่อ สำหรับทุกคนโดยเฉพาะสำหรับบรรดาพระสงฆ์ จำนวนจดหมายที่ได้รับจากสังฆมณฑลต่างๆ มีดังนี้
สังฆมณฑลเชียงใหม่ จำนวน 31 ฉบับ
สังฆมณฑลนครราชสีมา จำนวน 2 ฉบับ
สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี จำนวน 2 ฉบับ
สังฆมณฑลจันทบุรี จำนวน 18 ฉบับ
อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง จำนวน 3 ฉบับ
สังฆมณฑลนครสวรรค์ จำนวน 15 ฉบับ
สังฆมณฑลราชบุรี จำนวน 5 ฉบับ
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จำนวน 394 ฉบับ
และจากคริสตชนไทยคนหนึ่งที่อยู่สหรัฐอเมริกา 1 ฉบับ
รวมทั้งหมดจำนวน 470 ฉบับ
ทั้งหมดนี้ได้แสดงความเห็นและข้อเสนอแนะมาด้วย ขอนำความเห็นและข้อเสนอแนะที่น่าสนใจบาง ฉบับมาลงไว้ในที่นี้ เพื่อจะทำให้เห็นถึงความหลากหลายของความคิดเห็น ซึ่งนำไปสู่ความคิดเห็นร่วมกัน
3. ความเห็นของสัตบุรุษบางท่าน
1. คุณขวัญกมล โชติรณพัสดุ อายุ 43 ปี บ้านเลขที่ 39 ถนนรัชดาภิเษก แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600 :
“ท่านเป็นตัวอย่างอันเลิศในการให้อภัยศัตรู และใช้หัวใจพระคริสตเจ้าทำงานในตัวท่าน ด้วยการทนรับความทุกข์ทรมานฝ่ายเนื้อหนังด้วยพิษไข้อย่างทรหดจนวาระสุดท้าย สมควรยกย่องให้ท่านเป็นบุญราศีเพื่อเป็นกำลังใจของผู้ถูกเบียดเบียน"
2. จ.ส.อ. ประเสริฐ มาลา อายุ 72 ปี บ้านเลขที่ 48 ถนนสุงประยูร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000
"อ่านประวัติของคุณพ่อนิโคลาสแล้ว ซาบซึ้งในชีวิตของคุณพ่อ พระศาสนจักรก็มีกรรมการตรวจสอบประวัติของคุณพ่อหลายครั้ง เชื่อว่าควรยกย่องให้ท่านเป็นนักบุญ ภารกิจของท่านก็จบลงอย่างมั่นคงต่อพระศาสนจักร ไม่แตกต่างกับมารตีร์วัดสองคอน"
3. นายสมพงษ์ คล้ายใจ อายุ 41 ปี บ้านเลขที่ 33 หมู่ 11 ตำบลสำเภาล่ม อำเภออยุธยา จังหวัดอยุธยา 13000
"เคยพบเห็นจดหมายของคุณพ่อเฮนรี่ (สุนทร วิเศษรัตน์) กล่าวถึง คุณพ่อบุญเกิด กฤษบำรุง ที่อยุธยาบ้านนายทองอยู่ ทรัพย์เจริญ เคยอ่าน มีความซึ้งใจการเป็นคาทอลิก มีความกล้าหาญในความเชื่อของคุณพ่อ"
4. นางสิตา กมลยะบุตร อายุ 62 ปี บ้านเลขที่ 1028/29 หมู่ 7 ถนนเพชรเกษม แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพฯ 10160
"คุณพ่อนิโคลาสเป็นคริสตังที่แท้จริงทั้งกายและใจ รักพระมากถึงกับยอมสละความสุขส่วนตัว โดยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ด้อยโอกาสทั้งหลาย และยังช่วยให้ผู้อื่นรู้จักรักพระมหาเยซูเจ้า โดยการสอนคำสอนแก่คนที่ยังไม่รู้จักพระเป็นเจ้า และท่านไม่ยอมปฏิเสธพระ ยอมสละชีวิตเพื่อแสดงตนเป็นคริสตังเป็นลูกของพระจนวินาทีสุดท้ายแห่งชีวิตที่ทุกข์ยาก"
5. นางวีรวงศ์ บุตรบุญ อายุ 48 ปี บ้านเลขที่ 417/62 ถนนสุขุมวิท 101/1 (หมู่บ้านทับแก้ว) แขวง บางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260
"ขอสนับสนุนคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เป็นบุญราศี เนื่องจากท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีใจร้อนรนไม่ย่อท้อในการทำงานให้พระ แม้จะลำบากสักเท่าไร แม้ก่อนพลีชีพ ท่านยังเผยแพร่พระนามของพระอย่างไม่ท้อแท้เลย หาได้ยากในคนธรรมดา"
4. จดหมายรายงานผลที่ได้รับจากการสวดภาวนา
36. การสวดภาวนาขอพรจากพระเป็นเจ้าผ่านทางคำเสนอวิงวอนของคุณพ่อนิโคลาสก็เป็นอีกทางหนึ่งที่บรรดา คริสตชนแสดงความเชื่อว่า คุณพ่อนิโคลาสเป็นมรณสักขีและเป็นบุญราศี และเวลานี้อยู่บนสวรรค์ จากจดหมายหลายฉบับที่เราได้รับแจ้งผลของคำภาวนาเหล่านี้ ทำให้เรามั่นใจว่าคริสตชนมากมายได้รับผลของคำภาวนา
ในเวลาเดียวกัน พวกคริสตังหลายคนได้แต่เล่าให้ฟังถึงผลที่ได้รับ แต่มิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อัก ษร หลายคนได้แต่ขอบคุณคุณพ่อนิโคลาสโดยการขอมิสซาโมทนาคุณคุณพ่อนิโคลาส เท่านี้ก็ทำให้เราตระหนักได้แน่ว่า บรรดาสัตบุรุษคริสตังยึดถือคุณพ่อนิโคลาสเป็นมรณสักขีและต่างก็ประสงค์ให้คุณพ่อได้รับเกียรติเป็นมรณสักขี พวกเขายึดถือคุณพ่อเป็นแบบอย่างแห่งความเชื่อที่มีชีวิต และเป็นที่พึ่งอีกทางหนึ่งของคริสตชน เราจะสรุปการภาวนาวอนขอและพระพรที่ได้รับเพียงบางประการดังนี้
นางเล็ก สุทธิจิต อายุ 80 ปี สัตบุรุษวัดดวงหทัยนิรมลของแม่พระ ปากลัด จังหวัดสมุทรปราการ เขียนจดหมายลงวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1995 ให้คุณพ่อเจ้าวัด เล่าว่า
"ดิฉันได้ป่วยเมื่อปีที่แล้ว (1994) ได้เข้าโรงพยาบาลรักษาตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1994 ด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองตีบ มีอาการมือเท้าชา ไม่ค่อยมีแรง คุณหมอบอกว่าการรักษาลำบากมาก ไม่สามารถรักษาให้หาย ขาดได้ เพียงแต่รักษาไม่ให้มีเส้นโลหิตตีบมากขึ้นด้วยการรักษาไปเรื่อยๆ
ดิฉันก็เข้ารับการรักษาตามที่หมอนัดทุกครั้ง และเมื่อคุณพ่อเจ้าวัดได้นำบทสวดของคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เพื่อขอเป็นบุญราศี ดิฉันก็ได้เริ่มสวดตั้งแต่นั้นมา พร้อมกับสวดสายประคำ 10 เม็ด ควบคู่ไปด้วย เพื่อวอนขอให้ท่านได้รับการประกาศเป็นบุญราศีโดยเร็ว
และในปีนี้ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1995 ดิฉันได้ไปพบคุณหมอเป็นครั้งสุดท้าย เพราะคุณหมอได้บอกว่าดิฉันหายดีแล้ว ตัวคุณหมอเองก็ยังแปลกใจว่าดิฉันหายขาดจากโรคเส้นโลหิตในสมองตีบได้อย่างไร และลูกสาว ของดิฉันเองก็ยังไม่เชื่อว่าดิฉันนั้นหายดีแล้ว จึงได้พาดิฉันไปเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่สมองอีกครั้ง ผลเอ็กซเรย์ก็ได้ยืนยันว่าดิฉันได้ หายจากโรคเรียบร้อยแล้ว โดยคุณหมอได้นำฟิล์มเอ็กซเรย์เมื่อปีที่แล้ว และปีนี้มาเปรียบเทียบกันด้วย เพื่อเป็นการยืน ยันว่าดิฉันได้หายจากโรคเส้นโลหิตในสมองตีบจริง คุณหมอจึงได้ออกใบรับรองแพทย์ให้ไว้เป็นหลักฐานด้วย ดิฉันจึง ขอโมทนาคุณพระ โดยผ่านคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง และจะยังคงสวดภาวนาต่อๆ ไปอีก”
ใบความเห็นของแพทย์
"เขียนที่ คลีนิคแพทย์พิจิตต์ วันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1995
ข้าพเจ้านายแพทย์พิจิตต์ กนกเวชยันต์ แพทย์ปริญญา ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมเลขที่ 10968 ได้ ทำการตรวจรักษา นางเล็ก สุทธิจิต เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1995 มีอาการแขนขาด้านซ้ายอ่อนแรง ความดันโลหิต สูง วินิจฉัยโรคว่า เส้นโลหิตในสมองตีบตันจากความดันโลหิตสูง มีความเห็นว่า ได้รับการรักษา ขณะนี้อาการกลับเป็น ปกติแล้ว”
ฟรังซิส บุญรักษ์ พันนาคำ บ้านเลขที่ 370/8 ตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เขียนวันที่ 27 มิถุนายน ค. ศ. 1997 เล่าว่า
"ผมเจ็บที่หัวไหล่ซ้ายเมื่อ 2 ปีก่อน ผมสวดขอให้ท่านทำอัศจรรย์ ช่วยรักษา เพราะผมเชื่อว่าคนของพระเจ้าเมื่อตายไปแล้ว เขาต้องช่วยคนยังเป็นอยู่ได้ เหมือนพระเยซูคริสต์ช่วยคนทั่วโลก ในเวลาเดียวกัน แล้วหัวไหล่ของผมก็ หายเจ็บ ยกแขนได้ ปีกลายนี้ ผมเริ่มเจ็บที่หัวไหล่เป็นถุงพอง แล้วแตกตามธรรมชาติ 2 ครั้ง ผมไม่อยากผ่าตัด จึงขอพระเยซูช่วยผ่าตัดให้ ผมสวดขอคุณพ่อนิโคลาสด้วย ก็บรรเทาเรื่อยมา บางวันมันเจ็บมาก แต่ผมได้ยอมตายเองโด ยไม่ผ่าตัดเพราะกลัว ผมสวดขอพระเจ้าและคุณพ่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วย ขณะนี้ก็บรรเทา แต่ยังเจ็บบ้าง หมอบอกว่าเดินมาก ไขข้อละลาย"
คุณพ่อวรยุทธ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า :
"ข้าพเจ้าอยากจะเสริมว่า ถ้ามีการประกาศเป็นบุญราศีของคุณพ่อนิโคลาส จะเป็นประโยชน์ในแง่ของความเชื่อให้แก่พระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษเป็นจำนวนมาก ผมมั่นใจอย่างนั้น และชีวิตแบบอย่างของคุณพ่อนั้น จะเป็นประจักษ์พยานให้แก่สัตบุรุษ ในฐานะที่ชีวิตของคุณพ่อนั้นเป็นนายชุมพาบาลที่ดี อีกอย่างหนึ่ง คุณพ่อนิโคลาสจะพยายามใช้โอกาสทุกโอกาสในการแพร่ธรรม และใช้วิธีการทุกวิธีการ อย่างเช่น แม้แต่สื่อมวลชนในขณะนั้น ก็ใช้หนังสือพิมพ์ขอ งพระศาสนจักรเขียน แบ่งปันประสบการณ์ ความคิด คำสอน ลงในหนังสือสารสาสน์ในสมัยนั้นด้วย ซึ่งก็คิดว่าคุณพ่อไ ด้ทุ่มเทและได้ใช้โอกาสทุกโอกาสและวิธีการทุกวิธีการเพื่อพระเป็นเจ้าและเพื่อความรอดของมนุษย์”
CR. : http://www.catholic.or.th/.../bknicolas/bknicolas7.html
งานศึกษารายกรณี คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เป็นบุญราศี
ประวัติความเป็นมาของการดำเนินเรื่อง
1. จุดเริ่มต้นของการดำเนินเรื่อง
37. พระอัครสังฆราชเกี้ยน เสมอพิทักษ์ พระอัครสังฆราชแห่งอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ผู้ริเริ่มในการเสนอเรื่องบุญราศีทั้ง 7 แห่งประเทศไทย ได้ให้คำแนะนำต่ออัครสัง ฆมณฑลกรุงเทพฯ ในการเริ่มต้นการเสนอเรื่องของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ตั้งแต่สถานการณ์ทางศาสนา , ต้นเหตุแห่งความตาย , "ความเกลียดชังความเชื่อ" เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ายอมรับความตายตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้าตามความเชื่อคาทอลิก
ซึ่งหมายความว่ามีความเป็นไปได้สำหรับกรณีของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า
คุณพ่อวรยุทธ กิจบำรุง พระสงฆ์ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้ยืนยันว่า ที่ประชุมสภาสงฆ์ของอัคร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้เริ่มต้นให้ความสนใจและสนับสนุนให้มีการศึกษากรณีของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ามาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ท่านได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ตลอดมา
คุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ ได้เป็นพยานว่า :
"ผมทราบว่าตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 มีการเสนอเรื่องนี้ขึ้นมาในที่ประชุมสภาสงฆ์ แต่ว่าไม่ได้กำหนดให้ผมรับผิดชอบ โดยให้คุณพ่อลารเกรับผิดชอบมาตั้งแต่ต้น จนกระทั่งมาถึงปี ค.ศ. 1992 ผมได้รับมอบหมายให้ทำ หน้าที่ต่อจากคุณพ่อลารเกจนถึงทุกวันนี้"
ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าคุณพ่อลารเกได้ถึงแก่มรณภาพลง
2. ความเป็นไปได้ของกรณีของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า
38. ตามคำแนะนำของพระอัครสังฆราชเกี้ยน เป็นกรณีที่มีความเป็นไปได้อย่างมากทีเดียว มีการเบียดเบียนศาสนา ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกจับกุมและถูกตัดสินลงโทษจำคุกเป็นเวลา 15 ปี เนื่องจาก "ความเกลียดชังความเชื่อ" ในหมู่คนไทยเวลานั้น ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ายอมรับทุกสิ่งด้วยความยินดีตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้าโดยไม่มีการด่าแช่งใครเลย ท่านยอมรับความตายในคุก
กรณีแบบเดียวกันนี้ได้เกิดขึ้นจริง คุณพ่ออังเดรโอนี ได้เป็นพยานว่า :
"มีมรณสักขีองค์หนึ่งที่เป็นพระสังฆราชที่ประเทศเวียดนามที่ถูกจับและตายในคุก ถูกตัดสินให้ฆ่า แต่เมื่อเปิดคุกก็เห็นว่าตายแล้ว พระศาสนจักรได้ตั้งเป็นนักบุญ"
คุณพ่อยัง-ปอล ลังฟังต์ ได้ยืนยันถึงความเป็นไปได้อีกว่า :
"บุญราศีบางองค์ของไอริชไม่ได้ถูกประหารชีวิต แต่ได้ตายในคุกด้วยวิธีทำให้ป่วย และพวกท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นบุญราศีในปี ค.ศ. 1992 เหตุการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับความตายของคุณพ่อนิโคลาสก็เป็นแบบเดียวกัน"
3. หลักฐานเอกสารและคำให้การของพยาน
39. แหล่งข้อมูลต่างๆ ของหลักฐานเอกสารและคำให้การของพยานถูกเขียนไว้ในรายงานของคุณ พ่อสุ รชัย ชุ่มศรีพันธุ์ ผู้ได้รับมอบหมายให้รวบรวมเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับกรณีขอแต่งตั้งผู้รับใช้ขอ งพระเป็นเจ้าเป็นบุญราศีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 เนื้อหาของรายงานมีดังต่อไปนี้ :
1. ข้าพเจ้าได้พิจารณาและได้รับเอกสารต่างๆ จากหอจดหมายเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้ :
- ห้องเก็บเอกสารของวัดนักบุญเปโตร จังหวัดนครปฐม สถานที่ซึ่งคุณพ่อนิโคลาสเกิดและเติบโต ข้าพจ้าได้รับใบทะเบียนศีลล้างบาปของท่าน และพบว่าวันเกิดของท่านคือวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1895 ไม่ใช่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1895 ตามที่ได้เขียนไว้ที่หน้าหลุมศพของท่าน
- หอจดหมายเหตุของบ้านเณรใหญ่ที่ปีนัง สถานที่ซึ่งคุณพ่อนิโคลาสได้ศึกษาวิชาปรัชญาและเทวศาสตร์ ข้าพเจ้าได้รับสำเนาต่างๆ เกี่ยวกับรายงานของอธิการบ้านเณร , ผลการเรียน , การตัดสินของผู้ใหญ่ของบ้านเณรในเรื่องการรับศีลบวชขั้นต่างๆ ของคุณพ่อนิโคลาส , จดหมายโต้ตอบระหว่างพระสังฆราชของมิสซังสยามและผู้ใหญ่ของบ้านเณร
- หอจดหมายเหตุของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ที่ปารีส สถานที่ซึ่งข้าพเจ้าได้พบจดหมายโต้ตอบระหว่าง พระสังฆราชมิสซังสยามและคณะผู้ใหญ่ของบ้านเณรคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ที่พูดเกี่ยวกับคุณพ่อนิโคลาส , รายงานประจำปีของปีต่างๆ ในช่วงสมัยของคุณพ่อนิโคลาส
- หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่กรุงเทพฯ สถานที่ซึ่งข้าพเจ้าได้พบหลักฐานเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานอภิบาลของคุณพ่อนิโคลาส , วีรกรรมของท่าน , สำเนาต่างๆ ของรายงานประจำปี , จดหมายโต้ตอบกับกรุงปารีส , งานเขียนและจดหมายของท่าน
- ที่เก็บเอกสารของวัดต่างๆ สถานที่ซึ่งคุณพ่อนิโคลาสเคยทำงานและพักอยู่ กล่าวคือ : วัดบ้านหัน ,วัดบ้านโนนแก้ว ใน จังหวัดนครราชสีมา , วัดพระหฤทัย , วัดเชียงดาว ในจังหวัดเชียงใหม่ , วัดเมืองพาน , วัดเวียงป่าเป้า , วัดเมืองพร้าว ในจังหวัดเชียงราย และวัดเซนต์นิโคลาส ในจังหวัดพิษณุโลก
2. ข้าพเจ้ายังได้ไปพบกับพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์หลายๆคน ผู้ที่รู้จักกับคุณพ่อนิโคลาสเป็นการส่วนตัวและสามารถให้การเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับชีวิตและความเป็นมรณสักขีของคุณพ่อนิโคลาส
3. ข้าพเจ้าได้รับจดหมายต่างๆ ที่ได้รวบรวมไว้และความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับความเชื่อ จากคุณพ่อวรยุทธ กิจบำรุง ซึ่งเป็นผู้อำนวยการและบรรณาธิการนิตยสารคาทอลิก "อุดมสาร" จดหมายและความคิดเห็นต่างๆ เหล่านี้แสดงความมั่นใจและความศรัทธาในความเป็นมรณสักขีและความศักดิ์สิทธิ์ของคุณพ่อนิโคลาส
4. ข้าพเจ้าได้เสนอหลักฐานเอกสารเป็นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้ :
เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ตอนที่ 1 : ชีวิตของท่านและงานศาสนบริการในฐานะสงฆ์
- ตอนที่ 2 : งานเขียนและจดหมายต่างๆ ของท่าน
- ตอนที่ 3 : ความเป็นมรณสักขีของท่าน
- ตอนที่ 4 : สถานการณ์ทางการเมืองและศาสนา
- ตอนที่ 5 : พยานต่างๆ
- ตอนที่ 6 : ชื่อเสียงความเป็นมรณสักขี
จากความเห็นชอบของพระศาสนจักร
จากบรรดาคริสตชน
5. ในฐานะที่เป็นสมาชิกคนหนึ่งของคณะกรรมาธิการด้านประวัติศาสตร์ ข้าพเจ้าได้รับหลักฐานเอกสารที่คณะกรรมาธิการฯ ได้ศึกษาถึงความเชื่อถือได้และคุณค่าของเอกสารต่างๆ
6. ข้าพเจ้ายังได้รับเอกสารอีก 2 ส่วน ซึ่งได้ศึกษาถึงความเชื่อถือได้และคุณค่าของเอกสาร : เป็นพวกเอกสาร ที่เกี่ยวกับงานเขียนและจดหมายต่างๆ ของคุณพ่อนิโคลาส จากคณะกรรมาธิการด้านเทววิทยา ซึ่งได้ศึกษาถึงคุณค่าทางด้านเทวศาสตร์ตามที่ปรากฏในเอกสาร คณะกรรมาธิการฯ เห็นว่าตรงกับข้อคำสอนของพระศาสนจักรในสมัยนั้น
หลังจากระยะเวลา 5 ปี ในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ข้าพเจ้า ผู้รับผิดชอบงานทางด้านเอกสารของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ขอสาบานว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ตัดทอน เพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใดๆ ในเอกสารต่างๆที่ข้าพเจ้ าได้รวบรวม และขอประกาศว่าเอกสารต่างๆ มีความเชื่อถือได้และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
ข้าพเจ้ายังได้พบจากการศึกษาในครั้งนี้ว่า คุณพ่อนิโคลาสเป็นพระสงฆ์ที่ดีมากอย่างแท้จริง ท่านเป็นผู้ขยันหมั่นเพียรในงานอภิบาลของท่าน เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดสำหรับบรรดาพระสงฆ์ ท่านได้ยอมรับความตายตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า มีความเกลียดชังความเชื่อคาทอลิกในหมู่คนไทยในเวลานั้น คุณพ่อนิโคลาสถูกจับกุมและถูกตัดสินลงโทษจำคุก 15 ปี แต่ท่านได้ตายในคุกหลังจากที่อยู่ในนั้นมาเป็นเวลา 3 ปี สาเหตุคือ "ความเกลียดชังความเชื่อ" และความตายคือผลของมัน สำหรับข้าพเจ้า ท่านคือมรณสักขี ข้าพเจ้าเชื่อว่าขณะนี้ท่านได้อยู่กับพระเป็นเจ้าบนสวรรค์แล้ว โดย ผ่านทางคำเสนอวิงวอนของท่าน ข้าพเจ้าเคยได้รับความช่วยเหลือบางอย่างจากท่านด้วย
หลักฐานเอกสารทั้งหมด ข้าพเจ้าได้มอบให้กับคุณพ่อเจมส์ ฟิตแพทริค ผู้ดำเนินเรื่องในกรณีนี้ เพื่อคุณพ่อจะได้เสนอเอกสารเหล่านี้ต่อศาล
กรุงโรม, วันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1999
คุณพ่อเจมส์ ฟิตแพทริค, O.M.I., Postulator
กรุงโรม, วันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1999
คุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์, Collaborator
คุณพ่ออัมบรวซ เอสเซอร์, O.P., Reletor General
CR. : http://www.catholic.or.th/.../bknicolas/bknicolas8.html
ประวัติความเป็นมาของการดำเนินเรื่อง
1. จุดเริ่มต้นของการดำเนินเรื่อง
37. พระอัครสังฆราชเกี้ยน เสมอพิทักษ์ พระอัครสังฆราชแห่งอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ผู้ริเริ่มในการเสนอเรื่องบุญราศีทั้ง 7 แห่งประเทศไทย ได้ให้คำแนะนำต่ออัครสัง ฆมณฑลกรุงเทพฯ ในการเริ่มต้นการเสนอเรื่องของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ตั้งแต่สถานการณ์ทางศาสนา , ต้นเหตุแห่งความตาย , "ความเกลียดชังความเชื่อ" เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ายอมรับความตายตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้าตามความเชื่อคาทอลิก
ซึ่งหมายความว่ามีความเป็นไปได้สำหรับกรณีของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า
คุณพ่อวรยุทธ กิจบำรุง พระสงฆ์ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้ยืนยันว่า ที่ประชุมสภาสงฆ์ของอัคร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้เริ่มต้นให้ความสนใจและสนับสนุนให้มีการศึกษากรณีของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ามาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ท่านได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ตลอดมา
คุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ ได้เป็นพยานว่า :
"ผมทราบว่าตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 มีการเสนอเรื่องนี้ขึ้นมาในที่ประชุมสภาสงฆ์ แต่ว่าไม่ได้กำหนดให้ผมรับผิดชอบ โดยให้คุณพ่อลารเกรับผิดชอบมาตั้งแต่ต้น จนกระทั่งมาถึงปี ค.ศ. 1992 ผมได้รับมอบหมายให้ทำ หน้าที่ต่อจากคุณพ่อลารเกจนถึงทุกวันนี้"
ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าคุณพ่อลารเกได้ถึงแก่มรณภาพลง
2. ความเป็นไปได้ของกรณีของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า
38. ตามคำแนะนำของพระอัครสังฆราชเกี้ยน เป็นกรณีที่มีความเป็นไปได้อย่างมากทีเดียว มีการเบียดเบียนศาสนา ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกจับกุมและถูกตัดสินลงโทษจำคุกเป็นเวลา 15 ปี เนื่องจาก "ความเกลียดชังความเชื่อ" ในหมู่คนไทยเวลานั้น ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ายอมรับทุกสิ่งด้วยความยินดีตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้าโดยไม่มีการด่าแช่งใครเลย ท่านยอมรับความตายในคุก
กรณีแบบเดียวกันนี้ได้เกิดขึ้นจริง คุณพ่ออังเดรโอนี ได้เป็นพยานว่า :
"มีมรณสักขีองค์หนึ่งที่เป็นพระสังฆราชที่ประเทศเวียดนามที่ถูกจับและตายในคุก ถูกตัดสินให้ฆ่า แต่เมื่อเปิดคุกก็เห็นว่าตายแล้ว พระศาสนจักรได้ตั้งเป็นนักบุญ"
คุณพ่อยัง-ปอล ลังฟังต์ ได้ยืนยันถึงความเป็นไปได้อีกว่า :
"บุญราศีบางองค์ของไอริชไม่ได้ถูกประหารชีวิต แต่ได้ตายในคุกด้วยวิธีทำให้ป่วย และพวกท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นบุญราศีในปี ค.ศ. 1992 เหตุการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับความตายของคุณพ่อนิโคลาสก็เป็นแบบเดียวกัน"
3. หลักฐานเอกสารและคำให้การของพยาน
39. แหล่งข้อมูลต่างๆ ของหลักฐานเอกสารและคำให้การของพยานถูกเขียนไว้ในรายงานของคุณ พ่อสุ รชัย ชุ่มศรีพันธุ์ ผู้ได้รับมอบหมายให้รวบรวมเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับกรณีขอแต่งตั้งผู้รับใช้ขอ งพระเป็นเจ้าเป็นบุญราศีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 เนื้อหาของรายงานมีดังต่อไปนี้ :
1. ข้าพเจ้าได้พิจารณาและได้รับเอกสารต่างๆ จากหอจดหมายเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้ :
- ห้องเก็บเอกสารของวัดนักบุญเปโตร จังหวัดนครปฐม สถานที่ซึ่งคุณพ่อนิโคลาสเกิดและเติบโต ข้าพจ้าได้รับใบทะเบียนศีลล้างบาปของท่าน และพบว่าวันเกิดของท่านคือวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1895 ไม่ใช่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1895 ตามที่ได้เขียนไว้ที่หน้าหลุมศพของท่าน
- หอจดหมายเหตุของบ้านเณรใหญ่ที่ปีนัง สถานที่ซึ่งคุณพ่อนิโคลาสได้ศึกษาวิชาปรัชญาและเทวศาสตร์ ข้าพเจ้าได้รับสำเนาต่างๆ เกี่ยวกับรายงานของอธิการบ้านเณร , ผลการเรียน , การตัดสินของผู้ใหญ่ของบ้านเณรในเรื่องการรับศีลบวชขั้นต่างๆ ของคุณพ่อนิโคลาส , จดหมายโต้ตอบระหว่างพระสังฆราชของมิสซังสยามและผู้ใหญ่ของบ้านเณร
- หอจดหมายเหตุของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ที่ปารีส สถานที่ซึ่งข้าพเจ้าได้พบจดหมายโต้ตอบระหว่าง พระสังฆราชมิสซังสยามและคณะผู้ใหญ่ของบ้านเณรคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ที่พูดเกี่ยวกับคุณพ่อนิโคลาส , รายงานประจำปีของปีต่างๆ ในช่วงสมัยของคุณพ่อนิโคลาส
- หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่กรุงเทพฯ สถานที่ซึ่งข้าพเจ้าได้พบหลักฐานเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานอภิบาลของคุณพ่อนิโคลาส , วีรกรรมของท่าน , สำเนาต่างๆ ของรายงานประจำปี , จดหมายโต้ตอบกับกรุงปารีส , งานเขียนและจดหมายของท่าน
- ที่เก็บเอกสารของวัดต่างๆ สถานที่ซึ่งคุณพ่อนิโคลาสเคยทำงานและพักอยู่ กล่าวคือ : วัดบ้านหัน ,วัดบ้านโนนแก้ว ใน จังหวัดนครราชสีมา , วัดพระหฤทัย , วัดเชียงดาว ในจังหวัดเชียงใหม่ , วัดเมืองพาน , วัดเวียงป่าเป้า , วัดเมืองพร้าว ในจังหวัดเชียงราย และวัดเซนต์นิโคลาส ในจังหวัดพิษณุโลก
2. ข้าพเจ้ายังได้ไปพบกับพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์หลายๆคน ผู้ที่รู้จักกับคุณพ่อนิโคลาสเป็นการส่วนตัวและสามารถให้การเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับชีวิตและความเป็นมรณสักขีของคุณพ่อนิโคลาส
3. ข้าพเจ้าได้รับจดหมายต่างๆ ที่ได้รวบรวมไว้และความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับความเชื่อ จากคุณพ่อวรยุทธ กิจบำรุง ซึ่งเป็นผู้อำนวยการและบรรณาธิการนิตยสารคาทอลิก "อุดมสาร" จดหมายและความคิดเห็นต่างๆ เหล่านี้แสดงความมั่นใจและความศรัทธาในความเป็นมรณสักขีและความศักดิ์สิทธิ์ของคุณพ่อนิโคลาส
4. ข้าพเจ้าได้เสนอหลักฐานเอกสารเป็นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้ :
เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ตอนที่ 1 : ชีวิตของท่านและงานศาสนบริการในฐานะสงฆ์
- ตอนที่ 2 : งานเขียนและจดหมายต่างๆ ของท่าน
- ตอนที่ 3 : ความเป็นมรณสักขีของท่าน
- ตอนที่ 4 : สถานการณ์ทางการเมืองและศาสนา
- ตอนที่ 5 : พยานต่างๆ
- ตอนที่ 6 : ชื่อเสียงความเป็นมรณสักขี
จากความเห็นชอบของพระศาสนจักร
จากบรรดาคริสตชน
5. ในฐานะที่เป็นสมาชิกคนหนึ่งของคณะกรรมาธิการด้านประวัติศาสตร์ ข้าพเจ้าได้รับหลักฐานเอกสารที่คณะกรรมาธิการฯ ได้ศึกษาถึงความเชื่อถือได้และคุณค่าของเอกสารต่างๆ
6. ข้าพเจ้ายังได้รับเอกสารอีก 2 ส่วน ซึ่งได้ศึกษาถึงความเชื่อถือได้และคุณค่าของเอกสาร : เป็นพวกเอกสาร ที่เกี่ยวกับงานเขียนและจดหมายต่างๆ ของคุณพ่อนิโคลาส จากคณะกรรมาธิการด้านเทววิทยา ซึ่งได้ศึกษาถึงคุณค่าทางด้านเทวศาสตร์ตามที่ปรากฏในเอกสาร คณะกรรมาธิการฯ เห็นว่าตรงกับข้อคำสอนของพระศาสนจักรในสมัยนั้น
หลังจากระยะเวลา 5 ปี ในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ข้าพเจ้า ผู้รับผิดชอบงานทางด้านเอกสารของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ขอสาบานว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ตัดทอน เพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใดๆ ในเอกสารต่างๆที่ข้าพเจ้ าได้รวบรวม และขอประกาศว่าเอกสารต่างๆ มีความเชื่อถือได้และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
ข้าพเจ้ายังได้พบจากการศึกษาในครั้งนี้ว่า คุณพ่อนิโคลาสเป็นพระสงฆ์ที่ดีมากอย่างแท้จริง ท่านเป็นผู้ขยันหมั่นเพียรในงานอภิบาลของท่าน เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดสำหรับบรรดาพระสงฆ์ ท่านได้ยอมรับความตายตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า มีความเกลียดชังความเชื่อคาทอลิกในหมู่คนไทยในเวลานั้น คุณพ่อนิโคลาสถูกจับกุมและถูกตัดสินลงโทษจำคุก 15 ปี แต่ท่านได้ตายในคุกหลังจากที่อยู่ในนั้นมาเป็นเวลา 3 ปี สาเหตุคือ "ความเกลียดชังความเชื่อ" และความตายคือผลของมัน สำหรับข้าพเจ้า ท่านคือมรณสักขี ข้าพเจ้าเชื่อว่าขณะนี้ท่านได้อยู่กับพระเป็นเจ้าบนสวรรค์แล้ว โดย ผ่านทางคำเสนอวิงวอนของท่าน ข้าพเจ้าเคยได้รับความช่วยเหลือบางอย่างจากท่านด้วย
หลักฐานเอกสารทั้งหมด ข้าพเจ้าได้มอบให้กับคุณพ่อเจมส์ ฟิตแพทริค ผู้ดำเนินเรื่องในกรณีนี้ เพื่อคุณพ่อจะได้เสนอเอกสารเหล่านี้ต่อศาล
กรุงโรม, วันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1999
คุณพ่อเจมส์ ฟิตแพทริค, O.M.I., Postulator
กรุงโรม, วันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1999
คุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์, Collaborator
คุณพ่ออัมบรวซ เอสเซอร์, O.P., Reletor General
CR. : http://www.catholic.or.th/.../bknicolas/bknicolas8.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
ชีวิตในวัยเด็ก และกระแสเรียก
คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง มีชื่อเดิมว่า เบเนดิกโต ชุนกิม กฤษบำรุง เป็นบุตรคนแรกใน จำนวน 5 คน ของยอแซฟ โปชัง และอักแนส เที่ยง กฤษบำรุงจากการตรวจสอบเอกสารของวัดนักบุญเปโตร (นครชัยศรี) สามพราน นครปฐม จากทะเบียนศีลแต่งงานของวัด ทราบว่า ยอแซฟโปชัง และอักแนส เที่ยง รับศีลแต่งงานเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1893 ทะเบียนศีลแต่ง งานเลขที่ 186 โดยคุณพ่อจืลส์ กียู ซึ่งเป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสอยู่ในเวลานั้น จากทะเบียนศีลล้างบาปของคุณพ่อนิโค ลาส ทราบว่าท่านเกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1895 ได้รับศีลล้างบาปวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1895 โดยคุณพ่อเรอเน แปร์รอส (ผู้ซึ่งต่อมาได้เป็นประมุขปกครองมิสซังสยาม-กรุงเทพฯ ระหว่างปี ค.ศ. 1909-1947) ทะเบียนศีลล้างบาปเลขที่ 1645 ได้รับศาสนนามว่า"เบเนดิกโต"
ชีวิตในวัยเด็กของท่านมิได้มีกล่าวไว้มากนักในเอกสารต่างๆ ท่านคงจะได้เรียนในโรงเรียนประชาบาลของวัดนักบุญเปโตรเช่นเดียวกับเด็กอื่นๆ ในสมัยนั้น กระแสเรียกเป็นเครื่องหมายว่าท่านมีความผูกพันอยู่กับวัดมากพอสมควร คุณพ่อเจ้าอาวาสในเวลานั้น ได้แก่ คุณพ่อยอแซฟแฟร์เลย์ จึงส่งท่านเข้าบ้านเณรเล็กพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า บางช้าง (บางนกแขวก) ในปี ค.ศ. 1908 ความสัมพันธ์ที่มีต่อวัดนั้น ยังเห็นได้จากพินัยกรรมของบิดาของท่าน ซึ่งทำขึ้นโดยมีพระสังฆราชเรอเน แปร์รอส เป็นพยาน นอกจากนี้ยังเห็นได้จากจดหมายของคุณพ่อเจ้าอาวาสวัดนักบุญเปโตรอีกองค์หนึ่งคือคุณพ่อเอวเยน เล็ตแชร์ ซึ่งเขียนรายงานถึงพระสังฆราชแปร์รอส เกี่ยวกับชีวิตของโปชังที่วัดนักบุญเปโตร ซึ่งมีอยู่หลายฉบับด้วยกัน
ตามหลักสูตรการเรียนเพื่อบวชเป็นพระสงฆ์ในสมัยนั้น คุณพ่อนิโคลาสได้เรียนอยู่ในบ้านเณร บางช้าง เป็นเวลา 8 ปี และต้องทำหน้าที่ครูสอนศาสนาเป็นเวลา 4 ปี หลังจากนั้นจึงถูกส่งไปเรียนที่บ้านเณรใหญ่ที่ปีนังเป็นเวลาทั้งสิ้นอีก 6 ปี จึงได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1926 ณ วัดอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ รวมเวลาที่เรียนในบ้านเณรจนกระทั่งบวช 18 ปี
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในระหว่าง 6 ปี ที่คุณพ่อนิโคลาสอยู่ที่บ้านเณรใหญ่ที่ปีนังนั้นเป็นหน้าที่ของ คุณพ่ออธิการบ้านเณรจะต้องเขียนรายงานผลการเรียน ความประพฤติของสามเณร ให้แก่พระสังฆราชของสามเณรเหล่านั้นได้ทราบเป็นประจำทุกปี จากรายงานต่างๆ เหล่านี้ เราพบเฉพาะรายงานระหว่างปี ค.ศ. 1920-1924 ทั้งจากจดหมายเหตุของบ้านเณรใหญ่ที่ปีนัง และจากจดหมายที่พบในหอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จากรายงานเหล่านี้ เราทราบว่าคุณพ่อนิโคลาสเป็นผู้มีความประพฤติดี การเรียนอยู่ในขั้นดีพอใช้ สุขภาพดี มีความขยันหมั่นเพียรเป็นที่น่าพอใจมาก อุปนิสัยโดยทั่วไปดี แต่มีนิสัยค่อนข้างอวดดี , หงุดหงิดง่าย , อารมณ์อ่อนไหว , และหัวดื้อ
คุณพ่ออธิการบ้านเณรใหญ่ที่ปีนังเวลานั้นคือ คุณพ่อยืสแตง ปาแยส (เป็นอธิการระหว่างปี ค.ศ. 1917-1931) ได้เขียนจดหมายถึงพระสังฆราชแปร์รอสว่า
"ชุนกิมทำให้ข้าพเจ้าไม่พอใจมาก ความประพฤติภายนอกของเขาดีมาก แต่เขาเป็นคนอวดดี และข้าพเจ้าเชื่อว่าเขาไม่มีการตัดสินที่ถูกต้อง วันหนึ่งด้วยความใจร้อน ข้าพเจ้าเกรี้ยวกราดเขาด้วย ความฉุนเฉียว และบอกให้เขารู้ถึงข้อบกพร่อง 4 อย่างของเขา ข้าพเจ้ายังเสริมอีกว่า ถ้าเขาไม่เปลี่ยนแปลงนิสัย เขาจะไปไม่ถึงศักดิ์สงฆ์เลย เขาสัญญากับข้าพเจ้าว่าจะปรับปรุงตัวเอง และขอร้องให้ข้าพเจ้าคอยตักเตือน ข้าพเจ้าหวังว่าเขาจะเปลี่ยนแปลง"
และในปีต่อมา คุณพ่อปาแยสได้เขียนรายงานความก้าวหน้ามาว่าดังนี้
"ชุนกิมทำได้ดี ยังคงค่อนข้างหัวดื้ออยู่บ้าง เขามีเจตนาดีไม่ถือตามความพอใจของตน และยังทำตามคำแนะนำที่เราให้เขา"
ที่สุด ในรายงานปี ค.ศ. 1925 คุณพ่อปาแยสได้ชมสามเณรชุนกิมว่า ได้ปรับปรุงตัวดีขึ้นเป็นคนมี น้ำใจ มีความศรัทธา เอาจริงเอาจังในการทำงานโดยไม่ย้อท้อ และรู้จักทำตนให้เป็นที่พอใจ ในจดหมายลงวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1925
"ชุนกิมปรับปรุงตัวดีขึ้น เขาเป็นคนศรัทธา เอาจริงเอาจัง และไม่กลัวการทำงาน เป็นคน ค่อนข้างมักน้อย"
จากรายงานที่น่าสนใจเหล่านี้ ทำให้เราเรียนรู้ได้ว่า คุณพ่อนิโคลาสมีนิสัยเป็นตัวของตัวเอง และยังมีข้อบกพร่องตามประสามนุษย์ แต่เมื่อท่านตระหนักถึงหน้าที่สงฆ์ในอนาคต ก็สามารถละทิ้งน้ำใจตนเอง ปรับปรุงตัวจนเป็นที่พอใจของการอบรมให้เป็นพระสงฆ์ได้ และจากบุคลิกของท่านดังกล่าวนี้ ก็ยังนำประโยชน์ในการทำงานแพร่ธรรมของท่านในเวลาต่อมาอย่างมาก
ชีวิตการฝึกฝนตนเองที่บ้านเณรใหญ่ที่ปีนังนี้ ได้รับการเอาใจใส่จากผู้ใหญ่ของบ้านเณรเป็นอย่างดี จากรายงานการประชุมของคณะที่ปรึกษาบ้านเณรใหญ่ที่ปีนัง คณะผู้ใหญ่ได้พิจารณาอนุมัติเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1923 ให้เบเนดิกโต ชุนกิม กฤษบำรุง และเพื่อนสามเณรไทยอีก 4 คน คือ เปาโล กลิ่น ผลสุวรรณ , เปโตร กิ๊น มิลลุกูล , เปโตร ถัง ลำเจริญพร และอเล็กซานเดอร์ ปลาด วิเศษรัตน์ รับศีลน้อยขั้นศีลโกน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1923 โดยพระสังฆราชเมอแรลและในปีต่อมา สามเณรทั้ง 5 คนนี้ ก็ได้รับอนุมัติให้รับศีลน้อย 4 ศีล คือ ผู้เปิดประตูวัด , ผู้อ่านพระคัมภีร์ , ผู้ขับไล่ผีปีศาจ และผู้ถือเทียน เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1924 พิธีดังกล่าวจัดขึ้นวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1924โดยพระสังฆราช เมอแรลเช่นเดียวกัน วันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1925 สามเณรทั้ง 5 คน ก็ได้รับศีลบวชขั้นอุปานุสงฆ์ และ วันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1925 ได้รับศีลบวชขั้นอนุสงฆ์ หรือสังฆานุกร
นอกจากนี้ จากบันทึกรายงานการประชุมเดียวกัน เรายังทราบด้วยว่าสังฆานุกรทั้ง 5 คนนี้ ได้ออกเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อรับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ โดยออกเดินทางจากปีนังเมื่อวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1926 และตามที่เราทราบแล้ว สังฆานุกรทั้ง 5 คน ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1926 ที่วัดอัสสัมชัญ โดยพระสังฆราชแปร์รอส และนับจากนี้เป็นต้นไป เราจะรู้จักคุณ พ่อใหม่ทั้ง 5 องค์นี้ ในชื่อว่า คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด (ชุนกิม) กฤษบำรุง , คุณพ่อเลโอนารด์ สิง หนาท (กลิ่น) ผลสุวรรณ , คุณพ่ออัมบรอซิโอ อมร (กิ๊น) มิลลุกูล , คุณพ่อปีโอ ธำรง (ถัง) ลำเจริญพร และคุณพ่อเฮนรี่ สุนทร (ปลาด) วิเศษรัตน์
CR. : http://www.catholic.or.th/archive/nicol ... /nic1.html
ชีวิตในวัยเด็ก และกระแสเรียก
คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง มีชื่อเดิมว่า เบเนดิกโต ชุนกิม กฤษบำรุง เป็นบุตรคนแรกใน จำนวน 5 คน ของยอแซฟ โปชัง และอักแนส เที่ยง กฤษบำรุงจากการตรวจสอบเอกสารของวัดนักบุญเปโตร (นครชัยศรี) สามพราน นครปฐม จากทะเบียนศีลแต่งงานของวัด ทราบว่า ยอแซฟโปชัง และอักแนส เที่ยง รับศีลแต่งงานเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1893 ทะเบียนศีลแต่ง งานเลขที่ 186 โดยคุณพ่อจืลส์ กียู ซึ่งเป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสอยู่ในเวลานั้น จากทะเบียนศีลล้างบาปของคุณพ่อนิโค ลาส ทราบว่าท่านเกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1895 ได้รับศีลล้างบาปวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1895 โดยคุณพ่อเรอเน แปร์รอส (ผู้ซึ่งต่อมาได้เป็นประมุขปกครองมิสซังสยาม-กรุงเทพฯ ระหว่างปี ค.ศ. 1909-1947) ทะเบียนศีลล้างบาปเลขที่ 1645 ได้รับศาสนนามว่า"เบเนดิกโต"
ชีวิตในวัยเด็กของท่านมิได้มีกล่าวไว้มากนักในเอกสารต่างๆ ท่านคงจะได้เรียนในโรงเรียนประชาบาลของวัดนักบุญเปโตรเช่นเดียวกับเด็กอื่นๆ ในสมัยนั้น กระแสเรียกเป็นเครื่องหมายว่าท่านมีความผูกพันอยู่กับวัดมากพอสมควร คุณพ่อเจ้าอาวาสในเวลานั้น ได้แก่ คุณพ่อยอแซฟแฟร์เลย์ จึงส่งท่านเข้าบ้านเณรเล็กพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า บางช้าง (บางนกแขวก) ในปี ค.ศ. 1908 ความสัมพันธ์ที่มีต่อวัดนั้น ยังเห็นได้จากพินัยกรรมของบิดาของท่าน ซึ่งทำขึ้นโดยมีพระสังฆราชเรอเน แปร์รอส เป็นพยาน นอกจากนี้ยังเห็นได้จากจดหมายของคุณพ่อเจ้าอาวาสวัดนักบุญเปโตรอีกองค์หนึ่งคือคุณพ่อเอวเยน เล็ตแชร์ ซึ่งเขียนรายงานถึงพระสังฆราชแปร์รอส เกี่ยวกับชีวิตของโปชังที่วัดนักบุญเปโตร ซึ่งมีอยู่หลายฉบับด้วยกัน
ตามหลักสูตรการเรียนเพื่อบวชเป็นพระสงฆ์ในสมัยนั้น คุณพ่อนิโคลาสได้เรียนอยู่ในบ้านเณร บางช้าง เป็นเวลา 8 ปี และต้องทำหน้าที่ครูสอนศาสนาเป็นเวลา 4 ปี หลังจากนั้นจึงถูกส่งไปเรียนที่บ้านเณรใหญ่ที่ปีนังเป็นเวลาทั้งสิ้นอีก 6 ปี จึงได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1926 ณ วัดอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ รวมเวลาที่เรียนในบ้านเณรจนกระทั่งบวช 18 ปี
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในระหว่าง 6 ปี ที่คุณพ่อนิโคลาสอยู่ที่บ้านเณรใหญ่ที่ปีนังนั้นเป็นหน้าที่ของ คุณพ่ออธิการบ้านเณรจะต้องเขียนรายงานผลการเรียน ความประพฤติของสามเณร ให้แก่พระสังฆราชของสามเณรเหล่านั้นได้ทราบเป็นประจำทุกปี จากรายงานต่างๆ เหล่านี้ เราพบเฉพาะรายงานระหว่างปี ค.ศ. 1920-1924 ทั้งจากจดหมายเหตุของบ้านเณรใหญ่ที่ปีนัง และจากจดหมายที่พบในหอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จากรายงานเหล่านี้ เราทราบว่าคุณพ่อนิโคลาสเป็นผู้มีความประพฤติดี การเรียนอยู่ในขั้นดีพอใช้ สุขภาพดี มีความขยันหมั่นเพียรเป็นที่น่าพอใจมาก อุปนิสัยโดยทั่วไปดี แต่มีนิสัยค่อนข้างอวดดี , หงุดหงิดง่าย , อารมณ์อ่อนไหว , และหัวดื้อ
คุณพ่ออธิการบ้านเณรใหญ่ที่ปีนังเวลานั้นคือ คุณพ่อยืสแตง ปาแยส (เป็นอธิการระหว่างปี ค.ศ. 1917-1931) ได้เขียนจดหมายถึงพระสังฆราชแปร์รอสว่า
"ชุนกิมทำให้ข้าพเจ้าไม่พอใจมาก ความประพฤติภายนอกของเขาดีมาก แต่เขาเป็นคนอวดดี และข้าพเจ้าเชื่อว่าเขาไม่มีการตัดสินที่ถูกต้อง วันหนึ่งด้วยความใจร้อน ข้าพเจ้าเกรี้ยวกราดเขาด้วย ความฉุนเฉียว และบอกให้เขารู้ถึงข้อบกพร่อง 4 อย่างของเขา ข้าพเจ้ายังเสริมอีกว่า ถ้าเขาไม่เปลี่ยนแปลงนิสัย เขาจะไปไม่ถึงศักดิ์สงฆ์เลย เขาสัญญากับข้าพเจ้าว่าจะปรับปรุงตัวเอง และขอร้องให้ข้าพเจ้าคอยตักเตือน ข้าพเจ้าหวังว่าเขาจะเปลี่ยนแปลง"
และในปีต่อมา คุณพ่อปาแยสได้เขียนรายงานความก้าวหน้ามาว่าดังนี้
"ชุนกิมทำได้ดี ยังคงค่อนข้างหัวดื้ออยู่บ้าง เขามีเจตนาดีไม่ถือตามความพอใจของตน และยังทำตามคำแนะนำที่เราให้เขา"
ที่สุด ในรายงานปี ค.ศ. 1925 คุณพ่อปาแยสได้ชมสามเณรชุนกิมว่า ได้ปรับปรุงตัวดีขึ้นเป็นคนมี น้ำใจ มีความศรัทธา เอาจริงเอาจังในการทำงานโดยไม่ย้อท้อ และรู้จักทำตนให้เป็นที่พอใจ ในจดหมายลงวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1925
"ชุนกิมปรับปรุงตัวดีขึ้น เขาเป็นคนศรัทธา เอาจริงเอาจัง และไม่กลัวการทำงาน เป็นคน ค่อนข้างมักน้อย"
จากรายงานที่น่าสนใจเหล่านี้ ทำให้เราเรียนรู้ได้ว่า คุณพ่อนิโคลาสมีนิสัยเป็นตัวของตัวเอง และยังมีข้อบกพร่องตามประสามนุษย์ แต่เมื่อท่านตระหนักถึงหน้าที่สงฆ์ในอนาคต ก็สามารถละทิ้งน้ำใจตนเอง ปรับปรุงตัวจนเป็นที่พอใจของการอบรมให้เป็นพระสงฆ์ได้ และจากบุคลิกของท่านดังกล่าวนี้ ก็ยังนำประโยชน์ในการทำงานแพร่ธรรมของท่านในเวลาต่อมาอย่างมาก
ชีวิตการฝึกฝนตนเองที่บ้านเณรใหญ่ที่ปีนังนี้ ได้รับการเอาใจใส่จากผู้ใหญ่ของบ้านเณรเป็นอย่างดี จากรายงานการประชุมของคณะที่ปรึกษาบ้านเณรใหญ่ที่ปีนัง คณะผู้ใหญ่ได้พิจารณาอนุมัติเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1923 ให้เบเนดิกโต ชุนกิม กฤษบำรุง และเพื่อนสามเณรไทยอีก 4 คน คือ เปาโล กลิ่น ผลสุวรรณ , เปโตร กิ๊น มิลลุกูล , เปโตร ถัง ลำเจริญพร และอเล็กซานเดอร์ ปลาด วิเศษรัตน์ รับศีลน้อยขั้นศีลโกน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1923 โดยพระสังฆราชเมอแรลและในปีต่อมา สามเณรทั้ง 5 คนนี้ ก็ได้รับอนุมัติให้รับศีลน้อย 4 ศีล คือ ผู้เปิดประตูวัด , ผู้อ่านพระคัมภีร์ , ผู้ขับไล่ผีปีศาจ และผู้ถือเทียน เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1924 พิธีดังกล่าวจัดขึ้นวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1924โดยพระสังฆราช เมอแรลเช่นเดียวกัน วันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1925 สามเณรทั้ง 5 คน ก็ได้รับศีลบวชขั้นอุปานุสงฆ์ และ วันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1925 ได้รับศีลบวชขั้นอนุสงฆ์ หรือสังฆานุกร
นอกจากนี้ จากบันทึกรายงานการประชุมเดียวกัน เรายังทราบด้วยว่าสังฆานุกรทั้ง 5 คนนี้ ได้ออกเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อรับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ โดยออกเดินทางจากปีนังเมื่อวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1926 และตามที่เราทราบแล้ว สังฆานุกรทั้ง 5 คน ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1926 ที่วัดอัสสัมชัญ โดยพระสังฆราชแปร์รอส และนับจากนี้เป็นต้นไป เราจะรู้จักคุณ พ่อใหม่ทั้ง 5 องค์นี้ ในชื่อว่า คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด (ชุนกิม) กฤษบำรุง , คุณพ่อเลโอนารด์ สิง หนาท (กลิ่น) ผลสุวรรณ , คุณพ่ออัมบรอซิโอ อมร (กิ๊น) มิลลุกูล , คุณพ่อปีโอ ธำรง (ถัง) ลำเจริญพร และคุณพ่อเฮนรี่ สุนทร (ปลาด) วิเศษรัตน์
CR. : http://www.catholic.or.th/archive/nicol ... /nic1.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
การประกาศพระวรสาร ในฐานะสงฆ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบางนกแขวก
ภารกิจแรกที่คุณพ่อนิโคลาสได้รับ คือ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสที่วัดบางนกแขวก(จังหวัดสมุทรสงคราม) โดยเป็นผู้ช่วยคุณพ่อดือรังด์ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในเวลานั้น จากบันทึกประวัติของวัดบางนกแขวกในหนังสือ "วชิรานุสรณ์ อาสนวิหารมารีสมภพ, บางนกแขวก" แสดงให้เห็นว่าคุณพ่อนิโคลาสประจำอยู่ที่นี่ใน ระหว่างปี ค.ศ. 1926-1928
ก่อนหน้านี้คือในปี ค.ศ. 1925 พระสังฆราชแปร์รอสได้ติดต่อกับคณะซาเลเซียนในประเทศอิตาลี ให้มาทำงานในมิสซังสยาม และจะแบ่งมอบมิสซังแห่งหนึ่งให้แก่คณะฯด้วย โดยให้วัดบางนกแขวกเป็นศูนย์กลาง เพราะเป็นวัดใหญ่และมีสัตบุรุษมาก
คุณพ่อดือรังด์และคุณพ่อนิโคลาสเป็นผู้ต้อนรับคณะสงฆ์ซาเลเซียน ซึ่งเดินทางมาถึงในคืนวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1927 และอยู่ช่วยพระสงฆ์คณะนี้ในการส่งมอบงาน แนะนำงาน นอกจากนี้ คุณพ่อนิโคลาส ยังได้ช่วยสอนคำสอนแก่สามเณรซาเลเซียนจำนวน 16 คนและสอนภาษาไทยแก่บรรดาพระสงฆ์ซาเลเซียน อีกด้วย
“คุณพ่อดือรังส์และคุณพ่อนิกอเลาส์ ยังอยู่ประจำที่วัดบางนกแขวกต่อไป ช่วยสอนภาษาไทย และแนะนำให้รู้จักขนบธรรมเนียมไทย วิธีการปกครองสำหรับคนไทย”
“สามเณรในชั้นปรัชญาปีที่ 2 เรียนคำสอนเป็นเวลาครึ่งชั่วโมงทุกวัน สอนโดยคุณพ่อนิโคลาส เป็นภาษาไทยทั้งหมด ทั้งการบรรยายและการอธิบายต่างๆ สามเณรทุกคนพอใจมาก”
ดังนั้น นอกจากการทำงานอภิบาลสัตบุรุษแล้ว คุณพ่อนิโคลาสยังได้ช่วยงานสอนภาษาไทย ขนบธรรมเนียม ประเพณี และการปกครอง แก่บรรดาพระสงฆ์และสามเณรด้วยใจกว้างขวางตลอดหนึ่งปีกว่า เมื่อเห็นว่าทุกอย่างพร้อมแล้ว คุณพ่อดือรังด์และคุณพ่อนิโคลาสก็อำลาสมาชิก ซาเลเซียนและสัตบุรุษวัด บางนกแขวกหลังวันฉลองวันขึ้นปีใหม่ของปี ค.ศ. 1929แล้วมอบทุกอย่างให้เป็นมรดกแก่คณะซาเลเซียน โดยไม่เอาอะไรติดตัวไปเลย
CR. : http://www.catholic.or.th/archive/nicol ... /nic2.html
การประกาศพระวรสาร ในฐานะสงฆ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบางนกแขวก
ภารกิจแรกที่คุณพ่อนิโคลาสได้รับ คือ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสที่วัดบางนกแขวก(จังหวัดสมุทรสงคราม) โดยเป็นผู้ช่วยคุณพ่อดือรังด์ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในเวลานั้น จากบันทึกประวัติของวัดบางนกแขวกในหนังสือ "วชิรานุสรณ์ อาสนวิหารมารีสมภพ, บางนกแขวก" แสดงให้เห็นว่าคุณพ่อนิโคลาสประจำอยู่ที่นี่ใน ระหว่างปี ค.ศ. 1926-1928
ก่อนหน้านี้คือในปี ค.ศ. 1925 พระสังฆราชแปร์รอสได้ติดต่อกับคณะซาเลเซียนในประเทศอิตาลี ให้มาทำงานในมิสซังสยาม และจะแบ่งมอบมิสซังแห่งหนึ่งให้แก่คณะฯด้วย โดยให้วัดบางนกแขวกเป็นศูนย์กลาง เพราะเป็นวัดใหญ่และมีสัตบุรุษมาก
คุณพ่อดือรังด์และคุณพ่อนิโคลาสเป็นผู้ต้อนรับคณะสงฆ์ซาเลเซียน ซึ่งเดินทางมาถึงในคืนวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1927 และอยู่ช่วยพระสงฆ์คณะนี้ในการส่งมอบงาน แนะนำงาน นอกจากนี้ คุณพ่อนิโคลาส ยังได้ช่วยสอนคำสอนแก่สามเณรซาเลเซียนจำนวน 16 คนและสอนภาษาไทยแก่บรรดาพระสงฆ์ซาเลเซียน อีกด้วย
“คุณพ่อดือรังส์และคุณพ่อนิกอเลาส์ ยังอยู่ประจำที่วัดบางนกแขวกต่อไป ช่วยสอนภาษาไทย และแนะนำให้รู้จักขนบธรรมเนียมไทย วิธีการปกครองสำหรับคนไทย”
“สามเณรในชั้นปรัชญาปีที่ 2 เรียนคำสอนเป็นเวลาครึ่งชั่วโมงทุกวัน สอนโดยคุณพ่อนิโคลาส เป็นภาษาไทยทั้งหมด ทั้งการบรรยายและการอธิบายต่างๆ สามเณรทุกคนพอใจมาก”
ดังนั้น นอกจากการทำงานอภิบาลสัตบุรุษแล้ว คุณพ่อนิโคลาสยังได้ช่วยงานสอนภาษาไทย ขนบธรรมเนียม ประเพณี และการปกครอง แก่บรรดาพระสงฆ์และสามเณรด้วยใจกว้างขวางตลอดหนึ่งปีกว่า เมื่อเห็นว่าทุกอย่างพร้อมแล้ว คุณพ่อดือรังด์และคุณพ่อนิโคลาสก็อำลาสมาชิก ซาเลเซียนและสัตบุรุษวัด บางนกแขวกหลังวันฉลองวันขึ้นปีใหม่ของปี ค.ศ. 1929แล้วมอบทุกอย่างให้เป็นมรดกแก่คณะซาเลเซียน โดยไม่เอาอะไรติดตัวไปเลย
CR. : http://www.catholic.or.th/archive/nicol ... /nic2.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพิษณุโลก
ความใจกว้างของคุณพ่อนิโคลาสยังปรากฏให้เห็นอีก เมื่อท่านได้รับมอบหมายให้ไปช่วยสอน ภาษาไทยแก่คุณพ่อมิราแบลซึ่งเพิ่งจะเดินทางมาถึงประเทศไทย เวลาเดียวกัน ท่านยังต้องเรียนภาษาจีนแคะและทำหน้าที่อภิบาลสัตบุรุษด้วย
ที่นี่เอง ท่านไม่ได้ทำหน้าที่สอนภาษาไทยแก่คุณพ่อมิราแบลดีเท่าที่ควร เพราะต้องรับภาระมากมายหลายอย่าง จนทำให้คุณพ่อมิราแบลรู้สึกไม่พอใจ นอกจากนี้คุณพ่อนิโคลาสยังได้อธิบายเหตุผลต่อพระสังฆราชแปร์รอสในจดหมายของท่านว่า ท่านไม่สามารถสอนภาษาไทยให้แก่คุณพ่อมิราแบลได้ดีนัก เพราะปัญหาในเรื่องการสื่อสาร และนอกเหนือจากงานอภิบาลที่วัดแล้ว ท่านยังต้องรับหน้าที่สอนคำสอนให้แก่ คริสตังในวันอาทิตย์และสอนหนังสือให้แก่เด็กๆ อีกด้วย
“ข้าพเจ้าเห็นว่าตราบใดที่คุณพ่อบอนิฟาสอยู่ที่นั่น คุณพ่อนิโคลาสก็จะไม่ว่าง ข้าพเจ้าต้องฝึก หัดเพียงคนเดียวอยู่เสมอ ข้าพเจ้าต้องเสียเวลา ข้าพเจ้าเคยอยู่ด้วยในเวลาที่คริสตังจีนแคะ สอนบทเรียนต่างๆ ให้แก่คุณพ่อนิโคลาส หนึ่งหรือสองครั้ง การสอนอธิบายเป็นภาษาไทย ซึ่ง ข้าพเจ้าไม่เพียงแต่ไม่เข้าใจเท่านั้น แต่ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างภาษาไทยและภาษาจีนออก ทำให้ข้าพเจ้าสับสน ข้าพเจ้าได้ขอคำอธิบายจากคุณพ่อนิโคลาส”
“เวลานี้คุณพ่อมิราแบลเรียนภาษาไทย เนื่องจากไม่มีซินแส ข้าพเจ้าจึงไม่สามารถสอนท่านได้ ดีเพราะข้าพเจ้ายังไม่สามารถออกสำเนียงได้อย่างถูกต้อง ส่วนข้าพเจ้าได้เรียกเด็กชายคน หนึ่งมาสอนข้าพเจ้าเวลากลางคืน เวลากลางวันนั้น เขาไม่สามารถมาสอนได้เพราะต้องไปเรียนหนังสือทุกวัน”
แต่ถึงกระนั้นคุณพ่อมิราแบลก็ยังกล่าวชมคุณพ่อนิโคลาสว่าเป็นคนกระตือรือร้น ใจดี ศรัทธา ขยัน ขันแข็งในการทำงาน แม้ว่าจะชอบทำตามลำพังโดยไม่ปรึกษาหารือท่านเลยก็ตาม
"คุณพ่อนิโคลาสเป็นคนที่เปี่ยมไปด้วยความกระตือรือร้นและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่... มันจะ เป็นการดีกว่า ถ้าอย่างน้อยเป็นเวลา 1 ปี และเลยกำหนดเวลาที่พระคุณเจ้าต้องการ คุณพ่อ นิโคลาสจัดการทุกอย่างโดยมิได้ปรึกษาข้าพเจ้าเลย ไม่สนใจข้าพเจ้า และเขาตกลงเรื่องเหล่า นั้นโดยตรงกับพระคุณเจ้า ข้าพเจ้าต้องการให้เขาเป็นอิสระจากข้าพเจ้า และข้าพเจ้าไม่มี อะไรมากไปกว่าต้องการอยู่ในที่ที่แท้จริงของข้าพเจ้า... ข้าพเจ้าไม่ได้ต้องการให้ความชื่นชมของ พระคุณเจ้าที่มีต่อคุณพ่อนิโคลาสลดน้อยลง เพราะเหตุว่าข้าพเจ้ามิได้มีความชื่นชม คุณพ่อนิโคลาสเพิ่มทวีขึ้น ข้าพเจ้าชื่นชมความศรัทธาของเขา , ความกระตือรือร้น , ความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ , ความร้อนรนในการทำงานของเขา เป็นต้น... อีกครั้งหนึ่ง คือข้าพเจ้าเองที่ต้องปรับปรุงตัวเอง"
แต่จากจดหมายของคุณพ่อมิราแบลที่เขียนในเดือนเมษายนต่อมานั้น คุณพ่อมิราแบลได้เล่าว่าการเรียนภาษาจีนของคุณพ่อนิโคลาสก้าวหน้ามาก รวมทั้งยังได้ช่วยแบ่งเบาภาระและให้ความช่วยเหลือแก่คุณพ่อมิราแบลเป็นอย่างดีอีกด้วย
"คุณพ่อนิโคลาสเป็นผู้คงแก่เรียนคนหนึ่ง มีความก้าวหน้าในการเรียนภาษาจีนเป็นอย่างมาก และนอกจากนี้ เขามีซินแสจีนคนหนึ่งซึ่งข้าพเจ้าไม่รู้ว่ามาจากไหน ได้มาหาเรา ข้าพเจ้าไม่รู้ ด้วยซ้ำว่าเขาต้องการอะไร ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะให้เขาทำอะไรได้บ้าง แต่ว่าเวลานี้เขาก็สามารถที่จะเป็นผู้ให้บทเรียนภาษาจีนแก่เรา คุณพ่อนิโคลาสเวลานี้ได้เรียนรู้ภาษาจีนมากทีเดียว และรู้สึกว่าเขาเองก็พอใจ เขาก็ได้ช่วยข้าพเจ้าด้วยเหมือนกัน ซึ่งก็ทำทุกอย่างที่จะช่วยข้าพเจ้า ถ้า หากข้าพเจ้าไม่มีความก้าวหน้า ก็เป็นสาเหตุมาจากตัวข้าพเจ้าเอง"
จากรายงานประจำปีของพระสังฆราชแปร์รอสระหว่างปี ค.ศ. 1930-1931 เราพบว่าวัดพิษณุโลก เป็นงานเริ่มต้นของการก่อตั้งมิสซังเชียงใหม่และเป็นประหนึ่งศูนย์กลางการทำงานแพร่ธรรมทางภาคเหนือของประเทศเป็นเวลาถึง 13 ปีทีเดียว ก่อนที่จะสามารถซื้อที่ดินและก่อตั้งวัดที่เชียงใหม่ได้สำเร็จ
“พฤติการณ์เด่นในปีนี้คือ เราได้ตั้งกลุ่มคริสตังใหม่ที่เชียงใหม่ ซึ่งอยู่เหนือกรุงเทพฯ ขึ้นไป 750 กิโลเมตร นานมาแล้วที่ข้าพเจ้าอยากให้ตั้งกลุ่มคริสตชนขึ้น เราเริ่มไปตั้งสำนักที่ พิษณุโลกได้ 13 ปีมาแล้ว อยู่เหนือกรุงเทพฯ ขึ้นไป 400 กิโลเมตร สำนักนี้กำลังเจริญขึ้นทีละ น้อย ปีนี้โอกาสอำนวย เราซื้อที่ดินใหม่ที่เชียงใหม่ เพื่อสร้างบ้านพักมิชชันนารีและโบสถ์ น้อย ตลอดจนโรงเรียนสำหรับนักเรียนชาย และโรงเรียนสำหรับนักเรียนหญิง โรงเรียนหญิงนี้กำลังก่อสร้างอยู่”
งานที่พิษณุโลกเป็นงานที่ท้าทายและน่าบุกเบิก แต่งานที่ต้องอาศัยพลกำลังกายและใจมากขึ้นก็คือ งานบุกเบิกที่เชียงใหม่ และภารกิจนี้จะตกแก่คุณพ่อนิโคลาสในเวลาต่อมา ที่พิษณุโลกนี้ คุณพ่อนิโคลาสและคุณพ่อมิราแบลได้ร่วมมือกันก่อสร้างวัดไม้หลังใหม่ขึ้นแทนวัดน้อยหลังเดิมซึ่งคุณพ่ออังเดร พลอยโรจนเสน ได้สร้างไว้ก่อน
“ส่วนคุณพ่อนิโคลาสก็รับมอบหมายให้ไปอยู่ประจำวัดพิษณุโลกกับคุณพ่อมิราแบล ทั้งสอง ท่านจึงช่วยกันรวบรวมคริสตังชาวจีน แล้วคุณพ่อมิราแบลตัดสินใจสร้างวัดใหม่แทนวัดน้อย หลังเดิมซึ่งคุณพ่ออังเดร พลอย โรจนเสน เคยสร้างไว้ก่อน”
เป็นที่น่าสังเกตว่า จากรายงานประจำปีของพระสังฆราชแปร์รอสปี ค.ศ. 1929 ท่านรายงานถึงศูนย์กลางของคณะที่กรุงปารีสว่า คุณพ่อมิราแบลได้เรียนภาษาจีนโดยไม่มีงานอะไรมารบกวน
“คุณพ่อมิราแบล (Mirabel) น้องสุดท้องของเราได้ไปทำงานแพร่ธรรมตลอดปีแรกกับพระสงฆ์ พื้นเมืององค์หนึ่ง ที่วัดทางเหนือของเทียบสังฆมณฑล คือที่พิษณุโลก ซึ่งมีแต่คริสตชนจีนคุณ พ่อได้เรียนภาษาจีนโดยไม่มีงานอะไรมารบกวน และในขณะเดียวกัน ยังได้เรียนรู้ภาษาไทย บ้างนิดหน่อย ซึ่งต่อไปจะได้เรียนรู้ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว”
นี่ก็แสดงว่า ภารกิจส่วนใหญ่ที่วัดพิษณุโลกนี้ตกอยู่ในความดูแลของคุณพ่อนิโคลาสเพราะคุณพ่อ มิราแบลเพิ่งเดินทางมาจากฝรั่งเศสและยังไม่สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาจีนได้ คุณพ่อมิราแบลก็ยอมรับ ว่าคุณพ่อนิโคลาสเป็นพระสงฆ์ที่มีใจร้อนรนมาก
“พระสังฆราชแปร์รอสส่งข้าพเจ้าไปพิษณุโลก... ข้าพเจ้าขอให้พระสังฆราชแปร์รอสส่งมิชชันนารีที่มีประสบการณ์แล้วมาช่วยข้าพเจ้า พระสังฆราชแปร์รอสตอบว่ายังไม่มีข้าพเจ้าจึง เสนอท่าน ขอให้ส่งพระสงฆ์ไทยองค์หนึ่งมาแทนข้าพเจ้าที่พิษณุโลกเพื่อข้าพเจ้าจะได้สามารถ บุกเบิกต่อไป แต่ขอคุณพ่อนิโกเลา (พระสงฆ์ไทย) มาช่วยเพราะท่านมีใจร้อนรนมาก”
CR. : http://www.catholic.or.th/archive/nicol ... /nic3.html
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพิษณุโลก
ความใจกว้างของคุณพ่อนิโคลาสยังปรากฏให้เห็นอีก เมื่อท่านได้รับมอบหมายให้ไปช่วยสอน ภาษาไทยแก่คุณพ่อมิราแบลซึ่งเพิ่งจะเดินทางมาถึงประเทศไทย เวลาเดียวกัน ท่านยังต้องเรียนภาษาจีนแคะและทำหน้าที่อภิบาลสัตบุรุษด้วย
ที่นี่เอง ท่านไม่ได้ทำหน้าที่สอนภาษาไทยแก่คุณพ่อมิราแบลดีเท่าที่ควร เพราะต้องรับภาระมากมายหลายอย่าง จนทำให้คุณพ่อมิราแบลรู้สึกไม่พอใจ นอกจากนี้คุณพ่อนิโคลาสยังได้อธิบายเหตุผลต่อพระสังฆราชแปร์รอสในจดหมายของท่านว่า ท่านไม่สามารถสอนภาษาไทยให้แก่คุณพ่อมิราแบลได้ดีนัก เพราะปัญหาในเรื่องการสื่อสาร และนอกเหนือจากงานอภิบาลที่วัดแล้ว ท่านยังต้องรับหน้าที่สอนคำสอนให้แก่ คริสตังในวันอาทิตย์และสอนหนังสือให้แก่เด็กๆ อีกด้วย
“ข้าพเจ้าเห็นว่าตราบใดที่คุณพ่อบอนิฟาสอยู่ที่นั่น คุณพ่อนิโคลาสก็จะไม่ว่าง ข้าพเจ้าต้องฝึก หัดเพียงคนเดียวอยู่เสมอ ข้าพเจ้าต้องเสียเวลา ข้าพเจ้าเคยอยู่ด้วยในเวลาที่คริสตังจีนแคะ สอนบทเรียนต่างๆ ให้แก่คุณพ่อนิโคลาส หนึ่งหรือสองครั้ง การสอนอธิบายเป็นภาษาไทย ซึ่ง ข้าพเจ้าไม่เพียงแต่ไม่เข้าใจเท่านั้น แต่ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างภาษาไทยและภาษาจีนออก ทำให้ข้าพเจ้าสับสน ข้าพเจ้าได้ขอคำอธิบายจากคุณพ่อนิโคลาส”
“เวลานี้คุณพ่อมิราแบลเรียนภาษาไทย เนื่องจากไม่มีซินแส ข้าพเจ้าจึงไม่สามารถสอนท่านได้ ดีเพราะข้าพเจ้ายังไม่สามารถออกสำเนียงได้อย่างถูกต้อง ส่วนข้าพเจ้าได้เรียกเด็กชายคน หนึ่งมาสอนข้าพเจ้าเวลากลางคืน เวลากลางวันนั้น เขาไม่สามารถมาสอนได้เพราะต้องไปเรียนหนังสือทุกวัน”
แต่ถึงกระนั้นคุณพ่อมิราแบลก็ยังกล่าวชมคุณพ่อนิโคลาสว่าเป็นคนกระตือรือร้น ใจดี ศรัทธา ขยัน ขันแข็งในการทำงาน แม้ว่าจะชอบทำตามลำพังโดยไม่ปรึกษาหารือท่านเลยก็ตาม
"คุณพ่อนิโคลาสเป็นคนที่เปี่ยมไปด้วยความกระตือรือร้นและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่... มันจะ เป็นการดีกว่า ถ้าอย่างน้อยเป็นเวลา 1 ปี และเลยกำหนดเวลาที่พระคุณเจ้าต้องการ คุณพ่อ นิโคลาสจัดการทุกอย่างโดยมิได้ปรึกษาข้าพเจ้าเลย ไม่สนใจข้าพเจ้า และเขาตกลงเรื่องเหล่า นั้นโดยตรงกับพระคุณเจ้า ข้าพเจ้าต้องการให้เขาเป็นอิสระจากข้าพเจ้า และข้าพเจ้าไม่มี อะไรมากไปกว่าต้องการอยู่ในที่ที่แท้จริงของข้าพเจ้า... ข้าพเจ้าไม่ได้ต้องการให้ความชื่นชมของ พระคุณเจ้าที่มีต่อคุณพ่อนิโคลาสลดน้อยลง เพราะเหตุว่าข้าพเจ้ามิได้มีความชื่นชม คุณพ่อนิโคลาสเพิ่มทวีขึ้น ข้าพเจ้าชื่นชมความศรัทธาของเขา , ความกระตือรือร้น , ความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ , ความร้อนรนในการทำงานของเขา เป็นต้น... อีกครั้งหนึ่ง คือข้าพเจ้าเองที่ต้องปรับปรุงตัวเอง"
แต่จากจดหมายของคุณพ่อมิราแบลที่เขียนในเดือนเมษายนต่อมานั้น คุณพ่อมิราแบลได้เล่าว่าการเรียนภาษาจีนของคุณพ่อนิโคลาสก้าวหน้ามาก รวมทั้งยังได้ช่วยแบ่งเบาภาระและให้ความช่วยเหลือแก่คุณพ่อมิราแบลเป็นอย่างดีอีกด้วย
"คุณพ่อนิโคลาสเป็นผู้คงแก่เรียนคนหนึ่ง มีความก้าวหน้าในการเรียนภาษาจีนเป็นอย่างมาก และนอกจากนี้ เขามีซินแสจีนคนหนึ่งซึ่งข้าพเจ้าไม่รู้ว่ามาจากไหน ได้มาหาเรา ข้าพเจ้าไม่รู้ ด้วยซ้ำว่าเขาต้องการอะไร ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะให้เขาทำอะไรได้บ้าง แต่ว่าเวลานี้เขาก็สามารถที่จะเป็นผู้ให้บทเรียนภาษาจีนแก่เรา คุณพ่อนิโคลาสเวลานี้ได้เรียนรู้ภาษาจีนมากทีเดียว และรู้สึกว่าเขาเองก็พอใจ เขาก็ได้ช่วยข้าพเจ้าด้วยเหมือนกัน ซึ่งก็ทำทุกอย่างที่จะช่วยข้าพเจ้า ถ้า หากข้าพเจ้าไม่มีความก้าวหน้า ก็เป็นสาเหตุมาจากตัวข้าพเจ้าเอง"
จากรายงานประจำปีของพระสังฆราชแปร์รอสระหว่างปี ค.ศ. 1930-1931 เราพบว่าวัดพิษณุโลก เป็นงานเริ่มต้นของการก่อตั้งมิสซังเชียงใหม่และเป็นประหนึ่งศูนย์กลางการทำงานแพร่ธรรมทางภาคเหนือของประเทศเป็นเวลาถึง 13 ปีทีเดียว ก่อนที่จะสามารถซื้อที่ดินและก่อตั้งวัดที่เชียงใหม่ได้สำเร็จ
“พฤติการณ์เด่นในปีนี้คือ เราได้ตั้งกลุ่มคริสตังใหม่ที่เชียงใหม่ ซึ่งอยู่เหนือกรุงเทพฯ ขึ้นไป 750 กิโลเมตร นานมาแล้วที่ข้าพเจ้าอยากให้ตั้งกลุ่มคริสตชนขึ้น เราเริ่มไปตั้งสำนักที่ พิษณุโลกได้ 13 ปีมาแล้ว อยู่เหนือกรุงเทพฯ ขึ้นไป 400 กิโลเมตร สำนักนี้กำลังเจริญขึ้นทีละ น้อย ปีนี้โอกาสอำนวย เราซื้อที่ดินใหม่ที่เชียงใหม่ เพื่อสร้างบ้านพักมิชชันนารีและโบสถ์ น้อย ตลอดจนโรงเรียนสำหรับนักเรียนชาย และโรงเรียนสำหรับนักเรียนหญิง โรงเรียนหญิงนี้กำลังก่อสร้างอยู่”
งานที่พิษณุโลกเป็นงานที่ท้าทายและน่าบุกเบิก แต่งานที่ต้องอาศัยพลกำลังกายและใจมากขึ้นก็คือ งานบุกเบิกที่เชียงใหม่ และภารกิจนี้จะตกแก่คุณพ่อนิโคลาสในเวลาต่อมา ที่พิษณุโลกนี้ คุณพ่อนิโคลาสและคุณพ่อมิราแบลได้ร่วมมือกันก่อสร้างวัดไม้หลังใหม่ขึ้นแทนวัดน้อยหลังเดิมซึ่งคุณพ่ออังเดร พลอยโรจนเสน ได้สร้างไว้ก่อน
“ส่วนคุณพ่อนิโคลาสก็รับมอบหมายให้ไปอยู่ประจำวัดพิษณุโลกกับคุณพ่อมิราแบล ทั้งสอง ท่านจึงช่วยกันรวบรวมคริสตังชาวจีน แล้วคุณพ่อมิราแบลตัดสินใจสร้างวัดใหม่แทนวัดน้อย หลังเดิมซึ่งคุณพ่ออังเดร พลอย โรจนเสน เคยสร้างไว้ก่อน”
เป็นที่น่าสังเกตว่า จากรายงานประจำปีของพระสังฆราชแปร์รอสปี ค.ศ. 1929 ท่านรายงานถึงศูนย์กลางของคณะที่กรุงปารีสว่า คุณพ่อมิราแบลได้เรียนภาษาจีนโดยไม่มีงานอะไรมารบกวน
“คุณพ่อมิราแบล (Mirabel) น้องสุดท้องของเราได้ไปทำงานแพร่ธรรมตลอดปีแรกกับพระสงฆ์ พื้นเมืององค์หนึ่ง ที่วัดทางเหนือของเทียบสังฆมณฑล คือที่พิษณุโลก ซึ่งมีแต่คริสตชนจีนคุณ พ่อได้เรียนภาษาจีนโดยไม่มีงานอะไรมารบกวน และในขณะเดียวกัน ยังได้เรียนรู้ภาษาไทย บ้างนิดหน่อย ซึ่งต่อไปจะได้เรียนรู้ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว”
นี่ก็แสดงว่า ภารกิจส่วนใหญ่ที่วัดพิษณุโลกนี้ตกอยู่ในความดูแลของคุณพ่อนิโคลาสเพราะคุณพ่อ มิราแบลเพิ่งเดินทางมาจากฝรั่งเศสและยังไม่สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาจีนได้ คุณพ่อมิราแบลก็ยอมรับ ว่าคุณพ่อนิโคลาสเป็นพระสงฆ์ที่มีใจร้อนรนมาก
“พระสังฆราชแปร์รอสส่งข้าพเจ้าไปพิษณุโลก... ข้าพเจ้าขอให้พระสังฆราชแปร์รอสส่งมิชชันนารีที่มีประสบการณ์แล้วมาช่วยข้าพเจ้า พระสังฆราชแปร์รอสตอบว่ายังไม่มีข้าพเจ้าจึง เสนอท่าน ขอให้ส่งพระสงฆ์ไทยองค์หนึ่งมาแทนข้าพเจ้าที่พิษณุโลกเพื่อข้าพเจ้าจะได้สามารถ บุกเบิกต่อไป แต่ขอคุณพ่อนิโกเลา (พระสงฆ์ไทย) มาช่วยเพราะท่านมีใจร้อนรนมาก”
CR. : http://www.catholic.or.th/archive/nicol ... /nic3.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
งานแพร่ธรรมทางภาคเหนือของประเทศไทย
ปี ค.ศ. 1930 คุณพ่อมิราแบลเริ่มขยายงานทางภาคเหนือ ท่านขอพระสังฆราชแปร์รอสให้ส่ง พระสงฆ์องค์หนึ่งไปแทนท่านที่พิษณุโลก และขอให้คุณพ่อนิโคลาสไปทำงานร่วมกับท่านที่เชียงใหม่แต่งานนี้ไปเริ่มกันที่จังหวัดลำปาง คุณพ่อมิราแบลขอให้คุณพ่อนิโคลาสประจำอยู่ที่ลำปาง ส่วนตัวท่านเองขึ้นไปเชียงใหม่ ที่ลำปางคุณพ่อนิโคลาสพยายามติดตามพวกคริสตังที่ทิ้งวัดให้กลับมาเข้าวัด งานนี้เป็นงานที่ลำบากและประสบความสำเร็จยาก แต่เป็นงานที่ได้บุญมาก
“ที่ลำปาง คุณพ่อนิโกเลาพยายามตามหาแกะที่หลงทางจำนวนหนึ่งกลับเข้าคอก งานนี้เป็นงานที่ยากลำบากและมีผลยาก แต่ก็ยิ่งมีบุญมาก กลุ่มคริสตังใหญ่ 2 แห่งทางภาคเหนือนี้ นับเป็นแหล่งงานใหม่ที่เปิดให้ทำการแพร่ธรรมและเชิญชวนให้บุกเบิก ให้เราภาวนาขอเจ้าของนาเถิด เพราะการที่จะเก็บเกี่ยวได้มากนั้น ย่อมสุดแต่พระองค์ท่านจะโปรด”
คุณพ่อวิกตอร์ ลารเก ผู้ติดตามหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับคุณพ่อนิโคลาส ยังได้กล่าวไว้ด้วยว่าในปี ค.ศ. 1930 นี้เอง คุณพ่อนิโคลาสได้สร้างวัดน้อยหลังแรกขึ้น นี่แสดงว่างานที่ยากลำบากและมีผลยากนี้ คุณพ่อนิโคลาสไม่เคยท้อถอยเลย และมุ่งมั่นพยายามจนบังเกิดผล
วันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1931 คุณพ่อมิราแบลได้ขอให้พระสังฆราชแปร์รอสส่งพระสงฆ์องค์หนึ่ง ไปอยู่กับคุณพ่อนิโคลาสที่ลำปาง เพื่อคุณพ่อนิโคลาสจะได้สามารถมาช่วยงานบุกเบิกที่เชียงใหม่กับท่าน ได้อย่างเต็มที่
“ข้าพเจ้าเชื่อในขณะนี้ว่า เราจะเกิดผลสำเร็จในการทำงานชิ้นใหญ่นี้ในสถานที่ซึ่งเต็มไปด้วยความหวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าพระคุณเจ้าจะส่งพระสงฆ์บางองค์มาที่ลำปางกับคุณพ่อนิโคลาส เหมือนที่ข้าพเจ้าได้แสดงความปรารถนากับท่านไปแล้ว อีกอย่างหนึ่งจำเป็นจะต้องให้พระสงฆ์ที่มาทำหน้าที่แทนคุณพ่อนิโคลาส เพื่อให้คุณพ่อนิโคลาสมาช่วยงานของข้าพเจ้าเพื่อข้าพเจ้าจะสามารถให้คุณพ่อนิโคลาสทำงานที่นี่หรือที่อื่นตามแต่สภาพแวดล้อม และความจำเป็น”
และวันที่ 18 มกราคมปีเดียวกัน คุณพ่อมิราแบลและคุณพ่อนิโคลาสก็เข้าประจำอยู่บนที่ดินซึ่งคุณพ่อมิราแบลได้ซื้อไว้ที่เชียงใหม่ เป็นอันว่างานบุกเบิกที่เชียงใหม่ได้ลงหลักปักฐานแล้ว
งานแพร่ธรรมที่เชียงใหม่นี้ดำเนินไปด้วยดีด้วยความร่วมมือจากคณะนักบวชหญิงพื้นเมือง ภคินีคณะอุร์สุลิน และภราดาคณะเซนต์คาเบรียล ที่ไปเปิดโรงเรียน 3 แห่งขึ้น คุณพ่อมิราแบลพยายามทุกวิถีทางที่จะขยายงานต่อไป อันที่จริง คุณพ่อมิราแบลได้ขออนุญาตกลับประเทศฝรั่งเศสเพื่อไปเป็นฤาษีที่คอนแวนต์ เดอ ชาร์เตรอซ (Couvent de Chartreux) แต่ในที่สุดการตัดสินใจจากกรุงปารีสก็ทำให้ท่านยินยอมอยู่ทำงานนี้ต่อไปอีก 3 ปี
คุณพ่อมิราแบลรายงานไปยังกรุงปารีสเพื่อขอความสนับสนุนทั้งทางด้านบุคลากรและการเงิน รวมทั้งได้ชี้แจงให้เห็นว่า นอกเหนือจากเชียงใหม่และลำปางแล้ว สถานที่ซึ่งน่าสนใจมากในการขยายงานแพร่ธรรมทางภาคเหนือนี้คือ เชียงราย , หลวงพระบาง และแคว้นฉานนอกจากนี้ยังมีงานที่สามารถแพร่ธรรม ได้กับพวกชาวเขาเผ่าต่างๆ ในภาคเหนือนี้อีกด้วย และนี่เป็นที่มาของข้อเสนอของคุณพ่อมิราแบลที่จะเดินทางเข้าไปสำรวจในป่า และติดต่อกับกลุ่มคนเหล่านี้เป็นครั้งแรก
หลังจากเชียงใหม่และลำปาง เมืองหนึ่งที่น่าสนใจที่สุดทางภาคเหนือคือเชียงรายอย่าง แน่นอน เชี่อมต่อจากลำปางด้วยถนนที่สวยงามสายหนึ่งซึ่งมีระยะทาง 250 กิโลเมตร จากเมืองนี้การติดต่อจะทำได้ง่ายกับหลวงพระบางและมิสซังอิตาเลียนของรัฐฉาน(แคว้นฉาน)…”
“พวกอเมริกันโปรเตสตันท์ซึ่งได้เข้าไป (เผยแพร่ศาสนา) ในชนบท ไม่สนใจชนชาติอื่นเลย นอกจากพวกคนลาวเพียงกลุ่มเดียว และได้ปล่อยปละละเลยพวกชาวป่าชาวเขาต่างๆ อันได้แก่ พวกฉาน , กะเหรี่ยง , มูเซอ , ขมุ ซึ่งดูเหมือนเป็นพวกที่น่าสนใจในเวลานี้ ข้าพเจ้าหวังจะมีโอกาสสักเล็กน้อยเพื่อเดินทางไปสำรวจในป่าเหล่านี้ เพื่อดูให้แน่ชัดและทำการติดต่อเป็นครั้งแรก...
“ด้วยความไว้วางใจอย่างเต็มเปี่ยมในพระญาณสอดส่องของพระเป็นเจ้า ผู้แทนพระสันตะปาปาของกรุงเทพฯ ไม่ลังเลใจที่จะรับภาระเพื่อเดินหน้าต่อไป และไม่ยอมที่จะเสียโอกาสที่เอื้ออำนวย ให้เราขอพระพรเพื่อให้ความช่วยเหลือต่างๆ มาถึงโดยไม่ล่าช้า และเพื่อสิ่งต่างๆ ที่ได้ทำมาแล้วและสิ่งที่จะทำต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้”
คุณพ่อนิโคลาสได้ร่วมงานแพร่ธรรมกับคุณพ่อมิราแบลอย่างใกล้ชิด ตามที่คุณพ่อมิราแบลมีความประสงค์มาตั้งแต่แรกที่เมืองน่านคุณพ่อมิราแบลและคุณพ่อนิโคลาสได้เดินทางไปสำรวจลู่ทางการประกาศพระศาสนา พร้อมทั้งดูความเป็นไปของพวกโปรเตสตันท์ที่นั่น คุณพ่อนิโคลาสได้พบคริสตชนบางคน ท่านจึงอยู่สอนคำสอนและเตรียมเด็กๆ บางคนที่จะรับศีลล้างบาปและศีลมหาสนิทครั้งแรก โดยให้คุณพ่อมิราแบลกลับเชียงใหม่โดยลำพัง
“ในจดหมายของพระคุณเจ้า ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พระคุณเจ้าได้ถามข้าพเจ้าถึงเรื่องการเดินทางไปเมืองน่านที่ข้าพเจ้าได้ไปมาแล้ว มันเป็นการเดินทางที่ดีมาก ข้าพเจ้าเดินทางไป โดยมีคุณพ่อนิโคลาสเป็นเพื่อนเดินทาง การเดินทางใช้เวลารวดเร็วในฤดูแล้ง เมื่อเทียบกับฤดูอื่นคือใช้เวลา 8-9 ชั่วโมง โดยรถบัสจากเด่นชัย ในระหว่างฤดูฝนไม่สามารถเดินทางโดยรถบัสได้ เพราะ 2 ใน 3 ของเส้นทางเต็มไปด้วยน้ำ
เราได้พักแรมที่บ้านครูโลอา (Loha) หัวหน้าหมู่บ้าน เริ่มพักที่บ้านพักของทางราชการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน มาถึงเย็นวันพุธ ข้าพเจ้าได้ออกเดินทางต่อไปในเช้าวันศุกร์ แต่คุณพ่อนิโคลาสยังคงพักอยู่ต่อไปอีก 2-3 วัน หรือมากกว่านั้น เพื่อทำการสอนคำสอนพวกคริสตังบางคนซึ่งพบที่นั่นและเพื่อเตรียมเด็กๆ บางคนที่รับศีลล้างบาปและศีลมหาสนิทครั้งแรก”
เราพบว่าในปี ค.ศ. 1931-1932 นี้เองคุณพ่อมิราแบลและคุณพ่อนิโคลาสได้ร่วมเดินทางไปประกาศศาสนาทางภาคเหนือหลายแห่งด้วยกัน ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1932 คุณพ่อนิโคลาสเดินทางมาที่เวียงป่าเป้าเป็นครั้งแรก มีผู้สมัครเรียนคำสอน 12 ครอบครัว คุณพ่อนิโคลาส ได้สอนคำสอนให้แก่ครอบครัวเหล่านี้ และเวลาต่อมาก็มีผู้สมัครเรียนเพิ่มขึ้นอีกหลายครอบครัว โดยใช้บ้านของคริสตังผู้หนึ่งเป็นวัดชั่วคราวในช่วงระยะเวลาที่อยู่เวียงป่าเป้านี้เอง คุณพ่อนิโคลาส ได้มีโอกาสไปที่เมืองพานจังหวัดเชียงราย ทุกคืนคุณพ่อได้สอนคำสอนและมีการถวายบูชามิสซาวัดแม่ริมต้องนับเป็นวัดแรกต่อจากวัดที่เชียงใหม่ซึ่งคุณพ่อมิราแบลและคุณพ่อนิโคลาสได้ขยายงานแพร่ธรรมออกไป จากนั้นก็ต่อไปยังเชียงดาว คุณพ่อทั้งสองได้สร้างวัดเล็กๆ ขึ้นที่นั่นด้วย
ตลอดระยะเวลา 2 ปีแรกที่เชียงใหม่ คุณพ่อทั้งสองได้ทำงานอย่างหนัก เดินทางอยู่ตลอดเวลา คุณพ่อนิโคลาสพยายามติดตามงานและหาครูคำสอนเพื่อไปสานงานต่อจากที่ท่านได้ทำไว้ตามสถานที่ต่างๆ คุณพ่อนิโคลาสเขียนจดหมายถึงพระสังฆราชแปร์รอส ลงวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1932 ว่า
“ทุกวันลูกอยู่สบายดี ทุกวันก็ไปแปลคำสอนตามบ้าน มีอยู่ 7-8 บ้านเป็นต้น จะได้การทุกบ้านหรือ ยังเอาแน่ไม่ได้ เวลานี้ได้ใช้ซินแสไปเทศนาที่เมืองพานและเชียงราย ราว 2-3 อาทิตย์จะกลับ ถ้าได้การ คราวหลังจะใช้ไปอีก"
ในระหว่างนี้ คุณพ่อมิราแบลและคุณพ่อนิโคลาสก็จัดเตรียมการเพื่อออกเดินทางไปสำรวจเส้นทางทางภาคเหนือตามที่คุณพ่อมิราแบลเคยเสนอเอาไว้ นั่นคือ เส้นทางเชียงใหม่ แม่สะเรียง-ผาปูน-ร่างกุ้ง-มัณฑะเล กลับทางเชียงตุง-เชียงราย-ลำปาง ซึ่งใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 6 อาทิตย์
“จะออกเดินทางวันที่ 7 ไปแม่สะเรียง ผาปูน ร่างกุ้ง มัณฑะเล กลับทางเชียงตุง และลำปาง เห็นจะต้องกินเวลา 6 อาทิตย์”
การเดินทางสำรวจเส้นทางครั้งนี้ ได้มีการเตรียมการไว้อย่างดี จากจดหมายของคุณพ่อนิโคลาสซึ่งเขียนจากอาสนวิหารเมืองร่างกุ้ง ประเทศพม่า ถึงพระสังฆราชแปร์รอส เพื่อรายงานการเดินทางครั้งนี้ เราพบว่ากลุ่มคริสตชนต่างๆ ในเขตประเทศพม่านั้น ได้รับทราบการเดินทางมาของคุณพ่อทั้งสองแล้ว พระสงฆ์ที่ประจำอยู่ตามที่ต่างๆ รวมทั้งที่ร่างกุ้งเอง ก็ได้ให้ความช่วยเหลือในระหว่างการเดินทางของคุณพ่อทั้งสองด้วย คุณพ่อนิโคลาสได้เล่าถึงรายละเอียดต่างๆ ที่ท่านได้พบในระหว่างการเดินทางครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความยากลำบากในการเดินทาง สภาพของกลุ่มคริสตชนต่างๆ การดำเนินงานทางศาสนาของพวกโปรเตสตันท์ และที่สำคัญก็คือ โอกาสในการประกาศศาสนาแก่ชนกลุ่มต่างๆที่ท่านได้พบ ในครั้งนี้ และเมื่อคุณพ่อนิโคลาสเดินทางกลับมาถึงลำปางแล้ว ยังได้เขียนรายงานต่ออีกฉบับหนึ่ง ท่านกล่าวว่า
"การเดินทางนี้ทำให้ลูกเปิดหูเปิดหน้าได้รับความรู้หลายอย่างเป็นต้นในการประกาศศาสนาของพระเจ้า"
เป็นที่น่าสังเกตว่า คุณพ่อนิโคลาสเป็นนักเขียนที่ดีมากคนหนึ่ง ท่านสามารถบรรยายทุกอย่างได้อย่างละเอียดลออ ท่านบันทึกการเดินทางของท่านไว้ และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นท่านยังได้จัดส่งบทความของท่านในชื่อว่า "จดหมายเหตุรายวัน การเยี่ยมมิสซังพม่า" ตีพิมพ์ในหนังสือ "สารสาสน์" ซึ่งเป็นนิตยสารของคาทอลิกในเวลานั้น บทความนี้มีความยาวมากและตีพิมพ์ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาถึง 4 เดือน นับจากเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1933 คุณพ่อนิโคลาสได้สรุปการเดินทางครั้งนี้ไว้อย่างน่าฟังว่า
"ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปโดยสวัสดิภาพที่สุด ด้วยพระมหากรุณานุภาพแห่งองค์พระเป็นเจ้า ผู้ทรงมหิทธิศักดาภินิหารล้นเลิศในสากลพิภพอันไพศาล ดลบันดาลให้เราสบสุขทุกทิวาราตรีตลอดขาไปและขากลับถ้วนทุกประการ"
อันแสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจในพระเป็นเจ้า งานเขียนของคุณพ่อนิโคลาสจึงเป็นเหมือนดั่งบทรำพึงถึงพระเมตตากรุณา และความยิ่งใหญ่แห่งความรักของพระเป็นเจ้าที่มีต่อตัวท่านเอง ซึ่งท่านก็ตั้งใจจะรับใช้พระองค์ในงานขยายพระอาณาจักรของพระองค์ต่อไป
จากรายงานนี้ทำให้พระสังฆราชแปร์รอสมีความยินดีและกระตือรือร้นในงานแพร่ธรรม ทางภาคเหนือมากขึ้น ท่านทราบว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่บรรดาชาวเขาเผ่าต่างๆ จะรับความเชื่อคาทอลิกดังที่เกิดขึ้นในพม่า ท่านจึงขอบุคลากรเพิ่มขึ้นเพื่อให้ความหวังนี้ประสบผลโดยเร็ว
การเดินทางไปเยี่ยมมิสซังพม่าครั้งนี้ นับว่ามาจากความกระตือรือร้นในการแพร่ธรรม สภาพต่างๆ ทางเชียงใหม่มีความคล้ายคลึงกับทางพม่ามาก ประชากรก็มาจากชาวเขา และมีการประกาศศาสนาของพวกมิชชันนารีโปรเตสตันท์อยู่ด้วย คุณพ่อมิราแบลและคุณพ่อนิโคลาสได้พบกับวิธีการในการประกาศศาสนา ผลที่ได้รับ และความสัมพันธ์กับพวกโปรเตสตันท์ เป็นประสบการณ์และความรู้ที่สามารถนำมาใช้ได้กับงานแพร่ธรรมทางภาคเหนือของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี
“ข้าพเจ้าได้ทำความรู้จักอย่างจริงจังกับมิสซังพม่า ได้เห็นการทำงานกับชาวเขาจำนวนมาก ซึ่งเหมือนกับที่เราทำที่เชียงใหม่ ได้เห็นวิธีการ ผลที่ได้รับ การติดต่อกับพวกโปรเตสตันท์ เป็นต้น ข้าพเจ้าจะบันทึกทุกสิ่งทุกอย่างอย่างละเอียดและส่งให้พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะเป็นประโยชน์มากสำหรับตัวข้าพเจ้าเอง”
ไม่นานนักหลังจากกลับจากพม่า คุณพ่อมิราแบลรายงานให้ทราบว่า คุณพ่อนิโคลาสจะออกเดินทางไปสำรวจตามชายแดนตอนเหนือของเชียงราย และยังสามารถเข้าไปในเขตเชียงตุง พร้อมทั้งสามารถสร้างบ้านพักในดินแดนนั้นได้ด้วยตามที่พระสังฆราชบอแนตตา (Bonetta) แห่งมิสซังพม่าได้ยินยอมอนุญาต แต่ก็จำเป็นที่จะต้องให้คุณพ่อวินเซนเต (วรงค์ สุขพัฒน์ , พระสงฆ์พื้นเมือง) เข้ามาทำหน้าที่แทนคุณพ่อนิโคลาสที่ลำปาง
ชีวิตของคุณพ่อนิโคลาสเป็นชีวิตแห่งการแพร่ธรรมโดยแท้ ท่านได้เดินทางเสมอ และจะมีคนขอให้ท่านไปช่วยเทศน์และเตรียมผู้ที่จะรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ วันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1933 คุณพ่อนิโคลาสและคุณพ่อวินเซนเตเดินทางไปที่จังหวัดน่าน และอยู่กับกลุ่มคริสตชนที่นั่นราว 2 อาทิตย์ จากนั้นในเดือนมิถุนายนก็ได้เดินทางไปช่วยคุณพ่อเอวเยน เล็ตแชร์ (เจ้าอาวาสวัดนครชัยศรี) เตรียมผู้ที่จะรับศีลกำลังก่อนเดินทาง ท่านได้ตระเตรียมงานที่ลำปางเรียบร้อยแล้ว ความเอาใจใส่ในงานอภิบาลเหล่านี้ จึงทำให้เป็นที่ประทับใจสำหรับผู้ที่ทำงานร่วมกับท่าน เรายังทราบด้วยว่าวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1933 คุณพ่อนิโคลาสและคุณพ่อเรอเน เมอนิเอร์ เดินทางไปที่แม่ริมเพื่อเผยแพร่ศาสนา โดยมีความหวังว่าจะได้รับผลสำเร็จตามที่หวัง แต่คุณพ่อเมอนิเอร์ได้กล่าวว่า ภายหลังที่มาถึงแม่ริมได้ 2-3 อาทิตย์แล้ว คุณพ่อนิโคลาสพยายามเรียกให้ผู้คนมารับฟังคำสอนของท่าน แต่บางครั้งพวกเขาก็ไม่มา จากนั้นคุณพ่อทั้งสองก็ได้เดินทางขึ้นไปทางเหนือเพื่อประกาศศาสนาต่อไป
“คุณพ่อนิโคลาสได้มาถึงเมื่อ 2-3 อาทิตย์ และเราได้ออกเดินทางเมื่อวานนี้เพื่อขึ้นเหนือถ้าพวกคริสตังตอบรับเสียงเรียกของคุณพ่อนิโคลาสที่เรียกซ้ำแล้วซ้ำเล่า พวกเขาก็สามารถได้รับความก้าวหน้าในคำสอนคริสตัง แต่พวกเขาค่อนข้างใจเย็นเฉยในบางครั้ง และไม่มาฟังพระวาจาของพระเป็นเจ้า”
ในระหว่างปี ค.ศ. 1933 คุณพ่อนิโคลาสได้ลงมากรุงเทพฯ และมีโอกาสมาช่วยงานอภิบาลแทนคุณพ่อปาสกัล (ฟิลิป ลิฟ , พระสงฆ์พื้นเมือง) ที่ล้มป่วยลงที่วัดบางเชือกหนังเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน และ ในปี ค.ศ. 1933 นี้ สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11 ได้ประกาศให้เป็นปีศักดิ์สิทธิ์ มอบพระคุณการุญครบบริบูรณ์ให้แก่คริสตังทั่วโลก
ภายใต้การดูแลเอาใจใส่ของคุณพ่อนิโคลาส คริสตังวัดบางเชือกหนังจึงได้รับพระคุณนี้ ท่านดูแล คริสตังที่นี่ในระยะเวลาอันสั้นก็ต้องกลับไปรับผิดชอบงานในเขตเชียงใหม่ตามเดิม
“ในปี ค.ศ. 1933 วัดบางเชือกหนังได้รับเกียรติที่มีคุณพ่อผู้ศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งคือ คุณพ่อนิโคลาส ชุนกิม กฤษบำรุง หรือ บุญเกิด กฤษบำรุง มาดูแลแทนคุณพ่อปาสกัล ประจวบ เหมาะกับในปี ค.ศ. 1933 นี้เอง สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11 ได้ประกาศให้เป็นปีศักดิ์สิทธิ์ มอบพระคุณการุญครบบริบูรณ์แก่คริสตังทั่วโลก...
คริสตังวัดบางเชือกหนังจึงได้รับพระคุณนี้ด้วยความเอาใจใส่ของคุณพ่อนิโคลาส แต่คุณพ่อนิโคลาสก็ไม่สามารถอยู่ดูแลวัดนี้ได้นานนัก เนื่องจากคุณพ่อต้องรับผิดชอบงานแพร่ธรรมทางเชียงใหม่และลำปาง”
เป็นที่แน่นอนว่าในระหว่างอยู่ที่เชียงใหม่นี้ คุณพ่อนิโคลาสได้ทำงานแพร่ธรรมตามที่ต่างๆ อยู่เสมอ ที่เวียงพร้าว , เชียงดาว , เวียงป่าเป้า , ลำปาง , น่าน , พิษณุโลก , เชียงราย และเชียงใหม่ในปี ค.ศ. 1934 คุณพ่อนิโคลาสร่วมกับบรรดาพี่น้องคาทอลิกที่ท่านได้บุกเบิกจนมีความก้าวหน้า ได้ร่วมมือกันก่อสร้างบ้านพัก วัดน้อย และโรงเรียนขึ้น เวลาเดียวกันพวกคริสตชนเหล่านี้ก็ให้ความช่วยเหลือในงานประกาศศาสนาของคุณพ่อด้วย นับเป็นกลุ่มคริสตชนที่มั่นคงกลุ่มหนึ่งซึ่งคุณพ่อนิโคลาสได้ก่อตั้งขึ้น
ปี ค.ศ. 1934 คุณพ่อเมอนิเอร์ถูกส่งมาช่วยงานที่เชียงใหม่และพักอยู่กับคุณพ่อมิราแบล นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คุณพ่อมิราแบลทยอยมอบงานให้แก่คุณพ่อเมอนิเอร์รับผิดชอบในการขยายงานแพร่ธรรมทางภาคเหนือ และคุณพ่อมิราแบลก็ลาออกจากมิสซังเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 1934 เดินทางกลับฝรั่งเศสเพื่อไปเป็นฤาษีตรัปปิสต์ (Trappiste) ตามความตั้งใจของท่าน
วันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1936 คุณพ่อนิโคลาสป่วยต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ กรุงเทพฯ อันเป็นผลมาจากความเคร่งเครียดกับการทำงาน วันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1936 นายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลได้บอกว่าท่านมีอาการน่าเป็นห่วง ต่อมาในวันที่ 23 ธันวาคม ท่านก็หายจากอาการป่วย ตามที่มีรายงานว่า
“คุณพ่อนิโคลาสได้ร่วมโต๊ะรับประทานอาหารที่อัสสัมชัญในวันนี้ หลังจากที่ได้รับศีลทาสุดท้ายมาเป็นเวลา 8 วัน นับเป็นการทำสถิติที่ไม่มีใครไม่ต้องการ”
CR. : http://www.catholic.or.th/archive/nicol ... /nic4.html
งานแพร่ธรรมทางภาคเหนือของประเทศไทย
ปี ค.ศ. 1930 คุณพ่อมิราแบลเริ่มขยายงานทางภาคเหนือ ท่านขอพระสังฆราชแปร์รอสให้ส่ง พระสงฆ์องค์หนึ่งไปแทนท่านที่พิษณุโลก และขอให้คุณพ่อนิโคลาสไปทำงานร่วมกับท่านที่เชียงใหม่แต่งานนี้ไปเริ่มกันที่จังหวัดลำปาง คุณพ่อมิราแบลขอให้คุณพ่อนิโคลาสประจำอยู่ที่ลำปาง ส่วนตัวท่านเองขึ้นไปเชียงใหม่ ที่ลำปางคุณพ่อนิโคลาสพยายามติดตามพวกคริสตังที่ทิ้งวัดให้กลับมาเข้าวัด งานนี้เป็นงานที่ลำบากและประสบความสำเร็จยาก แต่เป็นงานที่ได้บุญมาก
“ที่ลำปาง คุณพ่อนิโกเลาพยายามตามหาแกะที่หลงทางจำนวนหนึ่งกลับเข้าคอก งานนี้เป็นงานที่ยากลำบากและมีผลยาก แต่ก็ยิ่งมีบุญมาก กลุ่มคริสตังใหญ่ 2 แห่งทางภาคเหนือนี้ นับเป็นแหล่งงานใหม่ที่เปิดให้ทำการแพร่ธรรมและเชิญชวนให้บุกเบิก ให้เราภาวนาขอเจ้าของนาเถิด เพราะการที่จะเก็บเกี่ยวได้มากนั้น ย่อมสุดแต่พระองค์ท่านจะโปรด”
คุณพ่อวิกตอร์ ลารเก ผู้ติดตามหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับคุณพ่อนิโคลาส ยังได้กล่าวไว้ด้วยว่าในปี ค.ศ. 1930 นี้เอง คุณพ่อนิโคลาสได้สร้างวัดน้อยหลังแรกขึ้น นี่แสดงว่างานที่ยากลำบากและมีผลยากนี้ คุณพ่อนิโคลาสไม่เคยท้อถอยเลย และมุ่งมั่นพยายามจนบังเกิดผล
วันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1931 คุณพ่อมิราแบลได้ขอให้พระสังฆราชแปร์รอสส่งพระสงฆ์องค์หนึ่ง ไปอยู่กับคุณพ่อนิโคลาสที่ลำปาง เพื่อคุณพ่อนิโคลาสจะได้สามารถมาช่วยงานบุกเบิกที่เชียงใหม่กับท่าน ได้อย่างเต็มที่
“ข้าพเจ้าเชื่อในขณะนี้ว่า เราจะเกิดผลสำเร็จในการทำงานชิ้นใหญ่นี้ในสถานที่ซึ่งเต็มไปด้วยความหวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าพระคุณเจ้าจะส่งพระสงฆ์บางองค์มาที่ลำปางกับคุณพ่อนิโคลาส เหมือนที่ข้าพเจ้าได้แสดงความปรารถนากับท่านไปแล้ว อีกอย่างหนึ่งจำเป็นจะต้องให้พระสงฆ์ที่มาทำหน้าที่แทนคุณพ่อนิโคลาส เพื่อให้คุณพ่อนิโคลาสมาช่วยงานของข้าพเจ้าเพื่อข้าพเจ้าจะสามารถให้คุณพ่อนิโคลาสทำงานที่นี่หรือที่อื่นตามแต่สภาพแวดล้อม และความจำเป็น”
และวันที่ 18 มกราคมปีเดียวกัน คุณพ่อมิราแบลและคุณพ่อนิโคลาสก็เข้าประจำอยู่บนที่ดินซึ่งคุณพ่อมิราแบลได้ซื้อไว้ที่เชียงใหม่ เป็นอันว่างานบุกเบิกที่เชียงใหม่ได้ลงหลักปักฐานแล้ว
งานแพร่ธรรมที่เชียงใหม่นี้ดำเนินไปด้วยดีด้วยความร่วมมือจากคณะนักบวชหญิงพื้นเมือง ภคินีคณะอุร์สุลิน และภราดาคณะเซนต์คาเบรียล ที่ไปเปิดโรงเรียน 3 แห่งขึ้น คุณพ่อมิราแบลพยายามทุกวิถีทางที่จะขยายงานต่อไป อันที่จริง คุณพ่อมิราแบลได้ขออนุญาตกลับประเทศฝรั่งเศสเพื่อไปเป็นฤาษีที่คอนแวนต์ เดอ ชาร์เตรอซ (Couvent de Chartreux) แต่ในที่สุดการตัดสินใจจากกรุงปารีสก็ทำให้ท่านยินยอมอยู่ทำงานนี้ต่อไปอีก 3 ปี
คุณพ่อมิราแบลรายงานไปยังกรุงปารีสเพื่อขอความสนับสนุนทั้งทางด้านบุคลากรและการเงิน รวมทั้งได้ชี้แจงให้เห็นว่า นอกเหนือจากเชียงใหม่และลำปางแล้ว สถานที่ซึ่งน่าสนใจมากในการขยายงานแพร่ธรรมทางภาคเหนือนี้คือ เชียงราย , หลวงพระบาง และแคว้นฉานนอกจากนี้ยังมีงานที่สามารถแพร่ธรรม ได้กับพวกชาวเขาเผ่าต่างๆ ในภาคเหนือนี้อีกด้วย และนี่เป็นที่มาของข้อเสนอของคุณพ่อมิราแบลที่จะเดินทางเข้าไปสำรวจในป่า และติดต่อกับกลุ่มคนเหล่านี้เป็นครั้งแรก
หลังจากเชียงใหม่และลำปาง เมืองหนึ่งที่น่าสนใจที่สุดทางภาคเหนือคือเชียงรายอย่าง แน่นอน เชี่อมต่อจากลำปางด้วยถนนที่สวยงามสายหนึ่งซึ่งมีระยะทาง 250 กิโลเมตร จากเมืองนี้การติดต่อจะทำได้ง่ายกับหลวงพระบางและมิสซังอิตาเลียนของรัฐฉาน(แคว้นฉาน)…”
“พวกอเมริกันโปรเตสตันท์ซึ่งได้เข้าไป (เผยแพร่ศาสนา) ในชนบท ไม่สนใจชนชาติอื่นเลย นอกจากพวกคนลาวเพียงกลุ่มเดียว และได้ปล่อยปละละเลยพวกชาวป่าชาวเขาต่างๆ อันได้แก่ พวกฉาน , กะเหรี่ยง , มูเซอ , ขมุ ซึ่งดูเหมือนเป็นพวกที่น่าสนใจในเวลานี้ ข้าพเจ้าหวังจะมีโอกาสสักเล็กน้อยเพื่อเดินทางไปสำรวจในป่าเหล่านี้ เพื่อดูให้แน่ชัดและทำการติดต่อเป็นครั้งแรก...
“ด้วยความไว้วางใจอย่างเต็มเปี่ยมในพระญาณสอดส่องของพระเป็นเจ้า ผู้แทนพระสันตะปาปาของกรุงเทพฯ ไม่ลังเลใจที่จะรับภาระเพื่อเดินหน้าต่อไป และไม่ยอมที่จะเสียโอกาสที่เอื้ออำนวย ให้เราขอพระพรเพื่อให้ความช่วยเหลือต่างๆ มาถึงโดยไม่ล่าช้า และเพื่อสิ่งต่างๆ ที่ได้ทำมาแล้วและสิ่งที่จะทำต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้”
คุณพ่อนิโคลาสได้ร่วมงานแพร่ธรรมกับคุณพ่อมิราแบลอย่างใกล้ชิด ตามที่คุณพ่อมิราแบลมีความประสงค์มาตั้งแต่แรกที่เมืองน่านคุณพ่อมิราแบลและคุณพ่อนิโคลาสได้เดินทางไปสำรวจลู่ทางการประกาศพระศาสนา พร้อมทั้งดูความเป็นไปของพวกโปรเตสตันท์ที่นั่น คุณพ่อนิโคลาสได้พบคริสตชนบางคน ท่านจึงอยู่สอนคำสอนและเตรียมเด็กๆ บางคนที่จะรับศีลล้างบาปและศีลมหาสนิทครั้งแรก โดยให้คุณพ่อมิราแบลกลับเชียงใหม่โดยลำพัง
“ในจดหมายของพระคุณเจ้า ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พระคุณเจ้าได้ถามข้าพเจ้าถึงเรื่องการเดินทางไปเมืองน่านที่ข้าพเจ้าได้ไปมาแล้ว มันเป็นการเดินทางที่ดีมาก ข้าพเจ้าเดินทางไป โดยมีคุณพ่อนิโคลาสเป็นเพื่อนเดินทาง การเดินทางใช้เวลารวดเร็วในฤดูแล้ง เมื่อเทียบกับฤดูอื่นคือใช้เวลา 8-9 ชั่วโมง โดยรถบัสจากเด่นชัย ในระหว่างฤดูฝนไม่สามารถเดินทางโดยรถบัสได้ เพราะ 2 ใน 3 ของเส้นทางเต็มไปด้วยน้ำ
เราได้พักแรมที่บ้านครูโลอา (Loha) หัวหน้าหมู่บ้าน เริ่มพักที่บ้านพักของทางราชการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน มาถึงเย็นวันพุธ ข้าพเจ้าได้ออกเดินทางต่อไปในเช้าวันศุกร์ แต่คุณพ่อนิโคลาสยังคงพักอยู่ต่อไปอีก 2-3 วัน หรือมากกว่านั้น เพื่อทำการสอนคำสอนพวกคริสตังบางคนซึ่งพบที่นั่นและเพื่อเตรียมเด็กๆ บางคนที่รับศีลล้างบาปและศีลมหาสนิทครั้งแรก”
เราพบว่าในปี ค.ศ. 1931-1932 นี้เองคุณพ่อมิราแบลและคุณพ่อนิโคลาสได้ร่วมเดินทางไปประกาศศาสนาทางภาคเหนือหลายแห่งด้วยกัน ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1932 คุณพ่อนิโคลาสเดินทางมาที่เวียงป่าเป้าเป็นครั้งแรก มีผู้สมัครเรียนคำสอน 12 ครอบครัว คุณพ่อนิโคลาส ได้สอนคำสอนให้แก่ครอบครัวเหล่านี้ และเวลาต่อมาก็มีผู้สมัครเรียนเพิ่มขึ้นอีกหลายครอบครัว โดยใช้บ้านของคริสตังผู้หนึ่งเป็นวัดชั่วคราวในช่วงระยะเวลาที่อยู่เวียงป่าเป้านี้เอง คุณพ่อนิโคลาส ได้มีโอกาสไปที่เมืองพานจังหวัดเชียงราย ทุกคืนคุณพ่อได้สอนคำสอนและมีการถวายบูชามิสซาวัดแม่ริมต้องนับเป็นวัดแรกต่อจากวัดที่เชียงใหม่ซึ่งคุณพ่อมิราแบลและคุณพ่อนิโคลาสได้ขยายงานแพร่ธรรมออกไป จากนั้นก็ต่อไปยังเชียงดาว คุณพ่อทั้งสองได้สร้างวัดเล็กๆ ขึ้นที่นั่นด้วย
ตลอดระยะเวลา 2 ปีแรกที่เชียงใหม่ คุณพ่อทั้งสองได้ทำงานอย่างหนัก เดินทางอยู่ตลอดเวลา คุณพ่อนิโคลาสพยายามติดตามงานและหาครูคำสอนเพื่อไปสานงานต่อจากที่ท่านได้ทำไว้ตามสถานที่ต่างๆ คุณพ่อนิโคลาสเขียนจดหมายถึงพระสังฆราชแปร์รอส ลงวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1932 ว่า
“ทุกวันลูกอยู่สบายดี ทุกวันก็ไปแปลคำสอนตามบ้าน มีอยู่ 7-8 บ้านเป็นต้น จะได้การทุกบ้านหรือ ยังเอาแน่ไม่ได้ เวลานี้ได้ใช้ซินแสไปเทศนาที่เมืองพานและเชียงราย ราว 2-3 อาทิตย์จะกลับ ถ้าได้การ คราวหลังจะใช้ไปอีก"
ในระหว่างนี้ คุณพ่อมิราแบลและคุณพ่อนิโคลาสก็จัดเตรียมการเพื่อออกเดินทางไปสำรวจเส้นทางทางภาคเหนือตามที่คุณพ่อมิราแบลเคยเสนอเอาไว้ นั่นคือ เส้นทางเชียงใหม่ แม่สะเรียง-ผาปูน-ร่างกุ้ง-มัณฑะเล กลับทางเชียงตุง-เชียงราย-ลำปาง ซึ่งใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 6 อาทิตย์
“จะออกเดินทางวันที่ 7 ไปแม่สะเรียง ผาปูน ร่างกุ้ง มัณฑะเล กลับทางเชียงตุง และลำปาง เห็นจะต้องกินเวลา 6 อาทิตย์”
การเดินทางสำรวจเส้นทางครั้งนี้ ได้มีการเตรียมการไว้อย่างดี จากจดหมายของคุณพ่อนิโคลาสซึ่งเขียนจากอาสนวิหารเมืองร่างกุ้ง ประเทศพม่า ถึงพระสังฆราชแปร์รอส เพื่อรายงานการเดินทางครั้งนี้ เราพบว่ากลุ่มคริสตชนต่างๆ ในเขตประเทศพม่านั้น ได้รับทราบการเดินทางมาของคุณพ่อทั้งสองแล้ว พระสงฆ์ที่ประจำอยู่ตามที่ต่างๆ รวมทั้งที่ร่างกุ้งเอง ก็ได้ให้ความช่วยเหลือในระหว่างการเดินทางของคุณพ่อทั้งสองด้วย คุณพ่อนิโคลาสได้เล่าถึงรายละเอียดต่างๆ ที่ท่านได้พบในระหว่างการเดินทางครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความยากลำบากในการเดินทาง สภาพของกลุ่มคริสตชนต่างๆ การดำเนินงานทางศาสนาของพวกโปรเตสตันท์ และที่สำคัญก็คือ โอกาสในการประกาศศาสนาแก่ชนกลุ่มต่างๆที่ท่านได้พบ ในครั้งนี้ และเมื่อคุณพ่อนิโคลาสเดินทางกลับมาถึงลำปางแล้ว ยังได้เขียนรายงานต่ออีกฉบับหนึ่ง ท่านกล่าวว่า
"การเดินทางนี้ทำให้ลูกเปิดหูเปิดหน้าได้รับความรู้หลายอย่างเป็นต้นในการประกาศศาสนาของพระเจ้า"
เป็นที่น่าสังเกตว่า คุณพ่อนิโคลาสเป็นนักเขียนที่ดีมากคนหนึ่ง ท่านสามารถบรรยายทุกอย่างได้อย่างละเอียดลออ ท่านบันทึกการเดินทางของท่านไว้ และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นท่านยังได้จัดส่งบทความของท่านในชื่อว่า "จดหมายเหตุรายวัน การเยี่ยมมิสซังพม่า" ตีพิมพ์ในหนังสือ "สารสาสน์" ซึ่งเป็นนิตยสารของคาทอลิกในเวลานั้น บทความนี้มีความยาวมากและตีพิมพ์ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาถึง 4 เดือน นับจากเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1933 คุณพ่อนิโคลาสได้สรุปการเดินทางครั้งนี้ไว้อย่างน่าฟังว่า
"ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปโดยสวัสดิภาพที่สุด ด้วยพระมหากรุณานุภาพแห่งองค์พระเป็นเจ้า ผู้ทรงมหิทธิศักดาภินิหารล้นเลิศในสากลพิภพอันไพศาล ดลบันดาลให้เราสบสุขทุกทิวาราตรีตลอดขาไปและขากลับถ้วนทุกประการ"
อันแสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจในพระเป็นเจ้า งานเขียนของคุณพ่อนิโคลาสจึงเป็นเหมือนดั่งบทรำพึงถึงพระเมตตากรุณา และความยิ่งใหญ่แห่งความรักของพระเป็นเจ้าที่มีต่อตัวท่านเอง ซึ่งท่านก็ตั้งใจจะรับใช้พระองค์ในงานขยายพระอาณาจักรของพระองค์ต่อไป
จากรายงานนี้ทำให้พระสังฆราชแปร์รอสมีความยินดีและกระตือรือร้นในงานแพร่ธรรม ทางภาคเหนือมากขึ้น ท่านทราบว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่บรรดาชาวเขาเผ่าต่างๆ จะรับความเชื่อคาทอลิกดังที่เกิดขึ้นในพม่า ท่านจึงขอบุคลากรเพิ่มขึ้นเพื่อให้ความหวังนี้ประสบผลโดยเร็ว
การเดินทางไปเยี่ยมมิสซังพม่าครั้งนี้ นับว่ามาจากความกระตือรือร้นในการแพร่ธรรม สภาพต่างๆ ทางเชียงใหม่มีความคล้ายคลึงกับทางพม่ามาก ประชากรก็มาจากชาวเขา และมีการประกาศศาสนาของพวกมิชชันนารีโปรเตสตันท์อยู่ด้วย คุณพ่อมิราแบลและคุณพ่อนิโคลาสได้พบกับวิธีการในการประกาศศาสนา ผลที่ได้รับ และความสัมพันธ์กับพวกโปรเตสตันท์ เป็นประสบการณ์และความรู้ที่สามารถนำมาใช้ได้กับงานแพร่ธรรมทางภาคเหนือของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี
“ข้าพเจ้าได้ทำความรู้จักอย่างจริงจังกับมิสซังพม่า ได้เห็นการทำงานกับชาวเขาจำนวนมาก ซึ่งเหมือนกับที่เราทำที่เชียงใหม่ ได้เห็นวิธีการ ผลที่ได้รับ การติดต่อกับพวกโปรเตสตันท์ เป็นต้น ข้าพเจ้าจะบันทึกทุกสิ่งทุกอย่างอย่างละเอียดและส่งให้พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะเป็นประโยชน์มากสำหรับตัวข้าพเจ้าเอง”
ไม่นานนักหลังจากกลับจากพม่า คุณพ่อมิราแบลรายงานให้ทราบว่า คุณพ่อนิโคลาสจะออกเดินทางไปสำรวจตามชายแดนตอนเหนือของเชียงราย และยังสามารถเข้าไปในเขตเชียงตุง พร้อมทั้งสามารถสร้างบ้านพักในดินแดนนั้นได้ด้วยตามที่พระสังฆราชบอแนตตา (Bonetta) แห่งมิสซังพม่าได้ยินยอมอนุญาต แต่ก็จำเป็นที่จะต้องให้คุณพ่อวินเซนเต (วรงค์ สุขพัฒน์ , พระสงฆ์พื้นเมือง) เข้ามาทำหน้าที่แทนคุณพ่อนิโคลาสที่ลำปาง
ชีวิตของคุณพ่อนิโคลาสเป็นชีวิตแห่งการแพร่ธรรมโดยแท้ ท่านได้เดินทางเสมอ และจะมีคนขอให้ท่านไปช่วยเทศน์และเตรียมผู้ที่จะรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ วันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1933 คุณพ่อนิโคลาสและคุณพ่อวินเซนเตเดินทางไปที่จังหวัดน่าน และอยู่กับกลุ่มคริสตชนที่นั่นราว 2 อาทิตย์ จากนั้นในเดือนมิถุนายนก็ได้เดินทางไปช่วยคุณพ่อเอวเยน เล็ตแชร์ (เจ้าอาวาสวัดนครชัยศรี) เตรียมผู้ที่จะรับศีลกำลังก่อนเดินทาง ท่านได้ตระเตรียมงานที่ลำปางเรียบร้อยแล้ว ความเอาใจใส่ในงานอภิบาลเหล่านี้ จึงทำให้เป็นที่ประทับใจสำหรับผู้ที่ทำงานร่วมกับท่าน เรายังทราบด้วยว่าวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1933 คุณพ่อนิโคลาสและคุณพ่อเรอเน เมอนิเอร์ เดินทางไปที่แม่ริมเพื่อเผยแพร่ศาสนา โดยมีความหวังว่าจะได้รับผลสำเร็จตามที่หวัง แต่คุณพ่อเมอนิเอร์ได้กล่าวว่า ภายหลังที่มาถึงแม่ริมได้ 2-3 อาทิตย์แล้ว คุณพ่อนิโคลาสพยายามเรียกให้ผู้คนมารับฟังคำสอนของท่าน แต่บางครั้งพวกเขาก็ไม่มา จากนั้นคุณพ่อทั้งสองก็ได้เดินทางขึ้นไปทางเหนือเพื่อประกาศศาสนาต่อไป
“คุณพ่อนิโคลาสได้มาถึงเมื่อ 2-3 อาทิตย์ และเราได้ออกเดินทางเมื่อวานนี้เพื่อขึ้นเหนือถ้าพวกคริสตังตอบรับเสียงเรียกของคุณพ่อนิโคลาสที่เรียกซ้ำแล้วซ้ำเล่า พวกเขาก็สามารถได้รับความก้าวหน้าในคำสอนคริสตัง แต่พวกเขาค่อนข้างใจเย็นเฉยในบางครั้ง และไม่มาฟังพระวาจาของพระเป็นเจ้า”
ในระหว่างปี ค.ศ. 1933 คุณพ่อนิโคลาสได้ลงมากรุงเทพฯ และมีโอกาสมาช่วยงานอภิบาลแทนคุณพ่อปาสกัล (ฟิลิป ลิฟ , พระสงฆ์พื้นเมือง) ที่ล้มป่วยลงที่วัดบางเชือกหนังเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน และ ในปี ค.ศ. 1933 นี้ สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11 ได้ประกาศให้เป็นปีศักดิ์สิทธิ์ มอบพระคุณการุญครบบริบูรณ์ให้แก่คริสตังทั่วโลก
ภายใต้การดูแลเอาใจใส่ของคุณพ่อนิโคลาส คริสตังวัดบางเชือกหนังจึงได้รับพระคุณนี้ ท่านดูแล คริสตังที่นี่ในระยะเวลาอันสั้นก็ต้องกลับไปรับผิดชอบงานในเขตเชียงใหม่ตามเดิม
“ในปี ค.ศ. 1933 วัดบางเชือกหนังได้รับเกียรติที่มีคุณพ่อผู้ศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งคือ คุณพ่อนิโคลาส ชุนกิม กฤษบำรุง หรือ บุญเกิด กฤษบำรุง มาดูแลแทนคุณพ่อปาสกัล ประจวบ เหมาะกับในปี ค.ศ. 1933 นี้เอง สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11 ได้ประกาศให้เป็นปีศักดิ์สิทธิ์ มอบพระคุณการุญครบบริบูรณ์แก่คริสตังทั่วโลก...
คริสตังวัดบางเชือกหนังจึงได้รับพระคุณนี้ด้วยความเอาใจใส่ของคุณพ่อนิโคลาส แต่คุณพ่อนิโคลาสก็ไม่สามารถอยู่ดูแลวัดนี้ได้นานนัก เนื่องจากคุณพ่อต้องรับผิดชอบงานแพร่ธรรมทางเชียงใหม่และลำปาง”
เป็นที่แน่นอนว่าในระหว่างอยู่ที่เชียงใหม่นี้ คุณพ่อนิโคลาสได้ทำงานแพร่ธรรมตามที่ต่างๆ อยู่เสมอ ที่เวียงพร้าว , เชียงดาว , เวียงป่าเป้า , ลำปาง , น่าน , พิษณุโลก , เชียงราย และเชียงใหม่ในปี ค.ศ. 1934 คุณพ่อนิโคลาสร่วมกับบรรดาพี่น้องคาทอลิกที่ท่านได้บุกเบิกจนมีความก้าวหน้า ได้ร่วมมือกันก่อสร้างบ้านพัก วัดน้อย และโรงเรียนขึ้น เวลาเดียวกันพวกคริสตชนเหล่านี้ก็ให้ความช่วยเหลือในงานประกาศศาสนาของคุณพ่อด้วย นับเป็นกลุ่มคริสตชนที่มั่นคงกลุ่มหนึ่งซึ่งคุณพ่อนิโคลาสได้ก่อตั้งขึ้น
ปี ค.ศ. 1934 คุณพ่อเมอนิเอร์ถูกส่งมาช่วยงานที่เชียงใหม่และพักอยู่กับคุณพ่อมิราแบล นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คุณพ่อมิราแบลทยอยมอบงานให้แก่คุณพ่อเมอนิเอร์รับผิดชอบในการขยายงานแพร่ธรรมทางภาคเหนือ และคุณพ่อมิราแบลก็ลาออกจากมิสซังเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 1934 เดินทางกลับฝรั่งเศสเพื่อไปเป็นฤาษีตรัปปิสต์ (Trappiste) ตามความตั้งใจของท่าน
วันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1936 คุณพ่อนิโคลาสป่วยต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ กรุงเทพฯ อันเป็นผลมาจากความเคร่งเครียดกับการทำงาน วันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1936 นายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลได้บอกว่าท่านมีอาการน่าเป็นห่วง ต่อมาในวันที่ 23 ธันวาคม ท่านก็หายจากอาการป่วย ตามที่มีรายงานว่า
“คุณพ่อนิโคลาสได้ร่วมโต๊ะรับประทานอาหารที่อัสสัมชัญในวันนี้ หลังจากที่ได้รับศีลทาสุดท้ายมาเป็นเวลา 8 วัน นับเป็นการทำสถิติที่ไม่มีใครไม่ต้องการ”
CR. : http://www.catholic.or.th/archive/nicol ... /nic4.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
เจ้าอาวาสวัดโคราช และวัดโนนแก้ว
หลังจากหายป่วยแล้ว คุณพ่อนิโคลาสได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโคราชในระหว่างนี้ ได้มีโอกาสไปเทศน์เข้าเงียบให้แก่สัตบุรุษวัดบ้านหัน ซึ่งอยู่ไม่ไกลนักจากโคราชการเข้าเงียบสิ้นสุดลงในวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1937 ซึ่งเป็นวันฉลองนักบุญยอแซฟ และมีพิธีโปรดศีลมหาสนิทอย่างสง่าซึ่งมีคริสตชนถึง 74 คน ได้รับศีลนี้จากคริสตชนทั้งหมด 160 คนนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง
“คุณพ่อนิโคลาสซึ่งได้เทศน์เข้าเงียบให้กับคริสตังที่บ้านหัน ปิดท้ายด้วยการฉลองนักบุญ ยอแซฟ และมีพิธีโปรดศีลมหาสนิทอย่างสง่า มีคริสตังรับศีลมหาสนิททั้งหมด 74 คน จากจำนวนคริสตังทั้งหมด 160 คน นี่เป็นเรื่องที่วิเศษอย่างยิ่ง”
ที่วัดโคราช งานหลักของคุณพ่อนิโคลาสได้แก่ การสอนคำสอน และการตามหาลูกแกะที่หลงทางหรือพวกคริสตังที่ทิ้งวัด คุณพ่อให้ความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของคริสตังและอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถนำ คริสตังกลับมาเข้าวัด และให้ลูกหลานได้เรียนคำสอนคุณพ่อสังเกตว่า สาเหตุประการหนึ่งได้แก่ความยากจนของพวกคริสตัง ที่ทำให้พวกเขาต้องแยกย้ายกันไปหากินตามที่ต่างๆ เมื่ออยู่ห่างจากวัด พวกเขาก็ไม่มีโอกาสที่จะได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์ ฟังเทศน์หรือเรียนคำสอน ลูกหลานก็ถูกทิ้งให้อยู่กับคนต่างศาสนา ไม่มีโอกาสได้รับศีลล้างบาป เพราะได้รับการเลี้ยงดูจากคนต่างศาสนา ดังนั้นการกลับใจจึงเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะคนต่างศาสนาไม่ยอมให้ไปเรียนคำสอน คุณ พ่อเชื่อว่าผู้ที่ไม่ได้สวดภาวนา ก็ไม่ได้รับพระหรรษทานซึ่งพระเป็นเจ้าประทานให้แก่ผู้มีความไว้วางใจ หลังจากใช้เวลาพอสมควรคุณพ่อกล่าวว่า บัดนี้คุณพ่อมีผู้ที่เตรียมตัวรับศีลล้างบาปหลายคน แต่ยังไม่ล้างบาปให้เพราะความเชื่อยังไม่มั่นคงเพียงพอ
“จากภาคเหนือสุดของมิสซัง ให้เราหันมาดูทางภาคตะวันออกบ้าง คุณพ่อนิโคลาส ซึ่งเวลานี้ดูแลรับผิดชอบวัดที่โคราช เสริมข้อคิดเห็นต่างๆ ในรายงานของท่านซึ่งข้าพเจ้าได้แปลสรุปดังนี้ :
พวกคริสตังส่วนมากยากจน ด้วยเหตุนี้จึงกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ เพื่อหาเลี้ยงชีพ เมื่ออยู่ห่างจากวัด พวกเขาก็ขาดโอกาสที่จะรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ได้บ่อยครั้งทั้งยังไม่ได้ฟังการเทศน์และไม่ได้ฟังคำสอน พวกเขากลายเป็นคนเฉื่อยชาไปอย่างน่าอนาถ เมื่อพวกหญิงสาวไม่มีโอกาสได้แต่งงานกับหนุ่มคริสตัง ก็ไปอยู่กินกับคนต่างศาสนา; พวกเธอละอายไม่กล้ามาวัดสวดภาวนาหรือร่วมมิสซา; พวกลูกๆ ก็มิได้รับศีลล้างบาป และได้รับการเลี้ยงดูอย่างลูกคนต่างศาสนา คนเหล่านี้ที่อยู่กินกันอย่างไม่ถูกต้อง กลับใจยากมาก เพราะฝ่ายคนต่างศาสนาไม่ยอมมาเรียนคำสอนบางครั้งฝ่ายหญิงก็เป็นอุปสรรคเสียเองผมมีผู้เตรียมตัวรับศีลล้างบาปหลายคนซึ่งเรียนคำสอนมานานแล้วผมยังไม่กล้าโปรดศีลล้างบาปให้ เพราะผมยังไม่ค่อยแน่ใจในความมั่นคงของพวกเขาเพียงพอ”
คุณพ่อนิโคลาสเป็นพระสงฆ์ที่มีความสามารถในการเทศน์เป็นอย่างมาก ท่านได้รับเชิญไปเทศน์ตามที่ต่างๆ อยู่เสมอ เช่น วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1938 ท่านเป็นประธานในมหาบูชามิสซาฉลองวัดบ้านเล่า นครนายก ท่านเทศน์ได้อย่างน่าฟังจับใจ เป็นต้น
“เมื่อวันที่ 6 มกราคม ศกนี้ (1938) เป็นวันครบรอบของการฉลองวัดพระยาสามองค์ ตำบลบ้านเล่า... มหาบูชามิสซาใหญ่เริ่มเวลา 8:00 น. โดยคุณพ่อนิโคลาส เป็นผู้ประกอบพิธี ท่านได้เทศน์อย่างน่าฟังจับใจ...”
และนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1938 เป็นต้นมา คุณพ่อนิโคลาสได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลกลุ่มคริสตชนที่วัดโนนแก้วด้วย จากจดหมายที่ท่านเขียนถึงพระสังฆราชแปร์รอสหลายฉบับ ทั้งจากโคราชและโนนแก้ว แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ที่ท่านมีต่องานที่รับผิดชอบ นอกจากนี้ยังได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำที่ใช้ในบทภาวนาต่างๆ ของพระศาสนจักรในเวลานั้นอีกด้วย เรายังพบได้อีกว่า คุณพ่อนิโคลาสมีความห่วงใยต่อเพื่อนพระสงฆ์เสมอ และได้พยายามหาทางช่วยเหลืออย่างเต็มที่ให้หลุดพ้นจากหนี้สิน รวมทั้งให้กำลังใจอยู่เสมอๆ เท่าที่สามารถ และจากความเป็นห่วงเป็นใยทั้งพระสงฆ์และบรรดาคริสตชนที่ท่านมีอยู่ตลอดเวลานี้เอง ท่านก็ทำหน้าที่นี้จนกระทั่งถูกจับและถูกกล่าวหาว่า "เป็นแนวที่ 5 ของฝรั่งเศส" ในปี ค.ศ. 1941
CR. : http://www.catholic.or.th/archive/nicol ... /nic5.html
เจ้าอาวาสวัดโคราช และวัดโนนแก้ว
หลังจากหายป่วยแล้ว คุณพ่อนิโคลาสได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโคราชในระหว่างนี้ ได้มีโอกาสไปเทศน์เข้าเงียบให้แก่สัตบุรุษวัดบ้านหัน ซึ่งอยู่ไม่ไกลนักจากโคราชการเข้าเงียบสิ้นสุดลงในวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1937 ซึ่งเป็นวันฉลองนักบุญยอแซฟ และมีพิธีโปรดศีลมหาสนิทอย่างสง่าซึ่งมีคริสตชนถึง 74 คน ได้รับศีลนี้จากคริสตชนทั้งหมด 160 คนนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง
“คุณพ่อนิโคลาสซึ่งได้เทศน์เข้าเงียบให้กับคริสตังที่บ้านหัน ปิดท้ายด้วยการฉลองนักบุญ ยอแซฟ และมีพิธีโปรดศีลมหาสนิทอย่างสง่า มีคริสตังรับศีลมหาสนิททั้งหมด 74 คน จากจำนวนคริสตังทั้งหมด 160 คน นี่เป็นเรื่องที่วิเศษอย่างยิ่ง”
ที่วัดโคราช งานหลักของคุณพ่อนิโคลาสได้แก่ การสอนคำสอน และการตามหาลูกแกะที่หลงทางหรือพวกคริสตังที่ทิ้งวัด คุณพ่อให้ความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของคริสตังและอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถนำ คริสตังกลับมาเข้าวัด และให้ลูกหลานได้เรียนคำสอนคุณพ่อสังเกตว่า สาเหตุประการหนึ่งได้แก่ความยากจนของพวกคริสตัง ที่ทำให้พวกเขาต้องแยกย้ายกันไปหากินตามที่ต่างๆ เมื่ออยู่ห่างจากวัด พวกเขาก็ไม่มีโอกาสที่จะได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์ ฟังเทศน์หรือเรียนคำสอน ลูกหลานก็ถูกทิ้งให้อยู่กับคนต่างศาสนา ไม่มีโอกาสได้รับศีลล้างบาป เพราะได้รับการเลี้ยงดูจากคนต่างศาสนา ดังนั้นการกลับใจจึงเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะคนต่างศาสนาไม่ยอมให้ไปเรียนคำสอน คุณ พ่อเชื่อว่าผู้ที่ไม่ได้สวดภาวนา ก็ไม่ได้รับพระหรรษทานซึ่งพระเป็นเจ้าประทานให้แก่ผู้มีความไว้วางใจ หลังจากใช้เวลาพอสมควรคุณพ่อกล่าวว่า บัดนี้คุณพ่อมีผู้ที่เตรียมตัวรับศีลล้างบาปหลายคน แต่ยังไม่ล้างบาปให้เพราะความเชื่อยังไม่มั่นคงเพียงพอ
“จากภาคเหนือสุดของมิสซัง ให้เราหันมาดูทางภาคตะวันออกบ้าง คุณพ่อนิโคลาส ซึ่งเวลานี้ดูแลรับผิดชอบวัดที่โคราช เสริมข้อคิดเห็นต่างๆ ในรายงานของท่านซึ่งข้าพเจ้าได้แปลสรุปดังนี้ :
พวกคริสตังส่วนมากยากจน ด้วยเหตุนี้จึงกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ เพื่อหาเลี้ยงชีพ เมื่ออยู่ห่างจากวัด พวกเขาก็ขาดโอกาสที่จะรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ได้บ่อยครั้งทั้งยังไม่ได้ฟังการเทศน์และไม่ได้ฟังคำสอน พวกเขากลายเป็นคนเฉื่อยชาไปอย่างน่าอนาถ เมื่อพวกหญิงสาวไม่มีโอกาสได้แต่งงานกับหนุ่มคริสตัง ก็ไปอยู่กินกับคนต่างศาสนา; พวกเธอละอายไม่กล้ามาวัดสวดภาวนาหรือร่วมมิสซา; พวกลูกๆ ก็มิได้รับศีลล้างบาป และได้รับการเลี้ยงดูอย่างลูกคนต่างศาสนา คนเหล่านี้ที่อยู่กินกันอย่างไม่ถูกต้อง กลับใจยากมาก เพราะฝ่ายคนต่างศาสนาไม่ยอมมาเรียนคำสอนบางครั้งฝ่ายหญิงก็เป็นอุปสรรคเสียเองผมมีผู้เตรียมตัวรับศีลล้างบาปหลายคนซึ่งเรียนคำสอนมานานแล้วผมยังไม่กล้าโปรดศีลล้างบาปให้ เพราะผมยังไม่ค่อยแน่ใจในความมั่นคงของพวกเขาเพียงพอ”
คุณพ่อนิโคลาสเป็นพระสงฆ์ที่มีความสามารถในการเทศน์เป็นอย่างมาก ท่านได้รับเชิญไปเทศน์ตามที่ต่างๆ อยู่เสมอ เช่น วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1938 ท่านเป็นประธานในมหาบูชามิสซาฉลองวัดบ้านเล่า นครนายก ท่านเทศน์ได้อย่างน่าฟังจับใจ เป็นต้น
“เมื่อวันที่ 6 มกราคม ศกนี้ (1938) เป็นวันครบรอบของการฉลองวัดพระยาสามองค์ ตำบลบ้านเล่า... มหาบูชามิสซาใหญ่เริ่มเวลา 8:00 น. โดยคุณพ่อนิโคลาส เป็นผู้ประกอบพิธี ท่านได้เทศน์อย่างน่าฟังจับใจ...”
และนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1938 เป็นต้นมา คุณพ่อนิโคลาสได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลกลุ่มคริสตชนที่วัดโนนแก้วด้วย จากจดหมายที่ท่านเขียนถึงพระสังฆราชแปร์รอสหลายฉบับ ทั้งจากโคราชและโนนแก้ว แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ที่ท่านมีต่องานที่รับผิดชอบ นอกจากนี้ยังได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำที่ใช้ในบทภาวนาต่างๆ ของพระศาสนจักรในเวลานั้นอีกด้วย เรายังพบได้อีกว่า คุณพ่อนิโคลาสมีความห่วงใยต่อเพื่อนพระสงฆ์เสมอ และได้พยายามหาทางช่วยเหลืออย่างเต็มที่ให้หลุดพ้นจากหนี้สิน รวมทั้งให้กำลังใจอยู่เสมอๆ เท่าที่สามารถ และจากความเป็นห่วงเป็นใยทั้งพระสงฆ์และบรรดาคริสตชนที่ท่านมีอยู่ตลอดเวลานี้เอง ท่านก็ทำหน้าที่นี้จนกระทั่งถูกจับและถูกกล่าวหาว่า "เป็นแนวที่ 5 ของฝรั่งเศส" ในปี ค.ศ. 1941
CR. : http://www.catholic.or.th/archive/nicol ... /nic5.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
สถานการณ์ทางการเมืองและศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 (1868-1910)
อันที่จริง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศสมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว แต่ความสัมพันธ์นี้ได้เปลี่ยนแปลงไปในทางลบเรื่อยมา จนกระทั่งพระเพทราชาได้ปฏิวัติในปี ค.ศ. 1688 และขับไล่ชาวฝรั่งเศสออกจากประเทศไป พร้อมทั้งได้ทำการเบียดเบียนศาสนาคริสต์ซึ่งคนไทยถือว่าเป็นศาสนาของฝรั่งเศส
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส กลับแย่ลงไปกว่าเก่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
CR. : http://www.catholic.or.th/archive/nicol ... /nic6.html
สถานการณ์ทางการเมืองและศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 (1868-1910)
อันที่จริง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศสมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว แต่ความสัมพันธ์นี้ได้เปลี่ยนแปลงไปในทางลบเรื่อยมา จนกระทั่งพระเพทราชาได้ปฏิวัติในปี ค.ศ. 1688 และขับไล่ชาวฝรั่งเศสออกจากประเทศไป พร้อมทั้งได้ทำการเบียดเบียนศาสนาคริสต์ซึ่งคนไทยถือว่าเป็นศาสนาของฝรั่งเศส
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส กลับแย่ลงไปกว่าเก่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
CR. : http://www.catholic.or.th/archive/nicol ... /nic6.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
ปัญหาทางการเมืองกับประเทศฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสยึดไซ่ง่อนได้ในปี ค.ศ. 1859 และเวียดนามต้องรับรองโคชินจีนในฐานะเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส โดยการใช้อาณานิคมใหม่นี้เป็นฐาน ฝรั่งเศสได้ขยายอิทธิพลไปสู่ประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นเมืองขึ้นของประเทศสยาม กัมพูชากลายเป็นประเทศที่อยู่ในอารักขาของฝรั่งเศสเมื่อเจ้านโรดมแห่งกัมพูชาลงพระ นามในสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1863 ยอมอยู่ภายใต้อารักขาของฝรั่งเศส ประเทศสยามไม่อยู่ในฐานะที่จะต่อต้านแรงกดดันของฝรั่งเศสได้ ดังนั้นประเทศสยามจึงได้ลงนามในสนธิสัญญากับฝรั่งเศส ในวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1867 รับรู้ถึงการอารักขาของฝรั่งเศสเหนือประเทศกัมพูชา
ในปี ค.ศ. 1883 ฝรั่งเศสยึดตังเกี๋ยได้ และในปีต่อมา อันนัมก็ต้องรับรู้ถึงการปกครองของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสเวลานี้จึงมุ่งไปยังประเทศในแถบตะวันตก ได้แก่ ประเทศลาว และประเทศสยาม ฝรั่งเศสอ้างว่า ประเทศลาวเคยส่งบรรณาการให้แก่เวียดนาม ดังนั้นประเทศลาวจะต้องถูกส่งมอบคืนให้แก่ฝรั่งเศส ประเทศสยามและประเทศฝรั่งเศสเจรจากันเพื่อจัดการกับข้อโต้แย้งต่างๆ ในระหว่างปี ค.ศ. 1886-1887 และประเทศสยามถูกบังคับให้มอบดินแดนสิบสองจุไท รวมทั้งหัวพันทั้งห้าทั้งหกให้แก่ฝรั่งเศส
ในปี ค.ศ. 1890 ฝรั่งเศสเริ่มอ้างถึงดินแดนทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขงซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศลาว ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งอันชอบธรรมของอาณาจักรเวียดนามเก่าและดังนั้นจึงต้องเป็นส่วนหนึ่ง ของอินโดจีนฝรั่งเศสด้วย
หลังจากเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ตามชายแดน ฝรั่งเศสก็ได้แสดงแสนยานุภาพด้วยการส่งเรือปืนเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยามุ่งสู่กรุงเทพฯ และเพื่อผดุงเอกราชของตนเองไว้ ประเทศสยามจึงต้องยอมแพ้ต่อ ประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1893 ประเทศสยามลงนามในสนธิสัญญากับประเทศฝรั่งเศส มอบดินแดนจำนวน 143,800 ตารางกิโลเมตรและสิทธิสภาพนอกอาณาเขต สำหรับฝรั่งเศสในประเทศสยามด้วย ฝรั่งเศสยึดจันทบุรีเป็นประกัน ในขณะที่ประเทศสยามตกลงที่จะถอนทหารออกจากชายแดนทางตะวันออก
ฝรั่งเศสขยายสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของตนในประเทศสยามออกไปอย่างมาก ไม่ใช่แต่เพียงให้สิทธินี้แก่ชาวฝรั่งเศสเท่านั้น แต่ยังให้สำหรับชาวยุโรปและชาวเอเชีย รวมทั้งผู้ที่ลี้ภัยจากดินแดนในปกครองของประเทศฝรั่งเศส และลูกหลานของพวกเขาซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศสยามด้วย ด้วยกระบวนการดังกล่าวนี้ชาวเอเชียต่างชาติจำนวนมากมายไม่ต้องขึ้นต่ออำนาจการปกครองของประเทศสยามสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหล่านี้ก่อให้เกิดความยุ่งยากลำบากต่อเจ้าหน้าที่ไทยในการปกครอง ไม่ว่าจะเป็นในเมืองหลวง หรือตามจังหวัดต่างๆ ประเทศสยามวางนโยบายที่จะพยายามนำเอาการปกครองอันชอบธรรมของตนกลับคืนมา นโยบายนี้ก็คือทำการตกลงที่จะมอบดินแดนเพิ่มเติมให้แก่ฝรั่งเศส ดังนั้นจึงเกิดสนธิสัญญา ขึ้นในปี ค.ศ. 1904 และปี ค.ศ. 1907 กับประเทศฝรั่งเศส ประเทศสยามต้องมอบดินแดน 2 แห่งให้แก่ประเทศฝรั่งเศส ได้แก่ ดินแดนทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ชื่อว่า ปักลาย (Paklai คือเมืองไล เมืองสำคัญทางเหนือของแคว้นสิบสองจุไทย) ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับหลวงพระบางและจำปาศักดิ์ ในปี ค.ศ. 1904 และในปี ค.ศ. 1907 ประเทศสยามได้มอบดินแดนพระตะบอง ศรีโสภณ และเสียมราฐ ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส
ในทางกลับกัน ประเทศสยามได้รับอำนาจการปกครองเหนือผู้ที่อยู่ภายใต้การอารักขาของฝรั่งเศสทุกคน แต่ประโยชน์ด้านนี้ไม่มีความสำคัญอะไรมากมายนัก ความสัมพันธ์กับประเทศฝรั่งเศสเริ่มดีขึ้นเมื่อนักกฎหมายชาวฝรั่งเศสได้รับมอบหมายให้จัดการประชุมเพื่อจัดทำกฎหมายไทย
ทันทีที่ประเทศฝรั่งเศสยึดตังเกี๋ยและอันนัมได้ในระหว่างปี 1883-1884 พระสังฆราชยัง หลุยส์ เวย์ ตระหนักว่าเหตุการณ์ทางการเมืองต้องก่อให้เกิดความยุ่งยากต่อมิสซังสยาม ท่านได้ตั้งข้อสังเกตไว้ใน จดหมายของท่านว่า :
“เราไม่อาจทำลายความคิดที่ว่า ปัญหาทางศาสนาเป็นการเชื่อมโยงกับปัญหาทางการเมือง คนต่างศาสนาทุกคนก็เช่นเดียวกับคริสตชน
มองเห็นการแทรกแซงของชาวฝรั่งเศสในประเทศอันนัม (ญวณ) ว่าเป็นการเข้าข้างหรือไม่เข้าข้างคริสตัง หลังจากความสำเร็จหรือความไม่สำเร็จของชาวฝรั่งเศส
พระสังฆราชเวย์ยังสังเกตเห็นว่า ชาวสยามนั้นไม่สามารถแยกแยะระหว่างคริสตชนและชาว ฝรั่งเศสได้ วิกฤตการณ์ทางการเมืองในปี ค.ศ. 1893 ก่อให้เกิดความเห็นทั่วไปว่า คริสตชนคือผู้ช่วยของชาวฝรั่งเศส ดังนั้นคริสตชนจึงเป็นเหมือนกับศัตรูของประเทศชาติ ผลที่เกิดขึ้นก็คือ :
“ความขัดแย้งทางการเมืองทำให้การกลับใจเป็นจำนวนมากต้องหยุดชะงักอย่างฉับพลัน” ทุกคนกำลังรอคอยให้การทะเลาะวิวาททางการเมืองนั้นสิ้นสุดลง พระสังฆราชเวย์รำพันว่า หาก ฝรั่งเศสเพียงแต่แสดงตนเองให้เหมาะสมกับคำว่า "Gesta Dei per Francos" แล้วชาวสยามคงจะตาสว่าง ขึ้นเป็นแน่ :
“เราอาจกล่าวได้ว่า การดำเนินชีวิตของชาวฝรั่งเศสจะเป็นการดำเนินชีวิตของชาวสยาม พระเจ้าของชาวฝรั่งเศสจะเป็นพระเจ้าของชาวสยาม โชคร้ายเหลือเกินที่เพื่อนร่วมชาติของเราบางคนได้รับอิทธิพลของการไม่มีศาสนา และตัวอย่างที่ไม่ดี”
คุณพ่อปีโอ ด็องต์ เขียนจดหมายถึงกรุงปารีสว่า ประชาชนไม่เคยเกิดความลังเลเช่นนี้มาก่อนเลย ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุการณ์ทางการเมืองซึ่งไม่มีใครรู้ว่าผลจะออกมาเช่นไร ประเทศสยามกำลังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลง และหากว่ายังคงอยู่ในสภาพเช่นนี้แล้ว มิสซังสยามก็จะยังไม่สามารถทำอะไรใหญ่โตได้เลย
ประเทศสยามและประเทศฝรั่งเศสต้องเผชิญกับปัญหาทางการเมืองนี้ไปจนถึงปีค.ศ.1907
ประเทศสยามยอมยกดินแดนพระตะบอง ศรีโสภณ และเสียมราฐให้แก่ฝรั่งเศสนี่หมายความว่าเกือบตลอดช่วงสมัยของพระสังฆราชเวย์ ท่านต้องประสบกับความกดดันทางการเมืองเหล่านี้อยู่เสมอมา นั่นคือ ต้องเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าว เวลาเดียวกันยังต้องทำงานกับประชาชนซึ่งมองดูบรรดามิชชันนารีด้วยสายตาแห่งความเป็นศัตรู นับว่าเป็นโชคดีของมิสซังสยามซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาล มิสซังคาทอลิกจึง สามารถทำงานแพร่ธรรมของตนได้
CR. : http://www.catholic.or.th/archive/nicol ... /nic7.html
ปัญหาทางการเมืองกับประเทศฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสยึดไซ่ง่อนได้ในปี ค.ศ. 1859 และเวียดนามต้องรับรองโคชินจีนในฐานะเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส โดยการใช้อาณานิคมใหม่นี้เป็นฐาน ฝรั่งเศสได้ขยายอิทธิพลไปสู่ประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นเมืองขึ้นของประเทศสยาม กัมพูชากลายเป็นประเทศที่อยู่ในอารักขาของฝรั่งเศสเมื่อเจ้านโรดมแห่งกัมพูชาลงพระ นามในสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1863 ยอมอยู่ภายใต้อารักขาของฝรั่งเศส ประเทศสยามไม่อยู่ในฐานะที่จะต่อต้านแรงกดดันของฝรั่งเศสได้ ดังนั้นประเทศสยามจึงได้ลงนามในสนธิสัญญากับฝรั่งเศส ในวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1867 รับรู้ถึงการอารักขาของฝรั่งเศสเหนือประเทศกัมพูชา
ในปี ค.ศ. 1883 ฝรั่งเศสยึดตังเกี๋ยได้ และในปีต่อมา อันนัมก็ต้องรับรู้ถึงการปกครองของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสเวลานี้จึงมุ่งไปยังประเทศในแถบตะวันตก ได้แก่ ประเทศลาว และประเทศสยาม ฝรั่งเศสอ้างว่า ประเทศลาวเคยส่งบรรณาการให้แก่เวียดนาม ดังนั้นประเทศลาวจะต้องถูกส่งมอบคืนให้แก่ฝรั่งเศส ประเทศสยามและประเทศฝรั่งเศสเจรจากันเพื่อจัดการกับข้อโต้แย้งต่างๆ ในระหว่างปี ค.ศ. 1886-1887 และประเทศสยามถูกบังคับให้มอบดินแดนสิบสองจุไท รวมทั้งหัวพันทั้งห้าทั้งหกให้แก่ฝรั่งเศส
ในปี ค.ศ. 1890 ฝรั่งเศสเริ่มอ้างถึงดินแดนทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขงซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศลาว ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งอันชอบธรรมของอาณาจักรเวียดนามเก่าและดังนั้นจึงต้องเป็นส่วนหนึ่ง ของอินโดจีนฝรั่งเศสด้วย
หลังจากเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ตามชายแดน ฝรั่งเศสก็ได้แสดงแสนยานุภาพด้วยการส่งเรือปืนเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยามุ่งสู่กรุงเทพฯ และเพื่อผดุงเอกราชของตนเองไว้ ประเทศสยามจึงต้องยอมแพ้ต่อ ประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1893 ประเทศสยามลงนามในสนธิสัญญากับประเทศฝรั่งเศส มอบดินแดนจำนวน 143,800 ตารางกิโลเมตรและสิทธิสภาพนอกอาณาเขต สำหรับฝรั่งเศสในประเทศสยามด้วย ฝรั่งเศสยึดจันทบุรีเป็นประกัน ในขณะที่ประเทศสยามตกลงที่จะถอนทหารออกจากชายแดนทางตะวันออก
ฝรั่งเศสขยายสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของตนในประเทศสยามออกไปอย่างมาก ไม่ใช่แต่เพียงให้สิทธินี้แก่ชาวฝรั่งเศสเท่านั้น แต่ยังให้สำหรับชาวยุโรปและชาวเอเชีย รวมทั้งผู้ที่ลี้ภัยจากดินแดนในปกครองของประเทศฝรั่งเศส และลูกหลานของพวกเขาซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศสยามด้วย ด้วยกระบวนการดังกล่าวนี้ชาวเอเชียต่างชาติจำนวนมากมายไม่ต้องขึ้นต่ออำนาจการปกครองของประเทศสยามสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหล่านี้ก่อให้เกิดความยุ่งยากลำบากต่อเจ้าหน้าที่ไทยในการปกครอง ไม่ว่าจะเป็นในเมืองหลวง หรือตามจังหวัดต่างๆ ประเทศสยามวางนโยบายที่จะพยายามนำเอาการปกครองอันชอบธรรมของตนกลับคืนมา นโยบายนี้ก็คือทำการตกลงที่จะมอบดินแดนเพิ่มเติมให้แก่ฝรั่งเศส ดังนั้นจึงเกิดสนธิสัญญา ขึ้นในปี ค.ศ. 1904 และปี ค.ศ. 1907 กับประเทศฝรั่งเศส ประเทศสยามต้องมอบดินแดน 2 แห่งให้แก่ประเทศฝรั่งเศส ได้แก่ ดินแดนทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ชื่อว่า ปักลาย (Paklai คือเมืองไล เมืองสำคัญทางเหนือของแคว้นสิบสองจุไทย) ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับหลวงพระบางและจำปาศักดิ์ ในปี ค.ศ. 1904 และในปี ค.ศ. 1907 ประเทศสยามได้มอบดินแดนพระตะบอง ศรีโสภณ และเสียมราฐ ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส
ในทางกลับกัน ประเทศสยามได้รับอำนาจการปกครองเหนือผู้ที่อยู่ภายใต้การอารักขาของฝรั่งเศสทุกคน แต่ประโยชน์ด้านนี้ไม่มีความสำคัญอะไรมากมายนัก ความสัมพันธ์กับประเทศฝรั่งเศสเริ่มดีขึ้นเมื่อนักกฎหมายชาวฝรั่งเศสได้รับมอบหมายให้จัดการประชุมเพื่อจัดทำกฎหมายไทย
ทันทีที่ประเทศฝรั่งเศสยึดตังเกี๋ยและอันนัมได้ในระหว่างปี 1883-1884 พระสังฆราชยัง หลุยส์ เวย์ ตระหนักว่าเหตุการณ์ทางการเมืองต้องก่อให้เกิดความยุ่งยากต่อมิสซังสยาม ท่านได้ตั้งข้อสังเกตไว้ใน จดหมายของท่านว่า :
“เราไม่อาจทำลายความคิดที่ว่า ปัญหาทางศาสนาเป็นการเชื่อมโยงกับปัญหาทางการเมือง คนต่างศาสนาทุกคนก็เช่นเดียวกับคริสตชน
มองเห็นการแทรกแซงของชาวฝรั่งเศสในประเทศอันนัม (ญวณ) ว่าเป็นการเข้าข้างหรือไม่เข้าข้างคริสตัง หลังจากความสำเร็จหรือความไม่สำเร็จของชาวฝรั่งเศส
พระสังฆราชเวย์ยังสังเกตเห็นว่า ชาวสยามนั้นไม่สามารถแยกแยะระหว่างคริสตชนและชาว ฝรั่งเศสได้ วิกฤตการณ์ทางการเมืองในปี ค.ศ. 1893 ก่อให้เกิดความเห็นทั่วไปว่า คริสตชนคือผู้ช่วยของชาวฝรั่งเศส ดังนั้นคริสตชนจึงเป็นเหมือนกับศัตรูของประเทศชาติ ผลที่เกิดขึ้นก็คือ :
“ความขัดแย้งทางการเมืองทำให้การกลับใจเป็นจำนวนมากต้องหยุดชะงักอย่างฉับพลัน” ทุกคนกำลังรอคอยให้การทะเลาะวิวาททางการเมืองนั้นสิ้นสุดลง พระสังฆราชเวย์รำพันว่า หาก ฝรั่งเศสเพียงแต่แสดงตนเองให้เหมาะสมกับคำว่า "Gesta Dei per Francos" แล้วชาวสยามคงจะตาสว่าง ขึ้นเป็นแน่ :
“เราอาจกล่าวได้ว่า การดำเนินชีวิตของชาวฝรั่งเศสจะเป็นการดำเนินชีวิตของชาวสยาม พระเจ้าของชาวฝรั่งเศสจะเป็นพระเจ้าของชาวสยาม โชคร้ายเหลือเกินที่เพื่อนร่วมชาติของเราบางคนได้รับอิทธิพลของการไม่มีศาสนา และตัวอย่างที่ไม่ดี”
คุณพ่อปีโอ ด็องต์ เขียนจดหมายถึงกรุงปารีสว่า ประชาชนไม่เคยเกิดความลังเลเช่นนี้มาก่อนเลย ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุการณ์ทางการเมืองซึ่งไม่มีใครรู้ว่าผลจะออกมาเช่นไร ประเทศสยามกำลังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลง และหากว่ายังคงอยู่ในสภาพเช่นนี้แล้ว มิสซังสยามก็จะยังไม่สามารถทำอะไรใหญ่โตได้เลย
ประเทศสยามและประเทศฝรั่งเศสต้องเผชิญกับปัญหาทางการเมืองนี้ไปจนถึงปีค.ศ.1907
ประเทศสยามยอมยกดินแดนพระตะบอง ศรีโสภณ และเสียมราฐให้แก่ฝรั่งเศสนี่หมายความว่าเกือบตลอดช่วงสมัยของพระสังฆราชเวย์ ท่านต้องประสบกับความกดดันทางการเมืองเหล่านี้อยู่เสมอมา นั่นคือ ต้องเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าว เวลาเดียวกันยังต้องทำงานกับประชาชนซึ่งมองดูบรรดามิชชันนารีด้วยสายตาแห่งความเป็นศัตรู นับว่าเป็นโชคดีของมิสซังสยามซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาล มิสซังคาทอลิกจึง สามารถทำงานแพร่ธรรมของตนได้
CR. : http://www.catholic.or.th/archive/nicol ... /nic7.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1932 โดยเปลี่ยนจากการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย พันเอกหลวงพิบูลสงครามขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 1938 รัฐบาลชุดนี้มีความรู้สึกชาตินิยมสูง ในขณะนั้นญี่ปุ่นซึ่งยึดแมนจูเรียได้ กำลังดำเนินนโยบาย ขยายอิทธิพลในทวีปเอเชียโดยใช้คำขวัญว่า "เอเชียสำหรับชาวเอเชีย" เพื่อต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมของชาวตะวันตกในทวีปเอเชีย นโยบายนี้นับได้ว่าสอดคล้องกับลัทธิชาตินิยมซึ่งกำลังก่อตัวขึ้นในประเทศไทย
สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1939 รัฐบาลไทยประกาศตัวเป็นกลาง และหวั่นเกรงว่า ปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างไทยและอังกฤษ (ซึ่งปกครองพม่าอยู่ในขณะนั้น) และระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (ซึ่งปกครองอินโดจีนอยู่ในขณะนั้น) อาจจะกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างกัน จึงขอปรับปรุงเส้นเขตแดนกับอังกฤษและฝรั่งเศส การดำเนินการนี้เป็นผลสำเร็จกับอังกฤษแต่ล้มเหลวกับฝรั่งเศส
ปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดการสู้รบระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 ตามชายแดนอินโดจีนและตามน่านน้ำบริเวณเกาะช้าง ซึ่งเราเรียกกันโดยรวมว่า "สงครามอินโดจีน" ในที่สุดประเทศญี่ปุ่นได้เข้ามาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทนี้ โดยมีการลงนามในอนุสัญญาโตเกียวเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 ประเทศไทยได้รับดินแดนคืนจากฝรั่งเศส คือดินแดนทั้งหมดที่ไทยเคยสูญเสียให้แก่ฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1904 และปี ค.ศ. 1907 สาเหตุประการหนึ่งที่ฝรั่งเศสจำต้องยกดินแดนคืนให้ไทยก็คือฝรั่งเศส ปราชัยต่อเยอรมัน และลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกกับเยอรมันในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1940
CR. : http://www.catholic.or.th/archive/nicol ... /nic8.html
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1932 โดยเปลี่ยนจากการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย พันเอกหลวงพิบูลสงครามขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 1938 รัฐบาลชุดนี้มีความรู้สึกชาตินิยมสูง ในขณะนั้นญี่ปุ่นซึ่งยึดแมนจูเรียได้ กำลังดำเนินนโยบาย ขยายอิทธิพลในทวีปเอเชียโดยใช้คำขวัญว่า "เอเชียสำหรับชาวเอเชีย" เพื่อต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมของชาวตะวันตกในทวีปเอเชีย นโยบายนี้นับได้ว่าสอดคล้องกับลัทธิชาตินิยมซึ่งกำลังก่อตัวขึ้นในประเทศไทย
สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1939 รัฐบาลไทยประกาศตัวเป็นกลาง และหวั่นเกรงว่า ปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างไทยและอังกฤษ (ซึ่งปกครองพม่าอยู่ในขณะนั้น) และระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (ซึ่งปกครองอินโดจีนอยู่ในขณะนั้น) อาจจะกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างกัน จึงขอปรับปรุงเส้นเขตแดนกับอังกฤษและฝรั่งเศส การดำเนินการนี้เป็นผลสำเร็จกับอังกฤษแต่ล้มเหลวกับฝรั่งเศส
ปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดการสู้รบระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 ตามชายแดนอินโดจีนและตามน่านน้ำบริเวณเกาะช้าง ซึ่งเราเรียกกันโดยรวมว่า "สงครามอินโดจีน" ในที่สุดประเทศญี่ปุ่นได้เข้ามาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทนี้ โดยมีการลงนามในอนุสัญญาโตเกียวเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 ประเทศไทยได้รับดินแดนคืนจากฝรั่งเศส คือดินแดนทั้งหมดที่ไทยเคยสูญเสียให้แก่ฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1904 และปี ค.ศ. 1907 สาเหตุประการหนึ่งที่ฝรั่งเศสจำต้องยกดินแดนคืนให้ไทยก็คือฝรั่งเศส ปราชัยต่อเยอรมัน และลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกกับเยอรมันในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1940
CR. : http://www.catholic.or.th/archive/nicol ... /nic8.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
ผลสรุปของสถานการณ์ทางการเมืองที่มีต่อศาสนาคริสต์ในประเทศไทย
มีปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนไทยมีท่าทีเป็นศัตรูต่อชาวฝรั่งเศสก็คือ การสูญเสียดินแดนถึง 481,600 ตารางกิโลเมตร แก่ประเทศฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1893 , 1904 และ 1907 ก่อให้เกิดการต่อสู้ และความเกลียดชังชาวฝรั่งเศสมาแล้ว
ศาสนาคริสต์ถูกถือว่าเป็นศาสนาของชาวฝรั่งเศส ดังนั้นผู้ที่ถือศาสนาคริสต์จึงถูกมองว่าเป็นศัตรู
ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม กระแสแห่งชาตินิยมทวีมากขึ้น มีการเรียกร้องดินแดนคืนจากประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1940 บรรดานิสิตนักศึกษา และนักเรียนเตรียมอุดมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินขบวนเรียกร้องดินแดนคืนจากประเทศฝรั่งเศส และได้รับการต้อนรับอย่างดีจากจอมพล ป. พิบูล สงครามซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
กรณีพิพาทอินโดจีน ทำให้ประชาชนชาวไทยถือว่าชาวฝรั่งเศสเป็นศัตรู รวมทั้งศาสนาคริสต์ในประเทศไทยด้วย
ในรายงานของพระสังฆราชกูแอง ประมุขมิสซังลาว (1925-1945) ลงวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1941 จากหอจดหมายเหตุของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส สรุปสถานการณ์นี้ไว้อย่างละเอียดว่า
"อันดับต่อไป หลังจากการเดินทางออกจากประเทศไทยของพวกเรา การเบียดเบียนศาสนา ก็เริ่มขึ้น คำสั่งที่บอกว่า 'ประชาชนชาวไทยมีเพียงศาสนาเดียวคือศาสนาพุทธ' กรมการรักษาดินแดน ซึ่งประกอบไปด้วยเยาวชนส่วนใหญ่ซึ่งมาจากโรงเรียนธรรมดา และเยาวชนที่มาจากแรงงานกลุ่มเยาวชนแห่งชาติได้รวมตัวกันเป็นผู้จัดการเรื่องราวต่างๆ และเป็นเพชฌฆาต เขาก็ปล่อยให้พวกเยาวชนเหล่านี้ดำเนินการไป อันดับต่อไปพวกเขาก็จะจัดการ กับพวกพระสงฆ์ วัด และวัดน้อยต่างๆ”
CR. : http://www.catholic.or.th/archive/nicol ... /nic9.html
ผลสรุปของสถานการณ์ทางการเมืองที่มีต่อศาสนาคริสต์ในประเทศไทย
มีปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนไทยมีท่าทีเป็นศัตรูต่อชาวฝรั่งเศสก็คือ การสูญเสียดินแดนถึง 481,600 ตารางกิโลเมตร แก่ประเทศฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1893 , 1904 และ 1907 ก่อให้เกิดการต่อสู้ และความเกลียดชังชาวฝรั่งเศสมาแล้ว
ศาสนาคริสต์ถูกถือว่าเป็นศาสนาของชาวฝรั่งเศส ดังนั้นผู้ที่ถือศาสนาคริสต์จึงถูกมองว่าเป็นศัตรู
ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม กระแสแห่งชาตินิยมทวีมากขึ้น มีการเรียกร้องดินแดนคืนจากประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1940 บรรดานิสิตนักศึกษา และนักเรียนเตรียมอุดมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินขบวนเรียกร้องดินแดนคืนจากประเทศฝรั่งเศส และได้รับการต้อนรับอย่างดีจากจอมพล ป. พิบูล สงครามซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
กรณีพิพาทอินโดจีน ทำให้ประชาชนชาวไทยถือว่าชาวฝรั่งเศสเป็นศัตรู รวมทั้งศาสนาคริสต์ในประเทศไทยด้วย
ในรายงานของพระสังฆราชกูแอง ประมุขมิสซังลาว (1925-1945) ลงวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1941 จากหอจดหมายเหตุของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส สรุปสถานการณ์นี้ไว้อย่างละเอียดว่า
"อันดับต่อไป หลังจากการเดินทางออกจากประเทศไทยของพวกเรา การเบียดเบียนศาสนา ก็เริ่มขึ้น คำสั่งที่บอกว่า 'ประชาชนชาวไทยมีเพียงศาสนาเดียวคือศาสนาพุทธ' กรมการรักษาดินแดน ซึ่งประกอบไปด้วยเยาวชนส่วนใหญ่ซึ่งมาจากโรงเรียนธรรมดา และเยาวชนที่มาจากแรงงานกลุ่มเยาวชนแห่งชาติได้รวมตัวกันเป็นผู้จัดการเรื่องราวต่างๆ และเป็นเพชฌฆาต เขาก็ปล่อยให้พวกเยาวชนเหล่านี้ดำเนินการไป อันดับต่อไปพวกเขาก็จะจัดการ กับพวกพระสงฆ์ วัด และวัดน้อยต่างๆ”
CR. : http://www.catholic.or.th/archive/nicol ... /nic9.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
คณะเลือดไทย
คณะเลือดไทย คือ กลุ่มคนไทยที่อ้างตัวเองว่าเป็นผู้รักชาติ ทำหน้าที่สนับสนุนนโยบายต่างๆของรัฐบาลเพื่อส่งเสริมความเป็นชาตินิยม ดังนั้นสมาชิกของคณะทุกคนจึงถูกปลูกฝังให้มีจิตสำนึกว่า "ศาสนาโรมันคาทอลิก เป็นศาสนาต่างชาติ เป็นศาสนาของศัตรู ผู้ที่นับถือศาสนานี้ก็เป็นศัตรูของชาติไทย" ฉะนั้นเลือดไทยทุกคนต้องช่วยกันหาทางกำจัดศัตรูของชาติเหล่านี้ให้หมดไปทั้งทางตรงและทางอ้อม
คณะเลือดไทยเริ่มก่อตั้งขึ้นที่นครหลวง และได้แพร่กระจายไปตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น คณะเลือดไทยเชียงใหม่ , คณะเลือดไทยสาขาพนัสฯ และคณะเลือดไทยพระประแดง เป็นต้น คณะเลือดไทยเหล่านี้ได้ออกใบปลิว , บทความ และบัตรสนเท่ห์ เพื่อเชิญชวนให้คนไทยหันมารักชาติและทำการต่อต้านศาสนาคาทอลิก
คณะเลือดไทยมีอิทธิพลอย่างมากต่อคนไทยในเวลานั้น และบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ที่แสดงว่าเป็นการเบียดเบียนศาสนาคริสต์ ทั้งนี้มาจากความสำนึกของคนไทยโดยทั่วๆไป ในเวลานั้นเราจะแสดงถึงการเบียดเบียนศาสนาพอเป็นตัวอย่างดังนี้
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic10.html
คณะเลือดไทย
คณะเลือดไทย คือ กลุ่มคนไทยที่อ้างตัวเองว่าเป็นผู้รักชาติ ทำหน้าที่สนับสนุนนโยบายต่างๆของรัฐบาลเพื่อส่งเสริมความเป็นชาตินิยม ดังนั้นสมาชิกของคณะทุกคนจึงถูกปลูกฝังให้มีจิตสำนึกว่า "ศาสนาโรมันคาทอลิก เป็นศาสนาต่างชาติ เป็นศาสนาของศัตรู ผู้ที่นับถือศาสนานี้ก็เป็นศัตรูของชาติไทย" ฉะนั้นเลือดไทยทุกคนต้องช่วยกันหาทางกำจัดศัตรูของชาติเหล่านี้ให้หมดไปทั้งทางตรงและทางอ้อม
คณะเลือดไทยเริ่มก่อตั้งขึ้นที่นครหลวง และได้แพร่กระจายไปตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น คณะเลือดไทยเชียงใหม่ , คณะเลือดไทยสาขาพนัสฯ และคณะเลือดไทยพระประแดง เป็นต้น คณะเลือดไทยเหล่านี้ได้ออกใบปลิว , บทความ และบัตรสนเท่ห์ เพื่อเชิญชวนให้คนไทยหันมารักชาติและทำการต่อต้านศาสนาคาทอลิก
คณะเลือดไทยมีอิทธิพลอย่างมากต่อคนไทยในเวลานั้น และบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ที่แสดงว่าเป็นการเบียดเบียนศาสนาคริสต์ ทั้งนี้มาจากความสำนึกของคนไทยโดยทั่วๆไป ในเวลานั้นเราจะแสดงถึงการเบียดเบียนศาสนาพอเป็นตัวอย่างดังนี้
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic10.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
🗃 การเบียดเบียนศาสนาจากหลักฐานเอกสาร
การสู้รบระหว่างไทยและฝรั่งเศสเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 หลังจากนี้ไม่นานนัก พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนรายงานเกี่ยวกับการเบียดเบียนศาสนาถึงพระสังฆราชดราปิเอร์ ผู้แทนพระสันตะปาปาในอินโดจีน ลงวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1940 เพื่อรายงานถึงเหตุการณ์ต่างๆ ของการเบียดเบียนศาสนาในเวลานั้นให้ทราบ (รายละเอียดดูได้จาก A.M.E., Bangkok, DI 140-20)
อันที่จริงนับตั้งแต่มีการสู้รบกัน กรมตำรวจได้ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจัดการกับคนเชื้อชาติฝรั่งเศสที่อยู่ตามจังหวัดต่างๆ โดยแบ่งคำสั่งออกเป็น 4 ข้อด้วยกัน เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 คือนับตั้งแต่วันแรกที่มีการประกาศสงครามกัน (สารสาสน์ ฉบับที่ 1 ปีที่ 25, มกราคม ค.ศ. 1941, หน้า 48-49) คณะเลือดไทยมีจุดมุ่งหมายต่อต้านศาสนาคริสต์โดยตรง อันแสดงถึงการเบียดเบียนศาสนาจาก ส่วนของประชาชนชาวไทย เอกสารของคณะเลือดไทยมีดังนี้
“ที่เกิดของคณะเลือดไทยเราคือ จังหวัดพระนคร แล้วได้กระจายออกไปทุกหนทุกแห่ง เช่น “คณะเลือดไทยเชียงใหม่” เชื่อว่าพวกเราทั้งหลายคงได้พบข่าวจากหนังสือพิมพ์บางฉะบับลงข่าวว่า “คณะเลือดไทยเชียงใหม่” ได้พร้อมใจกันไม่ยอมทำการติดต่อกับพวกบาดหลวงและนางชี ตลอดจนพวกที่นิยมลัทธิสาสนาโรมันคาธอลิก มีอาทิเช่น ไม่ยอมขายอาหารให้แก่คนจำพวกนี้ โดยที่ถือว่าบุคคลจำพวกนี้เป็นสัตรูของชาติไทย และพร้อมพร้อมกันนี้ กรรมกรรถทุกชะนิดไม่ยอมให้บุคคลจำพวกที่ได้กล่าวนามมาแล้ว โดยสารรถยนต์ของตน ถึงแม้ว่าพวกเขาจะได้รับค่าจ้างอย่างแพงแสนแพง เขาก็หาได้พึงปรารถนาไม่ และ “คณะเลือดไทย” ในจังหวัดพระนครซึ่งเป็นที่มาแห่งคณะเลือดไทย ก็ไม่ยอมทำการซื้อสิ่งของที่เป็นของชนชาติสัตรูกับเรา และพวกที่นิยมลัทธิของสัตรูเป็นอันขาด
นี่คือความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของพวกเราชาวไทย “สาขาคณะเลือดไทยพนัส” รู้สึกปลาบปลื้มยิ่ง นักในความสำเร็จอันใหญ่หลวงของคณะเลือดไทยที่ได้ปฏิบัติมาทุกๆคราว สุดที่จะหาคำใด มากล่าวให้ดียิ่งกว่านี้ได้
ฉะนั้น “สาขาคณะเลือดไทยพนัส” จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ร่วมกันว่า นับแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป เราเลือดไทย จะไม่ยอมให้บุคคลจำพวกที่ได้กล่าวนามมาแล้วข้างต้น โดยสารรถยนต์ หรือยอมรับใช้ ตลอดจนการสนับสนุนด้วยประการใดๆ ดังกล่าวมาแล้ว เพราะเลือดไทยถือว่าบุคคล เหล่านี้เป็นสัตรูของชาติไทยเรา และพวกที่นิยมลัทธิของสัตรู พวกเราถือว่า เขาลืมชาติ ลืมศาสนาอันแท้จริงของเขาเสียสิ้น มัวเมาไปหลงนิยมลัทธิอันเป็นสัตรูของเรา พวกเราจงนึกดูซิ ว่าที่รัฐบาลจับพวกแนวที่ 5 ได้นั้น เขาเหล่านี้ก็คือพวกที่นับถือสาสนาโรมันคาธอลิกซึ่งได้รับ คำสั่งสอนของสัตรู คอยหาโอกาสที่จะเอาพวกเราเป็นทาสของเขา ตลอดจนทำลายชาติของ เราให้ย่อยยับไป พวกเราต้องระวังแนวที่ 5 นี้จงมาก และช่วยกันกำจัดลัทธิอันนี้ให้สิ้นเชิง
พวกพี่น้องทั้งหลาย จงอย่าลืมว่าพวกเราชาวไทยได้รับความขมขื่นมาแล้วเป็นจำนวนตั้ง 70 ปี บัดนี้เป็นศุภนิมิตต์อันดีงามของพวกเราแล้ว “สาขาคณะเลือดไทยพนัส” จึงขอร้องให้พวกเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ช่วยกันขับไล่ ชนชาติที่เป็นสัตรูของเรา ให้เขานำลัทธิอันแสนอุบาทว์นี้ ออกไปเสียจากแหลมทอง แล้วญาติพี่น้องของเราที่หลงงมงายอยู่ จะได้กลับมายัง แนวทางเดิมที่บรรพบุรุษของเราที่ได้อุตส่าห์สร้างสมไว้เพื่อลูกหลานเหลนชั้นหลัง”
หลังจากนั้น อีก 2-3 เดือนต่อมา พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายถึงนายโรเชร์ การ์โร กงสุลฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ลงวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1941 รายงานเกี่ยวกับการเบียดเบียนศาสนา โดย คณะเลือดไทยหลายเรื่องต่อมา พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายถึงศูนย์กลางคณะที่กรุงปารีสรายงาน เกี่ยวกับการเบียดเบียนศาสนาที่มียิ่งทียิ่งรุนแรงขึ้นว่าดังนี้
“การเบียดเบียนต่อศาสนาคาทอลิกได้เริ่มขึ้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 1940 เวลา 10:00 น. ตอน เย็น บรรดามิชชันนารีฝรั่งเศสที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดต่างๆ ของไทยที่เกิดกรณีพิพาทอินโดจีน แต่ละองค์ต่างก็ได้รับการเยี่ยมเยือนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายนาย ซึ่งบังคับให้พวกเขา ติดตามไปที่สถานีตำรวจ ที่นั่นเขาได้ป้อนคำถามต่อบรรดามิชชันนารี ต่อจากนั้นได้ให้พวก เขาลงชื่อด้วยการสัญญาว่าจะเดินทางออกจากพื้นที่ภายในเวลา 48 ชั่วโมง วันรุ่งขึ้นมิชชันนารีแต่ละองค์ได้เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ พร้อมกับมีคำสั่งห้ามเดินทางออกไป ข้าพเจ้าได้ส่งบรรดาพระสงฆ์พื้นเมืองจากวัดอื่นไปทำหน้าที่แทนพวกเขา พระสงฆ์ 2 องค์ในจำนวนเหล่า นี้ ทั้งๆที่เป็นคนไทย ได้ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและถูกใส่ความกล่าวหาว่า "เป็นแนวที่ 5"; ถูกจองจำในคุกเป็นเวลา 3 เดือนในตอนแรก พวกเขาถูกตัดสินในเดือนมีนาคมให้จำคุกคนละ 2 ปี พระสงฆ์ไทยองค์ที่ 3 ถูกขังอยู่ในคุกตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม ยังคงรอคอยการพิพากษาและคำตัดสินโดยไม่มีความผิด
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ รัฐบาลไทยได้เรียกประชุมอย่างเป็นทางการเพื่อทำให้พวกคริสตังละทิ้ง ศาสนา พวกลูกจ้างของรัฐบาลที่กรุงเทพฯ ได้รับคำสั่งให้ไปที่วัดมหาธาตุซึ่งเป็นวัดพุทธ รัฐมนตรีหลายนายที่เป็นสมาชิกของคณะรัฐบาลได้ดำเนินการประชุม ด้วยการบอกกับบรรดาผู้เข้าประชุมว่า พวกเขาต้องเซ็นชื่อลงในเอกสารที่เตรียมมาเพื่อการนี้เพื่อยืนยันว่าพวกเขาเป็นคนพุทธ ซึ่งจงรักภักดีต่อประเทศไทย คาทอลิกบางคนได้เซ็นชื่อ เช่นเดียวกับพวกโปรเตสตันท์จำนวนมาก , พวกที่นับถือลัทธิขงจื๊อ , พวกอิสลาม เป็นต้น แต่ส่วนมากได้ปฏิเสธ ทั้งๆที่ถูกใช้อำนาจในการเกลี้ยกล่อมทุกวิถีทาง รัฐบาลไทยในขณะนี้ถือว่าไม่ได้บังคับใครให้เปลี่ยนศาสนา แต่แสดงความปรารถนาเพียงอย่างเดียวว่าประชาชนทุกคนควรนับถือศาสนา เดียวกัน แม้ว่าการประกาศเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหลอกลวงสาธารณชนต่างชาติ ข้อเท็จจริงก็คือว่า บรรดาลูกจ้างฝ่ายปกครองที่ไม่ประกาศตัวเป็นพุทธได้ถูกไล่ออกจากงาน บรรดาพ่อค้า ที่เป็นคริสตังถูกรวมหัวไม่ทำการค้าด้วย และห้ามซื้อสินค้าของพวกพ่อค้าคริสตัง พวกเกษตรกรและลูกจ้างแรงงานอื่นๆ ที่หาเช้ากินค่ำถูกเรียกตัวไปโดยนายอำเภอเพื่อทำการประชุมให้ ละทิ้งศาสนา ตราบใดที่พวกเขาปฏิเสธพวกเขาก็ถูกบังคับให้อยู่ที่นั่น ไม่สามารถไปทำงานได้ ด้วยเหตุนี้ พวกเขาก็ไม่มีอะไรเลี้ยงตัวเองและครอบครัวของพวกเขา
ภายหลังการประชุมให้ละทิ้งศาสนาที่จัดขึ้นทั่วทุกแห่งในวันเดียวกันการเบียดเบียนทำได้อย่างอิสระ : พวกผู้ก่อเหตุร้ายได้รวมตัวกันเป็น "คณะเลือดไทย" และอวดตัวว่าเป็นผู้ที่รัฐบาลสนับสนุน ในหมู่บ้านคริสตังหลายแห่ง วัดคาทอลิกถูกโจมตีในระหว่างเวลากลางคืน ทุบทำลายไม้กางเขน , รูปปั้นต่างๆ , ศาสนภัณฑ์ศักดิ์สิทธิ์ , ฉีกทำลายและทำทุรจารภาพวาดนักบุญต่างๆ และศาสนภัณฑ์ต่างๆ ขณะรอคอยเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งได้ไปแจ้งความและขอความช่วยเหลือ ก่อนที่เขาจะมาพวกผู้ก่อเหตุร้ายก็หนีไปแล้ว ดังนั้นเขาจึงประกาศว่า เขาไม่เห็นอะไรเลยและไม่สามารถกล่าวโทษใครได้ ภายหลังที่มีการปล้นเกิดขึ้นในเวลากลางคืน พวกผู้ก่อเหตุร้ายที่เหิมเกริมเพราะไม่ถูกลงโทษ ได้เข้าปล้นวัดต่างๆ กลางวันแสกๆ พร้อมทั้งทำลายวัดนั้นๆ ซึ่งมีพวกคริสตังจำนวนไม่มากพอที่จะขัดขวาง ตำรวจที่ถูกเรียกตัวมาได้ตอบแบบเดิมๆว่า เขาได้รับคำสั่งไม่ให้ยุ่งเกี่ยว ข้าพเจ้าได้นำคำร้องทุกข์ไปยื่นต่อรัฐบาลที่กรุงเทพฯด้วยตนเอง แต่ก็ไม่มีผลอะไร อธิบดีกรมตำรวจซึ่งข้าพเจ้ารู้จักและไปพบเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ตอบข้าพเจ้าอย่างชัดเจนว่าข้าพเจ้า ไม่ต้องมาด้วยตนเอง เพราะเขาทราบเรื่องดีแล้วจากจดหมายอีกอย่างหนึ่ง จดหมายต่างๆของข้าพเจ้าได้ตกค้างอยู่ และยังคงตกค้างอยู่โดยไม่ได้รับคำตอบ ในระหว่างเวลานั้นวิทยุกระจายเสียงภาษาไทยได้พูดสบประมาทพวกคริสตัง เยาะเย้ย และได้พูดเน้นในเวลาเดียวกันว่าในประเทศไทย พวกคริสตังมีอิสระอย่างเต็มที่ และมีความสุขมากกว่าพวกที่อยู่ในประเทศใดในโลก
มิชชันนารีฝรั่งเศส 13 องค์ ถูกตำรวจจับกุมเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน และถูกบังคับให้เดินทางมากรุงเทพฯ โดยไม่สามารถทำอะไรได้เลย พวกเราตัดสินใจว่ามันจะดีกว่ามากถ้าพวกเขาจะเดินทางออกนอกประเทศชั่วคราวเพื่อไปอยู่ที่อื่นที่เป็นประโยชน์กว่าพวกเขาได้ออกเดินทางไปอยู่ในโคชินจีนและกัมพูชาที่ ซึ่งพวกเขาได้ทำงานอภิบาลของพวกเขาในหมู่คนญวนและคนจีนตามภาษาที่พวกเขาเข้าใจ นอกจากนี้ ภราดาคณะเซนต์คาเบรียล 13 รูป ได้รับคำสั่งห้ามทำการสอนเพราะพวกเขาเป็นชาวฝรั่งเศส ขณะเดียว กันต้องเดินทางออกนอกประเทศ พวกเขาได้เดินทางไปอยู่ที่สิงคโปร์และอินเดียที่ซึ่งวิทยาลัยต่างๆ ที่พวกเขาเป็นเจ้าของตั้งอยู่ บรรดาภราดาที่เป็นชาวสเปนและชาวไทยก็ยังคงดำเนินการต่อไปในวิทยาลัยต่างๆ ที่นี่โดยมีพวกฆราวาสคอยช่วยเหลือ บรรดาภคินีคณะเซนต์ปอลเดอชาร์ตร และนักบวชหญิงคณะอุร์สุลินสัญชาติฝรั่งเศส ต้องเดินทางออกนอกประเทศเช่นเดียวกัน เพราะถูกห้ามทำการสอน ได้มีบันทึกไว้ว่า บรรดาภราดา และนักบวชหญิงที่ทำหน้าที่เป็นครูเหล่านี้ได้ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศได้ผ่านการสอบอย่างเป็นทางการและได้รับใบประกาศนียบัตรที่จำเป็นสำหรับทำการสอนตามที่กระทรวงกำหนดมาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว
ในขณะนั้น รัฐธรรมนูญที่ใช้ในการปกครองประเทศมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1932 ได้ประกาศอย่างเปิดเผยในข้อที่ 13 ว่า "คนทุกคนมีเสรีภาพในการถือศาสนาที่ตนเลือกและปฏิบัติตามความเชื่อถือของตนที่ไม่ขัดต่อ ประเพณีอันดีงามและความสงบสุขของพลเมือง" อีกประการหนึ่ง บรรดาคริสตังของประเทศสยาม (ปัจจุบัน คือประเทศไทย) ได้แสดงตนเป็นพลเมืองที่ดี เป็นผู้ปฏิบัติตามกฎหมายทุกอย่างของประเทศอย่างเคร่งครัด เสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมต่างๆอย่างสม่ำเสมอเช่นเดียวกับประชาชนคนอื่นๆเขาต้องการแสดงให้เห็นว่า ศาสนาคาทอลิกกับประเทศฝรั่งเศสเป็นสิ่งเดียวกัน โดยถือว่าพวกคาทอลิกรักประเทศฝรั่งเศสราวกับเป็นประเทศของตนซึ่งทุกคนที่นี่รู้ดีว่าเป็นสิ่งที่ไม่เป็นจริงโดยสิ้นเชิง ศาสนาคาทอลิกเป็นศาสนาสากล ไม่ใช่ศาสนาของประเทศใดประเทศหนึ่ง
ข้าพเจ้าได้รับโทรเลขแจ้งว่า พระคุณเจ้า พระคาร์ดินัล มีน้ำใจอันดีในการที่จะส่งข่าวผ่านทางนายมอง ติน ญี เมื่อวันที่ 20 เมษายน เพื่อแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบว่า พระสังฆราชปาซอตตีจะช่วยดูแลมิสซังของเราทั้งหมดเป็นอย่างดี พวกเราได้รับแจ้งการแต่งตั้งพระสังฆราชปาซอตตีเป็นประมุขมิสซังราชบุรีแล้ว ข่าวนี้นำความชื่นชมยินดีมาสู่ทุกคน และเราทั้งหมดก็รู้สึกซาบซึ้งเป็นอย่างยิ่ง สถานการณ์ที่นี่ขมขื่น แต่ไม่ลำบากมากจนเกินไป ข้าพเจ้าได้ติดต่อกับรัฐบาลไทยเช่นเดียวกับที่เคยทำเสมอมา แม้ว่ารัฐบาลไทยได้แสดงท่าที อ่อนข้อลงน้อยกว่าสมัยก่อน
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic11.html
🗃 การเบียดเบียนศาสนาจากหลักฐานเอกสาร
การสู้รบระหว่างไทยและฝรั่งเศสเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 หลังจากนี้ไม่นานนัก พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนรายงานเกี่ยวกับการเบียดเบียนศาสนาถึงพระสังฆราชดราปิเอร์ ผู้แทนพระสันตะปาปาในอินโดจีน ลงวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1940 เพื่อรายงานถึงเหตุการณ์ต่างๆ ของการเบียดเบียนศาสนาในเวลานั้นให้ทราบ (รายละเอียดดูได้จาก A.M.E., Bangkok, DI 140-20)
อันที่จริงนับตั้งแต่มีการสู้รบกัน กรมตำรวจได้ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจัดการกับคนเชื้อชาติฝรั่งเศสที่อยู่ตามจังหวัดต่างๆ โดยแบ่งคำสั่งออกเป็น 4 ข้อด้วยกัน เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 คือนับตั้งแต่วันแรกที่มีการประกาศสงครามกัน (สารสาสน์ ฉบับที่ 1 ปีที่ 25, มกราคม ค.ศ. 1941, หน้า 48-49) คณะเลือดไทยมีจุดมุ่งหมายต่อต้านศาสนาคริสต์โดยตรง อันแสดงถึงการเบียดเบียนศาสนาจาก ส่วนของประชาชนชาวไทย เอกสารของคณะเลือดไทยมีดังนี้
“ที่เกิดของคณะเลือดไทยเราคือ จังหวัดพระนคร แล้วได้กระจายออกไปทุกหนทุกแห่ง เช่น “คณะเลือดไทยเชียงใหม่” เชื่อว่าพวกเราทั้งหลายคงได้พบข่าวจากหนังสือพิมพ์บางฉะบับลงข่าวว่า “คณะเลือดไทยเชียงใหม่” ได้พร้อมใจกันไม่ยอมทำการติดต่อกับพวกบาดหลวงและนางชี ตลอดจนพวกที่นิยมลัทธิสาสนาโรมันคาธอลิก มีอาทิเช่น ไม่ยอมขายอาหารให้แก่คนจำพวกนี้ โดยที่ถือว่าบุคคลจำพวกนี้เป็นสัตรูของชาติไทย และพร้อมพร้อมกันนี้ กรรมกรรถทุกชะนิดไม่ยอมให้บุคคลจำพวกที่ได้กล่าวนามมาแล้ว โดยสารรถยนต์ของตน ถึงแม้ว่าพวกเขาจะได้รับค่าจ้างอย่างแพงแสนแพง เขาก็หาได้พึงปรารถนาไม่ และ “คณะเลือดไทย” ในจังหวัดพระนครซึ่งเป็นที่มาแห่งคณะเลือดไทย ก็ไม่ยอมทำการซื้อสิ่งของที่เป็นของชนชาติสัตรูกับเรา และพวกที่นิยมลัทธิของสัตรูเป็นอันขาด
นี่คือความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของพวกเราชาวไทย “สาขาคณะเลือดไทยพนัส” รู้สึกปลาบปลื้มยิ่ง นักในความสำเร็จอันใหญ่หลวงของคณะเลือดไทยที่ได้ปฏิบัติมาทุกๆคราว สุดที่จะหาคำใด มากล่าวให้ดียิ่งกว่านี้ได้
ฉะนั้น “สาขาคณะเลือดไทยพนัส” จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ร่วมกันว่า นับแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป เราเลือดไทย จะไม่ยอมให้บุคคลจำพวกที่ได้กล่าวนามมาแล้วข้างต้น โดยสารรถยนต์ หรือยอมรับใช้ ตลอดจนการสนับสนุนด้วยประการใดๆ ดังกล่าวมาแล้ว เพราะเลือดไทยถือว่าบุคคล เหล่านี้เป็นสัตรูของชาติไทยเรา และพวกที่นิยมลัทธิของสัตรู พวกเราถือว่า เขาลืมชาติ ลืมศาสนาอันแท้จริงของเขาเสียสิ้น มัวเมาไปหลงนิยมลัทธิอันเป็นสัตรูของเรา พวกเราจงนึกดูซิ ว่าที่รัฐบาลจับพวกแนวที่ 5 ได้นั้น เขาเหล่านี้ก็คือพวกที่นับถือสาสนาโรมันคาธอลิกซึ่งได้รับ คำสั่งสอนของสัตรู คอยหาโอกาสที่จะเอาพวกเราเป็นทาสของเขา ตลอดจนทำลายชาติของ เราให้ย่อยยับไป พวกเราต้องระวังแนวที่ 5 นี้จงมาก และช่วยกันกำจัดลัทธิอันนี้ให้สิ้นเชิง
พวกพี่น้องทั้งหลาย จงอย่าลืมว่าพวกเราชาวไทยได้รับความขมขื่นมาแล้วเป็นจำนวนตั้ง 70 ปี บัดนี้เป็นศุภนิมิตต์อันดีงามของพวกเราแล้ว “สาขาคณะเลือดไทยพนัส” จึงขอร้องให้พวกเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ช่วยกันขับไล่ ชนชาติที่เป็นสัตรูของเรา ให้เขานำลัทธิอันแสนอุบาทว์นี้ ออกไปเสียจากแหลมทอง แล้วญาติพี่น้องของเราที่หลงงมงายอยู่ จะได้กลับมายัง แนวทางเดิมที่บรรพบุรุษของเราที่ได้อุตส่าห์สร้างสมไว้เพื่อลูกหลานเหลนชั้นหลัง”
หลังจากนั้น อีก 2-3 เดือนต่อมา พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายถึงนายโรเชร์ การ์โร กงสุลฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ลงวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1941 รายงานเกี่ยวกับการเบียดเบียนศาสนา โดย คณะเลือดไทยหลายเรื่องต่อมา พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายถึงศูนย์กลางคณะที่กรุงปารีสรายงาน เกี่ยวกับการเบียดเบียนศาสนาที่มียิ่งทียิ่งรุนแรงขึ้นว่าดังนี้
“การเบียดเบียนต่อศาสนาคาทอลิกได้เริ่มขึ้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 1940 เวลา 10:00 น. ตอน เย็น บรรดามิชชันนารีฝรั่งเศสที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดต่างๆ ของไทยที่เกิดกรณีพิพาทอินโดจีน แต่ละองค์ต่างก็ได้รับการเยี่ยมเยือนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายนาย ซึ่งบังคับให้พวกเขา ติดตามไปที่สถานีตำรวจ ที่นั่นเขาได้ป้อนคำถามต่อบรรดามิชชันนารี ต่อจากนั้นได้ให้พวก เขาลงชื่อด้วยการสัญญาว่าจะเดินทางออกจากพื้นที่ภายในเวลา 48 ชั่วโมง วันรุ่งขึ้นมิชชันนารีแต่ละองค์ได้เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ พร้อมกับมีคำสั่งห้ามเดินทางออกไป ข้าพเจ้าได้ส่งบรรดาพระสงฆ์พื้นเมืองจากวัดอื่นไปทำหน้าที่แทนพวกเขา พระสงฆ์ 2 องค์ในจำนวนเหล่า นี้ ทั้งๆที่เป็นคนไทย ได้ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและถูกใส่ความกล่าวหาว่า "เป็นแนวที่ 5"; ถูกจองจำในคุกเป็นเวลา 3 เดือนในตอนแรก พวกเขาถูกตัดสินในเดือนมีนาคมให้จำคุกคนละ 2 ปี พระสงฆ์ไทยองค์ที่ 3 ถูกขังอยู่ในคุกตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม ยังคงรอคอยการพิพากษาและคำตัดสินโดยไม่มีความผิด
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ รัฐบาลไทยได้เรียกประชุมอย่างเป็นทางการเพื่อทำให้พวกคริสตังละทิ้ง ศาสนา พวกลูกจ้างของรัฐบาลที่กรุงเทพฯ ได้รับคำสั่งให้ไปที่วัดมหาธาตุซึ่งเป็นวัดพุทธ รัฐมนตรีหลายนายที่เป็นสมาชิกของคณะรัฐบาลได้ดำเนินการประชุม ด้วยการบอกกับบรรดาผู้เข้าประชุมว่า พวกเขาต้องเซ็นชื่อลงในเอกสารที่เตรียมมาเพื่อการนี้เพื่อยืนยันว่าพวกเขาเป็นคนพุทธ ซึ่งจงรักภักดีต่อประเทศไทย คาทอลิกบางคนได้เซ็นชื่อ เช่นเดียวกับพวกโปรเตสตันท์จำนวนมาก , พวกที่นับถือลัทธิขงจื๊อ , พวกอิสลาม เป็นต้น แต่ส่วนมากได้ปฏิเสธ ทั้งๆที่ถูกใช้อำนาจในการเกลี้ยกล่อมทุกวิถีทาง รัฐบาลไทยในขณะนี้ถือว่าไม่ได้บังคับใครให้เปลี่ยนศาสนา แต่แสดงความปรารถนาเพียงอย่างเดียวว่าประชาชนทุกคนควรนับถือศาสนา เดียวกัน แม้ว่าการประกาศเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหลอกลวงสาธารณชนต่างชาติ ข้อเท็จจริงก็คือว่า บรรดาลูกจ้างฝ่ายปกครองที่ไม่ประกาศตัวเป็นพุทธได้ถูกไล่ออกจากงาน บรรดาพ่อค้า ที่เป็นคริสตังถูกรวมหัวไม่ทำการค้าด้วย และห้ามซื้อสินค้าของพวกพ่อค้าคริสตัง พวกเกษตรกรและลูกจ้างแรงงานอื่นๆ ที่หาเช้ากินค่ำถูกเรียกตัวไปโดยนายอำเภอเพื่อทำการประชุมให้ ละทิ้งศาสนา ตราบใดที่พวกเขาปฏิเสธพวกเขาก็ถูกบังคับให้อยู่ที่นั่น ไม่สามารถไปทำงานได้ ด้วยเหตุนี้ พวกเขาก็ไม่มีอะไรเลี้ยงตัวเองและครอบครัวของพวกเขา
ภายหลังการประชุมให้ละทิ้งศาสนาที่จัดขึ้นทั่วทุกแห่งในวันเดียวกันการเบียดเบียนทำได้อย่างอิสระ : พวกผู้ก่อเหตุร้ายได้รวมตัวกันเป็น "คณะเลือดไทย" และอวดตัวว่าเป็นผู้ที่รัฐบาลสนับสนุน ในหมู่บ้านคริสตังหลายแห่ง วัดคาทอลิกถูกโจมตีในระหว่างเวลากลางคืน ทุบทำลายไม้กางเขน , รูปปั้นต่างๆ , ศาสนภัณฑ์ศักดิ์สิทธิ์ , ฉีกทำลายและทำทุรจารภาพวาดนักบุญต่างๆ และศาสนภัณฑ์ต่างๆ ขณะรอคอยเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งได้ไปแจ้งความและขอความช่วยเหลือ ก่อนที่เขาจะมาพวกผู้ก่อเหตุร้ายก็หนีไปแล้ว ดังนั้นเขาจึงประกาศว่า เขาไม่เห็นอะไรเลยและไม่สามารถกล่าวโทษใครได้ ภายหลังที่มีการปล้นเกิดขึ้นในเวลากลางคืน พวกผู้ก่อเหตุร้ายที่เหิมเกริมเพราะไม่ถูกลงโทษ ได้เข้าปล้นวัดต่างๆ กลางวันแสกๆ พร้อมทั้งทำลายวัดนั้นๆ ซึ่งมีพวกคริสตังจำนวนไม่มากพอที่จะขัดขวาง ตำรวจที่ถูกเรียกตัวมาได้ตอบแบบเดิมๆว่า เขาได้รับคำสั่งไม่ให้ยุ่งเกี่ยว ข้าพเจ้าได้นำคำร้องทุกข์ไปยื่นต่อรัฐบาลที่กรุงเทพฯด้วยตนเอง แต่ก็ไม่มีผลอะไร อธิบดีกรมตำรวจซึ่งข้าพเจ้ารู้จักและไปพบเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ตอบข้าพเจ้าอย่างชัดเจนว่าข้าพเจ้า ไม่ต้องมาด้วยตนเอง เพราะเขาทราบเรื่องดีแล้วจากจดหมายอีกอย่างหนึ่ง จดหมายต่างๆของข้าพเจ้าได้ตกค้างอยู่ และยังคงตกค้างอยู่โดยไม่ได้รับคำตอบ ในระหว่างเวลานั้นวิทยุกระจายเสียงภาษาไทยได้พูดสบประมาทพวกคริสตัง เยาะเย้ย และได้พูดเน้นในเวลาเดียวกันว่าในประเทศไทย พวกคริสตังมีอิสระอย่างเต็มที่ และมีความสุขมากกว่าพวกที่อยู่ในประเทศใดในโลก
มิชชันนารีฝรั่งเศส 13 องค์ ถูกตำรวจจับกุมเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน และถูกบังคับให้เดินทางมากรุงเทพฯ โดยไม่สามารถทำอะไรได้เลย พวกเราตัดสินใจว่ามันจะดีกว่ามากถ้าพวกเขาจะเดินทางออกนอกประเทศชั่วคราวเพื่อไปอยู่ที่อื่นที่เป็นประโยชน์กว่าพวกเขาได้ออกเดินทางไปอยู่ในโคชินจีนและกัมพูชาที่ ซึ่งพวกเขาได้ทำงานอภิบาลของพวกเขาในหมู่คนญวนและคนจีนตามภาษาที่พวกเขาเข้าใจ นอกจากนี้ ภราดาคณะเซนต์คาเบรียล 13 รูป ได้รับคำสั่งห้ามทำการสอนเพราะพวกเขาเป็นชาวฝรั่งเศส ขณะเดียว กันต้องเดินทางออกนอกประเทศ พวกเขาได้เดินทางไปอยู่ที่สิงคโปร์และอินเดียที่ซึ่งวิทยาลัยต่างๆ ที่พวกเขาเป็นเจ้าของตั้งอยู่ บรรดาภราดาที่เป็นชาวสเปนและชาวไทยก็ยังคงดำเนินการต่อไปในวิทยาลัยต่างๆ ที่นี่โดยมีพวกฆราวาสคอยช่วยเหลือ บรรดาภคินีคณะเซนต์ปอลเดอชาร์ตร และนักบวชหญิงคณะอุร์สุลินสัญชาติฝรั่งเศส ต้องเดินทางออกนอกประเทศเช่นเดียวกัน เพราะถูกห้ามทำการสอน ได้มีบันทึกไว้ว่า บรรดาภราดา และนักบวชหญิงที่ทำหน้าที่เป็นครูเหล่านี้ได้ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศได้ผ่านการสอบอย่างเป็นทางการและได้รับใบประกาศนียบัตรที่จำเป็นสำหรับทำการสอนตามที่กระทรวงกำหนดมาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว
ในขณะนั้น รัฐธรรมนูญที่ใช้ในการปกครองประเทศมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1932 ได้ประกาศอย่างเปิดเผยในข้อที่ 13 ว่า "คนทุกคนมีเสรีภาพในการถือศาสนาที่ตนเลือกและปฏิบัติตามความเชื่อถือของตนที่ไม่ขัดต่อ ประเพณีอันดีงามและความสงบสุขของพลเมือง" อีกประการหนึ่ง บรรดาคริสตังของประเทศสยาม (ปัจจุบัน คือประเทศไทย) ได้แสดงตนเป็นพลเมืองที่ดี เป็นผู้ปฏิบัติตามกฎหมายทุกอย่างของประเทศอย่างเคร่งครัด เสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมต่างๆอย่างสม่ำเสมอเช่นเดียวกับประชาชนคนอื่นๆเขาต้องการแสดงให้เห็นว่า ศาสนาคาทอลิกกับประเทศฝรั่งเศสเป็นสิ่งเดียวกัน โดยถือว่าพวกคาทอลิกรักประเทศฝรั่งเศสราวกับเป็นประเทศของตนซึ่งทุกคนที่นี่รู้ดีว่าเป็นสิ่งที่ไม่เป็นจริงโดยสิ้นเชิง ศาสนาคาทอลิกเป็นศาสนาสากล ไม่ใช่ศาสนาของประเทศใดประเทศหนึ่ง
ข้าพเจ้าได้รับโทรเลขแจ้งว่า พระคุณเจ้า พระคาร์ดินัล มีน้ำใจอันดีในการที่จะส่งข่าวผ่านทางนายมอง ติน ญี เมื่อวันที่ 20 เมษายน เพื่อแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบว่า พระสังฆราชปาซอตตีจะช่วยดูแลมิสซังของเราทั้งหมดเป็นอย่างดี พวกเราได้รับแจ้งการแต่งตั้งพระสังฆราชปาซอตตีเป็นประมุขมิสซังราชบุรีแล้ว ข่าวนี้นำความชื่นชมยินดีมาสู่ทุกคน และเราทั้งหมดก็รู้สึกซาบซึ้งเป็นอย่างยิ่ง สถานการณ์ที่นี่ขมขื่น แต่ไม่ลำบากมากจนเกินไป ข้าพเจ้าได้ติดต่อกับรัฐบาลไทยเช่นเดียวกับที่เคยทำเสมอมา แม้ว่ารัฐบาลไทยได้แสดงท่าที อ่อนข้อลงน้อยกว่าสมัยก่อน
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic11.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
เหตุการณ์การเบียดเบียนศาสนาทั่วประเทศ โดย คุณพ่อวิกตอร์ ลารเก
ในระยะเวลานี้ คริสตชนตามที่ต่างๆ ได้รับการเบียดเบียนและถูกกลั่นแกล้งต่างๆ นานาศาสนสถานถูกทำลาย จากรายงานเรื่องการเบียดเบียนศาสนาในประเทศไทยระหว่างปี ค.ศ. 1940-1945 โดยคุณพ่อวิกตอร์ ลารเก ซึ่งจัดทำไว้เมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1984 รายงานนี้บอกให้ทราบถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับการเบียดเบียนคริสตศาสนาทั่วประเทศ พร้อมทั้งได้รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องเอาไว้ด้วยดังนี้
เหตุการณ์การเบียดเบียนศาสนา
วิธีการต่างๆ ถูกนำมาใช้เหมือนกันหมดทั่วทุกแห่งกับบรรดามิชชันนารีและบรรดาพระสงฆ์พื้นเมืองได้มีการกดขี่ทุกวิถีทางเพื่อให้พวกคริสตังละทิ้งศาสนา
ก. บรรดามิชชันนารี รัฐบาลเป็นผู้บัญชาการ
วันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940
บรรดามิชชันนารีที่อยู่ทางภาคอีสานหรือมิสซังหนองแสงถูกขับไล่ พวกมิชชันนารีของมิสซังกรุงเทพฯ ที่อยู่ตามจังหวัดต่างๆ ถูกบังคับให้ออกจากวัดที่พวกเขาปกครอง และให้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ภายใน เวลา 48 ชั่วโมง
วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1941
บรรดามิชชันนารีชาวฝรั่งเศสทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม ต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ภายในเวลา 72 ชั่วโมง และมีคำสั่งห้ามออกจากกรุงเทพฯ โดยเด็ดขาด
ข. บรรดาพระสงฆ์ไทย
พระสงฆ์ไทยบางองค์ได้หลบหนีไปอยู่ที่จังหวัดอุบล (สำหรับผู้ที่อยู่ในภาคอีสาน) หรือกรุงเทพฯ (สำหรับผู้ที่ยังคงอยู่ในประเทศ)
ส่วนพระสงฆ์องค์อื่นๆ ถูกบังคับให้ละทิ้งศาสนา
ถ้าพวกเขายินยอมลงชื่อ พวกเขาจะได้รับการพิจารณาว่าเป็นพลเมืองดี
ถ้าพวกเขาปฏิเสธไม่ยอมละทิ้งศาสนา พวกเขาต้องถูกขังคุก 1 เดือน , 2 เดือน แล้วปล่อยให้ไปอยู่ที่อุบล หรือกรุงเทพฯ องค์อื่นๆ ถูกฟ้องในข้อหาเป็นแนวที่ 5 ถูกตัดสินลงโทษอย่างหนักถูกจำคุก 2 ปี , 3 ปี บางองค์ถูกจำคุกตลอดชีวิตโดยคำสั่งของศาลทหารซึ่งใช้พยานเท็จปรักปรำ การกระทำทุกอย่างนี้เพื่อข่มขู่พวกคริสตัง
ค. บรรดาคริสตัง
พวกคริสตังมีชีวิตอยู่ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมอันน่าสะพรึงกลัว
1. พวกผู้ใหญ่
พวกผู้ใหญ่ถูกข่มขู่ทั้งจากผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอและจากพวกสมาชิกของคณะเลือดไทย ด้วยการดูถูกเหยียดหยาม ด่าอย่างหยาบคาย ขู่เข็ญ ปล้นสะดม ทำลายทุกอย่าง ฝ่ายนายอำเภอได้เรียกประชุมหัวหน้าพวกคริสตัง หรือคนที่เขาเชื่อว่ามีอิทธิพล ถ้าคนเหล่านี้เซ็นชื่อปฏิเสธความเชื่อคาทอลิก และยอมเป็นพุทธ พวกเขาก็จะได้รับการปล่อยตัว คนจำนวนมากถูกจับขังคุกในข้อหาเป็นจารชน พวกผู้ชาย และผู้หญิง หัวหน้าครอบครัว ถูกเรียกประชุมเป็นเวลาหลายชั่วโมงทุกวัน เพื่อฟังคำด่าแช่ง คำสบประมาท การขู่เข็ญต่างๆนานา (บางครั้งเจาะจงพวกผู้หญิงและเด็กสาวๆ) ถ้าพวกเขาไม่ยอมละทิ้งศาสนา ข้าพเจ้าจะพูดเรื่องนี้พร้อมกับเอกสาร
2. พวกเด็กๆ
โรงเรียนคาทอลิกทุกแห่งถูกสั่งปิด และพวกเด็กๆ ถูกบังคับให้ไปเรียนในโรงเรียนของรัฐบาลซึ่งพวกครูเป็นสมาชิกของคณะเลือดไทย พวกเด็กๆ ถูกบังคับให้ละทิ้งศาสนาและกราบไหว้พระพุทธรูปเหมือนเป็นพระเจ้าของพวกเขา ถ้าใครขัดขืน ก็ถูกเฆี่ยนตี ฯลฯ จนกว่าจะยอมละทิ้งศาสนา ข้าพเจ้าจะพูดถึงประเด็นนี้ ต่อไปภายหลัง ในเวลานั้น หนังสือพิมพ์บางฉบับได้ตีพิมพ์จำนวนผู้ที่ลงชื่อละทิ้งศาสนาวันต่อวัน…
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic12.html
เหตุการณ์การเบียดเบียนศาสนาทั่วประเทศ โดย คุณพ่อวิกตอร์ ลารเก
ในระยะเวลานี้ คริสตชนตามที่ต่างๆ ได้รับการเบียดเบียนและถูกกลั่นแกล้งต่างๆ นานาศาสนสถานถูกทำลาย จากรายงานเรื่องการเบียดเบียนศาสนาในประเทศไทยระหว่างปี ค.ศ. 1940-1945 โดยคุณพ่อวิกตอร์ ลารเก ซึ่งจัดทำไว้เมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1984 รายงานนี้บอกให้ทราบถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับการเบียดเบียนคริสตศาสนาทั่วประเทศ พร้อมทั้งได้รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องเอาไว้ด้วยดังนี้
เหตุการณ์การเบียดเบียนศาสนา
วิธีการต่างๆ ถูกนำมาใช้เหมือนกันหมดทั่วทุกแห่งกับบรรดามิชชันนารีและบรรดาพระสงฆ์พื้นเมืองได้มีการกดขี่ทุกวิถีทางเพื่อให้พวกคริสตังละทิ้งศาสนา
ก. บรรดามิชชันนารี รัฐบาลเป็นผู้บัญชาการ
วันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940
บรรดามิชชันนารีที่อยู่ทางภาคอีสานหรือมิสซังหนองแสงถูกขับไล่ พวกมิชชันนารีของมิสซังกรุงเทพฯ ที่อยู่ตามจังหวัดต่างๆ ถูกบังคับให้ออกจากวัดที่พวกเขาปกครอง และให้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ภายใน เวลา 48 ชั่วโมง
วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1941
บรรดามิชชันนารีชาวฝรั่งเศสทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม ต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ภายในเวลา 72 ชั่วโมง และมีคำสั่งห้ามออกจากกรุงเทพฯ โดยเด็ดขาด
ข. บรรดาพระสงฆ์ไทย
พระสงฆ์ไทยบางองค์ได้หลบหนีไปอยู่ที่จังหวัดอุบล (สำหรับผู้ที่อยู่ในภาคอีสาน) หรือกรุงเทพฯ (สำหรับผู้ที่ยังคงอยู่ในประเทศ)
ส่วนพระสงฆ์องค์อื่นๆ ถูกบังคับให้ละทิ้งศาสนา
ถ้าพวกเขายินยอมลงชื่อ พวกเขาจะได้รับการพิจารณาว่าเป็นพลเมืองดี
ถ้าพวกเขาปฏิเสธไม่ยอมละทิ้งศาสนา พวกเขาต้องถูกขังคุก 1 เดือน , 2 เดือน แล้วปล่อยให้ไปอยู่ที่อุบล หรือกรุงเทพฯ องค์อื่นๆ ถูกฟ้องในข้อหาเป็นแนวที่ 5 ถูกตัดสินลงโทษอย่างหนักถูกจำคุก 2 ปี , 3 ปี บางองค์ถูกจำคุกตลอดชีวิตโดยคำสั่งของศาลทหารซึ่งใช้พยานเท็จปรักปรำ การกระทำทุกอย่างนี้เพื่อข่มขู่พวกคริสตัง
ค. บรรดาคริสตัง
พวกคริสตังมีชีวิตอยู่ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมอันน่าสะพรึงกลัว
1. พวกผู้ใหญ่
พวกผู้ใหญ่ถูกข่มขู่ทั้งจากผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอและจากพวกสมาชิกของคณะเลือดไทย ด้วยการดูถูกเหยียดหยาม ด่าอย่างหยาบคาย ขู่เข็ญ ปล้นสะดม ทำลายทุกอย่าง ฝ่ายนายอำเภอได้เรียกประชุมหัวหน้าพวกคริสตัง หรือคนที่เขาเชื่อว่ามีอิทธิพล ถ้าคนเหล่านี้เซ็นชื่อปฏิเสธความเชื่อคาทอลิก และยอมเป็นพุทธ พวกเขาก็จะได้รับการปล่อยตัว คนจำนวนมากถูกจับขังคุกในข้อหาเป็นจารชน พวกผู้ชาย และผู้หญิง หัวหน้าครอบครัว ถูกเรียกประชุมเป็นเวลาหลายชั่วโมงทุกวัน เพื่อฟังคำด่าแช่ง คำสบประมาท การขู่เข็ญต่างๆนานา (บางครั้งเจาะจงพวกผู้หญิงและเด็กสาวๆ) ถ้าพวกเขาไม่ยอมละทิ้งศาสนา ข้าพเจ้าจะพูดเรื่องนี้พร้อมกับเอกสาร
2. พวกเด็กๆ
โรงเรียนคาทอลิกทุกแห่งถูกสั่งปิด และพวกเด็กๆ ถูกบังคับให้ไปเรียนในโรงเรียนของรัฐบาลซึ่งพวกครูเป็นสมาชิกของคณะเลือดไทย พวกเด็กๆ ถูกบังคับให้ละทิ้งศาสนาและกราบไหว้พระพุทธรูปเหมือนเป็นพระเจ้าของพวกเขา ถ้าใครขัดขืน ก็ถูกเฆี่ยนตี ฯลฯ จนกว่าจะยอมละทิ้งศาสนา ข้าพเจ้าจะพูดถึงประเด็นนี้ ต่อไปภายหลัง ในเวลานั้น หนังสือพิมพ์บางฉบับได้ตีพิมพ์จำนวนผู้ที่ลงชื่อละทิ้งศาสนาวันต่อวัน…
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic12.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
คำกล่าวของหลวงอดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ
อธิบดีกรมตำรวจคัดค้านเรื่องเบียดเบียนอย่างตรงๆ แต่ท่านปฏิบัติตามคำสั่งของหลวงพิบูลสงคราม อย่างไรก็ตามท่านก็เป็นเพียงคนเดียวซึ่งนายกรัฐมนตรีเกรงใจ และเช่นเดียวกันคำสั่งเบียดเบียนเป็นคำสั่งลับ อธิบดีกรมตำรวจจึงกล้าผ่อนผันในหลายๆเรื่อง และช่วยเหลือพวกคริสตัง ผู้เขียนเอง (คุณพ่อลารเก) ก็เคยได้รับความช่วยเหลือจากท่านหลายครั้ง ท่านเป็นมุสลิม คำพูดของหลวงพิบูลในเรื่องเอกภาพทาง ศาสนาเป็นการข่มขู่ไม่ใช่เฉพาะต่อศาสนาคริสต์เท่านั้น แต่เป็นการข่มขู่ศาสนาอิสลามด้วย
ก. คำกล่าวของหลวงอดุล เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941
ในฐานะอธิบดีกรมตำรวจ หลวงอดุลสั่งให้ชาวฝรั่งเศสซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย เดินทางออกนอกประเทศทันทีทันใดภายในวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 ส่วนคนอื่นให้เดินทางเข้ามาในกรุงเทพฯ ภายในวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1941 ภายในเวลา 72 ชั่วโมง สำหรับประเด็นนี้ไม่ขอพูดถึง
มีรายงานว่าการเบียดเบียนศาสนาพวกคนไทยที่เป็นคาทอลิกโดยผู้ว่าราชการจังหวัด , นายอำเภอ และสมาชิกคณะเลือดไทยของหลวงพิบูล ได้เริ่มขึ้นแล้ว
นับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 เป็นต้นมา มีประกาศทางวิทยุกระจายเสียงและตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับ นี่คือที่มาของ
เอกสารหมายเลข 5/2
ซึ่งเนื้อหาโดยสรุปได้ถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสารคาทอลิก "สารสาสน์" ฉบับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 หน้า 106-107 เป็นเนื้อหาที่นำมาจากหนังสือพิมพ์ “นิกร” ฉบับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 หน้า 2 ดังมีใจความต่อไปนี้
“ข้อสาม ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ให้ระงับการเสียดสี ขู่เข็ญ หรือบังคับในเรื่องการถือศาสนา
ทั้งนี้ ให้ตกเป็นหน้าที่ของตำรวจท้องที่ทั่วไป ที่จะต้องสอดส่องระมัดระวัง... เพราะว่าในการสนับสนุนรัฐบาลในการปรับปรุงเส้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส... บางหมู่คณะได้เป็นไปในจำพวกรุนแรงเกินเลยขอบเขต และบ้างก็แตกความคิดเห็นเป็นหมู่เป็นคณะและเป็นบุคคล มีการกระทบกระทั่งเสียดสี ขู่เข็ญระหว่างกัน... บางกรณีก็มีการทุจริตเคลือบแฝงเจือปนเพื่อหาประโยชน์ส่วนตับางกรณี ก็มีการลอบทำร้ายกัน... อาจเป็นการกระทบกระเทือนแก่ชาวต่างประเทศที่มีสัมพันธไมตรีกับประเทศไทย... ไม่ต้องด้วยนโยบายของรัฐบาล เป็นมูลเหตุแห่งการเริ่มต้นที่จะก่อความไม่สงบ ผิดศีลธรรม ผิดมนุษยธรรม หรือผิดวิธีการที่อารยชนจะพึงปฏิบัติ”
ข. หลวงอดุล
ได้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งใช้ชื่อว่า “ไทยเอกราช” ในหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ท่านได้เรียกร้องอิสรภาพทางศาสนาต่อไป ตามรัฐธรรมนูญมาตราที่ 1 และมาตราที่ 13 ดังนี้
เอกสารหมายเลข 1
“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”
มาตราที่ 1 ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิดหรือสาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอ
คำอธิบายของสำนักโฆษณาการ : ประชาชนไม่ว่าเหล่ากำเนิดหรือสาสนาใดๆ ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน คนไทยหรือชาวไทยอาจพูดภาษาผิดเพี้ยนกันไปได้ และนับถือสาสนาต่างกันก็ได้ แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการทำให้พวกเราแตกแยกกันไป หรือทำให้ฐานะของชาวไทยแตกต่างกันเลย รัฐธรรมนูญได้ให้ความคุ้มครองแก่ชนชาวไทยเหมือนกันหมด ชาวไทยจึงอาจจะนับถือพระพุทธสาสนาก็ได้ สาสนาอิสลามก็ได้ หรือคริสตศาสนาก็ได้ ตามแต่ใจสมัคร
มาตรา 13 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาหรือลัทธิใดๆ และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เปนการปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เปนการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมของประชาชน”
คำอธิบายของสำนักโฆษณาการ : มาตรานี้แสดงว่า บุคคลทุกคนย่อมมีเสรีภาพในการที่จะนับถือศาสนาใดๆ ทั้งนั้นรัฐธรรมนูญย่อมให้ความคุ้มครองประชาชนชาวไทยซึ่งถือสาสนาต่างๆ โดยเท่าเทียมกันหมด อนึ่ง เมื่อผู้ใดนับถือศาสนาใดแล้ว ก็ย่อมมีเสรีภาพที่จะประกอบพิธีกรรมต่างๆ ในศาสนานั้นตามความเชื่อถือของตนได้ เช่น กราบไหว้บูชาสิ่งที่เชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น...
หลวงอดุลจะทำการเรียกร้องให้ปฏิบัติตามกฎรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ
ค. ในขณะที่หนังสือพิมพ์ฉบับอื่นไม่ได้พูดถึงการกระทำที่โหดร้ายทารุณ
การเผาวัดหรือทำลายวัด การจับพวกคริสตังขังคุกหรือข่มขู่เพื่อให้ละทิ้งศาสนาหลวงอดุลพูดถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจนในหนังสือพิมพ์ไทยเอกราช และถ้าใครมีโอกาสเข้าไปที่หอสมุดแห่งชาติที่ท่าวาสุกรี เขาจะสามารถใช้ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ในการทำประวัติการเบียดเบียนศาสนาระหว่างปี ค.ศ. 1940-1944 ได้ แต่เจ้าหน้าที่จะห้ามเข้าไปโดยบอกว่า “ไม่มีหนังสือพิมพ์ไทยเอกราชที่นี่” และประตูก็จะไม่เปิดอีกเลย หนังสือพิมพ์ฉบับอื่นหาอ่านได้ง่ายกว่า แต่สำหรับคนที่สามารถเข้าไปที่นั่นได้ก็จะอยู่ในสายตาของพวกเจ้าหน้าที่หอสมุดตลอดเวลา พวกคาทอลิกจึงไม่กล้าไปค้นหาหนังสือพิมพ์ร่วมสมัยในสถานที่ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าประสพความสำเร็จในการทำสำเนาเอกสาร 2 เรื่องจากหนังสือพิมพ์ไทย เอกราชที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ และตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษร่วมสมัยชื่อ “บางกอกไทม์ส”
เป็นเพราะหนังสือพิมพ์ดังกล่าวถูกตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ หนังสือพิมพ์ฉบับนี้จึงไม่ทำให้เจ้าหน้าที่หอสมุดเกิดความระแวงสงสัย ความรักสัญชาติไทยอันบริสุทธิ์ของเขาไม่มีความบาดหมาง
ง. บทความจากหนังสือพิมพ์ไทยเอกราช
นี่คือบทความ 2 บทที่แปลจากหนังสือพิมพ์ไทยเอกราชของหลวงอดุลแปลและตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ บางกอกไทม์ส บทความแรกพบได้ที่นี่ นี่คือ
เอกสารหมายเลข 11
ที่เริ่มต้นพูดถึงเรื่องการเลือกที่รักมักที่ชังระหว่างพวกคริสตังและชาวมุสลิมพวกหนึ่ง และชาวพุทธอีกพวกหนึ่ง ข้อความเป็นภาษาอังกฤษ ข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องแปลเป็นภาษาไทยอีกประการหนึ่ง ข้าพเจ้าคิดว่าท่านก็มีเอกสารฉบับนี้แล้ว ถึงแม้จะเป็นภาษาอังกฤษ
บทความที่ 2 พูดเรื่องการเบียดเบียนอย่างตรงๆ หลวงอดุลกล่าวตำหนิผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม (หนองแสง) , พวกนายอำเภอ และคณะเลือดไทยอย่างตรงๆ เสแสร้งทำเป็นไม่รู้เรื่องคำสั่งของการเบียดเบียน เพราะว่าคำสั่งเหล่านั้นเป็นความลับ ข้อความนี้พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษซึ่งข้าพเจ้ามิได้แปลเป็นภาษาไทย นี่คือ
เอกสารหมายเลข 12
ตามปกติจะต้องพูดถึงต่อไป แต่ข้าพเจ้าแยกพูดเรื่องการเบียดเบียนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับเรื่องที่เกิดขึ้นในภาคอื่นของประเทศไทย ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าจะแทรกไว้ที่ตรงไหนดี ไม่ว่าจะลงไว้ที่ไหนก็ยังถือเป็นเอกสารอยู่ดี
เป็นที่น่าสังเกตว่า หนังสือพิมพ์บางกอกไทม์สเขียนหลายครั้งว่า หนังสือพิมพ์ไทยเอกราชได้พูดถึงเรื่องการเบียดเบียนไว้หลายครั้ง เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ไม่มีใครคิดถึงเรื่องนี้ในเวลานั้น ไม่มีใครเก็บหนังสือพิมพ์ไว้เป็นหลักฐาน
ข้อสังเกต
ข้าพเจ้าไปที่หอสมุดแห่งชาติด้วยตนเองพร้อมเพื่อนอีกคนหนึ่งเพื่อหาหนังสือพิมพ์ต่างๆ และพบกับนางธารา กนกมณี เจ้าหน้าที่หนังสือพิมพ์ฉบับนี้(ไทยเอกราช) ได้อันตรธานหายไปอย่างไร้ร่องรอย ไม่มีการเอ่ยถึงร่องรอยของการเบียดเบียนในหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับต่างๆในสมัยนั้นเลย พวกเขาได้ลืมนึกถึงหนังสือพิมพ์ฉบับภาษาอังกฤษไป
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic13.html
คำกล่าวของหลวงอดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ
อธิบดีกรมตำรวจคัดค้านเรื่องเบียดเบียนอย่างตรงๆ แต่ท่านปฏิบัติตามคำสั่งของหลวงพิบูลสงคราม อย่างไรก็ตามท่านก็เป็นเพียงคนเดียวซึ่งนายกรัฐมนตรีเกรงใจ และเช่นเดียวกันคำสั่งเบียดเบียนเป็นคำสั่งลับ อธิบดีกรมตำรวจจึงกล้าผ่อนผันในหลายๆเรื่อง และช่วยเหลือพวกคริสตัง ผู้เขียนเอง (คุณพ่อลารเก) ก็เคยได้รับความช่วยเหลือจากท่านหลายครั้ง ท่านเป็นมุสลิม คำพูดของหลวงพิบูลในเรื่องเอกภาพทาง ศาสนาเป็นการข่มขู่ไม่ใช่เฉพาะต่อศาสนาคริสต์เท่านั้น แต่เป็นการข่มขู่ศาสนาอิสลามด้วย
ก. คำกล่าวของหลวงอดุล เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941
ในฐานะอธิบดีกรมตำรวจ หลวงอดุลสั่งให้ชาวฝรั่งเศสซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย เดินทางออกนอกประเทศทันทีทันใดภายในวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 ส่วนคนอื่นให้เดินทางเข้ามาในกรุงเทพฯ ภายในวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1941 ภายในเวลา 72 ชั่วโมง สำหรับประเด็นนี้ไม่ขอพูดถึง
มีรายงานว่าการเบียดเบียนศาสนาพวกคนไทยที่เป็นคาทอลิกโดยผู้ว่าราชการจังหวัด , นายอำเภอ และสมาชิกคณะเลือดไทยของหลวงพิบูล ได้เริ่มขึ้นแล้ว
นับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 เป็นต้นมา มีประกาศทางวิทยุกระจายเสียงและตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับ นี่คือที่มาของ
เอกสารหมายเลข 5/2
ซึ่งเนื้อหาโดยสรุปได้ถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสารคาทอลิก "สารสาสน์" ฉบับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 หน้า 106-107 เป็นเนื้อหาที่นำมาจากหนังสือพิมพ์ “นิกร” ฉบับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 หน้า 2 ดังมีใจความต่อไปนี้
“ข้อสาม ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ให้ระงับการเสียดสี ขู่เข็ญ หรือบังคับในเรื่องการถือศาสนา
ทั้งนี้ ให้ตกเป็นหน้าที่ของตำรวจท้องที่ทั่วไป ที่จะต้องสอดส่องระมัดระวัง... เพราะว่าในการสนับสนุนรัฐบาลในการปรับปรุงเส้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส... บางหมู่คณะได้เป็นไปในจำพวกรุนแรงเกินเลยขอบเขต และบ้างก็แตกความคิดเห็นเป็นหมู่เป็นคณะและเป็นบุคคล มีการกระทบกระทั่งเสียดสี ขู่เข็ญระหว่างกัน... บางกรณีก็มีการทุจริตเคลือบแฝงเจือปนเพื่อหาประโยชน์ส่วนตับางกรณี ก็มีการลอบทำร้ายกัน... อาจเป็นการกระทบกระเทือนแก่ชาวต่างประเทศที่มีสัมพันธไมตรีกับประเทศไทย... ไม่ต้องด้วยนโยบายของรัฐบาล เป็นมูลเหตุแห่งการเริ่มต้นที่จะก่อความไม่สงบ ผิดศีลธรรม ผิดมนุษยธรรม หรือผิดวิธีการที่อารยชนจะพึงปฏิบัติ”
ข. หลวงอดุล
ได้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งใช้ชื่อว่า “ไทยเอกราช” ในหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ท่านได้เรียกร้องอิสรภาพทางศาสนาต่อไป ตามรัฐธรรมนูญมาตราที่ 1 และมาตราที่ 13 ดังนี้
เอกสารหมายเลข 1
“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”
มาตราที่ 1 ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิดหรือสาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอ
คำอธิบายของสำนักโฆษณาการ : ประชาชนไม่ว่าเหล่ากำเนิดหรือสาสนาใดๆ ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน คนไทยหรือชาวไทยอาจพูดภาษาผิดเพี้ยนกันไปได้ และนับถือสาสนาต่างกันก็ได้ แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการทำให้พวกเราแตกแยกกันไป หรือทำให้ฐานะของชาวไทยแตกต่างกันเลย รัฐธรรมนูญได้ให้ความคุ้มครองแก่ชนชาวไทยเหมือนกันหมด ชาวไทยจึงอาจจะนับถือพระพุทธสาสนาก็ได้ สาสนาอิสลามก็ได้ หรือคริสตศาสนาก็ได้ ตามแต่ใจสมัคร
มาตรา 13 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาหรือลัทธิใดๆ และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เปนการปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เปนการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมของประชาชน”
คำอธิบายของสำนักโฆษณาการ : มาตรานี้แสดงว่า บุคคลทุกคนย่อมมีเสรีภาพในการที่จะนับถือศาสนาใดๆ ทั้งนั้นรัฐธรรมนูญย่อมให้ความคุ้มครองประชาชนชาวไทยซึ่งถือสาสนาต่างๆ โดยเท่าเทียมกันหมด อนึ่ง เมื่อผู้ใดนับถือศาสนาใดแล้ว ก็ย่อมมีเสรีภาพที่จะประกอบพิธีกรรมต่างๆ ในศาสนานั้นตามความเชื่อถือของตนได้ เช่น กราบไหว้บูชาสิ่งที่เชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น...
หลวงอดุลจะทำการเรียกร้องให้ปฏิบัติตามกฎรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ
ค. ในขณะที่หนังสือพิมพ์ฉบับอื่นไม่ได้พูดถึงการกระทำที่โหดร้ายทารุณ
การเผาวัดหรือทำลายวัด การจับพวกคริสตังขังคุกหรือข่มขู่เพื่อให้ละทิ้งศาสนาหลวงอดุลพูดถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจนในหนังสือพิมพ์ไทยเอกราช และถ้าใครมีโอกาสเข้าไปที่หอสมุดแห่งชาติที่ท่าวาสุกรี เขาจะสามารถใช้ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ในการทำประวัติการเบียดเบียนศาสนาระหว่างปี ค.ศ. 1940-1944 ได้ แต่เจ้าหน้าที่จะห้ามเข้าไปโดยบอกว่า “ไม่มีหนังสือพิมพ์ไทยเอกราชที่นี่” และประตูก็จะไม่เปิดอีกเลย หนังสือพิมพ์ฉบับอื่นหาอ่านได้ง่ายกว่า แต่สำหรับคนที่สามารถเข้าไปที่นั่นได้ก็จะอยู่ในสายตาของพวกเจ้าหน้าที่หอสมุดตลอดเวลา พวกคาทอลิกจึงไม่กล้าไปค้นหาหนังสือพิมพ์ร่วมสมัยในสถานที่ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าประสพความสำเร็จในการทำสำเนาเอกสาร 2 เรื่องจากหนังสือพิมพ์ไทย เอกราชที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ และตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษร่วมสมัยชื่อ “บางกอกไทม์ส”
เป็นเพราะหนังสือพิมพ์ดังกล่าวถูกตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ หนังสือพิมพ์ฉบับนี้จึงไม่ทำให้เจ้าหน้าที่หอสมุดเกิดความระแวงสงสัย ความรักสัญชาติไทยอันบริสุทธิ์ของเขาไม่มีความบาดหมาง
ง. บทความจากหนังสือพิมพ์ไทยเอกราช
นี่คือบทความ 2 บทที่แปลจากหนังสือพิมพ์ไทยเอกราชของหลวงอดุลแปลและตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ บางกอกไทม์ส บทความแรกพบได้ที่นี่ นี่คือ
เอกสารหมายเลข 11
ที่เริ่มต้นพูดถึงเรื่องการเลือกที่รักมักที่ชังระหว่างพวกคริสตังและชาวมุสลิมพวกหนึ่ง และชาวพุทธอีกพวกหนึ่ง ข้อความเป็นภาษาอังกฤษ ข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องแปลเป็นภาษาไทยอีกประการหนึ่ง ข้าพเจ้าคิดว่าท่านก็มีเอกสารฉบับนี้แล้ว ถึงแม้จะเป็นภาษาอังกฤษ
บทความที่ 2 พูดเรื่องการเบียดเบียนอย่างตรงๆ หลวงอดุลกล่าวตำหนิผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม (หนองแสง) , พวกนายอำเภอ และคณะเลือดไทยอย่างตรงๆ เสแสร้งทำเป็นไม่รู้เรื่องคำสั่งของการเบียดเบียน เพราะว่าคำสั่งเหล่านั้นเป็นความลับ ข้อความนี้พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษซึ่งข้าพเจ้ามิได้แปลเป็นภาษาไทย นี่คือ
เอกสารหมายเลข 12
ตามปกติจะต้องพูดถึงต่อไป แต่ข้าพเจ้าแยกพูดเรื่องการเบียดเบียนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับเรื่องที่เกิดขึ้นในภาคอื่นของประเทศไทย ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าจะแทรกไว้ที่ตรงไหนดี ไม่ว่าจะลงไว้ที่ไหนก็ยังถือเป็นเอกสารอยู่ดี
เป็นที่น่าสังเกตว่า หนังสือพิมพ์บางกอกไทม์สเขียนหลายครั้งว่า หนังสือพิมพ์ไทยเอกราชได้พูดถึงเรื่องการเบียดเบียนไว้หลายครั้ง เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ไม่มีใครคิดถึงเรื่องนี้ในเวลานั้น ไม่มีใครเก็บหนังสือพิมพ์ไว้เป็นหลักฐาน
ข้อสังเกต
ข้าพเจ้าไปที่หอสมุดแห่งชาติด้วยตนเองพร้อมเพื่อนอีกคนหนึ่งเพื่อหาหนังสือพิมพ์ต่างๆ และพบกับนางธารา กนกมณี เจ้าหน้าที่หนังสือพิมพ์ฉบับนี้(ไทยเอกราช) ได้อันตรธานหายไปอย่างไร้ร่องรอย ไม่มีการเอ่ยถึงร่องรอยของการเบียดเบียนในหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับต่างๆในสมัยนั้นเลย พวกเขาได้ลืมนึกถึงหนังสือพิมพ์ฉบับภาษาอังกฤษไป
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic13.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
การเบียดเบียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หรือภาคอีสานของประเทศไทย
ข้าพเจ้าจะไม่พูดในที่นี้ถึงเรื่องที่พระสงฆ์ฝรั่งเศสถูกจับ ถูกทำทารุณ และถูกขับไล่ออกนอกประเทศ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 เพราะประเด็นนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเบียดเบียนศาสนาโดยตรง
ข้าพเจ้าขอสรุปอย่างสั้นๆว่า พวกคริสตังคนอื่นๆ ได้ละทิ้งศาสนาเพราะถูกข่มขู่ มรณสักขีเหล่านี้ เกิดขึ้นเพื่อยืนยันความเชื่อของพวกเขา พวกเขาไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากความตาย
พระสงฆ์ไทยหาที่หลบภัย
ตามกลวิธีของการเบียดเบียน นับตั้งแต่พระสงฆ์ฝรั่งเศสเดินทางออกจากประเทศไทยหมดแล้ว วิธีการแรกที่ทำ คือ แยกพระสงฆ์ไทยทุกองค์ให้อยู่ห่างๆ จากพวกคริสตัง
คุณพ่อเอดัวรด์ พระสงฆ์ไทยที่อยู่หนองแสง ถูกจับจำคุกภายใต้ข้อกล่าวหาว่าเป็นแนวที่ 5 (นี่คือ การกล่าวหาอย่างเป็นทางการเพื่อเป็นข้ออ้างจำคุกบรรดาพระสงฆ์ไทย) และคุณพ่อถูกส่งตัวไปล่ามโซ่ที่เรือนจำกลางบางขวางใกล้กับกรุงเทพฯ
ที่สกลนคร คุณพ่อศรีนวน และคุณพ่อคำผง ถูกจับขังคุกในข้อหาเป็นแนวที่ 5
2 เดือนต่อมา คุณพ่อทั้งสองได้รับการประกันตัว แต่อยู่ในสายตาของทางราชการ คุณพ่อทั้งสองย้ายไปอยู่ที่จังหวัดอุบล ซึ่งอยู่ทางใต้ของมิสซัง (ภาคอีสาน)
คุณพ่อสตอคเกล (Stockler) พระสงฆ์ชาวเยอรมัน ถูกตัดสินจำคุก 2 เดือน ในข้อหามีอาวุธปืน (ความจริงคุณพ่อมีใบอนุญาตมีอาวุธปืนได้)
ทางใต้ของมิสซัง , จังหวัดอุบล , นายอำเภอต้องการทำให้คุณพ่ออัลแบรต์ละทิ้งศาสนา เพื่อจะได้ทำให้พวกคริสตังละทิ้งศาสนาได้ง่ายขึ้น แต่เขาคาดการณ์ผิดถนัด นายอำเภอเรียกประชุมพวกคริสตังให้มาดูการละทิ้งศาสนาของคุณพ่อ การประชุมคราวนี้ทำให้เขาหน้าแตก ชาวพุทธกลุ่มใหญ่ที่อยากรู้อยากเห็นก็มาดูการชุมนุมดังกล่าวด้วย
- “บาทหลวงครับ ผมขอให้ท่านละทิ้งศาสนาคาทอลิก เพื่อความบริสุทธิ์ของท่าน ให้กลับใจมาเป็นพุทธ ผมจะช่วยให้ท่านมีชีวิตที่ดีขึ้น”
+ “ขอบคุณมาก ผมมีสิบนิ้วสำหรับทำงาน พอแล้วสำหรับผม”
- “ผมจะสร้างบ้านให้ท่านหนึ่งหลังด้วย ซึ่งท่านจะได้ครอบครองเป็นเจ้าของ”
+ “ขอบคุณมาก ผมอาจนอนใต้ต้นไม้อย่างสุโขที่สุด นี่จะเป็นบ้านของผม”
- “ฟังก่อน บาทหลวง ท่านจะมีผู้หญิงหนึ่งคนด้วย ผมจะมอบผู้หญิงให้ท่าน ซึ่งเป็นคนที่ท่านจะเลือก ไม่ว่าจะเป็นคนใดก็ตาม”
+ “ในกรณีนี้ ผมเชื่อว่าผมจะเลือกภรรยาของท่านเอง!”
เสียงหัวเราะดังไปทั่ว และการประชุมได้สลายตัว รอเวลาเริ่มใหม่ในวันต่อไปพระสังฆราชบาเยต์จะเล่าเรื่องการเบียดเบียนในมิสซังของท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกิดที่หมู่บ้านสองคอน
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic14.html
การเบียดเบียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หรือภาคอีสานของประเทศไทย
ข้าพเจ้าจะไม่พูดในที่นี้ถึงเรื่องที่พระสงฆ์ฝรั่งเศสถูกจับ ถูกทำทารุณ และถูกขับไล่ออกนอกประเทศ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 เพราะประเด็นนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเบียดเบียนศาสนาโดยตรง
ข้าพเจ้าขอสรุปอย่างสั้นๆว่า พวกคริสตังคนอื่นๆ ได้ละทิ้งศาสนาเพราะถูกข่มขู่ มรณสักขีเหล่านี้ เกิดขึ้นเพื่อยืนยันความเชื่อของพวกเขา พวกเขาไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากความตาย
พระสงฆ์ไทยหาที่หลบภัย
ตามกลวิธีของการเบียดเบียน นับตั้งแต่พระสงฆ์ฝรั่งเศสเดินทางออกจากประเทศไทยหมดแล้ว วิธีการแรกที่ทำ คือ แยกพระสงฆ์ไทยทุกองค์ให้อยู่ห่างๆ จากพวกคริสตัง
คุณพ่อเอดัวรด์ พระสงฆ์ไทยที่อยู่หนองแสง ถูกจับจำคุกภายใต้ข้อกล่าวหาว่าเป็นแนวที่ 5 (นี่คือ การกล่าวหาอย่างเป็นทางการเพื่อเป็นข้ออ้างจำคุกบรรดาพระสงฆ์ไทย) และคุณพ่อถูกส่งตัวไปล่ามโซ่ที่เรือนจำกลางบางขวางใกล้กับกรุงเทพฯ
ที่สกลนคร คุณพ่อศรีนวน และคุณพ่อคำผง ถูกจับขังคุกในข้อหาเป็นแนวที่ 5
2 เดือนต่อมา คุณพ่อทั้งสองได้รับการประกันตัว แต่อยู่ในสายตาของทางราชการ คุณพ่อทั้งสองย้ายไปอยู่ที่จังหวัดอุบล ซึ่งอยู่ทางใต้ของมิสซัง (ภาคอีสาน)
คุณพ่อสตอคเกล (Stockler) พระสงฆ์ชาวเยอรมัน ถูกตัดสินจำคุก 2 เดือน ในข้อหามีอาวุธปืน (ความจริงคุณพ่อมีใบอนุญาตมีอาวุธปืนได้)
ทางใต้ของมิสซัง , จังหวัดอุบล , นายอำเภอต้องการทำให้คุณพ่ออัลแบรต์ละทิ้งศาสนา เพื่อจะได้ทำให้พวกคริสตังละทิ้งศาสนาได้ง่ายขึ้น แต่เขาคาดการณ์ผิดถนัด นายอำเภอเรียกประชุมพวกคริสตังให้มาดูการละทิ้งศาสนาของคุณพ่อ การประชุมคราวนี้ทำให้เขาหน้าแตก ชาวพุทธกลุ่มใหญ่ที่อยากรู้อยากเห็นก็มาดูการชุมนุมดังกล่าวด้วย
- “บาทหลวงครับ ผมขอให้ท่านละทิ้งศาสนาคาทอลิก เพื่อความบริสุทธิ์ของท่าน ให้กลับใจมาเป็นพุทธ ผมจะช่วยให้ท่านมีชีวิตที่ดีขึ้น”
+ “ขอบคุณมาก ผมมีสิบนิ้วสำหรับทำงาน พอแล้วสำหรับผม”
- “ผมจะสร้างบ้านให้ท่านหนึ่งหลังด้วย ซึ่งท่านจะได้ครอบครองเป็นเจ้าของ”
+ “ขอบคุณมาก ผมอาจนอนใต้ต้นไม้อย่างสุโขที่สุด นี่จะเป็นบ้านของผม”
- “ฟังก่อน บาทหลวง ท่านจะมีผู้หญิงหนึ่งคนด้วย ผมจะมอบผู้หญิงให้ท่าน ซึ่งเป็นคนที่ท่านจะเลือก ไม่ว่าจะเป็นคนใดก็ตาม”
+ “ในกรณีนี้ ผมเชื่อว่าผมจะเลือกภรรยาของท่านเอง!”
เสียงหัวเราะดังไปทั่ว และการประชุมได้สลายตัว รอเวลาเริ่มใหม่ในวันต่อไปพระสังฆราชบาเยต์จะเล่าเรื่องการเบียดเบียนในมิสซังของท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกิดที่หมู่บ้านสองคอน
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic14.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
ชุมชนคริสตชน และบรรดาคริสตชน
พระสงฆ์ถูกไล่ออกไปจากวัดหมดแล้ว นี่เป็นคราวของพวกคริสตัง และการเบียดเบียนดำเนินไปอย่างดุเดือด
1. วัดทุกแห่งถูกปิด
คณะเลือดไทย ภายใต้การคุ้มครองและการสนับสนุนของนายอำเภอมีเสรีภาพเต็มที่ในการดำเนินการในเรื่อง ชุมชนคริสตชนต่างๆ , วัดต่างๆ , บ้านพักพระสงฆ์ , บ้านพักซิสเตอร์ , สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า ทุกแห่งถูกเผาหรือถูกทำลายจนหมด พวกเลือดไทยทำลายทุกอย่างจนราบเป็นหน้ากลอง ในชุมชนคริสตชนอื่น บางส่วนของอาคารต่างๆถูกทำลาย ที่เหลือพระภิกษุหรือเจ้าหน้าที่เข้าไปยึดครอง วัดบางแห่งเขาดัด แปลงเป็นวัดพุทธ และตั้งพระพุทธรูปไว้บนตู้ศีลแทนที่ศีลมหาสนิท
ในตอนต่อไป ข้าพเจ้าจะเสนอตารางเหตุการณ์ความเสียหายด้านวัตถุที่มิสซังได้รับ
2. ต่อมาก็ถึงคราวพวกคริสตัง
ทุกคนที่คัดค้านจะถูกสบประมาท ถูกข่มเหง ทารุณ และจับขังคุกเหมือนเป็นแนวที่ 5 และจะ ถูกปล่อยออกมาก็ต่อเมื่อละทิ้งศาสนา หรือสำหรับคนหัวดื้อก็จะออกจากคุกเมื่อการเบียดเบียนสิ้นสุดลง
ข้าราชการทุกคนที่เป็นคาทอลิก ถูกทดสอบด้วยวิธีต่างๆ หรือไม่ก็ละทิ้งศาสนาไปอย่างทันทีทันใด หรือไม่ก็ถูกไล่ออกจากราชการ รอถูกสอบสวนเหมือนคริสตังคนอื่นๆ ขอยกตัวอย่างจากหนึ่งในร้อย
เอกสารหมายเลข 13
แปลจากเอกสารของพระสังฆราชบาเยต์
ครูคาทอลิกทุกคนถูกไล่ออกเพราะโรงเรียนคาทอลิกทุกแห่งถูกปิด บางแห่งถูกเผาบางแห่ง ถูกทำลาย หรือไม่ก็ใช้เป็นที่ทำงานของกำนัน หรือเป็นกุฏิพระ พวกครูไม่ได้รับเงินเดือน และบางคนถูกสอบสวนเหมือนพวกคริสตังทุกคน
ทุกคนที่ผลักดันเพื่อนคาทอลิกของพวกเขาไม่ให้ละทิ้งศาสนา ต้องลงเอยในคุกในข้อหาว่าเป็นแนวที่ 5
พวกคริสตังที่เป็นผู้ใหญ่ทุกคนถูกเรียกให้ไปประชุมที่ศาลากลางจังหวัด บางทีก็เป็นกลุ่มเล็กๆ บางทีก็ไปพร้อมกัน ในตอนแรกเขาเรียกประชุมสัปดาห์ละครั้ง ต่อมาเรียกประชุมถี่ขึ้น 2 ครั้ง , 3 ครั้ง ต่อมาก็ประชุมทุกวัน และเขาย้ำกับพวกคริสตังว่า สำหรับการเป็นคนไทย จำเป็นต้องเป็นพุทธศาสนิกชน นี่เป็นคำสั่งของรัฐบาล นี่เป็นคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ศาสนาคาทอลิกเป็นศัตรูของชาติไทย และคนที่ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีเวลาทำมาหากินเลี้ยงภรรยาและลูก ก็ทิ้งศาสนาไปเลย โอ้! นี่ไม่ได้เป็นการละทิ้งศาสนาด้วยความเต็มใจ คริสตังที่ละทิ้งศาสนาพวกนี้ยังคงรักษาความเชื่อในห้วงลึกของจิตใจแต่ทุกคนละทิ้งศาสนาเพียงภายนอก
3. ส่วนพวกเด็กๆ เป็นอย่างไรบ้าง?
เขาดำเนินการทำลายความปรารถนาทั้งหมดในการเป็นคาทอลิกของพวกเด็กๆ ทำลายความเชื่อที่เพิ่งเกิดขึ้นของพวกเด็กๆ ทำให้พวกเขาละทิ้งศาสนาทุกวิถีทาง ด้วยการขัดขวางความเป็นไปได้ ทุกอย่างที่จะทำให้พวกเด็กๆ กลับไปนับถือศาสนาคาทอลิกในอนาคต โรงเรียนทุกแห่งถูกปิด เด็กๆถูกบังคับให้ไปเรียนในโรงเรียนของรัฐบาลซึ่งพวกครูเป็นสมาชิกคณะเลือดไทยทุกเช้า พวกครูบังคับพวกเด็กๆ ให้กราบ ไหว้พระพุทธรูป ใครขัดขืนก็ถูกตบตี และถูกกำราบด้วยการลงโทษด้วยวิธีต่างๆมาก บ้างน้อยบ้างอย่างป่าเถื่อน
พระสังฆราชลอเรนซ์ คายน์ พระอัครสังฆราชแห่งท่าแร่-หนองแสง ได้เขียนรายงานฉบับหนึ่ง นี่คือ
เอกสารหมายเลข 14
ในเอกสารดังกล่าว พระคุณเจ้าเล่าถึงการปฏิบัติที่พวกเด็กๆ คาทอลิกได้รับรวมทั้งตัวท่านเองในเวลาที่ไปโรงเรียน
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic15.html
ชุมชนคริสตชน และบรรดาคริสตชน
พระสงฆ์ถูกไล่ออกไปจากวัดหมดแล้ว นี่เป็นคราวของพวกคริสตัง และการเบียดเบียนดำเนินไปอย่างดุเดือด
1. วัดทุกแห่งถูกปิด
คณะเลือดไทย ภายใต้การคุ้มครองและการสนับสนุนของนายอำเภอมีเสรีภาพเต็มที่ในการดำเนินการในเรื่อง ชุมชนคริสตชนต่างๆ , วัดต่างๆ , บ้านพักพระสงฆ์ , บ้านพักซิสเตอร์ , สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า ทุกแห่งถูกเผาหรือถูกทำลายจนหมด พวกเลือดไทยทำลายทุกอย่างจนราบเป็นหน้ากลอง ในชุมชนคริสตชนอื่น บางส่วนของอาคารต่างๆถูกทำลาย ที่เหลือพระภิกษุหรือเจ้าหน้าที่เข้าไปยึดครอง วัดบางแห่งเขาดัด แปลงเป็นวัดพุทธ และตั้งพระพุทธรูปไว้บนตู้ศีลแทนที่ศีลมหาสนิท
ในตอนต่อไป ข้าพเจ้าจะเสนอตารางเหตุการณ์ความเสียหายด้านวัตถุที่มิสซังได้รับ
2. ต่อมาก็ถึงคราวพวกคริสตัง
ทุกคนที่คัดค้านจะถูกสบประมาท ถูกข่มเหง ทารุณ และจับขังคุกเหมือนเป็นแนวที่ 5 และจะ ถูกปล่อยออกมาก็ต่อเมื่อละทิ้งศาสนา หรือสำหรับคนหัวดื้อก็จะออกจากคุกเมื่อการเบียดเบียนสิ้นสุดลง
ข้าราชการทุกคนที่เป็นคาทอลิก ถูกทดสอบด้วยวิธีต่างๆ หรือไม่ก็ละทิ้งศาสนาไปอย่างทันทีทันใด หรือไม่ก็ถูกไล่ออกจากราชการ รอถูกสอบสวนเหมือนคริสตังคนอื่นๆ ขอยกตัวอย่างจากหนึ่งในร้อย
เอกสารหมายเลข 13
แปลจากเอกสารของพระสังฆราชบาเยต์
ครูคาทอลิกทุกคนถูกไล่ออกเพราะโรงเรียนคาทอลิกทุกแห่งถูกปิด บางแห่งถูกเผาบางแห่ง ถูกทำลาย หรือไม่ก็ใช้เป็นที่ทำงานของกำนัน หรือเป็นกุฏิพระ พวกครูไม่ได้รับเงินเดือน และบางคนถูกสอบสวนเหมือนพวกคริสตังทุกคน
ทุกคนที่ผลักดันเพื่อนคาทอลิกของพวกเขาไม่ให้ละทิ้งศาสนา ต้องลงเอยในคุกในข้อหาว่าเป็นแนวที่ 5
พวกคริสตังที่เป็นผู้ใหญ่ทุกคนถูกเรียกให้ไปประชุมที่ศาลากลางจังหวัด บางทีก็เป็นกลุ่มเล็กๆ บางทีก็ไปพร้อมกัน ในตอนแรกเขาเรียกประชุมสัปดาห์ละครั้ง ต่อมาเรียกประชุมถี่ขึ้น 2 ครั้ง , 3 ครั้ง ต่อมาก็ประชุมทุกวัน และเขาย้ำกับพวกคริสตังว่า สำหรับการเป็นคนไทย จำเป็นต้องเป็นพุทธศาสนิกชน นี่เป็นคำสั่งของรัฐบาล นี่เป็นคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ศาสนาคาทอลิกเป็นศัตรูของชาติไทย และคนที่ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีเวลาทำมาหากินเลี้ยงภรรยาและลูก ก็ทิ้งศาสนาไปเลย โอ้! นี่ไม่ได้เป็นการละทิ้งศาสนาด้วยความเต็มใจ คริสตังที่ละทิ้งศาสนาพวกนี้ยังคงรักษาความเชื่อในห้วงลึกของจิตใจแต่ทุกคนละทิ้งศาสนาเพียงภายนอก
3. ส่วนพวกเด็กๆ เป็นอย่างไรบ้าง?
เขาดำเนินการทำลายความปรารถนาทั้งหมดในการเป็นคาทอลิกของพวกเด็กๆ ทำลายความเชื่อที่เพิ่งเกิดขึ้นของพวกเด็กๆ ทำให้พวกเขาละทิ้งศาสนาทุกวิถีทาง ด้วยการขัดขวางความเป็นไปได้ ทุกอย่างที่จะทำให้พวกเด็กๆ กลับไปนับถือศาสนาคาทอลิกในอนาคต โรงเรียนทุกแห่งถูกปิด เด็กๆถูกบังคับให้ไปเรียนในโรงเรียนของรัฐบาลซึ่งพวกครูเป็นสมาชิกคณะเลือดไทยทุกเช้า พวกครูบังคับพวกเด็กๆ ให้กราบ ไหว้พระพุทธรูป ใครขัดขืนก็ถูกตบตี และถูกกำราบด้วยการลงโทษด้วยวิธีต่างๆมาก บ้างน้อยบ้างอย่างป่าเถื่อน
พระสังฆราชลอเรนซ์ คายน์ พระอัครสังฆราชแห่งท่าแร่-หนองแสง ได้เขียนรายงานฉบับหนึ่ง นี่คือ
เอกสารหมายเลข 14
ในเอกสารดังกล่าว พระคุณเจ้าเล่าถึงการปฏิบัติที่พวกเด็กๆ คาทอลิกได้รับรวมทั้งตัวท่านเองในเวลาที่ไปโรงเรียน
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic15.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
การใส่ร้ายพวกคาทอลิกอย่างเป็นทางการ โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร
ขอพูดถึงจดหมายฉบับหนึ่งของผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครถึงนายคำสิงห์ โดยเฉพาะเป็นพิเศษ และถึงพวกคริสตังของท่าแร่ จดหมายลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 นี่คือ
เอกสารหมายเลข 15
เอกสารเกี่ยวกับพฤติการณ์อันชั่วร้าย มีใจความดังนี้
ที่ 1299/2484
ศาลากลางจังหวัดสกลนคร
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484
แจ้งความมายังนายคำสิงห์, บ้านท่าแร่
เนื่องด้วยทางราชการได้สอบสวนนายศรีนวล ศรีวรกุล และนายคำผง กายราษฎร์(พระสงฆ์คาทอลิก) ในกรณีที่ต้องหาว่าเป็นจารกรรมให้แก่ฝรั่งเศสอินโดจีน ในการสอบสวนมีการพาดพิงถึงท่านและคนในบ้านท่าแร่บางคน นอกจากนี้ยังปรากฏเนืองๆว่า ท่านกับพวกได้พยายามที่จะทำการปลุกปั่นขัดขวางชาวไทยที่จะกลับใจมาถือพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาของคนชาติไทยทั้งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 มีพระสงฆ์ในพุทธศาสนาไปเที่ยวรับบิณฑบาตรและพักอยู่ที่บ้านท่าแร่ ก็ปรากฏว่ามีผู้เขียนประกาศขึ้น ปิดในที่ใกล้ๆกับที่พักของพระสงฆ์แห่งพุทธศาสนา มีข้อความแสดงอาฆาตจะทำร้าย จะเอาปืนยิง จะเอาเพลิงเผาบ้านผู้นับถือพุทธศาสนา และทำการอุปการะพระสงฆ์ในพุทธศาสนาด้วย จึงส่อให้เห็นเจตนาอันไม่ดีของชาวโรมันคาทอลิกบางคนในบ้านท่าแร่ ซึ่งจะทำการก่อกวนความสงบเรียบร้อยขึ้นในระหว่างที่รัฐบาลประกาศใช้กฎอัยการศึก
จึงจำเป็นต้องทำการยึดอาวุธปืน และใบอนุญาตของคนในบ้านท่าแร่ไปเก็บรักษาไว้และดำเนินคดีต่อไป
โดยเฉพาะตัวท่านและบางคน ทางการรู้สึกมีความเสียใจที่จะต้องดำเนินการสอบสวนและสังเกตการณ์ต่อไป ฉะนั้น ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ถ้าท่านจะออกไปนอกเขตจังหวัดสกลนครจะต้องรายงานตัว ขอรับอนุญาตต่อนายอำเภอเมืองสกลนครเป็นลายลักษณ์อักษรเสียก่อนทุกคราว ถ้าท่านขัดขืนไม่ปฏิบัติ ตามที่แจ้งมาให้ทราบนี้ จะถือว่าท่านจงใจละเมิดอำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อยของฝ่ายปกครองบ้านเมือง
ลงชื่อ นายสุข ฉายาชวลิต
ง. พวกคริสตังหนองแสง
เขียนจดหมายถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1941 พวกคริสตังหนองแสงเขียนจดหมายถึงผู้ว่าราชการจังหวัด เล่าถึงความประหลาดใจเป็นอย่างมากที่เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พวกเขาทำเป็นไม่เข้าใจว่าคำสั่งเหล่านี้มาจากที่ไหน? พวกเขาเล่าให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟัง (เป็นคำพูดของคริสตังเก่าที่ละทิ้งศาสนา) ถึงเรื่องที่พบและได้ยินเป็นการเล่าเรื่องการเริ่มต้นเบียดเบียนศาสนาโดยพวกคริสตังเอง นี่คือ
เอกสารหมายเลข 16
“เรื่องที่มีความทึ่งใจของคริสตศาสนิกชนนครพนมมีดังนี้
1. มีผู้ที่พูดดูถูกผู้ถือศาสนาคาทอลิกโดยแบ่งแยกบุคคล คือหมายความว่า ผู้ถือศาสนานี้โดยหาว่า ไม่ใช่เป็นคนไทย ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าผิดรัฐนิยมและรัฐธรรมนูญ
2. ด่าประจาน หรือทุรจารบาทหลวงซึ่งเป็นผู้มีอาวุโส เช่น บาทหลวง อ. ลาซารด์ เจ้าอาวาส บ้าน เชียงยืน ซึ่งเห็นว่าผิดหลักมารยาทไทย เพราะผู้กระทำล้วนแต่เป็นบุคคลซึ่งได้รับการศึกษาทั้งนั้น
3. ทำลายศาสนสมบัติของคาทอลิก ดังเช่น ทำทุรจารสิ่งซึ่งถือว่าศักดิ์สิทธิ์ ดังเช่น จอกกาลิ กซ์ ไม้กางเขนซึ่งเสกแล้ว และเครื่องที่เกี่ยวกับเครื่องมิสซาซึ่งใช้ทำในพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ใช้นั่งเล่นเพื่อ เยาะเย้ย ใช้ปูหลังม้าขี่ เช็ดเท้า เช็ดก้น ฯลฯ ดูเป็นการหยาบคายมาก มิหนำซ้ำยังทุบ ตี เตะ ฯลฯ วัตถุต่างๆ เช่น พระรูปของพระเยซู และนักบุญต่างๆ แม้ในวัดบางวัดซึ่งลูกปืนของข้าศึกมิได้ทำลายก็มีการถูกทำลายด้วย เช่น วัดบ้านคำเกิ้ม ซึ่งห่างจากฝั่งน้ำโขงถึงประมาณ 2 กิโลเมตร ยังไม่เคยถูกกระสุนแม้แต่นัดเดียว ยังพลอยถูกทำลายด้วย
4. ทำการขู่เข็ญผู้ที่ถือศาสนาด้วยอาการต่างๆ เพื่อให้ละทิ้งศาสนาที่เคยถือของตน เช่น จับขังยิง ปืนขู่ หรือยิงจริง กล่าวร้ายต่างๆ การกระทำเช่นนี้เริ่มกระทำอย่างหนักในเดือนมกราคมจนถึงเดือนมีนาคมศกนี้ ข้าพเจ้าคาดว่าคงไม่ใช่มีคำสั่งจากวงการรัฐเลย แต่คงเป็นทางจังหวัดนี้ประดิษฐ์ทำกันเอง
5. ห้ามมิให้ทำกิจของศาสนาของตน มีการปิดวัด อารามนางชี และคอยจับกุมผู้ขัดขืน แม้แต่ สวดภาวนาในเรือนของตนก็ไม่ได้
ส่วนวัดโรมันคาทอลิกบ้านท่าแร่ก็ได้รับการทุรจารเช่นเดียวกันกับวัดหนองแสง นครพนม เว้นแต่เงินของวัดบ้านท่าแร่ถูกเจ้าพนักงานริบเอาไป วัดบ้านท่าแร่ถูกทำลายไม้กางเขนเสียพระสงฆ์ในพุทธศาสนามาอยู่ในโรงเรียนของวัด วัดต่างๆ ในเขตอีสานเกือบทุกวัดถูกเจ้าพนักงานริบไว้แล้วให้พระสงฆ์ในพุทธศาสนาเข้าอยู่ในวัด ผู้ถือศาสนาโรมันคาทอลิกทนไม่ไหวละทิ้งศาสนาไปส่วนมาก ผู้ใดไม่ละทิ้งถูก จับกุมไปทำการสอบสวนต่างๆ
คนถือศาสนาโรมันคาทอลิกวัดบ้านสองคอน เขตอำเภอมุกดาหาร ถูกฆ่าตายจำนวน6 คน เพราะไม่ยอมละทิ้งศาสนา
คุณพ่อเอดัวรด์ถูกจับถูกขัง ถูกหาว่าเป็นกบฏภายในถูกใส่ตรวนหนัก คุณพ่อศรีนวลคุณพ่อคำผง ถูกจับ ถูกขัง เวลานี้ให้ประกัน แต่อยู่ในวงเขตของทางการ”
นี่คือรายละเอียดในจดหมายของพวกคริสตังหนองแสงที่มีไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม พวกเขาไม่ได้รับคำตอบ
ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่รู้ถึงสิ่งที่พวกคริสตังที่น่าสงสารรอคอยอยู่ สำหรับตัวพวกเขาเองและวัด ของพวกเขา
จดหมายของพระสังฆราชดราปิเอร์, ผู้แทนพระสันตะปาปา ถึงพระสังฆราชแปร์รอสลงวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 นี่คือ
เอกสารหมายเลข 17
นี่คือสาระสำคัญ
ข่าวที่ข้าพเจ้าได้รับจากพระสังฆราชกูแองไม่น่าชื่นชมเลยทีละเล็กทีละน้อย มันเป็นการแน่ชัดว่านี่ เป็นการมุ่งทำลายพระศาสนจักรโดยเฉพาะ และปัญหากับฝรั่งเศสเป็นเพียงหน้ากากบังหน้าเพื่อการเคลื่อน ไหวต่างๆ และวัตถุประสงค์แท้จริงคือ เขาต้องการทำลายคริสตศาสนาในประเทศสยามให้สิ้นซาก
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic16.html
การใส่ร้ายพวกคาทอลิกอย่างเป็นทางการ โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร
ขอพูดถึงจดหมายฉบับหนึ่งของผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครถึงนายคำสิงห์ โดยเฉพาะเป็นพิเศษ และถึงพวกคริสตังของท่าแร่ จดหมายลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 นี่คือ
เอกสารหมายเลข 15
เอกสารเกี่ยวกับพฤติการณ์อันชั่วร้าย มีใจความดังนี้
ที่ 1299/2484
ศาลากลางจังหวัดสกลนคร
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484
แจ้งความมายังนายคำสิงห์, บ้านท่าแร่
เนื่องด้วยทางราชการได้สอบสวนนายศรีนวล ศรีวรกุล และนายคำผง กายราษฎร์(พระสงฆ์คาทอลิก) ในกรณีที่ต้องหาว่าเป็นจารกรรมให้แก่ฝรั่งเศสอินโดจีน ในการสอบสวนมีการพาดพิงถึงท่านและคนในบ้านท่าแร่บางคน นอกจากนี้ยังปรากฏเนืองๆว่า ท่านกับพวกได้พยายามที่จะทำการปลุกปั่นขัดขวางชาวไทยที่จะกลับใจมาถือพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาของคนชาติไทยทั้งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 มีพระสงฆ์ในพุทธศาสนาไปเที่ยวรับบิณฑบาตรและพักอยู่ที่บ้านท่าแร่ ก็ปรากฏว่ามีผู้เขียนประกาศขึ้น ปิดในที่ใกล้ๆกับที่พักของพระสงฆ์แห่งพุทธศาสนา มีข้อความแสดงอาฆาตจะทำร้าย จะเอาปืนยิง จะเอาเพลิงเผาบ้านผู้นับถือพุทธศาสนา และทำการอุปการะพระสงฆ์ในพุทธศาสนาด้วย จึงส่อให้เห็นเจตนาอันไม่ดีของชาวโรมันคาทอลิกบางคนในบ้านท่าแร่ ซึ่งจะทำการก่อกวนความสงบเรียบร้อยขึ้นในระหว่างที่รัฐบาลประกาศใช้กฎอัยการศึก
จึงจำเป็นต้องทำการยึดอาวุธปืน และใบอนุญาตของคนในบ้านท่าแร่ไปเก็บรักษาไว้และดำเนินคดีต่อไป
โดยเฉพาะตัวท่านและบางคน ทางการรู้สึกมีความเสียใจที่จะต้องดำเนินการสอบสวนและสังเกตการณ์ต่อไป ฉะนั้น ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ถ้าท่านจะออกไปนอกเขตจังหวัดสกลนครจะต้องรายงานตัว ขอรับอนุญาตต่อนายอำเภอเมืองสกลนครเป็นลายลักษณ์อักษรเสียก่อนทุกคราว ถ้าท่านขัดขืนไม่ปฏิบัติ ตามที่แจ้งมาให้ทราบนี้ จะถือว่าท่านจงใจละเมิดอำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อยของฝ่ายปกครองบ้านเมือง
ลงชื่อ นายสุข ฉายาชวลิต
ง. พวกคริสตังหนองแสง
เขียนจดหมายถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1941 พวกคริสตังหนองแสงเขียนจดหมายถึงผู้ว่าราชการจังหวัด เล่าถึงความประหลาดใจเป็นอย่างมากที่เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พวกเขาทำเป็นไม่เข้าใจว่าคำสั่งเหล่านี้มาจากที่ไหน? พวกเขาเล่าให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟัง (เป็นคำพูดของคริสตังเก่าที่ละทิ้งศาสนา) ถึงเรื่องที่พบและได้ยินเป็นการเล่าเรื่องการเริ่มต้นเบียดเบียนศาสนาโดยพวกคริสตังเอง นี่คือ
เอกสารหมายเลข 16
“เรื่องที่มีความทึ่งใจของคริสตศาสนิกชนนครพนมมีดังนี้
1. มีผู้ที่พูดดูถูกผู้ถือศาสนาคาทอลิกโดยแบ่งแยกบุคคล คือหมายความว่า ผู้ถือศาสนานี้โดยหาว่า ไม่ใช่เป็นคนไทย ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าผิดรัฐนิยมและรัฐธรรมนูญ
2. ด่าประจาน หรือทุรจารบาทหลวงซึ่งเป็นผู้มีอาวุโส เช่น บาทหลวง อ. ลาซารด์ เจ้าอาวาส บ้าน เชียงยืน ซึ่งเห็นว่าผิดหลักมารยาทไทย เพราะผู้กระทำล้วนแต่เป็นบุคคลซึ่งได้รับการศึกษาทั้งนั้น
3. ทำลายศาสนสมบัติของคาทอลิก ดังเช่น ทำทุรจารสิ่งซึ่งถือว่าศักดิ์สิทธิ์ ดังเช่น จอกกาลิ กซ์ ไม้กางเขนซึ่งเสกแล้ว และเครื่องที่เกี่ยวกับเครื่องมิสซาซึ่งใช้ทำในพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ใช้นั่งเล่นเพื่อ เยาะเย้ย ใช้ปูหลังม้าขี่ เช็ดเท้า เช็ดก้น ฯลฯ ดูเป็นการหยาบคายมาก มิหนำซ้ำยังทุบ ตี เตะ ฯลฯ วัตถุต่างๆ เช่น พระรูปของพระเยซู และนักบุญต่างๆ แม้ในวัดบางวัดซึ่งลูกปืนของข้าศึกมิได้ทำลายก็มีการถูกทำลายด้วย เช่น วัดบ้านคำเกิ้ม ซึ่งห่างจากฝั่งน้ำโขงถึงประมาณ 2 กิโลเมตร ยังไม่เคยถูกกระสุนแม้แต่นัดเดียว ยังพลอยถูกทำลายด้วย
4. ทำการขู่เข็ญผู้ที่ถือศาสนาด้วยอาการต่างๆ เพื่อให้ละทิ้งศาสนาที่เคยถือของตน เช่น จับขังยิง ปืนขู่ หรือยิงจริง กล่าวร้ายต่างๆ การกระทำเช่นนี้เริ่มกระทำอย่างหนักในเดือนมกราคมจนถึงเดือนมีนาคมศกนี้ ข้าพเจ้าคาดว่าคงไม่ใช่มีคำสั่งจากวงการรัฐเลย แต่คงเป็นทางจังหวัดนี้ประดิษฐ์ทำกันเอง
5. ห้ามมิให้ทำกิจของศาสนาของตน มีการปิดวัด อารามนางชี และคอยจับกุมผู้ขัดขืน แม้แต่ สวดภาวนาในเรือนของตนก็ไม่ได้
ส่วนวัดโรมันคาทอลิกบ้านท่าแร่ก็ได้รับการทุรจารเช่นเดียวกันกับวัดหนองแสง นครพนม เว้นแต่เงินของวัดบ้านท่าแร่ถูกเจ้าพนักงานริบเอาไป วัดบ้านท่าแร่ถูกทำลายไม้กางเขนเสียพระสงฆ์ในพุทธศาสนามาอยู่ในโรงเรียนของวัด วัดต่างๆ ในเขตอีสานเกือบทุกวัดถูกเจ้าพนักงานริบไว้แล้วให้พระสงฆ์ในพุทธศาสนาเข้าอยู่ในวัด ผู้ถือศาสนาโรมันคาทอลิกทนไม่ไหวละทิ้งศาสนาไปส่วนมาก ผู้ใดไม่ละทิ้งถูก จับกุมไปทำการสอบสวนต่างๆ
คนถือศาสนาโรมันคาทอลิกวัดบ้านสองคอน เขตอำเภอมุกดาหาร ถูกฆ่าตายจำนวน6 คน เพราะไม่ยอมละทิ้งศาสนา
คุณพ่อเอดัวรด์ถูกจับถูกขัง ถูกหาว่าเป็นกบฏภายในถูกใส่ตรวนหนัก คุณพ่อศรีนวลคุณพ่อคำผง ถูกจับ ถูกขัง เวลานี้ให้ประกัน แต่อยู่ในวงเขตของทางการ”
นี่คือรายละเอียดในจดหมายของพวกคริสตังหนองแสงที่มีไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม พวกเขาไม่ได้รับคำตอบ
ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่รู้ถึงสิ่งที่พวกคริสตังที่น่าสงสารรอคอยอยู่ สำหรับตัวพวกเขาเองและวัด ของพวกเขา
จดหมายของพระสังฆราชดราปิเอร์, ผู้แทนพระสันตะปาปา ถึงพระสังฆราชแปร์รอสลงวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 นี่คือ
เอกสารหมายเลข 17
นี่คือสาระสำคัญ
ข่าวที่ข้าพเจ้าได้รับจากพระสังฆราชกูแองไม่น่าชื่นชมเลยทีละเล็กทีละน้อย มันเป็นการแน่ชัดว่านี่ เป็นการมุ่งทำลายพระศาสนจักรโดยเฉพาะ และปัญหากับฝรั่งเศสเป็นเพียงหน้ากากบังหน้าเพื่อการเคลื่อน ไหวต่างๆ และวัตถุประสงค์แท้จริงคือ เขาต้องการทำลายคริสตศาสนาในประเทศสยามให้สิ้นซาก
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic16.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
ชาวไทยและชาวฝรั่งเศสกลับมาเป็นมิตรสนิทกัน การเบียดเบียนจะยุติหรือไม่?
วันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 ภายใต้ความกดดันของชาวญี่ปุ่น ประเทศฝรั่งเศส (ในอินโดจีน) ยังคงยึดครองอินโดจีนอยู่ ประเทศฝรั่งเศสจำเป็นต้องเซ็นสัญญาข้อตกลงที่เมืองไซ่ง่อนในการคืนดินแด นให้แก่ประเทศไทย ซึ่งเป็นที่พอใจ เพราะประเทศไทยได้ตามที่เรียกร้องทุกประการ หลวงพิบูลจึงส่งกองทัพและเจ้าหน้าที่ไปปกครองจังหวัดต่างๆในประเทศเขมรและลาว ซึ่งเคยเป็นดินแดนของไทยมาก่อน
ที่กรุงเทพฯ หลวงพิบูล ได้แถลงการณ์ต่อหนังสือพิมพ์และมหาชนว่า ฝรั่งเศสยอมคืนดินแดนทางจังหวัดที่เคยเป็นของไทยให้แก่ไทย นับจากวันนี้ห้ามมิให้ทำร้ายชาวฝรั่งเศส ห้ามต่อต้านประเทศฝรั่งเศส นับจากวันนี้เป็นต้นไป ประเทศฝรั่งเศสและประเทศไทยเป็นมิตรที่ดีต่อกัน
วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 อธิบดีกรมตำรวจประกาศยกเลิกคำสั่งเดิมทุกข้อที่ทำการต่อต้านชาวฝรั่งเศส นี่คือที่มาของ
เอกสารหมายเลข 18
นี่คือสาระสำคัญ :
กองตำรวจสันติบาล
คำสั่งที่ 9/2484 (1941)
เรื่อง ยกเลิกคำสั่งที่ให้จัดการแก่คนเชื้อชาติฝรั่งเศสในบางกรณี
ตามคำสั่งกรมตำรวจที่ 6/2483 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2483 และคำสั่งที่ 1/2484 ลงวันที่ 6 มกราคม 2484 เรื่องจัดการแก่คนเชื้อชาติฝรั่งเศสในบางกรณี… บัดนี้สมควรยกเลิกคำสั่งที่ได้กล่าวนี้ได้แล้ว ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเป็นอันว่าคนเชื้อชาติฝรั่งเศส (คนฝรั่งแท้) จะเดินทางเข้ามา หรือผ่าน หรือพักอาศัย หรือมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดใดในราชอาณาจักรก็ได้ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายสำหรับคนต่างด้าว...
กรมตำรวจ
วันที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2484
(ลงนาม) อธิบดีกรมตำรวจ
พล ต.ต. อดุล อดุลเดชจรัส
จำกัดเขต : จำกัดเขตในจังหวัดปราจีนบุรี , นครราชสีมา (โคราช) และอุบลราชธานี ห้ามคนต่างด้าว ไม่ว่าชาติไหนอยู่อาศัย เขาสามารถเดินทางผ่านมาได้ แต่อยู่ได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมงเป็นอย่างมากต่อครั้ง
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic17.html
ชาวไทยและชาวฝรั่งเศสกลับมาเป็นมิตรสนิทกัน การเบียดเบียนจะยุติหรือไม่?
วันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 ภายใต้ความกดดันของชาวญี่ปุ่น ประเทศฝรั่งเศส (ในอินโดจีน) ยังคงยึดครองอินโดจีนอยู่ ประเทศฝรั่งเศสจำเป็นต้องเซ็นสัญญาข้อตกลงที่เมืองไซ่ง่อนในการคืนดินแด นให้แก่ประเทศไทย ซึ่งเป็นที่พอใจ เพราะประเทศไทยได้ตามที่เรียกร้องทุกประการ หลวงพิบูลจึงส่งกองทัพและเจ้าหน้าที่ไปปกครองจังหวัดต่างๆในประเทศเขมรและลาว ซึ่งเคยเป็นดินแดนของไทยมาก่อน
ที่กรุงเทพฯ หลวงพิบูล ได้แถลงการณ์ต่อหนังสือพิมพ์และมหาชนว่า ฝรั่งเศสยอมคืนดินแดนทางจังหวัดที่เคยเป็นของไทยให้แก่ไทย นับจากวันนี้ห้ามมิให้ทำร้ายชาวฝรั่งเศส ห้ามต่อต้านประเทศฝรั่งเศส นับจากวันนี้เป็นต้นไป ประเทศฝรั่งเศสและประเทศไทยเป็นมิตรที่ดีต่อกัน
วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 อธิบดีกรมตำรวจประกาศยกเลิกคำสั่งเดิมทุกข้อที่ทำการต่อต้านชาวฝรั่งเศส นี่คือที่มาของ
เอกสารหมายเลข 18
นี่คือสาระสำคัญ :
กองตำรวจสันติบาล
คำสั่งที่ 9/2484 (1941)
เรื่อง ยกเลิกคำสั่งที่ให้จัดการแก่คนเชื้อชาติฝรั่งเศสในบางกรณี
ตามคำสั่งกรมตำรวจที่ 6/2483 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2483 และคำสั่งที่ 1/2484 ลงวันที่ 6 มกราคม 2484 เรื่องจัดการแก่คนเชื้อชาติฝรั่งเศสในบางกรณี… บัดนี้สมควรยกเลิกคำสั่งที่ได้กล่าวนี้ได้แล้ว ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเป็นอันว่าคนเชื้อชาติฝรั่งเศส (คนฝรั่งแท้) จะเดินทางเข้ามา หรือผ่าน หรือพักอาศัย หรือมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดใดในราชอาณาจักรก็ได้ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายสำหรับคนต่างด้าว...
กรมตำรวจ
วันที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2484
(ลงนาม) อธิบดีกรมตำรวจ
พล ต.ต. อดุล อดุลเดชจรัส
จำกัดเขต : จำกัดเขตในจังหวัดปราจีนบุรี , นครราชสีมา (โคราช) และอุบลราชธานี ห้ามคนต่างด้าว ไม่ว่าชาติไหนอยู่อาศัย เขาสามารถเดินทางผ่านมาได้ แต่อยู่ได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมงเป็นอย่างมากต่อครั้ง
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic17.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
การเบียดเบียนสิ้นสุดจริงหรือ?
ทางใต้ของมิสซังหนองแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้ปิดวัดและโรงเรียนหลายแห่ง เขาได้มอบหน้าที่ให้นายอำเภอพยายามทำการเกลี้ยกล่อมพวกคริสตังให้ละทิ้งศาสนา ให้ขับไล่พวกครูและพวกเจ้าหน้าที่ที่เป็นคริสตังออกจากหน้าที่ นายอำเภอได้ปฏิบัติตามคำสั่งของหลวงพิบูลอย่างเสียไม่ได้ เพราะตัวเขาเองไม่มีปัญหาอะไรกับพวกคริสตัง เพราะฉะนั้นภายหลังคำสั่งที่ 9 เขาได้ผ่อนปรนการเบียดเบียน แต่พวกพระสงฆ์ของมิสซังอุลบลไม่กล้าเคลื่อนไหวเขาคิดถึงพวกคริสตังว่าจำเป็นต้องได้รับการดูแลจึงเชิญพระสงฆ์ซาเลเซียนให้มาทำหน้าที่แทน ข้าพเจ้าจะพูดถึงเรื่องนี้ในตอนต่อไป
เป็นการสิ้นสุดการเบียดเบียนหรือ?
หามิได้ หลังจากดูเหมือนสงบเงียบระยะสั้นๆ การเบียดเบียนก็เริ่มใหม่อีกอย่างรุนแรงในจังหวัดนครพนมและที่ท่าแร่ ในบางจังหวัดของมิสซังกรุงเทพฯ และขยายออกไปในเขตมิสซังของพระสงฆ์คณะซาเลเซียน เราจะพูดถึงเรื่องนี้
1. ในจังหวัดนครพนม
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมระงับการปฏิบัติตามคำสั่งที่ 9 ระยะสั้นๆ แต่การกระทำดังกล่าวไม่มีผลอะไร เขาได้รับคำสั่งชัดเจนจากกรุงเทพฯ
ที่หนองแสง ได้มีการรื้อไม้กางเขนจากหอระฆังของอาสนวิหารได้มีการขุดกำแพงเพื่อเอาไม้กางเขนที่ฝังไว้บนกำแพงออกไป ได้มีการทำทุรจารหลุมฝังศพและหักไม้กางเขนทั้งหมด (อ้างเอกสารหมายเลข 12 วันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1941) นอกจากนี้ ยังบังคับให้พวกคริสตังละทิ้งศาสนาขับไล่พระสงฆ์ไทยออกจากวัด และส่งคุณพ่อเอดัวรด์และคริสตังบางคนที่ไม่ยอมละทิ้งศาสนาไปขังคุกที่บางขวาง
อาสนวิหารท่าแร่ถูกทำลายแบบถอนรากถอนโคน ตั้งแต่หอระฆังจนถึงพื้น และอิฐเหล่านี้ถูกนำไปไว้ในบริเวณกำแพงคุกของจังหวัด เพื่อไว้ใช้ในการก่อสร้างอาคารของทางราชการ ต่อไป เขาอ้างว่า หอระฆังของอาสนวิหารได้ถูกกระสุนปืนใหญ่ที่ยิงจากอินโดจีน และประการสุดท้าย บรรดาหนังสือประวัติศาสตร์ที่ใช้ในปัจจุบันไม่ทราบเรื่องการเบียดเบียนเลย สอนว่าอาสนวิหารคาทอลิกของหนองแสงได้ พังทลายลงเพราะถูกกระสุนปืนใหญ่ยิงจากฝั่งแม่น้ำโขงหลังจากอาสนวิหารถูกทำลายแล้วทั้งสำนักพระสั งฆราช , บ้านพักพระสงฆ์ , โรงเรียนของวัด , สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า , คอนแวนต์ของนักบวชหญิง , โรงครัว , กำแพงล้อมรอบทุกอย่างถูกทำลายจนหมด ไม่เหลือร่องรอยของพวกคริสตัง ไม่เหลือสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์อีกเลย
โรงเรียนพระหฤทัยฯ ก็ประสบชะตากรรมแบบเดียวกัน ถูกทำลายหมด
บริเวณรอบนอกเมือง
ที่คำเกิ้ม วัดได้ถูกเผาไปแล้ว บ้านพักพระสงฆ์และโรงครัวถูกทำลายเกลี้ยงไม่เหลือร่องรอยอีกเลย
ปัจจุบัน ถึงคราวของวัดอื่นๆ และโรงเรียนของวัดที่นามน , โคกก้อง , เชียงยืน , ที่นานาย ,ที่สองคอน ไม่เหลือร่องรอยของศาสนาคริสต์อีกเลย
ผู้ว่าราชการจังหวัดภาคภูมิใจอย่างยิ่ง เขาคิดว่าได้ทำลายศาสนาคริสต์ในจังหวัดของเขาอย่างเรียบร้อยและอย่างเด็ดขาด
2. ในจังหวัดสกลนคร
ศาสนาคริสต์ถูกทำลายอย่างไม่เหลือร่องรอยเช่นเดียวกัน ที่ท่าแร่ วัดกลายเป็นห้องประชุมประจำท้องถิ่น บ้านพักพระสงฆ์และคอนแวนต์กลายเป็นสำนักงาน , บ้านพักของนายอำเภอ , สถานีตำรวจ และที่ทำการไปรษณีย์ ในเขตวัดของจังหวัดอื่น วัดต่างๆ ไม่ถูกเผาก็ถูกทำลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย หรือไม่ก็ถูกดัดแปลงเป็นวัดพุทธ หรือไม่ก็ทำเป็นโรงเรียนของรัฐบาล นี่เป็นการสิ้นสุดของกลุ่มคริสตชนที่นาโพ , ทุ่งมน , จันทร์เพ็ญ , จอมแจ้ง , คอนเชียงคูน , ป่า หว้าน , ช้างมิ่ง , หนองเดิ่น , นาคำ , นาบัว และดอนทอย
ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งเช่นเดียวกัน บรรดานายอำเภอและพวกสมาชิกของคณะเลือดไทยได้ทำงานสำเร็จ ไม่เหลือร่องรอยของศาสนาคริสต์ในจังหวัดของเขาอีกเลย
3. ในจังหวัดหนองคาย
วัดที่เวียงคุกพร้อมทั้งบ้านพักพระสงฆ์ถูกทำลายเรียบ ที่ห้วยเล็บมือและห้วยเซือม วัดและบ้าน พักพระสงฆ์กลายเป็นโรงเรียนของรัฐบาล
4. ในจังหวัดอุดรธานี
วัดโพนสูงกลายสภาพเป็นโรงเรียน
5. ในจังหวัดเลย
วัดท่าบ่มกลายสภาพเป็นโรงเรียน
6. ในแคว้นจำปาศักดิ์ (ประเทศกัมพูชา)
ดินแดนสุดท้ายที่ฝรั่งเศสยึดครอง
วัดปากห้วยเพ็กถูกใช้เป็นสำนักงานบัญชาการของไทยเพื่อปกครองดินแดนที่ยึดได้
นี่เป็นการสิ้นสุดของศาสนาคริสต์ ไม่เหลือร่องรอยของศาสนาคริสต์อีกเลย
ในทุกจังหวัดเหล่านี้ คำสั่งลับของหลวงพิบูลถึงบรรดาผู้ว่าราชการจังหวัดและบรรดานายอำเภอ มีผลระงับคำสั่งที่ 9/1941 ของอธิบดีกรมตำรวจซึ่งเคยหวัง
“ยุติการต่อสู้เพราะไม่มีคู่ต่อสู้”
ไม่มีวัด ไม่มีบ้านพักพระสงฆ์ ไม่มีบ้านพักนักบวชหญิง ไม่มีโรงเรียน ไม่มีคริสตังหลงเหลืออยู่อีกเลย ในจังหวัดเหล่านี้พวกคริสตังเรียกได้ว่าถูกบังคับให้ละทิ้งศาสนา ภายใต้การข่มขู่ในจำนวนคนเหล่านี้ที่ได้ปฏิเสธความเชื่อ มีผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ซึ่งเคยผ่านคุกมาแล้วและหนีไปหลบภัยอยู่ในหมู่บ้านที่ไม่มีใครรู้จัก ส่วนคนที่เป็นพยานยืนยันความเชื่อของพระคริสตเจ้ามีจำนวน 8 คน อยู่ที่บางขวาง ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตพร้อมกับคุณพ่อเอดัวรด์ (และพระสงฆ์อีก 4 องค์ของกรุงเทพฯ) และมีบางคนตายในคุก มรณสักขี 7 องค์ของหมู่บ้านสองคอนที่ยอมตายเพื่อศาสนาดีกว่านบนอบ “คำสั่งของรัฐบาล” ให้ละทิ้งความเชื่อ
พวกคริสตังบางคนซื่อสัตย์ต่อศาสนาของพระเยซูเจ้าอย่างน่าสรรเสริญ และมรณสักขี 7 องค์ ของสองคอนได้รับแต่งตั้งเป็นบุญราศีพวกท่านสละชีวิตเพื่อพระคริสตเจ้าเป็นตัวอย่างและเป็นสักขีพยานดียอดเยี่ยมสำหรับพระสงฆ์และคริสตังชาวไทย พวกท่านได้ช่วยจุดเพลิงและทนุถนอมจิตตารมณ์ของมิชชันนารีสำหรับคริสตังชาวไทย
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic18.html
การเบียดเบียนสิ้นสุดจริงหรือ?
ทางใต้ของมิสซังหนองแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้ปิดวัดและโรงเรียนหลายแห่ง เขาได้มอบหน้าที่ให้นายอำเภอพยายามทำการเกลี้ยกล่อมพวกคริสตังให้ละทิ้งศาสนา ให้ขับไล่พวกครูและพวกเจ้าหน้าที่ที่เป็นคริสตังออกจากหน้าที่ นายอำเภอได้ปฏิบัติตามคำสั่งของหลวงพิบูลอย่างเสียไม่ได้ เพราะตัวเขาเองไม่มีปัญหาอะไรกับพวกคริสตัง เพราะฉะนั้นภายหลังคำสั่งที่ 9 เขาได้ผ่อนปรนการเบียดเบียน แต่พวกพระสงฆ์ของมิสซังอุลบลไม่กล้าเคลื่อนไหวเขาคิดถึงพวกคริสตังว่าจำเป็นต้องได้รับการดูแลจึงเชิญพระสงฆ์ซาเลเซียนให้มาทำหน้าที่แทน ข้าพเจ้าจะพูดถึงเรื่องนี้ในตอนต่อไป
เป็นการสิ้นสุดการเบียดเบียนหรือ?
หามิได้ หลังจากดูเหมือนสงบเงียบระยะสั้นๆ การเบียดเบียนก็เริ่มใหม่อีกอย่างรุนแรงในจังหวัดนครพนมและที่ท่าแร่ ในบางจังหวัดของมิสซังกรุงเทพฯ และขยายออกไปในเขตมิสซังของพระสงฆ์คณะซาเลเซียน เราจะพูดถึงเรื่องนี้
1. ในจังหวัดนครพนม
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมระงับการปฏิบัติตามคำสั่งที่ 9 ระยะสั้นๆ แต่การกระทำดังกล่าวไม่มีผลอะไร เขาได้รับคำสั่งชัดเจนจากกรุงเทพฯ
ที่หนองแสง ได้มีการรื้อไม้กางเขนจากหอระฆังของอาสนวิหารได้มีการขุดกำแพงเพื่อเอาไม้กางเขนที่ฝังไว้บนกำแพงออกไป ได้มีการทำทุรจารหลุมฝังศพและหักไม้กางเขนทั้งหมด (อ้างเอกสารหมายเลข 12 วันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1941) นอกจากนี้ ยังบังคับให้พวกคริสตังละทิ้งศาสนาขับไล่พระสงฆ์ไทยออกจากวัด และส่งคุณพ่อเอดัวรด์และคริสตังบางคนที่ไม่ยอมละทิ้งศาสนาไปขังคุกที่บางขวาง
อาสนวิหารท่าแร่ถูกทำลายแบบถอนรากถอนโคน ตั้งแต่หอระฆังจนถึงพื้น และอิฐเหล่านี้ถูกนำไปไว้ในบริเวณกำแพงคุกของจังหวัด เพื่อไว้ใช้ในการก่อสร้างอาคารของทางราชการ ต่อไป เขาอ้างว่า หอระฆังของอาสนวิหารได้ถูกกระสุนปืนใหญ่ที่ยิงจากอินโดจีน และประการสุดท้าย บรรดาหนังสือประวัติศาสตร์ที่ใช้ในปัจจุบันไม่ทราบเรื่องการเบียดเบียนเลย สอนว่าอาสนวิหารคาทอลิกของหนองแสงได้ พังทลายลงเพราะถูกกระสุนปืนใหญ่ยิงจากฝั่งแม่น้ำโขงหลังจากอาสนวิหารถูกทำลายแล้วทั้งสำนักพระสั งฆราช , บ้านพักพระสงฆ์ , โรงเรียนของวัด , สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า , คอนแวนต์ของนักบวชหญิง , โรงครัว , กำแพงล้อมรอบทุกอย่างถูกทำลายจนหมด ไม่เหลือร่องรอยของพวกคริสตัง ไม่เหลือสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์อีกเลย
โรงเรียนพระหฤทัยฯ ก็ประสบชะตากรรมแบบเดียวกัน ถูกทำลายหมด
บริเวณรอบนอกเมือง
ที่คำเกิ้ม วัดได้ถูกเผาไปแล้ว บ้านพักพระสงฆ์และโรงครัวถูกทำลายเกลี้ยงไม่เหลือร่องรอยอีกเลย
ปัจจุบัน ถึงคราวของวัดอื่นๆ และโรงเรียนของวัดที่นามน , โคกก้อง , เชียงยืน , ที่นานาย ,ที่สองคอน ไม่เหลือร่องรอยของศาสนาคริสต์อีกเลย
ผู้ว่าราชการจังหวัดภาคภูมิใจอย่างยิ่ง เขาคิดว่าได้ทำลายศาสนาคริสต์ในจังหวัดของเขาอย่างเรียบร้อยและอย่างเด็ดขาด
2. ในจังหวัดสกลนคร
ศาสนาคริสต์ถูกทำลายอย่างไม่เหลือร่องรอยเช่นเดียวกัน ที่ท่าแร่ วัดกลายเป็นห้องประชุมประจำท้องถิ่น บ้านพักพระสงฆ์และคอนแวนต์กลายเป็นสำนักงาน , บ้านพักของนายอำเภอ , สถานีตำรวจ และที่ทำการไปรษณีย์ ในเขตวัดของจังหวัดอื่น วัดต่างๆ ไม่ถูกเผาก็ถูกทำลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย หรือไม่ก็ถูกดัดแปลงเป็นวัดพุทธ หรือไม่ก็ทำเป็นโรงเรียนของรัฐบาล นี่เป็นการสิ้นสุดของกลุ่มคริสตชนที่นาโพ , ทุ่งมน , จันทร์เพ็ญ , จอมแจ้ง , คอนเชียงคูน , ป่า หว้าน , ช้างมิ่ง , หนองเดิ่น , นาคำ , นาบัว และดอนทอย
ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งเช่นเดียวกัน บรรดานายอำเภอและพวกสมาชิกของคณะเลือดไทยได้ทำงานสำเร็จ ไม่เหลือร่องรอยของศาสนาคริสต์ในจังหวัดของเขาอีกเลย
3. ในจังหวัดหนองคาย
วัดที่เวียงคุกพร้อมทั้งบ้านพักพระสงฆ์ถูกทำลายเรียบ ที่ห้วยเล็บมือและห้วยเซือม วัดและบ้าน พักพระสงฆ์กลายเป็นโรงเรียนของรัฐบาล
4. ในจังหวัดอุดรธานี
วัดโพนสูงกลายสภาพเป็นโรงเรียน
5. ในจังหวัดเลย
วัดท่าบ่มกลายสภาพเป็นโรงเรียน
6. ในแคว้นจำปาศักดิ์ (ประเทศกัมพูชา)
ดินแดนสุดท้ายที่ฝรั่งเศสยึดครอง
วัดปากห้วยเพ็กถูกใช้เป็นสำนักงานบัญชาการของไทยเพื่อปกครองดินแดนที่ยึดได้
นี่เป็นการสิ้นสุดของศาสนาคริสต์ ไม่เหลือร่องรอยของศาสนาคริสต์อีกเลย
ในทุกจังหวัดเหล่านี้ คำสั่งลับของหลวงพิบูลถึงบรรดาผู้ว่าราชการจังหวัดและบรรดานายอำเภอ มีผลระงับคำสั่งที่ 9/1941 ของอธิบดีกรมตำรวจซึ่งเคยหวัง
“ยุติการต่อสู้เพราะไม่มีคู่ต่อสู้”
ไม่มีวัด ไม่มีบ้านพักพระสงฆ์ ไม่มีบ้านพักนักบวชหญิง ไม่มีโรงเรียน ไม่มีคริสตังหลงเหลืออยู่อีกเลย ในจังหวัดเหล่านี้พวกคริสตังเรียกได้ว่าถูกบังคับให้ละทิ้งศาสนา ภายใต้การข่มขู่ในจำนวนคนเหล่านี้ที่ได้ปฏิเสธความเชื่อ มีผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ซึ่งเคยผ่านคุกมาแล้วและหนีไปหลบภัยอยู่ในหมู่บ้านที่ไม่มีใครรู้จัก ส่วนคนที่เป็นพยานยืนยันความเชื่อของพระคริสตเจ้ามีจำนวน 8 คน อยู่ที่บางขวาง ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตพร้อมกับคุณพ่อเอดัวรด์ (และพระสงฆ์อีก 4 องค์ของกรุงเทพฯ) และมีบางคนตายในคุก มรณสักขี 7 องค์ของหมู่บ้านสองคอนที่ยอมตายเพื่อศาสนาดีกว่านบนอบ “คำสั่งของรัฐบาล” ให้ละทิ้งความเชื่อ
พวกคริสตังบางคนซื่อสัตย์ต่อศาสนาของพระเยซูเจ้าอย่างน่าสรรเสริญ และมรณสักขี 7 องค์ ของสองคอนได้รับแต่งตั้งเป็นบุญราศีพวกท่านสละชีวิตเพื่อพระคริสตเจ้าเป็นตัวอย่างและเป็นสักขีพยานดียอดเยี่ยมสำหรับพระสงฆ์และคริสตังชาวไทย พวกท่านได้ช่วยจุดเพลิงและทนุถนอมจิตตารมณ์ของมิชชันนารีสำหรับคริสตังชาวไทย
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic18.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
ประกาศความเป็นมิตรต่อฝรั่งเศส
การประกาศความเป็นมิตรต่อฝรั่งเศสในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 ของหลวงพิบูล, คำสั่งที่ 9 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 ของหลวงอดุล อดุลเดชจรัส,ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมประกาศห้ามพระสงฆ์ฝรั่งเศสที่ถูกขับไล่ออกจากภาคอีสาน ข้ามไปที่นครพนม บรรดาพระสงฆ์ (ฝรั่งเศส) ถูกส่งไปอยู่ในอินโดจีน เกิดการประท้วงที่กรุงเทพฯ
พระสังฆราชแปร์รอสและเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเป็นผู้แทนร้องเรียนไปยังรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ให้เสนอเรื่องต่อรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ท่านรัฐมนตรีตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า “ถ้าพระสงฆ์ฝรั่งเศสของภาคอีสานไม่กลับมาในเขตวัดของพวกเขา ก็เพราะพวกเขาไม่อยากกลับมา พรมแดนของเราเปิดสำหรับทุกคน” มีการตอบรับคำกล่าว โดยลองกลับเข้ามาใหม่ และกลับออกไป แต่พระสงฆ์เหล่านั้นไม่สามารถเดินทางกลับเข้ามาได้ เกิดการประท้วงใหม่อีก และคำตอบใหม่ของรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยเหมือนคำตอบครั้งแรกทุกอย่าง
ในเรื่องนี้ เป็นการเห็นพ้องกับเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส พระสังฆราชแปร์รอสตัดสินใจส่งข้าพเจ้า (คุณพ่อลารเก) จากกรุงเทพฯ ไปที่หนองแสงเหมือนหนูทดลอง เพื่อดูว่าผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมจะทำอย่างไรต่อไป
เรื่องที่เกิดขึ้น ท่านจะพบได้ใน
เอกสารหมายเลข 19
ที่ไม่ใช่อะไรนอกจากรายงานที่ข้าพเจ้าเขียนสำหรับพระสังฆราชแปร์รอส ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 เมื่อข้าพเจ้ากลับจากปฏิบัติงานครั้งนี้ คำถามที่ข้าพเจ้าได้รับเมื่อเดินทางมาจากนครพนมเปิดเผยข้อเท็จจริงเป็นอย่างดี
คุณพ่อศรีนวล ศรีวรกุล อุปสังฆราช
คุณพ่อร้องเรียนต่อคณะซาเลเซียนเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941 พระสังฆราชปาซอตตีผู้รักษาการ แทนพระสังฆราชมิสซังหนองแสง หลังจากที่คุณพ่อออกจากคุกที่สกลนคร คุณพ่อศรีนวลซึ่งเป็นผู้รักษาการ ตำแหน่งอุปสังฆราชสำหรับมิสซังหนองแสง ไม่สามารถทำอะไรได้เลยเหมือนที่อุบล เพราะว่าทางราชการไม่ ยอมรับตำแหน่งของท่าน ท่านจะพูดถึงเรื่องนี้ด้วยตนเองในจดหมายของท่านถึงพระสังฆราชแปร์รอสตาม เอกสารดังต่อไปนี้
เอกสารหมายเลข 20
ภายหลังคำสั่งที่ 9/1941 คุณพ่อศรีนวลหวังว่าจะได้พบพวกพระสงฆ์ฝรั่งเศส แต่ท่านทราบว่าไม่มีความหวัง ไม่ว่าจะเป็นพระสังฆราชกูแองไม่ว่าจะเป็นบรรดามิชชันนารีก็ไม่สามารถกลับเข้ามาได้อีก คุณพ่อเขียนจดหมายถึงพระสังฆราชแปร์รอสให้ขอร้องพระสังฆราชปาซอตตีมาช่วยและทำหน้าที่ปกครองมิสซัง รอจนกว่าเหตุการณ์จะคลี่คลาย
พระสังฆราชปาซอตตีเพิ่งได้รับการอภิเษกเป็นพระสังฆราชมิสซังราชบุรี ที่กรุงเทพๆ พระคุณเจ้าเขียนจดหมายถึงพระสังฆราชแปร์รอสลงวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 บอกว่าได้แจ้งให้ทางกรุงโรมทราบแล้ว กระทรวงเผยแพรความเชื่อตอบว่า
1. มีคำสั่งตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน แต่งตั้งให้พระสังฆราชปาซอตตีเป็นผู้แทนทำหน้าที่เชื่อมความสัมพันธ์ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยกับรัฐบาลไทย ในขณะเดียวกันก็ให้ดำรงตำแหน่งผู้แทนพระสันตะปาปาประจำประเทศไทยด้วย
2. ในกรณีที่เกิดอุปสรรคไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตามที่เกี่ยวกับอาณาเขตของประเทศไทย ท่านต้องทำหน้าที่ รักษาการในตำแหน่งผู้ปกครองมิสซังโดยอัตโนมัติ ดังนั้นนับตั้งแต่จดหมายรับรองฉบับที่ 23/8 ของพระสังฆราชแปร์รอส พระสังฆราชปาซอตตีได้เป็น ผู้ปกครองมิสซังหนองแสงอย่างเป็นทางการ
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic19.html
ประกาศความเป็นมิตรต่อฝรั่งเศส
การประกาศความเป็นมิตรต่อฝรั่งเศสในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 ของหลวงพิบูล, คำสั่งที่ 9 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 ของหลวงอดุล อดุลเดชจรัส,ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมประกาศห้ามพระสงฆ์ฝรั่งเศสที่ถูกขับไล่ออกจากภาคอีสาน ข้ามไปที่นครพนม บรรดาพระสงฆ์ (ฝรั่งเศส) ถูกส่งไปอยู่ในอินโดจีน เกิดการประท้วงที่กรุงเทพฯ
พระสังฆราชแปร์รอสและเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเป็นผู้แทนร้องเรียนไปยังรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ให้เสนอเรื่องต่อรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ท่านรัฐมนตรีตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า “ถ้าพระสงฆ์ฝรั่งเศสของภาคอีสานไม่กลับมาในเขตวัดของพวกเขา ก็เพราะพวกเขาไม่อยากกลับมา พรมแดนของเราเปิดสำหรับทุกคน” มีการตอบรับคำกล่าว โดยลองกลับเข้ามาใหม่ และกลับออกไป แต่พระสงฆ์เหล่านั้นไม่สามารถเดินทางกลับเข้ามาได้ เกิดการประท้วงใหม่อีก และคำตอบใหม่ของรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยเหมือนคำตอบครั้งแรกทุกอย่าง
ในเรื่องนี้ เป็นการเห็นพ้องกับเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส พระสังฆราชแปร์รอสตัดสินใจส่งข้าพเจ้า (คุณพ่อลารเก) จากกรุงเทพฯ ไปที่หนองแสงเหมือนหนูทดลอง เพื่อดูว่าผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมจะทำอย่างไรต่อไป
เรื่องที่เกิดขึ้น ท่านจะพบได้ใน
เอกสารหมายเลข 19
ที่ไม่ใช่อะไรนอกจากรายงานที่ข้าพเจ้าเขียนสำหรับพระสังฆราชแปร์รอส ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 เมื่อข้าพเจ้ากลับจากปฏิบัติงานครั้งนี้ คำถามที่ข้าพเจ้าได้รับเมื่อเดินทางมาจากนครพนมเปิดเผยข้อเท็จจริงเป็นอย่างดี
คุณพ่อศรีนวล ศรีวรกุล อุปสังฆราช
คุณพ่อร้องเรียนต่อคณะซาเลเซียนเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941 พระสังฆราชปาซอตตีผู้รักษาการ แทนพระสังฆราชมิสซังหนองแสง หลังจากที่คุณพ่อออกจากคุกที่สกลนคร คุณพ่อศรีนวลซึ่งเป็นผู้รักษาการ ตำแหน่งอุปสังฆราชสำหรับมิสซังหนองแสง ไม่สามารถทำอะไรได้เลยเหมือนที่อุบล เพราะว่าทางราชการไม่ ยอมรับตำแหน่งของท่าน ท่านจะพูดถึงเรื่องนี้ด้วยตนเองในจดหมายของท่านถึงพระสังฆราชแปร์รอสตาม เอกสารดังต่อไปนี้
เอกสารหมายเลข 20
ภายหลังคำสั่งที่ 9/1941 คุณพ่อศรีนวลหวังว่าจะได้พบพวกพระสงฆ์ฝรั่งเศส แต่ท่านทราบว่าไม่มีความหวัง ไม่ว่าจะเป็นพระสังฆราชกูแองไม่ว่าจะเป็นบรรดามิชชันนารีก็ไม่สามารถกลับเข้ามาได้อีก คุณพ่อเขียนจดหมายถึงพระสังฆราชแปร์รอสให้ขอร้องพระสังฆราชปาซอตตีมาช่วยและทำหน้าที่ปกครองมิสซัง รอจนกว่าเหตุการณ์จะคลี่คลาย
พระสังฆราชปาซอตตีเพิ่งได้รับการอภิเษกเป็นพระสังฆราชมิสซังราชบุรี ที่กรุงเทพๆ พระคุณเจ้าเขียนจดหมายถึงพระสังฆราชแปร์รอสลงวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 บอกว่าได้แจ้งให้ทางกรุงโรมทราบแล้ว กระทรวงเผยแพรความเชื่อตอบว่า
1. มีคำสั่งตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน แต่งตั้งให้พระสังฆราชปาซอตตีเป็นผู้แทนทำหน้าที่เชื่อมความสัมพันธ์ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยกับรัฐบาลไทย ในขณะเดียวกันก็ให้ดำรงตำแหน่งผู้แทนพระสันตะปาปาประจำประเทศไทยด้วย
2. ในกรณีที่เกิดอุปสรรคไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตามที่เกี่ยวกับอาณาเขตของประเทศไทย ท่านต้องทำหน้าที่ รักษาการในตำแหน่งผู้ปกครองมิสซังโดยอัตโนมัติ ดังนั้นนับตั้งแต่จดหมายรับรองฉบับที่ 23/8 ของพระสังฆราชแปร์รอส พระสังฆราชปาซอตตีได้เป็น ผู้ปกครองมิสซังหนองแสงอย่างเป็นทางการ
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic19.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
พระสงฆ์ซาเลเซียนในภาคอีสาน ปี ค.ศ. 1942 การเบียดเบียนศาสนาเริ่มขึ้นอีกครั้ง
พระสังฆราชปาซอตตีไม่ได้เป็นผู้ก่อให้เกิดความคิดในการส่งพระสงฆ์ไปยังภาคอีสาน เพราะว่าท่านมีสิ่งที่ต้องทำมากมายทั้งในมิสซังของท่านและในมิสซังกรุงเทพฯ
ท่านจำได้ว่าได้ส่งพระสงฆ์ชาวอิตาเลียนของท่านหลายองค์ไปช่วยเหลือคริสตังในวัดบางแห่งของมิสซังกรุงเทพฯ และสัญชาติอิตาเลียนของพวกพระสงฆ์เหล่านั้น ก็ไม่สามารถปกป้องพวกเขาให้ปลอดภัย พวกพระสงฆ์อิตาเลียนบางองค์ถูกทุบตีจนซี่โครงหักบางองค์ถูกทำร้ายจนฟกช้ำ ต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ฝ่ายพวกคริสตังก็ถูกบังคับให้ละทิ้งศาสนา และวัดของพวกเขาก็ถูกวางเพลิง
อนึ่ง พระสังฆราชปาซอตตีทราบดีว่า การเบียดเบียนศาสนายังกระจายไปทางภาคอีสาน
สุดท้าย ประมาณเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942 การเบียดเบียนศาสนาพูดได้ว่าได้ยุติลงในภาคอีสาน เพราะไม่เหลือคริสตังให้เบียดเบียน และไม่เหลือวัดให้ทำลาย พระสังฆราชปาซอตตีจึงส่งพระสงฆ์ซาเลเซียน 4 องค์ ไปดูแลคริสตังในมิสซังหนองแสง หลังจากที่ได้ประสบความยุ่งยากในการอนุญาตของรัฐบาลพระคุณเจ้าต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจของผู้แทนพระสันตะปาปา พร้อมทั้งขอให้เอกอัครราชทูตอิตาลีสนับสนุน (ประเทศไทยประกาศสงครามกับอังกฤษ และอเมริกาอยู่ฝ่ายอักษะ จึงเป็นพันธมิตรกับอิตาลี)
1. พระสงฆ์ 2 องค์ ไปทำงานแพร่ธรรมในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศยกเลิก การเบียดเบียนศาสนา คุณพ่อทั้งสองไปเยี่ยมกลุ่มคริสตชนต่างๆ ได้อย่างอิสระมีการเปิดวัดต่างๆใหม่อีกครั้งหนึ่ง เป็นความยินดีอย่างใหญ่หลวงของพวกคริสตังซึ่งกระตือรือร้นที่จะกลับมาเข้าวัด ฝ่ายพวกพระภิกษุก็กลับไปยังวัดของตน สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1942
2. พระสงฆ์อีก 2 องค์ไปที่จังหวัดนครพนมและสกลนคร และที่นั่นเหตุการณ์ไม่ได้เป็นแบบเดียวกัน แม้ว่าพวกพระสงฆ์อิตาเลียนจะไม่ถูกข่มเหงรังแก แต่เขาไม่ได้ทำเช่นนี้กับพวกคริสตัง
พวกคริสตังเหล่านี้ดีใจที่ได้พบพวกมิชชันนารีอีกครั้งเพื่อรื้อฟื้นความเชื่อของพวกเขา แต่แล้วการเบียดเเบียนศาสนาก็เริ่มขึ้นใหม่ทันที เขาไม่สามารถกล่าวหาพวกคริสตังว่าเป็นแนวที่ 5 ได้อีก เพราะชาวอิตาเลียนเป็นพันธมิตรกับไทย และฝรั่งเศสก็กลายมาเป็นมิตรด้วย
อีกประการหนึ่ง ในเวลานั้นหลวงพิบูลได้ออกคำสั่งให้ทุกครอบครัวทำสวนครัวปลูกผักบริเวณรอบๆบ้าน และเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ เป็ด หมู นี่คือข้ออ้างสำหรับการเบียดเบียนศาสนาครั้งใหม่ ดูเอกสารหมายเลข 23
พวกคริสตังที่เปลี่ยนใจไปนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งได้ต้อนรับพระสงฆ์อิตาเลียนหรือไปพบท่าน ถูกเรียกกลับมาประชุมใหม่โดยพวกครูและหัวหน้าหมู่บ้านซึ่งเป็นกลุ่มเลือดไทยที่ห้องประชุมท้องถิ่น เพื่อรับการอบรมล้างสมอง เตรียมพวกเขาให้ละทิ้งศาสนาคริสต์ และกลับใจมานับถือศาสนาพุทธ พวกที่หัวดื้อถูกเรียกประชุมใหม่ในครั้งต่อไปโดยนายอำเภอที่บังคับให้พวกเขาเสียค่าปรับ คนที่ยอมทิ้งศาสนาอีกครั้งหรือไม่ เคยไปพบพระสงฆ์ก็ไม่ต้องเสียค่าปรับ ถึงแม้ว่าพวกเขาไม่ได้ทำสวนครัวเลย พวกคริสตังใหม่ถูกลงโทษทุกวันแม้ว่าสวนของพวกเขาจะเรียบร้อยหลังจากนั้นไม่นานพวกคริสตังเหล่านี้ได้ถูกขู่ทรมานอย่างตรงๆ เพราะว่าเขาบอกพวกคริสตังว่า "มีคำสั่งของรัฐบาลคือคำสั่งของนายกรัฐมนตรีเอง ให้เกลี้ยกล่อมทุกคนที่หลงผิด เหล่านี้กลับมานับถือศาสนาพุทธด้วยวิธีการทุกอย่าง"
พวกคริสตังที่ถูกขู่เหล่านี้เขียนจดหมายถึงพวกพระสงฆ์ซาเลเซียน ระบายความทุกข์ของพวกเขาให้ฟัง พวกพระสงฆ์ซาเลเซียนเผาจดหมายหลังจากคัดสำเนาไว้ในสมุดพร้อมทั้งลบชื่อของพวกคริสตังออกเพื่อ ไม่ให้ถูกจับได้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆ และใช้เป็นข้ออ้างในการเบียดเบียนใหม่อีก
ข้าพเจ้าได้แนบจดหมายเหล่านี้บางฉบับและสำเนาของการเรียกประชุมในแฟ้มเรื่องราวเหล่านี้ นี่คือ
เอกสารหมายเลข 21
ข้าพเจ้าได้แปลเอกสารบางหน้าเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบพยาน
ขอได้โปรดสังเกตว่าภายหลังจดหมายเหล่านี้ บรรดาพระสงฆ์ซาเลเซียน พวกเขาจะไม่ได้รับความรำคาญ แต่พวกคริสตังที่ได้ละทิ้งศาสนาไปแล้วและกลับมาพบกับพวกพระสงฆ์ใหม่ พวกเขาจะได้รับผลกระทบในการเบียดเบียนครั้งใหม่ แรกๆใช้คำพูดที่ไพเราะ ปลอบใจ ต่อมาก็จ่ายค่าปรับ ในที่สุดก็ข่มขู่แรงขึ้นๆ เรื่อยๆ โดยให้เลือกว่าจะละทิ้งศาสนาหรือจะหัวดื้อจนกระทั่งตาย หรือถูกขังคุก
สำเนาหมายเลข 12
หมายเรียก
คดีที่ ที่ว่าการอำเภอพรรนานิคม
วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2485 (1942)
หมายมายัง... บ้านช้างมิ่ง
ด้วยคดีในระวาง เจ้าพนักงานโจทย์... จำเลยหากันด้วยเรื่อง ไม่เข้ามาประชุมทำการอบรมในเวลาศึก
บัดนี้ ต้องการสอบสวนให้... ไปแก้คดียังที่ว่าการอำเภอ ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2485
ตรงกัน ณ วัน เวลา 9:00 น.
(ลงนาม) เฉิด นวลมณี
นายอำเภอ
ตราประจำอำเภอ
(พวกคริสตังทุกคนที่ได้มาพบพระสงฆ์ซาเลเซียนถูกเรียกมาประชุม)
สำเนาหมายเลข 13
วันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1942
“ต่อไปถ้ายังติดต่อกับบาทหลวง เธอจะไม่มีความสุขนะ ฉะนั้น ขอให้เลิกอย่าเสีย หรือยังคิดถึงมันบ่ (เสียงหยาบคาย) อีสันดานหมา ถ้ามึงมิหยางนี้ มึงสิตายในเร็วๆ นี้ ไม่นานดอก”
สำเนาหมายเลข 14
ที่บ้านหนองเดิ่น
วันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1942
"พวกเราได้ถูกลงโทษเสียค่าปรับเป็นครั้งที่ 2 วันนี้วันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 พวกเราถูกเรียก ประชุมเป็นครั้งที่ 3 (พวกเราเป็นรายที่ 33 จากทั้งหมด)
อธิบดีกรมตำรวจตอบพวกเราว่า
ครั้งนี้ไม่เหมือน 2 ครั้งที่ผ่านมา นี่เป็นครั้งสำคัญ เป็นการให้โอกาสสำหรับพวกท่านกลับใจอีก และมี 2 ข้อที่ทำเพื่อการกลับใจของพวกท่าน
1. ไปสวดมนต์ไหว้พระพุทธ
2. นิมนต์พระภิกษุไปฉันข้าวที่บ้านของพวกท่าน
ถ้าพวกท่านไม่ปฏิบัติตาม 2 ข้อนี้ และกลับไปนับถือศาสนาคาทอลิกอีก จะต้องจ่ายค่าปรับ และจะต้องถูกจำคุก
สำเนาหมายเลข 15
ดอนม่วย (ใกล้บ้านหนองเดิ่น)
วันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1942
ที่บ้านองเฮือง มีงานฉลองครอบครัว เวลาประมาณ 20 น. (2 ทุ่ม) ครูใหญ่โรงเรียนบ้านช้างมิ่ง และพวกหนุ่มสาวคนอื่นๆ ที่ได้เผาวัดต่างๆ ที่หนองเดิ่น ได้มาด่าช่งพวกเราว่า ศาสนาคาทอลิกเป็นศาสนาของหมา และเอาพุงหมามาครอบหัว พระเยซูได้แม่เป็นภรรยา เป็นต้น
สำเนาหมายเลข 17
ดอนม่วย
วันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1942
พวกคริสตังบ้านหนองเดิ่นได้ตกลงกลับไปกราบไหว้พระพุทธรูปและใส่บาตร ที่บ้านดอนม่วยนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลได้บอกกับพวกเราว่า
"ถ้าพวกท่านตกลงใจที่จะกราบไหว้พระพุทธรูปที่โบสถ์แล้ว ถึงแม้ว่าพวกท่านไม่ได้ทำสวนครัว พวกท่านก็ไม่ต้องจ่ายค่าปรับแม้แต่สตางค์เดียว แต่ถ้าพวกท่านปฏิเสธ สวนครัวของพวกท่านจะอยู่ในสภาพดี แค่ไหนการเสียค่าปรับจะต้องตกอยู่กับพวกท่านจนกระทั่งพวกท่านไปอยู่ในคุก ข้อความนี้เป็นคำสั่งซึ่งพวกเราได้รับจากหัวหน้าของพวกเรา และหัวหน้าคนนี้ก็คือนายกรัฐมนตรีนั่นเองที่มีคำสั่งให้นำคนไทยทุกคนมา นับถือศาสนาพุทธ ทุกอย่างในเอกสารอำนวยความสะดวกทุกอย่างให้แก่บาทหลวงอิตาเลียน...
เมื่อครั้งประเทศฝรั่งเศสได้ชัยชนะจากเยอรมันที่มีความใจดีต่อพวกคาทอลิกซึ่งได้แทรกซึมเข้าไปในประเทศเยอรมัน แต่บัดนี้เยอรมันได้ทำให้พวกคาทอลิกเหล่านี้ทุกคนหายสาบสูญไปและดังนั้น เยอรมันจึงสามารถปราบฝรั่งเศสได้ภายในเวลาอย่างน้อย 7 วัน
ในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน บุคคลใดที่พยายามหน่วงเหนี่ยวศาสนาคาทอลิกไว้ บุคคลนั้นก็ไม่ใช่คนไทย"
สำเนาหมายเลข 18
หนองเดิ่น วันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1942
วันที่ 13 กรกฎาคม 2485 เวลา 9 นาฬิกา ตอนเย็น ตำรวจมาที่บ้านหนองเดิ่น พูดเสียดสีคนต่างด้าวว่า "พวกเราเป็นคนไทย ต้องนับถือศาสนาไทย บุคคลใดที่สมัครใจเจริญรอยตามพวกอิตาเลียนมากกว่าเจริญรอยตามชาติไทยนั้น บุคคลนั้นจะไม่ถูกถือว่าเป็นคนไทยเลย
สำเนาหมายเลข 23
วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1942
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1942 มีการเรียกประชุมอบรม มีคน 2-3 คน ที่ได้ออกไปจากห้องประชุมในเวลาที่เริ่มทำพิธีสวดมนต์กราบไหว้นมัสการพระพุทธรูป ตอนปลายของพิธีนี้พวกเขาได้กลับขึ้นไปรวมกับ กลุ่มของเขาเพื่อฟังการอบรมใหม่
ผู้อบรมได้รับคำสั่งในการทำพิธีจากนายอำเภอ ได้บอกว่า
ในการประชุมเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม เขาได้พูดว่า
"ในหมู่บ้านนี้ยังมีคน 2-3 คน ที่ชักชวนคนอื่นๆ ไม่ให้มานับถือศาสนาพุทธ ข้าพเจ้ากำลังสืบสวนอยู่ และถ้าข้าพเจ้า มีพยานคน 2-3 คนนี้จะต้องถูกจับ ถูกจำคุก และถูกตัดสินลงโทษในข้อหาเป็นแนวที่ 5 อย่างแน่นอน
สำเนาหมายเลข 24
วันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1942
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1942 ครูนิยมได้รับคำสั่งจากนายอำเภอในการประชุมอบรมประกาศว่า
ห้ามนับถือศาสนาของคนต่างด้าว มีพระราชบัญญัติ 2 เล่ม สำหรับคนไทยโดยเฉพาะ
ถ้าคนไทยทำผิดกฎหมาย ต้องเจาะฝ่ามือเขาและฝ่าเท้า แล้วเอาเชือกหรือหวายร้อยทรมานไว้เป็นตัวอย่าง จนกว่าเขาจะยอม
และถ้าเป็นผู้หญิง ต้องถอดเสื้อหรือผ้าออกให้หมด แล้วให้มดหรือแมลงเข้ากัดต่อยและถ้ายังไม่ยอม ต้องเอาลวดสังกะสีไขทำเกลียว และแหย่รูทวาร หรืออวัยวะเพศ และดึงไปมาจนกว่าจะยอมเป็นพุทธ
และวิธีการสุดท้ายมีการเตรียมเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ใช้หนีบขมับทั้งเช้าจนกว่าจะตายไป มิฉะนั้น มิควรนับถือมันสำหรับคนต่างด้าว
(มีอะไรที่ทำให้หมดความอดทน)
สำเนาหมายเลข 26
วันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1942
ในการประชุมเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2485 (1942) "พวกชาวบ้านทุกคน ทั้งที่เป็นพุทธ และ คาทอลิกของบ้านหนองเดิ่น และดอนม่วย ไปที่ที่ว่าการอำเภอ เพื่อแสดงตัวในการถือศาสนาของแต่ละคน และลงชื่อแต่ละคนไว้เป็นการรับรอง
ครูนิยมได้ทำการตักเตือนพวกเราว่า "ทำไมจึงนับถือศาสนาคาทอลิก? ศาสนานี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ถือ! และในเร็วๆนี้ ศาสนานี้จะกลายเป็นศาสนาที่ถูกกล่าวโทษ เพราะทุกคนที่นับถือศาสนาโรมันคาทอลิกเท่ากับต่อต้านรัฐบาล พวกท่านก็ทราบแล้วว่ารัฐบาลมีจุดมุ่งหมายจะทำให้พวกที่ถือศาสนาคาทอลิกทุกคนเป็นผุยผง พวกเขาได้ถูกเรียกไปประชุมหลายครั้งแล้วเพื่อให้จ่ายค่าปรับ แต่ครั้งนี้สำคัญมาก จะเป็นครั้งที่รุนแรงมากราวกับระเบิดตอร์ปิโด ให้พวกท่านเลือกเอา"
พวกจดหมายลักษณะเช่นนี้ พระสงฆ์ 2 องค์ที่ขึ้นไปทางเหนือของมิสซังหนองแสงได้รวบรวมไว้เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 1943 รัฐบาลสั่งให้พวกพระสงฆ์ซาเลเซียนสัญชาติอิตาเลียนเหล่านี้เดินทาง ออกจากภาคอีสาน ซึ่งก็คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยอีกประการหนึ่ง พวกพระสงฆ์เหล่านี้ ไม่มีอะไรทำที่นั่นในเวลานั้น ไม่มีพวกคริสตังอีกเลย ยกเว้นแต่ผู้ที่มีหัวใจเป็นคริสตัง
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic20.html
พระสงฆ์ซาเลเซียนในภาคอีสาน ปี ค.ศ. 1942 การเบียดเบียนศาสนาเริ่มขึ้นอีกครั้ง
พระสังฆราชปาซอตตีไม่ได้เป็นผู้ก่อให้เกิดความคิดในการส่งพระสงฆ์ไปยังภาคอีสาน เพราะว่าท่านมีสิ่งที่ต้องทำมากมายทั้งในมิสซังของท่านและในมิสซังกรุงเทพฯ
ท่านจำได้ว่าได้ส่งพระสงฆ์ชาวอิตาเลียนของท่านหลายองค์ไปช่วยเหลือคริสตังในวัดบางแห่งของมิสซังกรุงเทพฯ และสัญชาติอิตาเลียนของพวกพระสงฆ์เหล่านั้น ก็ไม่สามารถปกป้องพวกเขาให้ปลอดภัย พวกพระสงฆ์อิตาเลียนบางองค์ถูกทุบตีจนซี่โครงหักบางองค์ถูกทำร้ายจนฟกช้ำ ต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ฝ่ายพวกคริสตังก็ถูกบังคับให้ละทิ้งศาสนา และวัดของพวกเขาก็ถูกวางเพลิง
อนึ่ง พระสังฆราชปาซอตตีทราบดีว่า การเบียดเบียนศาสนายังกระจายไปทางภาคอีสาน
สุดท้าย ประมาณเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942 การเบียดเบียนศาสนาพูดได้ว่าได้ยุติลงในภาคอีสาน เพราะไม่เหลือคริสตังให้เบียดเบียน และไม่เหลือวัดให้ทำลาย พระสังฆราชปาซอตตีจึงส่งพระสงฆ์ซาเลเซียน 4 องค์ ไปดูแลคริสตังในมิสซังหนองแสง หลังจากที่ได้ประสบความยุ่งยากในการอนุญาตของรัฐบาลพระคุณเจ้าต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจของผู้แทนพระสันตะปาปา พร้อมทั้งขอให้เอกอัครราชทูตอิตาลีสนับสนุน (ประเทศไทยประกาศสงครามกับอังกฤษ และอเมริกาอยู่ฝ่ายอักษะ จึงเป็นพันธมิตรกับอิตาลี)
1. พระสงฆ์ 2 องค์ ไปทำงานแพร่ธรรมในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศยกเลิก การเบียดเบียนศาสนา คุณพ่อทั้งสองไปเยี่ยมกลุ่มคริสตชนต่างๆ ได้อย่างอิสระมีการเปิดวัดต่างๆใหม่อีกครั้งหนึ่ง เป็นความยินดีอย่างใหญ่หลวงของพวกคริสตังซึ่งกระตือรือร้นที่จะกลับมาเข้าวัด ฝ่ายพวกพระภิกษุก็กลับไปยังวัดของตน สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1942
2. พระสงฆ์อีก 2 องค์ไปที่จังหวัดนครพนมและสกลนคร และที่นั่นเหตุการณ์ไม่ได้เป็นแบบเดียวกัน แม้ว่าพวกพระสงฆ์อิตาเลียนจะไม่ถูกข่มเหงรังแก แต่เขาไม่ได้ทำเช่นนี้กับพวกคริสตัง
พวกคริสตังเหล่านี้ดีใจที่ได้พบพวกมิชชันนารีอีกครั้งเพื่อรื้อฟื้นความเชื่อของพวกเขา แต่แล้วการเบียดเเบียนศาสนาก็เริ่มขึ้นใหม่ทันที เขาไม่สามารถกล่าวหาพวกคริสตังว่าเป็นแนวที่ 5 ได้อีก เพราะชาวอิตาเลียนเป็นพันธมิตรกับไทย และฝรั่งเศสก็กลายมาเป็นมิตรด้วย
อีกประการหนึ่ง ในเวลานั้นหลวงพิบูลได้ออกคำสั่งให้ทุกครอบครัวทำสวนครัวปลูกผักบริเวณรอบๆบ้าน และเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ เป็ด หมู นี่คือข้ออ้างสำหรับการเบียดเบียนศาสนาครั้งใหม่ ดูเอกสารหมายเลข 23
พวกคริสตังที่เปลี่ยนใจไปนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งได้ต้อนรับพระสงฆ์อิตาเลียนหรือไปพบท่าน ถูกเรียกกลับมาประชุมใหม่โดยพวกครูและหัวหน้าหมู่บ้านซึ่งเป็นกลุ่มเลือดไทยที่ห้องประชุมท้องถิ่น เพื่อรับการอบรมล้างสมอง เตรียมพวกเขาให้ละทิ้งศาสนาคริสต์ และกลับใจมานับถือศาสนาพุทธ พวกที่หัวดื้อถูกเรียกประชุมใหม่ในครั้งต่อไปโดยนายอำเภอที่บังคับให้พวกเขาเสียค่าปรับ คนที่ยอมทิ้งศาสนาอีกครั้งหรือไม่ เคยไปพบพระสงฆ์ก็ไม่ต้องเสียค่าปรับ ถึงแม้ว่าพวกเขาไม่ได้ทำสวนครัวเลย พวกคริสตังใหม่ถูกลงโทษทุกวันแม้ว่าสวนของพวกเขาจะเรียบร้อยหลังจากนั้นไม่นานพวกคริสตังเหล่านี้ได้ถูกขู่ทรมานอย่างตรงๆ เพราะว่าเขาบอกพวกคริสตังว่า "มีคำสั่งของรัฐบาลคือคำสั่งของนายกรัฐมนตรีเอง ให้เกลี้ยกล่อมทุกคนที่หลงผิด เหล่านี้กลับมานับถือศาสนาพุทธด้วยวิธีการทุกอย่าง"
พวกคริสตังที่ถูกขู่เหล่านี้เขียนจดหมายถึงพวกพระสงฆ์ซาเลเซียน ระบายความทุกข์ของพวกเขาให้ฟัง พวกพระสงฆ์ซาเลเซียนเผาจดหมายหลังจากคัดสำเนาไว้ในสมุดพร้อมทั้งลบชื่อของพวกคริสตังออกเพื่อ ไม่ให้ถูกจับได้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆ และใช้เป็นข้ออ้างในการเบียดเบียนใหม่อีก
ข้าพเจ้าได้แนบจดหมายเหล่านี้บางฉบับและสำเนาของการเรียกประชุมในแฟ้มเรื่องราวเหล่านี้ นี่คือ
เอกสารหมายเลข 21
ข้าพเจ้าได้แปลเอกสารบางหน้าเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบพยาน
ขอได้โปรดสังเกตว่าภายหลังจดหมายเหล่านี้ บรรดาพระสงฆ์ซาเลเซียน พวกเขาจะไม่ได้รับความรำคาญ แต่พวกคริสตังที่ได้ละทิ้งศาสนาไปแล้วและกลับมาพบกับพวกพระสงฆ์ใหม่ พวกเขาจะได้รับผลกระทบในการเบียดเบียนครั้งใหม่ แรกๆใช้คำพูดที่ไพเราะ ปลอบใจ ต่อมาก็จ่ายค่าปรับ ในที่สุดก็ข่มขู่แรงขึ้นๆ เรื่อยๆ โดยให้เลือกว่าจะละทิ้งศาสนาหรือจะหัวดื้อจนกระทั่งตาย หรือถูกขังคุก
สำเนาหมายเลข 12
หมายเรียก
คดีที่ ที่ว่าการอำเภอพรรนานิคม
วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2485 (1942)
หมายมายัง... บ้านช้างมิ่ง
ด้วยคดีในระวาง เจ้าพนักงานโจทย์... จำเลยหากันด้วยเรื่อง ไม่เข้ามาประชุมทำการอบรมในเวลาศึก
บัดนี้ ต้องการสอบสวนให้... ไปแก้คดียังที่ว่าการอำเภอ ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2485
ตรงกัน ณ วัน เวลา 9:00 น.
(ลงนาม) เฉิด นวลมณี
นายอำเภอ
ตราประจำอำเภอ
(พวกคริสตังทุกคนที่ได้มาพบพระสงฆ์ซาเลเซียนถูกเรียกมาประชุม)
สำเนาหมายเลข 13
วันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1942
“ต่อไปถ้ายังติดต่อกับบาทหลวง เธอจะไม่มีความสุขนะ ฉะนั้น ขอให้เลิกอย่าเสีย หรือยังคิดถึงมันบ่ (เสียงหยาบคาย) อีสันดานหมา ถ้ามึงมิหยางนี้ มึงสิตายในเร็วๆ นี้ ไม่นานดอก”
สำเนาหมายเลข 14
ที่บ้านหนองเดิ่น
วันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1942
"พวกเราได้ถูกลงโทษเสียค่าปรับเป็นครั้งที่ 2 วันนี้วันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 พวกเราถูกเรียก ประชุมเป็นครั้งที่ 3 (พวกเราเป็นรายที่ 33 จากทั้งหมด)
อธิบดีกรมตำรวจตอบพวกเราว่า
ครั้งนี้ไม่เหมือน 2 ครั้งที่ผ่านมา นี่เป็นครั้งสำคัญ เป็นการให้โอกาสสำหรับพวกท่านกลับใจอีก และมี 2 ข้อที่ทำเพื่อการกลับใจของพวกท่าน
1. ไปสวดมนต์ไหว้พระพุทธ
2. นิมนต์พระภิกษุไปฉันข้าวที่บ้านของพวกท่าน
ถ้าพวกท่านไม่ปฏิบัติตาม 2 ข้อนี้ และกลับไปนับถือศาสนาคาทอลิกอีก จะต้องจ่ายค่าปรับ และจะต้องถูกจำคุก
สำเนาหมายเลข 15
ดอนม่วย (ใกล้บ้านหนองเดิ่น)
วันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1942
ที่บ้านองเฮือง มีงานฉลองครอบครัว เวลาประมาณ 20 น. (2 ทุ่ม) ครูใหญ่โรงเรียนบ้านช้างมิ่ง และพวกหนุ่มสาวคนอื่นๆ ที่ได้เผาวัดต่างๆ ที่หนองเดิ่น ได้มาด่าช่งพวกเราว่า ศาสนาคาทอลิกเป็นศาสนาของหมา และเอาพุงหมามาครอบหัว พระเยซูได้แม่เป็นภรรยา เป็นต้น
สำเนาหมายเลข 17
ดอนม่วย
วันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1942
พวกคริสตังบ้านหนองเดิ่นได้ตกลงกลับไปกราบไหว้พระพุทธรูปและใส่บาตร ที่บ้านดอนม่วยนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลได้บอกกับพวกเราว่า
"ถ้าพวกท่านตกลงใจที่จะกราบไหว้พระพุทธรูปที่โบสถ์แล้ว ถึงแม้ว่าพวกท่านไม่ได้ทำสวนครัว พวกท่านก็ไม่ต้องจ่ายค่าปรับแม้แต่สตางค์เดียว แต่ถ้าพวกท่านปฏิเสธ สวนครัวของพวกท่านจะอยู่ในสภาพดี แค่ไหนการเสียค่าปรับจะต้องตกอยู่กับพวกท่านจนกระทั่งพวกท่านไปอยู่ในคุก ข้อความนี้เป็นคำสั่งซึ่งพวกเราได้รับจากหัวหน้าของพวกเรา และหัวหน้าคนนี้ก็คือนายกรัฐมนตรีนั่นเองที่มีคำสั่งให้นำคนไทยทุกคนมา นับถือศาสนาพุทธ ทุกอย่างในเอกสารอำนวยความสะดวกทุกอย่างให้แก่บาทหลวงอิตาเลียน...
เมื่อครั้งประเทศฝรั่งเศสได้ชัยชนะจากเยอรมันที่มีความใจดีต่อพวกคาทอลิกซึ่งได้แทรกซึมเข้าไปในประเทศเยอรมัน แต่บัดนี้เยอรมันได้ทำให้พวกคาทอลิกเหล่านี้ทุกคนหายสาบสูญไปและดังนั้น เยอรมันจึงสามารถปราบฝรั่งเศสได้ภายในเวลาอย่างน้อย 7 วัน
ในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน บุคคลใดที่พยายามหน่วงเหนี่ยวศาสนาคาทอลิกไว้ บุคคลนั้นก็ไม่ใช่คนไทย"
สำเนาหมายเลข 18
หนองเดิ่น วันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1942
วันที่ 13 กรกฎาคม 2485 เวลา 9 นาฬิกา ตอนเย็น ตำรวจมาที่บ้านหนองเดิ่น พูดเสียดสีคนต่างด้าวว่า "พวกเราเป็นคนไทย ต้องนับถือศาสนาไทย บุคคลใดที่สมัครใจเจริญรอยตามพวกอิตาเลียนมากกว่าเจริญรอยตามชาติไทยนั้น บุคคลนั้นจะไม่ถูกถือว่าเป็นคนไทยเลย
สำเนาหมายเลข 23
วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1942
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1942 มีการเรียกประชุมอบรม มีคน 2-3 คน ที่ได้ออกไปจากห้องประชุมในเวลาที่เริ่มทำพิธีสวดมนต์กราบไหว้นมัสการพระพุทธรูป ตอนปลายของพิธีนี้พวกเขาได้กลับขึ้นไปรวมกับ กลุ่มของเขาเพื่อฟังการอบรมใหม่
ผู้อบรมได้รับคำสั่งในการทำพิธีจากนายอำเภอ ได้บอกว่า
ในการประชุมเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม เขาได้พูดว่า
"ในหมู่บ้านนี้ยังมีคน 2-3 คน ที่ชักชวนคนอื่นๆ ไม่ให้มานับถือศาสนาพุทธ ข้าพเจ้ากำลังสืบสวนอยู่ และถ้าข้าพเจ้า มีพยานคน 2-3 คนนี้จะต้องถูกจับ ถูกจำคุก และถูกตัดสินลงโทษในข้อหาเป็นแนวที่ 5 อย่างแน่นอน
สำเนาหมายเลข 24
วันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1942
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1942 ครูนิยมได้รับคำสั่งจากนายอำเภอในการประชุมอบรมประกาศว่า
ห้ามนับถือศาสนาของคนต่างด้าว มีพระราชบัญญัติ 2 เล่ม สำหรับคนไทยโดยเฉพาะ
ถ้าคนไทยทำผิดกฎหมาย ต้องเจาะฝ่ามือเขาและฝ่าเท้า แล้วเอาเชือกหรือหวายร้อยทรมานไว้เป็นตัวอย่าง จนกว่าเขาจะยอม
และถ้าเป็นผู้หญิง ต้องถอดเสื้อหรือผ้าออกให้หมด แล้วให้มดหรือแมลงเข้ากัดต่อยและถ้ายังไม่ยอม ต้องเอาลวดสังกะสีไขทำเกลียว และแหย่รูทวาร หรืออวัยวะเพศ และดึงไปมาจนกว่าจะยอมเป็นพุทธ
และวิธีการสุดท้ายมีการเตรียมเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ใช้หนีบขมับทั้งเช้าจนกว่าจะตายไป มิฉะนั้น มิควรนับถือมันสำหรับคนต่างด้าว
(มีอะไรที่ทำให้หมดความอดทน)
สำเนาหมายเลข 26
วันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1942
ในการประชุมเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2485 (1942) "พวกชาวบ้านทุกคน ทั้งที่เป็นพุทธ และ คาทอลิกของบ้านหนองเดิ่น และดอนม่วย ไปที่ที่ว่าการอำเภอ เพื่อแสดงตัวในการถือศาสนาของแต่ละคน และลงชื่อแต่ละคนไว้เป็นการรับรอง
ครูนิยมได้ทำการตักเตือนพวกเราว่า "ทำไมจึงนับถือศาสนาคาทอลิก? ศาสนานี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ถือ! และในเร็วๆนี้ ศาสนานี้จะกลายเป็นศาสนาที่ถูกกล่าวโทษ เพราะทุกคนที่นับถือศาสนาโรมันคาทอลิกเท่ากับต่อต้านรัฐบาล พวกท่านก็ทราบแล้วว่ารัฐบาลมีจุดมุ่งหมายจะทำให้พวกที่ถือศาสนาคาทอลิกทุกคนเป็นผุยผง พวกเขาได้ถูกเรียกไปประชุมหลายครั้งแล้วเพื่อให้จ่ายค่าปรับ แต่ครั้งนี้สำคัญมาก จะเป็นครั้งที่รุนแรงมากราวกับระเบิดตอร์ปิโด ให้พวกท่านเลือกเอา"
พวกจดหมายลักษณะเช่นนี้ พระสงฆ์ 2 องค์ที่ขึ้นไปทางเหนือของมิสซังหนองแสงได้รวบรวมไว้เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 1943 รัฐบาลสั่งให้พวกพระสงฆ์ซาเลเซียนสัญชาติอิตาเลียนเหล่านี้เดินทาง ออกจากภาคอีสาน ซึ่งก็คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยอีกประการหนึ่ง พวกพระสงฆ์เหล่านี้ ไม่มีอะไรทำที่นั่นในเวลานั้น ไม่มีพวกคริสตังอีกเลย ยกเว้นแต่ผู้ที่มีหัวใจเป็นคริสตัง
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic20.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
การสำรวจความเสียหายทางด้านวัตถุต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นในมิสซังหนองแสง
เดือนกันยายน ค.ศ. 1943 ประเทศอิตาลีถูกโจมตี รัฐบาลไทยเริ่มตระหนักว่าฝ่ายอักษะอาจจะไม่ได้รับชัยชนะในที่สุด และเพราะเหตุนี้เพื่อผลประโยชน์ จำเป็นต้องเตรียมการสำหรับอนาคต
เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944 เกิดการปฏิวัติขึ้นในประเทศไทย หลวงพิบูลเพลี้ยงพล้ำและถูกจำคุก นาย ควง อภัยวงศ์ ทำหน้าที่หัวหน้ารัฐบาลแทน เกี่ยวกับการร้องขอต่อรัฐบาลถึงการปฏิสังขรณ์วัตถุต่างๆ ทั้งหมดที่ได้รับความเสียหายจากผลของการเบียดเบียน
พระสังฆราชปาซอตตีไม่รอจนสงครามยุติลง แต่พระคุณเจ้าได้ร้องขอในเวลานั้น โดยถือว่าท่านเป็นผู้ ปกครองมิสซังหนองแสง ท่านได้โทรเลขถึงพระสังฆราชดราปิเอร์ ผู้แทนพระสันตะปาปา ซึ่งได้ตอบท่านว่า "ไม่อาจแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นได้... ให้ปกครองต่อไปในขณะนี้" เนื้อหาโดยรวมของโทรเลขเหล่านี้มีดังนี้
เอกสารหมายเลข 22
ภายหลังสิ่งต่างๆ ในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1944 พระสังฆราชปาซอตตีเขียนจดหมายถึงรัฐบาลใหม่เพื่อร้องขออิสรภาพในการชุมนุมเพื่อประกอบพิธีตามธรรมเนียมคริสตังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และแสดงตารางความเสียหายพระสังฆราชปาซอตตีลงชื่อในจดหมาย และคุณพ่อศรีนวลก็ลงชื่อเช่นเดียวกัน นี่คือ
เอกสารหมายเลข 23
ซึ่งได้แสดงไว้ในเรื่องการเบียดเบียนในมิสซังหนองแสง
วัดคาทอลิกในจังหวัดนครพนม
อำเภอ
วัด
ข้อสังเกต
1. เมืองฯ
1. หนองแสง โบสถ์ , สำนักพระสังฆราช , บ้านพักพระสงฆ์ , โรงเรียน , สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า , อารามนักบวชหญิง , โรงครัว กำแพงถูกรื้อถอนหมด สมัย นายสุข ฉายาชวลิต เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
2. โรงเรียนพระหฤทัยฯ ถูกรื้อถอนหมด สมัยนายสุข ฉายาชวลิต เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
3. คำเกิ้ม โบสถ์ถูกวางเพลิง บ้านพักพระสงฆ์ และโรงครัวถูกรื้อถอน
4. นามน วัดถูกรื้อถอน
5. โคกก้อง วัดถูกยึดทำเป็นโรงเรียน (พุทธ)
2. ท่าอุเทน
1. เชียงยืน โบสถ์ถูกยึดบ้านพักพระสงฆ์ถูกยึด และแปรสภาพเป็นโรงเรียน (พุทธ) โรงครัวถูกรื้อถอน
2. นานาย วัดถูกรื้อถอน
3. มุกดาหาร
1. สองคอน วัดถูกรื้อถอน
วัดคาทอลิกในจังหวัดสกลนคร
อำเภอเมืองฯ
1. วัดท่าแร่
ข้อสังเกตโบสถ์ถูกใช้เป็นที่ประชุมราษฎร , บ้านพักพระสงฆ์และอารามนักบวชหญิงถูกใช้เป็นที่ทำการกำนัน , เป็นที่พักของกำนัน , ที่พักตำรวจ และที่ทำการไปรษณีย์
2. นาโพ
ข้อสังเกต วัดถูกแปรสภาพเป็นโรงเรียน
3. ทุ่งมน
ข้อสังเกต วัดถูกแปรสภาพเป็นโรงเรียน
4. จันทร์เพ็ญ
ข้อสังเกต วัดถูกแปรสภาพเป็นโรงเรียน
5. จอมแจ้ง
ข้อสังเกต วัดถูกยึด
6. คอนเชียงคูน
ข้อสังเกต วัดถูกรื้อถอน
7. ป่าหว้าน
ข้อสังเกต วัดถูกยึด
2.อำเภอพรรณานิคม
1. ช้างมิ่ง
ข้อสังเกต วัดและบ้านพักพระสงฆ์กลายเป็น โบสถ์พุทธศาสนา
2. หนองเดิ่น
ข้อสังเกต วัดและบ้านพักพระสงฆ์ถูกรื้อถอน , โรงเรียนกลายเป็นที่พักของพระภิกษุ
3. นาคำ
ข้อสังเกต วัดถูกรื้อถอน
3. อำเภอวานรนิวาส
1. นาบัว
ข้อสังเกต วัดและบ้านพักพระสงฆ์กลายเป็นโบสถ์พุทธศาสนา และที่พักของพระภิกษุ
2. ดอนทอย
ข้อสังเกต วัดและบ้านพักพระสงฆ์ถูกพังทำลายไปบางส่วน
วัดคาทอลิกในจังหวัดอื่นๆ ในมิสซังหนองแสง
จังหวัดหนองคาย
อำเภอเมืองฯ วัดเวียงคุก
ข้อสังเกต โบสถ์ถูกวางเพลิง บ้านพักพระสงฆ์ถูกรื้อถอน
อำเภอบึงกาฬ
1. วัดห้วยเล็บมือ
ข้อสังเกต วัดและบ้านพักพระสงฆ์ถูกยึด กลายเป็นโรงเรียน (พุทธ)
2. วัดห้วยเซือม
ข้อสังเกต วัดและบ้านพักพระสงฆ์ถูกยึดเป็นโรงเรียน
จังหวัดอุดร
อำเภอหนองหาร วัดโพนสูง
ข้อสังเกต วัดถูกยึดเป็นโรงเรียน
จังหวัดเลย
อำเภอเชียงคาน วัดท่าบม
ข้อสังเกต วัดถูกยึด
จังหวัดนครจำปาศักดิ์
อำเภอเมืองเก่า วัดปากห้วยเพ็ก
ข้อสังเกต วัดถูกยึด
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic21.html
การสำรวจความเสียหายทางด้านวัตถุต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นในมิสซังหนองแสง
เดือนกันยายน ค.ศ. 1943 ประเทศอิตาลีถูกโจมตี รัฐบาลไทยเริ่มตระหนักว่าฝ่ายอักษะอาจจะไม่ได้รับชัยชนะในที่สุด และเพราะเหตุนี้เพื่อผลประโยชน์ จำเป็นต้องเตรียมการสำหรับอนาคต
เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944 เกิดการปฏิวัติขึ้นในประเทศไทย หลวงพิบูลเพลี้ยงพล้ำและถูกจำคุก นาย ควง อภัยวงศ์ ทำหน้าที่หัวหน้ารัฐบาลแทน เกี่ยวกับการร้องขอต่อรัฐบาลถึงการปฏิสังขรณ์วัตถุต่างๆ ทั้งหมดที่ได้รับความเสียหายจากผลของการเบียดเบียน
พระสังฆราชปาซอตตีไม่รอจนสงครามยุติลง แต่พระคุณเจ้าได้ร้องขอในเวลานั้น โดยถือว่าท่านเป็นผู้ ปกครองมิสซังหนองแสง ท่านได้โทรเลขถึงพระสังฆราชดราปิเอร์ ผู้แทนพระสันตะปาปา ซึ่งได้ตอบท่านว่า "ไม่อาจแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นได้... ให้ปกครองต่อไปในขณะนี้" เนื้อหาโดยรวมของโทรเลขเหล่านี้มีดังนี้
เอกสารหมายเลข 22
ภายหลังสิ่งต่างๆ ในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1944 พระสังฆราชปาซอตตีเขียนจดหมายถึงรัฐบาลใหม่เพื่อร้องขออิสรภาพในการชุมนุมเพื่อประกอบพิธีตามธรรมเนียมคริสตังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และแสดงตารางความเสียหายพระสังฆราชปาซอตตีลงชื่อในจดหมาย และคุณพ่อศรีนวลก็ลงชื่อเช่นเดียวกัน นี่คือ
เอกสารหมายเลข 23
ซึ่งได้แสดงไว้ในเรื่องการเบียดเบียนในมิสซังหนองแสง
วัดคาทอลิกในจังหวัดนครพนม
อำเภอ
วัด
ข้อสังเกต
1. เมืองฯ
1. หนองแสง โบสถ์ , สำนักพระสังฆราช , บ้านพักพระสงฆ์ , โรงเรียน , สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า , อารามนักบวชหญิง , โรงครัว กำแพงถูกรื้อถอนหมด สมัย นายสุข ฉายาชวลิต เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
2. โรงเรียนพระหฤทัยฯ ถูกรื้อถอนหมด สมัยนายสุข ฉายาชวลิต เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
3. คำเกิ้ม โบสถ์ถูกวางเพลิง บ้านพักพระสงฆ์ และโรงครัวถูกรื้อถอน
4. นามน วัดถูกรื้อถอน
5. โคกก้อง วัดถูกยึดทำเป็นโรงเรียน (พุทธ)
2. ท่าอุเทน
1. เชียงยืน โบสถ์ถูกยึดบ้านพักพระสงฆ์ถูกยึด และแปรสภาพเป็นโรงเรียน (พุทธ) โรงครัวถูกรื้อถอน
2. นานาย วัดถูกรื้อถอน
3. มุกดาหาร
1. สองคอน วัดถูกรื้อถอน
วัดคาทอลิกในจังหวัดสกลนคร
อำเภอเมืองฯ
1. วัดท่าแร่
ข้อสังเกตโบสถ์ถูกใช้เป็นที่ประชุมราษฎร , บ้านพักพระสงฆ์และอารามนักบวชหญิงถูกใช้เป็นที่ทำการกำนัน , เป็นที่พักของกำนัน , ที่พักตำรวจ และที่ทำการไปรษณีย์
2. นาโพ
ข้อสังเกต วัดถูกแปรสภาพเป็นโรงเรียน
3. ทุ่งมน
ข้อสังเกต วัดถูกแปรสภาพเป็นโรงเรียน
4. จันทร์เพ็ญ
ข้อสังเกต วัดถูกแปรสภาพเป็นโรงเรียน
5. จอมแจ้ง
ข้อสังเกต วัดถูกยึด
6. คอนเชียงคูน
ข้อสังเกต วัดถูกรื้อถอน
7. ป่าหว้าน
ข้อสังเกต วัดถูกยึด
2.อำเภอพรรณานิคม
1. ช้างมิ่ง
ข้อสังเกต วัดและบ้านพักพระสงฆ์กลายเป็น โบสถ์พุทธศาสนา
2. หนองเดิ่น
ข้อสังเกต วัดและบ้านพักพระสงฆ์ถูกรื้อถอน , โรงเรียนกลายเป็นที่พักของพระภิกษุ
3. นาคำ
ข้อสังเกต วัดถูกรื้อถอน
3. อำเภอวานรนิวาส
1. นาบัว
ข้อสังเกต วัดและบ้านพักพระสงฆ์กลายเป็นโบสถ์พุทธศาสนา และที่พักของพระภิกษุ
2. ดอนทอย
ข้อสังเกต วัดและบ้านพักพระสงฆ์ถูกพังทำลายไปบางส่วน
วัดคาทอลิกในจังหวัดอื่นๆ ในมิสซังหนองแสง
จังหวัดหนองคาย
อำเภอเมืองฯ วัดเวียงคุก
ข้อสังเกต โบสถ์ถูกวางเพลิง บ้านพักพระสงฆ์ถูกรื้อถอน
อำเภอบึงกาฬ
1. วัดห้วยเล็บมือ
ข้อสังเกต วัดและบ้านพักพระสงฆ์ถูกยึด กลายเป็นโรงเรียน (พุทธ)
2. วัดห้วยเซือม
ข้อสังเกต วัดและบ้านพักพระสงฆ์ถูกยึดเป็นโรงเรียน
จังหวัดอุดร
อำเภอหนองหาร วัดโพนสูง
ข้อสังเกต วัดถูกยึดเป็นโรงเรียน
จังหวัดเลย
อำเภอเชียงคาน วัดท่าบม
ข้อสังเกต วัดถูกยึด
จังหวัดนครจำปาศักดิ์
อำเภอเมืองเก่า วัดปากห้วยเพ็ก
ข้อสังเกต วัดถูกยึด
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic21.html
นักบุญ - นักโทษ (1) ⛓
การเบียดเบียนศาสนา ในมิสซังกรุงเทพฯ
ในมิสซังกรุงเทพฯ การเบียดเบียนรุนแรงมากเช่นเดียวกันและดำเนินเป็นขั้นตอนเหมือนทางภาคอีสาน เว้นแต่พวกมรณสักขีของหมู่บ้านสองคอน
เกี่ยวกับการบีบบังคับ ในตอนต้นพวกพระสงฆ์ไม่ว่าใครก็ตาม ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกแนวที่ 5 พระสงฆ์ไทย 4 องค์ ถูกจับจำคุกและถูกส่งมาขังที่บางขวางรวมกับคุณพ่อเอดัวรด์จากนครพนม ฝ่ายพวกพระสงฆ์ฝรั่งเศส รัฐบาลดำเนินการตามคำสั่งลงวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 และคำสั่งลงวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1941
และด้วยการกำจัดศาสนาคริสต์ทุกวิถีทางด้วยการทำให้พวกคริสตังทั้งผู้ใหญ่และเด็กๆ ในโรงเรียน ละทิ้งศาสนาด้วยการทำให้กลัว เขาไล่พวกข้าราชการและพวกครูคาทอลิกออกจากราชการ เว้นแต่พวกเขาจะยอมละทิ้งศาสนาพวกเลือดไทยเผาวัด 4 แห่งพร้อมทั้งทำลาย หรือสร้างความเสียหายให้แก่วัดหลายแห่ง วัด 17 แห่ง ถูกปิดเช่นเดียวกับโรงเรียนเล็กๆ ของวัดทุกแห่ง
กรุงเทพฯ
คำสั่งของหลวงพิบูล ซึ่งพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ภายหลังการปฏิวัติได้บอกแก่ ข้าราชการทุกคนและเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลทุกคนทั้งพุทธและคาทอลิก ให้แจ้งการนับถือศาสนาของตน และดังนั้นจึงได้ดำเนินการจัดทำรายชื่อข้าราชการคาทอลิกทุกคน
นายมั่นและนายคงจากสถานีวิทยุกระจายเสียง รวมทั้งคณะเลือดไทย ทำการกดดันพวกคริสตัง เพื่อจะให้เกิดเอกภาพทางศาสนาในศาสนาพุทธ
พิธีใหญ่โตในการละทิ้งศาสนาจัดขึ้นที่วัดพระมหาธาตุเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 ดูจดหมายของพระสังฆราชแปร์รอสถึงเพื่อนมิชชันนารีที่ไปอยู่ในมิสซังไซ่ง่อนตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 จดหมายฉบับนี้ลงวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1941 ดังนี้
เอกสารหมายเลข 24
ดังนั้น ไม่ใช่ทุกคนที่ละทิ้งศาสนา
พระสังฆราชแปร์รอสยกตัวอย่างของพระวิชัย
พระวิชัยเป็นรองอธิบดีกรมตำรวจ หลังจากได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งรองอธิบดีกรมตำรวจ หลวง อดุลผู้บังคับบัญชาของเขาได้กล่าวชมเชยและไม่ยอมรับใบลาออกของเขา
เช่นเดียวกัน พระอชิรกิต รองอธิบดีกรมไปรษณีย์กลาง ได้กล่าวว่า ท่านรับราชการมา30 ปี ด้วยความซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติ เงินเดือนที่ได้รับพอเป็นค่าอาหารและเลี้ยงดูลูกๆหลายคน ต่อมาท่านประกาศอย่างเปิดเผยว่า ครอบครัวของท่านไว้ใจในพระญาณสอดส่อง และท่านยื่นใบลาออกจากหน้าที่ราชการต่อเจ้านายของท่านทันที อธิบดีกรมไปรษณีย์กลางไม่ยอมรับใบลาออกของท่าน ได้เห็นความกล้าหาญ และความซื่อสัตย์ของท่านในการรับใช้พระเจ้า และประเทศชาติ
จำนวนรวมของผู้ที่ละทิ้งศาสนาในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 เพียงวันเดียวมากกว่า 300 คน
ในจดหมายฉบับวันที่ 24 มีนาคม พระสังฆราชแปร์รอสเขียนว่า “พวกพระสงฆ์พื้นเมืองตัวสั่นด้วยความกลัว” ส่วนในจดหมายอีกฉบับหนึ่ง คุณพ่อโชแรงหลังจากได้เห็นกับตาว่าอาสนวิหารอัสสัมชัญเกือบ ว่างเปล่าในวันอาทิตย์ ท่านเสริมว่า “พวกคริสตังตัวสั่นด้วยความตกใจ พวกเขาซ่อนตัวอยู่"
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic22.html
การเบียดเบียนศาสนา ในมิสซังกรุงเทพฯ
ในมิสซังกรุงเทพฯ การเบียดเบียนรุนแรงมากเช่นเดียวกันและดำเนินเป็นขั้นตอนเหมือนทางภาคอีสาน เว้นแต่พวกมรณสักขีของหมู่บ้านสองคอน
เกี่ยวกับการบีบบังคับ ในตอนต้นพวกพระสงฆ์ไม่ว่าใครก็ตาม ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกแนวที่ 5 พระสงฆ์ไทย 4 องค์ ถูกจับจำคุกและถูกส่งมาขังที่บางขวางรวมกับคุณพ่อเอดัวรด์จากนครพนม ฝ่ายพวกพระสงฆ์ฝรั่งเศส รัฐบาลดำเนินการตามคำสั่งลงวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 และคำสั่งลงวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1941
และด้วยการกำจัดศาสนาคริสต์ทุกวิถีทางด้วยการทำให้พวกคริสตังทั้งผู้ใหญ่และเด็กๆ ในโรงเรียน ละทิ้งศาสนาด้วยการทำให้กลัว เขาไล่พวกข้าราชการและพวกครูคาทอลิกออกจากราชการ เว้นแต่พวกเขาจะยอมละทิ้งศาสนาพวกเลือดไทยเผาวัด 4 แห่งพร้อมทั้งทำลาย หรือสร้างความเสียหายให้แก่วัดหลายแห่ง วัด 17 แห่ง ถูกปิดเช่นเดียวกับโรงเรียนเล็กๆ ของวัดทุกแห่ง
กรุงเทพฯ
คำสั่งของหลวงพิบูล ซึ่งพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ภายหลังการปฏิวัติได้บอกแก่ ข้าราชการทุกคนและเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลทุกคนทั้งพุทธและคาทอลิก ให้แจ้งการนับถือศาสนาของตน และดังนั้นจึงได้ดำเนินการจัดทำรายชื่อข้าราชการคาทอลิกทุกคน
นายมั่นและนายคงจากสถานีวิทยุกระจายเสียง รวมทั้งคณะเลือดไทย ทำการกดดันพวกคริสตัง เพื่อจะให้เกิดเอกภาพทางศาสนาในศาสนาพุทธ
พิธีใหญ่โตในการละทิ้งศาสนาจัดขึ้นที่วัดพระมหาธาตุเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 ดูจดหมายของพระสังฆราชแปร์รอสถึงเพื่อนมิชชันนารีที่ไปอยู่ในมิสซังไซ่ง่อนตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 จดหมายฉบับนี้ลงวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1941 ดังนี้
เอกสารหมายเลข 24
ดังนั้น ไม่ใช่ทุกคนที่ละทิ้งศาสนา
พระสังฆราชแปร์รอสยกตัวอย่างของพระวิชัย
พระวิชัยเป็นรองอธิบดีกรมตำรวจ หลังจากได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งรองอธิบดีกรมตำรวจ หลวง อดุลผู้บังคับบัญชาของเขาได้กล่าวชมเชยและไม่ยอมรับใบลาออกของเขา
เช่นเดียวกัน พระอชิรกิต รองอธิบดีกรมไปรษณีย์กลาง ได้กล่าวว่า ท่านรับราชการมา30 ปี ด้วยความซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติ เงินเดือนที่ได้รับพอเป็นค่าอาหารและเลี้ยงดูลูกๆหลายคน ต่อมาท่านประกาศอย่างเปิดเผยว่า ครอบครัวของท่านไว้ใจในพระญาณสอดส่อง และท่านยื่นใบลาออกจากหน้าที่ราชการต่อเจ้านายของท่านทันที อธิบดีกรมไปรษณีย์กลางไม่ยอมรับใบลาออกของท่าน ได้เห็นความกล้าหาญ และความซื่อสัตย์ของท่านในการรับใช้พระเจ้า และประเทศชาติ
จำนวนรวมของผู้ที่ละทิ้งศาสนาในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 เพียงวันเดียวมากกว่า 300 คน
ในจดหมายฉบับวันที่ 24 มีนาคม พระสังฆราชแปร์รอสเขียนว่า “พวกพระสงฆ์พื้นเมืองตัวสั่นด้วยความกลัว” ส่วนในจดหมายอีกฉบับหนึ่ง คุณพ่อโชแรงหลังจากได้เห็นกับตาว่าอาสนวิหารอัสสัมชัญเกือบ ว่างเปล่าในวันอาทิตย์ ท่านเสริมว่า “พวกคริสตังตัวสั่นด้วยความตกใจ พวกเขาซ่อนตัวอยู่"
CR. : http://www.catholic.or.th/arc.../nicola ... nic22.html